You are on page 1of 3

แบบเสนอโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ

รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) รหัสวิชา I30202


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม 4
1.นางสาวกัญญารัตน์ มูลมา ชั้น ม.5/12 เลขที่ 5
2.นางสาวกัลญาวีร์ บรรเทา ชั้น ม.5/12 เลขที่ 6
3.นางสาวนวลเสน่ห์ ผลสุข ชั้น ม.5/12 เลขที่ 10
4.นางสาวศิรภัสสร ศรีอินทร์ ชั้น ม.5/12 เลขที่ 15
5.นางสาวธัญญาภรณ์ ดวงจิตร ชั้น ม.5/12 เลขที่ 20
6.นายเรืองกิตติ์ ลิ้มธีรโชติ ชั้น ม.5/12 เลขที่ 30
7.นายวงศกร สระทองโต๊ะ ชั้น ม.5/12 เลขที่ 31
8.นางสาวกชพร กือสันเทียะ ชั้น ม.5/12 เลขที่ 33
9.นางสาวจุฑารัตน์ มงคลฤดี ชั้น ม.5/12 เลขที่ 34
ชื่อเรื่อง การศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการทิ้งขยะไม่เป็นที่ในชุมชน
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันชุมชนในสังคมไทยส่วนมากไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการและคัดแยกขยะ จึง
นำไปสู่ปัญหา ”การทิ้งขยะไม่เป็นที่ในชุมชน” ที่ทำให้เกิดมลพิษต่างๆตามมามากมาย อีกทั้งยังเป็น
บ่อเกิดของเชื้อโรค และหนูซึ่งเป็นพาหะนำโรค และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนได้
ดังนั้นความรู้ที่ได้จากการศึกษาผลกระทบที่เกิดจากขยะ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้
อย่างถูกจุด และสามารถให้ความรู้ รวมถึงรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดี ในการให้ความสำคัญกับการ
จัดการและคัดแยกขยะ ให้กับคนในชุมชน และยังเป็นการฟื้นฟูทัศนียภาพในชุมชน ให้กลับมาดู
สะอาด และน่าอยู่มากขึ้นอีกด้วย
ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงต้องการศึกษามลพิษที่เกิดจากขยะ เพื่อรณรงค์ ให้ความรู้ และสร้าง
จิตสำนึกที่ดี ในการคัดแยกขยะให้กับคนในชุมชน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขยะ
2. เพื่อรณรงค์และสร้างจิตสำนึกที่ดีในการจัดการและคัดแยกขยะ
สมมติฐาน
1. มลพิษของขยะส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชน
2. คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการและคัดแยกขยะ
ขอบเขตการศึกษา
1.กลุ่มตัวอย่าง
1.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/12 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
จำนวน 32 คน
2.ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น คือ มลพิษของขยะ
2.2 ตัวแปรตาม คือ สุขภาพของคนในชุมชน
2.3 ตัวแปรควบคุม คือ ปริมาณขยะในชุมชน
3.ระยะเวลาในการดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 2
วิธีการศึกษา
1.สำรวจปัญหาผลกระทบษจากการทิ้งขยะไม่เป็นที่ในชุมชน
2.ตั้งประเด็นปัญหาว่าขยะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง
3.ศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการทิ้งขยะไม่เป็นที่ในชุมชน
4.ให้ความรู้ที่ได้ศึกษาแก่คนในชุมชนเพื่อให้มีความเข้าใจในปัญหา
5.รณรงค์และปลูกฝังจิตสำนึกในจัดการและคัดแยกขยะแก่คนในชุมชน
6.เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
7.สรุปผล
การเก็บรวบรวมข้อมูล
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/12
จำนวน 32 คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากการทิ้งขยะไม่เป็นที่ในชุมชน
2. ได้ทราบถึงวิธีการจัดการขยะและคัดแยกขยะที่เหมาะสมในชุมชน
เอกสารอ้างอิง
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม แตกต่างกันอย่างไร (ออนไลน์).สืบค้นจาก
: https://intrend.trueid.net/article_107618
รายงานการวิจัย (ออนไลน์).สืบค้นจาก
: http://www2.huso.tsu.ac.th/ncom/csd/csdful_pdf/c204.pdf

อนุมัติ ไม่อนุมัติ
ข้อคิดเห็นเสนอแนะ
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................

ลงชื่อ................................................ครูที่ปรึกษา
(......................................................)
.........../............/............

You might also like