You are on page 1of 8

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

โครงการพี่ช่วยน้อง สอวน. ปีการศึกษา 2566


กระดาษคำถาม Pre-test สาขาวิชาดาราศาสตร์

คำชี้แจงสำหรับผู้เข้าสอบ
1. ข้อสอบมี 2 ตอน ทั้งหมด 16 หน้า รวมหน้ารวมปก แบ่งเป็น
1.1. ตอนที่ 1 เป็นแบบปรนัย มี xx ข้อ xx คะแนน
1.2. ตอนที่ 2 เป็นแบบอัตนัย มี 5 ข้อ 70 คะแนน
2. ให้ผู้เข้าสอบทำข้อสอบทุกส่วนลงในกระดาษคำตอบ อนุญาตให้ทำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ใดๆ
บนตัวกระดาษคำถามได้
3. อนุญาตให้นำข้อสอบออกนอกห้องสอบได้ ส่วนกระดาษคำตอบให้ส่งคืนที่กรรมการก่อนออกจากห้องสอบ
4. ใช้ปากกาสีน้ำเงิน หรือ ดำเขียนตอยข้อสอบเท่านั้น ยกเว้นในกรณีวาดภาพควรใช้ดินสอ หากใช้ดินสอเขียน
ตอบมาจะไม่พิจารณาให้คะแนน
5. อนุญาตให้นำเครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์เข้าห้องสอบได้
6. การกระทำใดๆที่เป็นการทุจริต จะมีผลต่อคะแนนรายวิชาทักษะชีวิตของนักเรียน
7. ผู้เข้าสอบต้องเขียน เลขที่ และห้องเรียนให้ครบทุกแผ่น
8. ค่าคงที่ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆให้ใช้จากที่ได้ระบุไว้ในข้อสอบ
9. คำชี้แจง และคำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

ชื่อ
นามสกุล
ห้อง เลขที่ เลขประจาตัวนักเรียน
ชื่อเล่น ห้องนอน
เบอร์โทรศัพท์
ข้อสอบ Pre-test โครงการพี่ช่วยน้อง สอวน.
สาขาวิชาดาราศาสตร์ปกี ารศึกษา 2565
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ค่าคงที่ทางวิทยาศาสตร์ที่กำหนดให้
มวล (M⊕) 5.98 × 1024 kg
รัศมี (R⊕) 6.38 × 106 m
ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่ผิวโลก (g) 9.8 m s-2
ตวามเอียงวงโคจร 23°26′21″.411
Tropical Year 365d 05h 48m 45.19s mean solar days โลก
Sidereal Year 365d 06h 09m 09.76s mean solar days
Sidereal day 23h 56m 04s
Albedo 0.39
Solar Constant (Gsc) 1.36 × 103 W/m2
1

มวล (M☾) 7.35 × 1022 kg


รัศมี (R☾) 1.74 × 106 m
ระยะทางเฉลีย่ จากโลก 3.84 × 108 m ดวงจันทร์
ความเอียงวงโคจร 5.14°
Albedo 0.14
โชติมาตรปรากฏ (ค่าเฉลี่ยเมื่อเต็มดวง) -12.74
1

มวล (M☉) 1.99 × 1030 kg


รัศมี (R☉) 6.96 × 108 m
กำลังส่องสว่าง (L☉) 3.83 × 1026 W
โชติมาตรสัมบูรณ์ (M☉) 4.80 mag ดวงอาทิตย์
โชติมาตรปรากฏ (m☉) -26.74 mag
ขนาดเชิงมุมปรากฏ 0.5 degrees
ความเร็วมรการโคจรีรอบกาแล็กซี่ 220 km s-1
ระยะทางจากใจกลางกาแล็กซี่ 8.5 kpc
1

รัศมีดาวอังคาร 3.390 × 106 m


ระยะห่างวงโคจรเฉลี่ย 1.52 au ดาวอังคาร
Albedo 0.170
1 au 1.496 × 1011 m
1 pc 206265 au
ค่านิจโนมถ่วงสากล (G) 6.67 × 10-11 N ⋅ m2 ⋅ kg-2
Plank constant (h) 6.62 × 10-34 J ⋅ s ค่าคงตัว
Boltzmann constant (kB) 1.38 × 10-23 J ⋅ K-1
Stefan-Boltzmann constant (σ) 5.67 × 10-8 W ⋅ m-2 ⋅ K-4
Wien’s Displacement constant 2.898 × 10-3 m ⋅ K

2
ข้อสอบ Pre-test โครงการพี่ช่วยน้อง สอวน.
สาขาวิชาดาราศาสตร์ปกี ารศึกษา 2565
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

Hubble constant (H0) 67.8 km s-1 Mpc-1


อัตราเร็วแสงในสุญญากาศ (c) 2.998 × 108 m s-1
ค่าคงที่ของแก๊ส (RG) 8.315 J mol-1 K-1
Avogadro constant (NA) 6.022 × 1023 mol-1
Atomic mass unit (u) 1.66 × 1023 kg ค่าคงตัว
มวลของโปรตอน 938.27 MeV ⋅ c-2 = 1.0087 u
มวลของนิวตรอน 939.56 MeV ⋅ c-2 = 1.0073 u
มวลของนิวเคลียสของ 56Fe 55.940 u
มวลของนิวเคลียสของ 4He 4.0026 u

3
ข้อสอบ Pre-test โครงการพี่ช่วยน้อง สอวน.
สาขาวิชาดาราศาสตร์ปกี ารศึกษา 2565
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ตอนที่ 1 ข้อสอบปรนัย 1 ข้อ 30 คะแนน
ข้อ 1. เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ แต่สองดาวก็ยังหมุนรอบตัวเอง [30 คะแนน]
นายรักดี และนายรักชั่ว เป็นเพื่อนกันมานาน เพราะชื่นชอบการดูดาวทั้งคู่ โดยนายรักดี เป็นคนที่มีความสามารถในการใช้
กล้องโทรทรรศน์เป็นอย่างมาก แต่เขาเป็นคนที่ความจำไม่ค่อยดี นายรักชั่วจึงเป็นคนที่นำรูป ที่นายรักดีถ่ายมาระบุชื่อดาว
และกลุ่มดาวต่างๆ ทว่าวันหนึ่ง นายรักชั่วโดนรถชน ไม่สามารถมาช่วยนายรักดีได้ นายรักดีจึงมาวานผู้เข้าสอบ ให้ผู้เข้า
สอบช่วยระบุว่า สิ่งที่เขาอยากรู้คืออะไร โดยเขาได้ส่งภาพมาให้ผู้เข้าสอบเป็นจำนวน 2 ภาพ ดังรูป

รูปที่ 1.1 ภาพถ่ายกลุ่มดาวปริศนา

รูปที่ 1.2 ภาพถ่ายสามเหลี่ยมฤดูร้อน

4
ข้อสอบ Pre-test โครงการพี่ช่วยน้อง สอวน.
สาขาวิชาดาราศาสตร์ปกี ารศึกษา 2565
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
นายรักดีต้องการรู้ชื่อสามัญ (common name) ของดวงดาวเหล่านั้น ในโจทย์ข้อนี้ ผู้เข้าสอบต้องช่วยนายรักดีหาคำตอบ
ของชื่อที่เขาสงสัยมาให้ได้
a) ภาพถ่ายกลุ่มดาวปริศนา (รูปที่ 1.1) คือภาพของกลุ่มดาวอะไร
ก.) กลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius)
ข.) กลุ่มดาวนายพราน (Orion)
ค.) กลุ่มดาวคนคู่ (Gemini)
ง.) กลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major)
[9 คะแนน]

b) หมายเลข 1 ในภาพถ่ายกลุ่มดาวปริศนา (รูปที่ 1.1) คือดาวอะไร


ก.) Betelgeuse
ข.) Aldebaran
ค.) Sirius
ง.) Procyon
[9 คะแนน]

c) จากภาพถ่ายสามเหลี่ยมฤดูร้อน (รูปที่ 1.2) นายรักดีจำได้ว่า ในสามเหลี่ยมมีดาวที่ชื่อว่า Altair


และ Vega ดาวดวงที่สามชื่อว่าอะไร และอยู่ในกลุ่มดาวใด
ก.) Deneb, Cygnus
ข.) Deneb, Leo
ค.) Denebola, Cygnus
ง.) Denebola, Leo
[12 คะแนน]

ตอนที่ 2 ข้อสอบอัตนัย 6 ข้อ 70 คะแนน


ข้อ 1. การเคลื่อนที่เส้นตรง [10 คะแนน]
รถยนต์คันหนึ่งออกเดินทางจากเมือง A ไปเมือง B ด้วยความเร็ว 5 เมตรต่อวินาที โดยเมือง A และเมือง B ห่างกัน 45
กิโลเมตร ถ้าออกเดินทางตอน 10.00 น. จะถึงปลายทางเวลาเท่าใด

5
ข้อสอบ Pre-test โครงการพี่ช่วยน้อง สอวน.
สาขาวิชาดาราศาสตร์ปกี ารศึกษา 2565
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ข้อ 2. โปรเจคไทล์ [15 คะแนน]
นักบินอวกาศกำลังลงจอดยานอวกาศบนดวงจันทร์ ปรากฏว่ายานเกิดเหตุขัดข้องทำให้ยานระเบิด นักบินอวกาศกระเด็ น
ออกจากยานบนผิวดวงจันทร์เป็นการเคลื่อนที่แบบโปรเจตไทล์ ทำมุม 30 องศากับพื้น ด้วยความเร็วต้น 10 กิโลเมตรต่อ
วินาที ทางที่นักบินอวกาศกระเด็นไปมีหลุมห่างจากจุดที่กระเด็น 15 กิโลเมตร หลุมมีรัศมี 5 กิโลเมตร ถามว่านักบิน
อวกาศสามารถลอยผ่านหลุมไปได้หรือไม่ ถ้าได้ตกลงห่างจากขอบหลุ่มที่ไกลจากยานที่ระเบิดเป็นระยะทางเท่ าใ ด ถ้าไม่
นักบินอวกาศตกลงห่างจากขอบหลุมที่ใกล้กับยานระเบิดเท่าใด กำหนดให้ดวงจันทร์มีความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง 1.6
m/s2

ข้อ 3. โมเมนตัมเชิงเส้น [15 คะแนน]


ยานอวกาศลำหนึ่งระบบเกิดขัดข้องทำให้อากาศในยานไหลออกหมด และอยู่ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง นักบินอวกาศมวล
60กิโลกรัมลอยอยู่กลางยานต้องการที่จะทำให้ตัวเองลอยไปเกาะกับผนังของยานเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ จึงโยนลูกบอล
มวล 5 กิโลกรัมออกไป ถามว่าต้องโยนลูกบอลด้วยความเร็วเท่าไร เขาจึงจะไปถึงผนังของยานภายใน 5 วินาที ถ้านักบิน
อวกาศอยู่ห่างจากกำแพง 10 เมตร

ข้อ 4. ดาว MWIT [10 คะแนน]


เด็กชายไข่มุกอาศัยอยู่บนโลก ณ ละติจูด 30°N เด็กชายไข่มุกได้รับกล้องดูดาวแบบ Dobsonian เป็นของขวัญวันเกิด จึง
ได้ใช้กล้องดูดาวส่องหาดาว MWIT ระบุตำแหน่งได้ มุมเงย 60 องศา มุมทิศ 30 องศา จงวาดทรงกลมท้องฟ้าโดยระบุ
องค์ประกอบดังนี้
a) เส้นขอบฟ้า (Horizon) [1 คะแนน]

b) ขั้วฟ้าเหนือ (North Celestial Pole) [1 คะแนน]

c) เส้นศูนย์สูตรฟ้า (Celestial Equator) [1 คะแนน]

d) จุดเหนือศีรษะ (Zenith) [1 คะแนน]

e) ทิศทั้ง 4 ทิศ (North, East, West, South) [2 คะแนน]

f) ระบุตำแหน่งของดาว MWIT ลงในทรงกลมท้องฟ้าและวาดเส้นทางการขึ้นและตกของดาว [4 คะแนน]

6
ข้อสอบ Pre-test โครงการพี่ช่วยน้อง สอวน.
สาขาวิชาดาราศาสตร์ปกี ารศึกษา 2565
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ข้อ 5. ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะใหม่ [20 คะแนน]


นักดาราศาสตร์คนหนึ่งสังเกตเห็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งมีมวล 10 เท่าของดวงอาทิตย์ และสังเกตเห็นดาวเคราะห์มีมวลเท่ากับ
โลกโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงนี้เป็นวงรี โดยมีระยะห่างจากดาวฤกษ์ไกลสุด 5 AU และใกล้สุด 2.5 AU จงตอบคำถามต่อไปนี้
a) จงหาระยะครึ่งแกนเอก (semi-major axis) ในหน่วย AU [2 คะแนน]

b) จงหาคาบการโคจรของดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ในหน่วยปี [2 คะแนน]

c) จงหาค่าความรีของวงโคจร (eccentricity) [4 คะแนน]

d) จงหาความเร็วของดาวเคราะห์ขณะที่อยู่ไกลดาวฤกษ์มากที่สุด [6 คะแนน]

e) จงหาความเร็วของดาวเคราะห์ขณะอยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากที่สุด [6 คะแนน]

Hint
2 1
vis-viva equation : 𝑣 2 = 𝐺𝑀( 𝑟 − 𝑎 )
𝐺𝑀
circular velocity formula : 𝑣 = √
𝑟

7
ข้อสอบ Pre-test โครงการพี่ช่วยน้อง สอวน.
สาขาวิชาดาราศาสตร์ปกี ารศึกษา 2565
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

You might also like