You are on page 1of 34

คณะราษฎร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

- เริ่มจากปรีดี พนงยงค์ และ ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี


- ณ 2469 กุมภาพันธ์ ได้มีการประชุมของนักเรียนนอก ประกอบด้วย ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ (จอมพลป.พิบลู สงคราม)
บลาๆ ทุกคนมีความประสงค์ร่วมกันโดยที่ต้องการจะเปลี่ยนการปกครองของสยามจากเดิมที่เป็นระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้กลายเป็นระบอบราชาธิปไตย (Kingต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ)
- หลัก 6 ประการของคณะราษฎรคือ เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา เพื่อแสดงว่าประชาชน
ทุกคนนั้นต้องเท่ากัน ประเทศเป็นของราษฎร มีความต่างกับโลกระบอบเก่าที่มองว่าประชาชนนั้นติดหนี้บุญคุณกับ
ประเทศ ประชาชนต้องทำอะไรให้กับประเทศ
- คณะราษฎร มีทหารชัน้ ผู้ใหญ่(ทหารบก)อยู่เพียง 4 ท่าน คือ 1. พระยาพหลพลพยุหเสนา 2. พระยาทรงสุรเดช 3. พระ
ยาฤทธิอัคเนย์ 4. พระประศาสน์พิทยายุทธ
- แผนก่อการที่พระยาทรงสุรเดช ตัดสินใจใช้ ในขณะ ร.7 ไปพักที่วังไกลกังวล เขาใช้วิธลี วงทหารออกมาเข้าร่วมกับฝ่ายตน
โดยเฉพาะรถถัง
- ทำไมต้องเปลี่ยนแปลง? เพราะคณะราษฎรมองว่าระบอบเก่านั้นไม่สามารถปรับตัวเพื่อนำสังคมให้ไปรอดในอนาคตได้
- The great depression (1929) เกิดในช่วง ร.7 : ร.7 ได้ตัดสินใจในการลดภาษีอากรนาลงเพื่อช่วยเหลือประชาชน โดย
ไปเพิ่มการเก็บภาษีจากชนชัน้ กลางแทน (ภาษีรายได้ ภาษีทดี่ ิน) ส่วนพวกชนชั้นสูงไม่ค่อยได้รับผลกระทบใดๆ ซึง่ สิ่งนี้ทำ
ให้พวกข้าราชนั้นไม่ค่อยพอใจ เช่น พระองค์เจ้าบวรเดช
- ปัญหาของการเกิด 2475 คือการกระจุกตัวของตำแหน่งทางการเมือง และตำแหน่งราชการลำดับสูง
- 24 มิถุนายน 2475 : สิ่งที่เกิดขึ้นคือการลวงทหารไปรวมกองกันไว้ ณ พระที่นงั่ อนันตสมาคม โดยการลวงว่ามีการกบฎ
เกิดขึ้น จากนั้นพระยาทรงสุรเดช พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาประศาสน์พิทยายุทธนั้นบุกเข้าไปในกรมทหารม้าที่1
แล้วนำทหารและรถถังออกมา จากนั้น พระยาพหลได้อ่านประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้
กฎหมาย มากไปกว่านั้น ยังได้มกี ารจับ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต มาเป็นตัวประกัน
หลังจากนัน้ ก็ได้มีการแจกจ่ายประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 มีเนื้อหาย้ำเตือนว่าประเทศนี้เป็นประเทศของราษฎรไม่ใช่
ของใครคนหนึ่งอีกต่อไป แล้วการกระทำนี้ก็สมบูรณ์ได้โดยการที่คณะราษฎรได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลให้แก่ ร.7 โดย
อัญเชิญมาเป็นพระมหากษัตริยภ์ ายใต้กฎหมาย แล้ว ร.7 ก็ได้เห็นด้วยและยอมรับ

- 10 ธันวา 2475 (รัฐธรรมนูญฉบับถาวร)


ฉบับชั่วคราว
ฉบับถาวร

สรุป 24 มิถุนายน 2475


เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเปลีย่ นสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการ
ปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระ
ยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลง
การปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการ
ปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในการ
ปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจ
แทนราษฎรดังนี้ คือ

1. พระมหากษัตริย์
2. สภาผู้แทนราษฎร
3. คณะกรรมการราษฎร
4. ศาล
กระทั่งถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ
ราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการ
ปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุข
ไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตัง้ ให้บริการราชการแผ่นดิน
แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึง่ เป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียง
อำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรี
รวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจทีจ่ ะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะ
เป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาทีไ่ ด้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้ง
ใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะ
ละเมิดมิได้
เกร็ดอื่นๆ
- คณะราษฎร มีผู้นำดังนี้ 1.พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (เป็นหัวหน้า) 2.พันตรี หลวงพิบลู สงคราม 3.นายนาวาตรี
หลวงสิทธุสงครามชัย 4.อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี)

สภาพทางสังคมและการเมืองก่อนการปฎิวัติสยาม 2475
เริ่มต้นที่ ร.4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี 2398 ได้ตกลงทำสนธิสัญญาเบาว์ริงค์กับประเทศอังกฤษ จึงถือ
เป็นการกำเนิดระบบเศรษฐกิจแบบเสรีในสยาม เกิดตลาดเสรีขึ้น ทำให้พ่อค้าชาวอังกฤษสามารถดำเนินการค้าขายกับ
เอกชนชาวสยามได้อิสระโดยไม่ถูกกีดกันใดๆ มีการยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือ มีการกำหนดอัตราภาษีขาเข้าและออก
ชัดเจน(ร้อยละ3 ยกเว้นฝิ่นไม่ตอ้ งเสีย) ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนีท้ ำให้สยามสูญเสียไปซึ่งสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่
ประชากรต่างด้าว มากไปกว่านัน้ ร.4 ยังมีการพยายามเพิ่มจำนวนเจ้านาย โดยการเพิ่มจำนวนพระชายาเพื่อที่จะสร้าง
สายเลือดเชื้อพระวงศ์ให้มากขึ้น พร้อมกับส่งเสริมการเรียนรู้แบบโลกตะวันตกให้กับกลุ่มเจ้านาย เพื่อใช้ในการคานอำนาจ
กับขุนนางสกุลบุญนาค
ต่อจากนั้น ร.5 (2411) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกลุ่มสยามหนุ่ม(ร.5เป็นผูน้ ำ) ที่มีความประสงค์
ต้องการให้พระมหากษัตริย์กลับมามีอำนาจเหนือพวกขุนนาง การต่อสู้นั้นไม่เกิดขึ้นตรงๆ แต่เป็นการทำลายศัตรูอย่างช้าๆ
เช่น การสร้างแนวคิดว่าด้วยชาติกำเนิดที่พยายามทำให้เจ้านายกับกษัตริย์นั้นมีความยึดโยงติดกัน แล้วเกิดเป็น
Community ที่มีความใกล้ชิดกันและขยายตัวมากขึ้น มากไปกว่านัน้ ยังมีการสถาปนาตำแหน่งสยามกุฏราชกุมาร มาแทน
ตำแหน่งพระราชวงบวรสถานมงคล (วังหน้า) เพื่อมาทัดทานอำนาจของพวกขุนนาง
- การตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ : สร้างระเบียบในการส่งเงินเข้าพระคลัง ป้องกันความหละหลวม และการทุจริตเงินพระคลัง
จากขุนนาง แล้วมีการกำหนดภาษีขาเข้าเป็นภาษีร้อยชักสาม ทำให้มีความแน่นอนในการจัดเก็บภาษี ซึ่งเป็นการป้องกัน
เจ้าภาษีโกงเงินได้ ซึ่งการกระทำนี้สง่ ผลให้ขุนนางไม่พอใจ
- การเติบโตของระบบทุนนิยม เกิดการระดมทุน ทรัพยากรต่างๆขึ้นเป็นจำนวนมากทำให้เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มชน
ชั้นสูง ร.5 นั้นก็เลยมีการเลิกทาสขึ้นเพราะการมัทาสนั้นทำให้การทำงานในระบบแรงงานเสรีไม่มีความยืดหยุ่น เปลีย่ น
ทาสเป็นแรงงานอิสระเพื่อตอบสนองต่อระบบตลาดเสรีแทน มากไปกว่านัน้ ยังเป็นการลดทอนอำนาจของขุนนางอีกด้วย
- เกิดระบบราชการแบบใหม่ โดยยึดติดกับระบบคุณธรรม ความเป็นชาติ เปิดรับให้ประชาชนทุกคนเข้ามารับราชการได้
โดยผ่านระบบการสอบ มีการจ่ายเงินเดือนให้เพื่อลดการติดสินบน
- สร้างระบบมณฑลเทศาภิบาล โดยรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางโดยส่งข้าหลวงไปปกครองในมณฑลต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร
โดยมีจุดมุ่งหมายในการรวบรวมอำนาจเข้าสู่ศนู ย์กลาง (ดูมีความเป็นสภาวะกึ่งอาณานิคม)
เหตุการณ์ ร.ศ.103 (เกิดโดยกลุ่มเชื้อพระวงศ์และขุนนางชั้นสูงที่ทำงานด้านการทูต) ได้มีข้อเรียกร้องเป็นคำกราบ
บังคมทูลแก่ ร.5 เพื่อเรียกร้องให้เปลี่ยนระบอบการปกครองจาก Absolute Monarchy เป็น Constitutional
Monarchy (ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ) เพื่อป้องกันภัยรุกรามจากอาณานิคมตะวันตก และเพื่อการพัฒนาระบอบ
การปกครองที่จะทำให้อนาคตของสยามนัน้ สามารถปรับตัวอยู่รอดได้
ร.5 ก็ทรงมีพระราชดำรัสตอบกลุ่มกลุ่มรศ.103 ว่าทรงเห็นด้วย แต่จะกระทำในทันทีไมได้เนือ่ งจากคนไทยยังไม่พร้อม
ขาดความเข้าใจในระบอบนี้ ขณะเดียวกันการเสนอแนวทางของรศ.103 เป็นเหตุผลที่ร.5 ทรงโปรดเกล้าให้พวกรศ.103
มาร่วมบริหารราชการแผ่นดิน ส่งผลให้อำนาจของพระองค์มากขึ้นจนสามารถลดอำนาจของฝ่ายขุนนางอำมาตย์ได้(มีขุน
นางสกุลบุญนาคเป็นแกนหลัก) เหตุการณ์นี้นำไปสู่การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินให้กลายเป็นรัฐรวมศูนย์เข้าสู่
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยสมบูรณ์ (ตรงข้ามกับความประสงค์ของกลุ่มรศ.103อย่างสิ้นเชิง)
- ระบบมณฑลเทศาพิบาล (Centralization) : ระบบที่มีการกำหนดหัวเมืองตามภูมิภาค และประเทศราชให้รวมเป็น
มลฑล จากนั้นส่งข้าหลวงส่วนกลางเข้าไปปกครอง (ทำให้พวกขุนนางนัน้ มีอำนาจน้อยกว่าข้าหลวง ก็เลยเกิดเป็นกบฏ
ต่างๆขึ้นมา)
- ปฏิรูประบบราชการ, ปฎิรูปกฎหมาย

รัชกาลที่ 6 (2453) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


ในช่วงรัชกาลนี้ ราชสำนักเริ่มประสบปัญหากับความขัดแย้ง และการใช้เงินท้องพระคลังอย่างสิ้นเปลือง
- ความสัมพันธ์ที่ไม่ลงลอยระหว่างร.6กับเชื้อพระวงศ์ (กรมหลวงชุมพร กับกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)
- เป็นผู้สร้างเมืองดุสิตธานี มาทดจำลองการปกครองแบบประชาธิปไตย
- ได้สร้างนิยามความเป็นชาติขึ้นมาใหม่ โดยผูท้ ี่รักชาติคือผู้ทรี่ ักหรือภักดีกับกษัตริย์ ผู้ใดที่ไม่ภักดี=ไม่ใช่คนไทย
กล่าวอีกนัยคือ เน้นความจงรักภักดีต่อกษัตริย์หรือความเป็นชาติไทยนั้นยึดโยงติดกับความจงรักภักดีต่อกษัตริย์
- ท่านไม่เห็นด้วยกับระบอบรัฐสภา เพราะว่าผู้แทนที่ถูกปชช.เลือกมา ก็จะทำให้เกิดการตัดขาดจากผู้แทน ไม่มีใครว่างมา
ดูผู้แทน ภิปรายในสภา ทำให้นักการเมืองใช้เป็นช่องว่างสร้างผลประโยชน์ให้ตนเอง
- เหตุที่ร.6 พยายามสร้างความเป็นชาติขึ้นมาใหม่เพราะ การที่ระบบราชการสมัยใหม่ที่ร.5 ได้ปฏิรูประบอบราชการ ได้
สร้างระยะห่างระหว่างกษัตริย์กับข้าราชการขึ้น
- ในปี 2454 (ก็เกิดกบฎรศ.130) เป็น First try ในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง : กลุ่มของทหารวัยหนุ่มหัว
ก้าวหน้าทีไ่ ม่พอใจต่อการบริหารงานของรัชกาลที่ 6 ทั้งในด้านของการใช้เงินแผ่นดินในทางที่มชิ อบด้วยเหตุผล การแบ่ง
ชนชัน้ วรรณะ ราษฎรขาดแคลนความบำรุงในเรื่องการงานและอาชีพ และมองเห็นปัญหาในการปกครองด้วยระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์นำโดยร้อยเอกนายแพทย์ขุนทวยหาญพิทักษ์ (นายแพทย์ เหล็ง ศรีจันทร์) จึงเกิดการสมคบคิด
เปลี่ยนแปลงการปกครองและยังดูเป็นการล้มล้างการปกครองของร.6 แต่แผนก็ Failed เพราะมีหนอนบ่อนไส้อำความลับ
ไปแจ้งให้แก่ราชสำนัก
อิทธิพลของ กบฎรศ.130 ได้รับมาจากสถานการณ์ปฏิวัติซนิ ไห่ของจีน ที่เปลี่ยนผ่านระบอบจักรพรรดิ ศักดินา ไปสู่รบ.
ของประชาน มากไปกว่านั้นกบฎรศ.130 ก็ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับการอภิวัฒน์สยามของคณะราษฎรในปี พ.ศ.2475
โดยคณะราษฎร
รัชกาลที่ 7 (2469) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ภายหลังการปกครอง ก็ได้เกิด The great depression ในปี 2472 คือปัญหาเศรษฐกิจโลกตกต่ำทำให้อุตสาหกรรมใน
สยามนัน้ ถดถอย ส่งผลใหญ่หลวงต่อกลุ่มเจ้านายภายในวัง มากไปกว่านั้นยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเจ้านาย
ด้วยกัน หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเจ้านายกับข้าราชบริพารผู้รับใช้ ลดลง
- ปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าวนี้ ทำให้เงินพระคลังกระทบกระเทือนอย่างยิ่งซึง่ ส่งผลให้กลุ่มเจ้านายชนชั้นล่างเสียเปรียบและ
ขาดแคลน มากไปกว่านัน้ ยังกระทบต่อรายได้ของเจ้านาย เพราะรายได้ของเจ้านายนัน้ มาจากกษัตริย์
- เมื่อรายได้ลดลง ก็ต้องตัดค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมภายในวังให้ลดลง
- การกระจายรายได้ที่ลดหลัน่ ลงตามยศของกลุ่มเจ้านาย และยังเกิดการจัดสนนทรัพยากรที่ไม่เท่ากัน ทำให้เจ้านายระดับ
ล่างเสียเปรียบ
- เมื่อนานวันเข้า เจ้านายลำดับล่างก็ค่อยๆ ล้มละลายกันไป ทำให้เรื่องของคติชาติกำเนิดนัน้ ลดลง มีการเกิดขึ้นของชนชัน้
กลาง สุภาพบุรุษ ผู้ดีใหม่ ยศเหล่านี้เกิดขึ้นจากการศึกษา ทรัพย์สิน มิใช่มาจากชาติกำเนิดหรือสายเลือดแต่อย่างใด (ไพร่
พระฎุมพี) เช่น คณะสุภาพบุรุษของ กุหลาบ สายประดิษฐ์
อภิรัฐมนตรี
- ร.7 พยายามที่จะรื้อฟื้นคสพ.กับกลุ่มเจ้านายชั้นใหญ่ที่เคยแตกหักกันตอนร.6 เพื่อความมั่นคงของราชสำนัก
- การแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีเพื่อเป็นแบบจำลองการปกครองแบบรัฐสภา โดยที่อภิรัฐมนตรีมีอำนาจตัดสินใจในวาระต่างๆ โดย
ที่อภิรัฐมนตรีประกอบด้วยเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหฯ (คณาธิปไคย)
- ร.7 มองว่าปชช.ยังไม่พร้อมต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยได้ปรึกษากับพระยากัลป์ยาณไมตรี (ฟรานซิส บี
แซย์) โดยมองว่าปชช.ควรมีความรู้ทางการเมืองก่อนเพื่อให้ระบอบรัฐสภานัน้ มีประสิทธิภาพ
โดยฟรานซิสได้เสนอให้ปกครองในระบอบสมบูรไปก่อนแล้วให้มีนายกมารับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินแทน
พระองค์ ดังนั้น จะเห็นได้จากร่างรธน.ฉบับพระยากัลป์ยาณไมตรี ที่ระบุว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัริย์”
(นิสิตมองว่าที่เป็นแบบนี้เพราะเกรงว่าประชาชนยังไม่ได้มีความรู้พอ ถ้าเกิดว่าอำนาจอธิปไตยตกไปอยู่ในมือของประชาชน
แล้ว บ้านเมืองจะไม่สงบสุข)
- พระองค์ทรงมองว่าการคงไว้ซงึ่ ระบอบสมบูรไว้เช่นนี้ก็เหมือนเป็นการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์เสียเองสักวันหนึ่ง
เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมต่อการเปลี่นรแปลงระบอบ ท่านจึงตรากฎหมายกฎหมายองคมนตรีสภาในปีพ.ศ.2470 เพื่อ
พิจารณาร่างกฎหมายสำคัญซึง่ สภากรรมการองคมนตรีนี้มีระเบียบวิธีพจิ ารณากฎหมายเช่นเดียวกับรฐสภา โดยร.7ทรงมี
พระราชประสงค์ที่จะใช้เป็นวิธที ดลองและเรียนรู้ถึงวิธีการประชุมทางรัฐสภาและเป็นการเหนี่ยวนรั้งการใช้อำนาจทีผ่ ิด
- พระองค์ก็เตรียมความพร้อมในระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนผ่านการจัด การปกครองแบบเทศบาล ระบบสุชาภิ
บาล ซึง่ เอื้อให้ปชช.เริ่มต้นด้วยการคุมกิจการปกครองในท้องถิ่นของตนก่อนที่จะมาควบคุมกิจการการปกครองของรัฐผ่าน
ระบบรัฐสภา
- กลุ่มเจ้านายในร.7 เป็นผูท้ ี่มีอำนาจในการตัดสินใจที่ผูกขาดในระบบราชการที่สามารถได้รับยศสูงสุดคือจอมพล ในขณะ
ที่ข้าราชการทีไ่ ม่ใช่เชื้อพระวงศ์สามารถไต่เต้าได้เพียงระดับพันเอกและไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องในระดับใหญ่ๆได้

สรุปเนื้อหาการเมืองการปกครองไทย ก่อนปฏิวัติสยาม 2475


เริ่มจากการเสื่อมลงของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึง่ ทำให้ระบอบนัน้ ต้องการมีการปรับตัว เช่น
- ร.7 มีการขึ้นครองราชในขณะที่ราชสำนักนั้นประสบปัญหารายจ่าย และมีวิกฤตศรัทธาที่มาจากร.6
- ร.7 ได้แต่งตั้งอภิรัฐมนตรี จากเจ้านายชัน้ ผู้ใหญ่ หวังเพื่อเรียกความศรัทธาคืนมาจากประชาชน
- ร.7 ทรงมีความคิดที่จะปฏิรูปการปกครองให้มีความเสรีมากขึ้น แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการ
อย่างจริงจัง และก็ยังถูกคัดค้านจากเจ้านายผู้ใหญ่
- ร่างรัฐธรรมนูยแบบ Limited Monarchy ที่ไก้กำเนิดสถาบันใหม่ขึ้น เช่น นายกรัฐมนตรี คณะ สภา แต่
อำนาจอธิปไตยยังเป็นของกษัตริย์ (ร่างรธน.ของ Francis B. Sayre พระยากัลป์ยาณไมตรี หรือร่างรธน.ของ Raymond
Stevens)

มากไปกว่านัน้ ยังมีแนวคิด อุดมการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะข้าราชรุ่นใหม่ๆ รวมไปถึงชนชั้นกลาง


- ตั้งแต่ร.4 สยามเปิดรับวิทยาการจากภายนอก รวมถึงมีการปฏิรูปการปกครอง
- เกิดแนวคิดชาติยม ทีไ่ ม่ยึดโยงกับความจงรักภักดี
- เกิดแนวคิดที่รู้สึกว่าสยามไม่ใช่ประเทศที่เป็นเอกราชสมบูรณ์ และไม่ Civilized เท่า นานาอารยประเทศ ซึ่ง
เป็นผลมาจากการบริหารด้วยรบ.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม
การปฎิวัติ 24 มิถุนายน 2475
- เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
- เวลาย่ำรุ่ง เกิดการยึดอำนาจในพระนครโดยคณะราษฎร นำโดยพระยาพหล และท่านก็ได้อา่ นคำประกาศยึดอำนาจที่
ลานพระบรมรูปทรงม้า
- เนื้อหาในประกาศคณะราษฎร นั้นกล่าวโจมตีรบ.สมบูรณาญาอย่างรุนแรง ถึงความล้มเหลวในการบริหารราชการ ความ
ไม่ชอบธรรม ในประกาศยังกล่าวถึงหลัก 6 ประการ “เอกราช เสมอภาค เสรีภาพ ปลอดภัย การศึกษา เศรษฐกิจ”
- พระปกเกล้า ยอมรับการเข้ายึดอำนาจและเสด็จกลับพระรคร นิรโทษกรรมให้ผู้ก่อการ และยอมลงนามใน พรบ.
ธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว ณ วันที่ 27 มิย. 2475 แต่ร.7 ยังคิดว่าเนื้อหาในรธน.ยังไม่ถูกใจ และให้มีการ
ร่างรธน.ใหม่ขึ้นมา
- รธน.ชั่วคราว (27 มิย 2475) กำหนดให้มี 4 สถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตยแทนปชช. 1.สภาผูแ้ ทนราษฎร 2.
คณะกรรมการราษฎร 3.ศาล 4.กษัตริย์ โดยมาตราแรกระบุว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย”
- พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ผูท้ ี่คณะราษฎรมองว่ามีหัวที่ก้าวหน้า ได้รับตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการราษฎร เป็น
หัวหน้าฝ่ายบริหาร / สภาผู้แทนในระยะนี้ ยังต้องมาจากการแต่งตั้ง มีอำนาจสูงสุด สามารถวินิฉัยความผิดของกษัตริยไ์ ด้
- 10 ธค 2475 พระราชพิธีพระราชทานรธน.ฉบับถาวร : รธน.มีความเป็นอนุรักษ์นิยมมากขึน้ เพื่อที่เป็นการทำให้ร.7
พึงพอใจ มีการยกย่องสถานะกสัดมากกว่าฉบับชัว่ คราว (เคารพ และล่วงละเมิดไม่ได้) / มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ
ราษฎร เป็น คณะรัฐมนตรี พร้อมกับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี แล้วมีสภาผู้แทนราษฎร 2 ประเภท
Therefore, The first prime minister of Siam is พระยามโนปกรณ์นิติธาดาง
- ระบบ 2 สภา 1. มาจากการเลือกตั้งของปชช แต่ละจังหวัด 2.มาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ (โดยสิ่งที่ควรจะเป็นคือ
คณะราษฎรต้องแต่งตั้ง)
- มีนาคม 2475 (ขึ้นปีใหม่ 1 เมษา) หลวงประดิษฐ์(ปรีดี) จัดทำแผนเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ(สมุดปกเหลือง) ตาม
หลักเศรษฐกิจ ของหลัก 6 ประการ มีเนื้อหาไปทาง สังคมนิยม
- แต่ก็ได้รับการคัดค้านจากคณะรัฐมนตรี เช่น พระมามโนปกรณ์นิติธาดา รวมไปถึงร.7 ที่มพี ระบรมวินิจฉัยตอบโต้(สมุด
ปกขาว) โดยมองว่ามีความคล้าย คอมมิวนิสต์ แบบโซเวียต
- เพื่อป้องกันปรีดี นำแผนเค้าโครงเข้าสภา พระยามโนก็ออก พระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภา เมื่อ 1 เมษา 2476 ถือ
เป็นการทำรัฐประหารครั้งแรก และยังได้ออก พ.ร.บ. การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เพื่อป้องกันไม่ให้หลวงประดิษฐ์มนู
ธรรมเผยแพร่ออกนอกสภา พร้อมทั้งโจมตีด้วยสมุดปกขาว
- มีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยเอาหลวงประดิษฐ์ออก และเนรเทศรัฐมนตรีที่สนุบสนุนออกไปฝรั่งเศส
- รัฐบาลพระยามโนปกรณ์ ปกครองโดยไม่มีสภาไปถึงเดือนมิถุนายน
- 20 มิถุนายน 2476 หลวงพิบลู ก็เข้ายึดอำนาจ บีบให้พระยามโนและคณะลาออก แล้วให้พระยาพหลพลพยุหเสนาเข้า
รับตำแหน่งนายกคนที่สอง
The second prime minister of Siam is พระยาพหลพลพยุหเสนา (หัวหน้าคณะราษฎร)
สมัยของคณะราษฎร (หน้า 12)
รบ.พระยาพหล 2476-2481
- หลังพระยาพหล ขึ้นเป็นนายกคนที่ 2 มีการเรียกหลวงประดิษฐ์ กลับมาเป็นรัฐมนตรี แล้วมีการไต่สวนแล้วด้วยว่าหลวง
ประดิษฐ์ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ แต่แลกกับการที่หลวงประดิษฐ์จะไม่นำนโยบายแบบสังคมนิยมมาใช้ (ปัดทิ้งปกเหลือง)
- กบฎบวรเดช ตุลาคม 2476 “คณะกู้บ้านเมือง” เป็นกลุ่มคณะที่ประกอบด้วยข้าราชการชัน้ ผู้ใหญ่ระบอบเก่า นำโดย
พระองค์เจ้าบวรเดช ไม่พอใจกับรบ.คณะราษฎรในเรื่องอำนาจของกสัด ดูเป็นการหมิ่นพระเกียรติยศ การยึดอำนาจพระ
ยามโนปกรณ์ และเกรงว่าระบอบใหม่จะนำนโยบายแบบสังคมนิยมมาใช้
- กบฎบวรเดช ยกกำลังจากหัวเมืองมาล้อมพระนคร ยื่นคำขาดให้รบ.ออก
- มีการต่อต้านทางฝั่งรบ. นำโดยหลวงพิบูลสงคราม เข้ามาปราบปรามฝ่ายคณะกู้บา้ นเมือง แล้วก็ชนะ fight
ทำให้พระองค์เจ้าบวรเดชลี้ภัยไปต่างแดน มากกว่านั้นเกิดความคลางแคลงใจว่าพระปกเกล้าให้การสนับสนุนต่อกบฎบวร
เดช เกิดการสร้างอนุสาวรีย์พิทกั ษ์รัฐธรรมนูญขึ้นภายหลัง
- ทำให้บทบาทของทหารในการเมืองมากขึ้น ในฐานะผู้พิทักษ์ระบอยใหม่และรักษาเสถียรภาพให้รบ.
- ความขัดแย้งระหว่าง รบ กับ ร.7 รุนแรงขึ้น ทั้งเรือ่ งพระราชอำนาจ การจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ความไม่ไส้ใจกัน
หลังกบฎบวรเดช เหตุการณ์นี้นำไปสู่การสละราชสมบัติ 2 มีนา 2477 (2478 ในปฎิทินใหม่) หนีไปประทับที่อังกิดจนตุย
- สภา เลือกพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เป็นกษัตริย์ร.8 แล้วมีการตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ใช้อำนาจแทน
“ยุวกษัตริย์”
- มีการเลือกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก (สส.) ปลายปี 2476 โดยปชช.เลือกผู้แทนตำบล ผู้แทนตำบลเลือกผู้แทนจังหวัด
พร้อมกับผู้แทนประเภทที่2 จากกษัตริย์
- ก่อตั้งม.ธรรมศาสตร์และการเมือง ตามหลักการศึกษาของหลัก 6 ประการ เป็นตลาดวิชา เสดสาด รัดสาด นิติ
- การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ-ดำเนินนโยบานทุนนิยมโดยรัฐ
- กำเนิด “กรมวิทยาศาสตร์”
- เป็นสมัยที่การเมืองในระบอบใหม่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ มีฝ่ายนิติและบริหารถ่วงดุลอำนาจกัน
- เกิด เอกราชสมบูรณ์ ในปี 2481 รัฐบาลนำโดยหลวงประดิษฐ์ดำเนินการปฎิรูปกฎหมายให้มีความเป็นสากลมากที่สุด
แก้ไขสนธิสัญญาทีไ่ ม่เป็นธรรมกับต่างชาติ (เบาว์ริง) แก้ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เอกราชด้านการศาลได้
- การเลือกตั้งปี 2481 สภาเลือกหลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) เป็นนายกคนที่ 3

รบ.หลวงพิบูลสงคราม 2481-2487
- เกิดกบฎพระยาทรงสุรเดช เกิดการกวาดล้างทางการเมืองครั้งใหญ่ รบ.ออกแถลงว่ามีกลุ่มบุคคลวางแผนล้มล้างรบ.อยู่
หลังจากเหตุการณ์นี้ สถานะของรัฐบาลคระราษฎรมั่นคงขึ้น
- รัฐนิยม, การปฏิวัติทางสังคม-วัมนธรรม เช่น การเคารพทงชาติ สวัสดี เปลี่ยนชื่อสยามเป็นไทย เกิดนโยบายกีดกันคน
จีน ยกเลิกบรรดาศักดิ์ การปรับปรุงอักขระ
- กำหนดให้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ
- เกิดขบวนการเสรีไทย เพราะสงครามมหาเอเชียบูรพา ไทยเข้าร่วมญี่ปุ่น แล้วประกาศสงครามกับสหรัฐและอิง
ขบวนการเสรีไทยนำโดยปรีดี (ในประเทศ)

รัฐบาล ควง อภัยวงศ์ 2487-2488 (สั้นสุด) คนที่ 4


- ยกเลิกนโยบายรัฐนิยม-ชาตินยิ ม สมัย ป. พิบลู สงคราม เช่น การปรับปรุงอักขระ
- เกิดรธน.ฉบับใหม่
- 16 สิงหา ปรีดี ประกาศสันติภาพ ในนามผู้สำเร็จราชการแทนพระงอค์ ให้ประกาศสงครามของไทยต่อเมกาและอังกิด
เป็น โมฆะ โดยให้เหตุผลว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของคนไทยและขัดต่อรัฐธรรมนูญ
- รบควง อภัยวงศ์ลาออก ให้ ทวี บุญยเกตุเป็นนายก 17 วัน (คนที่ 5)
รธน. ฉบับ 2489 มีเนื้อหาที่เปิดเสรีทางการเมือง ห้ามมิให้ข้าราชการประจำมีตำแหน่งทางการเมือง และสภามาจาก
การเลือกตั้งทั้งหมด (สส และ สว.) มีการถือกำเนิดของพรรคทางการเมือง
2490 สิ้นสุดคณะราษฎร จบแล้วปรีดี (ถึงหน้า 17 )

ชัยชนะของสฤษดิ์และศักดินา (18 กันยายน 2500)


- สฤษดิ์ได้ชนะในการแย่งชิงอำนาจจากกลุ่มจอมพลป. และเผ่า โดยร่วมมือกับกลุ่ม Royalist ในการทำรัฐประหาร ซึ่ง
ทำให้จอมพลป.และเผ่าต้องหนีไปตปท.
- ถนอม กิตติขจร ได้ขึ้นเป็นนายกในเวลาสั้นๆ โดยผ่านมติสภา แต่ท้ายทีส่ ุดวันที่ 30 ตุลา 2501 สฤษดิ์ก็ก่อรัฐประหาร
อีกครั้งโดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันกษัตริย์และสหรัฐ ซึ่งนำประเทศไทยเข้าสู่ระบอบเผด็จการทหาร อย่างเต็ม
รูปแบบด้วยการปิดสภา ยกเลิกรธน. พร้อมประกาศใช้ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พศ.2502

ยุคเผด็จการ (ระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ)
การปกครองในสมัยรบ.สฤษดิน์ ั้นมีความคล้าย พ่อปกครองลูก
- ออกคำสั่งโดยอาศัยม.17 ที่เปรียบเสมือนคำสั่งของพ่อ
- สฤษดิ์เปรียบเหมือนพ่อขุนที่แสดงความจงรักภักดีต่อกษัตริย์
- สฤษดิ์ดำรงตำแหน่งนายกจนตายในปี 2506
- ถนอม กิตติขจร ได้เป็นผู้สบื ทอดอำนาจจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516

ยุค 14 ตุลา 2516


ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ (ยุคแห่งการพัฒนา) : ธุรกิจของเอกชนเติบโตขึน้ ภายใต้การเอื้ออำนวยของระบบ
ราชการ มีการไหลเข้าของเงินทุนตปท. เศรษฐกิจเมืองโตขึ้น ทำให้ชาวบ้านย้านเข้ามาในเมืองเยอะขึ้น
- มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 ขึ้นมา และก่อตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ
สหรัฐอเมริกา (ยุคอเมริกันไทย) ใช้ไทยเป็นฐานในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเอเชียเช่น สงครามเวียดนาม
สถาบันกษัตริย์ เริ่มมีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้น โดยมีการร่วมมือกับรัฐบาลทหาร เปลี่ยนวันชาติเป็น 5
ธันวาคม
มีการประกาศใช้รธน.2511 (ยุคสายลมแสงแดด) ที่เลียนแบบมาจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน โดยมีการเปิดสภา
กลุ่มนักศึกษาได้เดินขบวนประท้วงเรื่องสงครามเวียดนาม เปิดกว้างทางการเมือง
ถนอมพบว่าการเปิดกว้างทางการเมืองก่อให้เกิดความวุ่นวายแก่ตนมาก ถนอมจึงทำการรัฐประหารตัวเองใน
2514 เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ตัวเองประกาศใช้ แต่กไ็ ม่สามารถหยุดการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศีกษาได้ จนในเวล่ต่อมา
การชุมนุมก็ขยายตัวมากขึ้น จนเกิดเป็น 14 ตุลาคม 2516

14 ตุลา 2516 มหาวิปโยค วันประชาธิปไตย


การรัฐประหารตนเองของถนอม กิตติขจร รวมทั้งการทุจริต การล่าสัตว์ในอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นฉนวนให้เกิด
การผลักดันเคลื่อนไหวเรียกร้อง รธน.ที่เป็นประชาธิปไตย ของกลุ่มนักศึกษา ประชาชน
ช่วงต้นเดือนตุลาคม สมาชิกกลุ่มเรียกร้องปชต. ได้เดินแจกใบปลิวและเรียกร้องรธน. แต่ถูกตำรวจจับดำเนินคดี
ซึ่งการกระทำของรัฐสร้างกระแสความไม่พอใจต่อนักเรียน นักศึกษา ประชาชน จนออกมาเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่
13 ตุลา 2516 : นักศึกษา ประชาชน ได้มาชุมนุมและเดินขบวนครั้งใหญ่ ภายใต้การนำของ ศูนย์กลางนิสิต
นักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) เมื่อตกค่ำ เสกสรร ประเสริฐกุล ได้ข้าวว่ากรรมการศนท. ทีเ่ ดินทางไปเจรจากับรัฐบาล
“ตุย” ซึ่งเป็นข่าวไม่จริง เสกสรร จึงเคลื่อนขบวนไปยังวังสวนจิตรลดา เพื่อหวังเอาพระบารมีเป็นที่พงึ่ ขบวนชุมนุมได้ปัก
หลังหน้าสวนจิตร ทั้งคืน
รุ่งเช้า 14 ตุลา 2516 : ขณะที่กำลังสลายฝูงชน ตำรวจปราบจลาจลพร้อมอาวุธครบมือได้เข้าโจมตีผู้ชุมนุม

ตอนเย็น 14 ตุลา 2516 : ถนอม กิตติขจร ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งนายก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ขอให้


ทุกฝ่ายยุติความรุนแรง และทรงแต่งตั้ง สัญญา ธรรมศักดิ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีพระราชทาน (ถนอมลาออก สัญญา
ธรรมศักดิ์ขึ้นมาแทน)

การเมืองระหว่าง 14 ตุลา กับ 6 ตุลา


หลัง 14 ตุลา 2516 : สัญญาธรรมศักดิ์ พยายามปกครองประเทศด้วยระบอบปชต. แต่ด้วยปัญหาในประเทศ
หลายๆอย่าง เช่น ปัญหาเงินเฟ้อ ความเดือดร้อนของชาวนา ความยากจนของประชาชน วิกฤตเศรษฐกิจ ก็เกิดการ
ประท้วงขึ้นโดยประชาชน จน สัญญา ธรรมศักดิ์ก็ลาออกในทีส่ ุด
หลังสัญญา ลาออก ก็มีการเลือกตั้งใหม่ แล้วก็เกิดการสลับตำแหน่งระหว่าง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และ ม.ร.ว.คึก
ฤทธิ์ ปราโมช ท้ายสุด เสนีย์ ปราโมช ก็ได้ขึ้นเป็นนายกแทน จนกระทั่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม
นอกจากปัญหาภายในประเทศแล้ว การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกาก็เป็นประเด็นสำคัญในการ
เคลื่อนไหวทางการเมือง
ในหมู่ปัญญาชนและนักศึกษา อุดมการณ์สังคมนิยมก็ได้ขยายตัวขึ้น ประกอบกับการปฏิวัตไิ ปสู่ สังคมนิยมใน
กัมพูชา เวียดนาม และการยกเลิกสถาบันกษัตริย์ในลาว (สร้างความวิตกให้กษัตริย์ไทย และกลุ่มนิยมเจ้า และ กลุ่ม
อนุรักษย์นิยมในไทย)
ฝ่ายอนุรักษ์นิยมมองว่าการชุมนุมจะทำให้ฝ่ายตนนั้นเสียประโยชน์ เลยได้เหมารวมพวกการเคลื่อนไหวต่าง ๆ
ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และเห็นว่ารบ.เอนเอียงไปตามเสียงของนักศึกษามากไป จึงได้ใช้ความรุนแรงตอบโต้เพื่อสร้าง
เสถียรภาพในประเทศ ไม่วา่ จะจัดตั้งองค์กรฝ่ายขวาเพื่อป้ายสีนักศึกษา ใช้ความรุนแรง ปิดกั้นข้อมูล และผลิตโฆษณาชวน
เชื่อ

6 ตุลา 2519 การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


เมื่อฝ่ายนักศึกษาถูกคุกคามอย่างหนักและขบวนการได้อ่อนกำลังลง กลุ่มชนชัน้ นำจึงเอา ถนอม กิตติขจร
กลับเข้าประเทศอีกครั้ง (19 กันยา 2519) ขบวนนักศึกษาที่นำโดย ศนท. และแนวต่อต้านเผด็จการแห่งชาติก็เรียกร้องให้
ถนอมขึ้นศาล และประชุมสภาก็ลงมติคัดค้านการกลับมาของถนอมเช่นกัน แต่นายก เสนีย์ ปราโมชก็ทำไรไม่ได้อะ TT
เย็น วันที่ 6 ตุลา 2519 “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” นำโดย สงัด ชะลออยู่ ได้ยึดอำนาจแล้วล้มล้างปชต.
แล้วให้ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี (มีการปราบปรามฝ่ายซ้ายอย่างรุนแรง)ฃ
ประชาธิปไตยครึ่งใบ คือ? (ถึงหน้า23)

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 2523-2531 (เป็นนายกคนกลาง มียังเติก กับกองทัพหนุนอยู่)


หลังพลเอกเกรียงศักดิ์ได้ลาออกจากตำแหน่งนายก (2523) รัฐสภาก้ได้เชิญพลเอกเปรมมารับตำแหน่
นายกคนถัดมา
- พลเอกเปรมได้ตั้งรัฐบาลผสมขึ้นมาภายใต้การสนับสนุนของพรรคการเมืองต่างๆ ในสภา แต่ก็มีการยุบสภา
บ่อยครั้ง (ยุบสภาแล้ว พลเอกเปรมก็ยังคงเป็นนายกคนต่อไปเหมือนเดิม)
- พลเอกเปรม ดำรงตำแหน่งอยูไ่ ด้เพราะรัฐธรรมนูญ 2551
- ส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจด้วยการเน้นการส่งออกเพือ่ ทดแทนการนำเข้า เน้นอุตสาหกรรมในประเทศ
- นายกรัฐมนตรียืนเป็นหอคอยการเมือง ไม่ยุ่งพรรคการเมือง
- พลเอกเปรมขัดแย้งกับกลุ่มยังเติร์ก แล้วก็มีความขัดแย้งจากพลเอกอาทิตย์ที่ผลักดันให้แก้รัฐธรรมนูญ
- มีการยุบสภาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาหลายครั้ง
- กบฎยังเติร์ก (ที่เคยหนุนหลังพลเอกเปรม) 2524 พยายามจะยึดอำนาจจอมพลเปรม แต่ก็ทำไม่สำเร็จ
การศึกษาระบบการเมืองประชาธิปไตยครึ่งใบสะท้อนให้เห็นถึงบทบาททางการเมืองที่ยังคงให้ทหารนั้นมายุ่งกับการเมือง
(เหมือนอีตู่อีดอก บอกเป็นประชาธิปไตย ส้นตีนไร) โดยให้ทหารมานั่งตำแหน่งสำคัญๆ มากกว่านักการเมือง และส่วนมาก
มักใช้อำนาจนิยมมากกว่าสภาถ่วงดุลอำนาจตรวจสอบการบริหารประเทศ
ช่วงนัน้ กับช่วงคสช มีความเหมือนกันคือมีความเป็นปชต.ครึ่งใบ แต่ต่างกันที่บทบาทของกองทัพแตกต่างกัน เมื่อก่อน
เด่นชัดมาก ตอนนี้ไม่เด่นชัด
ชาติชาย ชุณหะวัน (ยุคประชาธิปไตยเต็มวัย)
พลเอกชาติชาย เป็นนายกคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้สังกัดพรรคชาติไทย
- มีนโยบาย เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามค้า (นโยบายเศรษฐกิจส่งเสริมการค้าลงทุนจากตปท.) ทำให้เอกชน
อยากทำงานกับรัฐมากขึ้น
- ระบบสื่อสาร โทรคมนาคม ขนส่ง ก็เกิดในรบ.นี้แหละ
- ประเทศไทยถูกคาดการณ์วา่ จะเป็นเสือตัวที่ 5
- แต่ท้ายที่สดุ แล้วก็เกิดความขัดแย้งระหว่างพวกทหารด้วยกันเอง จึงเกิดการปฏิวัติรัฐบาลเช่นเคย
- รสช. (คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) ได้ทำการรัฐประหารพลเอกชาติชาย โดยให้สาเหตุคือ
1. รัฐบาลมีการทุจริต 2. นักการเมืองใช้กำลังกดขี่ข่มเหงข้าราชการ 3.รบ.ครอบงำรัฐสภาและก่อให้เกิด
ความแตกแยกกับทหารกันเอง 4.รบ.บิดเบือนคดีล้มล้างพระมหากษัตริย์

พลเอกสุจินดา คราประยูร (การเกิดพฤษภาทมิฬ)


ตอนแรกพลเอกสุจินดาไม่ได้อยากเป็นนายก แต่ท้ายที่สุดก็ได้เป็น ทำให้กลุ่มประชาชน กลุ่มการเมืองกดดันให้พล
เอกสุจินดาลาออก แต่เขาก็ดึงดัง(โอ๋ใจเอ๋ย) ไม่ยอมออก จนเกิดความตรึงเครียดมากเลยทำให้ประชาชนออกไปประท้วงที่
ถนนราชดำเนินซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่าพฤษภาทมิฬ สิน้ สุดหลังพลเอกสุจินดา ลาออก ส่งผลให้บรรยากาศบ้านเมืองเบาลง
คลายความตรึงเครียด เกิดการแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองมากขึ้น
รธน.ฉบับ 2534 เริ่มให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น ให้สิทธิเสรีภาพแก่นักการเมือง มีเปิดอภิปรายไม่
ไว้วางใจรัฐมนตรีได้

การเมืองการปกครองไทยยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ถือว่าตกอยู่ภายใต้การครองอำนาจของกลุม่ ทหาร ข้าราชการ และ


นักการเมือง โดยรบ.ของ พลเองเกรียงศักดิ์ พลเอกเปรม พลเอกชาติชาย พลเอกสุจินดา (ทั้ง 4 เป็นทหารหมด) และอยู่
ภายใต้รบ.ทหารมาเกือบ 20 ปี แต่ก็ไม่ได้เสถียรภาพอะไรเลย มิหนำซ้ำยังแสดงให้เห็ยถึงความไร้สเถีนรภาพของรบ.ทหาร
อีกด้วย
ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ
รธน.แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521 เกิดจากการพยายามประนีประณอมระหว่างดุลยภาพของทหารที่ยัง
ต้องการอยู่ในอำนาจ กับ ฝ่ายพลเรือนที่ต้องการเข้ามามีอำนาจ หรือเป็นการประนีประณอมระหว่างภาคราชการกับภาค
การเมือง รธน.ฉบับ2521 คือสิ่งที่ยังทำให้พวกฝ่ายราชการและฝ่ายทหารยังสามารถคุมหัวใจของการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็
ไม่ได้หมายความว่าภาคอื่นๆ ไม่สามารถเข้ามาท้าทายได้ ซึ่งก็สังเกตุเห็นได้ชัดใน ยุค ของ พลเอก เปรม ว่าด้วยการมีกบฏ
ที่พยายามจะล้มล้างการปกครองของรัฐบาลชุดนี้ เป็นจำนวนหลายรอบ

การเมืองหลังปชต.ครึ่งใบ (พลัง 2522)


นักการเมืองได้หันมาใช้ระบบพรรคการเมืองเพื่อนำตนเข้าสู่สภา แต่พวกทหารก็ยังปรับตัวเอาตนเองเข้าสู่สภาโดย
การสร้างพรรคการเมือง สมัยหลังประชาธิปไตยครึ่งใบ ทำให้ระบบพรรคการเมืองได้กลายเป็นเวทีศูนย์กลางในการแข่งขัน
ทางการเมือง และส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง และปกป้องผลประโยชน์ของปชช.ทัง้ ประเทศ อีกทั้งยัง
สามารถตรวจสอบรบ.ได้
ความหมายของ Absolute Monarchy : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ: Absolute Monarchy) คือ ระบอบการ
ปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย
กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย[1] กษัตริย์มีอำนาจใน
การปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทาง
ศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นัน้ จะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรม
เนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิ
ปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทาง
สายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝกึ ฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด
รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย
ความหมาย : รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย เป็นมโนทัศน์ที่นำเสนอโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ ปรากฏครั้งแรกภายหลังเหตุการณ์
รัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) อันมีพล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นผู้นำยึดอำนาจการปกครองรัฐบาล
พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน ในปี พ.ศ. 2534 เพื่ออธิบายว่ารัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษรเป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับสังคมการ
เมืองไทย เพราะไม่ได้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองไทยที่เป็นอยูจ่ ริง[1] ไม่ศักดิส์ ิทธิ์และไม่ได้เป็นข้อกำหนดสูงสุดแท้จริงจึงถูก
ฉีกได้ง่ายกระทั่งมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 13 ฉบับ (นับถึงปี 2534)[2] แต่สังคมไทยมี “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม” ซึ่งผูกร้อย
สัมพันธภาพทางอำนาจไว้อย่างแน่นแฟ้นผ่านสถาบันต่างๆในสังคม ข้อกำหนดซึ่งเกิดขึ้นจากการที่บุคคลและสถาบันต่างๆ ได้ต่อสู้
ช่วงชิงและธำรงรักษาอำนาจจนเกิดการยอมรับร่วมกันในระดับหนึ่งกลายเป็นวัฒนธรรมการเมือง อันถือเป็นข้อกำหนดสูงสุด
แท้จริงที่สังคมไทยและรัฐไทยยึดถือ ทั้งยังศักดิ์สิทธิ์ล่วงละเมิดมิได้
ลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ (constitution) ถือเป็นชุดของกฎกติกา/ข้อกำหนดสูงสุดของชุมชนทางการเมือง ซึ่งจัดวางสัมพันธภาพทาง
อำนาจระหว่างบุคคลและสถาบันต่างๆ ในสังคมการเมือง[4] รัฐธรรมนูญจึงเป็นข้อปฏิบตั ิในเชิงสถาบันซึ่งกำหนดแบบแผนความ
ประพฤติขององค์กรทางการเมืองให้เป็นไปในทิศทางที่ประชาชนสามารถคาดการได้ถึงความเป็นไป การสามารถเข้าถึง/เข้าใจ
รัฐธรรมนูญมากจากการสามารถศึกษาได้ เนื่องเป็นกฎกติกาที่บังคับใช้เป็นการทั่วไป โดยประชาชนผู้ถกู ปกครองรับรู้ร่วมกันถึงการ
มีอยู่ของแบบแผนการปกครองเหล่านั้น ทั้งยังปรากฏเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของรัฐธรรมนูญ เช่น
Magna Carta (1215) Petition of Rights (1629) Bill of Rights (1688) เพราะเอกสารเหล่านีล้ ้วนบรรจุไปด้วยอุดมคติทาง
การเมืองที่จะเป็นเสมือนเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ (spirit of the law) คอยกำหนดทิศทางความเป็นไปในการก่อร่างสร้าง
รูปการปกครองขึ้นมา
จารีตการศึกษารัฐธรรมนูญยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสามารถแบ่งรัฐธรรมนูญออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ กล่าวคือ
รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร (written constitution) และรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (unwritten constitution) หรือ
รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี [5] ประเภทแรกเป็นประดิษฐกรรมทางการเมืองของโลกสมัยใหม่ นับตั้งแต่การปฏิวัติอเมริกา ค.ศ.
1776 อันส่งอิทธิพลต่อการก่อรูปความคิดแบบรัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) เพื่อจำกัดอำนาจผู้ปกครอง ประเภททีส่ อง
เป็นจารีตประเพณีการปกครองทีส่ ืบทอดส่งต่อมาอย่างยาวนานในช่วงเวลาประวัติศาสตร์นับแต่แรกเมื่อมนุษย์เริม่ มีชุมชนทาง
การเมือง ในบริบทการเมืองไทยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ก็ปรากฏรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีในรูปการปกครองที่
มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางของชุมชนทางการเมือง ซึ่งทรงปกครองภายใต้คติความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างพุทธและพราหมณ์
เข้าด้วยกัน โดยถือว่าคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นกฎหมายสูงสุดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พระมหากษัตริย์ครองตนในฐานะสมมติ
ราชปกครองแผ่นดินโดยธรรมและสงบเรียบร้อย[6]
การเปลีย่ นแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ก็คือ การสถาปนารัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการขึ้นครั้งแรก
(แม้ก่อนหน้านั้นจะมีความพยายามยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นแล้วภายใต้รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)[7] ต่อมาถึงแม้
จะมีการประกาศใช้และล้มล้างรัฐธรรมนูญไปแล้วหลายฉบับแต่กไ็ ม่ได้หมายความว่าจะปราศจากความสืบเนื่องในประเพณีการ
ปกครองแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เพราะรัฐธรรมนูญจารีตประเพณียังคงเป็นฐานรากที่ยังผลให้การเมืองไทยมีเสถียรภาพตั้งมั่นอยูไ่ ด้ การมี
รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรมาแล้วหลายฉบับจึงหมายความได้เพียงว่ารัฐธรรมนูญที่ถูกเขียนขึ้นรายมาตราไม่ได้สอดคล้องกับจารีต
ประเพณีการปกครองเท่านั้น การฉีกรื้อรัฐธรรมนูญเพื่อร่างใหม่อยู่สม่ำเสมอในประวัตศิ าสตร์การเมืองไทยจึงสะท้อนให้เห็นการขับ
เคี้ยวต่อสู้ช่วงชิงความหมายระหว่างรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรและรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี ในแง่นี้ “รัฐธรรมนูญฉบับ
วัฒนธรรมไทย” ก็คือมิติหนึ่งของรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีนั่นเอง
รายละเอียดของรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย
การทำความเข้าใจรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย จำเป็นต้องพิจารณาถึงภาคปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ (constitutional
practice) ที่เกิดขึ้นเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นจริงในสังคมการเมือง มากกว่าที่จะพิเคราะห์ถึงตัวบทกฎหมายที่ร่างขึ้นรายมาตรา ที่จะ
ศึกษารัฐธรรมนูญในเชิงการตีความที่เน้นไปที่การวิเคราะห์ตัวบทรัฐธรรมนูญและเอกสารทางกฎหมาย กล่าวได้ว่าเป็นการทำความ
เข้าใจรัฐธรรมนูญที่เป็นจริง (real constitution) ซึ่งสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปกครองบ้านเมืองที่เป็นอยู่จริง[8] โดยมีสถาบัน
สำคัญๆ ทำหน้าที่ส่งผ่านอันก่อให้เกิดความต่อเนื่องในประเพณีการปกครอง
สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษรจะเขียนไว้อย่างไร รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย
กำหนดให้สถาบันพระมหากษัตริยเ์ ป็นสิ่งล่วงละเมิดมิได้ ทั้งยังศักดิ์สทิ ธิ์และมีวัตรปฏิบตั ิของตนเอง วัฒนธรรมไทยเชื่อว่า
พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจลึกลับและทรงมีฤทธิ์บางประการสามารถจรรโลงโลกให้เป็นปกติสุข อย่างไรก็ตามแม้จะมีบุคคลอัน
เป็นที่นิยมกว่าพระมหากษัตริยไ์ ด้ แต่ไม่มีใครจะศักดิส์ ิทธิไปกว่าพระมหากษัตริย์เป็นอันขาด การสืบสันตติวงศ์จึงเกิดขึ้นได้ก็ด้วย
บุคคลที่เป็น “เจ้า” เท่านั้น (หรืออย่างน้อยก็มีเชื่อสาย “เจ้า” อยู่ในสายเลือด) แม้สถาบันพระมหากษัตริย์จะมั่นคงเพียงใด แต่หาก
ประพฤติปฏิบัติไม่ตรงตามความคาดหวังของกลุ่มชนชั้นนำด้วยกันก็ไม่อาจรักษาสถานะตำแหน่งไว้ได้ จึงปรากฏว่าในอดีตพระ
ญาติ-ชนชั้นนำมักรวบรวมขุนนางและผูค้ นมาแย่งชิงราชสมบัติซึ่งจะจบลงอย่างรวดเร็ว การช่วงชิงอำนาจในชุมชนทางการเมืองไทย
จึงเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อยตราบใดที่ไม่ขัดรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย ผลทีส่ ุดก็คือ การรัฐประหารยึดอำนาจของทหาร
เรื่อยมาภายหลังเปลีย่ นแปลงการปกครอง 2475 จึงถือเป็นวิธีการหนึ่ง (ซึ่งเทียบเท่าและอาจมีประสิทธิภาพมากกว่า “การ
เลือกตั้ง”) ในการเปลีย่ นตัวผู้นำทางการเมือ
สถาบันพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะบัญญัติให้ไวในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร
อย่างไร แต่พุทธศาสนาก็เป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม ผูม้ ีอำนาจในชุมชนทางการเมืองไทยจะมีอำนาจโดย
ชอบก็ต่อเมื่อเกื้อหนุนโดยวัตรปฏิบัติที่เป็นไปตามหลักพุทธธรรม ศาสนาพุทธจึงมีสถานะพิเศษเหนือกว่าศาสนาอื่นๆ ซึ่งแทรกซึม
แผ่ซ่านไปทุกปริมณฑลของอำนาจนับตั้งแต่พระราชพิธี รัฐพิธี การกำหนดให้วันสำคัญของชาวพุทธเป็นวันหยุดราชการ การนับปี
ปฏิทินตามพุทธศักราช เป็นต้น แม้แต่การกล่าวถึงอุดมการณ์ “ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์” รัฐไทยก็มิได้กล่าวถึง “ศาสนา”
ในความหมายทั่วไปที่พลเมืองสามารถเลือกนับถือได้อย่างเสรี แต่หมายถึงศาสนาพุทธเป็นการเฉพาะเจาะจง ในทางวัฒนธรรม
การเมืองแล้ว รัฐไทยจึงไม่ใช่รัฐฆราวาส (secular state) ซึ่งผ่านกระบวนการปลดปล่อยรัฐออกจากศาสนาโดยสิ้นเชิงเหมือนใน
ยุโรปตะวันตก หากเป็นรัฐพุทธศาสนาที่แสดงออกโดยภาคปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม[10] อำนาจและการคาน
อำนาจ
วัฒนธรรมการเมืองไทยถือว่าอำนาจแบ่งแยกมิได้ แม้แต่อำนาจทางโลกและอำนาจทางธรรม ในลำดับชั้นสูงของผู้ถือ
ครองอำนาจคือพระมหากษัตริย์ผสู้ ั่งสมบุญญาบารมี เมื่อพระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุดในทางธรรมก็ย่อมมีพระอำนาจสูงสุดในทาง
โลกตามไปด้วย การที่อำนาจเป็นหนึ่งเดียวเช่นนี้ส่งผลให้คนไทยมักหลีกหนีจากอำนาจ (ที่มีกฎหมายและประเพณีรองรับ) ด้วย
ข้อจำกัดอำนาจในสองทาง ในด้านหนึ่งราษฎรมักเข้าหา “อิทธิพล” (อำนาจที่ไม่มีกฎหมายและประเพณีรองรับ) เพื่อคัดคานและ
ต่อรองกับอำนาจของผู้ปกครอง ในอีกด้านหนึ่งก็ใช้ “ศีลธรรม” จำกัดอำนาจที่ชอบธรรมตามกฎหมายและประเพณี ราษฎรจึง
คาดหวังให้ผู้มีอำนาจ (ตั้งแต่ลำดับชั้นสูงสุดมาจนถึงลำดับต่ำสุด) แสดงออกซึ่งอาการทางศีลธรรม มากกว่าที่จะเป็น “คนดีมี
ศีลธรรม” ในความหมายที่แท้จริง รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมจึงมีขอ้ กำหนดให้อิทธิพลและอาการภายนอกทางศีลธรรมเป็น
เครื่องมือจำกัดอำนาจของผู้ปกครอง[11]
กองทัพการแบ่งปันอำนาจในสังคมการเมืองไทย กองทัพมักจะได้สว่ นแบ่ง “อำนาจ” น้อยนิดเสมอ เพราะการปฏิบัติการ
ใดก็ตามขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้อื่น แต่กองทัพมี “อิทธิพล” มากล้น เพราะกองทัพมีตำแหน่งแหล่งที่เป็นส่วนหนึ่งในระบบ
ราชการที่แผ่ขยายไปทั่วอาณาบริเวณของประเทศ จึงไม่ถูกจำกัดอิทธิพลด้วยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์เหมือนผู้นำท้องถิ่น (ซึ่งมีอิทธิพล
อยู่ในวงจำกัด) ประชาชนไทย (โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ) จึงสนับสนุนอิทธิพลของกองทัพเพื่อจำกัดอำนาจที่เป็นทางการ ทหารจึง
เป็นที่รักของคนไทยมากกว่าข้าราชการประเภทอื่นๆ เพราะทหารถูกมองว่าเป็น “ลูกพี่” มากกว่าเป็น “นาย” แต่หากจะใช้อิทธิพล
เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวบ้างก็เป็นเรื่องยอมรับได้ตราบใดทีส่ ามารถปกป้องตัวในกรณีที่จำเป็นได้ อย่างไรก็ตามเมื่อใดที่ทหารเข้ากุม
“อำนาจ” ของบ้านเมืองไว้ เช่น รัฐประหารยึดอำนาจและดำรงตำแหน่งบริหารประเทศเสียเอง ความนิยมต่อทหารก็จะลดน้อยถอย
ลง เพราะเท่ากับว่าทหารมีทั้งอำนาจมากล้นและอิทธิพลล้นเหลือที่สามารถใช้ระบบราชการเป็นกลไกลในการปกครองประเทศ ใน
แง่นี้ประชาชนจึงไม่สามารถอาศัยอิทธิพลของทหารเพื่อหลีกหนีจากอำนาจได้อีกต่อไป รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทยจึงนิยมให้
ทหารมี “อิทธิพล” มากแต่ “อำนาจ” น้อย[12]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแม้รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรจะบัญญัติให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่พิจารณาตรา
กฎหมายและตรวจสอบติดตามการทำงานของรัฐบาล แต่รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมกำหนดให้ ส.ส. มีและใช้ “อิทธิพล” เป็น
หน้าที่หลัก การให้ ส.ส. ถืออำนาจนิติบัญญัติจึงไม่สำคัญมากเท่ากับเป็นผู้มีอิทธิพลซึ่งราษฎรหวังพึ่งพาในการกดดัน ต่อรอง และ
วิ่งเต้นกับผู้มีอำนาจแทนประชาชน สำหรับอิทธิพลที่ ส.ส. ใช้นั้นก็มงุ่ เน้นไปในทิศทางที่ทำเพื่อผู้อื่นสำหรับเป็นฐานความนิยมให้
ได้รับเลือกตั้ง และมุ่งไปในทิศทางเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้องสำหรับเป็นฐานทางเศรษฐกิจให้ได้รับเลือกตั้งเข้ามา
อีกครั้ง ส.ส. คนเดียวถือว่ามีอิทธิพลสมบูรณ์สูงสุดมากกว่าทหารคนเดียว ราษฎรจึงนิยมเข้าหาได้ ส.ส. มากกว่าทหาร การเลือกตั้ง
เป็นเครื่องมือรับประกันว่าราษฎรจะสามารถเลือก “ผู้มีอิทธิพล” (ส.ส.) ได้ด้วยตนเอง ทั้งยังมีวาระการดำรงตำแหน่งซึ่งรับประกัน
ว่าจะสามารถเข้าหาได้ง่าย กล่าวได้ว่าอิทธิพลที่ตนเองเลือกเป็นอิทธิพลที่สามารถใช้ประโยชน์ได้และพอจะควบคุมได้ ในแง่นี้
ปรากฏการณ์ทผี่ ู้สมัคร ส.ส. กราบกรานและแจกเงินซื้อเสียงจึงเป็นเครื่องยืนยันใน “อธิปไตย” ของปวงชนชาวไทยในความเป็นจริง
[13]

กฎหมาย วัฒนธรรมการเมืองไทยสนับสนุนให้ทั้ง “อิทธิพล” และ “อำนาจ” ดำรงอยู่คู่กัน แต่อาศัยใช้อย่างหนึ่งคัดคาน


อีกอย่างหนึ่งอยู่เสมอ ในยุคที่เศรษฐกิจขยายตัวจนผู้มีอิทธิพลกลุม่ ต่างๆ สามารถประสานเข้าหากันได้อย่างแนบแน่น ประชาชนจึง
ไม่อาจอาศัยอิทธิพลที่ใหญ่กว่าจัดการอิทธิพลที่สร้างปัญหาให้ตัวได้งา่ ยนัก คนไทยจึงมักอาศัยอำนาจทีม่ ีกฎหมายและประเพณี
รองรับมาคานอิทธิพลมากขึ้น เนื่องจากอำนาจมีฐานพลังมาจากกฎหมาย คนไทยจึงเชื่อความ “ศักดิ์สิทธิ์” ในการดำรงคงอยู่ของ
กฎหมาย ผู้มีอิทธิพลและมีอำนาจในระบบถูกคาดหวังให้ “แสดงออกถึงการเคารพกฎหมาย” แม้ว่าในความเป็นจริงจะละเมิดข้อ
ปฏิบัติทางกฎหมายเป็นครั้งคราวก็ตาม ดังปรากฏว่ากฎหมายประเภทประมวลกฎหมายต่างๆ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
ระเบียบกรม ล้วนดำรงอยู่อย่างมัน่ คงยิ่งในสังคมไทยถึงขนาดที่บางฉบับขัดกับรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร เพราะการล้มล้าง
รัฐธรรมนูญไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหามากเท่ากับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายลำดับชั้นรองลงมา ซึ่งถือเป็นตำแหน่งแหล่งที่อันทำให้พลัง
“อำนาจ” ตั้งมั่นอยู่ได้เพื่อคาน “อิทธิพล”[14]
ตุลาการในอุดมคติของสังคมไทยถือเป็น “อำนาจ” ที่บริสุทธิ์ปราศจากการแฝงเร้นของ “อิทธิพล” ใดๆ เมื่ออำนาจตุลา
การเป็นอำนาจบริสุทธิ์แล้ว ผู้ถืออำนาจก็คือ ผู้พิพากษา จึงถูกมองว่ามือสะอาดและมีความเป็นธรรมทีส่ ุดในกระบวนการยุติธรรม
ทั้งหมด ประชาชนไทยจึงมักอุ่นใจเมื่อคดีความสามารถขึ้นสู้ชั้นศาลได้ เพราะอย่างน้อยก็สามารถรับประกันได้ว่าจะไม่ถูก
“อิทธิพล” เข้ามาแทรกแซงข้อพิพาทขัดแย้งกันได้ อย่างไรก็ตามการนำคดีขึ้นสู่ศาลก็เป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการจัดการความ
ขัดแย้งของสังคมไทยเท่านั้น ศาลจึงมีฐานะเป็นเพียงเครื่องมือสำหรับใช้เจรจาต่อรองกับคู่ขัดแย้งของตนเอง ในการรัฐประหารทุก
ครั้งจึงเห็นได้ว่าคณะผู้ก่อการมิได้แสดงให้เห็นความมุ่งมาดปรารถนาที่จะยุ่งเกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการศาลทีด่ ำรงอยู่แต่
อย่างใด เพราะรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมกำหนดให้กฎหมายและศาลเป็น “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” กล่าวคือ เป็นอำนาจบริสุทธิ์ที่สามารถใช้
จำกัดจัดการ “อิทธิพล” ได้[15]
รัฐธรรมนูญ (Constitution)ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ดังนั้นจึงถือว่าวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ
รัฐบาลให้หยุดราชการได้ 1 วัน มีบทบัญญัติรวม 68 มาตรา ประกอบด้วยบททั่วไปและหมวดต่าง ๆ อีก 7 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 พระมหากษัตริย์ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม หมวด 3 สภาผู้แทนราษฎร หมวด 4 คณะรัฐมนตรี
หมวด 5 ศาล หมวด 6 บทสุดท้าย และหมวด 7 การใช้รัฐธรรมนูญ และบทเฉพาะกาล มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนี้โดยบทบัญญัติแห่ง
รัฐธรรมนูญ ทรงใช้อำนาจนิตบิ ญ ั ญัติทางสภาผู้แทนราษฎร อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการทางศาล
และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจยุบสภาผู้สภา ผู้แทนราษฎร พระบรมวงศานุวงศ์ตงั้ แต่ชนั้ หม่อมเจ้าขึ้นไป ดำรงตำแหน่งอยู่ใน
ฐานะเหนือการเมือง คือไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องกับการเมือง
2.บุคคลมีความเสมอภาคและเสรีภาพสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้เสรีภาพนัน้ ต้องไม่ละเมิดต่อบุคคลอื่น
3.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปีมีหน้าทีบ่ ัญญัติกฎหมายและ
ควบคุมฝ่ายบริหาร มีสิทธิทจี่ ะลงมติไว้วางใจรัฐมนตรีรายตัวหรือคณะ
4.คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ประกอบด้วย
4.1 นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรี 14 คน ซึ่งเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
4.2 รัฐมนตรีนอกเหนือจากข้อ 4.1 ให้เลือกจากผู้มีความชำนาญพิเศษอื่น ๆ ไม่ต้องเป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ บุคคลในข้อนี้มีสิทธิเข้าร่วมประชุมในสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่มีสทิ ธิออกเสียง
ลงคะแนนคณะรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในทางรัฐธรรมนูญ และต้องออกจากตำแหน่งเมื่อสภา
ผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจเป็นคณะ
5.ศาล มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดี
6. บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดๆ มีข้อความแย้งหรือขัดแก่รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าบทบัญญัตนิ ั้น ๆ เป็นโมฆะ สภา
ผู้แทนราษฎรเป็นผู้ทรงไว้ซงึ่ สิทธิเด็ดขาดในการตีความแห่ง รัฐธรรมนูญนี้ การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มาจากคณะรัฐมนตรี
หรือมากจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
7.การใช้รัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล กล่าวไว้วา่ เมื่อราษฎรผูม้ ีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งยังมีการศึกษาไม่จบ
ประถมศึกษาสามัญมากกว่ากึ่งจำนวนทั้งหมด และอย่างช้าต้องไม่เกินกว่าสิบปี นับแต่วนั ใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการ
ปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท มีจำนวนเท่ากันคือ
สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากผู้ที่ราษฎรเลือกตั้ง
สมาชิกประเภทที่ 2 ได้แก่ผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้นานถึง 14 ปี มีการแก้ไขเพิ่มเติมถึง 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ พุทธศักราช 2482 ให้เรียกว่าประเทศไทย และบทแห่ง
รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ใช้คำว่า “สยาม” ให้ใช้คำว่า “ไทย” แทน
ครั้งที่ 2 รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล พุทธศักราช 2483 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ยึดอายุเวลาการมีสมาชิกประเภทที่ 2 ออกไปเป็น 20 ปี
ครั้งที่ 3 รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2485 ให้ยกเลิกความ
ในมาตรา 18 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ถ้ามีเหตุขัดข้องทำการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ เมื่อ
อายุสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบสี่ปีแล้วใช้ขยายเวลาเลือกตั้งออกไปเป็นคราวละไม่เกินสองปี
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ไม่มบี ทบัญญัติห้ามข้าราชการประจำยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จึงเป็นผลให้บคุ คลสำคัญของ
คณะราษฎรที่เป็นข้าราชการประจำ สามารถเข้าคุมตำแหน่งทาง การเมืองทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและในคณะรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญไม่รับรองสิทธิในการตั้งพรรคการเมืองจึงทำให้ไม่สามารถรวมพลังเพื่อเสรีภาพในเรื่องอื่น ๆ ได้ รัฐบาลยังได้
ออกพระราชบัญญัติป้องกันรัฐธรรมนูญ มีผลให้บุคคลจำนวนหนึ่งถูกจับกุมและลงโทษเพราะละเมิดพระราชบัญญัติ
ดังกล่าว
รัฐธรรมนูญ (Constitution)ฉบับที่ 15 รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
ประกาศใช้ ณ วันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2534 มีทั้งหมด 223 มาตรา แบ่งเป็น 11 หมวด และบทเฉพาะกาล มี
สาระสำคัญดังนี้
1.รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา ประธานสภา
ผู้แทนราษฎรเป็นรองประธานรัฐสภา
2.วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง มีจำนวน 270 คน มีวาระละ 6 ปี เมื่อครบ 3 ปี ให้
จับสลากออกครึ่งหนึ่ง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งสมาชิกจำนวนที่ต้องออกไปเข้าแทนที่ ปีที่ 6 สมาชิกที่เหลือจาก
การจับสลากให้พ้นตำแหน่ง และจะมีการแต่งตั้งสมาชิกจำนวนเท่าที่ออกไปเข้ามาแทนที่ทุก ๆ 3 ปี
3. สมาชิกวุฒสิ ภา ต้องไม่รบั สัมปทานจากรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นคู่สัญญาของรัฐ ยกเว้นได้รับสัมปทานหรือ
เป็นคู่สัญญาอยู่ก่อนการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
4.สมาชิกวุฒสิ ภา ต้องไม่เป็นสมาชิกหรือที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเป็นสมาชิก สภาท้องถิ่น
5.สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 300 คน ซึ่งราษฎรเลือกตั้งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง
พรรคเดียวซึ่งพรรคนั้นจะต้องส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 120 คน และในแต่ละเขตเลือกตั้ง พรรคการเมือง
ต้องส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งให้เท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น
6.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 180
วัน นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง หรือเคยเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดทีส่ มัครรับ
เลือกตั้ง มิฉะนั้นอาจเป็นผู้ที่กำเนิดในจังหวัดนั้น หรือเคยได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา ในสถานศึกษาทีต่ ั้งอยู่
ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
7.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องไม่ดำรงตำแหน่งในหน่วยราชการ ในรัฐวิสาหกิจเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ
ผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งไม่รับสัมปทานจากรัฐ จากรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นคู่สัญญาของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่รับเงินผลประโยชน์
ใด ๆ จากรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ นอกเหนือไปจากที่หน่วยงานนัน้ ๆ ปฏิบัติต่อบุคคลอืน่ ทั้งนี้ไม่ให้ใช้บงั คับถ้าได้รับสัมปทาน
หรือเป็นคู่สัญญาอยู่ก่อนได้รับเลือกตั้ง
8.วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน มีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี
9.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 มีสทิ ธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติ
ไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีหรือเป็นรายบุคคลหรือคณะได้ มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทัง้ หมด
10.สมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่นอ้ ยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมด มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป
ให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงได้ แต่ลงมติไม่ได้
11.คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 48 คน รัฐมนตรีมีอายุไม่ต่ำกว่า 30
ปีบริบูรณ์ ต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ ตัวแทน หรือลูกจ้างของบุคคลหรือหน่วยงานเอกชน ทีด่ ำเนินธุรกิจเพื่อการค้า
กำไร
12.คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาโดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ
13. คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลฎีกา
อัยการสูงสุด และผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์หรือสาขารัฐศาสตร์อีก 6 คน ซึ่งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งสภา
ละ 3 คน

ข้อสอบปีที่แล้ว
1. มีเหตุการณ์ใดที่สะท้อนให้เห็นว่ามีความเติบโตด้านพรมแดนความรู้ ความคิดกระแสก้าวหน้า หรือความ
ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชน์ ให้ยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย จำนวน 4
ปรากฏการณ์
เหตุการณ์ที่ 1 เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งก็คือคำกล่าวบังคมทูล ร.ศ.103 จากกลุ่มเชื้อพระวงศ์และขุน
นางชั้นสูงที่ทำงานด้านการทูต ซึ่งพวกเขาเหล่านี้แน่นอนว่าต้องผ่านการศึกษาในระดับสูง อาจจะได้รับความรู้ด้าน
การปกครองระบอบใหม่ๆ จากตะวันตกมา แล้วเห็นว่าเป็นระบอบที่จะส่งผลดีต่อประเทศสยาม พวกเขาเลยมอบ
คำกล่าวบางคมทูล โดยที่ต้องการที่จะให้สยามนั้นเปลี่ยนจากระบอบ Absolute monarchy
(สมบูรณาญาสิทธิราชย์) ไปเป็น Constitutional monarchy (ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ)
เหตุการณ์ที่ 2 เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งก็คือเหตุการณ์กบฎ ร.ศ.130 จากนายทหารรุ่นใหม่ที่ต้องการ
ที่จะลดทอนอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยเป้าหมายของพวกเขานั้นอาจจะยังมีไม่แน่ชัดว่าต้องการที่จะ
เปลี่ยนแปลงการปกครองไปในรูปแบบใด ไม่ว่าจะเป็น Republic หรือ Constitutional Monarchy แต่
จุดประสงค์หลักคือการทำให้สยามนั้นมีระบอบการปกครองที่มีอารยะ แต่สุดท้ายแผนการที่จะกระทำการก็ถูก
ทำลายลงเสียก่อน
เหตุการณ์ที่ 3 สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่ 2 ที่เป็นผลมาจากเหตุการณ์ กบฎร.ศ.130 ที่พวกทหารรุ่นใหม่
ต้องการจะล้มล้างการปกครองระบบที่กษัตริย์ถืออำนาจหรือรวมอำนาจไว้แต่เพียงผู้เดียว โดยร.6 นั้นทรงมีพระ
ประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงจากระบอบที่พระมหากษัตริย์นั้นถืออำนาจทุกอย่างให้เปลี่ยนเป็นระบอบที่กษัตริย์อยู่
ภายใต้รัฐธรรมนูญตามแบบอังกฤษ แต่ท้ายที่สุดแล้วประชุมเสนาบดีส่วนใหญ่ที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ไม่เห็นด้วย
โดยอ้างว่าประชาชนไม่พร้อม ไม่มีความรู้เพียงพอ ทำให้ความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงนั้นจบลง
เหตุการณ์ที่ 4 เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งก็คือเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 หรือ ปฏิวัติสยาม เกิด
จากการรวมตัวกันของพวกนักเรียนนอกที่มีความคิดก้าวหน้าที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก Absolute
monarchy ไปเป็น Constitutional monarchy โดยความพยายามที่จะปฏิรูปการปกครองนี้ถือเป็นการกระทำที่
สำเร็จ เหตุการณ์นี้ยังถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองไทยมาจนถึง ณ ปัจจุบัน

ให้นิสิตยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย เหตุการณ์ยึดอำนาจหรือรัฐประหารที่เกิดระหว่าง 2475-2500 โดยเกิดขึ้น


เพื่อต้องการต้านอำนาจของพระมหากษัตริย์ (ต่อสู้กับพวกนิยมเจ้าและกลุ่มเจ้า) จำนวน 2 เหตุการณ์มาพอ
เข้าใจ
เหตุการณ์ที่ 1 เหตุการณ์อภิวัตย์สยาม เป็นเหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความต้องการที่จะพยายามลด
อำนาจของกษัตริย์ลงโดยการให้กษัตริย์นั้นลงไปอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน
2475 จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์นี้ก็คือการรวมกลุ่มกันของนักเรียนนอกหัวก้าวหน้า(คณะราษฎร)ที่มองว่าระบบการ
ปกครองของไทยที่เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเมื่อนานวันไปจะไม่สามารถปรับตัวเข้าได้กับโลกในอนาคต
แล้วจะส่งผลให้บ้านเมืองนั้นพังลง มากไปกว่านั้นคณะราษฎรยังต้องการให้ประเทศนั้นเป็นของประชาชน ทุกคน
ต้องได้รับความเท่าเทียม รวมไปถึงก่อนการปฎิวัติ2475 อำนาจทางการเมืองนั้นมีการกระจุกตัวอยู่กับพวกชน
ชั้นสูง ทำให้พวกคณะราษฎรนั้นมองว่ามันถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำการปฏิรูปการปกครองจาก Absolute
monarchy ให้เป็น Absolute monarchy เพื่อทำให้บ้านเมืองสยามนั้นสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ในอนาคต แล้ว
ยังประกันหลัก 6 ประการให้กับประชาชนอีกด้วย ภายหลังการเข้ายึดอำนาจก็ได้มีการแจกจ่ายประกาศ
คณะราษฎรฉบับที่ 1 มีเนื้อหาย้ำเตือนว่าประเทศนี้เป็นประเทศของราษฎรไม่ใช่ของใครคนหนึ่งอีกต่อไป แล้วการ
กระทำนี้ก็สมบูรณ์ได้โดยการที่คณะราษฎรได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลให้แก่ ร.7 โดยอัญเชิญมาเป็น
พระมหากษัตริย์ภายใต้กฎหมาย แล้ว ร.7 ก็ได้เห็นด้วยและยอมรับ ทำให้การปฏิวัติครั้งนี้เป็นไปด้วยดีไร้ซึ่งความ
รุนแรง - รธน.ชั่วคราว (27 มิย 2475) กำหนดให้มี 4 สถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตยแทนปชช. 1.สภาผู้แทนราษฎร
2. คณะกรรมการราษฎร 3.ศาล 4.กษัตริย์ โดยมาตราแรกระบุว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ซึง่
เห็นได้ชัดเลยว่ากษัตริย์นั้นถูกพรากอำนาจไปแล้ว
เหตุการณ์ที่ 2 หลังจากที่พระยามโนปกรณ์ นิติธาดา ถูกหลวงพิบูลก็เข้ายึดอำนาจ ในวันที่20 มิถุนายน
2476 แล้วบีบให้พระยามโนและคณะลาออก จากนั้นก็ให้พระยาพหลพลพยุหเสนาเข้ารับตำแหน่งนายกคนที่สอง
สืบเนื่องมาจากรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นั้นบริหารประเทศได้ไม่ดีพอบวกกับการร่วมมือกันของ
พระมหากษัตริย์กับพระยามโนปกรณ์ในการที่จะวิจารณ์เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม พอหลังจาก
หลวงพิบูลทำการรัฐประหารแล้ว เหตุการณ์ทตี่ ามหลังมาก็มีความเกี่ยวข้องกับพวกนิยมเจ้า ต้องการที่จะดึงอำนาจ
ของพระมหากษัตริย์กลับคืนมา ซึ่งก็คือเหตุการณ์กบฎบวรเดช โดยคณะกู้บ้านเมืองวางแผนที่จะยึดอำนาจของ
พระพยาพหลพลพยุหเสนา โดยให้เหตุผลที่ว่ารัฐบาลชุดนี้ ปล่อยให้คนพาลสันดานหยาบหมิ่นหลู่ดูแคฃน พระบรม
เดชานุภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพวกกบฎบวรเดชมีความประสงค์ที่จะให้มีการเปลี่ยนระบอบการ
ปกครองกลับสู่ช่วงก่อนการปฎิวัติสยามกล่าวคือต้องการให้กษัตริย์อยู่เหนือทุกสิ่งอย่างเหมือนเดิม แต่แผนการของ
คณะกู้บ้านเมืองนั้นก็ถูกทำลายลงด้วยจากการต่อต้านทางฝั่งรบ. นำโดยหลวงพิบูลสงคราม เข้ามาปราบปรามฝ่าย
คณะกู้บ้านเมือง แล้วก็ชนะ การต่อสู้ ทำให้พระองค์เจ้าบวรเดชลี้ภัยไปต่างแดน มากกว่านั้นเกิดความ
คลางแคลงใจว่าพระปกเกล้าให้การสนับสนุนต่อกบฎบวรเดช ซึ่งท้ายที่สุดแล้วความขัดแย้งระหว่าง รบ กับ ร.7 ทั้ง
เรื่องพระราชอำนาจ การจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ มากไปกว่านั้นยังมีความเชื่อว่าร.7นั้นสนับสนุนกบฎบวร
เดช เหตุการณ์นี้นำไปสู่การสละราชสมบัติ 2 มีนา 2477 ซึ่งเห็นได้ว่าสถานะอำนาจของกษัตริย์นั้นถูกทำให้ลดลง
ไปมาก
รธน 2560 กำหนดการแก้ไขรธน.เอาไว้อย่างซับซ้อนและทำให้แก้ไขได้ยากมาก หากนิสิตต้องการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นิสิตต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากกลุ่มคนใดบ้าง แล้วตัวเลข 84 สำคัญอย่างไรต่อการ
แก้ไข

เหตุใดจึงมอกว่าการปกครองช่วงทศวรรษ 2520 มีลักษณะเด่นเป็น ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ขอให้อธิบาย


ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบมาพอเข้าใจ
รธน.ฉบับบวัฒนธรรมไทย ตามที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสนอไว้คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร นิสิตคิดว่ารธน.ฉบับวัฒนธรรมไทย
ในปี 2560 เหมือนหรือต่างจากรธน.ฉบับวัฒนธรรมไทยปี 2534 อย่างไร ตอบข้อเหมือนหรือต่างรวมกันให้ได้ 4 ประเด็น
หากต้องเปรียบเทียบระหว่างยุคปฏิรูปการเมืองในทศวรรษที่ 2540 กับยุครัฐประหาร 2557 โดย
เปรียบเทียบว่าอำนาจ โครงสร้างและสถาบันการเมือง รวมไปถึงรูปแบบการปกครองระหว่าง 2 ยุคนี้ เราจะ
สามารถเปรียบเทียบ โดยการแบ่งเป็น 2 ช่วงได้แก่ 1. ช่วงหลัง 2540 ที่ความเป็นระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจ
อธิปไตยนั้นขึ้นอยู่กับประชาชนจริงๆ 2. ช่วงหลังการรัฐประหาร 2557 ที่ทำให้ระบอบการเมืองนั้นมีความ
ครุมเครือและอำนาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของประชาชนโดยสมบูรณ์
หากกล่าวถึงยุคสมัยที่ความเป็นประชาธิปไตยนั้นได้เบ่งบานเต็มที่ หลังจากการสิ้นสุดของระบอบเผด็จการ
ในช่วง 14 ตุลาคม 2516 จนไปถึง 6 ตุลาคม 2519 และยุคประชาธิปไตยครึ่งใบในช่วงทศวรรษ 2520 ถึง 2530
จนนำมาสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มใบในช่วง 2531 - 2540 จะเห็นได้ว่ามีหลายเหตุการณ์มาก ที่ประชาชนคนไทย
นั้นไม่พึงพอใจกับระบอบที่อำนาจอธิปไตยนั้นไม่ได้ตกเป็นของประชาชนโดยแท้จริง จนได้นำมาสู่การชุมนุม หรือ
การกระทำต่างๆ ทางการเมืองโดยหวังว่าสักวันหนึ่งพวกเขาจะได้ระบอบประชาธิปไตยโดยแท้จริง
ถ้าหากเป็นการพูดถึงระบอบประชาธิปไตยโดยแท้จริงแล้ว สิ่งที่จะขาดไปไม่ได้ก็คือรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.
2540 ซึ่งได้ถูกขนามนามว่าเป็นรธน.ที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด โดยใจความสำคัญหลักๆ ของรธนฉบับนี้ก็คือ
ต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ต้องการมอบสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คืน
ให้กับประชาชน และยังต้องการแก้ไขปัญหาการเมืองการปกครองของไทยที่ผ่านๆ มา ซึ่งถือได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับ
นี้ตอบโจทย์ความเป็นประชาธิปไตยได้เป็นอย่างมาก ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ส่งผลสถาบัน
การเมืองที่โดยปกติแล้วพวกข้าราชการที่เคยมีบทบาทสำคัญ ถูกลดอำนาจลง แล้วเป็นการเพิ่มอำนาจให้กับพรรค
การเมืองต่างๆ แทน มีการเปิดรับผู้ที่มีความรู้ ความสามารถจริงๆ เข้ามาทำงาน ส่งผลให้การเมืองนั้นมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น
ในทางกลับกันถ้าจะพูดถึงยุคที่ระบอบการเมืองมีความไม่แน่นอน และดูจะเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ไม่
เคยเกิดขึ้นมาก่อน หลังเหตุการณ์การทำรัฐประหารในพ.ศ.2557 โดย คณะคสช. เราก็จะนำเรื่องของรัฐธรรมนูญ
ฉบับ พ.ศ. 2560 มาอธิบายว่าทำไมการเมืองไทยจากเดิมที่ในปี 2540 ที่ดูจะทำให้ประเทศมีความหวังกับความเบ่ง
บานของระบบประชาธิปไตย กลับกลายมาเป็นความสิ้นหวังอีกครั้ง ณ ปัจจุบัน โดยตัวรธนฉบับ 2560 ถูกสร้างขึ้น
โดยมีการปิดกั้นการแสดงความเห็นของประชาชน มากไปกว่านั้นในรัฐธรรมนูญ 2560 จะเห็นได้ว่า ส.ว. 250 คน
มาจากการแต่งตั้งจากคณะรัฐประหาร แต่รัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้มี ส.ว. จำนวน 200 คน จากการเลือกตั้ง
โดยตรงจากประชาชนทั้งหมดมากไปกว่านั้นหากเทียบกับนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ที่มาจากข้อกำหนดของ
รัฐธรรมนูญ 2560 ที่ว่า ในระยะ 5 ปีแรก ให้ ส.ส. ทั้ง 500 คน กับ ส.ว. 250 คน ร่วมกันลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี
โดยใช้เสียงกึ่งหนึ่งของสองสภา คือ 376 เสียง สำหรับคุณสมบัติของนายกฯ นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. ไม่
จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ไม่จำเป็นต้องลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ต้องอยู่ในบัญชีว่าที่นายกฯ ที่พรรคการเมือง
เสนอไว้ก่อนเลือกตั้ง
ในทางกลับกันรัฐธรรมนูญ 2540 กําหนดกระบวนการเลือกนายกฯ ไว้ว่า ต้องมาจากการเลือกของ ส.ส.
500 คน ในสภาฯ เท่านั้น โดยได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง คือ 251 เสียง และคุณสมบัติผู้ที่จะมาเป็นนายกฯ ได้ต้องเป็น
ส.ส. จะเห็นได้ว่า ที่มาของนายกฯ ในรัฐธรรมนูญ 2560 และ 2540 นั้นแตกต่างกันอย่างมาก และนี่เองเป็นสิ่งที่
กำหนดเสถียรภาพของการเมืองไทย อย่าง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ที่แม้พรรคพลัง
ประชารัฐจะเสนอชื่อเป็นนายกฯ แต่ตัวพลเอกประยุทธ์เองก็ไม่แม้แต่จะสมัครสมาชิกพรรค ทำให้ไม่ได้ลงมายุ่ง
เกี่ยวกับพรรค แล้ว ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนนั้นเข้าไม่ถึง ทำให้หลายครั้งเกิดข่าวการน้อยใจ หรือ
เมื่อถึงศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็จะมีข่าวคว่ำพลเอกประยุทธ์เสมอ เพราะเป็นนายกฯ ที่ไม่ได้ยึดโยงกับพรรค
การเมืองคนที่ประชาชนเลือก ทำให้เสียงของ ส.ส. ที่ประชาชนเลือกมาไม่เคยส่งไปถึงผู้บริหารเลย ต่างกับนายกฯ
ที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่มาจากเสียงของประชาชนจริงๆ ไม่ใช่เกมการเมืองเพื่อสืบทอดอำนาจ ซึ่งสิ่งนี้แสดง
ให้เห็นได้ชัดเลยว่ารัฐบาลชุดนี้ต้องการที่จะกำจัดสิทธิ์เสรีภาพของประชาชนในด้านการเมืองออกไป ซึ่ งถึงแม้จะมี
รัฐธรรมนูญ แต่เราก็ไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าในยุคนี้นั้นมีความเป็นประชาธิปไตย
หากจะนำรธน ฉบับ 2540 มาเปรียบเทียบกับ รธน ฉบับ 2560 แล้วจะเห็นได้ว่าแต่ก่อน รธน ฉบับ 2540
นั้นได้ก่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ที่มอบสิทธิและเสรีภาพให้กับประชาชนในการมีส่วนร่วม
ทางการเมือง แล้วยังเป็นการสร้างการเมืองที่มีความสุจริต โปร่งใส ประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ เรียกได้
ว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเมืองอย่างแท้จริง ในทางกลับกัน รธน ฉบับ 2560 ที่ได้ทำให้ประเทศ
ไทยนั้นถูกมองว่ากำลังจะพัฒนาระบบการเมืองให้ถอยหลังลง สืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลนั้นพยายามที่จะสร้างร
ธน. เพื่อโอนสิทธิและเสรีภาพทั้งหมดจากเดิมที่อยู่กับประชาชนกลับคืนสู่รัฐบาลเอง ซึ่งการกระทำนี้ดูจะมีความ
เป็นเผด็จการอยู่ มากไปกว่านั้นรธน.ฉบับนี้ยังมีการเอื้อเพื่อให้รัฐบาลสามารถสืบทอดอำนาจได้ในภายภาคหลัง
มากไปกว่านั้นด้วยตัวรธน.นี้ได้ออกแบบกลไกมาเพื่อเป็นการยากต่อความพยายามที่จะแก้ไขอีกด้วย การเมืองไทย
ที่จากเดิมประชาชนเป็นใหญ่ในช่วงทศวรรษ 2540 กลับกลายมาเป็นว่าเสียงของประชาชนถูกด้อยค่าอีกครั้ง คำว่า
ประชาธิปไตยกลับกลายเป็นเสมือนผ้าคลุมที่มาปกปิดความเป็นเผด็จการของรัฐบาลชุดนี้ไปโดยปริยาย
โดยสรุปแล้ว เมื่อเรากำลังพูดถึงการเมืองไทย เราคงหนีไม่พ้นการแย่งชิงอำนาจ หรือ “วงจรอุบาทว์ของ
การเมืองไทย” ที่เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมาโดยไร้จุดสิ้นสุด แล้วแต่ละครั้งที่มีการยึดอำนาจหรือการทำรัฐประหารนั้นก็จะมี
การฉีกรัฐธรรมนูญเก่าทิ้งแล้วสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้น โดยถ้าเป็นรัฐบาลที่มีความคิดที่อยากจะทำให้ประเทศชาติมี
ความเจริญขึ้นจริงๆ รัฐธรรมนูญก็จะออกมาในเชิงที่มีความประสงค์ดีมอบอำนาจให้กับประชาชน ทำให้ระบบ
การเมืองนั้นโปร่งใส แต่ถ้าเป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกสร้างมาด้วยพวกรัฐบาลที่ต้องการจะควบคุมอำนาจไว้ที่ตน แล้วร่าง
รัฐธรรมนูญที่มอบผลประโยชน์ให้เพียงแค่แต่ตนเอง ดังเช่น รธน.ฉบับ 2560 ก็ยิ่งเป็นบทพิสูจน์เลยว่ารัฐธรรมนูญ
นั้นเปรียบเสมือนเครื่องมือของรัฐบาลในการคงไว้ซึ่งอำนาจของตนหรือจะเป็นการกระจายอำนาจคืนกลับสู่
ประชาชน

You might also like