You are on page 1of 12

ข้อสอบภาคทฤษฎีระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมป�กระดับชาติ ครั้งที่ 19
The Nineteenth Thailand Astronomy Olympiad: 19th TAO
ณ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
15 มิถุนายน 2565 เวลา 9:00 – 13:00 น.

คำแนะนำ
1. มีขอ้ สอบ 12 ข้อ คะแนนรวม 250 คะแนน ให้เวลาทำข้อสอบ 4 ชั่วโมง
2. ใช้ปากกาสีน้ำเงินหรือสีดำเท่านั้น
3. ในแต่ละข้อมีกระดาษสรุปคำตอบและกระดาษเขียนตอบ
4. กรรมการจะตรวจเฉพาะกระดาษสรุปคำตอบและกระดาษเขียนตอบเท่านั้น ใช้เฉพาะ
ด้านหน้าและเขียนภายในกรอบที่กำหนดให้เท่านั้น เขียนทุกสิ่งที่คิดว่าจำเป�นในการ
แสดงวิธีทำและต้องการให้ตรวจลงบนกระดาษเขียนตอบ
5. ในการตอบคำถามที่เป�นตัวเลขต้องตอบให้มีจำนวนเลขนัยสำคัญที่สอดคล้อ งกับ
ข้อมูลที่ให้มา
6. ต้องใส่หมายเลขประจำตัวนักเรียนในช่องที่หัวกระดาษสรุปคำตอบและกระดาษเขียน
ตอบทุกแผ่นที่ใช้ นอกจากนั้นบนกระดาษเขียนตอบของแต่ละข้อให้เขียนเลขข้อและเลข
ลำดับหน้าของกระดาษเขียนตอบของข้อนั้นด้านบนกระดาษเขียนตอบที่ใช้ทุกแผ่นให้
ชัดเจน ถ้าแผ่นใดใช้ทดหรือไม่ต้องการให้ตรวจให้ขีดกากบาทตลอดหน้านั้น
7. ถ้านักเรียนต้องการกระดาษเขียนตอบหรือกระดาษทดเพิ่มเติมให้แจ้งกรรมการคุมสอบ
8. เมื่อทำเสร็จแล้วให้จัดเรียงกระดาษสรุปคำตอบไว้บนสุด ตามด้วยกระดาษเขีย นตอบ
กระดาษคำถาม กระดาษทด กระดาษเปล่าที่เหลือไว้ล่างสุด หนีบกระดาษทั้งหมดเข้า
ด้วยกันแล้วใส่ซองวางไว้บนโต๊ะสอบ

ห้ามนำกระดาษใดๆ ออกนอกห้องสอบโดยเด็ดขาด
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมป�กระดับชาติ ครั้งที่ 19 (ระดับมัธยมต้น)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ข้อสอบภาคทฤษฎี 15 มิถุนายน 2565
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ค่าต่อไปนี้กำหนดให้ใช้ได้
มวล (M⊕) 5.98 × 1024 kg
รัศมี (R⊕) 6.38 × 106 m
ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่ผิวโลก (g) 9.80 m s −2
ความเอียงของแกนโลก (axial tilt) 23°26′21″. 411
Tropical Year 365d 05h 48m 45.19s โลก
Sidereal Year 365d 06h 09m 09.76s
Sidereal day 23h 56m 04s
Albedo 0.29
Solar Constant (GSC) 1.36 × 103 W/m2
มวล (M☾) 7.35 × 1022 kg
รัศมี (R☾) 1.74 × 106 m
ระยะทางเฉลี่ยจากโลก 3.84 × 108 m ดวงจันทร์
ความเอียงวงโคจร 5.14°
Albedo 0.14
โชติมาตรปรากฏ (เต็มดวง) −12.74
มวล (M☉) 1.99 × 1030 kg
รัศมี (R☉) 6.96 × 108 m
กำลังส่องสว่าง (L☉) 3.83 × 1026 W
โชติมาตรสัมบูรณ์ (ℳ☉) 4.83 mag ดวงอาทิตย์
โชติมาตรปรากฏ (m☉) −26.74 mag
ขนาดเชิงมุมปรากฏ 0.5 degrees
ความเร็วในการโคจรรอบกาแล็กซี 220 km s−1
ระยะทางจากใจกลางกาแล็กซี 8.5 kpc
รัศมีดาวอังคาร 3.390 × 106 m
ระยะโคจรเฉลี่ย 1.52 AU ดาวอังคาร
Albedo 0.170
1 AU 1.496 × 1011 m
1 pc 206265 AU
ค่านิจโน้มถ่วงสากล (G) 6.67 × 10−11 N ⋅ m2 ⋅ kg −2
Planck constant (h) 6.626 × 10−34 J ⋅ s
Boltzmann constant (kB) 1.38 × 10−23 J ⋅ K −1
Stefan-Boltzmann constant (σ) 5.67 × 10−8 W ⋅ m−2 ⋅ K −4 ค่าคงตัว
Wien’s Displacement constant 2.898 × 10−3 m ⋅ K
Hubble constant (H0) (จาก WMAP) 71.0 km s−1 Mpc −1
อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ (c) 2.99792458 × 108 m s−1
ค่าคงที่ของแก๊ส (RG) 8.3145 J mol-1 K-1
Avogadro constant (NA) 6.022 × 1023 mol-1

2
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมป�กระดับชาติ ครั้งที่ 19 (ระดับมัธยมต้น)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ข้อสอบภาคทฤษฎี 15 มิถุนายน 2565
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Atomic mass unit (u) 1.66 × 10−27 kg


มวลของโปรตอน 938.27 MeV ⋅ c −2 = 1.0078 u
มวลของนิวตรอน 939.56 MeV ⋅ c −2 = 1.0087 u ค่าคงตัว
มวลนิวเคลียสของ 56Fe 55.940 u
มวลนิวเคลียสของ 4He 4.0026 u

Mass-luminosity relation:
𝐿𝐿 ∝ 𝑀𝑀3.5

กำหนดให้ ทรงกลมมีรัศมีเท่ากับ 1
sin a sin b sin c
1. = =
sin α sin β sin γ
2. cos a cos b cos c + sin b sin c cos α
=
3. cos α =
− cos β cos γ + sin β sin γ cos a α b
γ
O c
β a

3
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมป�กระดับชาติ ครั้งที่ 19 (ระดับมัธยมต้น)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ข้อสอบภาคทฤษฎี 15 มิถุนายน 2565
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 1. ดวงอาทิตย์ในอนาคต [10 คะแนน]
จาก H-R diagram ที่กำหนดให้ จงหาว่าเมื่อดวงอาทิตย์มีวิวัฒนาการไปเป�นดาวยักษ์แดงซึ่งมีสมบัติทางฟ�สิกส์
เดียวกับดาว Arcturus ดวงอาทิตย์จะมีรัศมีเท่าใดในหน่วยกิโลเมตร และจงประมาณค่าอุณหภูมิผิวของโลกใน
ตอนนั้นในหน่วยเคลวิน โดยไม่คิดผลของปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)

ข้อ 2. ดาว Vega [10 คะแนน]


a) จงแสดงว่าอายุขัยของดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก (main sequence) (𝑇𝑇𝑀𝑀𝑀𝑀) สามารถประมาณได้จาก
𝑇𝑇𝑀𝑀𝑀𝑀 𝑀𝑀𝑀𝑀𝑀𝑀 −2.5
=� �
𝑇𝑇𝑆𝑆𝑆𝑆𝑆𝑆 MSun
[4 คะแนน]
b) หากดาวฤกษ์ออกจากแถบลำดับหลักเมื่อใช้มวลไป 10% จงแสดงการประมาณอายุขัยของดวงอาทิตย์ใน
แถบลำดั บหลัก กำหนดให้ ปฏิ กิริยาเทอร์โมนิวเคลีย ร์ฟ�วชัน (fusion) ของไฮโดรเจนเป�นฮีเลี ยมมี การ
เปลี่ยนมวลเป�นพลังงาน 0.71% [4 คะแนน]
c) จงประมาณโดยใช้ ส มการที่ กำหนดให้ ในข้ อ a) ว่าดาว Vega ซึ่งมี มวล 2.1 เท่าของดวงอาทิตย์ จะมี
อายุขัยในแถบลำดับหลักเท่าใด [2 คะแนน]
4
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมป�กระดับชาติ ครั้งที่ 19 (ระดับมัธยมต้น)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ข้อสอบภาคทฤษฎี 15 มิถุนายน 2565
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 3. พลังค์ฟ�งก์ชัน [10 คะแนน]
ระบบดาวคู่ ประกอบด้วยดาวฤกษ์ A ที่มีอุณหภูมิพื้นผิว 6,000 K และดาวฤกษ์ B ที่มีอุณหภูมิพื้นผิว 3,000 K
เมื่ อ สั ง เกตการณ์ ใ นช่ ว งความยาวคลื่ น 600 nm ดาวฤกษ์ A มี โ ชติ ม าตรปรากฏน้ อ ยกว่ า ดาวฤกษ์ B
1.0 magnitude อยากทราบว่าเมื่อสังเกตในช่วงความยาวคลื่น 1,200 nm ดาวฤกษ์ดวงใดมีความสว่างกว่า และ
มี โชติ ม าตรปรากฏต่ างกั น เท่ าใด กำหนดให้ การสั งเกตการณ์ ทั้ งสองความยาวคลื่ น ทำในช่ ว งความยาวคลื่ น
(Bandwidth) แคบๆ

8𝜋𝜋ℎ𝑐𝑐
กำหนดให้พลังค์ฟ�งก์ชัน 𝐸𝐸𝜆𝜆 = 𝜆𝜆5 �𝑒𝑒 ℎ𝑐𝑐/𝜆𝜆𝜆𝜆𝜆𝜆−1� W·steradian−1·m−2·Hz−1

ข้อ 4. Greatest elongation [10 คะแนน]


ดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 0.72 AU และ ดาวอังคารอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 1.52 AU ถ้าขณะหนึ่งดาวศุกร์
อยู่ ในตำแหน่ ง Greatest elongation และผู้สังเกตบนโลกเห็ น ดาวศุกร์และดาวอังคารอยู่ ในแนวเล็งเดีย วกัน
(Planetary conjunction) ดาวศุกร์และดาวอังคารจะอยู่ห่างกันกี่ AU สมมติให้ดาวเคราะห์เคลื่อนที่เป�นวงกลม
รอบดวงอาทิตย์

ข้อ 5. อาทิตย์เที่ยงคืน [10 คะแนน]


ผู้สังเกตที่ละติจูด 80 องศาเหนือ จะมีโอกาสเห็นปรากฏการณ์อาทิตย์เที่ยงคืนประมาณกี่วันในหนึ่งป�

ข้อ 6. ดาว Dubhe [20 คะแนน]


ดาว Dubhe มีเดคลิเนชัน (Declination) เท่ากับ +61° 45′ 03” และไรท์แอเซนชัน (Right ascension) เท่ากับ
11h 03m 43s ให้ ผู้ สั งเกตอยู่ ที่ ล ะติ จู ด 20° 00′ 00” ใต้ ลองจิ จู ด 95° 00′ 00” ตะวั น ตก ในวั น วสั น ตวิ ษุ วั ต
(Vernal Equinox) ขณะที่ RA เท่ากับ 0h ตรงกับเวลาท้องถิ่นปานกลาง (Local mean time) 18:00 น. และไม่
พิจารณาสมการเวลา (Equation of time)
a) ดาว Dubhe ขึ้นและตกที่มุมทิศ (Azimuth) เท่าใด (มุมทิศเริ่มจากทิศเหนือวนไปทางตะวันออก) พร้อม
ทั้งวาดรูปแสดงวิธีการคำนวณ [7 คะแนน]
b) ดาว Dubhe ขึ้นและตกที่เวลามาตรฐานท้องถิ่น (Local standard time) เท่าใด กำหนดให้ผู้สังเกตอยู่ที่
เขตเวลา UTC-6
[13 คะแนน]

5
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมป�กระดับชาติ ครั้งที่ 19 (ระดับมัธยมต้น)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ข้อสอบภาคทฤษฎี 15 มิถุนายน 2565
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 7. Daylight saving time [20 คะแนน]
Daylight saving time คือการปรับเวลาท้องถิ่นมาตรฐานให้เร็วขึ้นจากเดิม 1 ชั่วโมงในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ผลิ
และช้าลงในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ร่วง เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมประจำวันของมนุษย์
ในการขึ้นตกของดวงอาทิตย์คิดจากตำแหน่งกึ่งกลางดวงอาทิตย์ และไม่คิดผลของการหักเหแสง โดยประมาณว่า
ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่บนเส้นสุริยวิถี (Ecliptic) อย่างสม่ำเสมอ และไม่คิดถึงสมการเวลา (Equation of time)

a) จงหาสมการความยาวของช่วงเวลากลางวัน (ดวงอาทิตย์อยู่เหนือขอบฟ้า) ในรูปของ 𝛿𝛿 และ 𝜙𝜙 เมื่อดวง


อาทิตย์มี Declination 𝛿𝛿 และผู้สังเกตอยู่ที่ละติจูด 𝜙𝜙 องศาเหนือ [4 คะแนน]
b) จากข้อ a) จงหาสมการความยาวของช่วงเวลากลางวัน ในรูปของ 𝜆𝜆 และ 𝜙𝜙 เมื่อผู้สังเกตอยู่ที่ละติจูด 𝜙𝜙
องศาเหนือ และค่าลองจิจูดสุริยะวิถี (Ecliptic longitude) ของดวงอาทิตย์มีค่าเท่ากับ 𝜆𝜆
[2 คะแนน]
c) หากไม่มีการใช้ Daylight saving time ผู้สังเกตที่ละติจูด 45 องศาเหนือจะมีวันที่ดวงอาทิตย์ตกหลัง
เวลาท้องถิ่นปานกลาง (Local mean time) 20:00 น. จำนวนกี่วัน [7 คะแนน]
d) หากมีการใช้ Daylight saving time ระหว่างวันที่ 21 มีนาคม ถึง 21 กันยายน ผู้สังเกตที่ละติจูด 45
องศาเหนือจะมีวันที่ดวงอาทิตย์ตกหลังเวลา 20:00 น. ในเวลาท้องถิ่นท้องถิ่นปานกลาง (Local mean
time) จำนวนกี่วัน [7 คะแนน]

ข้อ 8. ระบบดาวคู่ [20 คะแนน]


ระบบดาวคู่ระบบหนึ่งประกอบด้วยดาวนิวตรอนรัศมี 10 กิโลเมตร และดาวแคระน้ำตาลอีกดวงหนึ่ง ดาวทั้งสอง
โคจรเป�นวงกลมด้วยคาบ 42 นาที ดาวนิวตรอนมีความเร็วในการโคจร 11 กิโลเมตรต่อวินาที ในขณะที่ดาวอีก
ดวงโคจรด้ วยความเร็ว 770 กิโลเมตรต่อวิน าที และในระบบดาวคู่ นี้มีการถ่ายเทมวลสาร Δ𝑚𝑚 จากดาวแคระ
น้ำตาลมายังผิวดาวนิวตรอนด้วยอัตรา 𝑚𝑚̇ = ∆𝑚𝑚 ∆𝑡𝑡
พลังงานศักย์โน้มถ่วงของมวลสารที่ถูกถ่ายเทในระบบดาวคู่ถูก
เปลี่ยนไปเป�น รังสีความร้อน โดยมีการปลดปล่อยพลังงานทั้งหมดนี้ในรูป ของการแผ่รังสีแบบวัตถุดำที่ผิวดาว
นิวตรอน กำลังส่องสว่างของดาวนิวตรอนจึงสัมพันธ์กับมวลสารที่ถูกถ่ายเทมาจนถึงดาวนิวตรอน ตามสมการ 𝐿𝐿 =
𝐺𝐺𝐺𝐺𝑚𝑚̇
𝑅𝑅
เมื่อ 𝑀𝑀 และ 𝑅𝑅 คือมวลและรัศมีของดาวนิวตรอน ตามลำดับ
a) จงคำนวณหามวลของดาวนิวตรอนและดาวแคระน้ำตาล [10 คะแนน]

b) ถ้าวัดค่าอุณหภูมิที่ผิวดาวนิวตรอนได้ 12.7 x 106 เคลวิน จงคำนวณค่าอัตราการถ่ายเทมวลสารที่เกิดขึ้น


ในหน่วยกิโลกรัมต่อวินาที [6 คะแนน]

c) สมมติให้อัตราการถ่ายเทมวลสารในระบบดาวคู่นี้มีค่าคงที่ นานเท่าใดมวลสารจากดาวแคระน้ำตาล จะถูก


ถ่ายเทไปยังดาวนิวตรอนจนหมด (ตอบในหน่วยป�) [4 คะแนน]
6
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมป�กระดับชาติ ครั้งที่ 19 (ระดับมัธยมต้น)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ข้อสอบภาคทฤษฎี 15 มิถุนายน 2565
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 9. Hohmann Transfer [30 คะแนน]
เราอาจเปลี่ย นรัศมี วงโคจรของยานอวกาศโดยใช้ Hohmann Transfer
B
Orbit ซึ่งเป�นเส้นทางการเคลื่อนที่แบบวงรีระหว่างวงโคจรที่เป�นวงกลม 2
𝑟𝑟𝑏𝑏
วง การเปลี่ยนวงโคจรแบบนี้ โดยปกติ ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงน้ อยที่สุ ด
ภาพด้านขวาแสดงการโคจรรอบมวล 𝑀𝑀 โดยมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงเป�น 𝑀𝑀
ระยะเวลาสั้น ๆ ที่จุด A ของวงโคจรเริ่มต้นรัศมี 𝑟𝑟𝑎𝑎 และเผาไหม้อีกครั้งที่ 𝑟𝑟𝑎𝑎
จุด B เมื่อยานอวกาศเดินทางมาถึงวงโคจรเป้าหมายรัศมี 𝑟𝑟𝑏𝑏 แรงขับจาก
A
เชื้อเพลิงจะอยู่ในแนวสัมผัสวงโคจร (หรือตั้งฉากกับรัศมีวงโคจร)

a) จงหาเวลาการเคลื่อนที่จาก A ไป B เขียนคำตอบในรูปของ 𝑀𝑀, 𝑟𝑟𝑎𝑎 และ 𝑟𝑟𝑏𝑏 [4 คะแนน]


b) แทนค่าเพื่อหาเวลาเป�นตัวเลขในหน่วยป� สำหรับการเปลี่ยนจากวงโคจรของโลกไปยังวงโคจรของดาว
อังคาร แล้วคำนวณหามุมห่าง (elongation) ของดาวอังคารเมื่อวัดจากโลกที่จุด A เพื่อให้ยานอวกาศไป
เจอดาวอังคารที่จุด B พอดี (ไม่ต้องคำนึงถึงผลของแรงโน้มถ่วงของโลกและการหมุนรอบตัวเองของโลก)
[6 คะแนน]
c) การเผาเชื้อเพลิงเป�นเวลาสั้น ๆ ทำให้อัตราเร็วของยานเปลี่ยนไป Δ𝑣𝑣𝑎𝑎 ที่จุด A และ Δ𝑣𝑣𝑏𝑏 ที่จุด B
เมื่อรวมการเปลี่ยนอัตราเร็ว Δ𝑣𝑣 = Δ𝑣𝑣𝑎𝑎 + Δ𝑣𝑣𝑏𝑏 = 𝛽𝛽�𝐺𝐺𝐺𝐺
𝑟𝑟𝑎𝑎
จงหาค่า 𝛽𝛽 ในรูปของ 𝑟𝑟𝑎𝑎 และ 𝑟𝑟𝑏𝑏
[13 คะแนน]
d) กำหนดให้ระยะห่างวงโคจรเฉลี่ยของดาวเคราะห์มีค่าดังนี้

ดาวอังคาร 1.52 AU
ดาวพฤหัสบดี 5.20 AU
ดาวเสาร์ 9.54 AU
ดาวยูเรนัส 19.2 AU
ดาวเนปจูน 30.0 AU
ดาวเคราะห์ X ∞

จงหาค่า 𝛽𝛽 สำหรับการเปลี่ยนจากวงโคจรของโลกไปยังวงโคจรของดาวเคราะห์ทั้ง 6 ดวง พร้อมทั้งระบุว่า


การเปลี่ยนวงโคจรไปยังดาวเคราะห์ดวงใดที่ต้องใช้เชื้อเพลิงมากที่สุด (Δ𝑣𝑣 มากที่สุด) [7 คะแนน]

7
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมป�กระดับชาติ ครั้งที่ 19 (ระดับมัธยมต้น)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ข้อสอบภาคทฤษฎี 15 มิถุนายน 2565
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 10. การขยายตัวของเอกภพ [30 คะแนน]
เราอาจจำลองการขยายตัวของเอกภพอย่างง่ายโดยการวาดและตรึงตำแหน่งกาแล็กซีต่าง ๆ ลงบนผิวของลูกโป่ง
ทรงกลม การขยายตัวของผิวลูกโป่งเทียบเท่ากับการขยายตัวของเอกภพ ซึ่งจะทำให้กาแล็กซีต่าง ๆ มีระยะห่าง
ระหว่างกั นมากขึ้น ดังแสดงในภาพ กำหนดให้รัศมีลู กโป่ งขยายตัวด้วยอัตราคงตัว โดยมีรัศมี ที่เวลา 𝑡𝑡 เท่ากับ
𝑅𝑅(𝑡𝑡) = 𝑅𝑅0 + 𝛽𝛽𝛽𝛽 เมื่อ 𝑅𝑅0 เป�นรัศมีเริ่มต้นและ 𝛽𝛽 เป�นค่าคงตัว
ในแบบจำลองนี้แสงเคลื่อนที่บนผิวโค้ง 2 มิติของลูกโป่งเท่านั้น ผู้สังเกตทุกคนที่อยู่นิ่งบนผิวลูกโป่งจะวัดความเร็ว
แสงได้คงตัวเท่ากับ 𝑐𝑐 และการวัดระยะต่าง ๆ เราจะวัดตามผิวโค้งของลูกโป่ง
A A

A
𝜃𝜃 𝑅𝑅
B B B

C C

a) จงหาค่าคงที่ฮับเบิล (Hubble constant) ที่เวลา 𝑡𝑡 ของแบบจำลองเอกภพนี้ [8 คะแนน]

หากแสงเดินทางจากกาแล็กซีหนึ่งที่เวลา 𝑡𝑡1 ไปถึงอีกกาแลกซีหนึ่งที่เวลา 𝑡𝑡2 ซึ่งมีระยะกระจัดเชิงมุมห่างกัน Δ𝜃𝜃


𝑐𝑐 𝑅𝑅0 +𝛽𝛽𝑡𝑡2
เราจะพบว่า Δ𝜃𝜃 = ln � �
𝛽𝛽 𝑅𝑅0 +𝛽𝛽𝑡𝑡1

กาแล็กซี A และ C อยู่ที่ตำแหน่งขั้วตรงข้ามของลูกโป่งพอดี กาแล็กซี B อยู่ที่เส้นศูนย์สูตรของลูกโป่ง (ทั้ง 3 กา


แลกซีอยู่บ นเส้น เมอริเดียนเดี ยวกั น) กาแล็กซี A และ B ส่งสั ญญาณแสงไปยังกาแลกซี C ในขณะที่แสงกำลั ง
เดิ น ทาง ความยาวคลื่ น ของมั น จะถู ก ยื ด ออกด้ ว ยอั ต ราส่ ว นเดี ย วกั บ การขยายตั ว ของผิ ว ลู ก โป่ ง (แสงเกิ ด
cosmological redshift)
b) จงหาอัตราส่วน redshift 𝑧𝑧𝑧𝑧AB สำหรับแสงที่ C สังเกตได้ที่ส่งมาจาก A และ B ตามลำดับ
กำหนดให้ redshift 𝑧𝑧 = 𝜆𝜆𝜆𝜆Observed
emitted
−1 [12 คะแนน]

c) สมมติว่ามีโฟตอนกระจายอยู่ทั่วผิวลูกโป่งและมีสมบัติเหมือนการแผ่รังสีของรังสีจากวัตถุดำ (blackbody
radiation) โดยมีอุณหภูมิ 𝑇𝑇0 ที่เวลา 𝑡𝑡 = 0 จงหาว่าที่เวลา 𝑡𝑡 ใด ๆ โฟตอนเหล่านี้จะมีอุณหภูมิ 𝑇𝑇(𝑡𝑡)
เท่าไหร่ กำหนดให้ความหนาแน่นของพลังงานโฟตอนต่อพื้นที่ผิวลูกโป่ง 𝜌𝜌(𝑡𝑡) ∝ 𝑇𝑇(𝑡𝑡)3 [10 คะแนน]

8
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมป�กระดับชาติ ครั้งที่ 19 (ระดับมัธยมต้น)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ข้อสอบภาคทฤษฎี 15 มิถุนายน 2565
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 11. กาแล็กซีวิทยุ (radio galaxy) [30 คะแนน]
ผู้สังเกตบนโลกตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากกาแล็กซีวิทยุหนึ่งที่มีค่า redshift 𝑧𝑧 = 0.170 ได้ที่ความถี่
103 MHz โดยใช้ช่วงความถี่ (bandwidth) ∆𝜈𝜈 = 104 Hz และวัดค่าความหนาแน่นฟลักซ์ในย่านคลื่นวิทยุ
(observed radio flux density) ได้ 𝐹𝐹 = 2.18 × 10−23 W m−2Hz−1
a) จงคำนวณหาความถี่ของคลื่นวิทยุดังกล่าว ณ ขณะที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิด [4 คะแนน]
b) จงคำนวณหาระยะทางไปยังกาแล็กซีวิทยุนี้ ในหน่วย Mpc [4 คะแนน]
c) จงคำนวณหา Radio luminosity ในหน่วย W Hz−1 ของกาแล็กซีวิทยุ (ที่ความถี่ดังกล่าว) [4 คะแนน]
d) จงคำนวณหา Total radio luminosity ในหน่วย W [4 คะแนน]
e) Total radio luminosity ที่ได้นั้นเทียบเท่ากับพลังงานจากการเผาผลาญไฮโดรเจน (1H) ปริมาณเท่าใด
ไปเป�นฮีเลียม (4He) (ตอบในหน่วยมวลดวงอาทิตย์ต่อป�) [10 คะแนน]
f) ถ้ า กาแล็ ก ซี วิ ท ยุ นี้ ยั งคงปลดปล่ อยพลังงานที่ อั ตรานี้ เป� น เวลา 108 ป� พลั งงานที่ ได้ จ ะเที ย บเท่ ากั บ
พลังงานจากมวลของไฮโดรเจนปริมาณเท่าใดที่ถูกเปลี่ยนไปเป�นฮีเลียม ตอบในหน่วยมวลของกาแล็กซี
ทางช้างเผือก กำหนดให้กาแล็กซีทางช้างเผือกมีมวล 1012 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ [4 คะแนน]

9
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมป�กระดับชาติ ครั้งที่ 19 (ระดับมัธยมต้น)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ข้อสอบภาคทฤษฎี 15 มิถุนายน 2565
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 12. ไมโครเลนส์ [50 คะแนน]
ปรากฏการณ์ไมโครเลนส์เกิดขึ้นเมื่อวัตถุท้องฟ้าประพฤติตัวเป�นเลนส์ขวางหน้าแหล่งกำเนิดแสง ในมุมมองของผู้
สังเกต ส่งผลทำให้ความสว่างของแหล่งกำเนิดแสงที่มองเห็นมีความสว่างเพิ่มขึ้นตามสมการ
Observed flux = Magnification × Source flux

สำหรับปรากฏการณ์ไมโครเลนส์ที่มีเลนส์เพียงวัตถุเดียว กำลังขยาย (Magnification, A) สามารถเขียนอยู่ในรูป


u (t ) 2 + 2
A=
u (t ) u (t ) 2 + 4

เมื่อ u (t ) คือ ระยะห่างเชิงมุมปรากฏระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับเลนส์ (impact parameter) ณ เวลาหนึ่งๆ (t)


ในหน่วยของ Einstein radius โดย u (t ) สามารถเขียนอยู่ในรูปของ
1/2
  t − t0  
2
2
u (=
t ) u 0 +   
  t E  

เมื่อ u0 คือ ระยะห่างเชิงมุมปรากฏระหว่าง Source กับ Lens ที่น้อยที่สุด (minimum impact parameter),
t0 คือ เวลาที่ Source กับ Lens ใกล้กันมากที่สุด ( u (t0 ) = u0 ) และ t E คือ Einstein radius crossing time

Source

𝑢𝑢
Lens

แผนภาพแสดงปรากฏการณ์ไมโครเลนส์ที่มีเลนส์เพียงวัตถุเดียว
10
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมป�กระดับชาติ ครั้งที่ 19 (ระดับมัธยมต้น)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ข้อสอบภาคทฤษฎี 15 มิถุนายน 2565
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

𝑢𝑢𝑜𝑜 = 1.2 𝑢𝑢𝑜𝑜 = 0.3

𝑢𝑢𝑜𝑜 = 0.9
𝑢𝑢𝑜𝑜 = 0.6
𝑢𝑢𝑜𝑜 = 0.3 𝑢𝑢𝑜𝑜 = 0.6

𝑢𝑢𝑜𝑜 = 0.9
𝑢𝑢𝑜𝑜 = 1.2

𝑡𝑡 − 𝑡𝑡𝑜𝑜
𝑡𝑡𝐸𝐸

กราฟแสงปรากฏการณ์ไมโครเลนส์ที่มีเลนส์เพียงวัตถุเดียว

a) กล้องโทรทรรศน์ TRT-GAO ที่ประเทศจีน สามารถตรวจจับปรากฏการณ์ไมโครเลนส์ที่มีเลนส์เพียงวัตถุ


เดี ย วได้ เป� น ระยะเวลานาน 10 วั น ปรากฏการณ์ ดั ง กล่ า วเกิ ด จาก Source ที่ มี โ ชติ ม าตรปรากฏ
𝑚𝑚𝐼𝐼 = 18.0 และระหว่ างเกิดปรากฏการณ์ ปรากฏการณ์ ดังกล่ าวมีโชติม าตรปรากฏต่ำสุ ด 𝑚𝑚𝐼𝐼 = 16.5
กำหนดให้กล้องโทรทรรศน์ TRT-GAO สามารถสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าที่มีโชติมาตรปรากฏน้อยกว่า
𝑚𝑚𝐼𝐼 = 17.0

จงหาระยะห่างเชิงมุมปรากฏระหว่าง Source กับ Lens ที่น้อยที่สุด (minimum impact parameter)


u0 ของปรากฏการณ์ดังกล่าว [13 คะแนน]
b) จงหา Einstein radius crossing time ของปรากฏการณ์ในข้อ a) ในหน่วยวัน [19 คะแนน]
c) กำหนดให้ Source อยู่ ที่ใจกลางกาแล็กซี ทางช้างเผือก (Galactic centre) และ Lens อยู่ห่ างจากใจ
กลางกาแล็กซีทางช้างเผือก 4 kpc ในทิศทางเดียวกัน
โดยที่ Source, Lens และ ดวงอาทิตย์ มีเฉพาะ Rotational velocity รอบกาแล็กซีทางช้างเผือก ที่ใจ
กลางกาแล็กซีทางช้างเผือกมี Rotational velocity เท่ากับ 0 km/s ถ้ากาแล็กซีมีการหมุน แบบ Flat
rotation curve ที่ ร ะยะห่ า งจากใจกลางกาแล็ ก ซี ท างช้ างเผื อ กที่ ม ากกว่ า 2 kpc (220 km/s) และ
ในขณะเกิดปรากฏการณ์นี้ความเร็วในแนวเล็ง (Radial velocity) เท่ากับ 0 km/s
จงหา Relative proper motion ระหว่าง Source และ Lens ในมุมของผู้สังเกตที่ดวงอาทิตย์ ในหน่วย
เรเดียนต่อวัน [11 คะแนน]

11
การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมป�กระดับชาติ ครั้งที่ 19 (ระดับมัธยมต้น)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ข้อสอบภาคทฤษฎี 15 มิถุนายน 2565
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
d) กำหนดให้ Einstein radius crossing time ของ Lens มวล M คือ
1 4GM ( DS − Dl )
tE =
µ c 2 DS Dl
เมื่อ Ds คือระยะห่างระหว่างผู้สังเกตกับ Source Dl คือระยะห่างระหว่างผู้สังเกตกับ Lens
จงหามวลของ Lens ของปรากฏการณ์นี้ในหน่วยของมวลดวงอาทิตย์ [7 คะแนน]

12

You might also like