You are on page 1of 6

สรุปฟิสิกส์ ม.

3 หน้า 1

ปริมาณพื้นฐานของการเคลื่อนที่
ระยะทาง หมายถึง ส่วนความยาวตามเส้นทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ เป็นปริมาณสเกลาร์ หน่วยเป็นเมตร แทนด้วย 𝑠
การกระจัด หมายถึง การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุ เป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็นเมตร แทนด้วย 𝑠⃑
มีขนาดเท่ากับความยาวของเส้นตรงระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย

ขนาดของการกระจัดไม่จำเป็นต้องเท่ากับระยะทาง ปริมาณทั้งสองจะเท่ากันเมื่อเป็นการเคลื่อนที่แนวตรงที่ไม่กลับทิศ

อัตราเร็วของวัตถุ
คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของระยะทางต่อเวลา
𝑠
เป็นปริมาณเสเกลาร์ แทนด้วย 𝑣 𝑣 =
หน่วย m/s 𝑡
แบ่งออกเป็น อัตราเร็วเฉลี่ย และอัตราเร็วขณะหนึ่ง
ความเร็วของวัตถุ
คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของการกระจัดต่อเวลา 𝑠
เป็นปริมาณแวกเตอร์ แทนด้วย 𝑣⃑ 𝑣⃑ =
𝑡
หน่วย m/s
แบ่งออกเป็น ความเฉลี่ย และความเร็วขณะหนึ่ง
ความเร่ง
คืออัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วต่อเวลา
𝑣⃑
เป็นปริมาณแวกเตอร์ แทนด้วย 𝑎⃑ 𝑎⃑ =
หน่วย m/s2 𝑡

สมการการเคลื่อนที่
สมการการเคลื่อนที่เมื่อความเร็วคงที่ สมการการเคลื่อนที่ในแนวตรงเมื่อมีความเร่ง
𝑠 1
𝑣= ⃑⃑𝑡 + 𝑎⃑𝑡 2
𝑠⃑ = 𝑢
𝑡 2
(𝑢 + 𝑣)
𝑠⃑ = 𝑡
2
𝑣⃑ = 𝑢⃑⃑ + 𝑎⃑𝑡
𝑣 = 𝑢2 + 2𝑎𝑠
2
สรุปฟิสิกส์ ม.3 หน้า 2

แบบฝึกหัด
1. วัตถุเคลื่อนที่จาก A ไป D ตามเส้นทาง ABCD ดังรูป ใช้เวลา 20 วินาที จงหา
1. ระยะทาง

2. การกระจัด

3. อัตราเร็วเฉลี่ย

4. ความเร็วเฉลี่ย

2. วัตถุเคลื่อนที่จาก A ไป D ดังรูป ใช้เวลา 2 นาที จงหา


1. ระยะทาง

2. การกระจัด

3. อัตราเร็วเฉลี่ย

4. ความเร็วเฉลี่ย

3. สมชายวิ่งรอบสนามวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 เมตร ดังรูป ทั้งหมด 3 รอบ ใช้เวลา 10 นาที จงหา


1. ระยะทาง

2. การกระจัด

3. อัตราเร็วเฉลี่ย

4. ความเร็วเฉลี่ย
สรุปฟิสิกส์ ม.3 หน้า 3

4. วัตถุเคลื่อนที่จาก A ไป B ดังรูป ใช้เวลา 2 นาที จงหา


1. ระยะทาง

2. การกระจัด

3. อัตราเร็วเฉลี่ย

4. ความเร็วเฉลี่ย

5. เอกเดินไปทางตะวันออก เป็นเวลา 20 นาที หลังจากนั้นเดินไปทางทิศใต้เป็นเวลา 10 นาที จงหาอัตราเร็วเฉลี่ย


และความเร็วเฉลี่ยตลอดการเคลื่อนที่

6. รถยนต์คัน A และดัน B เคลื่อนที่ตามรูป ถ้ารถคัน A เคลื่อนที่ตามแนวขอบสนามจากจุด P ถึง Q รถคัน B เคลื่อนที่


ตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 200 เมตร รถทั้งสองดันใช้เวลาเปลี่ยนตำแหน่งจาก P ไปถึง Q เท่ากัน รถคัน A ต้อง
เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเฉลี่ยเป็นกี่เท่าของอัตราเร็วของรถกัน B
สรุปฟิสิกส์ ม.3 หน้า 4

7. รถยนต์ A วิ่งเข้าวงเวียน ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่แบบวงกลมรัศมี 10 เมตรคงที่ วิ่งไปได้ระยะทาง 3 ใน 4 ของวงเวียน


จึงหยุด ต่อมาปล่อยรถยนต์ B เข้าไปในวงเวียนเดียวกันกับรถยนต์ A นี้ แต่มีทิศทางตรงกันข้ามเคลื่อนไปหยุดยัง
ตำแหน่งเดียวกันกับที่รถยนต์ A หยุด หากรถยนต์ A มีอัตราเร็วเฉลี่ย 20 เมตร/วินาที และรถยนต์ B มีอัตราเฉลี่ย
10 เมตร/วินาที ความเร็วเฉลี่ยของรถยนต์ A เป็นกี่เท่าของรถยนต์ B (เตรียมฯ 62)

1) 0.5 เท่า 2) 0.67 เท่า 3) 1.2 เท่า 4) 2.0 เท่า

8. เอกวิ่งเป็นเส้นตรงด้วยความเร็ว 5 m/s ได้ระยะทาง 200 m แล้วจึงเดินต่อด้วยความเร็ว 2 m/s เป็นเวลา 1 นาที


จงหาความเร็วเฉลี่ยตลอดการเคลื่อนที่ของโกเอก
สรุปฟิสิกส์ ม.3 หน้า 5

9. รถยนต์แล่นได้ระยะทางทั้งหมด 60 km โดยในระยะทาง 20 km ช่วงแรกแล่นด้วยอัตราเร็ว 30 km/h และใน


ระยะทาง 40 km ต่อมา แล่นด้วยอัตราเร็ว 20 km/h จงหาอัตราเร็วเฉลี่ยของรถยนต์

10. ในการแข่งขันวิ่งมินิมาราธอนตามถนนเส้นทางตรง มีจุดพักให้น้ำนักกีฬาทั้งสิ้น 4 จุด ได้แก่ A, B, C และ D โดยระยะ


AB มีระยะทางเท่ากับ CD และระยะ BC มีค่าเป็น 2 เท่าของระยะ AB อัตราเร็วเฉลี่ยในช่วง AB เท่ากับ 3 m/s, ช่วง
CD เท่ากับ 6 m/s และช่วง AD เท่ากับ 4 m/s อยากทราบว่าอัตราเร็วเฉลี่ยในช่วง BC เท่ากับเท่าใด (เตรียมฯ 61)
สรุปฟิสิกส์ ม.3 หน้า 6

11. อนุภาคเคลื่อนที่จากหยุดนิ่ง มีความเร็วเพิ่มขึ้นวินาทีละ 4 m/s ในช่วงเวลาแรก มีความเร็วลดลงวินาทีละ 2 m/s ใน


เวลาต่อมาจนหยุดนิ่งอีกครั้ง ถ้าอนุภาคเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงและมีการกระจัดขนาด 150 m ความเร็วเฉลี่ยของการ
เคลื่อนที่เป็นเท่าใด (เตรียมฯ 62)
1) 4 m/s 2) 6 m/s 3) 8 m/s 4) 10 m/s

You might also like