You are on page 1of 23

1

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Full Report)


2306-452 UNIT OPERATIONS LAB II

การทดลอง A

เรื่อง การกลั่นลำดับส่วน (Fractional Distillation)

กลุ่มที่ 8 วัน อังคาร ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562 (ครึ่ง


บ่าย)

รายชื่อนิสิตในกลุ่ม

นายจักรภัทร แย้มทิม 5932907823


นายพัชรพล นกโพธิ ์
5932943323
นายภาณุศร กลึงสุวรรณชัย 5932950723
นายรณัน ศตชัยวิรุจน์
5932952023

ผู้ควบคุมปฏิบัติการ
ดร. จิตติ เกษมชัยนันท์
2

ตารางคะแนน เต็ม ได้


1. ทฤษฎี วิธ ก
ี ารทดลอง 1
เอกสารอ้างอิง
2. ข ้อ ม ูล แ ล ะ ผ ล ก า ร 2
ทดลอง
3. ต ัว อ ย า่ ง ก า ร คำ น ว ณ 3
กราฟ
4. อภิป ราย และ สรุป ผล 4
การทดลอง
รวม 10
5. การทดลองพิเศษ (ถ้ามี) 10
สารบัญ

เรื่อง หน้า

วัตถุประสงค์
1

ทฤษฎี
1
3

สารเคมีที่ใช้และอุปกรณ์ที่ใช้
7

วิธีการทดลอง
7

ข้อมูลการทดลอง
8

ผลการทดลอง
11

วิจารณ์ผลการทดลอง
12

สรุปผลการทดลอง
12

ตัวอย่างการคำนวณ
13

เอกสารอ้างอิง
17
1

การทดลองที่ A
การกลั่นลำดับส่วน (Fractional Distillation)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการทำงานและวิธีการกลั่นลำดับส่วนและเพื่อ
ทดสอบประสิทธิภาพของหอกลั่น

ทฤษฎี
การกลั่น คือ วิธีการแยกของผสมในสภาพที่เป็ นสารละลายออกจาก
กัน ซึ่งถือว่าเป็ นวิธีที่สำคัญที่สุด
วิธีหนึ่งสำหรับการทำของเหลวให้บริสุทธิ ์ ในการกลั่นโดยทั่วไปจะใช้ไอน้ำ
มาเป็ นตัวให้ความร้อน ซึ่งจะทำให้สารละลายในสภาพของเหลวระเหย
กลายเป็ นไอบ้างส่วน สารที่ต้องการที่จะแยกออกจากกันโดยวิธีการนี ้ จะ
ต้องมีอัตราการระเหยไม่เท่ากัน ซึ่งอาจดูได้จากค่าของจุดเดือดหรือความ
ดันไอของสารนัน
้ ๆ สารที่ระเหยได้ง่ายกว่าจะอยู่ในส่วนของไอมากกว่า
สารที่ระเหยยาก และในของเหลวจะมีสารที่ระเหยยากอยู่เป็ นจำนวน
น้อย จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นจะมีทัง้ ส่วนที่เป็ นไอและ
ของเหลวจึงเกี่ยวข้องกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมดุลระหว่างไอและ
ของเหลว โดยการกลั่นมีหลายประเภท เช่น การกลั่นแบบธรรมดา, การก
ลั่นลำดับส่วน, การกลั่นด้วยไอน้ำ เป็ นต้น

หอกลั่นแบบที่นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
อุตสาหกรรมปิ โตรเลียม คือ หอกลั่นลำดับส่วน (Fractionating
Column) นอกจากหอกลั่นแบบนีซ
้ ึ่งเป็ นหอกลั่นแบบต่อเนื่อง การกลั่น
แบบเป็ นครัง้ (Batch distillation) ได้รับความนิยมในกรณีสารที่จะใช้มี
ปริมาณไม่มาก
2

การกลั่นลำดับส่วนเป็ นกระบวนการแยกสาร (Separating


Process) โดยใช้หลักการทำให้กลายเป็ นไอ และควบแน่นติดกันหลาย ๆ
ครัง้ (Separated vaporization and condensation)

ส่วนประกอบของหอหลั่น มีดังนี ้

1. Plate ทีทำ
่ เป็ นรูปร่างต่าง ๆ เช่น Sieve Plate, Bubble Plate
2. ท่อป้ อนเข้าที่ Feed Plate
3. Stripping plates ซึ่งอยู่ต่ำกว่า Feed Plate ซึ่งอาจมีลักษณะ
คล้ายหรือไม่คล้ายลักษณะ plate ก็ได้จากลักษณะการทำงาน
ของ Plate ต่าง ๆ อาจแบ่งส่วนหอกลั่นได้ 2 ส่วน คือ
a) Rectifying Section (ส่วนที่อยู่เหนือ Feed Plate)
b) Stripping Section (ส่วนที่อยู่ต่ำ Feed Plate)
ในระบบการกลั่นลำดับส่วน นอกจากตัวหอกลั่นยังมีเครื่องทำความ
เย็น เครื่องทำความร้อน และ
เครื่องควบแน่น
3

รูปที่1 Fractionation distillation

หลักการกลั่นในหอกลั่น คือ จะให้ความร้อนแก่ส่วนล่างของหอกลั่น


ให้ของเหลวกลายเป็ นไอ การกระจายอุณหภูมิในหอกลั่นเป็ นแบบ
อุณหภูมิสูงสุดที่ส่วนล่างของหอกลั่น และจะต่ำลงเรื่อย ๆ ในส่วนกลาง ๆ
และจะต่ำสุดในส่วนยอดหอ ฉะนัน
้ เมื่อไอลอยสูงขึน
้ อุณหภูมิก็จะค่อย ๆ
ลดลงด้วย นอกจากนีไ้ อมีส่วนประกอบมากกว่าหนึ่งชนิด ฉะนัน
้ ส่วน
ประกอบที่มีจุดเดือดสูงกว่าก็จะควบแน่นให้ความร้อนของการกลายเป็ น
ไอ (Heat of Vaporization) แก่ของเหลวที่อยู่ตอนบนที่มีส่วนประกอบ
เบา (Light Component) ให้กลายเป็ นไอและจะเป็ นเช่นนีใ้ นทุกๆ
plate ที่จัดเรียงไว้ในหอกลั่น จึงทำให้สารที่ออกมาจากยอดหอกลั่นมี
Light Component เป็ นส่วนใหญ่ และ Heavy Component จะออก
จากหอกลั่นในส่วนล่าง

ในการกลั่น อาจเลือกที่จะกลั่นที่ละครัง้ (Batch) หรือกลั่นแบบต่อ


เนื่อง (Continuous) ก็ได้ หลักการจะคล้ายกัน แต่ขัน
้ ตอนและปฏิบัติ
การจะแตกต่างกัน

การกลั่นในทางปฏิบัติ สามารถทำได้โดยอาศัยหลักการ 2 วิธี คือ

1. ใช้วิธีต้มสารละลายผสมให้เป็ นไอ แล้วแยกเอาไอออก ทำให้


กลั่นตัวเป็ นของเหลว โดยไม่ได้นำส่วนของเหลวไปกลั่นซ้ำอีก
2. นำเอาส่วนที่กลั่นได้ ซึง่ อยู่ในรูปของของเหลว ไปกลั่นซ้ำอีก
โดยทัง้ สองวิธีนีเ้ ป็ นแบบ Batch หรือ Continuous ก็ได้
4

การกลั่นลำดับส่วน

เครื่องมือซึ่งป้ อนส่วนผสมเข้าไปยังด้านล่างของหอกลั่น ไม่สามารถ


ทำให้ Bottom Product มีความบริสุทธิส์ ูงได้ เพราะที่ส่วนนีข
้ องเหลวไม่
เกิดการกลั่นลำดับส่วน การแก้ไขทำโดยการป้ อนของผสมเข้าไปในชัน

บริเวณส่วนกลางของหอกลั่น ของเหลวจะไหลลงมาตามชัน
้ ต่าง ๆ ลง
มายังด้านล่างเข้าในส่วน Reboiler จะได้ไอกลั่นเข้าในหอกลั่นเมื่อเกิด
การกลั่นลำดับส่วน เนื่องจากของเหลวที่เข้าใน Reboiler ส่วนที่มี
จุดเดือดต่ำจะกลายเป็ นไอ ฉะนัน
้ Bottom Product จึงมีส่วนจุดเดือดสูง
กว่าเกือบบริสุทธิ ์

เครื่องมือดังกล่าวเป็ นแบบ Continuous Fractionating Column


ซึ่งประกอบด้วยส่วน Rectifying และส่วน Stripping บริเวณหอกลั่นที่
ส่วนกลางจะถูกป้ อนด้วยของผสม ซึ่งมีอุณหภูมิเท่ากับจุดเดือดของสาร
นัน

ชัน
้ plate ที่ป้อนของผสมเข้าไปเรียกว่า Feed plate ลงมาเป็ นส่วน
Stripping section ของเหลวที่ป้อนเข้าไปจะไหลออกมาตาม Stripping
section ไปยังส่วนล่างสุดของหอกลั่น ซึ่งจะควบคุมระดับให้คงที่ จากนัน

จะไหลต่อไปยัง Reboiler ซึง่ มีไอน้ำเป็ นตัวให้ความร้อน จะแยกส่วนที่
เป็ นไอกลับเข้าไปยังหอกลั่น ของเหลวส่วนที่เหลือไปยัง Cooler ซึง่ เครื่อง
มือนีจ
้ ะเป็ นตัวให้ความร้อนแก่ของเหลวก่อนจะป้ อนไปในหอกลั่น

ส่วนของไอจากการกลั่นลำดับส่วน จะกลั่นตัวเป็ นของเหลวในส่วน


Condenser และสะสมอยู่ใน accumulator ซึง่ จะมีการควบคุมระดับ
ของของเหลวไว้แน่นอน ปั๊ มจะนำเอาของเหลวที่รวบรวมได้ปล่อยออกมา
5

เป็ น down-flowing vapor โดยให้มีการ reflux อีก ของเหลวที่ได้จาก


การกลั่นจะเข้าไปใน cooling โดยไม่ผ่าน pump จะได้เป็ น overhead
product ในการกลั่นลำดับส่วนนีท
้ งั ้ overhead และ bottom product
์ ากขึน
จะมีความบริสุทธิม ้ ถ้าจำนวนชัน
้ และการ reflux มากพอ

รูปที่ 2 การกลั่นแบบ Batch distillation

รูปที่ 3 ลักษณะของการกลั่นที่เกิดขึน
้ ในแต่ละชัน
้ tray

สูตรที่ใช้ในการคำนวณ
6

คำนวณ Mole fraction of Ethanol in Distillate (xD) and in


Bottom (xB) and in Feed (z)

Mole of Ethanol = ( MW
( Density Ethanol )(Volume Ethanol )
Ethanol )

Mole of Water =
( DensityWater )(VolumeWater )
( MW Water )

Mole Ethanol
Mole Ethanol +MoleWater
Mole fraction of Ethanol =

- Rectifying Operating Line (Top OP line):


L
L L
V ( )
y n = x n−1 + 1− x D
V
L
V
=
L
D
+1
เมื่อ
D

R x
y n= x n+1 + D
หรือ R+ 1 R+1 โดยที่ R = Reflux ratio

- Stripping Operating Line (Bottom OP line) :


L L
เมื่อ
V ( )
y n = x n−1 − −1VL=L
x +L
V =VB −VF F

U +1 1
yn= x n−1 − x B
U U
หรือ

โดยที่ U = VR / B ; VR = อัตราการไหลของ ethanol ที่ออกจาก


ส่วนบนของ column
VR = L + D
7

การวิเคราะห์กราฟโดยวิธี McCabe-Thiele

วิธีกำหนดจำนวนขัน
้ ตามทฤษฎีด้วยการวิเคราะห์กราฟ McCabe-
Thiele จะเริ่มจากการวาดกราฟ x-y แสดงสมดุลของก๊าซและของเหลว
ก่อน จากนัน
้ จะวาดเส้นทแยงมุม y = x และ operating line ทัง้ สอง
เส้น ในที่นี ้ enriching line จะเป็ นเส้นตรงที่ลากผ่านจุด PD บนเส้นทแยง
มุมด้วยความชัน R / (R + 1) และ stripping line จะเป็ นเส้นตรงที่ลาก
ผ่านจุด PW บนเส้นทแยงมุมด้วยความชัน [R + q (F / D)] / [R + 1 –
(1 – q) (F / D)] โดย enriching line กับ stripping line จะตัดกันบน q
line จุด PD และจุด PW แสดงถึงสัดส่วนโดยโมลขององค์ประกอบที่
ระเหยง่ายในด้านผลิตภัณฑ์ยอดหอ และผลิตภัณฑ์ก้นหอตามลำดับ
เมื่อลากส่วนของเส้นตรงจากจุด PD ที่ยอดหอไปขนานกับแกน x
จนชนเส้นสมดุล แล้วลากลงมาตัง้ ฉากกับแกน x จนชนเส้น enriching
line จะได้เป็ นขัน
้ บันได เมื่อทำไปเรื่อยๆ จะได้จำนวนขัน
้ ออกมา (รูปที่
8) ค่าที่หาได้ตามข้างต้นเรียกว่า จำนวนขัน
้ S ซึ่งจะเท่ากับจำนวนขัน
้ ตาม
ทฤษฎี N บวกด้วยชัน
้ สมดุลอีก 1 ขัน
้ ซึ่งหมายถึง reboiler กล่าวคือ S =
N+1
8

รูปที่ 4 กราฟ McCabe-Thiele
9

Ethanol - Water Equilibrium Data


Temper Mole Fraction Mass Fraction Volume Fraction
ature (g/g) (mL/mL)
o
( C) Liquid Vapor Liquid Vapor Liquid Vapor
(x) (y) (x) (y) (x) (y)
95.5 0.019 0.170 0.0472 0.3437 0.0591 0.3990
89 0.072 0.389 0.1657 0.6196 0.2012 0.6736
86.7 0.097 0.438 0.2147 0.6654 0.2573 0.7160
85.3 0.124 0.470 0.2654 0.6943 0.3141 0.7422
84.1 0.166 0.509 0.3374 0.7260 0.3923 0.7705
82.7 0.234 0.545 0.4381 0.7535 0.4971 0.7948
82.3 0.261 0.558 0.4743 0.7635 0.5334 0.8036
81.5 0.327 0.583 0.5544 0.7811 0.6119 0.8189
80.7 0.397 0.612 0.6269 0.8014 0.6804 0.8365
79.8 0.508 0.656 0.7252 0.8301 0.7698 0.8609
79.7 0.520 0.660 0.7346 0.8322 0.7782 0.8628
79.3 0.573 0.684 0.7745 0.8470 0.8132 0.8753
78.74 0.676 0.739 0.8423 0.8784 0.8713 0.9015
78.24 0.747 0.782 0.8831 0.9014 0.9055 0.9206
78.15 0.894 0.894 0.9558 0.9558 0.9648 0.9648
Ethanol - Water Equilibrium Curve

0.9

0.8

0.7

0.6
Ye

0.5 Equilibrium Curve

0.4

0.3

0.2

0.1

0
0 0.2 0.4 0.6 0.8 1
Xe
10

สารเคมีและอุปกรณ์ทใี่ ช้

1. ชุดอุปกรณ์หอกลั่นลำดับส่วน
2. แอลกอฮอล์มิเตอร์
3. นาฬิกาจับเวลา
4. กระบอกตวง 1000 ml
5. บีกเกอร์
Ethyl Alcohol

วิธีการทดลอง
Batch distillation

1. ปิ ดวาล์วทุกตัวยกเว้นวาล์ว V10 ให้เปิ ดไว้


2. บรรจุสารละลายเอทานอลปริมาตร 10 ลิตรด้วยกระบอกตวง
ความเข้มข้นตามต้องการลงในหม้อ Reboiler
3. เปิ ดสวิตซ์จ่ายไฟที่แผงควบคุม (Main switch และ Distillation
switch) แล้วเปิ ดคอมพิวเตอร์ และสวิทซ์ Armfield
4. เปิ ดวาล์ว V10
5. เปิ ดวาล์ว V5 (เปิ ดวาล์วน้ำหน้าห้อง) ปรับอัตราการไหลของน้ำ
หล่อเย็นอยู่ที่ 3 ลิตรต่อนาที
6. ตัง้ ค่า Reflux ให้เป็ นแบบ Total reflux ในโปรแกรม Genesis
7. ตัง้ ค่า Reboiler ให้จ่ายความร้อนให้กับสารละลาย 1.5 kW ใน
โปรแกรม Genesis แล้วลดลงไปยังค่าตามต้องการ เมื่อ
สารละลายเดือดรุนแรงเกินไป
8. เปิ ดวาล์ว V6 และ V7 ตามลำดับเพื่อป้ องกันไอภายในหอกลั่น
เข้าสู่มานอมิเตอร์ อ่านค่าความดันลดของหอกลั่น เมื่ออ่านเสร็จ
แล้วให้ปิดวาล์วทัง้ สอง
11

9. รอจนกระบวนการเข้าสู่สภาวะคงตัว แล้วอ่านค่าอุณหภูมิที่
ตำแหน่งต่าง ๆ
10. ไขผลิตภัณฑ์ยอดหอโดยเปิ ดวาล์ว V3 และผลิตภัณฑ์ก้นหอ
โดยวาล์ว V2 เพื่อนำไปใช้วัดความเข้มข้น ก่อนทำการเก็บ
ตัวอย่างสารละลาย ควรไขสารละลายที่ค้างภายในท่อทิง้ ไปก่อน
เล็กน้อย และการเก็บตัวอย่างควรทำในปริมาณเล็กน้อย เพื่อไม่
ให้รบกวนระบบ

ข้อมูลการทดลอง

ครึ่งบ่าย – Constant Reflux

1. การเปลี่ยนแปลงรอบ Reflux Ratio และ Cycle time


1.1 Reflux Ratio = 10 : 1
Cycle time = 10 sec
Concentration of Feed = 40 %vol

Position Temperature
o
( C)
Tray 1 T1 33.1
Tray 2 T2 79.0
12

Tray 3 T3 78.5
Tray 4 T4 79.5
Tray 5 T5 80.6
Tray 6 T6 80.6
Tray 7 T7 80.6
Tray 8 T8 83.9
Reboiler T9 84.5
Top T10 78.9
Condenser Outlet T11 29.8
Water
Condenser Inlet T12 31.8
Water
Reflux value T13 36.2

3
ครัง้ ที่ Reflux Volume (cm )
in 20 sec
1 14
2 13
3 13
เฉลี่ย 13.33
Pressure drop = 75 cmH2O
ความเข้มข้นที่ Distillation = 87 %vol
ความเข้มข้นที่ Bottom = 27 %vol
13

ผลการทดลอง
ครึ่งบ่าย

2. การเปลี่ยนแปลงรอบ Reflux Ratio และ Cycle time


1.1 Reflux Ratio = 10 : 1
Cycle time = 10 sec

อัตราการไหลของ Reflux = 0.667


ลูกบาศก์เซนติเมตร ต่อวินาที
จำนวนโมลทัง้ หมดใน Distillate = 0.886
โมล
สัดส่วนโดยโมลของเอทานอลใน Distillate (xD) = 0.674
จำนวนโมลทัง้ หมดใน Bottom = 455.592 โมล
สัดส่วนโดยโมลของเอทานอลใน Bottom (xB) = 0.101
จำนวนชัน
้ ของหอกลั่น = 5 ชัน

ประสิทธิภาพของหอกลั่น = 62.5
เปอร์เซ็นต์

วิจารณ์ผลการทดลอง
การทดลองนีเ้ ป็ นการศึกษาหาค่า reflux ratio และ cycle time
เหมาะสมในการกลั่นลำดับส่วน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยใน
การทดลองจะใช้สารละลาย ethanol ความเข้มข้น 40 % โดยปริมาตร
ทำการทดลอง 3 ครัง้ ซึ่งแต่ละครัง้ ทำการปรับค่า reflux ratio และ
cycle time ให้แตกต่างกัน ได้แก่ reflux ratio 10 / cycle time 10
วินาที, reflux ratio 5 / cycle time 15 วินาที และ reflux ratio 1 /
14

cycle time 5 วินาที ทำการเก็บข้อมูลเมื่อเข้าสู่สภาวะสมดุล คือเริ่มมี


หยดของผลิตภัณฑ์ยอดหอตกลงมายัง Flash Drum หยดแรก และ
อุณหภูมิในหอกลั่นเริ่มคงที่ จากนัน
้ นำข้อมูลไป คำนวณหาประสิทธิภาพ
ของหอกลั่น เนื่องจากเกิดปั ญหากับอุปกรณ์ทดลอง จึงทำให้ทำการ
ทดลองได้เพียง 1 รันนั่นคือการปรับค่า reflux ratio 10 / cycle time
10 วินาที ส่วนอีก 2 รันใช้ผลการทดลองจากกลุ่มเพื่อน

เมื่อปรับค่า cycle time มาก แล้วทำการเก็บข้อมูล ค่า Xd ที่


คำนวณได้มีค่ามาก จำนวนชัน
้ ที่ได้เลยมาก ประสิทธิภาพจึงสูงกว่า ระบบ
ที่ปรับค่าให้ cycle time น้อย ซึ่งไม่เป็ นไปตามทฤษฎี เพราะที่ cycle
time มาก หมายถึงการเพิ่มระยะเวลาในการแยกสารออกไปเป็ น Top
Product (D) เยอะขึน
้ ความเข้มข้นของ ethanol ควรจะน้อยลง ค่า Xd
ทีคำ
่ นวณได้ควรจะน้อยกว่า ประสิทธิภาพจึงควรต่ำกว่าระบบที่ปรับค่า
cycle time ให้น้อยๆ

ส่วนการทดลองสุดท้าย ตามทฤษฎีควรได้ประสิทธิภาพมากกว่า
ระบบที่มี reflux ratio เป็ น 5 เพราะจาก สูตร eff = N/Nactual ที่ total
reflux (reflux เป็ น ) ได้จำนวนชัน
้ เป็ น Nmin ทำให้ประสิทธิภาพน้อย
ดังนัน
้ เมื่อ reflux ratio น้อยลง ประสิทธิภาพควรจะสูงขึน

สรุปผลการทดลอง
 ที่ reflux ratio เท่ากับ 10 และ cycle time เท่ากับ 10 วินาที จะมี
ประสิทธิภาพของหอกลั่นเท่ากับ 62.5%
15

 ที่ reflux ratio เท่ากับ 5 และ cycle time เท่ากับ 15 วินาที จะมี
ประสิทธิภาพของหอกลั่นเท่ากับ 75%

ตัวอย่างการคำนวณ
ครึ่งบ่าย

คํานวณประสิทธิภาพหอกลั่นด้วยวิธีของ Fenske

1. xD

- Top product มีความเข้มข้น = ร้อยละ 87 โดยปริมาตร


3
- ความหนาแน่นของเอทานอล = 0.789 g/cm
3
- ความหนาแน่นของน้ำ = 1 g/cm
- ปริมาตรของ Distillate ทัง้ หมด (เก็บครัง้ ละ 20 s) = 40
3
cm
(Density of ethanol)(%Vol ethanol)(Volume)
mole of ethanol=
MW ethanol

( 0.789)(0.87)( 40)
mole of ethanol= =0.597 mol
46
(Density of water )(1−%Vol ethanol)(Volume)
mole of water=
MW water

(1)(1−0.87)(40)
mole of water= =0.289 mol
18
mol of ethanol
จาก xD=
mol of ethanol+ mole of water
0.597
xD= =0.674
0.597+0.289

2. xB
16

- Bottom product มีความเข้มข้น = ร้อยละ 27 โดย


ปริมาตร
3
- ความหนาแน่นของเอทานอล = 0.789 g/cm
3
- ความหนาแน่นของน้ำ = 1 g/cm
3
- ปริมาตรของ Bottom = 10 L – 40 cm =
3
10000 – 40 cm
3
= 9960 cm
(Density of ethanol)(%Vol ethanol)(Volume)
mole of ethanol=
MW ethanol

(0.789)( 0.27)(9960)
mole of ethanol= =46.125 mol
46
(Density of water )(1−%Vol ethanol)(Volume)
mole of water=
MW water

(1)(1−0.26)(9960)
mole of water= =409.467 mol
18
mol of ethanol
จาก xB=
mol of ethanol+mole of water
46.125
xB= =0.101
46.125+409.467

3. zF
- Feed มีความเข้มข้น = ร้อยละ 40 โดยปริมาตร
3
- ความหนาแน่นของเอทานอล = 0.789 g/cm
3
- ความหนาแน่นของน้ำ = 1 g/cm
3
- ปริมาตรของ Feed = 10 L = 10000cm
(Density of ethanol)(%Vol ethanol)(Volume)
mole of ethanol=
MW ethanol

(0.789)( 0.40)(10000)
mole of ethanol= =68.609 mol
46
17

(Density of water )(1−%Vol ethanol)(Volume)


mole of water=
MW water

( 1 )( 1−0.40 ) ( 10000 )
mole of water= =333.333 mol
18
mol of ethanol 68.609
จาก zF = =
mol of ethanol+ mole of water 68.609+333.333
=0.171

4. หาค่า EW
B
จากสมการของ Antoine : log Po= A−
T +C

o
เมื่อ T อยู่ในหน่วย C และ P อยู่ในหน่วย mmHg

ค่าคงที่ Antoine ของ Ethanol

ช่วงอุณหภูมิ A B C
o
( C)
37 – 80 8.20417 1642.89 230.3
77 – 243 7.68117 1332.04 199.2

ค่าคงที่ Antoine ของน้ำ

ช่วงอุณหภูมิ A B C
o
( C)
1 – 100 8.07131 1730.63 233.426
99 – 374 8.14019 1810.94 244.485
o
ที่ยอดหอกลั่น T10 = 78.9 C
1332.04
Ethanol : log Po=7.68117−
79.1+199.2

o
P = 784.92 mmHg
18

1730.63
น้ำ : log Po=8.07131−
79.1+ 233.426

o
P = 341.79 mmHg

จาก EW = (VP)E / (VP)W = 784.92/341.79

ดังนัน
้ ที่ยอดหอ EW,top = 2.2965
o
ที่ Reboiler T9 = 84.5 C
1332.04
Ethanol: log Po=7.68117−
84.4 +199.2

o
P = 964.43 mmHg
1730.63
น้ำ : log Po=8.07131−
84.4+233.426

o
P = 422.76 mmHg

จาก EW = (VP)E / (VP)W = 964.43/422.76

ดังนัน
้ ที่ Reboiler EW,bot = 2.2813

จาก α EW , avg=(α EW , top α EW , bot )1 /2

α EW , avg=(2.2965 ×2.2813)1/ 2

ดังนัน
้ EW,avg = 2.289

5. หาจำนวนชัน
้ (Equilibrium stage) จากสมการของ Fenske

เนื่องจากในการทดลอง เป็ นการทดลองโดยใช้ Total reflux ดังนัน



จำนวนชัน
้ ที่ใช้ตามทฤษฎีจึงมีค่าเท่ากับ Nmin ซึง่ สามารถคำนวณได้
จากสมการของ Fenske ได้โดยตรง
19

xE

จาก
N min =
ln
[ ]
( )
xW
xE
( )
xW
ln(α EW )
D

0.876

N min =
ln
[ ]
( 1−0.876 )
0.148
( 1−0.148 )
ln ⁡(2.289)
D

Nmin = 4.47 ชัน


้ (ประมาณ 5 ชัน
้ ซึ่งมีค่าเท่ากับ N
เพราะ Total reflux)

ดังนัน
้ Ntherory = 5 ชัน

6. คำนวณหาค่าประสิทธิภาพ
N theory 5
จาก Efficiency=
N Actual
x 100 %= x 100=62.5 %
8

ดังนัน
้ ประสิทธิภาพของหอกลั่น มีค่าเท่ากับ 62.5 เปอร์เซ็นต์

เอกสารอ้างอิง
[1] รศ.ดร.เลอสรวง เมฆสุด, เอกสารประกอบการสอนวิชา 2306320
Equilibrium-Staged Separations, Academic year 2006.

[2] http://homedistiller.org/

[3] https://www.quora.com › What-is-total-reflux


20

You might also like