You are on page 1of 76

วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

Evolution of Organisms

ดร.ประวีรณ์ สุพรรณอ่วม
สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Email: supanuam@hotmail.com
1
ความหมายของวิวัฒนาการ
• วิวัฒนาการทางชีววิทยา (biological evolution) คือ กระบวนการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับลักษณะทางพันธุกรรมในประชากรของ
สิ่งมีชีวิต สืบทอดจากรุ่นบรรพบุรุษ (ancestor) สู่รุ่นลูกหลาน
(descendent) ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอันยาวนาน และยังคง
ดาเนินต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
• การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมนี้อาจส่งผลต่อมองเห็นได้จาก
ภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยา พฤติกรรม
หรืออาจมองไม่เห็น เช่น การเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอ ชีวเคมี
โครโมโซม
2
ความหมายของวิวัฒนาการ
• การศึกษาวิวัฒนาการสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ
โดยใช้สปีชีส์เป็นเกณฑ์ คือ
• วิวัฒนาการระดับจุลภาค (microevolution) ซึ่งเป็นการศึกษาการ
เปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นภายในกลุม่ ประชากรของ
สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียว (ระดับต่ากว่าสปีชีส์)
• วิวัฒนาระดับมหภาค (macroevolution) ซึ่งเป็นการศึกษาการเกิด
สิ่งมีชีวิตสปีชีใหม่ (speciation) หรือวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่
เป็นกลุ่มๆ (เหนือกว่าสปีชีส์)

3
ประวัติการศึกษาและแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
• อริสโตเติล (Aristotle, 384-322 ปีก่อนคริสตศักราช) นักปรัชญา
ชาวกรีก กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้น มีลักษณะเฉพาะเจาะจง
และไม่มีการเปลี่ยนแปลง
• คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus, ค.ศ. 1707-1778) นักธรรม
ชาติวิทยาชาวสวีเดน กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีลักษณะถาวร
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
• ฌอง ลามาร์ก (Jean Baptist de Lamarck, ค.ศ. 1744-1829)
นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นบุคคลแรกที่ตั้งทฤษฎี
เกี่ยวกับการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

4
แนวคิดของลามาร์ก
• 1) กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse) “อวัยวะใดที่ใช้
อยู่เสมอๆ บ่อยๆ ย่อมขยายใหญ่ เจริญเติบโตดี อวัยวะใดที่ไม่
ใช้จะค่อยๆลดขนาดลง อ่อนแอลง และเสื่อมสลายหายไปใน
ที่สุด” เช่น คอของยีราฟ ขาหลังของงูเหลือม ตีนของนกน้า
• 2) กฎการถ่ายทอดลักษณะที่ได้มาใหม่ (Law of inheritance of
acquired characters) มีสาระสาคัญดังนี้ “ลักษณะที่ได้มาใหม่
หรือสูญเสียไปจากการใช้และไม่ใช้จะคงอยู่และสามารถถ่ายทอด
ไปยังรุ่นลูกหลานต่อไปได้”

5
ประวัติการศึกษาและแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
• ออกัส ไวส์แมน (August Weismann, ค.ศ. 1834-1914) นักธรรม
ชาติวิทยาชาวเยอรมัน ได้เสนอความคิดค้านทฤษฎีของลามาร์ค
โดยกล่าวว่าลักษณะที่ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้นั้นจะต้องเกิด
จากเซลล์สืบพันธุ์ มิใช่จากเซลล์ร่างกาย
• ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin, ค.ศ. 1809-1882) เป็นนัก
ธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เป็นบิดาแห่งวิชาวิวัฒนาการ เดินทาง
สารวจทางธรรมชาติไปกับเรือเดินสมุทร H.M.S. Beagle รอบโลก
เสนอแนวคิดการคัดเลือกทางธรรมชาติ (natural selection)
ร่วมกับวอลเลซ
6
Carolus Jean
Linnaeus Lamarck
ค.ศ. 1707- ค.ศ. 1744-
1778 1829

August Alfred
Weismann Wallace
ค.ศ. 1834- ค.ศ. 1823-
1914 1913

7
ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin)
• บริเวณที่มีความสาคัญต่อแนวคิดของดาร์วินมากที่สุด คือ หมู่
เกาะกาลาปากอส (Galapagos)
• ดาร์วนิ พบว่านกฟินช์ในหมู่เกาะกาลาปากอสที่มีลักษณะของ
จะงอยปากแตกต่างกันถึง 13 สปีชีส์ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่
กิน เช่น นกฟินช์ที่กินแมลงจะมีจะงอยปากแคบและแหลม นก
ฟินช์ที่กินเมล็ดจะมีจะงอยปากขนาดใหญ่ขณะที่นกฟินช์ที่กิน
แคคตัสจะมีจะงอยปากยาวและคม
• ดาร์วนิ จึงเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปร่างไป
เพื่อให้เหมาะกับการดารงอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน
8
การเดินทางของชาลส์ ดาร์วิน

9
นกฟินช์บนหมู่เกาะกาลาปากอส

10
ทฤษฎีการคัดเลือกทางธรรมชาติ (Natural Selection)
• 1. สิ่งมีชีวิตมีความสามารถในการสืบพันธุ์สูง หากทุกตัวมีโอการผลิต
ลูกหลานเท่ากัน จะทาให้จานวนประชากรเพิ่มแบบทวีคูณ
• 2. ในธรรมชาติประชากรสิ่งมีชีวิตมีจานวนจากัด เพราะมีปัจจัยจากัด
• 3. สิ่งมีชีวิตแต่ละตัวในประชากรมีความผันแปร (variation) ของ
ลักษณะต่างๆ
• 4. สิ่งมีชีวิตจะต้องมีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด (straggle for survival)
โดยสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมจะอยู่รอด
• 5. สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมจะถูกคัดเลือก (selection) ไว้ และ
ถ่ายทอดลักษณะที่เหมาะสมให้ลูกหลาน ส่วนลักษณะที่ไม่เหมาะสม
จะสูญพันธุ์ไป
11
12
ตัวอย่างที่เป็นไปตามทฤษฏีการคัดเลือกทางธรรมชาติ
• 1. ปรากฏการณ์ Industrial melanism ในผีเสื้อกลางคืนเปปเปอร์
Biston betularia ในประเทศอังกฤษ ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

13
ตัวอย่างที่เป็นไปตามทฤษฏีการคัดเลือกทางธรรมชาติ
• 2. การดื้อสารฆ่าแมลง (DDT) ของแมลงศัตรูพืช
• ในสมัยอดีต (ค.ศ. 1939-1972) มีการใช้สารฆ่าแมลงจาพวก DDT
อย่างแพร่หลาย
• ในช่วงแรกที่มีการใช้สารฆ่าแมลงทาให้แมลงตายลงเกือบทั้งหมด
แต่ก็มีแมลงบางส่วนไม่ตายและอยู่รอดได้ เนื่องจากมียีน
ต้านทานยาฆ่าแมลง
• ดังนั้นพวกที่มียีนต้านทานยาฆ่าแมลงจึงสามารถสืบพันธุต์ ่อไปได้
ทาให้แมลงรุ่นต่อมามีแต่แมลงที่มียนี ต้านสารฆ่าแมลงทั้งหมด

14
ตัวอย่างที่เป็นไปตามทฤษฏีการคัดเลือกทางธรรมชาติ
• 3. ความสัมพันธ์ของโรคมาลาเรียและโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
สภาพเฮทเทอโรไซกัส (Aa) จะถูกคัดเลือกไว้ เพราะเด่นแท้ (AA)
จะตายเพราะมาลาเรีย ส่วนด้อยแท้ (aa) จะตายเพราะเม็ดเลือด
แดงรูปเคียว

มักเกิดกับ linked genes 15


ทฤษฎีการกาเนิดสิ่งมีชีวิต
–Special creation – สิ่งมีชีวิตเกิดจากการสร้างสรรค์
–Cosmozonic theory - สิ่งมีชีวิตเกิดจากดาวอื่น
–Spontaneous generation – สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเอง
–Biogenesis – สิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
–Chemical evolution– สิ่งมีชีวิตเกิดจากการ
วิวัฒนาการของสารเคมีในธรรมชาติ

16
Special Creation
สิ่งมีชีวิตเกิดจากอานาจนอกเหนือธรรมชาติ

17
Cosmozoic Theory
สิ่งมีชีวิตเกิดจากสปอร์จากดาวอื่น
ทฤษฎี Pansperma กล่าวว่า “สิ่งมีชีวิตเริ่มแรกมาจากนอกโลกใน
ลักษณะสปอร์ที่มาจากดาวเคราะห์ดวงอื่น สปอร์ดังกล่าวถูกส่ง
มายังโลกด้วยแรงขับของแสง”

อุกกาบาต ALH84001 ที่มาจากดาวอังคารมีนาโนแบคทีเรียขนาดเล็กอาศัยอยู่ 18


Spontaneous Generation
สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เอง
• Aristotle (Greek)

“Spontaneous Generation: หนอนเกิดมาจากเนื้อเน่า”

• Jean Van Helmont (Belgium)

“หนูเกิดจากเสื้อผ้าเก่าและข้าวสาลี”
19
Biogenesis
สิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งมีชีวิต (ตรงกันข้ามกับ spontaneous generation)

ภาพแสดงลูกนกที่เกิดมาจากพ่อแม่นก 20
Chemical evolution

สิ่งมีชีวิตเกิดจากวิวัฒนาการของสารเคมี
• Oparin (Russian): 1924 & Haldane (English: 1966)

“สิ่งมีชีวิตชนิดแรกบนโลกน่าจะมีต้นกาเนิด
มาจากโมเลกุลของอินทรีย์สารในทะเล”
“Chemical evolution”

21
Chemical evolution (cont.)
• Stanley Miller (American)

CH4, H2, NH3, H2O

กรดอะมิโน กรดไขมัน
และเบสอินทรีย์
22
Chemical evolution (cont.)
• Kelvin (German: 1961)

- ทดลองเช่นเดียวกับมิลเลอร์แต่ผ่านด้วยรังสีแกมม่า

-โมเลกุลน้าตาล กรดอะมิโน สารที่เป็นองค์ประกอบ


ของกรดนิวคลีอิก
- ส่วนประกอบสาคัญภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

23
การทดลองที่สนับสนุนวิวัฒนาการทางเคมี
• Sidney Fox (1958) ทดลองให้ความร้อน 60 oC แก่
สารละลายกรดอะมิโน แล้วปล่อยให้เย็นตัวลง พบว่าได้
พอลิเมอร์คล้ายโปรตีน จึงเรียกว่าโปรตีนอยด์ (protenoid)
ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายเอนไซม์
• สันนิษฐานว่าในโลกยุคแรกเริ่มโปรตีนอยด์อาจเกิดจาก
กรดอะมิโนรวมตัวกันในที่ที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ภูเขาไฟ
ระเบิด เมื่อมีฝนตกลงมาทาให้เย็นตัวลง และเกิด
โครงสร้างดังกล่าว
24
การทดลองที่สนับสนุนวิวัฒนาการทางเคมี
• Oparin ได้ทาการทดลองสร้างอนุภาคทรงกลมที่เรียกว่า
“โคอะเซอเวต (coacervate)” เกิดจากการรวมกันของสาร
ชนิดเดียวกันหรือสารที่มีประจุขั้วตรงข้าม
• เกิดโครงสร้างคล้ายเยื่อหุ้มเซลล์ มีคุณสมบัติคล้ายเซลล์
สิ่งมีชีวิต
• สามารถนาอาหารเข้าสู่อนุภาคได้ มีปฏิกิริยาชีวเคมี
ภายใน และเพิ่มขนาดได้

25
การเกิด Coacervate การเกิด Protocell 26
สรุปการเกิดวิวัฒนาการทางเคมีของโลก
• ระยะที่ 1 สารอนินทรีย์ในโลกยุคแรกเริ่ม CH4, H2, H2O, NH3
• ระยะที่ 2 เกิดสารอินทรีย์ขนาดเล็ก เช่น น้าตาล กรดอะมิโน กรด
ไขมัน กลีเซอรอล ไนโตรจีนัสเบส
• ระยะที่ 3 เกิดสารอินทรีย์ขนาดใหญ่ (พอลิเมอไรเซชั่น) เช่น
โปรตีน โพลีแซคคาไรด์ ไขมัน กรดนิวคลีอิก
• ระยะที่ 4 เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกรดนิวคลีอิกและโปรตีน และ
เกิดนิวคลีโอโปรตีน ไขมันมาห่อหุ้มกลายเป็นโคอะเซอเวต
• ระยะที่ 5 เกิดกระบวนการคัดเลือกได้โพรโทเซลล์ (protocell) ซึ่ง
เป็นบรรพบุรุษของโพรแคริโอต
27
หลักฐานทางวิวัฒนาการ
• 1. หลักฐานจากซากดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต
• ซากดึกดาบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) คือ ซากหรือร่องรอยของ
สิ่งมีชีวิตที่ได้ถูกทับถมอยู่ในหินยุคต่าง ๆ อาจปรากฏเป็น
รอยเท้า รอยพิมพ์ เปลือกแข็งหรือกระดูกของสิ่งมีชีวิต รวมถึง
ซากในน้าแข็ง หรือซากในอาพัน (amber) ที่มีอายุหมื่นปีขึ้นไป

28
ซากไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าวสมบูรณ์ที่สุดใน SE Asia

29
ซากดึกดาบรรพ์ Archeaopteryx

30
• 2. หลักฐานจากกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ
(comparative anatomy)

จุดกาเนิดเดียวกันแต่ทาหน้าที่ต่างกัน จุดกาเนิดต่างกันแต่ทาหน้าที่เดียวกัน

สัตว์ที่มีโครงสร้างแบบโฮโมโลกัสจะมีความใกล้ชิด ตามสายวิวัฒนาการมากกว่า
ในพวกที่มีโครงสร้างแบบอะนาโลกัส 31
หลักฐานทางวิวัฒนาการ
• 2. หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ (comparative anatomy) (ต่อ)
• โครงสร้างเหลือค้าง (vestigial structure) อวัยวะบางอย่างในร่างกาย
ของสัตว์ไม่ได้ทาหน้าที่แล้ว แต่ยังคงเหลือเป็นซากเล็ก ๆ เป็นสิ่งที่
แสดงร่องรอยของอวัยวะที่มาจากบรรพบุรุษ เช่น กระดูกขาของงู ขา
หลังของวาฬ ไส้ติ่งของคน และกระดูกหางของคน

32
หลักฐานทางวิวัฒนาการ
• 3. หลักฐานจากเอ็มบริโอเปรียบเทียบ (comparative embryology)
• สิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กันจึงมีรูปแบบการพัฒนาของตัวอ่อนที่
คล้ายกัน การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตจะซ้ารอยวิวัฒนาการ
เพียงแต่ดัดแปลงเวลาให้สั้นลง
• ลักษณะการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในขั้นต่างๆ สะท้อนให้เห็น
ลักษณะของบรรพบุรุษในอดีต เช่น เอ็มบริโอของปลา กบ เต่า
นก และคน จะมีลักษณะเหมือนกันในขั้นแรก คือ มีช่องเหงือก
และหาง จนระยะต่อมาจึงมีการพัฒนาที่แตกต่างกัน

33
34
หลักฐานทางวิวัฒนาการ
• 5. หลักฐานจากชีวภูมิศาสตร์ (biogeography) เป็นการศึกษาการ
แพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดบริเวณต่างๆ ในแต่ละทวีป
• เพราะแต่ละบริเวณจะมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศแตกต่าง
กัน สิ่งมีชีวิตจึงมีการปรับตัวและการกระจายตัวไม่เหมือนกัน

35
• สมาน

36
หลักฐานทางวิวัฒนาการ
• 5. หลักฐานทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลและโครโมโซม
(molecular biology and chromosome)
• โครโมโซมมีภายในมีดีเอ็นเอที่เป็นสารพันธุกรรมซึ่งจะถ่ายทอด
ออกมาเป็นอาร์เอ็นเอ และโปรตีนตามลาดับ จะเป็นตัวกาหนด
ลักษณะฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิต
• ความเหมือนหรือความแตกต่างของโครโมโซม ลาดับเบสในดี
เอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ ลาดับกรดอะมิโนของโปรตีน สามารถใช้
บ่งชี้ถึงความใกล้ชิดกันทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้

37
38
39
หลักฐานทางวิวัฒนาการ
• 6. หลักฐานจากการปรับปรุงพันธุพ ์ ืชและสัตว์ (plant and animal
breeding)
• การผสมพันธุ์เพื่อการคัดเลือกหรือปรับปรุงพันธุ์พชื หรือสัตว์ของ
มนุษย์ ก่อให้เกิดพืชและสัตว์ชนิดที่มีลักษณะแปลกแตกต่างไป
จากพันธุ์ดั้งเดิม
• เช่น พืชพวกกะหล่าปลีและบรอคเคอรี่ เกิดจาก wild mustard
• สุนัขพันธุ์ต่างๆ เกิดจากการปรับปรุงพันธุจ์ ากหมาป่า

40
41
42
กลไกการเกิดวิวัฒนาการระดับจุลภาค
• วิวัฒนาการระดับจุลภาคเป็นวิวัฒนาการที่เกิดในระดับ
พันธุกรรมในกลุ่มประชากร ทาให้เกิดความผันแปรทาง
พันธุกรรม เมื่อเกิดขึ้นและสะสมความผันแปรมากพอจะทาให้
เกิดสปีชีส์ใหม่ได้
• กลไกการเกิดวิวัฒนาการระดับจุลภาค ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง
พันธุกรรมอย่างฉับพลัน (genetic drift) การอพยพ (migration)
การกลาย (mutation) การคัดเลือกทางธรรมชาติ (natural
selection) การผสมพันธุ์ที่ไม่เป็นแบบสุ่ม (non-random mating)
และการคัดเลือกทางเพศ (sex selection)
43
กลไกการเกิดวิวัฒนาการระดับจุลภาค
• 1. การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมอย่างฉับพลัน (genetic drift)
• การทีป่ ระชากรมีการเปลี่ยนแปลงยีนหรืออัลลีลแบบกะทันหัน
ทาให้ยีนพูล (gene pool ยีนทั้งหมดในประชากร) สูญหายไปมาก
ความหลากหลายพันธุกรรมลดลง แบ่งเป็น
• 1.1 พันธุกรรมคอขวด (genetic bottleneck) เป็นการเปลี่ยนแปลง
อันเนื่องมาจากการลดจานวนของประชากรอย่างรวดเร็ว รุนแรง
และฉับพลัน โดยอาจมีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติ หรือการล่า
อย่างมากมายของมนุษย์ เช่น เสือชีต้า แมวน้าช้าง

44
45
กลไกการเกิดวิวัฒนาการระดับจุลภาค
• 1.2 ปรากฏการณ์ผู้ก่อตั้ง (founder effect) สิ่งมีชีวิตบางส่วนของ
ประชากรแยกไปตั้งถิ่นฐานและสร้างประชากรใหม่ เช่น การตั้ง
ถิ่นฐานบนเกาะ พบในแมลง นกฟินช์ ชาวฟินแลนด์

46
• 2. การอพยพ (migration)
• ทาให้เกิดการถ่ายเทยีน หรือยีนโฟลว์ (gene flow) ทาให้
ประชากรมีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากขึ้น

47
กลไกการเกิดวิวัฒนาการระดับจุลภาค
• 3. การกลาย (mutation) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึน้ ใน
ระดับยีนเกิดอัลลีลใหม่ เช่น การกลายของพันธุกรรมหมู่เลือด
ABO ในอดีตมีเพียง 2 อัลลีล ปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาเป็น 3 อัลลีล
• การกลายระดับโครโมโซมอาจทาให้สิ่งมีชีวิตที่เกิดการกลายไม่
สามารถผสมพันธุ์กับกลุ่มประชากรเดิมได้ หรือลูกผสมเป็นหมัน
• 4. การคัดเลือกทางธรรมชาติ (natural selection) เป็นการ
คัดเลือกลักษณะที่ไม่เหมาะสมออกจากประชากร ส่วนลักษณะที่
เหมาะสมกว่าจะถูกคัดเลือกไว้ และมีความถี่ของอัลลีลเพิ่มขึ้น
เรื่อยๆ เมื่อระยะเวลาผ่านไปจะทาให้ประชากรได้ลักษณะใหม่
48
กลไกการเกิดวิวัฒนาการระดับจุลภาค
• 5. การผสมพันธุ์ที่ไม่เป็นแบบสุ่ม (non-random mating) และการ
คัดเลือกทางเพศ (sex selection) เป็นการเลือกคู่ผสมพันธุ์
สมาชิกบางตัวที่ลักษณะไม่เหมาะสมมีโอกาสในผสมพันธุ์น้อย
กว่าตัวอื่น ทาให้อัลลีลบางตัวลดลงหรือหายไป
• ลักษณะที่เพศตรงข้ามชอบจะถูกคัดเลือกไว้
• เช่น นกยูงตัวเมียเลือกตัวผู้ที่มีแพนหางสวยงามที่สุดในการผสม
พันธุ์ วาฬตัวเมียเลือกตัวผู้ที่ร้องเสียงได้ดังที่สุดและตัวใหญ่ที่สุด
ในการผสมพันธุ์
• การคัดเลือกโดยมนุษย์ เช่น การผสมพันธุ์เพื่อคัดเลือกสีของ
ดอกไม้ที่ต้องการ
49
50
ความหมายของสปีชีส์
• วิวัฒนาการระดับมหภาค เป็นการศึกษาการเกิดสิ่งมีชวี ิตสปีชีส์
ใหม่ โดยนักชีววิทยาให้คาจากัดความของคาว่าสปีชีสไ์ ว้หลาย
แนวคิด ดังนี้
• 1. ความหมายของสปีชีส์ทางชีววิทยา (biological species
concept) สิ่งมีชีวิตทีเ่ ป็นสปีชีส์เดียวกันจะต้องสามารถสืบพันธุ์กัน
ได้ และลูกที่เกิดจะต้องไม่เป็นหมัน
• 2. ความหมายของสปีชีส์ทางสัณฐานวิทยา (morphological
species concept) สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะรูปร่าง สัณฐานภายนอก
และโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ใกล้เคียงกันหรือเหมือนกัน
จะเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน 51
กลไกการแยกกันทางการสืบพันธุ์
• จากนิยามของสปีชีส์ที่ได้รับการย้อมรับมากที่สุดคือ biological
species concept
• สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันเท่านั้นจึงจะสามารถสืบพันธุ์ให้ลูกหลาน
ออกมาได้ และมียีนโฟลว์ระหว่างกัน
• ส่วนสิ่งมีชีวิตคนละชนิดไม่สามารถเกิดยีนโฟลว์ระหว่างกันได้
เพราะมีกลไกการแยกกันทางการสืบพันธุ์ (reproductive isolation
mechanism, RIM) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ Pre-zygotic
and Post-zygotic isolation mechanism

52
• Pre-zygotic and Post-zygotic isolation mechanism
Prezygotic barriers impede mating or hinder fertilization if mating does occur

Habitat Temporal Behavioral Mechanical


isolation isolation isolation isolation

Individuals
Mating
of different attempt
species

HABITAT ISOLATION TEMPORAL ISOLATION BEHAVIORAL ISOLATION MECHANICAL ISOLATION


(g)
(b)

(d)

(e)
(f)
(a)
(c)

ที่อยู่อาศัย ช่วงเวลา พฤติกรรม เชิงกล/อวัยวะ53


Gametic Reduce Reduce Hybrid
Post-zygotic
isolation hybrid hybrid breakdown
viability fertility
Viable
Fertilization fertile
offspring

GAMETIC ISOLATION REDUCED HYBRID REDUCED HYBRID FERTILITY HYBRID BREAKDOWN


VIABILITY (k)

(j)
(m)

(l)
(i)
(h)

เซลล์สืบพันธุ์ ตายก่อนสืบพันธุ์ เป็นหมัน อ่อนแอลงเรื่อยๆ


54
รูปแบบการเกิดวิวัฒนาการ
• 1. วิวัฒนาการสายตรง (phyletic evolution, anagenesis) เป็น
วิวัฒนาการที่เกิดโดยสปีชีส์หนึ่งค่อยๆ เปลี่ยนแปลงและ
วิวัฒนาการไปเป็นสปีชีส์ใหม่ โดยจานวนสปีชีส์ยังคงเดิม ไม่มี
การเพิ่มขั้น จากหนึง่ สปีชีส์ได้เพียงหนึง่ สปีชีส์
• 2. วิวัฒนาการแบบแยกแขนง (branching evolution,
cladogenesis) เป็นวิวัฒนาการที่เกิดโดย สปีชีส์มีการ
เปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการไปเป็นสปีชีส์ใหม่ๆ เป็นจานวนมาก
จากหนึ่งสปีชีส์จะได้หลายสปีชีส์

55
56
รูปแบบการเกิดสปีชีส์ใหม่
• 1. การเกิดสปีชีส์ใหม่โดยการแยกกันทางภูมิศาสตร์ (Allopatric
speciation) คือ มีประชากรกลุ่มเดียวกันถูกแยกจากกันด้วย
สภาพทางภูมิศาสตร์ เช่น แม่น้า ภูเขา เกาะ หรือหุบเหว
• 2. การเกิดสปีชีส์ใหม่ในเขตภูมิศาสตร์เดียวกัน (sympatric
speciation) คือ ประชากรกลุ่มเดียวกันเกิดการกลาย เช่น การ
กลายของดีเอ็นเอหรือโครโมโซมจนไม่สามารถสืบพันธุไ์ ด้ ทาให้
ประชากรกลุ่มใหม่ไม่สามารถผสมพันธุ์กับประชากรกลุ่มเดิมได้
(geneflow blocking) จนกลายเป็นสปีชีส์ใหม่ขึ้นมา

57
58
รูปแบบวิวัฒนาการ
• 3. วิวัฒนาการแบบลู่เข้า (convergent evolution)
• สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์ ไม่มีความสัมพันธ์กันทางบรรพบุรุษ แต่มาอยู่
ในสภาพแวดล้อมที่คล้ายกัน จึงวิวัฒนาการให้มีโครงสร้าง
คล้ายกัน เช่น โลมา เพนกวิน อิคทิโอซอร์ ฉลาม มีโครงสร้าง
คล้ายกัน กระบองเพชร สลัดได
• 4. วิวัฒนาการคู่ขนาน (parallel evolution)
• สิ่งมีชีวิตสองกลุ่ม มีบรรพบุรุษต่างกัน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่
คล้ายกัน จึงวิวัฒนาการให้มีโครงสร้างคล้ายกัน เช่น Marsupials
VS Eutherians มีลักษณะคล้ายกันเป็นคู่ๆ
59
รูปแบบวิวัฒนาการ
• 5. วิวัฒนาการร่วม (coevolution)
• สิ่งมีชีวิต 2 สปีชีส์ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน เมื่อมีสปีชีส์หนึ่ง
เปลี่ยนแปลงไป อีกสปีชีส์ก็มีการเปลี่ยนแปลงตาม เช่น ดอกไม้
กับตัวผสมเกสร เหยื่อและผู้ล่า เจ้าบ้านและปรสิต

63
วิวัฒนาการของมนุษย์
• มนุษย์มีสายวิวัฒนาการมาจากสัตว์กลุ่มไพรเมต (primates)
• ลักษณะสาคัญคือ สมองเจริญดี มีพฤติกรรมทางสังคมที่ซับซ้อน
มีเล็บ นิ้วหัวแม่มือตั้งฉากกับนิ้วอื่น และงอหาอุ้งมือได้ ตาอยู่
ด้านหน้า มองเห็นภาพสามมิติได้ดี
• สัตว์ในกลุ่มไพรเมต ได้แก่ ลีเมอร์ ทาร์เซียร์ ลิงลม ลิง ค่าง ชะนี
อุรังอุตัง กอริลล่า ชิมแพนซี และมนุษย์
• มนุษย์จัดอยู่ในวงศ์โฮมินิดี (family Hominidae) มีหลายสกุล
มากกว่า 23 ชนิด เช่น สกุล Australopithecus, Homo ปัจจุบัน
เหลือเพียงชนิดเดียว คือ Homo sapiens
64
65
วิวัฒนาการของมนุษย์
• บรรพบุรุษของมนุษย์เริ่มปรากฏครั้งแรกในสมัยไมโอซีน ในราว
ประมาณ 4 ล้านปีมาแล้ว คือ Australopithecus afarensis (มีชื่อ
เล่นว่าลูซี่) พบที่ตอนใต้ของประเทศแอฟริกา สามารถเดินสองขา
ได้ และรู้จักใช้เครื่องมือ แต่ยังไม่สามารถประดิษฐ์เครื่องมือได้
ความจุสมองประมาณ 500 สูง 110 cm
• มนุษย์สกุลโฮโมเริ่มปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อประมาณ 2 ล้านปี
ที่มาแล้ว ที่ประเทศแอฟริกา คือ Homo habilis ซึ่งมีความจุสมอง
ประมาณ 750 cc สูง 150 cm รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือ และอยู่เป็น
สังคม
66
ซากดึกดาบรรพ์ของลูซี่ ลักษณะของ A. afarensis
67
วิวัฒนาการของมนุษย์
• Homo erectus เป็นมนุษย์กลุ่มแรกทีอ่ พยพออกจากแอฟริกา เช่น
มนุษย์ชวา (Java man) มนุษย์ปักกิ่ง (Beijing man) และมนุษย์
ลาปาง (Lampang man) มีความจุสมองประมาณ 1,100 cc สูง
160-180 cm มีเครื่องมือล่าสัตว์ รู้จักใช้ไฟ อยู่เป็นสังคม มีภาษา
เกิดขึ้น
• มนุษย์นีแอนเดอทัล Homo neanderthalensis และมนุษย์
ซาเปียนส์ Homo sapiens กาเนิดมาพร้อมๆ กันเมื่อ 200,000 ปี
มาแล้ว มีความจุสมอง 1,400 cc มีการประดิษฐ์เครื่องมือที่มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น
68
Homo habilis Homo erectus
รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือ ได้แก่ มนุษย์ชวา และปักกิ่ง
เป็นพวกแรก รู้จักใช้ไฟเป็นพวกแรก 69
วิวัฒนาการของมนุษย์
• มนุษย์นแี อนเดอทัลอาศัยอยูใ่ นยุโรปและ ตะวันออกกลาง เมื่อ
ประมาณ 100,000-35,000 ปีมาแล้ว อยู่ในถ้า ล่าสัตว์เป็นอาหาร
ส่วนมนุษย์ซาเปียนส์โบราณ ได้แก่ มนุษย์โครมันยองที่มีชีวิตอยู่
เมื่อ 30,000 ปีมาแล้ว พบในเยอรมนี ล่าสัตว์เป็นอาหาร
• มนุษย์นีแอนเดอทัลและมนุษย์ซาเปียนส์อาศัยอยู่ในช่วงเวลา
เดียวกันในยุโรป เป็นเวลา 10,000 ปี ภายหลังเมื่อมนุษย์
ซาเปียนส์เพิ่มจานวนขึ้นมาก ทาให้มีมนุษย์นแี อนเดอทัลสูญ
พันธุ์เมื่อ 30,000 ปีก่อน

70
1400 cc

1100 cc

750 cc

500 cc

71
วิวัฒนาการของมนุษย์
• สมมติฐานที่ทาให้นแี อนเดอทัลสูญพันธุ์ เช่น นีแอนเดอทัลไม่
สามารถทนต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ เทคโนโลยีและ
ภาษาของซาเปียนส์ดีกว่า หรือนีแอนเดอทัลถูกซาเปียนส์ผสม
พันธุ์จนกลืนหายไป
• เมื่อประมาณ 30,000 ปีก่อน จึงเหลือมนุษย์อยู่เพียงสปีชีส์เดียว
• เมื่อ 6000 ปีก่อน มนุษย์เริ่มรู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และ
สร้างอารยธรรมต่างๆ ขึ้นมา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์
ของมนุษยชาติ

72
73
เผ่านิกรอยด์ เผ่าออสเตรลอยด์

เผ่ามองโกลอยด์ เผ่าคอเคซอยด์ 74
แบบฝึกหัด
• 1. การอธิบายวิวัฒนาการของยีราฟตามแนวคิดของลามาร์กและ
ดาร์วินแตกต่างกันอย่างไร
• 2. ซากดึกดาบรรพ์ที่ใช้เป็นหลักฐานทางวิวัฒนาการได้แก่
อะไรบ้าง
• 3. กลไกที่ทาให้เกิดวิวัฒนาการระดับจุลภาคมีอะไรบ้าง
• 4. นักศึกษาคิดว่าสาเหตุใดบ้างที่ทาให้สิ่งมีชีวิตคนละชนิดไม่
สามารถผสมพันธุ์กันได้
• 5. มนุษย์นีแอนเดอทัลและมนุษย์ซาเปียนส์มีชีวิตอยูใ่ นช่วงใด มี
การแข่งขันกันอย่างไร นักศึกษาคิดว่าสาเหตุใดที่ทาให้มนุษย์นี
แอนเดอทัลสูญพันธุ์ 75
บรรณานุกรม (Bibliography)
• โครงการตาราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน. 2552. ชีววิทยา สัตววิทยา 2. พิมพ์ครั้งที่ 5.
ด่านพสุธาการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
• เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์. 2555. วิวัฒนาการ. สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
• พัฒนี จันทรโรทัย. 2547. วิวัฒนาการ ความเป็นมาและกระบวนการกาเนิดสิ่งมีชีวิต. สานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
• อัจฉริยา รังษิรุจ.ิ 2555. วิวัฒนาการ จากทฤษฎีสู่การประยุกต์. เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น,
กรุงเทพฯ.
• Campbell, N. A. and Reece, J. B. 2009. Biology. 8th ed. Benjamin Cummings, California.
• Hall, B. K. 2011. Evolution Principles and Processes. Jones and Bartlett Publishers, Boston.
• Hall, B. K. and Hallgrimsson, B. 2008. Strickberger’s Evolution. 4th ed. Jones and Bartlett
Publishers, Boston.
• Karding, K. V. 2005. An Introduction to Biological Evolution. McGraw-Hill Higher Education,
Boston.
76

You might also like