You are on page 1of 14

DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

CHAPTER 2
FLIGHT OPERATION
2.1 BEFORE ENGINE START
การปฏิบัติค วรใช้การ Call out เพื่อ เป็น การยืน ยัน ว่าได้ป ฏิบัติจริงทีล ะขั้นตอนของ Procedures ที่จำเป็น
สำหรับการบิน ซึ่งมีข้อแนะนำเพิ่มเติมดังนี้
2.1.1 Electric Master–On
เมื่อทำการเปิด Electric Master จะต้องตรวจสอบดังนี้
1. ต้องได้ยินเสียงพัดลมระบายความร้อนของ Avionic fan
2. จอ PFD & MFD จะต้องติดสว่างให้เห็นรายละเอียดชัดเจน

3. ใน Message alert มีข้อความเตือนของระบบต่าง ๆ 4 ระบบ คือ สีแดงของ DOOR OPEN, ALTN FAIL และ
สีเหลือง ของ PITOT HT OFF STALL HT OFF, VOLTS LOW
4. อาจได้ยินเสียงของ Hydraulic Pump เป็นเวลา 5-20 วินาที
2.1.2 Passenger–INSTRUCTED
ถ้ามีผู้โดยสารนั่งด้วยให้แนะนำเกี่ยวกับการปิดเปิดประตูด้านหลังและการรัดเข็มขัดตลอดจนการออกจาก
เครื่องเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน
2.1.3 Rear door CLOSED and LATCHED
กรณีไม่มีผู้โดยสาร ต้องไม่ทำการ Lock เพราะกรณีมีเหตุฉุกเฉินที่ไม่สามารถเปิด Canopy ด้านหน้าได้ จะ
สามารถเปิดประตูด้านหลังเป็นประตูฉุกเฉินแทน

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 1


DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

2.1.4 Front Canopy–POS 1 or 2


ทดลองปิด Canopy ตำแหน่ ง Position 1 เพื่อตรวจสอบ Warning Door Open ทำการปิดในตำแหน่ง
Position 2 โดยให้ประคองประตูลงมาอย่างช้า ๆ ระมัดระวังการกระแทกเพราะจะทำให้ประตูช ำรุดได้ ช่ว งที่ปิด
มาตำแหน่ง Position 2 ให้หัน มองดู Pin Lock ว่า ตรงกับ รูห รือ ไม่ แล้ว จึง ดัน คัน เปิด ไปด้านหน้าให้ Pin
Lock เข้าที่
2.1.5 G1000–POWER, ACKNOWLEDGED
การ ACKNOWLEDGED ต้องรอให้ขึ้นคำว่า “Press ENT or right-most soft key to Continue” ให้กด
ที่ ENT จอ MFD จะแสดง Navigation map page
2.1.6 MFD-ENGINE/FUEL
ให้ กด Soft key ด้านล่ างที่เขีย นคำว่า ENGINE จะเห็ น ข้อมูล ของ ENGINE เปลี่ ยนเป็นตัว เลขและ ให้
ตรวจสอบแถบสีเครื่องวัด โดยต้องเป็นแถบสีเต็มช่องและตัวเลขไม่ขาดหายหลังจากนั้นให้กด Soft Key ด้านล่าง
ที่เขียนคำว่า Fuel ที่จอจะเปลี่ยนเป็นการแสดงผลของระบบเชื้อเพลิง

2.1.7 Fuel Quantity–CHECK/RESET


การ Set Fuel ให้ Set ค่าที่แท้จริงจากปริมาณเชื้อเพลิงรวมของ Main Fuel Tank ทั้งซ้ายและขวา โดย
การกดปุ่ ม INC/DEC Fuel ใน Menu System ในกรณี ที่ มี เ ชื้ อ เพลิ ง เต็ ม ถั ง ให้ ท ำการ Reset Fuel และ
Decrease เป็น 74.4 us.gal
2.1.8 การ Check Backstop
เมื่อกาง Flap L/D (สำหรับเครื่อง TDI) ให้ดึงคันบังคับมาค้างไว้หลังสุดแล้วดัน Power levers หน้าสุด จะ
ได้ ยิ น Motor ทำงาน ต้านแรงดึงทำให้ คัน บั งคับ มีแ รงดัน กลั บ ไปข้ างหน้าเล็ กน้ อยแล้ ว หยุด เมื่อ ดัน Power

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 2


DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

levers มาที่ Idle แรงต้านจะลดลงทำให้ส ามารถดึงคันบังคับมาหลังสุดได้อีก ขณะมีแรงต้านไม่ควรฝืนมาก


เกินไปจะทำให้ Motor ทำงานหนัก
2.2 ENGINE STARTING
ก่อ นทำการ Start Engines ให้ คบ.และ ศบ.นั ่ง ประจำใน Cockpit ให้เ รีย บร้อ ย ตรวจสอบจอที ่นั ่ง
ทางด้านขวาให้เป็น จอ MFD จากนั้น ปรับ Canopy ในตำแหน่ง POS 1 หรือ POS 2 แล้วท่อง Emergency Brief
หัวข้อ Engine Fire On Ground ขั้นตอนนี้การ Engine start procedure ควรทำการติด ย.ด้านซ้ายก่อน
2.2.1 Engine Master ON L/R
เมื่อ ทำการเปิด สวิต ซ์ ให้สังเกตการณ์ป รับ มุม ใบพัด จาก Start lock เป็น มุม low pitch และจะเห็ น
ข้อความที่ Message alert คำว่า L/R Glow On เป็นตัวอักษรสีขาว

2.2.2 Annunciations/Eng Instrument – CHECKED


สังเกตที่ระบบไฟจะเห็นว่าระบบจะใช้ไฟมากจนถึงย่านสีแดง
2.2.3 Glow Indication–OFF
ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ต้องแน่ใจว่าไฟเตือนของ L/R Glow ดับ
2.2.4 Propeller area-CLEAR
ต้องแน่ใจว่าไม่มีบุคคลหรือสิ่งกีดขวางอยู่บริเวณรัศมีของใบพัดและให้สัญญาณติด ย. พร้อมกับเปล่งเสียง
ออกมาว่า “CLEAR”
2.2.5 Start key–START L/R
กรณีทำการติด ย. ไม่สำเร็จ ไม่ควรปล่อยให้ Starter ทำงานนานเกิน 10 วินาที และต้องพักอย่างน้อย 20
วินาที ก่อนทำการติด ย. ครั้งต่อไป หลังจากที่พยายามติด ย.ครั้งที่ 6 แล้วยังไม่สำเร็จ ให้ทำการพักต่อไปอีกครึ่งชั่วโมง
จึงทำการติด ย. ใหม่ได้ เนื่องจากต้องให้มีการพักระบายความร้อนของ Starter

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 3


DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

2.2.6 Oil pressure–OUTSIDE RED within 3 sec


ตรวจดูว่า Oil pressure ขึ้นเลยย่านสีแดงภายใน 3 วินาที
2.2.7 Voltage, Electric Load–CHECK INDICATION
ตรวจดูว่าเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าชี้อยู่ในย่านปกติ
2.2.8 Annunciations/Eng, Instrument–CHECK
ตรวจดู ว่าใน Message box ต้ องไม่ แสดงข้ อขั ดข้องของระบบนอกจาก Pitot HT และ Door Open (กรณี
POS 2)
2.3 CHECK AFTER ENGINE START
2.3.1 FMS setup
ใน Checklist จะให้ตั้งค่าต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการบินเดินทางแต่สำหรับการฝึกบินใน พท.การฝึก
ให้ set ดังนี้
1. AUX4 set ค่ าตาม Recommended and compulsory settings สำหรั บ เครื่อ ง NG ให้ ปิ ด ระบบ
Electronic Stability and Protection (ESP) สำหรับการฝึกบิน Contact
2. MAP ให้ตั้งค่า Scale ของ MAP ให้เหมาะสมกล่าวคือต้องเห็นครอบคลุมทั้งตัว เครื่อ งบิน และบริเวณ
โดยรอบคือประมาณ 20 NM แต่ถ้าบินในเวลากลางคืนและไม่คุ้นเคยกับสนามบินนั้นควร set ให้เห็นรายละเอียดที่
ชัดเจนขึ้น
3. Flight Plan select flight plan list D18 สำหรับการบินใน พ.ท.การฝึก

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 4


DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

4. การ Set Radio แนะนำดังนี้


COM1 121.75 STBY 123.3
COM2 132.35 STBY 121.5
NAV1 114.5 STBY 109.9
NAV2 115.1 STB 117.7
BRG1 BRG2
set NAV 1 set ADF
(เข็มเดี่ยว) (เข็มคู่)
ADF 251 STBY 1368
DME NAV2

5. การ Set Performance References แนะนำดังนี้


- Speed Bug Glide – 85, Vx – 82, Vy – 82 (สำหรับ TDI)
Glide – 85, Vy – 90 (สำหรับ NG)
- Minimum 300 Ft.

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 5


DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

2.2 Altimeters or QNH & Altitude-SET


ค่าความกดอากาศจะ Set ที่ QNH box, และที่ STBY Altimeter โดยที่ก่อน Set ให้ฟัง ATIS ก่อน (ถ้ามี) สำหรับ
ความสูงที่จะใช้สำหรับการบินให้ Set บน Altitude box
2.3 Standby horizon–RESET
ให้ใช้ทำการดึงที่ปุ่มด้านล่างขวาเพื่อทำการ Adjust Attitude ในตำแหน่งที่ถูกต้อง หลังจาก Adjust Attitude
เราจะเห็นว่า Attitude ใน PFD til up 2.5 Degree ถือว่าปกติเนื่องจากระยะยืดของ Oleo ล้อหัวแต่เมื่อบินระดับใน
อากาศ Attitude ใน PFD จะแสดงท่าระดับปกติ
เพิ่มเติม ก่อนที่จะทำการ taxi ให้ตรวจสอบ G1000 System Warnings ว่ามี RED X ขึ้นแสดงตาม display field
ต่าง ๆ หรือไม่ เพราะอาจจะไม่ ได้รั บ สั ญ ญาณข้อมูล ที่ ส มบูรณ์ เนื่ องจากจอดอยู่ในโรงจอด ขณะ taxi ให้ ท ำการ
ตรวจสอบอีกครั้ง หากยังขึ้นแสดงให้ละภารกิจ
2.4 TAXIING
ควรระมัดระวังในการปฏิบัติขั้นตอนต่าง ๆ ภายใน cockpit จนทำให้ละความสนใจขณะทำการ taxi หรือการทำ
procedure ขณะที่ taxi ในพื้นที่ที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น บริเวณโรงจอด บ. เป็นต้น การจัดตำแหน่ง
Rudder pedals ให้เหมาะสมควรให้เข่างอเล็กน้อย และตรวจสอบว่าอยู่ในตำแหน่ง lock ที่ถูกต้อง

การ taxi สามารถใช้ nosewheel , brakes และ differential power หรืออาจจะใช้ทั้งสามอย่างร่วมกัน โดยที่
nosewheel จะใช้ในการเลี้ยวเมื่อทำการเหยียบ rudder โดย brakes จะใช้ในการช่วยลดรัศมีของวงเลี้ยว และไม่ควร
คลอ brake ขณะทำการ taxi

ลักษณะการวางเท้า ขณะใช้ Brakes ลักษณะการวางเท้า ขณะใช้ Rudders

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 6


DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

Taxi clearance ในแต่ละสนามบินอาจแตกต่างกันออกไป ในกรณีที่เส้นทางการ taxi ให้อยู่บน center line ของ


ทางขับเท่านั้น ยกเว้นจะได้รับคำแนะนำจาก ground control เมื่อได้รับ taxi clearance เรียบร้อยให้ทำการ taxi
ออกจากโรงจอดและทำการเช็ค Brakes เมื่อปีกพ้นแนวเสาโรงจอดโดยดูสัญญาณจาก จนท.ประกอบ เมื่อเลี้ยวเข้า
center line ระหว่างซองจอด ให้ คบ.ทำการเช็ค Brakes ที่นั่งขวาอีกครั้งเมื่อเลี้ยว เข้า Taxiway F/G ให้เช็ค Turn
and Slip ตรงจุดเลี้ยว
เมื่อเข้าสาย Taxiway A ทำการ Check NAV1 โดยการ Tune & Ident โดยกด NAV1 แล้วกดปุ่ม VOL push ถ้า
รับสัญญาณได้จะขึ้นอักษร ID ตัวต่อท้ายความถี่นั้น และฟังสัญญาณ Morse code ทำการ set CDI ให้เป็น NAV1 แล้ว
set Course 03 เข็มสีเขียวจะต้องอยู่ตรงกลางให้ error ไม่เกิน 4 องศาและ FLAG รูปสามเหลี่ยมที่ CDI ของ NAV1
จะต้องชี้ “TO” หมุน ปุ่ม Course เพิ่ม หรือลดมากกว่า 90 องศา FLAG จะเปลี่ยนเป็น “FROM” แสดงว่า NAV1
ทำงานได้ถูกต้อง จากนั้น set Course 180
Check ADF ดูความถี่ โดยกดปุ่ม ADF/DME ทำการ Tune & Ident โดยกดปุ่ม ADF และฟังสัญญาณ Morse
code เลือก ANT เข็ม SWING ปลายปีก เลือก ADF ให้เข็มชี้สถานีอีกครั้ง
Check DME ดูความถี่ โดยกดปุ่ม DME ทำการ Tune & Ident ฟังสัญญาณ Morse code
TAKE OFF & EMERGENCY BRIEF
เมื่อ Taxi Check เสร็จ ให้ท่อง Take off & Emergency Brief ดังนี้
TDI
“ V rotate – 76 KIAS Vy – 82 KIAS Blue Line – 85 KIAS ”
“ Any malfunction before rotate STOP - P/W - Off / Brake ”
“ Any malfunction gear still down and runway sufficient remain ; Reland – Reduce
P/W – Break after LDG ”
“Any malfunction gear already up and runway insufficient remain ;Take Off continued
Full P/W – minimum speed blue line – identify and verify failed engine
Engine master off – Alternator off – Fuel selector off ”

NG
“ V rotate – 76 KIAS Vy – 90 KIAS Blue Line – 85 KIAS ”
“ Any malfunction before rotate STOP - P/W - Off / Brake ”
“ Any malfunction gear still down and runway sufficient remain ; Reland – Reduce
P/W – Break after LDG ”
“Any malfunction gear already up and runway insufficient remain ;Take Off continued
Full P/W – minimum speed blue line – identify and verify failed engine
Engine master off – Alternator off – Fuel selector off ”

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 7


DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

DEPARTURE BRIEF
ทำการ Brief เส้นทางที่จะบินไปหลังจาก Airborne ดังนี้
RWY 21 “Take off after passing 500 ft. LEFT climbing turn HDG 150 to intercept outbound R–
180 from KPS VOR climb and maintain 2000 ft. until passing R–270 from BKK VOR”
RWY 03 “Take off after passing 500 ft. RIGHT climbing turn to intercept outbound R–180 from
KPS VOR climb and maintain 2000 ft. until passing R–270 from BKK VOR”
2.5 BEFORE TAKE-OFF
เมื่อทำการ Taxi เข้ามาใน Taxiway B หรือ E ให้ทำการเบี่ยงออกจากเส้นเหลืองมาตรงแนวเส้นยางมะตอยเพื่อ
จะจอดจัดตัว 45 องศา ให้ห่างจากเส้น Hold Short และ บ.ลำหน้า 3 Blocks โดยให้ล้อหัวแตะปลายเส้นเหลือง แล้วให้
ปฏิบัติตาม Checklist หัวข้อ Before Take Off Check จุดประสงค์ของการ Check เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าการ
ทำงานของระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ว่าสามารถทำงานอยู่ใน Limit ที่กำหนดหรือไม่

การจอดตั้งตัว 45 องศา
ให้ปฏิบัติตาม Checklist โดยมีรายการที่สำคัญ คือ ก่อน ECU test ต้องแน่ใจว่า Power lever–Idle, Engine
temperature all greens และทำการ Hold Brakes โดย ECU test ทำการกดค้างไว้ตลอดเวลา เมื่อ test เสร็จแล้ว
หากพบข้อบกพร่องจะมี Warning ปรากฏในจอ PFD และเมื่อ Caution ECU Fail ดับแล้วให้ กดต่อไปอีก 3 วินาที
เพราะ Self-Test ECU อาจจะยังทำงานไม่เสร็จสมบูรณ์
ECU swap - ECU B ให้ตรวจสอบ Engine Instrument หากพบข้อบกพร่องให้ทำการละภารกิจ

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 8


DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

ECU SWAP เครื่อง TDI VOTER SWITCH เครื่อง NG


เพิ่มเติม สำหรับเครื่อง NG ให้ทำการเปิด Checklist หาค่า Available Power Check ด้วย
เมื่อทำ Procedure Before Take Off เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเลี้ยวจัดตัวพร้อม Line up และเปลี่ยน
ความถี่ติดต่อ Tower เพื่อขอ Clearance ในการ Line up ต่อไป

2.6 TAKE–OFF
ก่อนจะติดต่อหอบังคับการบินเพื่อเข้าไปตั้งตัววิ่งขึ้นในทางวิ่ง ให้มองเครื่องบินใน Base leg และ Final ว่ามี บ.
หรือไม่ เมื่อเห็นว่าไม่มีจึงติดต่อหอบังคับการบินเข้าไปตั้งตัววิ่งขึ้นและเมื่อได้รับคำแนะนำจากหอบังคับการบินแล้ว จึง
Taxi เข้าไปตั้งตัวเพื่อทำการวิ่งขึ้น การหยุด บ. ควรให้ บ.ขับเคลื่อนไปข้างหน้า เล็กน้อยก่อนหยุดนิ่ง เพื่อให้ล้อหน้า
ของ บ. ตรงไปตามแนวที่จะใช้ในการวิ่งขึ้น
การนำ บ.ตั้งตัว (Lineup) เพื่อทำการวิ่งขึ้นนั้นควรฝึกให้เป็น STANDARD ว่าต้องมีระยะทาง ในการวิ่งมากที่สุด
เท่าที่จะทำได้ถึงแม้ว่า Performance ของ บ.สามารถใช้ทางวิ่งน้อยกว่าที่มีอยู่ก็ตามเพราะต้องเผื่อระยะทางสำหรับการ
หยุด บ.เมื่อต้องการละการวิ่งขึ้น (Abort Takeoff)
ก่อนที่จะเร่งเครื่องยนต์ไปหน้าสุดให้ Hold Brakes แล้วตรวจสอบการทำงานของเครื่องวัดทุกอย่างต้องอยู่ในย่าน
Green Range ก่อนที่จะปล่อย Brakes
ควรเร่ง Power levers ไปอย่างนิ่มนวลประมาณ 3 - 5 วินาที จนถึงตำแหน่งหน้าสุดพร้อมกันทั้ง 2 เครื่องยนต์
เพื่อป้องกันการสะดุดของเครื่องยนต์ ทำการตรวจสอบการทำงานของเครื่องวัดเครื่องยนต์ เป็นเวลา 10 วินาที หลังจาก
นั้น ทำการปล่ อยเบรกแล้ วนำปลายเท้าลงมาวางที่ rudder ส้นเท้าวางที่พื้น และควบคุม บ.ให้ อยู่บนเส้นขาวกลาง
Runway โดยใช้ Rudder บังคับทิศทาง
Control Stick ควรให้อยู่ตำแหน่ง Aft Stick ขณะเร่ง ย.ไปหน้าสุดและเมื่อปล่อยเบรกให้ปล่อยมาในตำแหน่ง
Neutral อย่าดันไปข้างหน้าขณะ Ground Roll เพราะอาจเสี่ยงต่อการทำให้ใบพัดฟันฟื้น และควรให้ บ. เพิ่มความเร็ว
ถึง Lift–off speed ก่อนทำการ rotate บ.

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 9


DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

SHORT FIELD TAKE OFF


Objective: ผู้ รั บ การฝึ กจะได้เรี ยนรู้วิธีก ารใช้ Performance สู งสุ ดของอากาศยานตามที่ ได้รับ การ
ออกแบบมา เพื่อให้ อากาศยาน Take off โดยใช้ระยะทางวิ่งน้อยที่สุด สำหรับกรณีที่ Runway สั้น และ มีสิ่งกีดขวาง
ท้าย Runway
การปฏิบัติ
1. ให้ ผู้รับ การฝึ กเปิ ด Flaps Approach จากนั้น Taxi ไปทำการ Line up ตรงตำแหน่งที่จะได้ความยาวของ
Runway มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นให้ Hold Brakes แล้วเร่ง Power levers หน้าสุด เช็คเครื่องวัดเครื่องยนต์ทำ
การปล่อยเบรก โดยให้ Elevator อยู่ในตำแหน่ง Neutral
2. เมื่อถึงความเร็วที่ 76 KIAS ให้ดึง Flight Control เพื่อทำการ Rotate
3. ทำการไต่ด้วย Vx = 82 KIAS.เมื่อ Positive rate of climb เก็บ Gear แล้วรักษาความเร็วที่ Vx = 82 KIAS.
4. จนกระทั่งได้ความสูงไม่น้อยกว่า 50 ฟุต AGL หรือ เมื่อพ้นจากสิ่งกีดขวางทั้งหมด ให้ทำการบินไต่ด้วย Vy =
82 KIAS.
5. เมื่อถึงความสูง 500 ฟุต AGL ให้ทำการบินไต่แบบปกติ

Reference: Multi – Engine Chapter 4 Page4-16, 4-17 (Jeppesen)

CROSS WIND TAKE-OFF


Objective: ผู้รับการฝึกสามารถปฏิบัติในการวิ่งขึ้นขณะมีลมขวางสนามได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
การปฏิบัติ
1. ให้ผู้รับการฝึก Bank Into the wind จากนั้นทำการเติม Power levers หน้าสุด
2. เมื่อ บ. เริ่ม lift-off รักษาปีกระดับ และใช้ Rudder รักษา Track Runway
3. ทำการไต่ด้วย Vy เมื่อ Positive rate of climb เก็บ Gear แล้วรักษาความเร็ว

Reference: Airplane Flying Handbook 2016 Chapter 5 Page5-6

2.7 AFTER TAKE–OFF


หลังจากวิ่งขึ้นให้ศิษย์การบินปฏิบัติ ดังนี้
เมื่อ บ. Airborne ให้ Keep Take–off Attitude ในท่า Rotate จนกระทั่ง บ. Accelerates ไปที่ 90 KIAS Attitude
ประมาณ 5 องศา
- ให้ Positive rate of climb
- Gear–up (ควรเหยียบเบรกเพื่อให้ล้อหยุดหมุนก่อนเก็บ Gear)
- Check 3 Green Light-Out เพื่อให้แน่ใจว่า Gear up, Landing light–off

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 10


DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

เพิ่มเติม การ Call Out ขณะปฏิบัติ ดังนี้


“safety airborne, positive rate of climb airspeed more than 90 – Brakes press – Gear up,
confirm 3 green lights off, unsafe light out”
- จากนั้นเปลี่ยนเป็นรักษาท่าไต่ Attitude ประมาณ 7.5 องศา
- เมื่อไต่ผ่านความสู ง 200 ฟุต ผ่ อน P/W 90% (TDI) / 92% (NG) เพื่อลดภารกรรมของเครื่องยนต์และเพิ่ ม
ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ในการฝึกให้ใช้ A/S 90 KIAS (TDI) / A/S 100 KIAS (NG)
TIP: เนื่องจาก บ.มีกำลังเครื่องยนต์มากเมื่อเทียบกับน้ำหนัก ฉะนั้นอาการ yaw ของ บ.จะเกิดขึ้นขณะที่ความเร็ว
น้อยและหัว บ.สูง เราจึงต้องใช้ Rudder ด้านขวาเพื่อรักษา บ.ให้ Coordinate ตลอดเวลา

2.8 DEPARTURE
ตาม รปป.รร.การบิน ที่ 07-001 การออกนอกวงจรเพื่อเข้าพื้นที่การฝึก ใช้การออกแบบ VFR.DEP หรือ DEP.1
โดยหลังจากการ Take off เมื่อความสูงมากกว่า 500 ฟุต และพ้นท้ายทางวิ่ง ให้ ทำการเปลี่ยนความถี่ติดต่อ KPS.
Approach
Runway 21 “ Take off after passing 500 ft LEFT climbing turn HDG 150 to intercept
outbound R–180 from KPS VOR climb and maintain 2000 ft. until passing R–270 from BKK VOR”
Runway 03 “Take off after passing 500 ft RIGHT climbing turn to intercept outbound
R–180 from KPS VOR climb and maintain 2000 ft. until passing R–270 from BKK VOR”

2.9 AIRSPACE ENTRY


การบิ น Intercept course เพื่ อรั กษา out bound course ความสู ง 2000 ฟุ ต โดยรั กษา A/S 120 KIAS เมื่ อ ถึ ง
ประมาณ 10 DME จาก TACAN ให้ เปลี่ยนความถี่ NAV2 เป็น 117.7 และ BRG2 เป็น NAV2 เมื่อผ่าน R-270 ให้แจ้ง
App. และเลี้ ยวไป รักษา Track ระหว่างแม่น้ ำแม่กลองกับถนนเพชรเกษม (ถ้าไม่เห็ น Ground Track ให้ ถือ HDG
230) เปลี่ยนความถี่ NAV2 เป็น 115.1 จนถึงจุดสังเกต ให้เลี้ยวเข้า Area ดังนี้
1. Area Cn สามารถไต่ได้ทันทีเมื่อผ่าน Radial 270 จาก BKK VOR
2. การเข้า Area อื่นๆ ให้รักษา Track ระหว่างถนนเพชรเกษมและแม่น้ำแม่กลอง โดยให้แม่น้ำแม่กลองอยู่ฝั่ง
ขวามือตลอดเวลา
3. Area Bn สามารถไต่เข้าได้หลังจากถึงบ้านโป่งและตัวเครื่องข้ามผ่านแม่น้ำแม่กลอง
4. Area Cs สามารถไต่เข้าได้หลังจากถึงโพธาราม
5. Area Bs สามารถไต่เข้าได้หลังจากถึงโพธารามและตัวเครื่องข้ามผ่านแม่น้ำแม่กลอง

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 11


DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

6. Area W สามารถไต่เข้าได้หลังจากผ่านคลองดำเนินสะดวกและจังหวัดราชบุรี
7. Area En สามารถไต่เข้าได้หลังจากถึงจังหวัดราชบุรีและตัวเครื่องข้ามผ่านคลองดำเนินสะดวก
8. Area Es สามารถไต่เข้าได้หลังจากผ่านปากแม่น้ำแม่กลอง
เมื่อเข้า Area ให้ไต่ความสูงตามที่ได้วางแผนไว้ ปกติในการฝึกบินจะใช้ความสูง 5,000 ฟุต ( Area Cn ให้ใช้ความ
สูง 5,000-7,000 ฟุต เนื่องจาก Area ทับซ้อนกับ Area 5S)

TANGO POINT

ROMEO POINT

2.10 LEVEL OFF CHECK


เมื่อได้ความสูงที่ต้องการแล้วให้ทำการวางระดับ โดยเริ่มโน้มหัว บ.บินระดับ ประมาณ 10% VVI เมื่อ A/S ผ่าน
110 KIAS ให้ผ่อน P/W 65-70% สำหรับ TDI รักษา A/S 120 KIAS และ P/W 55-60% สำหรับ NG รักษา A/S 130
KIAS รักษาความสูง และ HDG คงที่ ทำการ check engine instrument

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 12


DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

2.11 AREA ORIENTATION


ในการฝึก ศบ.ให้ใช้หลักการมอง Ground reference (visual) เป็นหลัก หากทัศนวิสัยไม่เหมาะสมทำให้ไม่
สามารถมองเห็น Ground reference ได้ เช่น หมอก, หมอกแดด หรือทำการฝึกโดยใช้ VRD เป็นต้น ให้ใช้หลักการ
VOR/DME หรือการใช้ EFIS และ GPS Display Options ได้
2.12 ARRIVAL
ตาม รปป.รร.การบิ น ที่ 07-001 การออกจากพื้ นที่การฝึ ก ให้ ทำการ Descend มาที่ความสู งที่กำหนด ถ้า
สามารถเห็นจุดรายงาน สามารถบิน เข้าหาจุดรายงานได้เลย ถ้ามองไม่เห็นให้ถือ HDG คร่าว ๆ หรือใช้ที่หมายคร่าว ๆ
จาก Area ไปเข้าจุดรายงาน ดังนี้
1. Area Cn ให้ลดระดับใน Area จนถึงความสูง 1500 ฟุต และกลับไปตั้งตัวที่บ้านโป่ง จากนั้นรักษา Track ให้
แม่น้ำแม่กลองอยู่ขวามือจนเห็น T.Point จึงเลี้ยวตัดแม่น้ำให้ผ่าน T.point พอดี
2. Area Bn ให้ลดระดับใน Area จนถึงความสูง 1500 ฟุต จนเห็น T.Point จึงเลี้ยวตัดแม่น้ำให้ผ่าน T.point
พอดี
3. การกลับสนามจาก Area อื่นๆ ให้รักษา Track แม่น้ำแม่กลองอยู่ขวามือจนเห็น T.Point จึงเลี้ยวตัดแม่น้ำให้
ผ่าน T.point พอดี
4. Area Bs ให้เข้าต่อที่จุดรายงาน R.Point ที่ความสูง 4000 ฟุต รักษา Track แม่น้ำแม่กลองอยู่ขวามือ จากนั้น
เลาะแม่น้ำแม่กลองเข้าต่อวงจรที่จุดรายงาน T.Point ที่ความสูง 1,500 ฟุต
5. Area Cs และ W ให้เข้าต่อที่จุดรายงาน R.Point ที่ความสูง 3000 ฟุต รักษา Track แม่น้ำแม่กลองอยู่ขวามือ
จากนั้นเลาะแม่น้ำแม่กลองเข้าต่อวงจรที่จุดรายงาน T.Point ที่ความสูง 1,500 ฟุต
6. Area En และ Es ให้ไปที่จังหวัดราชบุรีก่อนแล้วจึงเข้าต่อที่จุดรายงาน R.Point ที่ความสูง 4,000 ฟุต รักษา
Track แม่น้ำแม่กลองอยู่ขวามือ จากนั้นเลาะแม่น้ำแม่กลองเข้าต่อวงจรที่จุดรายงาน T.Point ที่ความสูง 1,500 ฟุต
7. เมื่อผ่าน T.Point ที่ความสูง 1,500 ฟุต ให้ลดระดับเพื่อเข้าจุดรายงาน C.Point ที่ความสูง 800 ฟุต โดยทำ
การลดระดับ เมื่อชายหลังปี กผ่ านเขาพระแท่น ดงรัง หรือสามารถลดระดับได้ก่อนหากเห็ นจุด C.Point (เพื่อรักษา
Vertical Seperation กับเครื่อง CT-4E)
8. การเลี้ยวผ่านจุด C.Point ให้เผื่อระยะเลี้ยวก่อนเล็กน้อย โดยขณะผ่าน จุด C.Point บ.คืนตรงปีกระดับ ถือ
HDG 120 เรียบร้อยแล้ว
9. เมื่อผ่าน C.Point รักษาความเร็ว 120 KIAS ถ้าทัศนวิสัยดีจะสามารถมองเห็นโรงเก็บ บ.ให้รักษา Track
จาก C.Point เข้าหากึ่งกลางสนาม (ประมาณโรงเก็บ บ. โรงที่ห นึ่ง) แต่ถ้าทัศนวิสัยไม่ดีให้ รักษา HDG 120 เข้าหา
สนามจนกว่าจะเห็นโรงเก็บ บ.หรือ Runway ให้รักษา Track กึ่งกลางสนาม เลี้ยวเข้าต่อวงจรในขา Downwind และ
ทำการติดต่อ Tower

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 13


DA-42 PHASE MANUAL ADVANCED TRAINING SQUADRON

หมายเหตุ
- การลดระดับให้รักษา A/S ไม่เกิน 140 KIAS โดยการปรับ P/W และ Attitude ของ บ.ให้เหมาะสม
- ถ้ามี บ.ลำอื่นอยู่ในวงจร ทำให้ไม่สามารถเข้าต่อวงจรได้ ให้ทำการ orbit ในทิศทางเดียวกับวงจรขณะนั้น มุม
เอียงปีก 20 องศา รักษาความสูง 800 ฟุต เพื่อจัด Separation ในการเข้าต่อวงจรต่อไป
Reporting Point จาก KPS VOR

R.Point - Romeo Point โพธาราม (R-192/29 NM)


T.Point - Tango Point ท่าเรือ (R-222/17.5 NM)
C.Point - Charlie Point (R-270/9.3 NM)
J.Point – Juliet Point (R-330/10.5 NM)
N.Point – November Point (R-055/6.4 NM)

2.13 AFTER LANDING AND PARKING CHECK


ให้ทำการจอด บ. ทำ Procedure หัวข้อ AFTER LANDING CHECK ก่อนติดต่อ taxi กลับโรงจอด ใน Phase
Pre-solo ให้จอด บ. ในโรงจอด (ยกเว้น ศบ.ทำการบินเดี่ยว ให้ทำการจอด บ. นอกโรงจอด) ติดต่อปิดแผนการบิน
แล้วทำการดับ ย. ตามขั้นตอน PARKING CHECK เมื่อ ย.ดับเรียบร้อยให้ทำการ Release Parking Brake
สำหรับ Headset นำมาเก็บไว้ที่พนักพิงศีรษะ ไม่ควรวางที่ Console เพราะบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิที่สูง เมื่อ บ.
จอดกลางแจ้งจะทำให้ขอบยาง Headset จะเสื่อมสภาพ

REVISION JUNE 2021 FLIGHT OPERATION 14

You might also like