You are on page 1of 27

Hearing Loss and Hearing rehabilitation

ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุวัจนา อธิภาส


ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

การได้ยินบกพร่องหมายถึงความผิดปกติของการได้ยินในลักษณะต่างๆ ตัง้ แต่ได้ยินไม่ชัดจนถึง


ไม่ได้ยินเสียงใดๆ เลย นอกจากนีย้ ังรวมถึงการที่ได้ยินเสียงแต่ไม่เข้าใจความหมายหรือฟังไม่รเู้ รื่องอีก
ด้วย
อาการของการได้ยินบกพร่องขึ้นอยู่กับระดับของการสูญเสียการได้ยิน ในรายที่เป็นไม่มาก
อาจดาเนินชีวิตได้ใกล้เคียงปกติยกเว้นเพียงแต่ไม่ได้ยินเสียงระดับเบาๆ หรือไม่ได้ยินเฉพาะบางเสียง
เช่น เสียงความถี่สูงอย่างเสียงกริ่งโทรศัพท์ ในรายที่มกี ารได้ยินบกพร่องมากขึ้น ก็อาจได้ยินเสียงแต่จับ
ใจความไม่ได้, ไม่ได้ยินเสียงพูดคุยหรือไม่ได้ยินแม้กระทั่งเสียงตะโกน ในเด็กเล็กอาจสังเกตได้ว่าเด็กไม่
มีปฏิกิรยิ าตอบสนองต่อเสียงหรือยังไม่เริ่มพูดเมื่อถึงวัย (delayed speech)
จากรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2555 พบว่าภาวะการได้ยินบกพร่องเป็นหนึ่งใน
สาเหตุของความพิการที่พบได้บ่อยที่สุดในประชากร โดยมีความชุกของโรครวมในทุกอายุประมาณร้อย
ละ 5.3 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มประเทศที่มรี ายได้ต่าและพบมากตามช่วงอายุที่สูงขึ้น และ 1 ใน 3
ของผูท้ ีม่ ีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึน้ ไปจะมีการได้ยินบกพร่อง(1) ส่วนในประเทศไทยจากรายงานการสารวจ
ของศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพฯ (WHO Collaborating Center) ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์
วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสุจิตรา ประสานสุข
และคณะ ในปี พ.ศ. 2534 พบความชุกของการได้ยินบกพร่องถึงร้อยละ 13.6(2)

ระดับของการได้ยินบกพร่อง
การได้ยินบกพร่องหมายถึงระดับการได้ยินซึ่งวัดโดยใช้เสียง pure tone จากเครื่องตรวจการได้
ยิน (Audiometer) แล้วได้ค่า hearing threshold มากกว่า 25 เดซิเบล (decibel hearing level – dBHL)
ในแต่ละความถี่ ส่วนระดับการได้ยินบกพร่องจะคิดจากค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินเสียงในช่วงความถี่
ของการสนทนา (speech frequencies) ซึ่งเกณฑ์การแบ่งอาจแตกต่างกันบ้างในแต่ละประเทศและ
สถาบันที่ใช้อ้างอิง สาหรับในประเทศไทย ใช้เกณฑ์ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (29 พฤษภาคม 2552) ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ของ
American Speech-Language-Hearing Association (Clark JG)(3) และ Bess and Humes(4) ซึ่งคานวณ
ระดับการได้ยินจากค่าเฉลี่ยของ air conduction threshold ที่ความถี่ 500, 1000 และ 2000 Hertz และ
แบ่งการได้ยินบกพร่องตามความรุนแรงออกเป็นระดับต่างๆ ดังนี้

ระดับการได้ยิน ลักษณะความพิการ อาการ


(dB HL)
26 - 40 หูตงึ น้อย (mild hearing loss) ฟังเสียงเบาๆ ไม่ชัดเจน
41 - 55 หูตงึ ปานกลาง (moderate hearing loss) ฟังเสียงระดับการสนทนาปกติไม่ชัดเจน
56 - 70 หูตงึ มาก (moderately severe hearing ฟังเสียงสนทนาดังๆ ไม่ชัดเจน
71 - 90 loss) ได้ยินเฉพาะเสียงตะโกน
มากกว่า 90 หูตงึ รุนแรง (severe hearing loss) แทบไม่ได้ยินเสียงใดๆ
หูหนวก (profound hearing loss)

ประเภทของการได้ยินบกพร่อง
การได้ยินบกพร่องอาจแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ตามตาแหน่งของพยาธิสภาพ ได้แก่
1. การนาเสียงบกพร่อง (conductive hearing loss)
2. ประสาทรับเสียงบกพร่อง (sensori-neural hearing loss)
3. การได้ยินบกพร่องแบบผสม (mixed hearing loss)
4. การได้ยินบกพร่องที่ไม่พบพยาธิสภาพทางกาย (non-organic หรือ functional hearing loss)

แผนภูมิการได้ยินบกพร่องจากพยาธิสภาพตาแหน่งต่างๆ (Organic hearing loss)

หูชั้นกลาง เส้นประสาทสมองคู่ท่ี ก้านสมองและสมอง


หูชั้นนอก หูชั้นใน
(middle 8 (brainstem and
(outer ear) (inner ear)
ear) (cranial nerve VIII) brain)
Mixed hearing loss
Sensori-neural hearing loss
Conductive hearing loss Retrocochlear lesion
Cochlear lesion
Central hearing loss

ข้อมูลจากเวชระเบียนผูป้ ่วยที่มารับการตรวจรักษาที่ห้องตรวจโรคหู คอ จมูก โรงพยาบาลศิริราช


ระหว่าง พ.ศ. 2555-2559 พบผูป้ ่วยที่มกี ารได้ยินบกพร่องรวม 19,186 ราย แบ่งเป็น
conductive hearing loss ร้อยละ 6.34
sensori-neural hearing loss ร้อยละ 65.45
mixed hearing loss ร้อยละ 11.07
อื่นๆ หรือยังจาแนกโรคไม่ได้ ร้อยละ 17.14

การนาเสียงบกพร่อง (conductive hearing loss)


เกิดจากพยาธิสภาพที่ขัดขวางการนาเสียงตั้งแต่ใบหูจนถึง footplate ของกระดูก stapes ซึ่งก็
คือปัญหาที่หูชั้นนอกและหูชั้นกลาง ผู้ป่วยจะรู้สกึ หูอื้อ ได้ยินลดลง และอาจมีเสียงรบกวนในหูเป็นเสียง
ความถี่ต่าคล้ายเสียงลมพัดอยู่ในหู ผู้ป่วยมักพูดเสียงเบาเนื่องจากรู้สึกว่าได้ยินเสียงพูดของตนเองดัง
ก้องกว่าปกติ
การตรวจร่างกายและ otoscopy อาจพบความผิดปกติที่หูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง
การตรวจการได้ยิน :
Tuning fork test - Rinne test ได้ผล negative (bone conduction > air conduction) ในหูข้างที่อ้ือ
- Weber test จะ lateralize มายังหูข้างที่อ้ือ
- Bing test ได้ผล negative ในหูข้างที่อ้ือ
Audiometry - pure tone audiometry พบว่า bone conduction ปกติ, air conduction threshold
สูงขึ้น, มี air-bone gap และ hearing threshold ไม่เกิน 70 dBHL
- speech audiometry คือการตรวจการได้ยินโดยใช้คาที่มคี วามหมาย จะได้ word
recognition score สูง มักจะตัง้ แต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป
Tympanometry - อาจพบความผิดปกติ ขึ้นกับสาเหตุที่เป็น (อ่านรายละเอียดในบท Basic Audiology)

โดยทั่วไปแล้ว conductive hearing loss มักมีโอกาสที่จะรักษาได้โดยการใช้ยา, หัตถการหรือ


การผ่าตัด นอกจากนั้น ในรายที่ไม่สามารถรักษาให้การได้ยินกลับมาเป็นปกติได้ ก็ยังใช้เครื่องช่วยฟัง
ได้ผลดีกว่าผู้ป่วยที่มกี ารได้ยินบกพร่องชนิดอื่นเนื่องจากจะรับฟังเสียงได้ชัดเจนไม่ผดิ เพีย้ นดังเช่นที่พบ
ในผู้ป่วยที่มปี ระสาทรับเสียงบกพร่อง (sensori-neural hearing loss)

ประสาทรับเสียงบกพร่อง (sensori-neural hearing loss)


เป็นภาวะการได้ยินบกพร่องที่พบได้มากที่สุด เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่หูชั้นในไปจนถึงสมอง
มักไม่สามารถรักษาให้กลับคืนมาเป็นปกติได้ ผูป้ ่วยจะมีการได้ยินบกพร่องหรือรู้สึกว่าได้ยินเสียงแต่จับ
ใจความได้ไม่ชัดเจน นอกจากนี้ยังอาจมีเสียงรบกวนในหู (tinnitus) ที่มักเป็นเสียงความถี่สูงซึ่งผูป้ ่วย
ส่วนใหญ่รู้สกึ เหมือนมีเสียงจักจั่นหรือจิ้งหรีดอยู่ในหูอกี ด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักพูดเสียงดังเนื่องจากรู้สึก
ว่าได้ยินเสียงพูดของตนเองเบาลง
sensori-neural hearing loss ยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามตาแหน่งพยาธิสภาพได้ดังนี้
- Cochlear lesion คือมีพยาธิสภาพที่ cochlea ผูป้ ่วยมักทนเสียงดังมากๆ ไม่ได้
เนื่องจาก
รู้สกึ ว่าเสียงรบกวนมาก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หูชั้นในไวต่อเสียงผิดปกติ
(recruitment)
- Retrocochlear lesion คือมีพยาธิสภาพใน auditory pathway ตั้งแต่ internal acoustic
meatus ไปจนถึง cerebral cortex ผูป้ ่วยอาจมีปัญหาเรื่องฟังได้ยินเสียงแต่จับใจความ
ได้ไม่
ดี
การตรวจ otoscopy ในผู้ที่มีปัญหา sensori-neural hearing loss จะไม่พบความผิดปกติ
การตรวจการได้ยิน :
Tuning fork test - Rinne test ได้ผล positive (air conduction > bone conduction) ในหูข้างที่อ้ือ
- Weber test จะ lateralize ไปยังหูขา้ งที่ดี
- Bing test ได้ผล positive ในหูข้างที่อ้ือ
Audiometry - pure tone audiometry พบว่า air และ bone conduction threshold สูงขึ้น และไม่มี
air-bone gap
- speech audiometry เมื่อตรวจ word recognition score ในผูท้ ี่มกี ารได้ยินบกพร่อง
แบบ
cochlear lesion จะได้ค่าต่ากว่าผูท้ ี่มี conductive hearing loss ทีร่ ะดับการได้ยิน
เท่ากัน
ส่วนในผูท้ ี่มกี ารได้ยินบกพร่องแบบ retrocochlear lesion จะพบว่าความเข้าใจ
ความหมายของเสียงที่ได้ยินจะน้อยกว่าผู้ที่มกี ารได้ยินบกพร่องประเภทอื่น คือเมื่อทา
word recognition test แล้วจะได้ค่า word recognition score ต่าผิดปกติ
Tympanometry - ปกติ
ผูท้ ี่มกี ารได้ยินบกพร่องแบบ sensori-neural hearing loss มักจะไม่สามารถรักษาให้กลับมาได้
ยิน
เป็นปกติได้ ถ้ามีการได้ยินบกพร่องในระดับที่เป็นอุปสรรคต่อการดาเนินชีวติ ประจาวันอาจใช้เครื่องช่วย
ฟังเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน แต่จะรับฟังเสียงได้ไม่ชัดเจนเท่าผู้ป่วย conductive hearing loss
นอกจากนี้ ผูท้ ี่ผลตรวจบ่งชี้ว่ามี retrocochlear lesion จาเป็นต้องตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่าง
ละเอียดพร้อมทั้งส่งตรวจเพิ่มเติม ได้แก่ การตรวจทาง electrophysiology เช่น auditory brainstem
response (ABR), การทาเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography - CT scan) หรือการตรวจด้วย
คลื่นสนามแม่เหล็ก (magnetic resonance imaging - MRI) บริเวณ temporal bone และสมองเพื่อหา
รอยโรคต่อไป

การได้ยินบกพร่องแบบผสม (mixed hearing loss)


เป็นความบกพร่องแบบ conductive hearing loss ร่วมกับ sensori-neural hearing loss ซึ่งไม่
จาเป็นต้องเริ่มเกิดขึ้นพร้อมกัน แต่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก่อน เช่น เป็น chronic otitis
media ทาให้มี conductive hearing loss แล้วต่อมาเกิดโรคแทรกซ้อนคือ labyrinthitis ซึ่งทาให้มี
sensori-neural hearing loss ร่วมด้วย จึงทาให้มีการได้ยินบกพร่องชนิด mixed hearing loss ในทีส่ ุด
การตรวจการได้ยินโดย pure tone audiometry จะพบว่าทั้ง air และ bone conduction
threshold สูงขึ้นร่วมกับมี air-bone gap
การได้ยินบกพร่องที่ไม่พบพยาธิสภาพทางกาย (non-organic หรือ functional hearing loss)
เป็นภาวะการได้ยินบกพร่องที่ตรวจไม่พบพยาธิสภาพที่ใด อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
- Psychogenic hearing loss
ผูป้ ่วยมีปัญหาหรือความผิดปกติทางจิตทาให้ไม่ตอบสนองต่อเสียง หรือเกิด
conversion reaction ซึ่งทาให้รู้สึกว่าตนเองไม่ได้ยิน
- Pseudohypacusis หรือ malingering
ผูป้ ่วยแสร้งทาเป็นไม่ได้ยินเพื่อเรียกร้องความสนใจหรือเพื่อผลประโยชน์จาก
ค่าชดเชย
การซักประวัติมสี ่วนสาคัญมากในการวินิจฉัย เนื่องจากการตรวจร่างกายจะไม่พบความ
ผิดปกติ
การตรวจการได้ยินด้วยวิธีตา่ งๆ แล้วได้ผลไม่สอดคล้องกันจะช่วยสนับสนุนการวินิจฉัย เช่น
ผล pure tone average ต่างจาก speech reception threshold (SRT) มากหรือไม่สอดคล้องกับการตรวจ
ทาง electrophysiology เช่น auditory brainstem responses (ABR), otoacoustic emission (OAE) test
หรือ acoustic reflexes เป็นต้น(5, 6)

สาเหตุของการได้ยินบกพร่อง
โรคของหูชั้นนอก
- Microtia, External auditory canal atresia
เป็นความพิการตั้งแต่กาเนิดหรือเป็นผลแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ, อุบัติเหตุ หรือการผ่าตัด ใน
รายที่เป็นตั้งแต่กาเนิดอาจพบความผิดปกติของ ossicles หรือ middle ear cavity ร่วมด้วย
เด็กที่มคี วามผิดปกติของใบหูหรือรูหูตงั้ แต่กาเนิดจะต้องได้รับการประเมินการได้ยินและ
ตรวจหาความผิดปกติของระบบอื่นที่อาจเกิดร่วมกัน ในกรณีที่มคี วามผิดปกติข้างเดียว จะไม่มี
ผลกระทบต่อการได้ยินโดยรวมและพัฒนาการทางภาษามากนัก โดยทั่วไปแล้วจึงไม่ต้องใช้เครื่องช่วย
ฟังและสามารถชะลอการผ่าตัดแก้ไขไว้จนกระทั่งเด็กโตพอที่จะร่วมตัดสินใจได้ว่าต้องการผ่าตัดหรือไม่
(7) แต่ในกรณีที่มค ี วามผิดปกติทั้ง 2 ข้างและมีการได้ยินบกพร่องร่วมด้วย ต้องรีบฟื้นฟูสมรรถภาพการ
ได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังและฝึกพูด การเลือกเครื่องช่วยฟังขึ้นอยู่กับข้อบ่งชีว้ ่าจะสามารถใช้
เครื่องช่วยฟังชนิดทั่วไปหรือชนิด bone conduction
การผ่าตัดแก้ไขใบหู ถ้าจะใช้กระดูกอ่อนซี่โครงของผูป้ ่วยเองมาเป็นโครงใบหู ควรทาหลังจาก
อายุประมาณ 8-10 ขวบเพื่อให้เพื่อกระดูกอ่อนซี่โครงมีขนาดใหญ่พอและหูอกี ข้างมีขนาดใหญ่
เหมาะสมกับหูขา้ งที่จะทาขึ้นใหม่ แต่ถ้าใช้โครงใบหูที่ทาด้วยวัสดุสังเคราะห์ เช่น polyethylene จะ
สามารถทาได้ตงั้ แต่อายุราว 4 ขวบแต่มีคา่ ใช้จา่ ยเพิ่มขึ้นเป็นค่าวัสดุอีกหลายหมื่นบาท
ในกรณีที่มชี ่องหูหรือรูหูตบี มาก ต้องเฝ้าระวังเรื่อง cholesteatoma ที่อาจสะสมอยู่ด้านใน จึง
ควรผ่าตัดแก้ไขในช่วงอายุ 6-12 ปีเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของกระดูกหรือทาลายหูชั้นกลาง(7)
- Otitis externa
(อ่านรายละเอียดในบท otorrhea)
- Impacted cerumen
รักษาโดยใช้เครื่องมือดึงหรือดูดขี้หูออกมา แต่ถ้าขีห้ ูแข็งหรือเหนียวมากอาจต้องใช้กระบอก
ฉีดยาฉีดน้าเข้าไปล้างขี้หู หรือหยอดโซเดียมไบคาร์บอเนตความเข้มข้นร้อยละ 2.5 เพื่อให้ข้ีหูนุ่มหรือ
เหลว และแนะนาไม่ให้ผปู้ ่วยปั่นหรือแคะหูเพราะมักจะดันขีห้ ูเข้าไปในช่องหูลึกมากขึน้
- Cyst และ Tumor
รักษาตามข้อบ่งชีข้ องแต่ละโรค

โรคของหูชั้นกลาง
- Otitis media
(อ่านรายละเอียดในบท otorrhea)
- Otitis media with effusion
(อ่านรายละเอียดในบท otorrhea)
- Eustachian tube dysfunction
(อ่านรายละเอียดในบท otorrhea)
- Hemotympanum
คือการมีเลือดคั่งในหูชั้นกลางอันเป็นผลจาก trauma เช่น temporal bone fracture,
barotrauma หรือเกิดขึ้นในผูป้ ่วยที่มกี ารแข็งตัวของเลือดผิดปกติ การตรวจ otoscopy จะเห็นเลือดสีดา
คล้าอยู่ด้านในต่อเยื่อแก้วหูซึ่งไม่ทะลุ โดยทั่วไปไม่จาเป็นต้องให้การรักษาใดๆ เนื่องจากส่วนใหญ่จะ
หายได้เองใน 3-6 สัปดาห์(8) การเจาะเยื่อแก้วหู (myringotomy) เพื่อระบายเลือดอาจทาเมื่อมีอาการ
ปวดมากหรือ hemotympanum ไม่หายไปเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อ ossicles และหลังจากนั้น
ถ้ายังมี conductive hearing loss อาจต้องนึกถึงพยาธิสภาพอื่นที่เกิดร่วมด้วยจาก trauma เช่น ossicular
chain disruption เพื่อพิจารณาผ่าตัดรักษาต่อไป
- Tympanic membrane perforation
ในกรณีที่เยื่อแก้วหูทะลุและไม่ติดเชือ้ เช่น จากแรงอัดหรือถูกของแข็งกระแทก อาจเพียง
สังเกตอาการเป็นระยะโดยที่ไม่จาเป็นต้องให้การรักษาใดๆ นอกจากระวังไม่ให้น้าเข้าหู รูทะลุเล็กๆ
อาจปิดได้เองภายใน 1 เดือน และส่วนมากจะหายภายใน 2-3 เดือน(9) หลังจากนี้ถ้ารูทะลุยังไม่ปิดก็
รักษาโดยการผ่าตัดปะแก้วหู (myringoplasty) หากรูทะลุปิดแล้วแต่การได้ยินยังไม่กลับมาเป็นปกติ
อาจเป็นเพราะมีความเสียหายของ ossicles หรือหูชั้นในร่วมด้วย
- Otosclerosis
เป็นโรคที่มกี ารสร้างกระดูกขึน้ มาใหม่อย่างผิดปกติที่ osseous labyrinth โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
รอบๆ oval window ทาให้ footplate ของ stapes ขยับได้นอ้ ยลงตามลาดับ เป็นผลให้มี conductive
hearing loss ซึ่งมักเริ่มมีอาการเมื่ออายุราว 30 - 40 ปี และในระยะยาวอาจลามเข้าหูชั้นใน ทาให้เกิด
sensori-neural hearing loss ร่วมด้วย ทาให้การได้ยินบกพร่องมากขึ้น กลายเป็นmixed hearing loss
และมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วยได้ โรคนีส้ ามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant
(incomplete penetrance)(10, 11) แต่ผปู้ ่วยราวครึ่งหนึ่งก็ไม่มีประวัตโิ รคนีใ้ นครอบครัว
การผ่าตัดทา stapedectomy หรือ stapedotomy พร้อมทั้งใส่กระดูกหูเทียม (prosthesis) จะทา
ให้ผู้ป่วยได้ยินดีขึน้ แต่ในรายที่มขี ้อห้ามหรือปฏิเสธการผ่าตัดก็สามารถใช้เครื่องช่วยฟังได้
- Other ossicular disorders
ความผิดปกติอ่ืนๆ ของ ossicles เช่น ossicular fixation หรือ ossicular discontinuity ซึ่งมีสาเหตุ
จากความผิดปกติตั้งแต่กาเนิด, อุบัติเหตุ หรือเป็นผลแทรกซ้อนจากการติดเชือ้ อาจรักษาได้โดยการ
ผ่าตัด
- Glomus tympanicum
เป็น paraganglioma ชนิดหนึ่งและเป็นเนือ้ งอกที่พบได้บ่อยที่สุดในหูชั้นกลาง แต่พบใน
temporal bone มากเป็นอันดับสองรองจาก vestibular schawannoma(12) เนือ้ งอกนีจ้ ะโตขึ้นช้าๆ ทาให้
ผูป้ ่วยมีเสียงรบกวนในหูเป็นจังหวะเหมือนเสียงหัวใจเต้น (pulsatile tinnitus) และมี conductive hearing
loss ตามมา glomus tumor ที่เกิดบริเวณ jugular bulb จะเรียกว่า glomus jugulare tumor อาจโตขึน้ กด
เบียดเส้นประสาทสมองคู่ที่ 9-12 และลุกลามเข้า mastoid ทาให้เกิดอัมพาตของใบหน้า หรือมี
sensori-neural hearing loss ร่วมด้วย
การตรวจร่างกายอาจมองเห็นก้อนในหูชั้นกลางหรือก้อนเนือ้ งอกอาจดันทะลุแก้วหูออกมาใน
ช่องหูการตรวจโดย CT scan หรือ MRI จะช่วยในการวินิจฉัย
รักษาโดยการผ่าตัดหรือรังสีรักษา

โรคของหูชั้นใน
- Infections
Labyrinthitis เป็นการติดเชื้อที่หูชั้นในซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อที่หูชั้นในโดยตรงหรือกระจาย
มาจากอวัยวะอื่น ผู้ป่วยจะมี sensori-neural hearing loss ร่วมกับ acute vertigo โดยมักเกิด hearing
loss อย่างถาวร ส่วน vertigo อาจดีข้ึนได้จาก vestibular compensatory mechanisms
 Mumps เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยของ unilateral sudden sensori-neural hearing loss(13)
 Measles ทาให้เกิด bilateral moderate-to-profound sensori-neural hearing loss
 Herpes Zoster Oticus (Ramsay Hunt Syndrome) ผูป ้ ่วยจะมี sensori-neural hearing loss
ร่วมกับ facial paresis นอกจากนีม้ ักมีอาการปวดหูและพบ vesicles ที่ใบหูหรือรูหูด้วย
 Otosyphilis การได้ยินเป็นได้ทั้ง sudden, progressive หรือ fluctuating sensori-neural hearing
loss ซึ่งในรายที่เป็น fluctuating sensori-neural hearing loss จะวินจิ ฉัยแยกจาก Meniere’s
disease ได้ยาก การตรวจเลือดจะช่วยในการวินิจฉัย รักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะ
 Otogenic labyrinthitis แบคทีเรียจาก otitis media จะเข้าสู่หูชั้นในผ่านทาง round window, oval
window หรือ fistula ที่เกิดจากการอักเสบ
 Meningogenic labyrinthitis เกิดในผูป ้ ่วย meningitis เนื่องจากเชือ้ ลุกลามมาตามกระแสเลือด
หรือจาก subarachnoid space เข้าสู่หูชั้นในผ่านทาง cochlear aqueduct หรือ internal auditory
canal ผูป้ ่วยมักจะมี bilateral sensori-neural hearing loss
- Trauma
มักเกิดจากการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ เช่น temporal bone fracture แล้วรอยแตกผ่าน
cochlea
หรือมี cochlear concussion ผูป้ ่วยมักมี vertigo ร่วมด้วย
- Ototoxicity
ยาบางอย่างเป็นอันตรายต่อหูชั้นใน ซึ่งอาจมีผลต่อการได้ยิน, การทรงตัว หรือทั้ง 2 ส่วน
แล้วแต่ชนิดของยา โดยมีปัจจัยสนับสนุนได้แก่ ระดับยาในเลือด, ระยะเวลา, ยาอื่นที่ใช้รว่ ม และภาวะ
ของผู้ป่วยเอง เช่น อายุ, การทางานของตับและไตตลอดจนปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม(14) หูชั้นในมัก
ค่อยๆ เสื่อม และเป็นทั้ง 2 ข้าง แต่ก็พบได้เช่นกันที่หูเสื่อมข้างเดียวหรือเป็น sudden profound sensori-
neural hearing loss หลังจากได้รับยาในช่วงเวลาสั้นๆหรือเพียงครั้งเดียว ยาที่มอี ันตรายต่อหูชั้นใน เช่น
 Aminoglycosides มีผลต่อ hair cells ของหูชั้นใน ทาให้เกิดการได้ยินบกพร่องอย่างถาวร และ/
หรือเสียการทรงตัว ซึ่งขึ้นกับชนิดของยาว่ามีผลด้าน cochleotoxic หรือ vestibulotoxic
มากกว่า นอกจากนี้ ยาหยอดหูที่มีสว่ นผสมของ aminoglycosides ยังเป็นพิษต่อหูชั้นในได้
โดยตรงเมื่อใช้ในผู้ที่แก้วหูทะลุ
 Loop diuretics เช่น furosemide มีผลต่อ stria vascularis ทาให้การได้ยินบกพร่องทั้ง 2 ข้าง
เท่ากันอย่างเฉียบพลัน (bilateral symmetrical sudden onset sensori-neural hearing loss) ถ้า
บริหารยาโดยการฉีด แต่การได้ยินที่บกพร่องไปมักกลับคืนมาได้ (reversible sensori-neural
hearing loss)
 Salicylates มีผลต่อ outer hair cell ของ cochlea ทาให้มี tinnitus และ reversible sensori-
neural hearing loss
 Quinines มีผลต่อ outer hair cell ของ cochlea ทาให้มี tinnitus และ reversible sensori-neural
hearing loss แต่ถ้าใช้ขนาดสูงจะมีการได้ยินบกพร่องอย่างถาวร
 Cisplatinum มีผลต่อ outer และ inner hair cell ของ cochlea ทาให้เกิด bilateral symmetrical
progressive high frequency sensori-neural hearing loss และส่วนมากเป็นแบบถาวร
 ยาอื่นๆ เช่น กลุ่ม macrolides, deferoxamine (iron-chelating agents), vincristine และ
vinblastine ก็มีอันตรายต่อหูชั้นในได้เช่นกัน(15, 16)
เมื่อให้ยาที่มอี ันตรายต่อหูชั้นใน ควรเฝ้าระวังโดยการตรวจการได้ยินเป็นระยะด้วย
otoacoustic emissions หรือ high-frequency audiometry (ถึง 12 kHz) และพิจารณาหยุดยาเมื่อผูป้ ่วย
เริ่มมี tinnitus หรือรู้สกึ ว่าการทรงตัวไม่ปกติ
- Meniere’s disease (Endolymphatic hydrops)
(อ่านรายละเอียดในบท vertigo)
- Noise trauma
เสียงดังเป็นอันตรายต่อหูได้ 2 ลักษณะ คือ
 Acoustic trauma เกิดจากได้ยินเสียงดังรุนแรงในระยะเวลาสัน ้ ๆ เช่น เสียงระเบิด คลื่นเสียงที่
ดังเกิน 140 dB SPL จะทาอันตรายหูชั้นใน นอกจากนีย้ ังอาจทาให้แก้วหูทะลุหรือ ossicles
เสียหายได้(17, 18) ผูป้ ่วยจะรู้สึกหูอื้อหรือมี tinnitus ทันที ซึ่งจะเป็นชั่วคราวหรือถาวรขึน้ อยู่กับ
ความดังของเสียง และอาจเป็นข้างเดียวหรือไม่เท่ากันในหูแต่ละข้าง
 Noise-induced hearing loss เกิดจากการได้ยินเสียงดังเป็นเวลานานเกินไป โดยทั่วไปแล้วเรา
สามารถฟังเสียงที่ดังไม่เกิน 85 dB SPL ได้นาน 8 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่เป็นอันตราย และถ้า
เสียงดังขึน้ ระยะเวลาที่จะฟังเสียงได้อย่างปลอดภัยจะลดลงตามลาดับ
Noise-induced hearing loss เกิดขึ้นได้ทั้งแบบชั่วคราว (temporary threshold shift –
TTS) และแบบถาวร (permanent threshold shift – PTS) ขึน้ อยู่กับระดับเสียงและระยะเวลา
ที่ได้ยิน ผูป้ ่วย
จะรู้สกึ หูอื้อหรือมี tinnitus ซึ่งในระยะแรกการได้ยินจะมีลักษณะเฉพาะคือเสื่อมที่ความถี่
4,000
Hertz มากกว่าความถี่อื่น (4-kHz notch) และมักใกล้เคียงกันทั้ง 2 ข้าง แต่เมื่อเป็นมากขึ้น
หลายๆ ปี
การได้ยินในช่วงความถี่อื่นก็จะเสื่อมลงไปด้วย
กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงเพื่อกาหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความ
ปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทางานเกี่ยวกับเสียง พ.ศ. 2549 ดังนี้
มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับตลอดเวลาการทางานในแต่ละวัน(19)

ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทางาน(TWA)
เวลาการทางานที่ได้รับเสียง(ชั่วโมง)
ไม่เกิน (เดซิเบลเอ)
12 87
8 90
7 91
6 92
5 93
4 95
3 97
2 100
1 105
½ 110
¼ หรือน้อยกว่า 115

จะสังเกตได้ว่า เมื่อเสียงดังขึน้ ทุก 5 dB SPL ระยะเวลาที่ได้ยินเสียงจะลดลงครึ่งหนึ่งตามลาดับ


(แต่ในบางประเทศก็กาหนดความดังของเสียงที่เพิ่มขึน้ ไว้เพียงทุก 3 dB SPL แล้วให้ลดระยะเวลาที่ได้
ยินเสียงลงครึ่งหนึ่ง)(20) นอกจากนีย้ ังมีคาแนะนาคณะกรรมการสาธารณสุขฉบับที่ 1/2548 กาหนดค่า
ระดับเสียงสูงสุดในสถานบันเทิงไม่เกิน 110 เดซิเบลเอ และค่าระดับเสียงเฉลี่ย 15 นาทีไม่เกิน 90 เดซิ
เบลเอ เพื่อความปลอดภัยอีกด้วย
การป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากเสียงสาคัญกว่าการรักษา ในผูท้ ี่ตอ้ งทางานในที่ที่มเี สียงดัง
จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่ได้มาตรฐาน เช่น ที่ครอบหู (earmuffs) หรือที่อุดหู (earplugs) ซึ่งจะลด
ระดับเสียงได้ 10-30 เดซิเบลเอ และอาจใช้พร้อมกันทั้ง 2 ชนิดก็ได้(21) นอกจากนีย้ ังต้องตรวจวัดระดับ
เสียงในพืน้ ที่และตรวจการได้ยินเป็นระยะอีกด้วย ส่วนประชาชนทั่วไปก็ต้องตระหนักถึงอันตรายจาก
เสียงดังที่ไม่ได้เกิดจากการประกอบอาชีพ เช่น การฟังดนตรีหรือเข้าไปในสถานบันเทิงที่มเี สียงดังมาก
เป็นเวลานาน เพื่อจะได้ระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงได้ตามสมควร
- Age-related hearing loss (Presbycusis)
โดยธรรมชาติแล้วการได้จะค่อยๆ เสื่อมลงตามวัย การได้ยินบกพร่องของผู้สูงอายุจะมีลักษณะ
แบบค่อยเป็นค่อยไปและเสื่อมเท่ากันทั้ง 2 ข้างในช่วงความถี่สูง (bilateral symmetrical high
frequencies sensori-neural hearing loss) ซึ่งจะวินจิ ฉัยในผู้ที่อายุเกิน 50 ปี และไม่มีสาเหตุอื่นที่ทาให้
การได้ยินบกพร่อง(22)
ผูป้ ่วยอาจมาพบแพทย์เนื่องจากมีเสียงในหู (tinnitus) และมักมีปัญหาฟังไม่รเู้ รื่องหรือได้ยิน
เสียงแต่จับใจความไม่ได้ร่วมด้วย ซึ่งเป็นผลจากความเสื่อมของระบบประสาทกลาง (central auditory
processing disorder) ตามวัยนอกเหนือไปจากหูชั้นในเสื่อม ทาให้มีปัญหาในการได้ยินมากกว่าผูท้ ี่มกี าร
ได้ยินบกพร่องในระดับเดียวกันที่มีอายุน้อยกว่า
การใช้เครื่องช่วยฟังจะช่วยบรรเทาปัญหาได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งต้องร่วมกับการจัดสิ่งแวดล้อมให้
เหมาะแก่การแยกแยะเสียงได้ชัดเจนขึน้ เช่น ลดเสียงรบกวน (background noise) และคู่สนทนาอยู่
ตรงหน้า ไม่พูดเร็วหรือประโยคยาวเกินไป เพื่อผู้สูงอายุจะได้จับใจความได้ชัดเจนขึ้น(23)

- Sudden sensori-neural hearing loss


คือการได้ยินบกพร่องอย่างเฉียบพลัน โดยมีคาจากัดความของภาวะนีแ้ ตกต่างกันตามรายงาน
หรือสถาบันต่างๆ แต่ที่นยิ มใช้อา้ งอิงคือการได้ยินบกพร่องอย่างน้อย 3 ความถี่ต่อเนื่องตั้งแต่ 30 dB
ขึน้ ไปและเกิดขึ้นภายใน 72 ชั่วโมง(24) ในโรงพยาบาลศิริราชระหว่าง พ.ศ. 2555-2559 มีผู้ป่วยจานวน
1,874 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.9 ของผูป้ ่วย sensori-neural hearing loss ทั้งหมด และอุบัติการณ์ใน
สหรัฐอเมริกาที่รายงานโดย Byl คือ 5-20 ต่อ 100,000 คนต่อปี(25) อุบัติการณ์ในการรายงานแต่ละ
แห่งอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ข้ึนกับเกณฑ์ที่ใช้วินจิ ฉัย
คาดว่าสาเหตุที่ทาให้เกิด sudden sensori-neural hearing loss คือการติดเชื้อไวรัสและปัญหา
ของหลอดเลือด (vascular disturbance) ที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน นอกจากนั้นอาจเกิดจากภูมติ ้านทานของ
ตนเอง (autoimmune process) ตลอดจนการฉีกขาดของเยื่อหูชั้นใน (labyrinthine membrane rupture)
จากการกระทบกระเทือนหรือเปลี่ยนแปลงความดันอากาศ แต่ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ไม่พบสาเหตุ ดังนั้น
จึงอาจเรียกภาวะนีว้ ่า idiopathic sudden sensori-neural hearing loss
ผูป้ ่วยจะมาพบแพทย์เนื่องจากการได้ยินบกพร่องหรือมี tinnitus อย่างเฉียบพลัน โดยมากมัก
เป็นในหูข้างเดียว และอาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย ซึ่งอาการเวียนศีรษะเป็นข้อบ่งชีป้ ระการหนึ่งถึง
การพยากรณ์โรคที่จะมีโอกาสหายน้อยลง
การรักษา sudden sensori-neural hearing loss มีหลายแนวทาง โดยทั่วไปแล้วนิยมให้ยากลุ่ม
steroids คือ prednisolone ขนาดวันละ 1 มิลลิกรัมต่อน้าหนักตัว 1 กิโลกรัมเป็นเวลา 7-14 วันเป็นหลัก
และร่วมกับยาอื่นๆ ตามอาการ เช่น ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ และอาจฉีด steroid เข้าทางหลอด
เลือดดา หรือฉีดผ่านแก้วหูเข้าไปในหูชนั้ กลาง (intratympanic steroid injection) ซึ่งจะได้ระดับยาในหู
ชั้นในสูงกว่าการกินหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือดดา นอกจากนี้ยังมีรายงานการรักษาด้วยวิธีตา่ งๆ อีก
มาก เช่น การให้ยาต้านไวรัส, วิตามิน, antioxidants หรือยาลดความหนืดของเลือด (hemodilutional
therapies เช่น dextrans, Gingko biloba หรือ nifedipine) ตลอดจนการสูดดม Carbogen
(คาร์บอนไดออกไซด์รอ้ ยละ 5 ผสมกับออกซิเจนร้อยละ 95) หรือการให้ออกซิเจนในห้องปรับความดัน
(hyperbaric oxygen) ระยะเวลาที่ได้ผลดีที่สุดในการรักษาคือภายใน 2 สัปดาห์หลังจากเริ่มมีอาการ
ดังนัน้ จึงถือว่า sudden sensori-neural hearing loss เป็นภาวะเร่งด่วนที่ตอ้ งรักษาโดยทันทีแม้ว่าจะมี
ข้อมูลจากงานวิจัยว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา(26, 27)
อย่างไรก็ตาม จากรายงานของ Moffat พบว่าผูป้ ่วยที่มเี นือ้ งอกของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8
(vestibular schawannoma) ประมาณร้อยละ 10 มีอาการแบบ sudden sensori-neural hearing loss ซึ่ง
ความชุกของ vestibular schawannoma ในกลุ่มผู้ป่วย sudden sensori-neural hearing loss พบได้
ประมาณร้อยละ 0.8-3 ดังนั้นจึงควรตรวจเพิ่มเติมเพื่อค้นหาพยาธิสภาพแบบ retrocochlear lesion ใน
ผูท้ ี่ได้รับการวินจิ ฉัยว่าเป็น sudden sensori-neural hearing loss ด้วย(28)
- Systemic diseases
โรคทางกายบางอย่างมีผลต่อหูชั้นในด้วย เช่น เบาหวาน, chronic renal failure, congenital
hypothyroidism, autoimmune disorders, sickle cell anemia, leukemia, lymphoma เป็นต้น นอกจากนี้
ยังพบผูป้ ่วยที่มี bilateral sensori-neural hearing loss ทันทีหลังผ่าตัด cardiopulmonary bypass(29) ซึ่ง
เกิดจาก emboli อุดตันหรือมีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในลดลง

Retrocochlear hearing disorders


คือมีพยาธิสภาพใน auditory pathway ตั้งแต่ internal acoustic meatus ไปจนถึง cerebral
cortex การพยากรณ์โรคจะไม่ดีเท่า cochlear lesion เพราะอาจมีสาเหตุมาจาก tumor เช่น vestibular
schawannoma, cerebellopontine angle tumor อื่นๆ เช่น meningioma,โรคของระบบประสาทส่วนกลาง
เช่น auditory neuropathy (auditory dyssynchrony) หรือ multiple sclerosis เป็นต้น ผูป้ ่วยจะมีการได้
ยินบกพร่องร่วมกับมีปัญหาในการแปลความหมายคือฟังไม่เข้าใจมากกว่ากลุ่ม cochlear lesion การ
ตรวจการได้ยินโดย pure tone audiometry จะพบลักษณะแบบ sensori-neural hearing loss แต่เมื่อทา
speech audiometry จะพบว่า word
recognition score ต่าผิดปกติ และการตรวจพิเศษที่ทาให้นึกถึงพยาธิสภาพที่ retrocochlea คือ auditory
brainstem response ที่ได้ผลผิดปกติหรือไม่มกี ารตอบสนองซึ่งให้ผลไม่สอดคล้องกับ pure tone
audiometry
- Vestibular schawannoma (acoustic neuroma, acoustic schawannoma)
เป็นเนือ้ งอกที่พบบ่อยที่สุดในบริเวณ cerebellopontine angle มักเกิดขึ้นที่ vestibular division
ของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 บริเวณ internal acoustic canal ในระยะแรกผูป้ ่วยส่วนใหญ่จะมาด้วย
อาการมีเสียงรบกวนในหูหรือมี progressive sensori-neural hearing loss ในช่วงความถี่กลางหรือสูง
แต่ประมาณร้อยละ10 มีอาการแบบ sudden sensori-neural hearing loss การตรวจการได้ยินจะพบ
ลักษณะของ retrocochlear lesion อาการเวียนศีรษะพบไม่มากและไม่รุนแรง รักษาโดยการผ่าตัดหรือ
รังสีรักษา
ในพวก retrocochlear lesion อาจแบ่งย่อยเป็นกลุ่มเฉพาะได้อีกกลุ่มหนึ่งคือ
- Central hearing loss
ซึ่งมีความผิดปกติที่ brainstemไปจนถึง cerebral cortex เช่น central auditory processing
disorder สาเหตุเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กาเนิด, โรคของสมอง ตลอดจนความเสื่อมในวัยชรา ผู้ป่วย
กลุ่มนีก้ ็จะมีปัญหาในการฟังไม่รเู้ รื่องทั้งที่ระดับการได้ยินปกติหรือบกพร่องเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การ
ตรวจการได้ยินโดย pure tone และ speech audiometry จะได้ผลคล้ายกับ retrocochlear lesion อื่นๆ
แต่ auditory brainstem response มักได้ผลปกติ จึงทาให้วินจิ ฉัยได้ยากและต้องใช้การตรวจพิเศษทาง
audiology และ electrophysiology เพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินจิ ฉัย(30)
อุบัติการณ์ของ retrocochlear hearing loss ตามรายงานในปัจจุบันเมื่อรวมกลุ่ม central
auditory processing disorder ไว้ดว้ ยแล้วอาจสูงถึงร้อยละ 10 ในเด็กที่มปี ัญหาการได้ยินบกพร่องตั้งแต่
ระดับรุนแรงขึ้นไป แต่ยังไม่มีรายงานอุบัติการณ์ที่แน่ชัดในผู้ใหญ่(31, 32)
ผูป้ ่วยที่ผลตรวจบ่งชีว้ ่ามี retrocochlear lesion จาเป็นต้องตรวจร่างกายทางระบบประสาท
อย่างละเอียดพร้อมทั้งส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น CT scan หรือ MRI พร้อมกับฉีดสาร Gadolinium เพื่อ
ตรวจหารอยโรคบริเวณสมองและ temporal bone และส่งต่อผูเ้ ชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟู
สมรรถภาพต่อไป
Congenital hearing loss
คือภาวะการได้ยินบกพร่องที่เป็นตั้งแต่แรกเกิด อาจมีสาเหตุจากพันธุกรรมหรือปัญหาในระยะ
ต่างๆ เช่น ระยะก่อนเกิด (prenatal period) ระหว่างคลอด (perinatal period) หรือหลังคลอด
(postnatal period) และพบได้ทั้ง conductive, sensori-neural หรือ mixed hearing loss โดยมีความชุก
ของภาวะการได้ยินบกพร่องอย่างถาวรของหูทั้ง 2 ข้างประมาณ 1-3 รายต่อทารกแรกเกิดที่มชี ีวติ
1,000 รายต่อปี ซึ่งมากกว่าความผิดปกติทาง metabolism เช่น congenital hypothyroidism (ความชุก1
ต่อ 4,000) ที่มกี ารตรวจคัดกรองเพื่อหาความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด(33-35) เด็กที่มกี ารได้ยินบกพร่องจะ
มีปัญหาด้านพัฒนาการทางภาษาและการพูด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ดา้ นต่างๆ ตลอดจนเกิด
ปัญหาทางจิตใจและสังคมต่อไปในอนาคต
สาเหตุของการได้ยินบกพร่องอย่างถาวรตั้งแต่กาเนิดราวครึ่งหนึ่งมีสาเหตุจากพันธุกรรม
(genetic) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือเกิดจากสาเหตุอ่นื เช่น พิษจากยา การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์
(intrauterine infection) ซึ่งได้แก่ TORCHS: Toxoplasmosis, Rubella, Cytomegalovirus, Herpes,
Syphilis ตลอดจนภาวะ hyperbilirubinemia หรือการเกิดก่อนกาหนด เป็นต้น ในผู้มีการได้ยินบกพร่อง
จากพันธุกรรมที่ไม่มกี ลุ่มอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย (non-syndromic hearing loss) มักจะไม่พบประวัติ
การได้ยินบกพร่องในครอบครัวเนื่องจากเกือบร้อยละ 80 เป็นการถ่ายทอดแบบ autosomal recessive
อีกประมาณร้อยละ 20 ถ่ายทอดแบบ autosomal dominant ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 1 ถ่ายทอด
แบบ X-linked(36) ในปัจจุบันการตรวจทางห้องปฏิบัติการสามารถตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม
บางชนิดได้
การตรวจพบเด็กที่มปี ัญหาการได้ยินบกพร่องโดยเร็วที่สุดมีความสาคัญมากในการดูแลและ
ฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดสามารถทาได้โดยวิธีตรวจการ
ได้ยินระดับก้านสมอง (automated auditory brainstem response - AABR) และ/หรือการวัดการ
ตอบสนองต่อเสียงของหูชั้นใน (otoacoustic emission – OAE) การตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรก
เกิดอย่างครอบคลุม (universal newborn hearing screening) ซึ่งหมายถึงสามารถตรวจคัดกรองการได้
ยินในเด็กแรกเกิดภายในอายุ 1 เดือนได้มากกว่าร้อยละ 95 ของเด็กแรกเกิดทั้งหมดก็เป็นแนวทาง
ปฏิบัติที่เริ่มทาอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาลต่างๆ ในปัจจุบันนอกเหนือไปจากการตรวจเฉพาะเด็ก
แรกเกิดในกลุ่มที่มปี ัจจัยเสี่ยงซึ่งเป็นเด็กที่มคี วามผิดปกติ ป่วย ติดเชือ้ หรือได้รับยาที่มีพษิ ต่อหู ซึ่งจะ
พบความชุกของการได้ยินบกพร่องมากกว่าเด็กทั่วไป 10-20 เท่า(37) และเด็กทั้ง 2 กลุ่มที่ผลตรวจคัด
กรองการได้ยินไม่ผ่านจะถูกส่งต่อไปยังผูเ้ ชี่ยวชาญเพื่อยืนยันการวินจิ ฉัยและตรวจเพิ่มเติมทางระบบ
อื่นๆ เพื่อหาสาเหตุและแนวทางรักษา รวมถึงการให้คาปรึกษาด้านพันธุกรรมแก่ครอบครัวอีกอีกด้วย
เด็กที่มกี ารได้ยินบกพร่องควรได้รับคาแนะนาในการรักษาและได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการ
ได้ยินภายในอายุ 6 เดือนโดยการใช้เครื่องช่วยฟังร่วมกับการฝึกพูด หลังจากนั้นยังต้องติดตามดู
พัฒนาการทางการพูด, ภาษา, และพัฒนาการด้านอื่นๆ รวมถึงตรวจการได้ยินและประเมินการใช้
เครื่องช่วยฟังอย่างเหมาะสมเป็นระยะทุก 6 เดือน หรือแนะนาให้ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในรายที่มีขอ้
บ่งชีแ้ ละสามารถทาได้ การละเลยหรือฟื้นฟูสมรรถภาพช้าจะยากต่อการพัฒนาภาษาให้ได้ใกล้เคียง
ปกติ(38)

การวินิจฉัยผู้มีการได้ยินบกพร่อง
เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์เนื่องจากมีปัญหาการได้ยินบกพร่อง การที่แพทย์จะวินิจฉัยและรักษา
ได้อย่างถูกต้องจะประกอบด้วย
การซักประวัติ
- ระหว่างการซักถามผู้ป่วย อาจประเมินได้ว่าผู้ป่วยมีการได้ยินบกพร่องแบบใด โดยสังเกต
จาก
ผูป้ ่วยพูดเสียงดัง มักเป็น sensori-neural hearing loss เนื่องจากได้ยินเสียงพูดของตนเอง
เบา
ผูป้ ่วยพูดเสียงเบา มักเป็น conductive hearing loss เนื่องจากได้ยินเสียงพูดของตนเองดัง
ก้อง
- ระยะเวลาที่เป็น เช่น เป็นแบบเฉียบพลันหรือค่อยเป็นค่อยไป ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน อาจมี
สาเหตุจาก sensori-neural hearing loss เช่น sudden sensori-neural hearing loss, acoustic trauma
หรือ conductive hearing loss เช่น ขีห้ ูอุดตัน เป็นต้น
- อาการที่เกิดร่วมด้วย เช่น มีหนองไหลจากหู ปวดหู หรือมีไข้ ควรเกิดจากการอักเสบติดเชือ้ ,
ถ้ามีอาการเวียนศีรษะ หรือทนเสียงดังไม่ได้ จะนึกถึงพยาธิสภาพของหูชั้นใน
- ประวัติการได้รับยาที่มพี ิษต่อหู, การได้ยินเสียงดัง, อุบัติเหตุ
- ประวัติการขึน้ เครื่องบินหรือดาน้า ซึ่งอาจเกิด barotrauma ได้
- ประวัติความเจ็บป่วยในอดีต เช่น หูนาหนวก, ้ เคยฉายแสงบริเวณศีรษะและคอ อาจทาให้
Eustachian tube อุดตันหรือหูชั้นในเสื่อม,ได้รับเคมีบาบัด, ความเจ็บป่วยร้ายแรง รวมทั้งโรคประจาตัว
ต่างๆ และยาที่ใช้เป็นประจา
- อาชีพ เช่น คนงานในโรงงาน, คนขับเรือหางยาว ซึ่งเสี่ยงต่อการได้ยินเสียงดังเป็น
เวลานาน
- ในเด็ก ต้องซักประวัติตงั้ แต่อยู่ในครรภ์, ระหว่างคลอด, หลังคลอด, พัฒนาการ, การ
ได้รับภูมคิ ุ้มกันรวมทั้งประวัติการเลี้ยงดูด้วย
- ประวัติการได้ยินบกพร่องหรือความผิดปกติทางพันธุกรรมในครอบครัว ซึ่งอาจจะสัมพันธ์
กับ sensori-neural hearing loss หรือสัมพันธ์กับ conductive hearing loss เช่น otosclerosis ได้
การตรวจร่างกาย
- การตรวจร่างกายโดยทั่วไปเพื่อตรวจหาความผิดปกติหรือกลุ่มอาการ (syndrome) ต่างๆ
- การตรวจทางหู คอ จมูก อย่างละเอียด เช่น otitis media with effusion ในผู้สูงอายุอาจมี
สาเหตุจากมะเร็งหลังโพรงจมูก (nasopharyngeal carcinoma) ส่วนในเด็กอาจเกิดจากต่อม adenoid โต
เป็นต้น
การตรวจการได้ยินและการทรงตัว
- การตรวจด้วยส้อมเสียง (tuning fork test) โดย Rinne และ Weber test จะช่วยแยก
conductive กับsensori-neural hearing loss ได้
- audiometry นอกจากจะช่วยแยก conductive, sensori-neural hearing loss และ mixed
hearing loss ได้แล้ว ยังทาให้ทราบระดับการได้ยิน ซึ่งมีผลต่อการวางแผนการรักษาและฟื้นฟู
สมรรถภาพการได้ยิน
- tympanometry ช่วยในการวินิจฉัยภาวะของหูชั้นกลางและ eustachian tube (อ่าน
รายละเอียดในบท Basic Audiology)
- acoustic reflex อาจช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยแยก conductive หรือ sensori-neural hearing
loss และอาจพบลักษณะ recruitment ซึ่งบ่งถึง cochlear lesion ได้ดว้ ย (อ่านรายละเอียดในบท Basic
Audiology)
- การตรวจการทรงตัว เช่น caloric test มีประโยชน์ในผู้ป่วย sensori-neural hearing loss บาง
กรณีที่มอี าการเวียนศีรษะร่วมด้วย (39)
- การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (auditory brainstem response - ABR) มีประโยชน์ใน
การตรวจหาพยาธิสภาพชนิด retrocochlear lesion(40-42) นอกจากนี้ การตรวจการได้ยินระดับก้าน
สมองทั้ง ABR และ auditory steady-state response (ASSR) ยังใช้ประเมินระดับการได้ยินทางอ้อมหรือ
ยืนยันระดับการได้ยินได้อีกด้วย
การตรวจเพิ่มเติม
- การตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุและโรคที่เป็นร่วม ควรตรวจในผูป้ ่วยที่เป็น sensori-neural
hearing loss โดยทั่วไปจะส่งตรวจ complete blood count, erythrocyte sedimentation rate, ระดับ
น้าตาลและไขมันในเลือด, blood urea nitrogen, creatinine, การติดเชือ้ เช่น ซิฟิลิส (VDRL, TPHA) หรือ
ภาวะภูมคิ ุ้มกันบกพร่อง (anti-HIV) นอกจากนีใ้ นบางรายอาจเจาะเลือดเพื่อตรวจการทางานของต่อม
ไทรอยด์ รวมทั้งอาจส่งตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น connexin 26 gene ในผู้ป่วยที่มขี ้อ
บ่งชีอ้ ีกด้วย(36)
- การตรวจทางรังสีวิทยาด้วย CT scan หรือ MRI พร้อมกับฉีดสาร Gadolinium เพื่อตรวจหา
รอยโรคบริเวณสมองและ temporal bone มีขอ้ บ่งชีเ้ มื่อคาดว่ามีพยาธิสภาพชนิด retrocochlear lesion
หรือที่สมอง นอกจากนี้ในบางกรณีอาจส่งตรวจเพื่อดูความผิดปกติของโครงสร้างหูชั้นใน
แผนภูมิสรุปแนวทางวินิจฉัยผูม้ ีการได้ยินบกพร่อง

การรักษา
ขึน้ กับสาเหตุของการได้ยินบกพร่อง โดยทั่วไปแล้วในกลุ่ม conductive hearing loss มีโอกาสที่
จะรักษาได้ดว้ ยการใช้ยา, หัตถการหรือการผ่าตัดมากกว่ากลุ่ม sensori-neural hearing loss แต่เมื่อ
รักษาที่สาเหตุแล้วการได้ยินยังไม่ดีข้ึนเป็นปกติหรือในกรณีที่ไม่สามารถรักษาได้ การฟื้นฟูสมรรถภาพ
การได้ยินจะเป็นวิธีที่ชว่ ยให้ผปู้ ่วยสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขนึ้

การฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน (Hearing rehabilitation)(43)


คือการช่วยให้ผทู้ ี่มกี ารได้ยินบกพร่องสามารถสื่อสารและอยู่ร่วมกับผูอ้ ื่นในสังคมได้ดีข้นึ โดย
กลุ่มบุคลากรที่จะร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือผูป้ ่วยประกอบด้วย
- แพทย์ นอกจากโสตศอนาสิกแพทย์แล้ว ยังอาจต้องมีแพทย์ในสาขาอื่นๆ ร่วมดูแล
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผูป้ ่วยในระยะยาว เช่น กุมารแพทย์ จักษุแพทย์ อายุรแพทย์
หรือจิตแพทย์ เป็นต้น
- นักโสตสัมผัสวิทยา
- นักอรรถบาบัด
- ครูการศึกษาพิเศษ
- นักจิตวิทยา
- นักสังคมวิทยา และสังคมสงเคราะห์
ขั้นตอนต่างๆ ของการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน คือ
- ประเมินระดับการได้ยิน
- อธิบายให้ผู้ปกครองหรือครอบครัวเข้าใจปัญหาของผู้ป่วยและวิธีการช่วยเหลือ
- แนะนาการใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยให้ได้ยินดีขน ึ้ ตามความเหมาะสมของผูป้ ่วยแต่ละราย
เช่น เครื่องช่วยฟัง หรือการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
- การฝึกฟัง ฝึกพูด และแก้ไขการพูด
- ผูป ้ ่วยบางรายอาจได้รับคาแนะนาในการสื่อสารด้วยวิธีอื่นร่วมกับการฟังและพูด
เช่น การอ่านริมฝีปาก (lip reading) หรือการใช้ภาษาท่าทาง (sign language) เช่น
ภาษามือ เป็นต้น
- การแนะแนวทางการศึกษาและอาชีพ
- ประเมินระดับการได้ยิน พัฒนาการทางการฟังและการพูดเป็นระยะ

เครื่องช่วยฟัง (Hearing aids)(44, 45)


เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายเสียงเพื่อช่วยให้ฟังได้ชัดเจนมากขึ้น โดยทั่วไปจะใช้ได้ผลในผูท้ ี่มรี ะดับ
การได้ยินบกพร่องในระดับน้อยถึงรุนแรง แต่ถ้าการได้ยินบกพร่องรุนแรงมากหรือหูหนวกก็จะไม่เพียง
พอที่จะช่วยเหลือผูป้ ่วยได้ ซึ่งต้องพิจารณาการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยวิธีอื่น เช่น การผ่าตัดฝัง
ประสาทหูเทียม
เครื่องช่วยฟังที่ดจี ะสามารถตั้งค่าความดังให้มีขดี จากัดอยู่ในช่วงที่ฟังแล้วสบายหูกาลังดี เสียง
ไม่เบาเกินไปและไม่ดังเกินไป ตลอดจนสามารถปรับเสียงทุ้มเสียงแหลมได้พอเหมาะกับระดับการได้ยิน
ของผู้ใช้ ประโยชน์ที่ผู้ที่มกี ารได้ยินบกพร่องแต่ละรายจะได้รับจากเครื่องช่วยฟังมีไม่เท่ากัน ทั้งนีข้ นึ้ อยู่
กับสาเหตุของการได้ยินบกพร่อง, ระดับการได้ยินที่เหลืออยู่, อายุ, เชาวน์ปัญญา ตลอดจนความพร้อม
ทางด้านร่างกาย
เครื่องช่วยฟังโดยทั่วไปแบ่งตามรูปร่างลักษณะของเครื่องได้เป็นแบบต่างๆ คือ
1. เครื่องช่วยฟังแบบกล่อง (body-worn hearing aid) ลักษณะเป็นกล่องแบนๆ กว้างยาวกว่า
กล่องไม้ขีดไฟเล็กน้อย กล่องนี้จะใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อแล้วมีสายไฟเล็กๆ ต่อมายังหูฟังที่เสียบใน
หู
2. เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (behind-the-ear hearing aid) ลักษณะเป็นกล่องขนาดหัวแม่มอื
โค้งเข้ากับหลังใบหู แล้วมีท่อพลาสติกต่อเข้ากับหูฟังที่เสียบในหู

behind-the –ear (BTE)

เอือ้ เฟื้อภาพโดยบริษัทออดิเมด จากัด

3. เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหู จะบรรจุในแบบพิมพ์ซึ่งมีรูปร่างและขนาดพอดีกับช่องหูของผูใ้ ช้
แต่ละคน

in-the-ear (ITE) in-the-canal (ITC) completely in-the-


in-the-ear (ITE) in-the-canal (ITC) completely in-the-canal
canal (CIC)
(CIC) เอือ้ เฟื้อภาพโดยบริษัทออดิเมด
จากัด เอือ้ เฟื้อภาพโดยบริษัทออดิเมด จากัด

4. เครื่องช่วยฟังแบบพิเศษอื่นๆ เช่น เครื่องช่วยฟังชนิดนาเสียงผ่านกะโหลกศีรษะโดยตรง (bone


conduction hearing aid) หรือเครื่องช่วยฟังชนิดที่ตอ้ งผ่าตัดฝังที่กระดูกกกหู (Bone conduction
hearing implants) ซึ่งใช้ในกรณีเฉพาะ เช่น ผูป้ ่วยที่มใี บหูผิดรูป, ไม่มใี บหู ช่องหูหรือหูชั้นกลาง
ตลอดจนมี conductive hearing loss มาก เป็นต้น
ประสาทหูเทียม (Cochlear implant)
เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยให้ผทู้ ี่มกี ารได้ยินบกพร่องได้ยินดีขนึ้ ทุกรายเสมอไปโดยเฉพาะในผู้
ที่มกี ารได้ยินบกพร่องอย่างรุนแรงหรือหูหนวก ดังนั้นในกรณีเหล่านี้เมื่อใช้เครื่องช่วยฟังแล้วไม่ได้ผล
ผูป้ ่วยจึงจาเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมใหม่มาช่วยให้รับฟังเสียงได้ คือการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม
ประสาทหูเทียมคือเครื่องมือที่เปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นประสาท
รับเสียงต่อไปยังสมอง ซึ่งจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ
- ส่วนที่อยู่นอกกะโหลกศีรษะ คือ เครื่องแปลงสัญญาณ (sound processor) มี
ลักษณะเหมือนเครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหูหรือแบบกล่อง เป็นตัวรับเสียงแล้ว
แปลงเสียงเป็นสัญญาณระบบดิจติ อล
- ส่วนประสาทหูเทียม (implant) ที่ผ่าตัดฝังไว้ทีก่ ะโหลกศีรษะใต้หนังศีรษะ จะแปลง
สัญญาณระบบดิจติ อลให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งไปยังสาย electrode ซึ่งสอด
อยู่ในหูชั้นใน เพื่อกระตุ้นเส้นประสาทรับเสียงและส่งต่อไปยังสมอง

การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมมีค่าใช้จา่ ยสูงมากไม่ต่ากว่าแปดแสนบาท เสียงที่ได้ยินจะต่างจาก


เสียงตามธรรมชาติ จึงต้องอาศัยการฝึกฟังและฝึกพูดอย่างสม่าเสมอ ซึ่งต้องใช้เวลาฟื้นฟูสมรรถภาพ
การได้ยินหลายเดือนหรือเป็นปีในเด็กที่ไม่เคยได้ยินเสียงหรือพูดได้มาก่อน แต่ถ้าเป็นผู้ที่สูญเสียการได้
ยินภายหลังจากที่เคยพูดได้มาแล้ว การฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินจะง่ายกว่าและใช้ระยะเวลาน้อยกว่า
ประสาทหูเทียมชนิดฝังที่ก้านสมอง (Auditory brainstem implant)
ในกรณีที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 มีความผิดปกติทั้ง 2 ข้าง เช่น ผูป้ ่วยโรค neurofibromatosis
type II (NF2) ที่เป็น vestibular schawannoma ทั้ง 2 ข้างหลังผ่าตัด, ผูป้ ่วยที่ไม่มเี ส้นประสาทสมองคู่ที่
8 หรือ cochlea ตั้งแต่กาเนิด จะไม่สามารถใช้เครื่องช่วยฟังหรือผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมได้ การฟื้นฟู
สมรรถภาพทางการได้ยินจึงต้องกระตุ้นที่ auditory nucleus บริเวณก้านสมองโดยตรง ลักษณะการ
ทางานของอุปกรณ์จะคล้ายคลึงกับประสาทหูเทียม แตกต่างกันเพียงตาแหน่งของ electrode ที่วางไว้ที่
auditory nucleus บริเวณก้านสมองแทนที่จะสอดไว้ในหูชั้นใน หลังผ่าตัดก็ต้องใช้เวลาในการฝึกฟังและ
ฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินเช่นเดียวกัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้เริ่มผ่าตัดใส่ประสาทหู
เทียมชนิดฝังที่ก้านสมองเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2553

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550(46)


คนพิการทางการได้ยินตามเกณฑ์ในประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 29 พฤษภาคม 2552) ได้แก่ คนที่ได้ยินเสียงความถี่ 500, 1000
และ 2000 Hertz ในหูข้างที่ดีกว่าที่มคี วามดังเฉลี่ยตั้งแต่ 40 เดซิเบลขึน้ ไป ซึ่งความพิการทางการได้ยิน
หรือสื่อความหมายจะมีหลายประเภท คือ
- หูหนวก หมายถึง หูข้างที่ได้ยินดีกว่าสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียง 90 เดซิเบลขึน ้
ไป
- หูตงึ หมายถึง หูข้างที่ได้ยินดีกว่าสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงน้อยกว่า 90 เดซิเบล
ลงมาจนถึง 40 เดซิเบล
- ความพิการเชิงประจักษ์ คือสภาพความพิการที่สามารถเห็นได้ คือ บุคคลที่ไม่มีรูหูทั้ง 2
ข้าง
- ความพิการด้านสื่อความหมาย คือ พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด หรือพูดแล้วผูอ ้ ื่นไม่เข้าใจ
ผูป้ ระกอบวิชาชีพเวชกรรมจะออกเอกสารรับรองความพิการให้ผพู้ ิการเฉพาะที่มีสัญชาติไทย
เพื่อนาไปยื่นคาขอมีบัตรประจาตัวคนพิการต่อศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการ หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นตามประกาศ ในต่างจังหวัดสามารถยื่นคาขอได้
ที่สานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือหน่วยงานภาครัฐอื่นตามที่ผวู้ ่าราชการ
จังหวัดกาหนด
บัตรประจาตัวคนพิการมีอายุ 8 ปี ผู้พิการจะได้รับสิทธิประโยชน์คือ
- ได้สวัสดิการเบี้ยความพิการเดือนละ 800 บาท
- ได้รับเครื่องช่วยฟังฟรีจากสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ในกรณีที่ไม่มีสิทธิ์เบิก
จากกรมบัญชีกลางหรือประกันสังคม) ตามวงเงินที่กาหนด

เอกสารอ้างอิง
1. World Health Organization. WHO global estimates on prevalence of hearing loss. Mortality and
burden of diseases and prevention of blindness and deafness. WHO 2012.
2. Prasansuk S. Primary ear and hearing care: the foreseeable solution for prevention of hearing
impairment and deafness in developing countries: a practical approach. 1st ed. Bangkok: Bangkok
Otological Center, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, c2002.
3. Clark JG. Uses and abuses of hearing loss classification. ASHA 1981; 23: 493-500.
4. DeBonis DA, Donohue CL. Acoustics of sound and preliminary clinical application. In: DeBonis DA,
Donohue CL, editors. Survey of audiology: Fundamentals for audiologists and health professionals.
2 ed. United States of America: Pearson Education, Inc, 2008. p. 13-53.
5. Bess FH, Humes LE. Pathologies of the auditory system. In: Ciocci S, Pakulski L, Radhakrishnan N,
Melcher J, Davis R, Reilly A, editors. Audiology the fundamentals. 4 ed. China: Lippincott Williams
& Wilkins, a Wolters Kluwer business, 2008. p. 159-203.
6. DeBonis DA, Donohue CL. Assessment and management of special populations. In: DeBonis DA,
Donohue CL, editors. Survey of audiology: Fundamentals for audiologists and health professionals.
2 ed. United States of America: Pearson Education, Inc, 2008. p. 337-374.
7. Gault D, Rothera M. Management of congenital deformities of the external and middle ear. In:
Gleeson M, Browning GG, Burton MJ, Clarke R, Hibbert J, Jones SN, et al., editors. Scott-Brown's
Otorhinolaryngology, Head and Neck Surgery. 7 ed. London: Edward Arold, Ltd., 2008. p. 965-
989.
8. Ghosh A, Harrison M, Body R. Towards evidence-based emergency medicine: best BETs from the
Manchester Royal Infirmary. Myringotomy in traumatic haemotympanum. Emerg Med J 2006; 23:
805-6.
9. Oghalai JS. Tympanic Membrane, Middle Ear and Mastoid Disease: Tympanic Membrane
Perforation.
In: Laboratory of Cochlear Mechanics and Hearing Loss Home Page Bobby R. Alford Department of
Otolaryngology-Head and Neck Surgery, Baylor College of Medicine, 2009 [updated Aug. 08,
2009].
10. Donnell GN, Alfi OS. Medical genetics for the otolaryngologist. Laryngoscope. 1980; 90: 40-6.
11. Causse JR, Causse JB. Otospongiosis as a genetic disease. Early detection, medical management,
and prevention. American Journal of Otology. 1984; 5: 211-23.
12. O’Leary MJ, Shelton C, Giddings NA, Kwartler J, Brackmann DE. Glomus tympanicum tumours: a
clinical perspective. Laryngoscope 1991; 101: 1038-43.
13. Akihiko Kodama MK, Keiji Fujihara and Toshimi Fujihara. Mumps hearing loss and epidemic
surveillance. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 1996; 35: 283-4.
14. Moore RD, Smith CR, Lietman PS. Risk factors for the development of auditory toxicity in patients
receiving aminoglycosides. Journal of Infectious Diseases. 1984; 149: 23-30.
15. O’Leary S. Ototoxicity. In: Gleeson M, Browning GG, Burton MJ, Clarke R, Hibbert J, Jones SN, et
al., editors. Scott-Brown's Otorhinolaryngology, Head and Neck Surgery. 7 ed. London: Edward
Arold, Ltd.; 2008. p. 3567-3593.
16. Rybak LP. Vestibular and auditory toxicity. In: Cummings CW, Flint PW, Harker LA, Haughey BH,
Richardson MA, Robbins KT, et al., editors. Cummings Otolaryngology Head & Neck Suurgery. 4
ed. United Stated of America: Elsevier Mosby; 2005. p. 2933-2943.
17. National Institutes of Health Consensus Statement. Noise induced hearing loss. NIH Consensus
Statement. 1990: 8, 1, 1-24.
18. Chongkolwatana C, Atipas S, Metheetrairut C. Blast Injury of the Ears. Siriraj Med J 2009;61:228-
9.
19. มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับตลอดเวลาการทางานในแต่ละวัน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
123 ตอนที่ 23 ก; 6 มีนาคม 2549. หน้า 19-20.
20. Behar A, Chasin M, Cheesman M. Occupational hearing conservation regulations and standards.
In: Danhauer JL, editor. Noise Control: A Primer. Canada: Singular Publishing Group; 2000. p.
105-116.
21. Behar A, Chasin M, Cheesman M. Hearing protection devices. In: Danhauer JL, editor. Noise
Control: A Primer. Canada: Singular Publishing Group; 2000. p. 67-85.
22. ISO 7029. Acoustics: Threshold of hearing by air conduction as a function of age and sex for
otologically normal persons. International Organization for Standardization, Geneva, 1984.
23. Hull RH. The effects of hearing impairment on older adults. In: Danhauer JL, editor. Hearing in
Aging. United Stated of America: Singular Publishing Group; 1995. p. 49-66.
24. Stachler RJ, Chandrasekhar SS, Archer SM, Rosenfeld RM, Schwartz SR, et al. Clinical Practice
Guideline: Sudden Hearing Loss. Otolaryngology-Head and Neck Surgery 2012; 146(1S) S1–S35
25. Byl FM Jr. Sudden hearing loss: eight years experience e and suggested prognostic table.
Laryngoscope. 1984 May; 94(5 Pt 1): 647-61.
26. Conlin AE, Parnes LS. Treatment of sudden sensorineural hearing loss: I. A systematic review. Arch
Otolaryngol Head Neck Surg. 2007 Jun; 133(6): 573-81.
27. Wilson WR, Byl FM, Laird N. The efficacy of steroids in the treatment of idiopathic sudden hearing
loss. A double-blind clinical study. Arch Otolaryngol. 1980 Dec; 106(12): 772-6.
28. Moffat DA, Baguley DM, Blumenthal H, Irving RM, Hardy DG. Sudden deafness in vestibular
schwannoma. J Laryngol Otol. Feb 1994; 108(2): 116-9.
29. Walsted A, Andreassen UK, Berthelsen PG, Olesen A. Hearing loss after cardiopulmonary bypass
surgery. European Archives of Oto-Rhino-Laryngology. 2000 April; 257(3): 124-7.
30. Hurley A, Hurley RM. Differential diagnosis of (central) auditory processing disorder and
neuropathy. In: Musiek FE, Chermak GD, editors. Handbook of (central) auditory processing
disorder: Auditory neuroscience and diagnosis. Volume I. United Stated of America: Plural
Publishing, Inc. 2007. p. 347-363.
31. Madden C, Rutter M, Hilbert L, Greinwald JH, Choo DI. Clinical and audiological features in
auditory neuropathy. Archives of Otolaryngology and Head and Neck Surgery. 2002; 128: 1026-
30.
32. Berlin CL, Hoiod LI, Hurley A, Wen H. Contralateral suppression of otoacoustic emission: An index
of the function of the olivocochlear system. Otolaryngology, Head and Neck Surgery. 1994; 110:
3-21.
33. Erenberg A, Lemons J, Sia C, Trunkel D, Ziring P. Newborn and infant hearing loss: detection and
intervention. American Academy of Pediatrics. Task Force on Newborn and Infant Hearing, 1998-
1999. Pediatrics. 1999 Feb; 103(2): 527-30.
34. Nelson HD, Bougatsos C, Nygren P; 2001 US Preventive Services Task Force. Universal newborn
hearing screening: systematic review to update the 2001 US Preventive Services Task Force
Recommendation. Pediatrics. 2008 Jul; 122(1): e266-76.
35. Northern JL, Downs MP. Hearing screening in children. In: Northern JL, Downs MP, editors.
Hearing in children. 5th ed. Baltimore: Lippincott Williams & Wilkins, 2002. p. 259-300.
36. Thongyai K, Chongkolwatana C. Congenital Hearing Loss: Diagnostic and Management in
Otological Aspects. Siriraj Med J 2009; 61: 218-23.
37. White KR, Vohr BR, Behrens TR. Universal newborn hearing screening using transient evoked
otoacoustic emissions: results of the Rhode Island Hearing Assessment Project. Semin Hear. 1993;
14: 18-29.
38. Atipas S, Chongkolwatana C. Newborn Hearing Screening: Overview. Siriraj Med J 2009; 61:
224-7.
39. McMenomey SO, Gubbels SP. Labyrinthitis. In: Weber PC, editor. Vertigo and Disequilibrium: A
Practical Guide to Diagnosis and Management. New York: Thieme Medical Publishers, Inc.; 2008.
p. 91-98.
40. Lourenco EA, Oliveira MH, Umemura A, et al. Evoked response audiometry according to gender
and age: findings and usefulness. Braz J Otorhinolaryngol 2008; 74: 545-51.
41. Mair IW, Okstad S, Laukli E, et al. Screening for retrocochlear pathology. International Journal of
Audiology 1988; 17: 163-9.
42. Watson DR. A Study of the Effects of Cochlear Loss on the Auditory Brainstem Response (ABR)
Specificity and False Positive Rate in Retrocochlear Assessment. International Journal of Audiology
1999; 38: 155-64.
43. Hull RH. What is aural rehabilitation? In: Hull RH, editor. Aural rehabilitation, serving children and
adults Hearing loss. 4th ed. Canada: Singular; 2001. p. 3-17.
44. Dillon H. Hearing aid components. In: Dillon H, editor. Hearing Aids. United Stated of America:
Boomerang Press. 2001. p. 18-47.
45. Dillon H. Hearing aid systems. In: Dillon H, editor. Hearing Aids. United Stated of America:
Boomerang Press. 2001. p. 48-73.
46. พระราชบัญญัติสง่ เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. สานักงานส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพชีวติ คนพิการแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
http://www.nep.go.th

กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณผูม้ ีสว่ นช่วยเหลือในด้านต่างๆ คือ
- เจ้าหน้าที่ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา:
คุณเชิดศักดิ์ บัวสีกา ช่วยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย
คุณนวลนารถ เกษจรัล และคุณสมพร นามเจริญชัยสุข ช่วยจัดเตรียมภาพ
คุณจิรภา เกิดนพคุณ ช่วยค้นหาข้อมูลและจัดทาเอกสารอ้างอิง
- บริษัทออดิเมด จากัด เอือ้ เฟื้อเครื่องช่วยฟังชนิด bone conduction เพื่อถ่ายภาพประกอบ
- คุณกณิศา อธิภาส วาดภาพชุดประสาทหูเทียมและ audiogram
- คุณกวิตา อธิภาส, คุณกวิน อธิภาส และคุณปรียากร เขิงภูเขียว ซึ่งเป็นบุคคลที่ใช้
เครื่องช่วยฟังและประสาทหูเทียมในภาพถ่าย

You might also like