You are on page 1of 5

รายงานปฏิบัติการครั้งที่ 1

ศึกษาการไทเทรตกรดแก่ และเบสแก่เพื่อหาความเข้มข้นของสารละลายที่จุดยุติด้วยอินดิเคเตอร์

เสนอ
อาจารย์ปรินธร เอี่ยมสะอาด

โดย
นายพรเทพ สินกิตติยานนท์ รหัสประจำตัว 62967516
นางสาวเพ็ญพิชชา ฉันทวรางค์ รหัสประจำตัว 62967875
นายวชิรวิทย์ คุ้มภัย รหัสประจำตัว 62968278
นายอัครวิชญ์ อุตรชน รหัสประจำตัว 62968995

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.2

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเคมี 4 (ว32122)
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
หลักการ
สารเคมี
1. สารละลายกรดไฮโดรคลอริกปริมาตร (HCl) 10.00 มิลลิลิตร
2. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น (NaOH) เข้มข้น 0.02 โมลาร์
3. ฟินอล์ฟทาลีน 2 หยด
เครื่องแก้ว
1. บีกเกอร์ ขนาด 100.00 มิลลิลิตร
2. กระบอกตวงขนาด 10.00 มิลลิลิตร
3. บิวเรต ขนาด 50.00 มิลลิลิตร
4. ขวดรูปชมพู่ ขนาด 125.00 มิลลิลิตร
5. กรวยกรอง
6. หลอดหยดสาร
อุปกรณ์
1. ชุดขาตั้งและแคลมป์จับ

ขั้นตอนปฏิบัติการ
1. เตรียมสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ปริมาตร10.00 มิลลิลิตร ใส่ขวดรูปชมพู่ขนาด 100.00 มิลลิลิตร
แล้วหยดฟีนอลฟ์ทาลีน 2 หยด แกว่งให้สารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
2. บรรจุสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เข้มข้น 0.02 โมลาร์ ปริมาตร 10 มิลลิลิตร ในบิวเรตต์
ปล่อยสารละลายให้เต็มปลายล่างเพื่อไล่ฟองอากาศที่ค้างอยู่ออก แล้วจึงปรับระดับของสารละลายให้ตรงกับ
ระยะที่มองเห็นได้ชัดเจน และบันทึกปริมาตร
3. ไทเทรตสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ทีละหยดพร้อมกับ
เขย่าขวดให้สารละลายผสมกัน ทำเช่นนี้จนกระทั่งสารละลายเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีชมพูอ่อนโปร่งใสถาวร แล้วจึง
บันทึกปริมาตรของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ที่ใช้
4. ทดลองซ้ำข้อ 1-3 อีก 2 ครั้ง และบันทึกผล
5. หาปริมาตรเฉลี่ยของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ที่ใช้ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายกรด
ไฮโดรคลอริก (HCl)
ผลการทดลอง

เมื่อนำการทดลองตามขั้นตอนแล้ว ได้ผลดังตารางดังนี้
ครั้งที่ ปริมาณ NaCI ที่อ่านได้บนบิวเรต (ml) ปริมาณ NaOH ที่ใช้ไป (ml)
ก่อนไทเทรต หลังไทเทรต
1 9.00 16.25 7.25
2 16.25 23.00 6.75
3 15.00 22.50 7.50
ค่าเฉลี่ย(𝑥̅ ) 7.17

อภิปรายผลการทดลอง
เมื่อหยดฟีนอล์ฟทาลีนลงไป 2 หยดในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ไม่ทราบความเข้มข้น
ปริมาตร 10.00 ml พบว่าสารละลายไม่เปลี่ยนสี โดยคงสภาพใสไม่มีสีในการทดลองทั้งสามครั้ง และเมื่อเริ่ม
ไทเทรตสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เข้มข้น 0.02 M กับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl)
ไม่ทราบความเข้มข้น ปริมาตร 10.00 ml จนพบว่าสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ที่มีฟีนอล์ฟทาลีนผสมอยู่
เริ่มเปลี่ยนจากใสไม่มีสีสู่สีชมพูอ่อนโปร่งใส จึงได้ยุติการไทเทรต และพบว่าที่จุดยุติ ในการทดลองครั้งที่ 1
ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ในปริมาตร 7.25 ml การทดลองครั้งที่ 2 ใช้สารละลายโซเดียม-
ไฮดรอกไซด์ (NaOH) ในปริมาตร 6.75 ml และการทดลองครั้งที่ 3 ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)
ในปริมาตร 7.50 ml และปริมาตรสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เฉลี่ยจากการทดลองทั้งสามครั้งอยู่ที่
7.17 ml
เนื่องจากข้อจำกัดของอุปกรณ์การทดลอง ทำให้ไม่สามารถหาจุดสมมูลที่มีความแม่นยำได้
การใช้ฟีนอล์ฟทาลีนเป็นอินดิเคเตอร์ที่มีช่วงเปลี่ยนสีจากใสไม่มีสีกลายเป็นสีชมพูอยู่ในช่วงค่า pH ตั้งแต่ 8.3-10.0
ทำให้จุดยุติมีค่า pH อย่างต่ำอยู่ที่ 8.3 จึงทำให้ความเข้มข้นของสารละลาย HCl คาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้

สรุปผลการทดลอง
จากการไทเทรตสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เข้มข้น 0.02 M กับสารละลายกรด
ไฮโดรคลอริก (HCl) ไม่ทราบความเข้มข้น ปริมาตร 10.00 ml พบว่าค่าเฉลี่ยปริมาตรสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ที่จุดยุติอยู่ที่ 7.17 ml จะได้ว่า
HCl(aq) + NaOH(aq) → NaCl(aq) + H2 O(l)

(𝑎)𝐶𝑉 (𝑏)CV
=
1000 1000
(1)𝐶(10) (1)(0.02)(7.17)
=
1000 1000

C = 1.430 × 10−2 โมลาร์

ข้อเเนะนำ

1. ในขณะหยดสารละลาย ควรตั้งหลอดหยดสารให้ตรง
เอกสารอ้างอิง

You might also like