You are on page 1of 24

บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 125

บทที่ 6
การไหลภายในท่อ
(Flows in Ducts)

เนื้อหาในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึงพฤติกรรมของการไหลในรางแบบปิด (ท่อปิด) หรือการไหลภายใต้


แรงดัน (Flow in pressure conduit) โดยจะเน้นที่การไหลแบบคงที่ภายในท่อกลมของของไหลที่อัดตัวไม่ได้
(Steady incompressible flow in pipe) และไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ โดยจะถือว่าอุณหภูมิ
ตลอดช่วงเวลาที่ พิจารณานั้นคงที่ ทั้งนี้ก็เพื่อตัดผลกระทบทางด้านเทอร์โมไดนามิกส์ออก ดังนั้นความหมาย
ของการไหลภายในรางแบบปิด หรือการไหลภายใต้แรงดัน ในที่นี้คือการไหลของของไหลภายในท่อที่มีผนังปิด
ล้อมทุกด้าน และมีของไหลไหลอยู่เต็มพื้นที่หน้าตัดของท่อ ไม่มีผิวอิสระอยู่ด้านบนของหน้าตัดการไหล (ของ
ไหลไม่มีส่วนใดสัมผัสอากาศ) การไหลจะอยู่ภายใต้ความดันตลอดช่วงของการพิจารณา
ของไหล เ มห าด อากาศ


(ก) (ข)

รูปที่ 6.1 ความแตกต่างของหน้าตัดการไหลของการไหลภายในรางแบบปิดกับการไหลในรางแบบเปิด [10]

6.1 พฤติกรรมของการไหลในท่อ (Behavior of flow in pipe)


พฤติกรรมการไหลของของไหลภายในท่อสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1) การไหลแบบราบเรียบ (Laminar flow) จะเกิดกับการไหลของของไหลที่มีความหนืดสูง หรือ
ความเร็วในการไหลต่ำ อนุภาคของของไหลจะเคลื่อนที่อย่างเป็นระเบียบขนานกับทิศทางของการไหล
มี
ติ
ติ
น้
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 126

2) การไหลแบบปั่นป่ วน (Turbulent flow) จะเกิดกับการไหลของของไหลที่มีความหนืดต่ำ หรือ


ความเร็วในการไหลมาก อนุภาคของของไหลเคลื่อนที่ไม่เป็นระเบียบ แนวเส้นทางการการเคลื่อนที่มีความ
แปรปรวนมาก และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

3) การไหลในช่วงแปรเปลี่ยน (Transition flow) เป็นช่วงของการไหลที่กำลังจะพัฒนาพฤติกรรม


จากการไหลแบบราบเรียบ ไปเป็นการไหลแบบปั่นป่วน เป็นช่วงที่ไม่สามารถคาดเดาพฤติกรรมของการไหลได้
อย่างแน่น อน เพราะในบางตำแหน่งหรือบางช่วงเวลาใดๆ พฤติกรรมของการไหลอาจเป็นไปได้ทั้ งแบบ
ราบเรียบและปั่นป่วน

รูปที่ 6.2 พฤติกรรมการไหลในท่อ [10]

พฤติกรรมการไหลในท่อทั้ง 3 ลักษณะ มีความสอดคล้องกับค่าของกลุ่มตัวแปรไร้ มิติกลุ่มหนึ่ง ที่


เรียกว่า เรย์โนลด์ นัมเบอร์ (Reynolds number ; Re) โดย
พฤติกรรมการไหลในท่อจะเป็นการไหลแบบราบเรียบ เมื่อ Re < 2000
พฤติกรรมการไหลในท่อจะเป็นการไหลในช่วงแปรเปลี่ยน เมื่อ 2000 < Re < 4000
พฤติกรรมการไหลในท่อจะเป็นการไหลแบบปั่นป่วน เมื่อ Re > 4000
ซึง่ Reynolds number ของการไหลในท่อกลมคำนวณได้จาก
*

VD VD
Re =

=

(6.1)
~

เมื่อ V = ความเร็วเฉลี่ยของการไหลในท่อ

D = ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อ

 = ความหนาแน่นของของไหล
 = ความหนืดสัมบูรณ์ (Absolute viscosity)
 = ความหนืดคิเนมาติก (Kinematic viscosity)
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 127

ในกรณีที่ของไหลไม่ได้ไหลผ่านท่อกลม Reynolds number ของการไหลคำนวณได้จากเส้นผ่าน


~ /

ศูนย์กลางไฮดรอลิค (Hydraulic diameter)


~

4 AC
Dh = (6.2)
~
p
เมื่อ AC = พื้นที่หน้าตัดของท่อ
p = ความยาวของเส้นรอบรูปหน้าตัดท่อ

-> On: 4

=> On : #
racal,
a

อทรง นๆ

&
รูปที่ 6.3 เส้นผ่านศูนย์กลางไฮดรอลิค (Hydraulic diameter) ของรูปทรงต่างๆ [1]
(ไ ออก สอบ (
6.2 การไหลบริเวณปากทางเข้าของท่อ (Entrance flow development)
พิจารณาพฤติกรรมของการไหล เมื่อของไหลเดินทางมาถึงบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างท่อ กับอ่างเก็บ
น้ำขนาดใหญ่ ก่อนที่ของไหลจะเดินทางเข้าสู่ภายในท่อ อนุภาคของของไหลบนหน้าตัดใดๆ จะเคลื่อนตัวด้วย
ความเร็วเท่าๆ กัน เนื่องจากยังไม่ถูกรบกวนจากผนัง แต่เมื่อของไหลเดินทางเข้าสู่ ภายในท่อ อนุภาคของไหล
จะถูกรบกวนจากแรงเสียดทานจากผนังท่อ จึงทำให้อนุภาคที่ติดกับผนังนั้นมีความเร็วเป็นศูนย์ และเนื่องจาก
ตัวของไหลเองมีความหนืด จึงทำให้อนุภาคที่อยู่ถัดไปก็จะมีความเร็วลดลงตามลำดับ ซึ่งในช่วงเริ่มต้นอนุภาค
ที่อยู่บริเวณกึ่งกลางท่อนั้นยังไม่ไ ด้รับผลกระทบดังกล่าว แต่เมื่อของไหลเดินทางต่อไปผลกระทบจากผนังจะ
ขยายตัวเข้าสู่กึ่งกลางท่อ จนกระทั่งครอบคลุมทัว่ ทั้งหน้าตัด หลังจากนั้นความเร็วของอนุภาคของของไหลจะมี
อื่
ท่
ม่
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 128

การปรับตัวอย่างต่อเนื่อง จนท้ายที่สุดเข้าสู่สภาวะสมดุลโดยระยะทางในช่วงของการปรับตัวนี้จะเรียกว่า ช่วง


ทางเข้า (Entrance length : LE)
~

6.2.1 การไหลบริเวณปากทางเข้าของท่อในสภาวะการไหลแบบราบเรียบ (Entrance condition


in laminar flow)

พิจารณาจากรูปที่ 6.4 การปรับตัวในบริเวณปากทางเข้าของท่อในสภาวะการไหลแบบราบเรียบนั้น


สามารถแบ่งพฤติกรรมได้เป็น 3 ช่วงดังนี้
- ช่วงการไหลที่บริเวณกึ่งกลางท่อยังไม่ถูกรบกวน (Invicid core length : Li) เมื่อเริ่มต้นพิจารณา
จากปากทางเข้าท่อ ของไหลจะเริ่มถูกรบกวนโดยแรงเสียดทานจากผนังของท่อ ทำให้ความเร็วของอนุภาคของ
ไหลที่อยู่ติดกับผนังท่อเป็นศูนย์ และความเร็วของอนุภาคถัดไปจะลดลงตามลำดับ ส่วนในบริเวณกึ่งกลางของ
ท่อนั้นจะยังไม่ถูกรบกวน แต่เมื่อของไหลเดินทางต่อไปเรื่อยๆ ผลกระทบดังกล่าวจะขยายตัวใหญ่ขึ้นจนเต็ม
หน้าตัดการไหล ซึ่งทำให้พฤติกรรมของความเร็วของอนุภาคของไหลในช่วงนี้จะแปรผันตามระยะทางตามแนว
ความยาวของท่อ (x) และระยะตามแนวรัศมีของท่อ (y) ดังนั้น Li จึงเริ่มต้นวัดจากปากทางเข้าท่อไปจนถึงจุดที่
การรบกวนของผนังขยายตัวเต็มหน้าตัดการไหลพอดี
- ช่วงการปรับตัว (Development length : Ld) เมื่อสิ้นสุดระยะ Li ความเร็วของอนุภาคของไหลจะ
ยังคงมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้นพฤติกรรมของความเร็วของอนุภาคของไหลในช่วงนี้ จะ
แปรผันตามระยะทางตามแนวความยาวของท่อ (x) และระยะตามแนวรัศมีของท่อ (y) เช่นเดียวกับในช่วง Li
- ช่วงปรับตัวสมบูรณ์ (Developed flow) เริ่มต้นตั้งแต่จุดที่สิ้นสุดการปรับตัว (Ld) ต่อเนื่องไปตลอด
ความยาวของท่อ พฤติกรรมของความเร็วจะแปรผันกับระยะตามแนวรัศมี (y) แต่จะไปแปรผันตามระยะทาง
ตามแนวความยาวของท่อ (x) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ รูปแบบการกระจายตัวของความเร็วในแนวรัศมีจะมี
ลักษณะเหมือนกันในทุกๆ หน้าตัดของช่วงนี้

Lit Ld = LE
รูปที่ 6.4 การไหลบริเวณปากทางเข้าของท่อในสภาวะการไหลแบบราบเรียบ [6]
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 129

จากพฤติกรรมดังกล่าว ช่วงการไหลที่ได้รับผลกระทบจากปากทางเข้าท่อ จะเริ่มจากปากทางเข้า


ต่อเนื่องไปจนกระทัง่ สิ้นสุดการปรับตัว หรือเรียกว่า ความยาวช่วงทางเข้า (Entrance length : LE)
LE = Li + Ld (6.3)
สำหรับในท่อกลม LE  0.065 DRe (6.4)
1
Li 
4
LE (6.5)
เมื่อ Re = เรย์โนลด์นัมเบอร์

D = ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อ

6.2.2 การไหลบริเวณปากทางเข้าของท่อในสภาวะการไหลแบบปั่ นป่วน (Entrance condition


in turbulent flow)

สำหรับพฤติกรรมการไหลในช่วงปากทางเข้าท่อ ในสภาวะการไหลแบบปั่ นป่วน จะแตกต่างกับแบบ


ราบเรียบ กล่าวคือเมื่อการไหลเริ่มถูกรบกวนจากผนัง ผลกระทบจากแรงเสียดทานจากผนังจะเริ่มขยายตัวไป
พร้อมๆ กับการปรับตัวของความเร็ว (Li และ Ld เริ่มต้นพร้อมกัน) และเมื่อการไหลถูกรบกวนทั่ วทั้งหน้าตัด
การปรับตัวจะยังคงดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่เนื่องจากการไหลแบบปั่นป่วนนั้นจะมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น
ได้เสมอ ดังนั้นหลังจากที่การปรับตัวสิ้นสุดลง (Ld) สภาพการไหลจะยังคงมีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องไปอีกช่วง
ระยะหนึ่ง จึงจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะคงที่ ลักษณะดังรูปที่ 6.5
สำหรับการไหลในท่อที่มี Re > 105 ระยะต่างๆจะมีค่าดังนี้
Li  10 D (6.6)
Ld  40 D (6.7)
LE  120 D (6.8)

รูปที่ 6.5 การไหลบริเวณปากทางเข้าของท่อในสภาวะการไหลแบบปั่นป่วน [6]


บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 130

6.3 การสูญเสียพลังงานหลัก (Friction head loss or Major loss : hf)

รูปที่ 6.6 ความสัมพันธ์ของพลังงาน และแรงที่กระทำกับปริมาตรควบคุม [2]

การสูญเสียเฮดของการไหลในท่อ หรือที่เราเรียกว่า การสูญเสียพลังงานหลัก คือการสูญเสียเฮดที่เกิด


จากผลของแรงเสียดทานอันเนื่องมาจากผลของความหนืดของของไหล และแรงเสียดทานระหว่างระหว่างของ
ไหลกับผนังท่อ โดยการสูญเสียเฮดนั้นจะขึ้นอยู่กับ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ ความยาวของท่อ ความ
หยาบของวัสดุที่ใช้ทำท่อ ความหนืดของของไหล และความเร็วในการไหล
หากพิจารณาการไหลในท่อกลมที่มีรัศมีคงที่เท่ากับ R ดังรูปที่ 6.6 สามารถเขียนสมการพลังงานได้
ดังนี้
P1 V12 P V2
Z1 + + = Z2 + 2 + 2 + h f
 2g  2g
เนื่องจากรัศมีของท่อคงที่ ทำให้ V1 = V2 ดังนั้นจะได้ว่า
 P − P2 
h f =  1  + ( Z1 − Z 2 ) (6.9)
  
ถ้าพิจารณาจากสมการโมเมนตัมเชิงเส้นของการไหล

 F =  (  Out  QOut  VOut ) −  (  In  Q In  V In )
เนื่องจาก V1 = V2 ดังนั้นจะได้ว่า

F =0
P1 A − P2 A − AL sin  −  0 2RL = 0

เมื่อ  0 คือความเค้นเฉือนที่เกิดจากแรงเสียดทาน
ถ้านำ  และ A หารตลอด จะได้
 P1 − P2   2RL
  − L sin  = 0 (6.10)
   A
จากรูปที่ 6.6 จะเห็นได้ว่า L sin  จะมีค่าเท่ากับ Z2 - Z1 ถ้านำไปแทนค่าในสมการที่ 6.10 ก็จะได้
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 131

 P1 − P2   2RL
  − ( Z 2 − Z1 ) = 0 (6.11)
   A
หากพิจารณาสมการที่ 6.11 ร่วมกับสมการที่ 6.9 สามารถสรุปได้ว่า
 0 2RL
hf =
A
 0 2RL
hf =
(R 2 )
 0 2L
hf =
R
(6.12)
จาสมมุติฐานที่ว่า ความเค้นเฉือน (  0 ) ที่เกิดขึ้นบริเวณผนังท่อ จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วเฉลี่ยของการ
ไหล (V) ความหนืดของของไหล (  ) ความหนาแน่นของของไหล (  ) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ (D)
และความขรุขระหรือความหยาบผิวของผนังท่อ (  ) ซึ่งถ้านำไปวิเคราะห์ในรูปความสัมพันธ์ของตัวแปรไร้มิติ
(Dimensionless analysis) โดยกำหนดให้  , D และ V เป็ น ตั ว แปรซ้ ำ (Repeating variables) จะได้
ความสัมพันธ์ของตัวแปรดังนี้
0    
=   ,  (6.13)
 VD D 
2
V
เนื่องด้วยกลุ่มของตัวแปรไม่มีมิติ การกลับเศษส่วนจึงไม่มีผลต่อความสัมพันธ์ ดังนั้นสมการที่ 6.13 จึง
สามารถเขียนใหม่ได้ว่า
0  VD  
=   , 
 
2
V D
VD
ซึง่ 
ก็คือ เรย์โนลด์นัมเบอร์ (Re)
  
 0 = V 2    Re , 
D
(6.14)

นำสมการที่ 6.14 ไปแทนค่าในสมการที่ 6.12 จะได้ว่า
( )
   2L
h f = V 2    Re ,  
D  R

  
ถ้ากำหนดให้ f = 8  Re ,  จะได้ว่า
D

(
h f = V 2  ) f 2L

8 R
จัดรูปใหม่จะได้ว่า
L V2
hf = f  
D 2g
(6.15)
ค่าความขรุขระหรือความหยาบผิวของผนังท่อ (  ) ในวัสดุชนิดต่างๆ แสดงดังตารางที่ 6.1
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 132

ตารางที่ 6.1 ค่าความขรุขระของวัสดุชนิดต่างๆ [11]

ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของการไหล (f) จะเปลี่ยนแปลงตามพฤติกรรมการไหลของของไหล


นอกจากนี้ความขรุขระหรือความหยาบผิว ของผนัง ท่อ (roughness :  ) ก็เป็น อีกปัจจัยที่ส ่งผลต่อ ค่า
สัมประสิทธิ์ความเสียดทานของการไหลเช่นกัน Nikuradse ได้ทำการศึกษาผลกระทบของความขรุขระของ
ผนังท่อที่มีต่อการไหล พบว่าในกรณีที่การไหลมีพฤติกรรมแบบราบเรียบ ความขรุขระของผนังท่อจะไม่มีผลต่อ
การสูญเสียพลังงาน แต่ในกรณีการไหลมีพฤติกรรมแบบปั่ นป่วน ความขรุขระของผนังท่อจะมีผลต่อการ
สูญเสียพลังงาน ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของการไหลในรูปแบบต่างๆ คำนวณได้จากสมการต่อไปนี้
- ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของการไหลแบบราบเรียบ
 64
f = 64 
VD
=
Re
(6.16)
- ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของการไหลแบบปั่นป่วนในท่อผนังเรียบ
1
= 2.00 log( Re  f ) − 0.80 (6.17)
f
- ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของการไหลแบบปั่นป่วนในท่อผนังหยาบที่มีความขรุขระปานกลาง
1  D 2.51 
= −2 log  +  (6.18)
f  3.7 R f 
 e 
- ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของการไหลแบบปั่นป่วนในท่อผนังหยาบที่มีความขรุขระมาก
1  3.7 
= 2 log   (6.19)
f  D
ในปี ค.ศ. 1944 Lewis F. Moody ได้รวบรวมสมการของการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ ความเสียด
ทานของการไหล และนำมาสร้างเป็นกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง Re  D และ f โดยมีลักษณะดังรูปที่ 6.7
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 133

· าความ
ข ทธร

*
·

-ro--..- - - -

( , armore
↑ vill
อา ยบ
Re < 2000
3 x 105

Laminar

รูปที่ 6.7 Moody diagram [12]

6.4 การสูญเสียพลังงานรอง (Minor loss : hm)


Minor loss เป็นการสูญเสียเฮดในจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาด หรือทิศทางของความเร็วของการไหล
โดยฉับพลัน ซึ่งจะเกิดขึ้นบริเวณที่ของไหลไหลผ่านอุปกรณ์ประกอบท่อต่างๆ เช่น วาล์ว ข้อต่อ ข้อลดขนาด
ข้อขยายขนาด ข้องอชนิดต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการสูญเสียรองนี้จะขึ้นอยู่กับรูปแบบการเปลี่ยนแปลงความเร็วของ
การไหลในอุปกรณ์นั้นๆและเฮดความเร็ว ดังนั้นการคำนวณค่าการสูญเสียพลังงานรอง จึงสามารถกำหนดให้
อยู่ในรูปของผลคูณระหว่างค่าสัมประสิทธิ์ การสูญเสียพลังงานรอง (Minor loss coefficient : k) กับเฮด
ความเร็ว (Velocity head) ดังสมการที่ 6.20
V2
hm = k (6.20)
2g

&า
โดยค่า k จะขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ที่ไหลผ่าน ดังตารางที่ 6.2
คง หาไ จาก ตาราง
ริ
ท่
อุ
ค่
ที่
ด้
ค่
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 134

ตารางที่ 6.2 สัมประสิทธิ์การสูญเสียพลังงานรอง (Minor loss coefficient : k) [11]

ตัวอย่างที่ 6.1 จงคำนวณหาการสูญเสียพลังงานหลัก (h f ) และความดันตกคร่อม (Pressure drop) ของท่อ


เหล็กหล่อหุ้มยางมะตอย (Asphalted cast) ที่วางในแนวราบและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
%
15 cm ยาว 80

m ที่กำลังส่งน้ำด้วยความเร็วเฉลี่ย 2 m/s
(กำหนดให้  = 0.12mm ,  w = 1,000kg / m3 ,  w = 110−3 N − s / m 2 )

วิธีทำ การสูญเสียพลังงานหลัก (h f ) หาได้จาก


L V2
hf = f  
D 2g

f หาได้จากความสัมพันธ์ระหว่าง Re และ  D


/
VD (1,000)(2)(0.15)
Re = = = 3 105
 110 −3
#

อเ ยบ ไ องจาก - /

 D = 0.12 / 150 = 8 10−4

* ระ งห วยจาก ของD องเ น ห วยเ ยว น


ท่
ยั
ต้
ต้
ป็
ดี
รี
ม่
น่
น่
กั
ตาราง บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 135
ใตลงใน
เด * หาการ เ ยห เกพราะ วางขนาน บ นไ

องอ อ อ

จาก Moody diagram จะได้ f = 0.02


80 22
ดังนั้น h f = 0.02   = 2.17 m ตอบ
0.15 (2  9.81) I 2
จารณา fator
ความดันตกคร่อม (Pressure drop) หาได้จาก เหลา2 --------------- -

P1 V12 P V2
1 1 :
co

-· The
Z1 + + = Z2 + 2 + 2 + hf
 2g  2g
เนื่องจากท่อวางตัวในแนวราบและไม่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าตัด ดังนั้น Z = Z , V = V 1 2 1 2

·Pas A P = gh f = 1,000  9.81 2.17 = 21,287.7 Pa ตอบ


อง
เคยออก ·
ตัวอย่างที่ 6.2 น้ำมันซึ่งมีความหนาแน่น เท่ากับ 900 kg/m3 และความหนืดเชิงจลน์เท่ากับ 0.00001 m2/s
ไหลด้วยอัตราการ 0.2 m3/s ผ่านท่อเหล็กหล่อยาว 200 m ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 mm จงหาการ
สูญเสียพลังงานหลัก (h f ) และความดันตกคร่อม (Pressure drop) ถ้าตัดท่อดังกล่าวเอียงทำมุม 10° ที่เงย
ขึ้นกับทิศทางของไหล กำหนดให้  = 0.26 mm -- 10" ... .

วิธีทำ การสูญเสียพลังงานหลัก (h f ) หาได้จาก


L V2
hf = f  
D 2g
หา V จากสมการอัตราการไหล
Q = VA

V =
Q
= ·
0.2
= 6.4m / s
#

A 
4 ·
 0.2 2

f หาได้จากความสัมพันธ์ระหว่าง Re และ  D

Re =
mm

VD
=
00 *
(6.4)(0.2)
1  10 −5
= 1.28  10 5

 D = 0.26 / 200 = 0.0013


จาก Moody diagram จะได้ f = 0.0225
200 6.4 2
ดังนั้น h f = 0.0225   = 46.97 m ตอบ
0.2 (2  9.81)
ความดันตกคร่อม (Pressure drop) หาได้จาก · R

Z1 +
P1
 //
+
V12
2g
P V2
= Z2 + 2 + 2 + hf
 2g -
10) Catom

เนื่องจากท่อวางตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าตัด ดังนั้น V1 = V2
ผู้สู
ดิ
พื้
กั
ข้
ข้
ต้
ที่
พิ
สี
ปิ
ม่
ต่
ห้
มี
ลั
มี
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 136

Motorol
P1 P2
Z1 + = Z2 + + hf
 
P
+ ( Z1 − Z 2 ) = h f

เนื่องจากท่อวางตัวเอียงทำมุม 10° จะได้

( Z1 − Z 2 ) = L sin 10
ดังนั้น
P = g (h f − L sin 10)
P = 900  9.81(46.97 − 200 sin 10) = 108,070Pa ตอบ

ตัวอย่างที่ 6.3 ระบบท่อลักษณะดังรูป เชื่อมต่อระหว่างถังเก็บน้ำใบที่ 1 กับ 2 ระดับน้ำในถังทั้งสองแตกต่าง



กันเท่ากับ Z ถ้าอัตราการไหลเท่ากับ 40 l/s จงหาผลต่างของระดับน้ำระหว่างถังทั้งสอง (กำหนดให้
 = 110 −6 m 2 / s )

00000 0
·

0อ
-

·0

วิธีทำ พิจารณาสมการพลังงานระหว่างจุด A กับ H

ZA +
 I for
PA
+
V A2
2g
= ZH +
PH VH2

+
2g
+  h f +  hm

Z A + 0 + 0 = Z H + 0 + 0 +  h f +  hm
Z =  h f +  hm ----- (1)
การสูญเสียพลังงานหลัก จะเกิดขึ้นเมื่อของไหลเดินทางผ่านท่อจากจุด B ถึงจุด G และเนื่องจากเส้น
--------
8 เ า น ไ องหาแยก
ผ่านศูนย์กลางท่อมีขนาดคงที่ตลอดทัง้ เส้น และทำจากวัสดุชนิดเดียวกัน ดังนั้น อง - >
คา

/> ความยาว ของ


อขาลาย
:สามารถคอนารวยไ

เลย
2
L V
 h f = h f B →G = f
D 2g

คา 8 เ า นขา 5L ไ เลย
สิ
ช่
พ่
ต้
ด้
ท่
ม่
ด้
ท่
กั
กั
-

บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 137

(10 + 10 + 10 + 20) V 2
hf = f 
(0.10) 2g
V2
 h f = f (500 )  ----- (2)
2g
hm ว จาก5ของ อค นเ ยว ดเ ยว
การสูญเสียพลังงานรอง จะเกิดขึ้นเมื่อของไหลเดินทางผ่านทางเข้า-ออก หรืออุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้นการ
↳+ นไ เลย

สูญเสียพลังงานรองจะเกิดขึ้นที่ทางเข้า (B : kB = 0.5) ประตูน้ำแบบกะโหลก (Globe valve : kvalve = 10)


ข้องอ 90°การสูญเสียพลังงานรองทั้งหมดจึงมีค่าเท่ากับ (ค่า k ของอุปกรณ์ต่างๆ ได้จากตารางที่ 6.2)
V2 V2 V2 V2 V2
 hm = k B  + k valve  + kE  + kF  + kG 
2g 2g 2g 2g 2g
V2
 hm = (k B + k valve + k E + k F + k G ) 
2g
V2
 hm = (0.5 + 10 + 1.5 + 1.5 + 1) 
2g
V2
 hm = (14.5)  ----- (3)
2g
นำสมการที่ (2) และ (3) ไปแทนค่าใน (1)

Z = f (500 )  ·0
V 2
+ (14.5) 
V 2
----- (4)
2g 2g
หา V จากสมการอัตราการไหล
&
Q = VA
Q 0.04
V = = = 5.09m / s
A 
 0.12
4
f หาได้จากความสัมพันธ์ระหว่าง Re และ  D
VD (5.09 )(0.1)
Re = = = 5.09  10 5 #
 1  10 −6
จากตารางที่ 6.1 ท่อทำมาจาก Wrought iron A

 = 0.045 mm
1024
 D = 0.045 / 100 = 0.00045
<
=> 4.5 x

↳- แปลงห วย
จาก Moody diagram จะได้ f = 0.0175
5.09 2 5.09 2
ดังนั้น Z = (0.0175)(500)  + (14.5)  #
2  9.81 2  9.81
Z = 30.70 m ตอบ
#
มิอิ
ท่
ตู
กี่ตั
พิจุ
ดี

ด้
น่
ดี
กั
พิ
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 138
* ออก อสอบ งแ อ ( อสอบ แทน า 250)
ตัวอย่างที่ 6.4 จากตัวอย่างที่ 6.3 ถ้าระดับน้ำในถังทัง้ สองต่างกัน 35 m จงหาอัตราการไหล
-f, Bing + K. Vi
g
12 - Chr+ hm
วิธีทำ จากสมการที่ (4) ในตัวอย่างที่ 6.3
V2 V2
Z = f (500 )  + (14.5)  ----- (4)
2g 2g
แทนค่า Z = 35 m
-> Re- OUD - Pr

V2 V2
35 = f (500 )  + (14.5) 
2g 2g วแปล
เดา ค

④ เนื่องจากสมการมีตัวแปรที่ไม่ทราบค่า 2 ตัว จึงหาคำตอบโดยใช้วิธีที่เรียกว่า “Trial & Error”


~

สมมุติ f = 0.020 แทนค่าในสมการที่ (4) F บ V ใ เ อก5 อน


V2 V2
35 = (0.020 )(500 )  + (14.5) 
2g 2g
⑥ &
V = 5.294 m /on
->> s
f

หา f จากความสัมพันธ์ระหว่าง Re และ  D
VD (5.294 )(0.1) 0.0175
Re = = = 5.294  10 5
 1  10 −6 5.45x109

&
 D = 0#
.045 / 100 = 0.00045 4.5x104

· สมมุติ f = 0.0173 แทนค่าในสมการที่ (4)


จาก Moody diagram จะได้ f  0.0175 ซึ่งไม่เท่ากับที่สมมุติ แสดงว่าค่า f ที่ได้ไม่ถูกต้อง

V2 V2
35 = (0.0173 )(500 )  + (14.5) 
2g 2g

V = 5.446 m / s
หา f จากความสัมพันธ์ระหว่าง Re และ  D
VD (5.446 )(0.1)
=)
Re = = = 5.446  10 5
 1  10 −6
=>> I  D = 0.045 / 100 = 0.00045

จาก Moody diagram จะได้ f  0.0173 ซึง่ ใกล้เคียงกับค่าที่สมมุติ แสดงว่าค่า f ที่ได้ถูกต้อง


· ดังนั้น จะได้ V = 5.446 m/s

Q = VA = (5.446 )(  0.12 ) = 0.0427 m 3 / s ตอบ
4
ข้
นี้
ข้
ตั
ก่

ลื
ตั้
ห้
กั
ต่
ค่
ข้
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 139

ตัวอย่างที่ 6.5 ต้องการออกแบบท่อส่งน้ำมันผ่านพื้นที่ราบระยะทาง 12 km โดยใช้ท่อ Wrought iron อัตรา


U = 0.7 x 9.81

การส่งน้ำมันที่ใช้ในการออกแบบคือ 300 L/min น้ำมันมีค่าความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 0.7 ความหนืด เชิงจลน์
ของน้ำมันเท่ากับ 5X10-7 m2/s ถ้าข้อกำหนดของการออกแบบคือ ความดันภายในท่อส่งจะลดลงได้ไม่เกิน
10.3 kPa ต่อระยะทาง 1 km จงออกแบบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ
I 2

Datum

วิธีทำ พิจารณาสมการพลังงานระหว่างจุดเริ่มต้น (1) กับจุดสิ้นสุด (2) ↳ ↓


12 km

/ / / /
Z1 +
P1

+
V12
2g
= Z2 +
P2

+
V22
2g
+ hf

เนื่องจาก Z1  Z 2 และ V1 = V2 = V จะได้ว่า


PM2 1 P12
− = hf
  10.3x 12
14 -
P L V2
= f
 D 2g /

- P

= f
12,000 V 2
D 2g
จากข้อกำหนด ความดันจะลดลงได้ไม่เกิน 10.3 kPa/km ดังนั้นความดันทั้งสองจุดจะแตกต่างกันเท่ากับ
----- (1)

P = 10.3 12 = 123 .6kPa


แทนค่าในสมการที่ (1) 12x1000

123 .6 12,000 V 2
= f
0.7  9.81 D 2g
it
m

V2
0.0294 = f ----- (2)
D
จากตารางที่ 6.1 ท่อทำมาจาก Wrought iron
 = 0.045 mm
อัตราการไหลในท่อ Q = 300 l/min = 5 l/s = 0.005 m3/s
เนื่องจากสมการมีตัวแปรที่ไม่ทราบค่า 2 ตัว จึงหาคำตอบโดยใช้วิธีที่เรียกว่า “Trial & Error”
สมมุติ D = 10 cm
 D = 0.045 / 100 = 0.00045
Q 0.005
2)
V = = = 0.637m / s
A  2
 0.1
4
VD (0.637 )(0.1)
Re = = = 1.3  10 5
 5  10 −7
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 140

จาก Moody diagram จะได้ f  0.0195 นำไปแทนค่าในสมการที่ (2)


-

(0.637) 2
0.0294 = 0.0195
0.1

-> X
0.0294  0.0791

④ ค่าที่ได้ไม่ใกล้เคียงกับค่าที่สมมุติ แสดงว่าค่า D ที่สมมติยังไม่ถูกต้อง


สมมุติ D = 12.25 cm
 D = 0.045 / 122 .5 = 0.0004
Q 0.005
V = = = 0.424m / s
A  2
 0.1225
4
VD (0.424 )(0.1225 )
Re = = = 1.0  10 5
 5  10 −7

จาก Moody diagram จะได้ f  0.02 นำไปแทนค่าในสมการที่ (2)


(0.424) 2
0.0294 = 0.02
0.1225

-
0.0294  0.02935
ค่าที่ได้ใกล้เคียงกับค่าที่สมมุติ แสดงว่าค่า D ที่สมมติถูกต้อง
ดังนั้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ คือ 12.25 cm ตอบ

อ รง

ตัวอย่างที่ 6.6 น้ำมันชนิดหนึ่งมีค่าความหนาแน่น (ρ) = 950 kg/m3 และความหนืดเชิงจลน์เท่ากับ 2 x 10-5



m2/s ไหลผ่านท่อกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ 30 cm ยาว 100 m ซึ่งมีการสูญเสียเฮดความดันเท่ากับ 8 m
I am
ความขรุขระสัมพัทธ์ของพื้นผิวท่อ ( / D) = 0.002 จงหาค่าความเร็วเฉลี่ยและอัตราการไหล
=>
=

วิธีทำ พิจารณาสมการพลังงานระหว่างจุดเริ่มต้น (1) กับจุดสิ้นสุด (2)


Patum
V12 P2 V22 ↓
1 / / /
Z1 +
P1
+
 2g
= Z2 +

+
2g
+ hf
↓ 2
*
เนื่องจาก Z1  Z 2 และ V1 = V2 = V จะได้ว่า
PMI PU2
2
− 1
= hf
 
P L V2
= f
 D 2g
100 V 2
8= f
0.3 2 g
ท่
มา ม


บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 141
และ
จะ

ส ด
V

0.471
V = ----- (1)
f
เนื่องจากสมการมีตัวแปรที่ไม่ทราบค่า 2 ตัว จึงหาคำตอบโดยใช้วิธีที่เรียกว่า “Trial & Error”
④ สมมุติ f  0.0195 แทนค่าในสมการที่ (1)

0.471
V= = 4.91m / s #

0.0195
/ /

หา f จากความสัมพันธ์ระหว่าง Re และ  D
VD (4.91)(0.3)
Re = = = 7.36 104 #

 2 10−5
 D = 0.002
จาก Moody diagram จะได้ f  0.0201 ซึ่งไม่เท่ากับที่สมมุติ
~
แสดงว่าค่า f ที่ได้ไม่ถูกต้อง
สมมุติ f  0.0201 แทนค่าในสมการที่ (1)

0.471
V = = 4.84 m / s #
0.0201
หา f จากความสัมพันธ์ระหว่าง Re และ  D
VD ( 4.84 )(0.3) ป
Re = = = 7.26  10 4
 2  10 −5

 D = 0.002/
จาก Moody diagram จะได้ f  0.0201 ซึ่งเท่ากับที่สมมุติ
~
แสดงว่าค่า f ที่ได้ถูกต้อง
ดังนั้น จะได้ V = 4.84 m/s
↳ 
Q = VA = (4.84)(  0.32 ) = 0.342m3 / s ตอบ
4 #

ตัวอย่างที่ 6.7 ต้องการสูบน้ำจากบ่อขึ้นถังสูง ด้วยอัตราการสูบ 20 l/s ลักษณะดังรูป โดยระดับน้ำที่บ่อเท่ากับ


–1.5 m และระดับน้ำที่ถังสูงเท่ากับ + 25.0 m จงหากำลังงานที่ใช้ในการสูบน้ำ ถ้าเครื่องสูบมีประสิทธิภาพ
65 % (กำหนดให้  = 110 −6 m 2 / s ) ZA

Datom kB = 1

1P Date
Dafum

IH
H -> A

ญช จากน าง าง
น างขน
น้
อั
สุ่
นิ
ติ
ข้
ข้

ขั้

ล่
ขึ้

=> ม ↳> เกอ ชาย

Help odone by od ห ง บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 142

วิธีทำ พิจารณาสมการพลังงานระหว่างจุด H กับจุด A

ZH + %++ น %
PH

+
VH2
2g
P V2
+ H P = Z A + A + A +  h f +  hm
 2g
H P = ( ZA
H − Z A ) +  h f +  hm (1)
การสูญเสียพลังงานหลัก จะเกิดขึ้นเมื่อของไหลเดินทางผ่านท่อจากจุด G ถึงจุด B ผ่านท่อสองเส้นคือ GE และ
DB ดังนั้นการสูญเสียพลังงานหลักจึงหาได้จาก
 h f = h fG →E + h f D→B
= -

2
LGE VGE L V2
= f GE + f DB DB DB (2)
= DGE 2 g # D DB 2g
หา V จากสมการอัตราการไหล
Q 0.02
VGE = = = 2.546m / s
· AGE 
 0.12
4
Q 0.02
V DH = = = 4.527m / s
③ ADB 
 0.075 2
4
f GE หาได้จากความสัมพันธ์ระหว่าง Re และ  D
VGE DGE ( 2.546 )(0.1)
ReGE = = = 2.546  10 5
 1  10 −6 #
 GE DGE = 0.15 / 100 = 0.0015
-

จาก Moody diagram จะได้ f GE = 0.0225


~

f DB หาได้จากความสัมพันธ์ระหว่าง Re และ  D
VBD DDB (4.527 )(0.075 )
ReDB = = = 3.395  10 5#
 1  10 −6
 DB DDB = 0.15 / 75 = 0.002 * 2x10%
จาก Moody diagram จะได้ f GE = 0.024
~

แทนค่าในสมการที่ (2) จะได้


7.5 2.546 2 33 4.527 2
 h f = 0.0225  
0.1 (2  9.81)
+ 0.024  
0.075 (2  9.81)
= 11.588 m *
การสูญเสียพลังงานรอง จะเกิดขึ้นที่ทางเข้า (foot valve : kG = 2.0) ประตูน้ำ (Gate valve : kvalve = 2.5)
ข้องอ 90° ทั้งสองตัว (F และ C : kF = kC = 1.5) และบริเวณทางออก (B : kB = 1) ดังนั้นการสูญเสียพลังงาน
รองทัง้ หมดจึงมีค่าเท่ากับ (ค่า k ของอุปกรณ์ต่างๆ โจทย์ระบุมาให้)
-> เ ดตาราง6. ว

2
VGE V2
 hm = (k G + k F + k valve )  + (k C + k B )  DB
8 1 % 2g ~- 2 2g
ลั
ปิ
ปั๊
ร์
จั๊
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 143

2.546 2 4.527 2
 hm = (2.0 + 1.5 + 2.5)  + (1.5 + 1.0) 
2g 2g

 hm = 4.594 m
-

นำ  h f และ  hm ไปแทนค่าในสมการ (1)


H P = (25 − (−1.5)) + 11.588 + 4.594 = 42.682 m
กำลังงานที่น้ำได้รับ
> ตราการไหล
PW = QH P = 9.81  0.02  42.682 = 8.374 k  Watt
กำลังงานของเครื่องสูบ ยา >

~ โล
PW 8.374
PP = = = 12.88k  Watt ตอบ
P 0.65 Murra

ตัวอย่างที่ 6.8 จากตัวอย่างที่ 6.7 จงหาความดันในท่อที่จุด I (ความยาวท่อช่วง BI เท่ากับ 9 m)


=> -
=>

=> PE
วิธีทำ พิจารณาสมการพลังงานระหว่างจุด I กับจุด A
~

PI VI2 V A2 PA
ZI + + = ZA + + +  h f +  hm
 2g  2g
2
PI
VDB
15.5 + + = 25.0 + 0 + 0 +  h f +  hm
 2g
2
PI VDB
= 9.5 − +  h f +  hm (1)
 2g
การสูญเสียพลังงานหลัก จะเกิดขึ้นเมื่อของไหลเดินทางผ่านท่อจากจุด I ถึงจุด B ดังนั้นการสูญเสียพลังงาน
หลักจึงหาได้จาก
rees
the
and
 h f = h fI →B

·
2
LIB VDB
= f DB
DDB 2 g
9.0 4.527 2
<> k าง จารณา
= 0.024
0.075 2 g ·
= 3.008 m

การสูญเสียพลังงานรอง จะเกิดขึ้นที่ทางออก (kB = 1.0) ดังนั้นการสูญเสียพลังงานรองจึงมีค่าเท่ากับ


2
VDB 4.527 2
 hm = (k B )  = 1.0  = 1.045 m
2g 2g
แทนค่าผลรวมของการสูญเสียพลังงานหลัก และการสูญเสียพลังงานรองในสมการที่ (1)
ตู้
พิ
ปั๊
อั
กิ
ช่
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 144

PI 4.527 2
= 9.5 − + 3.008 + 1.045 = 12.508 m
 2g
PI = 12.508   = 12.508  9.81 = 122 .703 kPa ตอบ

ตัวอย่างที่ 6.9 โรงผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ มีการติดตั้งระบบต่างๆ ในลักษณะดังรูป ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำอยู่


ที่ +210.0 msl และระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนอยู่ที่ +125.5 msl ถ้าเดินเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าโดยการปล่อย
น้ำผ่านกังหันด้วยอัตรา 0.5 cms กังหันมีประสิทธิภาพ 55 % จงหากำลังงานที่กังหันส่งให้กับเครื่องกำเนิด
กระแสไฟฟ้า (กำหนดให้  = 110 −6 m 2 / s )


1
Z

(kC = kD = 0.2)
(kvalve = 0.39)

(kG = 0.3) (kH = 1.0)

วิธีทำ พิจารณาสมการพลังงานระหว่างจุด A กับจุด I

*//// ZA +
PA

+
V A2
2g
P V2
= Z I + I + I + H T +  h f +  hm
 2g
P = ( Z A − Z I ) −  h f −  hm
H ET (1)
การสูญเสียพลังงานหลัก จะเกิดขึ้นเมื่อของไหลเดินทางผ่านท่อจากจุด B ถึงจุด H ผ่านท่อสองเส้นคือ BE และ
FH ดังนั้นการสูญเสียพลังงานหลักจึงหาได้จาก เ าเ าไห ออก เ า น

 h f = h f B→E + h f F →H
2
LBE VBE L V2
= f BE + f FH FH FH (2)
DBE 2 g DFH 2 g
หา V จากสมการอัตราการไหล
Q 0.50
VBE = = = 2.546m / s #
ABE  2
 0.5
4
ป่
ข้
ก่
นั้
ล่
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 145

Q 0.50
VFH = = = 1.132m / s
AFH 
 0.75 2
4
f BE หาได้จากความสัมพันธ์ระหว่าง Re และ  D
VBE DBE (2.546)(0.5)
ReBE = = = 1.273 106
 110 −6

 BE DBE = 0.20 / 500 = 0.0004


จาก Moody diagram จะได้ *
= 0.016
f BE S
f FH หาได้จากความสัมพันธ์ระหว่าง Re และ  D
VFH DFH (1.132 )(0.75)
ReFH = = = 8.49  10 5
 1  10 −6
 DB DDB = 0.15 / 750 = 0.0002
จาก Moody diagram จะได้ * cs
f = 0.015
FH

แทนค่าในสมการที่ (2) จะได้


150 2.546 2 35 1.132 2
 h f = 0.016  
0.5 (2  9.81)
+ 0.015  
0.75 (2  9.81)
= 1.632 m
·
การสูญเสียพลังงานรอง จะเกิดขึ้นที่ทางเข้า (ตะแกรงดักขยะ : kB = 3.50) ประตูน้ำ (Gate valve : kvalve =
0.39) ข้องอ 45° ทัง้ สองตัว (C และ D : kC = kD = 0.20) ข้องอ 90° (kG = 0.30) และบริเวณทางออก (H : kH
= 1.00) ดังนั้นการสูญเสียพลังงานรองทั้งหมดจึงมีค่าเท่ากับ (ค่า k ของอุปกรณ์ต่างๆ โจทย์ระบุมาให้)
2
VBE V2
 hm = (k B + k C + k D + k valve )  + (k G + k H )  FH
- 2g 2g
2.546 2 1.132 2
 hm = (3.5 + 0.2 + 0.2 + 0.39)  + (0.3 + 1.0) 
2g 2g

=
 hm = 1.502 m
นำ  h f และ  hm ไปแทนค่าในสมการ (1)

-> e
H T = (210 − 125 .5) − 1.632 − 1.502 = 81.366 m
กำลังงานที่น้ำได้รับ
PW = QH T = 9.81  0.5  81.366 = 399 .10 k  Watt
กำลังงานของกังหัน

& PT = T PW = 0.55  399 .10 = 219 .505 k  Watt ตอบ

สามารถ หา Zhe HA ทา ใส หา Tไ
วิ
ธี
ด้
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 146

แบบฝึกหัด
1. ถ้าน้ำไหลจากถัง A เข้าสู่ถัง B ดังรูป ด้วยอัตรา 0.034 m3/s จงคำนวณหาผลต่างของระดับน้ำ
ภายในถังทั้งสอง ถ้ามาตรวัดความดันอ่านค่าได้เท่ากับ 15 kPa และสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของท่อทั้งสอง
มีค่าคงที่เท่ากับ 0.025 และไม่คำนึงถึงการสูญเสียพลังงานย่อย

2. เครื่องสูบน้ำถูกนำมาใช้เพื่อให้สูบน้ำออกจากถึงได้ด้วยอัตราการไหลเท่ากับอัตราการไหลที่น้ำจะ
ไหลออกจากถังได้เองโดยไม่มีเครื่องสูบน้ำและท่อไม่มีความฝืด ท่อที่ใช้มีขนาดเส้นผ่ านศูนย์กลางเท่ากับ 100
mm จงคำนวณหาขนาดของเครื่องสูบน้ำเป็นกิโลวัตต์ (ไม่คำนึงถึงการสูญเสียพลังงานย่อย)

3. รางและท่อระบายน้ำฝนของอาคารแห่งหนึ่ง ดังรูปซึ่งทำจากเหล็กอาบสังกะสี (Galvanized Iron)


ท่อมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 m ยาว 2.20 m ที่ปลายด้านหนึ่งติดตั้งท่อโค้ง 45° เพื่อระบายน้ำฝนลงสู่ท่อ
น้ำทิ้ง ถ้าในขณะนั้นอุณหภูมิของน้ำฝนมีค่าเป็น 15 °C จงคำนวณหาอัตราการไหลของน้ำฝน กำหนดให้การ
สูญเสียที่ปากทางเข้าท่อมีค่าเท่ากับ 0.5 V2/2g และการสูญเสียในข้องอมีค่าเท่ากับ 0.35 V2/2g
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 147

4.จงคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การสูญเสีย (Lose coefficient) สำหรับข้อต่อขยายขนาด (Gradual


enlargement) จากขนาด 75 mm เป็น 150 mm โดยสภาพของการไหลแสดงดังรูป เมื่ออัตราการไหลใน
ขณะนั้นวัดได้ 50 l/s

5. น้ำไหลออกจากถังเปิดขนาดใหญ่ลงสู่บ่อน้ำผ่านระบบท่อดังรูป กำหนดให้ท่อเหล็กหล่อมีขนาดเส้น
ผ่านศูนย์กลาง 50 mm ท่อมีความยาวรวม 30 m จงคำนวณหาอัตราการไหล เมื่อความขรุขระของท่ อ
เหล็กหล่อมีค่าเท่ากับ 0.25 mm สัมประสิทธิ์การสูญเสียของการไหลจากถังเข้าสู่ท่อเท่ากับ 0.5 สัมประสิทธิ์
การสูญเสียผ่านข้องอกลับ 180° มีค่าเท่ากับ 2.0 สัมประสิทธิ์การสูญเสียผ่านข้องอ 90° มีค่าเท่ากับ 1.0
สัมประสิทธิ์การสูญเสียผ่านประตูน้ำแบบ Globe valve มีค่าเท่ากับ 10.0 สัมประสิทธิ์การสูญเสียของการไหล
จากท่อเข้าสู่ถังมีค่าเท่ากับ 1.0 และค่าความหนืดเชิงจลน์ของของเหลวในขณะนั้นมีค่าเท่ากับ 1×10-6 m2/s

6. จากรูป จงหากำลังงานที่ใช้ในการสูบน้ำ
บทที่ 6 │ การไหลภายในท่อ 148

7. จากรูป จงหากำลังงานที่ได้จากกังหันน้ำ

8. จากรูป ค่า k ของข้องอ 90° และวาล์ว เท่ากับ 1.5 และ 2.5 ตามลำดับ ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ
เท่ากับ 5.0 cm จงคำนวณค่าความเร็วของน้ำที่พุ่งออกจากปลายหัวฉีด (ค่า  ของท่อเท่ากับ 15 m )

9. จากรูป จงหาอัตราการไหล

You might also like