You are on page 1of 20

เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

๑. สภาพปัญหาและสาเหตุ
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ดําเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญ ญั ติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
พบว่า พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ยังคงมีความจําเป็นต่ อการกํากับดูแลการประกอบกิจการสํารวจ
ผลิ ต เก็ บ รัก ษา ขนส่ ง ขาย หรือ จําหน่ ายปิ โตรเลี ย มในราชอาณาจัก ร และยั งสอดคล้ อ งกั บ สถานการณ์ การ
ประกอบกิจการปิโตรเลียมของประเทศไทยอยู่ อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัตินี้ยังมีปัญหาและอุปสรรคในการ
บั งคั บ ใช้ ให้ เป็ น ไปตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องกฎหมายอยู่ ห ลายประการจนนํ ามาสู่ ก ารปรับ ปรุ งพระราชบั ญ ญั ติ
ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยจัดทําเป็นร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลี ยม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ดังสามารถพิจารณาได้
ดังต่อไปนี้
๑.๑ ความไม่ครอบคลุมในแง่ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย
นิยามของกิจการสํารวจและผลิตปิโตรเลียมตามที่ปรากฏในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.
๒๕๑๔ ยังไม่รวมการสํารวจเพื่อค้นหาแหล่งอัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกอื่นลงในแหล่งอัดเก็บ
คาร์บอน ผู้รับสัมปทาน สัญ ญาแบ่งปันผลผลิต และผู้รับสัญ ญาจ้างบริ การจึงไม่อาจนําเอาก๊าซเรือนกระจกซึ่ง
รวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดักจับได้นอกแปลงสํารวจและผลิตปิโตรเลียมเพื่ออัดลงหลุมผลิตปิโตรเลียมได้
ส่งผลให้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการลงทุนและประกอบกิจการกักเก็บ
คาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัจจัยที่สําคัญ ที่จะไปสู่เป้าหมายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน
(carbon neutrality) ของประเทศไทย
หากจะมีการอัดคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊ าซเรือนกระจกอื่น (ซึ่งถูกกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ที่ถูกดักจับและถูกขนส่งมายังแปลงสํารวจหรือผลิตปิโตรเลียม กฎหมายยังไม่ได้ให้
อํานาจแก่คณะกรรมการปิโตรเลียม อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในการให้
สิทธิประกอบกิจการตามกฎหมาย และไม่มีอํานาจกํากับดูแลการประกอบการดังกล่าว
ด้วยเหตุนี้จึงมีการเสนอให้ใช้ระบบใบอนุญาตเพื่อให้สิทธิการประกอบกิจการและเป็นฐานในการกํากับ
ดูแลการประกอบกิจการสํารวจเพื่อค้นหาแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ และการอัดคาร์บอนไดออกไซด์ลงใน
แหล่งกักเก็บปิ โตรเลียมตามมาตรา ๒๓/๑ และมาตรา ๒๓/๒ อันเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของ
ต่ า งป ระเท ศ เช่ น Energy Act 2008 และ Carbon Dioxide (Licensing etc.) Regulations 2010 (SI
2010/2221) ของสหราชอาณาจักร
๑.๒ อั ต ราค่ า ภาคหลวงและการลดหย่ อ นค่ า ภาคหลวงยั ง ไม่ อ าจดึ ง ดู ด การลง ทุ น ได้ อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพ
มาตรา ๙๙ ยังมี เงื่อนไขที่ เปิดโอกาสให้ มีการลดค่าภาคหลวงเพื่ อเพื่ อให้ เหมาะสมกับ เหตุการณ์ ห รือ
ภาวะการผลิตปิโตรเลียม อย่างไรก็ตาม ยังขาดความชัดเจนว่าหากเป็นกรณีที่เกิดความผันผวนของราคาปิโตรเลียม
เช่น หากราคาเฉลี่ยรายเดือนของก๊าซธรรมชาติเหลวนําเข้าสูงกว่าราคาเฉลี่ยก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย (เช่น สูงกว่า
๕ เท่า) หรือ ปรากฏว่าหากราคานํ้ามันดิบลดลงตํ่าอย่างมีนัยสําคัญ (เช่น ลดลงตํ่ากว่า ๔๐ ดอลลาร์สหรัฐต่อ ๑
บาร์เรล) แล้ว มาตรา ๙๙ จะให้อํานาจแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในการลดค่าภาคหลวงได้หรือไม่ ดังนั้น
จึงควรมีการบัญญัติเงื่อนไขการใช้อํานาจลดค่าภาคหลวงซึ่งเป็นผลจากการเหตุการณ์หรือภาวะการผลิตปิโตรเลียม
ให้ชัดเจนขึ้น
เมื่อ การแก้ไขให้ พ ระราชบั ญ ญั ติปิ โตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้ เป็ น กฎหมายที่ ถูกใช้เพื่ อ กํากั บ ดูแลการ
ประกอบกิจการการสํารวจเพื่อค้นหาแหล่งกักเก็บและการอัดคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ควร
มีการแก้ไข มาตรา ๙๙ ทวิ เพื่อให้มีการลดหย่อนค่าภาคหลวงสําหรับผู้รับสัมปทานที่จะประกอบกิจการปิโตรเลียม
และกิจการคาร์บอน เช่น สํารวจทั้งเพื่อค้นหาแหล่งผลิตปิโตรเลียมและแหล่งอัดเก็บคาร์บอนในเวลาเดียวกัน
นอกจากนี้ เพื่ อ ให้ เกิ ด ความชั ด เจนว่ า รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงพลั ง งานมี อํ า นาจในการลดอั ต รา
ค่าภาคหลวงตั้งแต่ในขั้นประมูลสิทธิทั้งในกรณีของกิจการปิโตรเลียมและกิจการคาร์บอน จึงควรมีการแก้ไขมาตรา
๙๙ ทวิ เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสามารถลดหย่อนค่าภาคหลวงในการประกาศประกาศเชิญชวนให้
เข้าร่วมยื่นคําขอเพื่อเป็นผู้รับสัมปทานตั้งแต่ต้น
๑.๓ ความไม่ต่อเนื่องในการประกอบกิจการผลิตปิโตรเลียม
มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ บัญญัติจํากัดระยะเวลาในการผลิตปิโตรเลียม
กล่าวคือให้มีกําหนดไม่เกินยี่สิบปีนับแต่วันถัดจากวันสิ้นระยะเวลาสํารวจปิโตรเลียม และบัญญัติข้อจํากัดในการต่อ
ระยะเวลาเอาไว้ว่าการต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมให้กระทําได้เพียงครั้งเดียวเป็นเวลาไม่เกินสิบปี ส่งผลให้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีข้อจํากัดในการต่ออายุสัมปทานเมื่อมีการต่ออายุสัมปทานไปแล้วหนึ่งครั้ง แม้ว่า
การผลิตปิโตรเลียมยังควรดําเนินการต่อไปโดยผู้รับสัมปทานรายเดิม
ดังนั้ น จึงควรมี การแก้ไขกฎหมายเพื่ อให้อํานาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต่อระยะเวลาผลิต
ปิโตรเลียมเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการรายเดิมสามารถประกอบกิจการผลิตปิโตรเลียมอย่างต่อเนื่องได้โดยไม่ถูกจํากัด
ให้ได้รับการขยายระยะเวลาได้เพียงครั้งเดียว
โดยผู้รับสัมปทานที่ประสงค์จะขอต่อระยะเวลาผลิตนั้นแสดงความประสงค์ดังกล่าวล่วงหน้าให้นานขึ้น
จากหกเดือนเป็นสองปี เนื่องจากการพิจารณาคําขอและการทําความตกลงเกี่ยวกับข้อผูกพั นการประกอบกิจการ
ปิโตรเลียมนั้นอาจต้องใช้เวลาช่วงหนึ่ง และหากปรากฏว่าไม่อาจตกลงกันได้และจะต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้ประกอบ
กิจการ การกําหนดให้ต้องยื่นขอต่อเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปีจะเปิดโอกาสให้พนักงานเจ้าหน้าที่
หรือผู้ประกอบการรายใหม่สามารถเตรียมเข้าพื้ นที่เพื่อประกอบกิจการผลิตต่อไปตามมาตรา ๘๑/๑ ซึ่งบัญญัติว่า
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานที่ไม่ได้รับการต่อระยะเวลาการผลิตตามมาตรา ๒๖ ก่อนสิ้นระยะเวลาตามสัมปทานเป็น
เวลาอย่างน้อยสองปี ผู้รับสัมปทานจะต้องยอมให้ผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมรายใหม่เข้าถึงพื้นที่ผลิต สิ่ง ติดตั้ง
และสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียม
นอกจากนี้ ควรมีการกําหนดหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจหากจะมีการต่อระยะเวลาการผลิตออกไปให้ไม่
เกินสิบปีเอาไว้ เพื่อให้รัฐสามารถทบทวนว่าควรมีการขยายระยะเวลาต่อไปอีกหรือไม่ภายในกรอบเวลาที่กําหนด
๑.๔ การใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อใช้ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ดินที่ส่วนราชการเป็น
เจ้าของ หรือที่บุคคลอื่นใดเป็นเจ้าของหรือมีสิทธิครอบครอง
ตามมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญ ญั ติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ บัญ ญั ติให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิประกอบ
กิจการปิโตรเลียมในแปลงสํารวจและพื้นที่ผลิต ที่ได้รับสัมปทาน แต่ในกรณีที่ที่ดินในแปลงสํารวจหรือพื้นที่ผลิตที่
ผู้รับสัมปทานมีความจําเป็นต้องใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม รวมทั้งที่ดินนอกแปลงสํารวจหรือพื้นที่ผลิต
ดังกล่าวที่ผู้รับสัมปทานมีความจําเป็นต้องใช้ในการเก็บรักษาหรือขนส่งปิโตรเลียมเป็นที่ดินที่บุค คลหรือส่วน
ราชการเป็นเจ้าของ มีสิทธิครอบครองหรือมีหน้าที่ดูแลตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม สิทธิมิได้ยกเว้นการปฏิบัติ
หน้าที่ตามที่กฎหมายฉบับอื่น เช่น ในกรณีที่ดินที่ส่วนราชการใดเป็นเจ้าของ มีสิทธิครอบครองหรือมีหน้าที่ดูแล
ตามกฎหมาย ผู้รับสัมปทานต้องขออนุญาตต่อส่วนราชการนั้น (มาตรา ๖๖ วรรคสอง) การต้องขออนุญาตตาม
กฎหมายเฉพาะนั้นเกิดความล่าช้าและส่งผลให้ผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมไม่สามารถใช้ที่ดินเพื่อประกอบกิจการ
สํารวจและผลิตปิโตรเลียมได้
ในกรณีที่กฎหมายซึ่งเป็นฐานของการใช้อํานาจพิจารณาคําขอตามกฎหมายฉบับอื่นไม่เปิดช่องหรือ เป็น
อุปสรรคในการอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียม การแก้ไขและพัฒนาพระราชบัญญัติปิโตรเลียม
พ.ศ. ๒๕๑๔ คณะกรรมการปิโตรเลียมไม่มีอํานาจแก้ไขกฎหมายอันเป็นอุปสรรคเหล่านั้นโดยตรงแต่สามารถเสนอ
ต่อหน่วยงานที่มีอํานาจเพื่อดําเนินการให้ให้มีการแก้ไขกฎหมายซึ่ งเป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการปิโตรเลียม
ได้
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ มิได้มีบัญญัติให้มติคณะกรรมการปิโตรเลียมต่อหน่วยงานของรัฐ
อื่น ส่งผลให้แม้เป็นมติที่คณะกรรมการปิโตรเลียมได้ให้ไว้แล้ว ส่งผลให้เกิดปัญหาว่าหน่วยงานของรัฐที่มีผู้แทนใน
คณะกรรมการปิโตรเลียมซึ่งมีมติให้สัมปทานหรือสัญญาแบ่งปันผลผลิตแล้วจะต้องผูกพันตามมติที่คณะกรรมการมี
มติหรือไม่ จึงควรมีการแก้ไขและกําหนดผลผูกพันทางกฎหมายของมติคณะกรรมการปิโตรเลียมต่อหน่วยงานของ
รัฐอื่นสามารถดําเนินการได้โดยการเพิ่มบทบัญญัติว่าด้วยผลผูกพันของมติคณะกรรมการปิโตรเลียมต่อหน่วยงาน
ของรัฐอื่นที่มีผู้แทนอยู่ในคณะกรรมการปิโตรเลียมโดยรับรองอํานาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในการ
ขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้มติของคณะกรรมการปิโตรเลียมมีผลผูกพันกระทรวงและหน่วยงานทุกหน่วยที่เป็น
กรรมการอยู่ด้วย
๑.๕ การบังคับให้มีการยื่นหลักประกันการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือวัสดุอื่นใด
มาตรา ๘๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ กําหนดหน้าที่ให้ผู้รับสัมปทานต้องรื้อถอนสิ่ง
ปลูกสร้าง วัส ดุ อุป กรณ์ และสิ่ งอํานวยความสะดวกในการสํารวจผลิต เก็บ รัก ษาหรือขนส่งปิ โตรเลียม เพื่ อ
ประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม กฎหมายมิได้ บัญญัตินิยามของการรื้อถอน
ดังกล่าวเอาไว้ เพื่อประโยชน์ในการสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่ และเป็นฐานของการจัดให้บัญชีเพื่อการรื้อ
ถอนตามมาตรา ๘๐/๒ ที่ได้มีการแก้ไข จึงควรมีการบัญญัตินิยามของการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ และ
สิ่งอํานวยความสะดวกในการสํา รวจผลิต เก็บรักษาหรือขนส่งปิโตรเลียมให้ชัดเจน นอกจากนี้ การเลือกใช้ชื่อว่า
“บัญ ชีเพื่ อการรื้อถอน” นั้น เป็ นไปเพื่ อสร้างความชัดเจนว่าบั ญ ชีนี้ มิใช่ “กองทุ น ” ตามพระราชบัญ ญั ติวินั ย
การเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
การที่พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ กําหนดหน้าที่ให้ผู้รับสัมปทานต้องวางหลักประกันการรื้อ
ถอนในช่วงท้ายของการประกอบกิจการนั้นก่อให้เกิดปัญหาว่าผู้รับสัมปทานหรือรับสัญญาจะขาดแรงจูงใจและ
ศักยภาพทางการเงินที่จะวางหลักประกันการรื้อถอนตามที่กฎหมายกําหนด
การแก้ไขและเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อให้มีการใช้ระบบบัญชีเพื่อการรื้อถอน
สิ่งปลูกสร้างวัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอํานวยความสะดวกสามารถนั้นจะต้องยกเลิกมาตรา มาตรา ๘๐/๒ และใช้บังคับ
เพิ่มบทบัญญัติมาตรา ๘๐/๒ ที่มีเนื้อความใหม่แทนเพื่อกําหนดหน้าที่ของผู้รับสัมปทานในการจัดให้มีบัญชีเพื่อการ
รื้อถอน
นอกจากนี้ ยังอาจเกิดเหตุการณ์ ที่เงินในบัญ ชีเพื่อการรื้อถอนไม่เพียงพอสําหรับการรื้อถอน หรือการ
ดําเนินการรื้อถอนโดยบุคคลอื่นตามความในวรรคสอง ดังนั้น จึงควรมีการกําหนดหน้าที่ของผู้รับสัมปทานในการ
รับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายดังกล่าว
๑.๖ บทกาหนดโทษ
ระวางโทษปรับที่ บัญ ญั ติเอาไว้ในบทบัญ ญั ติหมวด ๘ บางมาตรานั้น อาจไม่ได้สัดส่วนกับประโยชน์ที่
ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายได้รับ เช่น หากฝ่าฝืนกฎหมายแล้วจะยังสามารถทํากําไรหรือได้ประโยชน์มากไปกว่าจํานวน
ค่าปรับที่กฎหมายกําหนด ส่งผลให้บทกําหนดโทษนั้นไม่อาจป้องปรามการกระทําความผิดได้ กล่าวได้ว่าระดับโทษ
จําคุกและโทษปรับที่กําหนดไว้นั้นไม่เพียงพอต่อการทําให้เกิดผลยับยั้งอาชญากรรม (deterrent effect) และไม่
สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และอัตราค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไป จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมระวางโทษทาง
อาญากับความผิดบางฐาน
ทั้งนี้ ควรมีการเพิ่มอํานาจอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติให้มีอํานาจเปรียบเทียบได้และในการนี้ อธิบดีอาจ
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดําเนินการเปรียบเทียบแทนก็ได้ และเมื่อผู้กระทําความผิดได้เสียค่าปรับตามที่ได้
เปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
อย่าไรก็ตาม ความผิดในบางฐานนั้นมิได้เป็นความผิดร้ายแรงที่ควรมีโทษทางอาญาจึงควรมีการยกเลิก
โทษอาญา และเปลี่ยนเป็นปรับเป็นพินัยแทน โดยให้อธิบดีมีอํานาจในการปรับเป็นพินัย
๑.๗ การบังคับการทางปกครอง
มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญ ญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ บัญ ญั ติให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี
อํานาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับสัมปทานงดเว้นการปฏิบัติใด ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของ
ผู้อื่น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้รับคําสั่งนั้นไม่ปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว กรณีเกิดปัญหาว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
พระราชบัญ ญั ติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ จะมีอํานาจในการออกคําบังคับการทางปกครองเพื่อให้มีการเปลี่ยน
พฤติกรรมได้หรือไม่ และจะอาศัยฐานทางกฎหมายใดในการบังคับการตามคําสั่งทางปกครองนั้น
เพื่อให้คําสั่งตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ มีสภาพบังคับมาก
ขึ้น สามารถสร้างความชัดเจนด้วยการเพิ่มเติมบทบัญญัติให้การบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม
พ.ศ. ๒๕๑๔ นั้นเชื่อมโยงกับการพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
นอกจากนี้ เมื่อมีการแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยขยายขอบเขตให้กฎหมายบังคับ
กับการกํากับดูแลการประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอน อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ควรมีอํานาจในการออกคําสั่ง
เพื่อบังคับการให้ผู้ประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอนปฏิบัติตามตามหลักเทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานปิโตรเลียมและ
กิจอัดเก็บการคาร์บอนที่ดี

๒. หลักการอันเป็นสาระสาคัญของร่างกฎหมาย
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสําคัญดังต่อไปนี้
๒.๑ บทนิยาม
นิยามของกิจการสํารวจและผลิตปิโตรเลียมตามที่ปรากฏในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.
๒๕๑๔ ยังไม่รวมการสํารวจเพื่อค้นหาแหล่งอัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกอื่นลงในแหล่งอัดเก็บ
คาร์บอน มาตรา ๘๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ กําหนดหน้าที่ ให้ผู้รับสัมปทานต้องรื้อถอนสิ่ง
ปลูกสร้าง วัส ดุ อุป กรณ์ และสิ่ งอํานวยความสะดวกในการสํารวจผลิต เก็บ รัก ษาหรือขนส่งปิ โตรเลียม เพื่ อ
ประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม กฎหมายมิได้บัญญัตินิยามของการรื้อถอน
ดังกล่าวเอาไว้ เพื่อประโยชน์ในการสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่ และเป็นฐานของการจัดให้บัญชีเพื่อการรื้อ
ถอนตามมาตรา ๘๐/๒ ที่ได้มีการแก้ไข จึงควรมีการบัญญัตินิยามของการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ และ
สิ่งอํานวยความสะดวกในการสํารวจผลิต เก็บรักษาหรือขนส่งปิโตรเลียมให้ชัดเจน นอกจากนี้ พระราชบัญญัติ
ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ยังไม่มีบทนิยามของหลักเทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานปิโตรเลียมที่ดี ดังนั้น จึงควรมีการ
บัญญัติถึงนิยามต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
“กิจการอัดเก็บคาร์บอน” หมายความว่า การสํารวจเพื่อค้นหาแหล่งอัดเก็บคาร์บอน หรือการอัดคาร์บอน
ลงในแหล่งอัดเก็บเก็บคาร์บอน
“แหล่งอัดเก็บคาร์บอน” หมายความว่า แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมที่ถูกผลิตแล้วหรือนํ้าเค็ม โดยแหล่งกัก
เก็ บ ประกอบด้ ว ยชั้ น หิ น ที่ มี รู พ รุ น ที่ มี ค วามสามารถในการไหลซึ ม ได้ และชั้ น หิ น ซึ่ ง เป็ น โครงสร้ า งปิ ด กั้ น
องค์ประกอบทั้งสองมีความสําคัญต่อการอัดฉีดคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือน
กระจกอื่นเข้าไปในแหล่ งอัดเก็บ และคาร์บอนนั้นจะอยู่ในแหล่งอัดเก็บโดยไม่รั่วไหลออกมาสู่แหล่งนํ้า แหล่ง
ปิโตรเลียม หรือชั้นบรรยากาศ
“ผู้ประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอน” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการสํารวจเพื่อค้นหาแหล่งกักเก็บ
คาร์บอนไดออกไซด์ หรืออัดคาร์บอนไดออกไซด์ลงในแหล่งกักเก็บ
“คาร์บอน” หมายความว่า คาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นของเหลว
ก๊าซ หรือของเหลววิกฤติยิ่งยวด โดยมีจุดกําเนิดมาจากการเป็นสารพลอยได้ หรือถูกดักจับมาจากแหล่งกําเนิดอื่น
และถูกขนส่งมาอัดลงแหล่งอัดเก็บคาร์บอน
“ก๊าซเรือนกระจก” หมายความว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ก๊าซไฮโดร
ฟลูออโรคาร์บอน ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์และก๊าซ
ชนิดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
“การสํารวจเพื่อค้นหาแหล่งอัดเก็บคาร์บอน” หมายความว่า การดําเนินการสํารวจและการตรวจสอบ
ด้านธรณี วิท ยาเพื่ อประเมิ น ศัก ยภาพและปริม าณการกัก เก็ บ คาร์บ อนไดออกไซด์ ลงในโครงสร้างกั กเก็บ ทาง
ธรณีวิทยา
“การอัดคาร์บอนลงในแหล่งอัดเก็บคาร์บอน” หมายความว่า การดําเนินการเพื่อการอัดเก็บคาร์บอนลงใน
โครงสร้างกักเก็บทางธรณีวิทยา
“ใบอนุ ญ าตประกอบกิ จ การอั ด เก็ บ คาร์บ อน” หมายความว่า ใบอนุ ญ าตให้ ป ระกอบกิ จ การอั ด เก็ บ
คาร์บอนเพื่อการสํารวจเพื่อค้นหาแหล่งอัดเก็บคาร์บอน หรือการอัดคาร์บอนลงในแหล่งอัดเก็บคาร์บอน
“การรื้อถอน” หมายความว่า การจัดการสิ่งติดตั้งและพื้นที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมที่สิ้ นสุด
การใช้งาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดําเนินการก่อน ขณะ หรือหลังกิจกรรมการรื้อถอนและให้หมายความรวมถึงการ
ส่งมอบสิ่งติดตั้งให้แก่รัฐตามข้อกําหนดในสัมปทานปิโตรเลียม แทนกิจกรรมรื้อถอน
“บัญชีเพื่อการรื้อถอน” หมายความว่า บัญชีที่ผู้รับสัมปทานจัดให้มีขึ้นวัตถุประสงค์ในการเป็นค่าใช้จ่าย
ในการรื้อถอนตามมาตรา ๘๐/๒
“หลั ก เทคนิ ค และวิธีก ารปฏิ บั ติ งานปิ โตรเลี ย มและกิ จ การอั ด เก็ บ คาร์บ อนที่ ดี ” หมายความว่า การ
ดําเนินการหรือใช้มาตรการอันเหมาะสมเพื่อให้การประกอบกิจการปิโตรเลียม การรื้อถอน หรือการประกอบ
กิจการอัดเก็บคาร์บอน สอดคล้องกับ มาตรฐานหรือแนวปฏิบัติด้านการส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน
ด้านวิศวกรรม ความปลอดภัยด้านอาชีวะอนามัย และด้านอื่นๆ ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีประกาศตามมาตรา ๘๐
๒.๒ อานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกมาตรการบังคับทางปกครอง
ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ปิ โตรเลี ย ม (ฉบั บ ที่ ..) พ.ศ. .... มาตรา ๙ มี ก ารเพิ่ ม กิ จ การคาร์ บ อนเข้ า ไปใน
บทบัญ ญั ติ เพื่อรองรับอํานาจของพนักงานพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการทางกายภาพ ให้ครอบคลุมถึง
สถานที่ประกอบกิจการคาร์บอนเพื่อให้สอดรับกับนิยามของ “กิจการอัดเก็บคาร์บอน” ที่อาจถูกเพิ่มเข้ามาในร่าง
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ด้วย และเพื่อให้เกิดความชัดเจน ยังได้มีการเพิ่มเติมบัญญัติให้การ
บังคับทางปกครองนั้นเชื่อมโยงกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
นอกจากนี้ ยังเพิ่มอํานาจให้เจ้าหน้าที่สามารถออกคําสั่งเป็นหนังสือหรือออกคําสั่งให้มีการปฏิบัติใดๆ ตาม
หลักเทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานปิโตรเลียมและกิจการคาร์บอนที่ดีเข้ามาในบทบัญญัติดังกล่าวด้วย
๒.๓ คณะกรรมการปิโตรเลียม
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการเพิ่ม อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ
พันธุ์พืช เลขาธิการสํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อธิบดีกรม
สหกรณ์ที่ดิน ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการปิโตรเลียม
๒.๔ อานาจหน้าที่ของคณะกรรมการปิโตรเลียม
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการเพิ่มเติมบทบาทของคณะกรรมการปิโตรเลียมใน
การกํากับดูแลกิจการคาร์บอนตามมาตรา ๒๓/๑ และมาตรา ๒๓/๒ ในมาตรา ๑๖ โดยการให้ความเห็นชอบแก่
อธิบดีใน (๒/๑) รัฐมนตรีใน (๒/๒) และกําหนดอัตราค่าใบอนุญาตสํารวจเพื่อค้นหาแหล่งกักเก็บตามมาตรา ๕๓/
๒๑ ใน (๒/๓) นอกจากนี้ มี ก ารเพิ่ ม มาตรา ๑๖ (๘) เพื่ อ เปิ ด ช่ อ งให้ ค ณะกรรมการปิ โตรเลี ย มเสนอให้ มี ก าร
ดําเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกหรือล่าช้าในการประกอบ
กิจการปิโตรเลียมหรือคาร์บอนไดออกไซด์ โดยอธิบดีสามารถเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มติของคณะกรรมการมี
ผลผูกพันกระทรวงและหน่วยงานทุกหน่วยที่เป็นกรรมการอยู่ด้วย
นอกจากนี้ หากมีการแก้ไขมาตรา ๙๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีอํานาจในการลดค่าภาคหลวง
ในกรณที่เกิดความผันผวนของราคาปิโตรเลียมได้โดยเทียบกับราคาเฉลี่ยรายเดือนแล้ว จําเป็นต้องมีการบัญญัติใ ห้
อํานาจแก่คณะกรรมการนโยบายปิโตรเลียมเพิ่มติม
๒.๕ อานาจของอธิบดี
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา ๒๒/๑ (๑/๑) ให้
อธิบดีมีอํานาจในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการคาร์บอนตามมาตรา ๒๓/๑
๒.๖ อานาจของรัฐมนตรี
ร่างพระราชบัญ ญั ติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการเพิ่มเติมบทบัญ ญั ติในมาตรา ๒๒ (๑/๑) ให้
รัฐมนตรีมีอํานาจให้อนุญาตประกอบกิจการคาร์บอนตามมาตรา ๒๓/๒ มาตรา (๓/๑) สั่งให้ผู้รับสัมปทานยอมให้
ผู้ประกอบการรายอื่นใช้สิ่งติดตั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๗๒/๑ และมาตรา ๒๒ (๖) ยังมีอํานาจในการกําหนด
และออกคําให้มีการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา ๘๑/๑ อีกด้วย
๒.๗ การให้สิทธิประกอบกิจการอัดคาร์บอน
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา ๒๓/๑ ให้ผู้รับสัมปทาน
ได้รับสัญ ญาผลผลิต หรือได้รับสัญ ญาจ้างบริการตามมาตรา ๒๓ ที่ต้องการจะสํารวจเพื่อค้น หาแหล่ง อัดเก็บ
คาร์บ อนลงในแหล่ งอัดเก็บ ซึ่ งอยู่ในแปลงสํารวจและพื้ น ที่ผลิต โดยจะต้องได้รับ อนุ ญ าตจากอธิบ ดีโดยความ
เห็นชอบจากคณะกรรมการปิโตรเลียมตามหมวด ๓/๓ การประกอบกิจการคาร์บอน โดยการขอรับอนุญาตให้
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
ร่างพระราชบัญ ญั ติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … มีการเพิ่มบทบัญ ญั ติมาตรา ๒๓/๒ การสํารวจเพื่อ
ค้นหาแหล่งอัดเก็บคาร์บอนและการอัดเก็บคาร์บอนลงในแหล่งอัดเก็บคาร์บอนซึ่งอยู่ทั้งในและนอกแปลงสํารวจ
พื้นที่ผลิต หรือพื้นที่อื่นใดจะต้องมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่รัฐมีอํานาจเหรือโดยบุคคลที่มิได้เป็น
ผู้รับสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือสัญญาจ้างบริการตามมาตรา ๒๓ จึงมีความจําเป็นที่ จะต้องให้หน่วยงาน
ของรัฐพิจารณาเพื่อให้สิทธิในการประกอบกิจการ จึงควรมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา ๒๓/๒ เพื่อรับรอง
อํานาจรัฐในการให้สิทธิประกอบกิจการสํารวจเพื่อค้นหาแหล่งกักเก็บและการอัดคาร์บอนลงในแหล่งสะสมโดย
บัญญัติแยกต่างหากจากผู้รับสิทธิการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา ๒๓
๒.๘ คุณสมบัติของผู้รับสัมปทาน
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … มีการเพิ่มเติมในมาตรา ๒๔ ให้ผู้รับสัมปทานจะต้องคง
คุณสมบัติที่ต้องมีตามบทบัญญัตินี้ไว้ตลอดระยะเวลาการประกอบกิจการปิโตรเลียม
๒.๙ ความต่อเนื่องในการประกอบกิจการผลิตปิโตรเลียม
ร่างพระราชบัญ ญั ติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้อํานาจรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงพลังงานต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการรายเดิมสามารถประกอบกิจการผลิต
ปิโตรเลียมอย่างต่อเนื่องได้โดยไม่ถูกจํากัดให้ได้รับการขยายระยะเวลาได้เพียงครั้งเดียว
โดยผู้รับสัมปทานที่ประสงค์จะขอต่อระยะเวลาผลิตนั้นแสดงความประสงค์ดังกล่าวล่วงหน้าให้นานขึ้น
จากหกเดือนเป็นสองปี เนื่องจากการพิจารณาคําขอและการทําความตกลงเกี่ยวกับข้อผูกพันการประกอบกิจการ
ปิโตรเลียมนั้นอาจต้องใช้เวลาช่วงหนึ่ง และหากปรากฏว่าไม่อาจตกลงกันได้และจะต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้ประกอบ
กิจการ การกําหนดให้ต้องยื่นขอต่อเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปีจะเปิดโอกาสให้พนักงานเจ้าหน้าที่
หรือผู้ประกอบการรายใหม่สามารถเตรียมเข้าพื้นที่เพื่อประกอบกิจการผลิตต่อไปตามมาตรา ๘๑/๑ ซึ่งบัญญัติว่า
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานที่ไม่ได้รับการต่อระยะเวลาการผลิตตามมาตรา ๒๖ ก่อนสิ้นระยะเวลาตามสัมปทานเป็น
เวลาอย่างน้อยสองปี ผู้รับสัมปทานจะต้องยอมให้ผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมรายใหม่เข้าถึงพื้นที่ผลิต สิ่งติดตั้ง
และสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกอบกิจการปิโตรเลียม
นอกจากนี้ ควรมีการกําหนดหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจหากจะมีการต่อระยะเวลาการผลิ ตออกไปให้ไม่
เกินสิบปีเอาไว้ เพื่อให้รัฐสามารถทบทวนว่าควรมีการขยายระยะเวลาต่อไปอีกหรือไม่ภายในกรอบเวลาที่กําหนด
๒.๑๐ อานาจของรัฐมนตรีในการเพิกถอนสัมปทาน
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ปรับปรุงมาตรา ๕๑ โดยเพิ่มเหตุที่รัฐมนตรีมีอํานาจใน
การเพิกถอนสัมปทานใน (๑/๑) เมื่อผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๙ วรรค
หนึ่ง (๒) เมื่อได้รับแจ้ง และถึงแม้จะถูกมาตรการบังคับทางปกครองแล้วก็ตาม และได้มีการแก้ไขเหตุใน (๒) จาก
การไม่วางหลักประกันหรือวางหลักประกันไม่ครบ เป็นเมื่อผู้รับสั มปทานไม่ตั้งกองทุนเพื่อการรื้อถอนหรือไม่ชําระ
เงินเข้ากองทุนเพื่อการรื้อถอนไม่ครบตามจํานวนตามมาตรา ๘๐/๒
๒.๑๑ การเพิ่มหมวดว่าด้วยการประกอบกิจการอัดคาร์บอนขึ้นโดยเฉพาะ
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ได้มีการเพิ่มหมวดว่าด้วยการประกอบกิจการคาร์บอน
ในหมวดที่ ๓/๓ มาตรา ๕๓/๑๙ ให้อํานาจแก่รัฐมนตรีในการพิจารณากําหนดพื้นที่ที่สมควรจะดําเนินการเพื่อ
ค้นหาแหล่งกักเก็บคาร์บอน ทั้งแหล่งที่อยู่ในและนอกแปลงสํารวจหรือพื้นที่ผลิต โดยให้หลักเกณฑ์การขอและ
ได้รับการอนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง ส่วนคุณสมบัติของบุคคลที่จะขอรับ
ใบอนุญาตนั้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
๒.๑๒ อานาจในการออกใบอนุญาต
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการเพิ่มบทบัญญัติมาตรา ๕๓/๒๐ ให้อํานาจอธิบดี
และรัฐมนตรีมีอํานาจลงนามในใบอนุญ าตประกอบกิจการคาร์บอน โดยกําหนดปัจจัยในการพิจารณาเพื่อให้
อนุญาตและให้แบบใบอนุญาตเป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง และแบบของใบอนุญาตจะต้องเป็นตามมมา
ตรา ๕๓/๒๑
๒.๑๓ ข้อกาหนดในแบบใบอนุญาตประกอบกิจการสารวจ
ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ปิ โตรเลี ย ม (ฉบั บ ที่ ..) พ.ศ. .... มี ก ารเพิ่ ม บทบั ญ ญั ติ ม าตรา ๕๓/๒๒ กํ า หนด
ข้อกําหนดและเงื่อนไขที่ต้องมีในแบบใบอนุญาตประกอบกิจการสํารวจ กําหนดหน้าที่ต่าง ๆ ของผู้รับใบอนุญาต
ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ในขั้นการประกอบกิจการ และภายหลังขั้นการประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ได้มีการโอน
ความรับผิดชอบให้แก่รัฐภายหลังจากที่ได้ปิดแหล่งกักเก็บแล้ว
๒.๑๔ อ านาจของรั ฐ มนตรี ในการออกกฎกระทรวงก าหนดอั ต ราค่ าใบอนุ ญ าตประกอบกิ จ การ
ปิโตรเลียม
ร่างพระราชบัญญั ติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการเพิ่มบทบัญญั ติมาตรา ๕๓/๒๑ ให้อํานาจแก่
รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราค่าใบอนุญาตประกอบกิจการอัดคาร์บอนลงแหล่งกักเก็บได้ การ
ประกอบกิจการสํารวจเพื่อค้นหาแหล่งอัดเก็บคาร์บอน และประกอบกิจการอัดคาร์บอนลงแหล่งอัดเก็บคาร์บอน
นั้นมิใช่การแสวงหาประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเช่นเดียวกับ การผลิตปิโตรเลียม ซึ่งรัฐอาศัยเครื่องมือ
ทางการคลังปิโตรเลียมดูดซับความมั่งคั่งจากการผลิตปิโตรเลียม เช่น การเก็บค่าภาคหลวง การรับส่วนแบ่งปัน
ผลผลิต หรือการเก็บภาษีปิโตรเลียม
การประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอนนั้นเป็นการประกอบการที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการลด
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยมิได้มีการนําเอาทรัพยากรธรรมชาติของรัฐไปจําหน่าย ดังนั้น การ
จ่ายค่าตอบแทนให้รัฐจึงควรมีลักษณะแตกต่างไปจากการเรียกเก็บค่าภาคหลวง การแบ่งปันผลผลิต หรือการเสีย
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ดังนั้น จึงจําเป็นจะต้องมีการกําหนดอัตราค่าใบอนุญาตประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอน และค่าธรรมเรียม
ใบอนุญาตประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอน และบัญญัติรับรองอํานาจในการกําหนดให้อัตราค่าใบอนุญาตมีความ
แตกต่างกันได้ในกรณีของกาประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอนในพื้นที่ที่แตกต่างกัน
๒.๑๕ หน้าที่เกี่ยวกับการปิดแหล่งอัดเก็บคาร์บอน
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการเพิ่มบทบัญญัติมาตรา ๕๓/๒๔ บัญญัติให้การปิด
แหล่ งอั ด เก็ บ คาร์บ อนนั้ น จะเกิ ด ขึ้ น เมื่ อ ผู้ ป ระกอบกิ จ การอั ด เก็ บ คาร์บ อนได้ ป ฏิ บั ติ ต ามเงื่อ นไขที่ กํ าหนดใน
ใบอนุญาตประกอบกิจอัดเก็บคาร์บอนครบถ้วนแล้ว หรือเป็นกรณีที่ผู้ประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอนได้รับอนุญาต
ให้ปิดแหล่งอัดเก็บคาร์บอนจากอธิบดี หรือเป็นกรณีที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการอัด
เก็บคาร์บอน
ภายหลังจากที่ได้มีการปิดแหล่งอัดเก็บคาร์บอนตามความในวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ประกอบกิจการอัดเก็บ
คาร์บอนยังมีหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังตามมาตรา ๕๓/๒๓ ต่อไป และเมื่อมีการปิดแหล่งอัดเก็บ
คาร์บอนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่และอํานาจในการติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวัง โดยให้บรรดา
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเป็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอน
๒.๑๖ การโอนความรับผิดชอบ
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการเพิ่มบทบัญญัติมาตรา ๕๓/๒๕ บัญญัติว่าเมื่อมี
การปิดแหล่งอัดเก็บคาร์บอน ตามความในมาตรา ๒๕/๒๔ แล้ว ให้ความรับผิดชอบในการติดตาม ตรวจสอบ และ
เฝ้าระวังเกี่ยวกับการแหล่งอัดเก็บคาร์บอนที่ถูกปิดโอนเป็นของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
การโอนความรับผิดชอบตามความในวรรคหนึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอนได้ (๑) อัด
คาร์บอนลงในแหล่งอัดเก็บคาร์บอนเสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์ (๒) วางหลักประกันการโอนความรับผิดชอบของ
แหล่งอัดเก็บคาร์บอนต่ออธิบดีตามมาตรา ๒๕/๒๖ แล้ว และ (๓) รื้อถอนสิ่งติดตั้งหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เพื่อการอัด
คาร์บอนแล้ว
๒.๑๗ หลักประกันการโอนความรับผิดชอบของแหล่งอัดเก็บคาร์บอน
ร่างพระราชบัญ ญั ติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการเพิ่มบทบัญ ญั ติมาตรา ๕๓/๒๖ บัญ ญั ติให้ผู้
ประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอนมีหน้าที่วางหลักประกันการโอนความรับผิดชอบของแหล่งอัดเก็บคาร์บอนต่อ
อธิบดี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่กําหนดในกฎกระทรวง โดยหลักประกันจะเป็นเงิน
สด พันธบัตรของรัฐบาลไทย สัญญาคํ้าประกันของธนาคารหรือหลักประกันอื่นใดก็ได้
ทั้งนี้ เพื่อให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีทุนเพียงพอในการติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังแหล่งอัดเก็บ
คาร์บอนที่ถูกโอนตามมาตรา ๕๓/๒๕ จึงควรมีการบัญญัติให้ผู้ประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอนเป็นผู้มีหน้าที่ในการ
วางหลักประกันการโอนความรับผิดชอบของแหล่งอัดเก็บคาร์บอน
๒.๑๘ การนาพระราชบัญญัติปิโตรเลียมมาบังคับใช้แก่ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต
ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ปิ โตรเลี ย ม (ฉบั บ ที่ ..) พ.ศ. .... มี ก ารเพิ่ ม บทบั ญ ญั ติ ม าตรา ๕๓/๒๖ กํ า หนด
บทบัญ ญั ติ ที่ อาจนํ ามาใช้บั งคับ แก่ผู้ รับ สั ญ ญาแบ่ งปั น ผลผลิตได้ เท่ าที่ ไม่ขัดหรือแย้งกับ บทบั ญ ญั ติในหมวดนี้
ดังต่อไปนี้ บทบัญญัติในหมวด ๑ หมวด ๑ เว้นแต่มาตรา ๖ หมวด ๒ เว้นแต่มาตรา ๑๖(๓) หมวด ๖ หมวด ๘
เว้ น แต่ ม าตรา ๑๐๙ ทวิ โดยให้ “ สั ม ปทาน” “ผู้ รั บ สั ม ปทาน” “ผู้ ข อสั ม ปทาน” “ให้ สั ม ปทาน” หมายถึ ง
“ใบอนุญ าตประกอบกิจการคาร์บอน” “ผู้รับใบอนุญ าตประกอบกิจการคาร์บอน” “ผู้ขอสิทธิ เป็นผู้ประกอบ
กิจการคาร์บอน” “ให้สิทธิเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการคาร์บอน” ตามลําดับ
๒.๑๙ การยกเว้นค่าธรรมเนียม ภาษีอากร เงินที่หน่วยงานราชการอื่นเรียกเก็บ
ร่างพระราชบัญ ญั ติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการแก้ไขบทบัญ ญั ติมาตรา ๗๑ โดยขยายความ
บทบัญญัติมาตรา ๗๑ (๒) ให้รวมถึงการจ่ายค่าภาคหลวงไม้ ค่าบํารุงป่า และค่าธรรมเนียมโดยไม่ถือว่าปิโตรเลียม
เป็นของป่าตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดิ นเพื่อเกษตรกรรม และกฎหมายว่า
ด้วยการจัดที่ ดินเพื่ อการครองชีพด้วย และแก้ไขในมาตรา ๗๑ (๔) ให้ค่าธรรมเพื่อตอบแทนบริการต้องไม่ใช่
ค่าตอบแทนเพื่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอื่น
๒.๒๐ กรณีที่ผู้รับสัมปทานต้องยอมให้ผู้รับสัมปทานรายอื่นใช้สิ่งติดตั้งของตน
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการเพิ่มบทบัญญัติมาตรา ๗๒/๑ ให้อํานาจอธิบดีใน
การสั่งผู้รับสัมปทานที่มีสิ่งติดตั้งเพื่อการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามสัมปทานของตน ต้องยอมให้ผู้รับสัมปทาน
รายอื่นใช้สิ่งติดตั้งของตนโดยมีการทําสัญญาการใช้งานสิ่งติดตั้ง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมจาก
แหล่งสะสมขนาดเล็กหรือมีศักยภาพในการผลิตไม่มาก
๒.๒๑ หลักเทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานปิโตรเลียมที่ดี
ร่างพระราชบัญ ญั ติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....มีการแก้ไขบทบัญ ญั ติมาตรา ๘๐ ให้ครอบคลุมทั้ง
วิธีการประกอบกิจการปิโตรเลียม การรื้อถอน การอนุรักษ์ทรัพยากรปิโตรเลียม มาตรฐานด้านวิศวกรรม การ
ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม และการประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอน
๒.๒๒ การรองรับการทางานของระบบเพื่อการรื้อถอนบัญชี
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการแก้ไขบทบัญญัติมาตรา ๘๐/๑ จากการใช้ระบบ
การวางหลักประกันภัย เป็นระบบเพื่อการรื้อถอน
๒.๒๓ หน้าที่ของผู้รับสัมปทานเกี่ยวกับกองทุนเพื่อการรื้อถอน
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการแก้ไขบทบัญญัติมาตรา ๘๐/๒ โดยเปลี่ยนจาก
หลักเกณฑ์การวางหลักประกัน เป็นการจัดตั้งระบบกองทุนเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่ง
อํานวยความสะดวก ให้มีการเบิกและใช้เงินในบัญชีเพื่อการรื้อถอน หรือหากผู้รับสัมปทานไม่ดําเนินการรื้อถอน
หรือดําเนินการล่าช้าอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายอธิบดีมีอํานาจมอบหมายให้บุคคลอื่นดําเนินการรื้อถอนแทน
หรือร่วมกับผู้รับสัมปทาน โดยใช้จ่ายจากบัญชีตามความในวรรคหนึ่ง
หากเงินในบัญชีเพื่อการรื้อถอนไม่เพียงพอสําหรับการรื้อถอน หรือการดําเนินการรื้อถอนโดยบุคคลอื่น
ตามความในวรรคสอง ผู้ รั บ สั ม ปทานมี ห น้ าที่ ต้ อ งจั ด หาทุ น เพิ่ ม เติ ม เพื่ อ ให้ เพี ย งพอต่ อ การรื้อ ถอน หรือ การ
ดําเนินการรื้อถอนโดยบุคคลอื่นดังกล่าว
๒.๒๔ หน้าที่ของผู้รับสัมปทานในการให้ผู้รับสัมปทานรายใหม่และพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึง
และใช้ประโยชน์สิ่งติดตั้ง สิ่งก่อสร้าง ทรัพย์สิน ข้อมูล อุปกรณ์อื่นที่จาเป็นต่อการประกอบกิจการปิโตรเลียม
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ได้เพิ่มบทบัญญัติมาตรา ๘๑/๑ กําหนดหน้าที่ ผู้รับ
สัมปทานไม่ได้รับการต่อระยะเวลาการผลิตตามมาตรา ๒๖ ก่อนสิ้นระยะเวลาตามสัมปทานหรือระยะเวลาที่ได้รับ
ต่อเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี หรือผู้รับสัมปทานถูกเพิกถอนสัมปทานก่อนสิ้นระยะเวลาผลิต และเป็นกรณีที่ต้องมี
ผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมรายใหม่เข้าพื้นที่ผลิตของผู้รับสัมปทาน ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ต้องให้ผู้ประกอบกิจการ
ปิโตรเลียมรายใหม่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงพื้นที่ผลิตและใช้ประโยชน์สิ่งติดตั้ง สิ่งก่อสร้าง ทรัพย์สิน
ข้อมูล อุปกรณ์อื่นที่จําเป็นต่อการประกอบกิจการปิโตรเลียมต่อไป
หากผู้รับสัมปทานไม่ได้รับการต่อระยะเวลาการผลิตตามมาตรา ๒๖ เช่น ไม่ประสงค์ที่จะประกอบการ
ผลิตต่อแล้ว หรือไม่อาจตกลงเรื่องการต่อระยะเวลาตามมาตรา ๒๖ ได้ หรือมีการเพิกถอนสัมปทาน ซึ่งจะส่งผลให้
เกิดความไม่ต่อเนื่องในการผลิตพลังงานอันมีเหตุเกิดจากการตัดสินใจหรือการกระทําของผู้รับสัมปทานเอง ควรมี
บทบั ญ ญั ติ ที่ ให้ อํานาจแก่ พ นั ก งานเจ้าหน้ าที่ และรับ รองสิท ธิข องผู้ป ระกอบการรายใหม่ ให้ สามารถเข้ าไปใช้
ประโยชน์สิ่งติดตั้ง สิ่งก่อสร้าง ทรัพย์สิน ข้อมูล อุปกรณ์อื่นที่จําเป็นต่อการประกอบกิจการปิโตรเลียมต่อไปได้
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการประกอบกิจการผลิตปิโตรเลียม โดยผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมรายใหม่สามารถ
เข้าถึงและใช้ประโยชน์สิ่งติดตั้ง สิ่งก่อสร้าง ทรัพย์สิน ข้อมูล อุปกรณ์อื่นที่จําเป็นต่อการประกอบกิจการปิโตรเลียม
โดยมิ พั กต้ องคํ านึ งถึงความเป็ น เจ้าของกรรมสิ ท ธิ์ของผู้รับ สัม ปทานหรือผู้รับ สัญ ญารายเดิม ควรมีก ารแก้ไข
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
๒.๒๕ การลดค่าภาคหลวงตามมาตรา ๙๙
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ได้แก้ไขมาตรา ๙๙ ให้แหตุในการลดค่าภาคหลวงลง
เป็ น การชั่ ว คราวนั้ น ให้ ก รณี ที่ ป รากฏว่ า ราคาเฉลี่ ย รายเดื อ นของปิ โตรเลี ย มสู งกว่ า ราคาเฉลี่ ย ปิ โตรเลี ย มที่
คณะกรรมการประกาศกําหนด โดยการลดค่าภาคหลวงนั้นควรมีลักษณะเป็นขั้นบันได โดยสอดคล้องกับราคา
ปิโตรเลียม เพื่อความชัดเจนว่าการลดค่าภาคหลวงนั้นจะมีอัตราเท่าใดตามราคาปิโตรเลียมในแต่ละขั้น
๒.๒๖ การลดหย่อนค่าภาคหลวงตามมาตรา ๙๙ ทวิ
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ได้แก้ไขมาตรา ๙๙ ทวิ ให้ลดค่าภาคหลวงในกรณีที่
ผู้รับสัมปทานจะมีการสํารวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมเพื่อกิจการอัดเก็บคาร์บอน และเพื่อให้มีความชัดเจน
เกี่ยวกับการส่งเสริมผู้รับสัมปทานตั้งแต่ขั้นประมูลสิทธิการสํารวจและผลิตปิโตรเลียม
๒.๒๗ การปรับระวางโทษ
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการแก้ไขระวางโทษ ดังต่อไปนี้
๒.๒๗.๑ มาตรา ๑๐๑ โดยโทษในการฝ่าฝืนมาตรา ๗ ให้ต้องระวางโทษไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่ง
หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
๒.๒๗.๒ มาตรา ๑๐๒ การไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงออกตามมาตรา ๑๔(๑)(๒) หรือ (๓) ต้องชําระ
ค่าปรับเป็นพินัยไม่เกินห้าหมื่นบาท
๒.๒๗.๓ มาตรา ๑๐๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรหนึ่ง มาตรา ๒๓/๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๓/
๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่ล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
๒.๒๗.๔ มาตรา ๑๐๔ ผู้รับสัมปทานผู้ใดผลิตปิโตรเลียมโดยมิได้รับอนุมัติจากอธิบดี ตามมาตรา ๔๒
วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
๒.๒๗.๕ มาตรา ๑๐๔ ทวิ ทวิ ผู้ รั บ สั ม ปทานผู้ ใดไม่ ยื่ น แผนการผลิ ต ปิ โตรเลี ย มตามที่ กํ า หนดใน
กฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๔๒ ทวิ วรรคหนึ่งหรือไม่แจ้งผลการทบทวนแผนการผลิตปิโตรเลียมเป็น
รายปีตามมาตรา ๔๒ ทวิ วรรคสาม ต้องชําระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกินห้ าหมื่นบาท และปรับอีกวันละห้าพันบาท
จนกว่าผู้รับสัมปทานจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
๒.๒๗.๖ มาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี
และปรับไม่เกินสี่ล้านบาท
๒.๒๗.๗ มาตรา ๑๐๖ ผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ
ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
๒.๒๗.๘ มาตรา ๑๐๗ ผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๔ มาตรา ๗๖ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๗๗
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
๒.๒๗.๙ มาตรา ๑๐๘ ผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับ
ไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
๒.๒๗.๑๐ มาตรา ๑๐๙ ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๘๑ ต้องระวาง
ชําระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
๒.๒๗.๑๑ มาตรา ๑๐๙ ทวิ ผู้ใดขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการตามหน้าที่ตามมาตรา ๑๐๐ อัฏฐ ต้อง
ระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
๒.๒๗.๑๒ มาตรา ๑๑๐ ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคําเท็จ ตอบคําถามด้วยถ้อยคําอันเป็นเท็จ
นําพยานหลักฐานเท็จมาแสดง หรือกระทําการใด ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่ าภาคหลวงหรือ
ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้าน
บาท

๓. ความจาเป็นที่ต้องตรากฎหมาย
กิจการปิโตรเลี ยมเป็นกิจการที่ มี ความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงทางพลังงานของประเทศซึ่งมี
ความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง และเนื่องจากเป็นกิจการที่มีการดําเนินการกับทรัพยากรที่เป็นของรัฐโดยตรง การดําเนิน
กิ จ กรรมปิ โตรเลี ย มดั งกล่ าวจึ งต้ อ งมี ห ลั ก การดํ าเนิ น การปฏิ บั ติ ที่ ดี แ ละมี ค วามเป็ น สากล เพื่ อ ให้ ส ามารถใช้
ทรัพยากรของรัฐได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด จึงมีความจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และที่
แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อกํากับดูแลการดําเนินกิจการปิโตรเลียม เพื่อส่งเสริมให้มีกฎหมายเฉพาะสําหรับการสํารวจ
และผลิตปิโตรเลียมภายใต้มาตรการควบคุมที่เหมาะสม โดยมีการกําหนดขอบเขตและนิยามของกิจการปิโตรเลียม
และกรอบการกํากับดูแลการประกอบกิจการปิโตรเลียมไม่ว่าจะเป็นองค์กรกํากับดูแล ระบบการให้สิทธิสํารวจและ
ผลิตปิโตรเลียม ตลอดจนสิทธิประโยชน์และหน้าที่ต่าง ๆ ของผู้ประกอบกิจการ เพื่อประกันการประกอบกิจการ
ปิโตรเลียมที่ดีและรักษาความมั่นคงของปิโตรเลียมในราชอาณาจักร
อย่างไรก็ตามกฎหมายดังกล่าวได้มีการบังคับใช้มาเป็นระยะเวลานาน แม้จะมีการแก้ไขปรับปรุงอยู่เป็น
ระยะ แต่ก็ยังคงมีข้อปัญหาและข้อจํากัดในการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่วอยู่หลายประการตามพัฒนาการ
ของเทคโนโลยี สภาพทางธรณีวิยา และความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ ๒.๑
สภาพปัญหา เช่น ความไม่ครอบคลุมในแง่ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย, ความไม่ต่อเนื่องในการประกอบกิจการ
ผลิตปิโตรเลียม, อัตราค่าภาคหลวงและการลดหย่อนค่าภาคหลวงยังไม่อาจดึงดูดการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ,
การใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อใช้ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ดินที่ส่วนราชการเป็นเจ้าของ หรือที่
บุคคลอื่นใดเป็นเจ้าของหรือมีสิทธิครอบครอง, การบังคับให้มีการยื่นหลักประกันการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือวัสดุ
อื่น ใด รวมถึ งบทกํ าหนดโทษและการบั งคั บ ทางการปกครอง เป็ น ต้ น จึงมี ค วามจํ าเป็ น ต้ อ งดํ าเนิ น การแก้ ไข
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ใน
ปัจจุบัน

๔. ประเด็นที่จะมีการรับฟังความคิดเห็น
๔.๑ ท่านเห็นด้วยกับการปรับปรุงบทนิยาม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔) หรือไม่
๔.๒ ท่านเห็นด้วยกับการเพิ่มอํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสั่งให้มีการปฏิบัติใด ๆ ตามหลักเทคนิค
และวิธีการปฏิบัติงานปิโตรเลียมและกิจการอัดเก็บคาร์บอนที่ดีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) หรือไม่
๔.๓ ท่านเห็นด้วยกับการเพิ่มเติมบทบาทของคณะกรรมการปิโตรเลียม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๖) หรือไม่
๔.๔ ท่านเห็นด้วยกับการบัญญัติรับรองอํานาจของรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๒)
หรือไม่
๔.๕ ท่านเห็นด้วยกับการปรับปรุงอํานาจหน้าที่ของอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (เพิ่มเติมมาตรา ๒๒/๑)
หรือไม่
๔.๖ ท่านเห็นด้วยกับการให้สิทธิประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอนแก่ผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมตาม
มาตรา ๒๓ (เพิ่มเติมมาตรา ๒๓/๑) และการให้สิทธิประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอนแก่บุคคลที่มิใช่ผู้ประกอบ
กิจการปิโตรเลียมมาตรา ๒๓ (เพิ่มเติมมาตรา ๒๓/๒) หรือไม่
๔.๘ ท่านเห็นด้วยกับการต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๖) หรือไม่
๔.๙ ท่านเห็นด้วยกับการแทนระบบหลักประการรื้อถอนด้วยระบบบัญชีเพื่อการรื้อถอน (แก้ไขมาตรา
๘๐/๒) หรือไม่
๔.๑๐ ท่านเห็นด้วยกับการให้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ต้องให้ผู้ รับสัมปทานรายใหม่และพนักงานเจ้าหน้าที่
สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์สิ่งติดตั้ง สิ่งก่อสร้าง ทรัพย์สิน ข้อมูล อุปกรณ์อื่นที่จําเป็นต่อการประกอบกิจการ
ปิโตรเลียมต่อไปในกรณีที่หากผู้รับสัมปทานไม่ได้รับการต่อระยะเวลาการผลิตตามมาตรา ๒๖ ก่อนสิ้นระยะเวลา
ตามสัมปทานหรือระยะเวลาที่ได้รับต่อเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี หรือผู้รับสัมปทานถูกเพิกถอนสัมปทานก่อนสิ้น
ระยะเวลาผลิต และเป็นกรณีที่ต้องมีผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมรายใหม่ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๘๐/๑) หรือไม่
๔.๑๑ ท่านเห็นด้วยกับการเพิ่มเงื่อนไขในการลดค่าภาคหลวงลงชั่วคราวหากปรากฏว่าราคาเฉลี่ยราย
เดือนของปิโตรเลียมสูงกว่าราคาเฉลี่ยปิโตรเลียมที่คณะกรรมการประกาศกําหนด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๙๙)
๔.๑๒ ท่านเห็นด้วยกับการเพิ่มเหตุให้มีการลดค่าภาคหลวงสําหรับผู้ประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอน และ
เพิ่มเติมให้การลดหย่อนค่าภาคหลวงเพื่อส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการสํารวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม และการ
ประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอนอาจถูกระบุในการประกาศประกาศเชิญ ชวนให้เข้าร่วมยื่ นคําขอเพื่อเป็นผู้รับ
สัมปทาน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๙๙ ทวิ) หรือไม่
๔.๑๓ ท่านเห็นด้วยกับการแก้ไขระวางโทษอาญาและการนําเอาโทษปรับเป็นพินัยตามหมวด ๘ (แก้ไข
บทบัญญัติใหมวด ๘) หรือไม่
๔.๑๔ ท่ านมี ข้อเสนอแนะในการแก้ไขเพิ่ มเติมบทบั ญ ญั ติของพระราชบั ญ ญั ติปิ โตรเลียม (ฉบั บ ที่ ..)
พ.ศ. … หรือไม่

๕. ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบ
การดําเนินการปรับปรุงและแก้ไขข้อจํากัดและปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยการเสนอร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … สามารถวิเคราะห์ผลกระทบ
จากร่างกฎหมายดังกล่าวต่อผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียม, คณะกรรมการปิโตรเลียม, รัฐมนตรี, อธิบดีกรมเชื้อเพลิง
และผู้ใช้ปิโตรเลียม
๕.๑ ผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียม ได้รับผลกระทบดังต่อไปนี้
๑) ผู้ ป ระกอบการปิโตรเลี ยมอาจนํ าเอาคาร์บอนไดออกไซด์ที่ ถูกดักจับ ได้น อกแปลงสํารวจและผลิต
ปิโตรเลียมเพื่ออัดลงหลุมปิโตรเลียมได้
๒) ผู้ รั บ สั ม ปทานที่ มี สิ่ งติ ด ตั้ งเพื่ อ การประกอบกิ จ การปิ โตรเลี ย มตามสั ม ปทานของตน ต้ อ งยอมให้
ผู้ประกอบการรายอื่นใช้สิ่งติด ตั้งของตนโดยมีการทําสัญญาการใช้งานสิ่งติดตั้ง ในกรณีที่ปรากฏว่าการใช้งานสิ่ง
ติดตั้งดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่ที่สภาพทางธรณีวิทยาไม่เอื้ออํานวยหรือที่มี
พลังผลิตของพื้นที่ลดลง และไม่อยู่ในแผนการสํารวจหรือแผนการผลิตของผู้รับสัมปทาน หรือเพื่อประโยชน์ในการ
บําบัด ขนส่ง และกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ และปรากฏว่าการใช้งานดังกล่าวนั้นจะไม่ส่งผลให้เจ้าของสิ่งปลูก
สร้างไม่อาจใช้งานสิ่งติดตั้งได้ตามที่จําเป็นต้องใช้งานอันเป็นจากการใช้งานของบุคคลอื่น
๓) ผู้ สั ม ปทาน ผู้ รั บ สั ญ ญาแบ่ ง ปั น ผลผลิ ต และผู้ รั บ สั ญ ญาจ้ า งบริ ก าร มี ห น้ า ที่ ในการยิ น ยอมให้
ผู้ประกอบการรายใหม่และอํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการการเข้าถึงและใช้ประโยชน์สิ่งติดตั้ง สิ่งก่อสร้าง
ทรัพย์สิน ข้อมูล อุปกรณ์อื่นที่จําเป็นต่อการประกอบกิจการปิโตรเลียมในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่ได้รับการต่อ
ระยะเวลาการผลิตตามมาตรา ๒๖ ก่อนสิ้นระยะเวลาตามสัมปทานหรือระยะเวลาที่ได้รับต่อเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
สองปี หรือผู้รับสัมปทานถูกเพิกถอนสัมปทานก่อนสิ้นระยะเวลาผลิต และเป็นกรณี ที่ต้องมีผู้ประกอบกิจการ
ปิโตรเลียมรายใหม่
๕.๒ รัฐมนตรี, อธิบดีกรมเชื้อเพลิง และคณะกรรมการปิโตรเลียม ได้รับผลกระทบดังต่อไปนี้
๑) สามารถควบคุมการประกอบกิจการปิโตรเลียมได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น ทั้งในด้านการประกอบ
กิจการและเขตอํานาจทางพื้นที่ จากการปรับปรุงบทนิยามต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น “กิจการปิโตรเลียม” “ผู้ประกอบ
กิจการปิโตรเลียม” เป็นต้น และสามารถกําหนดทิศทางในการกํากับกิจการปิโตรเลียมโดยการจัดทําและเห็นชอบ
แผนงานของกิจการปิโตรเลียมต่าง ๆ ได้
๒) มีการแก้ไขและกําหนดผลผูกพันทางกฎหมายของมติคณะกรรมการปิโตรเลียมต่อหน่วยงานของรัฐอื่น
สามารถดําเนินการได้โดยการเพิ่มบทบัญญัติว่าด้วยผลผูกพันของมติคณะกรรมการปิโตรเลียมต่อหน่วยงานของรัฐ
อื่นที่มีผู้แทนอยู่ในคณะกรรมการปิโตรเลียมโดยรับรองอํานาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในการขอให้
คณะรัฐมนตรีมีมติให้มติของคณะกรรมการปิโตรเลียมมีผลผูกพันกระทรวงและหน่วยงานทุกหน่วยที่เป็นกรรมการ
อยู่ด้วย
๓) อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีหน้าที่และอํานาจในการออก
ใบอนุญาตการประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอนตามมาตรา ๒๓/๑ และมาตรา ๒๓/๒
๔) คณะกรรมการปิโตรเลียมมีหน้าที่และอํานาจในการทําความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีหากเห็นว่ากฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคําสั่งใดก่อให้เกิดความไม่สะดวกหรือล่าช้าในการประกอบกิจการปิโตรเลียม
หรือกิจการอัดเก็บคาร์บอน มีความซํ้าซ้อนหรือเป็นการเพิ่มภาระการดําเนินการโดยไม่จําเป็น หรือมีปัญหาหรือ
อุปสรรคอื่นใด เพื่อพิจารณาให้มีการดําเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคั บ ประกาศ หรือคําสั่ง
ดังกล่าว หรือมีกฎหมายขึ้นใหม่ เพื่อให้การประกอบกิจการปิโตรเลียมมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว
๕) คณะกรรมการปิโตรเลียมมีหน้าที่และอํานาจในการประกาศราคาเฉลี่ยรายเดือนของปิโตรเลียมตาม
มาตรา ๙๙
๖. เหตุผลความจาเป็นของการให้มีระบบอนุญาต ระบบคณะกรรมการหรือการกาหนดโทษอาญา
รวมทั้งหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ
ระบบอนุญาต – การประกอบกิจการปิโตรเลียมจําเป็นต้องกํากับดูแลด้วยระบบสัมปทาน สัญญาแบ่งปัน
ผลผลิต และสัญญาจ้างบริการตามมาตรา ๒๓ ในขณะที่การประกอบกิจการอัดเก็บคาร์บอนนั้นควรถูกกํากับดูแล
ด้วยระบบใบอนุ ญ าตตามมาตรา ๒๓/๑ และ มาตรา ๒๓/๒ เนื่ อ งจากเป็ น กิ จกรรมที่ มี การใช้ป ระโยชน์ จ าก
ทรัพยากรธรรมชาติ และอาจมีกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสําคัญ ระบบอนุญ าตจึงเป็น
มาตรการที่จําเป็นและเหมาะสมในการกํากับดูแลการประกอบกิจการ พลังงาน เพื่อให้สามารถกําหนดคุณสมบัติ
ของผู้ประกอบกิจการที่เหมาะสม ให้มีศักยภาพทั้งทางด้านเทคนิค และการเงิน และกําหนดมาตรฐานการประกอบ
กิจการปิโตรเลียมและกิจการอัดเก็บคาร์บอน
ระบบคณะกรรมการ – การประกอบกิจการปิโตรเลียมจําเป็นต้องกํากับดูแลด้วยระบบคณะกรรมการซึ่ง
จะต้องประกอบด้วยกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญที่ครอบคลุมต่อการให้ความเห็นแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
พลังงาน หรืออธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติในการกํากับดูแลกาประกอบกิจการปิโตรเลียมและกิจการอัดเก็บ
คาร์บอน
การให้อานาจดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่ - จําเป็นต้องมีอยู่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถ พิจารณาเลือกใช้
มาตรการและสามารถอํานวยความยุติธรรมเฉพาะกรณีได้อย่างเหมาะสม
การกาหนดโทษอาญา - ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ได้แก้ไขปรับปรุงบทกําหนด
โทษหลายประการ โดยปรับเปลี่ยนโทษทางอาญาที่เป็นโทษที่ไม่ร้ายแรง มาเป็น โทษปรับทางพินัย เพื่อให้ผู้กระทํา
ความผิดในกลุ่มดังกล่าวได้รับโทษอย่างเหมาะสม และไม่ถูกบันทึกในประวัติอาชญากร รวมถึงเปลี่ยนแปลงโทษที่
ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าหน้าที่ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติหรือผู้มีอํานาจตามร่างพระราชบัญญั ติปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ให้เป็นโทษทางปกครอง เพื่อการบังคับใช้อํานาจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ยังมีการ
คงโทษทางอาญาในความผิดบางฐานไว้ เพื่อป้องกันมิให้มีผู้ละเมิดบทบัญญัติของร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. … อันจะสามารถควบคุมการประกอบกิจการปิโตรเลียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

You might also like