You are on page 1of 17

บทที่ 2

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึงเนื้อหาทฤษฎีพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการรับแรงอัดของเสาคอนกรีต
เสริมเหล็ก จีโอโพลีเมอร์และการเสริมกำลังโดยใช้ Carbon Fiber Reinforced Polymer (CFRP) และกล่างถึง
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ศึกษาวิจัยโดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 จีโอโพลีเมอร์
เป็นวัสดุเชื่อมประสานซึ่งเป็น โพลิเมอร์ประหนึ่งที่สามารถสังเคราะห์ได้จาก ซิลิกา (Silica) และ
อะลูมินา (Alumina) และวัสดุปอซโซลานที่นิยมนำมาใช้งาน โดยจากการศึกษาทดสอบวัสดุปอซโซลานส่วนใหญ่
ให้ผลและแนวคิดที่ค่อนข้างตรงกันว่า เถ้าลอยและเถ้าแกลบเป็นวัสดุ สำหรับการผลิตจีโอโพลิเมอร์ได้ดี โดยจะถูก
ทำให้แตกตัวด้วย อัลคาไลน์ หรือ สารละลายที่เป็นด่างสูง ซึ่งได้แก่สารละลาย Na2SiO3 หรือ KOH สามารถเกิด
การก่อตัวแข็งตัวได้และรับแรงอัดได้ดี สามารถใช้ แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในการผลิตคอนกรีตและวัสดุ
ก่อสร้างอย่างอื่นได้ในอนาคต
2.2 พอลิเมอร์เสริมเส้นใย
พอลิเมอร์เสริมเส้นใยนิยมเป็นการพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมักนิยม
นำมาใช้สำหรับเสริมแกร่งในงานก่อสร้างเนื่องจากคุณสมบัติที่ดีของ พอลิเมอร์เสริมเส้นใยและมีหลากหลาย
ประเภทให้เลือกใช้
2.2.1 พอลิเมอร์คอมโพสิต
พอลิเมอร์คอมโพสิต (Polymer Composites) คือ วัสดุที่ประกอบด้ว ยการ
ผสมตั้งแต่ 2 ชนิดเป็นการพัฒนาให้คุณสมบัติให้ดีขึ้นโดยส่วนประกอบหลักที่สำคัญมีอยู่ 2 ส่วนหลัก คือส่วนที่เป็น
เมทริกซ์ (Matrix) และส่วนเสริมแรง (Reinforcement) ซึ่งตัวเสริมแรงนั้นมีหลายรูปแบบให้เลบือกใช้งานแต่ที่
นิยมอย่างมากสำหรับการเลือกมาใช้งานจะเป็นลักษณะเส้นใย (Fiber) โดยความแข็งแรงหรือคุณสมบัติต่างๆนั้นจะ
ขึ้นอยู่กับลักษณะวัสดุที่ใช้เสริมแรง สัดส่วนของเส้นใยในเมทริกซ์ ความยาวและการกระจายตัวของเส้นใย และ
ความแข็งแรงของพันธะระหว่างเส้นใยและเมทริกซ์ซึ่งต้องแข็งแรงเพียงพอที่ป้องกันแรงภายนอกมากระทำกับเส้น
ใยและเมทริกซ์เสียหายออกจากกัน
2.2.1.1 เมทริกซ์ (Matrix)
พอลิเมอร์เมทริกซ์โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภทได้แก่ เทอร์มอ
เซต (Thermoset) โดยพอลิเมอร์กลุ่มนี้เมื่อผ่านกระบวนการผลิตจะเป็นพอลิเมอร์ที่มีรูปร่างถาวรไม่สามารถ
ย้อนกลับไปได้ เนื่องจากก่อนผ่านการเตรียม โครงสร้างพอลิเมอร์โครงสร้างของพอลิเมอร์ยังไม่เป็นแบบร่างแห แต่
เมื่อผ่านกระบวนการความร้อนหรือคววามดันเข้าไป จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดการเชื่อมโยง (Crosslinking)
ระหว่างสายโซ่โมเลกุล มีการสร้างพันธะโควานเลนท์ระหว่างสายโมเลกุล ทำให้ผลผลิตที่ได้มีรูปร่างที่ถาวร โดย
เทอร์มอเซตที่ใช้ส่วนใหญ่เช่น อีพอกซี่ พอลิเอสเทอร์ ส่วนพอลิเมอร์เมทริกซ์อีกประเภท คือเทอร์มอพลาสติก
(Thermoplastic) วึ่งละลายได้ดีในตัวทำละลายในบางชนิด เมื่อถูกความมร้อนสามารถหลอมตัวได้ และจะแข็งตัว
เมื่อเย็นลงสามารถเปลี่ยนสภาพ แข็งตัวและหลอมเหลวไปมาได้โดยไม่เสียคุณสมบัติทางเคมี โดยสามารถแยกออก
ได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเทอร์มอพลาสติกที่มีผลึกบางส่วน (Semi-Crystalline) และ กลุ่มเทอร์มอพลาสติกอสัญฐาน
(Amorphous Thermoplastic) ซึ่ง เทอร์มอพลาสติกจะไม่เกิดการเชื่องโยง (Crosslinking) จึงทำให้ความ
แข็งแรงของเมอทริกซ์ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของ มอนอเมอร์ และน้ำหนักโมเลกุลที่สูง เช่น พอลิสไตริน พอลิพรอลีน
และ พอลิเอทิลีน เป็นต้น
2.2.1.2 ตัวเสริมแรง (Reinforcrment)
เป็นส่ว นที่ช ่วยเสริควาแข็งแรงให้แก่วัสดุซึ่งมีหลากหลาย
ประเภทอาจอยู่ในรูปแบบ แผ่น เส้นใย หรืออนุภาค ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้ตัวเสริมแรงที่อยู่ในลักษณะเส้นใย โดย
เส้นใยที่นิยมใช้ได้ แก่ เส้นใยแก้ว (Glass fiber) เส้นใยคาร์บอน (Carbon fiber) เส้นใยอะรามิด(Aramid fiber)
เส้นใยบะซอล (Basalt fiber) และเส้นใยธรรมชาติอื่นๆ โดยหน้าที่หลักของเส้นใยเสริมแรงในคอมโพสิต คือเพิ่ม
ความแข็งแรงให้แกพอลิเมอร์คอมโพสิต รับแรงกระทำจากภายนอกที่กระทำต่อพอลิเมอร์คอมโพสิต โดยแรงที่
กระทำนั้นจะถูกถ่ายส่งต่อไปที่เส้นใยที่ เสริมแรง โดยลักษณะที่ดีในการเป็นเส้นใยเสริมแรงที่ดี คือ มีเส้นผ่าน
ศูนย์กลางที่เล็ก อัตราส่วนความยาวต่อเส้นผ่านศูนย์กลางที่สูง มีความโค้งงอและยืดหยุ่นที่ ดี และมีค่ายังมอดูลัส
และค่าความแข็งแรงที่สูง
2.4 การเสริมกำลังรับโดย Fiber Reinforced Polymer (FRP)
เมื่อโครงสร้างถูกใช้งานมาอย่างยาวนานย่อมก่อให้เกิดการเสื่อมสภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องมี
การบพรุงรักษาเสริมความแข็งแรงให้แก่โครงสร้างหรือแม้กระทั่งในกรณีที่ต้องการจะเพิ่มความสามารถในการใช้
งานขจองโครงสร้างให้มากขึ้นเช่น มีความต้องการที่จะเพิ่มนำหนักบรรทุกของโครงสร้าง การแก้ไขงานที่ผิดไปจาก
มาตรฐานที่ตั้งไว้ การเสริมกำลังภายนอกจึงเป็นสิ่งที่นิยมนำมาปรับใช้เนื่องจากมีความง่ายต่อการเสริมกำลัง และ
ด้วยคุณสมบัติที่ดีของ Fiber Reinforced Polymer จึงเป็นทางเลือกลำดับแรกในการตัดสินใจสำหรับการเสริม
กำลังจากภายนอก
2.5 พฤติกรรมคอนกรีตหลังจากเสริมกำลังโดย Fiber Reinforced Polymer (FRP)
ในการศึกษาวิจ ัย นี้จ ะศึกษาการเสริมกำลังจากภายนอกโดยใช้ Carbon Fiber Reinforced
Polymer (CFRP) sheet โดย Riad และคณะ (2010) ได้ทดสอบเกี่ยวกับการเสริมกำลัง CFRP Sheet โดยการ
เสริมกำลังภายนอกโดยการพัน CFRP Sheet แบบ Full Confined ซึ่งจะการติดตั้งจะแตกต่างกันโดยอยู่ที่จำนวน
รอบของการติดตั้ง และคอนกรีตทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 160 มม. และสูง 320 มม. ที่ใช้ทดสอบจะมีกำลัง
รับแรงอัดอยู่ที่ 25.93MPa 49.46MPa และ61.81MPa โดยตัวอย่างการทดสอบมีตัวอย่างคอนกรีตเสริมเหล็ก
และคอนกรีตไม่เสริมเหล็กโดยทดสอบด้วยกันทั้งหมด 30 ตัวอย่างและได้ผลการทดสอบตามรูป ที่ 2.1 และรูป
ที่2.2จากผลการทดลองนั้นเห็นได้ชัดว่าเมื่อทำการเพิ่มจำนวนชั้นในการพันรอบตัวอย่างทดสอบส่งผลให้ตัวอย่าง
ทดลองสามารถรับแรงอัดเพิ่มขึ้นได้โดยดูได้จากอั ดตราส่วนกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตที่ได้รับการเสริมกำลังต่อ
กำลังรับแรงอัดของคอนกรีตที่ไม่ได้เสริมกำลัง

รูปที่ 2.1 ผลการทดสอบของกรีตเสริมกำลัง (Riad และคณะ 2010)


รูปที่ 2.2 กราฟ Lateral strain และ Axial strain (Riad และคณะ 2010)
จากผลดังกล่างแสดงให้เห็นว่า CFRP Sheet นั้นมีคุณสมบัติที่ดีแล้วเพียงพอที่จะเสริมกำลังให้แก่ตัวอย่างทดสอบ
ทำให้สามารถเพิ่งกำลังการรับแรงอัดสูงสุดแสดงในรูปที่2.1 และความหยืดหยุ่นของคอนกรีตแสดงในรูปที่ 2.2 ของ
คอนกรีตเสริมเหล็กเพิ่มขึ้นได้อย่างชัดเจน
ในส่วนของการศึกษาเกี่ยวกับเสาคอนกรีต โดย Mouthomi Munyua และคณะ(2020)ได้ศึกษา
เกี่ยวกับเสาคอนกรีตสี่เหลี่ยมขนาด 150×150×350 มม. โดยในการทดลองจะมีการกำหนดลักษณะของเสา
คอนกรีตที่ต่างกันไป โดยมีการใช้คอนกรีตที่ต่างกันออกไป 3 เกรดโดยใช้เกรดของคอนกรีตเป็น C8/10 C12/15
และ C16/20 การติดตั้งของวัสดุเสริมกำลังเป็นแบบ Carbon Fiber Reinforced Polymer (CFRP) sheet จะ
ติดตั้งด้วยกัน 2 แบบได้แก่ Full confined และPartial confined และจำนวนรอบในการติดตั้งวัสดุเสริมกำลัง
โดยใช้ตัวอย่างทดสอบทั้งหมด 90 ตัวอย่าง 45 จะเป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก และอีก 45 จะเป็นเสาคอนกรีตไม่
เสริมเหล็กทดสอบภายใต้แรง Uniaxial compression โดยรายละเอียดของตัวอย่างทดสอบแสดงให้เห็นในรูปที่
2.3 บอกการจัดเตรียมตัวอย่างทดสอบของคอนกรีตทั้ง 3 เกรดตามรูปที่ 2.3 และผลของการทดสอบแสดงในรูปที่
2.4

รูปที่ 2.3 รายละเอียดตัวอย่างทดสอบ Mouthomi Munyua และคณะ2020


รูปที่ 2.3 ผลการทดสอบ Mouthomi Munyua และคณะ2020
และเมื่อนำผลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์ดูโดยแยกออกเป็น 2 แบบ คือในด้านการรับกำลังอัด และความหยืด
หยุ่นของตัวอย่างทดลอง โดยเริ่มวิเคราะห์จากการเพิ่มขึ้นของกำลังรับแรงอัด โดยดูผลกระทบของการเลือกใช้
เกรดของปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการทดสอบจะแสดงให้เห็นในรูปที่ 2.4 ว่าคอนกรีตที่มีเกรดต่ำที่สุดเมื่อมีการเสริมกำลัง
กับให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าคอนกรีตที่เกรดสูงกว่า ในรูปที่ 2.5 จะเปรียบเทียบการใส่เหล็กเสริมกำลังและการติดตั้ง
CFRP ซึ่งผลที่ออกเป็นตัวอย่างทดสอบที่ทำการเสริมเหล็กและทำการติดตั้งวัสดุเสริมกำลัง CFRP ที่มีค่าสูงที่สุด
และการที่เสริมกำลังแบบ Full confined จะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าแบบ Partial confined แสดงให้เห็นในรูปที่
2.6 และการเพิ่มขึ้นจำนวนรอบในการการติดตั้งวัสดั 6สริมกำลังนั้นสามารถเพิ่มประสิทิภาพของเสาคอนกรีตได้
เป็นอย่างดีแสดงในรูปที่ 2.7
รูปที่ 2.4 ผลกระทบจากเกรดของคอนกรีต Mouthomi Munyua และคณะ2020

รูปที่ 2.5 ผลกระทบการรับแรงอัดจากการเสริมเหล็กและวัสดุเสริมกำลัง Mouthomi Munyua และคณะ2020


รูปที่ 2.6 ผลกระทบการรับแรงอัดจากลักษณะการติดตั้งวัสดุเสริมกำลัง Mouthomi Munyua และคณะ
2020

รูปที่ 2.7 ผลกระทบการรับแรงอัดจากจำนวนรอบการติดตั้งวัสดุเสริมกำลัง Mouthomi Munyua และ


คณะ2020
ในส่วนของการเพิ่มความสามารถในการยืดหยุ่นของวัส ดุนั้น ผลที่ได้แสดงให้เห็นในรูปที่ 2.8 โดยผลกระทบ
เนื่องจากการเลือกใช้เกรดของคอนกรีตผลที่ออกมาคอยกรีตเกรดต่ำสุด C8/10 ที่ดีที่สุดแต่ คอนกรีตเกรดสูง
C16/20 ก็มีผลออกมาที่ดีรองลงโดยต่างกันแค่เล็กน้อยต่างจากคอนกรีตเกรดปลานกลางที่มีผลออกมาต่ำกว่าเกรด
อื่นๆแสดงในรูปที่ 2.9

รูปที่ 2.8 ผลการทดสอบความยืดหยุ่น Mouthomi Munyua และคณะ2020

รูปที่ 2.9 ผลกระทบความยืดหยุ่นจากเกรดของกรีต Mouthomi Munyua และคณะ2020


ในด้านผลกระทบเนื่องจากเปรียบเทียบการใส่เหล็กเสริมกำลังและการติดตั้ง CFRP ซึ่งผลที่ออกเป็นตัวอย่าง
ทดสอบที่ทำการเสริมเหล็กและทำการติดตั้งวัส ดุเสริมกำลัง CFRP ที่มีค่าสูงกว่าแบบอื่นแสดงในรูปที่ 2.10
ผลกระทบต่อความยืดหยุ่นในด้านของการติดตั้งวัสดุเสริมกำลังและจำนวนรอบให้ผลออกมาการการที่เสริมกำลัง
แบบ Full confined จะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าและจำนวนรอบการติดตั้ง 2 รอบก็ให้ผลการทดสอบที่ดีกว่า
ตามลำดับ แสดงในรูปที่ 2.11 และ 2.12

รูปที่ 2.10 ผลกระทบความยืดหยุ่นจากการเสริมเหล็กและวัสดุเสริมกำลัง Mouthomi Munyua และ


คณะ2020
รูปที่ 2.11 ผลกระทบความยืดยุ่นจากลักษณะการติดตั้งวัสดุเสริมกำลัง Mouthomi Munyua และคณะ
2020

รูปที่ 2.12 ผลกระทบความยืดยุ่นจากจำนวนรอบการติดตั้งวัสดุเสริมกำลัง Mouthomi Munyua และ


คณะ2020
จากการศึ ก ษา Yehia A.kotp และคณะ(2018) ได้ ท ดสอบตั ว อย่ า งเสาคอนกรี ต เสริ ม เหล็ ก
สี่เหลี่ยมที่ทำการเสริมกำลังด้วย Basalt Fiber Reinforced Polymer (BFRP) โดยใช้หน้าตัดของเสาคอนกรีต
เสริมเหล็กที่แตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับอัตราส่วนด้านกว้างต่อด้านแคบเท่ากับ 1.0 1.5 2.0 2.5 และในส่วนของ
ความสูงของตัวอย่างทดสอบนั้นขึ้นอยู่กับค่าอัตราส่วนความสูงต่อด้านแคบเท่ากับ 6 และการติดตั้งวัสดุเสริมกำลัง
นั้นจะติดตั้งแบบ Full confined จำนวน 1 รอบ เปอร์เซ็นต์ของเหล็กเสริมอยู่ที่ 1.7 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้ตัวอย่าง
ทดสอบทั้งหมด 8 ตัวอย่างโดยจะมีทั้งเสริมกำลังและไม่เสริมกำลัง และได้ผลการทดสอบแสดงให้เห็นดังรูปที่ 2.13

รูปที่ 2.13 ผลการทดสอบ Yehia A.kotp และคณะ(2018)


จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่ผ่านการเสริมกำลังมาด้วย Basalt
Fiber Reinforced Polymer (BFRP) sheet ว่ามีความสามารถในการรับแรงอัด ที่เพิ่มมากขึ้นแต่เมื่ออัตราส่วน
ด้านกว้างต่อด้านแคบมีค่าที่มากขึ้นความสามารถในการเสริมกำลังกลั บลดลงอย่าเห็นได้ชัดเจนที่อันตราส่วนตั้งแต่
2.0 และในส่วนของกราฟระหว่าง Nominal axial stress และAxial strain โดยที่รูป 2.14 แสดงให้เห็นตัวอย่างที่
ไม่ได้ทำการเสริมกำลัง รูปที่ 2.4 เป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่ได้ทำการเสริมกำลังแล้ว และรูปที่ 2.15 เป็นการ
เปรียบเทียบของแต่ละอัดตราส่วน

รูปที่ 2.13 Nominal axial stress และAxial strain ของอย่างที่ไม่ได้เสริมกำลัง Yehia A.kotp และคณะ(2018)

รูปที่ 2.14 Nominal axial stress และAxial strain ที่เสริมกำลัง Yehia A.kotp และคณะ(2018)
รูปที่ 2.15 Nominal axial stress และAxial strain ของละแต่อัดตราส่วน

รูปที่ 2.16 ค่ากำลังรับคอนกรียหลังเสริมกำลังต่อก่อนเสริมกำลังกับอัตราส่วนด้านแคบต่อด้านกว้าง Yehia


A.kotp และคณะ(2018)
จากกราฟที่ได้อสดงมานั้นจะเห็นว่าในรูปที่ 2.16 นั้นอัตราส่วนด้านกว้างส่วนด้านแคบที่ 1.0 นั้นมีความสามารถที่ดี
ที่สุดเมื่อเทียบกับอัตราส่วนอื่นๆ
2.6 พฤติกรรมจีโอโพลีเมอร์คอนกรีตหลังจากเสริมกำลังโดย Fiber Reinforced Polymer (FRP)
จากการศึกษาของ Kurt Lembo และคณะ(2014) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ Geopolymer concrete
ที่เป็นรูปทรงกระบอกโดยมีกำลังรับแรงอัดเฉลี่ยนโดยประมาณที่ 45 MPa ที่ติดตั้งการเสริมกำลังจากภายนอกด้วย
Carbon Fiber Reinforced Polymer (CFRP) sheet และ Glass Fiber Reinforced Polymer (GFRP) sheet
โดยมีตัว อย่างทดลองทั้ ง หมด 20 ตัว อย่าง โดยแบ่งเป็นตัว อย่า งขนาดเล็ ก 100×200 มม. และ ขนาดใหญ่
150×300 มม. อย่างละ 10 ตัวอย่างโดยตัวแปรในการทดสอบจะเป็นประเภทของเส้ นใยเสริมกำลัง ขนาดของ
ตัวอย่างและจำนวนรอบที่ติดตั้ง (1 และ 2 รอบ) โดยทดสอบให้แรงอัดสูงวงสุดที่ 1500kN โดยที่ความเร็ว คงที่
เท่ากับ 2 มม./วินาที โดยรายละเอียดของตัวอย่างทดลองแสดงในรูปที่ 2.17

รูปที่ 2.17 ตัวอย่างลอง (Kurt Lembo และคณะ 2014)


โดยตั้วอย่างทดสอบที่ใช้ในการทดลองส่วนใหญ่จะวิบัติโดยการแตกของ FRP ที่ใช้เสริมกำลังซึ่งได้ผลการทอดลอง
แสดงให้ไว้ในรูปที่ 2.18 และ รูปที่ 2.19

รูปที่ 2.18 กำลังรับแรงอัดของตัวอย่างทดสอบ (Kurt Lembo และคณะ 2014)


รูปที่ 2.19 กราฟ Stress-Axial strain (Kurt Lembo และคณะ 2014)
จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าจากความแตกต่างจาก ประเภทหรือรอบการพัน อาจไม่ได้ส่งผลมากสำหรับ
ตัวอย่างทดสอบที่มีขนาดเล็ก จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการติดตั้งการเสริมกำลังมีผลเห็นได้ชัดกับตัวอย่างที่มีขนาด
ใหญ่ แต่ผลของ Axial Stress ก็สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของรอบการติดตั้งที่เพิ่มขึ้น แต่หลังจากไปถึงกำลังรับ
แรงอัดสูงสุดก็เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดย CFRP นั้นค่อนข้างเหมาะสำหรับการเสริมความแข็งแรง ส่วน GFRP นั้น
เหมาะแก่การเสริมความเหนียวความหยืดหยุ่น
Junaid Ahmad และคณะ(2021) ทดสอบคอนกรี ต จี โ อโพลี เ มอร์ ร ู ป ทรงกระบอกขนาด
153×306 มม. กำลังรับแรงอัดโดยประมาณที่ 45 MPa โดยทำการเสริมกำลังด้วย Basalt Fiber Reinforced
Polymer (BFRP) sheet และ Glass Fiber Reinforced Polymer (GFRP) sheet โดยการติดตั้งวัสดุเสริมกำลัง
เป็นแบบ Full confined ซึ่งมีจำนวนรอบการติดตั้งต่างกันออกไปได้แก่ 2 4 และ6 นำมาเปรียบเทียบกับตัวอย่าง
ทดองที่ไม่ได้ติดตั้งวัสดุเสริมกำลัง โดยทดสอบภายใต้ Axial monotonic compressive มีอย่างที่ถูกนำมาทดสอบ
ทั้งหมด 21 ตัวอย่างทดสอบแสดงรายละเอียดการทดลองในรูปที่ 2.20
รูปที่ 2.20 รายละเอียดตัวอย่างทดสอบ Junaid Ahmad และคณะ 2021
รูปที่ 2.21 แสดงถึงข้อมูลที่ได้จากการทดสอบที่ได้นำมาวิเคราะห์ดูแล้วนั้นการใช้ BFRP ในการเสริมกำลังนั้นมี
ประสิทธิภาพที่มากกว่า GFRP เมื่อมีการพันจำนวนรอบที่ 4 ขึ้นไปทำให้สังเกตได้ชัดเจนขึ้น และความเหนียวความ
ยืดหยุ่นของวัสดุก็ดูดีกว่าการเสริมกำลังด้วยวัสดุแบบ GFRP โดยรูปที่ 2.22 และ 2.23 แสดงถึงกราฟของ Hoop
strain กับ Axial strain ของตัวอย่าทดสอบเสิรมกำลังที่ผ่านการทดสอบ
รูปที่ 2.22 Hoop strain กับ Axial strain ของตัวอย่างทดสอบเสริมกำลังด้วย BFRP Junaid Ahmad และคณะ
2021

รูปที่ 2.23 Hoop strain กับ Axial strain ของตัวอย่างทดสอบเสริมกำลังด้วย GFRP Junaid Ahmad และคณะ
2021

You might also like