You are on page 1of 13

METRO

Vol.25
No.W1-2023

LOGY info
WE CULTIVATE QUALITY CULTURE IN THAILAND

แนวทางการประเมิน
ค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก
(gravity: g)
CHIANGMAI
9 . 7 8 4 26 1 9 5 0 สําหรับการสอบเทียบ
m/s 2
เครื่องมือวัดด้านความดัน
แบบ On-site
ในประเทศไทย

?
? BANGKOK
9 . 7 8 2 9 7 0 3 41
m/s 2

SCAN FOR DOWNLOAD

สถาบั น มาตรวิ ท ยาแห่ ง ชาติ เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา


กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม บนเว็บไซต์ Metrology Explorer
แนวทางการประเมินค่าความเร่ง
เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก (gravity: g)

สำ�หรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความดัน
แบบ On-site ในประเทศไทย

ความเร่่งเนื่่�องจากแรงโน้้มถ่่วงของโลก (local gravity


acceleration) หรืือที่่�เรีียกกัันโดยทั่่�วไปว่่า local gravity หรืือ
ค่่า g มีีความสำำ�คััญต่่องานด้้านมาตรวิิทยาโดยเฉพาะงานด้้านเชิิงกล
เช่่น การวััดด้้านมวล การวััดด้้านแรง การวััดด้้านแรงบิิด และการวััด
ด้้านความดัันก็็เช่่นกััน โดยเฉพาะการสอบเทีียบที่่�จำำ�เป็็นต้้องรู้้�ค่่า g
ในบริิเวณที่่�สอบเทีียบ เพื่่� อใช้้ในการคำำ�นวณและแก้้ค่่าผลการวััดที่่�ได้้
อย่่างถููกต้้อง
ปัั จ จุุ บัั นห้้ อ งปฏิิ บัั ติิ ก ารสอบเทีียบเครื่่� อ งมืือวัั ด ด้้ า นความดัั น
ภายในประเทศที่่�มีีการสอบเทีียบภายในห้้องปฏิิบััติิการนั้้�น จำำ�เป็็นต้้อง
หาค่่า g ในพื้้� นที่่�ที่่�จะทำำ�การสอบเทีียบ ซึ่่�งอาจใช้้บริิการวััดค่่าโดย มว.
หรืือการคำำ�นวณโดยสมการอยู่่�แล้้ว แต่่ในการสอบเทีียบแบบนอก
สถานที่่� หรืือแบบ On-site นั้้�นเป็็นเรื่่�องยากที่่�จะหาค่่า g ดัังกล่่าว
ในทุุกพื้้� นที่่�ที่่�จะทำำ�การสอบเทีียบ
บทความนี้้� มีีวัั ตถุุ ป ระสงค์์ ที่่� จ ะนำำ� เสนอแนวทางในการประเมิิ น
ค่่า g พร้้อมทั้้�งค่่าความไม่่แน่่นอน (Uncertainty) สำำ�หรัับใช้้ในการ
สอบเทีียบเครื่่�องมืือวััดด้้านความดััน แบบ On-site เพื่่� อเป็็นข้้อมููล
สำำ�หรัับห้้องปฏิิบััติิการที่่�ต้้องการสอบเทีียบเครื่่�องมืือวััดด้้านความดััน
แบบ On-site ในประเทศไทย

1 METROLOGY info เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา


Vol.25 No. W1-2023 บนเว็บเพจ Metrology Explorer [mx.nimt.or.th]
1. การหาค่า g การหาค่า g หรือค่า local gravity สำ�หรับห้อง
ปฏิบัติการหรือบริเวณที่จะทำ�การสอบเทียบ สามารถทำ�ได้
สำ�หรับ 2 วิธีหลักๆ คือ การวัดโดยเครื่องมือวัดค่า g และการ
คำ�นวณโดยสมการ
ห้องปฏิบัติการ 1. การวัดค่า g โดยใช้เครื่องมือวัด
คือการวัดค่า g ณ ตำ�แหน่งที่ต้องการทราบค่า g
โดยเครื่องมือวัดที่ใช้ แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ
▶ การวัดด้วย Absolute gravimeter และ
▶ การวัดด้วย Relative gravimeter
ซึ่ง มว. ได้เปิดให้บริการสอบเทียบในทั้ง 2 พารามิเตอร์
นี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีค่า Uncertainty อยู่ที่
ประมาณ 0.1 ppm สำ�หรับการวัดแบบ Absolute และ
1 ppm สำ�หรับการวัดแบบ Relative ภาพเครื่องมือวัด
ค่า g ของ มว. ดังแสดงในรูปที่ 1

รูปที่ 1 เครื่องมือวัดค่า g ของ มว.

METROLOGY info
2
เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บเพจ Metrology Explorer [mx.nimt.or.th] Vol.25 No. W1-2023
2. การคำ�นวณหาค่า g โดยสมการ
ปัจจุบันมีหลายสมการที่ใช้ในการคำ�นวณหาค่า g แต่ในประเทศไทย สมการที่
นิยมใช้ คือ สมการที่แนะนำ�โดย International Association of Geodesy, IAG
ดังแสดงในสมการด้านล่าง

gφ,h = g0,0(1 + β1 sin2φ - β2 sin2φ ) - 3.086 x 10-6 h

เมื่อ gφ,h = ค่า gravity ณ ตำ�แหน่งใดๆ, m/s2


g0,0 = ค่า gravity ที่ตำ�แหน่งเส้นศูนย์สูตร และระดับทะเลปานกลาง
(9.7803184 m/s2)
β1 = ค่าคงที่ (0.0053024)
β2 = ค่าคงที่ (0.0000059)
h = ความสูงเหนือระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง, m
φ = ตำ�แหน่งเส้นรุ้ง, องศา

จากสมการดังกล่าว ผู้ใช้งานหรือ
ห้องปฏิบัติการจำ�เป็นต้องทราบค่า h และ
φ ณ ตำ�แหน่งที่ต้องการคำ�นวณค่า ซึ่ง
สามารถหาได้จากหลายวิธี แต่ปัจจุบันวิธี
ที่แนะนำ�ให้ใช้กันคือ จากแผนที่ของกรม
แผนที่ทหาร ในระวางอัตราส่วน 1:50,000
เนื่ องจากเป็ นเอกสารอ้างอิงทางราชการ
และจากสมการดังกล่าวค่า Uncertainty
ยอมรับกันอยู่ท่ี ±50 ppm

ravity
3 METROLOGY info เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
Vol.25 No. W1-2023 บนเว็บเพจ Metrology Explorer [mx.nimt.or.th]
2. ความแตกต่างของค่า g ในแต่ละพื้ นที่
้ อยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความสูงเหนือระดับ
ค่า g แต่ละพื้ นที่จะแตกต่างกัน ขึน
น้ำ�ทะเลปานกลาง ตำ�แหน่งละติจูด ลักษณะทางธรณีวิทยา นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผล
กระทบระยะสั้น เช่น ตำ�แหน่งของดวงจันทร์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำ�ให้เกิดน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลง เป็นต้น
ค่า standard gravity (gn) = 9.80665 m/s2 (@ latitude 45°, ระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง)
ทั่วโลก จะมีค่า g ณ ตำ�แหน่งต่างๆ แตกต่างกันไปไม่เกิน ± 0.5 % ของค่า gn สำ�หรับ
ประเทศไทยนั้น ได้มีการวัดค่า g ใน 7 จุด ทั่วประเทศเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 ถึง 2544
โดย มว. ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ผลการ
วัดที่ได้ แสดงดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 ค่า g 7 จุด ทั่วประเทศ


(ดำ�เนินการวัดในปี พ.ศ. 2543 ถึง 2544)

METROLOGY info
4
เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บเพจ Metrology Explorer [mx.nimt.or.th] Vol.25 No. W1-2023
3. การหาค่า g สำ�หรับการสอบเทียบนอกสถานที่
(แบบ On-site)
สำ�หรับการสอบเทียบแบบ On-site นั้น ไม่อาจทำ�ได้ อีกทั้งอาจไม่มีความจำ�เป็นต้อง
ค่า g ณ ตำ�แหน่งสอบเทียบ ยังมีความจำ�เป็น หาค่า g ก็เป็นได้ ดังนั้น บทความนี้จึงได้
ที่จะต้องใช้ในการคำ�นวณ และแก้คา่ ผลการวัด นำ�เสนอวิธีการหาค่า g พร้อมทั้งประมาณการ
ให้ถูกต้อง ถึงแม้ว่าความถูกต้องแม่นยำ�ของ ค่า Uncertainty เพ่ื อใช้ในการสอบเทียบ
ผลการสอบเทียบที่ ต้ อ งการจะไม่ สู งมากนั ก เครื่องมือวัดด้านความดัน แบบ On-site ใน
ก็ตาม แต่การหาค่า g จากวิธีการข้างต้น ประเทศไทย สำ�หรับเป็นทางเลือก ดังนี้
(โดยการวัดและการคำ�นวณ) อาจยุ่งยาก หรือ

ใช้ค่าเฉลี่ยจากค่า g ทีว่ ัดได้จาก 7 จุดทั่วประเทศ (ตามรูปที่ 2)


และใช้ผลต่างสูงสุดมาประเมินเป็นค่า Uncertainty ของค่า g
ผลที่ได้เป็นดังนี้

ประเทศไทย
่ (1) = 9.782990754 m/s2
▶ ค่า g เฉลีย
▶ ความแตกต่างสูงสุดทัว่ ประเทศไทย
= 0.003056264 m/s2 (2) หรือ 312.4 ppm (3)

▶ Uncertainty (4) = 320 ppm


หมายเหตุ
(1) ค่า g เฉลี่ย ได้มาจากการหาค่าเฉลี่ยจากผลการวัด 7 จุดทั่วประเทศไทย ดังแสดงในรูปที่ 2
(2) ความแตกต่างสูงสุด 0.003056264 m/s2 คำ�นวณจากค่าสูงสุด ณ ตำ�แหน่ง เชียงใหม่
ลบด้วย ค่าต่ำ�สุด ณ ตำ�แหน่ง สงขลา
(3) ความแตกต่างสูงสุด 312.4 ppm คำ�นวณจาก ค่าความแตกต่างสูงสุด
0.003056264 m/s2 เทียบกับ ค่าเฉลี่ยที่คำ�นวณได้
(4) ค่า Uncertainty ของค่า g เฉลี่ย ซึ่ง round up ขึ้นจากค่าความแตกต่างสูงสุดที่
คำ�นวณได้

สรุป ่ ทั่วประเทศไทย = 9.782990754 m/s2


ได้ค่า g เฉลีย
ที่ความไม่แน่นอน (Uncertainty) = 320 ppm

5 METROLOGY info เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา


Vol.25 No. W1-2023 บนเว็บเพจ Metrology Explorer [mx.nimt.or.th]
4. ผลกระทบกับการสอบเทียบ
เครื่องมือวัดด้านความดัน
จากข้อสรุปการหาค่า g สำ�หรับการสอบเทียบแบบ On-site ในข้อที่ 3 เมือ่ ทดลองนำ�มา
คำ�นวณเพื่ อหาผลกระทบที่จะเกิดขน้ึ จากการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความดัน โดยเฉพาะผลกระทบ
จากค่า Uncertainty รวมที่จะเกิดขึ้น โดยการเปรียบเทียบค่าความไม่แน่นอนจากค่า g, (ug,Δh) ที่
คำ�นวณได้จากสมการ ug,∆h = (ρƒ-ρa)xU(g)x∆h)/√3 กับ Accuracy ของเครื่องมือ (UUC)

กรณีท่ี 1 การสอบเทียบ Gas measuring device


โดยมีเงื่อนไขดังนี้ Range = (0 to 100) bar, Accuracy = 0.01 %rdg
tgas = 25 °C, Δh = 0.3 m
gmean = 9.782990754 m/s, U(g) = 320 ppm
ผลคำ�นวณได้ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ผลการเปรียบเทียบค่าความไม่แน่นอนจากค่า g, (ug,Δh) กับ Accuracy ของ


เครื่องมือ (UUC) ในกรณีการสอบเทียบ Gas measuring device

Pressure ρf ug,Δh Accuracy UUC ug,Δh น้อยกว่า


(bar) (kg/m3) (0.01 %rdg) Accuracy UUC
(bar) (ppm) (bar) (เท่า)
10 12.886 6.34E-08 0.0063 0.0010 15,782
20 24.586 1.27E-07 0.0063 0.0020 15,772
30 36.287 1.90E-07 0.0063 0.0030 15,769
40 47.987 2.54E-07 0.0063 0.0040 15,767
50 59.688 3.17E-07 0.0063 0.0050 15,766
60 71.388 3.81E-07 0.0063 0.0060 15,765
70 83.089 4.44E-07 0.0063 0.0070 15,765
80 94.789 5.07E-07 0.0063 0.0080 15,765
90 106.489 5.71E-07 0.0063 0.0090 15,764
100 118.190 6.34E-07 0.0063 0.0100 15,764

METROLOGY info
6
เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บเพจ Metrology Explorer [mx.nimt.or.th] Vol.25 No. W1-2023
จากผลในตารางที่ 1 จะเห็นได้ว่า จากเงื่อนไขข้างต้น และ Accuracy ของ UUC
0.01 %rdg ค่า ug,Δh ที่ประเมินได้มีค่าน้อยกว่า Accuracy ของ UUC มากกว่า 15,000 เท่า
ในทุกจุด Pressure ที่ประเมิน และเมื่อเปรียบเทียบที่ Accuracy อื่นๆ ของ UUC จะได้ผล
ดังแสดงในตารางที่ 2 และรูปที่ 3

ตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบค่าความไม่แน่นอนจากค่า g, (ug,Δh) กับ Accuracy ของ


เครื่องมือ (UUC) ในกรณีการสอบเทียบ Gas measuring device ที่
Accuracy UUC ต่าง ๆ
Pressure ug,Δh น้อยกว่า Accuracy UUC (เท่า)
(bar) 0.01 %rdg 0.02 %rdg 0.05 %rdg 0.1 %rdg 0.5 %rdg 1 %rdg
10 15,782 31,563 78,908 157,817 789,083 1,578,165
20 15,772 31,544 78,860 157,719 788,595 1,577,190
30 15,769 31,537 78,843 157,687 788,433 1,576,865
40 15,767 31,534 78,835 157,670 788,351 1,576,703
50 15,766 31,532 78,830 157,661 788,303 1,576,605
60 15,765 31,531 78,827 157,654 788,270 1,576,540
70 15,765 31,530 78,825 157,649 788,247 1,576,494
80 15,765 31,529 78,823 157,646 788,230 1,576,459
90 15,764 31,529 78,822 157,643 788,216 1,576,432
100 15,764 31,528 78,821 157,641 788,205 1,576,411

รูปที่ 3 กราฟแสดง
ผลการเปรียบเทียบค่า
ug,Δh กับ Accuracy
ของเครื่องมือ (UUC)
ในกรณีการสอบเทียบ
Gas measuring
device ที่ Accuracy
UUC ต่าง ๆ

7 METROLOGY info เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา


Vol.25 No. W1-2023 บนเว็บเพจ Metrology Explorer [mx.nimt.or.th]
จากในตารางที่ 2 และรูปที่ 3 จะเห็นได้ว่าเมื่อ Accuracy ของ UUC จาก 0.01 %rdg ถึง
1 %rdg ค่า ug,Δh ที่ประเมินได้จะยิ่งมีค่าน้อยกว่า Accuracy ของ UUC มากขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึง
กว่า 1.5 ล้านเท่าที่ Accuracy 1 %rdg

กรณีท่ี 2 การสอบเทียบ Hydraulic measuring device


โดยมีเงื่อนไขดังนี้ Range = (0 to 1000) bar, Accuracy = 0.01 %rdg
toil = 25 °C, Δh = 0.3 m
gmean = 9.782990754 m/s, U(g) = 320 ppm
ผลคำ�นวณได้ดังแสดงในตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบค่าความไม่แน่นอนจากค่า g, (ug,Δh) กับ Accuracy ของ


เครื่องมือ (UUC) ในกรณีการสอบเทียบ Hydraulic measuring device
ug,Δh Accuracy UUC ug,Δh น้อยกว่า
Pressure ρf (0.01 %rdg) Accuracy UUC
(bar) (kg/m3) (bar) (ppm) (bar) (เท่า)
10 870.00 4.61E-06 0.461 0.0010 217
20 870.00 4.61E-06 0.230 0.0020 434
30 870.00 4.61E-06 0.154 0.0030 651
40 870.00 4.61E-06 0.115 0.0040 868
50 870.00 4.61E-06 0.092 0.0050 1,085
60 870.00 4.61E-06 0.077 0.0060 1,302
70 870.00 4.61E-06 0.066 0.0070 1,519
80 870.00 4.61E-06 0.058 0.0080 1,736
90 870.00 4.61E-06 0.051 0.0090 1,953
100 870.00 4.61E-06 0.046 0.010 2,170
200 870.00 4.61E-06 0.023 0.020 4,340
300 870.00 4.61E-06 0.015 0.030 6,511
400 870.00 4.61E-06 0.012 0.040 8,681
500 870.00 4.61E-06 0.009 0.050 10,851
600 870.00 4.61E-06 0.008 0.060 13,021
700 870.00 4.61E-06 0.007 0.070 15,192
800 870.00 4.61E-06 0.006 0.080 17,362
900 870.00 4.61E-06 0.005 0.090 19,532
1000 870.00 4.61E-06 0.005 0.100 21,702
METROLOGY info
8
เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บเพจ Metrology Explorer [mx.nimt.or.th] Vol.25 No. W1-2023
จากผลในตารางที่ 3" จะเห็นได้ว่า จากเงือ่ นไขข้างต้น และ Accuracy ของ UUC
0.01 %rdg ค่า ug,Δh ที่ประเมินได้ มีค่าน้อยกว่า Accuracy ของ UUC มากกว่า 200 เท่า
ในจุดที่ ความดัน 10 bar และเพิ่ มข้ึ นเรื่ อยๆ เม่ื อความดันเพิ่ มข้ึ น จนถึงมากกว่า
20,000 เท่าที่ความดัน 1,000 bar และเมื่อเปรียบเทียบที่ Accuracy อื่นๆ ของ UUC
จะได้ผลดังแสดงในตารางที่ 4 และรูปที่ 4

ตารางที่ 4 ผลการเปรียบเทียบค่าความไม่แน่นอนจากค่า g, (ug,Δh) กับ Accuracy ของ


เครื่องมือ (UUC) ในกรณีการสอบเทียบ Hydraulic measuring device
ที่ Accuracy UUC ต่าง ๆ

Pressure ug,Δh น้อยกว่า Accuracy UUC (เท่า)


(bar) 0.01 %rdg 0.02 %rdg 0.05 %rdg 0.1 %rdg 0.5 %rdg 1 %rdg
10 217 434 1,085 2,170 10,851 21,702
20 434 868 2,170 4,340 21,702 43,404
30 651 1,302 3,255 6,511 32,553 65,107
40 868 1,736 4,340 8,681 43,404 86,809
50 1,085 2,170 5,426 10,851 54,255 108,511
60 1,302 2,604 6,511 13,021 65,107 130,213
70 1,519 3,038 7,596 15,192 75,958 151,915
80 1,736 3,472 8,681 17,362 86,809 173,618
90 1,953 3,906 9,766 19,532 97,660 195,320
100 2,170 4,340 10,851 21,702 108,511 217,022
200 4,340 8,681 21,702 43,404 217,022 434,044
300 6,511 13,021 32,553 65,107 325,533 651,066
400 8,681 17,362 43,404 86,809 434,044 868,088
500 10,851 21,702 54,255 108,511 542,555 1,085,110
600 13,021 26,043 65,107 130,213 651,066 1,302,131
700 15,192 30,383 75,958 151,915 759,577 1,519,153
800 17,362 34,724 86,809 173,618 868,088 1,736,175
900 19,532 39,064 97,660 195,320 976,599 1,953,197
1000 21,702 43,404 108,511 217,022 1,085,110 2,170,219

9 METROLOGY info เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา


Vol.25 No. W1-2023 บนเว็บเพจ Metrology Explorer [mx.nimt.or.th]
รูปที่ 4 กราฟแสดงผลการเปรียบเทียบค่า ug,Δh กับ Accuracy ของเครื่องมือ (UUC)
ในกรณีการสอบเทียบ Hydraulic measuring device ที่ Accuracy UUC ต่าง ๆ

จากในตารางที่ 4 และรูปที่ 4 จะเห็นได้ว่าเมื่อ Accuracy ของ UUC จาก


0.01 %rdg ถึง 1 %rdg ค่า ug,Δh ที่ประเมินได้จะยิ่งมีค่าน้อยกว่า Accuracy
ของ UUC มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงความดันสูง ไปจนถึง กว่า 2 ล้าน
เท่าที่ Accuracy 1 %rdg

5. สรุปผล
จากผลการประเมินในข้อที่ 4 สามารถสรุปได้ว่า
หากใช้ค่า g เฉลี่ยทั่วประเทศไทย = 9.782990754 m/s2 ที่มีค่า
ความไม่แน่นอน (Uncertainty) = 320 ppm ในการสอบเทียบ
เครื่องมือวัดความดันแบบ On-site ในประเทศไทย ค่า ug,Δh ที่
เกิดขึ้น จะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำ�คัญต่อความถูกต้องของ
เครื่องมือที่ทำ�การสอบเทียบ ที่มี Accuracy ไม่ดีกว่า 0.01 %rdg

METROLOGY info
10
เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บเพจ Metrology Explorer [mx.nimt.or.th] Vol.25 No. W1-2023
เอกสารอ้างอิง เนื้อหาบทความ
1. ทัศนีย์ ไพรรื่นรมย์ และ ณัฐนันท์ วรเดช โดย
ฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล มว., “การวัดค่า ลิขิต ใสหนู
ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก ห้องปฏิบัติการความดัน
ในประเทศไทย และความสำ�คัญ (The และสุญญากาศ
measurement of gravity in Thailand กลุม่ งานกลศาสตร์ของไหล
and its importance)”, ฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล
https://www.nimt.or.th/main/?p=21307,
8 พ.ย. 2561.
2. Sylvia Lewis and G N Pegge, National
Physical Laboratory, “The Pressure Graphic design
Balance, A Practical Guide to its use”,
โดย
ISBN: 0950449652, Appendix II,
Page 45.
3. Physikalisch-Technische Bundesanstalt
(PTB), Guideline DKD-R 6-1 “Calibration ฐานิยา คัมภิรานนท์
of Pressure Gauge” Edition 03/2014. กลุ่มงานสื่อสารองค์การ

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศกึ ษา วิทยาศาสตร์ วิจยั และนวัตกรรม

3/4-5 หมู่ 3 ตำ�บลคลองห้า อำ�เภอคลองหลวง


จังหวัดปทุมธานี 12120
โทร. 0 2577 5100
email: pr@nimt.or.th

11 METROLOGY info เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา


Vol.25 No. W1-2023 บนเว็บเพจ Metrology Explorer [mx.nimt.or.th]
เรารวบรวม
เอกสารอ้างอิงด้านมาตรวิทยา
มาไว้ที่เว็บเพจ Metrology Explorer แล้ว

ห้ามพลาด!
สแกนเลย

สแกน... เพื่ อติดตามข้อมูลข่าวสารอื่นๆ ของ มว. ในหลากหลายช่องทาง

website: Facebook: Youtube: Instagram:


www.nimt.or.th nimt2541 @nimt2541 nimt_thailand

You might also like