You are on page 1of 3

1

Design thinking
การคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking เป็นกระบวนการคิดเพื่อการออกแบบที่เน้นผลลัพธ์
สุดท้ายเป็นสําคัญ เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมใหม่หรือกระบวนการใหม่ในการแก้ปัญหาที่ตอบสนองความ
ต้องการของผู้ใช้งานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องการฝึกกระบวนการคิดเชิงออกแบบจึงเป็นการพัฒนาการคิดของนิสิต

Design Thinking เป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนาการคิดเพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งทำให้


สามารถมองเห็นปัญหาจากมุมมองของผู้ที่ได้รับผลกระทบ มากกว่าการมองจากผู้ออกแบบ ทำให้เราสามารถมอง
ปัญหาได้อย่างรอบด้าน สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์และตรงจุด

กระบวนการคิดเชิงออกแบบประกอบด้วย 5 ขั้นตอน
1. empathize รวมรวมข้อมูลของเป้าหมายหรือผู้ได้รับผลกระทบ
2. define กำหนดโจทย์หรือที่มาของปัญหาของเป้าหมายหรือผู้ได้รับผลกระทบ
3. ideate ระดมความคิดเพื่อออกแบบแนวทางในการแก้ปัญหา
4. prototype สร้างต้นแบบ หรือแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหา
5. test นำต้นแบบหรือแนวทางมาใช้ในการตอบโจทย์ปัญหา
ถ้าต้นแบบหรือแนวทางที่ออกแบบยังไม่ตอบโจทย์ สามารถย้อยกลับไปทบทวนในขั้นตอนที่ 2 และ 3 ได้

วิชาศาสตร์แห่งแผ่นดิน
2

กิจกรรม surprise gift


กิจกรรมนี้จะสมมติสถานการณ์ให้นิสิตได้ทดลองออกแบบของขวัญให้กับเพื่อน เป้าหมายคือของขวัญชิ้นนั้นต้อง
ตอบโจทย์ตามความต้องการของเพื่อน โดยผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
1. นิสิตเลือกบุคคลที่จะเตรียมของขวัญให้ พร้อมคิดว่าจากการที่เรารู้จักเพื่อน (อาจจะเป็นบุคคลใดก็ได้) จะซื้อ
อะไรให้เป็นของขวัญถึงจะถูกใจเพื่อนที่สุด โดยยังไม่ต้องสอบถามข้อมูลอะไรจากเพื่อนเลย
ของขวัญชิ้นที่ 1 นิสิตเลือก Samsung Galaxy S22

2. ให้นิสิตพูดคุยกับเพื่อนที่เราจะซื้อของขวัญให้ อาจจะสอบถามข้อมูลจากเพื่อนเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในการเลือก
ของขวัญ ให้นิสิตเขียนข้อมูลเชิงลึกของเพื่อนมา 3-5 อย่าง
1) โทรศัพท์ใช้งานมานานแล้ว

2) ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

3) ช่วงนี้พักผ่อนไม่เพียงพอ
4) คนข้างห้องเสียงดัง

5)

3. หลังจากได้ข้อมูลเชิงลึกของเพื่อนมาแล้ว ให้นิสิตวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาแล้วลองออกแบบของขวัญให้กับเพื่อน
เพิ่มอีก 3 ชิ้น
ของขวัญชิ้นที่ 2 นิสิตเลือก รองเท้าออกกำลังกาย FILA MS

ของขวัญชิ้นที่ 3 นิสิตเลือก Vitamin C

ของขวัญชิ้นที่ 4 นิสิตเลือก ที่อุดหู

วิชาศาสตร์แห่งแผ่นดิน
3

4. ให้นิสิตเสนอของขวัญทั้ง 4 ชิ้นให้กับเพื่อนทีละชิ้น โดยให้เพื่อนให้คะแนนของแต่ละชิ้น (1 น้อยที่สุด – 5 มาก


ที่สุด) พร้อมขอข้อเสนอแนะหรือแนวคิดต่อของขวัญแต่ละชิ้นจากเพื่อน ใส่ลงในช่องที่กำหนดให้
ของขวัญชิ้นที่ คะแนน ความเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อแนะนำของเพื่อนต่อของขวัญที่นิสิตเลือกให้
1 4 ราคาสูงเกินไปและตอนนี้โทรศัพท์ยังใช้งานได้อยู่
2 5 น่าสนใจมาก เพราะรองเท้าใช้เข้ายิมหรือไปวิ่งข้างนอกก็ได้
3 4 ตอนนี้มียี่ห้อประจำอยู่แล้ว และเพิ่งซื้อมา
4 3 เคยใส่แล้ว แต่มันค่อนข้างจะปวดหู

5. จากการที่นิสิตรวบรวมข้อมูลและผลการนำเสนอของขวัญทั้ง 4 ชิ้นให้เพื่อน ให้นิสิตเลือก “surprise gift” ที่


น่าจะตรงใจเพื่อนที่สุด 1 ชิ้น
ของขวัญที่นิสิตเลือกเป็น surprise gift ร้องเท้าออกกำลังกาย FILA MS

6. จากกิจกรรมเรื่อง surprise gift นิสิตได้เรียนรู้อะไรบ้าง

วิชาศาสตร์แห่งแผ่นดิน

You might also like