You are on page 1of 10

5.

การดูดซับสารจากสารละลาย
(Adsorption from Solution)

วัตถุประสงค์
1. ศึกษากระบวนการดูดซับโมเลกุลของสารบนผิวของของแข็ง
const TeMP
2. วิเคราะห์ค่าคงที่ของสมการ Freundlich และ Langmuir adsorption isotherms
. .

ทฤษฎี
Adsorption เป็นการดูดซับบนพื้นผิวของแข็งหรือของเหลวเนื่องจากโมเลกุลของสารบริเวณพื้นผิว
ทั้งของแข็งและของเหลวมีลักษณะไม่สมดุล ตัวดูดซับ เรียกว่า adsorbent ตัวถูกดูดซับ เรียกว่า adsorbate
ซึ่งการดูดซับจะเกิดขึ้นได้มากหรือน้อยขึ้นอยูก่ ับหลายปัจจัย เช่น เวลา อุณหภูมิ ความดัน (กรณีการดูดซับ
แก๊ส) ปริมาณของตัวดูดซับ ความเข้มข้นของตัวถูกดูดซับ ความเป็นกรด-เบสของสารละลาย พื้นทีผ่ ิว และ
ขนาดรูพรุนของตัวดูดซับ เป็นต้น
การดูดซับแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การดูดซับทางกายภาพ (physical adsorption) และการดูด
ซับทางเคมี (chemical adsorption)
1. การดูดซับทางกายภาพเกิดขึ้นเมือ่ มีการดูดซับผ่านแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลอย่างอ่อนๆ และ
เป็นแรงไม่กำหนดทิศทาง เช่น แรงแวนเดอร์วาลส์ (Van der waals) และการดูดซับประเภทนี้ไม่
มีพลังงานกระตุ้นมาเกี่ยวข้อง ความร้อนของการดูดซับมีคา่ น้อย การกำจัดตัวดูดซับทำได้ง่าย
และการดูดซับอาจเกิดซ้อนกันแบบหลายชั้น (multilayer)
2. การดูดซับทางเคมีเกิดขึ้นเมื่อตัวถูกดูดซับกับพื้นผิวของตัวดูดซับมีแรงยึดเหนี่ยวที่แข็งแรง อาจ
เกิดผ่านปฏิกิริยาเคมีซงึ่ ส่งผลให้ทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมหรือกลุม่ อะตอมเดิม แล้วมี
การจัดอะตอมใหม่ เกิดเป็นสารประกอบใหม่ขึ้นมา ในกระบวนการจะมีพลังงานกระตุ้นเข้ามา
เกี่ยวข้อง และการดูดซับประเภทนีเ้ ป็นการดูดซับแบบชั้นเดียว (monolayer)

https://chula-my.sharepoint.com/personal/napida_h_chula_ac_th/Documents/Teaching/Physicolab/Adsorption from solution/ปี 2565/Lab 5 การดูดซับสาร


จากสารละลาย.doc14/8/22
ภาพจำลองลักษณะการดูดซับ: (ก) การดูดซับแบบชั้นเดียว และ (ข) การดูดซับแบบหลายชั้น
↳ &. a
↳ .

A num In E UmsMUNIW

ไอโซเทิร์ มของการดูดซั บ (adsorption isotherm) เป็นเส้นโค้งแสดงความสัมพันธ์เชิง ปริม าณ


ระหว่ า งปริ
[ ม าณของสารที่ ถู ก ดู ด ซั บ3และความดั
[ น ของแก๊ ส หรื อ ความเข้ ม ข้ น ของสารที่ ภ าวะสมดุ ล I
(equilibrium) ไอโซเทิร์มมีความสำคัญอย่างมากต่อการศึกษาการดูดซับ โดยใช้อธิบายความแข็งแรงของการ
ดูดซับทางเคมีของโมเลกุลบนผิวของของแข็งในเชิงปริมาณ ใช้เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการอธิบายปฏิกิริยา
บนผิวของตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst) และเป็นแนวทางในการประเมินพื้นที่ผิว (surface area) วัสดุที่มีรูพรุน
(porous materials) รูปร่างของไอโซเทิร์มของการดูดซับเชิงกายภาพมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับธรรมชาติของ
ตัวถูกดูดซับและตัวดูดซับ
ไอโซเทิร์มของการดูดซับมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะอธิบายได้ด้วยสมการรูปแบบต่างๆ ซึง่ มีข้อสมมติ
(assumption) ที่แตกต่างกัน แต่ในการทดลองนี้จะเป็นการทดลองตามไอโซเทิร์มของแลงค์เมียร์ (Langmuir
isotherm) และไอโซเทิรม์ ของฟรุนด์ลิช (Fruendlich isotherm) เท่านั้น

ไอโซเทิร์มของแลงค์เมียร์ เป็นไอโซเทิรม์ ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในงานทีเ่ กี่ยวกับการเร่งปฏิกริ ิยา


เพราะง่ายและสามารถใช้อธิบายจลนพลศาสตร์ของการเร่งปฏิกิริยา โดยไอโซเทิร์มแลงเมียร์มสี มมติฐานดังนี้

• โมเลกุลหรืออะตอมของสารที่ถกู ดูดซับต้องเกาะติดกับตาแหน่งบนพื้นผิวของตัวดูดซับ (การ


ดูดซับสูงสุดที่เกิดขึ้นจะเป็นการดูดซับแบบชั้นเดียว) และแต่ละตาแหน่งที่ใช้ในการดูดซับจะ
สามารถดูดซับสารได้เพียงหนึง่ อะตอมหรือโมเลกุลเท่านั้น

• ความร้อนเชิงอนุพันธ์ของการดูดซับไม่ขึ้นกับปริมาณการปกคลุมพื้นผิว (กำหนดให้พื้นผิวมี
ความสม่ำเสมออย่างสมบูรณ์ ทาให้ทุกๆ ตำแหน่งบนพื้นผิวของตัวดูดซับมีโอกาสเกิดการดูด

https://chula-my.sharepoint.com/personal/napida_h_chula_ac_th/Documents/Teaching/Physicolab/Adsorption from solution/ปี 2565/Lab 5 การดูดซับสาร


จากสารละลาย.doc14/8/22
ซับสารได้เท่าๆ กัน) แรงผลักและแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่ถูกดูดซับบนตาแหน่งของตัวดูด
ซับที่ใกล้กันไม่ถูกนามาพิจารณา

• ตัวถูกดูดซับจะถูกดูดซับบนพื้นผิวของตัวดูดซับอย่างแข็งแรง (หรือเกิดการดูดซับเชิงเคมี) สา
หรับการดูดซับแบบชั้นเดียว

• เกิดภาวะสมดุลระหว่างการดูดซับและการคายสารที่ถูกดูดซับ
1) 1
รูปแบบสมการของไอโซเทิร์มของแลงค์เมียร์แสดงได้ดังนี้
=

29

Kq m c 1 1  1 1
q = → = +  
1 + Kc q q m  Kq m c 

เมื่อ q คือ ปริมาณตัวถูกละลายบนตัวดูดซับที่ภาวะสมดุล (กรัมตัวถูกดูดซับ/กรัมตัวดูดซับ) qm คือ ปริมาณสูงสุดของ


- -

ตัวถูกละลายบนตัวดูดซับที่ภาวะสมดุล และ c คือ ปริมาณตัวถูกละลายในวัฏภาคของของไหลที่ภาวะสมดุล


- -

(กรัมตัวถูกดูดซับ/ปริมาตรของสารละลาย) ส่วน K คือ ค่าคงที่การดูดซับ

ไอโซเทิร์มของฟรุนด์ลิช มีรปู แบบสมการดังแสดงในสมการด้านล่าง


q
θ= = kc1/n
qm

เมื่อ  หมายถึง สัดส่วนของพื้นที่ที่ถูกปกคลุมด้วยอะตอมหรือโมเลกุลของตัวถูกดูดซับ ดังนั้นไอโซเทิร์มจึงเป็น


ความสัมพันธ์ของความเข้มข้นของสารที่ถูกดูดซับบนพืน้ ผิวของตัวดูดซับซึง่ วัดค่าไม่ได้ กับความเข้มข้นของตัว
ถูกดูดซับในวัฏภาคแก๊สซึ่งสามารถวัดค่าได้ ค่า  จึงเป็นสัดส่วนของปริมาณสารที่ถูกดูดซับ (q) ต่อปริมาณ
สารสูงสุดของการดูดซับสารที่ทาให้เกิดการปกคลุมแบบชั้นเดียวบนพื้นผิวของตัวดูดซับ (qm) โดยทั่วไปแล้ว 
ขึ้นกับอุณหภูมิและความดัน แต่ในกรณีที่อุณหภูมิคงที่ ค่า  จึงขึ้นกับความดันเพียงอย่างเดียว ส่วนค่า n
หมายถึง ค่าคงทีท่ ี่แสดงอันตรกริยาทีส่ ัมพันธ์กันของโมเลกุลสารที่ถูกดูดซับ ค่า n มักมีค่ามากกว่า 1 แสดงให้
เห็นถึงการผลักกันของโมเลกุลที่ถูกดูดซับในตาแหน่งของการดูดซับที่อยู่ใกล้กัน k และ n เป็นค่าคงที่ ซึ่งค่า n
มีค่ามากกว่าหนึ่ง ดังนั้นจึงทำให้ได้ค่า  ไม่จำกัด และไม่เป็นจริงในทุกกรณี จากการทดลองพบว่า  ที่มีค่า
ระหว่าง 0.2 และ 0.8 จะทำให้ระบบถูกต้องตามความเป็นจริง การทดลองการดูดซับหนึ่งๆ จะสามารถอธิบาย
ได้ด้วยไอโซเทอมชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งชนิดก็ได้

https://chula-my.sharepoint.com/personal/napida_h_chula_ac_th/Documents/Teaching/Physicolab/Adsorption from solution/ปี 2565/Lab 5 การดูดซับสาร


จากสารละลาย.doc14/8/22
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
1. Iodine flask 250 ml 5 ขวด
2. Conical flask 250 ml 15 ขวด
3. Buchner Funnel และ Filtering flask
4. Table shaker
5. Burette 100 ml 2 อัน
6. Pipette 5 ml 1 อัน
10 ml 1 อัน
25 ml 1 อัน
7. Washing bottle 1 ขวด

สารเคมีที่ใช้
1. Activated Carbon
2. CH3COOH
3. NaOH
4. phenolphthalein indicator
5. potassium hydrogen phthalate

สารที่ต้องเตรียม
mN 191
สารละลาย CH3COOH เข้มข้นประมาณ 1 mol/L
สารละลาย NaOH เข้มข้นประมาณ 0.2 mol/L
สารละลาย NaOH เข้มข้นประมาณ 0.1 mol/L
หาความเข้มข้นของสารละลาย NaOH โดยการนำไปไตเตรตกับ Potassium hydrogen phthalate (KHP)
แล้วนำสารละลาย NaOH ไปไตเตรตหาความเข้มข้นของสารละลาย CH3COOH

https://chula-my.sharepoint.com/personal/napida_h_chula_ac_th/Documents/Teaching/Physicolab/Adsorption from solution/ปี 2565/Lab 5 การดูดซับสาร


จากสารละลาย.doc14/8/22
วิธีการทดลอง
1. จากสารละลาย CH3COOH เข้มข้น 1 mol/L นำมาเตรียมสารละลายทีมีความเข้มข้นต่างๆ เพื่อใช้ทำการ
ทดลองใน Iodine flask ดังนี้

Iodine flask ที่ ปริมาณสารละลาย CH3COOH (mL) ปริมาณน้ำทีเ่ ติม (mL)


1 100 0
2 50 50
3 25 75
4 15 85
5 10 90

2. ชั่ง activated carbon หนักประมาณ 2 g (ชั่งน้ำหนักที่แน่นอนทศนิยม 2 ตำแหน่ง) จำนวน 5 ตัวอย่าง


ใส่ลงใน Iodine flask ที่บรรจุสารละลาย CH3COOH ทีม่ ีความเข้มข้นต่างๆ กัน flask ละ 1 ตัวอย่าง
บันทึกน้ำหนักของถ่านในแต่ละ flask
3. ปิดจุก Iodine flask สารละลายแล้วนำไปเขย่าใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อให้ระบบอยู่ใน
ภาวะสมดุล
4. นำสารละลายไปกรอง เพื่อแยกเอาผงถ่านออก
5. นำสารละลายที่ได้ไปไตเตรตกับสารละลาย NaOH เพือ่ หาความเข้มข้นและปริมาณของสารทีเ่ หลือใน
สารละลายภายหลังการดูดซับ โดยการไตเตรตให้ทำดังนี้

ขวดที่ ปริมาณสารละลายที่ใช้ (ml) ความเข้มข้นของ NaOH ที่ใช้ (mol/l)


1 5 0.2
2 10 0.2
3 25 0.2
4 25 0.1
5 25 0.1
การไตเตรตให้ทำซ้ำเดิมอย่างน้อย 2 ครั้ง

https://chula-my.sharepoint.com/personal/napida_h_chula_ac_th/Documents/Teaching/Physicolab/Adsorption from solution/ปี 2565/Lab 5 การดูดซับสาร


จากสารละลาย.doc14/8/22
การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูล
1. คำนวณหาน้ำหนักของ CH3COOH ในสารละลายที่ภาวะเริม่ ต้น
2. คำนวณหาน้ำหนักของ CH3COOH ในสารละลายที่ภาวะสมดุล
3. คำนวณหาน้ำหนักของ CH3COOH ที่ถูกดูดซับ
4. สร้างตารางแสดงความสัมพันธ์ของ c,x,w,x/w, log (x/w) และ log c โดย
c : ความเข้มข้นของ CH3COOH ที่ภาวะสมดุล, mol/L
x : มวลของ CH3COOH ที่ถูกดูดซับ, g
w : มวลของ activated carbon ที่ใช้, g
5. เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์การดูดซับของไอโซเทิรม์ การดูดซับของฟรุนด์ลิชและแลงค์เมียร์
6. วิเคราะห์ผลการทดลองและอธิบายสมการการดูดซับของไอโซเทิร์มการดูดซับของฟรุนด์ลิชและแลงค์เมียร์

เอกสารอ้างอิง
1. รศ.ดร. วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์ “ปฏิกริ ิยาเร่งเคมีเกี่ยวกับผิวและปิโตรเคมี (Catalysis Surface
Chemistry and Petrochemical)” พิมพ์ครัง้ ที่ 1 สำนักพิมพ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
2547 หน้า 11-41.
2. Wankat P.C., “Separation Process Engineering”, 2nd Edition, Prentice Hall, 2007
3. Seader, J.D. and Henley, E.J. "Separation Process Principles", John Wiley & Sons, Inc.,
1998
4. นพิดา หิญชีระนันทน์ และชวลิต งามจรัสศรีวิชัย “เทคโนโลยีตัวเร่งปฏิกริ ิยา” พิมพ์ครัง้ ที่ 1 โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2556.

https://chula-my.sharepoint.com/personal/napida_h_chula_ac_th/Documents/Teaching/Physicolab/Adsorption from solution/ปี 2565/Lab 5 การดูดซับสาร


จากสารละลาย.doc14/8/22
↳ wriem

nu

v
1 mol
=x8
1 099
. = 19 1.

·M I D
all zoom(
- SeV C2V2

I
=

① density = 1 .

0899/m3
CH3C08H > M MW =
80 .

0529/mol
r =

1
200mL
=

>
11 . 15 M

9971X01mb1x 200x1024
I
9979/mol
I
NaOH 0 .

2M MW=39 .

39 .

mpl 1
NaOH 0 1M 79999
1M0/200mL
. =0 .

g NOH -0 .

(N0 81 .

+
=1 59988 9 0
NaOH
2M0//200mL
.
- .

(N10)

⑳ w r nounz

raum
Pr Da P
WNW -

W ↑01

You might also like