You are on page 1of 9

การศึกษาสาเหตุและการป้ องกันการเกิดภัยพิบัติ

ที่มาและความสำคัญ
การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมของโลก เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ ซึ่งทำให้ส่งผลต่อการเกิดปัญหาทาง
กายภาพ หรือภัยพิบัติต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคต่างๆของโลก เช่น แผ่นดินไหว ปรากฏการณ์
เรือนกระจก แผ่นดินถล่ม ตลอดจนภัยพิบัติอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อมวล
มนุษย์ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่การเกิดขึ้นอย่างช้าๆไปจนถึงการเกิดอย่างฉับพลันและรุนแรง ซึ่ง
เป็นอันตรายต่อชีวิต สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้
เกี่ยวกับภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติโลกที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ และศึกษาการป้ องกัน เพื่อจะ
ได้นำไปปรับวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับสภาวะในขณะนี้
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษา 3 ภัยพิบัติ สาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหาหรือการป้ องกันการเกิดภัยพิบัติ
ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า
1. กำหนดหัวข้อที่จะศึกษาตามความสนใจและวางแผนการศึกษา
2. ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลตามประเด็นหรือหัวข้อที่กำหนด
3. สรุปผลการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลและสรุปเป็นองค์ความรู้
ผลการศึกษา
ผลจากการศึกษา 3 ภัยพิบัติทางธรรมชาติและมนุษย์เป็นคนกระทำ วิธีการแก้ไขปัญหา พบว่ามีดังนี้

พายุ

พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบ

ต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรง

ของพายุ จะมีปั จจัยสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วใกล้ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูง

ถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ

และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่

จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด
พายุหมุนเขตร้อน

พายุหมุนเขตร้อนในประเทศไทย

พายุหมุนเขตร้อนเป็ นคำทั่ว ๆ ไปที่ใช้สำหรับเรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลน ที่มี


ถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ แต่อยู่นอกเขตบริเวณ
เส้นศูนย์สูตร เพราะยังไม่เคยปรากฏว่ามีพายุหมุนเขตร้อนเกิดที่เส้นศูนย์สูตร
พายุนี้เกิดขึ้นในมหาสมุทร หรือทะเลที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 26 เซสเซียส ถึง 27 เซ
สเซียส และมีปริมาณไอน้ำสูง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วน
ใหญ่จากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้ว
เวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวันออกอีก พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นได้หลายแห่งใน
โลก และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด

พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็ นพายุที่มีความ


รุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
ตั้งแต่ ๑๐๐ กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการ
หมุนเวียนของลมเป็ นไปโดยพัดเวียนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลาง
ของพายุในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้
ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็ นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด

ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็ นเกณฑ์ในการพิจารณา
ความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิฟิ กเหนือด้านตะวันตก และ
ทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้

พายุฤดูร้อนหรือพายุฟ้ าคะนอง

เป็ นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน มักเกิดในราวเดือนมีนาคมถึงเมษายน ถึงต้นฤดู


ฝน พายุฤดูร้อนจะเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมี
มวลอากาศเย็น หรือที่เรียกว่าความกดอากาศสูงพัดมาปะทะกับมวลอากาศร้อน
หรือความกดอากาศต่ำ การที่อากาศสองกระแสมากระทบกันจะส่งผลให้อากาศ
ในบริเวณนั้นแปรปรวนเกิดความรุนแรงจนกลายเป็ นพายุฝนฟ้ าคะนองขึ้น

คลื่นพายุซัดฝั่ ง

คลื่นพายุซัดฝั่ ง คือคลื่นซัดชายฝั่ งขนาดใหญ่อันเนื่องมาจากความแรงของลมที่


เกิดขึ้นจากพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าหาฝั่ ง ความสูงของคลื่นจะขึ้นอยู่กับ
ความรุนแรงของพายุและสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ชายฝั่ งทะเล ตลอดจนบาง
ครั้งยังได้รับอิทธิพลเสริมความรุนแรงจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิด
อันตรายมากขึ้น ประเทศไทยมีบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นพายุซัดฝั่ ง
โดยตรง คือ บริเวณภาคใต้โดยเฉพาะฝั่ งตะวันออก ขณะที่พายุเคลื่อนตัวจาก
อ่าวไทยขึ้นสู่ฝั่ งในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม คลื่นพายุซัดฝั่ งนี้มีกำลัง
ทำลายล้างสูงมาก

ป้ องกัน

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดวาตภัย
1.ติดตามข่าวและคำเตือนลักษณะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา
2.ตรวจสอบสายไฟทั้งในและบริเวณบ้านให้เรียบร้อย ถ้าไม่แข็งแรงให้ยึดไว้ให้
มั่นคง
3.ตัดต้นไม้หรือกิ่งไม้ในบริเวณบ้านที่อาจหักได้จากลมพายุ โดยเฉพาะกิ่งที่หักมา
ทับบ้าน สายไฟฟ้ า ต้นไม้ยืนต้นตายควรจัดการโค่นลงเสีย
4.จัดเตรียมสิ่งของจำเป็ นต่าง ๆ เช่นอาหารแห้ง น้ำสะอาด ยาปฐมพยาบาล
เบื้องต้น ไฟฉาย วิทยุแบตเตอรี่ ฯลฯ ไว้ในที่พัก
5.สิ่งของควรไว้ในที่ต่ำเพราะอาจหล่น แตกหักเสียหายได้
6.บรรดาเรือ แพ ให้ลงสมอยึดตรึงให้มั่นคงแข็งแรง
7.อยู่ในที่พักที่มั่นคงแข็งแรงขณะเกิดวาตภัย อย่าออกมาที่โล่งแจ้ง เพราะกิ่งไม้
อาจหักโค่นลงมาทับได้ รวมทั้งหลังคาสังกะสีและกระเบื้องจะปลิวตามลมมาทำ
อันตรายได้
8.ปิ ดประตูหน้าต่างทุกบาน รวมทั้งยึดประตูหน้าต่างให้มั่นคงแข็งแรงปิ ดกั้นช่อง
ทางลมช่องต่าง ๆ ที่จะเข้ามาทำให้เกิดความเสียหาย
9.ห้ามนำเรือออกไปบริเวณทะเลไม่ว่ากรณีใด ๆ หากเกิดพายุในบริเวณที่อาจส่ง
ผลกระทบต่อประเทศไทย
10.ออกให้พ้นชายฝั่ งทันที ชายฝั่ งทะเลจะเป็ นบริเวณที่ได้รับอันตรายจากคลื่น
ซัดฝั่ งและควรอยู่ในที่สูงที่ปลอดภัยจากน้ำท่วม
11 เมื่อลมสงบแล้วต้องรออย่างน้อย ๓ ชั่วโมง ถ้าพ้นระยะนี้แล้วไม่มีลมแรงเกิด
ขึ้นอีกจึงจะวางใจว่าพายุผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้เมื่อศูนย์กลางพายุผ่านไปแล้วจะ
ต้องมีลมแรงฝนตกหนักผ่านมาอีกประมาณ ๒ ชั่วโมง

ปรากฏการณ์เรืองกระจก

เรืองกระจก (greenhouse)หมายถึง อาณาบริเวณที่ปิ ดล้อมด้วยกระจก หรือวัสดุอื่นซึ่งมีผลในการเก็บกัก


ความร้อน ไว้ภายใน ประเทศเขตหนาวนิยมใช้เรือนกระจกในการเพาะปลูกต้นไม้ เพราะพลังงานแสง
อาทิตย์สามารถ ผ่านเข้าไปภายในได้ แต่ความร้อนที่อยู่ภายในจะถูกกักเก็บโดยกระจกไม่ให้สะท้อน หรือแผ่
ออกสู่ภายนอกได้ ทำให้อุณหภูมิของกากาศภายในอบอุ่น และเหมาสมต่อ การเจริญเติบโตของพืช แตกต่าง
จากภายนอกที่ยังหนาวเย็น นักวิทยาศาสตร์จึงเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่ ความร้อนภายในโลก ถูกกับดับ
ความร้อนหรือก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) เก็กกักเอาไว้ไม่ให้สะท้อนหรือแผ่ออกสู่ภายนอกโลก
ว่าเป็นปรากฎการณ์เรือนกระจก

โลกของเราตามปกติมีกลไกควบคุมภูมิอากาศโดยธรรมชาติอยู่แล้ว กระจกตามธรรมชาติของโลกคือ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำซึ่ง จะคอยควบคุมให้อุณหภูมิของโลกโดยเฉลี่ยมีค่าประมาณ 15 .C และ
ถ้าหากในบรรยากาศ ไม่มีกระจกตามธรรมชาติ อุณหภูมิของโลกจะลดลงเหลือ เพียง -20 'C มนุษย์และพืชก็
จะล้มตายและโลกก็จะเข้าสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้งหนึ่ง

สาเหตุ
-การเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ การฟางข้าว หรือขยะ

มูลฝอย และการทำลายป่ า ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ สู่บรรยากาศ

มากขึ้น การทำลายป่ า (โดยเฉพาะในเขตร้อน) มีส่วนปลดปล่อย มาก


ถึง 1 ใน 3 ของ ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งหมด เพื่อลดปริมาณ
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

-การย่อยสลายในกระเพาะลำไส้ของปศุสัตว์และการจัดการเกี่ยวกับ
มูลปศุสัตว์ การทำนาข้าว การใช้ที่ดินในพื้นที่ชุ่มน้ำ การสูญเสียก๊าซ
และน้ำมันจากท่อส่ง รวมถึงการปล่อยก๊าซจากหลุมฝั งกลบขยะ การ
ทำให้เกิดการหมักหมมของซากอินทรียวัตถุ ทำให้เพิ่มปริมาณมีเทน
มากขึ้นในบรรยากาศ เป็ นต้น

-การใช้สารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน ในตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ
รวมทั้งการใช้ก๊าซฮาลอน ( ในระบบถังดับเพลิง และกระบวนการผลิต
ของผู้ผลิต)

- แก้ไขรถควันดำเพื่อลดปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์

- ไม่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินความจำเป็ น เพราะจะทำให้เกิดแก๊สไน
ตรัสออกไซด์

ป้ องกัน

1. ลดระยะทางที่ใช้สำหรับการขน ส่งอาหาร เนื่องจากมลพิษจากการขนส่งนั้นเป็นตัวการสำคัญมากที่สุด


ในการเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ให้เราพยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูกใน
ท้องถิ่น จะช่วยลดพลังงานที่ใช้สำหรับ การขนส่งลงได้
2. ปิ ดเครื่องปรับอากาศในโรงแรมที่เราได้เข้าพักพร้อมทั้งอย่าให้พนักงานนำผ้าขนหนูที่ยังไม่สกปรกมาก
ไปซัก โดยพึงระลึกว่าเราไม่ได้ช่วยให้โรงแรมประหยัดค่าไฟฟ้ าแต่เรากำลังช่วยโลกที่เราอาศัยอยู่

3. ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ ไฟฟ้ าลงแม้เพียงน้อยนิดเช่น เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศใน


สำนักงาน หรือที่พัก อาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ ปิ ดไฟขณะไม่ใช้งานปิ ดฝาหม้อที่มีอาหารร้อนอยู่หรือลด
จำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุลง อาจลดค่าใช้จ่ายของเราไม่มากนักแต่จะส่งผลมหาศาลต่อโลก

4. นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่พยายามซื้อสิ่งของที่มีอายุการใช้งานนานๆจะช่วยลด
การใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย

5. รักษาป่ าไม้ให้ได้มากที่สุดและลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆที่ทำจากไม้ที่ตัดเอามา
จากป่ า เพื่อปล่อยให้ต้นไม้และป่ าไม้เหล่านี้ได้ทำหน้าที่การเป็นปอดของโลกสืบไป

6. ลดการใช้น้ำมันจากการขับขี่ยวดยานพาหนะโดยปรับเปลี่ยนนิสัยการขับรถ เช่น ลดความเร็วในการขับ


รถลง ตรวจสอบสภาพลมในล้อรถให้เหมาะสมและค่อยๆ เหยียบคันเร่งรถยนต์เมื่อต้องการเร่งความเร็ว

แผ่นดินถล่ม

แผ่นดินถล่มเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ ของการสึกกร่อนชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบริเวณ


พื้นที่ที่เป็นเนินสูงหรือภูเขาที่มีความลาดชันมาก เนื่องจากขาดความสมดุลในการทรงตัวบริเวณดังกล่าว
ทำให้เกิดการปรับตัวของพื้นดินต่อแรงดึงดูดของโลก และเกิดการเคลื่อนตัวขององค์ประกอบธรณีวิทยา
บริเวณนั้นจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ แผ่นดินถล่มมักเกิดในกรณีที่มีฝนตกหนักมาก บริเวณภูเขาและภูเขานั้นอุ้มน้ำ
ไว้จนเกิดการอิ่มตัว จนทำให้เกิดการพังทลายตามลักษณะการเคลื่อนตัวได้ 3 ชนิดคือ

1. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างแผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างช้าๆ

2. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว

3. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน

สาเหตุ

เกิดจากพื้นผิวดินพังทลายเป็นหลุม เกิดจากน้ำในโพรงใต้ดินเหือดแห้ง หรือลดลงจากกระบวนการ


ธรรมชาติ การสูบน้ำบาดาลของมนุษย์ การดูดทรายจากแม่น้ำ หรือบนแผ่นดิน การขุดตนบริเวณไหล่เขา
ลาดเขาหรือเชิงเขาเพื่อทำการเกษตร การทำถนน การขยายที่ราบในการพัฒนาที่ดินการบดอัดดินเพื่อการ
ก่อสร้างทำให้เกิดการเคลื่อนของดินในบริเวณใกล้เคียง การขุดดินลึกๆ ในการก่อสร้างห้องใต้ดินของ
อาคาร นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการกดทับของน้ำหนักจากชั้นผิวดิน เช่น การมีอาคารก่อสร้าง เมื่อบวกกับ
แรงดันน้ำใต้ดินที่ลดลง รวมไปถึงดินตะกอนที่อยู่ลึกลงไปจากผิวดิน เป็นดินตะกอนประเภทไม่แข็งตัว
ได้แก่ ดินเหนียว ดินทราย เป็นต้น ทำให้เมื่อเวลาผ่านไป อาจเกิดปัญหาทรุดตัวของดินได้ หรือการตัดไม้
ทำลายป่ า ทำให้เกิดดินถล่ม

ป้ องกัน

ลักษณะของพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม มักเป็ นพื้นที่ที่อยู่ตามลาดเชิง


เขา หรือบริเวณที่ลุ่มที่ติดอยู่กับภูเขาสูงที่มีการพังทลายของดิน
สูง หรือสภาพพื้นที่ต้นน้ำที่มีการทำลายป่ าไม้สูง นอกจากนั้นในบาง
พื้นที่อาจเป็ นบริเวณภูเขาหรือหน้าผาที่เป็ นหินผุพังง่าย ซึ่งมักก่อให้
เกิดเป็ นชั้นดินหนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่หินรองรับชั้นดินนั้น
มีความเอียงเทสูง และเป็ นชั้นหินที่ไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านได้
สะดวก ลักษณะดังกล่าวทั้งหมดพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้
กรมทรัพยากรธรณีกำลังทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลสำรวจเก็บข้อมูล
ทางธรณีวิทยาและสภาพแวดล้อมของพื้นที่เบื้องต้น และรวบรวม
ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่น พบว่าใน 51 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมี
ลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่มอยู่บริเวณลาดเชิงเขาและที่ลุ่มใกล้เขา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าวมีความเสี่ยงภัยต่อ
ดินถล่มมากเนื่องจากเมื่อมีพายุฝนตกหนักต่อเนื่องจะทำให้เกิดน้ำท่วม
ฉับพลัน น้ำป่ าไหลหลาก และดินถล่มตามมาได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิด
การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชน ดังนั้นประชาชนที่อาศัย
อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวจึงควรให้ความสนใจและระมัดระวังเป็ นพิเศษ

1.หลีกเลี่ยงการสร้างบ้านอาศัยอยู่ในบริเวณที่เคยมีเหตุการณ์ดินถล่ม หรือบริเวณหุบเขา พื้นที่มีความลาด


ชันสูง พื้นที่ลาบลุ่มแอ่งกระทะ พื้นที่ร่องน้ำ พื้นที่ถมดินใหม่ที่มีความลาดชัน หากท่านอยู่ในพื้นที่บริเวณ
อันตราย ให้สำรวจพื้นที่โดยรอบ เพื่อเตรียมการหนีภัย
2.ควรปลูกพืชยึดหน้าดินบริเวณเชิงเขา และพื้นที่ลาดชัน เพื่อลดความเสี่ยงของแผ่นดินถล่ม

3.สังเกตุอากาศหากฝนตกหนัก ควรอพยพไปสู่พื้นที่ปลอดภัยโดยเร็ว

4.สังเกตุพื้นที่รอบที่อยู่อาศัยหากพบสิ่งบอกเหตุที่มีโอกาสเกิดดินถล่มให้แจ้งหน่วยงานรับผิดชอบดำเนิน
การแก้ไขโดยเร็ว

สรุปผลและอภิปรายผลการศึกษา

สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสาเหตุและการป้ องกันการเกิดภัยพิบัติทั้ง 3 ภัยพิบัติ ได้แก่ พายุ แผ่นดิน


ถล่ม และก๊าซเรือนกระจก ที่มนุษย์สร้างขึ้น ผลการศึกษาพบว่าการภับพิบัติและการกระทำของมนุษย์ หรือ
พฤติกรรมการดำรงชีวิตของมนุษย์ส่งผลต่อการเกิดภัยพิบัติทั้งทางตรงและทางอ้อม และยังส่งผลต่อมนุษย์
เช่น การอยู่อาศัย การอุปโภคบริโภค หรือโรคต่างๆที่เกิดจากภัยพิบัติ โดยการป้ องกันเกิดภัยพิบัติดังกล่าว
คือ การปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต เช่น การช่วยการลดการใช้ไฟฟ้ า เพื่อป้ องการเกิดแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ หรือการไม่ตัดไม้ทำลายป่ า เพื่อป้ องกันการเกิดภัยพิบัติ และวิธีการรับมือกับภัยพิบัติที่
เกิดขึ้น

อภิปรายผลการศึกษา

จากการศึกษา 3 ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากการภัยพิบัติและการกระทำของมนุษย์ พบว่า การดำรงชีวิต และ


การใช้ชีวิตในปัจจุบันของมนุษย์ส่งต่อธรรมชาติ และยังส่งผลกระทบทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ
เนื่องจากการขาดความรู้ และการตระหนักถึงสาเหตุและการป้ องกันทำให้เกิดการใช้พฤติกรรมในการดำรง
ชีวิตที่ส่งผลให้เสียต่อธรรมชาติ และการเกิดภัยพิบัติยังส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งเราควรนำ
ความรู้จากการศึกษานำมาปรับใช้ และสร้างวามตระหนักรู้แก่ผู้อื่น เพื่อป้ องกันไม่ให้เกิดภัยพิบัติซึ่งเกิดจาก
การกระทำของมนุษย์

ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการศึกษาไปใช้งาน

ควรนำผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้สำรวจเปลี่ยนแปลงของของโลกและทรัพยากรหากพบว่าโลกหรือ
ประเทศเราตนเองเกิดภัยธรรมชาติเราสามารถป้ องกันและ รวมถึงการนำข้อค้นพบนี้ไปเผยแพร่และนำไป
ประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อในรูปแบบต่างเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้ผู้สนใจได้นำ
ไปปรับใช้ตามความเหมาะสม เพื่อป้ องกันการเกิดภัยพิบัติ

ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป

ควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นใหม่จากภัยพิบัติ อาจจะมีที่เพิ่มขึ้นรวมถึงผลกระทบหรือ
ความรุนแรงของภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นใหม่หรือมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน หรือภัยพิบัติอื่นๆที่ยังไม่ได้
ศึกษาเพิ่มเติม

You might also like