You are on page 1of 23

SDG 3 - Good Health and Well-being (สุขภาพและ

ความเป็ นอยู่ที่ดี)

บทโปรย

“กาย ใจ จิตวิญญาณและปั ญญา” ต้องได้รับการดูแลอย่าง


สมดุลโดยเชื่อมโยงกันอย่างไร้ขอบเขตเพื่อสุขภาพและสุขภาวะ
ของความเป็ นอยู่อันบริบูรณ์

ราชมงคลล้านนาถูกปกคลุมด้วยกลิ่นไอของความเป็ นครอบครัวซึ่งเป็ น
๑ ในนโยบายทางการบริหารงานที่จะเสมอให้มหาวิทยาลัยเป็ นเสมือนบ้าน
หลังที่ ๒ อันผาสุกและเป็ นพึ่งพาได้ของบรรดานักศึกษาและบุคลากร ทั้งยัง
มีความตระหนักยิ่งต่อสำนึกรับผิดชอบที่พึงมี พึงกระทำ ในฐานะเสาหลัก
ทางปั ญญาที่สำคัญแห่งหนึ่งของสังคมจึงได้สร้างร่วมความมือกับองค์กร
สถาบัน หน่วยงานซึ่งกำกับดูแลงานทางด้านสุขภาพและมีศักยภาพสูงทั้งใน
ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศและระดับนานาชาติเพื่อร่วมมือกันปูพรมในทุก
สรรพกำลังสำหรับการยกระดับสุขภาพและความเป็ นอยู่ที่ดีขึ้นของนักศึกษา
บุคลากร ผู้คนในชุมชน ผู้พลัดถิ่น ผู้อพยพลี้ภัย ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มอ่อน
ไหวอื่น ๆ อาทิ

 โครงการและการให้สิทธิ์ทางการเข้าถึงการให้บริการ การตรวจ
รักษา การให้คำปรึกษาทางสุขภาพกายและสุขภาพจิตทั้งแบบ
ประจำปี (๑-๒ ครั้ง/ปี ) หรือตามความต้องการและตามสิทธิ์
 การจัดตั้งศูนย์พยาบาลภายในมหาวิทยาลัยซึ่งมีแพทย์ พยาบาล
และนักจิตวิทยามาประจำอยู่ในทุกเขตพื้นที่จัดการศึกษา
 การสร้างคู่ร่วมมือทางการแพทย์ซึ่งล้วนเป็ นโรงพยาบาลชั้นนำที่
นักศึกษาและบุคลากรสามารถเลือกใช้บริการได้ตามสิทธิภายใต้
กรอบการประกันทางสังคมและการประกันภัยต่างๆ ที่
มหาวิทยาลัยได้คัดสรรไว้ให้ ทั้งยังรวมไปถึงสิทธิการเข้าถึงศูนย์
ทันตกรรมระดับมาตรฐาน จำนวน ๑-๒ ครั้ง/ปี อีกด้วย
 การส่งเสริมด้านการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยในทุกรูปแบบ
เช่น การจัดพื้นที่เปิ ดเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมนันทนาการ
การเล่นกีฬา การแข่งขันกีฬาตลอดจนการเข้าถึงโรงอาหาร/ร้าน
ค้าที่ได้รับการสอดส่องดูแลตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบที่ปลอดภัย
มีความเข้าใกล้หรือเป็ นธรรมชาติที่สุด กระบวนการการประกอบ
อาหารหรือการผลิตที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการที่ดีได้มาตรฐาน
รสชาติที่พึงใจ ความหลากหลายที่เลือกได้ ราคาที่ย่อมเยาเป็ น
ธรรม ผ่านการบริหารจัดการและควบคุมอย่างสม่ำเสมอ
 กองทุนเพื่อการช่วยเหลือตามหลักมนุยธรรม กองทุนทางการ
ศึกษา โรงทานอาหาร/น้ำ การผลิตน้ำสะอาดเพื่อแจกจ่าย
โครงการเพื่อการพัฒนา ซ่อมแซมหรือจัดหาที่อยู่อาศัย โครงการ
จัดเครื่องนุ่งห่ม เครื่องกันหนาว เหล่านี้เป็ นต้น ทั้งในภาวะวิกฤติ
และภาวะปกติไม่ว่าจะเป็ น ท่ามกลางการเกิดอุทกภัย แผ่นดิน
ไหว อัคคีภัย โรคระบาด การสูญเสียเสาหลักของครอบครัว การ
เกิดภาวะสงครามกลางเมือง การลี้ลัย ภาวะขัดสนทางการเงิน
หรือขาดที่อยู่อาศัยกะทันหัน
 โครงการการพัฒนาทางจิตวิญญาณและสร้างปั ญญาแท้จริงด้วย
ธรรมะ ส่งเสริมการสร้างผลทาน การให้และการแบ่งปั นอย่าง
สม่ำเสมอ

เหล่านี้ คือ ความตั้งใจภายใต้ความพยายามที่ไม่ลดละของ RMUTL ที่


ปรารถนาให้ผู้ได้รับผลแห่งการดำเนินการภายใต้นโยบายและโครงการหรือ
กิจกรรมที่ออกมาเป็ นรูปธรรมเห็นผลชัดเจนเหล่านี้มีสุขภาวะทั้งทางกาย ใจ
จิตวิญญาณและความเป็ นอยู่ที่ดีท่ามกลางการมีดวงปั ญญาที่แข็งแรง
สมบูรณ์พร้อมมุ่งสู่การสานต่อร่วมกันอย่างยั่งยืนและไร้ขอบเขต
SDG 5 - Gender Equality (ความเท่าเทียมทางเพศ)
บทโปรย – Introduction

“เพราะ RMUTL คือ Save space ของผู้คนหลากสีสัน” ที่นี่ จึง


เปิ ดกว้างอยู่เสมอเพื่อต้อนรับและให้เกียรติในทุกเรื่องราวของ
ความแตกต่างอย่างเท่าเทียม

เราถือว่านักศึกษา บุคลากรและประชากรโลกทุกคน คือ “มนุษย์”


เหมือนกัน ต่างมีสิทธิเสรีภาพเลือกที่จะฝั น เลือกที่จะเป็ นอย่างเท่าเทียม
ท่ามกลางความเข้าใจอันงอกงามระหว่างกันและเบ่งบานขึ้นด้วยหลักของ
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขที่ยั่งยืน

 การเลือกที่จะแต่งตัวและจัดการบุคลิกภาพได้ตามเพศสภาพ
อย่างอิสระบนความเหมาะสม
 การจัดเวทีหรือพื้นที่ในการแสดงสำหรับความสามารถที่เปิ ด
กว้างและหลากหลาย
 การตอบรับเข้าศึกษาหรือเข้าทำงานอย่างไร้เงื่อนไขทาง
บุคลิกภาพหรือรสนิยมทางเพศ
 การร่วมสนับสนุน รณรงค์ ขับเคลื่อนและเฉลิมฉลองเพื่อความ
เท่าเทียมที่สมควรจะปรากฏขึ้น
 การพิจารณาตำแหน่งทางการบริหารด้วยมุ่งเน้นที่ความสามารถ
มิใช่เพศหรือชาติพันธุ์
 การส่งเสริม การสร้างความเข้าใจและการให้ความรู้ในเรื่องของ
ความแตกต่างแก่ทุกระดับความสัมพันธ์ อาทิ นักศึกษากับ
นักศึกษา นักศึกษากับอาจารย์ มหาวิทยาลัยกับสังคม บัณฑิต
กับสถานประกอบการ เป็ นต้น
 การเปิ ดให้ทุกคนเข้าถึงโอกาส เข้าถึงกองทุนหรือการสนับสนุน
ต่างๆ อย่างเป็ นธรรม
 การจัดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมตามเพศ
สภาพและเป็ นไปตามข้อเรียกร้องอันมีความจำเป็ นที่เหมาะควร
 การอนุญาตให้นักศึกษาลาคลอดบุตรและเลี้ยงดูบุตรได้ ทั้ง
ประเภทเต็มเวลาหรือบางส่วนโดยไร้ข้อจำกัดของระยะเวลาการ
จบการศึกษา
 การเปิ ดช่องทางที่รักษาเป็ นความลับสำหรับการรับฟั งเสียง
สะท้อน รับเรื่องร้องเรียน รับฟั งข้อคิดเห็นและความต้องการ
ผ่านสายตรงผู้บริหาร
 การจัดนักจิตวิทยาเพื่อประจำพื้นที่การจัดการศึกษาต่าง ๆ
สำหรับรองรับการให้คำปรึกษาอย่างเหมาะสมในทุกประเด็น
ปั ญหา

หลักปฏิบัติที่ชัดเจนและเข้มแข็งเป็ นรูปธรรมข้างต้น คือ เครื่องส่ง


สะท้อนต่อภาวะของการตระหนักรู้อันละเอียดอ่อนและการให้ความสำคัญ
กับความเท่าเทียมทางเพศของ RMUTL ครอบคลุมทุกมิติด้านด้วยปรารถนา
ให้ทุกคนได้เรียน ได้ชีวิต ได้ทำงานมีสวัสดิภาพโดยมีสถานะเป็ นองค์กรที่
สามารถก้าวข้ามและทลายได้ในทุกกำแพงความเชื่อ จารีตเก่า ประเพณีเดิม
ของการแบ่งแยก เกลียดชัง หมิ่นแคลน อย่างสมบูรณ์แล้ว จึงเป็ นหลัก
ประกันที่สังคมโดยสากลจะแน่ใจร่วมกันได้ว่า RMUTL จะไม่เลือกปฏิบัติต่อ
ทุกลักษณะความแตกต่างของบุคคลทั้งทางกาย ความคิด สถานะภาพ อัต
ลักษณ์และรสนิยมทางเพศหรือข้อกางกั้นอื่นใดที่จะเป็ นอุปสรรคขัดแย้งต่อ
หลักการหรือข้อตระหนักด้านสิทธิมนุษยชนโดยเด็ดขาด
SDG 15 - Life on Land (ระบบนิเวศบนบก)

บทโปรย

มุ่งมั่นอารักขา-พัฒนา-ฟื้ นฟู “ป่ า ดิน น้ำและสรรพชีวิต” ด้วย


“พลังจิตอาสา” สู่การดำรงซึ่งความงดงามและจิตวิญญาณแห่ง
แผ่นดิน

ช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยเป็ นหนึ่งในกลุ่มประเทศกำลัง
พัฒนาซึ่งเคยมีจุดมุ่งหมายทางการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศโดยยกเอา
มิติด้านเศรษฐกิจเป็ นธงนำภายใต้ความเชื่อที่ว่าถ้าเศรษฐกิจดี ชีวิตและความ
เป็ นอยู่ของผู้คนภายในประเทศจะดีตามไปด้วยซึ่งก็เป็ นจริงดังนั้นในแง่ของ
รายได้ประชาชาติแต่การคืบคลานเข้ามาอย่างก้าวกระโดดจากการลงทุนใน
ภาคอุตสาหกรรมก็ทำให้เกิดโลกสมัยใหม่อันเหลื่อมล้ำพร้อมกับค่อยๆ สั่งสม
และสร้างปั ญหาอันรุมเร้าโดยส่งผลต่อระบบนิเวศบนบกทั้งทางตรงและทาง
อ้อมไว้ไม่น้อย ปั จจัยหนึ่ง คือ กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ อาทิ เกษตรกรรม
อุตสาหกรรม ชุมชนเมือง รวมทั้งภาคบริการและการท่องเที่ยว ต่างใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าจะอยู่กับธรรมชาติทั้งสิ้นเหล่านี้
ล้วนส่งผลทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติอย่างรวดเร็ว
เช่นกันกับภาวะและอัตราการสูญพันธุ์ การลดจำนวนลง การย้ายถิ่นฐาน
การสูญเสียถิ่นที่อยู่ของบรรดาสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศก็ดำเนินไปต่อเนื่อง
ตลอดระยะเวลา ๑๘ ปี ที่ผ่านมา RMUTL จึงเป็ นหน่วยงานที่มีบทบาท
สำคัญอย่างยิ่งสำหรับบริบทของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านหลักสูตร
การเรียนรู้อันหลากหลายตามตัวอย่างใน ตารางที่ ๑ ซึ่งล้วนเป็ นสาขาวิชาที่
มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการอารักขาป้ องกัน พัฒนา ฟื้ นฟูแหล่งทรัพยากรทาง
ธรรมชาติและระบบนิเวศบนบกอย่างครอบคลุมในทุกมิติ

ตารางที่ ๑ หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับมุ่งมั่นอารักขา-พัฒนา-ฟื้ นฟู “ป่ า ดิน น้ำ


และสรรพชีวิต”

คณะ หลักสูตรที่เปิ ดสอน


วิศวกรรมเหมืองแร่ (B.Eng. Mining
คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)
Engineering) วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (B.Eng.
Environmental Engineering)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกษตรศาสตร์ (B.Sc. Agriculture)
การเกษตร (Faculty of Sciences and เครื่องจักรกลเกษตร (B.Sc. Agricultural
Agricultural Technology) Machinery)
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ การท่องเที่ยวและการบริการ (B.A.
(Faculty of Business Administration Tourism and Hospitality)
and Liberal Arts)

ด้วยเราเข้าใจดีว่าหากการอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็ นฐานในการ
พัฒนาและใช้ประโยชน์เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของ “มนุษย์” ตั้งอยู่
บนหลักของการอนุรักษ์อย่างสมดุล ความพอเพียง ความตระหนักรู้ที่มา
พร้อมหลักรู้ที่เหมาะสม “มนุษย์ก็สามารถอยู่กับธรรมชาติในฐานะของผู้
รักษามิใช่ผู้ทำลายบนเส้นทางที่โน้มเข้าหาความยั่นยืน” ได้ต่อไป

ตารางที่ ๒ ขนาดพื้นที่และขอบเขตการอารักขา-พัฒนา-ฟื้ นฟู “ป่ า ดิน น้ำ


และสรรพชีวิต” ของ RMUTL

ขนาดพื้นที่และขอบเขต
พื้นที่จัดการศึกษา / วิทยาเขต การอารักขา-พัฒนา-ฟื้ นฟู “ป่ า ดิน น้ำและ
สรรพชีวิต”
๑) จังหวัดเชียงใหม่
 พื้นที่จัดการศึกษาส่วนกลาง เจ็ด ดูแลพื้นที่สีเขียวตลอดจนระบบนิเวศบนดิน
ลิน และในน้ำบนพื้นที่รับผิดชอบหลักกว่า ๑๑๕
ไร่ ตลอดจนมีความตระหนักรู้ที่จะร่วมกับ
หน่วยงานต่างๆ และภาคประชาชนในการให้
ความอารักขา พัฒนาและฟื้ นฟู “ป่ า ดิน น้ำ
และสรรพชีวิต” บนพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
ดอยสุเทพ-ปุย มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๖๓,๑๖๒.๕
ไร่หรือประมาณ ๒๖๑ ตารางกิโลเมตร อัน
เป็ นต้นกำเนิดของแหล่งต้นน้ำมากมาย อาทิ
แหล่งต้นน้ำห้วยคอกม้าที่ไหลลงสู่น้ำตก
มณฑาธารที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๗๓๐ เมตร
ไหลไปสมทบกับ น้ำตกมณฑาธารผ่านผาเงิบ
วังบัวบาน น้ำตกห้วยแก้วก่อนไหลลงสู่น้ำปิ ง
ซึ่งเป็ นแม่น้ำ ๑ ใน ๔ สายหลักของภาคเหนือ
และถือเป็ น ๑ ในสัดส่วนของสายเลือดใหญ่
ของประเทศไทย
 พื้นที่จัดการศึกษาส่วนกลาง เจ็ด อารักขา พัฒนา พื้นที่สีเขียวตลอดจนระบบ
ยอด นิเวศบนดินภายในพื้นที่รับผิดชอบหลักกว่า
พื้นที่ ๑๐ ไร่
 พื้นที่จัดการศึกษาส่วนกลาง อ. ดูแลพื้นที่สีเขียวตลอดจนระบบนิเวศบนดิน
ดอยสะเก็ด และในน้ำบนพื้นที่รับผิดชอบหลักกว่า ๙๐๐
ไร่ ผ่านมามีภาระกิจเปลี่ยนแปลงป่ า
เสื่อมโทรมให้เป็ นพื้นที่ป่ าสมบูรณ์ขึ้นพร้อม
กับการบริหารจัดพื้นที่ให้เป็ นแหล่งเรียนรู้ทาง
พฤษศาสตร์ เกษตรกรรม วัฒนธรรม
นวัตกรรมและเทคโนโลยี ตลอดจนมีความ
ตระหนักรู้ที่จะต้องให้ความร่วมมือกับหน่วย
งานต่างๆ และภาคประชาชนในการให้ความ
อารักขา พัฒนาและฟื้ นฟู “ป่ า ดิน น้ำและ
สรรพชีวิต” เพราะเป็ นสัดส่วนหนึ่งและตั้งอยู่
บนพื้นที่ซึ่งเป็ นสัดส่วนของโครงการพัฒนา
พื้นที่ป่ าขุนแม่กวงที่ครอบคลุมบริเวณไม่น้อย
กว่า ๓๐๐,๐๐๐ ไร่
 พื้นที่จัดการศึกษาส่วนกลาง อ. อารักขา พัฒนาและฟื้ นฟูพื้นที่สีเขียวตลอด
จอมทอง จนระบบนิเวศบนดินภายในพื้นที่รับผิดชอบ
หลักกว่า ๕๙๐ ไร่
๒) จังหวัดลำปาง อารักขา พัฒนาและฟื้ นฟูพื้นที่สีเขียวตลอด
จนระบบนิเวศบนดินภายในพื้นที่รับผิดชอบ
หลักกว่า ๑,๓๘๑ ไร่
๓) จังหวัดน่าน อารักขา พัฒนาและฟื้ นฟูพื้นที่สีเขียวตลอด
จนระบบนิเวศบนดินภายในพื้นที่รับผิดชอบ
หลักกว่า XXX ไร่
๔) จังหวัดพิษณุโลก อารักขา พัฒนาและฟื้ นฟูพื้นที่สีเขียวตลอด
จนระบบนิเวศบนดินภายในพื้นที่รับผิดชอบ
หลักกว่า ๕๗๒ ไร่
๕) จังหวัดเชียงราย อารักขา พัฒนาและฟื้ นฟูพื้นที่สีเขียวตลอด
จนระบบนิเวศบนดินภายในพื้นที่รับผิดชอบ
หลักกว่า ๕,๐๐๐ ไร่
๖) จังหวัดตาก อารักขา พัฒนาและฟื้ นฟูพื้นที่สีเขียวตลอด
จนระบบนิเวศบนดินภายในพื้นที่รับผิดชอบ
หลักกว่า XXX ไร่

ในแง่ของการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ (Area-based Management)


มทร. ล้านนา มีวิทยาเขตครอบคลุมทั้งหมด ๖ จังหวัด ๘ พื้นที่จัดการศึกษา
ไม่น้อยกว่า ๘,๐๐๐ ไร่ จึงย่อมมีส่วนร่วมกับหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ
ในการจัดสรรงบประมาณ การจัดทำโครงการ การนำนักศึกษาและบุคลากร
เข้าร่วมทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับข้องกับอารักขา-พัฒนา-ฟื้ นฟู “ป่ า ดิน น้ำและ
สรรพชีวิต” ทั้งภายในพื้นที่รับผิดชอบ พื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่สาธารณะอื่น
อาทิ อุทยานแห่งชาติ เขตพัฒนาพื้นลุ่มน้ำ พื้นที่เกษตรกรรม เป็ นต้น โดย
อาศัยองค์ความรู้เชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ไม่ว่าจะเป็ น
วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ตลอดความรู้ทาง
เทคนิค นวัตกรรมและเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้าร่วมดำเนินการตลอดจนส่ง
เสริมการสร้างการตระหนักรู้ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ใช้รู้จักประโยชน์และ
ตอบแทนธรรมชาติบนแนวทางของความยั่งยืน
“ด้วยพื้นที่อันกว้างขว้างประกอบกับพันธกิจเชิงรุกทางการพัฒนา รักษา
และฟื้ นฟู
มทร. ล้านนาจึงมีสภาพเป็ นเหมือนแนวกำแพงและป้ อมปราการ
คอยโน้มปกป้ อง โอบอ้อมทรัพยากรป่ าไม้ แหล่งต้นน้ำ ลำธารและระบบ
นิเวศบนบกด้วยไมตรีพรั่งพร้อม
รวมถึงการคุ้มครองพันธุ์สัตว์และพันธุ์พืชท้องถิ่น
ไม่ให้สูญพันธุ์จากการถูกคุกคามด้วยปั จจัยต่างๆ
เพื่อให้คงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพตราบนานเท่านาน”
SDG 16 - Peace, Justice and Strong Institutions
(สันติภาพ ความยุติธรรมและความเข้มแข็งของสถาบัน)

บทโปรย – Introduction

เราเชื่อในพลังของ ๗ เสาหลักแห่งการค้ำจุน : ความรัก - การให้


- มนุษยธรรม – จริยธรรม - ธรรมาภิบาล ความสุจริตธรรม และ
เสรีภาพทางวิชาการที่งดงาม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาใส่ใจเรื่องความยุติธรรมจึงมี
การประกาศใช้บรรดาระเบียบ สิทธิ ข้อหนด ประมวลจริยธรรมและบท
ลงโทษที่ยึดโยงต่อหลักการสากล ๕ ประการ คือ ธรรมาภิบาล มนุษยธรรม
จริยธรรม ความสุจริตธรรมและเสรีภาพทางวิชาการที่งดงาม โดยแยกแยะ
เป็ นบริบทของบุคลากรและนักศึกษาภายใต้หลักเชื่อว่า “เมื่อทุกฝ่ ายปฏิบัติ
ตามหลักการของการอยู่ร่วมกันด้วยดีแล้ว คือ ไม่ล่วงล้ำ ไม่ทำผิด ไม่ละเมิด
หรือใช้เสรีภาพของตนในทิศทางที่เกินกว่าขอบเขตอันเป็ นสิทธิธรรมซึ่ง
กำหนดไว้เมื่อประกอบเข้ากับอีก ๒ เสาหลักค้ำจุน คือ ความรักและการให้
แล้วย่อมส่งผลให้สังคมภายในมหาวิทยาลัยอยู่อย่างร่มเย็นผาสุกโดย
สามารถร่วมส่งผลทางสร้างสรรสันติภาพกับสากลภายนอกได้อย่างทรงพลัง
ด้วยความเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้”

ด้วยสถานะภาพและบทบาทที่ค่อนข้างหลากหลายซ้อนกันอยู่ภายใน
พันธกิจของ RMUTL ไม่ว่าจะในฐานะของความเป็ นหน่วยงานของรัฐบาล
ไทย ความเป็ นสถาบันการศึกษา ความเป็ นหน่วยงานบริการ การวิจัย ด้าน
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ศูนย์ส่งเสริมทางวัฒนธรรมและ
เกษตรกรรม รวมไปถึงการมีสถานะเป็ นหุ้นส่วนหรือสมาชิกภายใต้หมู่ภาคี
ความร่วมมือต่างๆ ทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ ฉะนั้น ภาพของ
ความบริสุทธิ์ โปร่งใส สุจริตและยุติธรรมย่อมมีส่วนทางการสร้างความเชื่อ
มั่นแก่ทุกภาพส่วนและต้องพร้อมที่จะได้รับการตรวจสอบอย่างเปิ ดเผยทั้ง
จากภายนอกและภายในจึงเป็ นที่มาของการประกาศมาตรการอันหลาก
1,2,3
หลาย อาทิ

 ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เรื่อง มาตรการต่อ


ต้านการรับสินบนเพื่อป้ องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ลงวันที่ 7
กุมภาพันธ์ 2562
 ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เรื่อง มาตรการส่ง
เสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562
 ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เรื่อง มาตรการ
ป้ องกันการับสินบนในการจัดซื้อจัดจ้าง ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562

1
https://lpc.rmutl.ac.th/page/ita-2564
2
https://president.rmutl.ac.th/page/ita
3
https://lpc.rmutl.ac.th/page/ita
 ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เรื่อง แนวทางการ
ป้ องกันผลประโยชน์ทับซ้อน ลงวันที่ 25 เมษายน 2562
 แผนการดำเนินงานโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการ
ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565
ของ มทร.ล้านนา
 คำประกาศแสดงเจตจำนงสุจริต นโยบายคุณธรรมและความโปร่งใส
ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พ.ศ.
2565
 การประกาศแสดงเจตจำนงสุจริต นโยบายคุณธรรมและความโปร่งใส
ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา แยก
ตามจังหวัด พ.ศ. 2565
ในส่วนของการสร้างสันติภาพ มทร. ล้านนา มุ่งเน้นในเรื่องของการส่ง
เสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม การรู้จักตระหนักในคุณค่าของตนเอง
และผู้อื่น แก่บุคลากร นักศึกษาและการทำงานในมิติดังกล่าวร่วมกับสังคม
ภายนอกอย่างรอบด้านเสมอมา รวมไปถึงการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
เข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน การฟั งธรรมะและปฏิบัติธรรมตาม
แนวทางของพระพุทธศาสนา การส่งเสริมให้เกิดการเคารพในหลักปฏิบัติ
หลักเชื่อของทุกศาสนาอย่างไม่เลือกปฏิบัติเพราะเราเชื่อทุกศาสนาต่างมุ่ง
เน้นในเรื่องของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติบนพื้นฐานของหลักความเมตตา
การให้และความรัก ซึ่งเป็ นภาษาสากลไร้เขตแดนกั้นขวาง การเข้าถึงสิ่ง
เหล่านี้ย่อมผูกผลต่อการลดปั ญหาเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ การค้ามนุษย์
การฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้า ปั ญหายาเสพติด การใช้ความรุนแรงต่อเด็กหรือ
สตรีและบรรเทาซึ่งปั ญหาความเหลื่อมล้ำต่างๆ ถือเป็ นส่วนหนึ่งในการนำ
soft power เข้ามามีส่วนร่วมในการลดข้อกังวลและร่วมแก้ไขปั ญหาของ
ภาคสังคมในระดับสากลที่เราเชื่อมั่นว่าเป็ นวิธีการยั่งยืนที่สุด มิติสุดท้ายใน
การบรรลุเป้ าหมายนี้ คือ การสนับสนุนในทุกเสรีภาพเพื่อการแสดงออกทาง
ความคิดและทางวิชาการด้วยการจัดให้มีเวทีทางการเสวนาสาธารณะ สภา
กาแฟชุนชนและองค์กรเครือข่าย สภานักศึกษา สโมสรนักศึกษา สภา
วิชาการ สมาคมศิษย์เก่า การให้อิสระทางการวิจัย การทำงานทางวิชาการ
และการสอน ทั้งที่เป็ นประเภทตรงศาสตร์ความเชี่ยวชาญหรือบูรณศาสตร์
โดยไร้ข้อจำกัดแต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบจริยธรรมและหลักการทำงานเหมาะ
สมถูกต้องตามหลักการของมหาวิทยาลัย หลักกฏหมายและหลักการทาง
สังคมที่เกี่ยวข้อง
https://personal.rmutl.ac.th/news/18015-มทรล้านนา-ประกาศ
เจตจำนงสุจริต-นโยบายคุณธรรมและควา

https://www.facebook.com/photo/?
fbid=680077010581989&set=a.594098845846473&loca
le=th_TH

https://www.rmutl.ac.th/news/20762-มทรล้านนา-
ประกาศเจตนารมณ์-no-gift-policy-ไม่ให้

https://www.rmutl.ac.th/news/18088-26-01-2565
https://personal.rmutl.ac.th/news/18015-มทรล้านนา-
ประกาศเจตจำนงสุจริต-นโยบายคุณธรรมและควา

https://www.rmutl.ac.th/news/21055-มทรล้านนา-ประกาศ
เจตจำนงสุจริต
https://personal.rmutl.ac.th/gallery/9905-เข้าร่วมกิจกรรมวัน
สันติภาพสากล

https://reg.rmutl.ac.th/news/19907-มทรล้านนาจัดกิจกรรมอ่าน
สารสันติภาพพร้อมทั้งสงบนิ่
https://hr.rmutl.ac.th/memo/activity/detail/8923/
baa9a52e33792bfcf75f1585ffce7608737bda1eb2e1b1b0e48c
17d16121e07f
https://www.rmutl.ac.th/news/23029-มทรล้านนาจัดกิจกรรมอ่าน
สารสันติภาพพร้อมทั้งสงบนิ่
https://www.rmutl.ac.th/activity/1861-โครงการสืบสานประเพณีวันธรรมสวนะ-

นบพระฟั งธรรม

You might also like