You are on page 1of 37

Report

CHE 481
Chemical Engineering
Laboratory I

Lab Title
Plate and Frame Filtration

By Group 6
Ms. Matimon Konteing Student I.D.62070500055 
Ms. Yossawadee Jitsukha Student I.D.62070500059  
Ms. Yosita Wongpoon Student I.D.62070500060  
Mr. Watcharakon Supawong Student I.D.62070500068 

Lab Attending Date 29th April 2022


Due Date 6th May 2022
Submitted Date 27th May 2022
Signature of Lab Supervisor __________________________
(Assoc. Prof. Dr.Somkiat Prachayawarakorn)
บทคัทย่อ
การทดลองเรื ่ อ ง Plate and Frame Filtration เป็ น การศึ ก ษาความดั น ที่ ท ำให้ ก ารกรองมี
ประสิทธิภาพการกรองที่ดีที่สุด โดยทำการการทดลองกรองสารละลายน้ำแป้งและจับเวลาการกรองโดยเก็บ
ปริมาตรของเหลวที่กรองได้จากเครื่องกรองทุก ๆ 1 ลิตร จนมีปริมาตร 32 ลิตรในแต่ละความดัน นำเค้กที่ได้
จากการกรองในแต่ละ Plate มาวัดความหนาของเค้กและนำไปชั่งน้ำหนักก่อนเข้าเครื่องอบ นำเค้กไปอบที่
อุณหภูมิ 105 ̊C เป็นเวลา 16 ชั่วโมง บันทึกน้ำหนักแป้งหลังการอบและชั่งน้ำหนักเค้กที่แห้งเพื่อคำนวณค่า
ประสิทธิภาพการกรอง นำค่าบันทึกผลการทดลองที่ได้ไปวาดความสัมพันธ์ของเวลาในการกรองกับปริมาตร
ของเหลวที่กรองได้ พบว่าการกรอง ณ ปริมาตรเดียวกัน เมื่อเพิ่มความดัน จะทำให้ ใช้เวลาในการรองลดลง
เนื่องจากการเพิ่มความดันเป็นการเพิ่มแรงขับเคลื่อนในการเคลื่อนที่ของสารละลาย ทำให้อัตราเร็วในการกรอง
สารละลายน้ำแป้งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยที่ความดัน 5, 10 และ 15 psi มีค่าความต้านทานจำเพาะของเค้ก
(α) มีค่าเท่ากับ 1.48 × 1015, 5.81 × 1014 และ 7.36 × 1014 m/kg ค่าความต้านทานของแผ่นกรอง (Rm ) มี
ค่าเท่ากับ 3.041 × 1011, 3.419 × 1011 และ 3.391 × 1011 m-1 และประสิทธิภาพการกรองที่ความดัน 5,
10 และ 15 psi มีค่าเท่ากับ 100.65%, 82.55% และ 92.12% ตามลำดับ โดยที่ความดัน 5 psi มีค่าผลการ
ทดลองที่มีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากปริมาตรของของเหลวที่กรองได้เกิด Filtrate Loss เป็นจำนวนมาก
เนื่องจากการประกอบเครื่องที่ไม่แน่นหนา รวมถึง Loss บางส่วนติดอยู่ที่เครื่องกรอง จึงเกิดการสูญเสีย
ปริมาตรของเหลวที่กรองได้และทำให้ได้คำนวณค่าอื่น ๆ คลาดเคลื่อนตามไปด้วย และพบว่าเมื่อความดันเพิ่ม
มากขึ้นส่งผลให้ประสิทธิภาพการกรองมากขึ้นด้วย เนื่องจากอัตราการไหลของสารละลายน้ำแป้งมากขึ้น ทำให้
สารละลายน้ำแป้งเข้าสู่เครื่องกรองได้เร็วขึ้น เมื่อระบบการทำงานของเครื่องกรองที่ความดันเพิ่มขึ้นทำให้
อนุภาคของของแข็งแทรกซึมในช่องว่างที่มีอยู่จนเกิดเค้กที่มีการอัดตัวหนาแน่นขึ้นทำให้ค่าความต้านทาน
จำเพาะของเค้ก (α) ที่ได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและส่งผลต่อประสิทธิภาพการกรองที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
บทนำ
การกรองเป็นกระบวนการแยกอนุภาคของแข็งออกจากสารละลาย ซึ่งในปัจจุบัน Plate and Frame
Filter Press ถูกปรับปรุงและพัฒนามา โดยเครื่องกรองนี้ประกอบด้วย ชุดแผ่นกรอง ซึ่งเป็นแผ่นกรองขึงอยู่ใน
กรอบ (Frame) เรียงกันเป็นชั้น ประกบด้วยปะเก็นยางทั้งสองด้าน มีการจัดวาง Plate และ Frame สลับกัน
โดยของเหลวจะถูกปั๊มเข้าไปในเครื่องกรอง Plate and Frame Filtration แล้วใช้แรงอัดจาก Pump ให้
ของเหลวไหลไปตามท่อและเข้าสู่ Frame แต่ละ Frame โดยแผ่นกรองทำหน้าที่เป็นพื้นที่กักเก็บเค้ก (Cake)
จากของเหลวที่ไหลเข้ามา ส่วนของเหลวที่ไหลผ่านแผ่นกรองออกเรียกว่า Filtrate เมื่อทำการกรองของ
ของเหลวเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะเกิดการอุดตันของเค้กที่บริเวณแผ่นกรอง ทำให้ไม่สามารถกรองต่อไปได้ และ
ต้องเปลี่ยนแผ่นกรองหรือล้างทำความสะอาดเพื่อให้เครื่องกรองสามารถทำงานต่อได้ ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพการกรอง คือ ความดัน โดยการกรองที่ความดันสูงจะมีประสิทธิภาพการกรองมากกว่าการกรอง
ที่มีความดันต่ำ เนื่องจากความดันเป็นแรงขับเคลื่อนในการเคลื่อนที่ของของเหลว ซึ่งประสิทธิภาพการกรองจะ
เป็นตัวแปรที่บ่งบอกถึงความสามารถในการแยกอนุภาคของแข็งออกจากสารละลาย
จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำการทดลองเพื่อศึกษาหลักการทำงานของเครื่องกรองแบบ Plate and
Frame Filtration และหาความดันที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการกรองที่ดีที่สุด

Goals
1. พัฒนาทักษะการใช้เครื่องกรองแบบ Plate and Frame
2. สามารถทราบความดันทีท่ ำให้การกรองมีประสิทธิภาพสูงสุด

วัตถุประสงค์
เพื่อหาความดันที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการกรองที่ดีที่สุด
ทฤษฎี
การกรอง (Filtration) [1]
การกรอง (Filtration) คือกระบวนการแยกอนุภาคของแข็ง (Solid Particles) ออกจากของไหล
(Fluid) โดยการให้ของไหลผสมไหลผ่านตัวกรอง (Filter Medium) ซึ่งทำหน้าที่แยกของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า
ขนาดของรูแผ่นกรอง ทำให้อนุภาคของแข็งติดอยู่บนแผ่นกรอง และเรียกของไหลที่ไหลผ่านตัวกรองออกไปว่า
Filtrate ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 แผนภาพของกระบวนการกรอง
ประเภทของเครื่องกรอง (Type of filter)
เครื่องกรองสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของแรงขับเคลื่อนในการทำให้ของไหลไหลผ่านตแผ่นกรอง
(Driving Force) ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1) Gravity Filter เป็นเครื่องกรองที่อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการกรอง
2) Pressure Filter เป็นเครื่องกรองที่อาศัยแรงดันเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการกรอง
3) Vacuum Filter เป็นเครื่องกรองที่ใช้ระบบสุญญากาศ
4) Centrifugal Filter เป็นเครื่องกรองที่อาศัยแรงเหวี่ยงเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการกรอง

Plate and Frame Filter Press [1]


Plate and Frame Filter Press เป็นเครื่องกรองประเภท Pressure Filter ที่ประกอบไปด้วยชุดของ
ตัวแผ่น (Plate) และตัวกรอบ (Frame) ต่อเรียงกันแบบอนุกรม (Series) ที่แต่ละ Plate จะมีผ้ากรอง (Filter
Cloth) ติดอยู่ทั้งสองด้าน โดยสารผสมที่ถูกป้อนเข้าสู่เครื่องกรอง (Feed Slurry) จะถูกป้อนเข้ามาด้วยแรงดัน
จากปั๊มหรือเครื่องเป่าลม ขึ้นกับชนิดของ Feed ว่าอยู่ในสถานะของเหลวหรือแก๊ส โดยสารที่กรองผ่านเครื่อง
กรองออกมาจะเรียกว่า Filtrate และอนุภาคของแข็งที่ติดอยู่บนผ้ากรองภายในเครื่องกรองจะเรียกว่า เค้ก
(Cake) เมื่อเกิดเค้กปริมาณเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้แรงต้านทานการไหลเพิ่มขึ้นทำให้เค้กทำหน้าที่เสมือนตัว
กรองอีกขั้นหนึ่งกระบวน การกรองจะดำเนินไปจนกระทั่งเค้กอัดแน่นเต็ม Frame ทำให้ Feed Slurry ไม่
สามารถป้อนเข้ามาในเครื่องกรองได้ จึงต้องหยุดการทำงานและถอด Plate และ Frame ออกเพื่อมาทำความ
สะอาดเค้กที่ติดอยู่บนแผ่นกรอง การทำงานของ Plate and Frame Filter Press จึงเป็นเครื่องกรองที่ทำงาน
แบบกะ (Batch) เนื่องจากไม่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และต้องถอดและติดตั้งอุปกรณ์ใหม่หลังเสร็จสิ้น
การกรองในแต่ละครั้ง แผนภาพกระบวนการและลักษณะของ Plate and Frame Filter Press สามารถแสดง
ได้ดังรูปที่ 2 และ 3

รูปที่ 2 แผนภาพกระบวนการของ Plate and Frame Filter Press

รูปที่ 3 ลักษณะของ Plate and Frame Filter Press


Slurry จะไหลเข้าสู่เครื่อง Plate and Frame Filter Press โดยผ่าน Head จากนั้นจะไหลเข้าสู่
Frame โดยช่องว่างระหว่าง Frame จะทำให้ Slurry กรองที่ Filter Medium ได้ ซึ่งจะมีเพียง Filtrate ที่
ออกมา แต่ Cake ยังติดอยู่ที่ Filter Medium
ความดันลด (Pressure Drop) เมื่อผ่าน Filter cake
ตัวแปรที่สำคัญในการพิจารณากระบวนการกรองคือความดันลด (Pressure Drop) ของของไหลเมื่อ
ผ่าน Filter Cake ซึ่งสามารถแสดงได้ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 แผนภาพความดันลดของของไหลเมื่อเคลื่อนผ่าน Filter Cake และแผ่นกรอง
จากรูปที่ 4 จะเห็นได้ว่าเมื่อของเหลวผสม (Slurry) เคลื่อนที่ผ่านชั้นเค้กซึ่งทำหน้าที่เปรียบเสมือนตัว
กรองอีกชั้น และเคลื่อนที่ผ่านตัวกรอง จะทำให้ความดันของของไหลมีค่าลดลงไปตามระยะทางที่มากขึ้น
จนกระทั่งออกจากตัวกรองไปเป็น Filtrate ซึ่งทำให้ความเร็วของของไหลมีค่าต่ำจนอยู่ในช่วงของการไหลแบบ
Laminar flow และความดันลดที่เกิดขึ้นสามารถอธิบายได้ด้วยสมการของ Carman-Kozeny ซึ่งอธิบายความ
ดันลดที่เกิดขึ้นใน Laminar flow ดังสมการที่ 1
∆Pc k1 μv(1-ε)2 S20
- = (1)
L ε3
เมื่อ µ คือ ความหนืดของ Filtrate (Pa·s)
v คือ ความเร็วเชิงเส้นของ Filtrate ขึ้นกับพื้นที่การกรอง (m/s)
ε คือ ความเป็นรูพรุน (Porosity) ของเค้ก
L คือ ความหนาของเค้ก (m)
k1 คือ ค่าคงที่ซึ่งมีค่าเท่ากับ 4.17
S0 คือ พื้นที่ผิวจำเพาะของอนุภาค (พื้นที่ผิวของอนุภาค/ปริมาตรของอนุภาค) (m2 )
∆Pc คือ ความดันลดภายในเค้ก (N/m2 )
ความเร็วเชิงเส้นของ Filtrate เขียนในรูปความสัมพันธ์กับปริมาตรของ Filtrate ดังสมการที่ 2
dV/dt
v= (2)
A
2
เมื่อ A คือ พื้นที่การกรอง (m )
V คือ ปริมาตรของ Filtrate ทั้งหมด (m3 ) ตั้งแต่ t=0 ถึง t=t
t คือ เวลาในการกรอง (s)
เนื่องจากค่าความหนาของ Cake (L) สัมพันธ์กับปริมาตร Filtrate (V) ถ้าให้ Cs เป็น kg ของแข็งต่อปริมาตร
ของ Filtrate ดังนั้นจาก Mass Balance จะได้
LA(1-ε)ρp =Cs (V+εLA) (3)
เมื่อ ρp คือ ความหนาแน่นของอนุภาคของของแข็งภายใน Cake (kg/m3 )
LA คือ ปริมาตรของ Filtrate ที่ถูกกักอยู่ในเค้ก
ดังนั้น LA(1-ε)ρp =Cs V+Cs εLA (4)
LA คือ ปริมาตรของ Filtrate ที่ถูกกักอยู่ในเค้กซึ่งมีค่าน้อยมากจนเข้าใกล้ศูนย์

LA(1-ε)ρp =Cs V (5)

Cs V
L= (6)
A(1-ε)ρp
แทนค่า v จากสมการ (2) และ L จากสมการ (6) ลงในสมการที่ (1) จะได้
dV/dt -∆Pc ε3
= CsV (7)
A [A(1-ε)ρ ][k1 μ(1-ε)2 S20 ]
p

จัดรูปเพื่อแยกตัวแปรที่ไม่ทราบค่า ออกจากตัวแปรที่สามารถวัดได้จากการทดลองจะได้
dV/dt -∆Pc
= μCsV k1μ(1-ε)S 2 (8)
A [ ][ 0]
A ε3 ρp
และกำหนดให้
k1 μ(1-ε)S20
α= (9)
ε3 ρp
แทนในสมการ (8) จะได้ว่า
dV/dt -∆Pc
= μCsV (10)
A α
A
โดยที่ α = ความต้านทานจำเพาะของ Cake (m/kg)
ในทำนองเดียวกันสามารถเขียนความสัมพันธ์ของค่า Rm ได้คือ
dV ∆P
=- f (11)
Adt μRm
เมื่อ Rm คือ ความต้านทานจำเพาะของแผ่นกรองต่อการไหลของ Filtrate (m-1 )
Pf คือ ความดันลดเนื่องจากแผ่นกรอง
ในทางปฏิบัติความต้านทานคือความดันลดที่เกิดจากการไหลผ่าน Cake และ แผ่นกรอง ดังนั้นจึงสามารถรวม
สมการ (10) และ (11) ได้ดังนี้
กำหนดให้ ∆P=∆Pc +∆Pf ;
dV ∆P ∆P
=- μCcsV - f (12)
Adt α μRm
A
dV ∆P
=- αCsV f (13)
Adt μ( +Rm )
A
dt
จากสมการ (13) จัดสมการให้อยู่ในรูปของ ได้ดังนี้
dV
dt μαCs μ
= V+ R (14)
dV A2 (-∆P) A(-∆P) m
ค่า α และค่า Rm เป็นค่าเฉพาะของแต่ละการทดลอง และหาค่าได้จากการทดลองเท่านั้น และกำหนดให้
μαCs
Kp = ซึ่งมีหน่วยในระบบ SI เป็น (s/m6 ) (15)
A2 (-∆P)
μ
B= Rm ซึ่งมีหน่วยในระบบ SI เป็น (s/m3 ) (16)
A(-∆P)

แทนค่าสมการ (15) และ (16) ลงในสมการที่ (14)


dt
=Kp V+B (17)
dV
จากสมการที่ (17) เป็นสมการ Differential Form สามารถพล็อตค่า dt/dV กับ V จากผลการ
ทดลองเพื่อไปหาค่า Kp และ B จากความชันและจุดตัดแกน y ของกราฟเส้นตรงตามลำดับ แล้วจากนั้น
สามารถหาค่า Rm (Filter medium resistance) และ α (The specific cake resistance) ตามที่ต้องการได้
โดยที่ dt เป็นเวลาที่จับได้จริง และ dV เป็นปริมาตร ณ เวลานั้นๆ
Integrate สมการ (17) จะได้
t V
∫0 dt = ∫0 (Kp V+B)dV (18)
K
t= p V2 +BV (19)
2
หารด้วย V ตลอดสมการ (19) จะได้
t K
= p V+B (20)
V 2
จากสมการที่ (20) เป็นสมการ Integral Form สามารถพล็อตค่า t/V กับ V จากผลการทดลอง เพื่อไปหาค่า
Kp และ B จากความชันและจุดตัดแกน y ของกราฟเส้นเส้นตรงตามลำดับ แล้วจากนั้นก็สามารถหาค่า Rm
(Filter medium resistance) และ α (The specific cake resistance) ตามที่ต้องการได้ โดยที่ t และ V
เป็นเวลาและปริมาตรสะสม

สมการ Empirical สำหรับค่าความต้านทานเค้ก [3]


สมการ Empirical มาจากการสังเกตข้อมูลชองการท าการทดลองจากกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง ∆P กับ α
ซึ่งสามารถเขียนอยู่ในรูปความสัมพันธ์ดังสมการที่ 21
α = α0 (−∆P)s (21)
สามารถแบ่งความสามารถในการอัดตัวของเค้กออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
1) เค้กที่อัดไม่ได้ (Incompressible Cake) ค่า α จะไม่ขึ้นกับ -∆P
2) เค้กที่อัดได้ (Incompressible Cake) ค่า α จะขึ้นกับ -∆P

Reynolds number / ตัวเลขเรย์โนลด์


ρVD
Re=
μ
ค่าเรย์โนลด์นัมเบอร์วิกฤต (Critical Reynolds number) เป็นตัวบ่งชี้ถึงอัตราการไหลที่การไหล
เปลี่ยนจากการไหลแบบลามินาร์ (Laminar flow) ไปเป็นการไหลแบบเทอร์บิวเลนต์ (Turbulent flow)
สำหรับของไหลในท่อ ถ้าค่าเรย์โนลด์ นัมเบอร์วิกฤตมากกว่า 2,300 การไหลจะเปลี่ยนจากการไหลแบบลามิ
นาร์ไปเป็นการไหลแบบเทอร์บิวเลนต์
Reynolds number มีประโยชน์ต่อการออกแบบเครื่องจักรอุปกรณ์แปรรูปในอุตสาหกรรมอาหาร
โดยเฉพาะการแปรรู ป อาหารเหลวซึ ่ ง มี ก ารไหลในท่ อ เช่ น เครื ่ อ งแลกเปลี ่ ย นความร้ อ น ( Heat
exchanger) การพาสเจอไรซ์แบบต่อเนื่องในท่อ (In-line pasteurization) การล้างทำความสะอาดเครื่องด้วย
ระบบ Cleaning in place (CIP)
อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง
1.Plate and frame filter press
2.Filter clothes
3.ปะเก็นยาง
4.ถังกวนขนาด 100 L
5.น้ำประปา
6.แป้ง 2 kg
7.นาฬิกาจับเวลา
8.ไม้พาย
9.Moisture can
10.กระบอกตวงขนาด 2 L
11.บีกเกอร์ขนาด 2 L
12.เครื่องชั่งสาร
13.ถังน้ำพลาสติก
วิธีการทดลอง
การเตรียมสารละลายตัวอย่างสำหรับการกรอง
1. เตรียมสารละลายน้ำแป้งใน Feed tank โดยมีความเข้มข้นของสารละลาย 10 g/L
2. กวน Slurry ให้เป็นเนื้อเดียวกัน

การเตรียมเครื่องกรอง
1. เรียง Plate และ Frame สลับกันตามลำดับ
2. แทรกแผ่น Filter Medium ระหว่าง Plate และ Frame
3. แทรกปะเก็นยางระหว่าง Plate กับ Filter Medium และระหว่าง Frame กับ Filter Medium
จากนั้นหมุน Screw เพื่อกด Plate และ Frame ให้แน่น
4. ทดลองการทำงานของเครื่องด้วยน้ำแป้ง เพื่อหาความดันสูงสุดที่สามารถ Operate ได้ จากนั้น
กำหนดความดันที่ครอบคลุมความดันทั้งหมด 3 ค่า

การทำการทดลอง
1. เปิด Valve และปั๊ม เพื่อให้ Slurry ไหลเข้าเครื่องกรอง ควบคุมความดันขาเข้าให้ได้ค่าความดัน
ตามที่ต้องการแล้วเริ่มจับเวลา
2. บันทึกเวลาที่ใช้ในการทดลองจนได้ปริมาตรของ Filtrate ทุก ๆ 0.5 L จนได้ปริมาตร 19 L เพื่อให้
ได้เค้กที่มีความหนา 0.3 cm
3. หลังจากกรองเสร็จทำการปิดปั๊ม หลังจากนั้นถอด Plate ออก และล้างเอาอนุภาคของแข็งออกจาก
เครื่องด้วยน้ำ
4. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 1 - 3 โดยเปลี่ยนความดันขาเข้าเป็นค่าต่าง ๆ

การหาความชื้น
ทำการอบที่ 105 อง 16 ชม เพื่อให้ได้ %Moisture เท่ากับ 0 ตามมาตรฐาน ISO 1666 [4] โดยแบ่ง
การอบออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. อบแป้ง ทำการอบแป้ง 200 g เพื่อนำมาหาน้ำหนักแป้งแห้ง แล้วนำไปคำนวณหาประสิทธิภาพของ
การกรอง
2. อบเค้ก ทำการอบเค้กที่ได้จากการกรองที่ความดัน 5, 10 และ 15 psi

การคำนวณหาค่าความชื้น (%Moisture)
การหาค่าความชื้นของเค้กเป็นการบ่งบอกว่าเค้กที่ได้จากการกรองกักเก็บปริมาณน้ำไว้เป็นร้อยละ
เท่าไหร่เมื่อเทียบกับน้ำหนักของเค้กแห้ง ซึ่งสามารถหาได้จากสมการที่ 22 ดังนี้
น้ำหนักเค้กเปียก-น้ำหนักคเค้กแห้ง
%Moisture= ×100% (22)
น้ำหนักเต้กแห้ง

ประสิทธิภาพในการกรอง (%Efficiency)
การหาประสิทธิภาพในการกรองทำได้โดยเปรียบเทียบน้ำหนักของอนุภาคของแข็งก่อนและหลังกรอง
ซึ่งสามารถหาได้จากสมการที่ 23 ดังนี้
น้ำหนักเค้กแห้งทั้งหมด
%Efficiency= ×100% (23)
น้ำหนักแป้งที่อยู่ในน้ำ 30 ลิตร

Safety cautions
1. พื้นที่ในการทดลองต้องสะอาดและทำให้แห้งมากที่สุด
2. ปิดเบรกเกอร์ก่อนทำความสะอาด
3. ตรวจสอบวาล์วทั้งหมดที่จะเปิด เพื่อป้องกันไม่ให้มอเตอร์มีปัญหา
4. สวมถุงมือทุกครั้งขณะนำเค้กออกจากตู้อบ
วิจารณ์ผลการทดลอง
การทดลอง Plate and Frame Filtration เพื่อหาความดันที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการ
กรองที่ดีที่สุด เพื่อหาความชื้นของแป้ง จากนั้นกรองสารละลายน้ำแป้ง ความเข้มข้น 10 g/L ผ่านเครื่องกรอง
แบบ Plate and Frame Filtration ควบคุมความดันในแต่ละรอบให้คงที่ เป็น 5, 10 และ 15 psi ทำการจับ
เวลาที่ปริมาตรของเหลวที่กรองได้ไหลออกจากเครื่องทุก ๆ 1 ลิตร จนครบ 32 ลิตร นำมาเขียนกราฟแสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตร Filtrate กับเวลาในการกรองสารละลายน้ำแป้งได้ดังแสดงในรูปที่ 5

35

30

25
Filtrate volume (L)

20

15

10

0
0 500 1000 1500 2000 2500 3000 3500 4000
Time (s)
5 psi 10 psi 15 psi

รูปที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ใช้ในการกรองกับปริมาตรของเหลวที่กรองได้
จากรูปที่ 5 พบว่าในช่วงแรกที่การกรองประมาณ 5 L ทั้งสามความดันใช้เวลาในการกรองใกล้เคียงกัน
แต่ในช่วงหลังมีความแตกต่างเรื่องของเวลาค่อนข้างมาก โดยเมื่อความดันเพิ่มขึ้น เวลาที่ใช้ในการกรองจะ
ลดลง เป็นผลมาจากการเพิ่มความดันเป็นการเพิ่มแรงขับเคลื่อนในการเคลื่อนที่ของสารละลาย ทำให้อัตราเร็ว
ในการกรองเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้เวลาที่ใช้ในการกรองลดลง โดยที่ความดัน 5 psi พบว่าใช้เวลาในการ
เก็บปริมาตร Filtrate นานกว่าที่ 10 และ 15 psi ค่อนข้างมาก เนื่องจากที่ 5 psi มีความดันที่เป็นแรง
ขับเคลื่อนในการเคลื่อนที่ของสารละลายน้อย ทำให้อัตราเร็วในการกรองน้อยไปด้วย
จากนั้นทำการคำนวณหาค่า Velocity และ Reynolds Number ของสารละลายน้ำแป้ง ได้ดังตาราง
ที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงค่า Velocity และ Reynolds Number ของสารละลายน้ำแป้ง
ความดัน (psi) ความเร็วในการไหลของน้ำแป้ง Reynold Number
(×10-4 m/s)
5 0.2615 5.88
10 1.3955 31.39
15 1.6627 37.40

จากตารางที่ 1 พบว่าค่า Reynolds Number ของสารละลายน้ำแป้งที่ความดัน 5, 10 และ 15 psi


มีค่าอยู่ในช่วง Laminar Flow ซึ่งเป็นไปตามหลักการทำงานของเครื่อง Plate and Frame Filtration และ
t K
เงื่อนไขการคำนวณของสมการ Carman-Kozeny ซึ่งสามารถสร้างความสัมพันธ์สมการเส้นตรง = p V+B
V 2
จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองไปเขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างเวลาต่อปริมาตรของเหลวที่
กรองได้กบั ปริมาตรของเหลวที่กรองได้ เพื่อหาค่า Kp จากความชันของกราฟ และค่า B จากจุดตัดแกน y ได้
ดังรูปที่ 6
120.00

100.00 y = 2.4355x + 21.79

80.00
t/V (s/L)

60.00

40.00
y = 0.2781x + 12.252
20.00
y = 0.2641x + 8.1001
0.00
0 5 10 15 20 25 30 35
V (L)
5 psi 10 psi 15 psi
Linear (5 psi) Linear (10 psi) Linear (15 psi)

รูปที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาต่อปริมาตรของเหลวที่กรองได้กบั ปริมาตรของเหลวที่กรองได้


จากรูปที่ 6 พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างเวลาต่อปริมาตรของเหลวที่กรองได้กับปริมาตรของเหลวที่
กรองได้มีลักษณะเป็นเส้นตรง โดยที่ 5, 10 และ 15 psi มีค่าความชันเท่ากับ 2.4355, 0.2781 และ 0.2641
และมีจุดตัดแกน y เท่ากับ 21.7900, 12.5250 และ 8.1001ตามลำดับ
จากนั้นนำความชันและจุดตัดแกน y คำนวณหา Kp และ B ของสารละลายน้ำแป้ง ซึ่งเป็น Group
μαCs μ
Parameter โดยที่ Kp = และ B = R ซึ่งสามารถคำนวณหาค่า α และ Rm ได้ค่าดังตารางที่ 2
A2 (-∆P) A(-∆P) m

ตารางที่ 2 แสดงค่า Kp และ B ของสารละลายน้ำแป้ง


P (psi) Kp (s/m6 ) B (s/m3 ) α (m/kg) Rm (m-1 )
5 4.871 × 106 21790 1.48 × 1015 3.041 × 1011
10 0.556 × 106 12252 5.81 × 1014 3.419 × 1011
15 0.528 × 106 8100 7.36 × 1014 3.391 × 1011

จากตารางที่ 2 พบว่าเมื่อความดันเพิ่มขึ้น ค่า Kp และ B จะลดลงตามลำดับ เนื่องจากค่า Kp และ B


เป็น Group Parameter ที่ได้รับผลกระทบจากความดัน ซึ่งผลกระทบที่ได้เป็นแบบแปรผกผัน เมื่อความดัน
เพิ่มขึ้น ทำให้ ค่า Kp และ B ลดลง และพบว่าค่าความต้านทานจำเพาะของเค้ก (α) มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อความดัน
เพิ่มขึ้น เนื่องจากความดันเป็นแรงขับเคลื่อนในการเคลื่อนที่ของสารละลาย เมื่อแรงขับเคลื่อนมากขึ้นทำให้
อัตราการไหลมากขึ้น และเมื่อพิจารณาค่า ความต้านทานของแผ่นกรอง (Rm ) พบว่ามีค่าใกล้เคียงกันมาก
ยกเว้นที่ความดัน 5 psi ที่มีค่าแตกต่างจากความดันที่ 10 และ 15 psi แต่ยังอยู่ในช่วงที่ใกล้เคี ยงกันอยู่ ซึ่ง
เป็นไปตามทฤษฎีที่กล่าวไว้ว่า ค่าความต้านทานของแผ่นกรอง (Rm ) ไม่ขึน้ กับความดัน แต่ขึน้ กับความหนืด
ของของไหล ธรรมชาติของแผ่นกรอง และความหนาของแผ่นกรอง
จากการทดลองพบว่า ค่ า ความหนาของเค้ก อยู่ท่ี 0.003 m ในการกรองทุก ๆ ความดัน เมื่ อ
คานวณหา Cs และ Porosity (ε) ได้ค่าดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 แสดงค่า Cs และ ε ของสารละลายน้ำแป้ง


ความดัน (psi) Cs (kg/m3) ε
5 17.0 0.996
10 10.0 0.998
15 11.0 0.997
จากการทดลองคำนวณหา Cs ที่ความดัน 10 และ15 psi มีค่าใกล้เคียงกัน ยกเว้นที่ความดัน 5 psiมี
ค่าต่างจากทั้งสองความดัน อาจเกิดจากน้ำหนักของเค้กที่ 5 psi มีน้ำหนักมากกว่าที่ 10 และ 15 psi และ
Porosity (ε) ได้ค่าใกล้เคียงกันในแต่ละความดัน เนื่องจากมีการเก็บปริมาตรของเหลวเท่าเดิมและแป้งข้าวเจ้า
ที่ใช้เป็นแป้งชนิดเดิมทุก ๆ ความดัน
จากการทดลองสามารถคำนวณหา % Efficiency ของสารละลายน้ำแป้ง ได้ดังตารางที่ 4
ตารางที่ 4 แสดงค่า % Efficiency ของสารละลายน้ำแป้ง
ความดัน (psi) % Efficiency
5 100.65
10 82.55
15 92.12

จากตารางที่ 4 ประสิทธิภาพกากรองที่ความดัน 5 psi มีค่าเท่ากับ 100.65% ที่ความดัน 10 psi มีค่า


เท่ากับ 82.55% และที่ความดัน 15 psi มีค่าเท่ากับ 92.12% เห็นได้ว่าประสิทธิภาพระหว่างความดัน 5 psi
และ 10 psi มีค่าลดลง แต่ประสิทธิภาพระหว่างความดัน 10 psi และ 15 psi มีค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งการทดลองที่ 5
psi มีประสิทธิภาพการกรองเกิน 100 % อาจเกิดจากปริมาตรของของเหลวที่กรองได้เกิด Filtrate Loss
มากกว่าที่ความดัน 10 และ 15 psi ทำให้ผู้ทดลองไม่สามารถเก็บ Filtrate Loss ได้ทั้งหมด และอาจมี Loss
บางส่วนติดอยู่บนเครื่อง ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวใส ทำให้ Filtrate ที่ทำการบันทึกค่าน้อยกว่าค่าของ
Filtrate ที่ผ่านการกรอง ส่งผลให้ปริมาณของแป้งแห้งที่นำไปคำนวณหาประสิทธิภาพมีปริมาณน้อยกว่าที่ควร
จะเป็น แต่ที่ความดัน 10 และ 15 psi จะเห็นได้ว่าเมื่อเพิ่มความดันประสิทธิภาพการกรองก็จะมากขึ้นด้วย
เนื่องจากความเร็วในการไหลของสารละลายน้ำแป้งมากขึ้น ทำให้สารละลายน้ำแป้งเข้าสู่เครื่องกรองได้เร็วขึ้น
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองเรื่อง Plate and Frame Filtration โดยใช้น้ำแป้งเป็น Slurry ที่ใช้ในการกรองที่
ความดัน 5, 10 และ 15 psi ที่ความเข้มข้น 10 g/L สามารถสรุปผลได้ว่า จากสมการ Carman-Kozeny
สามารถหา Kp ของความดัน 5,10 และ 15 psi จากความชันมีค่าเท่ากับ 4.871 × 106 , 0.556 × 106 และ
0.528 × 106 เมื่อคำนวณหาค่า α ได้เท่ากับ 1.48 × 1015, 5.81 × 1014 และ 7.36 × 1014 m/kg และค่า B
จากจุดตัดแกน Y ได้เท่ากับ 21790, 12252 และ 8100 เมื่อคำนวณหาค่า Rm ได้เท่ากับ 3.041 × 1011 ,
3.419 × 1011 และ 3.391 × 1011 m-1 ตามลำดับ ความดันที่มีประสิทธิของการกรองที่ดีที่สุดคือ 5 psi ซึ่งมี
ประสิทธิภาพของการกรอง 100.65% ในการทดลองของความดันที่ 10 และ 15 psi มีประสิทธิภาพในการ
กรอง 82.55% และ 92.12% ตามลำดั บ ซึ ่ ง ที ่ ค วามดั น 10 และ 15 psi เมื ่ อ มี ค วามดั น เพิ ่ มขึ ้ นทำให้
ประสิทธิภาพในการกรองลดลง แต่ในการทดลองที่ 5 psi อาจเกิดจากปริมาตรของของเหลวที่กรองได้เกิด
Filtrate Loss มากกว่าที่ความดัน 10 และ 15 psi ทำและมี Filtrate Loss บางส่วนติดอยู่บนเครื่อง ซึ่งมี
ลักษณะเป็นของเหลวใส ทำให้ Filtrate ที่ทำการบันทึกค่าน้อยกว่าค่าของ Filtrate ที่ผ่านการกรอง ส่งผลให้
ปริมาณของแป้งที่ใช้ในการคำนวณน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
เอกสารอ้างอิง
[1] McCabe Smith Harriott, 2005, Unit Operations of Chemical Engineering, 7th
ed., McGraw-Hill Book Company, New York. pp.165-173.
[2] มโน บรรณคำ (มปท.),เครื่องกรอง [ออนไลน์], เข้าถึงจาก :http://courseware.rmutl.
ac.th/courses/55/unit1607.htm
[3] Saravanamuthu Vigneswaran, 1989. Water,Wastewater, and Sludge Filtration,
1st edition, CRC Press, Inc. pp.238-239
[4] International Starch Institute: ISI 01 determination of dry matter in starch by
oven drying at 130 Degree Celcius. (n.d.). Retrieved May 6, 2022, from
http://www.starch.dk/isi/methods/01dm.htm
[5] Reynolds number / ตัวเลขเรย์โนลด์ - Food Wiki: Food Network Solution.
Reynolds number / ตัวเลขเรย์โนลด์ - Food Wiki | Food Network Solution. (n.d.).
Retrieved May 21, 2022, from
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
ข้อมูลที่ใช้ในการทดลอง
สัญลักษณ์และตัวย่อ
A = พื้นที่ของการกรอง (m2)
B = ค่าสัมประสิทธิ์จากจุดตัดแกน Y (s/m3)
Cs = น้ำหนักอนุภาคของแข็งต่อปริมาตรของ Filtrate (kg/m3)
Kp = ค่าสัมประสิทธิ์จากความชัน (s/m6)
-∆P = ความดันลด (psi)
Rm = ความต้านทานจำเพาะของแผ่นกรอง (m-1)
t = เวลาในการกรอง (s)
V = ปริมาตรของ Filtrate (m3)
α = ความต้านทานจำเพาะของเค้ก (m/kg)
µ = ความหนืดของ Filtrate (kg/m•s)
η = ประสิทธิภาพในการกรอง
ε = Porosity
ภาคผนวก ข
ตารางบันทึกผลการทดลอง
ตารางที่ ข-1 บันทึกน้ำหนักของแป้งก่อนอบและหลังอบ
สิ่งที่นำไปชั่งน้ำหนัก น้ำหนัก (g)
ถาดและฟอยล์ 207.7
แป้งก่อนอบ 200.2
ถาด ฟอยล์ และแป้งหลังอบ 390.7

ตารางที่ ข-2 บันทึกปริมาณ Filtrate ที่ใช้ในการกรองแต่ละครั้งที่ความดันต่าง ๆ


ของเหลวในการ ปริมาตร (L)
ทดลอง 5 psi 10 psi 15 psi
น้ำแป้งที่ใช้ 57.44 40.8 41.1

Filtrate ที่เก็บ 32 32 32

Filtrate loss 25.44 8.8 9.1

ตารางที่ ข-3 บันทึกความหนาของเค้กที่ได้จากการกรองที่ความดัน 5 psi


ความหนาเค้ก (cm)
แผ่นกรองแผ่นที่
จุดที่ 1 จุดที่ 2 จุดที่ 3 จุดที่ 4 จุดที่ 5 จุดที่ 6 จุดที่ 7 จุดที่ 8 จุดที่ 9 เฉลี่ย
1 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3
2 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3
3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3
4 0.3 0.3 0.4 0.4 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.32
5 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3
6 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3
เฉลี่ยทุกแผ่น 0.3
ตารางที่ ข-4 บันทึกความหนาของเค้กที่ได้จากการกรองที่ความดัน 10 psi
ความหนาเค้ก (cm)
แผ่นกรองแผ่นที่
จุดที่ 1 จุดที่ 2 จุดที่ 3 จุดที่ 4 จุดที่ 5 จุดที่ 6 จุดที่ 7 จุดที่ 8 จุดที่ 9 เฉลี่ย
1 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3
2 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3
3 0.3 0.3 0.4 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.31
4 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3
5 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3
6 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3
เฉลี่ยทุกแผ่น 0.3

ตารางที่ ข-5 บันทึกความหนาของเค้กที่ได้จากการกรองที่ความดัน 15 psi


ความหนาเค้ก (cm)
แผ่นกรองแผ่นที่
จุดที่ 1 จุดที่ 2 จุดที่ 3 จุดที่ 4 จุดที่ 5 จุดที่ 6 จุดที่ 7 จุดที่ 8 จุดที่ 9 เฉลี่ย
1 0.3 0.3 0.4 0.3 0.3 0.4 0.3 0.3 0.3 0.32
2 0.4 0.3 0.3 0.4 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.32
3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3
4 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3
5 0.3 0.3 0.3 0.3 0.2 0.3 0.2 0.3 0.3 0.28
6 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3 0.3
เฉลี่ยทุกแผ่น 0.3
ตารางที่ ข-6 บันทึกน้ำหนักของเค้กเปียกและเค้กแห้งที่ได้จากการกรองที่ความดันต่าง ๆ
น้ำหนัก (g)
สิ่งที่นำไปชั่งน้ำหนัก
5 psi 10 psi 15 psi
ถาด และฟอยล์ 173.97 207.9 184.07
ถาด ฟอยล์ และเค้กเปียก 1178 856.2 875.3
ถาด ฟอยล์ และเค้กแห้ง 702.44 515.76 530.15

ตารางที่ ข-7 บันทึกเวลาที่ใช้ในการกรองทุก ๆ 1 L จนครบ 32 L ที่ความดัน 5 psi


Filtrate V (L) t (s) Cumulative t (s)
1 25.93 25.93
2 32.04 57.97
3 35.68 90.01
4 47.78 137.79
5 54.66 185.57
6 54.21 239.78
7 55.63 293.99
8 57.42 351.41
9 57.87 408.83
10 57.88 466.71
11 58.66 524.59
12 59.49 584.08
13 87.62 643.57
14 88.36 731.93
15 88.74 820.29
16 90.15 910.44
17 93.62 1000.59
18 106.59 1107.18
19 130.04 1213.77
ตารางที่ ข-7 บันทึกเวลาที่ใช้ในการกรองทุก ๆ 1 L จนครบ 32 L ที่ความดัน 5 psi (ต่อ)
Filtrate V (L) t (s) Cumulative t (s)
20 131.68 1345.45
21 133.52 1477.13
22 138.77 1615.9
23 140.35 1754.67
24 145.5 1900.17
25 145.27 2045.67
26 151.35 2197.02
27 159.98 2348.37
28 200.43 2548.8
29 213.64 2749.23
30 222.14 2971.37
31 227.56 3193.51
32 231.74 3425.25
ตารางที่ ข-8 บันทึกเวลาที่ใช้ในการกรองทุก ๆ 1 L จนครบ 32 L ที่ความดัน 10 psi
Filtrate V (L) t (s) Cumulative t (s)
1 12.08 12.08
2 12.38 24.46
3 13.28 37.74
4 14.56 52.3
5 15.87 68.17
6 16.62 84.79
7 16.84 101.63
8 15.74 117.37
9 17.61 134.98
10 17.21 152.19
11 18.73 170.92
12 18.28 189.2
13 20.36 209.56
14 19.06 228.62
15 20.56 249.18
16 20.03 269.21
17 21.89 291.1
18 21.58 312.68
19 22.16 334.84
20 22.35 357.19
21 23.71 380.9
22 23.7 404.6
23 24.93 429.53
24 24.7 454.23
25 25.55 479.78
26 27.83 507.61
27 24.93 532.54
28 24.7 557.24
29 25.55 582.79
ตารางที่ ข-8 บันทึกเวลาที่ใช้ในการกรองทุก ๆ 1 L จนครบ 32 L ที่ความดัน 10 psi (ต่อ)
Filtrate V (L) t (s) Cumulative t (s)
30 27.83 610.62
31 30.66 641.28
32 29.25 670.53
ตารางที่ ข-9 บันทึกเวลาที่ใช้ในการกรองทุก ๆ 1 L จนครบ 32 L ที่ความดัน 15 psi
Filtrate V (L) t (s) Cumulative t (s)
1 8.01 8.01
2 8.98 16.99
3 10.74 27.73
4 9.74 37.47
5 11.06 48.53
6 10.66 59.19
7 12.23 71.42
8 11.41 82.83
9 12.41 95.24
10 12.94 108.18
11 13.96 122.14
12 13.14 135.28
13 14.01 149.29
14 14.31 163.60
15 15.46 179.06
16 15.31 194.37
17 15.47 209.84
18 16.48 226.32
19 17.05 243.37
20 17.83 261.20
21 19.45 280.65
22 20.83 301.48
23 21.37 322.85
24 22.16 345.01
25 21.73 366.74
26 21.53 388.27
27 23.08 411.35
28 23.23 434.58
29 26.78 461.36
ตารางที่ ข-9 บันทึกเวลาที่ใช้ในการกรองทุก ๆ 1 L จนครบ 32 L ที่ความดัน 15 psi (ต่อ)
Filtrate V (L) t (s) Cumulative t (s)
30 26.94 488.30
31 26.92 515.22
32 27.38 542.60
ภาคผนวก ค
ผลการคำนวณ
ตารางที่ ค-1 ตารางบันทึกผลการคำนวณที่ความดันต่าง ๆ
ปริมาตรของ ความดัน 5 psi ความดัน 10 psi ความดัน 15 psi
Filtrate (L) t (s) t/V (s/L) t (s) t/V (s/L) t (s) t/V (s/L)
1 25.93 25.93 12.08 12.08 8.01 8.01
2 57.97 28.99 24.46 12.23 16.99 8.50
3 90.01 30.00 37.74 12.58 27.73 9.24
4 137.79 34.45 52.3 13.08 37.47 9.37
5 185.57 37.11 68.17 13.63 48.53 9.71
6 239.78 39.96 84.79 14.13 59.19 9.87
7 293.99 42.00 101.63 14.52 71.42 10.20
8 351.41 43.93 117.37 14.67 82.83 10.35
9 408.83 45.43 134.98 15.00 95.24 10.58
10 466.71 46.67 152.19 15.22 108.18 10.82
11 524.59 47.69 170.92 15.54 122.14 11.10
12 584.08 48.67 189.2 15.77 135.28 11.27
13 643.57 49.51 209.56 16.12 149.29 11.48
14 731.93 52.28 228.62 16.33 163.60 11.69
15 820.29 54.69 249.18 16.61 179.06 11.94
16 910.44 56.90 269.21 16.83 194.37 12.15
17 1000.59 58.86 291.1 17.12 209.84 12.34
18 1107.18 61.51 312.68 17.37 226.32 12.57
19 1213.77 63.88 334.84 17.62 243.37 12.81
20 1345.45 67.27 357.19 17.86 261.20 13.06
21 1477.13 70.34 380.9 18.14 280.65 13.36
22 1615.9 73.45 404.6 18.39 301.48 13.70
23 1754.67 76.29 429.53 18.68 322.85 14.04
24 1900.17 79.17 454.23 18.93 345.01 14.38
25 2045.67 81.83 479.78 19.19 366.74 14.67
26 2197.02 84.50 507.61 19.52 388.27 14.93
27 2348.37 86.98 532.54 19.72 411.35 15.24
28 2548.8 91.03 557.24 19.90 434.58 15.52
ตารางที่ ค-1 ตารางบันทึกผลการคำนวณที่ความดันต่าง ๆ (ต่อ)
ปริมาตรของ ความดัน 5 psi ความดัน 10 psi ความดัน 15 psi
Filtrate (L) t (s) t/V (s/L) t (s) t/V (s/L) t (s) t/V (s/L)
29 2749.23 94.80 582.79 20.10 461.36 15.91
30 2971.37 99.05 610.62 20.35 488.30 16.28
31 3193.51 103.02 641.28 20.69 515.22 16.62
32 3425.25 107.04 670.53 20.95 542.60 16.96

1. หาความเร็วในการไหลของน้ำแป้งและ Reynold Number


ตัวอย่าง คำนวณที่การกรองที่ความดัน 10 psi
- ความหนาแน่นของน้ำ = 1000 kg/m3
- พื้นที่หน้าตัดการไหล = 0.04 m2
- ความยาวรอบรูปที่สัมผัสการไหล = 0.8 m
- ความหนืดของน้ำที่ 25°C = 0.0008891 kg/m•s
- พื้นที่หน้าตัดของแผ่นกรอง = 0.06 m2
- จำนวนแผ่นกรอง = 6 แผ่น
- ปริมาตรของ Filtrate = 32 L = 0.032 m3
หาความเร็วในการไหลของน้ำแป้งที่ความดัน 10 psi
dV
จาก v =
Adt
0.032 m3
=
0.06 m2 × 6 × (670.53-12.08) s
= 1.3955 × 10-4 m/s
หา Reynold Number ที่ความดัน 10 psi
ρvD
จาก Re =
μ
kg m 0.04 m2
1000 3 × (1.3955 × 10-4 ) × (4 × )
m s 0.8 m
= kg
0.0008891 m∙s
= 31.39 ซึ่งมี Re ค่าน้อยกว่า 2300 สามารถสรุปได้ว่ามีการไหลแบบ Laminar
สามารถสรุปการคำนวณหาความเร็วในการไหลของน้ำแป้งและ Reynold Number ที่ความดันต่าง ๆ
ได้ดังตาราง ค-2
ตารางที่ ค-2 ความเร็วในการไหลของน้ำแป้งและ Reynold Number ที่ความดันต่าง ๆ
ความเร็วในการไหลของน้ำแป้ง
ความดัน (psi) Reynold Number
(×10-4 m/s)
5 0.2615 5.88
10 1.3955 31.39
15 1.6627 37.40

2. หาค่าความต้านทานจำเพาะของเค้ก (α) และค่าความต้านทานจำเพาะของแผ่นกรอง (Rm)


เนื่องจากเป็นการไหลแบบ Laminar ทำให้สามารถใช้สมการของ Carman-Kozeny ได้ จากสมการ
t Kp V Kp
= + B สามารถเขียนความสัมพันธ์ระหว่าง t/V และปริมาตร Filtrate โดยมีความชันเป็น และ
V 2 2
จุดตัดแกน Y เป็นค่า B ซึ่งสามารถแสดงได้ดังรูปที่ ค-1
120.00

100.00 y = 2.4355x + 21.79

80.00
t/V (s/L)

60.00

40.00
y = 0.2781x + 12.252
20.00
y = 0.2641x + 8.1001
0.00
0 5 10 15 20 25 30 35
V (L)
5 psi 10 psi 15 psi
Linear (5 psi) Linear (10 psi) Linear (15 psi)

รูปที่ ค-1 ความสัมพันธ์ระหว่าง t/V (s/L) และปริมาตร Filtrate (L)

ตัวอย่าง จากรูปที่ ค-1 คำนวณที่การกรองความดัน 10 psi มีความชัน 0.2781 s/L2 และมีจุดตัดแกน


Y เป็น 12.252 s/L
Kp
จาก Slope =
2
Kp
0.2781 =
2
Kp = 0.5562 s/L2
Kp = 5.562 × 105 s/m6
Kp A2 (-∆P)
จาก α=
μCs
(5.562 × 105 s/m6 ) (6 ×0.06 m) (68928.57143 Pa)
2

=
(0.0008891 kg/m∙s) (0.010 kg/m3 )
= 5.81 × 1014 m/kg
จาก y-intercept = B
B = 12.252 s/L
B = 12252 s/m3
BA(-∆P)
จาก Rm =
μ
(12252 s/m3 )(6×0.06 m2 )(68928.57143 Pa)
=
(0.0008891 K/m∙s)
= 3.419 × 1011 m-1
สามารถสรุปผลการคำนวณหาค่าความต้านทานจำเพาะของเค้ก (α) และค่าความต้านทานจำเพาะ
ของแผ่นกรอง (Rm) ที่ความดันต่าง ๆ ได้ดังตาราง ค-3

ตารางที่ ค-3 ผลการคำนวณค่าความต้านทานของแผ่นกรอง (α) และค่าความต้านทานจำเพาะของเค้ก (Rm)


ที่ความดันต่าง ๆ
P (psi) 5 10 15
Slope 2.4355 0.2781 0.2641
Kp (s/m6) 4.871 × 106 5.562 × 105 5.282 × 105
B (s/m3) 21790 12252 8100
α (m/kg) 1.48 × 1015 5.81 × 1014 7.36 × 1014
Rm (m-1) 3.041 × 1011 3.419 × 1011 3.391 × 1011
3. การหา %Moisture ของแป้ง
นำตัวอย่างแป้งปริมาณ 200.2 g ไป กำจัดความชื้นโดยอบที่ 105°C เป็นเวลา 16 ชั่วโมง หลังจากนั้น
นำการชั่งน้ำหนักแป้งแห้งได้ 183 g และสามารถคำนวณหา %Moisture ดังนี้
น้ำหนักแป้ง - น้ำหนักแป้งแห้ง
จาก %Moisture = × 100%
น้ำหนักแป้งแห้ง
200.2 - 183.0
= × 100%
183.0
= 9.40%
4. การหาน้ำหนักแป้งแห้งที่ใช้จริงในการผสมน้ำแป้ง
ตัวอย่าง คำนวณที่การกรองที่ความดัน 10 psi น้ำแป้งความเข้มข้น 10 g/L ปริมาตรน้ำแป้งที่ใช้ใน
การกรอง 40.8 L
ดังนั้นจะมีปริมาณแป้งในน้ำแป้ง = ความเข้มข้นของน้ำแป้ง × ปริมาตรน้ำแป้งที่ใช้
g
= 10 × 40.8 L
L
= 408 g
ดังนั้นจะสามารถคำนวณหาปริมาณแป้งแห้งที่ใช้ในการกรองที่ความดัน 10 psi ได้
น้ำหนักแป้ง - น้ำหนักแป้งแห้ง
จาก % Moisture = × 100 %
น้ำหนักแป้งแห้ง
408 - น้ำหนักแป้งแห้ง
9.40 = ×100 %
น้ำหนักแป้งแห้ง
น้ำหนักแป้งแห้ง = 372.94 g
สามารถสรุปปริมาตรน้ำแป้งที่ใช้ในการกรอง ปริมาณแป้งในน้ำแป้ง และปริมาณแป้งแห้งที่ความดัน
ต่าง ๆ ได้ดังตาราง ค-4 และจากการทดลองบันทึกค่าน้ำหนักเค้กเปียกและเค้กแห้งได้ดังตาราง ค-5

ตารางที่ ค-4 ปริมาณของแป้งที่ใช้ในความดันต่าง ๆ


ความดัน (psi) ปริมาตรน้ำแป้งที่ใช้ (L) ปริมาณแป้งในน้ำแป้ง (g) ปริมาณแป้งแห้งในน้ำแป้ง (g)
5 57.44 574.4 525.05
10 40.8 408 372.94
15 41.1 411 375.69
ตารางที่ ค-5 น้ำหนักเค้กเปียกและเค้กแห้งจากการกรองที่ความดันต่าง ๆ
สิ่งที่นำไปชั่งน้ำหนัก น้ำหนัก (g)
5 psi 10 psi 15 psi
เค้กเปียก 1004.03 648.3 691.23
เค้กแห้ง 528.47 307.86 346.08

5. การหา Cs และ Porosity (ε)


ตัวอย่าง คำนวณที่การกรองความดัน 10 psi
- ปริมาตร Filtrate = 32 L = 0.032 m3
- น้ำหนักเค้กแห้ง = 307.86 g = 0.30786 kg
- ความหนาของเค้กเฉลี่ย = 0.3 cm = 0.003 m
- พื้นที่หน้าตัดของแผ่นกรอง = 0.06 m2
- จำนวนแผ่นกรอง = 6 แผ่น
- ความหนาแน่นของน้ำแป้ง = 1200 kg/m3
น้ำหนักเค้กแห้ง
จาก Cs =
ปริมาตร Filtrate
0.30786 kg
=
32 L
= 0.010 kg/L
= 10.0 kg/m3
Cs V
จาก L =
A(1-ε)ρp
kg
0.010 × 32 L
L
0.003 m = kg
6 × 0.06 m2 × (1-ε) × 1200 3
m
ε = 0.998
สามารถสรุปผลการคำนวณหา Cs และ ε ที่ความดันต่าง ๆ ได้ดังตาราง ค-6

ตารางที่ ค-6 ผลการคำนวณหา Cs และ ε ที่ความดันต่าง ๆ


ความดัน (psi) Cs (kg/m3) ε
5 17.0 0.996
10 10.0 0.998
15 11.0 0.997

6. คำนวณหาประสิทธิภาพในการกรอง
ตัวอย่าง คำนวณที่การกรองความดัน 10 psi
น้ำหนักเค้กแห้ง
จาก η= × 100%
หนักแป้งแห้ง
307.86
= × 100%
372.94
= 82.55%
สามารถสรุปผลการคำนวณประสิทธิภาพในการกรองที่ความดันต่าง ๆ ได้ดังตาราง ค-7
ตารางที่ ค-7 ตารางบันทึกผลการคำนวณประสิทธิภาพในการกรองที่ความดันต่าง ๆ
ความดัน (psi) ประสิทธิภาพการกรอง η (%)
5 100.65
10 82.55
15 92.12

You might also like