You are on page 1of 24

วิชา ท.

377 วรรณกรรมการแสดงของไทย

ระบำ
ดาวดึงส์
กลุ่มที่ 2
น.ส.นันทพร จารุจันทร์ 6306611135
น.ส.โชติรส เลือกถือ 6306680601​

สมาชิกกลุ่ม 2 น.ส.นับเดือน พยอม


นายณัฐวุฒิ ศรีเรือง
6306680619
6306680635
น.ส.สุภาวดี แจ่มใส 6306682375
คลิปการแสดง

ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=8gTDF2zYc_A&list
-ปี่ พาทย์ทำเพลงเหาะ-รัว-
-ร้องเพลงตะเขิ่ง-

ดาวดึงส์เทวโลกมโหฬาร เป็นที่อยู่สำราญฤทัยหรรษ์
สารพัดงามจริงทุกสิ่งอัน สารพันอุดมสมใจปอง
บทประกอบ เทพบุตรผุดพรรณโฉมยง
นางอัปสรงอนสงวนนวลละออง
งามทรงอาภรณ์ไม่มีหมอง
งามทรงเครื่องทองและเพชรนิล
การแสดง

-ร้องเพลงเจ้าเซ็น-

สมเด็จพระอัมรินทร์ปิ่ นมงกุฎ ทรงวชิราวุธธนูศิลป์


รักษาเทวสีมาเป็นอาจิณ อสุรินทร์อรีไม่บีฑา
อันอินทรปราสาททั้งสาม ทรงงามสูงเงื้อมกลางเวหา
สี่มุขหุ้มมาศสะอาดตา ใบระกาแกมแก้วประกอบกัน
ช่อฟ้าช้อยเฟื้ อยเฉื่อยชด บราลีที่ลดมุขกระสัน
มุขเด็จทองคาดกนกพัน บุษบกสุวรรณชามพูนุท
ราชยานเวชยันต์รถแก้ว เพริศแพร้วกำกงอลงกต
แอกงอนอ่อนสลวยชวยชด เครือขดช่อตั้งบัลลังก์ลอย
รายรูปสิงห์อัดหยัดยัน สุบรรณจับนาคหิ้วเศียรห้อย
ดุมพราววาววับประดับพลอย แปรกแก้วกาบช้อยสะบัดบัง

บทประกอบ
เทียมด้วยสินธพเทพบุตร ทั้งสี่บริสุทธิ์ดั่งสีสังข์
มาตลีอาจขี่ขับประดัง ให้รีบรุดสุดกำลังดังลมพา

การแสดง -ปี่ พาทย์ทำเพลงรัว-


สาระสำคัญ
พรรณนาถึงความงดงามความโอฬารของสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์ และความมโหฬารตระการตาในทิพย์สมบัติของ
พระอินทร์ ตลอดจนความงดงามของเหล่าเทวดานางฟ้า
ในสรวงสวรรค์ และท่วงท่าอันสง่าผ่าเผยของพระอินทร์
ยามลงมาท้าตีคลีชิงเมือง
แนวคิดที่สื่อ
ความเชื่อทางศาสนาพุทธในสังคมไทย

สวรรค์ แปลว่า ภูมิหรือดินแดนที่มีอารมณ์เลิศด้วยดี เป็นที่อยู่ของเทวดา มีความวิจิตรงดงาม สะดวกสบาย


พระอินทร์ เป็นผู้มีอำนาจ ทรงอิทธิฤทธิ์ ตามความเชื่อทางศาสนาพุทธมักมีบทบาทสำคัญในวรรณคดีไทย

มายาคติเกี่ยวกับสังคมในส่วนของความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจและผู้มีอำนาจรวมถึงความสำคัญของสถานะ

สุวรรณา สถาอานันท์ และเนื่องน้อย บุณยเนตร (2535) กล่าวว่าสังคมไทยมีความเชื่อเรื่องอำนาจซึ่งมี


อิทธิพลต่อวิถีทางสังคม ... บทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคลจึงขึ้นอยู่กับชนชั้น สถานะ หรือตำแหน่งทางสังคม
หลักคิดดังกล่าวสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมที่เน้นระบบอุปถัมภ์และหลักธรรมในศาสนาพุทธซึ่ง Phillips (1965)
กล่าวว่าสังคมไทยถือว่าผู้มีอำนาจคือผู้มีบุญวาสนาและสามารถช่วยเหลือผู้น้อยได้

***ดังที่พระอินทร์ร้อนอาสน์ต้องลงมาช่วยเจ้าเงาะไม่ให้ถูกประหาร โดนท้าตีคลีพนันเอาเมืองกับท้าวสามนต์
ประวัติความเป็นมา
ระบำดาวดึงส์ เป็นระบำมาตรฐานชุดหนึ่ง
อยู่ในละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสังข์ทอง ตอนตีคลี
เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระนิพนธ์บทร้องโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ประดิษฐ์ท่ารำและการแปรแถวโดยหม่อมเข็ม กุญชร ณ อยุธยา
ระบำชุดนี้สร้างสรรค์รูปแบบท่ารำขึ้นใหม่ แตกต่างจากท่ารำแบบเดิม คือ ไม่เน้นการ
ตีความหมายตามบทร้อง แต่ใช้กระบวนท่ารำที่สอดคล้องกับจังหวะและทำนองเพลง
ต่อมาการแสดงชุดนี้ได้นำมาจัดเป็นชุดเอกเทศ จึงนำออก
ด้วยเพลงเหาะ และรำตามเนื้อร้องในเพลงตะเขิ่ง เพลงเจ้าเซ็น
แล้วจบท้ายด้วยเพลงรัว นับเป็นระบำชุดหนึ่งที่ได้ปรับปรุงทาง
ดนตรี และทางรำให้ได้กะทัดรัด

ในฉากมีพระอินทร์กับพระมเหสีประทับอยู่บนแท่น พระวิษณุกรรม
และพระมาตุลี นั่งอยู่ชั้นลดสองข้าง พวกคนธรรพ์ประจำเครื่อง
ดนตรีอยู่ด้านหน้า เหล่าเทวดานางฟ้าเข้านั่งเฝ้าสองข้าง
เริ่มเปิดฉากเหล่าเทวดานางฟ้าก็จับระบำถวาย
รูปแบบและลักษณะการแสดง
เป็นการรำของเหล่าเทวดานางฟ้า
ลักษณะท่ารำที่สำคัญ คือ ท่ารำจะไม่มีความหมายตรงกับเนื้อร้อง แต่จะเป็นท่ารำที่มีความ
สอดคล้องกลมกลืนกันตลอดทั้งเพลง
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ ท่ารำบางท่าได้ปรับปรุงเลียนแบบท่าเต้นในพิธีแขกเจ้าเซ็น
ได้แก่ การใช้ท่ารำยกมือขึ้นประสานไขว้กันไว้ที่อก และขยับฝ่ามือตบอกเบา ๆ ตามจังหวะ
พร้อมการเคลื่อนเท้าไปด้วย โดยเลียนแบบมาจากการเต้นทุบอกในพิธีเต้นเซ็นของชน
นับถือลัทธิศาสนาอิสลาม และปรับท่าทางให้ดูนุ่มนวลอ่อนช้อยไปตามหลักนาฏศิลป์ไทย
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงปี่ พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรง
ปรับปรุงแตกต่างจากวงปี่ พาทย์เครื่องคู่และเครื่องใหญ่ คือ ลดเครื่องดนตรีบางชิ้น
ให้มีเสียงทุ้มนุ่มนวล

เครื่องบรรเลง ได้แก่ ระนาดเอกตีด้วยไม้นวม ระนามทุ้ม


ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้
ตะโพน กลองตะโพนคู่ ฉิ่ง ฆ้องหุ่ยเจ็ดลูกและ กลองแขก
ตัวนางอัปสร
การแต่งกาย แต่งกายยืนเครื่องนางเต็มตัว นุ่งผ้ายก
จีบหน้านางทิ้งชายพก สวมเสื้อในนาง
ตัวพระเทพบุตร รัดรูป ห่มผ้าห่มนางเต็มผืนปักดิ้นเลื่อม
แต่งกายยืนเครื่องเต็มตัว นุ่งผ้ายก ลายกนก สวมเครื่องประดับถนิมพิมพา
ตีปีกจีบโจงไว้หางหงส์ทับบนสนับเพลา ภรณ์ครบชุด ศิราภรณ์มงกุฎกษัตริย์
เชิงงอน สวมเสื้อรัดรูปปักดิ้นเลื่อมลาย
กนกแขนสั้นเหนือศอก ติดกนกปลาย
แขน สวมเครื่องประดับถนิมพิมพาภ
รณ์ครบชุด ศิราภรณ์ชฎายอดชัย
การเลือกใช้ฉันทลักษณ์

บทร้องระบำดาวดึงส์ใช้รูปแบบฉันทลักษณ์ คือ กลอนสุภาพ หรือ กลอนแปด

คณะ บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 7-9 คำ จะสังเกตว่า


บทร้องระบำดาวดึงส์ปรากฏวรรคที่ใช้คำน้อยที่สุด 6 คำ และปรากฏวรรคที่คำมาก
ที่สุด 9 คำ

ศิลปะการประพันธ์
การสรรคำ
เลือกสรรคำที่สื่อความหมายและเห็นภาพได้ชัดเจนอยู่ตลอดทั้งบท ทำให้เกิดความงดงามและ
ความไพเราะของภาษาที่ใช้ในการประพันธ์ เป็นการสร้างจินตภาพของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เช่น “เทพบุตรผุดพรรณโฉมยง งามทรงอาภรณ์ไม่มีหมอง


นางอัปสรงอนสงวนนวลละออง งามทรงเครื่องทองและเพชรนิล” หรือ
“รักษาเทวสีมาเป็นอาจิณ อสุรินทร์อรีไม่บีฑา” หรือ
“ราชยานเวชยันต์รถแก้ว เพริศแพร้วกำกงอลงกต” เป็นต้น
ก า รห ลาก คำ
การใช้คำ
ลักษณะล้อกัน
มาศสะอาดตา”
“สี่มุขหุ้ม
... “สารพัดงามจริงทุกสิ่งอัน
ทอง คาด กน ก พัน
“มุขเด็จ สารพันอุดมสมใจปอง”
รณ ชาม พู นุท ” การซ้ำคำ
บุษบกสุวร

แปลว่า “เทพบุตรผุดพร
รณโฉมยง
ทอง งามทรงอาภร
ณ์ไม่มีหมอง
นางอัปสรงอน
สงวนนวลละอ
งามทรงเครื่อ อง
งทองและเพช
รนิล”
การใช้คำคล้องจอง การใช้คำสื่อผัสสะ

ก่อให้เกิดจินตภาพผ่านการมองเห็นทางตา
เล่นเสียงสัมผัสสระ
เช่น
"สมเด็จพระอัมรินทร์ปิ่ นมงกุฎ ทรงวชิราวุธธนูศิลป์
“อันอินทรปราสาททั้งสาม ทรงงามสูงเงื้อมกลางเวหา”

รักษาเทวสีมาเป็นอาจิณ อสุรินทร์อรีไม่บีฑา"
หรือ “ช่อฟ้าช้อยเฟื้ อยเฉี่อยชด”
หรือ “แอกงอนอ่อนสลวยชวยชด
เล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ
เครือขดช่อตั้งบัลลังก์ลอย”
“ใบระกาแกมแก้วประกอบกันD G E หรือ “ดุมพราววาววับประดับพลอย
ช่อฟ้าช้อยเฟื้ อยเฉื่อยชด”
แปรกแก้วกาบช้อยสะบัดบัง”
หรือ “รายรูปสิงห์อัดหยัดยัน”

การใช้ภาพพจน์
อุปมา
“เทียมด้วยสินธพเทพบุตร ทั้งสี่บริสุทธิ์ดั่งสีสังข์
มาตลีอาจขี่ขับประดัง ให้รีบรุดสุดกำลังดังลมพา”

ตำแหน่งแรก เปรียบสินธพเทพบุตรทั้งสี่ที่มีสีกายขาวบริสุทธิ์เหมือนกับสีขาวผ่องของหอยสังข์
โดยใช้คำเปรียบว่า “ดั่ง”
ตำแหน่งที่สอง เปรียบการเทียมม้าของมาตลีหรือมาตุลี สารถีของพระอินทร์ผู้เทียมม้าสินธพ
เทพบุตรทั้งสี่ไปด้วยความเร็วเหมือนกับลมพาไป โดยใช้คำเปรียบว่า “ดัง”
ความสอดคล้องของ
เนื้อหากับฉันทลักษณ์
เนื้อร้องพรรณนาถึงความงดงามความโอฬารของสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์ และความมโหฬารตระการตาในทิพย์สมบัติของพระอินทร์
ตลอดจนความงดงามของเหล่าเทวดานางฟ้าในสรวงสวรรค์

ลักษณะคำประพันธ์ประเภท “กลอนสุภาพ” หรือ “กลอนแปด”

สอดคล้อง เพราะ เนื้อหาของบทร้องระบำกล่าวถึงเหตุการณ์หรือ


เรื่อง ๆ เดียวอย่างการชมความงดงามและความมโหฬารของสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นพิมานที่ประทับของพระอินทร์ จึงทำให้ตัวบทแต่ง
ด้วยลักษณะคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพเท่านั้น เพื่อให้มีความลื่น
ไหลตลอดการแสดง
ความสอดคล้อง
ของเนื้อหากับ
เพลงและดนตรี
มีทั้งหมด 4 เพลง ได้แก่
เพลงเหาะ (รัว)
เพลงตะเขิ่ง
เพลงเจ้าเซ็น
เพลงรัว
เพลงบรรเลงอยู่ในหมวดเพลงโหมโรง หมายถึง เพลงที่ใช้บรรเลงก่อน
เริ่มการแสดงและเพื่อเคารพสักการะบูชาครูเพื่อความเป็นสิริมงคล
นอกจากนี้ยังอยู่ในหมวดเพลงหน้าพาทย์ หมายถึง เพลงที่ใช้ประกอบ

เพลงเหาะ กิริยาอาการ การแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ของตัวละคร โดยไม่มีการขับร้อง


มีความสำคัญในการบรรเลงเพื่อใช้สำหรับเทวดา นางฟ้าไป-มาในสถานที่

(รัว) ต่าง ๆ ด้วยกิริยารวดเร็ว


อารมณ์เพลงจะมีลักษณะตื่นเต้น เร้าอารมณ์ รวมถึงการรัวเร็วของ
จังหวะกลอง
01 ทำให้มีความสอดคล้องกับบทประพันธ์
เนื่องจากก่อนเริ่มการแสดงมี
การบรรเลงเพลงเหาะ ซึ่งมีจังหวะรัว
จากนั้นจึงกล่าวถึงกิริยาท่าทาง
การเคลื่อนไหวของเทวดาและนางฟ้า
เพลงที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ขับร้องประกอบการแสดงละครหรือโขนเรื่อง
สังข์ทอง ตอนตีคลี โดยเฉพาะ จะใช้บรรเลงเมื่อต้องการบรรยายถึง
ความงามของเหล่านางฟ้าและเทวดาบนสวรรค์ดาวดึงส์
อารมณ์เพลงจะมีลักษณะสนุกสนานและมีจังหวะเร็ว
มีความสอดคล้องกับบทประพันธ์ เนื่องจากเป็นการรำตามบทร้องที่

เพลงตะเขิ่ง บรรยายถึงความงามของเหล่านางฟ้าและเทวดาบนสวรรค์ดาวดึงส์
และเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาโดยเฉพาะ

02
เพลงที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ขับร้องประกอบการแสดงละครหรือโขนเรื่องสังข์
ทอง ตอนตีคลี โดยเฉพาะ ใช้บรรเลงเมื่อต้องการบรรยายถึงความ
งดงามอลังการในวิมานที่ประทับของพระอินทร์

เพลงแขก อารมณ์เพลงจะมีลักษณะสนุกสนาน มีจังหวะเร็ว


มีความสอดคล้องกับบทประพันธ์ เนื่องจากเป็นการรำตามบทร้อง

เจ้าเซ็น ที่บรรยายถึงความงดงามอลังการในวิมานที่ประทับของพระอินทร์
และเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาประกอบการแสดงโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับ
เพลงตะเขิ่ง
03
ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ หมายถึง เพลงประเภทที่ใช้
บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละคร หรือ
สำหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธี
ไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน,
2554) ซึ่งจะไม่มีการขับร้อง โดยเพลงจะใช้บรรเลงเมื่อการ

เพลงรัว
เปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในการแสดงโขนละคร และใช้บรรเลงต่อ
ท้ายเพลงหน้าพาทย์ที่แสดงผลสำเร็จของพิธีการหรือพิธีกรรมนั้น ๆ
มีความสำคัญ คือ ใช้บรรเลงประกอบกิริยาแสดงอิทธิฤทธิ์ของตัว
ละครสูงศักดิ์
04
อารมณ์เพลงจะมีลักษณะตื่นเต้น เร้าอารมณ์
มีความสอดคล้องกับบทประพันธ์ เนื่องจากมีการบรรเลงเพลงรัวใน
ขณะที่การแสดงใกล้จะจบลงหลังจากที่ได้บรรยายถึงความงดงาม
ของทิพย์สมบัติต่าง ๆ ของ พระอินทร์สำเร็จแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเหล่า
บริวาร เทพบุตร นางฟ้า ปราสาทราชวัง หรือราชรถ เป็นต้น
ขอบคุณค่ะ
กลุ่ม 2 ปังปุรีเย้ !

You might also like