You are on page 1of 2

- มีความตั้งใจและกระตือรือร้นในคาบเรียน การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติมกั เป็ นลักษณะแบบบรรยาย โดยมีอาจารย์เป็ นผู้

พูดฝ่ ายเดียวซึง่ เป็ นการเรียนรูแ้ บบ passive learning ที่ผเู้ รียนนั่งฟั งเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจส่งผลระยะยาวถึงการสอบได้เพราะการ
นั่งฟั งเพียงอย่างเดียวไม่ได้ก่อให้เกิดกระบวนการคิดและความเข้าใจ แนวทางที่จะทาให้ดีขึน้ คือฟังแล้วคิดตามเนือ้ หาที่อาจารย์กาลัง
สอน ระหว่างคาบเรียนผูเ้ รียนต้องมีความกระตือรือร้นเกี่ยวกับกิจกรรมในคาบ เช่น การการตัง้ คาถาม การร่วมอภิปรายหรือแสดง
ความคิดเห็น ซึ่งวิธีการนีเ้ รียกว่า active learning ที่จะทาให้ผเู้ รียนสามารถเข้าใจเนือ้ หาได้มากยิ่งขึน้ (วิชาญ คงธรรม, ม.ป.ป.)
นอกจากนีส้ ามารถบันทึกเสียงอาจารย์ในคาบเรียน แล้วนากลับมาทบทวนฟังอีกรอบเพื่อสร้างความเข้าใจและจดบันทึกด้วยความ
เข้าใจของตนเอง
- ดูจดุ ประสงค์และอ่านเนือ้ หาล่วงหน้าก่อนเข้าเรียน การดูจดุ ประสงค์การเรียนรูใ้ นรายวิชานัน้ ๆเพื่อเป็ นการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่
บทเรียน ทาให้ได้ทราบว่าบทเรียนนัน้ ๆมีเรื่องใดบ้าง เรียนไปเพื่ออะไร และการศึกษาเนือ้ หาก่อนเข้าเรียนถือเป็ นการเรียนแบบ
passive learning ซึง่ เป็ นการเรียนรูแ้ บบทางเดียว การอ่านเนือ้ หาและมีการจดบันทึกโดยที่ไม่ได้มสี ่วนร่วมกับอาจารย์ ไม่ได้มีการ
แสดงความคิดเห็นใดๆ ต่างจากการเรียนแบบ active learning ที่เป็ นการเรียนโดยให้ผเู้ รียนมีสว่ นร่วม ได้คิดตาม ได้ถามตอบ หรือมี
การทากิจกรรม (วิชาญ คงธรรม, ม.ป.ป.) ซึ่งการเรียนแบบ passive learning นัน้ เหมาะสาหรับการเตรียมตัวล่วงหน้าด้วยตนเองก่อน
เข้าห้องเรียนเพื่อให้มีพนื ้ ฐานและสามารถเรียนได้เข้าใจได้มากขึน้ ในคาบเรียน
- ทบทวนเนือ้ หาและทาสรุ ปตามความเข้าใจของตนเอง หลังจากได้มีการเรียนเสร็จแล้ว แน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป คงไม่
สามารถจาข้อมูลความรูไ้ ด้ทงั้ หมด จึงจาเป็ นจะต้องมีการทบทวน โดยสามารถใช้หลักการ Retrieval Practice มาใช้ได้ ซึ่งวิธีการเป็ น
การทบทวนความรูแ้ บบฝึ กนึกมากกว่าการจาทับซา้ ลงไป เช่น การเขียนสรุปขึน้ มาใหม่ตามความเข้าใจตัวเองโดยไม่เปิ ดหนังสือดู
ประกอบ การฝึ กทาข้อสอบที่เกี่ยวข้องเพื่อทดสอบความแม่น หรือการจับกลุม่ ติวเพื่อถามตอบกับเพื่อนหลังทวนมาแล้ว เป็ นต้น ซึง่
หมายความว่า การดูหรืออ่านเนือ้ หาซา้ ๆ โดยไม่ตอ้ งออกแรงคิดนัน้ ไม่ช่วยในการเรียนมากนัก เพราะเป็ นการจดจาอย่างเดียว ไม่มี
การนึก (อธิพงศ์ พัฒนเศรษฐพงษ์, 2562) นอกจากนัน้ แล้วในการทาสรุปความรูย้ งั สามารถใช้หลักการ การเรียนรูแ้ บบมีความหมาย
(Meaningful learning) ซึ่งเป็ นการเรียนรูแ้ บบเชื่อมความรูใ้ หม่เข้ากับความรูเ้ ก่า โดยอาจทาเป็ นหัวข้อแล้วลากเชื่อมโยงกัน การเรียน
อย่างมีความหมายยังช่วยให้นกึ ความรูท้ ่ลี ืมไปแล้วได้งา่ ยขึนด้วย โดยหากความรูน้ นั้ ผูเ้ รียนเคยเรียนรูแ้ ละมีการเชื่อมโยงอย่างเป็ น
ระบบไว้แล้ว (วนัชพร อุสส่าห์กิจ, 2562)
- การสร้างแรงจูงใจและกาลังใจให้ตวั เอง การสร้างแรงจูงใจและกาลังใจให้ตวั เองขณะเตรียมตัวสอบสาคัญเพราะจะทาให้มีกาลัง
ในการทาให้ดีท่สี ดุ และไม่เป็ นการทาให้สภาพจิตแย่ลง หรือเกิดความวิตกกังวลหากไม่เป็ นไปตามที่คาดหวังไว้ เช่นเวลาคิดว่าจะอ่าน
หนังสือสอบไม่ทนั กลัวทาข้อสอบไม่ได้ ไม่ถนัดในวิชาที่เตรียมสอบ หรือคิดว่าวิธีท่ใี ช้ในการเตรียมตัวสอบไม่ได้ผล (Kontakou, 2015)
วิธีท่จี ดั การที่ใช้ได้เสมอไปและได้ในทุกสถานการณ์คือ การมีกรอบแนวคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) การเข้าใจว่าความสามารถ
ไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว และเห็นอุปสรรคเป็ นโอกาสให้ได้เรียนรูแ้ ละพัฒนาตนเอง (Dweck, 2009) เพราะฉะนัน้ เมื่อมีกรอบความคิดแบบ
เติบโต จะเห็นว่าถึงแม้วชิ านีจ้ ะยังไม่ถนัดแต่ก็ยงั สามารถหาวิธีอา่ นแบบอื่นหรือเข้าใจว่าอาจต้องใช้ความพยายามในการเข้าใจมาก
กว่าเดิม การมีกรอบความคิดแบบเติบโตอาจไม่ได้ให้กาลังใจโดยตรงแต่เป็ นการทาให้เห็นวิธีแก้ปัญหาที่พบและช่วยสร้างแรงจูงใจใน
การอ่านหนังสือไม่ให้เกิดความวิตกกังวลมากไปจนเป็ นผลเสียในอนาคต
บรรณานุกรม
วนัชพร อุสส่าห์กิจ. (2562). Class into – Meaningful Learning. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2564, จาก
https://e-learning.kku.ac.th/pluginfile.php/875301/mod_resource/content/1/Class%20Intro%20-
%20Meaningful%20Learning.pdf
วิชาญ คงธรรม. (ม.ป.ป.). Active learning และ passive learning ส่งผลต่อผูเ้ รียนต่างกันมาก. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2564,
จาก https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=OTE2MDM=
อธิพงศ์ พัฒนเศรษฐพงษ์. (2562). Retrieval Practice (การฝึ กนึก). สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2564, จาก
https://e-learning.kku.ac.th/pluginfile.php/629633/mod_resource/content/9/Class%20Intro--
Retrieval%20Practice.pdf
Dweck, C. S. (2009). Mindsets: Developing talent through a growth mindset. Olympic Coach, 21(1), 4-7.
Kontakou, Z. (2015). 10 Ways to Motivate Yourself to Study. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2564, จาก
https://www.ucl.ac.uk/news/2015/nov/10-ways-motivate-yourself-study

You might also like