You are on page 1of 51

1

แผนการจัดการเรียนรู้โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
แผนการเรียนรู้ที่ 26 เรื่อง คุณค่าและข้อคิด
จำนวน 1 ชั่วโมง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชา ภาษาไทย 5
รหัสวิชา ท 33101
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูรับราชการกับโจโฉ
จำนวนชั่วโมงของหน่วย 10 ชั่วโมง
-------------------------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------

เป้ าหมายการเรียนรู้
1. มาตรฐานการเรียนรู้ /ตัวชีว้ ัด
มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและ
วรรณกรรมไทยอย่าง
เห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
ท 5.1 ม. 4-6/2 วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงกับการ
เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมในอดีต
ท 5.1 ม. 4-6/4 สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดี และวรรณกรรมเพื่อ
นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

2. จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชีว้ ัด
1) บอกข้อคิดและคุณค่าจากเรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับ
โจโฉได้
2) วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับ
ราชการกับโจโฉ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
3) เห็นคุณค่าและความสำคัญของวรรณคดีไทย
2

3. สาระสำคัญ
สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ ให้ความรู้และสะท้อนภาพ
สังคมและวัฒนธรรมจีนในด้านต่าง ๆ และยังให้ข้อคิดที่มีคณ
ุ ค่า เพื่อนำไป
ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

4. สาระการเรียนรู้
4.1 ความรู้
1)หลักการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมเบื้องต้น
- การวิเคราะห์และการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม
4.2 ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
2)การวิเคราะห์ลก
ั ษณะเด่นของวรรณคดีและวรรณกรรมเกี่ยวกับ
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมในอดีต
3)การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
- ด้านสังคมและวัฒนธรรม

5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ใฝ่ เรียนรู้
- แสวงหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
- มีการจดบันทึกและสรุปความรู้ความรู้อย่างเป็ นระบบ
อยู่อย่างพอเพียง
- ใช้ทรัพย์สินของตนเองอย่างประหยัดคุ้มค่า ใช้เวลาอย่างเหมาะ
สมและเก็บรักษาดูแลอย่างดี
- ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษา
ดูแลอย่างดี
3

- ปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ มีเหตุผล และไม่


ทำให้ผู้อ่ น
ื เดือดร้อน

6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
- ความสามารถในการนำเสนอ
2. ความสามารถในการคิด
- ความสามารถในการคิดให้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ วิจารณ์

กิจกรรมการเรียนรู้
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคคู่คิดสี่สหาย
ขัน
้ นำเข้าสู่บทเรียน (ประมาณ 10 นาที)

นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะตัวละครและข้อคิด
ที่ได้จากเรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ โดยครูเปิ ด
PowerPoint เรื่อง สามก๊ก ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่า ประทับใจหรือ
ไม่ประทับใจตัวละครใดในเรื่อง ลักษณะและบทบาทของตัวละครในเรื่อง
สะท้อนข้อคิด เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างไรบ้าง

ขัน
้ สอน (ประมาณ 30 นาที)

1. ให้นักเรียนจับคู่ โดยครูแจกบัตรชื่อตัวละครให้นักเรียนแถวที่ 1 และ 2


แล้วแจกแถบข้อความให้นักเรียนแถวที่ 3 และ 4 แล้วให้นักเรียนที่ได้
แถบข้อความคำใบ้ ไปหาคู่นักเรียนที่ได้บัตรคำชื่อตัวละครที่ตรงกับคำใบ้
ของตนเอง

2. ให้นักเรียนแต่ละคู่ไปตามหาพันธมิตรของตนเองตามความสมัครใจ โดย
ให้มีสมาชิกกลุ่มละ 4 คน
4

3. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เกี่ยวกับคุณค่า และข้อคิดจาก
เรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ จากหนังสือเรียน และ
แหล่งข้อมูลสารสนเทศตาม QR Code ในเอกสารใบความรู้เพิ่มเติม

4. นักเรียนแต่ละคู่นำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาเป็ นพื้นฐานในการทำใบ
งาน ดังนี ้
- คู่ที่ 1 ทำใบงานที่ 4.1 เรื่อง แง่งามความรู้และวัฒนธรรม ตอนกวนอู
ไปรับราชการกับโจโฉ
- คู่ที่ 2 ทำใบงานที่ 4.2 เรื่อง พินิจสารอ่านชีวิต ตอนกวนอู ไปรับ
ราชการกับโจโฉ
5. นักเรียนแต่ละคู่นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาและการทำใบงานมาผลัด
กันอภิปรายให้เพื่อนในกลุ่มฟั ง ผลัดกัน
ซักถามข้อสงสัยและผลัดกันอภิปรายจนทุกคนมีความเข้าใจชัดเจนตรงกัน

ขัน
้ สรุป (ประมาณ 15 นาที)
ครูสุ่มโดยใช้คำใบ้ของตัวละคร ให้นักเรียนกลุ่มที่ได้บัตรคำตัวละครนัน

ออกมานำเสนอคำตอบ ทัง้ ใบงานที่ 4.1 - 4.2 เป็ นรายกลุ่ม แล้วให้กลุ่มอื่นได้
นำเสนอเพิ่มเติมจนครบทุกกลุ่ม (หากนักเรียนนำเสนอไม่ทันให้นักเรียนนำ
เสนอต่อในคาบเรียนต่อไป)

นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง คุณค่าและข้อคิดจากเรื่อง สามก๊ก ตอน


กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ

8. ชุดคำถามกระตุ้นเพื่อปลูกฝั งหลักคิดพอเพียง
คำถามกระตุ้นคิดเพื่อปลูกฝั งหลักคิดพอเพียงก่อนเรียน
Q1 นักเรียนรู้จักหรือมีความรู้เกี่ยวกับตัวละครตัวใดบ้าง
คำถามกระตุ้นคิดเพื่อปลูกฝั งหลักคิดพอเพียงระหว่างเรียน
5

Q2 นักเรียนคิดว่า เนื้อหาตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ ได้เน้นย้ำ


ความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของคุณธรรมข้อใดมากที่สุด เพราะ
เหตุใด
คำถามกระตุ้นคิดเพื่อปลูกฝั งหลักคิดพอเพียงหลังเรียน
Q3 นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า “ผู้ที่อ่านสามก๊กเกิน 3
รอบ คบไม่ได้”

9. วัสดุอุปกรณ์ /สื่อ /แหล่งเรียนรู้


9.1 สื่อการเรียนรู้
1)หนังสือเรียน ภาษาไทย : วรรณคดีและวรรณกรรม ม.6
2) ใบความรู้ รอบรู้เรื่องสามก๊ก
3) PowerPoint เรื่อง สามก๊ก
4) บัตรชื่อตัวละครและแถบคำใบ้
5) ใบงานที่ 4.1 เรื่อง แง่งามความรู้และวัฒนธรรม ตอนกวนอูไปรับ
ราชการกับโจโฉ
6) ใบงานที่ 4.2 เรื่อง พินิจสารอ่านชีวิต ตอนกวนอูไปรับ
ราชการกับโจโฉ
7) หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม
(1) ตำรา ณ เมืองใต้. (2532). บุคคลภาษิตในสามก๊ก. กรุงเทพฯ :
ดอกหญ้า.
(2) โกวิท ตัง้ ตรงจิตร. (2552). สารานุกรมสามก๊ก. พิมพ์ครัง้ ที่ 2.
กรุงเทพฯ : พิมพ์คำ.
(3) คมเดือน เจิดจรัสฟ้ า. (2550). คุณธรรมในสามก๊ก. กรุงเทพฯ :
แสงดาว.
6

9.2 แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
1)ห้องสมุด/ห้องแหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
2)แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
ห้องเรียนออนไลน์ของครู
- https://sites.google.com/view/khuthai
เว็บไซต์ สามก๊กวิทยา
- https://www.samkok911.com/p/guan-yu-went-to-work-
with-cao-cao.html

หลักฐานการเรียนรู้
10. ชิน
้ งานหรือภาระงาน
1) ใบงานที่ 4.1 เรื่อง แง่งามความรู้และวัฒนธรรม ตอนกวนอู
ไปรับราชการกับโจโฉ
2) ใบงานที่ 4.2 เรื่อง พินิจสารอ่านชีวิต ตอนกวนอูไปรับ
ราชการกับโจโฉ

11. การวัดและการประเมินผล
วิธีการประเมิน เครื่องมือในการ เกณฑ์การ
ด้าน
ประเมิน ประเมิน
ความรู้ (K) ประเมินจาก
-การตอบคำถาม -ข้อคำถาม ตอบคำถามถูก
-การทำใบงานที่ 4.1 -ใบงานที่ 4.1 ถือว่าผ่าน
-การทำใบงานที่ 4.2 -ใบงานที่ 4.2 ผ่านเกณฑ์ ร้อย
7

ละ 60
ผ่านเกณฑ์ ร้อย
ละ 60
ทักษะ -ประเมินจากทักษะ -แบบประเมิน ผ่านเกณฑ์ ร้อย
กระบวนการ การทำงานกลุ่ม ทักษะ ละ 50
(P) การทำงานกลุ่ม อยู่ในระดับพอใช้
ขึน
้ ไป
คุณลักษณะ (A) สังเกตพฤติกรรมการ แบบสังเกต ผ่านเกณฑ์ ได้ 6
ทำกิจกรรม พฤติกรรม คะแนน
ใฝ่ เรียนรู้ และอยู่ การร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับดีขน
ึ้
อย่างพอเพียง ไป
สมรรถนะ (C) -ประเมินสมรรถนะ -แบบประเมิน ผ่านเกณฑ์ ร้อย
การคิด สมรรถนะการ ละ 50
จากการตอบคำถาม คิด อยู่ในระดับพอใช้
-ประเมินสมรรถนะ -แบบประเมิน ขึน
้ ไป
การสื่อสาร สมรรถนะการ
จากนำเสนอและตอบ สื่อสาร
คำถาม
8

12. ความเห็นรองผู้อำนวยการ
ได้ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้
ของ………………………………………………………………..…… แล้วมีความคิดเห็น
ดังนี ้
1. กระบวนการเรียนรู้
 มีความสอดคล้อง เหมาะสมกับความสนใจและความถนัดของ
นักเรียน
 ไม่สอดคล้องและยังไม่เหมาะสมกับนักเรียน ควรปรับปรุง
2. การจัดกิจกรรมได้นำกระบวนการเรียนรู้
 ที่เน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญมาใช้ในการสอนอย่างเหมาะสม
 ที่ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป
3. การวัดผลและประเมินผล
 ใช้วิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์
 ไม่หลากหลาย และไม่สอดคล้องกับมาตรฐานของหลักสูตร ควร
ปรับปรุง
4. ความเหมาะสมในการนำแผนการจัดการเรียนรู้ ไปใช้จัดกิจกรรม
การเรียนรู้
 สามารถนำไปใช้จัดการเรียนรู้ได้จริง
 ควรปรับปรุงก่อนนำไปใช้จัดการเรียนรู้
5. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
.........................................................................................................................
..........................................................
.........................................................................................................................
..........................................................
9

ลงชื่อ...............................................
(นางสาวชฎาพร ช่วยชู)
รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ
13. ความเห็นผู้อำนวยการ

 อนุมัติให้นำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้
 ไม่อนุมัติให้นำไปใช้จัดการเรียนการสอน
เพราะ...............................................................................
…………………………………………………………………………………………
………………………………………………
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
……………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………….…….. ……………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………..

....................................
...........
(นายประยงค์ อินท์นุ
พัฒน์)
ผู้
อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒
14. บันทึกหลังสอน

จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียน
รู้........................................................................................ชัน
้ มัธยมศึกษาปี
ที่.................. หน่วยการเรียนรู้ที่...............
10

เรื่อง.................................................................................แผนการจัดการเรียน
รู้ที่.............
เรื่อง.................................................................................................... สอน
เมื่อวันที่....................เดือน..........................................พ.ศ. ................... เป้ า
หมายการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ เพื่อให้นักเรียนระดับชัน
้ มัธยมศึกษาปี
ที่........................ จำนวนทัง้ หมด....................คน มีความรู้ ความสามารถ
เรื่อง................................................................................. จากผลการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนร้อยละ...................มีความรู้ ความเข้าใจ
ผ่านเกณฑ์การประเมิน และที่นักเรียนจำนวน...........คน คิดเป็ นร้อย
ละ................. ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน เพราะนักเรียนไม่
สามารถ................................................................................................ตามที่
กำหนดได้ จากการวิเคราะห์นักเรียนเป็ นรายบุคคล และจากการตรวจผลงาน
เรื่อง...................................... ................................................... ของนักเรียน
ทัง้ ...............คน พบว่า นักเรียนขาดทักษะใน
เรื่อง.............................. .......................... .......................................................
...................................................................... ในฐานะครูผู้สอน
วิชา.....................................................................................จำเป็ นต้องแก้ไข
ปั ญหาดังกล่าวของนักเรียน เพื่อให้นักเรียน มีความสามารถใน
เรื่อง.........................................................................และเพื่อให้นักเรียนผ่าน
จุดประสงค์การเรียนรู้ และบรรลุตัวชีว้ ัดที่ ..................................................ที่
กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ที่.......................
ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะเพิ่ม
เติม……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
………………………………………..…………..
11

……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………
………………………………………..…………..

ลงชื่อ...............................................ครูผู้สอน
( นางสาวพิไลวรรณ เพชร
ไฝ )
…….……/…………………………
../……………………

ใบงานที่ 4.1 เรื่อง แง่งามความรู้และวัฒนธรรมตอน


กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ
12

คำชีแ
้ จง ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามต่อไปนี ้

1. เรื่องสามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ สะท้อนแนวคิดและความรู้


ด้านการทำสงครามของจีนอย่างไรบ้าง

2. ให้นักเรียนยกตัวอย่างเหตุการณ์หรือคำพูดของตัวละครในเรื่องสามก๊ก
ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ ที่สะท้อนความเชื่อของคนจีนด้านต่างๆ
ต่อไปนี ้
2.1 ความเชื่อเรื่องความฝั นบอกเหตุ

2.2 ความเชื่อเรื่องบุญกรรมและวาสนา

2.3 ความเชื่อเรื่องโชคลาง
13

3. ให้นักเรียนยกตัวอย่างเหตุการณ์ในเรื่องสามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการ
กับโจโฉ ที่สะท้อนขนบธรรมเนียมประเพณีจีนในด้านต่างๆ ต่อไปนี ้
3.1 การจัดโต๊ะอาหารเลีย
้ งแขก

3.2 การให้ของกำนัลในโอกาสต่างๆ

3.3 การจัดตำแหน่งที่นั่งในการกินเลีย
้ ง
14

เฉลย
ใบงานที่ 4.1 เรื่อง แง่งามความรู้และวัฒนธรรมตอน
กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ

คำชีแ
้ จง ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามต่อไปนี ้
1. เรื่องสามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ สะท้อนแนวคิดและความรู้
ด้านการทำสงครามของจีนอย่างไรบ้าง
เรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ สะท้อนแนวคิดและความรู้ด้าน
การทำสงครามหลายประการ เช่น
- สติปัญญาและการวางกลศึกสำคัญกว่ากำลังทหาร ลำพังกองกำลัง
ทหารอย่างเดียวไม่อาจทำให้รบชนะข้าศึกได้ แต่ต้องอาศัยสติปัญญาในการ
วางแผนการรบและคิดกลอุบายต่างๆ ประกอบด้วย จึงจะเอาชนะข้าศึกได้ เช่น
ตอนที่เทียหยกวางกลอุบายบอกให้แฮหัวตุ้นลวงกวนอูออกจากเมืองแห้ฝือมารบ
ข้างนอกเมือง เพื่อให้โจโฉเข้ายึดเมืองได้สำเร็จ
15

- ความประมาททะนงตนอาจทำให้หลงกลศึกและเสียทีแก่ข้าศึกได้ ดังจะ
เห็นจากตอนที่เตียวหุยเสียทีแก่กองทัพของโจโฉ ต้องเสียไพร่พลไปเป็ นอันมาก ก็
เกิดจากการที่เตียวหุยคิดประมาทกำเริบใจว่า เคยรบชนะจับตัวเล่าต้ายมาได้แล้ว
ครัง้ หนึ่ง และได้รับคำสรรเสริญชื่นชมจากเล่าปี่ จึงไม่ทันได้คิดพิจารณาการศึก
ครัง้ นีใ้ ห้รอบคอบถีถ
่ ้วน ทำให้เตียวหุยพลาดพลัง้ เสียทีแก่กลอุบายของโจโฉใน
ตอนที่ยกทัพไปหวังจะปล้นค่ายของโจโฉ
- ความสำคัญของการทูตหรือการเจรจา การทูตหรือการเจรจามีความ
สำคัญมากในการทำสงคราม เพราะความเฉลียวฉลาดในการเจรจาของนักการทูต
อาจทำให้สงครามยุติได้ เช่น ตอนที่เตียวเลีย
้ วอาสาโจโฉไปเจรจาเกลีย
้ กล่อมให้
กวนอูยอมยุติศึกและเข้ารับราชการกับโจโฉได้เป็ นผลสำเร็จ จะเห็นว่าความสำเร็จ
มิได้เกิดจากการใช้กำลังทหารบังคับขูเ่ ข็ญ แต่เกิดจากโวหารโน้มน้าวใจที่เยี่ยม
ยอดหรือความสามารถทางการทูตของเตียวเลีย
้ วนั่นเอง
- ความสามัคคีและความรักชาติมีความสำคัญยิ่งในการรักษาบ้านเมืองให้
อยู่รอดปลอดภัย ในยามบ้านเมืองมีสงครามหรืออยู่ในภาวะวิกฤต หากทุกฝ่ ายมี
น้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่คิดแต่ประโยชน์ส่วนตัว หรือเป็ นหนอนบ่อนไส้ ก็ย่อมเกิด
พลังในการต่อสู้ แต่หากขาดความสามัคคีหรือขาดความรักชาติ บ้านเมืองก็ย่อม
เดือดร้อนพ่ายแพ้แก่ข้าศึก ดังจะเห็นว่า การที่เล่าปี่ แพ้สงคราม ถูกโจโฉยึดเมือง
ได้ สาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากการที่อ้วนเสีย
้ วไม่ยอมยกทัพนำทหารมาช่วยเล่าปี่
เพราะเป็ นห่วงบุตรชายของตนเองที่กำลังป่ วย หรือการที่กวนอูต้องเสียทีแก่
กองทัพฝ่ ายโจโฉ ก็เพราะทหารเล่าปี่ ที่มาอยู่กับกวนอูคิดทรยศกวนอูเพราะเห็น
แก่บำเหน็จที่โจโฉมอบให้ ยอมเปิ ดประตูเมืองให้โจโฉเข้ามายึดเมืองได้โดยง่าย

2. ให้นักเรียนยกตัวอย่างเหตุการณ์หรือคำพูดของตัวละครในเรื่องสามก๊ก
ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ ที่สะท้อนความเชื่อของคนจีนด้านต่างๆ
ต่อไปนี ้
2.1 ความเชื่อเรื่องความฝั นบอกเหตุ
16

ความเชื่อเรื่องความฝั นบอกเหตุปรากฏในตอนที่นางกำฮูหยินภรรยาเล่าปี่ ฝั น
ว่าเล่าปี่ ตกหลุม เมื่อตื่นขึน
้ ก็ตกใจ เห็นว่าฝั นนีค
้ งบอกเหตุว่าเล่าปี่ ตายเสียแล้ว
ทำให้นางเสียใจมาก ร้องไห้กับนางบิฮูหยินภรรยาอีกคนหนึ่งของเล่าปี่ เมื่อกวนอู
ทราบเรื่องก็เกิดวิตกและเห็นคล้อยตามด้วยว่าฝั นนีเ้ ป็ นฝั นร้าย เล่าปี่ น่าจะตกอยู่
ในอันตราย แล้วก็ร้องไห้เสียใจตามภรรยาเล่าปี่ ด้วย
2.2 ความเชื่อเรื่องบุญกรรมและวาสนา

ความเชื่อเรื่องบุญกรรมและวาสนาปรากฏหลายตอน เช่น ตอนนางกำฮูหยิน


ภรรยาเล่าปี่ ทราบว่ากวนอูยอมเข้ารับราชการกับโจโฉ ก็กล่าวว่า “เวลาคืนนีโ้ จโฉ
เข้าในเมืองได้ พี่นเี ้ กรงอยู่ว่าจะเป็ นอันตรายต่างๆ เป็ นเดชะบุญของเรา…”
หรือในตอนที่เตียวเลีย
้ วกล่าวกับโจโฉว่า โจโฉเป็ นผู้มีบุญวาสนากว่าเล่าปี่ ดังที่
กล่าวว่า “อันมหาอุปราชมีวาสนากว่าเล่าปี่ เป็ นอันมาก ถ้าท่านได้กวนอูมาไว้ทำนุ
บำรุงให้ถึงขนาด เห็นกวนอูจะมีกตัญญูต่อท่านยิ่งนัก”
2.3 ความเชื่อเรื่องโชคลาง

ความเชื่อเรื่องโชคลางปรากฏในตอนที่เกิดลมพายุพัดธงชัยในกองทัพของโจโฉ
หัก โจโฉให้ซุนฮกทำนาย ทายทัก ว่าการที่ลมตะวันออกพัดธงชัยหักนัน
้ เป็ น
ลางบอกเหตุว่า คืนนีเ้ ล่าปี่ จะยกออกมาปล้นค่ายของโจโฉ

3. ให้นักเรียนยกตัวอย่างเหตุการณ์ในเรื่องสามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการ
กับโจโฉ ที่สะท้อนขนบธรรมเนียมประเพณีจีนในด้านต่างๆ ต่อไปนี ้
3.1 การจัดโต๊ะอาหารเลีย
้ งแขก

การจัดเลีย
้ งอาหารเป็ นวัฒนธรรมที่โดดเด่นประการหนึ่งของคนจีน ทัง้ ใน
โอกาสต้อนรับแขก แสดงความยินดี หรือขอบคุณ ตอนที่กวนอูยอมเข้ารับ
ราชการกับโจโฉ โจโฉก็ให้แต่งโต๊ะเลีย
้ งต้อนรับกวนอู เป็ นต้น
17

3.2 การให้ของกำนัลในโอกาสต่างๆ

ชาวจีนนิยมให้ของกำนัลหรือของขวัญในเกือบทุกเทศกาลและโอกาส เช่น วัน


ตรุษจีน วันสารท และโอกาสอื่นๆ ในเรื่องสามก๊ก ปรากฏธรรมเนียมดังกล่าว
หลายตอน เช่น โจโฉให้เครื่องเงินเครื่องทองและแพรพรรณอย่างดีแก่ กวนอู
เมื่อเห็นกวนอูใส่เสื้อเก่าขาด ก็มอบเสื้อใหม่ให้กวนอู และเมื่อเห็นม้ากวนอูผอมไร้
เรี่ยวแรง ก็มอบม้าเซ็กเธาว์ให้แก่กวนอู ทัง้ นีก
้ ็เพื่อผูกน้ำใจแก่กวนอู

3.3 การจัดตำแหน่งที่นั่งในการกินเลีย
้ ง

ตอนที่โจโฉแต่งโต๊ะจัดเลีย
้ ง โจโฉได้จัดให้กวนอูนั่งอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า
ขุนนางทัง้ ปวง เพื่อเป็ นการให้เกียรติและเพื่อแสดงว่า โจโฉให้ความสำคัญแก่
กวนอูมากกว่าขุนนางข้าราชการคนอื่นๆ เพื่อหวังผูกน้ำใจกวนอูไว้ เหตุการณ์ตอน
นีไ้ ด้สะท้อนธรรมเนียมการจัดตำแหน่งที่นั่งในการกินเลีย
้ งว่า ตำแหน่งของที่นั่ง
สามารถบ่งบ่อกถึงฐานะและความสำคัญของ ขุนนางข้าราชการได้
18

ใบงานที่ 4.2 เรื่อง พินิจสารอ่านชีวิตตอนกวนอูไปรับ


ราชการกับโจโฉ

คำชีแ
้ จง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี ้
1. ให้นักเรียนวิเคราะห์และอธิบายคุณธรรมและคุณสมบัติที่ควรถือเป็ นแบบ
อย่างของตัวละครต่อไปนี ้
1.1 กวนอู

1.2 โจโฉ
19

1.3 เตียวเลีย
้ ว

2. จากการที่นักเรียนได้ศึกษาเรื่องสามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ
นักเรียนประทับใจตัวละครตัวใดมากที่สุด เพราะเหตุใด
20

3. นักเรียนคิดว่าคุณธรรมข้อใดของตัวละครในเรื่องสามก๊ก ตอนกวนอูไปรับ
ราชการกับโจโฉ ที่จำเป็ นสำหรับสังคมยุคปั จจุบันมากที่สุด เพราะเหตุใด

เฉลย
ใบงานที่ 4.2 เรื่อง พินิจสารอ่านชีวิต
ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ
คำชีแ
้ จง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี ้
1. ให้นักเรียนวิเคราะห์และอธิบายคุณธรรมและคุณสมบัติที่ควรถือเป็ นแบบ
อย่างของตัวละครต่อไปนี ้
1.1 กวนอู
- ซื่อสัตย์และกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ คุณธรรมข้อนีถ
้ ือเป็ นข้อที่โดดเด่นที่สุด
ของกวนอู ดังจะเห็นได้ว่ากวนอูเป็ นผู้ที่ซ่ ือสัตย์และกตัญญูต่อเล่าปี่ ผู้มีพระคุณ
อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเล่าปี่ ซึ่งกวนอูถือว่าเป็ นผู้ที่มีบุญคุณต่อตนเองมาก
ที่สุด แม้ภายหลังกวนอูจะเข้ารับราชการกับโจโฉ ก็ยังคงกตัญญูและระลึกถึงเล่า
ปี่ อยู่เสมอ ความกตัญญูนเี ้ ห็นได้ชัดเจนจากการที่กวนอูดูแลปกป้ องภรรยาของเล่า
21

ปี่ อย่างดียิ่ง และเห็นได้ชัดจากข้อสัญญาที่กวนอูขอจากโจโฉก่อนจะยอมเข้ารับ


ราชการกับโจโฉว่า หากกวนอูร้วู ่าเล่าปี่ อยู่ที่ใดก็จะขอไปหาเล่าปี่ ทันทีโดยไม่
จำเป็ นต้องบอกโจโฉก่อน ขณะเดียวกัน กวนอูเองก็ถือว่าโจโฉเป็ นผู้มีพระคุณคน
หนึ่งเช่นกัน เพราะได้ให้กวนอูเข้ารับราชการด้วย อีกทัง้ ยังดูแลกวนอูและภรรยา
เล่าปี่ อย่างดี กวนอูจึงตัง้ ปณิธานว่าจะต้องทดแทนคุณของโจโฉด้วยเช่นกัน

- กล้าหาญและเก่งกาจในการรบ กวนอูเป็ นนักรบที่กล้าหาญ และมีความ


ชำนาญในฝี มือการรบอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากตอนที่รบกับแฮหัวตุ้น แม้ว่าแฮหัว
ตุนจะคุมทหารมารบล้อมและกระหนาบไว้ แต่กวนอูก็สามารถรบป้ องกันไว้ได้
1.2 โจโฉ
- เป็ นผู้นำและแม่ทัพที่เฉลียวฉลาด โจโฉสามารถวิเคราะห์การศึกและวางกล
อุบายการศึกได้อย่างเยี่ยมยอดจนฝ่ ายข้าศึกเสียทีและตกหลุมพรางหลายครัง้ ดัง
จะเห็นจากตอนที่โจโฉวางแผนการศึกโจมตีเมืองชีจิ๋วของเล่าปี่ โจโฉได้วางแผน
และสั่งการให้กองกำลังทหารส่วนใหญ่ไปซุ่มอยู่นอกค่ายทัง้ 8 ทิศ รอจังหวะเมื่อ
ทัพฝ่ ายเล่าปี่ ยกมาปล้นค่าย ก็ให้กองทหารที่ซุ่มอยู่นัน
้ ออกมาตีกระหนาบและ
ล้อมทัพฝ่ ายเล่าปี่ จนทัพฝ่ ายเล่าปี่ แตกพ่าย
- รักษาวาจาสัตย์ โจโฉเป็ นผู้ที่ถือสัจจะ เมื่อรับปากเรื่องใดแล้วก็ไม่คืนคำ ดัง
ที่โจโฉยอมรับสัญญา 3 ประการที่กวนอูขอ ก่อนจะยอมรับราชการกับโจโฉ โจโฉ
ก็ได้ทำตามสัญญาที่รับปากไว้ทุกประการ ได้แก่ สัญญาที่กวนอูขอเป็ นข้ารับใช้
พระเจ้าเหีย
้ นเต้ ขอดูแลภรรยาทัง้ สองของเล่าปี่ อย่างดี และขอว่าหากรู้ว่าเล่าปี่
อยู่ที่ใด ก็จะไปหาเล่าปี่ ทันที
- เป็ นผู้นำที่ร้จ
ู ักผูกใจบริวาร โจโฉเป็ นผู้ปกครองที่ร้จ
ู ักผูกใจบริวารหรือผู้ใต้
บังคับบัญชาได้เป็ นอย่างดี เช่น เมื่อเห็นกวนอูใส่เสื้อเก่าขาด ก็มอบเสื้อใหม่ให้
หรือเมื่อเห็นม้าของกวนอูผอมไร้เรี่ยวแรง ก็มอบม้าตัวใหม่ให้ เป็ นต้น
1.3 เตียวเลีย
้ ว
- มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด รู้จักใช้โวหารโน้มน้าวใจคน ดังจะเห็นได้จากตอนที่
เตียวเลีย
้ วพูดเจรจาเกลีย
้ กล่อมให้กวนอูยอมรับราชการกับโจโฉ เตียวเลีย
้ วได้
กล่าวถึงโทษหรือผลร้ายที่จะเกิดขึน
้ หากกวนอูไม่รับราชการกับโจโฉ และข้อดีหาก
22

กวนอูเข้ารับราชการกับโจโฉ ทำให้กวนอูเห็นคล้อยตาม และยอมเข้ารับราชการ


กับโจโฉในที่สุด
2. จากการที่นักเรียนได้ศึกษาเรื่องสามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ
นักเรียนประทับใจตัวละครตัวใดมากที่สุด เพราะเหตุใด
(พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครู
ผู้สอน)
3. นักเรียนคิดว่าคุณธรรมข้อใดของตัวละครในเรื่องสามก๊ก ตอนกวนอูไปรับ
ราชการกับโจโฉ ที่จำเป็ นสำหรับสังคม ยุคปั จจุบันมากที่สุด เพราะเหตุ
ใด
(พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครู
ผู้สอน)

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
คำชีแ
้ จง : ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียน แล้วขีด 
ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน
การ
ปั ญหา/
ความร่วม การแสดง การรับฟั ง รวม
การตัง้ ใจ หรือ
ลำดั ชื่อ-สกุล มือกันทำ ความคิด ความคิด 20
ทำงาน ปรับปรุง
บที่ ผู้รับการประเมิน กิจกรรม เห็น เห็น คะแ
ผลงาน
นน
กลุ่ม
4 3 2 1 4 3 2 1 4 3 2 1 4 3 2 1 4 3 2 1
1

2
3
4
5
23

6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35

เกณฑ์การให้คะแนน
24

ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ให้ 4 คะแนน


ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครัง้ ให้ 3 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครัง้ ให้ 2 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมน้อยครัง้ ให้ 1 คะแนน

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
18 - 20 ดีมาก
14 - 17 ดี
10 - 13 พอใช้
ต่ำกว่า 10 ปรับปรุง

ลงชื่อ...................................................ผู้ประเมิน

............../.................../......
..........
25

แบบบันทึกคะแนนการประเมินคุณลักษณะ
คำชีแ
้ จง ให้ครูผส
ู้ อนสังเกตและประเมินพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่าง
การเรียนการสอน
ใฝ่ เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง
แสวง เห็น
หา ใช้ คุณค่า
มีการ สรุป วางแ
ข้อมู ทรัพย์ และ
จด ควา ปฏิบัติ ผน รวม
ล สิน ความ
เลข บันทึ มรู้ได้ ตน การ คะแน
ชื่อ-สกุล จาก อย่าง สำคัญ
ที่ ก อย่าง อย่างมี ทำงา น
แหล่ ประห ของ
ควา ถูก เหตุผล นเป็ น
ง ยัดคุ้ม วรรณค
มรู้ ต้อง ระบบ
เรียน ค่า ดีไทย
รู้
1 1 1 1 1 1 4 10
1
2
3
4
5
26

6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35

เกณฑ์การให้คะแนนคุณลักษณะใฝ่ เรียนรู้ และอยู่อย่างพอเพียง


พฤติกรรมที่ปฏิบัติสม่ำเสมอ ให้ 1 คะแนน
พฤติกรรมที่ไม่ปฏิบัติ ให้ 0 คะแนน
27

เกณฑ์การให้คะแนนเห็นคุณค่าและความสำคัญของวรรณคดีไทย
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ให้ 4 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครัง้ ให้ 3 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครัง้ ให้ 2 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมน้อยครัง้ ให้ 1 คะแนน

เกณฑ์การประเมิน คะแนนเต็ม 10 คะแนน


คะแนน 9 - 10 อยู่ในระดับ ดีมาก
คะแนน 6– 8 อยู่ในระดับ ดี
คะแนน 4 – 5 อยู่ในระดับ พอใช้
คะแนน 0 - 3 อยู่ในระดับ ควรปรับปรุง
เกณฑ์การผ่าน ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าระดับคุณภาพ ดี ได้ 6 คะแนน ขึน

ไป

ลงชื่อ.............................................................ผู้ประเมิน
............../.................
../................
28

แบบประเมินสมรรถนะการคิด
คำชีแ
้ จง : ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียน แล้วขีด 
ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน
ความ
คิดนอก คิดตัดสิน
คิด คิดอย่าง สามารถ
กรอบ ใจแก้ รวม
วิเคราะห์ มี ในการ
ลำดั ชื่อ-สกุล อย่าง ปั ญหาได้ 20
สังเคราะ วิจารณ สร้าง
บที่ ผู้รับการประเมิน สร้างสรร เหมาะ คะแ
ห์ ญาณ องค์
ค์ สม นน
ความรู้
4 3 2 1 4 3 2 1 4 3 2 1 4 3 2 1 4 3 2 1
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
29

13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35

เกณฑ์การให้คะแนนระดับคุณภาพ
- พฤติกรรมที่ปฏิบัติชัดเจนและสม่ำเสมอ ให้ 4 คะแนน
- พฤติกรรมที่ปฏิบัติชัดเจนและบ่อยครัง้ ให้ 3 คะแนน
- พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครัง้ ให้ 2 คะแนน
- ไม่เคยปฏิบัติพฤติกรรม ให้ 1 คะแนน
30

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
18 - 20 ดีมาก
14 - 17 ดี
10 - 13 พอใช้
ต่ำกว่า 10 ปรับปรุง

ลงชื่อ...................................................ผู้ประเมิน
............../........
.........../................
31

แบบประเมินสมรรถนะการสื่อสาร
คำชีแ
้ จง : ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียน แล้วขีด 
ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน
การ
วิธีการ เลือกรับ
ความ ถ่าย
สื่อสารที่ เจรจา ข้อมูล
สามารถ ทอด รวม
เหมาะ เพื่อลด ด้วย
ลำดั ชื่อ-สกุล ในการ โดยใช้ 20
สม มี ความขัด เหตุผล
บที่ ผู้รับการประเมิน รับ- ภาษา คะแ
ประสิทธิ แย้ง และถูก
ส่งสาร อย่าง นน
ภาพ ต้อง
เหมาะสม
4 3 2 1 4 3 2 1 4 3 2 1 4 3 2 1 4 3 2 1
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
32

17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35

เกณฑ์การให้คะแนนระดับคุณภาพ
- พฤติกรรมที่ปฏิบัติชัดเจนและสม่ำเสมอ ให้ 4 คะแนน
- พฤติกรรมที่ปฏิบัติชัดเจนและบ่อยครัง้ ให้ 3 คะแนน
- พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครัง้ ให้ 2 คะแนน
- ไม่เคยปฏิบัติพฤติกรรม ให้ 1 คะแนน

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
18 - 20 ดีมาก
33

14 - 17 ดี
10 - 13 พอใช้
ต่ำกว่า 10 ปรับปรุง

ลงชื่อ...................................................ผู้ประเมิน
............../........
.........../................
34

ใบความรู้ รอบรู้เรื่องสามก๊ก
เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง สามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการ
กับโจโฉ

ความเป็ นมา
จีนเรียกสามก๊กว่า สามก๊กจี่ แปลว่า จดหมายเหตุเรื่อง สามก๊ก เป็ น
หนังสือที่ปราชญ์จีนได้เลือกในพงศาวดารตอนหนึ่งมาแต่งขึน
้ เดิมใช้เล่า
นิทานกันทั่วไป ต่อมามีผู้นำไปเล่นงิว้ หนังสือสามก๊กแต่งขึน
้ ในสมัยรางวงศ์ไต้
เหม็ง โดยนักปราชญ์จีนชื่อ ล่อกวนตง มีจุดประสงค์ที่จะให้ใช้เป็ นตำรา
สำหรับศึกษาอุบายการเมืองและการสงคราม
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็ นผู้อำนวยการแปลสามก๊กเป็ นภาษาไทย
วรรณคดีสโมสรยกย่องสามก๊กให้เป็ น ยอดของความเรียงนิทาน

ประวัติผู้แต่ง
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) มีนามเดิมว่า หน เป็ นบุตรเจ้าพระยาบดินทร์
สุรินทร์ฤาชัย (บุญมี) กับท่านผู้หญิงเจริญ รับราชการสมัยธนบุรี มี
บรรดาศักดิเ์ ป็ น หลวงสรวิชิต นายด่านเมืองอุทัยธานี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่
๑ได้ตามเสด็จพระราชดำเนินไปในสงครามมาโดยตลอด จึงได้เลื่อน
บรรดาศักดิเ์ ป็ นพระยาพิพัฒน์โกษาและเจ้าพระยาพระคลัง นอกจากนี ้ ยังมี
ความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็ นร้อยแก้วหรือ
ร้อยกรอง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถึงแก่อสัญกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ.
๒๓๔๘

ลักษณะคำประพันธ์
35

สามก๊กแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทความเรียงร้อยแก้ว โดยแปล
จากภาษาจีนมาเป็ นภาษาไทยแล้วเรียบเรียงใหม่ ใช้ประโยคกะทัดรัด ไม่มี
ศัพท์ยาก ภาษาไม่ซับซ้อน การพรรณนาเด่นชัด มีบทอุปมาอุปไมยที่ลึกซึง้
คมคาย

เรื่องย่อ
เมืองจีน สมัย พ.ศ. ๗๑๑ เป็ นต้นมามีพระเจ้าเหีย
้ นเต้ กษัตริย์ราชวงศ์
ฮั่นอ่อนแอ ตัง๋ โต๊ะผู้สำเร็จราชการกังฉินได้บีบพระเจ้าเหีย
้ นเต้ อ้องอุ้นจึง
ออกอุบายให้ลิโป้ ฆ่าตั๋งโต๊ะ ทำให้เกิดความแตกแยกระส่ำระสายในบ้านเมือง
มีสงครามรบพุ่งชิงอำนาจกันเพื่อเป็ นใหญ่ ในที่สุดก็แตกแยกออกเป็ นสามก๊ก
ซึ่งต่างก็มีอาณาเขตเป็ นอิสระ ได้แก่
๑. วุยก๊ก มีโจโฉเป็ นหัวหน้า
๒. จ๊กก๊ก มีเล่าปี่ เป็ นผู้นำ
๓. ง่อก๊ก มีซุนกวนเป็ นผู้นำ
ทัง้ สามก๊กนีท
้ ำสงครามขับเคี่ยวกันเป็ นเวลานานจนเสื่อมอำนาจลง ต่อ
มาได้มีผู้ตงั ้ ราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์จน
ิ ้ แผ่นดินจีนจึงได้กลับมารวมกันเป็ น
อาณาจักรเดียวกันอีกครัง้ หนึ่ง ใน พ.ศ. ๘๒๓

วุยก๊ก เป็ นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ใน


ระหว่าง พ.ศ. ๗๖๓ – ๘๐๘ ครอบคราองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน
ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาพระเจ้าโจผีได้สถาปนาโจโฉเป็ นจักรพรรดิแห่ง
ราชวงศ์ วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กถูกโจมตีและโค่นล้มราชวงศ์วุยโดยสุมา
เอี๋ยน ซึ่งต่อมาภายหลังได้สถาปนาราชวงศ์จน
ิ ้ ขึน
้ แทนและรวบรวมแผ่นดินที่
แบ่งเป็ นก๊กต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน
36

จ๊กก๊ก ปกครองโดยเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ในระหว่าง พ.ศ.


๗๖๔ –๘๐๖ จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน
บริเวณมณฑลเสฉวน ปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิ สืบต่อกันมาทัง้ หมด
สองพระองค์คือพระเจ้าเล่าปี่ และพระเจ้าเล่าเสีย
้ น จ๊กก๊กล่มสลายลงด้วยกอง
ทัพของวุยก๊ก อันเนื่องมาจากการปกครองแผ่นดินที่ล้มเหลวของพระเจ้าเล่า
เสีย
้ น
ง่อก๊ก ครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวะนออกของประเทศจีนทางบริเวณ
ตอนใต้ของแม่น้ำฉางเจียง ซึ่งก็คือพื้นที่บริเวณรอบๆเมืองนานกิงในปั จจุบัน
ง่อก๊กเป็ นอาณาจักรสุดท้ายในบรรดาสามก๊กล่มสลายโดยกองทัพของสุมา
เอี๋ยน

เนื้อเรื่องย่อตอนที่เรียน
สามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการโจโฉ กล่าวถึงโจโฉตีเมืองเสียวพ่าย
และเมืองซีจิ๋วซึ่งเป็ นหัวเมืองของจ๊กก๊กได้แล้ว คิดจะไปตีเมืองแห้ฝือ เมืองที่
กวนอูอยู่ดูแลรักษาครอบครัวของเล่าปี่ โจโฉปรึกษากับเทียหยกที่จะกำจัด
เล่าปี่ กับม้าเท้ง แต่การกำจัดม้าเท้งนัน
้ ยาก เพราะม้าเท้งอยู่เมืองเสเหลียง
เป็ นเมืองใหญ่มีทหารจำนวนมากกำจัดได้ยาก จึงคิดกำจัดเล่าปี่ ก่อน
ฝ่ ายโจโฉเข้ายึดเมืองซีจิ๋วของเล่าปี่ ได้ เล่าปี่ ต้องลีภ
้ ัยไปหาอ้วนเสีย
้ วที่
เมืองกิจิ๋ว ต่อมาโจโฉยกไปตีเมืองแห้ฝือของกวนอู โดยให้ทหารไปล่อให้กวนอู
ไล่ตามออกมานอกเมืองแล้วล้อมจับกวนอู โจโฉอยากได้กวนอูไว้เป็ นทหาร
ด้วยความชื่นชมในฝี มือของกวนอู จึงให้เตียวเลีย
้ วซึ่งกวนอูเคยช่วยชีวิตไว้
เป็ นผู้เข้าไปเกลีย
้ กล่อม กวนอูยอมจำนนแต่ขอสัญญาสามข้อ ข้อแรกขอให้ได้
เป็ นข้ารับใช้พระเจ้าเหีย
้ นเต้ ข้อสองขออยู่ดูแลพีส
่ ะใภ้ทงั ้ สองคน และข้อ
สุดท้ายหากทราบว่าเล่าปี่ อยู่ที่ใดตนจะไปหาแม้ว่าจะไม่ได้ร่ำลาโจโฉก่อน
ก็ตาม ในทีแรกโจโฉไม่ยอมรับในสัญญาข้อสุดท้าย เตียวเลีย
้ วจึงยกนิทานเรื่อ
37

งอิเยียงผู้กตัญญูมาเล่าให้ฟัง เพื่อให้เห็นว่ากวนอูนน
ั ้ เป็ นคนกตัญญูมาก หาก
โจโฉเลีย
้ งดูอย่างดีก็อาจผูกใจกวนอูได้ โจโฉจึงยอมรับเงื่อนไขของกวนอู
โจโฉพากวนอูไปถวายตัวเป็ นทหารพระเจ้าเหีย
้ นเต้ และเลีย
้ งดูกวนอู
กับพีส
่ ะใภ้ทงั ้ สองคนอย่างสุขสบาย กวนอูก็มิได้มีน้ำใจตอบโจโฉ แต่เมื่อโจ
โฉมอบม้าเซ็กเธาว์ให้แก่กวนอู กวนอูกลับมีความยินดีเป็ นอย่างยิ่ง โจโฉ
แปลกใจเพราะก่อนหน้านีแ
้ ม้โจโฉจะให้ทรัพย์สินเงินทองหรือสิ่งของมีค่าอัน
ใดแก่กวนอู กวนอูก็ไม่เคยแสดงความยินดีให้เห็น จนเมื่อกวนอูบอกความใน
ใจว่าม้าเซ็กเธาว์เป็ นม้าที่มีกำลังแรงสามารถเดินทางได้ไกล หากรู้ว่าเล่าปี่ อยู่
ที่ใดจะสามารถไปหาได้โดยเร็ว โจโฉได้ฟังดังนัน
้ ก็คิดน้อยใจ เตียวเลีย
้ วจึงรับ
อาสาลองความคิดกวนอู และได้ร้ว
ู ่ากวนอูยังคงซื่อสัตย์ต่อเล่าปี่ แต่กวนอูเป็ น
คนกตัญญูคงจะไม่ไปจากโจโฉจนกว่า จะได้ตอบแทนบุญคุณ ดังนัน
้ โจโฉจึงไม่
ให้กวนอูอาสารบ ด้วยเกรงว่าเมื่อกวนอูทำความชอบแทนคุณตนแล้วก็จะหนี
ไปหาเล่าปี่

บทวิเคราะห์
๑. คุณค่าด้านเนื้อหา
๑) รูปแบบ สามก๊กเป็ นยอดวรรณคดีความเรียวนิทาน เป็ นวรรณคดี
ร้อยแก้วแปลจากภาษาจีนมาเป็ นภาษาไทย แล้วเรียบเรียงใหม่ด้วยถ้อยคำที่
สละสลวย กะทัดรัด เข้าใจง่าย มีสำนวนโวหารเปรียบเทียบลึกซึง้ คมคายและ
มีคติธรรม
๒) องค์ประกอบของเรื่อง จำแนกหัวข้อต่างๆได้ดังนี ้
๒.๑ สาระ เรื่องสามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการโจโฉ กล่าวถึงโจ
โฉตัง้ ตัวเป็ นมหาอุปราชในสมัยพระเจ้าเหีย
้ นเต้ ต้องการกำจัดเล่าปี่ ซึ่งครอง
38

เมืองซีจิ๋ว และเข้ายึดเมืองได้สำเร็จ เล่าปี่ หนีไปเมืองกิจิ๋ว จากนัน


้ โจโฉก็ยก
กองทัพไปตีเมืองแห้ฝือของกวนอู เมื่อโจโฉจับกวนอูได้และให้เตียวเลีย
้ วเกลีย

กล่อมกวนอูให้มาอยู่ด้วย กวนอูยอมจำนวนขอสัญญาสามข้อ โจโฉยอมรับ
เงื่อนไขของกวนอู โจโฉทำตามสัญญาของกวนอูทงั ้ ๓ ข้อ เอาใจกวนอูและพี่
สะใภ้ของกวนอูอย่างดี แต่กวนอูก็ไม่ได้มีน้ำใจตอบโจโฉ ยังคงซื่อสัตย์และ
จงรักภักดีต่อเล่าปี่ อย่างแนบแน่น โจโฉคิดน้อยใจแต่ก็เชื่อในความกตัญญู
ของกวนอู ว่าคงจะไม่หนีไปจนกว่าจะได้ตอบแทนบุญคุณ ความซื่อสัตย์
กตัญญูและการใช้กลอุบายเจรจาโน้มน้าวใจเป็ นสิ่งสำคัญของเรื่องในตอนนี ้
๒.๒ โครงเรื่อง การลำดับเหตุการณ์ต่างๆ แต่ละขัน
้ ตอนในเรื่อง
สอดคล้องสัมพันธ์กันจนแสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่กวีต้องการสื่อออกมาอย่าง
ชัดเจน ในเรื่องความซื่อสัตย์ของกวนอู สามก๊กตอนที่เรียนเป็ นการทำ
สงครามของโจโฉกับเล่าปี่ และกวนอู โจโฉมีทหารเอกคอยให้คำปรึกษาและ
วางกลอุบายในการศึก จนสามารถเอาชนะเล่าปี่ และเกลีย
้ กล่อมให้กวนอูเข้า
มาอยู่ฝ่ายตน แต่ในที่สุดโจโฉก็ไม่สามารถชนะใจกวนอูผู้มีความซื่อสัตย์จงรัก
ภักดีต่อเล่าปี่ ได้
๒.๓ ฉากและบรรยากาศ เรื่องสามก๊ก สมัยพระเจ้าเหีย
้ นเต้เกิดความ
แตกแยกแย่งชิงอำนาจกัน ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ เป็ นช่วงที่โจโฉมี
อำนาจตัง้ ตัวเป็ นมหาอุปราชและเป็ นผูส
้ ำเร็จราชการแทนพระเจ้าแผ่นดินโจ
โฉขยายอิทธิพลยกทัพไปปราบหัวเมืองต่างๆ
๒.๔ ตัวละคร ในเรื่องสามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉมีตัว
ละครที่มีบทบาทสำคัญ ดังนี ้
๑) กวนอู เป็ นชาวเมืองฮอตัง้ ไก่เหลียง เป็ นพี่น้องร่วมสาบานกับเล่าปี่ และ
เตียวหุย มีง้าวยาวสิบเอ็ดศอก หนักแปดสิบสองชั่งเป็ นอาวุธประจำกาย เป็ น
บุรุษผู้มีหนวดงามและรูปงาม ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่เด่นชัดของกวนอู
ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องตอนนี ้ ดังนี ้
39

๑. เป็ นผู้มค
ี วามซื่อสัตย์และกตัญญูต่อผู้มีบุญคุณทุกคนดังปรากฏ
ตอนที่เตียวเลีย
้ วลองถามความคิดของกวนอูที่มีต่อโจโฉ กวนอูตอบว่า
“ซึ่งมหาอุปราชมีคณ
ุ แก่เราก็จริงอยู่ แต่เปรียบเล่าปี่ นัน
้ ยังมิได้
ด้วยเล่าปี่ นัน
้ มีคุณแก่เราก่อน ประการหนึ่งก็ได้สาบานไว้ต่อกันว่าเป็ นพี่
น้อง เราจึงได้ตงั ้ ใจรักษาสัตย์อยู่ ทุกวันนีเ้ ราก็คิดถึงมหาอุปราชอยู่มิได้
ขาด ถึงมาตรว่าเราจะไปจากก็จะขอแทนคุณเสียก่อนให้มีช่ อ
ื ปรากฏไว้
เราจึงจะไป”
ทัง้ นีต
้ ลอดระยะเวลาที่เล่าปี่ ไม่อยู่ กวนอูก็ปฏิบัติตนต่อภรรยาทัง้
สองของเล่าปี่ อย่างสุจริตใจและให้เกียรติอย่างสม่ำเสมอมิให้เป็ นที่
ครหา จนโจโฉสรรเสริญในความซื่อสัตย์ของกวนอู ดังความว่า
“..ครัน
้ ถึงสามวันกวนอูจึงไปเยือนพี่สะใภ้ครัง้ หนึง่ นั่งอยู่แต่นอก
ประตูแล้วถามว่า พี่อยู่ปกติอยู่หรือ หรือป่ วยไข้ประการใดบ้าง พี่สะใภ้
จึงตอบว่า ปกติอยู่มิได้ป่วยไข้ประการใด เจ้ารู้ข่างเล่าปี่ ข้างหรือไม่
กวนอูว่าไม่แจ้ง แล้วคำนับพีส
่ ะใภ้ลากลับมา โจโฉรู้กิตติศพ
ั ท์ว่ากวนอู
ปฏิบัติพี่สะใภ้สุจริตดังนัน
้ ก็สรรเสริญกวนอูว่ามีความสัตย์หาผู้เสมอ
มิได้....”
๒. เป็ นผู้มค
ี วามชำนาญในการรบ กวนอูเป็ นผู้ที่มีความกล้าหาญ
เด็ดเดี่ยว มีความชำนาญในการสู้รบ และมีความเชื่อมั่นในฝี มือการรบ
ของตนเอง ดังจะเห็นได้จาดตอนที่โจโฉกล่าวชื่นชมฝี มือการรบของ
กวนอูให้เหล่าทหารฟั ง และต้องการกวนอูมาร่วมกองทัพด้วย
“..ซุนฮกจึงว่า ข้าพเจ้ารู้กิตติศัพท์ว่า เล่าปี่ ให้กวนอูรักษา
ครอบครัวอยู่เมืองแห้ฝือ ซึ่งท่านจะยกทัพไปตีนน
ั ้ ควรนัก ถ้าละไว้อ้วน
เสีย
้ วก็จะยกมาพาเอาครอบครัวเล่าปี่ ไป โจโฉจึงตอบว่า อันกวนอูนน
ั ้ มี
ฝี มือกล้าหาญชำนาญในการสงคราม เราจะใคร่ได้ตัวมาเลีย
้ งเป็ นทหาร
เราจะแต่งคนให้ไปเกลีย
้ กล่อมจึงจะได้...”
40

เตียวเลีย
้ วเกลีย
้ กล่อมกวนอูให้มารับราชการกับโจโฉ โดยกล่าวถึง
ความสามารถของกวนอูในการสู้รบว่า
“...อีกประการหนึ่งนัน
้ ท่านก็มีฝีมือกล้าหาญ แล้วแจ้วใจใน
ขนบธรรมเนียมโบราณมาเป็ นอันมาก เหตุใดท่านจึงไม่รักษาชีวิตไว้
คอยท่าเล่าปี่ จะได้ช่วยกันคิด การทำนุบำรุงแผ่นดินให้อยู่เย็น
เป็ นสุข...”
๒) โจโฉ เป็ นชาวเมืองตันสิว และอยู่ในตระกูลขุนนางมาก่อน โจโฉเป็ นผู้มี
สติปัญญาเฉลียวฉลาดและมีความเป็ นผู้นำ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็ นผู้ที่มี
เล่หเ์ หลี่ยมกลอุบายโดย ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ ได้แสดงลักษณะ
นิสัยและพฤติกรรมของโจโฉที่เด่นชัดดังนี ้
๑. เป็ นผู้ที่ชำนาญในการวางกลอุบายศึก โจโฉสามารถวิเคราะห์
การศึกและวางกลอุบาย การศึกที่ซับซ้อนจนฝ่ ายข้าศึกคิดไม่ถึง กว่า
ข้าศึกจะรู้ตัวก็ตกหลุมพราง เสียเปรียบโจโฉเสียแล้ว ดังจะเห็นได้จาก
ตอนที่ โจโฉจะยกทัพไปโจมตีเมืองซีจิ๋วของเล่าปี่ ความว่า
“...โจโฉจึงให้แบ่งทหารเป็ นสิบเอ็ดกอง กองหนึง่ ให้อยู่รักษาค่าย
แปดกองนัน
้ ให้นายทหารเอก คุมทหารเลวยกแยกออกไปซุ่มอยู่นอก
ค่ายทัง้ แปดทิศ ถ้าเห็นกองทัพผู้ใดยกมาปล้นค่าย ก็ให้ทหารทัง้ แปด
กองตีกระหนาบล้อมเข้ามา สองกองนัน
้ ให้แยกกันไปตัง้ สกัดอยู่ปากทาง
เมืองชีจิ๋วกองหนึ่ง เมืองแห้ฝือกองหนึ่ง”
๒. เป็ นผู้ที่มีวาจาสัตย์ เมื่อโจโฉรับปากเรื่องใดแล้วก็มิได้คืนคำดัง
ที่โจโฉรับสัญญา ๓ ข้อ เพื่อให้กวนอูยินยอมรับราชการอยู่กับโจโฉ โจ
โฉก้ได้กระทำตามสัญญาที่รับปากไว้ เมื่อกวนอูขอคำมั่นในสัญญาจาก
โจโฉ โจโฉจึงกล่าวย้ำว่า
“...โจโฉจึงว่าซึ่งปฏิญาณของท่านนัน
้ เราได้สัญญาเขาไว้แล้ว
ครัน
้ จะให้ไปติดตามเอาตัวมาบัดนีก
้ ็จะเสียวาจาไป...”
41

๓. เป็ นผู้ที่ช่ น
ื ชอบผู้ที่มีความซื่อสัตย์ นับเป็ นลักษณะนิสัยที่เด่น
มากในตอนนี ้ โจโฉมีความปรารถนาที่จะได้กวนอูมารับราชการเพื่อเป็ น
กำลังแก่ตนเองสืบไป จึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อผูกใจกวนอู และแม้ว่า
โจโฉจะไม่สามารถเหนี่ยวรัง้ กวนอูไว้ได้ โจโฉก็ยังสรรเสริญในความ
ซื่อสัตย์และกตัญญูที่กวนอูมีต่อเล่าปี่ เสมอ เช่น ตอนที่โจโฉชวนกวนอู
มากินโต๊ะ โจโฉเห็นเสื้อกวนอูขาด จึงให้เสื้อตัวใหม่แก่กวนอู แต่กวนอู
กลับสวมเสื้อตัวเก่าทับเสื้อตัวใหม่ไว้ โดยให้เหตุผลที่สะเทือนใจโจโฉ
แต่โจโฉก็ยังไม่วายสรรเสริญในความซื่อสัตย์และกตัญญูที่กวนอูมีต่อเล่า
ปี่ ดังความว่า
“...กวนอูจึงว่าเสื้อเก่านีข
้ องเล่าปี่ ให้ บัดนีจ
้ ะไปอยู่ที่ใดมิได้แจ้ง
ข้าพเจ้าจึงเอาเสื้อผืนนีใ้ ส่ชน
ั ้ นอก หวังจะดูต่างหน้าเล่าปี่ ครัน
้ จะเอา
เสื้อใหม่ใส่ชน
ั ้ นอก คนทัง้ ปวงจะครหานินทาว่าได้ใหม่แล้วลืมเก่า โจโฉ
ได้ยินดังนัน
้ ก็สรรเสริญกวนอูว่ามีกตัญญูนักแต่คิดเสียใจอยู่ กวนอูก็ลา
โจโฉกลับมาที่อยู่”

๒.๕ กลวิธีการแต่ง กวีใช้กลวิธีบรรยายเล่าเรื่องอย่างละเอียด บางตอน


ให้ตัวละครเป็ นผู้เล่าด้วยการใช้บทสนทนานำ ซึ่งจากบทสนทนานีท
้ ำให้ผู้อ่าน
ได้ทราบเรื่องราวความเป็ นมาของเรื่อง ตลอดจนทราบลักษณะนิสัยใจคอและ
อารมณ์ของตัวละครได้

๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑) การสรรคำ สามก๊กเป็ นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็ นยอดของ
ความเรียงประเภทนิทาน เพราะแต่งดีทงั ้ เนื้อเรื่องและสำนวนที่แปลเป็ นไทย
ด้วยการเลือกใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ ดังนี ้
42

๑.๑ การเลือกใช้คำได้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ กวีใช้คำได้


ตรงความหมายและถ้อยคำที่ใช้ก็ไม่ใช่ศพ
ั ท์ยาก อ่านแล้วจะเข้าใจ
สถานการณ์ได้ทันที มีความไพเราะ สละสลวยเรียบง่าย เช่น
“..กวนอูได้ฟังดังนัน
้ ก็โกรธ จึงว่าแก่เตียวเลีย
้ วว่า เดิมเราถามตัวว่าจะ
เกลีย
้ กล่อมหรือ ตัวว่าหามิได้ แลตัวมากล่าวดังนี ้ จะว่าไม่เกลีย
้ กล่อมนัน
้ ตัว
จะประสงค์สิ่งใดเล่า แล้วว่าเราอยู่ในที่นก
ี ้ ็เป็ นที่คับขันอยู่ ซึ่งเราจะเข้าด้วยผู้
ใดนอกจากเล่าปี่ นัน
้ อย่าสงสัยเลย...”
๑.๒ การเลือกใช้คำที่เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง
เช่น ตอนที่กวนอูไปเข้าเฝ้ าพระเจ้าเหีย
้ นเต้ซึ่งเป็ นกษัตริย์ กวีเลือกใช้คำ
ราชาศัพท์ได้ถูกต้องเหมาะสมแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่องเช่น
“...ครัน
้ เวลาเช้ากวนอูเข้าไปเฝ้ า พระเจ้าเหีย
้ นเต้ทอดพระเนตรเห็น
กวนอูใสถุงหนวดดังนัน
้ จึงตรัสถามว่า ถุงใส่สิ่งใดแขวนอยู่ที่คอนัน
้ กวนอูจึง
ทูลว่า ถุงนีม
้ หาอุปราชให้ข้าพเจ้าสำหรับใส่หนวดไว้ แล้วกวนอูก็ถอดถวายให้
ทอดพระเนตร พระเจ้าเหีย
้ นเต้เห็นหนวดกวนอูยาวถึงอกเส้นละเอียดงาม
เสมอกัน แล้วตรัสสรรเสริญว่ากวนอูนห
ี ้ นวดงาม จึงพระราชทานชื่อว่าบีเยีย
งก๋ง แปลภาษาไทยว่าเจ้าหนวดงาม แล้วก็เสด็จขึน
้ ...”
๑.๓ การเลือกใช้คำได้เหมาะแก่ลักษระคำประพันธ์ เรื่องสามก๊ก ตอน
กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ กวีใช้ภาษาความเรียงนิทานประเภทร้อยแก้ว
การใช้ถ้อยคำและเรียงความเรียบร้อยสม่ำเสมอ อ่านเข้าใจง่าย ไม่มีศพ
ั ท์ยาก
ภาษาไม่ซับซ้อน ดังความว่า
“...ฝ่ ายทหารเล่าปี่ ซึ่งเข้าไปหากวนอูนน
ั ้ ครัน
้ เวลาพลบค่ำมิได้เห็น
กวนอูกลับเข้าเมืองก็ชวนกันเปิ ดประตูออกมาหวังจะรับโจโฉ ม้าใช้เห็นดังนัน

ก็เอาเนื้อความมาบอกโจโฉ โจโฉมีความยินดีก็คุมทหารเข้าเมืองแห้ฝือ แล้ว
ให้เอาเพลิงเผาเมืองขึน
้ หวังจะให้กวนอูเสียน้ำใจ ...”
43

๒) การใช้โวหาร กวีเลือกใช้ถ้อยคำในการบรรยายได้อย่างเหมาะ
สมกับเนื้อเรื่อง ทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพชัดเจน ดังนี ้
๒.๑ อุปมาโวหาร เป็ นโวหารที่ปรากฏในเรื่องสามก๊กตอน
กวนอูไปรับราชการโจโฉ เป็ นความเปรียบที่เข้าใจง่ายทำให้เกิดภาพที่ชัดเจน
ขึน
้ เช่น ตอนโจโฉคิดหาหนทางกำจัดเล่าปี่ และกล่าวเปรียบเล่าปี่ ว่าเหมือน
ลูกนก ดังความว่า
“...เล่าปี่ นัน
้ เป็ นคนมีสติปัญญา ถ้าละไว้ช้าก็จะมีกำลังมากขึน

อุปมาเหมือนลูกนกอันขนปี ก ยังไม่ขน
ึ ้ พร้อม แม้เราจะนิ่งไว้ให้อยู่ในรัง
ฉะนี ้ ถ้าขนขึน
้ พร้อมแล้วก็จะบินไปทางไกลได้ ซึ่งจะจับตัวนัน
้ จะได้
ความขัดสน...”
เมื่อกวนอูปฏิเสธที่จะไปรับราชการกับโจโฉ เตียวเลีย
้ วพยายาม
หาเหตุผลโน้มน้าวใจกวนอู โดยกล่าวเปรียบความลำบากที่กวนอูต้อง
เผชิญว่าเหมือนการลุยไฟและการข้ามมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ หากทำได้
ก็จะเป็ นที่ร้จ
ู ักสรรเสริญในภายภาคหน้า ดังความว่า
“...เหตุใดท่านจึงไม่รักษาชีวิตไว้คอยท่าเล่าปี่ จะได้ช่วยกันคิด
การทำนุบำรุงแผ่นดินให้อยู่เย็นเป็ นสุข ถึงมาตรว่าท่านจะได้รับความ
ลำบากก็อุปมาเหมือนหนึ่งลุยเพลิงอันลุกแลข้ามพระมหาสมุทรอัน
กว้างใหญ่ ก็จะลือชาปรากฏชื่อเสียงท่านไปภายหน้า ...”
เมื่อทหารโจโฉล้อมจับกวนอูไว้ แล้วเตียวเลีย
้ วขี่ม้าเข้ามาหาเพื่อ
เกลีย
้ กล่อมให้กวนอูเข้ากับฝ่ ายโจโฉ กวนอูได้ฟังเตียวเลีย
้ วก็โกรธกล่าว
ตอบโต้ไปว่าหากตายก็ไม่เสียดายชีวิต โดยเปรียบว่าความตายเหมือน
การนอนหลับไม่น่ากลัว ดังความว่า
“...ซึ่งเราจะเข้าด้วยผู้ใดนอกจากเล่าปี่ นัน
้ อย่าสงสัยตัวเราก็มิได้
รักชีวิต อันความตายอุปมาเหมือนนอนหลับ ท่านเร่งกลับไปบอกแก่โจ
โฉให้ตระเตรียมทหารไว้ให้พร้อม เราจะยกลงไปรบ....”
44

จากตัวอย่างความเปรียบที่ยกมานัน
้ จะเห็นได้ว่า เป็ นความ
เปรียบแบบอุปมา คือสิง่ หรือข้อความที่ยกมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่เรากล่าวถึง
เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจสิ่งที่กำลังกล่าวถึงได้อย่างชัดเจนและลึกซึง้ ยิ่งขึน

๒.๒ การใช้สำนวนโวหาร การที่คนไทย เป็ นคนเจ้าบทเจ้ากลอน
ชอบพูดจาให้เป็ นสำนวนต่างๆ จึงปรากฏในเรื่องสามก๊กตอนนี ้ ได้แก่ ได้ใหม่
แล้วลืมเก่า ดังตอนที่กวนอูกล่าวกับโจโฉว่าเหตุที่เอาเสื้อใหม่ที่โจโฉให้ใส่ไว้
ชัน
้ ใน แล้วเอาเสื้อเก่าใส่ชน
ั ้ นอกว่า
“กวนอูจึงว่าเสื้อเก่านีข
้ องเล่าปี่ ให้ บัดนีจ
้ ะไปอยู่ที่ใดมิได้แจ้ง
ข้าพเจ้าจึงเอาเสื้อผืนนีใ้ ส่ชน
ั ้ นอก หวังจะดูต่างหน้าเล่าปี่ ครัน
้ จะเอา
เสื้อใหม่ใส่ชน
ั ้ นอก คนทัง้ ปวงจะครหานินทาว่าได้ใหม่แล้วลืมเก่า”
สำนวนที่ปรากฏอีก ๑ สำนวน ได้แก่ ตัวตัวตายก่อนไข้ ซึ่ง
ปั จจุบันไม่ใช้แต่ใช้สำนวนว่า ตีตนไปก่อนไข้ ดังปรากฏตอนที่อ้วนเสีย
้ วแกล้ง
ทำเป็ นทุกข์ เตียนห้องจึงกล่าวกับอ้วนเสีย
้ วว่า
“คนทัง้ ปวงก็ลือชาปรากฏว่า ท่านเป็ นใหญ่อยู่ในหัวเมืองฝ่ าย
เหนือ เหตุใดท่านมาคิดย่อท้อจะมาตีตัวตายก่อนไข้นน
ั ้ ไม่ควร”
๓. คุณค่าด้านสังคม
๑) สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการทำสงครามของคนจีน ดังนี ้
๑.๑ การทำสงครามนัน
้ มิใช่ใช้กำลังทหารเพียงอย่างเดียว การทำ
สงคราม นอกจากการใช้กำลังทหารยังต้องอาศัยสติปัญญาและเล่หเ์ หลี่ยมกล
อุบายเป็ นสำคัญ จึงจะสามารถเอาชนะข้าศึกศัตรูได้ ดังเช่น ตอนที่เทียหยก
วางกลอุบายล่อลวงให้กวนอูออกจากเมืองแห้ฝือ เพื่อให้ทหารโจโฉเข้ายึด
เมืองแห้ฝือ และก็ทำได้สำเร็จ
“ม้าเท้งไปอยู่เมืองเสเหลียงนัน
้ มีทหารเป็ นอันมาก ถ้าท่านจะยก
ทัพไปตีเอา บัดนีเ้ มืองเราก็เป็ นกังวลอยู่ ขอให้ท่านเร่งแต่งผู้มีสติปัญญา
ไปเกลีย
้ กล่อมหาตัวม้าเท้งกลับเข้ามา อย่าให้ทันม้าเท้งรู้ว่าท่านจับตัง
45

สินกับพวกเพื่อนฆ่าเสีย ข้าพเจ้าเห็นว่าเท้งไม่แจ้งเนื้อความทัง้ นีก


้ ็จะเข้า
มา จึงจับฆ่าเสียก็จะได้โดยง่าย”
๑.๒ บุคลิกภาพผู้นำ ผู้นำที่จะยิ่งใหญ่และประสบความสำเร็จ
นอกจากจะต้องมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เขียวชาญในการรบแล้ว ควรมีความ
พยายามและความอดทนในการทำการที่มุ่งหวัง ดังเช่น ตอนที่โจโฉใช้ความ
เพียรพยายามอดทนและใช้จิตวิทยาเป็ นอย่างมากในการผูกมัดใจกวนอูให้
เกิดความจงรักภักดีต่อตนเอง ซึ่งโจโฉก็ทำได้สำเร็จขัน
้ หนึ่ง แม้กวนอูจะยังคง
ความซื่อสัตย์ต่อเล่าปี่ ไม่คลาย แต่ก็ร้ส
ู ึกสำนึกในบุญคุณของโจโฉและพร้อม
ที่จะตอบแทนบุญคุณในภายหน้า
“ โจโฉจึงถามเทียหยกว่า ท่านจะคิดล่อลวงประการใด เทียหยก
จึงว่า ท่านจับทหารเล่าปี่ ไว้ได้เป็ นอันมาก จงให้บำเหน็จรางวัลให้ถึง
ขนาด แล้วสัง่ ให้ทำตามคำเราจึงปล่อยเข้าไปในเมืองให้บอกว่าหนีกลับ
มาได้ ถ้าเราจะทำการก็ให้เป็ นไส้ศก
ึ อยู่ในเมือง แล้วให้แต่ง ทหารไปรบ
ล่อ ถ้ากวนอูไล่ออกมานอกเมืองแล้ว จึงให้ทหารซึ่งซุ่มอยู่ทงั ้ สองข้าง
ล้อมไว้ จึงแต่งให้ผู้มส
ี ติไปเกลีย
้ กล่อมกวนอูเห็นจะได้โดยง่าย”
๑.๓ ความสำคัญของนักการทูต นักการทูตมีความสำคัญในการ
ช่วยราชการบ้านเมือง แม้กระทั่งในยามศึกสงคราม ผู้ที่ทำหน้าที่ทางการทูต
ต้องเป็ นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีโวหารทางการพูดเป็ นเลิศ ดังเช่น เตียว
เลีย
้ วที่สามารถโน้มน้าวใจให้กวนอูยอมรับราชการกับโจโฉเป็ นผลสำเร็จ
“เตียวเลีย
้ วจึงตอบว่า เดิมท่านเล่าปี่ เตียวหุยได้สาบานไว้ต่อกัน
ว่า เป็ นพี่น้องร่วมสุขแลทุกข์เป็ นชีวิตอันเดียวกัน เมื่อท่านตายแล้วเล่า
ปี่ เตียวหุยก็จะตายด้วย ซึ่งท่านสาบานไว้ต่อหน้ากันก็จะมิเสียความ
สัตย์ไปหรือ คนทัง้ ปวงก็จะล่วงนินทาว่าความคิดท่านน้อย เตียวเลีย
้ ว
จึงว่า มหาอุปราชให้ทหารล้อมไว้เป็ นอันมาก ถ้าท่านมิสมัครเข้าด้วย
46

เห็นชีวิตท่านจะถึงแก่ความตายหาประโยชน์มิได้ ขอให้ท่านอยู่กับมหา
อุปราชก่อนเถิด จะได้มีประโยชน์สามประการ”
๑.๔ พลังของความสามัคคีช่วยให้บ้านเมืองอยู่รอดปลอดภัยจาก
ข้าศึกศัตรู ในการทำสงครามถ้ามีความเป็ นน้ำหนึ่งใจเดียวกันย่อมเกิดพลังใน
การต่อสู้ข้าศึก แต่หากขาดซึ่งความสามัคคีแล้วย่อมเสียทีแก่ข้าศึกโดยง่าย
เช่น การที่อ้วนเสีย
้ วไม่ส่งทหารไปช่วยเล่าปี่ เป็ นเหตุหนึ่งที่ทำให้เล่าปี่ ปราชัย
หรือการที่บิต๊ก บิฮอง กันหยง ทิง้ เมืองเพราะคิดว่าจะสู้โจโฉมิได้ และตันเต๋
งกลับเปิ ดประตูรับโจโฉเป็ นเหตุให้โจโฉยึดเมืองชีจิ๋วได้ง่าย
๒) สะท้อนค่านิยมในการประพฤติปฏิบัติของคนในสังคม ดังนี ้
๒.๑ ค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ จากเรื่องสามก๊กตอนกวนอูไปรับ
ราชการกับโจโฉ สะท้อนให้เห็นค่านิยมด้านความซื่อสัตย์ได้เนชัดที่สุด ดัง
ความว่า
“โจโฉรู้ดังนัน
้ ก็เกรงใจกวนอูว่ามีความสัตย์แลกตัญญูต่อเล่าปี่ โจ
โฉจึงให้กวนอูกับภรรยาเล่าปี่ ไปอยู่ ณ ตึกสองหลังมีชานกลาง กวนอูจึง
ให้พส
ี่ ะใภ้ทงั ้ สองคนนัน
้ อยู่ตึกหนึ่ง แล้วให้ทหารที่แก่ราชการอยู่รักษา
ประมาณสิบคน ตัวนัน
้ อยู่ตึกหนึ่งระวังรักษาพี่สะใภ้ทงั ้ สอง”
กวนอูถือเป็ นตัวละครสำคัญที่สะท้อนค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์
บทบาทและพฤติกรรมขงกวนอู ไม่ว่าจะแสดงออกต่อภรรยาของเล่าปี่ หรือโจ
โฉก็ล้วนสนับสนุนค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ทงั ้ สิน

๒.๒ ค่านิยมความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เช่น การที่โจโฉส่ง
ทหารไปล่อให้กวนอูตามออกมานอกเมืองและล้อมจับตัวกวนอูไว้ เตียวเลีย
้ ว
ทหารฝ่ ายโจโฉซึ่งกวนอูเคยช่วยชีวิตไว้เป็ นผู้เข้าไปเกลีย
้ กล่อมกวนอูให้ไปอยู่
กับโจโฉ กวนอูยอมจำนนแต่ขอเงื่อนไขเป็ นสัญญาคือขอให้ได้เป็ นข้าของ
พระเจ้าเหีย
้ นเต้
47

“กวนอูจึงว่า เดิมเราได้สาบานกันไว้กับเล่าปี่ เตียวหุยว่าจะช่วย


ทำนุบำรุงพระเจ้าเหีย
้ นเต้แลอาณาประชาราษฎรให้อยู่เย็นเป็ นสุข ซึ่ง
เราจะสมัครเข้าด้วยนัน
้ เราจะขอเป็ นข้าพระเจ้าเหีย
้ นเต้ประการหนึ่ง”
๒.๓ ค่านิยมความกตัญญูร้ค
ู ุณ เช่น ตอนที่เตียวเลีย
้ วกล่าวถึงลักษณะ
นิสัยของกวนอูดังความว่า
“อันน้ำใจกวนอูนน
ั ้ ถ้าผู้ใดมีแล้วเห็นจะเป็ นเหมือนอิเยียง อัน
เล่าปี่ กับกวนอูนน
ั ้ มิได้เห็นพี่น้องกัน ซึ่งมีความรักกันนัน
้ เพราะได้
สาบานต่อกัน เล่าปี่ เป็ นแต่ผู้น้อย เลีย
้ งกวนอูไม่ถึงขนาด กวนอูยังมี
น้ำใจกตัญญูต่อเล่าปี่ จึงคิดจะติดตามมิได้ทงิ ้ เสีย”

๓) สะท้อนเรื่องความเชื่อของคนในสังคม ดังนี ้
๓.๑ ความเชื่อในโชคลาง เช่น แม้โจโฉจะเป็ นแม่ทัพที่มีความ
สามารถในการรบเมื่อยกทัพมาเกิดลมพายุพัดธงชัยหัก ก็ต้องพึ่งคำทำนาย
ทายทัก จะเห็นได้ว่าเป็ นเรื่องสำคัญของการรบโบราณที่ต้องถือฤกษ์ยามและ
โชคลาง ดังความว่า
“ฝ่ ายโจโฉยกกองทัพมาใกล้จะถึงเมืองเสียวพ่าย พอเกิดลมพายุ
ใหญ่พัดหนักธงชัยซึ่งปั กมาบนเกวียนนัน
้ หักทับลง โจโฉเห็นวิปริตดังนัน

ก็ให้ทหารหยุดตัง้ ค่ายมั่นไว้แล้วถามที่ปรึกษาว่า ซึง่ ลมพายุพัดมาถูก
ธงชัยเราหักลงทัง้ นี ้ จะเห็นดีแลร้ายประการใด ซุนฮกจึงว่าซึ่งเกิดพายุ
ใหญ่พัดธงชัยหักทับลงมานัน
้ เป็ นลมตะวันออก เวลาค่ำวันนีด
้ ีร้ายเล่าปี่
จะยกทัพออกมาปล้นค่าย พอมอกายเข้ามาว่าแก่โจโฉว่า ลมตะวันออก
พัดมาถูกธงหักนัน
้ ข้าพเจ้าเห็นว่ากลางคืนวันนีจ
้ ะมีผู้มาปล้นค่าย”
๓.๒ ความเชื่อในเรื่องความฝั น เช่น เมื่อนางบิฮูหยินและกำฮูหยิน
เล่าความฝั นของนางที่เกี่ยวกับเล่าปี่ ให้กวนอูฟัง กวนอูก็เกิดวิตก ดังความว่า
48

“...นางกำฮูหยินจึงตอบว่า คืนนีพ
้ ี่ฝันเห็นเล่าปี่ ตกหลุมลงครัน
้ ตื่น
ขึน
้ มาก็ตกใจจึงแก้ฝันนางบิฮูหยิน เห็นพร้อมกันว่าเล่าปี่ ตายแล้วพี่จึง
ร้องไห้รัก กวนอูได้ฟังดังนัน
้ พิเคราะห์ดูเห็นฝั นผิดประหลาด สำคัญว่า
เล่าปี่ เป็ นตายก็ร้องไห้ด้วย”
๓.๓ ความเชื่อเรื่องบุญกรรมที่ตนได้กระทำไว้ สามก๊ก ตอน
กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ แสดงให้เห็นความเชื่อเรื่องบุญกรรมที่ได้ทำมา
เช่น
“แล้วว่าบัดนีข
้ ้าพเจ้าเข้ามาปรึกษาด้วย พี่ทงั ้ สองจะเห็นประการ
ใด นางกำฮูหยินจึงว่าเวลาคืนนีโ้ จโฉเข้าในเมืองได้พี่นเี ้ กรงอยู่ว่าจะเป็ น
อันตรายต่างๆเป็ นเดชะบุญของเรา”

๔) สะท้อนเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของสังคมจีน
ดังนี ้
๔.๑ การจัดเลีย
้ ง การจัดเลีย
้ งเป็ นเอกลักษณ์ของคนจีน ในสังคม
จีนไม่ว่าจะในโอกาสแสดงความยินดี ต้อนรับหรือขอบคุณมักจะจัดอาหาร
เลีย
้ งกันเป็ นประจำจนกลายเป็ นประเพณีไปโดยปริยาย ดังความว่า
“...อ้วนถำได้ฟังดังนัน
้ ก็มค
ี วามสงสารเป็ นอันมาก ก็ให้แต่งโต๊ะ
เลีย
้ งแล้วจัดแจงที่อยู่ให้เล่าปี่ อาศัย จึงแต่งหนังสือบอกไปถึงบิดาตามคำ
เล่าปี่ ให้ม้าใช้ถือไปก่อน...”
๔.๒ การให้ของกำนัล การให้ของกำนัลเป็ นสิ่งที่ชาวจีนนิยมทำ
กันในเกือบทุกโอกาส จากเรื่องจะเห็นได้ว่า โจโฉให้เครื่องเงิน เครื่องทอง
เสื้อผ้าดีๆและให้ผ้าแพรขาวอย่างดีแก่กวนอูเพื่อทำถุงใส่หนวด การให้ของ
กำนัลเช่นนีเ้ ป็ นกลวิธีหนึ่งที่ชาวจีนนิยมกระทำเพื่อเป็ นเครื่องผูกใจดังความว่า
49

“ครัน
้ อยู่มาวันหนึ่ง โจโฉให้เชิญกวนอูมากินโต๊ะ เห็นกวนอูห่ม
เสื้อขาด โจโฉจึงเอาเสื้ออย่างดีให้กวนอู กวนอูรับเอาเสื้อแล้ว จึงเอา
เสื้อใหม่นน
ั ้ ใส่ชน
ั ้ ใน เอาเสื้อเก่านัน
้ ใส่ชน
ั ้ นอก ”
“กวนอูจึงตอบว่าหนวดของข้าพเจ้าประมาณร้อยเส้น ครัน
้ ถึง
เทศกาลหนาวก็หล่นไปบ้าง ข้าพเจ้าจึงทำถุงใส่ไว้ โจโฉได้ฟังดังนัน
้ จึง
เอาแพรขาวอย่างดี ทำถุงให้กวนอูสำหรับใส่หนวด”

สามก๊กตอนที่เรียนเป็ นตอนที่เน้นด้านคุณธรรม จริยธรรมของตัว


ละคร เช่น ความจงรักภักดี ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู การยึดถือสัจจะ ซึง่
ถือเป็ นค่านิยมที่ทุกสังคมยกย่อง เพียงแต่ในแต่ละสังคมให้ความสำคัญมาก
น้อยต่างกัน
50

แหล่งสารสนเทศเพิ่มเติม
รายการ QR Code

ใบความรู้
รอบรู้เรื่องสาม
ก๊ก

เว็บไซต์ สามก๊ก
วิทยา

เว็บไซต์
ออนไลน์
ห้องเรียนของ
ครู
51

เกมตัวละคร
สามก๊ก

คลิปเรื่องย่อ
สามก๊ก

You might also like