You are on page 1of 48

การเขียนรูปเรขาคณิต

(Applied Geometry Problems)

เขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล
รหัสวิชา 4110102
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและอธิบายความหมายรวมถึงลักษณะของรูปทรงเรขาคณิตได้อย่าง
ถูกต้อง
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในการสร้างรูปทรงเรขาคณิตด้วยเครื่องมือเขียนแบบและ
น าไปใช้ ใ นการออกแบบได้ อ ย่ า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพเที่ ย งตรง มี คุ ณ ภาพ และเป็ น ไปตาม
มาตรฐานสากล

การเขียนรูปเรขาคณิต |วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 2
รูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน

http://edmathkid.weebly.com

การเขียนรูปเรขาคณิต | รูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน 3
หัวข้อการเรียนรู้
1. การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน
2. การเขียนเส้นตั้งฉาก
3. การแบ่งเส้นตรง
4. การแบ่งมุม
5. การเขียนวงกลม
6. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง
8. การเขียนรูปหลายเหลีย่ มด้านเท่า
9. การเขียนวงรี
การเขียนรูปเรขาคณิต | หัวข้อการเรียนรู้ 4
หัวข้อการเรียนรู้
1. การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน
2. การเขียนเส้นตั้งฉาก
3. การแบ่งเส้นตรง
4. การแบ่งมุม
5. การเขียนวงกลม
6. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง
8. การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า
9. การเขียนวงรี
การเขียนรูปเรขาคณิต | หัวข้อการเรียนรู้ 5
1. การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน

1. การเขียนเส้นตรงผ่านจุด P และ Q
ใช้ขอบของฉากสามเหลี่ยมทาบปลายดินสอซึ่งจรด
อยู่ที่ Q หมุนให้ขอบอยู่ในแนวจุด Pแล้วลากเส้นผ่าน
PQ ดังรูปที่ 1

ใช้ฉากสามเหลี่ยมหรือไม้ที่ทาบจุด P และ Q แล้ว


ลากเส้น PQ ดังรูปที่ 2

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน 6
1. การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน (ต่อ)
2. การเขียนเส้นขนานกับเส้นตรง AB และผ่านจุด C
ก. ใช้ ฉ ากสามเหลี่ ย มทาบเส้ น ตรง AB และใช้ ฉ าก
สามเหลี่ ย มอี ก อั น ทาบเป็ น ฐานรอง เลื่ อ นฉาก
สามเหลี่ ย มอั น แรกไปยั ง จุ ด C แล้ ว ลากผ่ า นจุ ด C
ขนานกับ AB ดังรูปที่ 3
ข. ใช้จุดใดๆ บนเส้นตรง AB เขียนส่วนโค้งรัศมี R ผ่าน
จุด C และตัด AB ที่จุด D ใช้ C และ D เป็นจุด
ศูนย์กลางรัศมี R เขียนส่วนโค้งตัดกันที่จุด E ลากเส้น
ผ่าน CE จะขนานกับ AB ตามต้องการ ดังรูปที่ 4

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน 7
1. การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน (ต่อ)

3. การเขียนเส้นขนานกับเส้นตรง AB ห่างเท่ากับ R
ใช้จุดใดๆ บนเส้นตรง AB เขียนส่วนโค้งรัศมี R เลื่อนฉาก
สามเหลี่ยมจนสัมผัสกับส่วนโค้งของวงกลม แล้วลากเส้น
ขนานกับ AB ดังรูปที่ 5

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน 8
หัวข้อการเรียนรู้
1. การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน
2. การเขียนเส้นตั้งฉาก
3. การแบ่งเส้นตรง
4. การแบ่งมุม
5. การเขียนวงกลม
6. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง
8. การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า
9. การเขียนวงรี
การเขียนรูปเรขาคณิต | หัวข้อการเรียนรู้ 9
2. การเขียนเส้นตั้งฉาก
1. การเขียนเส้นตั้งฉากทัว่ ๆไป
ก. ใช้ ฉ ากสามเหลี่ยมและไม้ ที่เ ขียนเส้ นตั้ง ฉากในแนว
ระดับกับแนวดิ่ง ดังรูปที่ 6
ข. ใช้ขอบด้านประกอบมุมฉากของฉากสามเหลี่ยมทาบ
เส้ น ตรงที่ ก าหนดให้ ใช้ อั น ที่ ส องทาบเป็ น ฐานรอง
เลื่ อ นอั น แรกไปจนขอบที่ ส องของอั น แรกอยู่ ใ น
ตาแหน่งตั้งฉากที่ต้องการ แล้วลากเส้นตั้งฉาก ดังรูป
ที่ 7

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนเส้นตั้งฉาก 10
2. การเขียนเส้นตั้งฉาก (ต่อ)
2. การเขียนเส้นตั้งฉากกับเส้นตรงที่จุดกาหนดให้
กาหนดให้จุด P เป็นจุดบนเส้นตรง AB
1. ใช้จุด P เป็นจุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้งรัศมี R1 ตัด
กับเส้นตรง AB
2. ใช้จุดตัดของส่วนโค้งกับเส้นตรง AB เป็นจุดศูนย์กลาง
เขียนส่วนโค้งรัศมี R2 (>R1) เขียนส่วนโค้งตัดกันที่จุด C
3. ลากเส้นตรง CP จะได้เส้นตรงตั้งฉากตามต้องการ ดัง
รูปที่ 8

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนเส้นตั้งฉาก 11
2. การเขียนเส้นตั้งฉาก (ต่อ)
3. การเขียนเส้นตั้งฉากกับจุดปลายของเส้นตรง
AB เป็นเส้นตรงที่กาหนดให้
1. ใช้ B เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R1 เขียนส่วนโค้งตัดกับ
เส้นตรงที่จุด C
2. ใช้ C เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R1 เขียนส่วนโค้งตัดกับ
ส่วนโค้งแรกที่จุด D
3. ใช้ D เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R1 เขียนส่วนโค้ง
4. ลากเส้นตรงผ่านจุด C และ D ไปตัดกับส่วนโค้งรอบ
จุด D ที่จุด E
5. ลากเส้นตรง EB จะได้เส้นตรงตั้งฉากตามต้องการ ดัง
รูปที่ 9
การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนเส้นตั้งฉาก 12
หัวข้อการเรียนรู้
1. การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน
2. การเขียนเส้นตั้งฉาก
3. การแบ่งเส้นตรง
4. การแบ่งมุม
5. การเขียนวงกลม
6. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง
8. การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า
9. การเขียนวงรี
การเขียนรูปเรขาคณิต | หัวข้อการเรียนรู้ 13
3. การแบ่งเส้นตรง
1. การแบ่งเส้นตรงออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน
AB เป็นเส้นตรงที่กาหนดให้
ก. ใช้ A และ B เป็นจุดศูนย์กลางรัศมีเท่ากัน (มากกว่าครึ่งของ
AB) เขียนส่วนโค้งตัดกันที่จุด C และ D ลากเส้นตรงผ่าน C
และ D จะได้เส้นแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับเส้นตรงตามต้องการ
ดังรูปที่ 10
ข. ลากเส้นจากจุด A และ B ทามุมเท่ากัน (ใช้มุม 30° หรือ 45°
จะสะดวกกว่า) ไปตัดกันที่จุด C ลาก CD ตั้งฉากกับ AB ที่
จุด D จุด D จะเป็นจุดแบ่งครึ่งเส้นตรง AB ตามต้องการ ดัง
รูปที่ 11

การเขียนรูปเรขาคณิต | การแบ่งเส้นตรง 14
3. การแบ่งเส้นตรง (ต่อ)
2. การแบ่งเส้นตรงออกเป็นหลายๆส่วนเท่ากัน
AB เป็นเส้นตรงที่กาหนดให้
ก. ลากเส้นตรง BC จากจุด B ทามุมใดๆกับเส้นตรง AB
แบ่งเส้นตรง BC ออกเป็นหลายๆส่วนตามจานวนที่
ต้องการ (เช่น แบ่งเป็น 5 ส่วน) โดยเริ่มแบ่งจากจุด B
ลากเส้นตรงเชื่อมจุด A และ C แล้วลากเส้นขนานกับ
เส้น C-A ผ่านจุด 4......1 ไปตัดกับเส้น AB ดังรูปที่
12
ข. ลาก AB ตั้งฉากกับ AB ที่จุด A ใช้บรรทัดแบ่งช่วง BC
ให้เท่ากับจานวนส่วนแบ่งที่ต้องการแล้วลากเส้นขนาน
กับ AC ดังรูปที่ 13 ในทานองเดียวกันแบ่งเส้นตรงใน
แนวดิ่ง ดังรูปที่ 14
ค. การแบ่งเส้นตรงด้วยดิไวเดอร์ ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว
การเขียนรูปเรขาคณิต | การแบ่งเส้นตรง 15
หัวข้อการเรียนรู้
1. การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน
2. การเขียนเส้นตั้งฉาก
3. การแบ่งเส้นตรง
4. การแบ่งมุม
5. การเขียนวงกลม
6. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง
8. การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า
9. การเขียนวงรี
การเขียนรูปเรขาคณิต | หัวข้อการเรียนรู้ 16
4. การแบ่งมุม
1. การแบ่งมุมออกเป็นสองส่วนเท่ากัน
ABC เป็นมุมที่กาหนดให้
1. ใช้จุด B เป็นจุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้งรัศมี R1 ตัดกับด้านประกอบ
มุมที่จุด DE
2. ใช้ D และ E เป็นจุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้งรัศมี R2 ซึ่งมากกว่า
ครึ่งหนึ่งของระยะ DE เขียนส่วนโค้งตัดกันที่จุด F
3. ลากเส้นตรง FB จะได้เส้นแบ่งครึ่งมุมตามต้องการ ดังรูปที่ 15

การเขียนรูปเรขาคณิต | การแบ่งมุม 17
4. การแบ่งมุม (ต่อ)

2. การแบ่งมุมออกเป็นหลายส่วนจานวนคี่เท่าๆกัน
AB เป็นมุมที่กาหนดให้
1. เขียนส่วนโค้งของวงกลมตัดกับด้านประกอบมุมที่จุด
D และ E
2. ใช้ดิไวเดอร์ขนาดเล็กแบ่งส่วนโค้งออกเป็นหลายส่วน
จานวนคี่ที่ต้องการ (เช่น 5 ส่วน)
3. ลากเส้นผ่านมุมกับจุดแบ่ง จะได้มุมที่ถูกแบ่งเป็น
จานวนคี่ตามต้องการ ดังรูปที่ 16

การเขียนรูปเรขาคณิต | การแบ่งมุม 18
4. การแบ่งมุม (ต่อ)
3. การแบ่งมุมฉากออกเป็นสามส่วนเท่ากัน
AB เป็นมุมฉากที่กาหนดให้
1. ใช้ B เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R ซึ่งน้อยกว่าด้าน
ประกอบมุม เขียนส่วนโค้งตัดกับด้าน AB และ BC ที่
จุด D และ E ตามลาดับ
2. ใช้ D และ E เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R เขียนส่วนโค้ง
รัศมี R ตัดกับส่วนโค้ง DE ที่จุด F และ G
3. ลากเส้นตรงจากจุด B ผ่านจุด G และ F เส้น BG และ
BF จะแบ่งมุมฉากออกเป็นสามส่วนเท่าๆกันตาม
ต้องการ ดังรูปที่ 17

การเขียนรูปเรขาคณิต | การแบ่งมุม 19
หัวข้อการเรียนรู้
1. การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน
2. การเขียนเส้นตั้งฉาก
3. การแบ่งเส้นตรง
4. การแบ่งมุม
5. การเขียนวงกลม
6. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง
8. การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า
9. การเขียนวงรี
การเขียนรูปเรขาคณิต | หัวข้อการเรียนรู้ 20
5. การเขียนวงกลม

1. การเขียนวงกลมผ่านจุดสามจุดที่กาหนดให้
กาหนดให้จุด A, B, และ C
1. ลากเส้นตรง AB และ BC
2. แบ่งครึ่งด้าน AB และ BC
3. ลากเส้นแบ่งครึ่งและตั้งฉากไปตัดกันที่จุด O
4. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี OA เขียนวงกลม จะได้
วงกลมที่ผ่านจุด A, B, และ C ดังรูปที่ 18

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนวงกลม 21
5. การเขียนวงกลม (ต่อ)

2. การหาจุดศูนย์กลางของวงกลม
1. ให้ AB เป็นคอร์ดของวงกลมที่กาหนดให้
2. ลาก AC และ BD ตั้งฉากกับ AB ไปตัดกับเส้นรอบวง
ที่จุด C และ D
3. ลาก AD และ BD ไปตัดกันที่จุด O จุด O จะเป็นจุด
ศูนย์กลางของวงกลม ซึ่งมี AD และ BD เป็นเส้นผ่าน
ศูนย์กลาง ดังรูปที่ 19 หรือใช้วิธีในรูปที่ 18 โดย
กาหนดจุด A, B, และ C บนวงกลม

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนวงกลม 22
5. การเขียนวงกลม (ต่อ)

3. การเขียนวงกลมรัศมี R สัมผัสกับเส้นตรง AB และ


ผ่านจุด C ที่กาหนดให้
1. ใช้วิธีการเขียนเส้นตรง DE ขนานกับ AB และมีระยะห่าง
เท่ากับ R
2. ใช้ C เป็นจุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้งรัศมี R ตัดกับ DE ที่จุด O
3. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R เขียนวงกลมตามต้องการ ดังรูป
ที่ 20

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนวงกลม 23
5. การเขียนวงกลม (ต่อ)
4. การเขียนวงกลมสัมผัสเส้นตรง AB ที่จุด T และผ่านจุด C
ที่กาหนดให้
1. ลากเส้นต่อจุด CT
2. ลากเส้นแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับ CT
3. จากจุด T ลากเส้นตั้งฉากไปตัดกับเส้นแบ่งครึ่ง CT ที่จุด O
4. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี OC เขียนวงกลมได้ตามที่ต้องการ
ดังรูปที่ 21

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนวงกลม 24
หัวข้อการเรียนรู้
1. การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน
2. การเขียนเส้นตั้งฉาก
3. การแบ่งเส้นตรง
4. การแบ่งมุม
5. การเขียนวงกลม
6. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง
8. การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า
9. การเขียนวงรี
การเขียนรูปเรขาคณิต | หัวข้อการเรียนรู้ 25
6. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น
1. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมรัศมี R สัมผัสกับเส้นตรง AB
และ BC ที่ตั้งฉากกัน
1. ใช้ B เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R เขียนส่วนโค้งตัดกับเส้นตรง AB
และ CD ที่จุด T1 และ T2
2. ใช้ T1 และ T2 เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R เขียนส่วนโค้งตัดกันที่
จุด O
3. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้งรัศมี R ซึ่งจะสัมผัสกับ
เส้นตรง AB และ CD ที่จุด T1 และ T2 ดังรูปที่ 22

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น 26
6. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น (ต่อ)
2. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมรัศมี R สัมผัสกับเส้นตรง AB
และ CD ที่ไม่ตั้งฉากกัน
1. ลากเส้นตรง EF ขนานกับ AB และห่างจาก AB
เท่ากับรัศมี R
2. ลากเส้นตรง GH ขนานกับ CD และห่างจาก CD
เท่ากับรัศมี R ไปตัดกับเส้นตรง EF ที่จุด O
3. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R เขียนส่วนโค้ง
สัมผัสกับเส้นตรง AB และ CD ดังรูปที่ 23 (มุม
ป้าน) และดังรูปที่ 24 (มุมแหลม)
จากจุดศูนย์กลาง O ลากเส้นตั้งฉากกับเส้นตรง AB และ
CD จะได้จุดสัมผัส T1 และ T2 ของส่วนโค้งกับเส้นตรง

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น 27
หัวข้อการเรียนรู้
1. การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน
2. การเขียนเส้นตั้งฉาก
3. การแบ่งเส้นตรง
4. การแบ่งมุม
5. การเขียนวงกลม
6. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง
8. การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า
9. การเขียนวงรี
การเขียนรูปเรขาคณิต | หัวข้อการเรียนรู้ 28
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง
1. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมรัศมี R1 สัมผัสกับเส้นตรง AB
และส่วนโค้งรัศมี R2 ที่มีจุดศูนย์กลาง O
1. ลากเส้นตรง CD ขนานกับ AB และห่างจาก AB
เท่ากับรัศมี R1
2. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R1+R2 (รูปที่ 25) R1+R2
(รูปที่ 26) เขียนส่วนโค้งตัดกับ CD ที่จุด P
3. ใช้ P เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R1 เขียนส่วนโค้งสัมผัสกับ
เส้นตรง AB และส่วนโค้งรัศมี R2 ตามต้องการ
จากจุด P ลากเส้นตั้งฉากกับ AB จะได้จุดสัมผัส T1 ของ
ส่วนโค้งที่มีรัศมี R1 กับเส้นตรง AB
ต่อจุด PO ไปตัดกับเส้นโค้งจะได้จุดสัมผัส T2 ของส่วนโค้ง
ที่มีรัศมี R1 กับโค้งที่มีรัศมี R2

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง 29
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง (ต่อ)
สัมผัสกับส่วนโค้ง 2. การเขียนส่วนโค้งรัศมี R1 สัมผัสกับส่วนโค้ง AB รัศมี R2 และ
ส่วนโค้ง CD รัศมี R3 ที่มีจุดศูนย์กลาง O และ P ตามลาดับ
ก) กรณีสัมผัสภายนอก
1. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R2+R1 เขียนส่วนโค้งที่ขนานกับส่วน
โค้งที่ขนานกับส่วนโค้ง AB
2. ใช้ P เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R3+R1 เขียนส่วนโค้งตัดกับส่วนโค้ง
แรกที่จุด S
3. ใช้ S เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R1 เขียนส่วนโค้งสัมผัสกับส่วนโค้งที่
กาหนดให้ตามต้องการ ดังรูปที่ 27
ลากเส้นต่อจุดศูนย์กลาง PS และ OS ตัดกับส่วนโค้งจะได้จุดสัมผัส T1
และ T2 ของส่วนโค้งทั้งสาม

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้ง 30
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง (ต่อ)
สัมผัสกับส่วนโค้ง
ข) กรณีสัมผัสภายใน
1. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R2-R1 เขียนส่วนโค้งขนาน
กับส่วนโค้ง AB
2. ใช้ P เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R3-R1 เขียนส่วนโค้งตัดกับ
ส่วนโค้งแรกที่จุด S
3. ใช้ S เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R1 เขียนส่วนโค้งสัมผัสกับ
ส่วนโค้งตามต้องการ ดังรูปที่ 28

จุด T1 และ T2 เป็นจุดสัมผัสของส่วนโค้งทั้งสาม

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้ง 31
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง (ต่อ)
สัมผัสกับส่วนโค้ง
ค) กรณีสัมผัสภายนอกและภายใน
1. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R2+R1 เขียนส่วนโค้งขนานกับส่วนโค้ง
AB
2. ใช้ P เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R3-R1 เขียนส่วนโค้งตัดกับส่วนโค้งแรก
ที่จุด S
3. ใช้ S เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R1 เขียนส่วนโค้งสัมผัสกับส่วนตาม
ต้องการ ดังรูปที่ 29

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้ง 32
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง (ต่อ)
3. การเขียนส่วนโค้งกลับเชื่อมเส้นตรง AB และ CD ที่ขนานกัน โดยมี
จุด B และ C เป็นจุดสัมผัสส่วนโค้ง

1. ลากเส้นตรงต่อจุด B และ C สมมุติจุด T เป็นจุดที่ส่วนโค้งจะสัมผัสกัน


2. ลากเส้นแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับ BT และ TC
3. จากจุด B ลากเส้นตั้งฉากไปตัดกับเส้นที่แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับ BT ที่จุด P
4. จากจุด C ลากเส้นตั้งฉากไปตัดกับเส้นที่แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับ CT ที่จุด Q
5. ใช้ P และ Q เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี PB และ QC เขียนส่วนโค้งกลับที่สัมผัส
กันที่จุด T และสัมผัสกับเส้นตรงที่ขนานกันตามต้องการ ดังรูปที่ 30
เส้นตรงที่ลากต่อจุด P และ Q จะต้องผ่านจุด T ซึ่งเป็นจุดสัมผัสกันของส่วน
โค้งกลับ

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง 33
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง (ต่อ)
4. การเขียนส่วนโค้งกลับเชื่อมต่อเส้นตรง AB และ CD ที่ไม่ขนานกัน
โดยมีจุด B และ C เป็นจุดสัมผัส
1. ลากเส้นตรงตั้งฉาก AB ที่จุด B
2. ใช้ B เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R (กาหนดให้) เขียนส่วนโค้งตัดเส้น
ตั้งฉากกับ AB ที่จุด P
3. ใช้ P เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี R เขียนส่วนโค้ง
4. จากจุด P ลากเส้นตั้งฉากกับ CD ที่ต่อออกมา ไปตัดกับส่วนโค้งที่
มีรัศมี R ที่จุด X
5. ต่อจุด X และ C ตัดกับส่วนโค้งที่มีรัศมี R ที่จุด T จะได้เส้นตรง
XT และ TC ซึ่งเป็นคอร์ดของส่วนโค้งกลับที่เชื่อมต่อจุด X และC
6. ลากเส้น XY ขนานกับ CD ใช้วิธีการเขียนส่วนโค้งกลับเชื่อมต่อ
เส้นขนานสองเส้น ดังรูปที่ 31(ก)
การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง 34
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง (ต่อ)

หรืออีกวิธีคือ ต่อจากขั้นตอนที่ 3 ในวิธีแรก


4. ลากเส้นตั้งฉากกับ CD ที่จุด C หาจุด S ซึ่งห่างจาก CD เท่ากับ
รัศมี R
5. ลากเส้นตรง PS จะเป็นคอร์ดของส่วนโค้งที่มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน
กับส่วนโค้ง EC
6. ลากเส้นแบ่งครึ่งและตั้งฉาก PS ไปตัดกับเส้นตั้งฉาก CD ที่จุด Q
7. ใช้ Q เป็นจุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้ง CT สัมผัสที่จุด C และ T
ตามต้องการ ดังรูปที่ 31(ข)

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง 35
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง (ต่อ)
5. การเขียนส่วนโค้งกลับสัมผัสกับเส้นตรง AB, BC, และ CD

1. สมมติจุดสัมผัส T1 (ซึ่งรู้ตาแหน่ง) บนเส้น BC


2. วัด BT2=BT1 และ CT3=CT1 จะได้จุด T2 และ T3 บนเส้น AB
และ CD ตามลาดับ
3. ลากเส้นตั้งฉากกับเส้น AB, BC, และ CD ที่จุด T2 ,T2 , และ T3
ตามลาดับ ไปตัดกันที่จุด P และ Q
4. ใช้ P และ Q เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี PT2 และ QT1 ตามลาดับ
เขียนส่วนโค้งกลับสัมผัสกับเส้นตรงทั้งสามตามต้องการดังรูปที่
32

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง 36
หัวข้อการเรียนรู้
1. การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน
2. การเขียนเส้นตั้งฉาก
3. การแบ่งเส้นตรง
4. การแบ่งมุม
5. การเขียนวงกลม
6. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง
8. การเขียนรูปหลายเหลีย่ มด้านเท่า
9. การเขียนวงรี
การเขียนรูปเรขาคณิต | หัวข้อการเรียนรู้ 37
8. การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า
1. การเขียนหกเหลี่ยมด้านเท่า (Regular hexagon)
ก) กาหนดระยะขวางมุม AB
วิธีที่ 1 ใช้วงเวียน
1. เขียนวงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง AB
2. ใช้ A และ B เป็นจุดศูนย์กลางรัศมีเท่าเดิม เขียนส่วน
โค้งตัดเส้นรอบวงที่จุด C, D, E, และ F
3. ลากเส้นตรงต่อจุดเหล่านี้ จะได้รูปหกเหลี่ยมด้านเท่า
ตามที่ต้องการ ดังแสดงในรูปที่ 33(ก)

วิธีที่ 2 ใช้ฉากสามเหลี่ยม 30°-60°


ลากเส้นตามลาดับหมายเลข ดังแสดงในรูปที่ 33(ข)

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า 38
8. การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า (ต่อ)
ข) กาหนดระยะขวางด้านเรียบ CD
ระยะขวางด้านเรียบ ก็คือเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมซึ่ง
อยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า
1. เขียนวงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง CD
2. ใช้ฉากสามเหลี่ยม 30°-60° ลากเส้นสัมผัสวงกลม ดัง
แสดงในรูปที่ 34

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า 39
8. การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า (ต่อ)
2. การเขียนรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า (Regular pentagon) อยู่ภายในวงกลม
1. เขียนวงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง AB และ O เป็นจุดศูนย์กลาง
2. ลาก OC ตั้งฉากกับ AB ตัดเส้นรอบวงที่จุด C
3. แบ่งครึ่ง OB ที่จุด D ใช้ D เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี DC เขียนส่วนโค้งตัด AB
ที่ E
4. ใช้ C เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี CE เขียนส่วนโค้งตัดเส้นรอบวงที่จุด F และ G
5. ใช้ F และ G เป็นจุดศูนย์กลางรัศมีเท่าเดิมเขียนส่วนโค้งตัดเส้นรอบวงที่จุด
H และ I
6. ลากเส้นต่อจุดเหล่านี้ จะได้รูปห้าเหลี่ยมด้านเท่าตามต้องการ ดังแสดงใน
รูปที่ 35

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า 40
8. การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า (ต่อ)

3. การเขียนรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่าอยู่ภายในสี่เหลี่ยมจัตุรัส
1. ลากเส้นทะแยงมุมของสี่เหลี่ยมจัตุรัส
2. ใช้จุดมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นจุดศูนย์กลางรัศมีเท่ากับครึ่งหนึ่งของเส้น
ทะแยงมุม เขียนส่วนโค้งตัดด้านของสี่เหลี่ยม
3. ลากเส้นต่อจุดเหล่านั้นเข้าด้วยกัน จะได้รูปแปดเหลี่ยมด้านเท่าตาม
ต้องการ ดังแสดงในรูปที่ 36

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า 41
8. การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า (ต่อ)
4. การเขียนรูปเจ็ดเหลี่ยมด้านเท่าเมื่อกาหนดด้านหนึ่งด้าน
AB เป็นด้านที่กาหนดให้
1. ใช้ A เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี AB เขียนครึ่งวงกลม
2. ใช้ดิไวเดอร์แบ่งครึ่งวงกลมออกเป็น 7 ส่วนเท่าๆกัน
3. จากจุดแบ่ง 2 ด้านซ้ายมือ ลาก A2 และลาก A3, A4, A5, A6 ต่อออกไป
ด้านนอกครึ่งวงกลม
4. ใช้ B เป็นจุดศูนย์กลางรัศมีเท่ากับ AB ตัด A6 ที่ต่อออกไปที่จุด C
5. ในทานองเดียวกัน ใช้รัศมีเท่าเดิมตัด A5, A4, และ A3 ที่ต่อออกไปที่จุด
D, E, และ F ตามลาดับ
6. ลากเส้นต่อจุดเหล่านั้นเข้าด้วยกัน จะได้รูปเจ็ดเหลี่ยมด้านเท่าตามต้องการ
ดังแสดงในรูปที่ 37

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า 42
หัวข้อการเรียนรู้
1. การเขียนเส้นตรงและเส้นขนาน
2. การเขียนเส้นตั้งฉาก
3. การแบ่งเส้นตรง
4. การแบ่งมุม
5. การเขียนวงกลม
6. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับเส้นตรงสองเส้น
7. การเขียนส่วนโค้งของวงกลมสัมผัสกับส่วนโค้งและเส้นตรง
8. การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่า
9. การเขียนวงรี
การเขียนรูปเรขาคณิต | หัวข้อการเรียนรู้ 43
9. การเขียนวงรี

วงรี เป็นรูปที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของจุดซึ่งผลรวมของระยะห่างจากจุด
นั้นกับจุดโฟกัส (Focus) สองจุดมีค่าคงที่เท่ากับแกนยาว AB หรือกล่าวได้ว่า
F1P + F2P = AB เสมอ ดูรูปที่ 38 จุดโฟกัส F1 และ F2 เป็นจุดตัดของแกน
ยาวกับส่วนโค้งที่มีรัศมีครึ่งแกนยาวและมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ปลายแกนสั้น

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนวงรี 44
9. การเขียนวงรี (ต่อ)
1. วิธีวงกลมร่วมศูนย์ (Concrentric circles method)

1. เขียนวงกลมร่วมศูนย์สองวง ซึ่งมีแกนยาว AB และแกนสั้น CD ของวงรี


เป็นเส้นผ่านศูนย์กลาง
2. แบ่งวงกลมออกเป็น 16 ส่วนเท่าๆกัน
3. จากจุดแบ่งต่างๆ เช่น P บนวงกลมวงใหญ่ลากเส้นตั้งฉากกับ AB ไปตัดกับ
เส้นแนวระดับที่ลากจากจุด P´ บนวงกลมวงเล็กตามลาดับ
4. เขียนส่วนโค้งผ่านจุดตัดของเส้นที่ลากจากจุด P-P´ จุด Q-Q´ กับจุด A, B,
C, และ D จะได้รูปวงรีตามต้องการ ดังรูปที่ 39

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนวงรี 45
9. การเขียนวงรี (ต่อ) 2. วิธีสี่จุดศูนย์กลาง (Four centers method)
วิธนี เ้ี ป็นการเขียนรูปวงรีโดยประมาณ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
ก) กรณีแกนสั้น ยาวน้อยกว่าสองในสามของแกนยาว
1. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี OA เขียนส่วนโค้งไปตัดกับ OD ที่ต่อออกไปที่
จุด E
2. ใช้ C เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี CE เขียนส่วนโค้งตัดกับ AC ที่จุด F ได้
CF=EO-CO
3. แบ่งครึ่ง AF ลากเส้นตั้งฉากผ่านจุดแบ่งครึ่งไปตัด AO ที่จุด G และตัด CD
ที่ต่อออกไป (ถ้าจาเป็น) ที่จุด H
4. วัด OG´= OG และ OH´ = OH ได้จุด G` และ H`
5. ใช้จุด G, G´, H และ H´เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี GA, G´B, HD และ H´E
เขียนส่วนโค้งของวงกลมที่สัมผัสกันเป็นรูปวงรีตามต้องการดังรูปที่ 40

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนวงรี 46
9. การเขียนวงรี (ต่อ)

ก) กรณีแกนสั้น ยาวเท่ากับสองในสามของแกนยาวขึ้นไป
1. วัด OE และ OF=AB-CD ได้จุด E และ F
2. วัด OG และ OH=(3/4)OE ได้จุด G และ H
3. ใช้จุด G, H, E และ F เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี GA, HB, ED, และ FC เขียน
ส่วนโค้งของวงกลมที่สัมผัสกันเป็นรูปวงรีตามต้องการ ดังรูปที่ 41

การเขียนรูปเรขาคณิต | การเขียนวงรี 47
เอกสารอ้างอิงการสอน

• จารูญ ตันติพิศาลกุล เขียนแบบวิศวกรรม 1 (เขียนแบบทั่วไป) พิมพ์


ครั้งที่ 5 (ปรับปรุงใหม่) พ.ศ. 2551
• ผศ.ดร.อภินันท์ ภูเก้าล้วน, สื่อการเรียนการสอนวิชาเขียนแบบ
วิศวกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

การเขียนรูปเรขาคณิต | เอกสารอ้างอิงการสอน 48

You might also like