You are on page 1of 6

ปฏิบัติการที่ 1

การหาขีดการละลายและการศึกษาการผสมเข้ากันได้ของตัวทำละลายบางชนิด
ผศ.ดร. สุนี ชาญณรงค์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อทดลองหาขีดการละลายของสารชนิดต่างๆ ที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย
2. ศึกษาการเข้ากันได้ของตัวทำละลายชนิดต่างๆ

บทนำ
สารละลาย คือ สารผสมตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปรวมกันจนเป็นเนื้อเดียว (homogeneous) สารละลายอาจ
เป็นของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซก็ได้ กระบวนการละลายนั้น โมเลกุลของตัวทำละลายต้องมีพลังงานมากพอที่จะ
เอาชนะแรงดึงดูดของตัวถูกละลายได้ ในขณะเดียวกัน ตัวถูกละลายก็ต้องแยกแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของตัว
ทำละลายให้ได้ โมเลกุลหรือไอออนของตัวถูกละลายจะกระจายเข้าไปในโมเลกุลของตัวทำละลายและเกิดแรงจับ
ระหว่างตัวถูกละลายและตัวทำละลายขึ้น
ขีดการละลาย (solubility) ของสาร
เมื่อของแข็งละลายจนถึงจุดอิ่มตัวที่อุณหภูมิและความดันหนึ่ งจะเกิดสมดุลย์ขึ้น ความเข้มข้นของตัวถูก
ละลายที่ละลายอยู่นี้เรียกว่า ขีดการละลาย (solubility) ซึ่งจะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นกับคุณสมบัติทางเคมีและ
ฟิสิกส์ของตัวถูกละลายและของตัวทำละลายเอง ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผล ได้แก่ อุณหภูมิ ขีดความเป็นกรดของตัว
ทำละลาย ขีด การละลายอาจมีหน่วยเป็น molality, molarity หรือ percentage ส่วนตามที่กำหนดในเภสัช
ตำรับ เช่นใน USP, BP จะกำหนดเป็นมิลลิลิตรของตัวทำละลายที่สามารถละลายสารหรือยา 1 กรัมได้หมด และ
มีชื่อเรียกดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 Meanings of the terms used in statements of approximate solubilities.
Descriptive term Approximate volume of solvent in milliliters per
gram of solute
Very soluble less than 1
Freely soluble from 1 to 10
Soluble from 10 to 30
Sparingly soluble from 30 to 100
Slightly soluble from 100 to 1000
Very slightly soluble from 1000 to 10,000
Practically insoluble more than 10,000
Reference : BP 1999 p.11

การเลือกตัวทำละลายในการละลายตัวยาหรือสารใดๆ จะใช้หลักการเลือกตัวทำละลายที่มีความคล้ายคลึง
กัน (like dissolves like) กับตัวถูกละลายนั้น ได้แก่ ความมีขั้ว (ดูจากโครงสร้างทางเคมี) เช่น ตัวถูกละลายที่มี
ขั้วจะละลายได้ดีในตัวทำละลายที่มีขั้ว ตัวถูกละลายที่ไม่มีขั้วจะละลายได้ดีในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เป็นต้น
1
ตัวทำละลายแบ่งเป็น 3 ชนิดตามความมีขั้ว คือ
1. ตัวทำละลายที่มีขั้ว (polar solvent) สามารถละลายเกลือและสารอิเลคโตรไลท์ได้ดี เช่น น้ำ ตัวทำ
ละลายที่มีขั้วจะมีค่า polarity หรือ dielectric constant () > 50
2. ตัวทำละลายกึ่งมีขั้ว (semi polar solvent) สามารถชักนำให้เกิดขั้วในโมเลกุลที่ไม่มีขั้วได้ จึงมักใช้เป็น
ตั วกลางเพื่ อละลายสารกึ่งมี ขั้ว เช่ น alcohol, acetone จะมี ค่ า polarity หรือ dielectric constant ()
 20 - 50
3. ตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว (non-polar solvent) ละลายได้เฉพาะสารที่ ไม่มีขั้ว จะมีค่า polarity หรือ
dielectric constant ()  1 - 20

ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการละลายตัวยา
นอกเหนือจากความมีขั้วของตัวทำละลายจะมีผลต่อการละลายแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ มีผลต่อการละลาย
ได้แก่
1. อุณหภูมิ
2. ขนาดของผงยา
3. การเขย่าหรือการคน
4. การเกิดสารประกอบเชิงซ้อน
5. จุดหลอมเหลวของสาร
6. พีเอช ของตัวทำละลาย
7. ความหนืดของตัวทำละลาย
การทดลองนี้จะศึกษาถึงขีดการละลายของสารและศึกษาการผสมกันได้ (miscibility) ของตัวทำละลาย
ที่ใช้บ่อยในการตั้งตำรับยา

2
เครื่องมือและสารเคมี
เครื่องมือ นักศึกษาเตรียม
1. Buret set 1. กระดาษชั่งสาร
2. Erlenmeyer flask 250 mL 2. ช้อนเขา
3. Cylinder ขนาด 10 mL 3. ปากกาเขียนแก้ว
4. Beaker ขนาด 50 mL
5. Stirring rod สั้น

สารเคมี
1. Benzoic acid
2. Sodium benzoate
3. Sorbitol
4. Glycerin
5. 95% Ethyl alcohol
6. Polyethylene glycol 400
7. Propylene glycol
8. 0.1 N NaOH
9. 0.1 N HCl

3
ปฏิบัติการ
1. การหาขีดการละลายของสาร
วิธีทดลอง
1. ชั่ง benzoic acid และ sodium benzoate ชนิดละ 150 mg ใส่ใน Erlenmeyer flask ขนาด 250
mL ชนิดละ 4 flasks เพื่อหาค่าการละลายในตัวทำละลาย 4 ชนิด คือ DI water, 95% alcohol, 0.1 N NaOH
และ 0.1 N HCl
2. นำแต่ละ flask มาเติมตัวทำละลายทีละส่วน ตามตารางที่ 2 โดยใช้บิวเรต เริ่มจากอัตราส่วน 1:1,
1:5, 1:10, ... โดยเขย่า ทุ กครั้งหลังเติม ประมาณ 5 นาที ถ้าไม่ ล ะลายให้ เติม ตั วทำละลายส่ วนต่อไป ทำซ้ ำ
เหมือนเดิมจนสารแต่ละชนิดละลายหมด บันทึกปริมาณตัวทำละลายปริมาณน้อยที่สุดที่ใช้ละลายสารได้หมด
กรณีที่ทำการละลายจนถึงอัตราส่วน 1:500 แล้วยังละลายไม่หมด ให้บันทึกเป็น 1:500 (และไม่ต้องทำต่อ)
3. นำปริมาตรที่ละลายได้ไปเทียบเป็นอัตราส่วน 1: … แล้วเทียบเป็น descriptive terms จากตารางที่ 1
4. ให้ นั ก ศึ ก ษาสรุ ป ว่ า สารแต่ ล ะชนิ ด เป็ น สารประเภทใด เช่ น เป็ น electrolyte (ชนิ ด weak
base/strong base, weak acid/strong acid) ห รื อ เป็ น non-electrolyte (ช นิ ด polar/non-polar)
อธิบายและให้เหตุผลประกอบโดยใช้ผลจากการทดลองและโครงสร้างเคมี

ตารางที่ 2 ตารางเทียบส่วนของตัวทำละลายที่ใช้ต่อของแข็ง 150 มิลลิกรัม


อัตราส่วน 1:1 1:5 1:10 1:20 1:30 1:50 1:100 1:500
ปริมาตร solvent ที่ 0.15 0.75 1.5 3.0 4.5 7.5 15.0 75.0
ใช้ (mL) ต่อ solute
150 mg
Solvent ที่เติม (mL) 0.15 0.6 0.75 1.50 1.50 3.0 7.50 60.0
*นศ เติม solvent ตามช่องสีส้มเท่านั้น

2. การศึกษาความเข้ากันได้ของของเหลว
วิธีทดลอง
1. ตวงของเหลวแต่ละชนิด ตามตารางที่ 4 ชนิดละ 3 mL ใส่บีกเกอร์ขนาด 50 mL คนให้ผสมกันด้วย
แท่ งแก้ว สั งเกตผลความเข้ากัน ได้ หลั งจากตั้ งทิ้ งไว้ 10 นาที บั น ทึ กผลว่ า miscible ถ้าผสมเข้ากัน ได้ หรือ
immiscible ถ้าผสมเข้ากันไม่ได้ ลงในตาราง
2. วิจารณ์ผลการทดลอง โดยอธิบายจากค่า dielectric constant และ chemical structure ของสาร

4
ชื่อ……………………………………………………รหัส………………………Sec…………กลุ่ม……..…วันที่………….……………………
ชื่อผู้ร่วมงาน 1……………………..……………………………………….………2……………….………………………….……………….….
3………………………..…………………………………….…...…4…………………………………………..…………….…….
รับรองโดยอาจารย์………………………………………......................…………………………………………………………………………

ผลการทดลอง
ตารางที่ 3 ผลการหาขีดการละลายของสาร
Solutes Solubility
DI water 0.1 N NaOH 0.1 N HCl 95% Alcohol
Benzoic acid *

**

Sodium *
benzoate
**
* ใส่ค่าการละลายจากการทดลอง บอกเป็นอัตราส่วนของแข็ง 1 ส่วนต่อตัวทำละลายที่ใช้ละลาย เช่น 1:10
** ใส่ Descriptive term เช่น very soluble, slightly soluble

ตารางที่ 4 การผสมเข้ากันได้ของของเหลว (ในวงเล็บเป็นค่า dielectric constant ของสาร)


Solvents Chemical Glycerin 95% Alcohol Propylene PEG 400
structure (42.5) (24.3) glycol (12.4)
(32.1)
Water (78.5)

Glycerin -

95% Alcohol - -

Propylene - - -
Glycol
PEG 400 - - - -

5
วิจารณ์และสรุปผลการทดลอง
ค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อประกอบการอภิปรายการทดลองที่ 1
ชื่อสาร โครงสร้างเคมี pKa Solubility in Solubility in
water (g/L) ethanol (g/L)
Benzoic acid

Sodium
benzoate

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

คำถามท้ายบท
1. จงอธิบายเหตุผลที่ benzoic acid สามารถละลายใน 0.1 N NaOH ได้ดีกว่าใน 0.1 N HCl
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. จงอธิบายเหตุผลที่ sodium benzoate ละลายน้ำได้ดีกว่า benzoic acid
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. ของเหลวคู่ใดที่ผสมเข้ากันไม่ได้ เพราะเหตุใด
……………………………………………………………………………………………….........................……………………………………………

You might also like