You are on page 1of 16

การดำเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ในทางแพ่ง

กับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่รองรับการกระทำในทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มมากขึ้น

นายตรีรัตน์ วงษาเกษ
นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการพิเศษ

สืบ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดมีขึ้น อย่างรวดเร็วในปัจจุบันรวมถึงข้อจำกัด


หรือสภาวะความกดดันของสภาพปัญหาในสังคมที่เกิดมีขึ้นในโลกปัจจุบันทำให้ทุกคนหันหน้าเข้าหา
เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้กฎหมายต้องวิ่งตามการเปลี่ยนแปลงและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นให้ ได้
อย่างทัน ท่ว งที เพื่อมิให้การดำเนิน ชีวิต การประกอบธุรกิจ หรือการธำรงความยุติธรรมต้องได้รับ
การกระทบกระเทือนจนเกินสมควร
โดยหากมองย้อนกลับไปในอดีต การดำเนินการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อราชการ
การทำนิติกรรมสัญญา การติดตามทวงถามหนี้ การดำเนินการในทางธุรกิจจะต้องมี ลายลักษณ์อักษร
หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือในรูปแบบกระดาษทั้งสิ้น เนื่องจากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะสามารถ
ยืนยันและเป็นหลักฐานในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้อย่างชัดเจนหากเกิดมีข้อพิพาทและต้องใช้ กลไก
กระบวนการยุติธรรมเพื่อระงับข้อพิพาทนั้น โดยหากพิจารณาหลักการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่งแล้ว จะมีบทบัญญัติประการหนึ่งว่า หากกฎหมายกำหนดว่านิติกรรมใดจะต้องมีหลักฐานเป็น
เอกสารมาแสดงแล้ว โดยหลักในการจะนำสืบ ความผู ก พัน หรื อ นิ ติส ัม พันธ์ ร ะหว่ า งบุ ค คลจะทำได้
ก็แต่โดยการนำสืบพยานเอกสารเท่านั้น และพยานหลักฐานให้ศาลจะยอมรับฟังได้ก็แต่เฉพาะต้นฉบับ
เอกสารเท่านั้น เว้นแต่เข้าเงื่อนไขที่เป็นข้อยกเว้นในทางกฎหมาย ทั้งนี้ ตามมาตรา ๙๔ ๑ ประกอบกับ
มาตรา ๙๓๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง


มาตรา ๙๔ เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยาน
บุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี
(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง
(ข) ขอสื บ พยานบุ ค คลประกอบข้ อ อ้ า งอย่ า งใดอย่ า งหนึ ่ ง เมื ่ อ ได้ น ำเอกสารมาแสดงแล้ ว ว่ า
ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก
แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (๒) แห่งมาตรา ๙๓
และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่
แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น
ไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด

มาตรา ๙๓ การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานให้ยอมรับฟังได้เฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้นแต่
(๑) เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้วให้ศาลยอมรับฟังสำเนา
เช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐาน
(๒) ถ้าต้นฉบับเอกสารนำมาไม่ได้ เพราะถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสั ย หรือสูญหาย หรือไม่สามารถ
นำมาได้ โดยประการอื่ น อั น มิ ใ ช่ เ กิ ดจากพฤติก ารณ์ ท ี่ ผู ้ อ ้า งต้ อ งรั บ ผิด ชอบ หรื อ เมื ่ อ ศาลเห็ นว่ า เป็น กรณี จำเป็น
และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องสืบสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับเอกสารที่นำมาไม่ได้นั้น
ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
(มีต่อหน้าถัดไป)

อย่างไรก็ดี พัฒนาการในทางกฎหมายนั้น มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. ๒๕๔๔


ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งกำหนดหลักการที่
สำคัญในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้
ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์”
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการ
ในทางอิเล็กทรอนิกส์เกิดความชัดเจนและสามารถบังคับใช้ในทางกฎหมายได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
เช่ น พระราชบั ญ ญั ต ิ ก ารบริ ห ารงานและการให้ บ ริ ก ารภาครั ฐ ผ่ า นระบบดิ จ ิ ท ั ล พ.ศ. ๒๕๖๒
พระราชกำหนดว่าด้ว ยการประชุมผ่านสื่ อ อิ เล็ ก ทรอนิก ส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ และยั งคงมีความพยายาม
อย่างต่อเนื่องเพื่อให้การดำเนินการในทางอิเล็กทรอนิกส์มีความชัดเจนและมีผลรับรองในทางกฎหมาย
เพิ่มยิ่งขึ้น โดยมีความพยายามในการยกร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ....
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการอนุญาต การให้บริการ หรือการให้สวัสดิการ
แก่ป ระชาชนโดยการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ยกร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดให้บริษัทมหาชนจำกัดสามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการประชุม
คณะกรรมการและการประชุ ม ผู ้ ถ ื อ หุ ้ น การจั ด ส่ ง หนั ง สื อ หรื อ เอกสาร ตลอดจนการมอบฉั น ทะ
ในการประชุมผู้ถือหุ้น และแนวความคิดดังกล่าวจะนำไปสู่การแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับหุ้นส่วนบริษัท
ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้สอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดด้วยเช่นกัน
โดยเมื่อกฎหมายสารบัญญัติได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อรองรับการดำเนินการต่าง ๆ
ในทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่งผลให้การดำเนินการในทางบริห ารของฝ่ายปกครอง การให้บริการ แก่
ประชาชนของหน่วยงานรัฐ การทำธุรกรรมระหว่างกันของเอกชนเริ่มมีการเปลี่ยนทิศทางไปในช่องทาง
อิเล็กทรอนิกส์ มากยิ่งขึ้น แต่สำหรับในประเด็นเรื่องการแก้ไขกฎหมายว่าด้ว ยบริษัทมหาชนจำกัด
และความพยายามในการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช ย์เพื่อกำหนดให้ส ามารถใช้ว ิธ ีการ
ทางอิเล็กทรอนิกส์ในการประชุม คณะกรรมการและการประชุม ผู้ถือหุ้น การจัดส่งหนังสือหรือเอกสาร
ตลอดจนการมอบฉันทะในการประชุมผู้ถือหุ้น ประเด็นคำถามที่สำคัญซึ่งเป็นที่มาของบทความฉบับนี้
คือ ในการประชุมต่าง ๆ ของนิติบุคคลนั้นจะเป็นจุดตั้งต้นในการดำเนินการหรือทำนิติกรรมต่าง ๆ
ของนิติบ ุคคลตั้งแต่การเริ่มต้น ก่อตั้งนิติบุคคล การประกอบกิจการ การจ่ายเงินปันผล หรือแม้แต่
การจะเลิ ก นิ ต ิ บ ุ ค คล และการประชุ ม นั ้ น อาจเป็ น ที ่ ม าของข้ อ พิ พ าทในทางแพ่ ง ได้ ด ้ ว ยเช่ น กั น
โดยหากกฎหมายสารบั ญ ญั ต ิ ไ ด้ ก ำหนดให้ ก ารจั ด ประชุ ม ของนิ ต ิ บ ุ ค คลสามารถทำได้ โ ดยผ่ า น
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว กระบวนการยุติธรรมหรือการดำเนิน กระบวนพิจารณาของศาลจะรับ รอง

(ต่อจากเชิงอรรถที่ ๒)
(๓) ต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการนั้นจะนำมาแสดงได้
ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการที่เกี่ยวข้องเสียก่อน อนึ่ง สำเนาเอกสารซึ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ได้รับรองว่าถูกต้องแล้ ว
ให้ถือว่าเป็นอันเพียงพอในการที่จะนำมาแสดง เว้นแต่ศาลจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
(๔) เมื่อคู่ความฝ่ายที่ถูกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนมิได้คัดค้าน
การนำเอกสารนั้ น มาสื บตามมาตรา ๑๒๕ ให้ ศ าลรั บ ฟั งสำเนาเอกสารเช่ น ว่ า นั ้ นเป็ น พยานหลั ก ฐานได้ แต่ ท ั ้ งนี้
ไม่ตัดอำนาจศาลตามมาตรา ๑๒๕ วรรคสาม

และรองรับการดำเนินการหรือพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์มากน้อยเพียงใด ผู้เขียนจึงได้ส ืบค้น


กฎหมายฉบับต่าง ๆ ทั้งแม่บทและลูกบทที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์
รวมถึงแนวคำพิพากษาของศาลยุติธรรมเพื่อให้เห็น ถึงแนวทางการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล
และแนวคำพิพากษาของศาลเพื่อประกอบการตรวจพิจารณาและร่างกฎหมายสารบัญญัติได้ โดยรอบคอบ
เหมาะสม และสามารถแก้ไขปัญหาติดขัดในการดำเนินการต่อไปได้ในอนาคต

แนวคำพิพากษาของศาลฎีกา
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการดำเนินการต่าง ๆ ในทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีการรับรองมา
ตั ้ ง แต่ ม ี พ ระราชบั ญ ญั ต ิ ว ่ า ด้ ว ยธุ ร กรรมทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ แต่ ห ลั ง จากที ่ ก ฎหมาย
ฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ยังไม่ค่อยมีแนวคำพิพากษาที่ได้นำกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาใช้บังคับอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลในเรื่องเงื่อนไขตามกฎหมายที่กำหนดถึงลักษณะของข้อมูล
ที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความน่าเชื่อถือหรือสามารถรับฟังได้ เทคโนโลยีที่ยังไม่แพร่หลายมาก
ดังเช่นปัจจุบัน สภาพและปัจจัยของสังคมที่ยังไม่บีบคั้นให้ต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกรรม
ดังเช่นในปัจจุบัน
โดยหากสืบย้อนกลับไปจะพบคำพิพากษาศาลฎีกาบางฉบับที่แสดงให้เห็นถึงการยอมรับ
หลักการและการกระทำในทางอิ เล็ก ทรอนิ กส์ตามกฎหมายว่าด้ว ยธุรกรรมทางอิเล็ กทรอนิ กส์ คือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๐๘๙/๒๕๕๖๓ สรุปความได้ว่า การที่จำเลยนำบัตรเงินสดไปถอนเงินและใส่รหัส
ส่ว นตัว เปรีย บได้ กับ การลงลายมือชื่อตนเอง ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามมาตรา ๗
มาตรา ๘ และมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ คำพิพากษา
ศาลฎีกาที่ ๖๗๕๗/๒๕๖๐ ๔ สรุปความได้ว่า การส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องนำบทบัญญัต ิข อง


คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๐๘๙/๒๕๕๖ การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัส
ส่วนตัวเปรียบได้กับการลงลายมือชื่อตนเอง ทำรายการเบิกถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์ และกดยืนยันทำรายการพร้อม
รั บ เงิ น สดและสลิ ป การกระทำดั ง กล่ า วถื อ เป็ น หลั ก ฐานการกู ้ ย ื ม เงิ น จากโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ว่ า ด้ ว ยธุ ร กรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗, ๘ และมาตรา ๙ ประกอบกับคดีนี้จำเลยมีการขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระ
หนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีเอกสารซึ่งมีข้อความชัดว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอ
ขยายเวลาชำระหนี้ โดยจำเลยลงลายมือชื่อมาแสดง จึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมอีกโสดหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๗๕๗/๒๕๖๐ จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ ๕๙๕,๕๐๐ บาท ตกลงชำระ
ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑ ต่อเดือน จำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมครบถ้วนแล้ว หลังจากทำสัญญาจำเลยไม่ชำระต้นเงิน
คงชำระดอกเบี้ย ๔ ครั้ง รวมเป็นเงิน ๖,๕๕๐ บาท การที่โจทก์ส่งข้อความทางเฟสบุ๊คถึงจำเลยมีใจความว่า เงินทั้งหมด
๖๗๐,๐๐๐ บาท ไม่ต้องส่งคืน ยกให้หมด ไม่ต้องส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว การส่งข้อมูลดังกล่าว
เป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องนำ พ.ร.บ.ว่า ด้วย
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗ ถึง มาตรา ๙ มาใช้บังคับด้วย แม้ข้อความนี้จะไม่มีการลงลายมือชื่อ
โจทก์ก็ตาม แต่การส่งข้อความทางเฟสบุ๊คจะปรากฏชื่อผู้ส่งด้วยและโจทก์ก็ยอมรับว่าได้ส่งข้อความถึงจำเลยจริง
ข้อความการสนทนาดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่า เป็น การแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม
ป.พ.พ. มาตรา ๓๔๐ แล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมย่อมระงับ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับ การส่งข้อความทาง Facebook รับฟังได้ว่าเป็น


การแสดงเจตนาปลดหนี้โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว
โดยคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับที่ผู้เขียนได้กล่าวอ้างในตอนต้นนั้นเป็นการที่
ศาลได้อ้างถึงกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง แต่จากการสืบค้นคำพิพากษาศาลฎีกา
เพิ่มเติมพบว่าในช่วง ๕ ปี ย้อนหลังแนวโน้มของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
คดีเกี่ย วกับ เยาวชน คดีเกี่ย วกับ แรงงาน คดีเกี่ยวกับการค้ าระหว่างประเทศ คดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ทางปัญญา เป็นต้น ได้ มีการยอมรับและเริ่มมีการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
เพิ่มมากขึ้น เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๖๐๐/๒๕๖๑๕ ซึ่งศาลแรงงานได้รับฟังพยานหลักฐานหนังสือ
สัญญาเลิกจ้างที่ได้กระทำในรูปแบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ว่ามีผลเป็นการเลิกจ้างเมื่อไร คำพิพากษาศาล
ฎีกาที่ ๕๕๙๓/๒๕๖๒๖ ซึ่งเป็นการพิจารณาความผิดในคดีอาญาอันเกิดจากการโอนเงินผ่านทางธุรกรรม
อิเล็กทรอนิกส์มีธนาคารเป็นตัวกลางซึ่งโจทก์และจำเลยอยู่ในสถานที่ต่างกัน ศาลวินิจฉัยว่าสถานที่
ที่โอนเงินโดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และตู้เบิกถอนเงินสดอัตโนมัติให้จำเลยที่มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
สถานที ่ น ั ้ น เป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของการกระทำความผิ ด ฐานยั ก ยอกและพนั ก งานสอบสวนสถานี ต ำรวจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๖๐๐/๒๕๖๑ โจทก์ยื่นใบลาออกต่อจำเลยเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
โดยระบุข้อความว่า วันสุดท้ายที่มาทำงาน คือ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ถ้าเป็นไปได้ หรือในวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๕
อันมีความหมายว่าโจทก์ประสงค์ลาออกโดยให้มีผลบังคับในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ หรือวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๕
การขอลาออกของโจทก์เป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นบังคับไว้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๙๑ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติไว้ว่า นิติกรรมใดมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นกำหนดไว้ ห้ามมิให้ทวงถามให้
ปฏิบัติการตามนิติกรรมนั้นก่อนถึงเวลาที่กำหนด ประกอบกับการเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้น
นายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานได้แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอม
ตกลงหรืออนุมัติ สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจะเลิกกันก็ต่อเมื่อถึงกำหนดวันที่ระบุไว้ในใบลาออก คือ
วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ หรือวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๕ แล้วแต่กรณี มิใช่เกิดผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างแรงงานในวันที่
โจทก์ยื่นใบลาออก ระหว่างระยะเวลาที่สัญญาจ้างแรงงานยังมีผลบังคับอยู่นั้นโจทก์และจำเลยยังคงมีความสัมพันธ์
และมีสิทธิหน้าที่ในฐานะลูกจ้างและนายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานอยู่จนกว่าสัญญาจ้างแรงงานจะสิ้นผล เมื่อจำเลยมี
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ถึงโจทก์เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ว่าโจทก์ถูกปลดจากตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายผลิตของ
บริษัท ซึ่งมีผลทันที ถือว่าจำเลยใช้สิทธิเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างสัญญาจ้างแรงงานยังมีผลบังคับอยู่ มิใช่จำเลยใช้สิทธิให้
โจทก์ออกจากงานก่อ นครบกำหนดตามความประสงค์ข องโจทก์ใ นใบลาออกอัน จะถื อได้ ว่าโจทก์ใ ช้ส ิท ธิบ อกเลิ ก
สัญญาจ้างเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๕๙๓/๒๕๖๒ การโอนเงินผ่านทางธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีธนาคาร
เป็นตัวกลางในการส่งมอบเงินผ่านขั้นตอนของธนาคารที่ส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วแสงโดยใช้ตัวเลขเงินในบั ญชี
เป็นหลักฐานยืนยันในการรับโอนเงิน ทำให้ผู้รับโอนสามารถรับเงินได้แม้อยู่ในระยะไกล ซึ่งการโอนจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์
เมื่อผู้รับโอนได้รับเครดิตยอดเงินทางบัญชีครบถ้วนแล้ว ป. โอนเงินให้จำเลยโดยใช้โทรศัพท์เคลือ่ นที่และตู้เบิกถอนเงินสด
อัตโนมัติ ขณะอยู่ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และปรากฏมีเครดิตยอดเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่กรุงเทพมหานคร
การป้อนคำสั่งให้โอนเงินเกิดขึ้นที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เงินอันเป็นต้นเหตุของการกระทำความผิดฐานยักยอก
จึ งหลุ ด พ้ น จากความครอบครองของ ป. และเข้ า ไปอยู ่ ใ นความครอบครองของจำเลยตั้ งแต่ ข ณะ ป. สั ่ งโอนเงิ น
จำเลยสามารถถอนเงินจากสถานที่ใดเวลาใดนับจากที่ได้รับโอนเงินทันที ดังนั้น อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานยักยอก พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจท่าม่วงจึงมีอำนาจสอบสวนตาม
ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙ วรรคสอง (ข)

พื้นที่ที่โจทก์ทำการโอนเงินมีอำนาจสอบสวน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๗๒๓/๒๕๖๒๗ ซึ่งเป็นข้อพิพาท


เกี่ยวกับสัญญาเช่าอากาศยานโดยมีประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับค่าเช่าพื้นฐานและค่าเช่าเพิ่มเติมซึ่งจำเลย
ในคดีได้มีการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันเกี่ยวกับอัตราค่าเช่าที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นพิพาท
ในคดีและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้รับฟังและให้น้ำหนักกับพยานหลักฐาน
จดหมายซึ่งอยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว

กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดี
หากมองกลับไปพิจารณากฎหมายที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินกระบวนพิจารณา
ในทางแพ่งของฝ่ายตุลาการ คือ การมองย้อนกลับ ไปพิจารณาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
และที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่าแนวความคิดดั้งเดิมในการดำเนินกระบวนพิ จารณาและการนำพยาน
เพื่ออ้างอิงข้อเท็จจริงและนำสืบข้อกล่าวอ้างของคู่ความแต่ละฝ่าย พยานเอกสารจะเป็นพยานหลักฐาน
ที่มีน้ำหนักในการนำสืบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี พัฒนาการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่งก็มิได้หยุดนิ่ง โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้แก้ไข
เพิ่มเติม บทบั ญญัติ ในลั ก ษณะ ๕ ว่าด้ว ยพยานหลักฐาน ให้ทันสมัยและสอดคล้ องกั บสภาวการณ์
ทางเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของประเทศในเวลาดังกล่าว โดยได้แก้ไขเพิ่มเติม


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๗๒๓/๒๕๖๒ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ต่อไปทำนองว่า จำเลยต้องรับผิด
ต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใดนั้น ในข้อนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยสรุปได้ความว่า
จำเลยเช่าอากาศยานทั้ง ๒ ลำ ตามคำฟ้องมาจากโจทก์ สิทธิและหน้าที่ของโจทก์แ ละจำเลยจึงเป็นไปตามข้อกำหนด
และเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาดังกล่าว หลังจากโจทก์ส่งมอบอากาศยานทั้ง ๒ ลำ ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยได้ครอบครองใช้
ประโยชน์จากอากาศยานดังกล่าว โดยชำระค่าเช่าพื้นฐานและค่าเช่าเพิ่มเติมเรื่อยมาจนกระทั่งจำเลยผิดนัดไม่ชำระ
ค่าเช่าพื้นฐานและค่าเช่าเพิ่มเติม โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาทั้ง ๒ ฉบับ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ ๑๓.๒ หนังสือ
บอกเลิกสัญญาทั้ง ๒ ฉบับ ดังกล่าวออกโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และมีผ ลในวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๗
และ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ ตามลำดับ ต่อมาวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๗ กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยมีจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์พร้อมเอกสารแนบ ถึงโจทก์ยืนยันยอดค่าเช่าอากาศยานทั้ง ๒ ลำ ที่ค้างชำระแก่โจทก์โดยขอผ่อนชำระ
และลดหย่อนหนี้ดังกล่าว จำเลยมิได้น ำสืบหรือโต้แย้งเกี่ยวกับหน้าที่และจำนวนค่าเช่าพื้นฐานและค่าเช่าเพิ่มเติม
ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าพื้นฐานและค่าเช่า
เพิ่มเติมตามที่โจทก์นำสืบ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ยและค่าเสียหายจากการที่โจทก์ไม่สาม ารถใช้อากาศยานทั้ง ๒ ลำ ด้วย
และเมื่อพิจารณาตารางคำนวณดอกเบี้ยแล้ว เห็นว่า มีการคำนวณค่าเช่าพื้นฐานและค่าเช่าเพิ่มเติมแยกกันเป็นรายเดือน
สำหรับอากาศยานแต่ละลำโดยละเอียด ซึ่งตรงกับตารางคำนวณ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑๒ แต่จำเลยก็ไม่ได้
โต้แย้งไว้ในคำให้การหรือถามค้านพยานโจทก์ว่าตารางคำนวณดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ทั้งเมื่อผู้รับมอบอำนาจ
โจทก์นำสืบว่าหลังจากโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวทวงถามไปยังจำเลยแล้ว กรรมการผู้มีอำนาจของ
บริษัทจำเลยมีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์พร้อมเอกสารแนบยืนยันยอดค่าเช่าอากาศยานทั้ง ๒ ลำ ที่ค้างชำระแก่โจทก์
จำเลยก็ไม่ได้ถามค้านพยานโจทก์หรือนำสืบโต้แย้งเกี่ยวกับความไม่ถูกต้องของยอดหนี้ที่จำเลยยืนยันตามจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาในประเด็นนี้จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้มากกว่าพยานหลักฐานของ
จำเลย ที่ศาลทรัพย์สิ นทางปัญญาและการค้าระหว่า งประเทศกลางวิน ิจฉัยในข้ อนี ้และพิพากษามานั ้น ชอบแล้ ว
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

มาตรา ๙๕/๑๘ กำหนดให้พยานหลักฐานซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความหรือที่บันทึก


ไว้ ใ นเอกสารหรื อ วั ต ถุ อ ื ่ น ใด ศาลสามารถพิ จ ารณารั บ ฟั ง พยานหลั ก ฐานในลั ก ษณะดั ง กล่ า วได้
และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๒๐/๔ ๙ กำหนดให้สามารถสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบการประชุม
ทางจอภาพได้ อัน เป็น การแสดงให้เห็น ถึงพัฒ นาการในการนำเทคโนโลยีและสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์
เข้ามาสู่กระบวนการพิจารณาของศาลได้เพิ่มมากขึ้น
ต่อมาประมวลกฎหมายวิธ ีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้ แก้ไข
เพิ่มเติมบทบัญญัติต่างเพื่อให้การเก็บรักษาข้อมูลคดีของศาลโดยการจัดเก็บในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
และใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการส่งคำคู่ความและเอกสารระหว่างศาลกับคู่ความ
หรื อ ระหว่ า งคู ่ ค วามด้ ว ยกั น ซึ ่ ง รวมถึ ง บทบั ญ ญั ต ิ ใ นมาตรา ๓๔/๑ ๑๐ มาตรา ๕๑ วรรคสอง ๑๑

มาตรา ๙๕/๑ ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลก็ดี หรือที่บันทึก
ไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลก็ดี หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น
ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า
ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่
(๑) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่า
จะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ
(๒) มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยว
ในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น
ในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่ควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด ให้นำความในมาตรา ๙๕ วรรคสอง มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม

มาตรา ๑๒๐/๔ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลทำการสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบ
การประชุ ม ทางจอภาพได้ โดยคู ่ ค วามฝ่ า ยที ่ อ ้ า งพยานต้ อ งเป็ น ผู ้ ร ั บ ผิ ด ชอบในเรื ่ อ งค่ า ใช้ จ ่ า ย หากศาลเห็ น ว่ า
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลจะอนุญาตตามคำร้องนั้นก็ได้ โดยให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามข้อกำหนด
แนวทางการสืบพยานของประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาที่ออกตามมาตรา ๑๐๓/๓
รวมทั้งระบุวิธีการสืบพยาน สถานที่ และสักขีพยานในการสืบพยานตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาดังกล่าว
และไม่ถือว่าค่าใช้จ่ายนั้นเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินคดี
การเบิกความตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าพยานเบิกความในห้องพิจารณาของศาล
๑๐
มาตรา ๓๔/๑ เพื ่ อ ให้ ก ารพิ จ ารณาพิ พ ากษาคดีเ ป็ นไปโดยสะดวก รวดเร็ ว และเที ่ ย งธรรม
หรือเพื่อความเหมาะสมสำหรับคดีบางประเภท ให้ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
มีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการฟ้องคดี การสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐานการวินิจฉัยคดี ตลอดจน
การดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ได้ตามความจำเป็น
ข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
๑๑
มาตรา ๕๑ ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะปฏิบัติดังนี้
ฯลฯ ฯลฯ
การจัดทำสารบบความหรือสารบบคำพิพากษา การรวบรวมเอกสารในสำนวนความ และการเก็บ
รักษาสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) อาจกระทำในรูปแบบข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และให้ถือว่าสิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวที่รับรองโดยวิธีการที่ศาลกำหนดเป็นสำเนา
(มีต่อหน้าถัดไป)

และมาตรา ๖๘ ๑๒ ให้อำนาจประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาสามารถ
ออกข้ อ กำหนดเพื่ อ กำหนดหลั ก การรองรั บให้ ก ารดำเนิ น กระบวนพิจ ารณาของศาลในทุ ก ขั ้ น ตอน
นับตั้งแต่การฟ้องคดี การยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสาร การแจ้งคำสั่งของศาล การจัดทำสารบบความ
หรือสารบบคำพิพากษา การสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐาน การวินิจฉัยคดี การดำเนินกระบวน
พิจารณาใด ๆ สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือกระทำในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การพิจารณาพิพากษาคดีและการให้บริการประชาชนผู้มีอรรถคดีเป็นไปด้วย
ความสะดวกรวดเร็ว
บทบัญญัติต่าง ๆ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว
เป็ น จุ ด เริ ่ ม ต้ น ให้ ป ระธานศาลฎี ก าได้ อ อกกฎหมายลำดั บ รองเพื ่ อ รองรั บ และสร้ า งกระบวนการ
ให้การดำเนินกระบวนพิจารณาและการรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์มีมาตรการ กระบวนการ
และความชัดเจนที่ เพิ่มมากยิ่งขึ้น ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกระบวน
พิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีหลายฉบับ โดยผู้เขียนขอนำเสนอข้อกำหนดที่เห็นว่ามีบทบาทสำคัญ
ในการดำเนิ น กระบวนพิ จ ารณาทางแพ่ ง ผ่ า นสื ่ อ อิ เ ล็ก ทรอนิ ก ส์ แ ละการรั บ ฟั ง พยานหลั ก ฐานทาง
อิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
๑. ข้ อ กำหนดของประธานศาลฎี ก า ว่ า ด้ ว ยแนวทางการนำสื บ พยานหลั ก ฐาน
และการสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบการประชุมทางจอภาพ พ.ศ. ๒๕๕๖
๒. ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคำคู่ความและเอกสาร
ทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๐
๓. ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓
หากพิ จ ารณาในรายละเอี ย ดของข้ อ กำหนดทั ้ ง สามฉบั บ ดั ง กล่ า วจะพบว่ า
ได้มีการรองรับถึงการนำสืบพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างชัดเจนตั้ งแต่ข้อกำหนด
ของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยแนวทางการนำสืบพยานหลักฐานและการสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาล
โดยระบบการประชุ ม ทางจอภาพ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยได้ ม ี ก ารกำหนดบทบั ญ ญั ต ิ เ ฉพาะสำหรั บ
การสืบพยานหลักฐานซึ่งเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ไว้ในหมวด ๔ ของข้อกำหนดฉบับดังกล่าว ทั้งการเสนอ
ข้อมูลที่บัน ทึกโดยเครื่องคอมพิว เตอร์ห รือที่ประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นพยานหลั กฐาน

(ต่อจากเชิงอรรถที่ ๑๑)
สารบบความหรือสารบบคำพิพากษา หรือเป็นสำเนาเอกสารในสำนวนความ แล้วแต่กรณี และให้ใช้แทนต้นฉบับได้
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่
ศาลฎีกา และเมื่อข้อกำหนดนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
๑๒
มาตรา ๖๘ การยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสารในลักษณะนี้ไม่ว่าการนั้นจะเป็นโดยคู่ค วาม
ฝ่ายใดทำต่อศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือศาลทำต่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทุกฝ่าย รวมทั้งการแจ้งคำสั่งของ
ศาลหรือข้อความอย่างอื่นไปยังคู่ความหรือบุคคลอื่นใด อาจดำเนินการโดยทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยี
สารสนเทศอื่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบ
ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา และเมื่อข้อกำหนดนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

จะต้องระบุข้อมูล ที่จ ะอ้างไว้ในบัญชีร ะบุพยานตามข้อ ๑๙ ๑๓ การคัดค้านพยานหลักฐานที่อยู่ในรูป


อิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ ๒๐ ๑๔ นอกจากนั้น บทบัญญัติดังกล่าวยังขยายไปถึงข้อมูลอื่นใดที่มิได้เป็น ข้อมูล
ที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือที่ประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมาตรา ๒๑๑๕ ของข้อกำหนด
ดังกล่าวได้กำหนดให้ใช้บังคับกับการอ้างอิงพยานหลักฐานข้อมูลที่บันทึกไว้ในหรือได้มาจากไมโครฟิล์ม
สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นโดยอนุโลม
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ศาลยุติธ รรมได้มีการพัฒนาระบบงานของศาลเพื่อรองรับ
การยื่น ส่ง และรับคำฟ้อง คำคู่ความ คำสั่งศาล หมายเรียก หมายอื่น ๆ รวมทั้งเอกสารทางคดีในรูปแบบ
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้ จึงได้มีการออกข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับ
คำคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นการกำหนดกระบวนการทำงาน
และเปิดช่องทางให้คู่ความสามารถยื่นคำคู่ความอันเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล
โดยระบบอิเล็ก ทรอนิกส์ได้ โดยการดำเนินการหรือยื่นเอกสารผ่านระบบงานของศาลซึ่งสำนักงาน
ศาลยุติธรรมเป็นผู้จัดให้มีขึ้นตามข้อกำหนดฉบับนี้ จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของเอกสารที่ได้ส่งผ่ าน
ระบบงานของศาลและศาลสามารถใช้เอกสารที่ได้ยื่นผ่านระบบดังกล่าวประกอบในการพิจารณาคดี
ต่ อ ไปได้ ซึ ่ ง จะขอกล่ า วรายละเอี ย ดเพิ ่ ม เติ ม ในหั ว ข้ อ เกี ่ ย วกั บ การดำเนิ น กระบวนพิ จ ารณาทาง
อิเล็กทรอนิกส์ต่อไป

การดำเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับข้อพิจารณาสำคัญที่จะเป็นการตอบประเด็นข้อสงสัยที่ได้ยกขึ้นในตอนแรกว่า
หากมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถมีผลในทางกฎหมาย
ได้แล้วและต่อมาเกิดประเด็นพิพาทระหว่างกันขึ้น จะสามารถใช้ข้อมูลการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ดังกล่าวอ้างอิงหรือกล่าวอ้างในการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาลได้หรือไม่ เพียงใด นั้น ประธานศาลฎีกา
๑๓
ข้อ ๑๙ คู่ความที่ประสงค์จะเสนอข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ ที่ประมวลผล
โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นพยานหลัก ฐานจะต้องระบุข้อมูลที่จะอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานตามมาตรา ๘๘ แห่งประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พร้อมกับยื่นสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นในจำนวนที่เพียงพอเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
มารับไปจากเจ้าพนักงานศาล เว้นแต่
ฯลฯ ฯลฯ
๑๔
ข้อ ๒๐ คู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงข้อมูลที่บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือประมวลผล
โดยเครื่องคอมพิวเตอร์มาเป็นพยานหลักฐานยันตน อาจยื่นคำแถลงคัดค้านการอ้างข้อมูลนั้นต่อศาลก่อนการสืบข้อมูล
นั้นเสร็จ โดยเหตุที่ว่าสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นปลอม หรือข้อมูลนั้นปลอม หรือสำเนาสื่อที่บันทึกข้อมูลนั้นไม่ถูกต้องกับข้อมูล
ทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่จะแสดงให้เห็นเป็นที่พอใจแก่ศาลว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจทราบเหตุแห่งการคัดค้านนั้นได้
ก่อนเวลาดังกล่าว คู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านการอ้างข้อมูลหรือสื่อหรือสำเนาสื่ อที่บันทึกข้อมูล
เช่นว่านั้นต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาคดี และถ้าศาลเห็นว่าคู่ความฝ่ายนั้นไม่อาจยกข้อคัดค้านได้ก่อนนั้น
และคำร้องมีเหตุผลฟังได้ก็ให้ศาลอนุญาตตามคำร้อง ในกรณีที่มีการคัดค้านดังว่ามานี้ ให้นำมาตรา ๑๒๖ แห่งประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ฯลฯ ฯลฯ
๑๕
ข้อ ๒๑ ให้นำความในข้อ ๑๙ และ ๒๐ มาใช้บังคับแก่การนำสืบข้อมูลที่บันทึกไว้ในหรือได้มาจาก
ไมโครฟิลม์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นโดยอนุโลม

โดยความเห็ น ชอบของที ่ ป ระชุ ม ใหญ่ ศ าลฎี ก าได้ อ อกข้ อ บั ง คั บ ฉบั บ หนึ ่ ง ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ คื อ
ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งข้อกำหนด
ดั ง กล่ า วเป็ น การเน้ น ย้ ำ และสร้ า งความชั ด เจนมากยิ ่ ง ขึ ้ น เกี่ ย วกั บ การดำเนิ น กระบวนพิ จ ารณา
ทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
๑. เงื ่ อ นไขในการพิ จ ารณาที ่ ศ าลจะกำหนดให้ ม ี ก ารดำเนิ น กระบวนพิ จ ารณา
ทางอิเล็กทรอนิ กส์ โดยข้อ ๔ ๑๖ ของข้อกำหนดของประธานศาลฎี ก าฯ ได้กำหนดให้ ศาลมี อ ำนาจ
ในการกำหนดให้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยคำนึงถึงความสะดวก
และประหยัดสำหรับคู่ความที่ยังไม่สำมารถเข้าถึงเทคโนโลยีด้วย ซึ่งการกำหนดให้มีการดำเนินกระบวน
พิจารณาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นเพื่อ ให้การดำเนินกระบวนพิจ ารณเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว
และเที่ยงธรรม
โดยการกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น สามารถนำไปใช้บังคับกับ คดีแพ่ง
ทุกประเภท รวมถึงคดีแพ่งในศาลชำนัญพิเศษ คดีผู้บริโภค และคดีที่มีกฎหมายกำหนดให้นำประมวล
กฎหมายวิธีพิจ ารณาความแพ่งไปใช้บ ังคับ ทั้งนี้ ตามข้อ ๕ ๑๗ ของประกาศสำนักงานศาลยุติธ รรม
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
๒. การจัด การเกี่ยวกับ เอกสารต่าง ๆ ในกระบวนพิจารณาในรู ปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่ง รายละเอีย ดในส่วนนี้จ ะมีความคาบเกี่ยวกับ ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้ว ยการยื่น ส่ง
และรับคำคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่กำหนดกลไกตั้งแต่การยื่น
การส่ง การรับ คำคู่ความ เอกสาร พยานหลักฐานต่าง ๆ ผ่านระบบปฏิ บัติงานของศาล โดยระบบ
การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ คือ ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e - Filing)๑๘ และระบบบริการข้อมูล
คดี ศ าลยุ ต ิ ธ รรม (Court Integral Online Service : CIOS)๑๙ ซึ ่ ง เป็ น ระบบที ่ ศ าลให้ ค วามเชื ่ อ ถื อ
ส่งผลให้ คำคู่ความ เอกสาร พยานหลักฐานที่ ได้ส ่งผ่านระบบปฏิบั ติง านของศาลดั งกล่าวจะได้ รั บ
๑๖
ข้ อ ๔ เพื ่ อ ให้ ก ารดำเนิ น กระบวนพิ จ ารณาเป็ น ไปโดยสะดวก รวดเร็ ว และเที ่ ย งธรรม
เมื ่ อ ศาลเห็น สมควรหรื อ คู ่ค วามร้อ งขอ ศาลอาจกำหนดให้ ดำเนิ นกระบวนพิ จารณาด้ว ยวิ ธ ีก ารตามข้ อกำหนดนี้
โดยคำนึงถึงความสะดวกและประหยัดสำหรับคู่ความที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีด้วย ทั้งนี้ ประเภทคดี หลักเกณฑ์
และวิธีการ ให้เป็นไปตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมประกาศกำหนด
๑๗
ข้อ ๕ ให้ใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์กับคดีแพ่งทุกประเภทและคดีที่มีกฎหมายกำหนดให้นำ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไปใช้บังคับ โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดในประกาศนี้
๑๘
ระบบ e-Filing เป็นระบบสำหรับการยื่นคำฟ้อง ส่ง รับ คําคู่ความและเอกสาร ผ่านทางเทคโนโลยี
และสารสนเทศ เพื่อให้ศาลและคู่ความสามารถส่งข้อมูลผ่านอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและช่องทางการ
บริการแก่คู่ความ สนับสนุนการพัฒนางานศาลและอํานวยความสะดวกให้แก่คู่ความ ช่วยให้คู่ความประหยัดเวลา
ค่าใช้จ่าย ในการที่ต้องเดินทางไปศาล (ข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรม https://jla.coj.go.th/th/content/
category/detail/id/8/cid/9726/iid/174634)
๑๙
ระบบบริ ก ารข้ อ มู ล คดี ศ าลยุ ต ิ ธ รรม (CIOS) เป็ น ระบบบริ ก ารข้ อ มู ล คดี วั น นั ด พิ จ ารณา
ผลการส่งหมายและคำสั่ง ศาลผ่านอินเตอร์เน็ตตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพิ่มความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของ
คู่ความในคดีหรือประชาชน ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียกดูข้อมูลคดีที่คู่ความเกี่ยวข้องในคดีได้ทุกที่ทุกเวลาที่
ต้องการ สามารถใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) (ข้อมูลจาก
เว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรม https://jla.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/9726/iid/174634)
๑๐

การรั บ รองและให้ ความเชื ่ อถื อตามไปด้ ว ย โดยจะเห็ นได้ จากบทบั ญญั ต ิ ห ลาย ๆ ข้ อในข้ อกำหนด
ของประธานศาลฎีกาว่าด้วย วิธีพิจารณาคดีอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวคือ
- เอกสารที่ได้ ยื่น ส่ง และรับทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่ าเป็นเอกสาร
ที่ได้จัดทำในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต ามข้อกำหนดนี้และสิ่งพิมพ์ออกของเอกสารดังกล่าวให้ถือเป็น
สำเนาที่ได้รับรองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และให้ใช้แทนต้นฉบับได้ ตามข้อ ๘๒๐
ของข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
- ในกรณีของพยานเอกสารและพยานวัตถุที่คู่ความประสงค์จะอ้างอิงนั้น ข้อ ๑๘๒๑
ของข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ฯ ได้กำหนดให้สามารถยื่น
ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้เช่นกัน แต่ต้องผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะให้ถือว่ าพยาน
เอกสารและพยานวัตถุดังกล่าวเป็นต้นฉบับหรือเอกสารเทียบเท่าฉบับเดิม นอกจากนั้น คู่ความที่อ้างอิง
พยานหลักฐานไม่ต้องส่งสำเนาให้คู่ความฝ่ายอื่น เว้นแต่คู่ความฝ่ายนั้นไม่อาจเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
นั้นได้
โดยบทบัญญัติในข้อกำหนดของข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณา
คดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ฯ ในส่ว นที่เกี่ย วกับการจัดการเอกสารนี้มีบทบัญญัติที่ส ะท้อนแนวความคิด
และหลักการของพระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ หลายประการ เช่น
ความเป็น ต้น ฉบับ เอกสารตามข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๗ ของข้อกำหนดกำหนดประธานศาลฎี ก าฯ
จะสอดคล้องตามความในมาตรา ๑๐ ๒๒ ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้กำหนด

๒๐
ข้อ ๘ เอกสารที่ได้ยื่น ส่ง และรับทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกำหนดของประธาน
ศาลฎีกาว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคำคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ถือว่าเป็นเอกสาร
ที่ได้จัดทำในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกำหนดนี้
ฯลฯ ฯลฯ
สิ่งพิมพ์ออกของเอกสารตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ถือว่าเป็นสำเนาทีไ่ ด้รับรองตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และให้ใช้แทนต้นฉบับได้
๒๑
ข้ อ ๑๘ พยานเอกสารและพยานวั ต ถุ ท ี ่ ค ู ่ ค วามประสงค์ จ ะอ้ า งอิ ง ให้ ย ื ่ น ในรู ป แบบข้ อ มู ล
อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ และให้ถือว่าพยานเอกสารและพยานวัตถุดังกล่าว เป็นต้นฉบับหรือเอกสาร
เทียบเท่าฉบับเดิม
กรณีการยื่นพยานเอกสารตามวรรคหนึ่ง คู่ความไม่ต้องส่งสำเนาให้คู่ความฝ่ายอื่น เว้นแต่คู่ความ
ฝ่ายนั้นไม่อาจเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้
๒๒
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็ นมา
แต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ ถ้าได้นำเสนอหรือเก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่า
ได้มีการนำเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสารต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว
(๑) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้องของข้อความตั้งแต่
การสร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์ และ
(๒) สามารถแสดงข้อความนั้นในภายหลังได้
ความถูกต้องของข้อความตาม (๑) ให้พิจารณาถึงความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด
ของข้ อ ความ เว้ น แต่ ก ารรั บ รองหรื อ บั น ทึ ก เพิ ่ ม เติ ม หรื อ การเปลี ่ ย นแปลงใด ๆ ที ่ อ าจจะเกิ ด ขึ ้ น ได้ ต ามปกติ
ในการติดต่อสื่อสาร การเก็บรักษา หรือการแสดงข้อความซึ่งไม่มีผลต่อความถูกต้องของข้อความนั้น
๑๑

เงื่อนไขของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถรับรองและสามารถยอมรับได้ในฐานะต้นฉบับเอกสารจะต้อง
(๑) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้องของข้อความตั้งแต่การสร้าง
ข้อความเสร็จสมบูรณ์ และ (๒) สามารถแสดงข้อความนั้นในภายหลังได้ โดยการที่มีการดำเนินการ
ผ่ า นระบบปฏิ บ ั ต ิ ง านของศาลดั งกล่ าวข้ างต้ นแล้ ว ศาลถื อว่ า เอกสารรู ปแบบอิ เล็ กทรอนิ กส์ ที่ ได้ นั้ น
เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวแล้ว๒๓
อย่างไรก็ดี ในการยื่นพยานเอกสารและพยานวัตถุดังกล่าว แม้ผ ่านระบบรับส่ง
อิเล็กทรอนิกส์ คู่ความยัง ต้องมีการอ้างอิง ในบัญชีระบุพยานและศาลยังคงมีหน้าที่สั่งรับหรือไม่รับ
พยานเอกสารและพยานวั ตถุ ในรูป แบบข้ อมูล อิเล็ กทรอนิ กส์ ๒๔ ตามประมวลกฎหมายวิธ ีพิจ ารณา
ความแพ่ง มาตรา ๘๘๒๕
๓. การกำหนดรายละเอี ย ดเกี ่ ย วกั บ การนั ่ ง พิ จ ารณาคดี ข องศาล โดยข้ อ ๑๓ ๒๖
ของข้ อ กำหนดของประธานศาลฎี ก า ว่ า ด้ ว ยวิ ธ ี พ ิ จ ารณาคดี ท างอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ฯ กำหนดให้
ศาลอาจกำหนดให้ มี ก ารนั่ ง พิ จ ารณาและบั น ทึ ก คำเบิ ก ความพยาน โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งหมดหรือบางส่ว นก็ได้ ซึ่ง ลักษณะของการนั่งพิจารณาคดีโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ คู่ความ
หรือพยานนั้น ไม่จำต้องมาปรากฏตัวที่ศาลโดยกายภาพ แต่การที่ศาลนั่งพิจารณาและคู่ความเข้าร่วม
การพิจารณาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ถือเสมือนว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในห้องพิจารณา
โดยถือว่าคู่ความที่ปรากฏตัวและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดี
ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มาดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลแล้ว เมื่อการพิจารณาคดีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
ถือเสมือนว่าเป็น การดำเนิน กระบวนพิ จารณาในห้องพิจารณา หากคู่ความประพฤติตนไม่เรียบร้ อย
ในระหว่างพิจารณาทางออนไลน์จึงอาจเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลได้ เช่น การลักลอบบันทึกภาพ
และเสียงระหว่างการพิจารณา๒๗
๒๓
คณะทำงานนิเทศ ติดตาม ส่งเสริม และสนับสนุนการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในศาลชั้นต้น,
คำอธิบายการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ส่วนการพิจารณาคดีออนไลน์, หน้า ๑๕
๒๔
โปรดดูเชิงอรรถที่ ๒๓, ข้างต้น
๒๕
มาตรา ๘๘ เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใดหรือคำเบิกความของพยาน
คนใด หรือมีความจำนงที่จะให้ศาลตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรืออ้างอิงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้งหรือความเห็น
ของผู้มีความรูเ้ ชี่ยวชาญ เพื่อเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นบัญชีระบุพยาน
ต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยแสดงเอกสารหรือสภาพของเอกสารที่จะอ้าง และรายชื่อ ที่อยู่ของบุคคล
ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ วัตถุ หรือสถานที่ซึ่งคู่ความฝ่ายนั้นระบุอ้างเป็นพยานหลักฐาน หรือขอให้ศาลไปตรวจ หรือขอให้ตั้ง
ผู้เชี่ยวชาญแล้วแต่กรณี พร้อมทัง้ สำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวในจำนวนที่เพียงพอ เพื่อให้คู่ความฝ่ายอื่นมารับไปจาก
เจ้าพนักงานศาล
ฯลฯ ฯลฯ
๒๖
ข้ อ ๑๓ ศาลอาจกำหนดให้ ม ี ก ารนั ่ ง พิ จ ารณาและบั น ทึ ก คำเบิ ก ความพยานโดยวิ ธ ี ก าร
ทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม
โดยต้องไม่ทำให้สิทธิในการต่อสู้คดีของคู่ความลดน้อยลง ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการให้เป็นไปตามที่สำนักงานศาล
ยุติธรรมประกาศกำหนด
๒๗
คณะทำงานนิเทศ ติดตาม ส่งเสริม และสนับสนุนการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในศาลชั้นต้น,
คำอธิบายการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ส่วนการพิจารณาคดีออนไลน์, หน้า ๑๑
๑๒

๔. การรับฟังพยานหลักฐาน
สำหรับในประเด็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานนี้ได้มีการนำและรับรองหลักการ
สำคัญของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มากำหนดเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น กล่าวคือ
ความในข้อ ๑๕ ๒๘ ได้กำหนดว่า ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลั กฐาน
ในกระบวนการพิจารณาคดีตามกฎหมายเพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นหลักการ
เดียวกับมาตรา ๑๑๒๙ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ
นอกจากนั้นบทบัญญัติอีกประการที่สำคัญและเป็นหลักการเช่นเดียวกันกับกฎหมาย
ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ คือ ข้อ ๑๖ ๓๐ ของข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา และมาตรา ๘ ๓๑
แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้ว ยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ฯ ซึ่งกำหนดว่า ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้
การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้น
เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่า
ข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว
โดยสาเหตุที่ผู้เขียนพยายามกล่าวถึงและเทียบเคียงหลักการระหว่างข้อ กำหนดของ
ประธานศาลฎีกาฯ และกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อมิให้ เกิดประเด็นข้อสงสัยว่า

๒๘
ข้อ ๑๕ ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณา
คดีตามกฎหมายเพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดนั้น ให้พิเคราะห์
ถึงความน่าเชื่อถือของลักษณะหรื อวิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะหรือวิธีการ
เก็บรักษา ความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ลักษณะ หรือวิธีการที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัว
ผู้ส่งข้อมูล รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง
๒๙
มาตรา ๑๑ ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการ
พิจารณาตามกฎหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดนั้นให้พเิ คราะห์
ถึงความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะหรือวิธีการเก็บ
รักษา ความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความลักษณะ หรือวิธีการที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล
รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง
๓๐
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสื อ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรื อ
มีเอกสารมาแสดง หรือกำหนดผลทางกฎหมายกรณีไม่ทำเป็นหนังสือ ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือไม่มี เอกสารมาแสดง
ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับ มาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลีย่ นแปลง
ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงตามที่กฎหมายกำหนด
ฯลฯ ฯลฯ
๓๑
มาตรา ๘ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๙ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็น
หนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดง หรือกำหนดผลทางกฎหมายกรณีไม่ทำเป็นหนังสือ ไม่มีหลักฐาน
เป็ น หนั งสื อ หรื อ ไม่ ม ี เ อกสารมาแสดง ถ้ า ได้ ม ี ก ารจั ด ทำข้ อ ความขึ ้ น เป็ น ข้ อ มู ล อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ท ี ่ ส ามา รถเข้ า ถึ ง
และนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ
หรือมีเอกสารมาแสดงตามที่กฎหมายกำหนด
ฯลฯ ฯลฯ
๑๓

การกำหนดรายละเอียดหรือหลักเกณฑ์บางประการในข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาฯ ที่อาจแตกต่าง
จากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จะสามารถทำได้หรือไม่ เช่น ในกรณีที่ประมวล
กฎหมายวิ ธ ี พ ิ จ ารณาความแพ่ ง กำหนดให้ ก ารอ้ า งเอกสารเป็ น พยานหลั ก ฐานให้ ย อมรั บ ฟั ง ได้
เฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่านั้น แต่ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาฯ กลับกำหนดว่า ห้ามมิให้ปฏิเสธ
การรับฟังข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์เป็น พยานหลักฐาน โดยหากพิจารณาบทอาศัยอำนาจตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๔/๑๓๒ ได้ให้อำนาจประธานศาลฎีกาในการออกข้อกำหนด
เกี่ย วกับ การฟ้ องคดี การสืบ พยาน และการรับ ฟัง พยานหลั กฐานการวิน ิจ ฉั ย คดี ไ ด้ ซึ่งข้อกำหนด
ของประธานศาลฎีกาฯ ได้กำหนดบทบัญญัติที่ ส อดคล้ องกับหลั ก การของกฎหมายว่าด้ว ยธุร กรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่รับรองหลักการในเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาจึงเป็นการยืนยันและสร้างความชัดเจนของกฎหมาย
ฉบับดังกล่าวให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
สำหรับการรับฟังและโต้แย้งพยานเอกสารในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ยังคงต้อง
พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ ๔ พยานหลักฐาน เช่น ไม่ตัดสิทธิคู่ความ
อีกฝ่ายในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารในรูปแบบข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้
อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิดตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๙๔ ๓๓ วรรคสอง และมาตรา ๑๒๕ ๓๔ หากคู่ความอีกฝ่ายคัดค้านข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ว ่าไม่มีต้น ฉบับ หรือต้น ฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่ว น คู่ความฝ่ายที่อ้างข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์จำต้องพิสูจน์ถึงความมีอยู่ของต้นฉบับนั้น ในรูปแบบที่เป็นต้นฉบับทางกายภาพ เช่น
๓๒
มาตรา ๓๔/๑ เพื่อให้การพิจารณาพิพ ากษาคดีเ ป็ นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม
หรือเพื่อความเหมาะสมสำหรับคดีบางประเภท ให้ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
มีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการฟ้องคดี การสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐานการวินิจฉัยคดี ตลอดจน
การดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ได้ตามความจำเป็น
ข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
๓๓
มาตรา ๙๔ เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยาน
บุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี
(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง
(ข) ขอสื บ พยานบุ ค คลประกอบข้ อ อ้ า งอย่ างใดอย่ า งหนึ่ ง เมื ่ อ ได้ น ำเอกสารมาแสดงแล้วว่า
ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก
แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (๒) แห่งมาตรา ๙๓
และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่
แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรื อสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่
สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด
๓๔
มาตรา ๑๒๕ คู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนอาจคัดค้าน
การนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุที่ว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือ บางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับ
ต้นฉบับ โดยคัดค้านต่อศาลก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จ
ฯลฯ ฯลฯ
๑๔

กระดาษ และต้นฉบับในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิ กส์ และเนื่องจากการยื่นและส่งเอกสารในระบบรับส่ง


อิเล็กทรอนิกส์นั้น๓๕
สำหรับกรณีพยานวัตถุ หากศาลเห็นว่าจำเป็นต้องตรวจดูพยานวัตถุเพราะไม่สามารถ
ใช้วิธีการนำสืบพยานวัตถุจากภาพถ่ายที่ยื่นผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ศาลอาจสั่งให้คู่ความฝ่าย
ที่อ้างพยานวัตถุนนั้ ส่งพยานวัตถุต่อศาล หรือนำสืบ ณ ที่ทำการของศาล๓๖
๕. คำพิพากษา โดยเมื่อศาลเสร็จการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ศาลสามารถ
ทำคำพิพากษาหรือคำสั่งและลงลายมือชื่อในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยเช่นกัน แต่ต้องดำเนินการ
ตามวิธีการที่สำนักงานศาลยุติธรรมประกาศกำหนด ทั้งนี้ ตามข้อ ๑๙๓๗ของข้อกำหนดประธานศาลฎีกาฯ

บทสรุป
การที่สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปอาจเกิดจากเหตุผลหลายประการ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผล
เพื่อ จะให้การทำธุร กิจ เกิด ความสะดวกรวดเร็ว ยิ่ งขึ้น เพื่อลดต้นทุนในการดำเนิน การ หรือแม้ แ ต่
โรคระบาดที่ทำให้บุคคลไม่สามารถมีปฏิสัมพั นธ์กันได้อย่างเช่นในอดีต ส่งผลให้มนุษย์ต้องหันหน้ามาพึ่ง
เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น และเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว กฎหมายในฐานะเครื่องมือ อย่างหนึ่ง
ที่ใช้ในการกำกับดูแลความสงบเรียบร้อยในสังคมก็ต้องก้าวตามให้ได้อย่างทันท่วงที ในทางกลับกัน
กฎหมายจะต้องไม่ใช่สิ่งที่กีดขวางหรือดึงรั้งให้การพัฒ นาของสังคมหรือเทคโนโลยี เกิดความติดขัด
แต่ต้องเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนให้ สังคมหรือเทคโนโลยีสามารถเดินหน้าไปได้ด้วยกลไกและสภาพแวดล้อม
ที่เหมาะสม
ความพยายามในการแก้ ไ ขกฎหมายให้ ร องรั บ การดำเนิ น การและการทำธุ ร กรรม
ทางอิเล็กทรอนิ กส์ม ี ความพยายามดำเนิ นการเรื ่อ ยมาตั้ งแต่ ก ารมี พ ระราชบั ญญัต ิว ่า ด้ว ยธุร กรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ เรื่อยมาจนในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๗ รัฐบาลได้มคี วามพยายามผลักดัน
กฎหมายชุดใหญ่เพื่อการรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไม่ว่าจะเป็นกฎหมายว่าด้วย
การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม กฎหมายว่าด้ว ยการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐ
ผ่านระบบดิจิทัล กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ และกฎหมายว่าด้ว ยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการพัฒ นาเรื่ อยมา
จนปัจจุบันปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ความพยายามในการแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคม
๓๕
คณะทำงานนิเทศ ติดตาม ส่งเสริม และสนับสนุนการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในศาลชั้นต้น,
คำอธิบายการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ส่วนการพิจารณาคดีออนไลน์, หน้า ๑๖
๓๖
โปรดดูเชิงอรรถที่ ๒๘, ข้างต้น
๓๗
ข้ อ ๑๙ เมื ่ อ เสร็ จ การพิ จ ารณาคดี ท างอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ให้ ศ าลทำคำพิ พ ากษาหรื อ คำสั่ ง
และลงลายมือชื่อในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามวิธีการที่สำนักงานศาลยุติธรรมประกาศกำหนด และให้ถือว่าคำพิพากษา
หรือคำสั่งได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๑ แล้ว
การทำความเห็ น แย้ ง รวมทั ้ งการจดแจ้ งเหตุ ก รณี ท ี ่ ผ ู ้ พ ิ พ ากษาลงลายมื อ ชื ่ อ ในคำพิ พ ากษา
หรือคำสั่งไม่ได้ ให้ใช้วิธีการตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
การอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณา
ความแพ่ง มาตรา ๑๔๐ (๓) เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามวิธีการที่สำนักงานศาลยุติธรรมประกาศกำหนด
๑๕

และเทคโนโลยียังคงเดินหน้าต่อไป ได้มีความพยายามในการยกร่า งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการ


ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดให้
บริษัทมหาชนจำกัดสามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการประชุมคณะกรรมการและการประชุม
ผู้ถือหุ้น การจัดส่งหนังสือหรือเอกสาร ตลอดจนการมอบฉันทะในการประชุมผู้ถือหุ้น และแนวความคิด
ดังกล่าวกำลังนำไปสู่ความพยายามในการแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับหุ้นส่วนบริษัทในประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ให้สอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดี ความพยายามในการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้สามารถ
บอกกล่าวหรือมีการประชุมของผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ สมควรต้ อง
พิจารณาต่อไปว่า เมื่อมีการแก้ไขกฎหมายแล้ว หากเกิดประเด็นข้อพิพาทระหว่างหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น
บุคคลดังกล่าวจะสามารถใช้ข้อมูลหรือพยานหลักฐานที่บันทึกอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์กล่าวอ้าง
หรือยืนยันข้อเท็จจริง ได้หรือไม่เพีย งใด เนื่องจากการประชุมของหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นตามประมวล
กฎหมายแพ่ งและพาณิช ย์ ในบางกรณีจ ะเป็ นเงื ่ อนไขและเกี ่ยวข้ อ งกับ ความรั บผิ ด ของบุ ค คล เช่น
มาตรา ๑๐๓๑ ๓๘ กำหนดให้ ม ี ก ารบอกกล่ า วให้ ช ำระค่ า หุ ้ น โดยการส่ ง คำบอกกล่ า วเป็ น จดหมาย
จดทะเบีย นไปรษณีย์ ห ากหุ้น ส่วนนั้นไม่ชำระ หุ้นส่ว นคนอื่น อาจให้เอาผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นออกได้
หรือมาตรา ๑๑๒๑๓๙ ซึ่งกำหนดให้การเรียกเงินค่าหุ้นจะต้องมีหนังสือบอกกล่าวโดยการส่งคำบอกกล่าว
เป็นจดหมายจดทะเบียนไปรษณี ย์ หรือในบทบัญญัติในส่วนที่กำหนดให้ต้องมีการประชุมของบุคคล
ไม่ว ่าจะเป็น ผู้เริ่มก่อการ ผู้ถือหุ้น หรือคณะกรรมการก่อน จึงจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไปได้
ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากเกิดมีประเด็นข้อพิพาทขึ้น หลักฐานการบอกกล่าว หลักฐานการประชุมจะถูกนำไปใช้
กล่าวอ้างเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีของศาลต่อไป
อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ที่ มีกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น
หากพิจารณาบทบัญญัติในกฎหมายดังกล่าวได้มีบทบัญญัติที่ครอบคลุมให้บุคคลและศาลต้อ งยอมรับ
และรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว ทั้งกรณีมาตรา ๗ ๔๐ ที่กำหนดหลักการ
สำคัญว่ามิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่
ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา ๑๑ ๔๑ กำหนดห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูล
อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เ ป็ น พยานหลั ก ฐานในกระบวนการพิ จ ารณาตามกฎหมายทั ้ ง ในคดี แ พ่ ง คดี อ าญา
หรื อ คดี อ ื ่ น ใด เพี ย งเพราะเหตุ ว ่ า เป็ นข้ อ มู ล อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ อย่ า งไรก็ ด ี หากพิ จ ารณาบทบั ญญัติ
๓๘
มาตรา ๑๐๓๑ ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดละเลยไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนเสียเลย ท่านว่าต้องส่ง
คำบอกกล่าวเป็นจดหมายจดทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้ น ให้ส่งมอบส่วนลงหุ้นของตนมาภายในเวลา
อันสมควร มิฉะนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะลงเนื้อเห็นพร้อมกัน หรือโดยเสียงข้างมากด้วยกันสุดแต่ข้อสัญญา
ให้เอาผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นออกเสียได้
๓๙
มาตรา ๑๑๒๑ การเรียกเงินค่าหุ้นแต่ละคราวนั้น ท่านบังคับว่าให้ส่งคำบอกกล่าวล่วงหน้า
ไม่ต่ำกว่ายี่สิบเอ็ดวันด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ และผู้ถือหุ้นทุกคนจะต้องใช้เงินตามจำนวนที่เรียกนั้น
สุดแต่กรรมการจะได้กำหนดไปว่าให้ส่งไปยังผู้ใด ณ ที่ใดและเวลาใด
๔๐
มาตรา ๗ ห้ า มมิ ใ ห้ ป ฏิ เ สธความมี ผ ลผู ก พั น และการบั งคั บ ใช้ ท างกฎหมายของข้ อ ความใด
เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
๔๑
โปรดดูเชิงอรรถที่ ๒๙, ข้างต้น
๑๖

ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แล้วก็มิได้หมายความว่าข้อมูลทุกอย่างหากอยู่ในรูปแบบ
อิเล็กทรอนิกส์แล้วจะสามารถนำมาใช้บังคับได้ทันที กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขเพื่อความปลอดภัย
และสามารถยืนยันถึงแหล่งที่มา ความถูกต้อง และความไม่เปลี่ยนแปลงไปของข้อมูลด้วย จึงจะสามารถ
นำมาใช้ได้ จะเห็นได้จากคำพิพากษาศาลฎีกาต่าง ๆ ซี่งได้ยกบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม
ทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ที่ ไ ด้ ก ำหนดรั บ รองสถานะข้ อ มู ล ทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ใ นทางกฎหมายแล้ ว เช่ น
การมีส ถานะอย่างต้น ฉบับ เอกสาร แต่ ในการพิจารณาคดีศาลก็มิได้รับฟังข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
เป็นพยานเดี่ยว จะมีการสืบพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงอื่นประกอบเพื่อยืนยันการกระทำผ่านระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ด้วย แต่แนวทางในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลได้มีแนวโน้มที่จะรับฟังพยานหลักฐาน
ที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากยิ่งขึ้น และเมื่อมีข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาฉบับต่าง ๆ
ที่เกีย่ วกับการดำเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์บัญญัติขึ้นและมีลักษณะเป็นการยืนยันหลักการ
ตามกฎหมายว่ าด้ว ยธุร กรรมทางอิ เล็ ก ทรอนิ กส์ ให้ มี ความหนั ก แน่ นยิ่ งขึ้ น ประกอบกั บสำนั ก งาน
ศาลยุติธรรมได้มีการเตรียมการและพัฒนาระบบการปฏิบัติงานที่ตนให้ความเชื่อถือและปลอดภัยแล้ ว
จะส่งผลให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล การรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบ
อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความหนักแน่นและมีน้ำหนักยิ่งขึ้น
การที ่ ฝ ่ า ยนิต ิบ ัญ ญัต ิ แก้ ไ ขเพิ ่ม เติม กฎหมายให้ส ามารถใช้ ก ลไกหรือ กระบวนการ
ทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น จะสามารถทำได้อย่างไม่ต้องมีข้อกังวลว่า หากประชาชนเกิดมีข้อพิพาทขึ้น
ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่กฎหมายรับรองแล้วจะสามารถยกขึ้นกล่าวอ้างและใช้เป็นพยานหลักฐานในการ
นำสืบและระงับข้อพิพาทที่อาจเกิดมีขึ้นได้หรือไม่ เพราะฝ่ายตุลาการได้เริ่มต้นและเตรียมเครื่องมือ
ที ่ ร องรั บ การดำเนิน การทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ไ ว้ แล้ ว ไม่ ว ่ า จะเป็ น กฎระเบี ย บ ระบบการปฏิ บ ั ติงาน
และเครื่องมือในการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญประการสุดท้าย คือ ทั ศนคติและความรับรู้
เรื่องในทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สภาพแวดล้อม และโลกที่อาจมี
เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงและพลิกผันได้ตลอดเวลา

You might also like