You are on page 1of 16

การส่งเสริมการขายที่

มุ่งสู่พ่อค้าคนกลาง
#การแข่งขันการขาย
#ส่วนยอมให้
1.ส่วนยอมให้
ส่วนยอมให้ เป็นส่วนลดที่ผู้ขายลด
ให้แก่ผู้ซื้อทั้งทางตรงและทางอ้อม
เพื่อให้คนกลางสนับสนุนและให้
ความร่วมมือ ช่วยเหลือผู้ผลิตใน
การโฆษณาสินค้า ด้านกิจกรรมการ
ส่งเสริมการขายหรือกิจกรรมอื่นๆ
เป็นการแลกเปลี่ยน

ส่วนลดทางตรง คือ ส่วนลดที่ผู้ผลิต


ได้ลดราคาสินค้าขายปลีกให้แก่ผู้บริโภค
โดยทำการติดราคาสินค้าบอกไว้ที่ฉลาก
และได้ทำการลดราคาขายส่งสินค้าแก่ผู้
ขายส่งและขายปลีก
ส่วนลดทางอ้อม คือ ส่วนลดที่ผู้
ผลิตได้ให้ส่วนลดแก่พ่อค้าคนกลาง โดย
การเพิ่มปริมาณสินค้า การลดราคาค่า
ขนส่ง ลดราคาโฆษณาร่วมกัน เป็นต้น
1.1 ส่วนยอมให้จากการซื้อ

เป็นส่วนลดที่ผู้ขายยอมให้กับคนกลางจากการซื้อสินค้าในระยะเวลาและ
ปริมาณสินค้าที่กำหนดแน่นอน เช่น ซื้อผงซักฟอก 10 ลังขึ้นไป ภายในระยะ
เวลา 30 วัน จะได้รับส่วนลดลังละ 5 บาท
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเพิ่มหรือรักษาช่องทางการจัดจำหน่าย
2.เพื่อให้ผู้ค้าปลีกเก็บสต๊อกสินค้าให้มากกว่าเดิม
3.เพื่อกีดกันไม่ให้คู่แข่งขันระบายสินค้าออกจำหน่ายสู่ตลาดได้ง่าย
1.2 ส่วนยอมให้จากใบกำกับสินค้า
เป็นการลดราคาโดยตรงจากใบกำกับสินค้าในช่วงเวลาที่แน่นอน โดย
ไม่คำนึงถึงปริมาณการซื้อสินค้า เป็นการให้ส่วนลดแก่พ่อค้าคนกลางเมื่อมี
การสั่งซืื้ อสินค้า เช่น ส่วนลดลังละ 10 บาท สำหรับการสั่งซื้อครีมอาบน้ำ ที่
ซื้อในช่วงระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน

วัตถุประสงค์

เพื่อให้พ่อค้าคนกลางซื้อสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น
1.3 ส่วนยอมให้ตามปริมาณการขาย
เป็นการส่งเสริมการขายที่ผู้ผลิตต้องการให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าจาก
คลังสินค้าไปยังร้านค้าส่งหรือร้านค้าปลีกที่เป็นจุดซื้อ เช่น การขายผลไม้
กระป๋อง โดยผู้ผลิตเสนอให้ผลตอบแทน 2.50 บาท ต่อกระป๋องสำหรับสินค้าที่
ขายได้ในช่วงวันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้าของร้านค้าส่ง ให้ไปสู่จุดวางจำหน่าย
ของร้านค้าปลีก เพื่อพร้อมที่จะจำหน่ายต่อไปยังผู้บริโภค

2.เพื่อลดจำนวนสินค้าคงคลังของร้านค้าปลีก เนื่องจากร้านค้าปลีกมีพื้นที่ในการ
เก็บสินค้าที่จำกัด
1.4 ส่วนยอมให้เพื่อสต๊อกสินค้าในปริมาณเดิม
เป็นการให้ส่วนลดสำหรับสินค้าที่พ่อค้าคนกลางซื้อจากผู้ผลิต เพื่อรักษาปริมาณ
สินค้าให้เท่ากับสินค้าคงคลังที่มีอยู่เดิมก่อนหน้า ที่พ่อค้าคนกลางซื้อจากผู้ผลิต เพื่อให้
ปริมาณสินค้าในสต็อกมีอยู่เท่าเดิมเสมอ เช่น คนกลางซื้อสินค้าไปสต็อกไว้ 150 ชิ้น
และมีการขายสินค้าไปได้ 100 ชิ้น คงเหลือ 50 ชิ้น เพื่อให้มีสต็อกสินค้าในปริมาณเดิม
ต้องสั่งซื้อเพิ่ม 100 ชิ้น โดยใน 100 ชิ้นที่สั่งซื้อเพิ่มจะได้รับส่วนลดที่สต็อกสินค้าใน
ปริมาณเดิม ชิ้นละ 5 บาท

วัตถุประสงค์
เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรักษาสินค้าในร้านค้าหรือคลังสินค้า
ของผู้ผลิต
1.5 ส่วนยอมให้จากการได้พื้นที่วางสินค้า
เป็นค่าธรรมเนียมซึ่งผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายจ่ายให้แก่ผู้ค้าปลีก เพื่อให้ได้จัด
วางสินค้าในชั้นวางสินค้าภายในร้านค้าของผู้ค้าปลีก
การปฏิเสธการจ่ายส่วนยอมให้จากการได้พื้นที่วางสินค้า คือ การที่ผู้ผลิต
ปฏิเสธการจ่ายส่วนยอมให้จากการได้พื้นที่วางสินค้าต่อร้านค้าปลีก ซึ่งผู้ผลิตจะ
ควรปฏิเสธในกรณีต่อไปนี้

1.เมื่อผู้ผลิตนั้นเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีอำนาจในการต่อรองทางธุรกิจสูง
2.เมื่อผู้ผลิตไม่นิยมหรือไม่ชอบนโยบายการจ่ายส่วนยอมให้ต่อร้านค้าปลีก
3.เมื่อผู้ผลิตยอมรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในภายหลังไม่ว่ากรณีใดๆ จากการ
ปฏิเสธการจ่ายส่วนยอมให้แก่ผู้บริโภค
การแข่งขันการขาย
การแข่งขันการขายเป็นเทคนิคที่ผู้ผลิตกระตุ้นให้ร้านค้าสนใจทำ
ยอดขายต่อตราสินค้าใดตราสินค้าหนึ่ง สินค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือ
รายการสินค้าทุกสายผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตจำหน่ายโดยการประกวดยอด
ขาย เป็นการกำหนดโควตาการขายให้แก่กลุ่มพ่อค้าคนกลาง กลุ่มพ่อค้า
ปลีก เพื่อแข่งขันการทำยอดขายให้เกินโควตาที่กำหนดไว้ โดยผู้ที่ทำยอด
ขายได้เกินมากที่สุดจะได้รับรางวัลที่หนึ่ง และผู้ที่ทำยอดขายในลำดับที่ลด
หลั่นลงมา จะเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลที่สอง รางวัลที่สาม ตามลำดับ แล้วแต่
กรณีที่ผู้ผลิตกำหนดโควตาในการให้รางวัล
ซึ่งรางวัลที่กำหนดให้อาจจะเป็นเงินสด การไปท่องเที่ยวต่าง
ประเทศ ตู้เย็น โทรทัศน์ หรือผลตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น รางวัล
เกียรติยศ เป็นต้น
ตัวอย่างการแข่งขันการขาย

บริษัท เอ็มจี เซลส์ ประเทศไทย จับ


มือร่วมกับผู้จำหน่ายรถยนต์เอ็มจี
ทั่วประเทศ จัดการแข่งขัน MG
Skill Contest

ตัวอย่างการแข่งขันการขาย

Daikin Award 2020 :


Runway of Excellence มอบ
รางวัลแก่ตัวแทนจำหน่ายดีเด่นทั่ว
ประเทศ
ตัวอย่างการแข่งขันการขาย

บริษัท ไอออนิค จำกัด มอบ


รางวัลการไปเที่ยวต่างประเทศ
ให้แก่ตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยตรา
นกอินทรีย์คู่
ส่วนยอมให้และการแข่งขันการขาย เป็นการส่ง
เสริมการขายที่ไม่ได้สร้างความผูกพันต่อ
ตราสินค้า เป็นการส่งเสริมการขายที่หวัง
กระตุ้นการซื้อของพ่อค้าคนกลางในระยะสั้น ที่
หวังให้เกิดยอดขายในทันที การเคลื่อนย้าย
สินค้าออกจากคลังสินค้าของผู้ผลิต เพื่อให้
พ่อค้าคนกลางหรือร้านค้าปลีกสต็อกสินค้าให้
มากที่สุด และนำไปขายให้แก่ผู้บริโภคต่อไป
เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของการส่ง
เสริมการขายทั้ง 2 วิธี
ข้อดี

ข้อดีของทั้งสองหัวข้อคือเป็นการกระตุ้นพ่อค้าคนกลางในระยะสั้น เพื่อเร่งการ
ตัดสินใจซื้อของพ่อค้าคนกลาง ที่ต้องการให้มีการสต็อกสินค้ามากขึ้น
เป็นการกระตุ้นให้พ่อค้าคนกลางเกิดความพยายามในการนำสินค้าออกมาจำหน่าย
ให้กับผู้บริโภคมากขึ้น
สามารถดึงดูดความสนใจของพ่อค้าคนกลางเพื่อไม่ให้ซื้อสินค้าของคู่แข่งขันได้
ทำให้ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ผลิต

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของการส่ง
เสริมการขายทั้ง 2 วิธี
ข้อเสีย

ข้อเสียของทั้งสองหัวข้อนั้นอาจเป็นการเอาแน่เอานอนกับพ่อค้าคนกลางไม่ได้
เนื่องจากบางทีพ่อค้าคนกลางอาจเก็บสต็อกสินค้าโดยไม่ได้สนใจทำการจัดจำหน่าย
ไปยังผู้บริโภค อีกทั้งผลประโยชน์ที่พ่อค้าคนกลางได้รับนั้นผู้บริโภคอาจจะไม่ได้รับ
ส่วนลดดังกล่าว และเมื่อพ่อค้าคนกลางเห็นว่าทางผู้ผลิตจากคู่แข่งขันอื่นยื่นข้อเสนอ
ที่ดีกว่าก็พร้อมที่จะรับข้อเสนอนั้น
สมาชิกกลุ่ม

ณัฐริกา ยตะโคตร
6440307608

ฏัสนีมย์ เต๊ะหมัดมะ
6440301221

You might also like