You are on page 1of 14

แผนการสอนที่ 3 หน่วยที่ 3

วิชา การประมาณราคาก่อสร้าง 1 สัปดาห์ที่ 3


ชื่อหน่วย งานดินขุดและดินถม จานวน 2 คาบ

1.สาระสาคัญ
การหาปริมาณงานดินขุ ดและงานดินถมนั้นต้องพิจารณาจากระดับตามแบบที่ก่ อสร้างจริง และต้อง
คานึงถึงความหนาแน่นของดินและลักษณะของภูมิประเทศด้วย งานดินขุดและงานดินถมคิดหน่วยเป็นลูกบาศก์ -
เมตร
2.จุดประสงค์การสอน
3.1 รู้เกี่ยวกับงานดิน
3.1.1 บอกความสาคัญของงานดิน
3.1.2 บอกความเหมาะสมของเครื่องมือที่ใช้ในงานดิน
3.2 เข้าใจเกี่ยวกับงานดินขุด
3.2.1 อธิบายวิธีคานวณหาประมาณดินขุด
3.3 เข้าใจเกี่ยวกับงานดินถม
3.3.1 อธิบายวิธีคานวณหาปริมาณดินถม
3.4 ปฏิบัติการประมาณราคางานดิน
3.4.1 คานวณหาปริมาณงานดินขุดและดินถม
ใบความรูท้ ี่ 3 หน่วยที่ 3
วิชา การประมาณราคาก่อสร้าง 1 สัปดาห์ที่ 3
ชื่อหน่วย งานดินขุดและดินถม จานวน 2 คาบ

3.1 งานดิน
3.1.1 ความสาคัญของงานดิน
งานขุดดินถูกมองในมุมมองโดยทั่วไปคือ เป็นงานกรรมกร ซึ่งใครๆก็ขุดได้ ในความเป็นจริงการขุดดินสามารถ
ขุดได้ทั้งแรงงานคน และเครื่องจักร ในงานก่อสร้างบางครั้งอาจถูกกาหนดไว้โดยพื้นที่ๆจะทาการก่อสร้าง ซึ่ง
ทางผู้รับจ้าง ไม่สามารถเลือกได้จึงต้องเลือกใช้เครื่องมือให้ถูกกับลักษณะของงานเพื่องานจะได้ดาเนินไปด้วย
ความรวดเร็วเรียบร้อยและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

3.1.2 ความเหมาะสมของเครื่องมือที่ใช้ในงานดิน
งานดินขุดเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนขุดมากพอสมควร ถ้าดินเป็นดินเหนียวธรรมดาค่าแรงงานในการ
ขุดลูกบาศก์เมตรละ 100 บาท คน 1 คนสามารถขุดดินชนิดนี้ได้ 3 - 5 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อวัน ถึงแม้จะเป็น
งานที่ถูกมองว่าเป็นงานชั้นกรรมกร แต่ก็คุ้มค่าเหนื่อย ดังนั้นการที่ผู้รับจ้างจะตัดสินใจพิจารณาว่าจะใช้
เครื่องมือประเภทไหนในการขุดดิน ควรพิจารณาจากองค์ประกอบต่อไปนี้ คือ
1.ลักษณะพื้นที่ ๆจะทาการปลูกสร้าง ว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใด ถ้าจะใช้เครื่องจักรในการทางาน
จะมีพื้นที่มากพอที่จะดาเนินการได้หรือไม่ เนื่องจากเครื่องจะต้องใช้พื้นที่ทั้งในการทางานและพื้นที่ๆจะเก็บกอง
ดินที่จะขุดขึ้นมามาก จาเป็นต้องมีพื้นที่รองรับมากพอสมควร
2.ลักษณะของดินที่จะขุดว่าเป็นดินประเภทไหน เช่น ดินร่วน , ดินเหนียว ,ดินแข็งปนหิน เป็นต้น ผู้รับ
จ้างจึงต้องพิจารณาให้ดีว่าจะใช้เครื่องมือประเภทไหนจึงจะลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้ได้มากที่สุด
3.ลักษณะของงานที่ทา เช่น ถ้าเป็นงานอาคารเล็กๆธรรมดาก็สามารถใช้แรงงานคนได้ แต่ถ้าเป็นอาคาร
ใหญ่หรือมีปริมาตรดินที่จะขุดจานวนมาก ก็จาเป็นต้องใช้เครื่องจักรในการดาเนินการ
ทั้งนี้ในการพิจารณาว่าจะเลือกเครื่องมือชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นคนหรือเครื่องจักรท้ายที่สุดก็ต้องใช้
แรงงานคนในการปรับแต่ง เพื่อให้ได้ขนาดถูกต้องตามแบบแปลนที่กาหนดเนื่องจากเครื่องจักรไม่สามารถเก็บ
รายละเอียดการขุดตามแบบแปลนได้
3.2 งานดินขุด
3.2.1 วิธีคานวณหาประมาณดินขุด
3.2.1.1 การขุดหลุมฐานราก(กรณีเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย)
การหาปริมาตรดินขุด สามารถคานวณได้หลายแบบแล้วแต่ชนิดของดิน ถ้าเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปน
ทรายก็ต้องเผื่อระยะขุดข้างละ 0.50 เมตร เพื่อป้องกันการสไลด์ของดินในขณะขุด

รูปที่ 3.1 การขุดหลุมฐานรากแบบเผื่อ ใช้ในกรณีที่ดินเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย

จากรูปที่ 3.1 ปริมาตรดินขุด = (ความกว้าง+1 ) × (ความยาวยาว+ 1 เมตร) × ความลึก × จานวนฐาน


โดยที่ ขยายความกว้าง 1 เมตร และขยายความยาว 1 เมตร

ตัวอย่างที่ 1 จากรูปที่ 3.1 จงหาปริมาตรดินขุดของฐานราก เมื่อฐานรากขนาดกว้าง 1.00 เมตร ยาว 1.00 เมตร ลึก
1.50 เมตร จานวน 8 ฐาน
วิธีทา
ปริมาตรดินขุด = (1.00 + 1) × (1.00 + 1) × 1.50 × 8 ฐาน
= 48 ลบ.ม. ตอบ
3.2.1.2 การขุดหลุมฐานราก(กรณีเป็นดินเหนียว)
การหาปริมาตรดินขุดในกรณีที่เป็นดินเหนียว จะขุดตั้งฉากพอดีกับขนาดของฐานราก โดยให้ดินเหนียว
นั้นเป็นแบบของฐานรากโดยที่ไม่ต้องใช้ไม้แบบฐานราก

รูปที่ 3.2 การขุดหลุมฐานรากแบบไม่เผื่อ ใช้ในกรณีที่เป็นดินเหนียว

จากรูปที่ 3.2 ปริมาตรดินขุด = ความกว้าง × ความยาว × ความลึก × จานวนฐาน


โดยที่ ความกว้างและความยาวของหลุมจะพอดีกับฐานราก

ตัวอย่างที่ 2 จากรูปที่ 3.2 จงหาปริมาตรดินขุดของฐานราก เมื่อฐานรากขนาด กว้าง 1.00 เมตร ยาว 1.00 เมตร ลึก
1.50 เมตร จานวน 8 ฐาน

วิธีทา
ปริมาตรดินขุด = 1.00 × 1.00 × 1.50 × 8 ฐาน
= 12 ลบ.ม. ตอบ
3.2.1.3 การขุดหลุมบ่อเกรอะ – บ่อซึม
การขุดหลุมบ่อเกรอะ – บ่อซึม ก็ต้องมีการเผื่อข้างละ 0.50 ม. เหมือนกัน เมื่อเรานาท่อซีเมนต์วางลงไป
ในหลุมเรียบร้อยแล้ว ใช้บริเวณรอบท่อซีเมนต์ใส่อิฐหัก ทรายและผงถ่าน เพื่อดูดซึมน้าให้ระบายไปรอบๆท่อ
และระงับกลิ่นได้

รูปที่ 3.3 การขุดหลุมบ่อเกรอะ – บ่อซึม

จากรูปที่ 3.3 ปริมาตรดินขุด = r2 × ลึก × จานวนหลุม


โดยที่ ความกว้างขยายออก 0.50 เมตร โดยรอบ
ตัวอย่างที่ 3 จากรูปที่ 3.3 จงหาปริมาตรดินขุดหลุมบ่อเกรอะ – บ่อซึม

วิธีทา
ปริมาตรดินขุดหลุมบ่อซึม = r2 × ลึก × จานวนหลุม
=  × 1.002 × 2.30 × 2 บ่อ
= 14.45 ลบ.ม. ตอบ
3.3 งานดินถม
3.3.1 วิธีหาปริมาณงานดินถม
ดินถมกลับ คือ ดินที่ได้จากการขุดแล้วถมกลับคืนไปยังตาแหน่งเดิม การคานวณหาปริมาณดินถมกลับ
หาได้โดยเอาปริมาตรที่มาแทนดินถมกลับ เช่น คอนกรีตฐานราก คอนกรีตเสาตอม่อไปลบออกจากปริมาตรดินที่
ขุดจะได้ปริมาณดินถมกลับหลุมมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร ส่วนค่าแรงคิดตามปริมาณดินถมกลับที่คานวณได้

3.3.1.1 การถมหลุมฐานราก(กรณีเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย)
ตัวอย่างที่ 4 การหาปริมาตรดินถมฐานราก (กรณีเป็นดินร่วน) ขนาดความกว้าง 1.00 เมตร ความยาว 1.00 เมตร
ความลึก 1.50 เมตร จานวน 8 ฐาน (ดังรูป)

รูปที่ 3.4 การถมดินหลุมฐานรากในกรณีที่ดินเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย


จากรูปที่ 3.4 ปริมาตรดินถม = ดินขุด - {(ปริมาตรเสาตอม่อ + ปริมาตรฐานราก
+ ปริมาตรคอนกรีตหยาบ + ปริมาตรทรายหยาบ)}
วิธีทา
ปริมาตรดินถม = 48 - {(0.20 × 0.20 × 1.10 × 8) + (1.00 × 1.00 × 0.20 × 8)
+ (2.00 × 2.00 × 0.10 × 8) + (2.00 × 2.00 × 0.10 × 8)}
= 39.65 ลบ.ม. ตอบ

3.3.1.2 การถมหลุมฐานราก(กรณีเป็นดินเหนียว)
ตัวอย่างที่ 5 การหาปริมาตรดินถมฐานราก (กรณีเป็นดินเหนียว) ขนาดความกว้าง 1.00 เมตร ความยาว 1.00
เมตร ความลึก 1.50 เมตร จานวน 8 ฐาน (ดังรูป)

รูปที่ 3.5 การถมดินหลุมฐานรากในกรณีที่ดินเป็นดินเหนียว


จากรูปที่ 3.5 ปริมาตรดินถม = ดินขุด- {(ปริมาตรเสาตอม่อ+ ปริมาตรฐานราก +
ปริมาตรคอนกรีตหยาบ + ปริมาตรทรายหยาบ)}
วิธีทา
ปริมาตรดินถม = 12 - {(0.20 × 0.20 × 1.10 x 8) + (1.00 × 1.00 × 0.20 × 8)
+ (1.00 × 1.00 × 0.10 × 8) + (1.00 × 1.00 × 0.10 × 8)}
= 8.45 ลบ.ม. ตอบ

3.3.1.3 การถมทรายรองพื้น GS
ตัวอย่างที่ 6 การหาปริมาตรทรายถมรองพื้น GS ขนาดความกว้าง 3.00 เมตร ความยาว 3.50 เมตร ความหนาของ
ทรายรองพื้น 0.30 เมตร จานวน 4 พื้น (ดังรูป)

รูปที่ 3.6 แปลนผังพื้นและรูปตัดพื้น


จากรูปที่ 2.6 ปริมาตรทรายถมรองพื้น = ความกว้าง × ความยาว × ความหนา × จานวนพื้น

วิธีทา
ปริมาตรทรายถมรองพื้น GS = 3.00 × 3.50 × 0.30 × 4 พื้น
= 12.60 ลบ.ม. ตอบ

3.3.1.4 การถมอิฐหักโดยรอบบ่อเกรอะ - บ่อซึม


ตัวอย่างที่ 7 การหาปริมาณอิฐหักถมโดยรอบบ่อซึมขนาดดังรูป 3.7

รูปที่ 3.7 รูปแปลนและรูปตัดบ่อซึม


จากรูปที่ 2.7 ปริมาตรอิฐหัก = ปริมาตรดินขุด - ปริมาตรที่มาแทนที่
= ( × 1.002 × 2.10 × 1 บ่อ) - ((  × 0.502 × 2.10 × 1 บ่อ)
= 4.95 ลบ.ม. ตอบ
ใบงานที่ 2 แผ่นที่ 1 การสอนครั้งที่ 3
วิชา การประมาณราคาก่อสร้าง 1 ชั้น ก ส . 2
ชื่อหน่วยเรียน งานดินขุดและดินถม หน่วยที่ 3
ชื่องาน การประมาณราคางานดิน เวลา 120 นาที
จุดประสงค์การสอน 3.4 ปฏิบัติการประมาณราคางานดิน
3.4.1 คานวณหาปริมาณงานดินขุดและดินถม
เครื่องมืออุปกรณ์ - แบบแปลนที่พักอาศัย 1 ชั้น
- เครื่องคิดเลข
- ไม้สเกลย่อ / ขยายส่วน
- ดินสอ และ ปากกา
ลาดับขั้นการ - นาแปลนที่ได้รับมอบหมาย และอุปกรณ์ต่างๆขึ้นมา
ปฏิบัติงาน - ทาการอ่านแบบในส่วนของแบบขยาย
- นักศึกษาสังเกต ดูว่า ในแบบ ส่วนบริเวณใด จะทาขุดดินและถมดิน
- ทาการประมาณงานผัง ที่พักอาศัย
งานที่มอบหมาย
- ให้นักศึกษาทาการคานวณหาปริมาณงานดิน ที่จะใช้ในการก่อสร้างที่พักอาศัย 1 ชั้นจากแปลนที่พัก
อาศัย 1 ชั้น ที่ได้รับมอบหมาย
- ให้นักศึกษาเขียนสรุปรายการคานวณ หาปริมาณงานดิน ที่ใช้ในการก่อสร้าง
การบ้าน - ให้นักศึกษาเขียนสรุปรายการคานวณ หาดินขุด และดินถม ที่ใช้ในการก่อสร้างจาก
แปลนที่พักอาศัย 1 ชั้น ที่ได้รับมอบหมาย
ข้อควรระวัง - ในการอ่านแบบแปลนต้อง อ่านด้วยความรอบคอบ หากบริเวณใดไม่มีความชัดเจน
ของตัวเลขให้วัดด้วย สเกล ตามมาตรส่วนที่ได้กาหนดไว้ในแบบ
- รักษาความสะอาดของแบบแปลนที่ได้รับมอบหมาย
- หลังการปฏิบัติงานควรทาความสะอาดโต๊ะและเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย

การวัดผล - ตรวจสอบความถูกต้องของการคานวณปริมาณงานดิน
- ตรวจความสะอาดของรายการคานวณ
- สังเกตความตั้งใจเรียนและมีส่วนร่วมในห้องเรียน

กาหนดส่งงาน - ให้ส่งใบงานครั้งที่ 2 ในต้นชั่วโมง ของสัปดาห์ที่ 4


1.ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1.1 สนทนาซักถามเกี่ยวกับงานดินที่นักศึกษาเคยศึกษามา
1.2 กล่าวนาเกี่ยวกับงานดิน
1.3 นักศึกษาแสดงความคิดเห็นความสาคัญของงานดิน
1.4 เขียนชื่อเรื่องงานดินบนกระดาน
2.ขั้นบอกกล่าว
2.1 อธิบายถึงลักษณะของงานดิน พร้อมทั้งให้นักศึกษาแสดง
ความคิดเห็น
2.2 อธิบายการอ่านแบบก่อสร้าง โดยนาแบบก่อสร้างมาให้
นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง
2.3 ซักถามความเข้าใจในเนื้อหา
3.ขั้นพยายาม
3.1 นักศึกษาฟังคาอธิบายพร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
วิธีสอนและกิจกรรม ความสาคัญงานดิน
3.2 นักศึกษาศึกษาใบความรู้เรื่องการประมาณราคางานดิน
3.3 นักศึกษาซักถามผู้สอนในจุดที่ยังไม่เข้าใจ
3.5 ให้นักศึกษาทาใบงาน
3.6 นักศึกษาทาใบงานเรื่องการประมาณราคางานดินด้วย
ตนเอง
4.ขั้นสาเร็จผล
4.1 นักศึกษาทาใบงานเรื่องการประมาณราคางานดินที่ได้รับ
มอบหมาย
4.2 ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันแก้ไขข้อผิดพลาด
4.3 ผู้สอนและนักศึกษาร่วมกันสรุปถึงความสาคัญของการ
ประมาณราคางานดิน
4.5 ผู้สอนและนักศึกษาร่วมกันประเมินผลการร่วมกิจกรรม
การเรียนการสอน
เอกสารเอกอ้างอิง เอกสารประกอบการสอนหมายเลข
14568
สื่อการสอน เอกสารประกอบการสอน ใบความรู้ที่ 3 เรื่องงานดินขุดและดินถม
วัสดุโสตทัศน์ -
งานที่มอบหมาย 1.ให้นักศึกษาจัดทาใบงานให้เสร็จเรียบร้อย
2.ศึกษาวิธีการคิดงานดินขุดและดินถมเพิ่มเติม
การวัดผล 1.สังเกตความสนใจ
2.สังเกตการปฏิบัติงาน
3.ตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน
4.จัดอันดับคุณภาพของงาน

You might also like