You are on page 1of 17

กาพย์เห่เรือ

พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
“เห่ชมเรือ”
ปางเสด็จประเวศด้าว ชลาไลย
ทรงรัตนพิมานไชย กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร แหนแห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว เพริศพริ้งพายทอง
ถอดความ :
เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จทางชลมารค ทรงประทับเรือกิ่งซึ่งพรั่งพร้อมด้วยกำลังพล
ทหารห้อมล้อม เป็นขบวน ภาพของเรือต้นงดงามแวววาวระยิบระยับจากแสงสะท้อนที่มาจากพายสีทอง
สัมผัสพยัญชนะ เช่น ลา-ไลย , กิ่ง-แก้ว , พรั่ง-พร้อม , พวก-พล , แหน-แห่ , แพร้ว-เพลิศ ,
อย่างสวยงาม
เพริศ-พริ้ง , พริ้ง-พาย
มีการใช้คำซ้อน เช่น พรั่งพร้อม , พวกพล , เพริศพริ้ง
พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน
แปล :

เจ้าฟ้ากุ้งได้เสด็จไปทางน้ำนั่งเรือต้นอันงดงาม เรือกิ่งแก้วเลื่อมระยิบระยับฝีพายก็เคลื่อนขึ้นลงอย่างเนิบๆ
อย่างสวยงาม
สัมผัสพยัญชนะ เช่น เฉิด-ฉาย กิ่ง-แก้ว แพร้ว-พรรณ งาม-งอน
สัมผัสสระ เช่น แก้ว-แพร้ว ราย-พาย
นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน สาครลั่นครั่นครื้นฟอง
แปล :

เรือแน่นเป็นแถวล้วนแต่เป็นกองทัพรูปสัตว์ต่างๆ มองเห็นริ้วธงเด่นชัดมาแต่ไกล
แม่น้ำสะเทือนเต็มไปด้วยคลื่นน้ำ
สัมผัสพยัญชนะ เช่น นาวา-แน่น สัตว์-แสน เรือ-ริ้ว
สัมผัสสระ เช่น แก้ว-แพร้ว ราย-พาย หยับ-จับ ขนัด-สัตว์ กร-คร
โวหารภาพพจน์ มีการใช้อุปลักษณ์ เช่น นาวาแน่นเป็นขนัด
คุณค่าทางสังคม สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตในสมัยก่อนต้องคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก
เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง ร้องโหเห่โอ้เห่มา
ถอดความ :

เรือครุฑที่กำลังลอยมา ซึ่งบนเรือมีคนพายเรือกำลังพายเรือ

พร้อมเปล่งเสียงโห่ร้อง
สัมผัสพยัญชนะ เช่น ลิ่ว-ลอย ผัน-ผยอง โห-เห่
สัมผัสสระ เช่น มา-พา พาย-กราย
ภาพพจน์ มีการใช้สัทพจน์
สรมุขมุขสี่ด้าน เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา หลังคาแดงแย่งมังกร
ถอดความ :
เรือสรมุขที่ลอยมาเหมือนวิมานของเทวดา ที่ผ่านเมฆไป มีม่านสีทอง หลังคาสีแดงมีลายมังกร
สัมผัสพยัญชนะ เช่น เพียง-พิ
สัมผัสสระ เช่น กรอง-ทอง แดง-แย่ง คา-นา
โวหาร มีการใช้อุปมาโวหาร
การซ้ำคำ เช่น สรมุขมุขสี่ด้าน
สมรรถชัยไกรกาบแก้ว แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร ดังร่อนฟ้ามาแดนดิน
ถอดความ :
เรือสมรรถชัย ซึ่งกำลังแล่นมาเทียบเคียงกับเรือสรมุขนั้นประกอบไป ด้วยกาบแก้วขนาดใหญ่มีการเกิดแสง
แวววับสะท้อนกับแม่น้ำมี ความงดงามมากเหมือนดั่งว่า กำลังร่อนลงจากสวรรค์ฟากฟ้าลงสู่พื้นดิน
สัมผัสพยัญชนะ เช่น ไกร-กาบ-แก้ว,แวว-วับ,เรียบ-เรียง,เคียง-คู่,แดน-ดิน
สัมผัสสระ เช่น ชัย-ไกร,แสง-แวว,วับ-จับ,เรียบ-เรียง-เคียง,ฟ้า-มา
โวหาร / ภาพพจน์ มีการใช้พรรณนาโวหาร และภาพพจน์อุปมา
มีการใช้คำซ้อนเพื่อความหมาย เช่น แวววับ,เคียงคู่
สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
ถอดความ : เรือสุวรรรหงส์มีพู่ห้อยอย่างสวยงามล่องลอยอยู่บน สายน้ำเปรียบดั่งหงส์ที่เป็นพาหนะ
ของพระพรหมเยื้องกรายมาให้ชม
สัมผัสพยัญชนะ เช่น ชด-เชย,ลิน-ลาศ-เลื่อน,เตือน-ตา
สัมผัสสระ เช่น หงส์-ทรง,ช้อย-ลอย,เลื่อน-เตือน
โวหาร มีการใช้อุปมาโวหารและพรรณนาโวหาร
คุณค่าทางสังคม แสดงให้เห็นว่าในสมัยก่อนืกษัตริย์จะเดินทางไปที่ไหนพาหนะจะต้องมีความยิ่งใหญ่
มีการใช้คำซ้อนเพื่อความหมาย เช่น ลินลาศ
เรือชัยไวว่องวิ่ง รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน
ถอดความ :
เรือชัยรวดเร็วดั่งลม เสียงไม้กระทุ้งที่ดังเป็นจังหวะให้เรือแล่นเคียงคู่เรือพระที่นั่งลำอื่น
สัมผัสพยัญชนะ เช่น ไว-ว่อง-วิ่ง, รวด-เร็ว, ยิ่ง-อย่าง, เสียง-เส้า
สัมผัสสระ เช่น ชัย-ไว, วิ่ง-จริง, จริง-ยิ่ง, ลม-ดม, เส้า-เร้า, ดม-ห่ม, เยิ่น-เดิน
โวหาร มีการใช้พรรณนาโวหารและบรรยายโวหาร
คชสีห์ทีผาดเผ่น ดูดังเป็นเห็นขบขัน
ราชสีห์ที่ยืนยัน คั่นสองคู่ดูยิ่งยง
ถอดความ : เรือคชสีห์ที่ทำท่าเหมือนจะกระโจนดูน่าขัน และเรือราชสีห์ที่เคียงข้างทำให้ดูแข็งแรง
สัมผัสพยัญชนะ เช่น ผาด-เผ่น, ดู-ดัง, ขบ-ขัน, ยืน-ยัน, ยิ่ง-ยง
สัมผัสสระ เช่น สีห์-ที, เผ่น-เป็น, เป็น-เห็น, ขัน-ยัน, ยัน-คั่น, คู่-ดู
โวหาร มีการใช้บรรยายโวหารและพรรณนาโวหาร
คุณค่าทางสังคม การพรรณนาได้แสดงให้เห็นภาพว่าเรือชัยมีความว่องไวประดุจลมและ
เรือคชสีห์กับเรือราชสีห์นั้นดูมีความแข็งแกร่งเมื่ออยู่คู่กัน ราวกับว่ามีชีวิตตามชื่อสัตว์จริง ๆ
และแสดงให้เห็นวิถีทางด้านการคมนาคมทางน้ำ
เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรง องค์พระพายผายผันผยอง
ถอดความ :

เเรือม้านั้นกำลังมุ่งหน้าไปข้างหน้าซึ่งเรือม้ามีลักษณะที่สูงเปร่ง กับม้าทรงของพระพาย
สัมผัสพยัญชนะ เช่น เฉื่อย- ฉ่ำ,พระ-พาย,ผาย-ผัน-ผยอง
สัมผัสสระ เช่น ม้า-หน้า,ฉ่ำ-ลำ,อา-ชา,พาย-ผาย,น้ำ-ฉ่ำ,ทรง-องค์,หง-ทรง
โวหารภาพพจน์ มีการใช้พรรณนาโวหารและบรรยายโวหาร
คุณค่าทางสังคม ได้แสดงการพรรณนาถึงเรือเรือม้าและได้บรรยายว่าเรือม้านั้นมุ่งหน้า
เหมือนกับอาชาที่สง่า
เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง เป็นแถวท่องล่องตามกัน
ถอดความ :
เรือสิงห์ดูเหมือนกับว่ากำลังจะกระโจนลงสู่แม่น้ำและมีความฮึกเหิมนั้นก็แล่นเป็นแถวตามๆกัน
สัมผัสพยัญชนะ เช่น เผ่น-โผน,ฝืน-ฝ่า
สัมผัสสระ เช่น สิงห์-วิ่ง,โผน-โจน,คลื่น-ฝืน,ฟอง-พอง,ยิ่ง-สิงห์,พอง-ท่อง,ท่อง-ล่อง
โวหารภาพพจน์ มีการใช้พรรณนาโวหารและบรรยายโวหาร
คุณค่าทางสังคม ได้แสดงการพรรณนาถึงเรือเรือสิงห์และได้บรรยายว่าเรือสิงห์ที่เหมือนกระโจน
สู่แม่น้ำด้วยความฮึกเหิม เหมือนการที่ตั้งชื่อเรือนั้นตั้งตามการใช้ชีวิตของสัตว์ต่างๆ
นาคาหน้าดังเป็น ดูเขม่นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพัน ทันแข่งหน้าวาสุกรี
ถอดความ :

เรือนาค(นาคนายก) เมื่อมองดูแล้วเหมือนมีชีวิตชวนให้ตลกขบขัน กำลังถูกเรือมังกร(มกระมะหามะหรรนพ


เดช)พายตามมาทัน
สัมผัสพยัญชนะ เช่น พาย-พัน , โผน-เพียง
สัมผัสสระ เช่น เป็น-เห็น , ขัน-พัน , พัน-ทัน
โวหาร / ภาพพจน์ มีการใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และมีการใช้ภาพพจน์อุปมา
มีการใช้คำซ้อนเพื่อความหมาย คือ ขบขัน
เลียงผาง่าเท้าโผน เพียงโจนไปในวารี
นาวาหน้าอินทรี มีปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม
ถอดความ : เรือเลียงผา (เลียงผาใหญ่ เทพวรชุน) คล้ายกำลังทำท่าเงื้อฝ่าเท้าเตรียมกระโจนลงไปในน้ำ
ส่วนเรืออินทรี (อินทรีทิพย์) ก็มีปีกเหมือนกำลังลอยไปบนท้องฟ้าอากาศ
สัมผัสพยัญชนะ เช่น เลื่อน-ลอย
สัมผัสสระ เช่น โผน-โจน , อินทรี-วารี , อินทรี-มีปีก
โวหาร/ภาพพจน์ มีการใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และมีการใช้ภาพพจน์อุปมา
คุณค่าทางสังคม ชี้ให้เห็นวัฒนธรรมไทยในประเพณีการแข่งเรือ มีการนำสัตว์ในความเชื่อมาผสมกับ
การสร้างเรือ สะท้อนวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแม่น้ำ
ใช้คำซ้อนเพื่อความหมาย คือ เลื่อนลอย
ดนตรีมี่อึงอล ก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม โสมนัสชื่นรื่นเริงพล
ถอดความ :
เสียงดนตรีอึกทึกดังลั่น มีเสียงประโคมก้องจากแตรงอน พลทหารร่วมกันแห่โห่ร้องอย่าครึกครื้น
ทำให้ทหารเบิกบานรื่นเริงกัน
สัมผัสพยัญชนะ เช่น อึง-อล , ก้อง-กา , ครึก-ครื้น-โครม , แห่-โหม , รื่น-เริง
สัมผัสสระ เช่น ตรี-มี่ , หล-พล , ฮึก-ครึก , โครม-โสม , ชื่น-รื่น
โวหาร บรรยายโวหาร
คุณค่าทางสังคม เห็นถึงวัฒนธรรมการแห่ขบวนเรือ และแสดงวิถีรื่นเริงของทหารชาวเรือสมัยก่อน
มีการใช้คำซ้อนเพื่อความหมาย เช่น อึงอล, แห่โหม , ครื้นโครม , ชื่นรื่นเริง
กรีธาหมู่นาเวศ จากนคเรศโดยสาชล
เหิมหื่นชื่นกระมล ยลมัจฉาสารพันมี
ถอดความ :
เรือที่เคลื่อนมาจากเมืองด้วยน่านน้ำ ดูแข็งแกร่งมองแล้วยินดีและชื่นใจยิ่ง มองดูฝูงปลาสารพัดในสายน้ำ
สัมผัสพยัญชนะ เช่น เหิม-หื่น
สัมผัสสระ เช่น หื่น-ชื่น , มล-ยล , มัจฉา-สารพัน
โวหาร มีการใช้พรรณนาโวหารและบรรยายโวหาร
คุณค่าทางสังคม เห็นถึงวัฒนธรรการแห่ขบวนเรือ และการคมนาคมทางน้ำ
มีการใช้คำซ้อนเพื่อความหมาย เหิมหื่น (เหิม=กำเริบ/ลำพองใจ/แกร่ง,หื่น=ความแรงกล้า
สมาชิกในกลุ่ม

กัลย์สุดา ฉัฐมะพิพัฒน์ 6ก ธัญญรัตน์ พิมพิรัตน์ 8ก ปิยะณัฐ แสนศรี 11ก พิชญ์นันต์ นิติพจน์13ก

พิชามญชุ์ บุตรพรม 14ก ศิวพร ทิพย์สนเท่ห์ 17ก ปรารถนา พงศ์ทลุง 11ข ภัทรธิดา วินทะไชย 14ข

You might also like