You are on page 1of 39

ข้อความสำหรับคัดลายมือ

"งานราชการนั้น คืองานของแผ่นดิน มีผลเกี่ยว


เ นื่ อ ง โ ด ย ต ร ง ถึ ง ป ร ะ โ ย ช น์ ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ช า ติ แ ล ะ
ประชาชนทุกคน ดังนั้น ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงาน
ของแผ่นดิน จึงต้องทำความเข้าใจถึงความสำคัญใน
หน้าที่ และความรับผิดชอบของตนให้ถ่องแท้แล้วร่วม
กันคิดร่วมกันทำด้วยความอุตสาหะ เสียสละและด้วย
ความสุจริตจริงใจ โดยถือประโยชน์ที่จะเกิดจากงาน
เป็ นหลักใหญ่งานของแผ่นดินทุกส่วนจักได้ดำ เนิน
ก้าวหน้าไปพร้อมกัน และสำเร็จประโยชน์ที่พึงประสงค์
คือยังความเจริญมั่นคง ให้เกิดแก่ประเทศชาติและ
ประชาชนได้แท้จริงและยั่งยืนตลอดไป"
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทร
เทพยวรางกูร
พระราชทานพระราโชวาทแก่ข้าราชการพลเรือนเนื่อง
ในวันข้าราชการพลเรือน
1 เมษายน 2560

ข้อความสำหรับคัดลายมือ
"ในปี ใหม่นี้ ขอให้ชาวไทยทุกคน ตั้งใจให้แน่วแน่ที่
จะรักษาคุณสมบัตินี้ ให้เหนียวแน่น และทำความ
คิดจิตใจให้แจ่มใส ด้วยปั ญญาที่กระจ่าง พิจารณาทุก
สิ่งที่เกิดมีขึ้นตามความเป็ นจริง โดยปราศจากอคติ ให้มี
ความมุ่งมั่น มีกำลังใจ ในอันที่จะร่วมกันปฏิบัติสรรพ
กิจน้อยใหญ่ ในภาระหน้าที่ตามแนวพระบรม-
ราโชบายที่พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดชฯ บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานไว้ ให้งาน
ทุกอย่างสำเร็จผล เป็ นความดีความเจริญ ทั้งแก่ตนเอง
แก่ส่วนรวม และประเทศชาติ เป็ นการรำลึกถึงพระ
มหากรุณาธิคุณ"
"ในการนี้ ข้าพเจ้าขอปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับประชาชน
ชาวไทยโดยเต็มกำลังความสามารถ เพื่อสืบสาน พระ
ราชปณิธานเช่นกัน
"พระราชดำรัส สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลง
กรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระราชทานแก่ประชาชน
ชาวไทยในโอกาสขึ้นปี ใหม่ 2560
ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

ข้อความสำหรับคัดลายมือ
"ขออวยพรให้ทุกท่านมีกำลังกาย กำลังใจ และ
กำลังปั ญญา ตลอดจนขวัญและความสุข เพื่อปฏิบัติ
หน้าที่เพื่อประเทศและประชาชน ซึ่งถ้าปฏิบัติได้ดี มี
ความตั้งใจ มีความขันติ มีความอดทน ขอให้พร และ
ขอพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา
ภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงคุ้มครอง ได้ทรงชี้แนะ และ
ปกปั กษ์รักษาพวกท่าน เพราะว่าตลอดระยะเวลา 70 ปี
ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงปฏิบัติมามาก
และหลายอย่างได้พระราชทานพระราชดำริ และ
พระราชทานแนวทางไว้ ก็ขอฝากให้ท่านได้ศึกษาพระ
ราชดำริ ศึกษาวิเคราะห์ พระราชปณิธานและศึกษา
พระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ทรงปฏิบัติมาอันนี้จะเป็ นสิ่ง
ที่ทำให้เป็ น สิริมงคลและเป็ นยิ่งกับพระที่คุ้มครอง
พวกเรา การปฏิบัติตามหรือการระลึกถึง พระ
มหากรุณาธิคุณ ระลึกถึงพระราชดำริหรือพระราช
ปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดช นี้จะเป็ นพระ เป็ นแสงสว่าง ที่คุ้มครองหรือ
แนะนำพวกเราต่อไป"

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทร
เทพยวรางกูร
มีพระราชดำรัส ให้กำลังใจคณะรัฐมนตรีใหม่ เข้าเฝ้ าฯ
ถวายสัตย์ปฏิญาณ
20 ธันวาคม 2559

ข้อความสำหรับคัดลายมือ
"ข้าพเจ้าทราบตระหนักว่า ข้าพเจ้ามีหน้าที่และ
ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติอย่างสูง และการ
ปฏิบัติราชการแผ่นดินนั้น เป็ นภาระสำคัญใหญ่ยิ่ง ที่
ต้องอาศัยทั้งสติปั ญญาและความรู้ความสามารถอย่าง
พร้อมมูล ข้าพเจ้าจะต้องเพียรพยายาม ศึกษาและ
ปฏิบัติฝึ กฝนตนเองต่อไปอีกอย่างมาก เพื่อให้สามารถ
เหมาะสม กับหน้าที่ ตามที่ทุกคนมุ่งหวัง... ในโอกาสอัน
พิเศษนี้ จึงใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายได้เป็ นกำลังใจ
สนับสนุนข้าพเจ้า และได้ตั้งความ ปรารถนาร่วมกันกับ
ข้าพเจ้าที่จะมุ่งมั่นประกอบกรณียกิจ ด้วยความสามัคคี
พร้อมเพรียง และด้วยความสุจริตยุติธรรม เพื่อยังความ
เจริญมั่นคงและความร่มเย็นเป็ นผาสุกให้บังเกิดแก่ชาติ
ประเทศ และ ประชาชนยั่งยืน สืบไป"

พระราชดำรัส สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยาม


มกุฎราชกุมาร ที่ทรงให้คำมั่นไว้ในงานสโมสร
สันนิบาต ซึ่งรัฐบาลจัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ที่
ทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร 29 ธันวาคม 2515

ข้อความสำหรับคัดลายมือ
“ข้อสำคัญ การจะเป็ นคนที่เก่งจริงและดีแท้นั้น
ต้องเป็ นให้ตลอด กล่าวคือ ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ในฐานะ
ใดก็ตาม ต้องตั้งตัวตั้งใจให้มั่นคงหนักแน่น
ที่จะประพฤติตนปฏิบัติงานทุกอย่าง โดยยึดมั่นในความ
ดีและความถูกต้องเสมอไป จึงขอให้ทุกคน ทั้งผู้ที่จะ
ออกไปศึกษาต่อและประกอบอาชีพการงานได้รักษา
ความเก่งและความดีที่มีอยู่ พร้อมทั้งสร้างเสริมให้เจริญ
งอกงามยิ่ง ๆ ขึ้น
เพราะคุณสมบัติเหล่านี้จะเกื้อหนุนแต่ละคนให้ประสบ
แต่ความสุขความสำเร็จทั้งในชีวิตและกิจการงานได้
แท้จริง”
พระราโชวาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธี
พระราชทานประกาศนียบัตร ทุน และรางวัลของ
วชิราวุธวิทยาลัย ประจำปี การศึกษา 2558
ณ วชิราวุธวิทยาลัย วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560
ข้อความสำหรับคัดลายมือ

“งานของท่านในอนาคต คืองานสร้างเจริญมั่นคง
ของประเทศ เป็ นงานใหญ่ซึ่งผูกพันท่าน ให้ต้องร่วม
กันกระทำอยู่ตลอดชีวิต งานนี้จะกระทำสำเร็จได้โดยที่
ทุกคนเข้าใจซาบซึ้งถึงคุณของชาติบ้านเมือง และ
ทำงานทุกอย่างด้วยสติ สำนึกถึงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ
เพื่อส่วนรวม
ทุกคนมีชาติบ้านเมืองเป็ นที่เกิดที่อาศัย ทุกคนจะ
มีความสุขความเจริญได้ก็เพราะบ้านเมืองเป็ นปรกติ
มั่นคง ผู้ที่ทำงานให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมย่อมได้
รับประโยชน์เป็ นส่วนของตนด้วย ผู้ที่ทำงานโดยเห็น
แก่ตัวเบียดเบียนประโยชน์ส่วนรวม ย่อมบั่นทอน
ทำลายความมั่นคงของประเทศชาติและที่สุดตนเองก็
จะเอาตัวไม่รอด”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
ประกาศนียบัตร และอนุปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการ
ศึกษา สาขาวิชาและวิชาต่างๆ
ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันพฤหัสบดีที่ ๑๖
มกราคม ๒๕๑๒
ข้อความสำหรับคัดลายมือ

“เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึง
สมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ควรจะใช้คำเก่า ๆ ที่เรามี
อยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก ปั ญหา
เฉพาะในด้านรักษาภาษานี้มีหลายประการ อย่างหนึ่ง
ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียง
ให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ใน
วิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับ
เป็ นปั ญหาที่สำคัญ ปั ญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำ
ของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมี
การบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้”

พระราชดำรัสตอนหนึ่งของ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนิน
ไปทรงร่วมการอภิปรายเรื่อง “ปั ญหาการใช้ภาษาไทย”
ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะ
อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุม
คณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2505
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการ
รักษาและการใช้ภาษาไทยอย่างมาก เรียกได้ว่าทรง
เป็ นต้นแบบของการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง และ
กลายเป็ นที่มาของการกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคม
ของทุกปี เป็ นวันภาษาไทยแห่งชาติ
ขณะเดียวกันพระองค์ยังทรงห่วงใยด้านภาษาไทย
ถิ่นด้วย ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานในคราว
เดียวกันว่า “ภาษาก็เป็ นศิลปะเหมือนกัน อาจไม่ทราบ
ว่าภาษามาจากไหน ภาษาของไทยเราเป็ นของจริงอยู่
ที่ไหน เพราะว่าเราพยายามก่อขึ้นมา โดยไม่มีหลักฐาน
ไม่มีความรอบคอบพอ แล้วก็แพร่ไปต่างจังหวัด ไป
ทำลายภาษาพื้นเมือง ซึ่งจะเป็ นหลักประกันความ
บริสุทธิ์ของภาษา เห็นด้วยในการที่เราควรจะรักษา
ภาษาภาคเหนือ ภาคใต้ ต้องระวังรักษาให้ดี ๆ เพราะ
เป็ นแหล่งที่จะไปศึกษาภาษาโดยแท้”
ข้อความสำหรับคัดลายมือ

การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ๔ ด้าน
1.มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ข้อนี้มีคำขยายว่า
ต้องมีความรู้ความเข้าใจที่มีต่อชาติบ้านเมือง ยึด
มั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์
และมีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของ
ตน
2.มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม ข้อนี้มีคำขยาย
ว่า ให้รู้จักแยกแยะสิ่งที่ผิด-ที่ถูก สิ่งชั่ว-สิ่งดี เพื่อ
ปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบที่ดีงาม ปฏิเสธสิ่งที่ผิดที่ชั่ว
เพื่อสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง
3.มีงานทำ มีอาชีพ ข้อนี้มีคำขยายว่า ต้องให้เด็กรัก
งาน สู้งาน ทำงานจนสำเร็จ อบรมให้เรียนรู้การ
ทำงาน ให้สามารถเลี้ยงตัวและเลี้ยงครอบครัวได้
4.เป็ นพลเมืองดี ข้อนี้มีคำขยายว่า การเป็ นพลเมือง
ดีเป็ นหน้าที่ของทุกคน สถานศึกษาและสถาน
ประกอบการต้องส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสทำ
หน้าที่พลเมืองดี การเป็ นพลเมืองดีหมายถึงการมี
น้ำใจ มีความเอื้ออาทร ต้องทำงานอาสาสมัคร
งานบำเพ็ญประโยชน์ “เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้าน
เมืองได้ก็ต้องทำ”

ข้อความสำหรับคัดลายมือ

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว

ว่าด้วยภาษาไทยและความสำคัญของ
หนังสือ
“…เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล
จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปั ญหาเฉพาะในด้าน
รักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้
บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้อง
ชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้
หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบเป็ นประโยค นับเป็ น
ปั ญหาที่สำคัญ ปั ญหาที่สาม คือความร่ำรวยในคำของ
ภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการ
บัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้…”

พระราชดำรัสในการประชุมทางวิชาการของ
ชุมนุมภาษาไทย

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๙
กรกฎาคม ๒๕๐๕
ข้อความสำหรับคัดลายมือ

“…ในด้านบัญญัติศัพท์หรือคำใหม่ก็เป็ นทางหนึ่งที่
อันตรายมากเหมือนกัน…สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความ
จำเป็ นทางวิชาการไม่ใช่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควร
จะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้ง
ศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก… แต่การตั้งคำใหม่นั้นมีหลักหลาย
ประการ และผู้ที่ตั้งคำนั้นต้องรู้คำและหลักของภาษา
ลึกซึ้งทั้งภาษาไทย ทั้งภาษาต่างประเทศ ไม่ใช่เฉพาะ
ภาษาอังกฤษ ต้องทราบถึงภาษาอื่นๆ ด้วย ต้องทราบ
ถึงหลักภาษาอังกฤษเอง คือมาจากไหน มาจากความ
คิดอะไร เพื่อจะไม่ให้ผิดไปอย่างตลกขบขันทีเดียว…”

พระราชดำรัสในการประชุมทางวิชาการของชุมนุม
ภาษาไทย

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๙
กรกฎาคม ๒๕๐๕
ข้อความสำหรับคัดลายมือ

“ภาษาไทยหรือภาษาทั้งหลายที่ใช้กันในปั จจุบัน
นั้นเป็ นภาษาที่มีชีวิต เป็ นภาษาที่ประชาชนใช้ ย่อม
ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในความหมาย ถ้าเราบัญญัติ
ศัพท์อะไรขึ้นมาก็จะขอให้ประชาชนทั้งประเทศเป็ นผู้ที่
มีความคิดในด้านภาษาเป็ น “ศัพท์บัญญัติกร” กันทั้ง
ชาติ หรือเป็ นวิทยากรผู้ที่มีความรู้ทั้งชาติก็ไม่ได้… ทาง
ที่ดีเราบัญญัติศัพท์แล้วก็ต้องลองดูว่าเขาเข้าใจหรือ
เปล่า การบัญญัติศัพท์หรือการมีคำใหม่มีบ่อเกิดหลาย
ทาง… ท่านทั้งหลายที่เป็ น “ศัพท์บัญญัติกร” ก็เป็ นบ่อ
เกิด อีกบ่อหนึ่งก็คือ สำนักข่าวต่างๆ ที่แปลจากภาษา
อังกฤษหรือภาษาต่างประเทศมาเป็ นภาษาไทยก็ออก
มาเป็ นภาษาประหลาดๆ เหมือนกัน”

พระราชดำรัสในการประชุมทางวิชาการของชุมนุม
ภาษาไทย

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๙
กรกฎาคม ๒๕๐๕
ข้อความสำหรับคัดลายมือ

“งานของท่านในอนาคต คืองานสร้างเจริญมั่นคง
ของประเทศ เป็ นงานใหญ่ซึ่งผูกพันท่าน ให้ต้องร่วม
กันกระทำอยู่ตลอดชีวิต งานนี้จะกระทำสำเร็จได้โดยที่
ทุกคนเข้าใจซาบซึ้งถึงคุณของชาติบ้านเมือง และ
ทำงานทุกอย่างด้วยสติ สำนึกถึงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ
เพื่อส่วนรวม
ทุกคนมีชาติบ้านเมืองเป็ นที่เกิดที่อาศัย ทุกคนจะ
มีความสุขความเจริญได้ก็เพราะบ้านเมืองเป็ นปรกติ
มั่นคง ผู้ที่ทำงานให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมย่อมได้
รับประโยชน์เป็ นส่วนของตนด้วย ผู้ที่ทำงานโดยเห็น
แก่ตัวเบียดเบียนประโยชน์ส่วนรวม ย่อมบั่นทอน
ทำลายความมั่นคงของประเทศชาติและที่สุดตนเองก็
จะเอาตัวไม่รอด”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
ประกาศนียบัตร
และอนุปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาและ
วิชาต่างๆของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๑๒

ข้อความสำหรับคัดลายมือ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทร
เทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้เลขาธิการพระราชวังอัญเชิญพระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานไว้ในพิธีเปิ ดงาน
ชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ณ ค่ายลูกเสือ
วชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี วันพฤหัสบดีที่
11 ธันวาคม พุทธศักราช 2532 ความตอนหนึ่งว่า “ขอ
ให้ทราบถึงสิ่งสำคัญในการปกครองไว้ว่าในบ้านเมือง
นั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคน
เป็ นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข
เรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็ นคนดี หากแต่อยู่ที่
การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุม
คนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
ทั้งนี้ ทรงมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนในชาติ
ตลอดจนข้าราชการทุกหมู่เหล่า ทั้งข้าราชการ
พลเรือน ทหาร และตำรวจ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลความมั่นคง
ของประเทศชาติและบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับ
ประชาชน ได้ทบทวนและตระหนักถึงพระบรม
ราโชวาทที่ได้พระราชทานไว้ ด้วยทรงมีความห่วงใย
ในความมั่นคงของประเทศชาติ ความรู้สึกและความสุข
ของประชาชน จึงได้พระราชทานเพื่อเป็ นขวัญกำลังใจ
และเป็ นการเตือนสติ ให้น้อมนำ มาเป็ นแนวทางใน
การปฏิบัติหน้าที่ เพื่อความสมัครสมานสามัคคี ความ
มั่นคงของชาติบ้านเมือง และความสุขของประชาชน
เป็ นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาท
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถ
บพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม
ราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ที่ทรงรักและทรงห่วงใยใน
ชาติบ้านเมือง และประชาชนมาโดยตลอด
ข้อความสำหรับคัดลายมือ

"ครองแผ่นดินโดยธรรม"

พระปฐมบรมราชโองการเป็ นพระราชสัตยาธิษฐาน
ของพระมหากษัตริย์ จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้ง
หลาย เป็ นพระราชประเพณีที่สืบทอดมายาวนาน
ภายหลังประเทศไทยเปลี่ยนแปลง การปกครอง
เป็ นระบอบประชาธิปไตย พระปฐมบรมราชโองการก็
เปลี่ยนไปตามสถาน-การณ์ ดังพระปฐมบรม
ราชโองการของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา
ภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่มีข้อ
ความสั้นๆว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อ
ประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และมีการสืบสาน
ต่อโดยรัชกาลที่ 10
“ครองแผ่นดินโดยธรรม” หมายถึง การยึดหลักทศ
พิธราชธรรม 10 ประการของพระพุทธศาสนา อันได้แก่
ทาน คือการให้ ศีล การประพฤติทางกายและวาจาที่
ปราศจากโทษ ปริจาคะ การเสียสละ อาชชวะ ความ
ซื่อตรง มัททวะ ความอ่อนโยน ตปะ มีความเพียร อัก
โกธะ การไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ อวิหิงสา การไม่
เบียดเบียน ขันติ ความอดทน และอวิโรธนะ การตั้งอยู่
ในขัตติยราชประเพณี

การให้ การพูดจาไพเราะ การบำเพ็ญประโยชน์


และการวางตนสม่ำเสมอ ที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า
“สังคหวัตถุธรรม” ก็เป็ นพระจริยวัตรสำคัญของพระ
ราชา เป็ นที่ตั้งแห่งความสงเคราะห์ เป็ นเครื่องยึด
เหนี่ยวน้ำใจของประชาชน

https://www.thairath.co.th/newspaper/columns/
ข้อความสำหรับคัดลายมือ

พอเพียง หมายถึง ความพอเพียงในการดำเนินชีวิต


แบบทางสายกลาง มีเหตุมีผล ใช้ความรู้ในการตัดสินใจ
อย่างรอบคอบ มีความพอประมาณ พอดี ไม่เบียดเบียน
ตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่ประมาทสร้าง
ภูมิคุ้มกันที่ดี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
คุณธรรม “พอเพียง” เป็ นคุณธรรมที่มีความสำคัญ
ถือเป็ นปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องของคนไทย
และสังคมไทย ซึ่งเราจะเห็นได้จากหลักธรรมคำสอน
ของศาสนา และผลเชิงประจักษ์จากการปฏิบัติตามพระ
บรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหา
ภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับ ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
คุณธรรมความพอเพียงเรื่องเดียวจะช่วยแก้ปั ญหา
คุณธรรมในสังคมไทยปั จจุบันได้ดี โดยเฉพาะปั ญหา
ที่มาจากความโลภ และลัทธิบริโภคนิยม ที่ทำให้คนไทย
อยากได้ อยากมี เกินความจำเป็ น ไม่สิ้นสุด ทำให้เกิด
ปั ญหาการเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบ ทุจริต แตกแยก
ขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำในสังคม และการทำลาย
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงปั ญหาสังคมต่างๆ
เช่น อาชญากรรม ยาเสพติด ฯถ้าเรามีคุณธรรม “พอ
เพียง” ก็จะช่วยแก้ปั ญหาได้บ้างในระดับบุคคล
ครอบครัวองค์กร ชุมชน และสังคม
ความข้างต้น อาจทำให้เข้าใจว่าความพอเพียงจะมี
ความหมายเชิงลบแต่แท้จริงแล้ว ความพอเพียง เป็ น
ความหมายเชิงบวก คือ แสดงถึงความสุขความยินดี
และความสันโดษ

สิน สื่อสวน. การส่งเสริมคุณธรรม“พอเพียง วินัย สุจริต จิต


อาสา”สร้างคนดีสู่สังคม .พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี . 2561.
ข้อความสำหรับคัดลายมือ

เรียนรู้ “วินัย” จากคำสอนพ่อ


ที่สุดของต้นแบบแห่งความมีวินัยของคนไทยทุกคน
ก็คือ พระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร แม้
พระองค์จะเป็ นพระมหากษัตริย์แต่ทรงให้ความสำคัญ
กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบมาโดยตลอดพระชนม์ชีพ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ข้าราชบริพารที่รับใช้เบื้อง
พระยุคลบาทเคยเล่าว่า
มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งด้วย
พระองค์เองตามลำพัง เมื่อมาถึงสี่แยกไฟแดง
แห่งหนึ่ง ขณะที่กำลังรอสัญญาณไฟอยู่นั้นก็มีรถตำรวจ
ซึ่งนำขบวนรถรัฐมนตรีแล่นมาจ่อท้ายและบีบแตรไล่ให้
หลบ โดยหารู้ไม่ว่า รถคันนั้นเป็ นรถพระที่นั่ง
ของพระองค์ ตำรวจเดินตรงมาที่รถพระที่นั่ง เป็ น
จังหวะที่พระองค์ ก็เสด็จลงจากรถพอตำรวจเห็น
เท่านั้น ก็ทรุดนั่งลงกับพื้นทันทีก่อนที่รัฐมนตรีจะเดิน
ตามมาและก้มลงกราบพระองค์ด้วยอาการตัวสั่นเทา
พระองค์ตรัสถามรัฐมนตรีและตำรวจติดตามว่า“พวก
ท่านจะรีบไปไหนหรือ? ถึงกับจะต้องฝ่ าไฟแดง ข้าพเจ้า
ยังรอติดไฟแดงได้เลย” แต่ไม่มีคำตอบใดๆ ในวันนั้น
ก่อนจะแยกย้าย ตำรวจที่นำขบวนรถรัฐมนตรี ก็ได้ทูล
ถามพระองค์ว่า “ให้ข้าพระพุทธเจ้าขับรถนำรถ
พระที่นั่งของพระองค์ไปไหมพระพุทธเจ้าข้า”“เราไม่
ต้องให้ท่านมานำขบวนรถเราหรอก เราขับไปเองคน
เดียวได้ท่านไปนำรถของท่านรัฐมนตรีเถอะ”
นั่นเป็ นกระแสรับสั่งเพียงสั้นๆ ก่อนที่พระองค์จะทรง
ขับรถออกไป...
สิน สื่อสวน. การส่งเสริมคุณธรรม“พอเพียง วินัย สุจริต จิต
อาสา”สร้างคนดีสู่สังคม .พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี . 2561.

ข้อความสำหรับคัดลายมือ

คำพ่อสอนให้ “สุจริต” เพื่อชีวิตสันติสุข


เป็ นที่ทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรม
หาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสำคัญกับการดำรงชีวิต
ด้วยความสุจริต พระองค์
ทรงดำรงตนด้วยความสุจริต ตลอดพระชนม์ชีพดังเช่น
ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงลงแข่งในกีฬาเรือใบ ขณะที่ทรง
เรือใบออกไปจากฝั่ งได้ไม่นาน ก็ทรงแล่นกลับเข้าฝั่ ง
และตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้ าฯ ว่า“เรือแล่นไปโดนทุ่น
เข้า”ตามกติกานั้นถือว่าฟาล์ว ซึ่งพระองค์ทรงเคร่งครัด
ในกติกาการแข่งเรือใบอย่างมาก แม้จะไม่มีใครเห็นการ
ฟาล์วในครั้งนั้น แต่พระองค์ก็ไม่ยอมละเลยหรือปล่อย
ผ่านไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสุจริตและการเป็ น
แบบอย่างที่ดีแก่ปวงชนชาวไทยนอกจากนี้ พระองค์ยัง
ทรงเผยแพร่คุณธรรมดังกล่าวมาสู่พสกนิกรของ
พระองค์ผ่านพระราชดำรัสในโอกาสต่างๆ อย่างต่อ
เนื่อง ทรงเน้นย้ำเสมอว่าความซื่อสัตย์สุจริตเป็ นพื้นฐาน
ของความดีทุกอย่าง หากฝึ กฝนให้เกิดในตนเองก็ย่อม
ส่งผลดีต่อการพัฒนาคน สังคม รวมถึงประเทศชาติตาม
ลำดับ
สิน สื่อสวน. การส่งเสริมคุณธรรม“พอเพียง วินัย สุจริต จิต
อาสา”สร้างคนดีสู่สังคม .พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี . 2561.

ข้อความสำหรับคัดลายมือ

“สุจริต” ช่วยสร้างคนดี สังคมดีอย่างไร


สุจริต เป็ นคุณธรรมสำคัญ บุคคล องค์กร ประเทศ
ใดยึดถือความสุจริตย่อมทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่ความ
มั่นคงยั่งยืน เป็ นที่เชื่อถือและยอมรับ แต่หากปราศจาก
ความสุจริตก็จะนำ ไปสู่การทุจริต ขาดธรรมาภิบาล
เอาเปรียบ สร้างความเหลื่อมล้ำ แตกแยก นำไปสู่การ
ล่มสลายทั้งบุคคล องค์กร และประเทศคนที่ยึดมั่นใน
ความสุจริตจะต้องมีคุณธรรมพื้นฐานคือ ความรู้สึกผิด
ชอบชั่วดีละอายชั่วกลัวบาป และความรับผิดชอบ การ
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและความพอเพียง และเมื่อ
ความสุจริตเกิดขึ้น จะนำไปสู่ความรู้รักสามัคคี ทำให้
สังคมอยู่ร่วมกันอย่างไว้วางใจ เกิดสันติสุขได้
สิน สื่อสวน. การส่งเสริมคุณธรรม“พอเพียง วินัย สุจริต จิต
อาสา”สร้างคนดีสู่สังคม .พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี . 2561.

ข้อความสำหรับคัดลายมือ
จิตอาสา...ตามคำพ่อ : เรียนรู้ตามรอย
พระบาท

‘กระป๋ องคนจน’ เป็ นกุศโลบายที่สมเด็จพระศรี


นครินทราบรมราชชนนี
ทรงฝึ กให้พระราชโอรสและพระราชธิดา รู้จักวิธีการ
ประหยัด อดออม และการ
เสียสละเพื่อผู้อื่น
โดยพระองค์จะตั้งกระป๋ องออมสินไว้กลางที่
ประทับ หากพระราชโอรสและพระราชธิดาทรงนำเงิน
ไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร อาทิ พระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
สมัยทรงพระเยาว์ พระองค์
ทรงได้รับค่าขนมสัปดาห์ละครั้ง
แต่แม้จะได้ค่าขนมทุกสัปดาห์ ก็ยังทรงรับจ้างเก็บ
ผักและผลไม้ไปขายเมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมา
ปลูกเพิ่ม และส่วนหนึ่งจะถูกหยอดใส่กระปุกนี้10
เปอร์เซ็นต์เหมือนการเก็บภาษี
พอถึงสิ้นเดือน สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช
ชนนีจะทรงประชุมทั้งสามพระองค์ว่า จะนำเงินก้อนนี้
ไปทำประโยชน์อย่างไร หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
อย่างไร
การหล่อหลอมเรื่อง ‘การให้’ ของสมเด็จพระศรี
นครินทราบรมราชชนนีได้เป็ นที่ประจักษ์ของปวงชน
ชาวไทยตลอดระยะเวลาทรงครองสิริราชสมบัติ 70 ปี
ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตรพระองค์ทรงเป็ นผู้ให้และแบบอย่างของ
การให้ ทั้งยังทรงสอนคนไทยผ่านพระบรมราโชวาท
และพระราชดำรัสมานับครั้งไม่ถ้วน

สิน สื่อสวน. การส่งเสริมคุณธรรม“พอเพียง วินัย สุจริต จิต


อาสา”สร้างคนดีสู่สังคม .พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี . 2561.

ข้อความสำหรับคัดลายมือ

“จิตอาสา” ช่วยสร้างคนดี สังคมดี


อย่างไร

จิตอาสา เป็ นคุณธรรมสากลที่ช่วยให้สังคมอยู่เย็น


เป็ นสุขร่วมกันซึ่งจิตอาสาจะเชื่อมโยงกับคุณธรรมอื่นๆ
เป็ นคุณธรรมพื้นฐานของผู้ที่มีจิตอาสา คือ เป็ นผู้ที่มี
ความรัก ความเอื้อเฟื้ อเผื่อแผ่ มีเมตตากรุณา อยาก
ช่วยให้คนอื่นพ้นทุกข์หรือมีความสุข การเป็ นผู้มีจิต
อาสาย่อมมีใจที่เป็ นผู้ให้หรือ ทาน ซึ่งการให้นั้นมิได้
หมายเพียงการให้เงินทองสิ่งของเท่านั้น แต่หมายรวม
ถึงการให้ความคิด ให้คำปรึกษาและให้เวลาด้วย
อีกระดับหนึ่งของจิตอาสา คือ จิตสาธารณะ คือ มี
ความใส่ใจต่อสังคมหมายถึงมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ช่วยแก้ไขปั ญหาหรือพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นแม้ไม่ใช่งานใน
หน้าที่ เมื่อคนในสังคมมีจิตอาสา จิตสาธารณะกันมาก
ขึ้น ก็จะเกิด การทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดความสามัคคี
ปรองดอง ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและนำไปสู่สันติสุขได้
ดังนั้น แต่ละคนสามารถเป็ นจิตอาสาได้ตามความ
ชอบ ความถนัดตามสถานะ และเงื่อนไขของแต่ละคน
โดยไม่ต้องรอความพร้อม จิตอาสาสามารถทำได้ทันที
จะทำอะไรให้ใคร ด้วยอะไร ให้เกิดผลระดับไหน คุณ
เลือกได้อย่างไรก็ตามควรมีการยกระดับของความเป็ น
จิตอาสาก็จะทำให้จิตอาสาเป็ นพลัง สร้างสังคมให้น่า
อยู่ได้มากมาย

สิน สื่อสวน. การส่งเสริมคุณธรรม“พอเพียง วินัย สุจริต จิต


อาสา”สร้างคนดีสู่สังคม .พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี . 2561.

You might also like