You are on page 1of 16

ข้อสอบภาควิเคราะห์ข้อมูลระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 20
The Twentieth Thailand Astronomy Olympiad: 20th TAO
ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
27 พฤษภาคม 2566 เวลา 9:00 – 12:00 น.

คำแนะนำ
1. มีข้อสอบ 2 ข้อ คะแนนรวม 150 คะแนน ให้เวลาทำข้อสอบ 3 ชั่วโมง
2. ใช้ปากกาสีน้ำเงินหรือสีดำเท่านั้น
3. ในแต่ละข้อมีกระดาษสรุปคำตอบและกระดาษเขียนตอบ
4. กรรมการจะตรวจเฉพาะกระดาษสรุปคำตอบและกระดาษเขียนตอบเท่านั้น ใช้เฉพาะ
ด้านหน้าและเขียนภายในกรอบที่กำหนดให้เท่านั้น เขียนทุกสิ่งที่คิดว่าจำเป็นในการ
แสดงวิธีทำและต้องการให้ตรวจลงบนกระดาษเขียนตอบ
5. ในการตอบคำถามที่เป็น ตัวเลขต้องตอบให้มีจำนวนเลขนัยสำคัญที่สอดคล้อ งกับ
ข้อมูลที่ให้มา
6. ต้องใส่หมายเลขประจำตัวนักเรียนในช่องที่หัวกระดาษสรุปคำตอบและกระดาษเขียน
ตอบทุกแผ่นที่ใช้ นอกจากนั้นบนกระดาษเขียนตอบของแต่ละข้อให้เขียนเลขข้อและเลข
ลำดับหน้าของกระดาษเขียนตอบของข้อนั้น ด้านบนกระดาษเขียนตอบที่ใช้ทุกแผ่นให้
ชัดเจน ถ้าแผ่นใดใช้ทดหรือไม่ต้องการให้ตรวจให้ขีดกากบาทตลอดหน้านั้น
7. ถ้านักเรียนต้องการกระดาษเขียนตอบหรือกระดาษทดเพิ่มเติมให้แจ้งกรรมการคุมสอบ
8. เมื่อทำเสร็จแล้วให้จัดเรียงกระดาษสรุปคำตอบไว้บนสุด ตามด้วยกระดาษเขียนตอบ
กระดาษคำถาม กระดาษทด กระดาษเปล่าที่เหลือไว้ล่างสุด หนีบกระดาษทั้งหมดเข้า
ด้วยกันแล้วใส่ซองวางไว้บนโต๊ะสอบ

ห้ามนำกระดาษใดๆ ออกนอกห้องสอบโดยเด็ดขาด
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ข้อมูล 27 พฤษภาคม 2566

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ค่าต่อไปนี้กำหนดให้ใช้ได้

มวล (𝑀⊙ ) 1.99 × 1030 kg


รัศมี (𝑅⊙ ) 6.96 × 108 m
กำลังส่องสว่าง (𝐿⊙ ) 3.83 × 1026 W
โชติมาตรสัมบูรณ์ (ℳ☉) 4.80 mag
ดวงอาทิตย์
โชติมาตรปรากฏ (m☉) −26.74 mag
ขนาดเชิงมุมปรากฏ 0.5 degrees
ความเร็วในการโคจรรอบกาแล็กซี 220 km s−1
ระยะทางจากใจกลางกาแล็กซี 8.5 kpc

1 au 1.496 × 1011 m
1 pc 206265 au
ค่านิจโน้มถ่วงสากล (𝐺 ) 6.67 × 10−11 N ⋅ m2 ⋅ kg −2
Planck constant (ℎ) 6.62 × 10−34 J ⋅ s
Boltzmann constant (𝑘B ) 1.38 × 10−23 J ⋅ K −1 ค่าคงตัว
Stefan-Boltzmann constant (𝜎) 5.67 × 10−8 W ⋅ m−2 ⋅ K −4
Wien’s Displacement constant 2.898 × 10−3 m ⋅ K
Hubble constant (𝐻0 ) 67.8 km s−1 Mpc −1
อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ (𝑐) 2.99792458 × 108 m s−1

2
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครัง้ ที ่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ขอ้ มูล 27 พฤษภาคม 2566
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 1. มิ วออนและฟลักซ์โปรตอน [75 คะแนน]
การตรวจวัดฟลักซ์โปรตอนซึ่งเป็ นอนุ ภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ (Solar Energetic Particles,
SEPs) ผ่านดาวเทียมทาให้ทราบข้อมูลของการเกิดการพ่นมวลโคโรนา (Coronal Mass Ejections, CMEs
) มีประโยชน์ต่อการศึกษาผลกระทบของสภาพอวกาศ (Space Weather) เครื่อง SOHO/ERNE ตรวจวัด
ฟลักซ์โปรตอนโดยแบ่งช่วงพลังงานของโปรตอนทีต่ รวจวัดเป็ น 3 ช่วงพลังงาน ได้แก่ 1) 1.6-2.0 MeV (ต่า)
2) 16-20 MeV (กลาง) และ 3) 100-130 MeV (สูง)

รังสีคอสมิกจากกาแล็กซีเป็ นอนุ ภาคพลังงานสูง ซึ่งตรวจวัดบนโลกโดยตรงได้ยาก แต่เราสามารถ


ตรวจวัดทางอ้อ มได้จ ากการตรวจวัดอนุ ภาคมิว ออน ที่เ กิดจากอันตรกิริยาระหว่ างรัง สีค อสมิก กับ ชัน้
บรรยากาศของโลก สถานีตรวจวัดมิวออนเบลเกรด (Belgrade Muon Detector) เป็ นสถานีตรวจวัดมิวออน
บนพื้น โลกในประเทศเซอร์เ บีย ประกอบด้ว ยเครื่อ งตรวจวัด สองเครื่อ ง โดยเครื่อ งหนึ่ ง ติด ตัง้ บนพื้น
(Ground Level: GLL) และอีกเครื่องติดตัง้ ใต้พน้ื ดิน (Under Ground: UL)

การลดลงฟอร์บุช (Forbush Decreases: FD) เป็ นการลดลงของอัตราการนับของรังสีคอสมิ ก


จากกาแล็กซี ที่สามารถสังเกตการณ์ได้จากเครื่องตรวจวัดที่พื้นโลก การพ่นมวลโคโรนาเป็ นหนึ่งใน
เหตุการณ์ท่ที าให้เกิดการลดลงฟอร์บุช โดยทัวไปการลดลงนี
่ ้ จะมีระยะเวลาการเกิดตัง้ แต่ไม่ก่ชี วโมงถึ
ั่ ง
หลายวันก่อนที่จะกลับมาเป็ นปกติ การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของรังสีคอสมิกจากกาแล็กซีหาได้จาก
ความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลของอนุ ภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ (SEPs) เทียบกับอัตราการนับจาก
เครื่องตรวจวัดมิวออนทีพ่ น้ื โลก
รูป ที่ 1 แสดงข้อ มูล ฟลัก ซ์โ ปรตอนจาก SOHO/ERNE เทีย บกับ อัต ราการนั บ มิว ออนของสถานี
เบลเกรด จากช่ ว งการเกิด FD ของ 4 เหตุ ก ารณ์ ได้แ ก่ กุ ม ภาพัน ธ์ ค.ศ. 2011 มีน าคม ค.ศ. 2012
กันยายน ค.ศ. 2014 และ มิถุนายน ค.ศ. 2015 จากกราฟจะเห็นว่า ข้อมูลฟลักซ์ของโปรตอนพลังงานสูง
(ในช่วงพลังงาน 100-130 MeV) จาก SOHO/ERNE และอัตราการนับมิวออนที่ได้จากการสังเกตการณ์
จากสถานีตรวจวัดมิวออนเบลเกรด ของเหตุการณ์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 (รูปที่ 1.d) มีรูปแบบของ
การกระเพือ่ มขึน้ -ลงทีส่ อดคล้องกันมากทีส่ ุด

3
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครัง้ ที ่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ขอ้ มูล 27 พฤษภาคม 2566
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปที่ 1 ข้อมูลในช่วงเวลาทีเ่ กิดเหตุการณ์การลดลงฟอร์บุช 4 เหตุการณ์ ในแต่ละชุดของกราฟแสดงฟลักซ์


ของช่วงพลังงาน สูง-กลาง-ต่า จาก SOHO/ERNE และ 2 กราฟล่างแสดงอัตราการนับของเครื่องตรวจวัดที่
ติดตัง้ ใต้ดนิ (UL) และติดตัง้ บนพืน้ (GLL)
4
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครัง้ ที ่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ขอ้ มูล 27 พฤษภาคม 2566
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลเฉลีย่ รายเดือนระหว่างปี ค.ศ. 2010-2011 ของฟลักซ์โปรตอนทีต่ รวจวัดจาก
SOHO/ERNE ในหน่วย (cm2 • Sr • s • MeV)-1 และเครื่องตรวจวัดมิวออน GLL ในหน่วย อนุภาคต่อวินาที
(counts per second: cps) ระหว่างเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 ถึงพฤษภาคม ค.ศ. 2011 ซึง่ ช่วงเวลา
ดังกล่าวเป็ นช่วง Solar minimum

ตารางที่ 1 ข้อมูลเฉลีย่ รายเดือนของฟลักซ์โปรตอนทีต่ รวจวัดจาก SOHO/ERNE


และเครื่องตรวจวัดมิวออน GLL
GLL SOHO/ERNE ฟลักซ์โปรตอน (cm2 • Sr • s • MeV)-1
เดือน/ปี ค.ศ.
(cps) 1.6-2.0 MeV 16-20 MeV 100-130 MeV
กรกฎาคม 2010 622611 4.22 0.001004 0.000011
กันยายน 2010 621233 4.52 0.000776 0.000011
พฤศจิกายน 2010 636050 1.18 0.001024 0.000017
มกราคม 2011 635482 1.52 0.001188 0.000017
มีนาคม 2011 634443 1.58 0.001080 0.000016
พฤษภาคม 2011 628428 3.23 0.000912 0.000014

ในโจทย์ขอ้ นี้ เราจะนาข้อมูลทีต่ รวจวัดได้จากเครื่องตรวจวัดมิวออนทีต่ ดิ ตัง้ บนพืน้ โลกไปใช้ในการทานาย


ผลกระทบจากสภาพอวกาศ (Space Weather)

a) จงเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์แบบเชิงเส้นระหว่างฟลักซ์โปรตอนกับอัตราการนับมิวออนจาก
GLL สาหรับแต่ละช่วงพลังงาน (1.6-2.0 MeV 16-20 MeV และ 100-130 MeV) และแสดงวิธี
คานวณจากกราฟเพือ่ หาค่าความชันทีไ่ ด้จากความสัมพันธ์เชิงเส้นนัน้
[26 คะแนน]

b) จากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างฟลักซ์โปรตอนและอัตราการนับของมิวออนจาก GLL ทีไ่ ด้จาก


ข้อ a) พลังงานช่วงใดทีป่ ริมาณทัง้ สองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันดีทส่ี ุด
[5 คะแนน]

5
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครัง้ ที ่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ขอ้ มูล 27 พฤษภาคม 2566
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฟลักซ์โปรตอนขึน้ อยู่กบั พลังงาน โดยสามารถแสดงในรูปแบบของสมการดังนี้
𝐹(𝐸) = 𝑎𝐸 𝑏 (1)

เมื่อ 𝐹(𝐸) เป็ นฟลักซ์ในหน่วย (cm2 • Sr • s • MeV)-1 และ 𝐸 เป็ นพลังงานในหน่วย MeV โดยที่ 𝑎 และ 𝑏
เป็ นพารามิเตอร์ของฟั งก์ชนั กาลัง (Power Function) ตารางที่ 2 แสดงข้อมูลฟลักซ์โปรตอนทีว่ ดั ได้จาก
SOHO/ERNE ในแต่ละค่าพลังงาน

ตารางที่ 2 ข้อมูลของฟลักซ์โปรตอนในหน่วย (cm2 • Sr • s • MeV)-1 ของ SEPs ทีข่ น้ึ อยู่กบั พลังงาน ใน
หน่วย MeV ต่าง ๆ ในช่วงทีเ่ กิดเหตุการณ์การลดลงฟอร์บุชของทัง้ 4 เหตุการณ์

กุมภาพันธ์ 2011 มีนาคม 2012 กันยายน 2014 มิ ถนุ ายน 2015


พลังงาน ฟลักซ์โปรตอน พลังงาน ฟลักซ์โปรตอน พลังงาน ฟลักซ์โปรตอน พลังงาน ฟลักซ์โปรตอน
(MeV) (cm2•Sr•s•MeV)-1 (MeV) (cm2•Sr•s•MeV)-1 (MeV) (cm2•Sr•s•MeV)-1 (MeV) (cm2•Sr•s•MeV)-1
1.3 2.450 1.3 112.0 1.3 73.5 1.3 225.05
1.6 1.520 1.6 93.3 1.6 38.58 1.6 192.9
2.5 0.413 2.5 58.5 2.5 12.0 2.5 96.45
4.0 0.1033 4.0 32.0 4.0 3.09 4.0 32.15
6.4 0.0289 6.4 14.93 6.4 0.772 6.4 12.86
10.0 0.00785 10.0 7.47 10.0 0.175 10.0 1.929
13.0 0.00331 13.0 0.784 13.0 0.0463 13.0 0.257
20.0 0.00062 20.0 0.187 20.0 0.0116 20.0 0.026
32.0 0.00019 32.0 0.0747 32.0 0.0039 32.0 0.00129
50.0 0.00003 50.0 0.0149 50.0 0.00077 50.0 0.00006

6
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครัง้ ที ่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ขอ้ มูล 27 พฤษภาคม 2566
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

c) จากข้อมูลในตารางที่ 2 ให้ใช้วธิ เี ขียนกราฟเพือ่ หาค่า 𝑏 ซึง่ เรียกว่าค่าดัชนีสเปกตรัม (Spectrum


Index) ของอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ ของทัง้ 4 เหตุการณ์
โดยในการพล็อตข้อมูลลงในกราฟให้พล็อตทุกจุด แต่ในการลากเส้นแนวโน้มให้ใช้ขอ้ มูลเฉพาะช่วงที่
พลังงานน้อยกว่า 10 MeV เนื่องจากพลังงานมากกว่า 10 MeV อาจมีการตรวจจับรังสีคอสมิก
พลังงานสูงจากกาแล็กซี (GCRs) ปะปนกับอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ (SEPs) หากเรา
ต้องการศึกษาผลกระทบของสภาพอวกาศจากดวงอาทิตย์จาเป็ นต้องศึกษาช่วงพลังงานต่ากว่า 10
MeV
[34 คะแนน]

การเกิดเหตุการณ์การลดลงฟอร์บุชทัง้ 4 เหตุการณ์ มีขนาดทีส่ ง่ ผลกระทบต่อทรงกลมสนามแม่เหล็ก


โลกไม่เท่ากัน จากข้อมูลทีบ่ นั ทึกไว้พบว่าแต่ละเหตุการณ์ มีการบันทึก FD magnitude ของการเปลีย่ นแปลง
เอาไว้ในหน่วยของร้อยละทีล่ ดลงจากสภาวะปกติ (%) ดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ตารางแสดง magnitude ของการลดลงฟอร์บุชของทัง้ 4 เหตุการณ์


เดือน/ปี ที่เกิ ด FD ร้อยละที่ลดลงจากสภาวะปกติ
FD Magnitude (%)
กุมภาพันธ์ 2011 3.1
มีนาคม 2012 13.5
กันยายน 2014 3.1
มิถุนายน 2015 12.8

d) จงเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของการลดลงฟอร์บุช (FD Magnitude) จากตารางที่


3 กับค่าดัชนีสเปกตรัมของ SEPs ทีไ่ ด้จากข้อ (c) ของเหตุการณ์ทงั ้ สีค่ รัง้ กราฟทีไ่ ด้แสดง
ความสัมพันธ์เป็ นเส้นตรง จงหาสมการแสดงความสัมพันธ์ดงั กล่าว
[10 คะแนน]
หมายเหตุ สมการทีไ่ ด้สามารถใช้ทานายค่าดัชนีสเปกตรัมของ SEPs เมื่อเกิดเหตุการณ์การลดลง
แบบฟอร์บุชทีส่ ามารถตรวจจับได้จากเครื่องตรวจวัดมิวออนทีต่ ดิ ตัง้ บนพืน้ ได้ มีประโยชน์มากต่อการนาไป
พัฒนา Empirical Model สาหรับใช้ทานายผลกระทบของสภาพอวกาศ (Space Weather) ต่อไป

7
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครัง้ ที ่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ขอ้ มูล 28 พฤษภาคม 2566
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 2. คลื่นความโน้มถ่วง [75 คะแนน]
คลื่นความโน้มถ่วง (Gravitational Waves, GW) คือ ความผันผวนของความโค้งในปริภูมิ-เวลา
(Spacetime) ซึง่ แผ่ออกไปด้วยความเร็วแสง โดยมีแหล่งกำเนิดจากมวลที่มีความเร่ง เช่น การโคจรรอบกันและกัน
ของดาวคู่ การชนกันของหลุมดำ โดยการมีอยู่ของคลื่นความโน้มถ่วงถูกทำนายโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในปี ค.ศ.
1916

เมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ.2015 ได้มีการสังเกตคลื่นความโน้มถ่วงได้โดยตรง (direct observation) เป็น


ครั้งแรก โดยหอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง The Laser Interferometer Gravitational-Wave
Observatory (LIGO) เหตุการณ์นี้มีชื่อว่า GW150914 (GW ปี เดือน วัน) ซึ่งคลื่นความโน้มถ่วงที่วัดได้นี้เกิดจาก
การชนกันของหลุมดำคู่ (Binary Black Hole: BBH)

จากการจำลองเหตุการณ์ของ LIGO พบว่าตำแหน่งของเหตุการณ์ GW150914 ยังมีความไม่แน่นอนสูง แต่


เชื่อว่า มีระยะกำลังส่องสว่าง 𝑑𝐿 = 430 ± 160 Mpc และมีการแผ่พลังงานคลื่นความโน้มถ่วง 𝐸rad =
3.1 M⊙ 𝑐 2 ในขณะเดียวกัน ยังมีการให้กำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านแสงทีป
่ ลดปล่อยออกมาเป็นกำลังส่อง
สว่างเฉลี่ย (𝐿) เป็นระยะเวลาช่วงหนึ่ง (Δ𝑡) สามารถประมาณได้ตามสมการ
𝐸rad
𝐿~
𝑡
(1)

โดย 𝛼 เป็นสัดส่วนการปลดปล่อยพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อพลังงานคลื่นโน้มถ่วงทั้งหมด และ 𝛼 ควรมีค่าอยู่


ในช่วง 0 < 𝛼 ≤ 1

สำหรับแหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วงที่ระยะกำลังส่องสว่าง (Luminosity distance, 𝑑GW) ที่ปลดปล่อย


คลื่นแสงด้วยนั้น ค่าโชติมาตรปรากฏของวัตถุ 𝑚GW สามารถประมาณได้ดังสมการที่ 2
𝐿
𝑚GW = 𝐶 − 2.5 log10 (𝑑2 ) (2)
GW

โดย 𝐶 เป็นค่าคงตัว

จากการติดตามเหตุการณ์เพื่อค้นหาแหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วง GW150914 ด้วยกล้องโทรทรรศน์และ


อุปกรณ์ CCD ทำให้ค้นพบวัตถุทคี่ าดว่าจะเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วง 7 ดวง ดังแสดงในตารางที่ 1

8
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครัง้ ที ่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ขอ้ มูล 28 พฤษภาคม 2566
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตารางที่ 1 ค่าโชติมาตรปรากฏ (Magnitude) และลิมิตโชติมาตรปรากฏ (Limiting magnitude)


(ซึ่งเป็นค่าสูงสุดที่สามารถวัดได้ด้วยกล้องนั้น) ของวัตถุ (object) ที่บันทึกได้ ณ เวลาสังเกตการณ์
หลังจากเกิดเหตุการณ์คลื่นความโน้มถ่วง (Observation delay) ในพื้นที่ท้องฟ้าที่อาจจะเป็น
แหล่งให้กำเนิดคลื่นความโน้มถ่วง GW150914 ณ เวลาเกิดเหตุการณ์ขณะนั้น (Trigger time)

a) จงหาค่าคงที่ 𝐶 ในสมการที่ 2 ซึ่งเป็นสมการประมาณค่าของโชติมาตรปรากฏ (𝑚GW) สำหรับเหตุการณ์


คลื่นความโน้มถ่วง โดยใช้ข้อมูลของกำลังส่องสว่างของดวงอาทิตย์ในหน่วย วัตต์ และ ระยะทางในหน่วย
เมตร
[5 คะแนน]

b) จงหาค่ากำลังส่องสว่าง (𝐿) และสัดส่วน (𝛼) ของวัตถุทั้ง 7 ในตารางที่ 1 โดยใช้ 𝑑GW = 𝑑𝐿 และใช้


Δ𝑡 = เวลาสังเกตการณ์หลังจากการเกิดเหตุการณ์คลื่นความโน้มถ่วง (Observation delay )
[15 คะแนน]

c) จากค่าของลิมิตโชติมาตรปรากฏ (limiting magnitude) ในตารางที่ 1 จงคำนวณหาลิมิตโชติมาตร


สัมบูรณ์ (limiting absolute magnitude) ของวัตถุทั้ง 7 โดยใช้ค่า 𝑑GW = 𝑑𝐿

หลังจากนั้นหาค่ามัธยฐาน (median) ของลิมิตโชติมาตรสัมบูรณ์ โดยค่ามัธยฐานคือค่าที่มีตำแหน่งอยู่


กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียงข้อมูลจากค่าที่น้อยที่สุดไปหาค่าที่มากที่สุด
[9 คะแนน]

9
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครัง้ ที ่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ขอ้ มูล 28 พฤษภาคม 2566
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เราจะเห็นว่าค่าระยะกำลังส่องสว่าง (Luminosity distance) ที่วัดได้ยังคงมีความคลาดเคลื่อน ซึ่งทำให้ใน
การหาค่าความสว่างที่น้อยที่สุดของวัตถุที่สามารถสังเกตการณ์ได้นั้นมีความแตกต่างกันไปตามระยะห่างที่แท้จริง
ของวัตถุนั้น

หากแบ่งช่วงระยะกำลังส่องสว่างเป็นช่วงที่มีขนาด Δ𝑥 เท่าๆ กัน ความน่าจะเป็น 𝑃𝑥 ทีจ่ ะพบวัตถุต้น


กำเนิด GW150914 ภายในระยะนี้ (เมื่อพิจารณาใน 1 มิติของค่าระยะทาง) มีค่าประมาณ
1 𝑥−𝜇 2
1 − ( )
𝑃𝑥 =
𝜎√2𝜋
𝑒 2 𝜎 Δ𝑥 (3)

โดยที่ 𝑥 เป็นค่ากึ่งกลางของช่วง, 𝜇 = 430 Mpc และ 𝜎 = 160 Mpc เป็นค่าเฉลี่ยและค่าคลาดเคลื่อน


ในที่นี้เราจะใช้ Δ𝑥 = 100 Mpc

d) จงหาค่าความน่าจะเป็น 𝑃𝑥 ในช่วงระยะกำลังส่องสว่าง 0 − 1,000 Mpc โดยใช้ Δ𝑥 = 100 Mpc


และค่า 𝑥 ในสมการที่ (3) เป็นค่ากึ่งกลางของช่วงที่กำหนดไว้ในตารางในกระดาษสรุปคำตอบ
[10 คะแนน]

ในการพิจารณาระยะห่างที่เป็นไปได้จำเป็นต้องใช้การแจกแจงสะสม (Cumulative distribution, 𝑐(𝑥)) ซึ่งเป็น


ผลรวมของความน่าจะเป็นของช่วงที่ค่าระยะกำลังส่องสว่างน้อยกว่าหรือเท่ากับ 𝑥 อาทิ การแจกแจงสะสมที่
ระยะทาง 250 Mpc ในตาราง จะเป็นผลรวมของความน่าจะเป็น ที่มีระยะห่าง 50, 150 และ 250 Mpc เข้า
ด้วยกัน

e) จงหาค่าการแจกแจงสะสม (Cumulative distribution) ของระยะกำลังส่องสว่าง ในแต่ละระยะทาง


ในช่วง 0 − 1,000 Mpc เติมคำตอบลงในตารางในกระดาษสรุปคำตอบ
[5 คะแนน]

10
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครัง้ ที ่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปั ตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ขอ้ มูล 28 พฤษภาคม 2566
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในการคำนวณข้อย่อยต่อไปนี้ให้คิดว่า วัตถุในเหตุการณ์ GW150914 นั้นมีค่าโชติมาตรสมบูรณ์เท่ากับค่ามัธย
ฐานของลิมิตโชติมาตรสมบูรณ์ที่หามาได้ในข้อ c)

f) จงคำนวณโชติมาตรปรากฏของวัตถุดังกล่าว หากมีระยะห่างที่แท้จริงในช่วง 0 − 1,000 Mpc ในการ


คำนวณให้ค่ากลางของระยะทางในแต่ละช่วง เติมคำตอบในตารางในกระดาษสรุปคำตอบ
[10 คะแนน]
g) จงพล็อตกราฟแสดงโชติมาตรปรากฏของข้อ f) กับความน่าจะเป็นที่จะสังเกตการณ์วัตถุนี้ได้ (ค่าการแจก
แจงสะสม) พร้อมลากเส้นโค้งแสดงแนวโน้ม
[16 คะแนน]
h) จากกราฟในข้อ g) หากกล้องโทรทรรศน์กล้องหนึ่งมีความสามารถที่จะสังเกตเหตุการณ์ที่มีโชติมาตร
ปรากฏน้อยกว่า 17.0 โอกาสที่จะสังเกตการณ์เห็น GW150914 มีความน่าจะเป็นเท่าใด จงแสดงวิธีการ
หาคำตอบ
[5 คะแนน]

11
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ข้อมูล 27 พฤษภาคม 2566
รหัสนักเรียน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 1. มิ วออนและฟลักซ์โปรตอน [75 คะแนน]
a) กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างฟลักซ์ ให้พล็อตในกระดาษกราฟ
โปรตอนกับอัตราการนับมิวออนจาก GLL
สาหรับทัง้ สามช่วงพลังงาน

ความชันช่วงพลังงาน 1.6-2.0 MeV


..................................................................
ความชันช่วงพลังงาน 16-20 MeV
..................................................................
ความชันช่วงพลังงาน 100-130 MeV
...................................................................

b) จากกราฟในข้อ a) พลังงานช่วงใดที่
ปริมาณทัง้ สองมีความสัมพันธ์ในทิศทาง
เดียวกันดีทส่ี ุด ...................................................................

1
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ข้อมูล 27 พฤษภาคม 2566
รหัสนักเรียน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

c) ตารางค่าสาหรับพล็อตข้อมูล

กุมภาพันธ์ 2011 มีนาคม 2012 กันยายน 2014 มิ ถนุ ายน 2015

กราฟเส้นตรงเพือ่ ใช้หาค่า 𝑏 ให้พล็อตในกระดาษกราฟ


ความชัน (ดัชนีสเปกตรัม) ของเหตุการณ์
กุมภาพันธ์ 2011 ……………………………..……………………………..…
ความชัน (ดัชนีสเปกตรัม) ของเหตุการณ์
มีนาคม 2012 ……………………………..……………………………..…
2
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ข้อมูล 27 พฤษภาคม 2566
รหัสนักเรียน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความชัน (ดัชนีสเปกตรัม) ของเหตุการณ์
กันยายน 2014 ……………………………..……………………………..…
ความชัน (ดัชนีสเปกตรัม) ของเหตุการณ์
มิถุนายน 2015 ……………………………..……………………………..…

d) กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาด ให้พล็อตในกระดาษกราฟ
ของการลดลงฟอร์บุช กับดัชนีสเปกตรัม
ของ SEPs

สมการแสดงความสัมพันธ์จากกราฟ

……………………………..……………………………..…

3
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ข้อมูล 27 พฤษภาคม 2566
รหัสนักเรียน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 2. คลื่นความโน้มถ่วง (Gravitational Waves) [75 คะแนน]
a) ค่าคงที่ 𝐶
..................................................................
b) ค่ากำลังส่องสว่าง (𝐿) และสัดส่วน (𝛼) ของวัตถุทั้ง 7

กำลังส่องสว่าง (𝐿)
วัตถุ สัดส่วน (𝛼)
(วัตต์)
1
2
3
4
5
6
7

c) ลิมิตโชติมาตรสัมบูรณ์ของวัตถุทั้ง 7

วัตถุ ลิมิตโชติมาตรสัมบูรณ์
1
2
3
4
5
6
7

ค่ามัธยฐานของลิมิตโชติมาตรสัมบูรณ์ ..................................................................

4
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 20 (ระดับมัธยมปลาย)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ข้อสอบภาควิเคราะห์ข้อมูล 27 พฤษภาคม 2566
รหัสนักเรียน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตารางสาหรับเติมคาตอบข้อ d), e), f)

ช่วงระยะกำลัง ค่ากึ่งกลางของ ค่าความน่าจะ ค่าการแจกแจง โชติมาตร


ส่องสว่าง ช่วง (𝑥) เป็น (𝑃𝑋 ) สะสม ปรากฏ
(Mpc) (Mpc)
0-100 50
100-200 150
200-300 250
300-400 350
400-500 450
500-600 550
600-700 650
700-800 750
800-900 850
900-1,000 950

g) วาดกราฟแสดงโชติมาตรปรากฏกับ ให้พล็อตในกระดาษกราฟ
ความน่าจะเป็น และลากเส้นโค้งแสดง
แนวโน้ม
h) ความน่าจะเป็นที่จะสังเกตการณ์เห็น
GW150914
..................................................................

You might also like