You are on page 1of 158

แนวความคิดทางจิตวิทยา

VIEWPOINTS IN PSYCHOLOGY

ผศ.ดร. อรพิน สถิรมน


ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผลงานทางวิชาการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบุคลากร
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แนวความคิดทางจิตวิทยา
Viewpoints in Psychology

จัดทาโดย
ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพิน สถิรมน
ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ISBN (e-book) 978-616-497-581-1


คำนำ
ตำรำวิชำ แนวควำมคิดทำงจิตวิทยำ (Viewpoints in Psychology) เป็ นควำมพยำยำมในกำรเขี ยนและ
รวบรวมเนื อ้ หำเพื่ อใช้ ในกำรสอนรำยวิชำแนวควำมคิดทำงจิ ตวิทยำ 01453324 ของภำควิชำจิ ตวิทยำ คณะ
สังคมศำสตร์ มหำวิทยำลัยเกษตรศำสตร์ โดยมุ่งหวังให้ เป็ นประโยชน์ ทงต่
ั ้ อนิสิต นักศึกษำจิตวิทยำ และผู้สนใจ
ศำสตร์ จิตวิทยำโดยทัว่ ไป

ผู้ เขี ย นขอขอบคุ ณ คณะสั ง คมศำสตร์ ที่ ใ ห้ ควำมสนั บ สนุ น ทุ น ในกำรเขี ย นต ำรำวิ ช ำกำรเล่ ม นี ้
และขอขอบคุณฝ่ ำยสำรสนเทศ สำนักหอสมุด มหำวิทยำลัยเกษตรศำสตร์ และผู้เกี่ยวข้ องทุกท่ำน ในโครงกำร
หนังสืออิเล็กทรอนิคส์ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรั ตนรำชสุดำฯ สยำมบรมรำชกุมำรี ในกำรเปิ ดโอกำสให้
ผลงำนนี เ้ ป็ นส่วนหนึ่งของโครงกำรฯ ซึ่งจะทำให้ ทัง้ นิสิต นักศึกษำ และผู้สนใจสำมำรถเข้ ำถึงได้ ง่ำยและไม่มี
ค่ำใช้ จ่ำย และท้ ำยสุด ขอขอบคุณ นำงสำวณหทัย จิตรชื่น ในกำรพิมพ์ต้นฉบับและจัดรู ปเล่มด้ วยควำมเพียร

. ผศ.ดร. อรพิน สถิรมน


สารบัญ
หน้ า
บทที่ 1 ก่ อนการเป็ นศาสตร์ จติ วิทยา 1
1.1 แนวความคิดทางจิตวิทยาในยุคกรี ก 1
1.2 แนวความคิดทางจิตวิทยาหลังยุคอริ สโตเติลจนถึงศตวรรษที่ 16 9
1.3 ความก้ าวหน้ าของวิทยาศาสตร์ ในศตวรรษที่ 18 16
ซึง่ เป็ นฐานสูก่ ารเป็ นศาสตร์ จิตวิทยา
บทที่ 2 จิตวิทยายุคเริ่มต้ น 27
2.1 วิลเฮล์ม วุนดท์กบั การเป็ น “ศาสตร์ ” ของจิตวิทยาในศตวรรษที่ 19 27
2.2 วิลเลียม เจมส์ และบทบาทของจิตวิทยาหน้ าที่ (Functional Psychology) 32
2.3 จิตวิทยาเกสตอลต์ (Gestalt Psychology) 33
2.4 ซิกมันด์ ฟรอยด์ และทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) 37
2.5 พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) 39
2.6 คาร์ ล โรเจอร์ และแนวคิดจิตวิทยามนุษยนิยม (Humanistic Psychology) 43
บทที่ 3 จิตวิทยาในปั จจุบัน 45
3.1 แนวคิดชีวะ - จิตวิทยา (Biopsychology) 45
และประสาทจิตวิทยา (Neuropsychology)
3.2 แนวคิดจิตพลวัต (Psychodynamic perspective) 47
3.3 แนวคิดการรู้ คิด (Cognitive perspective) 48
3.4 แนวคิดพฤติกรรมนิยม (Behavioral perspective) 51
3.5 แนวคิดประสบการณ์นิยม (Phenomenological perspective) 52
3.6 แนวคิดจิตวิทยาทางบวก (Positive psychology perspective) 54
3.7 แนวคิดจิตวิทยาตะวันออก (Eastern psychology) 55
3.8 แนวคิดด้ านสังคมวัฒนธรรม (Socio-Cultural perspective) 57
บทที่ 4 ความก้ าวหน้ าของวิชาชีพจิตวิทยา 59
4.1 แนวโน้ มความต้ องการนักจิตวิทยาในสถานการณ์ของโลก 59
และสภาพสังคมในปั จจุบนั
4.2 สาขาของวิชาจิตวิทยา 62
4.3 การจัดตังองค์
้ กรด้ านจิตวิทยา 67
สารบัญ
หน้ า
บทที่ 5 จรรยาบรรณในวิชาชีพจิตวิทยา (Code of Professional Ethics) 85
5.1 จรรยาบรรณนักจิตวิทยาสมาคมนักจิตวิทยาอเมริ กนั ค.ศ. 2017 86
หลักการทัว่ ไป 88
มาตรฐานจรรยาบรรณ (Ethical standards) 90
5.2 ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้ วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ 117
ของผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๕๙
หนังสืออ้ างอิง 122
ภาคผนวก 131
บทที่ 1
ก่ อนการเป็ นศาสตร์ จติ วิทยา

แนวความคิดทางจิตวิทยารู ปแบบต่าง ๆ ค่อย ๆ พัฒนาขึน้ จากปรั ชญา จนกระทัง่ ศตวรรษที่ 19


จึงเริ่ มมีการศึกษาจิตวิทยาโดยใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยากลายเป็ นศาสตร์ อีกสาขาหนึง่
การที่ จะเข้ าใจถึงความเป็ นมาของวิช าจิ ตวิท ยาจาเป็ นต้ องเข้ าใจถึงแนวคิดที่ เกิ ดขึน้ ในยุโรป
ตะวันตกเนื่องจากจิตวิทยาเป็ นส่วนหนึ่งของอารยธรรมทางตะวันตกซึง่ มีรากฐานมาจากสมัยกรี ก ถือได้ ว่า
จิ ต วิ ท ยาสมัย ปั จ จุ บั น ซึ่งเป็ นวิ ท ยาศาสตร์ เป็ นผลพวงโดยตรงของความเจริ ญ ในทางความคิ ด ของ
ชาวตะวันตก
แนวความคิดทางจิ ตวิทยาเริ่ มต้ น ในยุคกรี กโดยการศึกษาจิตวิญ ญาณ (Soul = Psyche) หรื อ
จิตใจ (Mind) ก่อนสมัยกรี กความเชื่อเรื่ องของความสัมพันธ์ของมนุษย์กบั สิ่งแวดล้ อมจะถูกอธิบายในรู ป
ของความเชื่อเรื่ องวิญญาณ (Spirit) ที่อยู่ในร่ างกาย ทาให้ เรามีชีวิตอยู่และมีจิตสานึก เมื่อหลับวิญญาณ
จะออกจากร่ างชัว่ คราวและกลับเข้ ามาใหม่ก่อนตื่นนอน เมื่อคนตาย วิญญาณจึงจะออกจากร่ างไปอย่าง
ถาวร กิ จกรรมทัง้ หมดของมนุษย์ เช่น การรู้ สึก การรั บรู้ ความคิด อารมณ์ เชื่อว่าถูกควบคุมโดยภูตผี
คาอธิ บายเกี่ ยวกับ ธรรมชาติต่าง ๆ เช่น พื ช สัตว์ ฟ้ าผ่า แม่นา้ ยังคลุมเครื อ ไม่มีก ารแบ่ งแยกประเภท
สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตอย่างชัดเจน การแยกระหว่างมนุษย์กบั สิ่งแวดล้ อมนันก็
้ ไม่ชดั เจน

แนวความคิดทางจิตวิทยาในยุคกรีก

ในยุคกรี ก ได้ เกิ ดความพยายามที่จะเปลี่ยนการอธิ บายสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ ต่าง ๆ


จากพระเจ้ ามาเป็ นธรรมชาติหรื อสิ่งแวดล้ อม โดยอาจสรุ ปได้ เป็ น 5 กลุม่ ใหญ่ เรี ยงตามลาดับเวลาดังนี ้

[1.] กลุ่มความเชื่อด้ านธรรมชาตินิยม (Naturalistic orientation)


นักคิดในแนวกลุ่มความเชื่อด้ านธรรมชาตินิยม เชื่อว่าสิ่งแวดล้ อมก่อกาเนิดชีวิต และเชื่อว่าชีวิต
กับสิ่งแวดล้ อมทางกายภาพ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ กฎทางกายภาพจึงเป็ นสากลสาหรั บสิ่งมีชีวิต
ทุกประเภท โดยในระยะแรกผู้นาแนวคิดนี จ้ ะอยู่ในเมืองมิเลทัส (Miletus) ซึ่งเป็ นหนึ่งในสหพันธรัฐกรี ก
โบราณ และเป็ นที่ร้ ู จกั กันในนามของ นักปราชญ์ไอโอเนียน (Ionian Physicists) ได้ แก่
แนวความคิดทางจิตวิทยา
2
Viewpoint Psychology

 ทาเลส (Thales) ประมาณ 640 - 546 ปี ก่ อนคริสตกาล


ทาเลสเป็ นนัก ปรั ช ญา ซึ่งเป็ นผู้ น าคณิ ต ศาสตร์ แ ละดารา
ศาสตร์ เข้ าสูก่ ารศึกษาของกรี ก ทาเลสมีความเห็นว่าน ้าเป็ นต้ นกาเนิด
ของธรรมชาติทกุ สิ่งและเป็ นรู ปแบบสุดท้ ายของมีชีวิต

ทาเลส
ที่มาของภาพ : http://scienceworld.
wolfram.com/biography/Thales.html

 อานักซิมานเดอร์ (Anaximander)
ประมาณ 610 - 546 ปี ก่ อนคริสตกาล
อานักซิมานเดอร์ เ ป็ น ค น แ ร ก ที่ ทา แ ผ น ที่ ที่ แ ส ด ง ถึ ง
รายละเอี ย ดของโลกและท้ องฟ้ า และเป็ นผู้ อธิ บ ายว่ า โลกเป็ น
ศูนย์ กลางของจักรวาลอันประกอบด้ วยดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ
อานักซิมานเดอร์
ดาวต่าง ๆ ล้ อมรอบอยู่
ที่มาของภาพ : http://physics.unr.edu
/grad/welser/astro/astronomers.html

 อานักซิเมเนส (Anaximenes) ประมาณ 600 ปี ก่ อนคริสตกาล

อานักซิเมเนส เชื่อว่า อากาศ (pneuma) เป็ นต้ นกาเนิดของ


สิ่งมีชีวิต

อานักซิเมเนส
ที่มาของภาพ : http://socialphilosophy.
yolasite.com/resources/anaximenes.jpg

แนวคิดของนักปราชญ์ ไอโอเนียนทังสามคนถื
้ อเป็ นกลุ่มความเชื่อด้ านธรรมชาตินิยม เพราะมุง่ หา
คาตอบเกี่ยวกับต้ นกาเนิดของชีวิต และอธิบายปรากฏการณ์ ของสิ่งต่าง ๆ ในโลกโดยไม่ยึดความเชื่อที่ว่า
พระเจ้ าเป็ นผู้บนั ดาลให้ เป็ นไป
3

นอกจากนักคิดกลุม่ ไอโอเนียนแล้ ว ยังมีผ้ มู ีแนวคิดในกลุม่ ธรรมชาตินิยมคนอื่น ๆ เช่น

 เดโมครี ตุส (Democritus) ประมาณ 460 - 362 ปี ก่ อนคริสตกาล


เดโมครี ตสุ เชื่อว่าความรู้ สกึ ของเราเกิดจากการรับการรู้ สกึ
ซึง่ รับ "อะตอม" มาจากวัตถุในโลก อะตอมอาจแตกต่างกันในเรื่ อง
ขนาด รู ปร่ าง ลักษณะ แต่ความสัมพันธ์ ระหว่างกันเป็ นไปตามกฎ
ธรรมชาติไม่ได้ เกิดขึน้ จากโอกาสหรื อผลต่อเนื่อง มนุษย์และสัตว์
เดโมครี ตุส
ประกอบไปด้ วยอะตอมที่ละเอียดอ่อน
ที่มาของภาพ : http://www-gap.dcs.st-and.ac.
uk/~history/PictDisplay/Democritus.html

 เฮราคลีตุส (Heraclitus) ประมาณ 530 ปี ก่ อนคริสตกาล


เฮราคลีตุสเป็ นนักปราชญ์ ของเมืองเอฟิ ซัส ในสหพันธรั ฐ
กรี กโบราณ ซึง่ เป็ นศูนย์การติดต่อค้ าขายและวัฒนธรรม เขาเสนอ
แนวคิ ด ว่า “ไฟ” เป็ นสัญ ลัก ษณ์ แ ทนการเปลี่ ย นแปลง เป็ นสิ่ ง
สาคัญสาหรับการมีชีวิตอยู่”
เฮราคลิตุส
ที่มาของภาพ : https://martinsj2.files
.wordpress.com/2012/04/herac
 พาร์ เมนิเดส (Parmenides) litus_ephesus_c535_hi.jpg

พาร์ เมนิ เ ดส เห็ น ว่ า ธรรมชาติ เ ป็ นสิ่ ง ถาวรและไม่


เปลี่ ย นแปลง การเปลี่ ย นแปลงของโลกและการเคลื่ อ นไหว
(movement) ต่าง ๆ เป็ นเพี ยงการสังเกตที่ ยังไม่ลึกซึง้ และเกิ ด
การรับรู้ ที่บิดเบือนไป

พาร์ เมนิเดส
จากแนวคิดธรรมชาตินิยมก่อให้ เกิ ดแนวทางในการใช้ ที่มาของภาพ: http://beatway
down.blogspot.com/
การสังเกตตามธรรมชาติ (natural observation) และการตังและ

สรุ ปสมมติฐาน (hypothesis deduction)
แนวความคิดทางจิตวิทยา
4
Viewpoint Psychology

[2] กลุ่มความเชื่อด้ านชีววิทยา (Biological orientation)


ในขณะที่นกั ปราชญ์ กลุ่มแรกมองว่าสิ่งแวดล้ อมภายนอกเป็ นพื ้นฐานสาคัญในชีวิต นักคิดกลุ่ม นี ้
เน้ นที่สภาพภายในของสรี ระของมนุษย์วา่ เป็ นสิ่งสาคัญต่อชีวิต นักคิดกลุม่ นี ้ ได้ แก่

 แอลคเมออน (Alcmaeon) ประมาณ 500 - 450 ปี ก่ อนคริสตกาล


แอลคเมออนเป็ นบุคคลแรกที่ใช้ วิธีการผ่าศพสัตว์และอภิปราย
ถึ ง เส้ นประสาทตาและท่ อ ยู ส เตเชี ย น (Ustachian tubes) เขาเห็ น
ความสาคัญของสมอง และแยกความแตกต่างระหว่างการรับความรู้ สึก
แอคเมออน และการคิด เขาเชื่ อว่าสิ่งที่ กาหนดการกระทาของมนุษย์ เกิ ดจากกลไก
ที่มาของภาพ : http://www. ภายในร่ างกายที่แสวงหาความสมดุล
philosophy.gr/presocrati
cs/alcmaeon.htm

 ฮิปโปเครติส แห่ งเกาะโคส (Hippocrates of Kos)


ประมาณ 460 - 377 ปี ก่ อนคริสตกาล
ฮิ ป โปเครติส เป็ นนัก ปราชญ์ ที่ ป ระสบความส าเร็ จ ในการแยก
การแพทย์ออกจากศาสนา และเป็ นผู้ที่พยายามทาให้ การแพทย์หลุดออก
จากความเชื่อทางไสยศาสตร์ โดยแบ่งว่าคนเราประกอบด้ วยธาตุนา้ ใน
ร่ างกาย 4 กลุ่มคือ โลหิต (blood), น ้าดีสีเหลือง (yellow bile), นา้ ดีสีดา
ฮิปโปเครติส (black bile), และเสมหะ (phlegm) ฮิปโปเครติสได้ รับการยกย่องเป็ น
ที่มาของภาพ :
http://www.greektravel.com/gree บิดาแห่งการแพทย์ สมัยใหม่ เขาทาให้ เกิ ด วิชาชีพ แพทย์ และยังเป็ นผู้
kisands/kos/hippocrates.html
กาหนดหลักจรรยาแพทย์ ซึง่ แพทย์ปัจจุบนั ยังคงถือปฏิบตั ิอยู่

 เอมเพโดครีส (Empedocles) ประมาณ 500 – 430 ปี ก่ อนคริสตกาล


เอมเพโดครี สเป็ นแพทย์ ผ้ ูมีความสามารถทัง้ การพูด วิศวกรรม
และการประพันธ์ เขาเชื่อว่าการรั บการรู้ สึกเกิดจากสิ่งเร้ าตกลงสู่ ช่องทาง
รั บของอวัยวะรั บ สัมผัส (pores) คุณ ภาพและความเข้ มของการรั บรู้ สึก

เอมเพโดครี ส สามารถวัดได้ และเชื่อว่าหัวใจเป็ นศูนย์กลางของชีวิต


ที่มาของภาพ: http://www.preso
cratics.org/empedocles.htm
5

[3] กลุ่มความเชื่อแนวคณิตศาสตร์ (Mathematical orientation)


แนวคิดนี ม้ ุ่งไปสู่เหนื อระดับกายภาพ (beyond physical level) เน้ นถึงความเชื่ อถือไม่ได้ ของ
ประสาทสั ม ผั ส และความจ าเป็ นที่ จ ะต้ องท าให้ เข้ าใจความจริ งโดยกระบวนการใช้ เหตุ ผล
ให้ ค วามส าคัญ กับ เหตุก ารณ์ น้ อยลง แต่มุ่งสู่ค วามสัมพัน ธ์ ข องโครงสร้ าง กลุ่ม นี ม้ ุ่งใช้ โครงสร้ างทาง
คณิตศาสตร์ อธิบายความเป็ นอันหนึง่ อันเดียวกันของโลก

 พิทาโกรั ส (Pythagoras) ประมาณ 580 - 500 ปี ก่ อนคริสตกาล


พิ ท าโกรั ส อธิ บ ายว่า เรารู้ จัก โลกโดยผ่ านการรั บ ความรู้ สึก
แต่ยงั เป็ นลักษณะที่บิดเบือน ผิวเผิน เขาเชื่อว่าความจริ งที่อยู่เบื ้องหลัง
ความสัมพันธ์ โดยเฉพาะหลักคณิ ตศาสตร์ จะไม่สามารถผ่านการรู้ สึก
แต่ต้องค้ น พบโดยวิธีก ารเข้ าใจแบบฉับพลัน (intuitive) จิ ตวิญ ญาณ
ของมนุษย์และสัตว์มีความรู้ สกึ และการเข้ าใจฉับพลัน แต่เฉพาะมนุษย์
เท่านันที
้ ่ร้ ู จกั ใช้ เหตุผล

นอกจากนี พ้ ิ ท าโกรั ส เชื่ อว่า จิ ตวิญ ญาณมีความเป็ นอมตะ พิทาโกรั ส


ที่มาของภาพ : http://scienceworld
เมื่อคนตาย จิ ต วิญ ญาณจะย้ ายไปสู่ร่างใหม่ แนวคิดของพิ ทาโกรั ส .wolfram.com/biography/Pythagor
as.html
มีอิทธิพลต่องานของเพลโตและอริ สโตเติลในเวลาต่อมา

[4] กลุ่มความเชื่อแบบผสม (Eclectic orientation)


ในสมัย กรี ก การเรี ย นการสอนมัก เป็ นแบบตัวต่ อตัว ส าหรั บ ชนชัน้ สูง แต่ก็ มี ก ลุ่มผู้ มีความรู้ ที่
เรี ยกว่า โซฟิ สต์ (Sophists) ได้ จดั การสอนแบบกลุม่ ให้ กบั ผู้สนใจโดยจ่ายค่าตอบแทนการสอนเล็กน้ อย โซ
ฟิ สต์มีแนวคิดเป็ นแบบผสม เน้ นการหาคาตอบต่อชีวิตที่เป็ นแง่ที่ปฏิบตั ิได้ จริ ง (practical) และเห็นว่าต้ อง
คานึงถึงข้ อจากัดของข้ อมูลที่ผ่านเข้ ามาในการรับรู้ เพราะสิ่งที่รับรู้ อาจไม่ใช่ความจริ งแท้ (Objective truth)
ซึง่ เป็ นแนวคิดที่นาไปสูว่ ิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้ร้ ู ในกลุม่ นี ้ ได้ แก่ โพรทากอรัส และจอเจียส
แนวความคิดทางจิตวิทยา
6
Viewpoint Psychology

 โพรทากอรั ส (Protagoras) ประมาณ 481 - 411 ปี ก่ อนคริสตกาล


โพรทากอรั ส ไม่เห็นด้ วยกับการที่คนจะสรุ ปครอบคลุมจากสิ่งที่
เราเห็ น หรื อ รั บ รู้ เขาเชื่ อ ว่ า ความจริ ง ความดี ความสวยงาม เหล่ า นี ้
ไม่ ป รากฏอยู่ ไ ด้ โดยตั ว มั น เอง มนุ ษ ย์ เรามี เพี ย งสั ง กั บ (concept)
ของสิ่งเหล่านี ้ ดังนันคนเราจึ
้ งควรระมัดระวังในการที่จะสรุ ปครอบคลุม

โพรทากอรั ส
ที่มาของภาพ
:http://www.philo5.com
/Les%20philosophes/Protagoras
_files/image003.jpg  จอเจียส (Gorgias) ประมาณ 485 - 380 ปี ก่ อนคริ สตกาล
จอเจี ย ส เห็ น พ้ องกับ โพรทากอรั ส และได้ แต่งหนังสื อชื่ อ “On
Nature” ซึง่ เน้ นว่าคนเรา สามารถจะรู้ ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีอยู่ ก็เฉพาะที่ผ่าน
เข้ ามาในการรับรู้ ของเรา

[5] กลุ่มความเชื่อด้ านมนุษยนิยม (Humanistic orientation)


แนวคิดนี ้เชื่อว่ามนุษย์เป็ นสิ่งมีชีวิตที่ต่างไปจากสิ่งอื่น ๆ โดยมนุษย์อยู่ในระดับที่สงู กว่า เพราะมี
ความสามารถพิ เศษก็ คื อ การใช้ เหตุ ผ ล การใช้ ภาษา และความสามารถในการย้ อนมองตนเอง
(self reflection)

บุ ค ค ล แรกที่ มี แน วคิ ด ใน ก ลุ่ ม นี ้คื อ อานั ก ซาก อรั ส


(Anaxagoras) ประมาณ 500 – 428 ปี ก่ อนคริ ส ตกาล เขาเชื่ อว่า
จักรวาลเคยมีลัก ษณะสับสนยุ่งยาก จนกระทั่งเกิ ด ไฟ นา้ อากาศ
และโลก ทาให้ เกิดวิวฒ
ั นาการ

อานักซากอรั ส
ที่มาของภาพ: http://www.luventicus.org
/articulo s/02 A034/ anaxagoras.htm
7

 โซเครติส (Socrates) ประมาณ 470 - 399 ปี ก่ อนคริ สตกาล


โซเครติสเห็นว่าความคิดเกี่ยวกับชีวิตเป็ นสิ่งจาเป็ นความ
พิ เศษของการเป็ นมนุษย์ ก็คือ สามารถเข้ าใจชี วิตได้ เขาใช้ การ
ถามคาถามเฉพาะเจาะจง เป็ นวิธีการในการแสวงหาความเข้ าใจ
ความรู้ เป็ นสิ่งดี เพราะนามาซึง่ ความสุข การมีความรู้ ดีจะทาให้ คน
ปฏิบตั ิตนได้ อย่างเหมาะสม นอกจากนี ้เขายังเห็นว่าจริ ยธรรมเป็ น
สิ่งสาคัญที่มนุษย์พงึ จะมี หาไม่แล้ วมนุษย์จะถดถอย

แนวคิดเรื่ องการเมืองและจริ ยธรรมของเขาเป็ นสิ่งที่สร้ าง


ความขุ่นเคืองให้ กบั ผู้มีอานาจเขาจึงถูกบังคับให้ ฆ่าตัวตาย

นอกจากแนวคิดของโซเครติสได้ ถกู ส่งทอดไปยังลูกศิษย์คือ


โซเครติส
เพลโต แล้ วยังได้ ขยายเพิ่มเติมโดยเพลโต และ อริ สโตเติล ที่มาของภาพ: http://web.mit.edu/mit-
greece/www/IAP_imgs.htm

 เพลโต (Plato) ประมาณ 427 - 347 ปี ก่ อนคริสตกาล


เพลโต เป็ นผู้นาเสนอแนวคิดเรื่ อง จิต - กาย โดยเขาเห็นว่ากิจกรรมของมนุษย์เกิดขึ ้นจากจิตใจ
และร่ างกาย ความรู้ ที่แท้ จริ งจะเกิดขึ ้นได้ โดยจิตที่มีเหตุผล ส่วนร่ างกายนันก็
้ จะจากัดอยู่ที่การรับการรู้ สกึ

เพลโตเห็ น ว่าปฏิ สัม พัน ธ์ ของมนุษ ย์ กับ สิ่ งแวดล้ อมเป็ นปั จ จัย ส าคัญ ที่ จ ะน าไปสู่ความเข้ าใจ
กิจกรรมของมนุษย์ เขาเชื่อว่ามนุษย์ จดั การกับสิ่งแวดล้ อมโดยผ่านการรู้ สึกการรับการรู้ สึกโดยผ่านทาง
ร่ างกายจัดเป็ นกระบวนการที่ ไม่ลึกซึง้ บิ ดเบื อน และเชื่ อถื อไม่ได้ เพลโตไม่เห็นด้ วยกับพวกโซฟิ สต์ ที่
ยึดถือความรู้ ที่เกิดจากการรับความรู้ สึก เพลโตอธิ บายว่า จิตวิญญาณเป็ นส่วนที่เกิดและสะสมความคิด
จิตวิญญาณประกอบไปด้ วยเหตุผลและความต้ องการ สิ่งจูงใจของจิตวิญญาณ ก็คือ ความอยาก กิจกรรม
ของจิตวิญญาณ แบ่งเป็ นส่วนที่เต็มไปด้ วยปั ญญา คือ กิจกรรมที่ก่อให้ เกิดความรู้ ความเข้ าใจ กับส่วนที่
เป็ นความคิดเห็น ซึง่ เกิดจากการที่ร่างกายมีปฏิสมั พันธ์กบั สิ่งแวดล้ อม เกิดเป็ นความเชื่อ จิตวิญญาณ เป็ น
ส่วนที่สาคัญและไม่มีวนั ตาย จิตวิญญาณมีมาก่อนการเกิดร่ างกาย เมื่อเกิดชีวิตใหม่ จิตวิญญาณจะนา
ความรู้ เดิมมาสูร่ ่ างกาย ชีวิตที่ดีในทัศนะของเพลโต ก็คือการผสมผสานของเหตุผลและความพึงพอใจ
แนวความคิดทางจิตวิทยา
8
Viewpoint Psychology

เพลโต มองเห็ น ว่าร่ างกายเปรี ย บเสมือนสถานจองจ า และ


มักจะก่อสร้ างแต่จิตวิญญาณซึง่ เป็ นส่วนที่อยู่สูงกว่า จิตวิญญาณทา
ให้ มนุษย์ มีความชาญฉลาด และคิดอย่างมีเหตุผลทาให้ เกิดความเป็ น
ระเบี ย บ ความสมดุล และความสง่างามในการมีชี วิตอยู่เป็ นมนุ ษ ย์
แนวคิ ด ของเพลโตจั ด เป็ นความเชื่ อ ในแนวทวิ ภ าค (mind - body
dualism)
เพลโตเน้ นทฤษฎีของเขาอธิบายการเมืองและจริ ยธรรมเขาเห็น
ว่ามนุษย์ มักเชื่อถื อไม่ได้ สังคมควรจะเข้ ามามีบทบาทในการปกป้อง
เพลโต มนุษย์จากความชัว่ ร้ ายในตนเอง
ที่มาของภาพ :http://www-gap.dcs.
st-and.ac.uk/~history/Mathematicians
/Plato.html

 อริสโตเติล (Aristotle) ประมาณ 384 - 322 ปี ก่ อนคริ สตกาล


อ ริ ส โต เติ ล เป็ น ศิ ษ ย์ ข อ งเพ ล โต ถึ ง 2 0 ปี เข าเป็ น
ผู้วางรากฐานการสังเกตอย่างมีระบบ และได้ เขี ยนรายงานไว้ เป็ น
จ า น ว น ม า ก ทั ้ ง ใ น ด้ า น ต ร ร ก ศ า ส ต ร์ วิ ท ย า ศ า ส ต ร์
จริ ยศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ในส่วนของจิตวิทยา เขาเชื่อในเรื่ องของ
จิ ต วิ ญ ญาณและกายตามที่ เพลโตกล่ า วไว้ เป็ นอย่ า งยิ่ ง โดยเขา
มุ่งเน้ นความรู้ ที่แท้ จริ งของจิตวิญญาณ อริ สโตเติลละทิง้ ความเชื่อ

อริสโตเติล ของเพลโตที่ ว่าธรรมชาติมนุษย์ นนั ้ ชัว่ ร้ าย เขาเชื่อว่าโลกเกิดขึน้ มา


ที่มาของภาพ: http://www-gap.dcs
.st-and.ac.uk/~history/PictDisplay โดยมีจุดประสงค์ บางอย่าง และทุกสิ่งต่างก็มีพัฒ นาการไปเพื่ อให้
/Aristotle.html
บรรลุวตั ถุประสงค์นนั ้

สรุ ป แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์เริ่ มเป็ นรู ปแบบที่เห็นได้ ชดั เจนในยุคกรี ก โดยมีแนวคิดสาคัญ 5 กลุ่ม


คือ กลุ่มแนวความเชื่อด้ านธรรมชาตินิยม กลุ่มความเชื่อด้ านชีววิทยา กลุ่มความเชื่ อด้ านคณิ ตศาสตร์
กลุ่มความเชื่อแบบผสม และกลุ่มความเชื่อด้ านมนุษ ยนิ ยม ซึ่งแนวคิดทัง้ 5 กลุ่ม เสนอวิธีในการเข้ าใจ
มนุษย์ในช่วงก่อนที่วิทยาศาสตร์ จะก้ าวหน้ าขึ ้น
9

แนวความคิ ดทางจิ ตวิ ทยาหลังยุคอริ สโตเติ ลจนถึงศตวรรษที่ 16

ยุคเฮเลนิสติก (Hellenistic) 300 ถึง 30 ปี ก่ อนคริสตกาล


ยุคเฮเลนิสติก เป็ นช่วงที่ความเจริ ญ รุ่ งเรื องย้ ายไปยังเมดิเตอร์ เรเนียนฝั่ งตะวันออก วัฒนธรรม
กรี กมีบทบาทอย่างสูงสุดในยุโรป แอฟริ กาเหนือ และเอเชียตะวันตก ทาให้ เกิดความเจริ ญก้ าวหน้ าในทุก
ด้ าน ทังงานศิ
้ ลปะ การสารวจ วรรณกรรม สถาปั ตยกรรม ดนตรี คณิตศาสตร์ ปรัชญา และวิทยาศาสตร์
ในยุคนี ้แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ที่สาคัญมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้ นแนวคิดในเรื่ อง การควบคุมตนเอง
(Stoic) และกลุม่ ที่เน้ นในเรื่ องการแสวงหาความสุข (Epicurean)
แนวคิดการควบคุมตนเอง หรื อ สโตอิก (Stoic) ก่อตังโดย ้ เซโน แห่ง ซิทิอุม (Zeno of Citium ,
ประมาณ 334 –262 ปี ก่อนคริ สตกาล) เน้ นการมุ่งค้ นหาความจริ งคือคุณธรรม การควบคุมอารมณ์ ตนเอง
เพื่อเข้ าถึงอิสระที่แท้ จริ งเป็ นสิ่งสาคัญสาหรับมนุษย์
แนวคิ ด เน้ น แสวงหาความสุข หรื ออิพิ คิวเรี ย น (Epicurean) ก่ อตัง้ โดย อิพิ คิวรั ส (Epicurus,
ประมาณ 341 – 270 ปี ก่อนคริ สตกาล) แนวคิดนี ้มุง่ หาความสุขในชีวิต ทังทางร่ ้ างกายและจิตใจ

เซโน แห่ ง ซิทอิ ุม อิพคิ วิ รั ส


ที่มาของภาพ: https://upload.wikimedia.org ที่มาของภาพ: https://upload.wikimedia.org/
/wikipedia/commons/0/08/Zeno_of_Citium_- wikipedia/commons/8/88/Epikouros_BM_1843.jpg
_Museo_archeologico_nazionale_di_Napoli.jpg
แนวความคิดทางจิตวิทยา
10
Viewpoint Psychology

ยุคโรมัน (Roman: 30 ปี ก่ อนคริสตกาล - ค.ศ. 300)


จนถึง ยุคกลาง (Middel Ages)
ยุคโรมันเป็ นยุคที่ด้านการปกครองและกฎหมายมี ความเจริ ญอย่างมาก ชาวโรมันให้ คุณค่าต่อ
การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีมากกว่าที่จะสนใจความคิดในเชิงปรั ชญาแบบชาวกรี ก ในยุคก่อน เช่น มีการ
สร้ างปฏิทิน และการประยุกต์ใช้ คณิตศาสตร์ และการคานวณในงานสถาปั ตยกรรม นักคิดชาวโรมันจะ
จากัดบทบาทอยู่เพี ยงการเสนอทัศนะโดยทั่วไปเกี่ยวกับชีวิต การศึกษาทัง้ หมดจะมุ่งเฉพาะ 3 ด้ าน คือ
วิทยาศาสตร์ จริ ยศาสตร์ และศาสนา
ตัวอย่างแนวคิดเกี่ยวกับจิตของมนุษย์ในศาสนาคริ สต์พบได้ ในงานของเซนต์ ออกัสติน
 เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine) ค.ศ. 354 – 430
แบ่งจิตมนุษย์ออกเป็ น 3 ส่วน คือ ความจา ความเข้ าใจ และความตังใจหรื
้ อเจตนารมณ์ งานเขียนที่
สาคัญของเขา คือ The Confessions (ค.ศ. 400) และ The City of God (ค.ศ. 413 – 426) ซึง่ เป็ นแนวทาง
ในการตีความคาสอนในคัมภีร์ไบเบิล และความเชื่อพื ้นฐานของชาวคริ สต์

เซนต์ ออกัสติน
ที่มาของภาพ: http://www.accd.edu/sac/
english/bailey/augustin.htm

ศาสนาคริ ส ต์ เริ่ ม มี บ ทบาทมากขึ น้ นับ แต่ยุ คโรมัน จนคริ ส ตจัก รมี อิท ธิ พ ลสูงสุด ในยุ ค กลาง
(Middle Ages) โดยในส่วนที่เกี่ยวกับมนุษย์ ศาสนาคริ สต์ได้ นาทัศนะใหม่ในการมองมนุษย์ โดยเห็นว่า
มนุษย์ต่างจากสัตว์อื่นตรงที่มีจิตวิญญาณ และเชื่อว่าพระผู้เป็ นเจ้ า (God) มีบทบาทในกิจกรรมของมนุษย์
นอกจากนีย้ งั เชื่อว่าการศึกษาร่ างกายมนุษย์ไม่ใช่สิ่งที่จะทาให้ เข้ าใจถึงจิตใจหรื อจิตวิญญาณของมนุษย์
ดังที่เสนอในผลงานของ เซนต์ โทมัส อไควนัส
11

 เซนต์ โทมัส อไควนัส (St. Thomas Aquinas) ค.ศ. 1225 - 1274


เซนต์ โทมั ส อไควนั ส เป็ นบาทหลวงโรมั น คาทอลิ ก
คณะดอมินิกัน เกิดในตระกูลขุนนางชาวอิตาลี เขาเป็ นผู้ที่พยายาม
ผสมผสานเทววิ ท ยาในศาสนาคริ ส ต์ เข้ ากั บ ตรรกศาสตร์ ของ
อริ สโตเติล และทาให้ แนวความคิดของอริ สโตเติลกลับมาเป็ นที่สนใจ
ของนักคิดชาวตะวันตกในยุคนัน้

งาน เขี ย น ข อ งอ ไค วนั ส ที่ มี ชื่ อ เสี ย ง คื อ “Summa


Theologica” ในปี ค.ศ. 1265–1274 ซึ่ ง อธิ บ ายว่ า มนุ ษ ย์ เป็ นสั ต ว์
สัง คมที่ ส ามารถควบคุ ม การกระท าของตนเองได้ ด้ ว ยสติ ปั ญญา
เซนต์ โทมัส อไควนัส
มนุษย์ จะตกอยู่ในอันตรายถ้ าไม่ยอมรับระบบสังคม จิตที่อบรมแล้ ว ที่มาของภาพ:
http://www.univie.ac.at/Wissenschaf
จะสัง่ การให้ ร่างกายกระทาสิ่งต่างๆ ตามหน้ าที่ในสังคม งานเขียนของ tstheorie/heat/gallery/aquin-f.htm
เขาแสดงให้ เห็นถึงความเชื่ อเรื่ องพระเจ้ า โดยเชื่ อว่านักปราชญ์ เช่ น
อริ สโตเติ ล เป็ นผู้ รอบ รู้ เนื่ องจากพ ระเจ้ าม อบ ความรอบ รู้ ให้
ขณะเดียวกันก็เน้ นเรื่ องเจตนารมณ์อนั เป็ นอิสระของมนุษย์ในการที่จะ
รู้ จกั ทาความดี

หนังสื อจ านวนหลายร้ อยเล่ม เกี่ ย วกับ ด้ านเทววิท ยาได้ รับ การตีพิ มพ์ จ นถึงช่ วงศตวรรษที่ 16
หั ว ข้ อที่ เ ป็ นที่ สนใจ คื อ พระผู้ เป็ นเจ้ า ความเป็ นอมตะของจิ ต วิ ญ ญ าณ และค าถามในเชิ ง
ปรัชญา - จิตวิทยา เรื่ องเจตนารมณ์ อนั เป็ นอิสระ (free will) จิตวิทยาเป็ นเพียงส่วนหนึ่งของคาสอนใน
ศาสนาคริ สต์ เน้ นการปฏิ บัติตนให้ ถูกต้ องตามหลัก ศาสนา เช่น กิจกรรมทางเพศของมนุษย์ ควรจะมีได้
เฉพาะเมื่อแต่งงาน การมีเพศสัมพันธ์ นอกเหนือจากคู่สมรสถือว่าบาปและมีความผิด นอกจากนี ้ยังเกิด
ความเชื่อในเชิงไสยศาสตร์ เช่น ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมเบี่ยงเบนจากกรอบที่สงั คมกาหนดถือ
ว่าเกิดจากการกระทาของภูตผีหรื อวิญญาณชั่วร้ าย การรั กษาอาการทางจิตใจจึ งไม่ได้ ม่งุ สู่ความเข้ าใจ
มนุษย์ แต่ใช้ การสวดมนต์อ้อนวอนต่อพระผู้เป็ นเจ้ า
แนวความคิดทางจิตวิทยา
12
Viewpoint Psychology

ยุคฟื ้ นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) ค.ศ. 1450 - ค.ศ. 1550


อิ ท ธิ พ ลของศาสน จั ก รเริ่ ม ลด ลงใน ยุ ค ฟื ้ น ฟู ศิ ลป วิ ท ยา จน ถึ ง ป ล ายศ ตวรรษ ที่ 16
ความก้ าวหน้ าทางวิทยาศาสตร์ ทาให้ เกิดความขัดแย้ งระหว่างคริ สตจักรกับการค้ นพบทางวิทยาศาสตร์
มากขึ ้นเรื่ อย ๆ
ในยุคนีม้ ีการฟื ้นฟูศิลปวิทยาของกรี ก ได้ มีการนาผลงานของอริ สโตเติลและเพลโตมาเผยแพร่
และมีผลงานของนักวิทยาศาสตร์ ที่สาคัญ ๆ หลายท่าน เช่น

 ลีโอนาโด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ค.ศ. 1452 - 1519


ลี โอนาโด ดา วิ น ชี เป็ นชาวอิ ต าลี ผู้ มี ค วามสามารถ
หลากหลาย สร้ างผลงานทั ง้ ในด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละศิ ล ปะ
ถื อ เป็ นบุ ค คลสั ญ ลั ก ษณ์ ของยุ ค ฟื ้ น ฟู ศิ ล ปวิ ท ยาการณ์
(Renaissance Man)

ลีโอนาโด ดา วินชี
ที่มาของภาพ: http://www.visi.
eom/~reuteler/vinci/self.jpg

 นิโคลัส โคเปอร์ นิคัส (Nicolaus Copernicus) ค.ศ. 1473 - 1543


โคเปอร์ นิ คัส เป็ นนั ก คณิ ต ศาสตร์ แ ละนั ก ดาราศาสตร์ ช าว
โปแลนด์ในราชอาณาจักรปรัชเซีย เป็ นผู้เสนอแนวคิดดวงอาทิตย์ เป็ น
ศูน ย์ กลางของระบบสุริยะ และโลกหมุน รอบดวงอาทิ ตย์ ซึ่ งขัดแย้ ง
ความเชื่อของคริ สตจักรว่าโลกแบนและโลกเป็ นศูนย์กลางของจักรวาล
ซึง่ ถือเป็ นการเริ่ มต้ นของการปฏิวตั ิทางวิทยาศาสตร์

นิโคลัส คอปเปอร์ นิคัส


ที่มาของภาพ : www.tripadvisor.co.uk/LocationPhoto
DirectLink-g274856-d2647224-i245021678-Monument_of_Nicolaus_Copernicus-
Warsaw_Mazovia_Province_Central_Poland.html#245021678
13

 อังเดรย์ เวซาเลียส (Andreas Vesalius) ค.ศ. 1514 - 1564


เวซาเลี ยสถื อเป็ นบิ ดาผู้ก่ อตัง้ กายวิศาสตร์ มนุษย์ สมัยใหม่
เขาได้ ท าการผ่ าศพสัตว์ แ ละมนุษ ย์ เขาเสนอว่าสมองและระบบ
ประสาททาให้ เกิดกิจกรรมทางจิตวิทยา ไม่ใช่หวั ใจ

เวซาเลียส
ที่มาของภาพ:http://academic.brooklyn.cuny.
edu/history/virtual/portrait/vesalius2.gif

ศตวรรษที่ 17 ยุคฟื ้ นฟูวิทยาศาสตร์


ศตวรรษที่ 17 ได้ รับ การขนานนามว่า เป็ นยุคแห่งการใช้ เหตุผล (The Age of Reason) โดยมี
แนวคิดปรัชญาที่ เกิดขึน้ ในยุคนี แ้ ละถื อเป็ นรากฐานแนวคิดของชาวตะวันตก ซึ่งนาไปสู่การศึกษาแบบ
วิทยาศาสตร์ คือ แนวคิดประจักษ์ นิยมของฟรานซิส เบคอน และจอห์ น ล็อค แนวคิด เหตุผลนิ ยมใน
ผลงานของ เรอเน เดการ์ ด รวมถึงแนวคิดเชิงปรัชญาการเมืองการปกครองของโทมัส ฮอบส์ และผลงาน
สาคัญทางด้ านวิทยาศาสตร์ เกิดขึ ้นในช่วงนี ้ คือ งานของกาลิเลโอ กาลิเลอี และเซอร์ ไอแซค นิวตัน

แนวคิดเชิงปรั ชญา
 ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) ค.ศ. 1561 – 1626
ฟ ร า น ซิ ส เบ ค อ น เป็ น นั ก ป ร า ช ญ์ รั ฐ บุ รุ ษ
นัก วิท ยาศาสตร์ นัก กฎหมาย และนัก เขี ย นชาวอังกฤษ เป็ น
อธิบดีศาลสูงสุดของอังกฤษ เบคอนเป็ นที่ร้ ู จกั ในฐานะผู้คิดค้ น
ป ระจั ก ษ์ นิ ย ม (empiricism) ซึ่ ง เชื่ อ ว่ า ค วาม รู้ เกิ ด จ า ก
ประสบการณ์ ทางประสาทสั ม ผั ส ทั ง้ 5 คื อ ตา หู จมู ก ลิ น้
ผิวหนัง เท่านัน้
ฟรานซิส เบคอน
ที่มาของภาพ: https://en.wikipedia.org/
wiki/Francis_Bacon#/media/File:Some
r_Francis_Bacon.jpg
แนวความคิดทางจิตวิทยา
14
Viewpoint Psychology

 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes ค.ศ. 1588 – 1679)


เป็ นนักปรัชญาการเมือง ชาวอังกฤษ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจาก
ผลงานที่สาคัญคือหนังสือชื่อ Leviathan ที่เขียนขึ ้นเมื่อ พ.ศ. 2194
หนั ง สื อ เล่ ม นี ก้ ลายเป็ นฐานประเด็ น ในแนวปรั ช ญาการเมื อ ง
ตะวันตกในสมัยต่อมาในเกือบทุกแนว
นอกจากงานเขี ยนเกี่ ยวกับปรั ชญาการเมืองตะวันตกแล้ ว
ฮอบส์ ไ ด้ สร้ างผลงานที่ เ ป็ นประโยชน์ ไ ว้ อี ก หลายด้ าน เช่ น
โทมัส ฮอบส์ ประวัติศาสตร์ เรขาคณิต เทววิทยา รวมทังด้ ้ านปรัชญาทัว่ ๆ ไปอีก
ที่มาของภาพ: https://en.wikipedia.org หลายเรื่ อ ง และที่ ส าคัญ คื อ ด้ านรั ฐ ศาสตร์ (political science)
/wiki/Thomas_Hobbes#/media/File:
โดยฮอบบส์เชื่อว่า "มนุษย์ นนั ้ โดยธรรมชาติมีการร่ วมมือกันก็โดย
จริ ยธรรม
Thomas_Hobbes_(portrait).jpg มุง่ ผลประโยชน์สว่ นตัว"

 เรอเน เดการ์ ด (René Descartes) ค.ศ. 1596 – 1650


เดการ์ ตได้ รับการยกย่องให้ เป็ นบุคคลที่สาคัญที่สดุ คนหนึ่ง
ในประวัติศาสตร์ ตะวันตกสมัยใหม่ แนวคิดของเขามีผลต่อนักคิด
ร่ วมสมัยไปถึงนักปรัชญารุ่ นต่อ ๆ มา โดยรวมเรี ยกว่าปรัชญากลุ่ม
เหตุผลนิยม (rationalism) ซึ่งได้ กลายเป็ นแนวคิดปรั ชญาหลักใน
ยุโรปสมัยศตวรรษที่ 17 และ 18 กลุ่มนี ้เชื่อว่า ความรู้ เป็ นสิ่งที่ติด
ตัวมนุษย์ มาตัง้ แต่เกิ ด เป็ นสัญ ชาตญาณของมนุษย์ ทุกคน และ
เรอเน เดการ์ ด ปฏิ เสธความรู้ จากทางประสบการณ์ ทางประสาทสัมผัส เพราะมี
ที่มาของภาพ: https://upload.wikimedia.
ความไม่แน่นอน
org/wikipedia/commons/7/73/Frans_Hals_-
_Portret_van_Ren%C3%A9_Descartes.jpg เดการ์ ดยังเป็ นนักคณิตศาสตร์ ผ้ มู ีชื่อเสียง เป็ นผู้บกุ เบิกวิชา
เรขาคณิ ต วิ เคราะห์ คิ ด ค้ น ระบบพิ กัด แบบคาร์ ที เซี ย นซึ่ งเป็ น
รากฐานของการพัฒนาด้ านแคลคูลสั ในเวลาต่อมา
15

 จอห์ น ล็อค (John Locke) ค.ศ. 1632 – 1704


นั ก ปรั ช ญ าชาวอั ง กฤษผู้ มี ชื่ อ เสี ย งในศตวรรษที่ 17
แนวคิดของเขาอยู่ในกลุม่ ประจักษ์ นิยม เชื่อว่าความรู้ ของมนุษย์มา
จาก 2 ทาง คือ ประสบการณ์ ทางประสาทสัมผัส และการไตร่ ตรอง
ซึ่ ง เป็ นประสบการณ์ ภายใน โดยเห็ น ว่ า คนเราไม่ ส ามารถใช้
ความคิ ด ไตร่ ต รองได้ ห ากไม่เคยมีป ระสบการณ์ เรื่ องนัน้ มาก่ อน
เขาไม่ เห็ น ด้ ว ยกั บ ความเชื่ อ ที่ ว่ า มนุ ษ ย์ มี ค วามคิ ด ที่ ติ ด ตัว มา
แต่กาเนิด จอห์ น ล็อค
ทีม่ าของภาพ: https://th.wikipedia.org/
wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0
%B8%A5%E0%B9%8C:John_Locke.jpg

ผลงานด้ านวิทยาศาสตร์

 กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) ค.ศ. 1564 – 1642


กาลิเลโอเป็ นชาวอิตาลี มีผลงานทังทางด้
้ านดาราศาสตร์
ฟิ สิกส์ และวิศวกรรม เขาได้ รับยกย่องเป็ น "บิดาแห่งดาราศาสตร์
สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิ สิกส์สมัยใหม่" "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ " และ
"บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ ยคุ ใหม่"
กาลิเลโอได้ ทาการศึกษาทดลองกฎแรงดึงดูด (gravity) และ
การเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีความเร่ งคงที่ และยังมีงานด้ าน
วิทยาศาสตร์ ประยุกต์และเทคโนโลยี ได้ แก่ การศึกษาคุณสมบัติแพน กาลิเลโอ กาลิเลอี
ที่มาของภาพ: https://upload.wikimedia
ดูลมั (pendulum) กลศาสตร์ ของไหล (hydrostatics) ประดิษฐ์ .org/wikipedia/commons/d/d4/Justus_
Sustermans__Portrait_of_Galileo_Galilei%2
เครื่ องวัดอุณหภูมิ (Thermoscope) และเข็มทิศการทหาร (military C_1636.jpg
compasses)
กาลิเลโอมีผลงานการศึกษาด้ านดาราศาสตร์ จานวนมาก
งานที่สาคัญของเขาคือ การประดิษฐ์ และใช้ กล้ องโทรทรรศน์ในการ
ค้ นพบดาวบริ วารของดาวพฤหัสและจุดดับบนดวงอาทิตย์ และทา
การพิสจู น์ได้ วา่ โลกกลมได้ สาเร็ จ
แนวความคิดทางจิตวิทยา
16
Viewpoint Psychology

 เซอร์ ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) ค.ศ. 1642 – 1726


นิวตันมีผลงานทางคณิ ตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่สาคัญทัง้ ในด้ านกลศาสตร์ และฟิ สิกส์ ได้ แก่
คื อ แคลคูลัส การค้ น พบกฎแรงโน้ ม ถ่ วง กฎการเคลื่ อ นที่ ข องนิ วตัน (Newton’s laws of motion) การ
คานวณความเร็ วเสียง และทฤษฎีสีของนิวตัน (Newton’s theory of colour) จากการการค้ นพบเรื่ องการ
หักเหของแสงโดยใช้ ปริ ซมึ แตกแสงขาวให้ กลายเป็ นสเปกตรัมของแสงได้ และใช้ เลนส์กบั ปริ ซมึ อีกแท่งหนึ่ง
รวมแสงสเปกตรัมหลายสีกลับมาเป็ นแสงขาวได้

เซอร์ ไอแซค นิวตัน


ที่มาของภาพ:
https://www.britannica.com/biography/
Isaac-Newton/media/1/413189/3008

ความก้าวหน้ าของวิ ทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 18


ซึ่งเป็ นฐานสู่การเป็ นศาสตร์จิตวิ ทยา

ศตวรรษที่ 18 ได้ รั บ สมญาว่ า เป็ นยุ ค เรื อ งปั ญ ญา (The Age of Enlightenment) โดยนั บ แต่
ศตวรรษที่ 18 มีการเคลื่อนไหวใน 3 ด้ าน ซึง่ ถือว่าเป็ นรากฐานที่ทาให้ เกิดศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาที่แยก
จากวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ (natural science) และปรั ชญา คือ ด้ านสรี รวิทยา ด้ านจิตฟิ สิกส์ และทฤษฎี
วิวฒ
ั นาการ
17

ความก้ าวหน้ าในด้ านสรี รวิทยา

 ฟรานซ์ โยเซฟ กัลล์ (Franz Joseph Gall) ค.ศ. 1758 - 1828


เป็ นคนแรกที่เชื่อว่าสมองเป็ นอวัยวะของจิต เขาศึกษาถึงความ
สัม พั น ธ์ ข องสมองส่ ว นที่ ค าดว่ า จะมี ค วามส าคั ญ กั บ พ ฤติ ก รรมที่
สังเกตเห็น เขาเชื่อว่าโครงสร้ างของสมองสามารถดูได้ จากรู ปร่ างของ
กะโหลกศี ร ษะ (Cranioscopy) ต่ อ มาได้ เกิ ด เป็ นศาสตร์ พ รี โนโลยี
(Phrenology) ซึ่งเป็ นการศึก ษาเกี่ ย วกับ ลัก ษณะของกะโหลกศีรษะ
โดยอ้ างว่ารอยนูนในกะโหลกสามารถทานายลักษณะบุคลิ กภาพและ ฟรานซ์ โยเซฟ กัลล์
ความสามารถทางสติปัญญาและจิตใจ ซึง่ ได้ รับความสนใจอย่างมาก ที่มาของภาพ:
มีก ารตัง้ ห้ องทดลอง คลิ นิ ก และวารสารด้ านพรี โนโลยี ตัง้ แต่ปี ค.ศ. http://www.phrenology.
eom/franzjosephgall.html
1823 จนถึง ค.ศ. 1847 เมื่อการศึกษาสมองมีความก้ าวหน้ ามากขึน้
พรี โนโลยี เริ่ ม ไม่ เป็ นที่ เชื่ อ ถื อ นั บ แต่ ปี ค.ศ. 1843 และถู ก เรี ย กเป็ น
วิทยาศาสตร์ เทียม (Pseudoscience)

 ปิ แอร์ ฌอง จอร์ ส คาบานิส (Pierre Jean Georges Cabanis) ค.ศ. 1757 - 1808
แพทย์ ผ้ ู นี ไ้ ด้ รั บ สมญาว่ า เป็ นบิ ด าของวิ ช าสรี ร ะจิ ต วิ ท ยา
ค า บ า นิ ส เป็ น นั ก ป ระ จั ก ษ์ นิ ย ม (empiricist) แ ล ะ วั ต ถุ นิ ย ม
(materialistic) คากล่าวของเขาซึง่ ถือเป็ นคติของกลุ่มประจักษ์ นิยมคือ
เรารู้ สกึ เราจึงมีอยู่ (We sense, we are)
คาบานิ ส เปรี ย บเที ย บการท างานของสมองกั บ หน้ าที่ ข อง
กระเพาะอาหารว่าสมองย่อยความประทับใจ (impressions) และเกิด
เป็ นผลพวง ความคิด คาบานิสเสนอสมมติฐานว่าปฏิกิริยาสะท้ อนเกิด ปิ แอร์ ฌอง จอร์ ส คาบานิส
ในระดับไขสันหลัง แต่การตอบสนองอื่น ๆ เกิดในระดับสูงขึ ้นคือมีการ ที่มาของภาพ: http://www.academie
francaise.fr/immortels/base/acad
สัง่ จากสมอง
emiciens/fiche.asp?param=280
แนวความคิดทางจิตวิทยา
18
Viewpoint Psychology

 ชาร์ ลส์ เบลล์ (Charles Bell) ค.ศ. 1774 - 1842


นักสรี รวิทยาชาวอังกฤษผู้นี ้ได้ แยกเส้ นประสาทไขสันหลังของศพ
ที่ เขาผ่ า พิ สู จ น์ อ อกเป็ น 2 กลุ่ ม คื อ กลุ่ ม เส้ น ประสาทรั บ ความรู้ สึ ก
(sensory) แ ล ะ ก ลุ่ ม เส้ น ป ระส าท สั่ ง ก าร (motor) เบ ล ล์ เชื่ อ ว่ า
เส้ นประสาทรั บความรู้ สึกส่งข้ อมูลไปยังสมอง และเส้ นประสาทสัง่ การ
รั บ ข้ อมู ล จากสมองไปที่ ก ล้ ามเนื อ้ ซึ่ ง ก่ อ นหน้ านี ้ เป็ นที่ เชื่ อ กั น ว่ า
ชาร์ ลส์ เบลล์
ที่มาของภาพ : http://www.med.
เส้ นประสาททางานสองทางคือ ทังรั้ บและส่งข้ อมูล
Virginia, edu/hs-li bra ry/hi
storical/classics/Bell.htmI

. ฟรั งซัวส์ มาเจนดีย์ (Francois Magendie) ค.ศ. 1783 - 1855


ในปี ค.ศ. 1822 ฟรั งซัว ส์ มาเจนดี ย์ ค้ น พบในสิ่ งเดี ย วกั บ ที่
เบลล์ ไ ด้ พบทั ง้ ๆ ที่ ทั ง้ สองไม่ ไ ด้ มี ก ารติ ด ต่ อ หรื อ ทราบกั น มาก่ อ น
การค้ นพบของมาเจนดีย์ยังชัดเจนมากขึน้ ด้ วย เพราะเขาทาการศึกษา
การทางานของเส้ นประสาทไขสันหลังโดยทดลองกับสัตว์ที่ยงั มีชีวิตอยู่

ฟรั งซัวส์ มาเจนดีย์


ที่มาของภาพ:
http://www.uic.edu/depts/
mcne/founders/page0057.html
 ฌอง – ปิ แอร์ มารี ฟลัวแรงส์ (Jean-Pierre Marie Flourens)
ค.ศ. 1794-1867
ฟลัว แรงส์ เป็ นผู้ บุ ก เบิ ก การวิ จัย ทดลองเรื่ อ งสมอง โดยเขา
ค้ น พบการท างานของสมองส่ วนล่ าง เขาเชื่ อว่าในสมองทัง้ สองซี ก
ทางานเป็ นหน่วยเดียวกัน ความคิดเรื่ องการทางานของสมองเป็ นหนึ่ง
เดียวของฟลัวแรงส์เป็ นที่เชื่อถือต่อมาอีกหลายศตวรรษ
ฌอง – ปิ แอร์ มารี ฟลัวแรงส์
ที่มาของภาพ: http://www.academie-
francaise.fr/immortels/base/acade
miciens/fiche.asp7param374
19

 ปิ แอร์ ปอล โบรคา (Pierre Paul Broca) ค.ศ. 1824 - 1880


โบรคาเสนอแนวคิ ดเรื่ องซีกของสมองมีผลต่อพฤติกรรมเฉพาะ โดยเขา
พบว่าศพของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในเรื่ องการพูด (Speech disorders)
ต่างมีความผิดปกติของสมองซีกซ้ ายด้ านหน้ า (Left frontal lobe)

ในปี ค.ศ. 1870 นักวิจัยชาวเยอรมัน 2 คนคือ กุสตาฟ ฟริ ทซ์


(Gustav Fritsch) และเอ็ ด วาร์ ด ฮิ ท ซิ ก (Edvard Hitzig) ได้ ท าการ
ปิ แอร์ ปอล โบรคา
กระตุ้ นด้ วยไฟฟ้ าที่ ซี รี บรั ม ของสุ นั ข พ บว่ า สามารถท าให้ เกิ ด ที่มาของภาพ: http://www.kfki
.hu/chemonet/TermVil/kulonsz
การเคลื่อนไหวในส่วนต่าง ๆ ของร่ างกายต่างกันไป การค้ นพบนีท้ าให้ /k001/broca.jpg
เกิดการทาแผนผังการทางานของสมองที่ทาหน้ าที่เกี่ยวกับเส้ นประสาท
รับความรู้ สึกและเส้ นประสาทสัง่ การ เกิดเป็ นสาขาวิชาพรี โนโลยียุคใหม่ ซึง่ อธิบายระบุถึงแต่ละส่วนของ
สมองว่ามีบทบาทหน้ าที่ในการรับความรู้ สึก หรื อควบคุมพฤติกรรมใด โดยการชี ้เฉพาะว่าบริ เวณใดของ
สมองรั บผิ ดชอบต่ออะไรนัน้ ต่างไปจากที่กัลล์ได้ เคยเสนอไว้ และเชื่อว่าบางส่วนของสมองรับ ความรู้ สึก
บางส่วนมีผลต่อการกระทา และการเชื่อมโยงของสมองส่วนรับความรู้ สกึ กับส่วนประสาทสัง่ การก่อให้ เกิด
พฤติ ก รรม ในมุ ม มองนี ้ สมองก็ คื อ เครื่ อ งกลอัน ซับ ซ้ อ นที่ ท าหน้ าที่ ต อบสนอง (a complex reflex
machine) ซึง่ สอดคล้ องกับงานวิจยั ในสหภาพโซเวียต
ปี ค.ศ. 1886 วลาดีมีร์ มีโฮโลวิช เบฮ์ เจเรฟ (Vladimir Mikhailovich Bekhterev, ค.ศ. 1857 –
1927) นั ก ประสาทวิ ท ยา ได้ ก่ อ ตั ง้ ห้ องปฏิ บั ติ ก ารด้ านจิ ต วิ ท ยาการทดลองแห่ ง แรกในสหภาพ
โซเวียต เพื่อศึกษาระบบประสาทและโครงสร้ างของสมอง เขาเชื่อว่าสมองแต่ละส่วนมีหน้ าที่เฉพาะ และ
ความผิ ดปกติ ทางจิ ตกับ ความผิ ดปกติในระบบประสาทมีความเกี่ ยวพัน กัน เบฮ์ เจเรฟยังเป็ นผู้ก่ อตัง้
จิ ต วิท ยาวัต ถุวิสัย (Objective Psychology) ซึ่งเป็ นฐานของจิ ตวิท ยาเกสตอลต์ (Gestalt Psychology)
และพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ในเวลาต่อมา
ในปี ค.ศ. 1927 อิวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) นักสรี รวิทยาชาวรัสเซีย ซึง่ ได้ ทาการทดลอง กับ
สุนขั ซึง่ ได้ กลายมาเป็ นพื ้นฐานทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)
ในส่ วนที่ ส รี รวิ ท ยาและจิ ตวิ ท ยาได้ เข้ ามาประสมประสานกัน เริ่ ม ต้ น จาก โยฮาน ส์ มูล เลอร์
(Johannes Muller, ค.ศ. 1801-1858) ได้ เสนอไว้ ในหนังสือ "Elements of physiology" ในปี ค.ศ. 1842
ว่าบทบาทของสมองคือ เป็ นตัวเชื่อมโยงระหว่างข้ อมูลจากเส้ นประสาทรับความรู้ สกึ กับการตอบสนองของ
แนวความคิดทางจิตวิทยา
20
Viewpoint Psychology

เส้ นประสาทสัง่ การที่เหมาะสม การวิเคราะห์การส่งกระแสประสาทของมูลเลอร์ นาไปสู่การศึกษาวิจยั ของ


อี มิ ว ดู บั ว ส์ – เรย์ ม อน (Emil Du Bois-Reymond, ค.ศ. 1818-1896 ) และเฮอร์ แ มน เฮล์ ม โฮลทซ์
เพื่อที่จะอธิบายธรรมชาติของการส่งกระแสประสาท ทาให้ เกิดความเข้ าใจในกระบวนการรับการรู้ สกึ

วลาดีมีร์ มีโฮโลวิช เบฮ์ เจเรฟ อิวาน พาฟลอฟ โยฮานส์ มูลเลอร์


ที่มาของภาพ: https://upload.wiki ที่มาของภาพ: ที่มาของภาพ:
media.org/wikipedia/commons/0/ https://cdn.britannica.com/s:300x3 https://upload.wikimedia.org/wikipedia/
05/Bulla_bekhterev_v.jpg 00/93/9693-004-78E28DB4.jpg commons/3/30/Johannes_Mueller.jpg

 อเล็กซานเดอร์ เบน (Alexander Bain) ค.ศ. 1818 - 1903


เบนได้ ผนวกเอาแนวคิดของโยฮันเนส มูลเลอร์ และแนวคิดของ
สัมพันธ์ นิยมแบบดัง้ เดิม (Traditional associationists) มาใช้ อธิ บายการ
ทางานของจิต เบนรับเอาแนวคิดของกลุ่มสัมพันธ์นิยม (Associationism)
ซึง่ พัฒนาขึ ้นในอังกฤษที่เห็นว่า คนนัน้ เมื่อแรกเกิดยังไม่มีจิต และยังไม่มี
ความคิด จนกระทั่งเมื่อเกิ ดความจาจึงมีความคิด นักคิดกลุ่มสัมพัน ธ์
นิยม ให้ ความสาคัญ กับการเรี ยนรู้ ว่าเป็ นศูนย์ กลางของกระบวนการทาง
จิต เมื่อมีการคิดและมีการเชื่อมโยงของความคิดต่าง ๆ จิตก็จาได้ เกิดขึ ้น
โดยการลอกเลียนแบบจากโลกภายนอกตัว (external world) เบนได้ เขียน
อเล็กซานเดอร์ เบน หนั งสื อ 2 เล่ ม ที่ ส าคัญ คื อ "The Sense and the Intellect" (1855) และ
ที่มาของภาพ:
http://en.wikipedia.org "The Emotion and the Will" (1859) นอกจากนี เ้ ขายั งได้ ก่ อ ตั ง้ วารสาร
/wiki/Alexander_Bain
“The Journal of Mind” ขึ ้นใน ค.ศ. 1874
21

ความก้ าวหน้ าในด้ านจิตฟิ สิกส์


งานด้ านจิ ต ฟิ สิ ก ส์ มี พื น้ ฐานมาจากการศึ ก ษาของนั ก ดาราศาสตร์ นั ก ฟิ สิ ก ส์ และ
นักสรี รวิทยา ตัวอย่างเช่น

 ฟรี ดดริก วิลเฮลม์ เบสเซล (Friedrich Wilhelm Bessel) ค.ศ. 1784 - 1846
นักดาราศาสตร์ ชาวเยอรมันท่านนี ้เป็ นผู้เริ่ มศึกษาเปรี ยบเทียบความ
แตกต่ างของนัก ดาราศาสตร์ แ ต่ล ะคนในเรื่ องการตัด สิ น เกี่ ย วกับ เวลาใน
ขณะที่ ตามองผ่านกล้ องดูดาวและหูฟั งเสียงนาฬิกาบอกเวลา เบสเซลได้
ทาการศึกษาอย่างเป็ นระบบ และพบว่านักดาราศาสตร์ ทุกคนรายงานเวลา
ต่างกัน เพื่อแก้ ไขจุดอ่อนนี เ้ บสเซลได้ กาหนดสูตรค่าสมการส่วนบุคคลขึน้
เพื่ อ ให้ สามารถตัด ค่ า แตกต่ า งระหว่ า งบุ ค คลออกในเวลาที่ ค านวณหา
ตาแหน่ง เบสเซลสันนิษฐานว่าค่าความแตกต่างระหว่างบุคคลนันคงที ้ ่

ฟรี ดดริก วิลเฮลม์ เบสเซล


ที่มาของภาพ: http://cafe.rapi
dus.net/sbelange/bessel.html

 กุสตาฟ ธีโอดอร์ เฟคเนอร์ (Gustav Theodore Fechner) ค.ศ. 1801 - 1887


เฟคเนอร์ เป็ นนักฟิ สิกส์ เขาได้ เขียนหนังสือในภายหลังเกษี ยณ
ชื่ อ "Elements of Psychophysics" โดยได้ วิเคราะห์ แ นวปรั ช ญาของ
นักปรัชญา กอทท์ ฟรี ด วิลเฮล์ ม ไลบ์ นิซ (Gottfried Wilhelm Leibniz,
ค.ศ. 1646 - 1716) ซึ่ ง ได้ เสนอแนวคิ ด เรื่ อ งการรู้ สึ ก แปรตามภาวะ
การรู้ ส านึ ก (Consciousness states) โดยไลบ์ นิ ซ ใช้ ค าว่ า “petite
perception” ในการกล่ า วถึ ง การรู้ สึ ก ที่ อ่ อ นเกิ น กว่ า จะถึ ง ระดั บ
ที่ทาให้ เกิดการตระหนักรู้ และการรับรู้ ในระดับจิตสานึก (awareness
and apperception)
กุสตาฟ ธีโอดอร์ เฟคเนอร์
ทีม่ าของภาพ: http://www.psico
tecnica.org/Fechner.html
แนวความคิดทางจิตวิทยา
22
Viewpoint Psychology

เฟคเนอร์ เห็นด้ วยกับไลบ์นิซว่าจิตไร้ สานึก (unconscious) มีอยู่จริ งและใช้ คาว่า “การรับ


ความรู้ สกึ ด้ านลบ” (negative sensation) แทน โดยเห็นว่าการรู้ สกึ ส่วนนี ้จะไม่เข้ ามาในระดับจิตสานึก

เฟคเนอร์ มี ค วามหวังว่ า การทดลองด้ า นจิ ต ฟิ สิ ก ส์ (psychophysics) จะสามารถแสดง


ความสัมพันธ์ ของจิตและกายได้ ก่อนหน้ าเฟคเนอร์ นักปรัชญาส่วนใหญ่จะถือว่าจิตใจมนุษย์เป็ นเรื่ อง
ส่วนบุ ค คล และไม่ มี เครื่ อ งมื อใดที่ จ ะสามารถน ามาใช้ วัด ประสบการณ์ ในจิ ต ส านึ ก (conscious
experiences) ของบุคคลได้ จิตใจเป็ นสิ่งที่ไม่สามารถจะทดลองหรื อใช้ กฎคณิตศาสตร์ มาวัดได้

เฟคเนอร์ ได้ แสดงให้ เห็นว่าการทดสอบเกี่ยวกับจิตสานึกสามารถทาได้ โดยการควบคุ ม สิ่งเร้ า


ที่บคุ คลนันจะเผชิ
้ ญ เราสามารถให้ บุคคลหนึ่งยกสิ่งของที่เรารู้ วา่ หนักเท่าไร เราสามารถให้ เขาฟั งเสียง
ที่ เราทราบระดับ ความถี่ แ ละความดัง เป็ นต้ น แม้ ว่ า การวัด ผลของประสบการณ์ ใ นจิ ต ส านึ ก
(conscious experiences) หรื อ การรั บ ความรู้ สึก นั น้ จะท าไม่ ได้ โดยตรงเพราะเรา ไม่ ส ามารถให้
คะแนนเป็ นตัวเลขแก่น ้าหนักของประสบการณ์หรื อความรู้ สกึ

เฟคเนอร์ ได้ ประยุกต์วิธีการของ อี. เฮช. เวเบอร์ (E.H. Weber , ค.ศ. 1795 - 1878) และเสนอ
วิธีการกาหนดค่าหรื อปริ มาณเป็ นตัวเลขให้ แก่การรู้ สึกโดยทางอ้ อม เขาใช้ วิธีการให้ ผ้ ถู ูกทดลองเลือก
ว่าสิ่งใดในสอง สิ่งที่หนักกว่า หรื อเสียงใดดังกว่า โดยใช้ การจับคู่อย่างเป็ นระบบเพื่ อหาค่าที่ แท้ จริ ง
(Absolute values) และค่าความแตกต่างระหว่างของ 2 สิ่ ง และใช้ ก ารสังเกตว่าเมื่อไรบุคคลจึง
สามารถจะแยกแยะ หรื อ ไม่ ส ามารถแยกแยะความแตกต่ าง ดังนัน้ เราจึงสามารถค านวณหาค่ า
ความสัมพันธ์ ของสิ่งเร้ ากับความเข้ มของการรู้ สึก โดยทั่วไปคนจะเชื่ อว่าการรู้ สึกจะแปรตามสิ่งเร้ า
โดยตรง แต่เฟคเนอร์ กลับพบว่า S=K logR (เมื่อ K เท่ากับค่าคงที่) นัน้ คือ ความแตกต่างของสิ่งเร้ า
จะตรวจพบได้ ง่ายหากสิ่งเร้ าทังสองมี
้ ความเข้ มระดับปานกลางมากกว่าความเข้ มสูง เช่น การยกลูกตุ้ม
หนัก 10 ออนซ์จากลูกตุ้มหนัก 11 ออนซ์จะง่ายจากแยกน ้าหนัก 10 ปอนด์จาก 10 ปอนด์ 1 ออนซ์

เฟคเนอร์ ได้ รับยกย่องว่าเป็ นผู้ทาให้ เกิดการวิจยั อย่างเป็ นระบบด้ านจิตวิทยาการทดลอง และ


เป็ นผู้นากฎคณิ ตศาสตร์ มาใช้ ในการทดลอง วิธีการของเขาเป็ นต้ นแบบในการทดลองของวิลเฮล์ ม
วุนดท์ (Wilhelm Wundt, ค.ศ. 1832 – 1920 ) สาเหตุที่เฟคเนอร์ ไม่ได้ รับการยกย่องว่าเป็ นผู้ก่อตัง้
จิ ต วิท ยาเพราะเขาไม่ได้ ส นใจที่ จ ะท าให้ สังคมเกิ ด ความเข้ าใจในบทบาทของนัก จิ ต วิท ยาเหมื อน
เช่นวุนดท์
23

 เฮอร์ แมน ฟอน เฮล์ มโฮลทซ์ (Hermann Von Helmhotz)


ค.ศ. 1821 - 1894
นักฟิ สิกส์ และสรี รวิทยาชาวเยอรมันผู้มีชื่อเสีย งท่ านนี ไ้ ด้
ศึ ก ษ าเรื่ อ งป ฏิ กิ ริ ย าต อ บ ส น อ ง ต่ อ เวล า (Reaction - Time
experiment) เพื่ อ ตอบปั ญ หาเรื่ อ งความเร็ วของการส่ งสัญ ญาณ
ประสาท ในปี ค.ศ. 1850 เฮล์ มโฮลท ซ์ ท ดลองกระตุ้ น
เส้ นประสาทมอเตอร์ ของขากบในจุดที่ ใกล้ และไกลจากกล้ ามเนื อ้
และวัดระยะเวลาที่กล้ ามเนือ้ เกิดการตอบสนอง ก่อนการทดลอง
ของเฮล์มโฮลทซ์มีความเชื่อว่ากระแสประสาทเดินทางอย่างรวดเร็ ว
เฮอร์ แมน ฟอน แฮล์ มโฮลทซ์
มากหรื อประมาณไม่ได้ เฮล์มโฮลทซ์ได้ ประมาณว่าความเร็ วของ ที่มาของภาพ:
สารส่งกระแสประสาทมีอตั ราประมาณ 26 เมตรต่อวินาที วิธีการ http://www.rz.hu-erlin.de
/hub/geschichte/hh_g.gif
ของเฮล์มโฮลทซ์เป็ นการวัดปฏิกิริยาของสิ่งเร้ าและการตอบสนอง

ในส่วนของจิตวิทยาเฮล์มโฮลทซ์เชื่อว่าการรั บเรื่ องระวางที่ (space) ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาแต่กาเนิด


ดั ง เช่ น ที่ นั ก ป รั ช ญ า ช า ว อั ง ก ฤ ษ จ อ ร์ จ บ า ร์ ก ลี ย์ (George Berkeley , ค .ศ . 1685 - 1759)
เสนอไว้ แต่คนเราจะต้ องพัฒ นาการคานวณระยะห่ างของวัตถุจากตัวเราเพี ย งแต่ว่าเราไม่ร้ ู ตัวว่าได้
คานวณเช่นนัน้
เฮล์มโฮลทซ์ตงทฤษฎี
ั้ ว่าลักษณะของการคานวณหรื ออนุมาน (inferences) จะต้ องเกิดในระดับ
จิตไร้ สานึก และยิ่ งไปกว่านัน้ การเรี ยนรู้ ก็เกิ ดในระตับจิ ตไร้ สานึกด้ วย เฮล์ มโฮลทซ์ เห็นว่าจิ ตไร้ สานึก
ทางานเป็ นอิสระจากจิตสานึก ความคิดของเฮล์มโฮลทซ์ในส่วนนี ้จึงเหมือนกับซิกมันด์ ฟรอยด์ แต่ทว่า
จิตไร้ สานึกในแนวคิดของเฮล์มโฮลทซ์ เป็ นสิ่งมีเหตุผลและมีรูปแบบเช่นเดียวกับจิตสานึก
ความสนใจของเฮล์มโฮลทซ์ในเรื่ องจิตจัดอยู่ในกลุม่ ประจักษ์ นิยม เฮล์มโฮลทซ์เชื่อว่าสิ่งที่เราทุก
คนรู้ อย่างมัน่ ใจก็คือ ความคิดของเรา หรื อภาพที่เรามีตอ่ โลกตามประสบการณ์ ของเรา แม้ ว่าเราจะไม่ร้ ู ว่า
ความคิดของเราเป็ นจริ งหรื อไม่มนั ก็ไม่สาคัญอะไรตราบเท่าที่มนั ทาให้ เรามีวิถีปฏิบตั ิที่เหมาะสมกับโลกที่
เป็ นอยู่ วิทยาศาสตร์ ถือเป็ นตัวอย่างขันสู ้ งของวิธีปฏิบตั ิที่เหมาะสม
แนวคิดของเฮล์ มโฮลทซ์ท าให้ เห็น ว่าประสบการณ์ การรั บความรู้ สึกไม่สามารถจะแยกย่อยให้
เหลือเพียงส่วนของฟิ สิกส์และสรี รวิทยา และมีความจาเป็ นที่จะต้ องมีสาขาวิชาใหม่ที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
ธรรมชาติ
แนวความคิดทางจิตวิทยา
24
Viewpoint Psychology

 ฟรานซิสคัส ดอนเดอรส์ (Franciscus Donders) ค.ศ. 1818- 1889


นั ก สรี ร วิ ท ยาชาวดั ช ท์ เห็ น ว่ า เวลาระหว่ า งการเร้ าและการ
ตอบสนองสามารถนามาใช้ วดั ความเร็ วของกระบวนการทางจิตใจในเชิง
ปริ ม าณได้ ดอนเดอรส์ ไ ด้ ร วมเอาแนวคิ ด ของเฮล์ ม โฮลทซ์ ในเรื่ อ ง
ระยะเวลาในการตอบสนอง และของนักดาราศาสตร์ ในเรื่ องกระบวนการ
ทางจิ ต เช่นการตัดสินใจ เข้ าไว้ ด้วยกัน วิธีการของเขาเรี ยกว่า เมนทอล
โครโนเมทรี (Mental Chronometry) ตัวอย่างเช่น หากทดลองระยะเวลา
ฟรานซิสคัส ดอนเดอรส์ ในการมีปฏิกิริยาตอบสนองอาจทาง่าย ๆ โดยใช้ สิ่งเร้ าเดียว เช่น ให้ คนกด
ที่มาของภาพ:
http://163.238.8.169/users/orlows ปุ่ มเมื่อรู้ สึกว่าถูกช็อตไฟฟ้าอย่างอ่อน ๆ ที่เท้ า โดยให้ ผ้ ูถูกทดลองกดปุ่ ม
ky/images/donders.jpg
ด้ วยมือซ้ ายเมื่อถูกช็อตที่เท้ าซ้ าย และกดปุ่ มขวาเมื่อถูกช็อตที่เท้ าขวา
ในกรณีเช่นนี ้ผู้รับการทดลองจะต้ องแยกว่าเท้ าใดถูกช็อตและเลือกที่จะตอบสนอง หากผู้ถูกทดลองใช้ เวลา
150 ส่วนของวินาทีในการกดปุ่ มหลังการถูกช็อต และใช้ เวลา 230 ส่วนของวินาทีในการแยกแยะและเลือก
ปุ่ ม แสดงว่ากระบวนการคิดนันใช้ ้ เวลา 230 - 150 = 80
เมนทอล โครโนเมทรี ถูกนามาใช้ โดยวิลเฮล์ม วุนดท์ เพราะว่าเป็ นวิธีการวัดเชิงปริ มาณซึ่งทาให้
จิ ต วิ ท ยาการทดลองแยกตัว ออกมาจากแนวคิ ด จิ ต วิ ท ยาในเชิ ง ปรั ช ญา (Qualitative philosophical
psychology) การประยุกต์ ใช้ วิธีการของ เมนทอล โครโนเมทรี ประสบกับ ปั ญ หามากขึน้ เรื่ อย ๆ จน
มาถึงทางตัน ในศตวรรษ ที่ 20 ปั ญ หาหนึ่งเป็ นผลมาจากเรื่ องความแตกต่างระหว่างบุคคลซึ่งขัดกับ
แนวคิดของ วุนดท์ ในเรื่ องความเป็ นสากลของจิต (general mind) แต่ทว่าลูกศิษย์ ชาวอเมริ กนั ของวุนดท์
คือ เจมส์ แมคคีน แคทเทลล์ (James McKeen Cattell) กลับสนใจมาก เมื่อเกิดแนวคิดพฤติกรรมนิยม
(Behaviorism) นักพฤติกรรมนิยมจึงได้ แปรความสนใจการทดลองเรื่ องช่วงเวลาการตอบสนองมาสู่เรื่ อง
การเรี ยนรู้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อ จิตวิทยาการรู้ คิด (Cognitive Psychology) พัฒ นาขึน้ ในปี ค.ศ. 1960
เมนทอล โครโนเมทรี ก็ ก ลับ มาเป็ นที่ สนใจอีก เนื่ องจากนัก จิ ตวิ ท ยาการรู้ คิด ต้ องการหาวิธี ที่ จ ะศึก ษา
กระบวนการทางจิตใจ เซ่นการตัดสินใจการใช้ เหตุผล และรู ปแบบของการจับคูเ่ ปรี ยบเทียบ
25

ทฤษฎีวิวัฒนาการ

 ชาล์ ส ดาร์ วิน (Chales Darwin) ค.ศ. 1809 - 1882


ดาร์ วินได้ เสนอแนวคิดของเขาใน "On the origin of Species" ทาให้ เกิดคาถามต่อศาสนจักร ใน
เรื่ องบทบาทของพระผู้เป็ นเจ้ าต่อมนุษย์ ดาร์ วินได้ เสนอความคิดเห็นว่าความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตขึ ้นอยู่
กับโอกาส ไม่ได้ เป็ นผลมาจากการปรับตัวของสิ่งมี ชีวิตนัน้ และเป็ นธรรมชาติที่สิ่งมีชีวิตจะต้ องต่อสู้ดิ ้นรน
เพื่ อ การมี ชี วิต รอด ดาร์ วิน เห็ น ว่าความแตกต่ างของมนุ ษ ย์ แ ละสัต ว์ อ ยู่ ที่ ระดับ ขึ น้ ของกระบวนการ
วิวฒ ั นาการที่ไม่ใช่คณ ุ ภาพ แนวคิดของดาร์ วินก่อให้ เกิดการศึกษาจิตวิทยาเปรี ยบเทียบ (Comparative
psychology) เริ่ มตังแต่้ ปี ค.ศ. 1872 และแนวคิดวิวฒ ั นาการ (Evolutional Perspective)

 เฮอร์ เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) ค.ศ. 1820 -1903


สเปนเซอร์ ได้ ประยุ ก ต์ ท ฤษฎี ข อง ดาร์ วิ น ในการอธิ บ ายการถ่ า ยทอดทางพั น ธุ ก รรมของ
ความสามารถในการเชื่อมโยง (evolutionary associationism)

 ฟรานซิส เกลตัน (Francis Galton) ค.ศ.1822 -1911


เกลตันได้ ประยุกต์ใช้ ทฤษฎีของดาร์ วินในการศึกษาเชาว์ปัญญากับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
และเป็ นหนึง่ ในผู้ก่อตัง้ แนวคิดการคัดเลือกชาติพนั ธุ์ (eugenics)
เขาพยายามทดสอบความแตกต่ างระหว่างบุ ค คล โดยการใช้ ก ารทด สอบทางจิ ต (mental
testing) และการวิเคราะห์ เชิงสถิ ติ และเป็ นผู้ริเริ่ มใช้ แบบสอบถามและแบบสารวจในการเก็บข้ อมูลใน
การศึกษามนุษย์ในสังคม

ชาล์ ส ดาร์ วนิ เฮอร์ เบิร์ต สเปนเซอร์ ฟรานซิส เกลตัน


ที่มาของภาพ : http://www.rbgkew.org ที่มาของภาพ : http://cepa.newschool. ที่มาของภาพ: http://www.mugu.
edu/het/profiles/spencer.htm
.uk/heritage/people/images/darwin.jp com/galton/
แนวความคิดทางจิตวิทยา
26
Viewpoint Psychology

สรุ ป เงื่อนไขที่ก่อให้ จิตวิทยาเป็ นวิทยาศาสตร์ ได้ เกิดขึ ้นในยุโรป แนวคิดและการศึกษาทดลองทัง้


ในฝรั่ ง เศส เยอรมนี สหภาพโซเวี ย ต และอังกฤษ เป็ นพื น้ ฐานส าคัญ ที่ ท าให้ จิ ต วิ ท ยาเป็ นศาสตร์ ที่
เจริ ญเติบโตอย่างรวดเร็ วในสหรัฐอเมริ กาในศตวรรษที่ 20
บทที่ 2
จิตวิทยายุคเริ่มต้น
จิตปรัชญา (Philosophy of mind) ซึง่ เป็ นต้ นกาเนิดของจิตวิทยาได้ ถูกนามาประสมประสานกับ
สรี รวิทยา ซึ่งเป็ นวิทยาศาสตร์ สาขาใหม่ มีการคิดค้ นวิธีการต่าง ๆ ที่จะวัด และจัดกระทากับจิตสานึกของ
มนุษย์โดยใช้ การทดลองในห้ องปฏิบตั ิการ บุคคลแรกที่ทาให้ จิตวิทยา ได้ รับการยอมรับว่าเป็ นวิทยาศาสตร์
สาขาวิชาหนึ่ง ซึ่งแยกออกจากวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ (Natural Science) และปรั ชญา ก็คือ วิลเฮล์ ม
แมกซิมิเลียน วุนดท์ (ค.ศ. 1832 - 1920) แห่งเมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี

วิ ลเฮล์ม วุนดท์กบั การเป็ น “ศาสตร์” ของจิ ตวิ ทยาในศตวรรษที่ 19

วิล เฮล์ ม แมกซิ มิ เลี ย น วุ นดท์ (Wilhelm Maximilian Wundt) เกิ ดเมื่อวัน ที่ 16 สิ งหาคม
ค.ศ. 1832 ที่เมืองบาเดน ประเทศเยอรมนี เป็ นบุตรคนที่ 4 ของนักสอนศาสนา แมกซิมิเลียน วุนดท์ และ
มาริ ก เฟเดริ ก บรรพบุรุษทัง้ 2 ฝ่ ายของครอบครัววุนดท์ต่างก็เป็ นพวกมีสติปัญญาสูง เป็ นนักวิทยาศาสตร์
นักวิชาการ ข้ าราชการ และแพทย์

เมื่อจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1851 วุนดท์ ตดั สินใจที่จะ


เรี ยนแพทย์ ความสนใจของเขาอยู่ที่การทาวิจัยด้ านสรี รวิทยา
หลังจากได้ รับปริ ญญาแพทยศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1855 วุนดท์ได้
เรี ยนต่อกับนักสรี รวิทยา โยฮานส์ มูลเลอร์ และได้ รับปริ ญญาใบ
ที่สองในปี ค.ศ. 1857 จากนันจึ้ งได้ เริ่ มสอนวิชาการทดลองทาง
สรี รวิทยา เริ่ มจากการสอนนักเรี ยนเพียง 4 คน โดยใช้ บ้านพัก
ของมารดาเป็ นสถานที่สอน แต่ภายหลังต้ องหยุดสอนเนื่องจาก
ป่ วยหนัก ต่อมาวุนดท์ สมัครและได้ รับการจ้ างเป็ นผู้ช่วยให้ กับ
เฮอร์ แมน ฟอน เฮล์มโฮลทซ์ แม้ วา่ วุนดท์จะชื่นชมเฮล์มโฮลทซ์
วิลเฮล์ ม แมกซิมเิ ลียน วุนดท์
ที่มาของภาพ:
มาก แต่ทัง้ สองก็ไม่สนิ ทสนมกัน เพราะวุนดท์ ไม่ชอบบ้ านที่
http://www.nndb.com/people/ เป็ นวัตถุนิยมของเฮล์มโฮลทซ์
531/000053372/wundt-sm.jpg
แนวความคิดทางจิตวิทยา
28
Viewpoint Psychology

ในระหว่างที่ ท างานกับ เฮล์ ม โฮลทซ์ วุน ดท์ เริ่ ม งานการสอนวิ ช าจิ ต วิ ท ยาโดยบรรยายเรื่ อ ง
"จิตวิทยาในฐานะที่เป็ นวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ" ในปี ค.ศ. 1862 เขามีงานเขียนอย่างต่อเนื่อง โดยงานชิ ้น
แรกของเขาคือ “Grundzüge der Physiologischen Psychologie” ซึ่งเนือ้ หามุ่งเรื่ องจิตวิทยาการทดลอง
ได้ ตีพิ มพ์ ในปี ค.ศ. 1873 และมีการพิ มพ์ ซา้ อีกหลายครั ง้ วุนดท์ ได้ รับ การเลื่อนตาแหน่ งทางวิชาการ
ตามลาดับขันและเข้
้ าสูว่ งการเมืองครัง้ หนึง่ ในฐานะนักสังคมนิยมจิตนิยม (Idealistic Socialist)

ในช่วง ค.ศ. 1875 ถึง ค.ศ. 1917 วุนดท์ ได้ รับตาแหน่งหัวหน้ าแผนกปรั ชญาที่ เมืองไลป์ซิก ที่
เมืองนีเ้ ขาตัง้ สถาบันจิ ตวิทยา (Psychology Institute) ขึน้ ในปี ค.ศ. 1879 โดยเริ่ มจากการเป็ นสถาบัน
ส่วนตัว วุนดท์ใช้ เงินทุนตนเองสนับสนุนการดาเนินงานของสถาบันนี ้จนถึง ปี ค.ศ. 1881 สถาบันแห่งนี ้ก็
ได้ รับการยอมรับวิทยฐานะให้ เป็ นมหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. 1855 และสามารถขยายจากห้ องเรี ยนห้ องเดียว
ย้ ายไปสู่ตกึ ที่ออกแบบโดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1897 ต่อมาตึกหลังนี ้ได้ ถูกทาลายไปในระหว่างสงครามโลก
ครัง้ ที่ 2

ในช่วงที่สอนที่ไลป์ซิก วุนดท์ ได้ ทุ่มเททางานมากโดยได้ ควบคุมวิทยานิพนธ์ ปริ ญญาเอกอย่าง


น้ อย 200 เรื่ อง สอนลูกศิษย์ มากกว่า 24,000 คน เขียนและแก้ ไขบทความสาหรับวารสารจิตวิทยาที่เขา
ก่อตังขึ
้ ้น และไปบรรยายในต่างประเทศ

วุน ดท์ ได้ รับ การยกย่ องว่าเป็ นผู้ที่ ก่ อตัง้ จิ ตวิท ยาให้ เป็ นวิท ยาศาสตร์ ในปั จ จุบันนัก วิช าการมี
ความเห็ น ว่ า แนวความคิ ด ของวุ น ดท์ ต่ า งไปจากที่ เคยเชื่ อ กั น ว่ า เป็ นทวิ นิ ย ม (dualistic) เน้ นแยก
องค์ประกอบออกเป็ นส่วน ๆ (atomistic) ใช้ เฉพาะวิธีการพินิจจิต (purely introspective) และมุ่งอธิบาย
สิ่ ง ที่ อยู่ ใ นจิ ต ส านึ ก เนื่ องจากทฤษฎี และแนวคิ ด ของเขาถู ก น าไป รวมกั บ ของ เอ็ ด เวิ ร์ ด บี
ทิชเชเนอร์ ผู้เป็ นลูกศิษย์ซงึ่ นาแนวคิดและผลงานของเขามาแปลและเผยแพร่ ในสหรัฐอเมริ กา

วุนดท์ ได้ พัฒนาแนวคิดของเขาเพื่อทาให้ จิตวิทยาเป็ นศาสตร์ ที่สมบูรณ์ โดยงานในช่วงท้ ายของ


ชีวิต เขาได้ เสนอให้ มีการศึกษามนุษย์ในสังคม เพื่อเสริ มกับการเข้ าใจมนุษย์ในรายบุคคลในห้ องปฏิบตั ิการ

วุนดท์เสียชีวิตในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1920 รวมอายุได้ 88 ปี


29

ในบรรดาลูก ศิษ ย์ ข องวุน ดท์ ที่ มีส่ วนช่ วยก่ อตัง้ ให้ จิ ตวิท ยาเป็ นศาสตร์ ที่ ได้ รับ การยอมรั บ ใน
สหรัฐอเมริ กา ได้ แก่

จี. สแตนลีย์ ฮอล เลวิส เทอร์ แมน เจมส์ แมคคีน แคทเทล


ที่มาของภาพ https://cdn.britann ทีม่ าของภาพ https://cdn.brita ที่มาของภาพ : https://cdn.
ica.com/s:300x200/51/19551 nnica.com/s:300x300/65/90 britannica.com/s:300x300
-004-BC668069.jpg 65-004-0B6CF0EB.jpg /69/13069-004-5BD3495C.jpg

 จี. สแตนลีย์ ฮอล (G. Stanley Hall) ค.ศ. 1844 - 1924


ผู้ก่อตังสมาคมนั
้ กจิตวิทยาอเมริ กนั (American Psychological Association ; APA) และวารสาร
จิตวิทยาอเมริ กนั (American Journal of Psychology)
 เลวิส เทอร์ แมน (Lewis M. Terman) ค.ศ. 1877 - 1956
ผู้นาแบบทดสอบเชาว์ปัญญา บิเนท์ – ซีมอง สเกล (Binet-Simon Scale) มาพัฒนาเป็ นแบบวัด
เชาว์ปัญญาสแตนฟอร์ ด - บิเนท์ (Stanford–Binet Intelligence Scales) โดยใช้ สตู รของวิลเลียม สเติร์น
(William Stern) ในการคานวณระดับเชาว์ปัญญา ก็คือ
ระดับเชาว์ปัญญา = อายุสมอง X 100
อายุปฏิทิน

 เจมส์ แมคคีน แคทเทล (James Mckeen Cattell) ค.ศ. 1860 - 1944


ผู้บัญญัติศัพท์ คาว่า แบบทดสอบทางจิต (Mental Tests) โดยได้ เขี ยนบทความเรื่ อง “Mental
tests and measurements” ซึ่งถือเป็ นจุดเริ่ มต้ นของงานด้ านการวัดและประเมินทางจิตวิทยา และเขา
เป็ นผู้ก่อตังวารสาร
้ “Psychological Review” ร่ วมกับเจมส์ มาร์ ก บาล์ดวิน ในปี ค.ศ. 1894
แนวความคิดทางจิตวิทยา
30
Viewpoint Psychology

 เจมส์ มาร์ ก บาล์ ดวิน (James Mark Baldwin)


ค.ศ. 1861 -1934
เป็ นผู้ มีผ ลงานสร้ างสรรค์ ในด้ านจิ ตวิ ท ยาวิวัฒ นาการ
(evolutionary psycholog) และเป็ นที่ ร้ ู จัก อย่ างกว้ า งขวางใน
งานสังคมวิทยาชีววิทยา (sociobiology) บาล์ดวินเป็ นประธาน
สมาคมจิตวิทยาอเมริ กนั ในปี ค.ศ. 1897–1898
เจมส์ มาร์ ก บาล์ ดวิน
ที่มาของภาพ https://upload.wikimedia
.org/wikipedia/commons/4/4a/James_
Mark_Baldwin_1917.jpg
 จอร์ ส มัลคอม สแตรททอน
(George Malcolm Stratton) ค.ศ. 1865 - 1957
ผู้ก่อตังห้
้ องปฏิบตั ิการด้ านจิตวิทยาการทดลองแห่งแรก
ในสหรั ฐ อเมริ ก า ที่ ม หาวิ ท ยาลัย แคลิ ฟ อร์ เนี ย เบิ ร์ ก ลี ย์ และ
พัฒนาแบบทดสอบสาหรับการคัดเลือกบุคคลกรกองทัพอากาศ
สหรั ฐอเมริ กาในสงครามโลกครัง้ ที่ 1 งานของเขาเกี่ยวข้ องกับ
จอร์ ส มัลคอม สแตรททอน
การรู้ สึกและการรั บรู้ เขาเป็ นผู้ริเริ่ มการศึกษาเกี่ ยวกับการรั บรู้
ที่มาของภาพ https://upload.wiki ทางสายตาด้ วยการใช้ แ ว่น พิ เศษที่ ท าให้ มองสลับ ซ้ าย – ขวา
media.org/wikipedia/en/d/d8/George
และมองกลับบน – ล่าง
_Malcom_Stratton_at_Berkeley.jpg

 อาโนลด์ แอล กีเซล (Arnold L. Gesell) ค.ศ. 1880- 1961


ผู้ คิ ด ทฤษฏี วุ ฒิ ภาวะในพั ฒ นาการเด็ ก (Gesell’s
Maturational Theory of child development) และพัฒนาแบบ
ป ร ะ เมิ น พั ฒ น า ก า ร เด็ ก กี เซ ล ( Gesell Development
Schedules)

อาโนลด์ แอล กีเซล


ที่มาของภาพ https://archive.org/details
/0011_Life_Begins_11_32_13_00
31

 เอ็ดเวิร์ด บี ทิชเชเนอร์ (Edward B. Titchener) ค.ศ. 1867 - 1927

ผู้นาแนวคิดของวุนดท์ เข้ าสู่สหรั ฐอเมริ กา โดยได้ ปรั บ


แนวคิดของวุนดท์ มาอธิ บายจนเป็ นที่ร้ ู จักในชื่อ โครงสร้ างนิยม
(structuralism) และเขียนหนังสือ “Experimental Psychology:
A Manual of Laboratory Practice” ซึ่ ง วางแนวทางในการ
ทดลองด้ านจิตวิทยา
ทิ ชเชเน อร์ เป็ น ผู้ บั ญ ญั ติ ศั พ ท์ ค าว่ า “Empathy” เอ็ดเวิร์ด บี ทิชเชเนอร์
ซึง่ หมายถึง การเข้ าใจอย่างลึกซึ ้ง ที่มาของภาพ: https://digital.library.
cornell.edu/catalog/ss:545484

 เอ็ดเวิร์ด สคริปเจอร์ (Edward Scripture) ค.ศ. 1864 - 1945


ผู้สร้ างห้ องปฏิบัติการด้ านจิ ตวิทยาการทดลองที่ มหาวิทยาลัยเยล และเป็ นผู้มีบทบาทใน
ด้ านวิทยาศาสตร์ การพูด (Speech science)

 โฮเวิร์ด ซี วาร์ เรน (Howard C. Warren) ค.ศ. 1867 - 1934


ประธานภาควิ ชาจิ ตวิท ยาคนแรกของมหาวิท ยาลัย พริ น ซ์ ตัน และบรรณาธิ การร่ วมของ
วารสาร “Psychological Review”

วิลเฮล์ม วุนดท์ (นัง่ ) และเพื่อนร่ วมงาน ในห้ องปฏิบตั กิ ารด้ านจิตวิทยาการทดลองแห่งแรกมหาวิทยาลัยไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี
ทีม่ าของภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a3/Wundt-research-group.jpg
แนวความคิดทางจิตวิทยา
32
Viewpoint Psychology

วิ ลเลียม เจมส์ และบทบาทของจิ ตวิ ทยาหน้ าที่ (Functional Psychology)

เมื่อความตังใจของวุ
้ นดท์ในการทาให้ จิตวิทยาเป็ นวิทยาศาสตร์ ได้ เผยแพร่ เข้ าไปในสหรัฐอเมริ กา
โดยนั ก จิ ต วิ ท ยาชาวอเมริ กั น ที่ เคยได้ รั บ การฝึ กฝนในเยอรมนี จ ากวุน ดท์ ได้ มี บ ทบาทในการก่ อ ตัง้
ห้ องปฏิบตั ิการทางจิตวิทยาในหลายมลรัฐ ขณะเดียวกันได้ เกิดแนวคิดจิตวิทยาที่เน้ นการมองพฤติกรรม
ในรู ปแบบการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้ อม หรื อ จิตวิทยาการหน้ าที่ (Function Psychology) ซึง่ ให้ ความสาคัญ
กับกระบวนการคิด (mental process) มากกว่าเนื ้อหาความคิด (mental content) และเน้ นคุณค่าของการ
ใช้ ประโยชน์จากวิชาจิตวิทยา

ผู้ ริ เ ริ่ ม พั ฒ นาแนวความคิ ด จิ ต วิ ท ยาการหน้ าที่ คื อ วิ ล เลี ย ม เจมส์ (William James


ค.ศ. 1842 - 1910) โดยเขี ย นหนังสื อ “The Principles of Psychology” ตีพิ มพ์ ในปี ค.ศ.1890 เสนอ
ความเห็นว่าจิตวิทยาควรศึกษาภาวะของการรู้ สานึก ซึ่งความรู้ สานึกนี ้เป็ นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล
ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาปั จจัยด้ านชีวภาพและสิ่งแวดล้ อมภายนอกจะเป็ นส่วนสาคัญที่ทาให้ คน
สามารถปรับตัวได้

จิตวิทยาการหน้ าที่ ไม่ไ ด้ เป็ นแนวคิดที่ สมบูรณ์ เป็ นระบบ


แต่เป็ นแนวคิดที่เน้ นเรื่ องการประยุกต์ใช้ ประโยชน์ ของวิชาจิตวิทยา
ในแง่ของการทดลอง จิ ตวิท ยาการหน้ าที่ และจิ ตวิท ยาโครงสร้ าง
นิยมอาจทาเหมือนกัน แต่เหตุผลในการทาต่างกัน โดยนักจิตวิทยา
การหน้ าที่ต้องการดูว่าจิตทางานอย่างไร และจิตมีประโยชน์อย่างไร
ในขณะที่ นักจิ ตวิทยาโครงสร้ างนิ ยมจะมุ่งความสนใจไปที่ เนื อ้ หา
และโครงสร้ างของกระบวนการคิด

ศู น ย์ ก ล างข อ งจิ ต วิ ท ย าก ารห น้ าที่ มี 2 แ ห่ ง คื อ


มหาวิ ท ยาลัย ชิ ค าโก และที่ ม หาวิ ท ยาลัย โคลัม เบี ย และถื อ เป็ น วิลเลียม เจมส์
ที่มาของภาพ: http://moebius.
หน่ วยงาน ที่ เผ ยแพ ร่ จิ ตวิ ท ยาซึ่ ง เป็ น ศ าสตร์ ส าขาให ม่ ใ น
psy.ed.ac.uk/conference
สหรัฐอเมริ กา /james.jpg
33

ในส่วนของมหาวิทยาลัยชิคาโกมีนกั จิตวิทยา คือ จอห์น ดิวอี ้ (John Dewey, ค.ศ. 1859 - 1952)
เจมส์ แองเจล (James Angell, ค.ศ. 1869 - 1949) และฮาร์ วีย์ คาร์ (Harvey Carr, ค.ศ. 1873 - 1954)

ส่วนมหาวิ ท ยาลัย โคลัม เบี ย มี เจมส์ แมคคี น แคทเทล (James Mckeen Cattell, ค.ศ.1860 -
1944) เอ็ดเวิร์ด ลี ทอร์ นไดก์ (Edward Lee Thorndike, 1874 - 1949) โรเบิร์ด เอส วูดเวิร์ท (Robert S.
Woodworth, 1869 - 1962)

แนวคิ ด จิ ต วิ ท ยาการหน้ าที่ ค งอยู่ ใ นสหรั ฐ อเมริ ก าเพี ย งช่ ว งสั น้ ๆ นั ก ทฤษฎี บ างท่ า น
(Brennan,1991) ให้ ความเห็นว่า เราสามารถมองจิตวิทยาการหน้ าที่ได้ 2 ทาง คือ (1) จิตวิทยาการหน้ าที่
เปรี ยบเสมือนช่วงเปลี่ยนแปลงของสหรัฐอเมริ กาจากแนวคิดจิตวิทยาโครงสร้ างนิยมมาสูก่ ารเป็ นจิตวิทยา
พฤติกรรมนิยมหรื อ (2) อาจมองได้ ว่าแนวคิดจิตวิทยาการหน้ าที่ทาให้ จิตวิทยาเป็ นศาสตร์ ที่แข็งแกร่ งใน
สหรัฐอเมริ กา เพราะมีจุดประสงค์ในด้ านการประยุกต์ใช้ จึงทาให้ วงการศึกษาเกิดความสนใจในศาสตร์
จิตวิทยา

จิ ตวิ ทยาเกสตอลต์ (Gestalt Psychology)

จิ ตวิท ยาเกสตอลต์ เป็ นแนวคิดที่ เกิ ดขึน้ ในประเทศเยอรมนี เพื่ อคัดค้ านการศึก ษาหรื ออธิ บ าย
กระบวนการทางจิ ต ของมนุ ษ ย์ อ อกเป็ นส่ ว นๆ ค าว่ า เกสตอลต์ (Gestalt) ไม่ ส ามารถแปลให้ เป็ น
คา ๆ เดียวได้ แต่หมายถึงรู ปแบบที่มีลกั ษณะเฉพาะ ความพยายามที่จะวิเคราะห์สว่ นย่อยแต่ละส่วนจะ
ทาให้ สูญเสียความหมายของสิ่งนัน้ ไป สิ่งที่เราเห็น เช่น วัตถุ รู ปร่ าง จะมีความแตกต่างจากผลรวมของ
ส่วนประกอบทัง้ หมดของมัน ตัวอย่ างเช่น รถยนต์ มีความหมายมากกว่าตัวถัง ล้ อ เพลา พวงมาลัย
เครื่ องยนต์ และชิ ้นส่วนอุปกรณ์ทกุ ชิ ้นรวมกัน เช่นเดียวกันกับ สี่เหลี่ยมจัตรุ ัสรู ปหนึง่ มีความเป็ นเอกลักษณ์
และคุณสมบัติเฉพาะของมัน ซึง่ เราจะไม่สามารถซาบซึ ้งหรื อเข้ าใจได้ เต็มที่หากเราเห็นว่ามันเป็ นเส้ นตรงสี่
เส้ นมาเชื่อมต่อกันเป็ นมุมฉาก จิตวิทยาเกสตอลต์เห็นว่าการพยายามอธิบายกระบวนการเรี ยนรู้ โดยแยก
ศึก ษาถึงสิ่ งที่ เกิ ด ขึน้ ในระดับ สรี รวิท ยาออกเป็ นส่วน ๆ จะไม่ช่ วยท าให้ เราเข้ าใจถึงสิ่งที่ เกิ ดขึน้ ในทาง
จิตวิทยาได้ จิตวิทยาเกสตอลต์เชื่อว่า สิ่งใด ๆ ก็ตามมีความหมายมากกว่าผลรวมของส่วนประกอบย่อย

ผู้นาแนวคิดเกสตอลต์ คือ แมกซ์ เวอร์ ไธเมอร์ วอล์ฟกัง โคลเลอร์ และเคิร์ท คอฟกา


แนวความคิดทางจิตวิทยา
34
Viewpoint Psychology

 แมกซ์ เวอร์ ไธเมอร์ (Max Wertheimer) ค.ศ. 1880 - 1943


แมกซ์ เวอร์ ไธเมอร์ เกิ ด ที่เมืองปราก และศึกษาที่ มหาวิทยาลัย
ชาร์ ล ส์ ในประเทศเยอรมนี เวอร์ ไ ธเมอร์ ไ ด้ เรี ย นกั บ คาร์ ล สตั ม ปฟ์
(Carl Stumpf ค.ศ. 1848 - 1936) ที่เมืองเบอร์ ลินเป็ นเวลาหลายปี ก่อนที่
จะช่วยงานออสวาลด์ คลูเป (Oswald Külpe ค.ศ. 1862 - 1915) ที่เมือง
วอร์ ซเบิร์ก และได้ รับปริ ญญาเอกในปี ค.ศ.1904

แมกซ์ เวอร์ ไธเมอร์ ในปี ค.ศ.1910 เวอร์ ไธเมอร์ ได้ ความคิดที่จะทดลองเรื่ องการรับรู้
ที่มาของภาพ: การเคลื่ อนไหว (apparent movement) จากการเห็ น กล้ องฉายหนังของ
http://allpsy
ch.com/biographies/images/
เล่ น ที่ ป ระกอบขึ น้ อย่ า งง่า ย ๆ ในระหว่ า งที่ เขาเดิ น เที่ ย วสถาบั น ด้ า น
wertheimer.gif จิตวิทยาแห่งแฟรงก์เฟิ ร์ ต และขอยืมกล้ องของมหาวิทยาลัยนันเพื ้ ่อทดลอง
เรื่ องการเกิดภาพลวงตาเมื่อฉายภาพนิ่งด้ วยความเร็ ว สูง ในการนี ้ วอล์ฟกัง โคลเลอร์ และ เคิร์ท คอฟกา
ได้ เข้ ามาเป็ นผู้รับการทดลองของ เวอร์ ไธเมอร์ เรื่ องการรับรู้ การเคลื่อนไหวหลอก (phi phenomenon)
ในปี ค.ศ.1919 เวอร์ ไธเมอร์ ได้ ตี พิ ม พ์ ผ ลงานของเขา เรื่ อ ง “Experimental Studies of the
Perception of Movement” ซึ่งถื อเป็ นจุดเริ่ มต้ น ของจิ ตวิ ท ยาเกสตอลต์ เนื่ องจากงานวิจัยของเขาได้
ชี ้ให้ เห็นว่า การรับรู้ การเคลื่อนไหว เช่น การรับรู้ การเคลื่อนไหวหลอก เกิดจากปฏิสมั พันธ์ของผู้รับรู้ และตัว
สิ่งเร้ า ซึ่งไม่สามารถจะศึกษาตามวิธีของวุ น ดท์ คือศึกษาเฉพาะการที่ ผ้ ูถูกทดลองเห็นสิ่งเร้ าแต่ละส่วน
เท่านัน้
ในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 1 เวอร์ ไธเมอร์ ได้ ทางานวิจยั ให้ แก่กองทัพ หลังจากสงครามโลกเขา
ได้ บรรยายให้ กับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และได้ ดารงตาแหน่งศาสตราจารย์ ของมหาวิทยาลัยในแฟรงก์
เฟิ ร์ ตใน ค.ศ.1929
ในปี ค.ศ.1933 เขาได้ ลี ภ้ ัย นาซี จากเยอรมัน นี ม าที่ ป ระเทศสหรั ฐ อเมริ ก า โดยท าการสอนใน
มหาวิทยาลัยที่ เมืองนิ วยอร์ ก และในปี ค.ศ.1945 เวอร์ ไธเมอร์ ได้ ตีพิมพ์ เรื่ อง “Productive thinking”
โดยได้ นาเสนอแนวทางที่จะล่งเสริ มการพัฒนาวิธีการแก้ ปัญหาอย่างสร้ างสรรค์
เวอร์ ไธเมอร์ ได้ เผยแพร่ แนวคิดจิตวิทยาเกลตอลต์ในสหรัฐอเมริ กา จนได้ รับยกย่องว่าเป็ นผู้สร้ าง
แรงบันดาลใจให้ ชาวอเมริ กนั สนใจจิตวิทยาเกสตอลต์ นอกจากนี ้เขายังได้ ขยายขอบเขตของจิตวิทยาเกส
ตอลต์ที่เดิมสนใจเฉพาะปั ญหาเรื่ องการรับรู้ ไปสูก่ ระบวนการคิด แนวความคิดท้ ายสุดของเวอร์ ไธเมอร์ ก็
คือ จิตวิทยาการรู้ คิด
35

 วอล์ ฟกัง โคลเลอร์ (Wolfgang Kohler) ค.ศ. 1887 - 1967


วอล์ฟกัง โคลเลอร์ ศึกษาในมหาวิทยาลัยหลายแห่งก่อนที่จะเข้ า
เรี ยนกับคาร์ ล สตัมปฟ์ ในเมืองเบอร์ ลิน และได้ รับปริ ญญาเอก ในปี ค.ศ.
1909
โคลเลอร์ ได้ ศึ ก ษาแนวทางในการจ าแนกความแตกต่ า งและ
กระบวนการแก้ ปัญ หา โดยได้ เดินทางไปที่ เกาะคานารี ในปี ค.ศ.1913
เพื่อศึกษาลิงชิมแปนซี โคลเลอร์ พบว่าลิงมีวิธีการแก้ ปัญ หาโดยวิธีการ
วอล์ ฟกัง โคลเลอร์
หยั่งรู้ (insightful strategies) มากกว่าใช้ ก ารลองผิ ดลองถูก (Trial and ที่มาของภาพ:
error) ลิ ง ที่ ฉ ลาดที่ สุ ด ในการทดลองของเขาคื อ “สุ ล ต่ า น” สามารถ http://www.pigeon.psy.tufts.edu/ps
ych26/images/kohler.jpg
แก้ ปั ญหาต่ า ง ๆ ที่ ก าหนดไว้ โดยใช้ กระบวนการเรี ย นรู้ แบบหยั่ ง รู้
โคลเลอร์ ได้ ตีพิมพ์ ผลการศึกษาของเขาในปี ค.ศ.1917 และผลงานของ
เขาได้ รับการแปลเป็ นภาษาอังกฤษโดยมีชื่อว่า “The Mentality of Apes”
ในปี ค.ศ. 1925
ในปี ค.ศ. 1920 โคลเลอร์ ได้ พิมพ์ งานเขียนเรื่ อง “Die physischen Gestalten in Ruheund in
stationarem Zustand” (Static and Stationary Physical Gestalts) ซึง่ เป็ นส่วนหนึ่งที่ทาให้ เขาได้ รับการ
แต่งตังให้
้ ดารงตาแหน่งต่อจากคาร์ ล สตัมปฟ์ ในปี ค.ศ.1922
ในช่วงปี ค.ศ. 1934 ถึง ค.ศ. 1935 โคลเลอร์ ได้ บรรยายที่มหาวิทยาลัยฮาร์ วาร์ ด และในปี ค.ศ.
1935 โคลเลอร์ ได้ อพยพจากประเทศเยอรมัน มาอยู่ในสหรั ฐ อเมริ ก าเป็ นการถาวร เขาได้ เข้ าสอนที่
วิทยาลัยสวอร์ ทมอร์ (Swarthmore College) จนกระทัง่ เกษี ยณ
โคลเลอร์ ปรั บตัวให้ เข้ ากับประเทศสหรัฐอเมริ กาได้ ดีกว่าเวอร์ ไธเมอร์ และเป็ นผู้ที่ทาให้ จิตวิทยา
เกสตอลต์เป็ นที่ร้ ู จกั อย่างกว้ างขวาง โคลเลอร์ ได้ รับยกย่องว่าเป็ นผู้ที่สามารถเสนอแนวความคิดจิตวิทยา
เกสตอลต์ได้ อย่างลึกซึ ้งและเป็ นระบบ เขาได้ รับเลือกให้ เป็ นประธานของสมาคมนักจิตวิทยาอเมริ กนั ในปี
ค.ศ. 1958
แนวความคิดทางจิตวิทยา
36
Viewpoint Psychology

 เคิร์ท คอฟกา (Kurt Koffka) ค.ศ. 1886-1941

คอฟกาได้ รับปริ ญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเบอร์ ลิน ในปี ค.ศ.


1909 เช่นเดียวกับโคลเลอร์ หลังจากร่ วมงานกับเวอร์ ไธเมอร์ และ โคล
เลอร์ แล้ ว คอฟ กาก็ เ ข้ าท างานที่ มหาวิ ท ยาลั ย กี เ ซิ น (Giessen
University) จนถึงปี ค.ศ. 1924 คอฟกาได้ บรรยายให้ กบั มหาวิทยาลัย
ในสหรัฐอเมริ กาหลายแห่ง เมื่อเขาอพยพมาอยู่ในสหรัฐอเมริ กา ก็ได้ เข้ า
เคิร์ท คอฟกา สอนที่วิทยาลัยสมิท ตังแต่
้ ปี ค.ศ.1927 จนกระทัง่ เสียชีวิต
ที่มาของภาพ: http://www.info
america.org/teoria/imagenes/ ในปี ค.ศ.1921 คอฟกาได้ เขียนหนังสือชื่อ “The Growth of
koffka.jpg
The Mind” ซึ่ ง เป็ นหนั ง สื อ จิ ต วิ ท ยาด้ านพั ฒ นาการเด็ ก ที่ ไ ด้ รั บ การ
ยอมรับอย่างกว้ างขวาง ทังในสหรั
้ ฐอเมริ กาและประเทศเยอรมนี
ในปี ค.ศ.1922 คอฟกาได้ เขียน “Perception: An Introduction to the Gestalt Theories” ลงใน
วารสาร “Psychological Bulletin” ซึง่ ทาให้ นกั วิชาการชาวอเมริ กนั จานวนมากได้ ร้ ู จกั จิตวิทยาเกสตอลต์

ในปี ค.ศ.1935 คอฟกาได้ เขียนหนังสือชื่อ “Principles of Gestalt Psychology” โดยพยายามจะ


อธิบายถึงแนวคิดเกสตอลต์ แต่ปรากฏว่าเป็ นงานเขียนที่เข้ าใจยากมาก อย่างไรก็ตาม คอฟกาได้ รับยกย่อง
ว่ า เป็ นห นึ่ ง ใน บ รรดาผู้ ก่ อ ตั ง้ จิ ต วิ ท ยาเกสตอลต์ โดยมี บ ทบ าทส าคั ญ ใน การสอน แนวคิ ด
เกสตอลต์ให้ กบั นักจิตวิทยาจานวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริ กา

ในช่วงที่ผ้ ูนาแนวคิดเกสตอลต์ทงั ้ สามคนได้ อพยพไปยังสหรัฐอเมริ กา คือ ประมาณ ค.ศ. 1930


เป็ นเวลาที่ แ นวคิ ด พฤติ ก รรมนิ ย ม (Behaviorism) ก าลังเป็ นที่ นิ ย ม แนวคิ ด จิ ต วิ ท ยาเกสตอลต์ จึ งไม่
สามารถแข่งขันกับแนวคิดพฤติกรรมนิยมได้ แต่ได้ มีบทบาทสาคัญในการกระตุ้นให้ นักพฤติกรรมนิยมใน
สหรั ฐ อเมริ ก าเกิ ด ความสนใจในเรื่ อ งการเรี ย นรู้ โดยผ่ า นกระบวนการรู้ คิ ด (Cognitive Learning)
เช่ น การเรี ยนรู้ แฝง (Latent learning) ของ เอ็ ด เวิ ร์ ด ซี โท ลแมน (Edward c. Tolman) เป็ น ต้ น
นอกจากนัน้ อีกแนวคิดหนึ่งซึ่งพัฒ นามาจากแนวคิดทฤษฏีเกสตอลต์ ก็คือ แนวคิด ในเรื่ องกิ จกรรมทาง
สังคมและพลวัต ของบุคลิก ภาพ ซึ่งมีซื่อว่า ทฤษฏี สนาม (Field theory) ของ เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin)
ซึง่ อธิบายเรื่ องแรงจูงใจของบุคคลและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
37

ซิ กมันด์ ฟรอยด์ และทฤษฎีจิตวิ เคราะห์ (Psychoanalysis)

แนวคิด จิ ตวิเคราะห์ เริ่ มต้ น ในช่วงต้ น ศตวรรษที่ 19 ผู้ก่ อตัง้ คือ ซิ กมั นด์ ฟรอยด์ (Sigmund
Freud ค.ศ.1856 - 1939) แพทย์ด้านประสาทวิทยาชาวออสเตรี ย

ฟรอยด์เริ่ มต้ นงานบาบัดทางจิตเวชกับผู้ป่วยฮิสทีเรี ย ในปี ค.ศ. 1886 โดยพบว่าผู้ป่วยมีอาการดี


ขึ น้ ผ่ า นการพู ด คุ ย เพื่ อ การบ าบั ด (Talking cure) เขาพั ฒ นาทฤษฎี จิ ต วิ ท ยาพั ฒ นาการทางเพศ
(Psychosexual developmental theory) และเชื่อว่า 5 ขวบแรกของชีวิตมีความสาคัญต่อพัฒนาการของ
บุค ลิกภาพ ฟรอยด์ แบ่ งโครงสร้ างบุคลิก ภาพเป็ น 3 ส่ วน คือ อิด (Id) อีโก้ (ego) และซุป เปอร์ อีโก้
(superego) ส่วนสาคัญของทฤษฏีคือ ระดับการรู้ ตวั ของบุคคล ที่แบ่งเป็ นจิตสานึก (conscious) และจิต
ไร้ สานึก (unconscious)

ฟรอยด์อธิบายว่า พฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ เกิดจากแรงขับภายในและปมปั ญหาของแต่ละ


บุค คลซึ่งคนเราจะรู้ ตัวน้ อยมาก รวมถึงไม่สามารถควบคุมแรงขับ นี ไ้ ด้ ความฝั นและคาพูดพลัง้ ปาก
ชี ้ให้ เห็นถึงความรู้ สกึ ที่แท้ จริ งที่มาจากจิตไร้ สานึก ประสบการณ์ ในอดีต โดยเฉพาะประสบการณ์ ในวัย
เด็ก มีส่วนสาคัญในการก่อร่ างของบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่ ประสบการณ์ ทางลบที่บคุ คลได้ รับในวัยเด็กซึง่
ไม่ได้ รับการแก้ ไข กลายเป็ นความติดข้ องในแต่ละลาดับขันของพั ้ ฒนาการ ส่งผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล
เมื่อเติบโตเป็ นผู้ใหญ่ หากความขัดแย้ งในจิตใต้ สานึกมีมากเกินไป จะก่อให้ เกิดความเจ็บป่ วยทางจิ ต
และความผิดปกติของบุคลิกภาพ

ซิกมันด์ ฟรอยด์
ที่มาของภาพ : https://cdn.britannica.com/s:300x300/29/59229-004-4C758356.jpg
แนวความคิดทางจิตวิทยา
38
Viewpoint Psychology

แนวคิดของกลุ่มจิตวิเคราะห์ ได้ นามาเป็ นพื น้ ฐานในการศึกษาด้ านบุคลิกภาพ และการบาบัด


ในส่วนของการศึกษาบุคลิกภาพ แนวคิดของกลุ่มจิตวิเคราะห์ ได้ ทาให้ เกิดการสร้ างทดสอบทางจิตวิทยา
แบบสะท้ อ นภาพ (Projective test) ตัวอย่ างเช่ น แบบทดสอบภาพหยดหมึก รอร์ ส ชาค (Rorschach
inkblot Test) แบบทดสอบ Thematic Apperception Test (TAT) และแบบทดสอบบุคลิกภาพแบบปรนัย
เช่ น Myers–Briggs Type Indicator (MBTI) แ ล ะ Minnesota Multiphasic Personality Inventory
(MMPI)

ในการบาบัดพยาธิ สภาพทางจิ ตจะใช้ สัมพันธภาพระหว่างนักจิ ตวิเคราะห์ และผู้รับการบาบัด


เพื่อให้ เข้ าถึงความขัดแย้ งที่อยู่ในระดับจิตไร้ สานึก กระบวนการบาบัดมุ่งเน้ นการนาสิ่งที่อยู่ในจิตไร้ สานึก
เข้ าสู่จิตสานึก โดยมีเทคนิคที่สาคัญ คือ การเชื่อมโยงอย่างอิสระ (Free association) การวิเคราะห์ การ
ปกปิ ดขัดขืน (Analysis of resistance) การวิเคราะห์การถ่ายโอนความรู้ สกึ (Analysis of transference)
และการแปลความหมาย (Interpretation) โดยเฉพาะการแปลความฝั น (Dream interpretation)

จิตวิเคราะห์ในภายหลังได้ พัฒนาและแตกแขนงออกเป็ นหลายสาย ทัง้ โดยกลุ่มนักจิตวิทยาร่ วม


สมัยซึ่งเชื่อในแนวคิดของจิตวิเคราะห์ เช่น แอดเลอร์ (Alfred Adler ค.ศ. 1870 - 1937) คาร์ ล จุง (Carl
Jung ค.ศ. 1875 - 1961) ซึ่งมีความคิดเห็นบางอย่างแตกต่างจากทฤษฏีจิตวิเคราะห์ ของฟรอยด์ และ
เรี ยกตนเองว่า กลุ่มนีโอ ฟรอยเดียน (Neo-Freudians) และกลุ่มนักจิตวิเคราะห์รุ่นหลัง เช่น อีริค ฟรอมม์
(Erich Fromm ค.ศ. 1900 - 1980) คาเรน ฮอร์ นาย (Karen Horney ค.ศ. 1885 - 1952) และแฮรี่ สแตค
ซัลลิแวน (Harry Stack Sullivan ค.ศ. 1892 - 1949) เป็ นต้ น
39

พฤติ กรรมนิ ยม (Behaviorism)

ในช่วงการก่อตังศาสตร์
้ จิตวิทยา วิลเฮล์ม วุนด์ และวิลเลียม เจมส์ นักจิตวิทยาผู้มีบทบาทถือว่า
จิตวิทยาเป็ นวิทยาศาสตร์ ของจิต โดยให้ ความสาคัญกับการศึกษาสิ่งที่อยู่ในจิตสานึก (Consciousness)
ในขณะต่อมา ฟรอยด์เปลี่ยนมาให้ ความสาคัญกับการศึกษาทังจิ ้ ตไร้ สานึก และจิตสานึก
ก่ อ นสงครามโลกครั ง้ ที่ 1 แนวคิ ด พฤติ ก รรมนิ ย มได้ พัฒ นาขึ น้ ซึ่งนิ ย ามของจิ ตวิ ท ยาได้ ถู ก
เปลี่ยนเป็ นวิทยาศาสตร์ ด้านพฤติกรรม ซึง่ อาจถือได้ ว่า จิตวิทยาได้ เปลี่ยนจากจิตนิยม (mentalism) มา
เป็ นพฤติกรรมนิยม (behaviorism) โดยมีพื ้นฐานมาจากงานของอิวาน พาฟลอฟ และวลาดีมีร์ เบฮ์เจเรฟ
แนวคิดพฤติกรรมนิยม มุ่งการทานาย ควบคุม อธิบาย หรื อกาหนดรู ปแบบพฤติกรรม เพื่อที่จะ
อธิ บายถึงสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ โดยกลุ่มพฤติกรรมนิยมเสนอให้ ใช้ การสังเกตพฤติกรรม
ภายนอก ที่สามารถวัดและสังเกตเห็นได้
ผู้ก่อตังแนวคิ
้ ดพฤติกรรมนิยมได้ แก่ จอห์น บี วัตสัน และ บี เอฟ สกินเนอร์

 จอห์ น บี วัตสัน (John B. Watson) ค.ศ. 1878 - 1958

จอห์ น บี วั ต สั น นั ก จิ ต วิ ท ยาชาวอเมริ กั น จบ
การศึกษาในระดับปริ ญ ญาเอกจากมหาวิทยาลัยชิคาโก้ และ
ทางานเป็ นอาจารย์สอนและวิจยั เกี่ยวกับสัตว์ในห้ องปฏิบตั ิการ
ทางจิตวิทยา
วัตสันเป็ นผู้วางรากฐานพฤติกรรมนิยม และเป็ นผู้นา
หลักการและทฤษฏีมาใช้ อย่างกว้ างขวางในสหรัฐอเมริ กา โดย
ได้ รับแนวคิดมาจากการทดลองของ อิวาน พาฟลอฟ และจาก
จอห์ น ล็อค นักปรั ชญาชาวอังกฤษ ซึ่งเสนอว่าจิ ตมนุษย์ แรก จอห์ น บี วัตสัน
ที่มาของภาพ : https://www.quien.net/wp-
เกิดนัน้ ว่างเปล่า ประสบการณ์ จากการเลี ้ยงดูและสิ่งแวดล้ อม
content/uploads/John-Broadus-Watson-
(nurture) เป็ นสิ่งกาหนดการรับรู้ ตวั ตน (self) 300x298.jpg
แนวความคิดทางจิตวิทยา
40
Viewpoint Psychology

วัตสันเชื่อว่าพฤติกรรมทางอารมณ์ของมนุษย์เกิดจากการเรี ยนรู้ โดยในปี ค.ศ. 1920 วัตสันได้


ทาการทดลองกับเด็กชายอัลเบิร์ต (Little albert) โดยวางเงื่อนไขให้ อลั เบิร์ตกลัวหนูขาวทัง้ ๆที่อลั เบิร์ตไม่
เคยกลัวหนูขาวมาก่อน
วัตสันเชื่อว่าหากสามารถควบคุมสิ่งแวดล้ อมของบุคคลได้ ก็จะสามารถจัดการให้ เกิดพฤติกรรมที่
ต้ องการได้ โดยเขาได้ เขียนไว้ วา่

“ให้ทารกที ่มีสขุ ภาพดี สมบูรณ์ แก่ฉนั 12 คน และให้เลี ย้ งดูในโลกของฉัน รับรอง


ว่าฉันจะสามารถเลื อกฝึ กเด็กคนใดก็ ได้แม้โดยการสุ่ม และทาให้เขาเติ บโตขึ้นเป็ นคนที ่มี
ความสามารถเฉพาะต่างๆ ตามที ่เลื อกไม่ว่าจะเป็ นหมอ ทนาย ศิ ลปิ น พ่อค้า และแม้แต่
ขอทานหรื อขโมย โดยไม่สาคัญเลยว่าทารกนัน้ จะมี ความฉลาด นิ สยั ความสามารถ และ
มาจากเชื อ้ ชาติ ใด”
ที่มา : Watson, J. B., 1924, Behaviorism. Chicago: University of Chicago Press. p.82

 บี เอฟ สกินเนอร์ (B. F. Skinner) ค.ศ. 1904 - 1990


บี เอฟ สกินเนอร์ เป็ นผู้เสนอหลักการวางเงื่อนไขเป็ น
ผ ล ก ร ร ม (Operant conditioning ห รื อ Instrumental
conditioning) เขานาทฤษฏีของ เอ็ดเวิร์ด ลี ทอร์ นไดก์ ผู้เสนอ
กฎของผล (Law of effect) มาต่อยอด
การศึ ก ษาที่ ส าคัญ ของเขา คื อ กล่ อ งของสกิ น เนอร์
(Skinner’s Box) ในปี ค.ศ. 1938 โดยนาหนูที่หิวใส่ในกล่อง เมื่อ
หนูบงั เอิญกดคานเข้ า อาหารก็ตกลงมา ทาให้ หนูมีพฤติกรรมกด
บี เอฟ สกินเนอร์
คานเรื่ อย ๆ ต่อมาเมื่อหนูกดคานแล้ วไม่มีอาหาร ช่วงระยะเวลา
ที่มาของภาพ หนึง่ หนูก็จะหยุดกดคาน ซึง่ ทาให้ เห็นความสาคัญของสิ่งเสริ มแรง
https://cdn.britannica.com/s:
(Reinforcer) จากหลัก การนี ส้ ามารถน ามาประยุก ต์ ใช้ ในการ
300x300/92/110192-004-36256FAE.jpg
สร้ างพฤติกรรมที่ต้องการในมนุษย์
41

การสารวจในปี ค.ศ. 2002 พบว่า สกินเนอร์ ถือเป็ นนักจิตวิทยาที่มีอิทธิพลมากที่สดุ ในศตวรรษที่


20 ผลงานของสกินเนอร์ มีหนังสือ 21 เล่ม และบทความ 180 บทความ หนังสือที่มีชื่อเสียงมากเล่มหนึ่ง
คือ นวนิ ยายวิท ยาศาสตร์ เรื่ อง “Walden Two” ซึ่งน าหลัก การทางจิ ตวิท ยาในการสร้ างสังคมอุดมคติ
(Utopia)

แนวคิดพฤติกรรมนิยมถูกวิพากษ์ วา่ ละเลยกระบวนการที่เกิดในตัวบุคคล และสนใจเฉพาะสิ่งเร้ า


และการตอบสนอง โดยเฉพาะนักภาษาศาสตร์ เช่น นอม ชอมสกี ้ (Noam Chomsky) ซึง่ ชี ้ว่าทฤษฏีสิ่งเร้ า
และการตอบสนองไม่สามารถอธิ บ ายกระบวนการเรี ยนรู้ ด้ านภาษาและพฤติกรรมทัง้ หมดของมนุษ ย์
นักจิตวิทยาสองท่านที่มีบทบาทสาคัญในปรับเสริ มแนวคิดพฤติกรรมนิยม โดยได้ นาแนวคิด เรื่ องการรู้ คิด
(Cognition) มาเพิ่มในการอธิบายกระบวนการเรี ยนรู้ ได้ แก่ จูเลียน รอตเตอร์ (Julian Rotter ค.ศ. 1916 –
2014) และ อัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura ค.ศ. 1925 – ปั จจุบนั )

 จูเลียน รอตเตอร์ (Julian Rotter) ค.ศ. 1916 – 2014


จู เลี ย น รอตเตอร์ เสนอ ทฤษฏี ก ารเรี ย นรู้ ทางสัง คม
(Social learning theory) ในปี ค.ศ. 1954 ว่ า สิ่ ง แวดล้ อมทาง
สังคมและบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล ทาให้ เกิดโอกาสที่จะแสดง
พฤติกรรม และการที่พฤติกรรมนันได้ ้ รับการเสริ มแรงทาให้ เกิดการ
เรี ยนรู้ กล่าวคือ รอตเตอร์ ให้ ความสาคัญ กับกระบวนการภายใน
คือ การรู้ คิด (Cognition) และลักษณะนิสยั (Traits)
ผลงานสาคัญของรอตเตอร์ ได้ แก่ แบบวัดอานาจควบคุม
ในตนและอานาจควบคุมนอกตน (Internal – External Locus of
control) ซึ่งใช้ ในการประเมินบุคลิกภาพด้ านแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ จูเลียน รอตเตอร์
ที่มาของภาพ : http://psych.ful
งานของรอตเตอร์ พัฒนาจากแนวคิดพฤติกรรมนิยมไปสู่การศึกษา lerton.edu/jmearns/Rotter4.jpg
ด้ านบุคลิกภาพและจิตวิทยาคลินิก
แนวความคิดทางจิตวิทยา
42
Viewpoint Psychology

 อัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura) ค.ศ. 1925 – ปั จจุบัน


แบนดูรา ได้ เสนอว่า การรู้ คิด (Cognition) มีบทบาทสาคัญในการเรี ยนรู้ ของมนุษย์ โดยอธิบาย
ว่ามนุษย์เรี ยนรู้ พฤติกรรมทางสังคมจากการสังเกต (Observational learning) พฤติกรรมของตัวแบบ
(Model) ซึง่ ได้ รับการเสริ มแรงและการลงโทษ แบนดูราเน้ นบทบาทของกระบวนการรู้ คิด เขาใช้ ชื่อ
ทฤษฎีวา่ ทฤษฏีการเรี ยนรู้ ทางสังคม (Social learning theory) (Bandura, 1969; 1977) และต่อมาในปี
ค.ศ. 1986 ได้ เปลี่ยนชื่อเป็ น ทฤษฎีการรู้ คิดทางสังคม (Social Cognition theory)
งานทดลองของแบนดูราในปี ค.ศ. 1960 ซึง่ เป็ นที่ร้ ู จกั ในชื่อ “Bobo doll experiment” แสดงให้
เห็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรี ยนรู้ จากตัวแบบ และยังพบว่าเด็กได้ รับอิทธิพลจากการกระทาของผู้ใหญ่
โดยหากเด็กเห็นว่าตัวแบบซึง่ เป็ นผู้ใหญ่ได้ รับการชมเชยจากพฤติกรรมก้ าวร้ าว เด็กจะมีพฤติกรรมตีต๊ กุ ตา
มากขึ ้น แต่หากเห็นตัวแบบซึง่ เป็ นผู้ใหญ่ได้ รับการลงโทษ เด็กจะหยุดการตีต๊ กุ ตา การทดลองนี ้ถือเป็ นจุด
เปลี่ยนของจิตวิทยามาเน้ นความสาคัญของการรู้ คิดที่มีตอ่ พฤติกรรมมนุษย์
แบนดูรา อธิบายว่าพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์ มาจากปั จจัย 3 อย่าง คือ พฤติกรรม
การรู้ คิด และสิ่งแวดล้ อม ซึง่ มีอิทธิพลต่อกันและกัน (Reciprocal determinism) ซึง่ นาไปสูแ่ นวคิดเรื่ อง
การรับรู้ ความสามารถของตนเอง (Self-efficacy) หมายถึง การที่บคุ คลสามารถรับรู้ระดับความสามารถ
ของตนเองในการที่จะจัดการสถานการณ์ตา่ ง ๆ ที่เกิดขึ ้นกับตนเอง

อัลเบิร์ต แบนดูรา
ที่มาของภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia
/commons/thumb/c/cc/Albert_Bandura_Psychologist.
jpg/800px-Albert_Bandura_Psychologist.jpg
43

คาร์ล โรเจอร์และแนวคิ ดจิ ตวิ ทยามนุษยนิ ยม (Humanistic Psychology)

นักจิตวิทยาในแนวคิดมนุษยนิยมที่สาคัญและเป็ นที่ร้ ู จกั ก็คือ คาร์ ล รอเจอรส์ และ อับราฮัม มาส


โลว์ ทังสองได้
้ รับอิทธิพลจากงานของอัลเฟรด แอดเลอร์ และ Kurt Goldstein (ค.ศ. 1878 – 1965)

 คาร์ ล แรนซัม รอเจอรส์ (Carl Ransom Rogers ค.ศ. 1902 - 1987)


คาร์ ล รอเจอรส์ นักจิตวิทยาชาวอเมริ กนั เป็ นผู้ก่อตังจิ
้ ตวิทยาแนวมนุษยนิยม
รอเจอรส์ เสนอว่ามนุษย์ โดยธรรมชาติมีความสามารถที่จะตัดสินใจเกี่ ยวกับชี วิตและสามารถ
ควบคุม พฤติ ก รรมของตนเองได้ ทุ ก คนมี พ ลังในการพัฒ นาตนเองให้ มี วุฒิ ภ าวะที่ สูงขึน้ และประสบ
ความสาเร็ จ เขาเชื่อว่าถ้ าได้ รับโอกาส มนุษย์จะมีพยายามอย่างที่สดุ ในการใช้ ศกั ยภาพของตนเองอย่าง
เต็มที่ เขาให้ ความสาคัญ กับ ความสามารถของบุคคลในการตัดสิน ใจเกี่ ยวกับ ชี วิต ของตนเอง ทุกคนมี
ความสามารถในการเลือกกระทาพฤติกรรมมากกว่าที่จะถูกกาหนดโดยสิ่งแวดล้ อม แนวทางการบาบัด
ของเขาจึงเน้ นบทบาทของนักจิตวิทยาในการช่วยให้ บคุ คลได้ ใช้ ศกั ยภาพที่มีอยู่ได้ เต็มความสามารถ
รอเจอรส์ ได้ รับการยกย่องเป็ นบิ ดาของการทาวิจัยด้ านจิ ตบาบัด และได้ รับรางวัล “Award for
Distinguished Scientific Contributions” จากสมาคมจิ ต วิ ท ยาอเมริ กัน ในปี ค.ศ. 1956 เขายังได้ รั บ
รางวัล “Award for Distinguished Professional Contributions to Psychology” จากสมาคมนักจิตวิทยา
อเมริ กนั ในปี ค.ศ. 1972

คาร์ ล รอเจอรส์
ที่มาของภาพ : https://cdn.britannica.com
/s:300x300/34/38434-004-065E4D77.jpg
แนวความคิดทางจิตวิทยา
44
Viewpoint Psychology

 อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ค.ศ. 1908 – 1970


อับราฮัม มาสโลว์ ได้ นาศัพท์ “Actualization tendency”
ซึง่ ปรากฏในแนวคิดของคาร์ ล รอเจอรส์ มาใช้ ศกึ ษา และตังเป็ ้ นชื่อ
ความต้ องการขั น้ สู ง สุ ด ของมนุ ษ ย์ เรี ย กว่ า Self Actualization
need เป็ นความต้ องการตระหนักและใช้ ศกั ยภาพของตนอย่างเต็ม
ความสามารถ ในทฤษฏี ล าดั บ ขั น้ ความต้ องการของมนุ ษ ย์
(Hierarchy of needs)
อับราฮัม มาสโลว์
ที่มาของภาพ : https://upload.wikimedia.org/
wikipedia/en/e/e0/Abraham_Maslow.jpg

Self Actualization Need


ความต้ องการประจักษ์ แห่งตน
Self Esteem Need
ความต้ องการศักดิ์ศรี
Love and Belongingness Need
ความต้ องการความรักและการเป็ นเจ้ าของ
Safety Need
ความต้ องการความปลอดภัย

Physiological Need
ความต้ องการทางสรี ระ

ทฤษฏีลาดับขัน้ ความต้ องการของมาสโลว์


(Maslow’s Hierarchy of needs)
บทที่ 3
จิตวิทยาในปัจจุบนั
จากบทที่ 1 และ 2 จะพบว่า ศาสตร์ จิ ตวิ ท ยามี ที่ มาจากหลากหลายสาขาวิ ช า เช่ น ปรั ช ญา
ชีววิทยา สรี รศาสตร์ จิตฟิ สิกส์ และภาษาศาสตร์ โดยแต่ละสาขาวิชาต่างก็มีประเด็นความสนใจมนุษย์
ในด้ านต่าง ๆ กัน ทัง้ พฤติกรรม อารมณ์ ความคิด ทัศนคติ ความเชื่ อ ความจา การเรี ยนรู้ สติปัญ ญา
แรงจูงใจ ภาวะผู้นา การปรับตัว พฤติกรรมกลุม่ สุขภาพจิต ฯลฯ ซึง่ ทาให้ จิตวิทยาในปั จจุบนั เป็ นศาสตร์ ที่
ศึก ษามนุ ษ ย์ ใ นหลากหลายด้ าน จนนั ก จิ ต วิ ท ยาคนหนึ่ งไม่ ส ามารถศึก ษาและมี ค วามเชี่ ย วชาญ
ครอบคลุมได้ ในทุกด้ าน นักจิตวิทยาในปั จจุบันจึงอาจต้ องเลือกศึกษาและปฏิบัติงานในเพียงบางด้ านที่
ตนเองมีความสนใจและความถนัดของตนเอง ตามบริ บทในหน่วยงานของตน หรื อตามความต้ องการของ
สังคม

ความก้ าวหน้ าทางเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์ เน็ต ยังเป็ นส่วนสาคัญ ที่ทาให้ เกิดการ
เปลี่ยนแปลงทังในการศึ
้ กษาวิจยั และการทางานของนักจิตวิทยา ในส่วนของการวินิจฉัย การบาบัดรักษา
และการให้ บริ การทางจิ ตวิทยา นักวิชาชี พจิตวิทยายังต้ องตระหนักถึงความสาคัญ กับปั จจัยด้ านความ
หลากหลายทางสังคม-วัฒ นธรรมเพิ่ มมากขึน้ เช่น เพศสภาพ ชาติพันธุ์ เศรษฐานะ ความพิ ก ารและ
ข้ อจากัดของบุคคล

ในการศึกษาจิตวิทยาเราจะแบ่งออกเป็ นแต่ละแนวคิดเพื่อให้ ง่ายต่อการเข้ าใจ ในความเป็ นจริ ง


แล้ วแต่ละแนวคิดแม้ จะมีความโดดเด่นเฉพาะของตนเองแล้ ว แต่ก็ยังมีบางส่วนที่อาจมีความคล้ ายคลึง
คาบเกี่ยวกับแนวคิดอื่น ๆ รวมทัง้ มีการพัฒ นาหรื อนาเทคนิ คจากแนวคิดอื่นมาปรั บใช้ เป็ นของตนเอง
ปั จจุบัน เราจึงพบว่านักจิ ตวิทยาส่วนใหญ่ จะประยุกต์ ใช้ แนวคิดทางจิ ตวิทยาตามความเหมาะสมของ
ผู้รับบริ การ สถานการณ์ และความเชี่ยวชาญของผู้บาบัด

ในบทนี ้จะอธิบายถึง แนวคิดทางจิตวิทยาซึง่ มีบทบาทสาคัญในปั จจุบนั


แนวความคิดทางจิตวิทยา
46
Viewpoint Psychology

แนวคิ ดชีวะ - จิ ตวิ ทยา (Biopsychology) และประสาทจิ ตวิ ทยา (Neuropsychology)

ความรู้ ด้ านชี ว วิ ท ยา กายวิ ภ าคและระบบประสาท มี ส่ วนส าคัญ กับ จิ ต วิ ท ยามาโดยตลอด


นับตังแต่
้ ก่อนการเป็ นศาสตร์ จิตวิทยา ช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 จนถึงช่วงต้ น 1960 ได้ มีการพัฒนายา
เพื่ อ ควบคุ ม อาการของโรคจิ ต เวช เช่ น โรคจิ ต เภท (Schizophrenia) และโรคซึม เศร้ า (Depression)
ความสาเร็ จที่เกิดขึน้ จากการรักษาด้ วยยา ทาให้ เกิดความสนใจในเรื่ องความเชื่อมโยงระหว่างปั จจัย ทาง
ชีววิทยากับพฤติกรรม อารมณ์ และกระบวนการคิดของมนุษย์

การศึกษาด้ านชี วะ-จิต วิทยาได้ พัฒ นาขึน้ อย่างมาก ความก้ าวหน้ าทางเทคโนโลยี และศาสตร์
การแพทย์ ยังช่วยให้ นักจิ ตวิทยา นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยทาการศึ กษาสมองและระบบประสาทได้
ก้ าวหน้ ายิ่งกว่าที่ เคยเป็ นมา การพั ฒนาของ PET scan MRI scan functional MRI (fMRI) scan ช่วย
ให้ นกั วิทยาศาสตร์ เข้ าใจโครงสร้ างการทางานของสมองได้ ดียิ่งขึน้

งานด้ านชี ว ะ-จิ ต วิ ท ยา (Biopsychology) มุ่ ง เน้ นการศึ ก ษาสาเหตุ ท างกายภาพ (Physical
cause) ว่ามีความสัมพันธ์ตอ่ พฤติกรรมและกระบวนการทางานของจิตใจอย่างไร เช่น การศึกษาพันธุกรรม
(Genetics) ชี ว เคมี (Biochemical) และระบบประสาทและสมอง ซึ่ งมี ชื่ อ เรี ย กเฉพาะเป็ นประสาท
จิตวิทยา (Neuropsychology)

นอกจากแนวคิดชีวะ-จิตวิทยา และประสาทจิตวิทยาแล้ ว ยังมีแนวคิดวิวฒ ั นาการ (Evolution)


ตามแนวคิ ด และแนวคิ ด การคัด เลื อ กตามธรรมชาติ (natural selection)ของชาล์ ส ดาร์ วิ น (Chales
Darwin) นัก ธรรมชาติวิท ยาชาวอังกฤษ มาใช้ ในการวิเคราะห์ พ ฤติกรรม โดยมองว่า พฤติก รรมใดเพิ่ ม
โอกาสในการอยู่รอดและสืบต่อเผ่ าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตชนิดนัน้ พฤติกรรมนันก็
้ จะถูกรักษาไว้ หรื อได้ รับการ
คัดเลือก ในทางกลับกัน หากพฤติกรรมนัน้ ลดโอกาสการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต พฤติกรรมนัน้ ก็จะถูกคัด
ออกไป เกิดเป็ นแนวความคิดกลุ่มจิตวิทยาวิวฒ ั นาการ (Evolutional Psychology) นักจิตวิทยาในกลุ่มนี ้
มีสมมติฐานว่า กลไกทางจิตวิทยา (Psychological processes) ก็มีกระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติ
เช่นเดียวกัน กลไกทางจิตวิทยาใดที่ช่วยให้ มนุษย์แก้ ไขปั ญหา เพิ่มโอกาสการอยู่รอดและสืบต่อเผ่าพันธุ์
กลไกนันก็
้ จะถูกรักษาไว้ และถูกส่งต่อไปยังรุ่ นลูกหลาน
47

งานทดลองของ คอนราด ลอเรนซ์ (Konrad


Lorenz) ซึง่ ถือเป็ นนักธรรมชาติวิทยา (Ethologist) ในปี
ค.ศ. 1935 เรื่ อ งพฤติ ก รรมการเรี ยนรู้ แบบฝั งใจ
(Imprinting Behavior) ซึ่งพบว่าลูกห่านที่ ฟักออกจาก
ไข่ จะยึดสิ่งที่เคลื่อนไหว ที่เห็นเป็ นสิ่งแรก ว่าเป็ นแม่
ในปั จจุบันมีความพยายามที่ จะน าแนวคิดด้ าน
ชี ววิ ท ยาและทฤษฏี วิวัฒ นาการมาอธิ บ ายพฤติก รรม
มนุษย์ ในเรื่ อง ความรัก ความผูกพัน การเลือกคู่ครอง
ความแตกต่างของเพศชายและเพศหญิง เป็ นต้ น

คอนราด ลอเรนซ์
ที่มาของภาพ : https://klf.univie.ac.at/
research/history/konrad-lorenz/

แนวคิ ดจิ ตพลวัต (Psychodynamic perspective)

แนวคิ ด จิ ต พลวัต มี ที่ ม าจากแนวคิ ด จิ ต วิ เคราะห์ (Psychoanalysis) โดย ซิ ก มั น ด์ ฟรอยด์


(Sigmund Freud) ในช่วงต้ นศตวรรษที่ 19 ซึง่ มุ่งสนใจศึกษากระบวนการภายในจิตใต้ สานึก อิ ทธิพลของ
ประสบการณ์ในวัยเด็ก และความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล (interpersonal relationships) เพื่ออธิบายสาเหตุ
ของพฤติกรรม และบุคลิกภาพของบุคคล
ในช่วงปี ค.ศ. 1940 – 1950 ทฤษฏี จิตวิเคราะห์ ของฟรอยด์ กลายเป็ นที่ ร้ ู จักอย่างกว้ างขวาง
และมีอิท ธิ พ ลอย่ างมากต่อสังคมในเวลานัน้ นัก จิ ตบ าบัดแทบทุกคนต้ องเคยผ่ านการฝึ กฝนด้ านจิ ต
วิเคราะห์มาก่อน รวมทังแพทย์้ นักวิชาการ ผู้ทางานที่เกี่ยวข้ องกับจิตวิทยา หรื อแม้ แต่ศิลปิ นหรื อนักเขียน
ซึง่ ทาจิตวิเคราะห์กบั ผู้บาบัดเพื่อสื่อสารกับจิตใต้ สานึกของตนเองในการสร้ างสรรค์ผลงาน
อิทธิ พลจากทฤษฏี จิตวิเคราะห์ ของฟรอยด์กระตุ้นให้ เกิดการศึกษาบุคลิกภาพของมนุษย์ และ
ก่ อให้ เกิ ด แนวคิ ด ด้ านจิ ตวิ ท ยาอื่น ๆ ขึน้ ตามมา และยังเร่ งให้ มี ก ารค้ น คว้ าวิจัย พฤติ ก รรมเด็ ก อย่ าง
แนวความคิดทางจิตวิทยา
48
Viewpoint Psychology

กว้ างขวางในยุคนัน้ เพื่อหาแนวทางอบรมเลี ้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี ทัง้ ยังได้ รับการกล่าวถึงและถูกนาไปใช้


อ้ างอิงทังในแวดวงจิ
้ ตวิทยา และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้ อง เช่น ด้ านการศึกษา วรรณกรรม และมานุษยวิทยา
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ยงั คงมีอิทธิพลมาจนถึงปั จจุบนั ในปั จจุบนั มีสถาบันฝึ กอบรมด้ านจิตวิเคราะห์
ในสหรัฐอเมริ กา ซึง่ ได้ รับการรับรองจากสมาคมจิตวิเคราะห์อเมริ กนั ประมาณ 35 แห่ง และนักจิตวิเคราะห์
มากกว่า 3,000 คนปฏิ บั ติ งานทั่ วสหรั ฐ อเมริ ก า นอกจากนี ย้ ังมี ส มาคมนั ก จิ ต วิ เคราะห์ น านาชาติ
(International Psychoanalytical Association : IPA) ซึง่ ทาหน้ าที่รับรองการฝึ กอบรมด้ านจิตวิเคราะห์ใน
หลาย ๆ ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรี ย อิตาลี สวิตเซอร์ แลนด์ และเซอร์ เบีย
ในปั จจุบนั แนวคิดจิตพลวัตสามารถแบ่งได้ เป็ น 4 กลุม่ หลัก คือ (1) กลุ่มที่ให้ ความสาคัญกับอีโก้
(Ego Psychology) (2) กลุ่ม ที่ ใ ห้ ความส าคัญ กั บ ทฤษฎี ค วามสัม พั น ธ์ ใ นช่ ว งแรกของชี วิ ต (Object
Relations Theory) (3) กลุ่มเน้ นเรื่ องความเป็ นตัวตน ( Self Psychology) และ (4) กลุ่มจิ ตวิเคราะห์ ที่
เน้ นเรื่ องสัมพันธภาพ ( Relational Psychoanalysis)

แนวคิ ดการรู้คิด (Cognitive perspective)

การรู้ คิด (Cognition) มีความหมายถึงกระบวนการทางานของจิตใจ (Mental processes) และ


การตระหนักที่เกิดจากการรับรู้ ได้ แก่ การคิด การประมวลผลข้ อมูล การตัดสินใจ การวางแผน การจา และ
จินตนาการ
นักจิ ต วิท ยาการรู้ คิดสนใจบทบาทความสาคัญ ของกลไกการท างานของจิ ตใจที่ มีอิท ธิ พ ลต่อ
พฤติกรรม เช่น กระบวนการใช้ เหตุผล การทางานของความทรงจา การพัฒนาของภาษา ความเชื่อ และ
ความคาดหวัง เป็ นต้ น ตัวอย่างเช่น ในการอธิบายโรคซึมเศร้ า แนวคิดการรู้ คิดสนใจว่า ผู้ป่วยซึมเศร้ ามี
ความคิดและการรับรู้ โลกแตกต่างจากคนที่ไม่ได้ เป็ นโรคซึมเศร้ าอย่างไร
การพัฒ นาคอมพิ วเตอร์ ในช่วงทศวรรษ 1950 เป็ นส่วนหนึ่งที่ ทาให้ เกิดการศึกษาด้ านการรู้ คิด
โดยนัก จิ ต วิท ยาสามารถเปรี ย บเที ย บรู ป แบบการประมวลผลข้ อมูล ของคอมพิ วเตอร์ (Information –
processing model) กับกระบวนการรู้ คิดของมนุษย์ ได้ เป็ นภาพที่ชดั เจนและเข้ าใจได้ ง่ายมากขึ ้น
นักจิตวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ ได้ นาความรู้ นี ้มาพัฒนาปั ญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence
หรื อ AI) โดยมีการพยายามให้ คอมพิวเตอร์ มีสติปัญญาอย่ างแท้ จริ งเหมือนกับมนุษย์ โดยไม่ต้องอาศัย
49

มนุษย์ป้อนข้ อมูลเพื่อสัง่ การ มีความสามารถในการรู้ คิด เช่น การคิด การแก้ ปัญหา การตัดสินใจ และการ
เรี ย นรู้ สิ่ งใหม่ด้วยตนเอง เป็ นต้ น และเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น สามารถเคลื่อนไหว โต้ ตอบ
สื่อสาร และมีประสาทรับสัมผัสเหมือนมนุษย์
การพัฒ นาปั ญ ญาประดิษฐ์ เป็ นประโยชน์ อย่างมหาศาล ทัง้ ในทางการแพทย์ และการอานวย
ความสะดวกในชีวิตประจาวัน ในด้ านจิตวิทยาสามารถนาปั ญญาประดิษฐ์ มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล
ขนาดใหญ่ ทางสังคม (Big Data) ช่วยในการวินิจฉัยโรคเบื อ้ งต้ น การสร้ างโปรแกรมปรั บและติดตาม
พฤติกรรม เช่น การออกกาลังกาย การนอนหลับ การดื่มน ้า รวมไปถึงการจัดการความวิตกกังวลและความ
เศร้ า
ผู้มีบทบาทในแนวคิดการรู้ คิด ได้ แก่

 ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget : ค.ศ. 1896 – 1980)


นักจิ ตวิท ยาชาวสวิส ผู้ศึก ษาพัฒ นาการด้ านการรู้ คิดของเด็ก
และทาให้ เกิดสาขาจิตวิทยาพัฒนาการ

 เฮ อ ร์ เบิ ร์ ต ไซ ม อ น (Herbert Simon : June 15, 1916 –


February 9, 2001) เป็ นผู้พฒ ั นาแนวคิดปั ญญาประดิษฐ์ และการ
ฌอง เพียเจท์
ประยุ ก ต์ ใช้ แนวคิ ด จิ ต วิ ท ยาการรู้ คิ ด งานวิ จัย ของเขาถื อ เป็ น ที่มาของภาพ : https://en.wikipedia.
org/wiki/Jean_Piaget#/media/File:
งานวิจยั ที่ใช้ ความรู้ หลากสาขาร่ วมกันทังด้ ้ านวิทยาศาสตร์ การรู้ คิด
Jean_Piaget_in_Ann_Arbor.png
คอมพิวเตอร์ การบริ หารภาครัฐ การจัดการ และรัฐศาสตร์ เขาเป็ น
หนึง่ ในผู้บกุ เบิกด้ านปั ญญาประดิษฐ์ การตัดสินใจ การแก้ ปัญหา

ทฤษฎีองค์การ

เฮอร์ เบิ ร์ต ไซมอน ได้ รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์


ในปี ค.ศ. 1978 และรางวัลสูงสุดด้ านคอมพิวเตอร์ “Turing Award”
ในปี ค.ศ. 1975 ร่ วมกับ อัลเลน นีเวล (Allen Newell : March 19,
1927 – July 19, 1992) นักวิจัยในด้ านคอมพิ วเตอร์ และจิ ตวิทยา
การรู้ คิด เฮอร์ เบิร์ต ไซมอน
ที่มาของภาพ : https://i2.wp.com/article
1000.com/wpontent/uploads/2017
/08/download.jpg?w=384&ssl=1
แนวความคิดทางจิตวิทยา
50
Viewpoint Psychology

 นอม ชอมสกี ้ (Noam Chomsky : ค.ศ. 1928 – ปั จจุบนั )


ได้ รับยกย่องเป็ นบิดาภาษาศาสตร์ สมัยใหม่ และศึกษาด้ าน
การรู้ คิดของมนุษย์

นอม ชอมสกี ้  อารอน เบค (Aaron Temkin Beck : ค.ศ. 1921 – ปั จจุบนั )
ที่มาของภาพ : https://www.britannica.
com/biography/NoamChomsky/med จิ ตแพทย์ ช าวอเมริ กัน ผู้ได้ รับ ยกย่ อ งให้ เป็ นบิ ดาด้ านการ
ia/1/114218/232747
บ าบัดแบบรู้ คิด (Cognitive therapy) เป็ นผู้น าในการบ าบัด โรค
ซึมเศร้ า และวิตกกังวล เขาได้ พัฒ นาแบบรายงานตนเอง Beck
Depression Inventory (BDI) ซึ่ง ใช้ ประเมิ น อาการซึม เศร้ าด้ ว ย
ตนเองมาจนถึ ง ปั จจุ บั น และผสานแนวคิ ด การรู้ คิ ด เข้ ากั บ
พฤติ ก รรมบ าบั ด เกิ ด เป็ นการบ าบั ด พฤติ ก รรมผ่ า นการรู้ คิ ด
(Cognitive Behavior Therapy)

อารอน เบค  แดเนี ย ล คานาแมน (Daniel Kahneman : ค.ศ.1934 –


ที่มาของภาพ http://grawemeyer.org/wp-
content/uploads/2015/07/beck.jpg
ปั จจุ บั น ) นั ก จิ ต วิ ท ยา-เศรษฐศาสตร์ เป็ นผู้ น าแนวคิ ด ด้ าน
เศรษฐศาสตร์ พฤติ ก รรม (Behavioral economics) เขาได้ รั บ
รางวัลโนเบลร่ วมด้ านเศรษฐศาสตร์ ในปี ค.ศ. 2002 จากข้ อค้ นพบ
ในเรื่ อง ความไร้ เหตุผลในการตัดสิน ใจของมนุษย์ ซึ่งขัดแย้ งกับ
ความเชื่อเดิมที่วา่ มนุษย์เราเป็ นสัตว์ที่มีเหตุผล

จากแนวคิดของคานาแมน ทาให้ นกั เศรษฐศาสตร์ ยุคใหม่


หันมาให้ ความสาคัญ กับ การตัดสินใจบนพื น้ ฐานของปั จจัยด้ าน
จิตวิทยา เช่น อารมณ์ แรงจูงใจ ความคาดหวัง เป็ นต้ น เกิ ดการ
ทดลองทางสังคม (Social Experiments) เพื่ อท าความเข้ าใจกับ
แดเนียล คานาแมน
ที่มาของภาพ : https://upload.wiki พฤติกรรมของผู้บริ โภค ซึง่ อาจถูกชักจูงด้ วยธรรมชาติของมนุษย์ ที่
media.org/wikipedia/commons มีความไร้ เหตุผล และเทคนิคทางการตลาด ทาให้ เกิดการตัดสินใจ
/c/c8/Daniel_KAHNEMAN.jpg
ในการบริ โภคและการใช้ ชีวิตอย่างไม่ชาญฉลาด
51

แนวคิ ดพฤติ กรรมนิ ยม (Behavioral perspective)

แนวคิ ด ที่ ส าคั ญ ของกลุ่ ม พฤติ ก รรมนิ ย มคื อ พฤติ ก รรมของมนุ ษ ย์ ทั ง้ พฤติ ก รรมภายใน
และพฤติกรรมภายนอก เกิดจากการเรี ยนรู้ ซึง่ อาจเป็ นพฤติกรรมที่เหมาะสม (Adaptive Behavior) หรื อไม่
เหมาะสม (Maladaptive Behavior) ก็ได้ พฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสมสามารถปรั บแก้ หรื อเปลี่ยนแปลงได้
โดยการทาให้ เกิดการเรี ยนรู้ ใหม่ การเสริ มแรง (reinforcement) เป็ นปั จจัยสาคัญที่ทาให้ เกิดกระบวนการ
เรี ยนรู้

แนวคิดพฤติกรรมนิยมเกิดขึ ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้ นศตวรรษที่ 20 ผู้ก่อตังแนวคิ้ ด


พฤติกรรมนิยม คือ จอห์น บี วัตสัน และ บี เอฟ สกินเนอร์ เป็ นที่ร้ ู จกั ในชื่อ พฤติกรรมนิยมแบบสุดขัว้
(Radical Behavirism) มุง่ ความสนใจไปที่พฤติกรรมภายนอกที่สามารถวัดได้ (Measurable) จัดปรับได้
(Operable) โดยให้ ความสาคัญกับการให้ แรงเสริ ม เกิดเป็ นสาขาจิตวิทยาในชื่อ Applied behavior
analysis (ABA) ซึง่ นาทฤษฏีการเรี ยนรู้ มาประยุกต์ใช้ ในด้ านการจัดการการศึกษา เช่น การปรับพฤติกรรม
ในชันเรี
้ ยน การสร้ างวินยั การสร้ างแรงจูงใจ การปรับแก้ ไขพฤติกรรมที่เป็ นปั ญหา (Behavior
Modification) รวมถึงการประยุกต์ใช้ ในด้ านธุรกิจ และอุตสาหกรรม เช่น การโฆษณา
ในยุคแรกของแนวคิดพฤติกรรมนิยม ถูกวิพากษ์ วิจารณ์ว่ามีจดุ ด้ อยที่ให้ ความสาคัญเฉพาะสิ่งเร้ า
และการตอบสนอง ขาดการอธิบายกระบวนการภายในของมนุษย์ โดยละเลยสิ่งที่เกิดขึ ้นภายในจิตใจ เช่น
ความต้ องการ อารมณ์ ความรู้ สกึ ความคิด ความเชื่อ และประสบการณ์เฉพาะตน
ต่อมาแนวคิดพฤติกรรมนิยมได้ ถกู เสริ มให้ เข้ มแข็งขึ ้นและถือว่าเป็ นยุคที่สองของพฤติกรรมนิยม
ด้ วยผนวกแนวคิดการรู้ คิดทางสังคม (Social cognitive theory) ของอัลเบิร์ต แบนดูรา ในการอธิบายว่า
พฤติกรรมของมนุษย์อาจเกิดจากการเรี ยนรู้ ด้วยการสังเกตจากตัวแบบ ไม่จาเป็ นต้ องมีประสบการณ์ตรง
และกระบวนการคิดการเข้ าใจ (cognitive process) มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจและพฤติกรรมของมนุษย์ และ
แนวคิดในการบาบัดของอัลเบิร์ต เอลลิส (Albert Ellis : ค.ศ. 1913 – 2007) และอารอน เบค ในการบาบัด
ผู้ป่วยทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคซึมเศร้ า วิตกกังวล โรคกลัว (Phobia) ในชื่อ การบาบัดพฤติกรรมผ่านการ
รู้ คิด (Cognitive Behavior Therapy)
ในปั จจุบนั พฤติกรรมนิยมเข้ าสูย่ คุ ที่สาม โดยให้ ความสนใจกับมิติการเจริ ญเติบโตด้ านจิต
วิญญาณของศาสนาพุทธ มีผ้ บู าบัดที่นาเอาแนวคิดการฝึ กสติและการรู้ ตวั ทัว่ พร้ อม (Awareness) มาใช้
เสริ มในกระบวนการ ของการทาพฤติกรรมบาบัดผ่านการรู้ คิด เช่น มาช่า ลินแฮน (Marsha M. Linehan :
แนวความคิดทางจิตวิทยา
52
Viewpoint Psychology

ค.ศ. 1943 – ปั จจุบนั ) นักจิตวิทยาชาวอเมริ กนั ซึง่ พัฒนาโปรแกรมพฤติกรรมบาบัดแบบวิภาษวิธี


(Dialectical behavior therapy: DBT) เพื่อใช้ กบั ผู้ป่วยกลุม่ บุคลิกภาพแบบคาบเส้ น (Boderline) ซึง่ มักมี
ปั ญหาการทาร้ ายตนเอง ฆ่าตัวตาย และการใช้ สารเสพติด โดยเน้ นการฝึ กการควบคุมอารมณ์และการ
ตรวจสอบความจริ ง การอดทนต่อความทุกข์ การยอมรับ การสานึกรู้ อย่างมีสติ

มาช่ า ลินแฮน
ที่มาของภาพ : http://grawemey
er.org/wpcontent/uploads/2016/
11/Marsha-Linehan-2014-jpg-
e1479919746738.jpg

แนวคิ ดประสบการณ์ นิยม (Phenomenological perspective)

แนวคิดประสบการณ์นิยม หมายถึง แนวคิดที่ให้ ความสาคัญกับมุมมอง และประสบการณ์ ส่วน


บุคคล ซึง่ แม้ ในสถานการณ์ เดียวกัน แต่ละบุคคลก็อาจมีประสบการณ์ และการตอบสนองที่แตกต่างกันไป
แนวคิดในกลุ่มนี ้จะประกอบไปด้ วย 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่ม จิตวิทยามนุษยนิยม (Humanistic psychology)
และกลุม่ นักจิตบาบัดตามแนวปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (Existential psychotherapy)
แนวคิดจิตวิทยามนุษยนิยม เป็ นแนวคิดที่ให้ ความสาคัญกับศักดิ์ศรี คุณค่าของความเป็ นมนุษย์
เชื่อในศักยภาพของมนุษย์ เน้ นความสามารถในการพัฒนาของบุคคลและเชื่อว่าเป้าหมายของมนุษ ย์ทุก
คนคือการพัฒ นาไปสู่การตระหนักและใช้ ศกั ยภาพของตนอย่างเต็มความสามารถ (Self-actualization)
ผู้นาแนวคิดคือ คาร์ ล รอเจอรส์ และอับราฮัม มาสโลว์
แนวคิดจิตวิทยามนุษยนิยม ได้ ถูกประยุกต์ใช้ ทงในด้
ั ้ านงานบาบัดด้ านจิตวิทยา เกิดเป็ นแนวการ
ให้ ก ารปรึ ก ษาทางจิ ตวิ ท ยาที่ ส าคัญ คือ Client-Centered Therapy หรื อ Counseling และการบ าบัด
ครอบครัวแนวประสบการณ์ (Experiential Family Therapy) ของเวอร์ จิเนีย ซาเทียร์ (Virginia Satir : ค.ศ.
1916 – 1988) ในด้ านการศึกษาเกิดแนวทางการเรี ยนการสอนแบบให้ นักเรี ยนเป็ นศูนย์ กลาง (Student
53

centered) และในด้ านการเมืองการปกครอง เกิ ดความตระหนัก ถึงการให้ ค วามส าคัญ กับ การเคารพ
คุณค่า ศักดิ์ศรี การเป็ นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน (Human right)
แนวคิดปรัชญาอัตถิภาวะนิยม มาจากกลุ่มนักคิดชาวยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยแนวคิดนี ้เชื่อ
ว่า มนุษย์ ต้องการความสัมพันธ์ และการมีความหมายต่อผู้อื่น แต่สุดท้ ายจะต้ องตระหนักว่าคุณค่าของ
ตนเองต้ องมาจากการยอมรับตนเอง แนวคิดนี ้ถูกนามาใช้ โดยนักจิตบาบัดในศตวรรษที่ 20 โดยผู้บาบัด
ต้ องเข้ าใจถึงปรัชญาชีวิตของผู้รับการบาบัด และช่วยให้ ผ้ ูรับการบาบัดตระหนักถึงเสรี ภาพในการเลือก
ดาเนินชีวิต การตัดสินใจ และรับผิดชอบต่อการเลือกของตนเอง ผู้บาบัดในแนวคิดนี ้ได้ แก่ ไอร์ วิน ดี ยา
ลอม (Irvin D. Yalom : 13 June 1931 – ปั จจุบนั ) จิตแพทย์ชาวอเมริ กนั
แนวคิ ด ทั ง้ 2 กลุ่ ม นี ้ ได้ น าไปสู่ แ นวทางการศึ ก ษาวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ (qualitative research
methodology) ซึง่ ให้ ความสาคัญกับการเข้ าใจสนามประสบการณ์ชีวิตของบุคคล

เวอร์ จิเนีย ซาเทียร์ ไอร์ วนิ ดี ยาลอม


ที่มาของภาพ : ที่มาของภาพ :
https://upload.wikimedia.org/wikipe https://miro.medium.com/max/700/1*zM
dia/commons/1/14/VirginiaSatir.jpg YErC1YWHVNGVqmLbuDlg.jpeg
e1479919746738.jpg
แนวความคิดทางจิตวิทยา
54
Viewpoint Psychology

แนวคิ ดจิ ตวิ ทยาทางบวก (Positive psychology perspective)

จากอิทธิพลของแนวคิดมนุษยนิยม ทาให้ เกิดแนวคิดใหม่คือ แนวคิดจิตวิทยาทางบวก (Positive


Psychology) ก่อตังขึ ้ ้นโดยนักจิตวิทยาชาวอเมริ กนั มาร์ ติน เซลิกแมน (Martin Seligman ค.ศ. 1942 –
ปั จจุบนั ) และเอ็ด ไดย์เนอร์ (Ed diener)

เมื่อมาร์ ติน เซลิกแมน ได้ รับเลือกเป็ นประธานสมาคมจิตวิทยาชาวอเมริ กนั ในปี ค.ศ.1998 และ
กาหนดเป้าหมายการทางานในวาระของตนเองให้ มงุ่ ดูแลและส่งเสริ มคนทัว่ ไปในสังคมมากกว่าเน้ นเฉพาะ
โรคทางจิตเวช และเกิดการประชุมนานาชาติหวั ข้ อจิตวิทยาเชิงบวกครัง้ แรกในปี ค.ศ. 2002 และเริ่ มเป็ นที่
รู้ จกั โดยทัว่ ไปเมื่อมหาวิทยาลัยฮาร์ วาร์ ดมีการสอนวิชาจิตวิทยาเชิงบวกในปี ค.ศ. 2006 และมีการประชุม
the First World Congress on Positive Psychology ขึ ้นที่มหาวิทยาลัยเพนซิเวเนีย ในปี ค.ศ.2009
แนวคิดจิ ตวิทยาทางบวกมุ่งเน้ นพั ฒ นาเทคนิ คการบ าบัดที่ ส่งเสริ มความเป็ นอยู่ที่ดีของบุคคล
มากกว่าการมุ่งหาวิธีการบรรเทาโรคทางจิตเวช ให้ ความสาคัญกับ อารมณ์ ทางบวก (positive emotions)
สุขภาพจิตที่ดี ลักษณะบุคลิกภาพทางบวก (positive individual traits) และความเป็ นอยู่ที่ดีของมนุษย์
(well-being) รวมไปถึงการสนับ สนุน สถาบัน ทางสังคมที่ ให้ การช่วยเหลือบุคคลและชุมชนให้ มีความ
เป็ นอยู่ที่ดียิ่งขึ ้น
หัวข้ อความสนใจของจิตวิทยาทางบวก ได้ แก่ ความสุขของบุคคล (Personal happiness) การ
มองโลกในแง่ดี (Optimism) ความสร้ างสรรค์ (Creativity) ความสามารถในการฟื น้ ตัวเมื่อเผชิญความ
ยากลาบาก (Resilience) จุดแข็ง (Character strengths) และปั ญญา (Wisdom)

มาร์ ตนิ เซลิกแมน


ที่มาของภาพ : http://totallyhistory.com/wp-
content/uploads/2013/10/Martin-Seligman.jpg
55

แนวคิ ดจิ ตวิ ทยาตะวันออก (Eastern psychology)

จิตวิทยาตะวันออกเป็ นสิ่งอยู่ในหลักการประพฤติปฏิบัติของคนเอเชียซึ่งให้ ความสาคัญ การอยู่


ร่ วมกันอย่างสันติ และความกลมเกลียวเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน (harmony) ดังปรากฏอยู่ในคาสอนทาง
ศาสนาและแนวคิดทางปรัชญาที่เกิดขึ ้นในแถบทวีปเอเชีย คือ ศาสนาพุทธ เต๋า-ขงจื๊อ เซ็น กลมกลืนอยู่ใน
วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของคนเอเชีย ต่างจากจิตวิทยาในตะวันตกซึง่ แยกจากปรัชญาและศาสนา
มาเป็ นศาสตร์ เฉพาะ ซึง่ ให้ ความสาคัญกับการสร้ างองค์ความรู้ โดยเน้ นหลักการทางวิทยาศาสตร์

ความพยายามในการผสานจิ ตวิทยาตะวันออกเข้ ากับศาสตร์ จิตวิทยามีมาตัง้ แต่ยุคแรกที่ เกิ ด


ศาสตร์ จิตวิทยาจนในปั จจุบัน ทัง้ จากนักจิตวิทยาชาวตะวันตกและตะวันออก ซึ่งมักเป็ นการนามาใช้ ใน
เชิงประยุกต์โดยไม่เน้ นความเชื่อของศาสนา เช่น

 คาร์ ล กุสตาฟ จุง ผู้ให้ ความสนใจกับ บทบาทของศาสนาและศึกษาปรัชญาศาสนาต่างๆทัง้ คริ สต์


พุทธ ฮินดู ยิว และเต๋า โดยชี ้ว่าความเชื่อความศรั ทธาในศาสนาเป็ นส่วนหนึ่งที่นาไปสู่ความเป็ นมนุษย์ ที่
สมบูรณ์

 ไดเซ็ตซึ เทอิทาโร ซูซูกิ (Daisetsu Teitaro Suzuki : ค.ศ. 1870 – 1966) ผู้เขียนและเผยแพร่แนวคิด
พุท ธศาสนานิ ก ายเซ็น (ZEN) และนิ ก ายสุข าวดี เป็ นจานวนมาก โดยหนังสื อ ที่ ส าคัญ ของเขาชื่ อ “An
Introduction to Zen Buddhism” ซึง่ คาร์ ล กุสตาฟ จุงเขียนคานิยมให้ ในปี ค.ศ. 1957 เขาได้ ร่วมกับ คา
เรน ฮอร์ นาย (Karen Horney) และ อีริค ฟรอมม์ (Erich Fromm : ค.ศ. 1900-1980) และนักจิตวิเคราะห์
อีกหลายท่านจัดงานสัมมนาปฏิบตั ิการหัวข้ อ "Zen Buddhism and Psychoanalysis" ที่ประเทศเม็กซิโก

คาร์ ล กุสตาฟ จุง ไดเซ็ตซึ เทอิทาโร ซูซูกิ


ที่มาของภาพ : https://cdn.britannica.com ที่มาของภาพ : https://en.wikipedia.org
/28/182628-050-F8B519A4.jpg /wiki/D._T._Suzuki
แนวความคิดทางจิตวิทยา
56
Viewpoint Psychology

 มาช่า ลินแฮน นักจิตวิทยาอเมริ กัน ผู้พฒ


ั นาพฤติกรรมบาบัดแบบวิภาษวิธี ซึง่ นาหลักการฝึ ก
สติ (mindfulness) มาใช้ ในการจั ด การกั บ อารมณ์ และความคิ ด โดยเฉพาะผู้ มี ปั ญหา
บุคลิกภาพผิดปกติแบบคาบเส้ น (Borderline Personality Disorder)

 นายแพทย์โซมะ โมริ ตะ (Shoma Morita, 1874–1938) จิตแพทย์ชาวญี่ปนุ่ ผู้พฒ


ั นาการบาบัด
แบบมอริ ตะจากพุทธศาสนานิกายเซน ซึง่ สอนให้ ยอมรับสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ แต่เน้ นให้ ลงมือ
กระทาในสิ่งที่ควบคุมได้ และการมีวินยั

 โยชิ โมโต ไอชิ น (Yoshimoto Ishin : ค.ศ. 1916 - 1988) ผู้พัฒ นาการท าสมาธิ แ บบไนกัน
(Naikan) เป็ นแนวทางบ าบัดที่ พัฒ นามาจากพุท ธศาสนานิ ก ายโจโด (Jodo Shinshu) หรื อ
สุขาวดี (Pure land Buddhism) เน้ นการสารวจตนเองจากภายใน ทาให้ บุคคลตระหนักใน
ความเกื ้อหนุนที่ได้ รับจากสิ่งรอบตัว และตระหนักถึงความสัมพันธ์ที่ตนเองมีตอ่ คนรอบข้ าง

ในปั จจุบัน นอกจากงานด้ านการบาบัดแล้ วได้ มีการนาการฝึ กสติ (mindfulness) มาใช้ ในงาน
จิตวิทยาอย่างแพร่ หลายมากขึ ้น เช่น ด้ านส่งเสริ มพัฒนาการเด็ก การส่งเสริ มสมดุลชีวิตและการทางาน
การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเรื อ้ รังและระยะสุดท้ าย เป็ นต้ น

นายแพทย์ โซมะ โมริตะ โยชิโมโต ไอชิน


ที่มาของภาพ : ที่มาของภาพ :
https://commons.wikimedia.o https://ramakrishna.de/japan/
rg/wiki/File:Dc_morita.jpg naikan.php
57

แนวคิ ดด้านสังคมวัฒนธรรม (Socio-Cultural perspective)

แนวคิดสังคมวัฒนธรรม เป็ นแนวคิดที่มองว่า มนุษย์อยู่ในบริ บททางสังคมและวัฒนธรรม ดังนัน้


พฤติกรรมและกระบวนการทางจิตใจของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็ นวิธีการสื่อสาร ความเข้ าใจ การแสดงออกทาง
อารมณ์ การสร้ างความสัมพัน ธ์ แ ละการปรั บ ตัวกับ ผู้อื่น สามารถมองได้ ภ ายในกรอบแนวคิดสังคม
วัฒนธรรม โดยองค์ประกอบทางสังคมวัฒนธรรมหมายรวมถึง เชื ้อชาติ สัญชาติ เพศ อายุ และเศรษฐานะ
ทางสังคม ระบบการเมืองการปกครอง

นักจิตวิทยาในสายสังคมวัฒนธรรม มองว่าพฤติกรรมของมนุษย์สว่ นหนึ่งเป็ นผลมาจากความเป็ น


ปั จเจกบุคคล ร่ วมกับสถานการณ์ แวดล้ อม สังคม และวัฒนธรรม โดยขณะเดียวกันพฤติกรรมของแต่ละ
บุคคลก็มีผลกระทบต่อสถานการณ์แวดล้ อม สังคม และวัฒนธรรม ด้ วยเช่นกัน นักจิตวิทยาที่เสนอแนวคิด
นี ้ ได้ แก่ เลฟ ไวกอตสกี ้ (Lev Vygotsky : ค.ศ. 1896 –1934) และแคโรล แกลิแกน (Carol Gilligan ค.ศ.
1936 – ปั จจุบนั )

เลฟ ไวกอตสกี ้ นัก จิ ตวิ ท ยาชาวรั ส เชี ย ซึ่ง ศึก ษาด้ านพัฒ นาการเด็ ก และด้ านการศึก ษาใน
ช่วงเวลาใกล้ เคียงกับ ฌอง เพียเจท์ แต่ทฤษฏีของเขาไม่เป็ นที่ร้ ู จกั ในช่วงที่เขายัง มีชีวิตอยู่ งานของเขาให้
ความสาคัญกับพัฒนาการทางภาษาและศิลปะ ไวกอตสกีม้ ีความเห็นว่า กระบวนการเรี ยนรู้ ทักษะของ
เด็กไม่ได้ เกิดขึ ้นเอง แต่จะต้ องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นอันได้ แก่ พ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ใกล้ ชิด และเพื่อน
ในวัยเดียวกัน การเรี ยนรู้ ของเด็กเกิดขึ ้นอย่างค่อยเป็ นค่อยไปและต่อเนื่อง สิ่งที่เรี ยนรู้ อาจแตกต่างกันไป
ตามวัฒนธรรม

แคโรล แกลิ แ กน นัก จิ ต วิ ท ยาชาวอเมริ กัน ในสายสตรี นิ ย ม (Feminist Psychology) ผู้ เสนอ
คาอธิบายโต้ แย้ งกับทฤษฏีพฒั นาการทางจริ ยธรรมของ ลอว์เรนซ์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg) ที่บอก
ว่าผู้ห ญิ งมี พัฒ นาการทางจริ ย ธรรมไปไม่ ถึงขัน้ สูงสุดเท่ าผู้ช าย โดยเธอเห็ น ว่า ผู้ห ญิ งมีมุมมองด้ าน
จริ ยธรรมที่ แตกต่างจากผู้ช าย ผู้ห ญิ งให้ ความสาคัญ กับ ความรั บ ผิ ดชอบและความสัมพัน ธ์ ซึ่งเป็ น
จริ ยธรรมในด้ านการดูแล (ethics of care) ในขณะที่ ผ้ ูชายให้ ความสาคัญ กับความยุติธรรม (ethics of
justice)

การศึกษาถึงความแตกต่างระหว่างเพศ พบว่าสังคมวัฒนธรรมเป็ นปั จจัยที่สาคัญต่อสุขภาพจิตที่


แตกต่างกันของผู้ชายและผู้หญิ ง โดยสังคมส่วนใหญ่ มักเป็ นวัฒ นธรรมที่ ผ้ ูชายเป็ นใหญ่ ผู้หญิ งจะถูก
แนวความคิดทางจิตวิทยา
58
Viewpoint Psychology

กดดัน ให้ ต้ องปฏิ บัติตามกรอบวัฒ นธรรมประเพณี มากกว่าผู้ชาย ผู้หญิ งจึงมีความเครี ย ดและปั ญ หา


สุขภาพจิตสูงกว่าผู้ชาย แนวคิดการบาบัดของนักจิตวิทยาในกลุม่ สตรี นิยมจึงเน้ นการสร้ างความตระหนักรู้
ถึงกรอบแนวคิดที่จากัด และการสร้ างความตระหนักถึงพลังอานาจในตนเอง (Empowerment)

แนวคิดสังคมวัฒนธรรมมีบทบาทในเชิงการกระตุ้นให้ เกิดพฤติกรรมการมีสว่ นร่ วมทางสังคม และ


การเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อให้ เกิดความเท่าเทียมกัน ให้ ความสาคัญกับการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความ
หลากหลาย และลดอคติของสังคม โดยผ่านกิจกรรมการรณรงค์ทางการเมือง การขับเคลื่อนเพื่อแก้ ไข
กฎหมายที่ไม่เป็ นธรรม

จากแนวความคิดทางจิตวิทยาในปั จจุบนั ซึง่ สามารถแบ่งได้ หลายกลุม่ ดังได้ กล่าวมาทังหมดแล้


้ ว
จะเห็นได้ ว่าทุกแนวคิดต่างสามารถนามาใช้ ในการอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ และประยุกต์ใช้ เพื่อการเข้ าใจ
และช่วยส่งเสริ มคุณภาพชีวิตของบุคคล และไม่มีแนวคิดใดที่สามารถอธิบายมนุษย์ได้ ครอบคลุมทุกด้ าน
จึงอาจสรุ ปได้ วา่ นักจิตวิทยาอาจจากัดขอบเขตการทางานตามความสนใจและความต้ องการของตนเองได้
แต่จะไม่สามารถละเลยแนวคิดทางจิตวิทยากลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ ได้
บทที่ 4
ความก้าวหน้ าของวิชาชีพจิตวิทยา

ความก้ าวหน้ าของวิชาชีพจิตวิทยา อาจเห็นได้ แนวโน้ มความต้ องการนักจิตวิทยาเข้ าไปมีส่วนใน


การทางานในภาคส่วนต่างในสถานการณ์ ของโลกและสภาพสังคมในปั จจุบนั ๆ โดยมีการรวมตัวกันของ
นักจิตวิทยาที่ทางานในสายงานนัน้ ๆ และการเกิดขึน้ ของจิตวิทยาสาขาใหม่ ๆ ซึง่ แสดงให้ เห็นถึงการนา
ศาสตร์ จิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ อย่างกว้ างขวาง รวมถึงการจัดตังองค์
้ กรทางจิตวิทยา ที่เกิดขึน้ ในประเทศ
ต่าง ๆ อัน เป็ นผลสื บ เนื่ อ งมาจากความตระหนัก ของสังคมถึงความส าคัญ ของวิ ช าชี พ จิ ต วิ ท ยา และ
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ ้น ซึง่ จาเป็ นต้ องมีหน่วยงานในการกากับดูแลนักวิชาชีพ

ในบทนี ้เนื ้อหาจะครอบคลุมถึง

(1) แนวโน้ มความต้ องการนักจิตวิทยาในสถานการณ์ของโลกและสภาพสังคมในปั จจุบนั


(2) สาขาของวิชาจิตวิทยา และ
(3) การจัดตังองค์ ้ างประเทศและในประเทศไทยองวิชาจิต
้ กรด้ านจิตวิทยาทังในต่
วิทยา
แนวโน้ มความต้องการนักจิ ตวิ ทยาในสถานการณ์ของโลก
และสภาพสังคมในปัจจุบนั
การสารวจของสมาคมนักจิตวิทยาอเมริ กัน ซึ่งทาอย่างต่อเนื่องทุกปี สรุ ปได้ ว่าในปี ค.ศ. 2018 และ
ค.ศ.2019 บทบาทนักจิ ต วิทยาไม่ว่าจะอยู่ในส่วนใดของโลกมี แนวโน้ มที่จะต้ องปฏิบัติงานวิชาชี พ จิ ตวิทยาที่
เกี่ยวข้ องกับเรื่ องต่างๆ ดังนี ้

1. บทบาทต่ อการรั กษาสิ่งแวดล้ อม


บทบาทของนักจิ ตวิทยาด้ านสิ่งแวดล้ อม คือ การสร้ างความตระหนักต่อปั ญ หาภาวะโลกร้ อน
สภาพอากาศที่ เปลี่ยนแปลงไป และปั ญ หามลภาวะ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของมนุษย์ และความ
ปรั บตัวหรื อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อเป็ นส่วนหนึ่งในการชะลอ หรื อแก้ ไขปั ญ หาสิ่งแวดล้ อมที่ เกิดขึน้
แนวความคิดทางจิตวิทยา
60
Viewpoint Psychology

รวมทังการเป็
้ นสื่อกลางการประสานงานระหว่างองค์กรต่าง ๆ นักวิชาชีพ นักวิชาการ ชุมชนและสังคม
เพื่อให้ เกิดความร่ วมมือในการแก้ ไขปั ญหา ตัวอย่างเช่น ช่วยองค์กรกาหนดนโยบายลดการใช้ พลังงาน
คิดโครงการสร้ างแรงจูงใจลดการใช้ พลาสติก
2. บทบาทในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
นักจิตวิทยามีทางานด้ านสุขภาพ มีบทบาทต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื อ้ รัง (Chronic Pain) โรคไม่ติดต่อเรื อ้ รัง ได้ แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด
สมองและหัวใจ โรคความดัน โลหิ ตสูง โรคถุงลมโป่ งพอง โรคมะเร็ ง โรคอ้ วนลงพุง ซึ่งเป็ นปั ญ หา
สุขภาพที่รบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การใช้ ยาเพื่อรักษาอาการของโรคเหล่า นี ้ ไม่ได้ แก้ ปัญหาอย่าง
แท้ จริ ง และการใช้ ยาแก้ ปวดกลุ่มมอร์ ฟีนซึ่งเป็ นสารเสพติดเพื่อลดอาการปวด ก่อให้ เกิดปั ญหาใหม่เช่น
การเสพติด และโรคที่ เกิ ดจากการใช้ ยา ซึ่งถื อเป็ นภาระงบประมาณด้ านสาธารณสุขที่ สาคัญ ในทุก
ประเทศ ทาให้ เกิดความต้ องการในการบาบัดรักษาผู้ป่วยโดยไม่ใช้ ยา
นักจิตวิทยาด้ านสุขภาพจึงมีบทบาทในการให้ ความรู้ ทางจิตวิทยา(Psychoeducation) และสร้ าง
แรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การสอนทักษะการดูแลตนเอง การฝึ กทักษะการผ่อนคลายและการ
จัดการความเครี ยด
3. บทบาทด้ านการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะยาว (Long-Term care)
เนื่องจากคนมีอายุยืนยาวขึ ้น ผู้สงู อายุจงึ มีมากขึ ้น การดูแลสุขภาพและสวัสดิการผู้สงู วัยจึงเป็ น
ประเด็นสาคัญของสังคมยุคใหม่ นักจิตวิทยาจึงมีบทบาทในการจัดกิจกรรมสาหรับผู้สงู วัยในชุมชน
โรงพยาบาล หรื อสถานดูแลผู้สงู วัย การให้ ความรู้ แก่ครอบครัว การดูแลสุขภาพของผู้สงู วัยและผู้ดแู ล
รวมถึงการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียง และการเตรี ยมตัวตาย

4. บทบาทด้ านจิตวิทยาการกีฬา
กีฬาในปั จจุบนั ไม่ได้ เป็ นเพียงการนันทนาการเท่านัน้ แต่สามารถเป็ นอาชีพที่นาไปสู่ชื่อเสียงและ
รายได้ อาชีพนักกีฬาจึงกลายเป็ นที่นิยม แม้ วา่ อาชีพนี ้จะมีวงจรชีวิตที่สนั ้ และอาจนามาซึง่ อาการเจ็บป่ วย
และปั ญหาสุขภาพเรื อ้ รัง
นักจิตวิทยาการกีฬามีส่วนในการดูแลสุขภาพจิตของนักกีฬา เช่น การจัดการความวิตกกังวลและ
ความเครี ยดในช่วงการแข่งขัน ประเด็นอ่อนไหวส่วนบุคคลของนักกีฬา ปั ญหาการใช้ ความรุ นแรงแล ะ
อารมณ์โกรธ รวมถึงประเด็นการคุกคามทางเพศซึง่ นักกีฬาอาจเป็ นผู้กระทาหรื อถูกกระทา
61

5. บทบาทการดูแลด้ านโภชนาการ
อาหารและโภ ชน าการมี ผลต่ อ สุ ข ภ าพ จิ ต ดั ง ค ากล่ า วที่ ว่ า “You are what you eat”
นัก จิ ต วิ ท ยามี บ ทบาทเป็ นหนึ่ งในที ม สุข ภาพ เพื่ อ ปรั บ ทัศ นคติ ในเรื่ อ งอาหาร ปรั บ เปลี่ ย นนิ สัย การ
รับประทานอาหาร ปรับนโยบายอาหารกลางวันของโรงเรี ยนและองค์กร

6. บทบาทด้ านการส่ งเสริมความเท่ าเทียมทางสังคม


นักจิ ต วิท ยามีบ ทบาทในการสร้ างความตระหนักของสังคมถึงความสาคัญ ในการเห็ น คุณ ค่า
ศักดิ์ศรี ความเป็ นมนุษย์ ส่งเสริ มความเท่าเที ยมในสังคม เพื่ อลดการละเมิด การคุกคาม การใช้ ความ
รุ น แรงทั ง้ ทางกายและทางวาจา ซึ่ ง รวมถึ ง ลดการรั ง แกทั ง้ โดยตรงและในสื่ อ สั ง คมออนไลน์
(Cyberbullying) การกีดกันโดยไม่เป็ นธรรม และการมีส่วนรณรงค์ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่ อ
สร้ างความเท่าเทียมทางสังคม
7. บทบาทต่ อการพัฒนาและการใช้ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์ เน็ต
พฤติกรรมของมนุษย์ มีความซับซ้ อน ความก้ าวหน้ าของคอมพิ วเตอร์ ทาให้ สามารถวิเคราะห์
ข้ อ มูล ขนาดใหญ่ ตัว แปรจ านวนมาก และมี ค วามซับ ซ้ อ นสูง ช่ วยให้ เกิ ด ความก้ า วหน้ าในการวิ จั ย
พฤติกรรมมนุษย์ และเห็นภาพในวงกว้ าง นอกจากนันการท ้ าการวิจั ยโดยเก็บข้ อมูลทางอินเตอร์ เน็ตยัง
ช่วยลดระยะเวลาการเก็บข้ อมูล และเข้ าถึงผู้ตอบได้ ง่ายขึ ้น

นักจิตวิทยามีบทบาทในส่วนการพัฒ นาเทคโนโลยี และการสร้ างความเข้ าใจในผลกระทบของ


เทคโนโลยี เช่น การมีส่วนในการออกแบบแอปพลิเคชัน่ ที่ใช้ งานได้ ง่ายขึน้ ตรงตามความต้ องการของ
ผู้ใช้ การออกแบบเกมเพื่อการศึกษา การสร้ างแอปพลิเคชัน่ ช่วยเหลือด้ านสุขภาพ ซึ่งช่วยติดตามข้ อมูล
ด้ านสุขภาพ ให้ ความรู้ ด้านสุขภาพจิต ลดความเครี ยด ความกังวล หรื อปรับพฤติกรรมของผู้ใช้ ด้วยตนเอง
(Self-monitoring) รวมถึงการให้ บริ การปรึ กษาทางจิตวิทยาออนไลน์ ซึ่งช่วยให้ บุคคลมีช่องทางเข้ าถึง
บริ การด้ านสุขภาพจิตได้ ง่ายขึ ้น

นักจิตวิทยายังมีส่วนในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาจากการใช้ เทคโนโลยีอย่างไม่ถูกต้ อง เช่น ผู้ที่มี


พฤติกรรมติดมือถือ ติดเกม ส่งผลเสียต่อการดาเนินชีวิตประจาวัน การเรี ยน และการทางาน อาการเสพ
ติดเทคโนโลยี ยังเกี่ ยวข้ องกับภาวะความเครี ยด ซึมเศร้ า และวิตกกังวล อีกทัง้ การใช้ สื่อสังคมออนไลน์
(Social media) อย่างไม่เหมาะสม
แนวความคิดทางจิตวิทยา
62
Viewpoint Psychology

สาขาของวิชาจิตวิทยา

การเกิ ด ของกลุ่ม สาขาใหม่ ๆ ซึ่งแสดงให้ เห็ น ถึงการน าศาสตร์ จิ ต วิ ท ยาไปประยุ ก ต์ ใช้ อ ย่ าง


กว้ างขวาง
การแบ่งสาขาของจิตวิทยาในปั จจุบนั มีความหลากหลายเนื่องจากนักจิตวิทยาสามารถนาความรู้
ด้ านจิ ตวิทยามาประยุกต์ ใช้ และเข้ าไปมีบทบาทในงานทุกภาคส่วน ดังจะเห็ นได้ จากการจัดแบ่ งกลุ่ม
สมาชิกของสมาคมจิตวิทยาอเมริ กนั (The American Psychological Association : APA) และสมาคม
จิตวิทยาแคนาดา (The Canadian Psychological Association : CPA) โดยชื่ อกลุ่มอาจเป็ นสาขาหรื อ
หัวข้ อทางจิตวิทยา ตามบทบาทหน้ าที่ ความชานาญ และความสนใจของสมาชิกในกลุม่ นัน้ ๆ

การแบ่งกลุ่มสาขาของสมาคมจิ ตวิ ทยาอเมริ กนั (Divisions in APA)

สมาคมจิ ตวิท ยาอเมริ กัน ปั จ จุบัน ประกอบด้ วยสมาชิ ก 54 กลุ่มสาขา (divisions) ซึ่งเป็ นการ
รวมกลุ่มตามความสนใจและการปฏิบตั ิงานของสมาชิก โดยเมื่อเริ่ มต้ นในปี ค.ศ. 1944 สมาคมมีสมาชิก
19 กลุม่ สาขา และเนื่องจากมีการยกเลิกและควบรวมของบางกลุ่ม จึงเหลือ 17 กลุ่มสาขา (Psychometric
Society ซึ่ง เป็ นกลุ่ ม สาขาที่ 4 ตัด สิ น ใจไม่ เข้ า ร่ วม และกลุ่ ม สาขาที่ 11 Abnormal Psychology and
Psychotherapy ไปรวมกับกลุม่ สาขาที่ 12 Clinical Psychology)

จานวนของกลุ่มสาขาเพิ่มขึ ้นอย่างช้ า ๆ ในช่วงปี ค.ศ. 1960 มีกลุม่ สาขาเพิ่มขึ ้นอีก 3 กลุ่ม และ
จากช่วงปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 2007 มีกลุม่ สาขาเพิ่มขึ ้นอีก 34 กลุม่ รวมในปั จจุบนั มีทงสิ
ั ้ ้น 54 กลุม่ สาขา

กลุ่ ม สาขาที่ เกิ ด ขึ น้ ใหม่ สะท้ อนให้ เห็ น ถึ ง การเติ บ โตของการท างานด้ านจิ ต วิ ท ยา เช่ น
กลุ่มสาขาที่ 50 จิตวิทยาการเสพติด (Society of Addiction Psychology) และบางกลุม่ แสดงถึงประเด็น
ทางสังคมที่ ได้ รั บ ความสนใจเพิ่ ม มากขึน้ เช่ น กลุ่ ม จิ ต วิ ท ยาผู้ ห ญิ ง (Society for the Psychology of
Women)
63

เนื่ องจากการแปลชื่ อ สาขาต่างๆของสมาคมจิ ตวิท ยาอเมริ กัน อาจไม่ส ามารถสื่ อได้ ตรงตาม
ความหมายและวัต ถุ ป ระสงค์ ข องกลุ่ ม ได้ ชั ด เจนเพี ย งพอ จึ ง ขอแสดงรายชื่ อ แต่ ล ะ สาขาตามชื่ อ
ภาษาอังกฤษ
สมาคมจิตวิทยาอเมริ กนั 54 สาขา โดยเรี ยงตามตัวเลข

1 Society for General Psychology 23 Society for Consumer Psychology


2 Society for the Teaching of Psychology 24 Society for Theoretical and Philosophical
3 Society for Experimental Psychology and Psychology
Cognitive Science 25 Behavior Analysis
5 Quantitative and Qualitative Methods 26 Society for the History of Psychology
6 Society for Behavioral Neuroscience and 27 Society for Community Research and
Comparative Psychology Action: Division of Community Psychology
7 Developmental Psychology 28 Psychopharmacology and Substance
8 Society for Personality and Social Abuse
Psychology 29 Society for the Advancement of
9 Society for the Psychological Study of Psychotherapy
Social Issues (SPSSI) 30 Society of Psychological Hypnosis
10 Society for the Psychology of Aesthetics, 31 State, Provincial and Territorial
Creativity and the Arts Psychological Association Affairs
12 Society of Clinical Psychology 32 Society for Humanistic Psychology
13 Society of Consulting Psychology 33 Intellectual and Developmental
14 Society for Industrial and Organizational Disabilities/Autism Spectrum Disorder
Psychology 34 Society for Environmental, Population and
15 Educational Psychology Conservation Psychology
16 School Psychology 35 Society for the Psychology of Women
17 Society of Counseling Psychology 36 Society for the Psychology of Religion and
18 Psychologists in Public Service Spirituality
19 Society for Military Psychology 37 Society for Child and Family Policy and
20 Adult Development and Aging Practice.
21 Applied Experimental and Engineering 38 Society for Health Psychology
Psychology 39 Psychoanalysis
22 Rehabilitation Psychology 40 Society for Clinical Neuropsychology
แนวความคิดทางจิตวิทยา
64
Viewpoint Psychology

41 American Psychology-Law Society 49 Society of Group Psychology and Group


42 Psychologists in Independent Practice Psychotherapy
43 Society for Couple and Family Psychology 50 Society of Addiction Psychology
44 Society for the Psychology of Sexual 51 Society for the Psychological Study of Men
Orientation and Gender Diversity and Masculinities
45 Society for the Psychological Study of 52 International Psychology
Culture, Ethnicity and Race 53 Society of Clinical Child and Adolescent
46 Society for Media Psychology and Psychology
Technology 54 Society of Pediatric Psychology
47 Society for Sport, Exercise and 55 American Society for the Advancement of
Performance Psychology Pharmacotherapy
48 Society for the Study of Peace, Conflict 56 Trauma Psychology
and Violence: Peace Psychology Division

กลุ่มสาขาอาจมีความคาบเกี่ ยวกัน หรื อบางกลุ่มสาขาอาจทางานซึ่งครอบคลุมประเด็น ด้ าน


จิตวิทยาหลายหัวข้ อ สมาคมจิตวิทยาอเมริ กนั จึงได้ จดั แบ่งหัวข้ อทางจิตวิทยาและระบุให้ เห็นว่าสมาชิกใน
กลุ่มสาขาใดบ้ างที่อาจมีความเกี่ยวข้ องกับหัวข้ อ นัน้ ๆ โดยด้ านซ้ ายจะเป็ นหัวข้ อทางจิ ตวิทยาเรี ยงตาม
อักษร A ถึง Z และด้ านขวาเป็ นเลขลาดับของกลุม่ สาขา
หัวข้ อ กลุ่ม หัวข้ อ กลุ่ม
Addictions 28 | 38 | 50 Community 27
Adult development 17 | 20 Comparative 6
Advertising 23 Conflict resolution 9 | 48
Aging 9 | 12 | 17 | 20 | 38 Consulting 13
Applied experimental 21 Consumer 23
Arts 10 Counseling 17
Assessment 5 | 12 | 17 Criminal justice 9 | 18
Behavior analysis 25 Developmental 7 | 20
Child, youth, and family services 9 | 17 | 27 | 37 Developmental disabilities 33
Children 7 | 9 | 12 | 16 | 27 | 37 | 38 | 53 | 54 Disability 9 | 22 | 33
Clinical 12 | 38 | 39 | 40 Eating disorders 38 | 50
Clinical child 12 | 38 | 53 Education 7 | 9 | 15 | 16 | 17 | 27
65

หัวข้ อ กลุ่ม หัวข้ อ กลุ่ม


Engineering 21 Pediatric 12 | 38 | 54
Environmental 9 | 34 Perception 6
Ergonomics 14 | 21 | 34 Personality 8 | 20
Ethnic minorities 9 | 12 | 17 | 27 | 35 | 38 | 45 Pharmacotherapy 55
Evaluation 5 | 27 Philosophical 24
Exercise 38 | 47 Physiology 6 | 38
Experimental 3 | 21 Police and public safety 18
Experimental analysis of behavior 25 Population 9 | 34
Family issues 9 | 16 | 37 | 43 Psychoanalysis 39
Forensic 41 Psychopharmacology 28
General 1 Psychotherapy 12 | 17 | 29
Group 9 | 17 | 49 Public service 18
Health 9 | 17 | 38 Quantitative Methods and Qualitative Methods 5
History 26 Rehabilitation 17 | 22 | 38
Human factors 21 Religion 36
Human resources 13 | 14 School 16 | 17
Humanistic 32 Social 8|9
Hypnosis 30 Social policy issues 7 | 9 | 17 | 27 | 34
Independent practice 17 | 42 | 35 | 37 | 44 | 45 | 48
Industrial and organizational 13 | 14 Spirituality 36
International 9 | 17 | 27 | 52 Sport 38 | 47
Law and psychology 9 | 41 State association affairs 31
Lesbian, gay, bisexual, and Statistics 5
transgender issues 9 | 17 | 44 Substance abuse 28 | 38 | 50 | 55
Measurement 5 Teaching 2 | 15
Media 46 Testing 5 | 14
Men and masculinity 9 | 17 | 51 Theoretical 24
Mental retardation 33 Therapy 17 | 29 | 39 | 49
Military 19 Trauma 56
Neuropsychology 40 Veterans affairs 18
Neuroscience 6 | 38 Vocational 17
Peace 9 | 48 Women 9 | 12 | 17 | 27 | 35 | 38
แนวความคิดทางจิตวิทยา
66
Viewpoint Psychology

การแบ่งกลุ่มสาขาของสมาคมจิ ตวิ ทยาแคนาดา

สมาคมจิตวิทยาแคนาดาจะประกอบด้ วยสมาชิกแต่ละกลุ่มตามหัวข้ อทางจิตวิทยาซึง่ เป็ นความ


สนใจร่ วมกันของสมาชิก กลุ่มต่าง ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ และช่วงเวลา โดยใน
ปั จจุบนั กลุม่ ที่มีฐานะทางกฎหมายภายใต้ สมาคมจิตวิทยาแคนาดาทังหมด
้ 32 กลุม่ ได้ แก่

 Addiction Psychology  International and Cross-Cultural


 Adult Development and Aging Psychology
 Brain and Cognitive Sciences  Psychologists in Hospitals and
 Clinical Psychology Health Centres
 Clinical Neuropsychology  Psychology in the Military
 Community Psychology  Psychologists and Retirement
 Counselling Psychology  Psychopharmacology
 Criminal Justice Psychology  Quantitative Methods
 Developmental Psychology  Quantitative Electrophysiology
 Educational and School Psychology  Rural and Northern Psychology
 Environmental Psychology  Sexual Orientation and Gender
 Extremism and Terrorism Identity
 Family Psychology  Social and Personality Section
 Health Psychology and Behavioural  Sport and Exercise Psychology
Medicine  Students
 History and Philosophy Section  Teaching of Psychology
 Indigenous Peoples' Psychology  Traumatic Stress Section
 Industrial/Organizational Psychology  Section for Women And Psychology
(SWAP)
67

การจัดตัง้ องค์กรด้านจิตวิทยา
ในหลาย ๆ ประเทศได้ มีการจัดตังองค์
้ กรด้ านจิตวิทยาขึน้ โดยมีวตั ถุประสงค์ คล้ ายคลึงกัน คือ
เพื่ อเป็ นศูน ย์ รวมของนักวิชาชี พ และนักวิชาการด้ านจิ ตวิท ยา เผยแพร่ ความรู้ ให้ แก่ส าธารณะ ส่งเสริ ม
ความก้ าวหน้ าด้ านวิชาการ การศึกษา การวิจยั และยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ โดยในบางประเทศองค์กร
ด้ านจิตวิทยาจะมีบทบาทในการกากับดูแลนักวิชาชีพ การขึน้ ทะเบี ยนและการออกใบอนุญาตประกอบ
วิชาชี พนักจิตวิทยาตามกฎหมาย ซึ่งเป็ นประโยชน์ คือ (1) ปกป้องคุ้มครองผู้รับบริ การด้ านจิตวิทยาให้
ได้ รับบริ การโดยนักวิชาชีพที่มีความรู้ ความสามารถ (2) ก่อให้ เกิดสร้ างความเชื่อมัน่ ในวิชาชีพนักจิตวิทยา

องค์กรด้ านจิตวิทยาที่มีบทบาทสาคัญในต่างประเทศ ได้ แก่ สมาคมจิตวิทยาอเมริ กัน สมาคม


จิ ต วิ ท ยาแคนาดา สมาคมจิ ต วิ ท ยาอั ง กฤษ และ สภาวิ ช าชี พ ด้ านสุ ข ภาพ และการดู แ ล แห่ ง
สหราชอาณาจักร ส่วนองค์ กรที่ มีบทบาททางด้ านจิ ตวิทยาในประเทศไทย ได้ แก่ สมาคมนัก จิตวิทยา
คลินิกไทย คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก และ สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย โดยขอ
นาเสนอภาพรวมขององค์กรเหล่านี ้พอสังเขปดังนี ้

สมาคมจิ ตวิ ทยาอเมริ กนั


The American Psychological Association (APA)

สมาคมจิ ต วิ ท ยาอเมริ กั น ก่ อ ตั ง้ ขึ น้ ในปี ค.ศ. 1892 โดยมี ส มาชิ ก เริ่ ม แรก 31 คน และ
จี . สแตนลี ย์ ฮอล เป็ นประธานสมาคมคนแรก สมาคมจั ด การประชุ ม ครั ง้ แรกในเดื อ นธั น วาคม
ปี ค.ศ. 1892 ที่มหาวิทยาลัยแพนซิลเวเนีย

การก่อตังสมาคมจิ
้ ตวิทยาอเมริ กนั เป็ นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครัง้ ใหญ่ที่เกิดขึ ้นในประเทศ
สหรัฐอเมริ กาในขณะนัน้ ได้ แก่

 สังคมเกิดความต้ องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้ านที่ผ่านการฝึ กฝนเข้ ามาปฏิบตั ิงานวิชาชีพ


และบริ หารภาครัฐโดยใช้ หลักเหตุผล เพื่อให้ การบริ หารมีประสิทธิผลมากขึ ้น
 การเกิ ดศาสตร์ ส าขาวิ ช าใหม่ ๆ เช่ น จิ ต วิท ยา เศรษฐศาสตร์ รั ฐ ศาสตร์ ชี วเคมี และ
สรี รวิทยา ซึ่งมีการเรี ยนการสอนในระดับปริ ญญาและสูงกว่า ถื อเป็ นความก้ าวหน้ า
แนวความคิดทางจิตวิทยา
68
Viewpoint Psychology

ของการเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม ในการสร้ างผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา ทาให้ เกิด


ความเชื่ อถื อและเป็ นที่ ย อมรั บ จากสังคม ลดการทุ จ ริ ต เพิ่ มประสิ ท ธิ ภ าพ และเกิ ด
ระเบียบในสังคม

ภายหลังสงครามโลกครั ง้ ที่ สอง สมาคมจิ ตวิทยาอเมริ กันได้ มีการปรั บแผนองค์ กรโดยรวบรวม


สมาคมที่เกี่ยวกับจิตวิทยาทุกแขนงมาอยู่ภายใต้ องค์กรเดียวกัน เพื่อลดความสับสนของสาธารณะต่องาน
ด้ านจิ ตวิทยา ทาให้ เกิ ดความเข้ มแข็งขององค์ กร และเป็ นศูนย์ รวมของนักวิชาการและนักวิชาชี พด้ าน
จิตวิทยา
ทหารผ่ า นศึ ก เป็ นกลุ่ ม ที่ มี ค วามต้ องการบริ ก ารด้ านจิ ต วิ ท ยาเป็ นอ ย่ า งมาก การผ่ า น
พระราชบัญ ญัติทหารผ่านศึก ทาให้ เกิ ดสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (the National Institute of Mental
Health : NIMH) และหลักสูตรจิ ตวิทยาคลินิกเพื่ อทหารผ่านศึก ทาให้ จิตวิทยากลายเป็ นที่ สนใจ และ
ได้ รับทุนทังทางด้
้ านการฝึ กสอนและงานวิจยั ซึง่ ถือเป็ นยุคทองของจิตวิทยาในประเทศสหรัฐอเมริ กา
สมาคมได้ เติบโตขึน้ อย่างรวดเร็ วภายหลังสงครามโลกครั ง้ ที่ สอง มีจานวนสมาชิ กเพิ่ มขึน้ จาก
4,183 คน ในปี ค.ศ. 1945 เป็ น 30,839 คน ในปี ค.ศ. 1970
ปั จจุบนั สมาคมมีสมาชิกกว่า 115,700 คน ("About APA". APA.org. Retrieved 12 September
2018) โดยเป็ นสมาชิก 88,500 คน และสมาชิกสมทบ 70,500 คน

สมาชิกของสมาคม
สมาชิกของสมาคมแบ่งเป็ น 9 ประเภท ตามคุณสมบัติของสมาชิก คือ

1. สมาชิ ก (Member) ต้ องเป็ นผู้จ บการศึก ษาระดับ ปริ ญ ญาเอกด้ านจิ ตวิท ยาหรื อสาขาที่
เกี่ ย วข้ องจากสถาบัน การศึก ษาที่ ได้ รับ การรั บ รองระดับ ภู มิภ าค (regionally accredited
institution)
2. สมาชิกสมทบ (Associate) ผู้จบการศึกษาระดับปริ ญ ญาโท หรื อกาลังศึกษาปริ ญ ญาโท
มาแล้ วอย่างน้ อย 2 ปี ในด้ านจิตวิทยาหรื อสาขาที่เกี่ยวข้ อง จากสถาบันการศึกษาที่ได้ รับการ
รับรองระดับภูมิภาค
3. สมาชิ ก สมทบจากนานาชาติ (International Affiliate) ต้ องเป็ นผู้ เป็ นสมาชิ ก สมาคม
จิตวิทยาในประเทศที่ตนอาศัยอยู่ หรื อต้ องแสดงหลักฐานว่ามีคณ ุ สมบัติเหมาะสม
69

4. ส ม าชิ ก ส ม ท บ ซึ่ ง เป็ น นั ก ศึ ก ษ าระดั บ ห ลั ง ป ริ ญ ญ า (Graduate student Affiliate)


ต้ องเป็ นผู้ลงทะเบียนเรี ยนวิชาจิตวิทยา
5. สมาชิกสมทบซึง่ เป็ นนักศึกษาระดับปริ ญญาตรี (Undergraduate student Affiliate)
ต้ องเป็ นผู้ลงทะเบียนเรี ยนวิชาจิตวิทยา
6. สมาชิกสมทบซึง่ เป็ นนักเรี ยนชันมั ้ ธยมปลาย (High school student Affiliate)
7. สมาชิ ก สมทบซึ่ ง เป็ นอาจารย์ ผ้ ู สอนจิ ต วิ ท ยาในวิ ท ยาลั ย ชุ ม ชน (Community college
teacher Affiliate) ซึง่ เป็ นหลักสูตรอย่างน้ อย 2 ปี
8. สมาชิ ก สมทบซึ่งเป็ นอาจารย์ ผ้ ู ส อนจิ ต วิ ท ยาระดับ มัธ ยมปลาย (High school teacher
Affiliate)
9. สมาชิกตลอดชีพ (Life status) สมาชิกที่มีอายุ 65 ปี ขึน้ ไป และเป็ นสมาชิกสมาคมมานาน
กว่า 25 ปี ขึ ้นไป

สมาคมจิ ตวิทยาอเมริ กัน ดาเนิ นงานโดยคณะกรรมการผู้บ ริ หารสมาคม (Board of Directors)


และสภาผู้แทนสมาชิก (Council of Representatives) ซึ่งมาจากสมาคมจิตวิทยาในแต่ละภาคส่วน และ
ประธานสมาคม (President) ซึง่ มาจากการเลือกตังโดยสมาชิ
้ กสามัญที่เข้ าประชุมประจาปี
บทบาทที่สาคัญส่วนหนึง่ ของสมาคมจิตวิทยาอเมริ กนั ก็คือ การควบคุมการประกอบวิชาชีพและ
การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนักจิตวิทยาในสหรัฐอเมริ กา โดยแต่ละมลรัฐจะมีข้อกาหนดเฉพาะ
สาหรับการรับในอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่ก็เป็ นไปตามเกณฑ์ของสมาคมจิตวิทยาอเมริ กนั
ผู้มีสิทธิในการสมัครสอบรับใบอนุญาตเพื่อประกอบวิชาชีพในฐานะนักจิตวิทยา ต้ องจบการศึกษาในระดับ
ปริ ญญาเอกจากสถาบันที่ได้ รับการรับรองมาตรฐาน อาจมีบางมลรัฐที่กาหนดระดับการศึกษาผู้มีสิทธิสอบ
รับใบอนุญาตไว้ ที่ขนต
ั ้ ่าระดับปริ ญญาโท โดยทัว่ ไปหลักสูตรระดับปริ ญญาโทมักเป็ นหลักสูตรเพื่อเตรี ยม
เข้ าสูก่ ารศึกษาในระดับปริ ญญาเอก
สมาคมได้ กาหนดหลักเกณฑ์ ในการประพฤติปฏิบัติในการทางานด้ านจิตวิทยา การทางานวิจัย
และการเรี ย นการสอน เช่ น จรรยาบรรณวิ ช าชี พ จิ ต วิ ท ยา (Ethical Principles of Psychologists and
Code of Conduct) คูม่ ือการเขียนเอกสารวิชาการเพื่อเผยแพร่ และเอกสารอ้ างอิง (Publication manual of
the American Psychological Association) นอกจากนี ย้ ังมี ก ารตี พิ ม พ์ เผยแพร่ วารสารวิ ช าการด้ าน
จิตวิทยาจานวนมาก
แนวความคิดทางจิตวิทยา
70
Viewpoint Psychology

เว็บไซต์ ทางการของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน
ที่มา : https://www.apa.org เข้ าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2561

คู่มือการเขียนรายงานเอกสารอ้ างอิง ตามแบบ APA


จรรยาบรรณวิชาชีพจิตวิทยา
ฉบับพิมพ์ ครั ง้ ที่ 6
ที่มา : https://www.apa.org/
ที่มา : https://www.apa.org/pubs/books/4200066
ethics/code/ethics-code-2017.pdf
.aspxchiatrists/practice/dsm/history-of-the-dsm
71

ตัวอย่ างวารสารวิชาการของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน
ที่มา : https://www.apa.org/pubs/journals/browse.aspx?query=Title:*&type=journal

ตัวอย่ างวารสารวิชาการของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน ตีพิมพ์ ในรู ปแบบอิเล็กทรอนิกส์


ที่มา : http://psycnet.apa.org/PsycARTICLES/journal/abn/127/6 เข้ าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2561
แนวความคิดทางจิตวิทยา
72
Viewpoint Psychology

สมาคมจิ ตวิ ทยาแคนาดา


The Canadian Psychological Association (CPA)

สมาคมจิ ตวิท ยาแคนาดา เป็ นองค์ กรที่ จัดตัง้ ขึน้ ตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1939 และได้ รับ การรั บ รองตาม
กฎหมายในปี ค.ศ. 1950 เพื่อเป็ นตัวแทนของนักจิตวิทยาทัว่ ทังแคนาดา ้ โดยทางานร่ วมกับองค์กรด้ าน
สุขภาพ สุขภาพจิ ต การศึกษา และการวิจัย ภายในประเทศแคนาดา และสมาคมนักจิ ตวิทยาอเมริ กัน
(APA) นอกจากนี ส้ มาคมยังมี ส่วนเกี่ ยวข้ องกับ การเตรี ย มความพร้ อมและการรั บ มือในสถานการณ์
ฉุกเฉิน หรื อภัยพิบตั ิ ทังในประเทศแคนาดา
้ และระดับนานาชาติ

ตราสัญลักษณ์ สมาคมจิตวิทยาแคนาดา
ที่มา : https://www.cpa.ca

วัตถุประสงค์ ของสมาคมจิตวิทยาแคนาดา
1. ส่งเสริ มด้ านสุขภาพและความเป็ นอยู่ที่ดีของชาวแคนาดา
2. สนับสนุนความเป็ นเลิศและผลงานสร้ างสรรค์ในการวิจัย การศึกษา และการดาเนินงาน
ด้ านจิตวิทยา
3. ส่งเสริ มความก้ าวหน้ าและพัฒนาการในการประยุกต์ใช้ ความรู้ ทางจิตวิทยา
4. ให้ บริ การที่มีคณ
ุ ภาพแก่สมาชิก

สมาชิกของสมาคมจิตวิทยาแคนาดา
สมาชิ ก ของสมาคมจิ ต วิ ท ยาแคนาดา ซึ่ง เป็ นนั ก จิ ต วิ ท ยาที่ อ าศัย ในประเทศแคนาดา หรื อ
สหรัฐอเมริ กา โดยแบ่งออกได้ เป็ น 3 ประเภท ได้ แก่
73

1. สมาชิกสามัญ (Full member)


สมาชิกซึง่ จบการศึกษาระดับปริ ญญาโท หรื อปริ ญญาเอก ทางด้ านจิตวิทยา
2. สมาชิกเกษี ยณ (Retired member)
สมาชิกซึง่ เดิมเป็ นสมาชิกสามัญแต่ปัจจุบนั เกษี ยณแล้ ว
3. สมาชิกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ (Honorary life fellow/Honorary life member)
ต้ องเป็ นผู้ที่มีอายุ 70 ปี และเป็ นสมาชิ กสามัญ มาแล้ วอย่างน้ อย 25 ปี และได้ รับการ
เสนอชื่อ

สมาคมจิตวิทยาแคนาดาปั จจุบนั มีจานวนทังสิ


้ ้น 32 กลุม่ โดยกลุม่ มีสิทธิตามกฎหมายดังต่อไปนี ้

1. ริ เริ่ มและทากิจกรรมที่เกี่ยวข้ องสมาชิกกลุม่


2. ร่ างข้ อเสนอที่เกี่ยวข้ องกับหัวข้ อของกลุม่
3. เสนอนโยบายที่เกี่ยวกับความเชี่ยวชาญของกลุม่
4. จัดการประชุมในประเด็นของกลุม่ ภายใต้ การประชุมประจาปี ของสมาคม
5. ให้ ข้อเสนอแนะในการแต่งตัง้ ผู้แทนสมาคมจิ ตวิท ยาแคนาดาเพื่ อเข้ าร่ วมประชุมกับ
หน่วยงานและองค์กรภายนอก
6. เป็ นตัวแทนเข้ าร่ วมประชุมกับหน่วยงานและองค์ กรภายนอกหากได้ รับความเห็นชอบ
จากคณะกรรมการบริ หาร

นอกจากสมาชิกสามัญแล้ ว ยังมีสมาชิกสมทบอีก 2 ประเภท ได้ แก่

 สมาชิกสมทบขององค์กรซึง่ เป็ นผู้ที่อาศัยในประเทศแคนาดา หรื อสหรัฐอเมริ กา


1. สมาชิ ก สมทบซึ่งเป็ นนัก ศึก ษา (Student affiliate) ต้ องเป็ นนัก ศึก ษาในระดับ
ปริ ญญาตรี หรื อสูงกว่า ในสถาบันที่ได้ รับการรับรอง
2. สมาชิกสมทบพิเศษ (Special affiliate) เป็ นผู้ที่มีความสนใจในศาสตร์ จิตวิทยา
 สมาชิกสมทบขององค์กรซึง่ ไม่ได้ เป็ นผู้ที่อาศัยในประเทศแคนาดา หรื อสหรัฐอเมริ กา
1. สมาชิกสมทบนานาชาติ (International affiliate) เปิ ดรับนักจิตวิทยาจากทุก
ประเทศ
2. สมาชิกสมทบซึง่ เป็ นนักศึกษานานาชาติ (International student affiliate)
แนวความคิดทางจิตวิทยา
74
Viewpoint Psychology

การเผยแพร่ ข้อมูลข่ าวสารของสมาคม


สมาคมจิตวิทยาแคนาดา มีการตีพิมพ์ข้อมูล วารสาร นิตยสาร และจดหมายข่าวออนไลน์ ดังนี ้
 วารสาร Canadian Journal of Behavioural Science
 วารสาร Canadian Journal of Experimental Psychology
 วารสาร Canadian Psychology
 แม็กกาซีน Psynopsis
 จดหมายข่าวออนไลน์ Mind Pad
 Psychology Works Fact Sheets เป็ นเอกสารข้ อเท็จจริ ง (informative brochures)
เพื่อเผยแพร่ แก่สาธารณะ
นอกจากนี ้ สมาคมจิตวิทยาแคนาดายังได้ กาหนดให้ เดือนกุมภาพันธ์เป็ นเดือนแห่งจิตวิทยา
(Psychology Month) และสนับสนุนให้ มีการเผยแพร่ ความรู้ เกี่ยวกับจิตวิทยาแก่สาธารณะ

เว็บไซต์ ทางการของสมาคมจิตวิทยาแคนาดา
ที่มา : https://www.cpa.ca/

วารสารวิชาการของสมาคมจิตวิทยาแคนาดา
ที่มา : http://psycnet.apa.org/PsycARTICLES
75

แม็กกาซีน Psynopsis

Psynopsis ฉบับฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1996 Psynopsis ฉบับที่ 1 ปี ค.ศ. 2019


ที่มา : https://pbs.twimg.com/media ที่มา : https://cpa.ca/docs/File
/CmyhdwuWcAA8pBf.jpg /Psynopsis/2019-Vol41-1/index.html

การประกอบวิชาชีพและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในแคนาดา
ในแคนาดา การให้ บ ริ ก ารด้ า นจิ ต วิ ท ยาจะถู ก คุ้ ม ครองโดยกฎหมาย ผู้ ที่ จ ะเรี ย กตนเองว่ า
นักจิตวิทยา หรื อ ให้ บริ การที่ เกี่ ยวข้ องกับจิตวิทยา จะต้ องเป็ นสมาชิ กของสมาคมนักจิ ตวิทยาและต้ อง
ได้ รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (License) โดยในแต่ละจังหวัดและเขตปกครองของประเทศแคนาดาจะ
มี ส ม าค ม จิ ต วิ ท ย าใน ท้ อ งถิ่ น เป็ น ส่ วน ที่ ก ากั บ ดู แ ล ก ารอ อ ก ใบ อนุ ญ าต ป ระก อ บ วิ ช าชี พ
โดยมี เกณฑ์ ส อดคล้ องกั บ สมาคมจิ ต วิ ท ยาแคนาดา เพื่ อ เป็ นการคุ้ มครองสาธารณะว่ า เฉพาะ
ผู้มีคณุ สมบัติเหมาะสมเท่านันจึ ้ งจะสามารถให้ บริ การด้ านจิตวิทยาได้ ซึง่ นอกจากจะต้ องจบการศึกษาใน
ระดับปริ ญ ญาเอกหรื อปริ ญ ญาโท (ตามข้ อกาหนดในแต่ละพื น้ ที่ ) แล้ ว ยังต้ องมีประสบการณ์ ทางาน
ภายใต้ การควบคุมดูแลของนักจิตวิทยาอาวุโส (supervisor) อย่างน้ อย 1 ปี และต้ องผ่านการสอบข้ อเขียน
และการสอบสัมภาษณ์ ปากเปล่าทังในด้ ้ านการปฏิบตั ิงานและด้ านจรรยาบรรณ เมื่อได้ รับการขึ ้นทะเบียน
ผู้รับใบประกอบวิชาชี พจิตวิทยาในเขตหรื อจังหวัดใดแล้ ว หากมีการย้ ายถิ่นที่อยู่ข้ามเขตหรื อจังหวัด ผู้
ประกอบวิชาชีพนักจิตวิทยาต้ องปฏิบตั ิตามข้ อกาหนดของสมาคมจิตวิทยาที่กากับดูแลในพื ้นที่ใหม่ที่ตนจะ
ย้ ายไป
แนวความคิดทางจิตวิทยา
76
Viewpoint Psychology

องค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิ ชาชีพจิ ตวิ ทยาในสหราชอาณาจักร

ในสหราชอาณาจักรมีองค์กรสาคัญที่เกี่ยวข้ องกับวิชาชีพจิตวิทยา 2 องค์กร คือ


[1] สภาวิชาชีพด้ านสุขภาพและการดูแล (The Health and Care Professions Council : HCPC)

ตราสัญลักษณ์ HCPC
ที่มา : http://www.hcpc-uk.org/

ในปี ค.ศ. 2002 สหราชอาณาจักรได้ มีการออกพระราชบัญญัติ “The National Health Service


Reform and Health Care Professions Act 2002” ให้ The Health and Care Professions Council
(HCPC) เป็ นองค์ กรซึ่งทาหน้ าที่ควบคุมดูแลการขึน้ ทะเบียนผู้ประกอบวิชาชี พนักจิตวิทยา และวิชาชี พ
ด้ านการให้ บริ การและดูแลสุขภาพอื่น ๆ รวม 16 กลุ่ม โดยมีเหตุผลเพื่ อคุ้มครองประชาชน ยกระดับ
มาตรฐานการให้ บริ การและการดูแลสุขภาพ ให้ การรั บรองสถาบันการศึกษาและฝึ กอบรม และจัดทา
รายนามนักวิชาชีพและหน่วยงานที่ได้ มาตรฐาน
จากพระราชบัญญัติข้างต้ น วิชาชีพจิตวิทยาเป็ นหนึง่ ในวิชาชีพที่ได้ รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
และอยู่ภายใต้ การดูแลของ The Health and Care Professions Council การอ้ างตัวเป็ นนักจิตวิทยา หรื อ
ประกอบวิชาชี พในฐานะนักจิ ตวิทยาโดยไม่ได้ ขึ น้ ทะเบี ยน (registered) ถื อเป็ นความผิ ดตามกฎหมาย
อาญา โดยคาว่านักจิตวิทยาครอบคลุมถึง
 นักจิตวิทยาคลินิก (Clinical psychologist)
 นักจิตวิทยาให้ การปรึกษา (Counselling psychologist)
 นักจิตวิทยาการศึกษา (Educational psychologist)
 นักนิติจิตวิทยา (Forensic psychologist)
 นักจิตวิทยาสุขภาพ (Health psychologist)
 นักจิตวิทยาด้ านอาชีวบาบัด (Occupational psychologist)
 Practitioner psychologist
 Registered psychologist
 นักจิตวิทยาการกีฬาและการออกกาลังกาย (Sport and exercise psychologist)
77

[2] สมาคมจิตวิทยาอังกฤษ (British Psychological Society : BPS)

ตราสัญลักษณ์สมาคมจิตวิทยาอังกฤษ
ที่มา : https://www.bps.org.uk/

สมาคมจิ ต วิ ท ยาอังกฤษ (British Psychological Society : BPS) เดิ ม เป็ นองค์ ก รที่ ท าหน้ าที่
ควบคุมดูแลนักจิตวิทยาในสหราชอาณาจักร แต่เนื่องจากสมาคมนี ้ดาเนินการในรู ปแบบเป็ นองค์กรการ
กุ ศ ล ท าให้ มี ข้ อ จ ากัด ในการด าเนิ น งานบางประการ เช่ น ไม่ ส ามารถด าเนิ น กิ จ กรรมด้ า นการเมื อ ง
นอกจากนี ้ องค์กรมีสมาชิกทังที ้ ่เป็ นนักจิตวิทยาและอาจารย์ผ้ สู อนจิตวิทยา ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
ท างก ารเมื อ ง แล ะมี ก ารออ ก พ .ร.บ . “The National Health Service Reform and Health Care
Professions Act 2002” ซึง่ ทาให้ สภาวิชาชีพด้ านสุขภาพและการดูแล ได้ กลายเป็ นหน่วยงานที่ทาหน้ าที่
กากับดูแลการประกอบวิชาชีพจิตวิทยา รวมถึงการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้ แก่นกั จิตวิทยา แต่
สมาคมจิตวิทยาอังกฤษก็ยงั คงมีบทบาทในการเป็ นองค์กรตัวแทนด้ านจิตวิทยาและนักจิตวิทยา และดูแล
ส่งเสริ มมาตรฐานและจรรยาบรรณในด้ านการสอน การวิจยั และการปฏิบตั ิงานทางจิตวิทยา สมาคมได้ มี
การจัดทามาตรฐานจรรยาบรรณ (Code of Ethics and Conduct) และแนวทางการปฏิบตั ิงาน (Practice
Guidelines) เพื่อเป็ นกรอบในการปฏิบตั ิตนสาหรับนักจิตวิทยาชาวอังกฤษ

มาตรฐานจรรยาบรรณโดยสมาคมจิตวิทยาอังกฤษ แนวทางการปฏิบัตงิ านของสมาคมจิตวิทยาอังกฤษ


ฉบับปี ค.ศ. 2018 ฉบับปี ค.ศ. 2018
แนวความคิดทางจิตวิทยา
78
Viewpoint Psychology

องค์กรด้านจิ ตวิ ทยาในประเทศไทย

ในประเทศไทย มีองค์ กรด้ า นจิ ตวิท ยาที่ จัดตัง้ และยังคงดาเนิ นการอยู่จนถึงปั จจุบัน 3 องค์ ก ร
ได้ แ ก่ สมาคมนัก จิ ตวิท ยาคลิ นิ ก ไทย (The Thai Clinical Psychologist Association – TCPA) สมาคม
จิตวิทยาแห่งประเทศไทย (The Thai Psychological Association - T.P.A.) และคณะกรรมการวิชาชีพ
สาขาจิตวิทยาคลินิก

[1] สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย (The Thai Clinical Psychologist Association – TCPA)

ตราสัญลักษณ์สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย
ที่มา : www.thaiclinicpsy.org/

สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทยเริ่ มจากการก่อตัง้ เป็ น ชมรมนักจิตวิทยาคลินิก ในปี พ.ศ. 2512


โดยมี อ าจารย์ ส มทรง สุ ว รรณเลิ ศ เป็ นประธานชมรม ต่ อ มาเลื่ อ นฐานะจากชมรมขึ น้ เป็ นสมา คม
นัก จิ ต วิ ท ยาคลิ นิ ก ไทยในปี พ.ศ. 2519 โดยมีน างสาวอุ่น เรื อน อาไพพัส ตร์ เป็ นนายกสมาคม และมี
ศาสตราจารย์นายแพทย์ ฝน แสงสิงแก้ ว ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย ศาสตราจารย์ นายแพทย์
ประสพ รั ต นากร แพทย์ หญิ งคุณ หญิ งสุภา มาลากุล และนายแพทย์ ประสิ ทธิ์ หะริ นสุต เป็ นที่ ป รึ ก ษา
กิตติมศักดิ์

วัตถุประสงค์ของสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย ได้ แก่

1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ระหว่างสมาชิก
2. ส่งเสริ มและควบคุมคุณ ภาพงานด้ านจิ ตวิทยาคลินิ กและจิ ตวิท ยาแก่ส มาชิ กทัง้ ด้ านการ
ปฏิบตั ิและวิชาการ
3. เพื่อร่ วมมือกันผลิตผลงานวิจัยทางด้ านจิ ตวิทยาคลินิกและสุขภาพจิตให้ เป็ นประโยชน์ ต่อ
ชุมชน
4. เพื่อเผยแพร่ ความรู้ ด้านจิตวิทยาคลินิกและสุขภาพจิตแก่ประชาชน
79

5. ร่ ว มมื อ กั บ สมาคมและสถาบั น อื่ น ๆ ที่ มี วัต ถุ ป ระสงค์ ค ล้ า ยคลึ ง กั น ทั ง้ ในประเทศและ


ต่างประเทศ
6. ไม่เกี่ยวข้ องกับการเมือง

ในปี พ.ศ. 2526 สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทยมีการประกาศจรรยาบรรณของนักจิตวิทยาคลินิก


และจัดพิมพ์เผยแพร่ แก่สมาชิกสมาคม และในปี พ.ศ. 2534 สมาคมนักจิตวิทยาคลินิก โดยการดาเนินการ
ภายใต้ กองสุขภาพจิ ต กรมการแพทย์ ขณะนัน้ ได้ จัดทามาตรฐานการปฏิ บัติงานของวิชาชี พจิ ตวิทยา
คลินิก และมีการปรับปรุ งหลายครัง้ หลายสมัยต่อเนื่องมา และเมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกากาหนดให้
สาขาจิตวิทยาคลินิกเป็ นสาขาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.
2546 ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 จึงได้ จัดทาเป็ นมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยา
คลินิก ภายใต้ การดาเนินการของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก และ กองประกอบโรคศิลปะ
กระทรวงสาธารณสุข

การบริ หารสมาคมนักจิตวิยาคลินิกไทยจะใช้ การเลือกตังนายกสมาคม


้ วาระละ 2 ปี กิจกรรม
ของสมาคมที่ ท าต่อเนื่ องกันมาทุกปี คือ การประชุมวิชาการประจาปี และจัดทาวารสาร โดยปั จจุบัน
วารสารจิตวิทยาคลินิก (Journal of clinical psychology) มีกาหนดออก ปี ละ 2 ฉบับ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อ
เผยแพร่ ความรู้ ทางจิตวิทยาคลินิก จิตเวชศาสตร์ สุขภาพจิต และศาสตร์ อื่น ๆ ที่ใกล้ เคียง และรายงานการ
เคลื่อนไหวในวงการจิตวิทยาคลินิก

เว็บไซต์ ทางการของสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย
ที่มา : www.thaiclinicpsy.org/
แนวความคิดทางจิตวิทยา
80
Viewpoint Psychology

วารสารจิตวิทยาคลินิกของสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย
(ซ้ าย) ปี 2553 ฉบับที่ 2 (ขวา) ปี 2558 ฉบับที่ 2
ที่มา : www.thaiclinicpsy.org/

[2] คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก
คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก เป็ นคณะบุคคลที่ทาหน้ าที่ดแู ลวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก
ในประเทศไทย ตามพระราชกฤษฏีกากาหนดให้ สาขาจิตวิทยาคลินิกเป็ นสาขาการประกอบโรคศิลปะตาม
พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 พ.ศ.2546

คณะกรรมการวิชาชีพมาจากตัวแทนของสถาบันต่างๆ ได้ แก่

1. ผู้แทนกรมสนับสนุนบริ การสุขภาพ
2. ผู้แทนกรมสุขภาพจิต
3. ประธานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
4. ผู้แทนหน่วยงานในสถาบันอุดมศึกษาที่จดั การศึกษาหลักสูตรจิตวิทยาคลินิก
5. ผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรี แต่งตัง้
81

6. ผู้แทนซึ่งมาจากการเลือกตังของผู
้ ้ ประกอบโรคศิลปะสาขาจิ ตวิทยาคลินิกจานวน
เท่ากับสมาชิกข้ อ 1 - 5
7. ผู้อานวยการกองประกอบโรคศิลปะ ทาหน้ าที่เป็ นกรรมการเลขานุการ
ในการทางานของคณะกรรมการวิชาชีพ สาขาจิตวิทยา กาหนดให้ มีคณะอนุกรรมการวิชาชีพ 4
ชุด ซึง่ มาจากนักจิตวิทยาคลินิกในหน่วยงานต่างๆ ทาหน้ าที่

 พิจารณาขึ ้นทะเบียนและจัดสอบความรู้
 พัฒนาวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก
 จรรยาบรรณวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก
 ตรวจประเมินสถาบันการศึกษา

เอกสารมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะ แนวทางการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก
สาขาจิตวิทยาคลินิก คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินกิ สานกพยาบาลและการ
ที่มา : http://mrd-hss.moph.go.th/roksil ประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริ การสุขภาพ กระทรวง
/doc_standard/มาตรฐาน%จค.pdf สาธารณสุข, 2560
แนวความคิดทางจิตวิทยา
82
Viewpoint Psychology

การสอบความรู้ เพื่อขอขึ ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็ นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก

มาตรา ๓๓(๕) แห่งพระราชบัญ ญัติ การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ ไขเพิ่ มเติมโดย
พระราชบัญ ญั ติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับ ที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้ กาหนดให้ ผ้ ูที่ ได้ รับปริ ญ ญาสาขา
จิ ตวิท ยาคลิ นิก หรื อที่ ศึก ษากระบวนวิช าจิ ตวิท ยาคลิ นิก เป็ นวิช าเอก และได้ ผ่ านการฝึ กปฏิ บัติงานใน
โรงพยาบาล หรื อองค์กรใดที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิกรับรองมาแล้ วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน
มีสิทธิขอขึ ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็ นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก และต้ องสอบความรู้
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิกกาหนด

ในแต่ละปี คณะกรรมการวิชาชี พ สาขาจิ ตวิทยาคลินิก จะออกประกาศคณะกรรมการวิชาชี พ


สาขาจิ ตวิทยาคลินิก เรื่ องการรั บสมัครและการสอบความรู้ เพื่ อขอขึน้ ทะเบี ยนและรับใบอนุญาตเป็ นผู้
ประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก โดยกาหนดรายละเอียด ดังนี ้

คุณสมบัติและความรู้ ในวิชาชีพ

ผู้มีสิทธิขอสอบความรู้ เพื่อขอขึ ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็ นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา


จิตวิทยาคลินิก ต้ องมีคณุ สมบัติและไม่มีลกั ษณะต้ องห้ าม ดังต่อไปนี ้

๑ มีอายุไม่ต่ากว่า ๒๐ ปี บริ บรู ณ์ (นับถึงวันสุดท้ ายของการสมัครสอบ)


๒ เป็ นผู้มีความรู้ ในวิชาชีพตามมาตรา ๓๓(๕) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ
พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งแก้ ไขเพิ่ มเติมตามพระราชบัญ ญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖ คือ
ได้ รับปริ ญญาสาขาจิตวิทยาคลินิก หรื อที่ศึกษากระบวนวิชาจิตวิทยาคลินิกเป็ นวิชาเอก และผ่านการฝึ ก
ปฏิบตั ิงานในโรงพยาบาลหรื อองค์กรใดที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิกรั บรองมาแล้ วไม่น้อย
กว่า ๖ เดือน
๓ ไม่เป็ นผู้มีความประพฤติเสียดาย ซึง่ คณะกรรมการวิชาชีพเห็นว่าจะนามาซึง่ ความเสื่อม
เสียเกียรติศกั ดิ์แห่งวิชาชีพ
๔ ไม่เคยต้ องโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สดุ ในคดีที่คณะกรรมการวิชาชีพเห็นว่าอาจจะ
นามาซึง่ ความเสื่อมเสียเกียรติศกั ดิ์แห่งวิชาชีพ
๕ ไม่เป็ นผู้ติดยาเสพติดให้ โทษ
๖ ไม่เป็ นคนวิกลจริ ต หรื อจิตฟั่ นเฟื อนไม่สมประกอบ
๗ ไม่เป็ นโรคที่คณะกรรมการวิชาชีพประกาศกาหนดว่าไม่สมควรให้ ประกอบโรคศิลปะ
83

การสอบ
การสอบแบ่งเป็ น 2 ภาค คือการสอบข้ อเขียน และการสอบสัมภาษณ์ โดยเนื ้อหาที่สอบมีทงด้
ั ้ าน
วิชาชีพและด้ านกฎหมาย ได้ แก่
o การตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก
o การบาบัดทางจิตวิทยาคลินิก
o จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะ
o การศึกษาค้ นคว้ าวิจยั ทางจิตวิทยาคลินิก
o การประยุกต์จิตวิทยาคลินิกเข้ าสูช่ มุ ชนและศาสตร์ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้ อง
o วิชากฎหมายที่เกี่ยวกับวิชาชีพ
- พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 และที่แก้ ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และที่แก้ ไขเพิ่มเติม

ในปั จจุ บั น มี นั ก จิ ต วิ ท ยาคลิ นิ ก ที่ ผ่ า นการสอบและได้ รั บ การอนุ มั ติ ใ ห้ ขึ น้ ทะเบี ย นและรั บ


ใบอนุญ าตเป็ นผู้ป ระกอบโรคศิล ปะสาขาจิ ตวิท ยาคลิ นิ ก มีจ านวนทัง้ สิ น้ 954 คน (ข้ อมูล ณ วัน ที่ 12
กรกฎาคม พ.ศ. 2562)

[3] สมาคมจิตวิทยาแห่ งประเทศไทย (The Thai Psychological Association, T.P.A.)

ตราสัญลักษณ์สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย
ที่มา : http://www.thaipsy.com

สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทยก่อตังขึ
้ ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2504 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.
หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย เป็ นนายกสมาคมคนแรก (พ.ศ.2504-2506) ต่อมาศาสตราจารย์ น ายแพทย์
ประสพ รัตนากร ผู้เป็ นแพทย์เฉพาะทางประสาทวิทยาและจิตวิทยาคนแรกของไทยได้ รับหน้ าที่เป็ นนายก
สมาคมฯคนที่ 2 โดยดารงตาแหน่งตังแต่
้ พ.ศ.2507 ถึง พ.ศ.2531 จนมาถึงรองศาสตราจารย์ ดร. ประสาร
แนวความคิดทางจิตวิทยา
84
Viewpoint Psychology

มาลากุล ณ อยุธยา อดีตคณบดีคณะครุ ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ รับเลือกตังเป็ ้ นนายก สมาคม


ฯ คนที่ 3 2531 ถึง 2536 ศาสตราจารย์ ดร.ดวงเดื อน พัน ธุ มนาวิน มหาวิท ยาลัย ศรี น คริ น ทรวิ โรฒ
ประสานมิตร เป็ นนายกสมาคมฯ คนที่ 4 ในปี พ.ศ.2536 ต่อเนื่องมาจนภายหลังจึงมีการหมุนเวียนกันทา
หน้ าที่ บริ หารงานสมาคมฯ โดยอาจารย์ ผ้ ูท รงคุณ วุฒิ จากสถาบันการศึกษาซึ่งมีการเรี ยนการสอนด้ าน
จิ ต วิ ท ย า คื อ จุ ฬ าล งก รณ์ ม ห าวิ ท ย าลั ย ม ห าวิ ท ย าลั ย ศ รี น ค ริ น ท รวิ โ รฒ ป ระ ส าน มิ ต ร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย
(มจร.)

สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย ระบุภารกิจของสมาคมไว้ 3 ประการ คือ

1. การประชุมใหญ่สามัญประจาปี

2. การประชุมวิชาการทางจิตวิทยาระดับมหาวิทยาลัย ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

3. กิจกรรมเพื่อสาธารณะ จิตอาสา จิตปั ญญา

เว็บไซต์ ของสมาคมจิตวิทยาแห่ งประเทศไทย


ที่มา : http://www.thaipsy.com
บทที่ 5
จรรยาบรรณในวิชาชีพจิตวิทยา
(Code of Professional Ethics)

วิชาชีพนักจิตวิทยาถือว่าการมีมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพเป็ นการยกระดับวิชาชีพให้ มีความ


เป็ นมาตรฐาน และแสดงการมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ในประเทศไทย นั ก จิ ต วิ ท ยาทุ ก สาขาจะศึ ก ษาและใช้ มาตรฐานจรรยาบรรณของสมาคม
นักจิตวิทยาอเมริ กันเป็ นแนวทางในการปฏิบัติงาน และเฉพาะผู้ปฏิบัติงานในสาขาจิตวิทยาคลินิกต้ อง
ยึดถือตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้ วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะ
พ.ศ. 2559 และมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก พ.ศ.
ในบทนี ้ จะประกอบไปด้ วยข้ อมูล 2 ตอน ตอนที่หนึ่งเป็ น มาตรฐานจรรยาบรรณนักจิตวิทยาของ
สมาคมนักจิตวิทยาอเมริ กนั ซึง่ ประกาศใช้ ครัง้ แรกในปี ค.ศ. 2003 โดยมีการแก้ ไขเพิ่มเติม 2 ครัง้ ครัง้ ที่ 1
ในปี ค.ศ. 2010 และครั ง้ ล่าสุดในปี ค.ศ. 2016 มีผ ลบังคับ ใช้ ตัง้ แต่ วัน ที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017 โดย
ผู้เขียนได้ แปลภาษาไทย และตอนที่สอง เป็ นระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้ วยการรักษาจรรยาบรรณ
แห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2559 ซึง่ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ
46 ง หน้ า 1-5 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559
แนวความคิดทางจิตวิทยา
86
Viewpoint Psychology

มาตรฐานจรรยาบรรณนักจิ ตวิ ทยา


สมาคมนักจิ ตวิ ทยาอเมริ กนั ค.ศ. 2017

บทนาและการประยุกต์ ใช้
หลั ก จรรยาบรรณและเกณ ฑ์ ป ฏิ บั ติ ข องสมาคมจิ ต วิ ท ยาอเมริ กั น ซึ่ ง เรี ย กอย่ า งสั น้ ๆ ว่ า
จรรยาบรรณ ประกอบด้ วยบทนา คาปรารภและหลักการทั่วไป 5 ข้ อ (A-E) และมาตรฐานจรรยาบรรณ
เฉพาะ
ในส่วนของบทนาจะกล่าวถึง จุดมุ่งหมาย องค์กร ขันตอนในการพิ
้ จารณา และขอบเขตในการใช้
จรรยาบรรณ คาปรารภและหลักการทัว่ ไป มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ แนวทางแก่นกั จิตวิทยาเพื่อมุง่ สูจ่ ิตวิทยา
ในอุดมคติที่สงู สุด แม้ วา่ คาปรารภและหลักการทัว่ ไปโดยตัวมันเองไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่ใช้ บงั คับโดยตรง แต่
นักจิตวิทยาก็พึงพิจารณาด้ วยเพื่อให้ สามารถปฏิบัติตามจรรยาบรรณได้ มาตรฐานจรรยาบรรณกาหนด
กฎเกณฑ์ ความประพฤติของนักจิตวิทยา ส่วนใหญ่จะเขียนอย่างกว้ าง ๆ เพื่อให้ สามารถประยุกต์ใช้ กับ
นักจิตวิทยาที่มีบทบาทต่าง ๆ กันไป แม้ ว่าการใช้ เกณฑ์ จรรยาบรรณอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามบริ บท
มาตรฐานจรรยาบรรณไม่สมบูรณ์ หรื อครอบคลุมได้ ทงั ้ หมด ในกรณี ที่การกระทานันมิ ้ ได้ ระบุ ไว้ ในเกณฑ์
มาตรฐานก็ไม่ได้ หมายความว่าการกระทานันจะถู ้ กต้ องหรื อผิดตามหลักจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณครอบคลุ ม เฉพาะใช้ กั บ กิ จ กรรมของนั ก จิ ต วิ ท ยาซึ่ง เป็ นส่ ว นหนึ่ ง ของงานด้ า น
วิทยาศาสตร์ การศึกษา และบทบาทในวิชาชี พในฐานะนักจิ ตวิทยา รวมทัง้ แต่ไม่จากัดเฉพาะในงาน
คลินิก การให้ คาปรึ กษา การทางานด้ านจิตวิทยาในโรงเรี ยน งานวิจยั งานสอน การกากับดูแลและผู้อยู่
ใต้ ก ารนิ เทศ งานบริ ก ารสาธารณะ การพัฒ นานโยบาย การจัด การแทรกแซงทางสังคม การพัฒ นา
เครื่ องมือการประเมิน การประเมินการกระทา จิตวิทยาการศึกษา การให้ คาปรึ กษาในองค์การ กิจกรรม
ด้ านนิติเวช การออกแบบและประเมินโครงการ และการบริ หาร จรรยาบรรณนี ้ครอบคลุมกิจกรรมในบริ บท
ต่าง ๆ เช่น ในรายบุคคล ทางไปรษณี ย์ โทรศัพท์ อินเตอร์ เน็ต และทางสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
จรรยาบรรณนี ้จะไม่ครอบคลุมถึงการกระทาซึง่ เป็ นกิจกรรมส่วนตัวของนักจิตวิทยา
สมาชิ กของ APA และสมาชิ ก สมทบซึ่งเป็ นนัก เรี ยนต้ องปฏิ บัติตามมาตรฐานจรรยาบรรณและ
กฎเกณฑ์ กระบวนการต่าง ๆ การไม่ร้ ู หรื อเข้ าใจผิดในเรื่ องมาตรฐานจรรยาบรรณไม่สามารถใช้ อ้างเพื่ อ
ต่อสู้ในการถูกฟ้องร้ องเรื่ องประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
กระบวนการในการฟ้อง สอบสวน และแก้ ไขข้ อร้ องเรี ยนเรื่ องความประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณมีระบุ
ไว้ ในกฎและขัน้ ตอนของคณะกรรมการจรรยาบรรณของ APA (APA ethics committee) อาจใช้ วิธีการ
87

จัดการกับสมาชิ กที่ ละเมิดกฎเกณฑ์ รวมถึงการยกเลิกสมาชิ กภาพของAPA และแจ้ งต่อหน่วยงานและ


บุ ค คลที่ เกี่ ย วข้ องถึ ง ผลการตั ด สิ น นั น้ การกระท าที่ ล ะเมิ ด มาตรฐานจรรยาบรรณ อาจใช้ การตั ด
ความสัมพัน ธ์ (sanction) นัก จิ ต วิท ยาหรื อนัก ศึก ษาไม่ว่าผู้ นัน้ จะเป็ นสมาชิ ก ของ APA โดยผ่ านทาง
องค์การอื่น ซึง่ รวมถึงสมาคมนักจิตวิทยาของรัฐ กลุม่ วิชาชีพอื่น คณะกรรมการจิตวิทยาหน่วยงานของรัฐ
อื่น และผู้จ่ายค่าบริ การสุขภาพ นอกจากนี ้ APA อาจดาเนินการกับสมาชิกซึง่ ต้ องโทษในฐานหลอกลวง
โดยอาจขับออกจากการเป็ นสมาชิกหรื อ ระงับสมาชิกภาพสมาคม หรื อ ระงับหรื อยึดใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพ
จรรยาบรรณเป็ นแนวทางการปฏิบตั ิในทางวิชาชีพสาหรับนักจิตวิทยาของ APA และหน่วยงานอื่นที่
เลือกที่จะใช้ เกณฑ์ จรรยาบรรณนี ้ จรรยาบรรณไม่ได้ ม่งุ ถึงความรับผิดทางแพ่ง การละเมิดจรรยาบรรณ
ของนักจิตวิทยาไม่ได้ ชี ้ถึงการที่นกั จิตวิทยานัน้ จะต้ องรับผิดในทางแพ่ง หากมีการดาเนินการในศาลหรื อ
สามารถในการบังคับใช้ สญ ั ญาหรื อจะมีผลต่อเนื่องในทางกฎหมายเกิดขึ ้นหรื อไม่
การปรับใช้ จรรยาบรรณบางข้ อตามเหตุผลอันสมควร ตามความเหมาะสมและตามโอกาส อาจทา
ได้ หาก

1) ช่วยให้ นกั จิตวิทยาสามารถใช้ วิจารณญาณในทางวิชาชีพ


2) ขจัดความอยุติธรรม หรื อความไม่เท่าเทียมกันที่จะเกิดขึ ้นหากไม่มีการปรับแก้
3) ช่วยให้ ครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทาโดยนักจิตวิทยา
4) ช่วยป้องกันไม่ให้ มีกฎเกณฑ์ที่เคร่ งครัดซึง่ อาจไม่เหมาะกับยุคสมัยในเวลาต่อมา

ในจรรยาบรรณนี ้ คาว่า อย่างเป็ นเหตุผล (reasonable) หมายถึง การคาดได้ วา่ ภายใต้ สถานการณ์
เช่นเดียวกัน นักจิตวิทยาอื่นก็จะทาเช่นนันเหมื
้ อนกัน หากมีความรู้ หรื อควรรู้ ในขณะนัน้
ในกระบวนการการตัดสินใจเกี่ยวกับพฤติกรรมในทางวิชาชีพ นักจิตวิทยาต้ องคานึงถึงจรรยาบรรณ
นี ้ และยังต้ องปฏิ บัติต ามกฎหมายและหน่ วยงานที่ ก ากับ ดูแ ลด้ านจิ ต วิท ยา นัก จิ ตวิ ท ยาจะต้ อ ง
คานึงถึงข้ อมูล และแนวทางทางวิท ยาศาสตร์ และทางวิชาชี พ และมโนสานึก ส่วนตน เช่น เดีย วกับ การ
ปรึ กษากับผู้อยู่ในวิชาชีพเดียวกัน หากจรรยาบรรณนี ้มีมาตรฐานการกระทาที่สงู กว่าที่กฎหมายกาหนด
นักจิตวิทยาจะต้ องปฏิ บัติตามมาตรฐานที่สูงกว่า หากความรั บผิดชอบทางด้ านจรรยาบรรณขัดแย้ งกับ
กฎหมาย กฎระเบียบ หรื อหน่วยงานอื่น ที่ มีอานาจตามกฎหมาย นักจิตวิทยาจะต้ องแสดงให้ เห็นถึง
ความพร้ อมมั่น ที่ จะปฏิ บัติตามจรรยาบรรณ และกระท าการที่ จ ะแก้ ไขความขัดแย้ งนัน้ อย่ างมีความ
รับผิดชอบ โดยยึดหลักการพื ้นฐานในเรื่ องสิทธิมนุษยชน
แนวความคิดทางจิตวิทยา
88
Viewpoint Psychology

คาปรารภ
นักจิตวิทยาพร้ อมมัน่ ในการเพิ่ มพูนความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ และวิชาชีพด้ านพฤติกรรมและความ
เข้ าใจตนเองและผู้อื่นของบุคคล และการใช้ ความรู้ นัน้ เพื่ อปรั บปรุ งเงื่ อนไขบุคคล องค์ การและสังคม
นักจิตวิทยาเคารพและปกป้องสิทธิ มนุษยชนและสิทธิส่วนบุคคล และให้ ความสาคัญกับเสรี ภาพในการ
ถามและแสดงความคิดเห็นในงานวิจยั งานสอน และงานพิมพ์ เผยแพร่ นักจิตวิทยามุ่งให้ ข้อมู ลเกี่ยวกับ
พฤติกรรมมนุษย์ เพื่อสาธารณะจะได้ ใช้ วิจารณญาณในการตัดสินใจและเลือกดาเนินการ นักจิตวิทยาจึง
อาจมีหลายบทบาท เช่น เป็ นนักวิจยั เป็ นนักการศึกษา เป็ นผู้ให้ การวินิจฉัย เป็ นผู้ให้ การบาบัด เป็ นผู้นิเทศ
เป็ นที่ปรึกษา เป็ นผู้บริ หาร เป็ นผู้นาในทางสังคม การเปลี่ยนแปลง และเป็ นพยานผู้เชี่ยวชาญ
จรรยาบรรณนีม้ ่งุ ที่จะระบุถึงมาตรฐานเฉพาะที่ครอบคลุมสถานการณ์ ส่วนใหญ่ ที่นักจิตวิทยาจะ
เผชิญ โดยมีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์ และปกป้องบุคคลหรื อกลุ่ม ซึ่งนักจิตวิทยาทางานด้ วย และเพื่ อ
การศึกษาของสมาชิก นักศึกษาและสาธารณชน ในเรื่ องเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ
การพัฒนาเกณฑ์ จรรยาบรรณ สาหรับการกระทาในหน้ าที่ก ารงานของนักจิตวิทยาให้ เป็ นพลวัต
จาเป็ นต้ องมีความพร้ อมมัน่ ที่จะยึดถือจรรยาบรรณนีใ้ นส่วนบุคคลและเป็ นความพยายามอย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต ที่จะกระทาตามจรรยาบรรณ ส่งเสริ มให้ นกั ศึกษา ผู้ อยู่ในกากับดูแล ลูกจ้ าง เพื่อนร่ วมงาน
พฤติกรรมตามเกณฑ์จรรยาบรรณ และปรึกษาผู้อื่นในเรื่ องปั ญหาจรรยาบรรณ

หลักการทั่วไป
หลักการที่ 1 : เพื่อประโยชน์ และไม่ ก่อให้ เกิดอันตราย (Beneficence and Nonmaleficence)
นักจิตวิทยามุง่ ให้ เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่ตนทางาน ให้ การดูแลเพื่อไม่ให้ เกิดอันตราย ในการกระทา
ตามหน้ าที่วิชาชีพ โดยเน้ นความผาสุก และสิทธิ ของบุคคลที่ตนปฏิสมั พันธ์ ด้วยทางวิชาชีพ และผู้อื่นซึ่ง
อาจได้ รับผลกระทบ และความปลอดภัยของสัตว์ทดลองในงานวิจยั เมื่อมีข้อขัดแย้ งระหว่างหน้ าที่ตามข้ อ
ผูกพันของนักจิตวิทยา หรื อมีข้อกังวล นักจิตวิทยาจะพยายามแก้ ไขความขัดแย้ งนัน้ อย่างมีเหตุผลเพื่ อ
หลีกเลี่ยงหรื อให้ เกิดอันตรายน้ อยที่สดุ เนื่องจากการให้ ความเห็นทางวิชาชีพของนักจิตวิทยาอาจมีผลต่อ
ชีวิตของผู้อื่น นักจิตวิทยาและทางวิทยาศาสตร์ จึงต้ องมีความตื่นตัวและป้องกันปั จจัยส่วนบุคคล ปั จจัย
ด้ านเศรษฐกิจ ปั จจัยสังคม ปั จจัยด้ านองค์การ และปั จจัยด้ านการเมือง ที่จะนาไปสู่การใช้ อิทธิพลในทาง
ที่ผิด นักจิตวิทยาพยายามที่จะตระหนักถึงความเป็ นไปได้ ที่สขุ ภาพกายและสุขภาพจิตของตนจะมีผลต่อ
ความสามารถในการช่วยผู้ที่ตนทางานด้ วย
89

หลักการที่ 2 : การซื่อสัตย์ และความรั บผิดชอบ (Fidelity and Responsibility)


นักจิตวิทยาสร้ างสัมพันธภาพกับที่ผ้ ูตนทางานด้ วย บนพืน้ ฐานของความไว้ วางใจ นักจิตวิทยา
ตระหนักในความรับผิดชอบทางวิชาชีพและทางวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อสังคม และต่อชุมชนที่ตนทางานด้ วย
นักจิตวิทยาจะรักษามาตรฐานความประพฤติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความกระจ่างในบทบาทและข้ อ
ผูกพันทางวิชาชีพ ยอมรับความรับผิดชอบที่เหมาะสมสาหรับพฤติกรรมของตน และพยายามที่จะบริ หาร
ความขัดแย้ งด้ านผลประโยชน์ ซึ่งอาจนาไปสู่การเอาเปรี ยบหรื อก่อให้ เกิดอันตราย นักจิตวิทยาให้ การ
ปรึกษา ส่งต่อ หรื อร่ วมมือกับนักวิชาชีพอื่น หรื อองค์กรอื่นตามจาเป็ น เพื่อให้ เกิดประโยชน์สงู สุดต่อผู้ที่ตน
ทางานด้ วย นักจิตวิทยาจะใส่ใจในข้ อร้ องเรี ยนที่มีต่อเพื่อนร่ วมงานของตน บุคคล การอุทิศเวลาบางส่วน
ในทางวิชาชีพนี ้มิได้ ทาเพื่อผลตอบแทนหรื อเพื่อประโยชน์สว่ นตน

หลักการที่ 3 : ศักดิ์ศรี ในวิชาชีพ (Integrity)


นักจิตวิทยามุ่งส่งเสริ มความถูกต้ อง ความซื่อตรง และความเป็ นจริ งในด้ านวิทยาศาสตร์ การสอน
และปฏิบตั ิงานทางจิตวิทยา ในกิจกรรมเหล่านี ้ นักจิตวิทยาจะไม่ขโมย โกง หรื อทาการปลอมแปลง หรื อ
จงใจที่ จะบิ ดเบื อนข้ อเท็จจริ ง นักจิ ตวิ ทยามุ่งที่ จะรั กษาสัญ ญา และหลีกเลี่ยงการให้ คามั่น ในสิ่งที่ ไม่
ชัดเจนหรื อไม่เหมาะสม ในกรณี ที่จาเป็ นต้ องใช้ สถานการณ์ ลวงเพื่อให้ เกิดประโยชน์ สูงสุดและอันตราย
น้ อยสุด นักจิตวิทยามีหน้ าที่ผกู พันที่จะต้ องจัดการแก้ ไขความเข้ าใจผิดหรื อผลต่อเนื่อง หรื ออันตรายอื่นใด
ที่อาจเกิดจากการใช้ เทคนิคดังกล่าว

หลักการที่ 4 : ความยุตธิ รรม (Justice)


นักจิตวิทยาเห็นความสาคัญของการที่บุคคลเข้ าถึงและได้ รับประโยชน์ จากจิตวิทยา และได้ รับ
ความเท่ า เที ย มในกระบวนการ ขั น้ ตอนและการบริ ก ารที่ รั บ จากนั ก จิ ต วิ ท ยา นั ก จิ ต วิ ท ยาจะใช้
วิจารณญาณอย่างสมเหตุผลและระมัดระวังเพื่อให้ แน่ใจว่า อคติ และขอบเขตความสามารถและข้ อจากัด
ด้ านความเชี่ยวชาญของตน จะไม่นาไปสูห่ รื อมีสว่ นทาให้ เกิดการกระทาที่ไม่เป็ นธรรม

หลักการที่ 5 : ความเคารพในศั กดิ์ศรี และสิทธิของบุ คคล (Respect for People's Right and
Dignity)
นักจิตวิทยาเคารพในศักดิ์ศรี และคุณค่าของคนทุกคน และสิทธิของบุคคลในการที่จะมีความเป็ น
ส่วนตัว ความลับ และการกาหนดเลือกด้ วยตนเอง นักจิตวิทยาตระหนักถึงความจาเป็ นที่อาจต้ องมีการ
ป้องกันสิทธิและประโยชน์สขุ ของบุคคลและชุมชนซึง่ อยู่ในภาวะอ่อนไหวซึง่ ทาให้ ไม่สามารถตัดสิ นใจด้ วย
ตนเองได้ อย่างเป็ นอิสระ นักจิตวิทยาตระหนักและให้ ความเคารพต่อวัฒนธรรม ความเป็ นเอกบุคคล และ
แนวความคิดทางจิตวิทยา
90
Viewpoint Psychology

ความแตกต่างกันในบทบาท รวมถึงอายุ เพศ อัตลักษณ์ในทางเพศ เชื ้อชาติ เผ่าพันธุ์ วัฒนธรรม ประเทศ


ที่มา ศาสนา แนวโน้ มทางเพศ ความพิการ ภาษา สถานภาพทางเศรษฐกิจ สัง คมและพิจารณาถึงปั จจัย
ต่างๆ เหล่านี ใ้ นขณะปฏิ บัติงาน นัก จิ ตวิท ยาพยายามกาจัดอคติที่ อาจเกิ ดจากปั จจัย เหล่านี ซ้ ึ่งอาจมี
ผลกระทบต่อการทางานและจะไม่เข้ าร่ วม หรื อมีสว่ นในกิจกรรมของผู้อื่นที่มีอคติดงั กล่าว

มาตรฐานจรรยาบรรณ (Ethical standards)

1. การแก้ ไขปั ญหาด้ านจรรยาบรรณ


1.01 การนาผลงานของนักจิตวิทยาไปใช้ อย่ างไม่ ถูกต้ อง
ถ้ านักจิตวิทยาได้ ทราบถึงการนาผลงานของตนไปใช้ อย่างไม่ถกู ต้ องหรื อมีการนาเสนองานของตน
ที่ก่อให้ เกิดความเข้ าใจผิด พวกเขาจะดาเนินการตามขัน้ ตอนที่เหมาะสมเพื่อแก้ ไข หรื อเพื่อทาให้ การใช้
ผลงานอย่างไม่ถกู ต้ อง หรื อการนาเสนองานที่ผิดลดน้ อยลง

1.02 ความขัดแย้ งระหว่ างจรรยาบรรณและกฎหมาย กฎระเบียบ หรื อหน่ วยงานอื่นๆ ของรั ฐที่
มีหน้ าที่ตามกฎหมาย
ถ้ า ความรั บ ผิ ด ชอบทางจรรยาบรรณของนั ก จิ ต วิ ท ยาขัด แย้ งกับ กฎหมาย กฎระเบี ย บ หรื อ
หน่วยงานอื่นๆ ของรัฐที่มีหน้ าที่ตามกฎหมาย นักจิตวิทยาต้ องทาความเข้ าใจถึงความขัดแย้ งนันและแสดง

ให้ เห็นถึงความพร้ อมมั่นของพวกเขาต่อหลักจรรยาบรรณและแก้ ไขปั ญหานัน้ ตามลาดับขัน้ ที่ ควรจะทา
โดยสอดคล้ องกับหลักการทั่วไปและมาตรฐานจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มาตรฐานนีจ้ ะไม่ใช้ เพื่ออ้ างเป็ น
เหตุผลหรื อเพื่อปกป้องการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่วา่ ภายใต้ สถานการณ์ใด ๆ

1.03 ความขัดแย้ งระหว่ างจรรยาบรรณกับความต้ องการขององค์ การ


ถ้ าความต้ องการขององค์ การที่ นักจิ ตวิทยาทางานอยู่หรื อมีความสัมพันธ์ อยู่เกิ ดขัดแย้ งกับหลัก
จรรยาบรรณ นักจิตวิทยาต้ องทาความเข้ าใจถึงความขัดแย้ งนัน้ และแสดงให้ เห็นชัดเจนว่ านักจิตวิทยา
พร้ อมมั่น ที่ จ ะปฏิ บัติตามหลักจรรยาบรรณ ดาเนิ น การแก้ ไขปั ญ หานัน้ ตามลาดับ ขัน้ ที่ ควรจะท า โดย
สอดคล้ องกับหลักการทัว่ ไปและมาตรฐานจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มาตรฐานนี ้จะไม่ใช้ เพื่ออ้ างเป็ นเหตุผล
หรื อเพื่อปกป้องการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่วา่ ภายใต้ สถานการณ์ใด ๆ
91

1.04 การแก้ ไขการละเมิดจรรยาบรรณอย่ างไม่ เป็ นทางการ


เมื่อนักจิตวิทยาเชื่อว่า นักจิตวิทยาผู้อื่นละเมิดจรรยาบรรณ ก็จะดาเนินการแก้ ไขโดยการพูดคุย
กับนักจิ ต วิท ยาผู้ล ะเมิดจรรยาบรรณนัน้ หากสามารถจะทาได้ และไม่เป็ นการละเมิดสิทธิ ในการรั กษา
ความลับ

1.05 การรายงานการละเมิดจรรยาบรรณ
ถ้ าการละเมิดจรรยาบรรณก่อให้ เกิ ดความเสียหายอย่างมาก หรื อมีโอกาสที่ จะก่อให้ เกิ ด
ความเสียหายอย่างมากแก่บุคคลหรื อองค์กร และไม่สามารถที่จะแก้ ไขอย่างไม่เป็ นทางการตามข้ อ 1.04
หรื อแก้ ไขแล้ วแต่ไม่ได้ ผลตามต้ องการ นักจิตวิทยาจะต้ องดาเนินการขัน้ ต่อไปให้ เหมาะกับสถานการณ์
การดาเนินการดังกล่าวอาจรวมไปถึงการแจ้ งไปยังคณะกรรมการแห่งชาติในเรื่ องของจรรยาบรรณวิชาชีพ
คณะกรรมการที่ให้ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรื อสถาบันที่เหมาะสมและเกี่ยวข้ อง จรรยาบรรณข้ อนี ้จะ
ไม่ใช้ กับการกระทาอันจะไปละเมิดสิทธิ ในการเก็บความลับ หรื อเมื่อนักจิตวิทยาเป็ นผู้พิจารณางานของ
นักจิตวิทยาผู้อื่นซึง่ อาจมีปัญหาด้ านการทางานในวิชาชีพ (ให้ ดมู าตรฐานข้ อ 1.02 ประกอบ)

1.06 ความร่ วมมือของคณะกรรมการที่ว่าด้ วยจรรยาบรรณ


นักจิตวิทยาให้ ความร่ วมมือต่อการสอบสวนด้ านจรรยาบรรณ กระบวนการและผลการสอบสวน
ตามที่ระบุไว้ ในข้ อบังคับทางจรรยาบรรณ องค์กรทางจิตวิทยาที่ตนเป็ นสมาชิกอยู่ โดยต้ องเน้ นถึงประเด็น
การเก็บรักษาความลับ การไม่ให้ ความร่ วมมือจากสมาชิกถือเป็ นการละเมิดจรรยาบรรณ อย่างไรก็ตาม
การร้ องขอข้ อกล่าวหาก่อนให้ ความร่ วมมือไม่ถือว่าเป็ นการไม่ให้ ความร่ วมมือ

1.07 ข้ อร้ องเรี ยนที่ไม่ เหมาะสม


นักจิตวิทยาจะไม่ยื่น หรื อสนับสนุนให้ มีการยื่นข้ อร้ องเรี ยนกล่าวโทษทางด้ านจรรยาบรรณ โดยที่
ข้ อร้ องเรี ยนนันไม่
้ พิจารณาถึงข้ อเท็จจริ ง หรื อเจตนาที่จะเพิกเฉยต่อข้ อเท็จจริ ง ซึง่ ข้ อเท็จจริ งนันอาจพิ
้ สจู น์
หรื อหักล้ างได้ วา่ ข้ อกล่าวหานันไม่
้ เป็ นจริ ง

1.08 การแบ่ งแยกอย่ างไม่ เป็ นธรรมต่ อผู้ท่ รี ้ องเรี ยนหรื อผู้ท่ ถี ูกร้ องเรี ยน
นัก จิ ต วิท ยาไม่ควรปฏิ เสธการจ้ างงาน โอกาสก้ าวหน้ า การรั บ เข้ าศึกษาต่อในสถานศึกษาหรื อ
โครงการอื่นๆ การเลื่อนตาแหน่ง โดยอยู่บนพื ้นฐานที่ว่า ผู้นนเคยร้
ั้ องเรี ยนหรื อถูกร้ องเรี ยนเรื่ องการทาผิด
จรรยาบรรณ แต่ทงนี ั ้ น้ กั จิตวิทยาที่จะดาเนินการต่อไปตามผลการพิจารณาการร้ องเรี ยนนันหรื ้ อพิจารณา
จากข้ อมูลอื่นๆที่เหมาะสม
แนวความคิดทางจิตวิทยา
92
Viewpoint Psychology

2. ความสามารถ
2.01 ขอบเขตความสามารถของนักจิตวิทยา
(a) นักจิ ตวิท ยาให้ การบริ ก ารสอน และควบคุมการท าวิจัยเกี่ ย วกับ ประชากร และเรื่ อ งอื่น ๆที่
เกี่ ย วข้ องกับประชากรภายใต้ ขอบเขตความสามารถที่ นักจิ ตวิท ยามี ซึ่งขึน้ อยู่กับ ระดับ การศึกษา การ
ฝึ กอบรม ประสบการณ์การจัดการ การให้ คาปรึกษา การค้ นคว้ าหรื อประสบการณ์ในวิชาชีพ
(b) ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ และในวิชาชีพสาขาวิชาจิตวิทยานันจะเกิ ้ ดขึ ้นมาได้ โดยต้ อ งเข้ าใจใน
ปั จจัยเหล่านี ้ คือ อายุ เพศ ความบกพร่ องทางภาษา หรื อเศรษฐฐานะ ซึง่ เป็ นส่วนสาคัญในการให้ บริ การ
และการวิ จั ย นั ก จิ ต วิ ท ยาต้ องมี ห รื อ ได้ รั บ การฝึ กฝนประสบการณ์ การปรึ ก ษา หรื อ จ าเป็ นต้ องมี
ความสามารถเพี ยงพอที่ จะให้ บริ การ หรื อจะส่งต่ออย่างเหมาะสม เว้ นแต่ ภายใต้ เงื่อนไขที่ กล่าวในข้ อ
2.02 ซึง่ เป็ นการให้ บริ การในภาวะฉุกเฉิน
(c) นักจิตวิทยาที่จะให้ บริ การ สอน หรื อดาเนินการวิจยั ซึง่ เกี่ยวกับประชากร เนือ้ หา เทคนิค
หรื อเทคโนโลยีที่เป็ นเรื่ องใหม่สาหรับตน ต้ องทาการศึกษา ฝึ กอบรม ทางานอยู่ภายใต้ การกากับดูแลของ
นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญในเรื่ องนันๆ ้
(d) เมื่อนักจิตวิทยาถูกขอให้ จดั การบริ การให้ แก่บุคคลซึง่ ไม่สามารถรับบริ การทางด้ านสุขภาพจิต
จากหน่วยงานอื่นๆที่เหมาะสม และนักจิตวิทยายังไม่มีความสามารถที่เพียงพอ นักจิตวิทยาที่เคยผ่านการ
ฝึ กฝนหรื อมีประสบการณ์ ใกล้ เคียงในเรื่ องนัน้ อาจให้ บริ การเพื่อไม่ให้ สิทธิในการรับบริ การนันถู ้ กปฏิเสธ
โดยต้ องใช้ ความพยายามที่สมเหตุสมผลเพื่อให้ ได้ มาซึง่ ความสามารถที่จาเป็ น โดยใช้ ข้อมูล งานจากวิจยั ที่
เกี่ยวข้ อง การฝึ กอบรม การปรึกษา หรื อการศึกษา
(e) ในกรณี ที่เป็ นเรื่ องที่ยังใหม่และยังไม่มีมาตรฐานสาหรับการฝึ กฝนที่ เป็ นที่ ยอมรั บโดยทั่วไป
นักจิตวิทยาควรดาเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อทาให้ แน่ใจว่ามีความสามารถในการทางานนัน้ เพื่อปกป้อง
ผู้ใช้ บริ การ นักเรี ยน ผู้ช่วยฝึ กงานหรื อผู้ช่วยในงานวิจัย ผู้เข้ าร่ วมการวิจัย ลูกค้ าขององค์กร และผู้อื่นที่
เกี่ยวข้ องจากอันตราย
(f) ในการทางานด้ านนิติเวช นักจิตวิทยาต้ องศึกษากฎหมายหรื อ ระเบี ยบที่ ครอบคลุมบทบาท
ของตน

2.02 การให้ บริการในภาวะฉุกเฉิน


ในภาวะฉุกเฉิ น เมื่อนักจิตวิทยาให้ บริ การด้ านสุขภาพจิตกับบุคคลที่ไม่สามารถไปรั บบริ การได้
และนักจิ ต วิท ยาไม่ได้ รับ การฝึ กอบรมที่ จาเป็ น การบริ การควรยุติลงทัน ที ที่ ภาวะฉุกเฉิ น สิน้ สุดลงหรื อ
สามารถหาบริ การที่เหมาะสมให้ ได้
93

2.03 การคงไว้ ซ่ งึ ความสามารถในทางวิชาชีพ


นักจิตวิทยาต้ องพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะพัฒนาและคงไว้ ซงึ่ ความสามารถในทางวิชาชีพ

2.04 พืน้ ฐานของการใช้ วิจารณญาณในทางวิทยาศาสตร์ และทางวิชาชีพ


นักจิตวิทยาต้ องทางานอยู่บนพื ้นฐานของความรู้ ในทางวิทยาศาสตร์ และในทางวิชาชีพ (ดูที่ ข้ อ
2.01e และ ข้ อ 10.01b ประกอบ)

2.05 การมอบหมายงานให้ ผ้ ูอ่ นื ทา


นักจิตวิทยาผู้มอบหมายงานให้ แก่ลกู จ้ าง นิสิตฝึ กงาน หรื อผู้ช่วยในงานวิจยั หรื อผู้ช่วยสอน หรื อ
นักจิตวิทยาที่ใช้ บริ การของผู้อื่น เช่น ให้ ผ้ อู ื่นช่วยในการแปล ควรดาเนินการอย่างเหมาะสมในเรื่ อง
(1) หลีกเลี่ยงที่จะมอบหมายงานกับบุคคลที่มีความสัมพันธ์ หลายบทบาท ซึง่ อาจทาให้ เป็ นการ
เอาเปรี ยบ หรื อสูญเสียความเป็ นกลาง
(2) มอบความรับผิดชอบเฉพาะแก่บุคคลที่คาดว่าจะมีความสามารถโดยดูจากการศึกษา การ
ฝึ กอบรม หรื อ ประสบการณ์ ของพวกเขา ไม่ว่าจะให้ ดาเนินการโดยอิสระ หรื ออยู่ภายใต้ การ
กากับดูแลก็ตาม และ
(3) ตรวจสอบว่าผู้ได้ รับมอบหมายงานมีความสามารถในการปฏิบตั ิงานตามที่ได้ รับมอบหมาย
(ดูเพิ่มเติมได้ ในข้ อมาตรฐานข้ อที่ 2.02 ข้ อ 3.05 ข้ อ 4.01 ข้ อ 9.01 ข้ อ 9.03 และข้ อ 9.07
ประกอบ)

2.06 ปั ญหาส่ วนตัวและความขัดแย้ ง


(a) นัก จิ ต วิท ยาจะระงับ การริ เริ่ มท ากิ จกรรมใดๆ หากรู้ ว่าปั ญ หาส่วนตัวจะท าให้ ไม่ส ามารถ
ปฏิบตั ิงานตามหน้ าที่ได้ อย่างเต็มความสามารถ
(b) เมื่อนักจิตวิทยาตระหนักว่าปั ญหาส่ว นตัวของตน อาจจะส่งผลต่อการปฏิบัติหน้ าที่การงาน
จะต้ องดาเนินการให้ เหมาะสม เช่น ขอคาปรึ กษาหรื อความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ และพิจารณาว่า
ควรที่จะจากัด หยุดพักชัว่ คราว หรื อยุติการทางานในหน้ าที่
แนวความคิดทางจิตวิทยา
94
Viewpoint Psychology

3. ความสัมพันธ์ ระหว่ างบุคคล

3.01 การแบ่ งแยกโดยไม่ เป็ นธรรม


ในการท างานของนั ก จิ ต วิ ท ยาจะไม่ แ บ่ งแยกบุ ค คลอย่ างไม่ เป็ นธรรมจากอายุ เพศ เชื อ้ ชาติ
เผ่าพันธุ์ วัฒนธรรม ประเทศ ศาสนา แนวโน้ มทางเพศ ความพิการ เศรษฐฐานะ หรื อสิ่งอื่นๆ ที่ถูกห้ ามโดย
กฎหมาย
3.02 การคุกคามทางเพศ
นักจิตวิทยาไม่ควรเข้ าไปเกี่ยวข้ องกับการคุกคามทางเพศ การคุกคามทางเพศ คือการเชื ้อเชิญหรื อ
การรบเร้ าทางเพศ การล่วงเกินทางร่ างกาย หรื อการกระทาทังด้ ้ วยวาจาและมิใช่ด้วยวาจาที่ส่อไปในทาง
เพศ ซึง่ เกิดขึ ้นขณะที่นกั จิตวิทยาปฏิบตั ิงานในหน้ าที่หรื ออยู่ในบทบาทของนักจิตวิทยา และมีลกั ษณะใด
ลักษณะหนึง่ ดังต่อไปนี ้
(1) เมื่อผู้อื่นไม่ยิ นยอม เป็ นการทาให้ ผ้ ูอื่นเกิ ดความขุ่นเคืองใจ หรื อสร้ างความไม่พึงพอใจให้ กับ
ผู้อื่น ทาให้ เกิดบรรยากาศที่ไม่เป็ นมิตรในสถานที่ทางานหรื อในสถานศึกษา และนักจิตวิทยารู้ หรื อได้ ถูก
บอกให้ ร้ ู จากผู้อื่นแล้ ว
(2) อาจจะเป็ นการกระทาที่ ไม่เหมาะสมร้ ายแรงพอที่จะถือได้ ว่าเป็ นการคุกคาม การคุกคามทาง
เพศอาจเป็ นการกระทาที่ไม่เหมาะสมอย่างร้ ายแรง เพียงครัง้ เดียว หรื อหลายครัง้ หรื อทาติดต่อกัน มา
นาน

3.03 การคุกคามด้ านอื่นๆ


นักจิตวิทยาจะต้ องไม่เข้ าไปเกี่ยวข้ องกับพฤติกรรมการคุกคาม หรื อการกระทาที่เป็ นการลดคุณค่า
ของบุ ค คลที่ นั ก จิ ต วิ ท ยาต้ อ งเข้ า ไปสัม พั น ธ์ ด้ ว ย ซึ่ งปั จ จั ย ของบุ ค คลที่ ต้ อ งค านึ งถึ งได้ แ ก่ อายุ เพศ
เอกลักษณ์ ทางเพศ ชนชาติ เกี่ยวกับชนกลุ่มน้ อย วัฒนธรรม สัญชาติ ศาสนา การปรับตัวทางเพศ การไร้
ความสามารถ ภาษา หรื อเศรษฐฐานะ

3.04 การหลีกเลี่ยงความเสียหาย
(a) นักจิ ตวิท ยาดาเนิ น การอย่างเหมาะสมในการที่ จะหลี กเลี่ ยงการก่ อให้ เกิ ดความเสีย หายแก่
ผู้ใช้ บริ การ นักเรี ยน นักศึกษา ผู้ที่อยู่ใต้ การควบคุมดูแล ผู้เข้ าร่ วมในการวิจยั ผู้ใช้ บริ การที่เป็ นหน่วยงาน
หรื อกลุ่มองค์กร และบุคคลอื่น ๆ ที่นกั จิตวิทยาทางานด้ วย ในกรณีที่เล็งเห็นถึงความเสียหายที่จะเกิด ขึ ้น
และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นักจิตวิทยาจะต้ องดาเนินการให้ เกิดความเสียหายน้ อยที่สดุ
95

(b) นักจิตวิทยาจะไม่มีส่วนร่ วม เอื ้ออานวย ให้ การช่วยเหลือ หรื อเข้ าไปมีส่วนในการทรมาน ด้ วย


การกระทาใด ๆ ที่ทาให้ เกิดความเจ็บปวดหรื อทุกข์ทรมานอย่างรุ นแรง ทัง้ ในด้ านร่ างกายหรื อจิตใจ ซึง่ จง
ใจให้ เกิ ดแก่บุคคล หรื อการกระทาอื่นใดที่ โหดร้ าย ไร้ มนุษยธรรม หรื อลดคุณ ค่าความเป็ นมนุษย์ ต่อ
บุคคลในข้ อ 3.04(a).

3.05 ความสัมพันธ์ หลายบทบาท


(a) ความสัมพันธ์หลายบทบาทเกิดขึ ้นเมื่อนักจิตวิทยาอยู่ในบทบาททางวิชาชีพกับบุคคลหนึง่ และ
1) ในเวลาเดียวกันก็มีบทบาทอื่นกับบุคคลนันด้้ วย
2) ในเวลาเดียวกันก็มีความสัมพันธ์ กบั บุคคลที่ใกล้ ชิดกับผู้ที่นกั จิตวิทยามีความสัมพันธ์ ทาง
วิชาชีพด้ วย หรื อ
3) สัญ ญาว่าจะมีความสัมพันธ์ อื่น ใดด้ วยในอนาคตกับ บุคคลนัน้ หรื อบุคคลที่ ใกล้ ชิดกับ
บุคคลนัน้
นักจิตวิทยาจะไม่เข้ าไปมีความสัมพันธ์ หลายบทบาท ถ้ ามีความเป็ นไปได้ ว่าความสัมพันธ์ หลาย
บทบาทจะทาให้ ความเป็ นกลาง ความสามารถ หรื อการปฏิบตั ิงานในหน้ าที่นกั จิตวิทยาเกิดความบกพร่ อง
หรื ออาจเกิดความเสี่ยงต่อการเอาเปรี ยบ หรื อเกิดความเสียหายแก่บุคคลซึ่งนักจิตวิทยามีความสัมพั นธ์
ทางวิชาชีพอยู่
การมีความสัมพันธ์ หลายบทบาทไม่ถือว่าผิดจรรยาบรรณ หากไม่มีความเป็ นไปได้ ที่ความสัมพันธ์
นัน้ จะเป็ นสาเหตุที่ทาให้ เกิดความบกพร่ อง หรื อความเสี่ยงต่อการหาผลประโยชน์ ส่วนตัว หรื อการเกิ ด
ความเสียหาย
(b) ถ้ านักจิตวิทยาพบว่าความสัมพันธ์ หลายบทบาทที่เ กิดขึน้ อาจก่อให้ เกิดอันตราย นักจิตวิทยา
ควรดาเนินการอย่างเหมาะสมที่ จะแก้ ไข โดยคานึงถึงประโยชน์ สูงสุดของบุคคล และปฏิ บัติตามหลัก
จรรยาบรรณ
(c) หากนักจิตวิทยามีบทบาทมากว่าหนึ่งบทบาท โดยเป็ นข้ อกาหนดของกฎหมาย นโยบายของ
สถาบัน หรื อ สถานการณ์ พิ เศษ เช่ น ในทางศาล หรื อ การบริ ห าร นัก จิ ต วิท ยาจะต้ อ งชี แ้ จงถึงความ
คาดหวังในแต่ละบทบาทให้ ชดั เจนและขอบเขตของการรักษาความลับเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนันๆ ้

3.06 การขัดแย้ งในผลประโยชน์


นัก จิ ต วิ ท ยาจะระงับ บทบาททางวิช าชี พ หากสามารถคาดการณ์ ได้ ว่าความสัมพัน ธ์ ที่ เป็ นเรื่ อง
ส่วนตัว ทางวิทยาศาสตร์ ทางวิชาชีพ กฎหมาย การเงินหรื อผลประโยชน์อื่นๆ อาจ
แนวความคิดทางจิตวิทยา
96
Viewpoint Psychology

(1) ท าให้ ความเป็ นกลาง ความสามารถในทางวิช าชี พ หรื อประสิ ทธิ ภ าพในการปฏิ บัติงานใน
หน้ าที่นกั จิตวิทยาเกิดความบกพร่ อง หรื อ
(2) ทาให้ บคุ คลหรื อองค์การซึง่ ตนมีความสัมพันธ์ทางวิชาชีพด้ วยได้ รับอันตรายหรื อถูกเอาเปรี ยบ

3.07 การขอใช้ บริการของบุคคลที่สาม


เมื่อนักจิ ตวิท ยาตกลงที่ จ ะให้ บริ การกับบุคคลที่ ถูก บุคคลที่ ส ามร้ องขอมา ก่ อนการให้ บ ริ ก าร
นักจิตวิทยาต้ องทาความเข้ าใจเกี่ยวกับลักษณะของความสัมพันธ์ ทงั ้ ระหว่างบุคคลและองค์การ รวมถึง
การทาความเข้ าใจในบทบาทของนักจิตวิทยาด้ วย (เช่นเป็ นผู้ให้ การบาบัด เป็ นที่ปรึ กษา เป็ นผู้วินิจฉัยโรค
หรื อเป็ นพยานผู้เชี่ยวชาญ) ระบุผ้ ใู ช้ บริ การ และโอกาสของการใช้ ข้อมูลที่ได้ จากการบริ การนี ้หรื อการใช้
บริ การและข้ อจากัดในเรื่ องการรั กษาความลับของข้ อมูล (ดูรายละเอียดประกอบในมาตรฐานข้ อ 3.05
และข้ อ 4.02)

3.08 ความสัมพันธ์ ท่ เี ป็ นการเอาเปรี ยบ


นักจิตวิทยาจะไม่เอาเปรี ยบบุคคลที่อยู่ในความดูแล ประเมิน หรื ออยู่ภายใต้ อานาจ เช่น ผู้ใช้ บริ การ
นิสิตนักศึกษา ผู้รับคาปรึ กษา ผู้เข้ าร่ วมการวิจัย และลูกจ้ าง (ดูที่มาตรฐานข้ อ3.05 ข้ อ 6.04 ข้ อ 6.05
ข้ อ 7.07 ข้ อ 10.05 ข้ อ 10.06 ข้ อ 10.07 และข้ อ 10.08 ประกอบ)

3.09 การทางานร่ วมกับนักวิชาชีพอื่นๆ


เมื่อมีข้อบ่งชีแ้ ละเหมาะสมตามหลักการทางวิชาชีพ นักจิตวิทยาควรทางานร่ วมกับนักวิชาชีพอื่น
เพื่อให้ บริ การแก่ผ้ ใู ช้ บริ การอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม (ดูมาตรฐานข้ อ 4.05 ร่ วมด้ วย)

3.10 การให้ ความยินยอม


(a) เมื่อนักจิตวิทยาทาการวิจยั หรื อการตรวจวินิจฉัย การบาบัด การให้ คาปรึ กษา หรื อการให้ บริ การ
การให้ คาปรึกษาแก่บคุ คลหรื อโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรื อในรู ปแบบอื่นใดของการสื่อสาร นักจิตวิทยา
ต้ องได้ รับความยินยอมจากบุคคลหรื อกลุ่มบุคคลนัน้ ก่อน โดยอธิบายหรื อใช้ ภาษาที่บุคคลนัน้ เข้ าใจได้
เว้ น แต่ก ารกระท านัน้ เป็ นค าสั่งของศาลหรื อเป็ นกฎระเบี ย บของรั ฐ บาล หรื อตามที่ ก าหนดไว้ ในหลัก
จรรยาบรรณนี ้ (ดูมาตรฐานข้ อ8.02 ข้ อ9.03 และข้ อ10.01 ประกอบ)
(b) สาหรับบุคคลซึง่ ในทางกฎหมายไม่สามารถให้ ความยินยอมได้ นักจิตวิทยายังคงต้ อง
(1) ให้ การอธิบายที่เหมาะสม (2) ให้ บุคคลยอมรับ (3) คานึงถึงผลประโยชน์สงู สุดและ
ความพึงพอใจของบุคคล และ (4) ขออนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม หากกฎหมายกาหนดให้ ต้อง
97

ได้ รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม นักจิตวิทยาต้ องดาเนินการตามสมควรที่จะปกป้องสิทธิ


และความผาสุกของบุคคลนัน้
(c) เมื่อมีการให้ บริ การด้ านจิตวิทยาตามคาสัง่ ศาลหรื อตามที่กฎหมายกาหนด นักจิตวิทยาชี ้แจง
แก่ ผ้ ู รับ บริ ก ารถึ งธรรมชาติข องการให้ บ ริ ก าร รวมถึงเรื่ องของข้ อ จ ากัดของการรั ก ษาความลับ ก่ อ น
ดาเนินการให้ บริ การ
(d) นักจิ ตวิ ทยาควรมีก ารบัน ทึกการให้ ความยิ น ยอม การอนุญ าตไว้ เป็ นลายลัก ษณ์ อักษรหรื อ
บันทึกด้ วยวาจา (ดูเพิ่มเติมที่ข้อ8.02 ข้ อ 9.03 และข้ อ 10.01 ประกอบ)

3.11 การให้ บริการทางจิตวิทยาแก่ องค์ กร หรื อให้ บริการผ่ านทางองค์ กร


(a) นัก จิ ต วิท ยาผู้ให้ บ ริ ก ารแก่ องค์ ก ร หรื อ ให้ บ ริ ก ารผ่ านทางองค์ ก ร ต้ องให้ ข้ อมูล ล่ วงหน้ ากับ
ผู้รับบริ การ และผู้ที่ได้ รับผลกระทบโดยตรงจากการบริ การนัน้ เกี่ยวกับ
(1) ลักษณะและจุดประสงค์ของการบริ การ
(2) ใครเป็ นผู้รับบริ การ
(3) ข้ อมูลนันจะส่
้ งไปที่ใคร
(4) ความสัมพัน ธ์ ระหว่างตัวนัก จิ ต วิท ยากับ บุคคลแต่ล ะคน และ ความสัมพัน ธ์ ข อง
นักจิตวิทยาต่อองค์กร
(5) ความเป็ นไปได้ ในการใช้ ข้อมูลจากการให้ บริ การที่ได้ รับ
(6) ใครคือผู้มีโอกาสเข้ าถึงข้ อมูล และ
(7) ข้ อจากัดของการรักษาความลับ
ในทันทีที่ทาได้ นักจิตวิทยาต้ องให้ ข้อมูลเกี่ยวกับผล และข้ อสรุ ปของการให้ บริ การแก่ผ้ ทู ี่ควรทราบ
(b) ถ้ ากฎหมายหรื อกฎข้ อบังคับขององค์กรห้ ามไม่ให้ นกั จิตวิทยาให้ ข้อมูลกับบุคคลหรื อกลุม่ บุคคล
นักจิตวิทยาต้ องแจ้ งให้ บคุ คลหรื อกลุม่ บุคคลนันทราบ ้ ก่อนการให้ บริ การ

3.12 การสะดุดหยุดลงของการให้ บริการทางจิตวิทยา


นอกจากจะมี ก ารระบุ ไ ว้ แ ล้ ว นั ก จิ ต วิ ท ยาต้ องเตรี ย มการล่ ว งหน้ าเพื่ อ ให้ การบริ ก ารเป็ นไป
โดยสะดวก ในช่วงการให้ บริ การอาจต้ องหยุดชะงักลงด้ วยเหตุตา่ งๆ เช่น นักจิตวิทยาป่ วย ตาย ไม่อยู่ ย้ าย
ถิ่นฐานหรื อเกษี ยณ รวมไปจนถึงเหตุอันเนื่ องจากตัวคนไข้ เอง อาจมีปัญ หาในเรื่ องการย้ ายที่อ ยู่ หรื อมี
ปั ญหาทางการเงิน (สามารถดูเพิ่มเติมได้ ในจรรยาบรรณข้ อที่ 6.02c)
แนวความคิดทางจิตวิทยา
98
Viewpoint Psychology

4. ความเป็ นส่ วนตัวและความลับ


4.01 การคงไว้ ซ่ งึ ความลับ
นักจิตวิทยามีข้อผูกพันเบื ้องต้ นและต้ องใช้ ความระมัดระวังในการป้องกันและจัดเก็บข้ อมูลที่เป็ น
ความลับตามสมควร โดยตระหนักถึงข้ อ จากัดของการรักษาความลับ ซึ่งอาจถูกควบคุมโดยกฎหมาย
หรื อกฎระเบียบของหน่วยงาน หรื อความสัมพันธ์ทางวิชาชีพ หรื อความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์

4.02 การอภิปรายถึงข้ อจากัดของการรั กษาความลับ


(a) นักจิตวิทยาจะต้ องอภิปรายกับบุคคล (รวมทังบุ ้ คคลที่ไร้ ความสามารถตามกฎหมายและผู้แทน
โดยชอบธรรมของเขา) และองค์กร ผู้ซงึ่ ตนมีความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์ หรื อในทางวิชาชีพ โดย
(1) บอกถึงข้ อจากัดของการรักษาความลับ
(2) การนาข้ อมูลที่ได้ จากกิจกรรมทางจิตวิทยาไปใช้ (ดูตามมาตรฐานข้ อ 3.10)
(b) เว้ นแต่จะทาไม่ได้ หรื อมีข้ อห้ ามไว้ การอภิ ป รายเกี่ ยวกับ การรั กษาความลับ ควรทาก่ อนเริ่ ม
บาบัดหรื อเมื่อมีสถานการณ์ใหม่ที่ควรจะอภิปราย
(c) นักจิตวิทยาผู้เสนอบริ การ สินค้ า หรื อส่งข้ อมูลผ่านทางอิเล็คทรอนิคส์ จะต้ องแจ้ งให้ ผ้ รู ับบริ การ
ทราบถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียความเป็ นส่วนตัวและข้ อจากัดของการรักษาความลับ

4.03 การบันทึก
ก่อนที่ จะสามารถบันทึกเสียงหรื อบันทึกภาพของบุคคลที่ มารั บบริ การได้ นัน้ นักจิตวิทยาต้ อง
ได้ รับอนุญาตจากบุคคลนันหรื
้ อจากผู้แทนโดยชอบธรรม (ดูตามมาตรฐานข้ อ8.03 ข้ อ8.05 และข้ อ 8.07)

4.04 การก้ าวก่ ายความเป็ นส่ วนตัวให้ น้อยที่สุด


(a) นักจิตวิทยาควรเสนอเฉพาะข้ อมูลที่เกี่ยวข้ องกับจุดประสงค์สาหรับเรื่ องที่กาลังสื่อสาร ในการ
เขียนรายงาน การรายงานด้ วยวาจา และการประชุมปรึกษา
(b) นักจิตวิทยาสามารถนาข้ อมูลที่เป็ นความลับซึง่ ได้ มาจากการทางานมาอภิปรายได้ เฉพาะเมื่อมี
เหตุอนั เห็นสมควรหรื อโดยวัตถุ ประสงค์ในวิชาชี พ และเฉพาะกับบุคคลที่ เกี่ ยวข้ องกับเหตุการณ์ อย่าง
ชัดเจนเท่านัน้

4.05 การเปิ ดเผยข้ อมูล


(a) นักจิตวิทยาจะเปิ ดเผยข้ อมูลที่เป็ นความลับได้ ต่อเมื่อได้ รับความยินยอมจากผู้รับบริ การที่เป็ น
องค์การ ผู้ใช้ บริ การ หรื อผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย เว้ นแต่จะมีข้อห้ ามตามกฎหมายบัญญัติไว้
99

(b) นักจิตวิทยาสามารถเปิ ดเผยข้ อมูลได้ โดยไม่ต้องได้ รับความเห็นชอบจากตัวบุคคล เฉพาะใน


กรณีที่กฎหมายกาหนดไว้ หรื อได้ รับอนุญาตตามกฎหมายเท่านัน้ เพื่อให้ บรรลุตามเป้าหมายได้ ดงั นี ้
(1) ให้ บริ การทางวิชาชีพที่จาเป็ น
(2) รับคาปรึกษาจากนักวิชาชีพที่เหมาะสม
(3) ป้องกันผู้ใช้ บริ การ นักจิตวิทยาหรื อบุคคลอื่นจากอันตราย หรื อ
(4) รับค่าบริ การจากผู้ใช้ บริ การ
การเปิ ดเผยข้ อมูลต้ องทาเฉพาะที่จาเป็ น เพื่อให้ บรรลุวตั ถุประสงค์เท่านัน้ (ดูตามมาตรฐานข้ อ
6.04e)

4.06 การปรึกษา
ในกรณีที่มีการปรึกษากับเพื่อนร่ วมงาน
(1) นักจิตวิทยาไม่ควรเปิ ดเผยข้ อมูลที่เป็ นความลับที่จะเป็ นการบ่งชี ้ตัวผู้ใช้ บริ การ ผู้มีส่วนร่ วมใน
การวิจัย บุคคลหรื อองค์การอื่นๆ นอกเสียจากว่าจะได้ รับความยินยอม หรื อไม่สามารถหลีกเลี่ยงการ
เปิ ดเผยนี ้ได้ และ
(2) นักจิตวิทยาจะเปิ ดเผยข้ อมูลเท่าที่จาเป็ นต่อความสาเร็ จตามจุดประสงค์ของการปรึ กษาเพียง
เท่านัน้ (ดูตามมาตรฐานข้ อ 4.01)

4.07 การใช้ ข้อมูลที่เป็ นความลับสาหรั บการสอนหรื อจุดประสงค์ อ่ นื


นักจิตวิทยาไม่ควรเปิ ดเผยข้ อมูลที่เป็ นความลับเกี่ ยวกับลักษณะส่วนบุคคลของผู้ใช้ บริ การ คนไข้
นักศึกษา ผู้มีส่วนร่ วมในการวิจยั ลูกค้ าที่เป็ นองค์การ หรื อผู้รับบริ การรายอื่นๆ ในงานเขียน บรรยาย หรื อ
สื่อสาธารณะ เว้ นแต่ในกรณีที่
(1) มีการดาเนินการอย่างเหมาะสมที่จะไม่ให้ ร้ ู วา่ เป็ นบุคคลหรื อหน่วยงานใด
(2) บุคคลหรื อองค์กรให้ ความยินยอมเป็ นลายลักษณ์อกั ษร
(3) มีอานาจตามกฎหมายที่จะทาได้

5. การประกาศโฆษณาและประกาศสาธารณะอื่นๆ
5.01 การหลีกเลี่ยงถ้ อยแถลงที่เป็ นเท็จหรื อหลอกหลวง
(a) ประกาศสาธารณะ หมายรวมถึงแต่ไม่จากัดเฉพาะการโฆษณาที่ จ่ายหรื อไม่จ่ายค่าโฆษณา
รวมทัง้ คาโฆษณาผลิตภัณฑ์ ใบสมัครขอรับทุน ใบสมัครขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เอกสารรับรอง
แผ่นพับ สิ่งตีพิมพ์ บัญ ชีรายนาม ประวัติส่วนบุคคลและประวัติการศึกษา หรื อ ความคิดเห็นที่ใช้ ในสื่อ
แนวความคิดทางจิตวิทยา
100
Viewpoint Psychology

ต่างๆ เช่น การพิมพ์ หรื อ การส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ การให้ ถ้อยคาในกระบวนการทางกฎหมาย การ


บรรยายและเสนอผลงานทังด้ ้ วยวาจาและสื่อสิ่งพิมพ์ นักจิตวิทยาต้ องไม่จงใจให้ ถ้อยแถลงที่เป็ นเท็จ หรื อ
หลอกลวง ในเรื่ องผลงานการวิจัย งานทางวิ ช าชี พ หรื อ กิ จ กรรมอื่น ๆ ในงาน หรื อ คนหรื อองค์ ก รซึ่ง
นักจิตวิทยาเข้ าไปมีสว่ นร่ วม
(b) นักจิตวิทยาต้ องไม่กล่าวถ้ อยแถลงที่เป็ นเท็จ หลอกลวง หรื อบิดเบือนความจริ ง ที่เกี่ยวข้ องกับ
(1) การผ่านการฝึ กอบรม ประสบการณ์ และความสามารถของตน
(2) วุฒิการศึกษาของตนเอง
(3) หนังสือรับรองของตนเอง
(4) สถาบันของตนหรื อองค์กรที่ตนมีสว่ นเกี่ยวข้ องด้ วย
(5) การให้ บริ การทางวิชาชีพ
(6) ผลหรื อระดับของความสาเร็ จในการให้ การบริ การ
(7) ค่าธรรมเนียม หรื อ
(8) งานตีพิมพ์เผยแพร่ หรื อผลจากการวิจยั
(c) นักจิตวิทยาสามารถอ้ างความน่าเชื่อถือในด้ านการให้ บริ การได้ หากวุฒิการศึกษานัน้
(1) ได้ รับการรับรองจากสถานศึกษาอย่างเป็ นทางการ หรื อ
(2) ใบอนุญาตวิชาชีพนักวิทยาจากรัฐที่ได้ ไปฝึ กมา

5.02 การให้ ผ้ ูอ่ นื ทาถ้ อยแถลงให้


(a) นักจิตวิทยาที่ให้ ผ้ ูอื่นทาถ้ อยแถลงหรื อข้ อความเพื่อใช้ ในการโฆษณากิจการในวิชาชีพของตน
ผลิตภัณฑ์ หรื อกิจกรรมต่างๆ ต้ องมีสว่ นรับผิดชอบถ้ อยคาทุกคาที่ปรากฏอยู่ในถ้ อยแถลงนันๆ ้ ว่าไม่ได้ เป็ น
การกล่าวอ้ างเกินจริ ง
(b) นักจิตวิทยาต้ องไม่ให้ ค่าตอบแทน กับผู้ที่ทางานเกี่ยวกับข่าวสาร วิทยุ โทรทัศน์ หรื อสื่ออื่นๆ ใน
การเผยแพร่ ในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับนักจิตวิทยา (ดูข้อ 1.01 ประกอบ)
(c) การใช้ จ่ ายในการลงโฆษณาที่ เกี่ ยวกับ กิ จ กรรมของนัก จิ ตวิ ท ยานัน้ จาเป็ นที่ จะต้ องระบุให้
ชัดเจน

5.03 การบรรยายการอบรมเชิงปฏิบัตกิ ารและโปรแกรมการศึกษาที่ไม่ ได้ ใบปริญญา


นักจิตวิทยาต้ องรั บผิดชอบงานที่ตนมีส่วนเกี่ยวข้ องกับคาประกาศ แคตตาล็อค แผ่นพับหรื อการ
โฆษณาที่ให้ รายละเอียดเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนา หรื อโปรแกรมการศึกษาที่ไม่ได้ ใบ
101

ปริ ญญา เพื่อให้ แน่ใจว่ารายละเอียดที่ถกู ต้ องในเรื่ อง ผู้ที่ควรเข้ าร่ วมกิจกรรม จุดประสงค์ในด้ านการศึกษา
ผู้บรรยาย และค่าใช้ จ่ายที่จะมี

5.04 การนาเสนอข้ อมูลผ่ านสื่อ


เมื่ อ นั ก จิ ต วิ ท ยาให้ ค าแนะน าหรื อ แสดงความคิ ด เห็ น ต่ อ สาธารณชนโดยผ่ า นทางสิ่ งตี พิ ม พ์
อินเตอร์ เน็ต หรื อการส่งผ่านด้ วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ จะต้ องแน่ใจว่าถ้ อยแถลงนัน้
(1) อยู่บนพื ้นฐานของความรู้ เกี่ยวกับวิชาอาชีพ การฝึ กอบรม หรื อประสบการณ์ ที่สอดคล้ อง
กับความรู้ และแนวปฏิบตั ิในทางจิตวิทยา
(2) สอดคล้ องกับหลักจรรยาบรรณนี ้ และ
(3) ไม่บ่งถึงการมีความสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้รับข้ อมูลนันๆแล้
้ ว (ดูข้อ 2.04 ประกอบ)
5.05 การรั บรอง
นักจิตวิทยาไม่ควรให้ คนไข้ ที่อยู่ในระหว่างการรักษาหรื อบุคคลอื่น ซึง่ เป็ นผู้ที่อยู่ในภาวะที่ถูกโน้ ม
น้ าวได้ ง่าย มาให้ การรับรองหรื อเป็ นพยานให้ กบั ตน

5.06 ตัวแทนทางธุรกิจ
นักจิตวิทยาไม่ควรเสนอตัวหรื อเป็ นตัวแทนทางด้ านธุรกิจแก่คนไข้ หรื อบุคคลที่กาลังจะมาเป็ นคนไข้
เพราะบุคคลเหล่านี ้ เป็ นผู้ที่อยู่ในภาวะที่ถกู โน้ มน้ าวได้ ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม ข้ อห้ ามนี ้ไม่ได้ รวมถึง
(1) พยายามที่จะจัดให้ เกิดการร่ วมมือสองฝ่ ายเพื่อเป็ นประโยชน์แก่คนไข้ ที่ได้ รับการบาบัดแล้ ว
(2) ให้ ความช่วยเหลือกับผู้ที่ประสบภัย หรื อให้ บริ การแก่ชมุ ชน

6. การเก็บข้ อมูลและค่ าบริการ


6.01 เอกสารเกี่ยวกับวิชาชีพ งานทางวิทยาศาสตร์ และการเก็บรั กษาข้ อมูล
นักจิตวิทยาจัดทาข้ อมูลและควบคุม เก็บรักษา เผยแพร่ ทาลายข้ อมูลที่เกี่ยวข้ องกับวิชาชีพและงาน
ทางวิทยาศาสตร์ ของเขาเพื่อ
(1) ให้ เกิดความสะดวกในการให้ บริ การภายหลังโดยตน หรื อนักวิชาชีพคนอื่นๆ
(2) สามารถทาการวิเคราะห์และวิจยั
(3) ปฏิบตั ิตามเกณฑ์ของสถาบัน
(4) เกิดความถูกต้ องในการเก็บค่าบริ การ
(5) เป็ นไปตามกฎหมาย (ดูจรรยาบรรณข้ อ 4.01)
แนวความคิดทางจิตวิทยา
102
Viewpoint Psychology

6.02 การเก็ บ รั ก ษา เผยแพร่ และท าลายข้ อมู ล ที่ เป็ นความลั บ ในทางวิ ช าชี พ และทาง
วิทยาศาสตร์
(a) นักจิตวิทยาต้ องรักษาความลับในการจัดทา การเก็บรวบรวมข้ อมูล การตรวจสอบ การย้ าย
และการกาจัดข้ อมูลที่ทาการบันทึกภายใต้ การควบคุมของพวกเขา ไม่ว่า จะเป็ นรายงานที่ เขี ยนขึน้ เอง
หรื อพิมพ์ หรื อโดยสื่ออื่นๆ (ดูข้อ 4.01 และข้ อ 6.01)
(b) ถ้ าข้ อ มูล ที่ เป็ นความลับ เกี่ ย วกับ ผู้ ที่ ม ารั บ บริ ก ารทางด้ านจิ ต วิ ท ยาจะต้ อ งมี ก ารบัน ทึ ก ใน
คอมพิวเตอร์ ด้วยระบบ Database หรื อระบบอื่น ซึง่ อาจมีผ้ อู ื่นเข้ าถึงข้ อมูลโดยไม่ได้ รับ ความยินยอมจาก
ผู้มารั บ บริ การ นัก จิ ตวิทยาควรใช้ รหัส หรื อเทคนิ คอื่นในการบัน ทึกข้ อมูลเพื่ อหลีกเลี่ยงมิให้ ข้อมูลของ
ผู้รับบริ การถูกสืบค้ นข้ อมูลได้
(c) ในกรณี ที่นักจิตวิทยาต้ องการยุติการบาบัด หรื อถอนตัวออกจากการปฏิบัติงานทางจิตวิทยา
นักจิตวิทยาต้ องวางแผนล่วงหน้ าในการส่งต่อข้ อมูลของคนไข้ และป้องกันความลับของข้ อมูล

6.03 การไม่ ให้ ข้อมูลที่มีอยู่เมื่อไม่ มีการชาระค่ าบริการ


นักจิตวิทยาไม่อาจยึดเก็บข้ อมูลที่มีอยู่ในกรณี ที่มีการร้ องขอและเป็ นสิ่งจาเป็ นในการให้ บริ การใน
ภาวะฉุกเฉินแก่ผ้ รู ับบริ การของตน โดยเหตุที่วา่ ผู้นนยั
ั ้ งไม่ได้ ชาระค่าบริ การ

6.04 ค่ าบริการและการจัดการด้ านการเงิน


(a) นักจิตวิทยาและผู้รับบริ การทางจิ ตวิทยาต้ องมีการตกลงเกี่ ยวกับค่าบริ การ และการจัดเก็บ
ค่าบริ การโดยเร็ วที่สดุ เท่าที่จะสามารถทาได้ เมื่อเริ่ มมีความสัมพันธ์ทางวิชาชีพหรื อทางวิทยาศาสตร์
(b) ค่าบริ การของนักจิตวิทยาต้ องสอดคล้ องกับกฎหมาย
(c) นักจิตวิทยาต้ องไม่ทาให้ เกิดความเข้ าใจผิดในเรื่ องค่าบริ การ
(d) นักจิตวิทยาควรมีการพูดคุยกับผู้รับบริ การโดยเร็ วที่สดุ เท่าที่จะเป็ นไปได้ หากสามารถคาดได้
ว่าจะเกิดความขัดข้ องในการให้ บริ การเพราะข้ อจากัดด้ านการเงิน
(e) ถ้ า ผู้ ม ารั บ บริ ก ารไม่ จ่ ายค่ า บริ ก ารตามที่ ต กลงกั น ไว้ ได้ และนั ก จิ ต วิ ท ยามี เจตนาที่ จ ะใช้
หน่ ว ยงานที่ ให้ บริ ก ารทวงหนี ้ หรื อ วิ ธี ก ารทางกฎหมายเพื่ อ เก็ บ ค่ า บริ ก าร นั ก จิ ต วิ ท ยาต้ อ งแจ้ งให้
ผู้รับบริ การทราบถึงมาตรการที่จะใช้ เสียก่อน และเปิ ดโอกาสให้ ผ้ รู ับบริ การจ่ายค่าตอบแทนนันในทั ้ นที

6.05 การแลกเปลี่ยน
นักจิตวิทยาจะสามารถให้ ผ้ รู ั บบริ การจ่ายค่าตอบแทนการให้ บริ การทางจิตวิทยาในรู ปของสิ่งของ
บริ การ หรื อสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช้ เงิน ก็ตอ่ เมื่อ
103

(1) ไม่มีข้อห้ ามในทางคลินิก


(2) การจัดการเช่นนันไม่
้ ได้ เป็ นการเอาเปรี ยบ (ดูข้อ 3.05 และข้ อ 6.04 ประกอบ)

6.06 ความถูกต้ องในการรายงานให้ กับผู้จ่ายค่ าบริการ แหล่ งเงินทุน


ในการรายงานให้ กบั ผู้จ่ายค่าบริ การ หรื อแหล่งเงินทุนในการทาวิจัย นักจิตวิทยาต้ องดาเนินการ
เพื่อให้ แน่ใจว่ารายงานนัน้ ถูกต้ องตรงกับบริ การที่ ให้ หรื องานวิจัยที่ ทา เช่น ค่าบริ การ การจ่ายเงิน เพื่ อ
ความเหมาะสมควรบอกลักษณะของผู้ให้ บริ การ ผลที่ได้ และการวินิจฉัยด้ วย (ดูข้อ 4.01 ข้ อ 4.04 และ
ข้ อ 4.05 ประกอบ)

6.07 การส่ งต่ อคนไข้ และค่ าตอบแทน


เมื่อนักจิตวิทยาจ่าย ได้ รับ หรื อแบ่งค่าตอบแทนกับนักวิชาชีพคนอื่น และผู้อื่ นที่มีความสัมพันธ์
นอกเหนื อจากการเป็ นลูกจ้ างกับนายจ้ าง การจ่ายค่าตอบแทนจะตัง้ อยู่บ นพื น้ ฐานของการให้ บริ การ
(คลินิก การให้ คาปรึ กษา การบริ หาร หรื ออื่นๆ) และไม่ตงอยู
ั ้ ่บนพืน้ ฐานของการส่งต่อคนไข้ (ดูข้อ 3.09
ประกอบ)

7. การศึกษาและการฝึ กอบรม
7.01 การออกแบบหลักสูตรการศึกษาและการฝึ กอบรม
นัก จิ ต วิท ยารั บ ผิ ดชอบหลักสูตรการศึกษาและการฝึ กอบรมต้ องพยายามให้ เกิ ดความมั่น ใจว่า
หลักสูตรที่ ถูกจัดขึน้ นัน้ ให้ ความรู้ และประสบการณ์ ที่ เหมาะสม และเพื่ อให้ มีความรู้ ที่ เพี ยงพอที่ จะรั บ
ใบอนุญ าต ประกาศนี ยบัตร หรื อเพื่อจุดประสงค์อื่นเกี่ยวกับสิทธิ ที่จะได้ รับจากหลักสูตร (ดูมาตรฐาน
ประกอบในข้ อ 5.03)

7.02 คาอธิบายในเรื่ องหลักสูตรการศึกษาและการฝึ กอบรม


นัก จิ ต วิ ท ยา ผู้รับ ผิ ดชอบหลัก สูตรการศึก ษาและการฝึ กอบรมต้ องดาเนิ น การอย่ างเหมาะสม
เพื่อที่จะให้ แน่ใจว่ามีคาอธิบายเนื ้อหาสาระของหลักสูตรอย่างถูกต้ อง (รวมถึงการเข้ าร่ วมในวิชาที่หลักสูตร
บังคับ หรื อที่เกี่ยวข้ องกับการให้ คาปรึ กษาทางจิตวิทยา จิตบาบัด กลุ่ม experimental ผู้ให้ คาปรึ กษา
โครงการ หรื อการบริ การชุมชน) เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการฝึ กอบรม ค่าใช้ จ่าย ผลประโยชน์ และ
ข้ อกาหนดในหลักสูตรที่ต้องทาให้ ครบตามที่ระบุไว้ ข้ อมูลเหล่านี ้ต้ องมีพร้ อมให้ แก่ผ้ ทู ี่สนใจได้
แนวความคิดทางจิตวิทยา
104
Viewpoint Psychology

7.03 ความถูกต้ องในการสอน


(a) นักจิ ตวิทยาดาเนินการอย่างสมเหตุสมผล ที่จะทาให้ แน่ใจว่าแผนการสอนนัน้ ถูกต้ องและใน
เรื่ องที่ ส อนนัน้ ถูกหลัก วิชาการ มีแผนวัดการเรี ยนรู้ ในการวัดผล และผู้เรี ยนจะได้ อะไรบ้ างในการสอน
มาตรฐานนี ้ไม่ได้ ห้ามผู้สอนดัดแปลงเนื ้อหาหรื อข้ อกาหนด เมื่อพิจารณาแล้ วว่าจาเป็ นต้ องดัดแปลง ตราบ
เท่าที่ผ้ เู รี ยนสามารถตระหนักรู้ ในแผนการสอนนันและสามารถประยุ
้ กต์ตามได้ (ดูมาตรฐานประกอบในข้ อ
5.01)
(b) นักจิ ต วิ ท ยาต้ องให้ ข้ อมูล ด้ านจิ ตวิท ยาอย่างถูก ต้ องในการสอนหรื อฝึ กอบรม (ดูมาตรฐาน
ประกอบในข้ อ 2.03)

7.04 การเปิ ดเผยข้ อมูลส่ วนตัวของนักศึกษา


นักจิตวิทยาต้ องไม่กาหนดให้ นักศึกษา หรื อผู้ที่อยู่ในการกากับดูแลเปิ ดเผยข้ อมูลส่วนตัว ในวิชา
หรื อกิจกรรมที่เกี่ยวข้ องในหลักสูตรไม่วา่ ด้ วยปากเปล่าหรื อการเขี ยน เกี่ยวกับประวัติความสัมพันธ์ทางเพศ
ประวัติการถูกทารุ ณกรรมและการถูกทอดทิ ้ง ประวัติการรักษาทางจิตวิทยา ประวัติความสัมพันธ์ กบั พ่อแม่
หรื อคนรอบข้ าง คูส่ มรส หรื อบุคคลสาคัญในชีวิตของนักศึกษา เว้ นแต่
(1) ได้ มีการระบุไว้ อย่างชัดเจนในการรับเข้ าหรื อปรากฏในเอกสารของหลักสูตร
(2) ข้ อมูลนี ้จาเป็ นต่อการประเมินและให้ ความช่วยเหลือแก่ผ้ เู รี ยนซึง่ มีปัญหาส่วนตัว ซึง่ อาจทาให้
มาสามารถปฏิบตั ิงานในวิชาชีพได้ อย่างเหมาะสม หรื อผู้ซงึ่ อาจก่อให้ เกิดอันตรายต่อผู้เรี ยนหรื อบุคคลอื่น

7.05 การบาบัดรายบุคคลหรื อการบาบัดแบบกลุ่มตามที่ได้ กาหนดไว้ ในหลักสูตร


(a) เมื่ อ การบ าบั ด รายบุ ค คลหรื อ การบ าบั ด แบบกลุ่ ม ถู ก ก าหนดในโปรแกรมหรื อ หลั ก สู ต ร
นัก จิ ต วิท ยาผู้รับ ผิ ดชอบหลัก สูตรนัน้ ต้ องเปิ ดโอกาสให้ นิสิ ตระดับ ปริ ญ ญาตรี ห รื อบัณ ฑิ ตวิท ยาลัย มี
ทางเลือกที่จะรับการบาบัดดังกล่าวจากนักวิชาชีพที่ไม่มีสว่ นเกี่ยวข้ องกับหลักสูตรนัน้
(b) นักจิ ตวิทยาที่เป็ นอาจารย์ ซึ่งต้ องทาการประเมินผลการเรี ยนของนักศึกษา จะต้ องไม่ทาการ
บาบัดนักศึกษาคนนันด้ ้ วยตนเอง (ดูมาตรฐานประกอบในข้ อ 3.05 ความสัมพันธ์หลายบทบาท)

7.06 การประเมินผลงานของนักศึกษาและผู้ท่ อี ยู่ในกากับดูแล


(a) ความสัมพันธ์ ของนักจิตวิทยาซึง่ เป็ นผู้สอนและกากับดูแล ต้ องให้ เวลา และใช้ กระบวนการที่
เฉพาะเจาะจง ในการให้ ข้อมูลป้อนกลับแก่นักศึกษา และผู้ที่อยู่ในกากับดูแล และควรให้ ข้อมูลเกี่ยวกับ
กระบวนการนี ้แก่นกั ศึกษาตังแต่
้ เริ่ มต้ นของการกากับดูแล
105

(b) นั ก จิ ต วิ ท ยาประเมิ น นั ก ศึก ษาและผู้ อ ยู่ ในก ากับ ดูแ ล บนพื น้ ฐานของผลปฏิ บั ติ งานจริ งที่
เกี่ยวข้ องและกาหนดไว้ ในหลักสูตร

7.07 ความสัมพันธ์ ทางเพศกับนักศึกษาและผู้ท่ อี ยู่ในกากับดูแล


นักจิตวิทยาต้ องไม่มีความสัมพันธ์ ทางเพศกับ นักศึกษาและผู้ที่อยู่ในกากับดูแล ซึ่งอยู่ในภาควิชา
สานักงาน หรื อศูนย์ฝึกอบรมของตน หรื อผู้ที่นกั จิตวิทยามีอานาจในการประเมิน

8. การวิจัย และการตีพมิ พ์ เผยแพร่ ข้อมูล


8.01 การเห็นชอบของทางสถาบัน
หากนักจิ ตวิทยาจะทาการวิจัยซึ่งต้ องได้ รับความเห็นชอบจากทางสถาบันก่อน นักจิตวิทยาต้ อง
เสนอข้ อมูลโครงร่ างการวิจยั ที่ถูกต้ องให้ แก่ท างสถาบันเพื่อรับความเห็นชอบ และต้ องดาเนินการวิจยั ตาม
โครงร่ างการวิจยั ที่ได้ รับความเห็นชอบนัน้

8.02 การยินยอมให้ ทาการวิจัย


(a) เมื่อได้ รับการยินยอมให้ ทาการวิจยั ดังหลักเกณฑ์ข้อ 3.10 แล้ ว นักจิตวิทยาต้ องแจ้ งให้ ผ้ รู ่ วม
ทาการวิจยั ทราบเกี่ยวกับ
(1) จุดมุง่ หมายของการวิจยั ระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้ ในการวิจยั และกระบวนการวิจยั
(2) การมีสิทธิ ที่จะไม่เข้ าร่ วมหรื อถอนตัวจากการมีส่วนร่ วมในการวิจัยเมื่อเข้ าร่ วมการวิจัย
แล้ ว
(3) ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ ้นหลังการปฏิเสธหรื อการถอนตัวออกจากการวิจยั
(4) ปั จจัยที่อาจคาดได้ วา่ จะมีผลต่อการตัดสินใจที่จะร่ วมงานวิจยั แล้ ว เช่น ความเสี่ยงที่อาจ
มี ความไม่สบายหรื อความอึดอัดใจและผลเสียที่อาจเกิดขึ ้นในการวิจยั
(5) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้ รับจากการวิจยั
(6) ข้ อจากัดของการเก็บความลับ
(7) สิ่งจูงใจหรื อรางวัลที่จะได้ รับจากการเข้ าร่ วมการวิจยั และ
(8) ผู้ที่จะตอบข้ อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับการวิจัยและสิทธิ ของผู้เข้ าร่ วมการวิจัย (ดูข้อ 8.03
ข้ อ 8.05 และข้ อ 8.07 ประกอบ)
แนวความคิดทางจิตวิทยา
106
Viewpoint Psychology

(b) นักจิ ต วิ ท ยาที่ ท าการวิ จัย ซึ่งใช้ การทดลอง ในด้ านการรั ก ษา จะต้ องชี แ้ จงให้ ผ้ ูเข้ าร่ วมการ
ทดลองทราบถึงสิ่งต่อไปนี ้ตังแต่้ เริ่ มทาการวิจยั
(1) วิธีการรักษานันยั ้ งอยู่ระหว่างการทดลอง
(2) บริ การที่สามารถจัดให้ หรื อไม่สามารถจัดให้ แก่กลุม่ ควบคุม
(3) ถ้ าเป็ นไปได้ บอกวิธีการที่ใช้ คดั เลือกกลุม่ ตัวอย่างเพื่อเป็ นกลุม่ ควบคุม หรื อกลุม่ ทดลอง
(4) ทางเลือกในการบาบัดอื่นๆ หากไม่ประสงค์จะเข้ าร่ วมในงานวิจยั หรื อหากประสงค์จะ
ถอนตัวเมื่อได้ เข้ าร่ วมงานวิจยั แล้ ว
(5) ค่าชดเชยหรื อค่าใช้ จ่ายในการเข้ าร่ วมการทดลอง (ดูมาตรฐานข้ อ 8.02a)

8.03 การให้ ความยินยอมในการบันทึกเสียงและภาพในการวิจัย


นัก จิ ต วิ ท ยาต้ อ งได้ รั บ ความยิ น ยอมจากผู้ เข้ าร่ วมการวิ จัย ก่ อ นที่ จ ะบัน ทึ ก เสี ย งและภาพของ
ผู้เข้ าร่ วมในงานวิจยั เว้ นแต่
(1) การวิจยั เป็ นการสังเกตตามธรรมชาติในสถานที่สาธารณะและจะไม่มีการนาแถบบันทึกนันไปใช้ ้
ในลักษณะที่จะเปิ ดเผย ระบุผ้ เู ข้ าร่ วมในงานวิจยั หรื อทาให้ เกิดอันตราย
(2) การวิจัยออกแบบเป็ นงานวิจัยที่ต้องใช้ การหลอกลวง และได้ รับความยินยอมหลังจากแจ้ งให้
ผู้เข้ าร่ วมงานวิจยั ทราบแล้ ว (ดูรายละเอียดในข้ อ 8.07)

8.04 ผู้ใช้ บริการ และผู้ใต้ บังคับบัญชาที่มีส่วนร่ วมในการวิจัย


(a) เมื่อนักจิตวิทยาดาเนินการวิจยั โดยมีผ้ ูใช้ บริ การ นักศึกษา หรื อผู้ที่อยู่ใต้ การบังคับบัญชาเป็ น
ผู้เข้ าร่ วมการวิจยั นักจิตวิทยาจะต้ องป้องกันผู้ที่เข้ าร่ วมการวิจยั จากผลต่อเนื่องในทางลบที่เกิดขึ ้นจากการ
ปฏิเสธหรื อถอนตัวออกจากการวิจยั
(b) เมื่อการให้ มีสว่ นร่ วมในงานวิจยั นัน้ จะเป็ นหนทางนาไปสูโ่ อกาสหรื อการได้ รับสิทธิพิเศษ

8.05 การไม่ ต้องรั บความยินยอมในงานวิจัย


นักจิตวิทยาอาจไม่ต้องได้ รับความยินยอมในการวิจยั เฉพาะ
(1) งานวิจยั นัน้ ไม่สามารถก่อให้ ความทุกข์ หรื ออันตรายและเกี่ยวข้ องกับ
(a) การศึกษาในสถานศึกษาเรื่ อง การเรี ยนการสอนตามแบบปกติ หลักสูตร หรื อการจัดการ
ในชันเรี
้ ยน
107

(b) แบบสอบถามซึง่ ผู้ตอบไม่ต้องระบุชื่อของตน การสังเกตอย่างเป็ นธรรมชาติหรื องานวิจยั


สืบค้ นซึง่ การเปิ ดเผย จะไม่ทาให้ ผ้ เู ข้ าร่ วมการวิจยั อยู่ ในภาระเสี่ยงต่อการรับโทษทางอาญา หรื อทางแพ่ง
ไม่ก่อให้ เกิดผลกระทบทางการเงิน การจ้ างงาน ชื่อเสียง และความเป็ นความลับ
(c) การศึกษาปั จจัยที่สมั พันธ์ กบั งานหรื อประสิทธิภาพขององค์การ ไม่มีความเสี่ยงที่จะทา
ให้ ผ้ ตู อบแบบสอบถามจะถูกเลิกจ้ างและมีการเก็บรักษาความลับ
(2) การศึกษาที่ได้ รับอนุญาตโดยกฎหมายหรื อภาครัฐ หรื อ หน่วยงานที่กากับดูแล

8.06 การเสนอสิ่งชักจูงให้ แก่ ผ้ ูเข้ าร่ วมการวิจัย


(a) นักจิตวิทยาควรหลีกเลี่ยงการให้ เงินหรื อการให้ สิ่งของมากเกินสมควร เพราะจะเปรี ยบเสมือน
เป็ นการบังคับให้ บคุ คลเข้ าร่ วมในการวิจยั
(b) เมื่อนัก จิ ตวิท ยาเสนอการให้ บ ริ ก ารทางวิช าชี พ เพื่ อชักจูงผู้เข้ าร่ วมท าการวิจัย นัก จิ ตวิท ยา
จะต้ องให้ ความชัดเจนเกี่ ยวกับ ลัก ษณะธรรมชาติข องการบริ การ รวมทัง้ ความเสี่ ยง กฎข้ อบังคับ และ
ขอบเขตที่จากัด (รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ ที่ มาตรฐานข้ อ 6.05)

8.07 การวิจัยที่ใช้ การลวง


(a) นักจิตวิทยาไม่ใช้ การหลอกลวงในการวิจยั เว้ นแต่จะได้ พิจารณาแล้ วว่าจาเป็ นต้ องใช้ การลวง
นัน้ และจะเกิ ด ประโยชน์ ในทางวิท ยาศาสตร์ การศึก ษา หรื อ การประยุก ต์ ใช้ แ ละไม่มี วิธี ก ารอื่น ใดที่
เหมาะสมกว่า
(b) นักจิตวิทยาต้ องไม่ปิดบังหรื อหลอกลวงผู้ที่อาจเข้ าร่ วมในงานวิจัย หากสามารถคาดได้ ว่าจะ
เป็ นอันตรายต่อกายหรื อก่อให้ เกิดความไม่สบายในด้ านจิตใจ
(c) นักจิตวิทยาต้ องอธิ บายถึงสิ่งที่ได้ ปิดบังหรื อหลอกลวงในงานวิจัย และขัน้ ตอนการดาเนินการ
ทดลองแก่ผ้ ถู ูกทดลองในทันทีที่สามารถทาได้ โดยควรทาเมื่อสิ ้นสุดการมีส่วนร่ วมของผู้ถู กทดลอง แต่ต้อง
ไม่ช้ากว่าเมื่อได้ เก็บรวบรวมข้ อมูลเสร็ จสิ ้นแล้ ว และไม่ใช้ ข้อมูลในส่วนของผู้เข้ าร่ วมงานวิจยั นันหากไม่
้ ได้
รับความยินยอม (ดูเพิ่มเติมได้ ในข้ อมาตรฐานที่ 8.08)

8.08 การให้ ข้อมูลโดยสรุ ป


(a) นักจิตวิทยาต้ องให้ โอกาสในทันทีแก่ผ้ ูเข้ าร่ วมในการวิจั ยที่จะได้ รับข้ อมูลที่เหมาะสมเกี่ยวกับ
ลักษณะของงานวิจัย ผลการวิจัย และข้ อสรุ ปของการวิจัย และต้ องดาเนินการอย่างเหมาะสมที่จะแก้ ไข
ความเข้ าใจผิดใดๆ ของผู้ร่วมงานวิจยั ที่นกั จิตวิทยาได้ ทราบ
แนวความคิดทางจิตวิทยา
108
Viewpoint Psychology

(b) จะก่อให้ เกิดคุณประโยชน์ ในด้ านวิทยาศาสตร์ หรื อในด้ านมนุษยธรรม หากการให้ ข้อมูลล่าช้ า
ลง หรื อปิ ดบังข้ อมูล นักจิตวิทยาต้ องใช้ ความพยายามลดความเสี่ยงของอันตรายที่อาจเกิดขึ ้น
(c) เมื่อนักจิตวิทยาได้ ทราบถึงกระบวนการวิจยั อาจเป็ นอันตรายแก่ผ้ เู ข้ าร่ วมงานวิจยั ต้ องพยายาม
ให้ เกิดอันตรายน้ อยที่สดุ เพื่อลดความร้ ายแรง

8.09 การดูแลสัตว์ ท่ ใี ช้ ในการทดลองอย่ างมีมนุษยธรรม


(a) เมื่อมีการใช้ สตั ว์ในการทดลอง นักจิตวิทยาจะต้ องดูแลการใช้ หรื อการกาจัดสัตว์เหล่านัน้ ให้
สอดคล้ องกับกฎหมายของรัฐ ประเทศ หรื อ กฎระเบียบ หรื อโดยพื ้นฐานของวิชาชีพ
(b) นักจิตวิทยาที่ ได้ รับการฝึ กฝนมาทางด้ านวิธีการวิจัยหรื อที่ มีประสบการณ์ ในการดูแลสัตว์ใน
ห้ องปฏิบัติการ จะต้ องควบคุมดูแลกระบวนการทังหมดที ้ ่เกี่ยวข้ องกับสัตว์ทดลองนัน้ และต้ องรับผิดชอบ
ในเรื่ องความสบาย สุขภาพของสัตว์เหล่านันด้ ้ วยหลักมนุษยธรรม
(c) นักจิตวิทยาจะต้ องแน่ใจว่าผู้ที่กาลังใช้ สตั ว์ในการทดลอง ซึ่งอยู่ภายใต้ การกากับดูแลของตน
ได้ รับคาแนะนาในการค้ นคว้ าวิจยั การเอาใจใส่ การรักษา และการจัดการดูแลอย่างเหมาะสมตามบทบาท
หน้ าที่ของเขา (ดูในข้ อ 2.05)
(d) นักจิตวิทยาจะต้ องใช้ ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลในการที่จะทาให้ สตั ว์ที่ใช้ ในการทดลอง
เกิดความอึดอัดไม่สบายใจ การติดเชื ้อ ความเจ็บป่ วย และความเจ็บปวดต่างๆ ให้ น้อยที่สดุ
(e) นักจิตวิทยาจะใช้ วิธีการซึ่งทาให้ สตั ว์เจ็บปวด เครี ยด หรื ออดอาหารเฉพาะเมื่อไม่มีวิธีการอื่น
และเป้าหมายมีเหตุผลอย่างเพียงพอในทางวิทยาศาสตร์ การศึกษา หรื อการประยุกต์
(f) นักจิตวิทยาจะผ่าตัดสัตว์ที่ใช้ ในการวิจัยโดยให้ ยาชาอย่างเหมาะสม และใช้ เทคนิควิธีการเพื่ อ
ป้องกันการติดเชื ้อ และทาให้ สตั ว์ทดลองเกิดความเจ็บปวดน้ อยที่สดุ ทังในระหว่้ างและหลังการผ่าตัด
(g) เมื่อจาเป็ นต้ องฆ่าสัตว์ทดลอง นักจิตวิทยาต้ องดาเนินการอย่างรวดเร็ ว ทาให้ สตั ว์ได้ รับความ
เจ็บปวดน้ อยที่สดุ สอดคล้ องกับวิธีการที่สามารถยอมรับได้

8.10 การรายงานผลการวิจัย
(a) นักจิตวิทยาต้ องไม่บิดเบือนข้ อมูล (ดูรายละเอียดประกอบที่ข้อ 5.01a)
(b) ถ้ านักจิตวิทยาพบว่า ข้ อมูลที่ ได้ ตีพิมพ์ ของตนมีข้อผิ ดพลาดที่ สาคัญ ขึน้ ควรต้ องดาเนินการ
อย่างเหมาะสมในการแก้ ไขข้ อผิดพลาดนัน้ ให้ ถูกต้ อง เช่น ตามเก็บสิ่งที่พิมพ์ ประกาศแก้ ไข หรื อใช้ วิธีการ
ในการตีพิมพ์อื่นๆที่มีความเหมาะสม
109

8.11 การนาเสนอผลงานของผู้อ่ นื
นักจิตวิทยาจะไม่นาผลงานหรื อข้ อมูลผู้อื่นมาเสนอเหมือนเป็ นผลงานของตนเอง ถึงแม้ ว่าจะเป็ น
เพียงบางส่วนก็ตาม

8.12 การเป็ นเจ้ าของผลงานที่ตีพมิ พ์


(a) นักจิตวิทยารับผิดชอบและรับความเป็ นเจ้ าของผลงาน เฉพาะงานที่ตนได้ ปฏิบตั ิจริ งหรื อที่ตนได้
มีสว่ นรังสรรค์อย่างสาคัญ (ดูมาตรฐานข้ อ 8.12b ร่ วมด้ วย)
(b) ในการเขียนชื่อผู้เขียนหลักและผู้เขียนคนอื่นในงานวิจยั จะเป็ นการสะท้ อนถึงการมีส่วนร่ วมใน
งานทางวิ ท ยาศาสตร์ ห รื อ ทางวิ ช าชี พ ของแต่ ล ะบุ ค คล ไม่ ใช่ ต ามล าดับ สถานภาพ ซึ่งต าแหน่ งตาม
สถานภาพในสถาบัน เช่น การเป็ นหัวหน้ าภาควิชา ทาให้ เกิดความเป็ นเจ้ าของผลงาน สาหรั บผู้ที่มีส่วน
สนับสนุนงานวิจัยแม้ เพี ยงเล็กน้ อยก็ ควรกล่าวถึงเขาอย่างเหมาะสมเช่น การเขี ยนเป็ นหมายเหตุ หรื อ
กิตติกรรมประกาศ
(c) เว้ นแต่ภายใต้ สถานการณ์ เฉพาะ บทความที่มีผ้ ูเขียนหลายคนจากวิทยานิพนธ์ ระดับปริ ญญา
เอก นักศึกษาจะได้ ลงรายชื่อเป็ นผู้เขียนเป็ นลาดับแรก คณาจารย์ที่ปรึ กษาควรตกลงเรื่ องการนับผลงานใน
งานพิมพ์ เผยแพร่ กบั นักศึกษาโดยเร็ วที่สุดเท่าที่จะกระทาได้ และเหมาะสมตลอดระยะที่ทาการวิจัย และ
ในช่วงการดาเนินการพิมพ์เผยแพร่

8.13 การพิมพ์ เผยแพร่ ข้อมูลซา้


นักจิตวิทยาไม่ตีพิมพ์ข้อมูลต้ นฉบับซ ้า หรื อข้ อมูลที่ได้ มีการตีพิมพ์ก่อนหน้ านีแ้ ล้ ว เว้ นแต่ได้ มีการ
ระบุไว้ อย่างชัดเจนว่าเป็ นการตีพิมพ์ซ ้า

8.14 การแบ่ งข้ อมูลการวิจัยสาหรั บการตรวจสอบข้ อเท็จจริง


(a) ภายหลังผลการวิจัยถูกตีพิมพ์ นักจิตวิทยาไม่ควรเก็บงาข้ อมูลซึ่งเกี่ยวพันกับผลงานวิจัยของ
นักวิจยั คนอื่น ซึง่ ต้ องการข้ อมูลเพื่อพิสจู น์หรื อตรวจสอบซ ้า และต้ องปกป้องข้ อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้ าร่ วม
ในงานวิจยั ด้ วย ทังนี ้ ไ้ ม่ได้ ห้ามนักจิตวิทยาในการที่จะเรี ยกร้ องค่าใช้ จ่ายจากบุคคลหรื อกลุ่มคนที่ต้องการ
ใช้ ข้อมูลนัน้
(b) นั ก จิ ต วิ ท ยาผู้ ซึ่งยื่ น ค าร้ องเพื่ อ ขอข้ อ มู ล จากนั ก จิ ต วิ ท ยาอื่ น ต้ อ งใช้ ข้ อมู ล ที่ ไ ด้ รั บ ส าหรั บ
วัตถุประสงค์ที่ได้ ยื่นคาร้ องไปเท่านัน้ นักจิตวิทยาผู้ยื่นคาร้ องจะต้ องได้ รับความยินยอมเป็ นลายลักษณ์
อักษรก่อนที่จะนาข้ อมูลไปใช้ เพื่อการอื่น
แนวความคิดทางจิตวิทยา
110
Viewpoint Psychology

8.15 ผู้ตรวจสอบเอกสาร
นักจิตวิทยา ซึ่งเป็ นผู้อ่านผลงานที่นาเสนอ เพื่ อการเสนอผลงานตีพิมพ์ ขอทุน ทบทวนโครงสร้ าง
งานวิจยั จะต้ องเคารพสิทธิสว่ นบุคคลของเจ้ าของข้ อมูล

9. การประเมินผล
9.01 หลักพืน้ ฐานของการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยา
(a) นักจิตวิทยาแสดงความเห็นในคาแนะนา รายงาน และการวินิจฉัย รวมไปถึงการให้ การต่อศาล
โดยอาศัยข้ อมูลและเทคนิคซึง่ เพียงพอที่จะสนับสนุนความเห็นนันได้ ้ (ดูเพิ่มเติมข้ อ 2.04)
(b) นอกจากที่กาหนดในข้ อ 9.01c แล้ ว นักจิตวิทยาให้ ความเห็นเกี่ยวกับลักษณะทางจิตวิทยาของ
บุค คลก็ต่อเมื่อได้ ท าการทดสอบเพี ย งพอที่ จะสนับสนุนความเห็ นและข้ อสรุ ป นัน้ หากนัก จิ ตวิท ยาได้
พยายามอย่างเต็มความสามารถแล้ ว แต่ไม่สามารถทาการทดสอบได้ นักจิตวิทยาต้ องบันทึกรายละเอียด
ของการทดสอบและผลที่ได้ จากการทดสอบนันไว้ ้ ชี ้แจงถึงข้ อจากัดของความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ ของ
การทดสอบ และข้ อจากัดและขอบเขตของข้ อสรุ ปและคาแนะนาของนักจิตวิทยา
(c) เมื่อนักจิตวิทยาได้ อ่านบัน ทึกหรื อให้ คาแนะน าปรึ กษาในทางวิชาชี พ และมีความเห็นว่าไม่
จาเป็ นที่ จะต้ องมีการทดสอบรายบุคคล นักจิตวิท ยาต้ องอธิ บายถึงความเห็นของตนและบอกเหตุผลใน
ข้ อสรุ ปและคาแนะนานัน้

9.02 การใช้ เครื่ องมือในการตรวจวินิจฉัย


(a) นักจิตวิทยาดาเนินการ ปรั บ ให้ คะแนน แปลผล หรื อใช้ เทคนิคการประเมิน การสัมภาษณ์
การทดสอบ ใช้ เครื่ องมือตามความเหมาะสมกับงานวิจัย หรื อใช้ เมื่อเป็ นประโยชน์และเหมาะสมที่จะใช้
เทคนิคนันๆ ้
(b) นักจิตวิทยาควรใช้ เครื่ องมือในการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาที่มีความเที่ยงตรงและความเชื่อถือ
ได้ ที่เหมาะสมกับผู้รับการทดสอบ หากยังไม่ได้ มีการวัดในเรื่ องความเที่ ยงตรงและความเชื่อถื อได้ ของ
แบบทดสอบ นักจิตวิทยาจะต้ องอธิบายถึงจุดแข็งและข้ อจากัดของผลการทดสอบและการแปลผล
(c) นักจิตวิทยาควรใช้ วิธีการตรวจวินิจฉัยที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้รับการทดสอบ โดยใช้
ภาษาที่ผ้ รู ับการทดสอบคุ้นเคย นอกเสียจากว่าการใช้ ภาษาอื่นๆ เป็ นประเด็นในการตรวจวินิจฉัยนัน้
111

9.03 การได้ รับความยินยอมในการตรวจวินิจฉัย


(a) นักจิตวิทยาต้ องได้ รับความยินยอมในการตรวจวินิจฉัย การประเมิน หรื อการบริ การเกี่ยวกับ
การวินิจฉัย ดังที่ได้ บรรยายไว้ ในข้ อ 3.10 เรื่ องการได้ รับความยินยอม เว้ นแต่เมื่อ
(1) การทดสอบเป็ นไปตามกฎหมายหรื อข้ อกาหนดของรัฐบาล
(2) การแสดงความยิ น ยอมโดยนั ย เพราะการทดสอบเป็ นส่ ว นหนึ่ งของกิ จ กรรมทาง
การศึกษา หน่วยงาน หรื อองค์การ (เช่น เมื่อผู้เข้ าร่ วมการทดสอบยินยอมโดยสมัครใจที่จะเข้ ารั บการ
ประเมินเพื่อใช้ สาหรับสมัครงาน) หรื อ
(3) จุดประสงค์หนึ่งของการทดสอบคือ เพื่อที่จะประเมินความสามารถในการตัดสินใจ การ
ให้ ความยินยอม รวมไปถึงการอธิบายลักษณะและจุดประสงค์ของการตรวจวินิจฉัย ค่าธรรมเนียม ความ
เกี่ยวข้ องกับบุคคลที่สาม และข้ อจากัดของการรักษาความลับ และโอกาสของผู้ใช้ บริ การที่จะถามคาถาม
และได้ รับคาตอบ
(b) นักจิตวิทยาต้ องแจ้ งให้ บุคคลซึ่งอาจไม่สามารถให้ ความยินยอมหรื อผู้ที่กฎหมายบังคับให้ ต้อง
รับการทดสอบทราบถึงธรรมชาติและจุดมุ่งหมายของการตรวจวินิจฉัยที่ จะทา โดยใช้ ภาษาที่ผ้ ูรับการ
ทดสอบสามารถเข้ าใจ
(c) นักจิตวิทยาอาจใช้ บริ การของล่ามได้ โดยต้ องแจ้ งให้ ผ้ ูรับบริ การทราบและอนุญ าตเสียก่อน
เพื่ อให้ มั่นใจว่าความลับของผลการทดสอบและความปลอดภัยของแบบทดสอบยังคงอยู่ และรวมถึง
ข้ อเสนอแนะ รายงาน และการวินิจฉัย รวมถึงการให้ การต่อศาลในด้ านนิ ติจิตเวช รวมถึงอธิ บายถึง
ข้ อจากัดของข้ อมูล (ดูตามมาตรฐานข้ อ 2.05 ข้ อ 4.01 ข้ อ 9.01 ข้ อ 9.06 และข้ อ 9.07 ประกอบ)

9.04 การเปิ ดเผยข้ อมูลจากการทดสอบ


(a) ข้ อมูลจากการทดสอบ หมายถึง คะแนนดิบและคะแนนที่เทียบวัดกับเกณฑ์แล้ ว คาตอบของ
ผู้รับการทดสอบต่อข้ อคาถามหรื อสิ่งเร้ า บันทึกของนักจิตวิทยาในเรื่ องคาพูดหรื อพฤติกรรมของผู้ใช้ บริ การ
ระหว่างการทดสอบ บางส่วนของผลการทดสอบ นักจิตวิทยาอาจให้ ข้อมูลการทดสอบแก่ผ้ รู ับการทดสอบ
หรื อบุ ค คลอื่น ตามที่ ระบุ ไว้ ให้ ยิ น ยอมให้ ข้ อมูล นัก จิ ต วิ ท ยาอาจไม่ ให้ ข้ อมูล การทดสอบเพื่ อปกป้ อง
ผู้ใช้ บริ การ หรื อบุคคลอื่นจากอันตราย หากจะมีการนาข้ อมูลนัน้ ไปใช้ อย่างไม่ถูกต้ องหรื อนาข้ อมูลจาก
การทดสอบไปแสดงอย่างผิ ดๆ โดยทัง้ นีน้ ั กจิตวิทยาจะต้ องตระหนักถึงข้ อกฎหมายซึ่งเกี่ ยวข้ องกับการ
เปิ ดเผยข้ อมูลที่เป็ นความลับ (ดูเพิ่มเติมที่ข้อ 9.11)
(b) ในกรณี ที่ไม่ได้ รับความยินยอมให้ เปิ ดเผยข้ อมูลจากผู้ใช้ บริ การ นักจิตวิทยาจะเปิ ดเผยผลการ
ทดสอบตามที่กฎหมายกาหนดหรื อศาลสัง่ เท่านัน้
แนวความคิดทางจิตวิทยา
112
Viewpoint Psychology

9.05 การสร้ างแบบทดสอบ


นักจิตวิทยาพัฒนาแบบทดสอบและเทคนิคการประเมินอื่นๆ โดยใช้ กระบวนการวัดผลทางจิตวิทยา
ที่ เหมาะสมและอยู่ บ นพื น้ ฐานความรู้ ทางวิ ท ยาศาสตร์ แ ละวิ ช าชี พ ซึ่งเป็ นปั จจุ บั น ในการออกแบบ
แบบทดสอบ สร้ างเกณฑ์มาตรฐาน ทดสอบคุณภาพ ลดหรื อกาจัดอคติ และข้ อแนะนาสาหรับการใช้

9.06 การแปลผลการประเมินทางจิตวิทยา
ในการแปลผลการประเมิน ทางจิ ตวิท ยารวมถึง การแปลผลด้ วยตนเอง นัก จิ ตวิท ยาพิ จ ารณา
วัตถุประสงค์ของการประเมินและองค์ประกอบในการทดสอบอื่นๆ ความสามารถในการทาการทดสอบ
และลักษณะเฉพาะตัวของผู้ที่ถูกประเมิน เช่น ความแตกต่างในเรื่ องสถานการณ์ ลักษณะส่วนบุคคล
ภาษา และวัฒนธรรมซึง่ อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของนักจิตวิทยา หรื อทาให้ ความถูกต้ องในการ
แปลผลลดลง และชี ้ถึงข้ อจากัดในการแปลผลของตน (ดูมาตรฐานข้ อ 2.01a และ b และข้ อ 3.01 )

9.07 การใช้ เทคนิคการประเมินทางจิตวิทยาโดยผู้ท่ ขี าดคุณสมบัติ


นักจิ ตวิทยาต้ องไม่สนับสนุนผู้ที่ขาดคุณสมบัติในการใช้ แบบทดสอบทางจิตวิทยา หรื อการใช้
เทคนิคทางจิตวิทยา เว้ นแต่ว่า เป็ นการใช้ ระหว่างการฝึ กอบรมที่มีการควบคุมดูแลอย่างเหมาะสม (ดู
ตามมาตรฐานข้ อ 2.05)

9.08 แบบทดสอบและผลการทดสอบที่ล้าสมัย
(a) นักจิตวิทยาจะไม่ประเมิน ตัดสิน หรื อให้ คาแนะนาโดยใช้ แบบทดสอบหรื อผลการทดสอบที่
ล้ าสมัย
(b)นักจิตวิทยาจะไม่ตดั สินใจหรื อให้ คาแนะนาโดยใช้ แบบทดสอบและการวัดที่ล้าสมัยและไม่เป็ น
ประโยชน์ตอ่ จุดประสงค์ที่ต้องการ

9.09 การให้ บริการแปลผลการทดลอง


(a) นักจิตวิทยาผู้ให้ บริ การการประเมินและแปลผลการทดสอบให้ กบั นักจิตวิทยาผู้อื่น จะต้ องชี ้แจง
ค่า norm ค่าความเที่ยงตรง ค่าความเชื่อถือได้ ของเครื่ องมือที่ใช้ และวิธีการดาเนินและคุณสมบัติพิเศษ
อื่นๆ ที่นามาใช้ ด้วย
(b) นักจิตวิทยาจะต้ องให้ คะแนนและแปลผลคะแนนทดสอบ (รวมถึงแบบทดสอบด้ วยตนเอง โดย
อยู่บนพื ้นฐานของความเที่ยงตรง รวมทังต้ ้ องพิจารณาในเรื่ องความเหมาะสมในด้ านอื่นๆด้ วย (ดูตาม
มาตรฐานข้ อ 2.01b และ c)
113

(c) นักจิตวิทยายังคงต้ องรับผิดชอบต่อผู้มาใช้ บริ การ การแปลผล และการใช้ เครื่ องมือที่ใช้ ในการ
ประเมินการให้ คะแนนและการแปลผลด้ วยตนเองของผู้รับการทดสอบ หรื อผลการทดสอบที่มาจากการ
บริ การจากสถานที่อื่น

9.10 การแจ้ งผลการทดสอบ


นักจิตวิทยาต้ องดาเนินการอย่างเหมาะสมในการอธิบายผลการทดสอบให้ กบั ตัวผู้ถูกทดสอบหรื อ
ตัวแทน ไม่ว่าการให้ คะแนนและการแปลผลคะแนนนัน้ จะทาโดยนักจิตวิทยา ลูกจ้ า งหรื อผู้ช่วย หรื อเป็ น
การแปลผลด้ วยตนเองหรื อโดยหน่วยงานภายนอกก็ตาม เว้ นแต่จะไม่สามารถทาได้ (เช่น การให้ คาปรึกษา
ในองค์กร การคัดเลือกก่อนการจ้ างงาน หรื อการป้องกันความปลอดภัยและการตรวจประเมินในทางนิติจิต
เวช) และข้ อเท็จจริ งนี ้ ได้ มีการอธิบายให้ ผ้ ถู กู ทดสอบทราบก่อนแล้ ว

9.11 การเก็บรั กษาแบบทดสอบให้ อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย


คาว่าแบบทดสอบนันหมายรวมถึ
้ ง คู่มือ เครื่ องมือ อุปกรณ์ และข้ อคาถามของแบบทดสอบหรื อสิ่ง
เร้ า และที่ไม่ได้ รวมอยู่ในข้ อมูลจากการทดสอบที่ให้ คาจากัดความไว้ ในข้ อ 9.04 นักจิตวิทยาต้ องพยายาม
กระทาอย่างเต็มที่และสมเหตุสมผลในการที่จะดูแลรักษาและให้ ความปลอดภัยแก่แบบทดสอบ คงคุณค่า
ของแบบทดสอบ และเทคนิคการประเมินผลอื่นๆที่สอดคล้ องกับกฎหมายและข้ อตกลงในหน้ าที่และเป็ นไป
ตามหลักจรรยาบรรณนี ้

10. การบาบัด
10.01 การให้ ความยินยอมในการบาบัด
(a) ในการได้ มาซึง่ ความยินยอมในการบาบั ด ตามจรรยาบรรณข้ อ 3.10 ในการให้ ความยินยอม
นั ก จิ ต วิ ท ยาแจ้ งบอกผู้ ใช้ บริ ก ารโดยเร็ ว ที่ สุด เท่ า ที่ จ ะท าได้ เกี่ ย วกั บ ธรรมชาติ แ ละวิ ธี ก ารบ าบั ด โรค
ค่าธรรมเนียม บุคคลที่สามที่มีสว่ นเกี่ยวข้ อง ข้ อจากัดในเรื่ องการรักษาความลับ และเปิ ดโอกาสให้ ลกู ค้ า
หรื อคนไข้ ถามคาถามและได้ รับคาตอบ (ดูจรรยาบรรณข้ อ 4.02 และข้ อ 6.04 ประกอบ)
(b) หากต้ องการความยินยอมในการบาบัดสาหรับวิธีการบาบัดและขบวนการต่างๆ ในการบาบัดที่
ยังไม่เป็ นที่ร้ ู จัก นักจิตวิทยาควรแจ้ งรายละเอียดแก่คนไข้ เกี่ยวกับวิธีการบาบัด ความเสี่ยงต่างๆให้ คนไข้
ทราบทางเลื อกอื่น ๆ ในการบ าบัดคนไข้ และความสมัครใจในการยอมรั บ การบาบัดของคนไข้ (ดูใน
จรรยาบรรณข้ อ 2.10e และข้ อ 3)
แนวความคิดทางจิตวิทยา
114
Viewpoint Psychology

(c) เมื่ อ ผู้ ท าการบ าบั ด เป็ นผู้ ฝึ กงานและผู้ ก ากับ ดูแ ลมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบตามกฎหมายในการ
ให้ บริ การการบาบัด ในการแจ้ งข้ อมูลเพื่อให้ ผ้ ูรับการบาบัดให้ ความยินยอม จาเป็ นต้ อ งแจ้ งให้ ผ้ ูรับการ
บาบัดทราบว่าผู้ทาการบาบัดอยู่ในระหว่างการฝึ กงาน อยู่ในการกากับดูแล และต้ องให้ ชื่อของผู้กากับ
ดูแลด้ วย

10.02 การบาบัดคู่สามีภรรยา หรื อ ครอบครั ว


(a) เมื่อนัก จิ ตวิ ท ยาตกลงที่ จ ะให้ ก ารบ าบัดบุ ค คลหลายคนที่ มี ความสัมพัน ธ์ กัน (เช่ น คู่ส มรส
บุคคลที่มีความสัมพันธ์ กนั หรื อพ่อแม่กบั บุตร) นักจิตวิทยาจะต้ องพยายามอย่างสมเหตุสมผลที่จะทาให้
เกิดความกระจ่างตังแต่้ เริ่ มแรกในเรื่ อง
(1) บุคคลใดคือผู้รับบริ การ
(2) ความสัม พั น ธ์ ที่ นั ก จิ ต วิ ท ยาจะมี กั บ แต่ ล ะบุ ค คล การชี แ้ จงนี ร้ วมถึ ง บทบาทของ
นักจิตวิทยาหรื อโอกาสในการที่จะใช้ บริ การหรื อข้ อมูลที่ได้ จากการให้ บริ การนี ้
(b) ถ้ าเห็นได้ ชดั ว่านักจิตวิทยาอาจต้ องเกิดความขัดแย้ งในบทบาท (เช่น ให้ การบาบัดครอบครัว
และต่อมาจะต้ องมาเป็ นพยานให้ ฝ่ายหนึ่งในการหย่าร้ างกัน ) นักจิตวิทยาจะต้ องทาให้ เกิดความกระจ่าง
และปรับเปลี่ยน หรื ออาจจะถอนตัวออกบทบาทที่เหมาะสม

10.03 การบาบัดเป็ นกลุ่ม


ก่อนที่นกั จิตวิทยาจะให้ บริ การแก่บุคคลหลายๆคนในลักษณะกลุ่ม ต้ องอธิบายบทบาทและความ
รับผิดชอบของทุกฝ่ าย และข้ อจากัดของการเก็บรักษาความลับ

10.04 การบาบัดผู้รับการบาบัดจากนักวิชาชีพผู้อ่ นื อยู่ก่อนแล้ ว


ในการตัด สิ น ใจที่ จ ะให้ บ ริ ก ารด้ านสุข ภาพจิ ต แก่ ค นไข้ รั บ การบ าบัด อยู่ แ ล้ ว นัก จิ ต วิ ท ยาต้ อ ง
พิ จารณาอย่างระมัดระวังในเรื่ องประเด็นการบาบัดและประโยชน์ ของผู้รับ การบาบัด นักจิตวิทยาต้ อง
อภิ ปรายประเด็นปั ญ หากับผู้รับ การบาบัดหรื อผู้แทนตามกฎหมายเพื่ อลดความเสี่ยงในเรื่ องของความ
สับสนและความขัดแย้ ง ปรึกษากับผู้บาบัดเดิมหากเหมาะสม และต้ องดาเนินการอย่างระมัดระวังและใส่
ใจต่อประเด็นปั ญหาในการบาบัดรักษา

10.05 การมีความสัมพันธ์ ทางเพศกับผู้มาบาบัดรั กษาหรื อคนไข้


นักจิตวิทยาต้ องไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้มาบาบัดรักษาหรื อคนไข้
115

10.06 ความสัมพันธ์ ทางเพศกับญาติ หรื อบุคคลอื่นที่มีความสาคัญกับคนไข้


นักจิตวิทยาต้ องไม่มีความสัมพันธ์ ทางเพศกับบุคคลที่นักจิตวิทยารู้ ว่าเป็ นญาติสนิท ผู้ดแู ล หรื อ
บุคคลอื่นๆที่มีความสาคัญกับคนไข้ นักจิตวิทยาต้ องไม่ยตุ ิการบาบัดเพื่อหลีกเลี่ยงมาตรฐานนี ้

10.07 การบาบัดให้ กับบุคคลที่เคยมีความสัมพันธ์ ทางเพศด้ วย


นักจิตวิทยาต้ องไม่ยอมรับที่จะทาการบาบัดให้ บคุ คลซึง่ นักจิตวิทยามีความสัมพันธ์ทางเพศด้ วย

10.08 ความสัมพันธ์ เชิงชู้สาวกับผู้รับการรั กษาที่เคยรั บการบาบัด


(a) นักจิตวิทยาต้ องไม่มีความสัมพันธ์ฉนั ท์ช้ สู าวกับผู้ที่ตนเคยให้ การบาบัดอย่างน้ อยเป็ นเวลา 2 ปี
นับจากการยุติหรื อสิ ้นสุดการบาบัดแล้ ว
(b) นัก จิ ต วิ ท ยาไม่ ค วรมี ค วามสัม พั น ธ์ ท างเพศกับ ลูก ค้ าหรื อ คนไข้ ที่ เคยเข้ ารั บ การบ าบั ด แม้
หลังจากช่วงระยะเวลา 2 ปี แล้ วก็ตาม ยกเว้ นสถานการณ์ ที่ไม่ปกติ นักจิตวิทยาผู้ซึ่งมีความสัมพันธ์ ทาง
เพศกับผู้ที่ตนเคยให้ การบาบัด ต้ องเป็ นฝ่ ายพิสจู น์ให้ ได้ วา่ ไม่ได้ มีจดุ มุง่ หมายเพื่อเอาเปรี ยบ โดยพิจารณา
จากปั จจัยต่างๆเช่น
(1) ระยะเวลาที่ผ่านไปตังแต่ ้ การบาบัดสิ ้นสุด
(2) ธรรมชาติ ระยะเวลา และความรุ นแรงของการบาบัด
(3) สภาพในการยุติการบาบัด
(4) ประวัติสว่ นตัวของผู้ที่เคยรับการบาบัด
(5) สภาพจิตในปั จจุบนั ของผู้ที่เคยรับการบาบัด
(6) ความเป็ นไปได้ ของผลกระทบในทางลบต่อผู้ที่เคยรับการบาบัด และ
(7) คากล่าวหรื อการกระทาใดๆ ของผู้บาบัดระหว่างให้ การบาบัดที่ชี ้แนะ หรื อเชือ้ เชิญถึง
ความเป็ นไปได้ ของความสัมพันธ์ทางเพศภายหลังการสิ ้นสุดการบาบัดกับลูกค้ าหรื อคนไข้

10.09 เมื่อการบาบัดสิน้ สุดลงก่ อนเวลาอันควร


เมื่อการบาบัดสิ ้นสุดลง ตามเงื่อนไขที่ได้ ตกลงไว้ นักจิตวิทยาต้ องพยายามอย่างสมเหตุสมผลใน
การที่ จะรั บผิ ดชอบในการหาทางแก้ ปั ญ หาเพื่ อประโยชน์ สุข แก่ผ้ ูที่ ตนให้ การบ าบัด (ดูมาตรฐาน 3.12
ประกอบ)
แนวความคิดทางจิตวิทยา
116
Viewpoint Psychology

10.10 การยุตกิ ารบาบัด


(a) นักจิตวิทยาจะต้ องยุติการบาบัดเมื่อเห็นว่าผู้รับบริ การหรื อคนไข้ ไม่จาเป็ นต้ องรับบริ การนันอี
้ ก
ต่อไป เนื่องจากไม่ก่อให้ เกิดประโยชน์หรื อถ้ าให้ บริ การต่อไปอาจเป็ นอันตรายต่อผู้รับการบริ การ
(b) นักจิตวิทยาอาจยุติการบาบัดเมื่อถูกข่มขู่หรื ออาจได้ รับอันตรายใดๆ จากผู้รับบริ การหรื อคนไข้
หรื อผู้อื่นที่ผ้ รู ับบริ การหรื อคนไข้ มีความสัมพันธ์ด้วย
(c) นักจิตวิทยาควรจะทาการให้ คาปรึ กษาก่อนยุติการบาบัดและแนะนาบริ การอื่นที่เหมาะสมให้
เว้ นแต่ในกรณีที่การยุติการบาบัดเกิดจากการกระทาของผู้รับบริ การหรื อคนไข้ หรื อบุคคลที่เกี่ยวข้ องซึง่ เป็ น
ผู้จ่ายค่ารักษา
117

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิ ชาชีพของผูป้ ระกอบโรคศิ ลปะ พ.ศ. ๒๕๕๙
แนวความคิดทางจิตวิทยา
118
Viewpoint Psychology
119
แนวความคิดทางจิตวิทยา
120
Viewpoint Psychology
121
122

หนังสืออ้ างอิง
ประเวช ตันติพิวฒ
ั นสกุล. 2534. จิตบําบัดแนวพุทธมอริ ตะ - ไนกัน. วารสารยุวประสาทปี ที่ 2 ฉบับที่ 3
กันยายน – ธันวาคม 2534
ราชกิจจานุเบกษา. 2546. เล่ม 120 ตอนที่ 72 ก,. "พระราชกฤษฎีกา กําหนดให้ สาขาจิตวิทยาคลินิกเป็ น
สาขาการประกอบโรคศิ ล ปะตามพระราชบัญ ญั ติ ก าร ประกอบโรคศิ ล ปะ พ.ศ.2542 พ.ศ.
2546"
ราชกิจจานุเบกษา. 2559. เล่ม 133 ตอนพิเศษ 46 ง, หน้ า 1 - 5 . เรื่ อง “ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่า
ด้ วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2559”
สมทรง สุ ว รรณเลิ ศ . 2549. 30 ปี จิ ต วิ ท ยาคลิ นิ ก ไทย, วารสารจิ ต วิ ท ยาคลิ นิ ก ปี ที่ 37 ฉบั บ ที่ 1:
หน้ า 1-8.
สมทรง สุวรรณเลิศ. 2561. ประวัติการก่อตัง้ และการพัฒ นาวิชาชี พนักจิ ตวิทยาคลินิกในประเทศไทย.
กรุ งเทพ สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย
อรพิน สถิรมน. 2560. เอกสารประกอบการสอนวิชาแนวความคิดทางจิตวิทยา. ภาควิชาจิตวิทยา คณะ
สังคมศาสตร์ . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อรพิน สถิรมน. 2560. มาตรฐานจรรยาบรรณนักจิตวิทยาของสมาคมนักจิตวิทยาอเมริ กนั . แปลจาก The
American Psychological Association (APA). 2017. Ethical Principles of Psychologists
and Code of Conduct (Online). https://www.apa.org/ethics/code/.
Bankart, C.P. 1997. Talking cures : A History of western & Eastern Psychotherapies.CA:
Brooks/Cole Publishing.
Chance, P. & Harris, T.G. (Eds) 1990. The best of psychology today. New York : McGraw-Hill.
Feldman, Robert S. 2008.Understanding Psychology. 8th ed. New York: McGraw-Hill.
Goodwin, C.J. 1999. A History of Modern Psychology. New York: John Wiley & Sons,Inc.
Hergenhahn, B.R. 2001. An Introduction to the history of Psychology. California: Wadsworth
Hock, R.R. 2012. Forty studies that changed psychology. 7th ed. New Jersey: Pearson
Education, Inc
Huffman, Karen. 2007. Psychology in action. 8th ed. N.J: John Wiley & Sons.
123

Jamison, J. B. 2017. Psychology for the 21st Century. US : Wisdom Quest


Leahey, T.H. 1997. A History of Psychology. 4th ed. MA : D.C. Heath and Company.
Mc Graw – Hill Publishing company.
Lilienfield, Scott O. et al. 2010. Psychology: A Framework for Everyday Thinking. Boston:
Pearson/Allyn & Bacon.
Murray, D.J. 1983. A History of Western Psychology, New Jersey : Prentice – Hill, Inc.

Sdorow, L. M. and Rickabaugh, c. A. 2002. Psychology. 5th ed. New York: McGraw-Hill
Thomson Learning. history of psychological research. New Jersey: Prentice Hall.
thought. 5th ed. N.Y : HarperCollins.
Watson, R.I. & Evans, R.B. 1991. The great psychologists : a history of psychological thought
(5th ed.). New York : HarperCollins.
Weiten, Wayne. 2001. Psychology: Themes and variations. 5th ed. Belmont: Wadsworth
Thomson Learning.

การสืบค้ นจากอินเตอร์ เน็ต


สุพิน พรพิพฒั น์กลุ สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้ าพระยา. 2554 http://thaiclinicpsy.org/new/index
.php/about-association/tcpa-02-01. เข้ าถึงเมื่อ 6 กันยายน 2561
สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย. www.thaiclinicpsy.org. เข้ าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2561
สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย. www.thaipsy.com. เข้ าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2561
AllPsych and Heffner Media Group, Inc. 2018. History of Psychology: 387 BC to Present
(Online). http://allpsych.com/timeline.html. June 30, 2019
American Psychological Association. 2018. http://www.apa.org. September 12, 2018
Association of State and Provincial Psychology Boards. 2018. https://www.asppb.net.
September 12, 2018
Canadian Psychology Association. 2018. https://www.cpa.ca/ September 12, 2018
124

Derobertis, Eugene M. 2013. Article in Journal of Humanistic Psychology 53(4):419-437


Humanistic Psychology Alive in the 21st Century? (Online).
https://www.researchgate.net/publication/258151885_Humanistic_Psychology_Alive_i
n_the_21st_Century . June 30, 2019
Green,Christopher D. 1997. Classics in the History of Psychology (Online).
http://psychclassics.yorku.ca/index.htm. June 30, 2019
Health & Care Professions council. 2018. http://www.hcpc-uk.org. September 12, 2018
Kashima, Yoshihisa . 2015. Culture and Psychology in the 21st Century: Conceptions of Culture
and Person for Psychology Revisited (Online) .
http://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/0022022115599445. June 30, 2019
Kendra, Cherry. 2019. Timeline of Modern Psychology : Major Events in the History of
Psychology. (Online). http://psychology.about.com/od/psychology101/a/
timeline.htm. June 30, 2019
Kendra, Cherry. 2019. What Is Positive Psychology?: A Brief Overview of the Field of Positive
Psychology (Online). http://psychology.about.com/od/branchesof
psycholog1/a/positive-psychology.htm. June 30, 2019
The Association of Chief Psychologists with Ontario School Boards. 2018.
http://www.acposb.on.ca/who-provides-psychological-services/. September 12, 2018
The British Psychological Society. 2018. https://www.bps.org.uk/about-us. September 12, 2018
The Open University. 2016. Psychology in the 21st century (Online). http://www.open.edu/
openlearn/ocw/mod/oucontent/view.php?id=4302&printable=1. June 30, 2019
Watson, J. B., 1924, Behaviorism (Online). ttps://archive.org/details/behaviorism032636
mbp/page/n6. June 30, 2019
WGBH Educational Foundation (2001). “History of psychology contemporary foundations.”
(Online). http://www.learner.org/series/discoveringpsychology/
history/history_nonflash.html (June,2012)
125

อ้ างอิงภาพประกอบ
ภาพทาเลส สืบค้ นจาก http://scienceworld.wolfram.com/biography/Thales.html. เข้ าถึงเมื่อ 1
กันยายน 2561
ภาพอานักซิมานเดอร์ สืบค้ นจาก http://physics.unr.edu/grad/welser/astro/astronomers.html. เข้ าถึง
เมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพอานักซิเมเนส สืบค้ นจาก http://socialphilosophy.yolasite.com/resources/anaximenes.jpg.
เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพเดโมครี ตสุ สืบค้ นจาก http://www-gap.dcs.st-and.ac.uk/~history/PictDisplay/Democritus.html.
เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพเฮราคลิตสุ สืบค้ นจาก https://martinsj2.files.wordpress.com/2012/04/heraclitus_ephesus_
c535_hi.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพพาร์ เมนิเดส สืบค้ นจาก http://beatwaydown.blogspot.com. เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพแอคเมออน สืบค้ นจาก http://www.philosophy.gr/presocratics/alcmaeon.html. เข้ าถึงเมื่อ
1กันยายน 2561
ภาพฮิปโปเครติส สืบค้ นจาก http://www.greektravel.com/greekisands/kos/hippocrates.html. เข้ าถึง
เมื่อ 1 กันยายน 2561
ภาพเอมเพโดครี ส สืบค้ นจาก http://www.presocratics.org/empedocles.html. เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน
2561
ภาพพิทาโกรัส สืบค้ นจาก http://scienceworld.wolfram.com/biography/Pythagoras.html. เข้ าถึงเมื่อ
1กันยายน 2561
ภาพโพรทากอรัส สืบค้ นจากhttp://www.philo5.com/Les%20philosophes/Protagoras_files/
image003.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพอานักซากอรัส สืบค้ นจาก http://www.luventicus.org/articulo s/02 A034/anaxagoras.html.
เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพโซเครติส สืบค้ นจาก http://web.mit.edu/mit-greece/www/IAP_imgs.html . เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน
2561
ภาพเพลโต สืบค้ นจาก http://www-gap.dcs.st-and.ac.uk/~history/Mathematicians/Plato.html .
เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพอริ สโตเติล สืบค้ นจาก http://www-gap.dcs.st-and.ac.uk/~history/PictDisplay/Aristotle.html .
เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
126

ภาพเซโน แห่ง ซิทิอมุ สืบค้ นจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/08/Zeno_of_


Citium_-_Museo_archeologico_nazionale_di_Napoli.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2561
ภาพอิพิคิวรัส สืบค้ นจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/88/Epikouros_BM_
1843.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2561
ภาพเซนต์ ออกัสติน สืบค้ นจาก http://www.accd.edu/sac/english/bailey/augustin.htm . เข้ าถึงเมื่อ 1
กันยายน 2561
ภาพเซนต์ โทมัส อไควนัส สืบค้ นจาก http://www.univie.ac.at/Wissenschaftstheorie/heat/gallery
/aquin-f.htm. เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพลีโอนาโด ดา วินชี สืบค้ นจาก http://www.visi.eom/~reuteler/vinci/self.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม
2561
ภาพนิโคลัส คอปเปอร์ นิคสั สืบค้ นจาก www.tripadvisor.co.uk/LocationPhotoDirectLink-g274856-
d2647224-i245021678-Monument_of_Nicolaus_Copernicus-Warsaw_Mazovia_
Province_Central_Poland.html#245021678. เข้ าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2561
ภาพเวซาเลียส สืบค้ นจาก http://academic.brooklyn.cuny.edu/history/virtual/portrait/vesalius2.gif .
เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพฟรานซิส เบคอน สืบค้ นจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Francis_Bacon#/media/File:Somer_
Francis_Bacon.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพโทมัส ฮอบส์ สืบค้ นจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Thomas_Hobbes#/media/File:Thomas_
Hobbes_(portrait).jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพเรอเน เดการ์ ด สืบค้ นจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/73/Frans_
Hals_Portret_van_Ren%C3%A9_Descartes.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพจอห์น ล็อค สืบค้ นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%
E0%B8%A5%E0%B9%8C:John_Locke.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพกาลิเลโอ กาลิเลอี สืบค้ นจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/d4/
Justus_Sustermans_-_Portrait_of_Galileo_Galilei%2C_1636.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1 กันยายน
2561
ภาพเซอร์ ไอแซค นิวตัน สืบค้ นจาก https://www.britannica.com/biography/Isaac-
Newton/media/1/413189/3008. เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
127

ภาพฟรานซ์ โยเซฟ กัลล์ สืบค้ นจาก http://www.phrenology.eom/franzjosephgall.html . เข้ าถึงเมื่อ


1 กันยายน 2561
ภาพปิ แอร์ ฌอง จอร์ ส คาบานิส สืบค้ นจาก http://www.academiefrancaise.fr/immortels/base/
academiciens/fiche.asp?param=280. เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพชาร์ ลส์ เบลล์ สืบค้ นจาก http://www.med.Virginia,edu/hs-library/historical/classics/Bell.htmI.
เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพฟรังซัวส์ มาเจนดีย์ สืบค้ นจาก http://www.uic.edu/depts/mcne/founders/page0057.html. เข้ าถึง
เมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพฌอง – ปิ แอร์ มารี ฟลัวแรงส์ สืบค้ นจาก http://www.academie-francaise.fr/immortels/base/
academiciens/fiche.asp7param374. เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพปิ แอร์ ปอล โบรคา สืบค้ นจาก http://www.kfki.hu/chemonet/TermVil/kulonsz/k001/broca.jpg.
เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพวลาดีมีร์ มีโฮโลวิช เบฮ์เจเรฟ สืบค้ นจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/
05/Bulla_bekhterev_v.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2561
ภาพอิวาน พาฟลอฟ สืบค้ นจาก https://cdn.britannica.com/s:300x300/93/9693-004-8E28DB4.jpg.
เข้ าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2561
ภาพโยฮานส์ มูลเลอร์ สืบค้ นจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/30/
Johannes_Mueller.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2561
ภาพอเล็กซานเดอร์ เบน สืบค้ นจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Alexander_Bain. เข้ าถึงเมื่อ
30 ตุลาคม 2561
ภาพฟรี ดดริ ก วิลเฮลม์ เบสเซล สืบค้ นจาก http://cafe.rapidus.net/sbelange/bessel.html. เข้ าถึงเมื่อ
30 ตุลาคม 2561
ภาพกุสตาฟ ธีโอดอร์ เฟคเนอร์ สืบค้ นจาก http://www.psicotecnica.org/Fechner.html. เข้ าถึงเมื่อ
20 พฤศจิกายน 2561
ภาพเฮอร์ แมน ฟอน แฮล์มโฮลทซ์ สืบค้ นจาก http://www.rz.hu-erlin.de/hub/geschichte/hh_g.gif.
เข้ าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561
ภาพฟรานซิสคัส ดอนเดอรส์ สืบค้ นจาก http://163.238.8.169/users/orlowsky/images/donders.jpg.
เข้ าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561
128

ภาพชาล์ส ดาร์ วิน สืบค้ นจาก http://www.rbgkew.org.uk/heritage/people/images/darwin.jp. เข้ าถึง


เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561
ภาพเฮอร์ เบิร์ต สเปนเซอร์ สืบค้ นจาก http://cepa.newschool.edu/het/profiles/spencer.htm. เข้ าถึง
เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561
ภาพฟรานซิส เกลตัน สืบค้ นจาก http://www.mugu.com/galton/. เข้ าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561
ภาพวิลเฮล์ม แมกซิมิเลียน วุนดท์ สืบค้ นจาก http://www.nndb.com/people531/000053372/wundt-
sm.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561
ภาพจี. สแตนลีย์ ฮอล สืบค้ นจาก https://cdn.britannica.com/s:300x200/51/19551-004-
BC668069.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2561
ภาพเลวิส เทอร์ แมน สืบค้ นจาก https://cdn.britannica.com/s:300x300/65/9065-004-B6CF0EB.jpg.
เข้ าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2561
ภาพเจมส์ แมคคีน แคทเทล สืบค้ นจาก https://cdn.britannica.com/s:300x300/69/13069-004-
5BD3495C.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2561
ภาพเจมส์ มาร์ ก บาล์ดวิน สืบค้ นจาก https://upload.wikimedia .org/wikipedia/commons/4/4a/
James_Mark_Baldwin_1917.jpg . เข้ าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2561
ภาพจอร์ ส มัลคอม สแตรททอน สืบค้ นจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/d/d8/
George_Malcom_Stratton_at_Berkeley.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2561
ภาพอาโนลด์ แอล กีเซล สืบค้ นจาก https://archive.org/details/0011_Life_Begins_11_32_13_00.
เข้ าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2561
ภาพเอ็ดเวิร์ด บี ทิชเชเนอร์ สืบค้ นจาก https://digital.library.cornell.edu/catalog/ss:545484. เข้ าถึง
เมื่อ 1 ธันวาคม 2561
ภาพวิลเฮล์ม วุนดท์ และเพื่อนร่ วมงาน ในห้ องปฏิบตั ิการด้ านจิตวิทยาการทดลองแห่งแรก
มหาวิทยาลัยไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี สืบค้ นจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/
commons/a/a3/Wundt-research-group.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2561
ภาพวิลเลียม เจมส์ สืบค้ นจาก http://moebius.psy.ed.ac.uk/conference/james.jpg. เข้ าถึงเมื่อ
1 กันยายน 2561
ภาพแมกซ์ เวอร์ ไธเมอร์ สืบค้ นจาก http://allpsych.com/biographies/images/wertheimer.gif.
เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
129

ภาพวอล์ฟกัง โคลเลอร์ สืบค้ นจาก http://www.pigeon.psy.tufts.edu/psych26/images/kohler.jpg.


เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพเคิร์ท คอฟกา สืบค้ นจาก http://www.infoamerica.org/teoria/imagenes/koffka.jpg. เข้ าถึงเมื่อ
1 กันยายน 2561
ภาพซิกมันด์ ฟรอยด์ สืบค้ นจาก https://cdn.britannica.com/s:300x300/29/59229-004-
4C758356.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1กันยายน 2561
ภาพจอห์น บี วัตสัน สืบค้ นจาก https://www.quien.net/wp-content/uploads/John-Broadus-Watson-
300x298.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2561
ภาพบี เอฟ สกินเนอร์ สืบค้ นจาก https://cdn.britannica.com/s:300x300/92/110192-004-
36256FAE.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2561
ภาพจูเลียน รอตเตอร์ สืบค้ นจาก http://psych.fullerton.edu/jmearns/Rotter4.jpg. เข้ าถึงเมื่อ
1 ธันวาคม 2561
อัลเบิร์ต แบนดูรา สืบค้ นจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/cc/
Albert_Bandura_Psychologist.jpg/800px-Albert_Bandura_Psychologist.jpg. เข้ าถึงเมื่อ
1 ธันวาคม 2561
ภาพคาร์ ล รอเจอรส์ สืบค้ นจาก https://cdn.britannica.com/s:300x300/34/38434-004-
065E4D77.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2561
ภาพอับราฮัม มาสโลว์ สืบค้ นจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/e/e0/Abraham_
Maslow.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2561
ภาพคอนราด ลอเรนซ์ สืบค้ นจาก https://klf.univie.ac.at/research/history/konrad-lorenz/. เข้ าถึงเมื่อ
1 ธันวาคม 2561
ภาพฌอง เพียเจท์ สืบค้ นจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Jean_Piaget#/media/File:Jean_Piaget_
in_Ann_Arbor.png. เข้ าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2561
ภาพเฮอร์ เบิร์ต ไซมอน สืบค้ นจาก https://i2.wp.com/article1000.com/wpontent/uploads/2017
/08/download.jpg?w=384&ssl=1. เข้ าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2561
ภาพนอม ชอมสกี ้ สืบค้ นจาก https://www.britannica.com/biography/Noam-Chomsky/media/1/
114218/232747. เข้ าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2561
ภาพอารอน เบค สืบค้ นจาก http://grawemeyer.org/wp-content/uploads/2015/07/beck.jpg. เข้ าถึง
เมื่อ 20 ธันวาคม 2561
130

ภาพแดเนียล คานาแมน สืบค้ นจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c8/


Daniel_KAHNEMAN.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2561
ภาพมาช่า ลินแฮน สืบค้ นจาก http://grawemeyer.org/wpcontent/uploads/2016/11/Marsha-
Linehan-2014-jpg-. เข้ าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2561
ภาพเวอร์ จิเนีย ซาเทียร์ สืบค้ นจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/14/
VirginiaSatir.jpg e1479919746738.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2561
ภาพไอร์ วิน ดี ยาลอม สืบค้ นจาก https://miro.medium.com/max/700/1*zMYErC1YWHVNGV
qmLbuDlg.jpeg. เข้ าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2561
ภาพมาร์ ติน เซลิกแมน สืบค้ นจาก http://totallyhistory.com/wp-content/uploads/2013/10/Martin-
Seligman.jpg. เข้ าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2561
ภาพคาร์ ล กุสตาฟ จุง สืบค้ นจาก https://cdn.britannica.com/28/182628-050-F8B519A4.jpg .
เข้ าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2561
ภาพไดเซ็ตซึ เทอิทาโร ซูซูกิ สืบค้ นจาก https://en.wikipedia.org/wiki/D._T._Suzuki . เข้ าถึงเมื่อ 20
ธันวาคม 2561
ภาพนายแพทย์โซมะ โมริ ตะ สืบค้ นจาก https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Dc_morita.jpg .
เข้ าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2561
ภาพโยชิโมโต ไอชิน สืบค้ นจาก https://ramakrishna.de/japan/naikan.php . เข้ าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม
2561
ภาคผนวก l 131

ผลงานสําคัญและเหตุการณ์ ท่ เี กี่ยวข้ องกับจิตวิทยาตามลําดับเวลา

ผู้เขียนได้ รวบรวมและเรี ยบเรี ยงผลงานสําคัญและเหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้ องกับจิตวิทยาตามลําดับ


เวลา โดยมีวตั ถุประสงค์เพื่อ 1) ให้ นิสิตเข้ าใจประวัติความเป็ นมาของจิตวิทยาและพัฒนาการของจิตวิทยา
ในปั จจุบนั 2) เปิ ดโอกาสให้ นิสิตสามารถเลือกประเด็นหรื อหัวข้ อที่สนใจเพื่อสืบค้ นเพิ่มเติมเป็ นรายงาน
เดี่ยวหรื อรายงานกลุม่ 3) ให้ นิสิตอ่านฝึ กอ่านเอกสารวิชาการภาษาอังกฤษโดยเริ่ มต้ นจากข้ อความสันๆ ้

B.C
427 - 322 Lives of Greek philosophers: Plato, Socrates, Aristotle
o 430 BC Hippocrates argues for four temperaments of personality.
o 387 BC Plato suggested that the brain is the mechanism of mental processes.
o 360 BC Plato writes Theaetetus, examining theories of perception, knowledge
and truth.
o 350 BC Aristotle writes De Anima about the relationship of the soul to the body.
o 335 BC Aristotle suggested that the heart is the mechanism of mental processes.

426 Life of St. Augustine, a great thinker who wrote Confessions (406) and City of
God (426) presenting his views of the human situation
1264 St. Thomas Aquinas publishes his famous Summa Theological, a prodigious work
that affirmed the value of knowledge gained through sense and thought.
1605 Sir Francis Bacon publishes The Proficience and Advancement of Learning.
1649 Rene Descartes writes Passions of the Soul, which postulates the total separation
of body and soul.
1651 Thomas Hobbes publishes the Leviathan.
1690 John Locke publishes An Essay Concerning Human Understanding.
1709 Foundational philosophy
George Berkeley publishes An Essay Towards a New Theory of Vision.
1774 Franz Mesmer introduces his treatment for some mental illness, originally called
mesmerism and now known as hypnosis.
132

1793 Philippe Pinel lets the first mental patients out for sunlight with no chains. Beginning
of The massive movement for more humane treatment of the mentally ill.
1808 Franz Gall’s new science "Cranioscopy" introduced in 1796, becomes known as
Phrenology. (The idea that a person's skull shape and placement of bumps on the
head can reveal personality traits).
1834 Ernst Heinrich Weber publishes his perception theory of 'Just Noticeable
DIfference,' Now known as Weber's Law.
1848 Phineas Gage suffered brain damage when an iron pole pierces his brain.
His personality was changed but his intellect remained intact suggesting that
an area of the brain plays a role in personality.
1850 Gustav Fechner experiences crucial insight linking physical changes in the external
world to subjective changes in perception; leads to establishment of psychophysics.
1859 Charles Darwin publishes The Origin of Species. Detailing his view of evolution and
expanding on the theory of 'Survival of the fittest.
1861 French physician Paul Broca discovers an area in the left frontal lobe that plays
a key role in language development.
1863 Place theory of Pitch discovered by Herman von Helmholtz.
1869 Sir Francis Galton, Influenced by Charles Darwin's 'Origin of the Species,' publishes
'Hereditary Genius,' and argues that intellectual abilities are biological in nature.
1874 Carl Wernicke publishes his work on the frontal lobe, detailing that damage to a
specific area damages the ability to understand or produce language
1875 o William James teaches the course, "The relationships among the Physiology
and the Psychology."
o William James creates small psychological laboratory at Harvard University.
1876 Sir Francis Galton first uses the method of twin comparisons.
1878 G. Stanley Hall, the first American to earn a Ph.D. in psychology.
133

Psychology as a new academic discipline: a separate science


1879 o Wilhelm Wundt opens the first experimental psychology laboratory at the
University of Leipzig, Germany, marking the formal beginning of the study of
human emotions, behaviors, and cognitions. Psychology becomes a separate
science. Wundt's students include Emil Kraepelin, James McKeen Cattell, and
G. Stanley Hall.
o Wilhelm Wundt publishes the first text, Principle of Physiological Psychology.
1881 Wilhelm Wundt forms the professional journal Philosophische Studien
(Philosophical Studies).
1883 G. Stanley Hall founds America's first psychological laboratory in the United States
at Johns Hopkins University.
1884 James-Lange theory of emotion proposed.
1885 Herman Ebbinghaus introduces the nonsense syllable as a means to study memory
processes, Herman publishes his famous Uber das Gedachtnis, translated to
English later as “Memory. A Contribution to Experimental Psychology”. In the work,
he describes memory experiments that he conducted on himself.
1886 o Sigmund Freud begins providing therapy to patients in Vienna, Austria, marking
the beginning of personality theory.
o Ernest Rutherford discovers the frequency theory of pitch.
1888 James McKeen Cattell, former student of Wundt and professor at the University of
Pennsylvania, became the first in the United States with the title "Professor of
Psychology."
1890 o William James publishes Principles of Psychology that later became the
foundation for functionalism.
o James McKeen Cattell first uses the term "Mental Tests". He publishes Mental
tests and measurements, marking the beginning of the practice of psychological
assessment.
o Sir Francis Galton develops the technique known as the correlation to better
understand the interrelationships between variable in intelligence studies
134

o New York State passed the State Care Act, ordering indigent mentally ill
patients out of poor-houses and into state hospitals for treatment and
developing the first institution in the U.S. for psychiatric research.
1891 o Mary Whiton Calkins Establishes a psychology laboratory at Wellesley.
1892 o G. Stanley Hall forms the American Psychological Association (APA), which
initially has just 42 members. He serves as its first president. He later
establishes two key journals in the field: American Journal of Psychology
(1887) and Journal of Applied Psychology (1917).
o Wundt’s student, Edward B. Titchener moves to America, where he continues
his work with the structuralist technique of introspective analysis at Cornell.

1894 o J.M. Cattell and Baldwin found Psychological Review, Psychological Index,
and Psychological Monographs.
o Margaret Floy Washburn becomes the first woman to receive a Ph.D. in
Psychology from Cornell University as Harvard University denies to offer the
degree to Mary Whiton Calkins because of her gender.

1895 Alfred Binet founds the first psychology lab devoted to psychodiagnosis.

1896 o Functionalism
Functionalism, an early school of psychology, focuses on the acts and
functions of the mind rather than its internal contents. Its most prominent
American advocates are William James and John Dewey, whose 1896 article
"The Reflex Arc Concept in Psychology" promotes functionalism.
o Psychoanalysis
The founder of psychoanalysis, Sigmund Freud, introduces the term in a
scholarly paper. Freud's psychoanalytic approach asserts that people are
motivated by powerful, unconscious drives and conflicts. He develops an
influential therapy based on this assertion, using free association and dream
analysis.
135

o Structuralism
Edward B. Titchener, a leading proponent of structuralism, publishes his
Outline of Psychology. Structuralism is the view that all mental experience can
be understood as a combination of simple elements or events. This approach
focuses on the contents of the mind, contrasting with functionalism.
o Lightner Witmer opens world's first psychological clinic at University of
Pennsylvania. It shifts his focus from experimental work to practical application
of his findings.
1898 Edward Thorndike publishes his classical monograph Animal Intelligence. He
developed the 'Law of Effect,' arguing that "a stimulus-response chain is
strengthened if the outcome of that chain is positive".
1900 Sigmund Freud introduces his theory of psychoanalysis in The Interpretation of
Dreams, the first of his 24 books exploring such topics as the unconscious,
techniques of free association, and sexuality as a driving force in human
psychology.
1901 o Manual of Experimental Psychology
Edward Bradford Titchener introduces structuralism to the United States with
his publication “the Manual of Experimental Psychology” . Structuralism, an
approach which seeks to identify the basic elements of consciousness, fades
after Titchener's death in 1927.
o The British Psychological Society is founded.
o Charles E. Spearman proposes a general factor of intelligence.

1904 o Ivan Pavlov wins Nobel Prize for work on digestion that led to fundamental
principles of learning.
136

1905 o Mary Whiton Calkins is elected president of the APA. She becomes the First
woman president of the APA .
o Alfred Binet and Theodore Simon publish the Binet-Simon Intelligence. At the
beginning, test’s accuracy and fairness are challenged. The New revisions
come in 1908 and 1911.

1906 o Ivan Pavlov publishes his findings regarding classical conditioning


(Pavlovian conditioning).
o Morton Prince founds the Journal of Abnormal Psychology.
o Ramon y Cajal discovers that the nervous system is comprised of individual
cells.

1907 o Alfred Adler publishes his main work: A Study of Organic Inferiority and Its
Psychical Compensation.
o Carl Jung publishes The Psychology of Dementia Praecox.
o Oscar Pfungst demonstrates that the amazing counting horse, Clever Hans,
responds to cues from observers; demonstrates power of expectancies.
o Sigmund Freud proposes his psychosexual theory of personality development.

1908 o Clifford Beers publishes A Mind That Found Itself, detailing his experiences as
a patient in 19th-century mental asylums. Calling for more humane treatment of
patients and better education about mental illness for the general population,
the book inspires the mental hygiene movement in the United States.
o Yerkes-Dodson Law proposes to explain relationship between performance
and arousal.
o Margaret Washburn publishes The Animal Mind, which serves as an impetus
for behaviorism.
137

1909 o Sigmund Freud and Carl Jung visit the United States for a Psychoanalysis
Symposium at Clark University organized by G. Stanley Hall. At the symposium,
Freud gives his only speech in the United States.
o Mary Whiton Calkins publishes A First Book in Psychology.

1911 o Alfred Adler leaves Freud's Psychoanalytic Group to form his own school of
thought, accusing Freud of overemphasizing sexuality and basing his theory on
his own childhood.
o Edward Thorndike publishes Animal Intelligence. His book leads to the
development of the theory of operant conditioning.

1912 o Max Wertheimer publishes research on the perception of movement, marking


the beginnings of Gestalt Psychology.
o William Stern refines the original scores on Binet's intelligence test into
The Intelligence Quotient (IQ) . The formula is

1913 o Behaviorism
John B. Watson publishes article entitled "Psychology as the Behaviorist
Views It", launching behaviorism. In contrast to psychoanalysis, behaviorism
focuses on observable and measurable behavior. The work helped establish
behaviorism, which viewed human behavior arising from conditioned
responses.
o Carl G. Jung departs from Freudian views and develops his own theories
citing Freud's inability to acknowledge religion and spirituality. His new school
of thought known as Analytical Psychology.
o George Herbert Mead publishes The Social Self
138

1914 o John B. Watson publishes Behavior: An Introduction to Comparative


Psychology.
o Leta Hollingworth publishes pioneering work on the psychology of women.

1915 o Sigmund Freud publishes work on repression.


o Lewis M. Terman publishes The Uses of Intelligence Tests.
o Sigmund Freud first proposes the concept of defense mechanisms.

1916 o English translations of Binet–Simon Scale is published in the United States by


Lewis M Terman as the "Stanford Revision of the Binet–Simon Scale” or Stanford-
Binet intelligence test for short.
o Leta Stetter-Hollingsworth receives her Ph.D. and goes on to publish the first
works on the psychology of women.

1917 o Robert Yerkes (President of APA at the time) developed the Army Alpha and
Beta Tests to measure intelligence in a group format. The tests were adopted
for use with all new recruits in the U.S. military a year later.

1919 John B. Watson publishes Psychology From the Standpoint of a Behaviorists.


1920 o Francis Cecil Sumner earns a Ph.D. in psychology under G. Stanley Hall at Clark
University. He becomes the First African American doctorate in psychology and
later serves as chair of the Howard University psychology department.
o Jean Piaget publishes The Child's Conception of the World, prompting the
study of cognition in the developing child.
o John B. Watson and Rosalie Rayner publish research the classical conditioning
of fear with their subject, Little Albert.

1921 o Hermann Rorschach, a Swiss psychiatrist, develops a projective test known as


the Rorschach inkblot test
o Psychological Corporation launches the first psychological test development
company, not only commercializing psychological testing, but allowing testing
139

to take place at offices and clinics rather than only at universities and research
facilities.
o The first neurotransmitter, acetylcholine, is discovered.
o Gordon Allport proposes a trait theory of personality.

1923 Sigmund Freud publishes The Ego and the Id.


1924 o Mary Cover Jones publishes “Little Peter” story demonstrates how to use
conditioning to remove a child’s fear.

1925 o Charles Frederick Menninger and his sons Karl Augustus and William Clair
found The Menninger Clinic in Topeka, Kansas. They take a compassionate
approach to the treatment of mental illness, emphasizing both psychological
and psychiatric disciplines.
o Wolfgang Kohler publishes 'The Mentality of Apes' which became a major
component of Gestalt Psychology.
o Lewis M. begins his longitudinal studies on giftedness.

1926 Jean Piaget publishes The language and thought of a child.


1927 o Charles E. Spearman publishes Abilities of Man on general and specific
factors of intelligence.
o Anna Freud, daughter of Sigmund Freud, published her first book Introduction
of the Techniques of Child Analysis, expanding her father's ideas in the
treatment of children.

1928 John B. Watson publish two books: The ways of behaviorism and The Psychological
Care of Infant and Child.
1929 o Psychiatrist Hans Berger invents the electroencephalogram and tests it on his
son. The device graphs the electrical activity of the brain by means of electrodes
attached to the head.
140

o Wolfgang Kohler criticizes behaviorism in his publication on Gestalt


Psychology.
o Edwin G. Boring publishes A History of Experimental psychology.
o All traces of cocaine removed from Coca-Cola after addictive nature of drug
was discovers.
o Connon-Bard theory of emotion created.
1930 o Tolman and Honzik demonstrate latent learning in rats.
1932 o Jean Piaget publishes 'The Moral Judgment of Children' beginning his
popularity as the leading theorist in cognitive development.
o Walter B. Cannon uses the term homeostasis and begins research on the
fight or flight phenomenon.
1933 o After the Nazi party gains control of the government in Germany, scholars and
researchers in psychology and psychiatry are persecuted. Their books are
banned and burned in public rallies. Many of them move to Britain or the United
States.
o Sigmund Freud’s influence continues to build as he publishes New
Introductory Lectures on Psychoanalysis.
1934 Lev Vygotsky proposes concept of zone of proximal development.
1935 o Alcoholics Anonymous (AA) is founded by Bob Smith of Akron, Ohio. AA's group
meetings format and 12-step program become the model for many other mutual-
support therapeutic groups.
o Kurt Koffka, a founder of the movement, publishes Principles of Gestalt
Psychology in 1935. Gestalt (German for "whole" or "essence") psychology
asserts that psychological phenomena must be viewed not as individual
elements but as a coherent whole.
o Kurt Lewin publishes A Dynamic Theory of Personality.
o Henry Murray publishes the Thematic Apperception Test (TAT).
o Prefrontal lobotomy developed by Dr. Antonio Egas Moniz.
141

1936 o Walter Freeman performs first frontal lobotomy in the United States at George
Washington University in Washington, D.C. By 1951, more than 18,000 such
operations have been performed. The procedure, intended to relieve severe
and debilitating psychosis, is controversial.
o Egas Moniz publishes his work on frontal lobotomies as a treatment for mental
illness.
o Anna Freud publishes The ego and the mechanisms of defense, which
include her account of defense mechanisms.
o Han Selye introduces concept of stress into the language of science.
1937 o The Neurotic Personality of Our Time
Karen Horney publishes The Neurotic Personality of Our Time. Horney
questions Freud's theories on the Oedipal Complex and castration anxiety.
o Gordon W. Allport publishes Personality: A psychological interpretation, one of
the books responsible for the acceptance of personality as a field of academic
study
1938 o B.F. Skinner publishes The Behavior of Organisms, introducing the concept of
operant conditioning. The work draws widespread attention to behaviorism and
inspires laboratory research on conditioning.
o Henry A. Murry and Christiana Morgan revise the Thematic Apperception Test.
o Italian psychiatrist and neuropathologist Ugo Cerletti and his associates treat
human patients with electrical shocks to alleviate schizophrenia and psychosis.
Electroconvulsive therapy (ECT), while controversial, is proven effective in
some cases and is still used at present.
1939 o Neal Miller and John Dollard publish their famous study Frustration and
Aggression.
o Wechsler-Bellevue Intelligence Test is published and then becomes the most
widely used intellectual assessment.
o The Canadian Psychological Associated is founded.
o Clark and Clark classic study on prejudice conducted.
142

1942 o Carl Rogers develops client-centered therapy and publishes Counseling and
Psychotherapy. His approach encourages respect and a non-judgmental
approach to therapy is the foundation for effective treatment of mental health
issues.
o Jean Piaget published 'Psychology of Intelligence' discussing his theories of
cognitive development.
o Minnesota Multiphasic Personality Inventory (MMPI) is developed and fast
becomes the most widely researched and widely accepted psychological
assessment device.

1943 o Clark Hull proposes drive reduction theory of motivation.

1945 o The state of Connecticut passes licensure legislation for psychologists,


becoming the first state to recognize psychology as a protected practice
oriented profession.
o The Journal of Clinical Psychology is founded.
o Karen Horney publishes her feministic views of psychoanalytic theory, marking
the beginning of feminism.
o Karen Horney criticizes Freud’s psychosexual theories.

1946 o Anna Freud publishes The Psychoanalytic Treatment of Children, introducing


basic concepts in the theory and practice of child psychoanalysis.
o U.S. President Harry Truman signs the National Mental Health Act, providing
generous funding for psychiatric education and research for the first time in
U.S. history. This act leads to the creation in 1949 of the National Institute of
Mental Health (NIMH).
o Raymond B. Cattell publishes his factor-analytical Description and
measurement of personality. He creates The sixteen Personality Factor
Questionnaire in 1995.
143

o Solomon Asch demonstrates crucial factors in impression formation and later


studies the effects of group pressure on independence and conformity.
1947 o Kenneth and Mamie Clark publish work on prejudice that is cited in landmark
1954 Supreme Court decision outlawing segregation.
1948 o Alfred Kinsey begins survey research on sexual behavior.
1949 Boulder Conference outlines scientist-practitioner model of clinical psychology,
looking at the M.D. versus Ph.D. used by medical providers and researchers,
respectively.
1950 o Konrad Lorenz writes The Comparative Method in Studying Innate Behaviour
Patterns, in which he uses the evolutionary perspective to analyze aspects of
behavior and makes the controversial assertion that humans are inherently
aggressive.
o Erik Erikson publishes 'Childhood and Society,' where he expands Freud's
Theory to include social aspects of personality development across the
lifespan.
1951 o First drug to treat depression
Studies are published reporting that the drug imipramine may be able to lessen
depression. Eight years later, the FDA approves its use in the United States
under the name Tofranil.
o Solomon Asch presents his classical study on conformity in making line length
judgments
o Carl Rogers publishes Client-Centered Therapy, presenting his influential
techniques in client-centered therapy.
1952 o The anti-psychotic drug chlorpromazine (known as Thorazine) is tested on a
patient in a Paris military hospital. Approved for use in the United States in
1954, it becomes widely prescribed.
o Hans Eysenck publishes The effects of psychotherapy: An
evaluation suggesting that therapy is no more effective that no treatment at
144

all. This prompted an onslaught of outcome studies which have since shown
psychotherapy to be an effective treatment for mental illness.
o The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM) is published
by The American Psychiatric Association marking the beginning of modern
mental illness classification. The 132 pages manual outlines prevalence,
diagnosis, and treatment of mental disorders.
o Chlorpromazine (Thorazine) first used in the treatment of schizophrenia.

1953 o The American Psychological Association publishes the first edition of Ethical
Standards of Psychologists. The document undergoes continuous review and
is now known as APA's Ethical Principles of Psychologists and Code of
Conduct.
o Eugene Aserinsky and Nathaniel Kleitman discover REM sleep.
o B.F. Skinner outlines behavioral therapy, lending support for behavioral
psychology via research in the literature.
o Francis Crick and James Watson discover structure of DNA, launching genetic
revolution.
o B.F.Skinner publishes his influential Science and Human behavior, advocating
radical behaviorism similar to Watson’s.
1954 Neurosurgeon Wilder G. Penfield publishes Epilepsy and the Functional Anatomy
of the Human Brain. His mapping of the brain's cortex sets a precedent for the
brain-imaging techniques that become critical to biopsychology and cognitive
neuroscience.
o FDA approves “Doriden” known as “Rorer”, an anti-anxiety medication.
Starting a psychopharmacology, a new form of treatment for mental illness.
o Gordon Allport publishes The Nature of Prejudice, which draws on various
approaches in psychology to examine prejudice through different lenses. It is
widely read by the general public and influential in establishing psychology's
usefulness in understanding social issues.
145

o Abraham Maslow publishes Motivation and Personality, describing his famous


theory Hierarchy of Needs. The works of Carl Rogers and Abraham Maslow
became known as humanistic psychology: " the third force" in psychology. This
approach centers on the conscious mind, free will, human dignity, and the
capacity for self-actualization.
o Paul Meehl writes Clinical versus Statistical Prediction, first major book to
describe both the strengths and weaknesses of clinical judgment.
1956 Cognitive psychology
Inspired by work in mathematics and other disciplines, psychologists begin to
focus on cognitive states and processes. George A. Miller's 1956 article "The
Magical Number Seven, Plus or Minus Two" on information processing is an early
application of the cognitive approach

1957 o Noam Chomsky publishes Syntactic Structures, marking a major advancement


in the study of linguistics. The book helps spawn the field of psycholinguistics,
the psychology of language.
o Leon Festinger proposes his theory of 'Cognitive Dissonance' and later
became an influence figure in Social Psychology.

1958 o Harry Harlow publishes The Nature of Love, which describe his experiments
with rhesus monkey's on the importance of attachment and love.
o Joseph Wolpe writes Psychotherapy by Reciprocal Inhibition, helping to launch
field of behavior therapy.
o Herbert Simon presents his views on information processing theory. He wins
Nobel Prize (in economics) for research on cognition in 1978.
o Fritz Heider proposes attribution theory.

1959 Leon Festinger and Carlsmith publish their study Cognitive consequences of
forced compliance.
146

1960 o The FDA approves the use of chlordiazepoxide (known as Librium) for
treatment of non-psychotic anxiety in 1960. A similar drug, diazepam (Valium),
is approved in 1963.
o A new revision of Stanford-Binet
o Visual cliff experiment on depth perception conducted by Eleanor Gibson.
o George Sperling performs classic experiments on iconic memory.
1961 o John Berry introduces the importance of cross-cultural research bringing
diversity into the forefront of psychological research and application.
o Carl Rogers publishes 'On Becoming a Person,' marking a powerful change in
how treatment for mental health issues is conducted.
o Muzafer Shearif conducts the “Robbers Cave Experiments”.
1962 o The serial position effect discovered by memory researcher Bennett Murdock.
o Cognitive arousal theory of emotion proposed by Schachter and Singer.
1963 o Community Mental Health Centers Act passed
U.S. President John F. Kennedy calls for and later signs the Community Mental
Health Centers Act, which mandates the construction of community facilities
instead of large, regional mental hospitals. Congress ends support for the
program in 1981, reducing overall funds and folding them into a mental health
block-grant program.
o Lawrence Kolberg introduces his ideas for the sequencing of morality
development.
o Albert Bandura first describes the concept of observational learning to explain
personality development.
o Albert Bandura along with Richard Walters, writes Social Learning and
Personality Development, in which he describes the effect of observational
learning on personality development.
o Stanley Milgram publishes the article "Behavioral Study of Obedience".
147

1964 o Neal E. Miller is the first psychologist to be awarded the National Medal of
Science, the highest scientific honor given in the United States, for his studies
of motivation and learning.
o The FDA approves lithium carbonate to treat patients with bipolar mood
disorders. It is marketed under the trade names Eskalith, Lithonate, and
Lithane.
o Roger Sperry publishes his split brain research. He wins Nobel Prize (in
physiology and medicine) for split-brain studies in 1981.
1965 o Stanley Milgram conducts highly controversial study of obedience and
disobedience to authority, which many consider the most famous single study
in psychology.
o Gate control theory proposed by Melzack and Wall.
1966 Masters and Johnson discover four stages of sexual response cycle.
1967 o Aaron Beck publishes The Diagnosis and Management of Depression. A
psychological model of depression suggesting that thoughts play a significant
role in the development and maintenance of depression.
o Ulric Neisser writes Cognitive Psychology; helps to launch field of cognitive
psychology.
o Seligman demonstrates learned helplessness in dog.
o Holmes and Rahe create the Social Readjustment Rating Scale.

1968 o DSM II is published by the American Psychiatric Association.


o First Doctor of Psychology (Psy.D.) professional degree program in Clinical
Psychology was established in the Department of Psychology at The University
of Illinois - Urbana/Champaign.
o Bibb Latane and John Darley identify the five decision points in helping
behavior.
o Roger Sperry demonstrates hemispheric specialization with split-brain
patients.
148

1969 o Joseph Wolpe published 'The Practice of Behavior Therapy.'


1970 o Mary Ainworth demonstrates the importance of attachment in the social
development of children.
1971 o George Miller publishes an article The Magical Number Seven, Plus or Minus
Two: Some limits on our capacity for processing information.
o First Doctorate in Psychology (Psy.D.) awarded from The University of Illinois -
Urbana/Champaign.
o B.F. Skinner publishes Beyond Freedom and Dignity.
o Phillip Zimbardo and colleagues conduct the “Stanford Prison Study”.
o American sociologist Adrian Dove creates the “Dove Counterbalance General
intelligence Test” (later known as the Chitling test).
1973 o The American Psychiatric Association removes homosexuality from the
Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM). It is revised to
state that sexual orientation "does not necessarily constitute a psychiatric
disorder."
o APA endorsed the Psy.D. for professional practice in psychology.
o Stanford-Binet is renormed.
o Flora Rheta Schreiber publishes the book Sybil, detaililng the life of a women
with multiple personality disorder.
1974 o Stanley Milgram publishes Obedience to Authority, which presented the
findings of his famous obedience experiments.
o A new brain scanning technique, Positron Emission Tomography (PET), is
tested. By tracing chemical markers, PET maps brain function in more detail
than earlier techniques.
o Elizabeth Loftus and Robert Palmer publish classic paper on the malleability of
human memory, showing that memory is more reconstructive than previously
believed.
o Freidman and Roseman discover link between heart disease and Type-A
personality.
149

o Memory researchers Tulving and Thomson demonstrate encoding specificity.


o Eleanor Maccoby and Carol Jacklin publish their landmark review of research
on gender differences, which galvanizes research in this area.
1976 o Richard Dawkins publishes The Selfish Gene, which begins to popularize the
idea of evolutionary psychology. This approach applies principles from
evolutionary biology to the structure and function of the human brain. It offers
new ways of looking at social phenomena such as aggression and sexual
behavior.
o Founding of Committee for the Scientific Investigation of Claims of the
Paranormal, first major organization to apply scientific skepticism to
paranormal claims.
o Hans Selye proposes the General Adaptation.
1977 o First use of statistical technique of meta-analysis, which allows researchers to
systematically combine results of multiple studies; demonstrated that
psychotherapy is effective.
o The stress-vulnerability model of schizophrenia was proposed by Zubin and
Spring.
o Hobson and McCarley propose the activation synthesis hypothesis.
o Thomas and Chess discover different types of infant temperament.
1978 Elizabeth Loftus puts into question the validity of eyewitness testimony with
discovery of misinformation effect.
1979 o Standardized IQ tests found discriminatory
The U.S. District Court finds the use of standardized IQ tests in California
public schools illegal. The decision in the case, Larry P. v. Wilson Riles,
upholds the plaintiff's position that the tests discriminate against African
American students.
o Mary Ainsworth uses the Strange Situation to study infant attachment styles.
1980 o DSM III is published by the American Psychiatric Association.
150

o David Hubel & Torsten Wiesel win the Nobel Prize for their work identifying
cortical cells that respond to specific events in the visual field.
o Folkman and Lazarus introduce the concepts of problem-focused and
emotion-focused coping.

1981 o AIDS and HIV first diagnosed


The epidemic of acquired immunodeficiency syndrome (AIDS) and human
immunodeficiency virus (HIV) infection present mental health professionals with
challenges ranging from at-risk patients' anxiety and depression to AIDS-
related dementia.
o David Wechsler begins to devise IQ tests for specific age groups.
1982 Suzanne Kobasa proposes his theory of multiple intelligences.
1983 Howard Gardner (professor at Harvard University) introduced his theory of multiple
intelligence, arguing that intelligence is something to be used to improve lives not
to measure and quantify human beings.

1985 Robert Sternberg proposes the Triarchic theory of intelligence.


1984 Insanity Defense Reform Act passed
U.S. Congress revises federal law on the insanity defense, partly in response to the
acquittal of John Hinckley, Jr. of charges of attempted assassination after he had
shot President Ronald Reagan. The act places burden of proof for the insanity
defense on the defendant.
1986 Robert Sternberg proposes the triangular theory of love.
1987 o Homeless Assistance Act passed
The Stewart B. McKinney Homeless Assistance Act provides the first federal
funds allocated specifically for the homeless population. The act includes
provisions for mental health services, and responds, in part, to psychological
studies on homelessness and mental disorders.
o Prozac, Paxil, and Zoloft made available
The FDA approves the new anti-depressant medication fluoxetine, (Prozac).
151

The drug, and other similar medications, acts on neurotransmitters,


specifically, serotonin. It is widely prescribed and attracts attention and
debate.
o Anna Anastasi Author of the classic text on psychological testing, as well as
numerous articles on psychological testing and assessment and is awarded
the National Medal of Science.
o Gender schema theory of gender role development proposed by Sandra Bem.
1988 American Psychological Society is established.
1990 o Cultural psychology
In Acts of Meaning, Four Lectures on Mind and Culture, Jerome Bruner helps
formulate cultural psychology, an approach drawing on philosophy, linguistics,
and Anthropology. Refined and expanded by Hazel Markus and other
researchers, cultural psychology focuses on the influences and relationship
among mind, cultural community and behavior.
o Noam Chomsky publishes On Nature, Use and Acquisition of Language.
o The emergence of managed care prompts the APA to become more political,
leading to the idea of Prescribing Psychologists and equity in mental health
coverage.
o Thomas Bouchard and colleagues publish major results of Minnesota Study of
Twins Reared Apart, demonstrating substantial genetic bases for intelligence,
personality, interests, and other important individual differences.
1991 o Steven Pinker publishes an article in Science introducing his theory of how
children acquire language, which he later details further in his book The
Language Instinct.
o Stress researcher Richard Lazarus develops his cognitive-mediational theory.
1992 Eleanor Gibson awarded the National Medal of Science for her lifetime of research
on topics such as depth perception and basic processes involved with reading.
1994 DSM IV is published by the American Psychiatric Association.
152

1995 o First Psychologists prescribe medication through the U.S. military's


psychopharmacology program.
o Task force of Division 12 (Society of Clinical Psychology) of American
Psychological Association publishes list of, and criteria for, empirically
supported psychotherapies.
o Goleman proposes idea of emotional intelligence.
o Mischel and Shoda propose the concept of trait-situation interactions in the
study of personality.
1996 McCrae and Costa propose the Big Five Personality dimensions.
1997 o Deep Blue, the supercomputer at the time, beats the World's best chess
player, Kasparov, marking a milestone in the development of artificial
intelligence.
o Robert Ellis proposes rational emotive behavioral therapy.
o Elisabeth Kubler-Ross outlines the stages of death and dying from studies of
terminally ill patients.
1998 o Psychology advances to the technological age with the emergence of e-
therapy.
o Martin Seligman is elected President of the American Psychological
Association . Seligman focuses on Positive Psychology. He is widely viewed as
the father of contemporary positive psychology.
1999 Psychologists in Guam gain prescription privileges for psychotropic medication.
2000 o Sequencing of the Human Genome
Sixteen public research institutions around the world complete a "working draft"
mapping of the human genetic code, providing a research basis for a new
understanding of human development and disease. A similar, privately funded,
project is currently underway.
o DSM IV-TR is published by The American Psychiatric Association.
The latest revision of the Diagnostic Statistical Manual of Mental Disorders
(DSM) is published in a version for personal digital assistants (PDAs).
153

o Genetic researchers finish mapping human genes. Scientists hope to one day
isolates the individual genes responsible for different diseases.

2002 o New Mexico becomes the first state to pass legislation allowing licensed
psychologists to prescribe psychotropic medication.
o The push for mental health parity gets the attention of the White House as
President George W. Bush promotes legislation that would guarantee
comprehensive mental health coverage.
o Steven Pinker publishes The Blank Slate, arguing against the concept
of tabula rasa.
o the first International Conference on Positive Psychology
o Daniel Kahneman becomes first Ph.D. psychologist to win Nobel Prize;
honored for his pioneering work (with late Amos Tversky) on biases and
heuristics.
o The American Psychological Association’s Council of Representatives adopted
the APA Ethics Code during its meeting on Aug. 21, 2002. The Code became
effective on June 1, 2003.
2004 APS members vote to change name to Association for Psychological Science.
2009 The first World Congress on Positive Psychology is held in Philadelphia.
2010 APA’s Council of Representatives amended the 2003 Ethics Code on Feb. 20,
2010, became effective June 1, 2010,
2013 DSM V is published by the American Psychiatric Association.
2017 The second amendment APA ethic code on Aug. 3, 2016, became effective Jan. 1,
2017.

You might also like