You are on page 1of 334

เอกสารประกอบการสอน วิชา คอ 351

อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว
Glass Production Industry
ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์

สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสิ่งทอ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
พ.ศ. 2558
เอกสารประกอบการสอน วิชา คอ 351

อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว
Glass Production Industry

ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์
สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสงิ่ ทอ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
คำนำ

เอกสารฉบับนี้จดั ทาเพื่อใช้อ่านประกอบการเรียนวิชา คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ซึ่ง เป็ น


รายวิช าหนึ่ ง ในหลัก สู ต รวิท ยาศาสตรบัณ ฑิต สาขาวิช าเคมีอุ ต สาหกรรมและเทคโนโลยีส ิ่ง ทอ คณะ
วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยเปิ ดสอนครัง้ แรกในภาคการศึกษาที่ 2 ปี การศึกษา 2557 ซึ่งมีเนื้อหา
เกี่ยวกับทฤษฎีการเกิดแก้ว กระบวนการผลิตแก้ว เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตแก้ว หลักการที่ใช้อธิบายการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิตแก้วในระดับอุตสาหกรรม รวมไปถึงสมบัติเ บื้องต้นของวัสดุแก้ว
เป็ นต้น ซึง่ ผูเ้ ขียนได้รวบรวมเนื้อหาหลักจากตาราภาษาอังกฤษ บทความวิชาการ เวปไซต์ต่างๆ รวมไปถึง
ประสบการณ์ในการเยีย่ มชมโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตแก้วในประเทศไทยและจากประสบการณ์ในการ
ทางานวิจยั ทัง้ ทางด้านเซรามิกและโดยเฉพาะอย่างยิง่ ด้านแก้วของผูเ้ ขียน

เนื้อ หาในเอกสารประกอบการสอนฉบับ นี้ ป ระกอบไปด้ว ยส่ ว นย่อ ยทัง้ หมด 4 ส่ ว น ได้แก่ ส่ ว นที่
เกีย่ วกับวัสดุแก้วและการเกิดแก้ว (บทที่ 1) ส่วนทีเ่ กีย่ วกับลักษณะเฉพาะและสมบัตขิ องแก้ว (บทที่ 8 และ 9)
ส่วนทีเ่ กีย่ วกับกระบวนการผลิตแก้ว (บทที่ 4 – 7) และส่วนทีเ่ กีย่ วกับเครือ่ งมือและเครือ่ งจักรในอุตสาหกรรม
การผลิตแก้ว (บทที่ 3)

ผูเ้ ขียนหวังว่าเอกสารประกอบการสอนฉบับนี้จะเป็ นประโยชน์ต่อนักศึกษาระดับปริญญาตรีทม่ี คี วาม


สนใจในอุตสาหกรรมการผลิตแก้ว รวมไปถึงผู้สนใจท่านอื่น ๆ ทีใ่ ห้ความสนใจด้านวัสดุแก้วและกระบวนการ
ผลิตแก้ว อีกทัง้ ยังหวังว่าเนื้อหาในเอกสารฉบับนี้ จะสามารถสร้างความเข้าใจเบื้องต้นและสามารถเพิม่ พูน
ความรูแ้ ละแก่ผสู้ นใจได้ไม่มากก็น้อย

ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์

สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสงิ่ ทอ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มกราคม 2558

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ข
สารบัญ
หน้ า
คานา ข
สารบัญ ค
สารบัญรูป ช
สารบัญตาราง ฏ

บทที่ 1 แก้วและการจาแนกชนิ ดของแก้ว 1


Glass and Classification of Glass
1.1 คำจำกัดควำมของแก้ว 1
1.2 กำรจำแนกประเภทของแก้ว 4
1.2.1 จำแนกตำมลักษณะกำรใช้งำน 5
1.2.2 จำแนกตำมชนิดขององค์ประกอบ 8

บทที่ 2 กระบวนการผลิ ตแก้ว 17


Glass Production Processes
2.1 ขัน้ ตอนกำรเตรียมวัตถุดบิ และกำรผสมวัตถุดบิ (Preparing and mixing 17
.of raw materials)
2.2 ขัน้ ตอนกำรหลอมแก้ว (Melting process) 20
2.3 ขัน้ ตอนกำรขึน้ รูป (Forming process) 21
2.4 ขัน้ ตอนกำรอบอ่อน (Annealing process) 23

บทที่ 3 เครื่องจักรในกระบวนการผลิ ตแก้ว 25


Machines in Glass Production Processes
3.1 ขัน้ ตอนกำรเตรียมวัตถุดบิ และกำรผสมวัตถุดบิ (Preparing and mixing 25
.of raw materials)
3.2 ขัน้ ตอนกำรหลอมแก้ว (Melting process) 25
3.3 ขัน้ ตอนกำรขึน้ รูป (Forming process) 31
3.3.1 กำรผลิตภำชนะกลวงทีม่ รี ปู ร่ำงต่ำง ๆ 31
3.3.2 กำรผลิตกระจกแผ่น 36
3.3.3 กำรผลิตท่อแก้ว 38
3.4 ขัน้ ตอนกำรอบอ่อน (Annealing process) 40

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ค
บทที่ 4 วัตถุดิบแก้วและการคานวณส่วนผสม 41
Glass Raw Materials and Batch Calculations
4.1 วัตถุดบิ แก้ว (Glass raw materials) 41
4.1.1 ตัวโครงร่ำงตำข่ำยแก้ว (Glass former) 41
4.1.2 ตัวช่วยหลอม (Flux) หรือ ตัวปรับโครงสร้ำงแก้ว (Glass network 43
modifier)
4.1.3 สำรปรับสมบัติ (Properties modifier) 44
4.1.4 สำรให้ส ี (Colourant) 46
4.1.5 สำรลดฟอง (Fining agent) 47
4.2 กำรคำนวณส่วนผสมแก้ว (Batch calculations) 49

บทที่ 5 การเกิ ดแก้วและการหลอมแก้ว 58


Glass Formation and Glass Melting
5.1 กำรเกิดแก้ว (Glass formation) 58
5.1.1 ทฤษฎีกำรเกิดแก้วเชิงโครงสร้ำง (Structural approach of glass 59
formation)
5.1.2 ทฤษฎีกำรเกิดแก้วเชิงจลน์ (Kinetic approach of glass formation) 60
5.2 กำรวิเครำะห์ควำมสำมำรถในกำรเกิดแก้ว (Glass forming ability) และ 65
ควำมเสถียรของแก้ว (Glass stability)
5.3 กำรหลอมแก้ว (Glass melting) 68
5.3.1 กำรปลดปล่อยก๊ำซ (Releasing of gases) 68
5.3.2 กำรเกิดปฏิกริ ยิ ำเคมีของแข็ง-ของแข็ง (Solid state reaction) 70
5.3.3 กำรเกิดวัฏภำคของเหลว (Formation of liquid phases) 72
5.3.4 กำรกำจัดฟองก๊ำซ (Fining or refining) 77
5.3.5 กำรไหลของน้ ำ แก้ ว หลอมในเตำหลอม (Melts circulation in 81
furnace)
5.3.6 กำรเป็ นเนื้อเดียวกันของแก้ว (Homogenising) 83
5.3.7 กำรระเหยขององค์ ป ระกอบต่ ำ ง ๆ ในแก้ ว ( Volatilisation of 83
components from melts)

บทที่ 6 การขึ้นรูปแก้ว 85
Glass Forming
6.1 ควำมหนื ด ของแก้ว ในกระบวนกำรผลิต ขัน้ ตอนต่ ำ ง ๆ (Viscosity of 87
.glass forming melts)
6.2 ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงควำมหนืดกับอุณหภูม ิ (Viscosity and temperature 91
.relationship)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ง
6.3 ปั จจัยต่ำง ๆ ที่มผี ลต่อควำมหนืดของแก้ว (Factors effecting viscosity 94
.of glasses)
6.3.1 องค์ประกอบทำงเคมี (Chemical composition) 94
6.3.1.1 แก้วระบบซิลเิ กต (Silicate glasses) 94
6.3.1.2 แก้วระบบบอเรต (Borate glasses) 96
6.3.2 ผลของอัตรำกำรเย็นตัวของน้ ำแก้วหลอมต่อควำมหนืดของแก้ว 98
(Effect of cooling rate of melts on viscosity of glasses)
6.4 กำรวัดควำมหนืดของแก้ว (Viscosity measurements) 101

บทที่ 7 การอบอ่อนแก้ว 105


Glass Annealing
7.1 ควำมเค้นและควำมเค้นคงค้ำงในแก้ว (Stress and residual stress in 106
.glass)
7.2 กำรอบอ่อน (Annealing) 109
7.3 กำรบำบัดด้วยควำมร้อน (Heat treatment) 115

บทที่ 8 แก้วสี 118


Coloured Glasses
8.1 ชนิดของสำรให้ส ี (Types of colouring agents) 122
8.1.1 ไอออนต่ำง ๆ ทีใ่ ห้ส ี (Colouring ions) 122
8.1.2 อนุภำคโลหะทีแ่ ขวนลอยในแก้ว (Metal particles in glasses) 124
8.1.3 สำรประกอบซัลไฟล์ ซีลไี นด์และเทลลูไรด์ (Sulfide, selenide and 126
telluride compounds)
8.2 ผลของแสงแดดต่ อ สี ข อ งแก้ ว (Effect of solarisation on colour of 127
.glasses)
8.3 ผลของกำรกระตุ้นด้วยรังสีต่อสีของแก้ว (Effect of radiation on colour 128
.of glasses)

บทที่ 9 สมบัติและลักษณะเฉพาะของแก้ว 130


Characteristics and Properties of Glass
9.1 ลัก ษณะเฉพำะและสมบัติของวัส ดุ (Characteristics and properties of 130
.materials)
9.2 ควำมหนำแน่นและปริมำตรต่อโมล (Density and molar volume) 131
9.3 สมบัตทิ ำงควำมร้อน (Thermal properties) 135
9.3.1 กำรขยำยตัวเพรำะควำมร้อน (Thermal expansion) 136
9.3.2 พฤติกรรมทำงควำมร้อนของแก้ว (Thermal behaviour of glass) 139

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว จ
9.4 สมบัตทิ ำงเคมี (Chemical properties) 141
9.5 สมบัตทิ ำงกล (Mechanical properties) 144
9.5.1 มอดูลสั ควำมยืดหยุน่ (Elastic modulus) 144
9.5.2 ควำมแข็ง (Hardness) 146
9.6 สมบัตทิ ำงแสง (Optical properties) 147
9.6.1 ค่ำดัชนีหกั เหแสง (Refractive index) 148
9.6.2 ค่ำกำรกระจำยแสง (Light dispersion) 133

บรรณานุกรม 151

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ฉ
สารบัญรูป
รูป หน้ า
1.1 ลักษณะของโครงข่าย SiO2 แบบอสัณฐาน (Amorphous) ผลึก (Crystalline) 2
และหน่วยย่อยของ [SiO4]4–
1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทาลปี หรือปริมาตรทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ ของของเหลว 2
ผลึกและแก้วทีม่ อี ตั ราการเย็นตัวต่างกัน
1.3 แบบแผนการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction pattern) ของวัสดุ 4
อสัณฐานและวัสดุทม่ี โี ครงร่างผลึกแน่นอน
1.4 แก้ว ประเภทต่ า ง ๆ แบ่ ง ตามลัก ษณะการใช้ง าน เช่ น แก้ว บรรจุ ภ ัณ ฑ์ 5
กระจกหรือแก้วแผ่น แก้วเลนส์และไฟเบอร์กลาสหรือใยแก้วนาแสง
1.5 วิธกี ารผลิตขวดแก้วด้วยการเป่ า และ การผลิตแก้วแผ่นหรือกระจก ด้วยวิธ ี 7
คราวน์หรือหมุนเหวีย่ ง (Crown method)
1.6 ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีการหักเหแสงและค่า Abbe ของแก้วทีใ่ ช้งานเชิง 7
แสง (Optical glass)
1.7 ท่อแก้วควอตซ์ทม่ี คี วามหนาต่าง ๆ กัน 9
1.8 ความหนืดของแก้ว โซเดีย มซิล ิเ กตที่ค วามเข้มข้น ของโซเดีย มออกไซด์ 10
ต่าง ๆ ทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ
1.9 แผนภาพวัฏภาคของระบบ Na2O-CaO-SiO2 บริเวณทีแ่ รเงาคือบริเวณของ 11
องค์ประกอบทีผ่ ลิตแก้วทางการค้า
1.10 แผนภาพวัฏภาคระบบ K2O-PbO-SiO2 และ ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ 13
แก้วกับ ความหนาแน่นและความหนืดของแก้วคริสตัล
1.11 ภาพอิ เ ล็ ก ต รอ น ( Electron image) ขอ งการเกิ ด ก า ร แย กตั ว แ บ บ 14
กึง่ เสถียร (Metastable immiscibility)
2.1 กระบวนการผลิตกระจกแผ่น 18
2.2 สภาวะที่ แ ก้ ว เกิ ด ความเค้ น (Stress) ที่ ส ะสมอยู่ เนื่ องจากผลของ 23
การหดตัวทีไ่ ม่เท่ากัน
2.3 ลัก ษณะการปรากฏของแก้ว ภายใต้ ก ล้อ งจุล ทรรศน์ แ สงของแก้ว ที่ไ ม่ม ี 24
ความเครีย ดคงค้ า งซึ่ ง ไม่ ป รากฏลัก ษณะของการหัก เหสองแนวหรือ
ไบรีฟรินเจนท์ (Birefringent) และของแก้วทีม่ คี วามเครียดคงค้างในปริมาณ
ทีต่ ่างกัน
3.1 ขัน้ ตอนต่าง ๆ ในกระบวนการเตรียมวัตถุดบิ 26
3.2 เตาหลอมแบบหม้อ (Pot furnace) แสดงให้เ ห็นช่อ งเปิ ด ที่ส ามารถนาน้ า 27
แก้วหลอมออกมาขึน้ รูปด้วยวิธตี ่าง ๆ แบบไม่ต่อเนื่องได้
3.3 โครงสร้างภายในของเตาหลอมแก้วแบบหม้อ (Pot furnace) ขนาดเล็ก 27

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ช
รูป หน้ า
3.4 แบบของเตาหลอมแก้ว (มุม สูง : Top view) แสดงบริเ วณป้ อ นวัต ถุ ดิบ 28
บริเวณทีเ่ กิดการหลอมกลายเป็ นของเหลวหรือห้องหลอมซึง่ เป็ นบริเวณทีม่ ี
อุณหภูมสิ งู ทีส่ ุดและบริเวณน้าแก้วถูกดึงออกไปสู่ขนั ้ ตอนการขึน้ รูป
3.5 ลัก ษณะการให้ค วามร้อ นเหนือ วัต ถุ ดิบและน้ าแก้ว โดยการใช้หวั พ่นไฟ 29
(Burner)
3.6 เตาหลอมแก้วซึง่ ให้ความร้อนด้วยแผ่นให้ความร้อน 30
3.7 หลักการทางานของเครื่องป้ อนน้ าแก้ว (Gob feeder) แบบจาลองสามมิติ 32
ของเครือ่ งป้ อนน้าแก้ว (Gob feeder และ ส่วนของฟอร์ฮาร์ท
3.8 การผลิต แก้ ว ด้ว ยวิธ ีก ารกด (Pressing) แสดงแบบพิม พ์แ บบชิ้น เดีย ว 33
(Block mold) และด้านล่างแสดงแบบพิมพ์แบบแยกส่วนได้ (Split mold)
3.9 การผลิตแก้วด้วยวิธกี ารเป่ า (Blowing) 33
3.10 เครือ่ งจักรทีใ่ ช้ในกระบวนการขึน้ รูปภาชนะต่าง ๆ 34
3.11 วิธกี ารขึน้ รูปด้วยวิธกี ดอัดและเป่ า และ วิธเี ป่ าและเป่ า 35
3.12 การผลิ ต กระจกด้ ว ย กระบว นการโฟร์ ค อ ล ท์ (Fourcault process) 36
ซึ่งประกอบไปด้วยหัวปล่อยแก้ว (Debiteuse) ที่ช่วยในการคุมขนาดของ
กระจก และ ขัน้ ตอนการดึงผ่านอุปกรณ์ทาความเย็น
3.13 กระบวนการลอยแก้ว (Float process) 38
3.14 กระบวนการแดนเนอร์ (Danner process) 39
3.15 การผลิตท่อแก้วด้วยกระบวนการเวลโล (Vello process) 39
4.1 อุ ณ หภู ม ิก ารอ่ อ นตัว (Softening temperature) และค่ า สัม ประสิท ธิก์ าร 45
5.1 ขยายตัวเพราะความร้อน (Coefficient of thermal expansion, ) ของแก้ว 63
ระบบ K2O-PbO-SiO2-TiO2 ทีม่ ปี ริมาณ TiO2 ต่างกัน
5.2 อัตราการเกิดนิวเคลียสและการโตของผลึกทีอ่ ุณหภูมติ ่ากว่าจุดหลอมเหลว Tm 65
Time-temperature transformation diagram ห รื อ TTT diagram ที่
ก่อให้เกิดผลึกในสัดส่วน Vx/V
5.3 ลัก ษณะกราฟที่ไ ด้ จ ากเทคนิ ค การวิเ คราะห์ เ ชิง ความร้ อ น (Thermal 67
Analysis) ซึ่ ง ปรากฏพี ค การคายความร้ อ นซึ่ ง แสดงถึ ง การเกิ ด ผลึก
(Crystallisation) ในแก้วทีเ่ กิดผลึกชนิดเดียวและหลายชนิด
5.4 กระบวนการหลอมแก้ ว แสดงการป้ อนวัต ถุ ดิบ ลงในเตาหลอมที่ใ ช้ใ น 70
อุตสาหกรรมการผลิต แก้ว แผ่ น โดยส่วนต้น จะมีการป้ อ นวัตถุ ดิบเข้าเตา
หลอมและจะเกิดการหลอมต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการหลอมสมบูรณ์พร้อมส่ง
ต่อไปยังการขึน้ รูปต่อไป
5.5 แบบจาลองการเกิดปฏิกิรยิ าของแข็ง -ของแข็งระหว่างซิลกิ ากับโซเดียม 71
คาร์บอเนต

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ซ
รูป หน้ า
5.6 อัต ราการเกิ ด ปฏิกิ ร ิย าของแข็ง -ของแข็ง ระหว่ า งซิล ิก าและโซเดี ย ม 72
คาร์บอเนตทีอ่ ุณหภูม ิ 680, 730 และ 782 เซลเซียส
5.7 จุดยูเทคติคระหว่างโซเดียมไดซิลเิ กตกับซิลกิ าที่อุณหภูม ิ 800 เซลเซียส 74
โดยโซเดียมไดซิลเิ กตเกิดจากปฏิกิรยิ าของแข็ง -ของแข็งระหว่างโซเดียม
ออกไซด์และซิลกิ าในอัตราส่วนทีเ่ หมาะสม
5.8 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดอนุ ภาคเฉลีย่ กับพืน้ ทีผ่ วิ จาเพาะของ 75
แร่โดโลไมต์
5.9 การรวมตัว กัน ของอนุ ภ าคเมื่อ อนุ ภ าคมีข นาดเล็ก ลงหลัง ผ่ า นการบด 75
ลดขนาดเป็ นเวลา 16 ชัวโมง ่
5.10 ทิศทางของกระแสน้าแก้วในการไหลแบบไปด้านหน้า (Throughput flow) 82
5.11 แบบจ าล อ งการไหล แ บบไ หล ว น ( Circulation flow) ในเต าหล อ ม 82
แบบต่อเนื่อง
6.1 การหาความหนืด เมื่อพิจารณาความเร็วในการไหลของระนาบพืน้ ที่ A สอง 87
ระนาบทีข่ นานกัน
6.2 การเพิม่ ขึน้ ของความหนืดของแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กตทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ 88
6.3 แผนภาพความเปราะ (Fragility diagram) ของของเหลวหนืด 94
6.4 ผลขององค์ประกอบทางเคมีของแก้วต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูม ิ Isokom 96
ทีใ่ ห้ค่าความหนืด 1011 พาสคัลวินาที (Pas) ของแก้วระบบลิเทียมซิลเิ กต
โซเดียมซิลเิ กตและโพแทสเซียมซิลเิ กต (แก้วแต่ละชนิดมีปริมาณอัลคาไลน์
ออกไซด์เท่ากัน = 15 % โดยโมล) ทีม่ กี ารเติม Ga2O3 ในปริมาณทีต่ ่างกัน
6.5 หน่ วยย่อยพื้นฐานของแก้วโบรอนออกไซด์ แสดงลักษณะของโครงสร้าง 97
สามเหลีย่ มแบนราบของโบรอน (Boron triangle, [BO3]) โครงสร้าง Boroxol
ring และโครงสร้างเตตระฮีดรัลโบรอน (Tetrahedral, [BO4])
6.6 ความหนืดของแก้ว Li2O-B2O3 ที่มปี ริมาณ Li2O ต่าง ๆ โดยความหนืดจะ 98
อยู่ในรูปของอุณหภูมไิ อโซคอม (Isokom temperature) ที่มคี ่าความหนืด
เท่ากับ 1011 พาสคัลวินาที
6.7 อุณหภูม ิ Fictive ของแก้วทีเ่ ย็นตัวทีอ่ ตั ราต่างกัน 99
6.8 การเปลี่ย นแปลงความหนื ด ของแก้ ว เพื่อ เข้า สู่ ส มดุ ล ใหม่ จากแก้ ว ที่ม ี 100
อุณหภูม ิ Fictive ต่างกัน
6.9 การเปลี่ย นแปลงความหนื ด ของแก้ ว เพื่อ เข้า สู่ ส มดุ ล ใหม่ จากแก้ ว ที่ม ี 101
อุณหภูม ิ Fictive ต่างกัน
6.10 การวางตัวในลักษณะ 3-point bending ในการวิเคราะห์หาความหนืดของ 104
แก้วด้วยวิธ ี Beam-bending
7.1 แนวทางการอบอ่อน (Annealing) ผลิตภัณฑ์แก้วในอุตสาหกรรม 106

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ฌ
รูป หน้ า
7.2 ผลของความแตกต่ างของอุ ณหภูมติ ่ อ การเกิดแรงอัดและแรงดึงกับ แก้ว 107
ขณะเย็นตัวลง และ ขณะให้ความร้อน ณ อุณหภูมติ ่ ากว่าอุณหภูมติ ่ าสุ ด
ของการอบอ่อน
7.3 ความแตกต่างของอุณหภูมขิ ณะน้ าแก้วเริม่ เย็นตัวในกระบวนการขึน้ รูป ซึ่ง 108
ก่ อ ให้เ กิด ความเค้น คงค้า ง (Residual stress) ในแก้ว เมื่อ แก้ว เย็น ตัว ลง
อย่ า งรวดเร็ว ที่อุ ณ หภู ม ิสู ง กว่ า อุ ณ หภู ม ิก ารเปลี่ ย นเป็ นแก้ ว ( Glass
transition temperature; Tg)
7.4 ผลของอัตราการเย็นตัวของแก้วทีต่ ่างกันในช่วงอบอ่อนซึง่ ทาให้ค่าดัชนีหกั 115
เหเบนออกจากแนวเส้นตรง
7.5 ลักษณะการกระจายความเค้นจากแรงกดและจากแรงดึงในแก้ว Tempered 117
glass และ Heat-strengthened glass รอยแตกของแก้ว Tempered glass
และรอยแตกของแก้ว Heat-strengthened glass
8.1 ตัว อย่างลัก ษณะการลอดผ่ านของแสงที่ผ่ า นการวิเ คราะห์เ พื่อ ใช้ใ นการ 120
แยกแยะสีดว้ ยระบบ CIE
8.2 แผนผัง CIE ซึง่ จะบ่งบอกค่าสีต่าง ๆ ของวัสดุ 121
8.3 การลากเส้น เพื่อ หาค่ า ความยาวคลื่น เด่ น (Dominant wavelength) และ 122
ความบริสุทธิ ์ (Purity)
8.4 ลักษณะกราฟการดูดกลืนแสงของแก้วทีม่ โี ลหะเงินแขวนลอยอยู่ 125
8.5 สเปกตรัมการส่องผ่านแสง (Transmission spectrum) ของแก้วใช้เป็ นแก้ว 127
กรองแสง ซึง่ มีส่วนผสมของ CdS และ CdS + CdSe
9.1 ตัวอย่าง Density-kit ซึง่ จะต่อเข้ากับเครือ่ งชังวิ ่ เคราะห์เพื่อใช้ชงน
ั ่ ้าหนักของ 132
วัสดุทส่ี นใจในอากาศและในตัวกลางของเหลว
9.2 ความหนาแน่ น และปริม าตรต่ อ โมลของแก้ ว ระบบทาลเลี ย มบอเรต 134
(Tl2OB2O3) ที่ป ริม าณ (ความเข้ม ข้น ) ของทาลเลีย มออกไซด์ (Tl2O)
ต่างกัน
9.3 เครื่องไดลาโตมิเตอร์ (Dilatometer) เพื่อใช้วดั ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัว 138
เพราะความร้อนของวัสดุ
9.4 กราฟ DSC ของแก้วโดยทัวไป ่ ซึง่ จะประกอบด้วยปฏิกริ ยิ าต่าง ๆ หรือการ 141
เปลีย่ นแปลงต่าง ๆ เมือ่ ได้รบั ความร้อน
9.5 การละลายของไอออนของโซเดียมจากแก้ว ที่มอี งค์ประกอบทางเคมีค ือ 142
15%wtNa2O12%wtCaO75%wtSiO2 ในสารละลายไฮโดรคลอริก และ
โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ท่ี pH ต่าง ๆ ทีอ่ ุณหภูม ิ 100 เซลเซียส
9.6 กราฟของ Condon-Morse ระหว่างแรง (F) และ ระยะระหว่างอะตอม (r) 145
9.7 ลักษณะหัวกดแบบต่าง ๆ ในการวัดความแข็งของวัสดุ 147

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ญ
รูป หน้ า
9.8 ผลของชนิ ด ของอัล คาไลน์ อ อกไซด์ (Li2O, Na2O และ K2O) ต่ อ ค่ า ดัช นี 149
หักเหแสงของแก้วอัลคาไลน์เจอร์มาเนต
9.9 การกระจายของแสงขาวผ่ านปริซมึ ที่ทาให้เกิดการหักเหแสงต่ างกันเมื่อ 150
ความยาวคลื่นแสงต่างกัน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ฎ
สารบัญตาราง
ตาราง หน้า
1.1 องค์ประกอบทางเคมีของแก้วต่าง ๆ 15
2.1 ความหนืดทีเ่ หมาะสมของแต่ละช่วงในขัน้ ตอนการผลิตแก้ว 22
4.1 การเรียกชื่อแก้วทีม่ อี งค์ประกอบเคมีต่าง ๆ กัน 42
4.2 ตัวช่วยหลอมทีพ่ บในแก้วกลุ่มต่าง ๆ 44
4.3 สีทเ่ี กิดจากไอออนหรือกลุ่มของไอออนต่าง ๆ ในแก้ว 46
4.4 แร่ต่าง ๆ ทีใ่ ช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 48
6.1 ช่วงความหนืดทีเ่ หมาะสมต่อวิธกี ารขึน้ รูปด้วยวิธตี ่าง ๆ 86
6.2 จุดต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตแก้วทีค่ วามหนืดของแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กต 89
ช่วงต่าง ๆ
7.1 ค่า  ของผลลิตภัณฑ์รปู ทรงต่าง ๆ ตรงบริเวณผิวและในผลิตภัณฑ์ 113
9.1 สมบัตทิ างความร้อนของแก้วประเภทต่าง ๆ 139
9.2 ความแข็งตามระดับของโมหส์ (Mohs scale hardness) 146

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ฏ
เอกสารประกอบการสอน วิชา คอ 351
อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว
Glass Production Industry
ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์

สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสิ่งทอ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
พ.ศ. 2558
เอกสารประกอบการสอน วิชา คอ 351

อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว
Glass Production Industry

ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์
สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสงิ่ ทอ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
คำนำ

เอกสารฉบับนี้จดั ทาเพื่อใช้อ่านประกอบการเรียนวิชา คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ซึ่ง เป็ น


รายวิช าหนึ่ ง ในหลัก สู ต รวิท ยาศาสตรบัณ ฑิต สาขาวิช าเคมีอุ ต สาหกรรมและเทคโนโลยีส ิ่ง ทอ คณะ
วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยเปิ ดสอนครัง้ แรกในภาคการศึกษาที่ 2 ปี การศึกษา 2557 ซึ่งมีเนื้อหา
เกี่ยวกับทฤษฎีการเกิดแก้ว กระบวนการผลิตแก้ว เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตแก้ว หลักการที่ใช้อธิบายการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิตแก้วในระดับอุตสาหกรรม รวมไปถึงสมบัติเ บื้องต้นของวัสดุแก้ว
เป็ นต้น ซึง่ ผูเ้ ขียนได้รวบรวมเนื้อหาหลักจากตาราภาษาอังกฤษ บทความวิชาการ เวปไซต์ต่างๆ รวมไปถึง
ประสบการณ์ในการเยีย่ มชมโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตแก้วในประเทศไทยและจากประสบการณ์ในการ
ทางานวิจยั ทัง้ ทางด้านเซรามิกและโดยเฉพาะอย่างยิง่ ด้านแก้วของผูเ้ ขียน

เนื้อ หาในเอกสารประกอบการสอนฉบับ นี้ ป ระกอบไปด้ว ยส่ ว นย่อ ยทัง้ หมด 4 ส่ ว น ได้แก่ ส่ ว นที่
เกีย่ วกับวัสดุแก้วและการเกิดแก้ว (บทที่ 1) ส่วนทีเ่ กีย่ วกับลักษณะเฉพาะและสมบัตขิ องแก้ว (บทที่ 8 และ 9)
ส่วนทีเ่ กีย่ วกับกระบวนการผลิตแก้ว (บทที่ 4 – 7) และส่วนทีเ่ กีย่ วกับเครือ่ งมือและเครือ่ งจักรในอุตสาหกรรม
การผลิตแก้ว (บทที่ 3)

ผูเ้ ขียนหวังว่าเอกสารประกอบการสอนฉบับนี้จะเป็ นประโยชน์ต่อนักศึกษาระดับปริญญาตรีทม่ี คี วาม


สนใจในอุตสาหกรรมการผลิตแก้ว รวมไปถึงผู้สนใจท่านอื่น ๆ ทีใ่ ห้ความสนใจด้านวัสดุแก้วและกระบวนการ
ผลิตแก้ว อีกทัง้ ยังหวังว่าเนื้อหาในเอกสารฉบับนี้ จะสามารถสร้างความเข้าใจเบื้องต้นและสามารถเพิม่ พูน
ความรูแ้ ละแก่ผสู้ นใจได้ไม่มากก็น้อย

ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์

สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสงิ่ ทอ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มกราคม 2558

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ข
สารบัญ
หน้ า
คานา ข
สารบัญ ค
สารบัญรูป ช
สารบัญตาราง ฏ

บทที่ 1 แก้วและการจาแนกชนิ ดของแก้ว 1


Glass and Classification of Glass
1.1 คำจำกัดควำมของแก้ว 1
1.2 กำรจำแนกประเภทของแก้ว 4
1.2.1 จำแนกตำมลักษณะกำรใช้งำน 5
1.2.2 จำแนกตำมชนิดขององค์ประกอบ 8

บทที่ 2 กระบวนการผลิ ตแก้ว 17


Glass Production Processes
2.1 ขัน้ ตอนกำรเตรียมวัตถุดบิ และกำรผสมวัตถุดบิ (Preparing and mixing 17
.of raw materials)
2.2 ขัน้ ตอนกำรหลอมแก้ว (Melting process) 20
2.3 ขัน้ ตอนกำรขึน้ รูป (Forming process) 21
2.4 ขัน้ ตอนกำรอบอ่อน (Annealing process) 23

บทที่ 3 เครื่องจักรในกระบวนการผลิ ตแก้ว 25


Machines in Glass Production Processes
3.1 ขัน้ ตอนกำรเตรียมวัตถุดบิ และกำรผสมวัตถุดบิ (Preparing and mixing 25
.of raw materials)
3.2 ขัน้ ตอนกำรหลอมแก้ว (Melting process) 25
3.3 ขัน้ ตอนกำรขึน้ รูป (Forming process) 31
3.3.1 กำรผลิตภำชนะกลวงทีม่ รี ปู ร่ำงต่ำง ๆ 31
3.3.2 กำรผลิตกระจกแผ่น 36
3.3.3 กำรผลิตท่อแก้ว 38
3.4 ขัน้ ตอนกำรอบอ่อน (Annealing process) 40

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ค
บทที่ 4 วัตถุดิบแก้วและการคานวณส่วนผสม 41
Glass Raw Materials and Batch Calculations
4.1 วัตถุดบิ แก้ว (Glass raw materials) 41
4.1.1 ตัวโครงร่ำงตำข่ำยแก้ว (Glass former) 41
4.1.2 ตัวช่วยหลอม (Flux) หรือ ตัวปรับโครงสร้ำงแก้ว (Glass network 43
modifier)
4.1.3 สำรปรับสมบัติ (Properties modifier) 44
4.1.4 สำรให้ส ี (Colourant) 46
4.1.5 สำรลดฟอง (Fining agent) 47
4.2 กำรคำนวณส่วนผสมแก้ว (Batch calculations) 49

บทที่ 5 การเกิ ดแก้วและการหลอมแก้ว 58


Glass Formation and Glass Melting
5.1 กำรเกิดแก้ว (Glass formation) 58
5.1.1 ทฤษฎีกำรเกิดแก้วเชิงโครงสร้ำง (Structural approach of glass 59
formation)
5.1.2 ทฤษฎีกำรเกิดแก้วเชิงจลน์ (Kinetic approach of glass formation) 60
5.2 กำรวิเครำะห์ควำมสำมำรถในกำรเกิดแก้ว (Glass forming ability) และ 65
ควำมเสถียรของแก้ว (Glass stability)
5.3 กำรหลอมแก้ว (Glass melting) 68
5.3.1 กำรปลดปล่อยก๊ำซ (Releasing of gases) 68
5.3.2 กำรเกิดปฏิกริ ยิ ำเคมีของแข็ง-ของแข็ง (Solid state reaction) 70
5.3.3 กำรเกิดวัฏภำคของเหลว (Formation of liquid phases) 72
5.3.4 กำรกำจัดฟองก๊ำซ (Fining or refining) 77
5.3.5 กำรไหลของน้ ำ แก้ ว หลอมในเตำหลอม (Melts circulation in 81
furnace)
5.3.6 กำรเป็ นเนื้อเดียวกันของแก้ว (Homogenising) 83
5.3.7 กำรระเหยขององค์ ป ระกอบต่ ำ ง ๆ ในแก้ ว ( Volatilisation of 83
components from melts)

บทที่ 6 การขึ้นรูปแก้ว 85
Glass Forming
6.1 ควำมหนื ด ของแก้ว ในกระบวนกำรผลิต ขัน้ ตอนต่ ำ ง ๆ (Viscosity of 87
.glass forming melts)
6.2 ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงควำมหนืดกับอุณหภูม ิ (Viscosity and temperature 91
.relationship)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ง
6.3 ปั จจัยต่ำง ๆ ที่มผี ลต่อควำมหนืดของแก้ว (Factors effecting viscosity 94
.of glasses)
6.3.1 องค์ประกอบทำงเคมี (Chemical composition) 94
6.3.1.1 แก้วระบบซิลเิ กต (Silicate glasses) 94
6.3.1.2 แก้วระบบบอเรต (Borate glasses) 96
6.3.2 ผลของอัตรำกำรเย็นตัวของน้ ำแก้วหลอมต่อควำมหนืดของแก้ว 98
(Effect of cooling rate of melts on viscosity of glasses)
6.4 กำรวัดควำมหนืดของแก้ว (Viscosity measurements) 101

บทที่ 7 การอบอ่อนแก้ว 105


Glass Annealing
7.1 ควำมเค้นและควำมเค้นคงค้ำงในแก้ว (Stress and residual stress in 106
.glass)
7.2 กำรอบอ่อน (Annealing) 109
7.3 กำรบำบัดด้วยควำมร้อน (Heat treatment) 115

บทที่ 8 แก้วสี 118


Coloured Glasses
8.1 ชนิดของสำรให้ส ี (Types of colouring agents) 122
8.1.1 ไอออนต่ำง ๆ ทีใ่ ห้ส ี (Colouring ions) 122
8.1.2 อนุภำคโลหะทีแ่ ขวนลอยในแก้ว (Metal particles in glasses) 124
8.1.3 สำรประกอบซัลไฟล์ ซีลไี นด์และเทลลูไรด์ (Sulfide, selenide and 126
telluride compounds)
8.2 ผลของแสงแดดต่ อ สี ข อ งแก้ ว (Effect of solarisation on colour of 127
.glasses)
8.3 ผลของกำรกระตุ้นด้วยรังสีต่อสีของแก้ว (Effect of radiation on colour 128
.of glasses)

บทที่ 9 สมบัติและลักษณะเฉพาะของแก้ว 130


Characteristics and Properties of Glass
9.1 ลัก ษณะเฉพำะและสมบัติของวัส ดุ (Characteristics and properties of 130
.materials)
9.2 ควำมหนำแน่นและปริมำตรต่อโมล (Density and molar volume) 131
9.3 สมบัตทิ ำงควำมร้อน (Thermal properties) 135
9.3.1 กำรขยำยตัวเพรำะควำมร้อน (Thermal expansion) 136
9.3.2 พฤติกรรมทำงควำมร้อนของแก้ว (Thermal behaviour of glass) 139

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว จ
9.4 สมบัตทิ ำงเคมี (Chemical properties) 141
9.5 สมบัตทิ ำงกล (Mechanical properties) 144
9.5.1 มอดูลสั ควำมยืดหยุน่ (Elastic modulus) 144
9.5.2 ควำมแข็ง (Hardness) 146
9.6 สมบัตทิ ำงแสง (Optical properties) 147
9.6.1 ค่ำดัชนีหกั เหแสง (Refractive index) 148
9.6.2 ค่ำกำรกระจำยแสง (Light dispersion) 133

บรรณานุกรม 151

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ฉ
สารบัญรูป
รูป หน้ า
1.1 ลักษณะของโครงข่าย SiO2 แบบอสัณฐาน (Amorphous) ผลึก (Crystalline) 2
และหน่วยย่อยของ [SiO4]4–
1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทาลปี หรือปริมาตรทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ ของของเหลว 2
ผลึกและแก้วทีม่ อี ตั ราการเย็นตัวต่างกัน
1.3 แบบแผนการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction pattern) ของวัสดุ 4
อสัณฐานและวัสดุทม่ี โี ครงร่างผลึกแน่นอน
1.4 แก้ว ประเภทต่ า ง ๆ แบ่ ง ตามลัก ษณะการใช้ง าน เช่ น แก้ว บรรจุ ภ ัณ ฑ์ 5
กระจกหรือแก้วแผ่น แก้วเลนส์และไฟเบอร์กลาสหรือใยแก้วนาแสง
1.5 วิธกี ารผลิตขวดแก้วด้วยการเป่ า และ การผลิตแก้วแผ่นหรือกระจก ด้วยวิธ ี 7
คราวน์หรือหมุนเหวีย่ ง (Crown method)
1.6 ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีการหักเหแสงและค่า Abbe ของแก้วทีใ่ ช้งานเชิง 7
แสง (Optical glass)
1.7 ท่อแก้วควอตซ์ทม่ี คี วามหนาต่าง ๆ กัน 9
1.8 ความหนืดของแก้ว โซเดีย มซิล ิเ กตที่ค วามเข้มข้น ของโซเดีย มออกไซด์ 10
ต่าง ๆ ทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ
1.9 แผนภาพวัฏภาคของระบบ Na2O-CaO-SiO2 บริเวณทีแ่ รเงาคือบริเวณของ 11
องค์ประกอบทีผ่ ลิตแก้วทางการค้า
1.10 แผนภาพวัฏภาคระบบ K2O-PbO-SiO2 และ ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ 13
แก้วกับ ความหนาแน่นและความหนืดของแก้วคริสตัล
1.11 ภาพอิ เ ล็ ก ต รอ น ( Electron image) ขอ งการเกิ ด ก า ร แย กตั ว แ บ บ 14
กึง่ เสถียร (Metastable immiscibility)
2.1 กระบวนการผลิตกระจกแผ่น 18
2.2 สภาวะที่ แ ก้ ว เกิ ด ความเค้ น (Stress) ที่ ส ะสมอยู่ เนื่ องจากผลของ 23
การหดตัวทีไ่ ม่เท่ากัน
2.3 ลัก ษณะการปรากฏของแก้ว ภายใต้ ก ล้อ งจุล ทรรศน์ แ สงของแก้ว ที่ไ ม่ม ี 24
ความเครีย ดคงค้ า งซึ่ ง ไม่ ป รากฏลัก ษณะของการหัก เหสองแนวหรือ
ไบรีฟรินเจนท์ (Birefringent) และของแก้วทีม่ คี วามเครียดคงค้างในปริมาณ
ทีต่ ่างกัน
3.1 ขัน้ ตอนต่าง ๆ ในกระบวนการเตรียมวัตถุดบิ 26
3.2 เตาหลอมแบบหม้อ (Pot furnace) แสดงให้เ ห็นช่อ งเปิ ด ที่ส ามารถนาน้ า 27
แก้วหลอมออกมาขึน้ รูปด้วยวิธตี ่าง ๆ แบบไม่ต่อเนื่องได้
3.3 โครงสร้างภายในของเตาหลอมแก้วแบบหม้อ (Pot furnace) ขนาดเล็ก 27

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ช
รูป หน้ า
3.4 แบบของเตาหลอมแก้ว (มุม สูง : Top view) แสดงบริเ วณป้ อ นวัต ถุ ดิบ 28
บริเวณทีเ่ กิดการหลอมกลายเป็ นของเหลวหรือห้องหลอมซึง่ เป็ นบริเวณทีม่ ี
อุณหภูมสิ งู ทีส่ ุดและบริเวณน้าแก้วถูกดึงออกไปสู่ขนั ้ ตอนการขึน้ รูป
3.5 ลัก ษณะการให้ค วามร้อ นเหนือ วัต ถุ ดิบและน้ าแก้ว โดยการใช้หวั พ่นไฟ 29
(Burner)
3.6 เตาหลอมแก้วซึง่ ให้ความร้อนด้วยแผ่นให้ความร้อน 30
3.7 หลักการทางานของเครื่องป้ อนน้ าแก้ว (Gob feeder) แบบจาลองสามมิติ 32
ของเครือ่ งป้ อนน้าแก้ว (Gob feeder และ ส่วนของฟอร์ฮาร์ท
3.8 การผลิต แก้ ว ด้ว ยวิธ ีก ารกด (Pressing) แสดงแบบพิม พ์แ บบชิ้น เดีย ว 33
(Block mold) และด้านล่างแสดงแบบพิมพ์แบบแยกส่วนได้ (Split mold)
3.9 การผลิตแก้วด้วยวิธกี ารเป่ า (Blowing) 33
3.10 เครือ่ งจักรทีใ่ ช้ในกระบวนการขึน้ รูปภาชนะต่าง ๆ 34
3.11 วิธกี ารขึน้ รูปด้วยวิธกี ดอัดและเป่ า และ วิธเี ป่ าและเป่ า 35
3.12 การผลิ ต กระจกด้ ว ย กระบว นการโฟร์ ค อ ล ท์ (Fourcault process) 36
ซึ่งประกอบไปด้วยหัวปล่อยแก้ว (Debiteuse) ที่ช่วยในการคุมขนาดของ
กระจก และ ขัน้ ตอนการดึงผ่านอุปกรณ์ทาความเย็น
3.13 กระบวนการลอยแก้ว (Float process) 38
3.14 กระบวนการแดนเนอร์ (Danner process) 39
3.15 การผลิตท่อแก้วด้วยกระบวนการเวลโล (Vello process) 39
4.1 อุ ณ หภู ม ิก ารอ่ อ นตัว (Softening temperature) และค่ า สัม ประสิท ธิก์ าร 45
5.1 ขยายตัวเพราะความร้อน (Coefficient of thermal expansion, ) ของแก้ว 63
ระบบ K2O-PbO-SiO2-TiO2 ทีม่ ปี ริมาณ TiO2 ต่างกัน
5.2 อัตราการเกิดนิวเคลียสและการโตของผลึกทีอ่ ุณหภูมติ ่ากว่าจุดหลอมเหลว Tm 65
Time-temperature transformation diagram ห รื อ TTT diagram ที่
ก่อให้เกิดผลึกในสัดส่วน Vx/V
5.3 ลัก ษณะกราฟที่ไ ด้ จ ากเทคนิ ค การวิเ คราะห์ เ ชิง ความร้ อ น (Thermal 67
Analysis) ซึ่ ง ปรากฏพี ค การคายความร้ อ นซึ่ ง แสดงถึ ง การเกิ ด ผลึก
(Crystallisation) ในแก้วทีเ่ กิดผลึกชนิดเดียวและหลายชนิด
5.4 กระบวนการหลอมแก้ ว แสดงการป้ อนวัต ถุ ดิบ ลงในเตาหลอมที่ใ ช้ใ น 70
อุตสาหกรรมการผลิต แก้ว แผ่ น โดยส่วนต้น จะมีการป้ อ นวัตถุ ดิบเข้าเตา
หลอมและจะเกิดการหลอมต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการหลอมสมบูรณ์พร้อมส่ง
ต่อไปยังการขึน้ รูปต่อไป
5.5 แบบจาลองการเกิดปฏิกิรยิ าของแข็ง -ของแข็งระหว่างซิลกิ ากับโซเดียม 71
คาร์บอเนต

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ซ
รูป หน้ า
5.6 อัต ราการเกิ ด ปฏิกิ ร ิย าของแข็ง -ของแข็ง ระหว่ า งซิล ิก าและโซเดี ย ม 72
คาร์บอเนตทีอ่ ุณหภูม ิ 680, 730 และ 782 เซลเซียส
5.7 จุดยูเทคติคระหว่างโซเดียมไดซิลเิ กตกับซิลกิ าที่อุณหภูม ิ 800 เซลเซียส 74
โดยโซเดียมไดซิลเิ กตเกิดจากปฏิกิรยิ าของแข็ง -ของแข็งระหว่างโซเดียม
ออกไซด์และซิลกิ าในอัตราส่วนทีเ่ หมาะสม
5.8 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดอนุ ภาคเฉลีย่ กับพืน้ ทีผ่ วิ จาเพาะของ 75
แร่โดโลไมต์
5.9 การรวมตัว กัน ของอนุ ภ าคเมื่อ อนุ ภ าคมีข นาดเล็ก ลงหลัง ผ่ า นการบด 75
ลดขนาดเป็ นเวลา 16 ชัวโมง ่
5.10 ทิศทางของกระแสน้าแก้วในการไหลแบบไปด้านหน้า (Throughput flow) 82
5.11 แบบจ าล อ งการไหล แ บบไ หล ว น ( Circulation flow) ในเต าหล อ ม 82
แบบต่อเนื่อง
6.1 การหาความหนืด เมื่อพิจารณาความเร็วในการไหลของระนาบพืน้ ที่ A สอง 87
ระนาบทีข่ นานกัน
6.2 การเพิม่ ขึน้ ของความหนืดของแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กตทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ 88
6.3 แผนภาพความเปราะ (Fragility diagram) ของของเหลวหนืด 94
6.4 ผลขององค์ประกอบทางเคมีของแก้วต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูม ิ Isokom 96
ทีใ่ ห้ค่าความหนืด 1011 พาสคัลวินาที (Pas) ของแก้วระบบลิเทียมซิลเิ กต
โซเดียมซิลเิ กตและโพแทสเซียมซิลเิ กต (แก้วแต่ละชนิดมีปริมาณอัลคาไลน์
ออกไซด์เท่ากัน = 15 % โดยโมล) ทีม่ กี ารเติม Ga2O3 ในปริมาณทีต่ ่างกัน
6.5 หน่ วยย่อยพื้นฐานของแก้วโบรอนออกไซด์ แสดงลักษณะของโครงสร้าง 97
สามเหลีย่ มแบนราบของโบรอน (Boron triangle, [BO3]) โครงสร้าง Boroxol
ring และโครงสร้างเตตระฮีดรัลโบรอน (Tetrahedral, [BO4])
6.6 ความหนืดของแก้ว Li2O-B2O3 ที่มปี ริมาณ Li2O ต่าง ๆ โดยความหนืดจะ 98
อยู่ในรูปของอุณหภูมไิ อโซคอม (Isokom temperature) ที่มคี ่าความหนืด
เท่ากับ 1011 พาสคัลวินาที
6.7 อุณหภูม ิ Fictive ของแก้วทีเ่ ย็นตัวทีอ่ ตั ราต่างกัน 99
6.8 การเปลี่ย นแปลงความหนื ด ของแก้ ว เพื่อ เข้า สู่ ส มดุ ล ใหม่ จากแก้ ว ที่ม ี 100
อุณหภูม ิ Fictive ต่างกัน
6.9 การเปลี่ย นแปลงความหนื ด ของแก้ ว เพื่อ เข้า สู่ ส มดุ ล ใหม่ จากแก้ ว ที่ม ี 101
อุณหภูม ิ Fictive ต่างกัน
6.10 การวางตัวในลักษณะ 3-point bending ในการวิเคราะห์หาความหนืดของ 104
แก้วด้วยวิธ ี Beam-bending
7.1 แนวทางการอบอ่อน (Annealing) ผลิตภัณฑ์แก้วในอุตสาหกรรม 106

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ฌ
รูป หน้ า
7.2 ผลของความแตกต่ างของอุ ณหภูมติ ่ อ การเกิดแรงอัดและแรงดึงกับ แก้ว 107
ขณะเย็นตัวลง และ ขณะให้ความร้อน ณ อุณหภูมติ ่ ากว่าอุณหภูมติ ่ าสุ ด
ของการอบอ่อน
7.3 ความแตกต่างของอุณหภูมขิ ณะน้ าแก้วเริม่ เย็นตัวในกระบวนการขึน้ รูป ซึ่ง 108
ก่ อ ให้เ กิด ความเค้น คงค้า ง (Residual stress) ในแก้ว เมื่อ แก้ว เย็น ตัว ลง
อย่ า งรวดเร็ว ที่อุ ณ หภู ม ิสู ง กว่ า อุ ณ หภู ม ิก ารเปลี่ ย นเป็ นแก้ ว ( Glass
transition temperature; Tg)
7.4 ผลของอัตราการเย็นตัวของแก้วทีต่ ่างกันในช่วงอบอ่อนซึง่ ทาให้ค่าดัชนีหกั 115
เหเบนออกจากแนวเส้นตรง
7.5 ลักษณะการกระจายความเค้นจากแรงกดและจากแรงดึงในแก้ว Tempered 117
glass และ Heat-strengthened glass รอยแตกของแก้ว Tempered glass
และรอยแตกของแก้ว Heat-strengthened glass
8.1 ตัว อย่างลัก ษณะการลอดผ่ านของแสงที่ผ่ า นการวิเ คราะห์เ พื่อ ใช้ใ นการ 120
แยกแยะสีดว้ ยระบบ CIE
8.2 แผนผัง CIE ซึง่ จะบ่งบอกค่าสีต่าง ๆ ของวัสดุ 121
8.3 การลากเส้น เพื่อ หาค่ า ความยาวคลื่น เด่ น (Dominant wavelength) และ 122
ความบริสุทธิ ์ (Purity)
8.4 ลักษณะกราฟการดูดกลืนแสงของแก้วทีม่ โี ลหะเงินแขวนลอยอยู่ 125
8.5 สเปกตรัมการส่องผ่านแสง (Transmission spectrum) ของแก้วใช้เป็ นแก้ว 127
กรองแสง ซึง่ มีส่วนผสมของ CdS และ CdS + CdSe
9.1 ตัวอย่าง Density-kit ซึง่ จะต่อเข้ากับเครือ่ งชังวิ ่ เคราะห์เพื่อใช้ชงน
ั ่ ้าหนักของ 132
วัสดุทส่ี นใจในอากาศและในตัวกลางของเหลว
9.2 ความหนาแน่ น และปริม าตรต่ อ โมลของแก้ ว ระบบทาลเลี ย มบอเรต 134
(Tl2OB2O3) ที่ป ริม าณ (ความเข้ม ข้น ) ของทาลเลีย มออกไซด์ (Tl2O)
ต่างกัน
9.3 เครื่องไดลาโตมิเตอร์ (Dilatometer) เพื่อใช้วดั ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัว 138
เพราะความร้อนของวัสดุ
9.4 กราฟ DSC ของแก้วโดยทัวไป ่ ซึง่ จะประกอบด้วยปฏิกริ ยิ าต่าง ๆ หรือการ 141
เปลีย่ นแปลงต่าง ๆ เมือ่ ได้รบั ความร้อน
9.5 การละลายของไอออนของโซเดียมจากแก้ว ที่มอี งค์ประกอบทางเคมีค ือ 142
15%wtNa2O12%wtCaO75%wtSiO2 ในสารละลายไฮโดรคลอริก และ
โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ท่ี pH ต่าง ๆ ทีอ่ ุณหภูม ิ 100 เซลเซียส
9.6 กราฟของ Condon-Morse ระหว่างแรง (F) และ ระยะระหว่างอะตอม (r) 145
9.7 ลักษณะหัวกดแบบต่าง ๆ ในการวัดความแข็งของวัสดุ 147

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ญ
รูป หน้ า
9.8 ผลของชนิ ด ของอัล คาไลน์ อ อกไซด์ (Li2O, Na2O และ K2O) ต่ อ ค่ า ดัช นี 149
หักเหแสงของแก้วอัลคาไลน์เจอร์มาเนต
9.9 การกระจายของแสงขาวผ่ านปริซมึ ที่ทาให้เกิดการหักเหแสงต่ างกันเมื่อ 150
ความยาวคลื่นแสงต่างกัน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ฎ
สารบัญตาราง
ตาราง หน้า
1.1 องค์ประกอบทางเคมีของแก้วต่าง ๆ 15
2.1 ความหนืดทีเ่ หมาะสมของแต่ละช่วงในขัน้ ตอนการผลิตแก้ว 22
4.1 การเรียกชื่อแก้วทีม่ อี งค์ประกอบเคมีต่าง ๆ กัน 42
4.2 ตัวช่วยหลอมทีพ่ บในแก้วกลุ่มต่าง ๆ 44
4.3 สีทเ่ี กิดจากไอออนหรือกลุ่มของไอออนต่าง ๆ ในแก้ว 46
4.4 แร่ต่าง ๆ ทีใ่ ช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 48
6.1 ช่วงความหนืดทีเ่ หมาะสมต่อวิธกี ารขึน้ รูปด้วยวิธตี ่าง ๆ 86
6.2 จุดต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตแก้วทีค่ วามหนืดของแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กต 89
ช่วงต่าง ๆ
7.1 ค่า  ของผลลิตภัณฑ์รปู ทรงต่าง ๆ ตรงบริเวณผิวและในผลิตภัณฑ์ 113
9.1 สมบัตทิ างความร้อนของแก้วประเภทต่าง ๆ 139
9.2 ความแข็งตามระดับของโมหส์ (Mohs scale hardness) 146

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ฏ
บทที่ 1
แก้วและการจาแนกชนิ ดของแก้ว
Glass and Classification of Glass

“วัสดุ แ ก้ว มีลัก ษณะทีแ่ ตกต่ า งจากวัสดุ ชนิ ด อืน่ ๆ เช่ น มีค วามแข็ง แรงค่ อ นข้างสูงแต่ เปราะ
คล้าย ๆ กับวัสดุเซรามิกทีม่ คี วามแข็งแรงสูงแต่เปราะ แต่ในขณะเดียวกันแก้วมีความโปร่งใสจึงถูกนาไปใช้
งานในหน้าทีแ่ ละลักษณะทีแ่ ตกต่างกันออกไป เช่น ภาชนะบนโต๊ะอาหาร เครือ่ งครัว วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์
อิเ ล็ก ทรอนิ ก ส์ และอุ ป กรณ์ วิท ยาศาสตร์ ใ นห้อ งปฏิบ ัติ ก าร เป็ น ต้ น กระบวนการผลิ ต แก้ว ในทาง
อุตสาหกรรมนัน้ เริม่ ต้นจากการหลอมวัตถุดบิ หรือส่วนผสมต่าง ๆ ให้กลายเป็ นของเหลวทีม่ คี วามเป็ นเนื้อ
เดียวกันเรียกว่าน้ าแก้วหลอมหรือน้ าแก้ว เมือ่ น้ าแก้วมีความหนืดเหมาะสมจะถูกนาไปขึ้นรูปด้วยวิธตี ่าง ๆ
ตามชนิดและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ โดยน้ าแก้วจะถูกลดอุณหภูมลิ งอย่างรวดเร็วเพือ่ กลายเป็ นแก้วทีม่ ี
ลักษณะโปร่งใส นอกเหนือจากนี้ยงั มีขนั ้ ตอนต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วกับกระบวนการผลิตแก้วอุตสาหกรรมซึง่ จะได้
กล่าวถึงต่อไป โดยในบทแรกนี้จะแนะนาผูอ้ ่านถึงวัสดุแก้วและชนิดของแก้วเป็ นหลัก”

1.1 คาจากัดความของแก้ว

แก้ว คือ วัส ดุ ท่ีม ีโ ครงสร้า งอสัณ ฐาน (Amorphous) หรือ มีโ ครงสร้า งที่ไ ม่เ ป็ น ระเบีย บ โดยเมื่อ
เปรียบเทียบกับวัสดุท่มี โี ครงร่างผลึกแน่ นอน (Crystalline solid) แก้วจะไม่มกี ารจัดเรียงตัว ที่มคี วามเป็ น
ระเบียบของอะตอมต่าง ๆ เหมือนกับวัสดุท่มี โี ครงร่างผลึกแน่ นอน ยกตัวอย่างกรณีของแก้วซิลกิ า (Silica
glass) ที่ได้จากการหลอมทราย (SiO2) แล้วทาให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว พบว่า ตาแหน่ งของอะตอมต่าง ๆ ใน
แก้วซึง่ มีโครงสร้างแบบ อสัณฐานจัดเรียงกันอย่างไม่เป็ นระเบียบและไม่แน่ นอน (รูป 1.1 ก.) เมือ่ เปรียบเทียบ
กับโครงร่างผลึก ของซิลกิ า (SiO2) ที่มกี ารจัดเรียงตัวของอะตอมอย่างเป็ นระเบียบและมีระยะห่างระหว่าง
อะตอมและมุมระหว่างอะตอมอย่างสม่าเสมอ (รูป 1.1 ข.) โดยอะตอมของซิลกิ อน (Si) 1 อะตอมจะมีอะตอม
ของออกซิเจน (O) 4 อะตอมล้อมรอบอยู่ (รูป 1.1 ค.) เหมือ นกันทัง้ ในแก้วและผลึกซิล ิกา แต่ ใ นแก้วนัน้
ระยะห่างระหว่างอะตอมหรือมุมระหว่างอะตอมต่าง ๆ จะไม่แน่ นอน และยังมีผนู้ ิยามความหมายของแก้วว่า
คือวัสดุทม่ี ชี ่วงการเปลีย่ นเป็ นแก้ว (Glass transition range หรือ Glass transformation range) ซึง่ อธิบายได้
จากกราฟระหว่างเอนทาลปี หรือปริมาตรกับอุณหภูม ิ หรือทีเ่ รียกว่ากราฟการเย็นตัวของแก้ว ดัง รูป 1.2 โดย
วัสดุทห่ี ลอมเหลวหรือมีสถานะของเหลว (Liquid) ณ อุณหภูมสิ ูงกว่าจุดหลอมเหลว (Melting point; Tm) ของ
วัสดุนนั ้ ๆ โดยจุดหลอมเหลว คือ จุดทีข่ องแข็งและของเหลวมีความดันไอและพลังงานอิสระของกิบส์ (Gibbs
free energy) ที่เ ท่ากัน นัน่ คือ การเกิดผลึก (Crystallisation) จะเกิดขึ้น ณ จุดหลอมเหลวนี้พร้อ มกับ การ
หลอมเหลวของผลึกกลายเป็ นของเหลว ทาให้ผลึก (crystal) ปริมาณน้ อย ๆ เกิดสมดุลเทอร์โมไดนามิก

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 1
(Thermodynamic Equilibrium) กับของเหลว ซึ่งการเกิดผลึกนัน้ จะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กบั ปริมาณ
ของเหลวทีเ่ ย็นตัวหรือมีอุณหภูมติ ่ากว่า

รูป 1.1 ลักษณะของโครงข่าย SiO2 แบบ (ก) อสัณฐาน (Amorphous) (ข) ผลึก (Crystalline) และ
(ค) หน่วยย่อยของ [SiO4]4–
[ทีม่ า http://www.benbest.com/cryonics/lessons.html]
หมายเหตุ ไม่ได้แสดงออกซิเจนอะตอมที่ 4 เพื่อง่ายต่อการทาความเข้าใจ

รูป 1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทาลปี หรือปริมาตรทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ ของ (ก) ของเหลว (ข) ผลึก
และ (ค และ ง) แก้วทีม่ อี ตั ราการเย็นตัวต่างกัน
[ดัดแปลงจาก J. E. Shelby (2009) และ A. K. Varshneya (2006)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 2
โดยผลึกจะเกิดขึน้ ได้เมื่อ 1) มีนิวคลีไอ (Nuclei) หรือนิวเคลียสเกิดขึน้ ในปริมาณมาก และ 2) อัตราการโต
ของผลึก (Crystal growth rate) มากกว่าอัตราการหลอมเหลว อุณหภูมทิ ่ที าให้เกิดของเหลวเย็นตัวนัน้ จะ
ปรากฏเป็ นช่ ว งกว้ า ง (ในพื้ น ที่ ท่ี แ รเงาไว้ ) ซึ่ ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ แรงขับ เคลื่ อ นทางเทอร์ โ มไดนามิ ก
(Thermodynamic driving force) ซึง่ ทาให้กลุ่มของอะตอมในสถานะของเหลวเปลีย่ นเป็ นผลึกของแข็งและจะ
เกี่ยวข้องกับความเร็วของอะตอมที่จะเคลื่อนที่ไปอยู่ระหว่างรอยต่อระหว่างของแข็งของเหลว (Liquid-solid
interface) กล่ า วคือ หากของเหลวมีอุ ณ หภู ม ิล ดลงต่ า กว่ า Tm และอยู่ใ นช่ ว งที่แ รเงาเป็ น เวลานาน แรง
ขับเคลื่อนทางเทอร์โมไดนามิกที่ทาให้เกิดของแข็งและการเคลื่อนที่ของอะตอมไปอยู่บริเวณรอยต่อระหว่ าง
ของแข็งของเหลวจะมีสูง ซึ่งในสภาวะนี้ทาให้จานวนนิวคลีไอเพิม่ มากขึ้นและอัตราการโตของผลึก เพิ่มขึ้น
ส่งผลให้เกิดผลึก (Crystal) ขึน้ ในระหว่างการเย็นตัว ทาให้ค่าเอนทาลปี หรือปริมาตรของระบบลดลงอย่าง
รวดเร็ว จากนัน้ เมื่ออุณหภูมลิ ดต่ าลง เอนทาลปี หรือ ปริมาตรของระบบจะลดลงอย่างช้า ๆ โดยจะขึน้ อยู่กบั
ความจุความร้อนของผลึก (หากพิจารณาเอนทาลปี ของวัสดุ) หรือ ขึน้ อยู่กบั การขยายตัวเพราะความร้อ น
(Thermal expansion) ของผลึก (หากพิจารณาปริมาตรของวัสดุ)

ในกรณีท่อี ตั ราการเย็นตัวของของเหลวดังกล่าวเร็ว มาก จะทาให้อุณหภูมขิ องระบบลดลงต่ ากว่า


บริเ วณพื้น ที่ท่ีแ รเงา ท าให้ข องเหลวอยู่ใ นสภาวะเย็น ตัว ยิ่ง ยวด จึง เรีย กว่ า ของเหลวเย็น ตัว ยิ่ง ยวด
(Supercooled liquid) ซึ่งมีเอนทาลปี หรือปริมาตรลดลงอย่างต่อเนื่อง (ความชันจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเส้น
ของของเหลว) เมื่ออุณหภูมลิ ดลงมากขึน้ อะตอมต่าง ๆ จะเคลื่อนที่ได้ช้าลง จนไม่สามารถจัดเรียงตัวให้ ม ี
ความเป็ นระเบียบเหมือนกับโครงร่างผลึกได้ ประกอบกับความหนืดของแก้วสูงขึน้ ทาให้การเคลื่อนตัวของ
อะตอมทาได้ยากเช่นกัน ณ อุณหภูมนิ ้ี กราฟการลดลงของเอนทาลปี หรือการหดตัว จะเปลี่ยนความชันจาก
ของของเหลว (Deviation) กล่าวคือ ปริมาตรหดตัวช้าลงเนื่องจากความหนืดของระบบสูงขึ้น จนของเหลว
ดังกล่าวแข็งตัวและเกิดเป็ นแก้วในทีส่ ุด และเมือ่ อุณหภูมลิ ดลงมากขึน้ อัตราการลดลงของเอนทาลปี และอัตรา
การหดตัวของแก้วจะเท่ากับอัตราการลดลงของเอนทาลปี และปริมาตรของผลึก (ความชันเท่ากับเส้นกราฟ
ของผลึกหรือขนานกับเส้นกราฟของผลึก) ช่วงที่เส้นกราฟมีความโค้งเรียกว่า “ช่วงการเปลีย่ นเป็ นแก้ว ”
(Glass transition range หรือ Glass transformation range) ซึง่ เป็ นช่วงรอยต่อระหว่างของเหลวทีม่ กี ารเย็น
ตัว ยิง่ ยวด (Supercooled liquid) กับ ช่ว งที่อ ะตอมหยุดเคลื่อ นที่ (Fictive point) ซึ่งอุ ณหภูม ิท่อี ะตอมหยุด
เคลื่อนที่จะเรียกว่า Fictive temperature (Tf) โดยจะหาได้จากตัดระหว่างเส้นกราฟการหดตัวของของเหลว
เย็นตัว ยิง่ ยวดกับ เส้นกราฟการหดตัว ของแก้ว นอกจากนัน้ รูป 1.2 ยังแสดงให้เ ห็นว่า หากอัต ราการลด
อุณหภูมขิ องของเหลวต่างกันจะทาให้อตั ราการลดลงของเอนทาลปี หรือปริมาตรต่างกันด้วย จากรูปจะได้ว่า
เมื่ออัตราการเย็นตัวช้า (ช่วงการเปลีย่ นเป็ นแก้วกว้าง) อะตอมมีโอกาสจัดเรียงตัวได้ นานกว่าจึงทาให้อะตอม
อยูช่ ดิ กันมากขึน้ ทาให้ปริมาตรลดลง (หดตัว) มากกว่า แก้วทีเ่ ย็นตัวเร็วกว่า ดังนัน้ แก้วองค์ประกอบเดียวกัน
แต่เย็นตัวในอัตราทีช่ า้ กว่าจะมีความหนาแน่ นมากกว่า (ปริมาตรน้อยกว่า) และมีอุณหภูม ิ fictive (Tf) ต่ ากว่า
แก้วทีเ่ ย็นตัวเร็วกว่า

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 3
การผลิตแก้วนัน้ สามารถทาได้หลายวิธขี ้นึ อยู่กบั ชนิดของแก้ว และลักษณะการใช้งาน เป็ นต้น แต่
โดยทัวไปแล้
่ วแก้วทีม่ กี ารผลิตจานวนมากในระดับอุตสาหกรรมนัน้ ทาได้โดยการหลอมวัตถุดบิ ชนิดต่าง ๆ ที่
ผสมตามส่วนผสมทีค่ านวณไว้ทอ่ี ุณหภูมสิ งู จนวัตถุดบิ เหล่านัน้ กลายเป็ นของเหลวหนืดหรือน้ าแก้วทีเ่ รียกว่า
ของเหลวปราศจากผลึก (Crystal-free melt) จากนั น้ น้ า แก้ ว หลอมจะถู ก ท าให้ เ ย็น ตัว อย่ า งรวดเร็ว ถึง
อุณหภูมหิ อ้ ง กลายเป็ นวัสดุแก้ว โดยแก้วจะไม่มโี ครงสร้างผลึก (Crystal structure) แต่มโี ครงสร้างอสัณฐาน
(Amorphous structure) ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น สภาพอสัณฐานของแก้วสามารถตรวจสอบได้ดว้ ยเทคนิคต่าง
ๆ เช่น เทคนิค การเลี้ยวเบนของรังสีเ อกซ์ (X-ray diffraction) หรือ เทคนิค การเลี้ยวเบนของอิเ ล็กตรอน
(Electron diffraction) เป็ นต้น ซึ่งลักษณะที่ได้จะมีความแตกต่างกันชัดเจน ดังแบบแผนการเลี้ยวเบนของ
รังสีเอกซ์ (X-ray diffraction pattern) ของแก้ว (รูป 1.3 ก.) กับผลึก (รูป 1.3 ข.)

รูป 1.3 แบบแผนการเลีย้ วเบนของรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction pattern) ของ (ก) วัสดุอสัณฐาน
และ (ข) วัสดุทม่ี โี ครงร่างผลึกแน่นอน

1.2 การจาแนกประเภทของแก้ว

สมบัตแิ ละลักษณะเฉพาะของแก้ว เช่น ความแข็ง ความแข็งแรง ความหนาแน่น ความสามารถในการ


หักเหแสง ความทนทานต่อสารเคมี และความทนทานต่อความร้อน เป็ นต้น จะส่งผลต่อการนาไปใช้งานใน
ลักษณะต่าง ๆ โดยสมบัตแิ ละลักษณะเฉพาะของแก้วมักจะขึน้ อยู่กบั องค์ประกอบทางเคมีของแก้ว เช่น แก้ว
คริส ตัล ที่ใ ช้ใ นการประดับตกแต่ งจะประกอบด้ว ยซิล ิกา (SiO2) ตะกัว่ ออกไซด์ (PbO) โซเดียมออกไซด์
(Na2O) และ โพแทสเซียมออกไซด์ (K2O) เป็ นหลัก โดยตะกัวออกไซด์ ่ เป็ นองค์ประกอบทีส่ าคัญทีท่ าให้แก้วมี
ค่าดัชนีหกั เหแสงสูงซึง่ เป็ นสมบัตทิ ส่ี าคัญของแก้วชนิดนี้ หรือ ในกรณีของแก้วในห้องปฏิบตั กิ ารวิทยาศาสตร์
ทีม่ ชี ่อื ทางการค้าว่า “ไพเรกซ์ (Pyrex)” จะมีส่วนประกอบของซิลกิ า (SiO2) โบรอนออกไซด์ (B2O3) อะลูมนิ า
(Al2O3) และโซเดีย มออกไซด์ (Na2O) เป็ นองค์ ป ระกอบหลัก ซึ่ง ท าให้ แ ก้ ว ชนิ ด นี้ ส ามารถทนต่ อ การ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 4
เปลี่ยนแปลงความร้อนอย่างฉับพลัน (Thermal shock resistance) ได้ดี ดังนัน้ การจาแนกประเภทของแก้ว
สามารถแบ่งตามลักษณะการนาไปใช้ (ตัวอย่างดังรูป 1.4 ) หรือแบ่งตามองค์ประกอบของแก้ว

(ก) (ข)

(ค) (ง)

รูป 1.4 แก้วประเภทต่าง ๆ แบ่งตามลักษณะการใช้งาน (ก) แก้วบรรจุภณ ั ฑ์ [ทีม่ า www.bloginabottle.com]


(ข) กระจก [ทีม่ า http://www.gdvikingglass.com] หรือ แก้วแผ่น [ทีม่ า http://www.schott.com]
(ค) แก้วเลนส์ และ (ง) ไฟเบอร์กลาสหรือใยแก้วนาแสง
[ทีม่ า http://www.photonics.com/Article.aspx?AID=49953]

1.2.1 จาแนกตามลักษณะการใช้งาน

- บรรจุภณ ั ฑ์แก้ว (Container glass) เช่น ขวด แก้ว น้ า ถ้วย และ จาน เป็ นต้น แก้วประเภทนี้ม ี
ปริมาณการผลิตต่อปี สงู ทีส่ ุด เพราะมีราคาถูกและมีความต้องการใช้สงู ในขัน้ ตอนการขึน้ รูปของแก้วชนิดนี้จะ
ใช้หลักการเป่ าก้อนแก้วเหลว (Gob) เพื่อให้เป็ นรูปทรงตามต้องการ ดังตัวอย่างในรูป 1.5 โดยเป็ นแก้ว
ประเภทโซดาไลม์ซิล ิก า (Soda lime silica glass) หรือ แก้ว โซเดียมแคลเซียมซิล ิเ กต (Sodium calcium
silicate glass) ซึง่ เป็ นแก้วกลุ่มซิลเิ กตทีเ่ ติมโซเดียมออกไซด์หรือโซดา (Na2O) และ แคลเซียมออกไซด์ หรือ
ไลม์ (CaO) เพื่อช่วยลดอุณภูมทิ ่ใี ช้ในการหลอมแก้ว ซิลกิ าลงและเพื่อปรับปรุงสมบัติของแก้วอีกด้วย แก้ว
ประเภทนี้อาจเติมก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) ลงไปเพื่อลดฟองก๊าซทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างการหลอมซึง่ จะได้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 5
กล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป องค์ประกอบทางเคมีโดยทัวไปของแก้
่ วชนิดนี้จะประกอบด้วย ซิลกิ า (SiO2) 72%
โซดา (Na2O) 14% ไลม์ (CaO) 11% และ อะลูมนิ า (Al2O3) 2% โดยน้ าหนัก หากเป็ นแก้วที่ใช้เป็ นภาชนะ
บรรจุยาหรือสารเคมีบางชนิดแก้วทีใ่ ช้มกั เป็ นแก้วประเภทบอโรซิลเิ กต (Borosilicate glass) ซึง่ จะประกอบไป
ด้วยโบรอนออกไซด์ (B2O3) และซิลกิ า (SiO2) เป็ นหลัก โดยจะไม่มปี ริมาณของโซเดียมออกไซด์แก้วชนิดนี้
เนื่องจากโซเดียมจะละลายออกมาจากแก้วและทาปฏิกริ ยิ ากับตัวยาหรือสารเคมีทบ่ี รรจุอยู่ภายใน

- กระจก (Flat glass) เช่น กระจกแผ่นในอาคารต่าง ๆ ในขัน้ ตอนการขึน้ รูปแก้วชนิดนี้ในอดีตจะใช้


วิธกี ารหมุน (Spin) ก้อนแก้ว เหลว (Gob) ทาให้แผ่ออกไปด้วยแรงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal force) วิธนี ้ี
เรียกว่า คราวน์ (Crown method) ดังรูป 1.5 โดยปั จจุบนั เทคนิคนี้ถูกแทนทีด่ ว้ ยเครือ่ งจักรในอุตสาหกรรมซึง่
จะได้กล่าวถึงต่อไป วิธกี ารอื่น ๆ ทีใ่ ช้ในการขึน้ รูปแก้วประเภทนี้ เช่น วิธ ี Machine cylinder หรือ วิธ ี Colburn
ซึง่ จะดึงน้ าแก้วหลอมให้มลี กั ษณะเป็ นแผ่นบางตามต้องการ โดยควบคุมวิธกี ารดึง ความเร็วในการดึงและทิศ
ทางการดึงเพื่อให้ได้ลกั ษณะของผลิตภัณฑ์ตามต้องการ แต่วธิ นี ้ีจะทาให้ผวิ แก้วเป็ นคลื่น (Waviness) และ
วิธ ีก ารลอย (Float method) เป็ น วิธ ีท่ีเ ทน้ า แก้ ว หลอมเหลวลงบนอ่ า งขนาดใหญ่ (Tank) ที่ม ีดีบุ ก (Tin)
หลอมเหลวอยู่ โดยแก้วหลอมจะลอยอยู่บนดีบุกหลอมเหลวเนื่องจากความหนาแน่ นน้อยกว่า ทาให้แก้วมี
ลักษณะเป็ นแผ่น วิธกี ารนี้จะมีการควบคุมบรรยากาศของอ่างดีบุกเพื่อป้ องกันการเกิ ดปฏิกริ ยิ าออกซิเดชัน
ของดีบุก และยังเป็ นวิธที ท่ี าให้ได้แก้วแผ่นที่มคี ุณภาพและผิวมีความเรียบสม่าเสมอ นอกจากนี้ยงั สามารถขึน้
รูปได้ดว้ ยวิธดี งึ ลง (Downdraw method)

- แก้วเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เครื่อ งแก้ว สาหรับห้อ งปฏิบตั ิก าร แก้ว เพื่อ การตกแต่ ง (Lead
crystal glass) เลนส์ แ ก้ ว (Glass lens) ไฟเบอร์ ก ลาส (Glass fibre) หรือ ใยแก้ ว น าแสง (Optical fibre)
หลอดไฟต่าง ๆ แก้วพรุน (Porous glass) และแก้วเชื่อมประสาน (Sealing glass) เป็ นต้น

แก้ว ที่ใ ช้ง านเชิง แสง (Optical glass) คือ แก้ว ที่ใ ช้ง านในอุ ป กรณ์ ห รือ เครื่อ งมือ ขัน้ สู ง ต่ า ง ๆ ที่
เกีย่ วข้องปฏิกริ ยิ าระหว่างแสงกับแก้ว เช่น การดูดกลืนแสง การส่องผ่านแสง และการหักเหแสง เป็ นต้น โดย
แก้วจะต้องผ่านกระบวนการผลิตทีม่ กี ารควบคุมคุณภาพอย่างเคร่งครัดและผ่านการเทียบมาตรฐานต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้อง เช่น ค่าดัชนีหกั เหแสง (Refractive index) และเลข Abbe (Abbe number) ซึ่งใช้สญ ั ลักษณ์คอื 
เป็ นต้น อีกทัง้ แก้วต้องมีความเป็ นเนื้อเดียวกันสูง (ทัง้ ทางกายภาพและทางเคมี) แก้วทีใ่ ช้งานเชิงแสงสามารถ
แบ่งได้เป็ น 4 ประเภท ได้แก่

- แก้วคราวน์ (Crowns) เป็ นแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กต ทีม่ เี ลข Abbe มากกว่า 55


- แก้วแทรนเซียนต์ (Transient glass) เป็ นแก้วทีม่ เี ลข Abbe ระหว่าง 50 – 55
- แก้วฟลินท์ (Flints) เป็ นแก้วระบบ K2O-PbO-SiO2 ทีม่ คี ่า Abbe น้อยกว่า 50
- แก้วพิเศษ เป็ นแก้วกลุ่มฟลูออไรด์ (Fluoride) ฟอสเฟต (Phosphate) หรือ บอเรต (Borate)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 6
โดยค่าดัชนีหกั เหแสงและเลข Abbe ของแก้วที่ใช้งานเชิง แสงจะมีความสัมพันธ์กนั และสามารถสรุปได้ดงั
แผนผังแสดงในรูป 1.6

(ก)

(ข)

รูป 1.5 วิธกี ารผลิตขวดแก้วด้วย (ก) การเป่ า [ทีม่ า http://www.hebrewhistory.info/factpapers/fp006-


3_glass.htm] และ การผลิตแก้วแผ่น หรือกระจก ด้วยวิธ ี (ข) คราวน์ หรือ หมุนเหวีย่ ง (Crown method)
[ทีม่ า http://www.krepcio.com/vitreosity/archives/2008_04.html]

รูป 1.6 ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีการหักเหแสงและค่า Abbe ของแก้วทีใ่ ช้งานเชิงแสง (Optical glass)


[ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 7
ไฟเบอร์กลาส (Glass fibre) เป็ นเส้นใยแก้วที่ยาวต่อเนื่องซึ่งถูกใช้งานในหลายลักษณะ เช่นใช้เป็ น
ฉนวนไฟฟ้ า ฉนวนความร้อนและใช้เป็ นวัสดุเสริมแรงในพลาสติก เป็ นต้น แก้วชนิดนี้เป็ นแก้วที่มอี อกไซด์
ของอัลคาไลน์ต่ า (Na2O+K2O ไม่เกิน 1%) ในการผลิตทาได้โดยการหลอมวัตถุดบิ ที่ผสมแล้วในเตาหลอม
แบบต่อเนื่อง ทีอ่ ุณหภูมปิ ระมาณ 1550 เซลเซียส (อาจเติม CaF2 ลงไปเพื่อทาให้การหลอมดีขน้ึ ) ความหนืด
ของแก้วหลอมเป็ นสิง่ ทีส่ าคัญทีส่ ่งผลต่อการขึน้ รูปโดยการดึงแก้วหลอมให้เป็ นเส้นใยยาว นอกเหนือไปจากนี้
ยังมีการพัฒนาไฟเบอร์กลาสชนิดที่สามารถนาแสงได้ ที่เรียกว่า เส้นใยนาแสง (Fibre optics หรือ Optical
fibre) หรือใยแก้วนาแสง ซึง่ เริม่ มีการพัฒนามาตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1967 โดยใยแก้วนาแสงสามารถประยุกต์ใช้ใน
หลายลัก ษณะ เช่ น สายสัญ ญาณน าภาพในวัส ดุ ท างการแพทย์ หรือ สายน าสัญ ญาณ ส่ ง ข้อ มูล ในการ
ติดต่อสื่อสาร เป็ นต้น

1.2.2 จาแนกตามชนิ ดขององค์ประกอบ

ในทีน่ ้ีจะเน้นชนิดของแก้วตามองค์ประกอบทางเคมี ทีผ่ ลิตจริงในระดับอุตสาหกรรม ซึง่ โดยส่วนใหญ่


แล้วจะเป็ นแก้วประเภทออกไซด์ (Oxide glass) ซึง่ แบ่งได้ 5 กลุ่ม คือ

1) แก้ ว ซิ ลิ ก า (Silica glass or quartz glass) คือ แก้ ว ที่ ใ ช้ แ ร่ ค วอตซ์ (Quartz) หรือ ทรายหรือ
ซิลกิ อนไดออกไซด์ (SiO2) เป็ นวัตถุดบิ โดยทัวไปวั่ ตถุดบิ ประเภทนี้จะมีสงิ่ เจือปนปนอยู่เล็กน้อย (ประมาณ
0.01 %) เช่น ออกไซด์ของโลหะต่าง ๆ เป็ นต้น น้ าแก้วซิลกิ าจะมีความหนืดค่อนข้างสูง (สูงที่สุดในบรรดา
แก้วกลุ่มออกไซด์) โดยมีความหนืด ณ อุณหภูม ิ 1726 องศาเซลเซียส (จุดหลอมเหลวของ SiO2) ประมาณ
107 เดซิพาสคัลวินาที (dPas) แก้วประเภทนี้จะเริม่ ตกผลึกที่อุ ณหภูมชิ ่ว ง 1150 – 1200 เซลเซียส แก้ว
ควอตซ์มกั จะขึน้ รูปเป็ นท่อกลวง (ดังรูป 1.7) เนื่องจากแก้วชนิดนี้มคี วามหนืดสูงมากทาให้มโี อกาสที่ไอน้ า
หรืออากาศจะถูกกักไว้ในแก้วในระหว่างการหลอมกลายเป็ นตาหนิของผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งโดยทัวไปฟองก๊ ่ าซ
ดังกล่าวจะมีขนาดประมาณ 10 – 100 ไมโครเมตร และพบว่าความบริสุทธิ ์ของวัตถุดบิ จะส่งผลต่อปริมาณ
ฟองอากาศที่เกิดขึ้นในแก้ว ซึ่ง อาจทาให้วตั ถุดบิ บริสุทธิ ์มากขึ้นโดยการชะด้วยกรด (Acid leaching) หลัง
ขัน้ ตอนการบดวัตถุดบิ อย่างไรก็ตามในกระบวนการหลอมแก้วควอตซ์จะต้องใช้วธิ พี เิ ศษเพื่อไล่ฟองก๊าซ โดย
การหลอมแก้วในระบบสุญญากาศ ซึง่ จะเริม่ ดูดอากาศออกขณะหลอมทีอ่ ุณหภูมปิ ระมาณ 1400 เซลเซียส ซึง่
เป็ นอุณหภูมกิ ารเผาผนึก (Sintering) ของซิลกิ า ซึ่งทาให้ฟองอากาศหรือก๊าซที่ค้างอยู่ในช่องว่างระหว่าง
วัตถุดบิ ถูกกาจัดออกไป โดยการใช้ระบบสุญญากาศจะทาให้อนุ ภาคอยู่ชดิ กันมากทีส่ ุด ซึง่ ทาให้ฟองอากาศ
หรือ ฟองก๊ าซที่ถู ก กักในช่องว่างระหว่างอนุ ภาคมีน้อยลง ส่ งผลให้ฟองก๊ าซคงค้างมีน้อย จากนัน้ จึงเพิ่ม
อุณหภูมสิ งู ถึงประมาณ 2000 เซลเซียส เพื่อทาให้วตั ถุดบิ กลายเป็ นของเหลวสมบูรณ์

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 8
รูป 1.7 ท่อแก้วควอตซ์ทม่ี คี วามหนาต่าง ๆ กัน
[ทีม่ า http://www.bombayharbor.com/Product/27805/Thick_Wall_Quartz_Glass_Tube.html]

นอกจากนัน้ แก้วควอตซ์สามารถประยุกต์ใช้งานเชิงแสง (Optical glass) ได้ โดยจะขึ้นรูปให้เป็ นแผ่นกลม


(Glass disk) ซึง่ ทาได้โดยหลอมวัตถุดบิ อย่างช้า ๆ จากนัน้ หยดน้าแก้วหลอมลงบนแท่นหมุน (มักทาจากแก้ว
ควอตซ์) ที่กาลังหมุนอยู่ เมื่อน้ าแก้วหลอมหยดลงบนแท่นหมุนจะแผ่ตามแรงเหวี่ยงเกิดเป็ นแผ่นแก้ว การ
ผลิตแก้วด้วยวิธนี ้จี ะมีความชืน้ อยูใ่ นแก้วในรูปของหมูไ่ ฮดรอกซิล (OH–) อยูป่ ระมาณ 0.1 % H2O

2) แก้ ว โซเดี ย มซิ ลิ เ กต (Sodium silicate glass; SiO2Na2O หรื อ Water glass) ค าว่ า Water
glass มาจากการนาแก้วโซเดียมซิลเิ กตไปละลายในน้ า ซึ่งจะให้สารละลายที่มสี มบัตเิ ป็ นตัวเชื่อมประสาน
(Binding agent) ซึ่ง แก้ ว จะมีอ ัต ราส่ ว นระหว่ า ง SiO2 ต่ อ Na2O หรือ ที่เ รีย กว่ า ซิล ิเ กตมอดุ ล ัส (Silicate
modulus) นัน้ จะมีค่ า อยู่ใ นช่ ว งระหว่ า ง 2.0 – 3.3 (แก้ว โซเดีย มซิล ิเ กตทางการค้า จะมีค่ า นี้ อ ยู่ป ระมาณ
3.2 - 3.3 หรือมีปริมาณ SiO2 อยู่ประมาณ 66 – 76 %) แก้วประเภทนี้จะมีความหนืดต่ าเมื่อเปรียบเทียบกับ
แก้วควอตซ์ โดยค่าความหนืด () ของแก้วชนิดนี้จะขึน้ อยู่กบั อุณหภูมแิ ละค่า ซิลเิ กตมอดุลสั หรือ ปริมาณ
Na2O ที่มอี ยู่ในแก้ว ซึ่งความหนืดของแก้วจะลดลงเมื่ออุณหภูมเิ พิ่มขึน้ และเมื่อสัดส่วนของ Na2O เพิม่ ขึน้
ดังแสดงในรูป 1.8 แก้ว โซเดียมซิล ิเ กตจะหลอมในเตาหลอมแบบต่อ เนื่อง (Continuous tank furnace) ที่
อุณหภูมปิ ระมาณ 1400 เซลเซียส การผสมส่วนผสมควรควบคุมให้สงิ่ ปนเปื้ อนให้น้อยกว่า 1 % เนื่องจากสิง่
ปนเปื้ อนทาให้การละลายน้ าเปลี่ยนไป การหลอมแก้วประเภทนี้ ทาให้อายุการใช้งานของเตาหลอมสัน้ ลง
เนื่องจากแก้วชนิดนี้จะกัดกร่อนวัสดุทนไฟทีใ่ ช้สร้างเตา นอกจากนัน้ ในการหลอมแก้วชนิดนี้จะต้องคานึงถึง
การระเหยของ Na2O ออกจากน้าแก้วหลอม ซึง่ ส่งผลต่อค่าซิลเิ กตมอดุลสั หรือ ปริมาณของ Na2O ในแก้วจะ
แตกต่างจากที่คานวณไว้ แก้วที่หลอมได้จะมีความโปร่งใส เนื่องจากแก้วชนิดนี้สามารถละลายน้ าได้หรือ
เกิดปฏิกริ ยิ ากับน้ าได้ง่ายจึงจาเป็ นต้องเก็บในที่ท่ปี ราศจากความชื้น หากแก้ว เกิดปฏิกริ ยิ ากับความชื้นใน
อากาศผิวของแก้วจะมีลกั ษณะขุน่

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 9
แก้ว โพแทสเซียมซิล ิเ กต (Potassium silicate water glass) เป็ นแก้ว ที่จดั อยู่ใ นกลุ่ มเดียวกับแก้ว
โซเดียมซิลเิ กต ซึง่ ถูกใช้ในอุตสาหกรรมทีม่ คี วามเฉพาะเจาะจงมากขึน้ เช่น ใช้เป็ นตัวเชื่อมประสานในซีเมนต์
ทีม่ คี วามทนทานต่อกรด เป็ นต้น

รูป 1.8 ความหนืดของแก้วโซเดียมซิลเิ กตทีค่ วามเข้มข้นของโซเดียมออกไซด์ต่าง ๆ ทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ


[ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

3) แก้ ว โซดาไลม์ซิ ลิ เ กต หรื อ โซเดี ย มแคลเซี ย มซิ ลิ เ กต (Soda-lime silicate glass หรื อ
Sodium-calcium silicate; Na2OCaOSiO2) เป็ นแก้วทีใ่ ช้ทาบรรจุภณ ั ฑ์ต่าง ๆ เช่น ขวดน้ า แก้วน้ า จาน
และแผ่นกระจก เป็ นต้น หากพิจารณาแผนภาพวัฏภาค (Phase diagram) ของออกไซด์ระบบนี้ (รูป 1.9)
พบว่าช่วงทีส่ ามารถเกิดแก้วได้ (Glass-forming range) ของระบบนี้มชี ่วงกว้าง ซึง่ เป็ นบริเวณทีม่ ปี ริมาณของ
ซิลกิ ามากกว่า 50 % โดยโมล ซึง่ เป็ นพืน้ ทีท่ แ่ี รเงาในรูป 1.9 ซึง่ องค์ประกอบของแก้วทางการค้าจะครอบคลุม
บริเ วณต่ า ง ๆ ได้ แ ก่ บริเ วณของดี ว ิ ไ ทรท์ (Devitrite; Na2O3CaO6SiO2) บริเ วณวอลลาสโทไนท์
(Wallastonite; CaOSiO2) บริเวณทริไดไมท์ (Tridymite; SiO2) และบริเวณของ Na2OCaO5SiO2 อีกทัง้
จากแผนภาพวัฏภาคในรูป 1.9 จะแสดงเส้นอุณหภูมคิ งที่ (Isothermal line) ซึง่ เป็ นเส้นทีร่ ะบุว่าองค์ประกอบ
ในบริเวณนัน้ ๆ จะกลายเป็ นของเหลวหากอุณหภูมขิ ององค์ประกอบนัน้ ๆ สูงกว่าอุณหภูมทิ ่แี สดงบนเส้น
อุณหภูมคิ งที่ เส้นนี้ในบางกรณีจะถูกเรียกว่า Liquidus line จากแผนภาพวัฏภาคในรูป 1.8 แต่ละอุณหภูมทิ ่ี
ปรากฏจะต่ ากว่าจุดหลอมเหลวของซิลกิ ามาก แสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบที่ปรากฏอยู่ในบริเวณดังกล่ าว
สามารถหลอมเหลวหรือกลายเป็ นของเหลวได้ทอ่ี ุณหภูมติ ่า

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 10
การเติมสารประกอบออกไซด์บางประเภทลงไปในแก้ว Na2OCaOSiO2 จะช่วยปรับปรุงสมบัติของ
แก้ว และทาให้ตาหนิทเ่ี กิดระหว่างกระบวนการผลิตลดลงได้ เช่น การเติม MgO และอะลูมนิ า (Al2O3) จะช่วย
ลดการเกิดผลึกในแก้วระหว่างการเย็นตัว โดย Al2O3 ส่งผลทาให้แก้วมีความหนืดเพิม่ ขึน้ เล็กน้อย เมื่อแก้วมี
ความหนืดสูงขึน้ การเกิดผลึกในแก้วจะช้าลง การเติม Al2O3 นอกจากจะลดอัตราการเกิดผลึกในแก้วแล้ว ยัง
เพิม่ ความทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีอกี ด้วย องค์ประกอบของแก้วทางการค้าทีท่ าเป็ นกระจกแผ่น
และภาชนะที่ผ ลิต กันมากคือ มี SiO2 อยู่ใ นช่ว ง 70 – 73.5 wt% Al2O3 อยู่ใ นช่ว ง 0.6 – 2.0 wt% CaO อยู่
ในช่วง 6 – 11 wt% MgO อยูใ่ นช่วง 1.5 – 4.5 wt% และ Na2O อยูใ่ นช่วง 13 – 15 wt%

รูป 1.9 แผนภาพวัฏภาคของระบบ Na2O-CaO-SiO2 บริเวณทีแ่ รเงาคือบริเวณขององค์ประกอบทีผ่ ลิตแก้ว


ทางการค้า [ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

นอกเหนือจากการเติมสารประกอบออกไซด์ดงั กล่าวแล้ว ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้มสี สี นั ของผลิตภัณฑ์ท่ี


หลากหลายจากการเติมสารประกอบออกไซด์ทท่ี าให้เกิดสีในแก้ว เช่น สาหรับแก้วขวดสีเขียวมะกอกจะเติม
Fe2O3 1.5 – 2.0 % และ MnO 0.3 – 0.8 แก้วสีเขียวจะเติม Cr2O3 หรือ Fe2O3 และ Cr2O3 ร่วมกัน (0.1-0.2
% Cr2O3 + 0.1-1 %Fe2O3) แก้วสีน้ าตาล จะเติม Fe2O3 และ MnO โดยอัตราส่วนระหว่าง Fe2O3:MnO อยูท่ ่ี
1:2 หรือ 1:3 หรือเติม Fe2O3 ร่วมกับซัลเฟอร์จากสารประกอบซัลเฟตหรือซัลไฟด์ (เรียกว่า Amber glass)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 11
โดยสีทป่ี รากฏจะขึน้ อยู่กบั ชนิดและปริมาณของไอออนต่าง ๆ ได้แก่ Fe2+ หรือ Fe3+ และ S2- หรือ SO42- โดย
ไอออนเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับบรรยากาศในการหลอมว่าเป็ นบรรยากาศออกซิเดชัน หรือบรรยากาศรีดกั ชัน
ทาให้ตอ้ งควบคุมการบรรยากาศการหลอมอย่างเคร่งครัด

4) แก้วระบบ K2OCaOSiO2 และ K2OPbOSiO2 หรือที่ เรียกว่ าแก้ วคริ สตัล (Crystal glass)
คาว่า Crystal glass เป็ นแก้วใสและมีลกั ษณะแวววาวเนื่องจากมีการหักเหแสงสูง แก้วชนิดนี้มกั ใช้ใ นการ
ตกแต่งหรือเป็ นเครื่องประดับ เช่น แก้วภายใต้แบรน “สวารอฟสกี” (Swarovski) เป็ นต้น อย่างไรก็ตามคา
จากัดความของคาว่าแก้ว Crystal ยังไม่ชดั เจน โดยขึ้นอยู่กบั ผู้ให้คานิยาม โดยส่วนมากแก้วคริสตัล จะมี
องค์ประกอบของตะกัวออกไซด์
่ (PbO) มากกว่า 24 % โดยน้ าหนัก และมีค่าดัชนีหกั เหแสง (Refractive
index) มากกว่า 1.545 นอกจากตะกัวออกไซด์
่ แล้ว โพแทสเซียมออกไซด์ (K2O) สามารถใช้เป็ นวัต ถุ ดิบ
ทดแทนการใช้ตะกัวออกไซด์
่ (PbO) แก้วชนิดนี้แบ่งเป็ น 2 ประเภทตามเหล่งกาเนิดทีม่ กี ารผลิตแก้วชนิดนี้ใน
สมัยโบราณ คือ แก้ว Bohemain Crystal (K2O-CaO) และแก้ว English Crystal (K2O-PbO) เมื่อ พิจารณา
ลักษณะเฉพาะของแผนภาพวัฏภาคของระบบ K2O-PbO-SiO2 ดังรูป 1.10 ก. พบว่าแก้วชนิดนี้มชี ่วงการเกิด
แก้ว ที่ก ว้า งมากท าให้ส ามารถท าแก้ว ได้ง่า ย แต่ ใ นทางปฏิบ ัติเ นื่ อ งจากอัต ราการตกผลึก ของแก้ว บาง
องค์ประกอบสูงกกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ (บริเวณที่ม ี PbO) และบางองค์ประกอบแก้วจะมีความทนทานต่อ
สารเคมีต่ า (ปริมาณ K2O สูง) โดยองค์ประกอบที่เหมาะสมในการผลิตแก้วคริสตัล ในเชิงการค้าจะอยู่ใ น
บริเวณที่แรเงาไว้ในรูป 1.10 ก. (บริเวณ SiO2 - K2O4SiO2 - K2OPbO4SiO2 - K2O4PbO - PbOSiO2)
ผลขององค์ประกอบทางเคมีจะส่งผลต่อค่าดัชนีหกั เหแสงและความหน้าแน่ นของแก้ว พบว่าเมือ่ ปริมาณซิลกิ า
สูงขึน้ ความหนืดของแก้วก็จะเพิม่ ขึน้ เช่นกัน ส่วนปริมาณ PbO ทีเ่ พิม่ ขึน้ จะส่งผลต่อค่าดัชนีหกั เหแสง; n (เส้น
ทึบ) และ ความหนาแน่นของแก้ว;  (เส้นประ) ดังแสดงในรูป 1.10 ข.

แก้วประเภทนี้จะต้องควบคุมปริมาณสารให้สที ่อี าจจะปนมากับวัตถุดบิ หรือในระหว่างกระบวนการ


ผลิต เช่น ควบคุมปริมาณเหล็กออกไซด์ (Fe2O3) ให้น้อยกว่า 0.025 % เป็ นต้น อย่างไรก็ตามผูผ้ ลิตมักเติม
สารลดสีอ่นื ๆ ลงไปเพื่อให้แก้วคริสตัลมีสสี นั สวยงามมากขึน้ เช่น NiO เป็ นต้น นอกจากสารให้สที เ่ี ติมลงไป
แล้ว อาจเติมออกไซด์ของธาตุหายาก เช่น Nd2O3 และ Pr2O3 เพื่อปรับปรุงสมบัติทางแสงของแก้วคริสตัล
เป็ นพิเศษ รวมไปถึงสารลดฟองในแก้ว เช่น As2O3 หรือ Sb2O3 เป็ นต้น ข้อควรระวังในการใช้สารลดฟองใน
แก้วคริสตัล ที่ม ี PbO ไม่ควรใช้ Na2SO4 เนื่องจากการจะทาปฏิกิรยิ ากับ PbO กลายเป็ น PbSO4 เกิดเป็ น
ตาหนิในแก้ว

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 12
รูป 1.10 (ก) แผนภาพวัฏภาคระบบ K2O-PbO-SiO2 และ (ข) ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบแก้วกับ
ความหนาแน่ นและความหนืดของแก้วคริสตัล [ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 13
5) ระบบโซเดี ยมบอโรซิ ลิเกต (Na2OB2O3SiO2) แก้วชนิดนี้จะทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูม ิ
อย่างฉับพลัน (Thermal Shock Resistance) ได้ดี เนื่องจากเป็ นแก้วที่มคี ่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะ
ความร้อ น (Thermal Expansion Coefficient; ) ต่ า (ต่ า กว่ า 50 x 10-7 ต่ อ เซลเซีย ส หรือ C–1) ซึ่ง ใน
บางครัง้ ถู ก เรียกว่าแก้ว ทนความร้อ น (Heat-resistance glass) แก้ว ชนิดนี้เ ป็ นแก้ว ที่ถู กพัฒนาเพื่อ ใช้ใ น
ห้องปฏิบตั กิ ารทางวิทยาศาสตร์และมีอยูห่ ลายประเภท แก้วทีร่ จู้ กั กันดีในกลุ่มนี้คอื แก้ว ไพเร็กซ์ (Pyrex) หรือ
แก้วทีใ่ ช้ในทางการแพทย์จะเรียกว่าแก้วนิวทรัล (Neutral glass) เป็ นต้น แก้วนิวทรัลทางการแพทย์จะมีการ
ละลายของไอออนต่ ามากที่อุณหภูม ิ 120 เซลเซียส ทาให้ยา เซรุม หรือสารเคมีต่าง ๆ ไม่เสียสภาพหรือเสีย
ฤทธิ ์ทางยาจากการเกิดปฏิกริ ยิ ากับไอออนทีอ่ าจละลายออกมาจากแก้ว

แก้วระบบนี้เกิดการแยกวัฏภาค (Phase separation) ได้ง่าย ซึ่งปรากฏการณ์ น้ีเรียกว่าการแยกตัว


แบบกึ่งเสถียร “Metastable immiscibility” คือการแยกวัฏภาคของของเหลว 2 ชนิดที่มอี งค์ประกอบต่างกัน
โดยเกิด ที่อุ ณ หภูม ิต่ า กว่ า อุ ณ หภูม ิก ารเปลี่ย นเป็ น ของเหลว (Liquidus temperature) และอาจเกิด ขึ้น ใน
ระหว่างการอบอ่อนแก้ว (Annealing) ก็ได้ การเกิดการแยกวัฏภาคนี้มอี ยู่ 2 ลักษณะคือ แยกแบบกระจายตัว
(Isolated droplets) และการแยกแบบต่ อ เนื่ อ ง (Continuous interconnected phases) หรือ ที่เ รีย กว่ า การ
สลายตัวแบบสปิ นนูเดิล (Spinodal decomposition) ดังรูป 1.11 หากเกิดปรากฏการณ์น้ีในแก้วจะทาให้แก้วมี
ความทนทานต่ อ สารเคมีล ดลงและมีส มบัติ โ ดยรวม (Bulk properties) เปลี่ย นไป เป็ นต้ น ดัง นั ้น ใน
กระบวนการอบอ่อนจะต้องทาทีอ่ ุณหภูมทิ เ่ี หมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดการแยกวัฏภาคดังกล่าว

รูป 1.11 ภาพอิเล็กตรอน (Electron image) ของการเกิดการแยกตัวแบบกึง่ เสถียร (Metastable


immiscibility) ในแก้ว [ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 14
แก้วทีม่ กี ารผลิตในระดับอุตสาหกรรม จะมีองค์ประกอบต่าง ๆ กันขึน้ อยูก่ บั ชนิดและการนาไปใช้งาน
ซึง่ สามารถสรุปได้ดงั ตาราง 1.1

ตาราง 1.1 องค์ประกอบทางเคมีของแก้วต่าง ๆ [ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

ชนิ ด ชื่อ ร้อยละขององค์ประกอบ


การค้า SiO2 B2O3 Al2O3 Fe2O3 MgO CaO Na2O K2O PbO SO3 อื่น ๆ
แก้วแผ่น1 72.2 1.0 0.1 3.6 7.1 14.8 0.2 0.5
แก้วแผ่น2 72.5 1.0 0.07 3.9 8.1 13.7 0.3 0.25
ภาชนะ (flint) 72.4 1.7 0.05 1.7 9.6 13.8 0.6 0.13 0.2 BaO
ภาชนะ (Amber) 73.4 2.0 0.22 3.0 8.0 13.0 0.4 0.16 FeO
ภาชนะ (สีเขียว) 72.0 1.9 0.15 1.4 9.2 14.4 0.6 0.2 0.2 BaO
0.1 Cr2O3
Neutral glass 70.2 7.0 7.5 1.8 9.5 1.0 3.0 BaO
Technical glass Pyrex 80.8 12.0 2.2 0.3 0.3 4.2 0.6
Technical glass Slimax 80.0 12.8 2.3 3.5 1.2
แก้วทีม่ ซี ลิ กิ าสูง Vycor 94 5 0.5
Thermometer glass 16-III 67.5 2.0 2.5 7.0 14.0 7.0 ZnO
Soft instrument glass Unihost 68.9 3.9 2.9 5.5 17.8 1.3
หลอดไฟ 72.4 0.8 3.7 5.3 17.4
แก้วเชือ่ มประสาน3 KIA 57.1 1.5 4.9 7.0 29.4
แก้วเชือ่ มประสาน 4 KS 51 67.7 18.9 3.6 0.4 8.4 0.9 Li2O
แก้วเชือ่ มประสาน 5 KS 50 75.0 11.6 4.0 1.5 5.9 1.6 0.4 BaO
Low-loss glass6 LL 71.0 24.8 0.9 0.3 1.5 1.2 0.2 Li2O
แก้วอะลูมนิ าสูง 53.0 10.0 21.0 10.0 5.0
แก้วเชิงแสง (flint) F2 45.1 3.2 6.0 45.2
แก้วเชิงแสง (crown) BK 7 66.0 12.4 8.0 12.0 1.0 ZnO
Crystal glass 59.0 2.0 12.0 25.0 1.5 ZnO
Crystal glass 75.0 0.4 6.7 6.1 11.4
ภาชนะ 7 75.6 0.4 0.02 2.6 2.6 13.5 4.1
ไฟเบอร์กลาส Eutal 52.9 9.2 14.5 0.3 4.4 4.4 1.0
(E-glass)8
ไฟเบอร์กลาส9 Mangal 59.0 7.0 0.3 3.5 3.5 20.0 2.9 MnO
1ผลิ ต ด้ ว ยกระบวนการโฟร์ ค อลท์ (Fourcault process) 2ผลิ ต ด้ ว ยกระบวนการลอย (Float process) 3ส าหรับ ประสาน Fe-Ni และ Pt
4ส าหรับประสาน Kovar alloy (Fe-Ni-Co) 5ส าหรับประสาน Molybdenum 6Low dielectric loss glass 7ขึ้น รูปด้ว ยวิธก
ี ารอัด (Pressed forming
method) 8continuous fibre และ 9สาหรับใช้ทาฉนวน

นอกเหนือจากแก้วอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ทีเ่ ป็ นแก้วกลุ่มออกไซด์ (Oxide glass) ยังมีแก้วกลุ่ม


อื่น ๆ ที่มกี ารประยุกต์ใช้งานแตกต่างกันออกไป ได้แก่ แก้วแฮไลด์ (Halide glass) และแก้ว ชาลโคจีไนด์
(Chalcogenides glass) แก้วโลหะ (Metallic glass) เป็ นต้น ซึง่ มีองค์ประกอบและการนาไปใช้งานทีแ่ ตกต่าง
กัน เช่น แก้วชาลโคจีไนด์ เป็ นแก้วที่เป็ นสารประกอบซัลไฟด์ ซีลไี นด์ และ เทลลูไรด์ โดยประกอบด้วยธาตุ
S, Se, Te แทนที่ ออกซิเจน ในสารประกอบออกไซด์ เช่น แก้ว As2S3 เช่น As2Se3 เป็ นต้น แก้วชนิดนี้มกั ใช้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 15
ในการใช้งานกับย่านแสงช่วงอินฟราเรด (Infrared region) และดูดกลืนความยาวคลื่นในช่วงวิซเิ บิล (Visible)
ได้ดี แก้ว ประเภทนี้ยงั มีส มบัติเ ป็ นสารกึ่งตัว นา (Semiconductor) โดยในการผลิต แก้ว กลุ่ มนี้จะหลอมใน
สุญญากาศเพื่อป้ องกันการเกิด ปฏิกริ ยิ าออกซิเดชันกับองค์ประกอบต่าง ๆ ในแก้ว กลายเป็ นสารประกอบ
ออกไซด์

คาถามท้ายบท

1) แก้วคืออะไร

2) แก้ว (Glass) แตกต่างกับผลึก (Crystalline solid) อย่างไร

3) จงอธิบายกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทาลปี หรือปริมาตรกับอุณหภูมวิ ่าแก้วต่างจากผลึกอย่างไร

4) แก้วสามารถจาแนกประเภทได้กป่ี ระเภท อะไรบ้าง

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 16
บทที่ 2
กระบวนการผลิ ตแก้ว
Glass Production Processes

“กระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรมเป็ นกระบวนการผลิตทีค่ ่อนข้างซับซ้อนและแตกต่างกันตาม


ชนิดของผลิตภัณฑ์ทผี ่ ลิต ในกระบวนการผลิตแก้ว จะทาให้วตั ถุดบิ ต่าง ๆ หลอมรวมเป็ นเนื้อเดียวกันที ่
อุณหภูมสิ ูง จากนัน้ น้ าแก้วหลอมเหลวจะถูกส่งต่อไปยังกระบวนการขึ้นรูป เพือ่ ทาให้เป็ นรูปทรงต่าง ๆ
ตามทีไ่ ด้ อ อกแบบไว้ จากนั น้ จึง น าผลิต ภัณ ฑ์ทีไ่ ด้เ ข้า สู่ข นั ้ ตอนการอบอ่ อ นเพือ่ ลดความเค้น หรือ
ความเครียดคงค้างในแก้วทีเ่ กิดขึ้นระหว่างกระบวนการขึ้นรูป นอกเหนือจากนัน้ ผลิตภัณฑ์แก้วจะต้องถูก
ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน ก่อนจาหน่ าย โดยในบทนี้จะได้กล่าวถึงภาพรวมของกระบวนการผลิต
ดังกล่าวพอสังเขป โดยเนื้อหาโดยละเอียดของแต่ละขัน้ ตอนจะได้กล่าวถึงในบทต่อ ๆ ไป”

จากทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วในบทที่ 1 ว่าแก้วมีหลายชนิดขึน้ อยู่กบั การประยุกต์ใช้งาน หรือขึน้ อยู่


กับองค์ประกอบหรือส่วนประกอบของแก้ว ดังนัน้ ในบทนี้จะได้กล่าวถึงภาพรวมของกระบวนการผลิตแก้วใน
อุตสาหกรรมซึง่ ประกอบไปด้วยขัน้ ตอนสาคัญ ได้แก่ ขัน้ ตอนการเตรียมวัตถุดบิ (Preparing and Mixing of
Raw Materials) ขัน้ ตอนการหลอมแก้ว (Melting) ขัน้ ตอนการขึ้นรูป (Forming) และ ขัน้ ตอนการอบอ่อน
(Annealing) รูป 2.1 แสดงให้เห็นถึงแผนผังในกระบวนการผลิตกระจกแผ่น ซึง่ ประกอบไปด้วยขัน้ ตอนต่าง ๆ
ดังกล่าวมาแล้ว เมื่อกระบวนการผลิตสิ้นสุดแล้ว อาจจะมีขนั ้ ตอนหลังจากการอบอ่อนเพื่อปรับปรุงคุณภาพ
และเพิม่ วามสวยงามของผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะไม่ถูก
กล่าวถึงในทีน่ ้ี

2.1 ขัน้ ตอนการเตรียมวัตถุดิบและการผสมวัตถุดิบ (Preparing and mixing of raw materials)

องค์ป ระกอบของแก้ ว จะมีส ัม พัน ธ์ กับ ลัก ษณะเฉพาะและสมบัติข องแก้ ว โดยความคงที่ข อง


องค์ประกอบทางเคมีของวัตถุดบิ ถือเป็ นปั จจัยทีส่ าคัญต่อกระบวนการผลิตในขัน้ ตอนนี้ ดังนัน้ ในกระบวนการ
ผลิตแก้วอุตสาหกรรมต้องควบคุมให้องค์ประกอบของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ผลิตแก้วถูกต้องและคงทีต่ ามที่ ได้คานวณ
ไว้ หากวัตถุดบิ ที่นาเข้าสู่กระบวนการผลิตมีองค์ประกอบไม่คงที่ เช่น มีสงิ่ เจือปนเปื้ อนปะปนมา ทาให้ต้อง
ค านวณปริม าณวัต ถุ ดิบ ที่ต้ อ งใช้ใ หม่ ต ามองค์ป ระกอบที่เ ปลี่ย นไป ส่ ง ผลต่ อ การควบคุ ม คุ ณ ภาพของ
ผลิตภัณฑ์ ในบางกรณีความบริสุทธิ ์ (Purity) ของวัตถุดบิ ต้องมีความบริสุทธิ ์สูงมากในแก้วบางประเภท เช่น
แก้วทีใ่ ช้งานเชิงแสงในเครือ่ งมือวิทยาศาสตร์หรืออุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกต่าง ๆ เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 17
รูป 2.1 กระบวนการผลิตกระจกแผ่น [ดัดแปลงจาก http://www.sneresearch.com/eng/info/
show.php?c_id=4889&pg=8&s_sort=&sub_cat=&s_type=&s_word=]

ขนาดอนุ ภาคของวัตถุดบิ ก็เป็ นสิง่ ที่สาคัญ อีกประการหนึ่งต่อกระบวนการหลอมแก้ว กล่าวคือ หาก


ขนาดอนุ ภาคของวัตถุดบิ มีขนาดเล็ก การเกิดปฏิกริ ยิ าทัง้ ทางเคมีและทางกายภาพที่เกิดขึน้ ในระหว่างการ
หลอมจะเกิดได้ดขี น้ึ หรือเร็วขึน้ ซึง่ จะได้กล่าวโดยละเอียดต่อไป ดังนัน้ ขนาดของวัตถุดบิ จะต้องเหมาะสมและ
ถูกควบคุมขนาด โดยเฉพาะอย่างยิง่ ขนาดของส่วนประกอบทีห่ ลอมยาก (มีความทนไฟสูง) เช่น ทราย (SiO2)
และ อะลูมนิ า (Al2O3) เป็ นต้น โดยทัวไปแล้
่ วทัง้ ความคงที่ ความบริสุทธิ ์ และ ขนาดอนุ ภาคของวัตถุดบิ จะถูก
ควบคุมจากบริษทั ผูผ้ ลิตวัตถุดบิ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมีการตรวจสอบเสมอว่าเป็ นไปตามทีโ่ รงงานต้องการ
หรือไม่ เพื่อป้ องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในกระบวนการผลิต ซึง่ จะส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์อกี ด้วย

ตัวอย่างของวัตถุดบิ ที่มกี ารใช้อย่างแพร่หลาย เช่น ทรายแก้ว (SiO2) จะต้องมีความบริสุทธิ ์สูง ใน


บางกรณีจะต้องทาให้ทรายมีความบริสุทธิ ์มากขึน้ โดยการล้าง เพื่อกาจัดสิง่ เจือปนต่าง ๆ เช่น แร่ดนิ (Clay
mineral) เป็ น ต้น ก่ อ นน าเข้า สู่เ ตาหลอมและคัด ขนาดอนุ ภ าคเพื่อ คัด แยกทรายที่ม ีข นาดใหญ่ เ กิน ออก
โดยทัวไปแล้
่ วขนาดทีเ่ หมาะสมของทรายคือ 0.1 – 0.6 มิลลิเมตร และทรายต้องมีสารให้สใี นปริมาณน้อยมาก
สารให้ส ีท่ีม กั ปนเปื้ อ นมากับ ทรายได้แ ก่ ส ารประกอบของธาตุ ท รานซิช ัน เช่ น เหล็ก ออกไซด์ (Fe2O3)
โครเมียมออกไซด์ (Cr2O3) และ ไทเทเนียมออกไซด์ (TiO2) เป็ นต้น แก้ว ที่ใ ช้งานเชิงแสงจะต้อ งมีเ หล็ก
ออกไซด์เป็ นองค์ประกอบน้อยกว่า 0.010 % ส่วนทรายทีใ่ ช้ในกระบวนการผลิตกระจกใสหรือภาชนะใสจะมี
เหล็กออกไซด์ได้ไม่เกิน 0.02 – 0.04 %

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 18
แคลเซีย มออกไซด์แ ละแมกนี เ ซีย มออกไซด์ซ่ึง ได้ม าจากวัต ถุ ดิบ หลัก คือ หิน ปูน (CaCO3) และ
โดโลไมท์ (Dolomite; CaMg(CO3)2) จะต้องผ่านการควบคุมปริมาณเหล็กออกไซด์และขนาดอนุ ภาคเช่นกัน
โดยขนาดทีเ่ หมาะสมใช้ในการผลิตกระจกและภาชนะหรือบรรจุภณ ั ฑ์จากแก้ว คือ 0.1 – 0.6 มิลลิเมตร และ
1 – 3 มิลลิเมตร ตามลาดับ

โซดาแอช (Soda ash; Na2CO3) เป็ นวัตถุดบิ หนึ่งทีใ่ ห้ Na2O ในแก้ว ซึง่ ขนาดเฉลีย่ ของโซดาแอชจะ
มีขนาดหยาบได้ โดยมีขนาดอยู่ในช่วง 0.1 – 1 มิลลิเมตร นอกเหนือจากโซดาแอชแล้วยังมีแร่เฟลด์สปาร์
แร่โฟโนไลต์ (Phonolite) ที่เติมลงไปเพื่อให้องค์ประกอบของ Na2O ในแก้ว อย่างไรก็ตามวัตถุดบิ สองชนิด
ดังกล่าวจะแตกตัวให้สารประกอบออกไซด์อ่นื ๆ ด้วย เช่น แร่เฟลด์สปาร์ (Na2OAl2O36SiO2) จะสลายตัว
ให้ Na2O, Al2O3 และ SiO2 หากใช้แร่เหล่านี้จะส่งผลทาให้ปริมาณของ Al2O3 สูงขึน้ อีกทัง้ แร่เหล่านี้มปี ริมาณ
เหล็กออกไซด์สูงอีกด้วย อาจมีการใช้โซเดียมซัลเฟต (Na2SO4) โซเดียมไนเตรต (NaNO3) และ โซดาไฟ
(NaOH) ในบางอุตสาหกรรม เพื่อปรับสมบัติของน้ าแก้วหลอม แต่มขี ้อควรระวังคืออาจเกิดผลกระทบต่อ
สิง่ แวดล้อมได้ เช่น เกิดก๊าซเรื่อนกระจก หรือ อาจทาให้แก้วมีปริมาณหมู่ไฮดรอกซิล (OH–) สูง จึงไม่ควรใช้
สารเหล่านี้ในปริมาณทีส่ งู เกินไป

แร่โพแทช (Potash; K2CO3) ไฮเดรตโพแทช (Hydrated potash หรือ pearl ash; K2CO31.5H2O)
เป็ นวัตถุดบิ ที่ให้โพแทสเซียมออกไซด์ (K2O) ในแก้ว จากปฏิกิรยิ าการสลายตัวด้ว ยความร้อ น (Thermal
decomposition หรือ calcination) อย่างไรก็ตาม K2O ที่ได้จากการแตกตัวนัน้ สามารถทาปฏิกริ ยิ ากับน้ าได้
ง่าย (Hygroscopic) ซึง่ ส่งผลต่อการชังน
่ ้ าหนักวัตถุดบิ และอาจทาให้เกิดปั ญหาในระหว่างการลาเลียงเข้าเตา
หรือเข้าถังพัก เช่น การเกาะเป็ นก้อนในระหว่างการผสม หรือทีเ่ รียกว่า Lumps

โบรอนออกไซด์ (B2O3) จะได้มาจากกรดบอริก (H3BO3) บอแรก (Na2B4O710H2O) หรือ โบรอน


ออกไซด์ (B2O3) หรือได้จากแร่ตามธรรมชาติ เช่น ดาโตไลท์ (Datolite; 2CaOB2O32SiO2H2O) แดนบูไรท์
(Danburite; CaOB2O32SiO2) และ โคลีมาไนท์ (Colemanite; 2CaO3B2O35H2O) เป็ นต้น

วัตถุดบิ อื่น ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมแก้ว เช่น วัตถุดบิ ที่ให้แ บเรียมออกไซด์ (BaO) ได้แก่ แบเรียม
คาร์บ อเนต (BaCO3) และแบเรีย มซัล เฟต (BaSO4) ซึ่ง ใช้ ใ นปริม าณเล็ก น้ อ ย หรือ แบเรีย มไนเตรต
(Ba(NO3)2) ทีใ่ ช้ในแก้วเชิงแสง วัตถุดบิ กลุ่มทีใ่ ห้ตะกัวออกไซด์
่ (PbO) ได้แก่ ตะกัวแดง
่ (Red lead; Pb3O4)
ตะกัวออกไซด์
่ (PbO) รวมไปถึงตะกัวซิ
่ ลเิ กต เช่น PbO0.33SiO2 หรือ PbO0.67SiO2 ทีม่ ขี อ้ ดีกว่าคือ PbO
จะระเหยได้น้อยกว่าวัตถุดบิ สองชนิดแรก และวัตถุดบิ กลุ่มทีใ่ ห้อะลูมนิ า (Al2O3) อาจใช้อะลูมนิ าเติมลงไปเป็ น
ส่วนผสมโดยตรง แต่กม็ ขี อ้ เสีย คือ อะลูมนิ าเป็ นวัตถุดบิ ทีห่ ลอมได้ยากมาก จึงอาจจะจาเป็ นต้องเลีย่ งไปใช้แร่
ต่ าง ๆ ที่มอี ะลูมนิ าเป็ นองค์ประกอบ หรือ สารประกอบอื่น ๆ แทน เช่น เฟลด์ส ปาร์ แร่เ กาลิน (Kaolin;
Al2O32SiO22H2O) หรือ โฟโนไลท์ เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 19
วัตถุดบิ ต่าง ๆ ทีผ่ ่านการตรวจสอบคุณภาพจะถูกกักเก็บในถังเก็บขนาดใหญ่หรือไซโล (Silo) เพื่อรอ
การนาไปใช้ในกระบวนการผลิต ตามสัดส่วนที่ได้คานวณไว้ จากที่กล่าวมาข้างต้นวัตถุดบิ แต่ละชนิดอาจให้
ออกไซด์ได้หลายชนิด ดังนัน้ ในการคานวณจะต้องคานึงถึงองค์ประกอบทางเคมีหรือผลวิเคราะห์องค์ประกอบ
ทางเคมีของวัตถุดบิ แต่ละชนิด ความชืน้ ทีว่ ตั ถุดบิ มีอยู่ และปริมาณการสูญเสียของสารระเหยได้จากวัตถุดบิ
(Volatilisation loss) เป็ นต้น จากนัน้ วัตถุดบิ จะถูกชังน
่ ้ าหนักตามปริมาณทีต่ ้องการ และลาเลียงไปสู่ขนั ้ ตอน
การผสมเพื่อให้วตั ถุดบิ ผสมเป็ นเนื้อเดียวกันและกระจายตัวดีทส่ี ุด ในขัน้ ตอนการลาเลียงวัตถุดบิ ทีผ่ สมเข้ากัน
ดีแล้วสู่เตาหลอมก็ควรคานึงถึงปั จจัยหลายประการ เช่ น แรงสันสะเทื ่ อนของเครื่องจักรอาจทาให้เกิดการฟุ้ง
กระจายของวัต ถุ ดิบ ที่ม ีข นาดเล็ก มาก แรงสัน่ สะเทือ นอาจท าให้ว ัต ถุ ดิบ เกิด การแยกชัน้ หรือ แยกส่ ว น
(Segregation) เนื่องจากความหนาแน่ นของวัตถุดบิ แต่ละชนิดไม่เท่ากัน ซึ่งอาจแก้ปัญหานี้โดยการพ่นน้ า
เล็กน้อย (ประมาณ 3 – 4 %) ในระหว่างการลาเลียงเข้าสู่เตาหลอม

2.2 ขัน้ ตอนการหลอมแก้ว (Melting process)

ขัน้ ตอนการหลอมแก้วจะประกอบไปด้วยขัน้ ตอนย่อย 3 ขัน้ ตอน คือการหลอมแก้ว (Melting) การ


กาจัดฟองก๊าซ (Fining) และการทาให้ส่วนผสมเข้ากันเป็ นเนื้อเดียว (Homogenisation) ขัน้ ตอนการหลอม
แก้วจะเป็ นขัน้ ตอนทีใ่ ช้พลังงานสูงทีส่ ุดในกระบวนการผลิตแก้ว เนื่องจากต้องทาให้เตาหลอมมีอุณหภูมสิ ูงอยู่
ตลอดเวลาโดยอุณหภูมจิ ะแตกต่างกันขึน้ อยูก่ บั ชนิดและองค์ประกอบของแก้ว

การหลอมแก้วเป็ นขัน้ ตอนการเปลีย่ นแปลงวัตถุดบิ ต่าง ๆ ทีใ่ ช้ ซึง่ จะอยู่ในลักษณะของผลึกของแข็ง


(ยกเว้น Cullet ทีเ่ ป็ นแก้วอยู่แก้ว) ให้อยู่ในรูปของของเหลวหลอม (Molten liquid) ผ่านปฏิกริ ยิ าทางเคมีต่าง
ๆ ระหว่างวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ การพิจารณาอุณหภูมทิ ใ่ี ช้หลอมแก้ว โดยทฤษฎีแล้วสามารถพิจารณาจากแผนภาพ
วัฏภาค (Phase diagram) ของสารประกอบออกไซด์หลักทีเ่ ป็ นส่วนประกอบ ว่าจะเปลีย่ นสภาพเป็ นของเหลว
ที่อุณหภูมใิ ด โดยเป็ นอุณหภูมทิ ่สี ูงกว่าอุณ หภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ นของเหลว (Liquidus temperature) หรือใน
กรณีทส่ี ่วนผสมอยูต่ รงตาแหน่งขององค์ประกอบยูเทคติค (Eutectic) ของเหลวจะเกิดสมบูรณ์ทอ่ี ุณหภูมเิ หนือ
อุณหภูมยิ เู ทคติค (Eutectic temperature) อย่างไรก็ตามของเหลวทีห่ ลอมได้อาจมีความหนืดไม่เหมาะสมกับ
กระบวนการผลิต เนื่องจากของเหลว ณ อุณหภูม ิดงั กล่าวจะมีความหนืดสูงมาก ทาให้ในกระบวนการผลิต
จาเป็ นต้องเพิม่ อุณหภูมใิ ห้สูงขึน้ เพื่อลดความหนืดของแก้วลงให้เหมาะสมกับขัน้ ตอนการขึน้ รูป ดังตัวอย่าง
ของแก้วที่มอี งค์ประกอบ 15%Na2O 7.9%CaO 2.1%Al2O3 และ 74.5% SiO2 (% โดยน้ าหนัก) จะมีค วาม
หนื ด ประมาณ 104.5 พอยส์ (Poises) ณ อุ ณ หภู ม ิท่ีก ลายเป็ นของเหลว (Liquidus temperature) ตาม
แผนภาพวัฏภาค คือที่ 1004 เซลเซียส โดยความหนืดจะลดลงเหลือ 103 พอยส์ ทีอ่ ุณหภูม ิ 1204 เซลเซียส
(หรือทีอ่ ุณหภูมสิ งู ขึน้ 200 เซลเซียส) และจะลดลงเหลือ 102 พอยส์ ทีอ่ ุณหภูม ิ 1485 เซลเซียส (ความหนืดที่
น้ าแก้วจะออกจากเตาหลอมสู่กระบวนการขึน้ รูปจะอยู่ทป่ี ระมาณ 103 พอยส์) โดยปกติแล้วบริเวณทีเ่ กิดการ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 20
หลอม (Melting bath) จะมีอุ ณ หภูมสิ ูงเพื่อ ให้ได้น้ าแก้ว ที่มคี วามหนืดประมาณ 102 พอยส์ จากนัน้ จะลด
อุณหภูมลิ งในขัน้ ตอนของการลดฟองก๊าซ และ ขัน้ ตอนการทาให้เป็ นเนื้อเดียวกัน เพื่ อให้ความหนืดอยู่ท่ี
ประมาณ 103 พอยส์ เพื่อให้มคี วามเหมาะสมกับกระบวนการขึน้ รูป

ก๊าซทีเ่ กิดในระหว่างกระบวนการหลอมวัตถุดบิ ต่าง ๆ เกิดจากการเปลีย่ นแปลงของวัตถุดบิ เมือ่ ได้รบั


ความร้อน เช่น การระเหย หรือ การสลายตัว ด้วยความร้อน เป็ นต้น โดยก๊าซต่าง ๆ ทีพ่ บ ได้แก่ ออกซิเจน
(O2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไอน้ า (H2O) ก๊าซไนโตรเจน (N2) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็ น
ต้น เมื่อการหลอมวัตถุดบิ สมบูรณ์ น้ าแก้วจะต้องถูกกาจัดฟองก๊าซออก ทัง้ ด้วยวิธกี ารทางเคมี โดยการเติม
สารบางประเภทลงไป และวิธกี ารทางกายภาพอื่น ๆ ซึง่ จะได้กล่าวถึงต่อไป

แก้วทีเ่ ป็ นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous) ทาให้สมบัตทิ างเคมีและสมบัตทิ างกายภาพของแก้วมีความ


สม่าเสมอทัวทั
่ ง้ ผลิตภัณฑ์ ซึง่ การทาให้แก้วเป็ นเนื้อเดียวกันนัน้ จะต้องทาในระหว่างการหลอม เช่น การพ่น
ฟองก๊ าซจากก้นเตาหลอม ซึ่งเปรียบเสมือ นการกวนถังหลอมท าให้เ กิดการผสมดีข้นึ รวมไปถึงวิธ ีก าร
ออกแบบเตาให้เ กิดการไหลวนของน้ าแก้ว ทาให้เ กิดการผสมเข้ากัน เช่นการสร้างกาแพงเพื่อ บังคับทิศ
ทางการไหลของน้าแก้ว เป็ นต้น

2.3 ขัน้ ตอนการขึ้นรูป (Forming process)

ขัน้ ตอนการขึน้ รูป จะขึ้นอยู่กบั ชนิดและลักษณะของผลิตภัณฑ์ โดยวิธกี ารขึน้ รูปมีอยู่หลายวิธ ี เช่น


การกดอัด (Pressing) การเป่ า (Blowing) การผสมระหว่างการอัดและการเป่ า การหล่อแบบ (Casting) การ
รีด (Rolling) และการดึง (Drawing) เป็ นต้น สมบัตขิ องแก้วหรือน้าแก้วทีเ่ กีย่ วข้องกับขัน้ ตอนการขึน้ รูป ได้แก่
ความยืด หยุ่ น (Elasticity) ความหนื ด (Viscosity) และ ระยะเวลาที่ใ ช้ ใ นการปลดปล่ อ ยความเครีย ด
(Relaxation time) เป็ นต้น ในกระบวนการขึน้ รูปเนื้อแก้วจะได้รบั แรงจากภายนอก เช่น แรงกดและแรงเป่ า
เป็ นต้น เมื่อกระบวนการขึ้นรูปเสร็จสมบูรณ์ หากแก้วไม่สามารถปลดปล่อ ยความเครียดได้ทนั แก้วจะมี
ความเครียดคงค้างสูงมาก แต่ทาให้แก้วแตกในระหว่างการขึน้ รูป โดยปั จจัยหนึ่งทีม่ ผี ลต่อการลดความเครียด
ของแก้วคือความหนืดของแก้ว ความหนืดที่เหมาะสมในแต่ล ะขัน้ ตอนของกระบวนการผลิต จะสรุปไว้ใ น
ตาราง 2.1 เห็นได้ว่าช่วงความหนืดทีเ่ หมาะสมกับการขึน้ รูป นัน้ กว้างมาก เช่น ในกรณีการขึน้ รูปแก้วเพื่อใช้
เป็ นภาชนะบรรจุดว้ ยเครือ่ งจักรอุตสาหกรรม ความหนืดทีเ่ หมาะสมจะอยูใ่ นช่วง 103 – 107 พอยส์ ความหนืด
จะมีความสัมพันธ์กบั อุณหภูม ิ ดังนัน้ เมื่อทราบช่วงความหนืดที่เหมาะสม ก็สามารถควบคุมได้โดยควบคุ ม
อุณหภูมใิ ห้เหมาะสม นอกเหนือจากนัน้ จะต้องคานึงถึงค่าการขยายตัวเพราะความร้อนของแก้ว (Coefficient
of thermal expansion, CTE) แรงตึงผิว (Surface tension) รวมไปถึงการถ่ายเทความร้อน (Heat transfer)
จากแก้วไปสู่แบบขึน้ รูปโลหะ (Metal mold) ซึง่ ส่งผลโดยตรงต่อการเกิดความเครียดในแก้ว หากการถ่ายเท

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 21
ความร้อนดีมาก แก้วจะเริม่ แตกทีผ่ วิ ก่อน เนื่องจากเกิดความแตกต่างของอุณหภูมทิ ผ่ี วิ แก้วและภายในเนื้อ
แก้ว หรือหากการถ่ายเทความร้อนไม่ดแี ก้วจะติดอยู่กบั แบบขึน้ รูปโลหะได้ เนื่องจากแก้วหดตัวช้าทาให้หลุด
ออกจากแบบพิมพ์โลหะได้ยาก อย่างไรก็ตามการควบคุมการถ่ายเทความร้อนของแก้วทาได้ยากมาก ดังนัน้
ความเสีย หายของผลิต ภัณ ฑ์แ ก้ว หรือ การแตกของแก้ว ในระหว่ า งการขึ้น รูป จึง เกิด ขึ้น บ่ อ ย ดัง นัน้ ใน
กระบวนการขึน้ รูปอาจมีการเก็บข้อมูลของอุณหภูมทิ เ่ี ปลีย่ นไปในแต่ละขัน้ ตอน อุณหภูมขิ องแก้วทีเ่ ปลี่ยนไป
ทีเ่ วลาต่าง ๆ และเวลาทีใ่ ช้ในการขึน้ รูป เพื่อนาไปสู่การคานวณทางคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างสมการทีส่ ามารถ
ใช้เป็ นแนวทางในการควบคุมขัน้ ตอนต่าง ๆ ในกระบวนการขึน้ รูป เพื่อลดปั ญหาทีเ่ กิดจากการถ่ายเทความ
ร้อนของแก้ว

ตาราง 2.1 ความหนืดทีเ่ หมาะสมของแต่ละช่วงในขัน้ ตอนการผลิตแก้ว [ดัดแปลงจาก C.L. Babcock (1977)]


กระบวนการผลิ ต ค่า log [ความหนื ด;พอยส์]*
ขัน้ ตอนการหลอม (Melting) 1.7 – 2.0
ขัน้ ตอนการทาให้ส่วนผสมเข้ากันเป็ นเนื้อเดียว (Homogenisation) 2.0 – 2.5
ขัน้ ตอนการขึน้ รูป และ กระบวนการหลังการขึน้ รูป 2.5 – 8.0
- จุดอ่อนตัว (Softening point) 7.6
ขัน้ ตอนการอบอ่อน 12.0 – 15.0
- การอบอ่อน (Annealing point) 13.0
- จุดความเครียดตา่ ** (Strain point) 14.5
* log[ความหนืดในหน่วยพอยส์ (poise)] = log[ความหนืดในหน่วยพาสคัลวินาที (PaS)]+1
10 พอยส์ หรือ 10 P = 1 PaS
** จุดความเครียดต่า (Strain point) คือ จุดทีส่ ามารถลดอุณหภูมแิ ก้วจนถึงอุณหภูมหิ อ้ งได้โดยไม่ตอ้ งควบคุม
อัตราการเย็นตัว

โดยสรุปแล้วขัน้ ตอนการขึ้นรูปแก้วจะขึ้นอยู่กบั สมบัตติ ่าง ๆ ของแก้วและน้ าแก้ว เช่น การถ่ายเท


ความร้อน (Heat transfer) โดยเฉพาะอย่างยิง่ ด้วยวิธ กี ารนาความร้อน (Conduction) และวิธกี ารแผ่ความ
ร้อน (Radiation) ความหนืดของแก้ว (Viscosity) ความตึงผิว (Surface tension) อุณหภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ น
ของเหลว (Liquidus temperature) ความร้ อ นจ าเพาะ (Specific heat) ความหนาแน่ น (Density) ซึ่ง มี
ความสัม พัน ธ์ก ับ ปริม าตรจ าเพาะ (Specific volume) และค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ น
(Coefficient of thermal expansion) เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 22
2.4 ขัน้ ตอนการอบอ่อน (Annealing process)

จากทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วว่าแก้วมีปริมาตรและเอนทาลปี สงู กว่าผลึก (รูป 1.2) อีกทัง้ การลดอุณหภูมอิ ย่าง


รวดเร็ว ในระหว่างการขึ้นรูปจะทาให้แ ก้ว มีค วามเครียด (Strain) คงค้างสูง เพื่อ เป็ นการลดความเครีย ด
ดังกล่าวจึงต้องนาแก้วทีข่ น้ึ รูปเสร็จสมบูรณ์ แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการอบอ่อน เพื่อลดความเครียดทีค่ งค้างใน
แก้วจากขัน้ ตอนการขึน้ รูปและเป็ นขัน้ ตอนทีท่ าให้โครงสร้างแก้วมีความเสถียร ความเสถียรของแก้วจะส่งผล
ทาให้สมบัตติ ่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์แก้วมีความคงทีท่ อ่ี ุณหภูมหิ อ้ ง

ความเครียดดังกล่าวอาจเกิดขึน้ มากในผลิตภัณฑ์ทม่ี คี วามหนา เมื่อแก้วเย็นตัวลงในระหว่างการขึน้


รูป ผิวภายนอกจะเย็นตัวเร็วกว่าเนื้อแก้ว ที่อ ยู่ด้านใน ทาให้ผวิ แก้วด้านนอกหดตัวเร็วกว่า ภายใน ซึ่งผิว
ภายนอกจะแข็ง ตัว (Rigid) ส่ ว นแก้ว ด้านในจะยังคงเคลื่อ นที่ได้เ นื่อ งจากยัง อยู่ใ นสถานะของเหลวหนื ด
(Viscous liquid) ดังนัน้ ผิวแก้วด้านนอกจะตกอยู่ภายใต้ความเค้นจากแรงกด (Compressive stress) ส่วนเนื้อ
แก้วด้านในทีห่ ดตัวช้ากว่าเนื่องจากสูญเสียความร้อนน้อยกว่า จะเสมือนว่าตกอยู่ภายใต้ความเค้นจากแรงดึง
(Tensile stress) ดังแสดงในรูป 2.2 ความเค้นดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเครียดคงค้างอยูใ่ นแก้วซึง่ ควรจะถูก
กาจัดหรือทาให้ลดลงเหลือไม่เกินค่าทีม่ าตรฐานกาหนดไว้ ด้วยการอบอ่อน (ความเครียดคงค้างในแก้วทีเ่ กิด
จากความหนาของแก้วจะพบน้อยมากในแก้วที่มคี วามบาง เช่นหลอดไฟ หรือ มีลกั ษณะเป็ นเส้นขนาดเล็ก
เช่นไฟเบอร์ เป็ นต้น

รูป 2.2 สภาวะทีแ่ ก้วเกิดความเค้น (Stress) ทีส่ ะสมอยู่ เนื่องจากผลของการหดตัวทีไ่ ม่เท่ากัน

ความเครียดคงค้างของแก้วจะตรวจสอบได้ด้ว ยการวัดสมบัติเ ชิงแสงของแก้ว เช่นการดูลกั ษณะ


ปรากฏของสีท่เี กิดการหักเหแสงโดยแก้ว หากพบความเครียดคงค้างสูง แก้วจะปรากฏเป็ นสีมากกว่า 1 สี
(ดังรูป 2.3) สิง่ นี้เรียกว่าการหักเหสองแนวหรือไบรีฟรินเจนท์ (Birefringent) หากแก้วมีความเครียดคงค้าง
น้อยหรือไม่ม ี แก้วก็จะปรากฏเป็ นสีเพียงสีเดียว ค่าไบรีฟรินเจนท์ (Birefringent) ที่ยอมรับได้ในผลิตภัณฑ์
แก้วจะมากหรือน้อยขึน้ อยู่กบั ชนิดของแก้ว เช่น หากเป็ นแก้วทีใ่ ช้งานเชิงแสง จะต้องมี Birefringent ไม่เกิน
5 มิลลิไมโครเมตรต่อเซนติเมตร หรือ มิลลิไมครอนต่อเซนติเมตร (m/cm) หรือในกรณีของแก้วที่มขี นาด

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 23
ใหญ่ทวไปก็
ั ่ ควรจะมีค่าไม่เกิน 50 – 100 มิลลิไมครอนต่อเซนติเมตร (ค่าไบรีฟรินเจนท์ประมาณ 30 มิลลิ
ไมครอนต่อเซนติเมตร จะเทียบเท่ากับความเค้น (Stress) ทีป่ ระมาณ 150 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือ 1 x 106
พาสคัล)

รูป 2.3 ลักษณะการปรากฏของแก้วภายใต้กล้องจุลทรรศน์แสงของ (ก) แก้วทีไ่ ม่มคี วามเครียดคงค้างซึง่ ไม่


ปรากฏลักษณะของการหักเหสองแนวหรือไบรีฟรินเจนท์ (Birefringent) (ข) และ (ค) ของแก้วทีม่ ี
ความเครียดคงค้างในปริมาณทีต่ ่างกัน [ทีม่ า ณ. เลาห์รอดพันธุ์ (2550)]

การควบคุมให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์แก้วอุตสาหกรรมให้คงทีแ่ ละเป็ นไปตามทีผ่ ซู้ อ้ื ต้องการนัน้ เป็ น


สิง่ ที่สาคัญมาก ดังนัน้ ระหว่างกระบวนการผลิตจะมีขนั ้ ตอนการควบคุมคุณภาพด้านต่าง ๆ เพิม่ เข้ามาใน
กระบวนการผลิต นอกเหนือจากนัน้ ผลิตภัณฑ์ท่พี ร้อมส่งขายยังถูกสุ่มขึน้ มาเพื่อตรวจสอบคุณภาพด้านต่าง
ๆ ก่อนออกจากโรงงานผลิตอีกด้วย โดยขัน้ ตอนนี้อาจใช้แรงงานคนในการตรวจสอบ เช่น การตรวจสอบด้วย
สายตาว่าแก้วมีฟองอากาศหรือสิง่ เจือปนหรือไม่ หรือการใช้เครือ่ งมืออัตโนมัติ เช่น ตรวจวัดขนาด รวมไปถึง
การใช้เครือ่ งมือขัน้ สูงเพื่อตรวจสอบความแข็งแรง องค์ประกอบทางเคมี และสี เป็ นต้น

คาถามท้ายบท

1. กระบวนการหลอมแก้วโดยทัว่ ๆ ไปประกอบไปด้วยกีข่ นั ้ ตอน อะไรบ้าง จงอธิบายการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิด


ขึน้ กับวัตถุดบิ แก้ว น้าแก้ว และแก้วในแต่ละขัน้ ตอน

2. ในขัน้ ตอนต่าง ๆ ของกระบวนการหลอมแก้วจะต้องคานึงถึงปั จจัยใดบ้างทีจ่ ะส่งผลกระทบต่อสมบัตแิ ละ


ลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์แก้ว

3. ความเครียดคงค้างในแก้วหรือความเค้นทีเ่ กิดขึน้ ในแก้วเกิดขึน้ ในกระบวนการใด มีสาเหตุมาจากอะไร


และจะลดความเครียดคงค้างหรือความเค้นทีเ่ กิดขึน้ ได้อย่างไร

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 24
บทที่ 3
เครื่องจักรในกระบวนการผลิ ตแก้ว
Machines in Glass Production Processes

“เครือ่ งจักรทีใ่ ช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก้ว มีความแตกต่างกันออกไปตามขนาดของโรงงาน


อุตสาหกรรมและตามชนิดของผลิตภัณฑ์ทผี ่ ลิต เนือ่ งจากแก้วแต่ละประเภท ล้วนแล้วแต่มกี ระบวนการขึ้น
รูปทีแ่ ตกต่างกัน เช่นขวดแก้ว กระจกแผ่นและแก้วเลนส์ เป็ นต้น ดังนัน้ การทาความเข้าใจถึง หลักการ
ท างานของเครือ่ งมือ และเครือ่ งจัก รในกระบวนการผลิต แก้ว เป็ น สิง่ ทีจ่ าเป็ น สาหรับ ผู้ป ฏิบ ัติง านใน
อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว โดยในบทนี้จะแสดงเครือ่ งมือและเครือ่ งจักรต่าง ๆ ตามขัน้ ตอนต่ าง ๆ ใน
กระบวนการผลิต ซึง่ ได้แก่ ขัน้ ตอนการเตรียมวัตถุ ดิบ ขัน้ ตอนการหลอมแก้ว ขัน้ ตอนการขึ้นรูป และ
ขัน้ ตอนการอบอ่อน”

3.1 ขัน้ ตอนการเตรียมวัตถุดิบและการผสมวัตถุดิบ (Preparing and mixing of raw materials)

วัตถุดบิ ทีใ่ ช้ในการผลิตแก้วจะผ่านขัน้ ตอนการคัดขนาดอนุ ภาค การชังน่ ้ าหนัก และการผสม ก่อนที่


วัตถุดบิ ที่ผสมกันอย่างดีจะถูกป้ อนเข้าสู่เตาหลอม โดยแสดงขัน้ ตอนการผลิตแบบต่อเนื่องในรูป 3.1 เมื่อ
วัต ถุ ดิบ จากผู้ข ายวัต ถุ ดิบ (Supplier) เข้า มาสู่ ก ระบวนการผลิต โดยทัว่ ไปแล้ว ควรทดสอบสมบัติแ ละ
ลัก ษณะเฉพาะต่ า ง ๆ ของวัต ถุ ดิบ เบื้อ งต้น ก่ อ น เช่ น องค์ป ระกอบทางเคมี และขนาดอนุ ภ าค เป็ น ต้น
หลังจากนัน้ วัตถุดบิ แต่ละประเภท รวมไปถึงแก้วรีไซเคิล ทีเ่ รียกว่า Cullet ก็จะถูกนาไปเก็บไว้ยงั ถังเก็บขนาด
ใหญ่ หรือ ไซโล (Silo) แยกตามชนิดของวัตถุดบิ จากนัน้ วัตถุดบิ แต่ละประเภท เช่น ทราย โซดาแอช หินปูน
เฟลด์สปาร์ จะถูกปล่อยลงบนสายพานลาเลียง (Belt conveyor) เพื่อเข้าสู่ถงั ผสม ซึ่งจะผสมวัตถุดบิ แต่ ละ
ชนิดให้เข้ากัน (Homogeneous) แล้วจึงส่งเข้าสู่กระบวนการหลอมแก้วต่อไป

3.2 ขัน้ ตอนการหลอมแก้ว (Melting Process)

เตาหลอมเป็ นเครื่องมือที่สาคัญมากอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิตแก้ว ซึ่งวัตถุดบิ ต่าง ๆ จะเปลี่ยน


สถานะจากของแข็งกลายเป็ นของเหลวในเตาหลอม ก่อนทีจ่ ะถูกส่งต่อไปในกระบวนการขึน้ รูปต่อไป สภาวะ
ในการหลอมแก้วเป็ นสภาวะทีร่ ุนแรง (Extreme condition) กล่าวคือ อุณหภูมสิ ูงมาก มีไอระเหยของก๊าซต่าง
ๆ และมีการกัดกร่อนสูง ดังนัน้ การประดิษฐ์เตาหลอมแก้วจะต้องคานึงถึงปั จจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ความร้อนที่
ให้แก่เตาหลอมนัน้ อาจมาจากหลายแหล่ง ขึน้ กับความสะดวก ราคา หรือปั จจัยอื่น ๆ ตามทีผ่ ปู้ ระกอบการได้
เลือกใช้ เช่น ความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง (ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซหุงต้ม น้ ามัน หรือถ่านหิน เป็ นต้น)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 25
และความร้อนจากไฟฟ้ าเตาทีใ่ ช้แหล่งเชือ้ เพลิงทีแ่ ตกต่างกันจะต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมที่จะทาให้ได้
น้าแก้วหลอมเหลวทีม่ คี วามเป็ นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous) มากทีส่ ุด ในโรงงานผลิตแก้วมักมีการนาความ
ร้อนทีเ่ กิดจากกระบวนการหลอมกลับมาใช้ใหม่แทนทีจ่ ะให้ความร้อนนัน้ ถ่ายเทไปสู่สงิ่ แวดล้อม ซึง่ ทาได้โดย
การดูดความร้อนโดยใช้พดั ลมดูดอากาศดูด เอาความร้อนทีจ่ ะสูญเสียสู่สงิ่ แวดล้อมกลับมาให้กบั วัตถุดบิ เพื่อ
ทาให้วตั ถุดบิ มีอุณหภูมสิ ูงขึน้ ก่อนเข้าสู่เตาหลอม ทาให้สามารถลดพลังงานทีจ่ ะใช้ในการหลอมแก้วได้ อีกทัง้
จะทาให้ความชืน้ ทีม่ อี ยูใ่ นวัตถุดบิ บางประเภทระเหยออกไปก่อนทีว่ ตั ถุดบิ จะเข้าสู่เตาหลอม เตาหลอมแก้วใน
กระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรม สามารถแบ่งประเภทได้ 4 กลุ่ม ได้แก่

1. เตาหลอมแบบหม้ อ (Pot furnace) (รูป 3.2 และ 3.3) ปริม าณการผลิต แก้ ว จากเตาชนิ ด นี้
ค่อนข้างน้ อยและมักใช้ในการหลอมแก้วชนิดพิเศษที่มฐี านการผลิตไม่มากหรือไม่บ่อย เช่นอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก หรือ อุ ต สาหกรรมในครัว เรือ น ซึ่ง เหมาะกับ กระบวนการผลิต ที่ม ีข นั ้ ตอนที่ไ ม่ต่ อ เนื่ อ ง หรือ
กระบวนการแบบชุด (Batch process) เตาประเภทนี้มปี ระสิทธิภาพในการหลอมต่ า โดยน้ าแก้วจะถูกหลอม
ในหม้อทีท่ าจากเซรามิก ภายในเตาหลอมประเภทนี้จงึ มักจะประกอบไปด้วยถ้วยหลอมหลาย ๆ ใบ เข้าหลอม
พร้อม ๆ กัน เตาประเภทนี้จะทาให้น้ าแก้วหลอมเป็ นเนื้อเดียวกันทาได้ค่อนข้างยาก ซึง่ อาจจะต้องใช้การคน
หรือการพ่นอากาศผ่านท่อเหล็กสู่น้าแก้วหลอมโดยตรงขณะทีแ่ ก้วเป็ นของเหลวสมบูรณ์

รูป 3.1 ขัน้ ตอนต่าง ๆ ในกระบวนการเตรียมวัตถุดบิ [ดัดแปลงจาก http://de.verallia.com/en/about-


glass/glass-production]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 26
2. ตาหลอมแบบถัง (Day tank furnace) เป็ นเตาที่เ หมาะกับกระบวนการผลิต แบบไม่ต่ อ เนื่ อ ง
เช่นกัน โครงสร้างของเตาและลักษณะของเตามีความแตกต่ างจากเตาหลอมแบบหม้อ (Pot furnace) ขนาด
ของเตา รูปร่างของเตา และวิธกี ารให้ความร้อนของเตาหลอมแบบถังจะมีความแตกต่างกันมากมายขึน้ อยู่กบั
ผูอ้ อกแบบและชนิดของการผลิต เป็ นต้น

รูป 3.2 เตาหลอมแบบหม้อ (Pot furnace) แสดงให้เห็นช่องเปิ ด (ลูกศรชี)้ ทีส่ ามารถนาน้ าแก้วหลอมออกมา
ขึน้ รูปด้วยวิธตี ่าง ๆ แบบไม่ต่อเนื่องได้ [ดัดแปลงจาก http://www.cosmile.org/glass.htm]

รูป 3.3 โครงสร้างภายในของเตาหลอมแก้วแบบหม้อ (Pot furnace) ขนาดเล็ก


[ทีม่ า http://www.glassnotes.com/notes.html]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 27
3. เตาหลอมแบบถังต่ อเนื่ อง (Continuous tank furnaces) เตาประเภทนี้เหมาะกับอุตสาหกรรม
ขนาดใหญ่ และมีการผลิตอยู่ตลอด 24 ชัวโมง ่ เช่นในอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร และการ
ผลิตขวดแก้ว เป็ นต้น ซึง่ มักจะใช้ร่วมกับเครื่องขึน้ รูปชนิดอัตโนมัติ พิจารณาแบบของเตาหลอมแบบต่อเนื่อง
ดังรูป 3.4 โดยการหลอมจะใช้พลังงานจากก๊าซทาให้เกิดความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง โดยบริเวณที่
เกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิงจะอยู่เหนือส่วนผสมวัตถุดบิ (ดังแสดงในรูป 3.5) การหลอมจะอยู่ส่วนต้นของเตา
หลอม เมื่อเกิดการหลอมสมบูรณ์ น้ าแก้วที่หลอมสมบูรณ์จะถูกดึงออกที่ปลายทางของเตาหลอม รูป 3.4
แสดงช่องทางออกทัง้ หมด 9 ช่องทางออกใช้สาหรับ 9 สายการผลิต เตาหลอมประเภทนี้ส่วนผสมจะถูกป้ อน
อย่างต่อเนื่อง และน้าแก้วทีห่ ลอมสมบูรณ์กจ็ ะถูกใช้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซึง่ บริเวณทีน่ ้าแก้วถูกดึงออกไป
ใช้นัน้ จะมีอุณหภูมติ ่ ากว่าบริเวณหลอมเล็กน้อย เพื่อให้น้ าแก้วมีความหนืดเหมาะสมกับการขึ้นรูป การลด
อุณหภูม ิ อาจทาโดยการสร้างกาแพงกัน้ เหนือบริเวณน้าแก้วระหว่างห้องหลอม (บริ เวณ ข) กับช่องดึงน้าแก้ว
(บริ เวณ ค) เพื่อให้ความร้อนไม่แผ่ไปยังบริ เวณ ค อีกทัง้ จะทาให้ความร้อนบริเวณห้องหลอมเกิดการสูญเสีย
ความร้อนน้อย โดยการออกแบบเตาเพื่อให้ความร้อนจากการเผาไหม้เชือ้ เพลิงเป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพนัน้
ขึน้ อยูก่ บั ผูอ้ อกแบบ เชือ้ เพลิงทีใ่ ช้ จานวนสายการผลิตและเครื่องมือทีใ่ ช้ขน้ึ รูป เป็ นต้น เตาประเภทนี้มกี าลัง
การผลิตสูงมาก (อยู่ในช่วง 50 – 300 ตันต่อวัน) หากเป็ นสายการผลิตกระจก (แก้วแผ่น) จะมีกาลังการผลิต
สูงขึน้ ได้ถงึ 700 ตันต่อวัน

รูป 3.4 แบบของเตาหลอมแก้ว (มุมสูง : Top view) แสดงบริเวณป้ อนวัตถุดบิ (บริ เวณ ก) บริเวณทีเ่ กิดการ
หลอมกลายเป็ นของเหลวหรือห้องหลอมซึง่ เป็ นบริเวณทีม่ อี ุณหภูมสิ งู ทีส่ ุด (บริ เวณ ข) และบริเวณน้าแก้วถูก
ดึงออกไปสู่ขนั ้ ตอนการขึน้ รูป (บริ เวณ ค) [ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 28
รูป 3.5 ลักษณะการให้ความร้อนเหนือวัตถุดบิ และน้าแก้ว โดยการใช้หวั พ่นไฟ (Burner)
[ทีม่ า http://www.glassonweb.com/articles/article/854]

4. เตาไฟฟ้ า (Electric furnace) เตาทัง้ สามชนิดดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วข้างต้นจะมีประสิทธิภาพการใช้


ความร้อนทีต่ ่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิง่ เตาแบบ Pot furnace หรือในกรณีของเตาแบบ Tank furnace พบว่ามี
ประสิทธิภาพอยู่ประมาณร้อยละ 20 – 35 โดยความร้อนที่เหลือจะสูญเสียไปสู่สภาพแวดล้อม เช่น อุปกรณ์
ภายในเตา ผนังเตาและบรรยากาศ เป็ นต้น การใช้แหล่งให้ความร้อนจากไฟฟ้ าทาให้ประสิทธิภาพการใช้
พลังงานสูงขึน้ โดยอุปกรณ์ทใ่ี ห้ความร้อน เช่น แท่งให้ความร้อน (Heating electrode หรือ Heating Booster)
ซึง่ จะให้ความร้อนโดยตรงกับวัตถุดบิ การใช้แท่งให้ความร้อนร่วมกับการให้ความร้อนเหนือวัตถุดบิ (ดังทีใ่ ช้
อยู่ในเตา 3 ประเภทที่ได้กล่าวมาแล้ว) จะทาให้ประสิทธิภาพการเพิม่ อุณหภูมแิ ก่ วตั ถุดบิ สูงขึ้น โดยจะมี
อุณหภูมสิ งู ขึน้ เร็วกกว่าการให้ความร้อนเหนือวัตถุดบิ เพียงอย่างเดียว นอกเหนือจากการใช้แท่งให้ความร้อน
เสริมกับการใช้พลังงานประเภทอื่นแล้ว ยัง มีการพัฒนาเตาเผาทีใ่ ห้ความร้อนด้วยพลังงานไฟฟ้ าเพียงแหล่ง
เดียว (รูป 3.6) โดยให้ความร้อนจากแผ่นให้ความร้อนที่ทาจากโมลิบดีนัม (Molybdenum plate electrode)
จากรูปจะแสดงให้เห็นส่วนที่วตั ถุดบิ ถูกป้ อนและได้รบั ความร้อนจากแผ่นให้ความร้อน (หมายเลข 5) โดย
วัต ถุ ดิบ จะถู ก ป้ อ นเหนื อ บริเ วณที่ไ ด้ร บั ความร้อ น ซึ่ง จะช่ ว ยป้ อ งกัน ไม่ ใ ห้ เ ตาหลอมสูญ เสีย ความร้อ น
สู่บรรยากาศมากเกิน และยังช่วยป้ องกันการระเหยของน้ าแก้ว ที่หลอมเหลวแล้ว อีกด้วย จากนัน้ น้ าแก้วที่
หลอมสมบูรณ์จะไหลไปตามช่อง (หมายเลข 2) ไปยังช่องที่น้ าแก้วจะถูกนาไปขึ้นรูป หรือ ห้องที่น้ าแก้ว
พร้อมใช้งาน (Working chamber) (หมายเลข 3, 4)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 29
รูป 3.6 เตาหลอมแก้วซึง่ ให้ความร้อนด้วยแผ่นให้ความร้อน โดย หมายเลข 1 คือ บริเวณทีห่ ลอมวัตถุดบิ
ทัง้ หมด หมายเลข 2 คือ ช่องทีใ่ ห้น้าแก้วทีห่ ลอมเป็ นของเหลวไหลไปสู่บริเวณทีพ่ ร้อมใช้งาน หรือ
Working zone (หมายเลข 3 และ 4) และหมายเลข 5 คือ แผ่นให้ความร้อนชนิดโมลิบดีนัม
[ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

นอกเหนือจากเตาชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพของการใช้พลังงานสูง แล้ว (ประมาณ 60 – 80 %) ยังมีขอ้ ดีอ่นื ๆ


ของเตาทีใ่ ห้ความร้อนด้วยไฟฟ้ าอีก ได้แก่

1. เนื่องจากการออกแบบเตาที่ช่วยให้อตั ราการระเหยของน้ าแก้วต่ า ทาให้การระเหยของสารที่มคี วามเป็ น


พิษในน้าแก้วลดลง โดยสารพิษทีม่ กั พบในอุตสาหกรรมแก้ว ได้แก่ ฟลูออรีน และ ตะกัว่ เป็ นต้น

2. ควบคุมอุณหภูมไิ ด้งา่ ย เนื่องจากแหล่งให้ความร้อนคือแท่งให้ความร้อน หรือแผ่นให้ความร้อน ซึง่ สามารถ


ควบคุมอุณหภูมจิ ากการควบคุมปริมาณกระแสไฟทีจ่ ่ายให้กบั แหล่งให้ความร้อน ในกรณีของการใช้เชือ้ เพลิง
ฟอสซิล (ก๊าซธรรมชาติหรือน้ ามัน) จะต้องควบคุมปั จจัยหลายอย่างเพื่อให้ได้อุณหภูมติ ามต้องการเพื่อให้เกิด
การเผาไหม้ทเ่ี หมาะสมและให้ได้ความร้อนตามต้องการ เช่น อัตราส่วนเชือ้ เพลิงต่ออากาศ ช่องว่าภายในเตา
หลอมเหนือวัตถุดบิ และความดันภายในเตา เป็ นต้น หากอุณหภูมกิ ารหลอมไม่สูงเพียงพอจะทาให้การหลอม
ไม่สมบูรณ์ และจะส่งผลต่อกระบวนการผลิตขัน้ ตอนอื่น ๆ และส่งผลให้เกิดตาหนิในแก้วได้

อย่างไรก็ต ามเตาประเภทนี้ อ าจเกิดปั ญ หาในบางกรณี เช่น การปนเปื้ อ นของโมลิบดีนัม ในแก้ว


เนื่องจากน้ าแก้วหลอมจะสัมผัสกับแผ่นหรือแท่งให้ความร้อนโดยตรง ซึง่ อาจเกิดปฏิกริ ยิ าระหว่างโมลิบดีนัม

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 30
กับแก้วได้ โดยมีแนวทางในการแก้ไขปั ญหาโดยการใช้แหล่งให้ความร้อนทีท่ าจากวัสดุชนิดออกไซด์ของดีบุก
(SnO2) แทน

ในการออกแบบเตาหลอมแก้ว นอกเหนือจากข้อมูลที่ได้กล่า วไปข้างต้นแล้ว สิง่ หนึ่งที่สาคัญในการ


สร้างเตาหลอมคือวัสดุทนไฟ (Refractory) ที่ใช้ก่อสร้างเตาหลอม วัสดุดงั กล่าวจะสัมผัสโดยตรงกับน้ าแก้ว
หลอม ในสภาวะการหลอมทีร่ ุนแรงดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว ทาให้ การเกิดปฏิกริ ยิ าระหว่างน้ าแก้วหลอมกับวัสดุ
ทนไฟง่ายขึน้ ดังนัน้ วัสดุทนไฟดังกล่าวจะต้องมีคุณภาพทีส่ ูงมากกว่าวัสดุทใ่ี ช้ทาเตาเผาอุณหภูมสิ ูงทัวไป
่ ใน
การหลอมแก้วเมื่อเริม่ หลอมแล้วจะต้องผลิตต่อเนื่องเป็ นเวลานานมาก เช่นในกรณีของโรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดใหญ่ จะใช้งานเตาหลอมอย่างต่อเนื่องเป็ นเวลานานประมาณ 2 – 7 ปี โดยหลอมตลอด 24 ชัวโมง ่
จากนัน้ เมือ่ เกิดความเสียหายของเตาจึงซ่อมแซมเตาหลอม ซึง่ อาจจาเป็ นต้องมีการเปลีย่ นวัสดุทนไฟ โดยใน
การซ่อมแซมเตาหลอมจะต้องหยุดกระบวนการผลิตทุกขัน้ ตอน ซึ่งทาให้เกิดความยุ่งยากและมีค่าใช้จ่าย
ค่อนข้างสูง มีรายงานว่าวัสดุทนไฟจะละลายปนเข้าไปในแก้วประมาณ 5 – 15 กิโลกรัมต่อการหลอมแก้ว
1 ตัน

3.3 ขัน้ ตอนการขึ้นรูป (Forming Process)

เมื่อวัตถุดบิ ต่าง ๆ ถูกเปลีย่ นเป็ นน้ าแก้วทีม่ คี วามเป็ นเนื้อเดียวกันและมีความหนืดเหมาะสม น้ าแก้ว


จะได้รบั แรงกระทาต่าง ๆ เช่น แรงจากการกดอัด (Pressing) จากการเป่ า (Blowing) จากการรีด (Rolling)
และจากการดึง (Drawing) เพื่อขึน้ รูปเป็ นรูปทรงต่าง ๆ เช่น

3.3.1 การผลิ ตภาชนะกลวงที่มีรปู ร่างต่ าง ๆ

ในการผลิตภาชนะที่มรี ูปทรงต่ าง ๆ เช่น ขวด แก้ว และเหยือก ในการผลิต นัน้ มักใช้วธิ กี ารกดหรือ
การเป่ า ซึง่ จะเริม่ จากการหยดน้ าแก้วหนืดลงในแบบพิมพ์ โดยในการหยดจะต้องมีปริมาณของน้ าแก้วเท่า ๆ
กันในแต่ละครัง้ ของการหยด ซึง่ ควบคุมจากเครือ่ งมืออัตโนมัติ ทีเ่ รียกว่าเครือ่ งป้ อนน้ าแก้ว หรือ Gob feeder
ซึ่งก้อนน้ าแก้วหนืดที่ถูกทาให้เป็ นก้อนเพื่อเข้าเครื่องขึน้ รูปจะเรียกว่าก้อนแก้ว (Gob) อีกวิธหี นึ่งที่สามารถ
ป้ อ น ก้อ นแก้ว ลงในแบบพิมพ์นัน้ ทาได้โดยการใช้เ ครื่อ งดูด (Suction machine) แต่ เ ป็ นที่นิยมน้ อ ยมาก
หลักการทางานของเครื่องป้ อนน้ าแก้ว (Gob feeder) (รูป 3.7 ก และ ข) ณ บริเวณฟอร์ฮาร์ท (Forehearth)
(รูป 3.7 ค) หรือบริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างเตาเผากับเครื่องขึน้ รูป เป็ นบริเวณที่น้ าแก้วจะลดอุณหภูมลิ งจน
แก้วมีความหนืดเหมาะสม ตรงบริเวณส่วนปลายของฟอร์ฮาร์ท (Forehearth) นี้เองจะมีเครือ่ งป้ อนน้ าแก้วติด
ตัง้ อยู่ ซึง่ จะมีหวั กด (Plunger) คอยกดน้ าแก้วให้หยดลงมาด้านล่าง จากนัน้ จะมีใบมีด (Blade) ตัดน้ าแก้วให้
หล่นลงไปในแบบพิมพ์โลหะทีอ่ ยู่ดา้ นล่าง จากนัน้ เครื่องขึน้ รูป จึงทางานต่อไป ซึง่ ใช้ลกั ษณะการขึน้ รูปหลาย
แบบ ได้แก่

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 31
รูป 3.7 (ก) หลักการทางานของเครือ่ งป้ อนน้ าแก้ว (Gob feeder) [ทีม่ า J. Hlavac (1983)]
(ข) แบบจาลองสามมิตขิ องเครือ่ งป้ อนน้ าแก้ว (Gob feeder) [ทีม่ า http://www.parkinson-
spencer.co.uk/SpecialParts.html] และ (ค) ส่วนของฟอร์ฮาร์ท (Forehearth)
[ทีม่ าhttp://www.cgeglass.com.cn/cge/en]

เครื่องขึ้นรูปที่ ทางานด้วยการกด (Pressing) ก้อนแก้ว (Gob) จะถูกกดให้แนบชิดกับแบบพิมพ์


ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ แบบพิมพ์ด้านล่าง แท่งกด (Plunger) และวงแหวน (Ring) ซึ่งวงแหวนจะทาให้
แก้วไม่ไหลออกมาภายนอกแบบพิมพ์ และสามารถควบคุมความหนาและขอบของผลิตภัณฑ์อกี ด้วย โดย
ขัน้ ตอนต่ าง ๆ แสดงดัง รูป 3.8 ภาชนะที่ส ามารถขึ้นรูปด้ว ยวิธ ีน้ี จ ะต้อ งเป็ น ภาชนะที่ม ีรูปร่างภายในไม่
ซับซ้อน เมือ่ แก้วแข็งตัว (Settling) เครือ่ งขึน้ รูปก็จะดึงแท่งกดออกจากแบบพิมพ์ เมือ่ แก้วเย็นตัวมากขึน้ จนก็
หดตัวมากขึน้ และหลุดออกจากแบบพิมพ์ได้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 32
รูป 3.8 การผลิตแก้วด้วยวิธกี ารกด (Pressing) ด้านบนแสดงแบบพิมพ์แบบชิน้ เดียว (Block mold) และ
ด้านล่างแสดงแบบพิมพ์แบบแยกส่วนได้ (Split mold) [ทีม่ า E.B. Shand (1958)]

เครื่องขึ้นรูปด้ วยวิ ธีการเป่ า (Blowing) (รูป 3.9) ก้อ นแก้ว หรือ Gob จะถู กเป่ าให้แนบกับแบบ
พิมพ์โลหะ ซึง่ เป็ นแบบพิมพ์เพียงชุดเดียว ข้อดีของการใช้วธิ นี ้ีคอื การผลิตแก้วให้มรี ปู ร่างซับซ้อนได้มากขึน้
ผลิตภัณฑ์แก้วที่ได้อาจมีรอยต่อ หากใช้แบบพิมพ์หลายส่วนประกบเข้าด้วยกัน เนื่องจากเนื้อแก้วสามารถ
แทรกเข้าไปในช่องว่างระหว่างแบบพิมพ์ ได้ ดังนัน้ ผลิตภัณฑ์ท่ไี ด้จะต้องผ่านกระบวนการกาจัดส่วนเกินนี้
ภายหลัง

รูป 3.9 การผลิตแก้วด้วยวิธกี ารเป่ า (Blowing) [ทีม่ า E.B. Shand (1958)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 33
นอกจากนัน้ ได้มกี ารพัฒนาจากเทคนิคต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเพื่อให้มคี วามสามารถในการขึน้ รูปได้
เร็วขึ้นและสามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ท่มี ีรูปร่างซับซ้อนมากขึ้นได้ ซึ่งจะเป็ นเครื่องจักรที่มขี นาดใหญ่และมี
ความซับซ้อนประกอบด้วยหลายขัน้ ตอน ดังแสดงในรูป 3.10 โดยเครื่องจักรเหล่านี้ได้รบั การออกแบบมา
อย่างดี โดยอาจจะรวมเทคนิคการขึน้ รูปต่าง ๆ หลายวิธดี งั กล่าวข้างต้นเข้าไว้ดว้ ยกัน เช่นการรวมกันระหว่าง
การกดและการเป่ า ที่เรียกว่าเทคนิค Press and blow เป็ นต้น โดยแต่ละเทคนิคอาจเหมาะสาหรับเนื้อแก้ว
หรือการผลิตผลิตภัณฑ์ทแ่ี ตกต่างกัน เช่น

รูป 3.10 เครือ่ งจักรทีใ่ ช้ในกระบวนการขึน้ รูปภาชนะต่าง ๆ


[ทีม่ า (ก) และ (ข) http://www.bdfindustriesgroup.com/glass_container_forming
(ค) http://de.wikipedia.org/wiki/Glasmaschine#IS-Maschinen และ
(ง) http://www.rasko.ru/en/manufacture]

เครื่องขึ้นรูปด้วยวิ ธีการกดอัดและการเป่ า (Press and blow process; PB)

เป็ นวิธที ่นี ้ าแก้วหนืดจะถูกกดอัดเข้าสู่แบบพิมพ์ชุดแรก ต่อจากนัน้ จะถูกเป่ าให้เข้ากับแบบพิมพ์ชุด


ทีส่ อง (ดังรูป 3.11 ก) วิธนี ้ีจะเหมาะกับการขึน้ รูปภาชนะปากกว้าง เหมาะกับผลิตภัณฑ์ทม่ี คี วามหนาเท่ากัน
ตลอดทัวทั่ ง้ ชิน้ งาน และเป็ นกระบวนการผลิตทีม่ คี วามรวดเร็ว (เร็วกว่า BB process ซึง่ จะกล่าวถึงต่อไป) ใน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 34
ปั จจุบนั มีว ิธ ีท่ถี ู ก ปรับปรุงเพื่อ ให้ผ ลิต ได้เ ร็ว มากขึ้น ถึง 15 - 20% ใช้มวลแก้ว น้ อ ยลงประมาณ 30% และ
เพื่อให้สามารถขึน้ รูปผลิตภัณฑ์ทม่ี คี วามหนาของผลิตภัณฑ์ไม่เท่ากันได้ ซึง่ เรียกว่าวิธกี ารกดอัดและการเป่ า
แบบคอแคบ (Narrow neck press and blow; NNPB) และมีขอ้ ดีคอื มีอายุการใช้งานของแบบพิมพ์นานขึน้

เครื่องขึ้นรูปด้วยวิ ธีการเป่ าและเป่ า (Blow and blow process; BB)

วิธกี ารนี้น้ าแก้วหนืดจะถูกเป่ าให้แนบติดกับแบบพิมพ์โลหะ ทัง้ 2 ชุด (ดังรูป 3.11 ข) วิธนี ้ีมขี อ้ ดีคอื
สามารถขึน้ รูปผลิตภัณฑ์ทม่ี รี ปู ร่างได้หลากหลาย (ยกเว้นประเภทเหยือก โถ หรือภาชนะปากกว้าง) ซึง่ ต่อมา
ถูกพัฒนาให้สามารถผลิตได้เร็วขึน้ ประมาณ 10 – 15 % และลดการใช้ปริมาณแก้วได้ประมาณ 10 – 15 %
ซึง่ วิธดี งั กล่าวเรียกว่าวิธกี ารปั ม๊ สุญญากาศ (Blank vacuum (BVP-551))

รูป 3.11 วิธกี ารขึน้ รูปด้วย (ก) วิธกี ดอัดและเป่ า และ (ข) วิธเี ป่ าและเป่ า
[ที่มา http://www.britglass.org.uk/container-glass-manufacture]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 35
3.3.2 การผลิ ตกระจกแผ่น

ในกระบวนการผลิตกระจกหรือแก้วแผ่ นนัน้ มักใช้ 2 วิธกี ารหลัก ๆ คือวิธกี ารดึง (Drawing) และ


วิธกี ารรีด (Rolling) โดยการขึน้ รูปด้วยวิธกี ารดึงนัน้ ได้ออกแบบโดยชาวเบลเยีย่ มที่ช่อื Émile Fourcault ทา
ให้กระบวนการนี้ถูกเรียกว่ากระบวนการโฟร์คอลท์ (Fourcault process) (รูป 3.12 ก) ซึง่ เครื่องขึน้ รูปจะ
ประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า หัวปล่ อยแก้ว (Debiteuse) (รูป 3.12 ข) ทาจากวัสดุทนไฟ ลักษณะคล้ายเรือ
ลอยอยูบ่ นน้ าแก้วทีห่ ลอมสมบูรณ์ และมีช่องทีม่ คี วามกว้างตามขนาดความหนาของกระจกทีต่ อ้ งการ โดยหัว
ปล่อยแก้ว (Debiteuse) จะเป็ นตัวควบคุมความหนาของกระจก และยังทาให้แก้วเย็นตัวอย่างรวดเร็วอีกด้วย
ซึ่งถือเป็ นหน้าที่ท่สี าคัญ แผ่นแก้วจะถูกดึงขึน้ ด้านบนเพื่อลดอุณหภูม ิและจะทาให้แก้วแข็งตัว (รูป 3.12 ค)
แก้วทีม่ คี วามแข็งตัวเหมาะสมแล้ว จะถูกลาผ่านเข้าสู่กระบวนการอบอ่อนในทีส่ ุด วิธนี ้ีสามารถผลิตแก้วที่ม ี
ความหนาอยู่ในช่วง 0.8 – 10 มิลลิเมตร (มีความกว้างประมาณ 2 เมตร) ความเร็วในการผลิตจะขึน้ อยู่กบั
ความหนาของกระจก ตัวอย่างเช่นการผลิตกระจกที่มคี วามหนา 2 มิลลิเมตร จะมีความเร็วในการผลิตอยู่ท่ี
ประมาณ 100 – 130 เมตรต่อชัวโมง ่ อย่างไรก็ตามวิธนี ้ีมขี อ้ จากัด คือ อาจเกิดตาหนิในแก้วได้ง่าย โดยมี
สาเหตุมาจากผิวของหัวปล่อยแก้ว (Debiteuse) เกิดการชารุดในระหว่างการผลิต ดังนัน้ จึงมีการคิดค้นวิธใี หม่
ๆ มากมายเพื่อแก้ไขปั ญหาดังกล่าว

รูป 3.12 การผลิตกระจกด้วย (ก) กระบวนการโฟร์คอลท์ (Fourcault process)


[ทีม่ า http://uwe.port.ac.uk/glass/oldglass/section4.htm] ซึง่ ประกอบไปด้วย (ข) หัวปล่อยแก้ว
(Debiteuse) ทีช่ ่วยในการคุมขนาดของกระจก และ (ค) ขัน้ ตอนการดึงผ่านอุปกรณ์ทาความเย็น
[ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 36
การผลิตกระจกด้วยวิธกี ารรีด (Rolling) มีหลักการคือการรีดน้ าแก้วหนืดผ่านแท่งรีด (Roller) ซึง่ เป็ น
ตัวกาหนดความหนาของกระจก วิธนี ้ีเป็ นวิธที ใ่ี ช้ผลิตกระจกหลายประเภท โดยกระจกทีไ่ ด้จะมีความขรุขระ
อยู่ทาให้วธิ กี ารนี้จะต้องมีกระบวนการต่อเนื่องเพื่อทาให้กระจกเรียบและมีความใสมากขึน้ เช่นการขัดกระจก
ซึง่ เป็ นขัน้ ตอนทีใ่ ช้พน้ื ที่ของโรงงานมาก และมีค่าใช้จ่ายในการขัดสูง ดังนัน้ จึงเกิดการพัฒนาเทคนิคที่ใช้กนั
อย่ า งแพร่ ห ลายในปั จจุ บ ัน คื อ วิ ธี ล อยแก้ ว (Float process) ดัง รูป 3.13 ซึ่ ง พัฒ นาโดย Sir Alastair
Pilkington เป็ นวิธที ่ที าให้กระจกเรียบได้โดยการให้น้ าแก้วหลอมลอยอยู่บนโลหะหลอมเหลว เช่น อ่างดีบุก
เหลว (Tin bath) ทีเ่ ป็ นทีน่ ิยมโดยทัวไป ่ เทคนิคนี้แก้วทีห่ ลอมสมบูรณ์จะถูกทาให้แผ่ บนอ่างดีบุก ความหนา
ของกระจกจะถูกควบคุมโดยการคานวณจากสมดุลระหว่างแรงดึงดูดของโลก (Gravitational force) ทีก่ ระทา
ต่อน้ าแก้วหลอม และแรงตึงผิวของโลหะด้านล่าง ณ สภาวะสมดุลของแรงสองแรงดังกล่าวจะทาให้แก้วมี
ความหนาประมาณ 6 – 7 มิลลิเมตร หากต้องการความหนามากขึน้ จะต้องปรับความกว้างของกระจก โดย
การควบคุมระยะการแผ่ของน้ าแก้วหลอมให้พอดี เนื่องจากวิธนี ้ีอาศัยโลหะหลอมเหลว ดังนัน้ จึงต้องป้ องกัน
การเกิดปฏิกริ ยิ าออกซิเดชันของโลหะหลอมเหลวกับอากาศในเตาหลอม โดยทัวไปใช้ ่ บรรยากาศของก๊าซ
ไนโตรเจนผสมกับไฮโดรเจน (N2+H2) ซึง่ เป็ นบรรยากาศรีดวิ ซ์ (Reducing atmosphere) ความหนืดของแก้ว
ในช่วงทีผ่ ่านอ่างดีบุกจะอยู่ท่ปี ระมาณ 104 เดซิพาสคัลวินาที (dPas) โดยผิวบนของแก้วจะต้องได้รบั ความ
ร้อนในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อควบคุมความหนืดของแก้ว และควบคุมอัตราการเย็นตัวของแก้ว จนกระทัง่
ผ่านออกจากอ่างเมื่อมีความแข็งตัวเหมาะสม และจะเข้าสู่การอบอ่อนทีป่ ระมาณ 600 เซลเซียส กระบวนการ
นี้ถูกพัฒนาจนสามารถผลิตแก้วทีม่ คี วามกว้าง 3 เมตร และมีความหนาในช่วง 3 – 15 มิลลิเมตร โดยการผลิต
กระจกหนา 3 และ 6 มิลลิเมตร สามารถทาได้เร็ว 1000 และ 300 เมตรต่อชัวโมง ่ ตามลาดับ กระบวนการนี้
สามารถพัฒนาทาให้ผวิ แก้วมีสมบัตพิ เิ ศษต่าง ๆ ได้ เช่น ทาให้ผวิ แก้วสามารถสะท้อนและดูดกลืนบางความ
ยาวคลื่นแสงได้ ทาให้แก้วสามารถป้ องกันความร้อนได้ระดับหนึ่ง ซึง่ สามารถประยุกต์แก้วนี้กบั งานด้านการ
ก่ อ สร้างและสถาปั ต ยกรรม ซึ่งทาได้โดยการให้แก้ว สัมผัส กับ โลหะผสม (Alloy) ประเภทตะกัว่ ทองแดง
(PbCu) ทีห่ ลอมเหลวอยู่ในระหว่างทีแ่ ก้วลอยอยูใ่ นอ่างดีบุก เมือ่ จ่ายกระแสไฟฟ้ าเข้าไปในระบบ ไอออนของ
โลหะผสมจะสามารถแพร่เข้าสู่ผวิ แก้วได้ ทาให้ผวิ แก้วมีลกั ษณะเป็ นสีทองแดงซึ่งทาให้สมบัติของผิวแก้ ว
เปลี่ย นไป โดยกระบวนการดัง กล่ า วเรีย กว่ า สเปกโทรโฟร์ท (Spectrofloat) หรือ อิ เ ล็ก โทรโฟร์ท
(Electrofloat) เนื่องจากมีการให้กระแสไฟฟ้ าในระหว่างการผลิต

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 37
(ก)

(ข)

รูป 3.13 กระบวนการลอยแก้ว (Float process)


[ทีม่ า (ก) http://global.britannica.com/EBchecked/topic/210354/float-glass-method
(ข) J. Hlavac (1983)]

3.3.3 การผลิ ตท่อแก้ว

เทคนิคที่ใช้ในการผลิตท่อแก้ววิธหี นึ่งคือ กระบวนการแดนเนอร์ (Danner process) ดังรูป 3.14


เมื่อน้ าแก้วหลอมสมบูรณ์ น้ าแก้วจะถูกเทลงบนอุปกรณ์พเิ ศษที่ทาหน้าที่ขน้ึ รูป ทีเ่ รียกว่า หัวฉี ด (Mandrel)
ซึง่ จะหมุนและเป่ าน้ าแก้วหลอมไปพร้อมกัน เมื่อน้ าแก้วไหลผ่านหัวฉีดจะแผ่คลุมทัวทั ่ ง้ หัวฉีด เมื่อได้รบั แรง
เป่ าโดยการพ่นอากาศหรือก๊าซจะทาให้แก้วมีลกั ษณะเป็ นท่อ และทาให้ท่อแก้วมีความยาวขึน้ จากการดึงยืด
ออก อัตราการผลิตท่อแก้วด้วยวิธนี ้ีอยู่ทป่ี ระมาณ 10 – 200 เมตรต่อนาที ขึน้ อยู่กบั ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
ของท่อแก้ว กระบวนการแดนเนอร์ (Danner process) เหมาะกับการผลิตท่อแก้วทีม่ คี วามหนาของท่อไม่มาก
และมีขนาดท่อไม่ใหญ่มาก (เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 4 เซนติเมตร)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 38
(ก) (ข)

รูป 3.14 กระบวนการแดนเนอร์ (Danner process)


[ทีม่ า (ก) http://www.neg.co.jp/EN/technology/process.html และ (ข) J. Hlavac (1983)]

เทคนิคหนึ่งที่ถูกพัฒนาต่อเนื่องจากกระบวนการแดนเนอร์ (Danner process) คือ กระบวนการ


เวลโล (Vello process) ดังแสดงในรูป 3.15 ซึง่ สามารถผลิตท่อแก้วได้หลายขนาด และเหมาะกับแก้วชนิด
บอโรซิลเิ กต ซึง่ การดึงจะดึงในแนวดิง่ ซึง่ แตกต่างจากกระบวนการแดนเนอร์ (Danner process) ทีด่ งึ แก้วใน
แนวนอน โดยในกระบวนการนี้จะมีหวั ฉีดอยู่ในตาแหน่ งของฟอร์ฮาร์ท (Forhearth) ซึ่งหมุนและเป่ าแก้วให้
เป็ นท่อเช่นกัน โดยน้าแก้วจะไหลผ่านรอบ ๆ หัวฉีด ทาให้สามารถกาหนดความหนาและขนาดของท่อแก้วได้
จากขนาดของรูเปิ ดและขนาดของหัวฉีดทีใ่ ช้

รูป 3.15 การผลิตท่อแก้วด้วยกระบวนการเวลโล (Vello process)


[ทีม่ า http://www.eurotherm.com.au/en-gb/industries/glass/tube-glass]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 39
3.4 ขัน้ ตอนการอบอ่อน (Annealing process)

เช่นเดียวกับขัน้ ตอนการหลอม การอบอ่อนจะเป็ นการให้ความร้อนกับแก้วที่อุณหภูมเิ หมาะสมใน


เวลาที่เ หมาะสม และมีก ารควบคุ ม อัต ราการลดอุ ณ หภู ม ิ ซึ่ง เรีย กว่ า การบ าบัด ด้ว ยความร้อ น ( Heat
treatment) โดยขัน้ ตอนนี้จะเป็ นการลดความเครียดคงค้างในแก้วที่เกิดขึน้ ในระหว่างกระบวนการผลิตแก้ว
ก่อนหน้านี้ การควบคุมอุณหภูมใิ ห้เหมาะสมเป็ นสิง่ ทีส่ าคัญทีส่ ุดในขัน้ ตอนนี้ ในกระบวนการผลิตทีต่ ่อเนื่อง
นัน้ เตาอบจะต้องมีความยาวและขนาดทีเ่ หมาะสมกับกาลังการผลิต และอัตราการผลิต เตาทีใ่ ห้ความร้อนใน
ขัน้ ตอนนี้จะมีช่อื เรียกว่า Annealing lehr โดยการออกแบบและที่ตงั ้ ของเตาอบอ่อน (Annealing lehr) จะ
ขึน้ อยูก่ บั ชนิดของผลิตภัณฑ์ และมักให้ความร้อนด้วยไฟฟ้ า

คาถามท้ายบท

1. เตาหลอมแก้วชนิดใดดีทส่ี ุดในความคิดของท่าน เพราะเหตุใด และมีขอ้ จากัดในการใช้งานอย่างไรบ้าง

2. ปั จจัยใดเป็ นปั จจัยทีส่ าคัญในการเลือกวิธกี ารขึน้ รูปผลิตภัณฑ์แก้วด้วยวิธหี รือเทคนิคต่าง ๆ เพราะอะไร


ปั จจัยเหล่านัน้ ถึงสาคัญต่อการเลือกเทคนิคการขึน้ รูป

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 40
บทที่ 4
วัตถุดิบแก้วและการคานวณส่วนผสม
Glass Raw Materials and Batch Calculations

“โดยทัวไปวั
่ ตถุดบิ ทีใ่ ช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก้วจะเป็ นแร่ต่าง ๆ ตามธรรมชาติ
เช่น ทรายแก้ว หินปูน แร่โดโลไมต์ เถ้ากระดูกและหินฟั นม้า เป็ นต้น ซึง่ แร่ต่าง ๆ เหล่านี้เมือ่
ได้รบั ความร้อนในขัน้ ตอนการหลอมแก้ว จะเกิดการปฏิกิรยิ าเคมีต่าง ๆ เช่นการสลายตัว
เพราะความร้อน (Thermal decomposition) การเปลีย่ นแปลงวัฏภาค (Phase transformation) และ
อาจเกิดปฏิกริ ยิ าเคมีระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เป็นต้น ในบทนี้จะได้กล่าวถึงวัตถุดบิ ทีน่ ิยม
ใช้ในอุตสาหกรรมแก้วโดยทัวไป ่ รวมถึงการเปลีย่ นแปลงของวัตถุดบิ เมือ่ ได้รบั ความร้อน
ในขณะหลอม และการคานวณองค์ประกอบทางเคมีของแก้วเบื้องต้น”

4.1 วัตถุดิบแก้ว (Glass raw materials)

วัตถุดบิ แต่ละชนิดที่เป็ นองค์ประกอบที่ทำให้เกิด แก้วล้วนมีหน้ ำที่ท่ตี ่ำงกันออกไปและจะส่งผลต่อ


สมบัตแิ ละลักษณะเฉพำะของแก้ว โดยแบ่งออกได้เป็ น 5 ชนิด คือ ชนิดที่เป็ นโครงร่ำงตำข่ำยแก้ว (Glass
network former หรือ Glass former) ชนิด ที่เ ป็ นตัว ช่ว ยหลอมหรือ ตัวทำลำยโครงร่ำงตำข่ำย (Flux หรือ
Network modifier) ชนิดที่ช่ว ยปรับปรุงสมบัติแก้ว (Properties modifier) ชนิดที่เ ป็ น สำรให้ส ี (Colourant)
และชนิดที่ช่วยลดฟอง (Fining agent) อย่ำงไรก็ตำมสำรประกอบชนิดเดียวกันอำจทำหน้ ำที่ ได้หลำยชนิด
ขึ้นอยู่ก ับชนิดของแก้ว และปริมำณของสำรประกอบนัน้ ๆ ในแก้ว เช่ น ในแก้ว อะลูมเิ นต ซึ่งเป็ นแก้ว ที่
ประกอบด้วยอะลูมนิ ำ (Al2O3) เป็ นหลักในปริมำณมำก อะลูมนิ ำจะเป็ นโครงร่ำงตำข่ำยแก้ว หำกอะลูมนิ ำถูก
เติมลงไปเล็กน้อยในแก้วซิลเิ กตหรือแก้วชนิดอื่น อะลูมนิ ำจะทำหน้ำที่เป็ นตัวปรับสมบัตขิ องแก้ว ออกไซด์
ของสำรหนู (As2O3) ก็สำมำรถทำหน้ำทีไ่ ด้ทงั ้ ตัวโครงร่ำงตำข่ำยของแก้ว หรือ ทำหน้ำทีล่ ดฟองในแก้ว ขึน้ อยู่
กับปริมำณทีเ่ ติมลงไปในส่วนผสม อย่ำงไรก็ตำมสำรประกอบทีส่ ำคัญทีส่ ุดในกำรผลิตแก้วคือสำรประกอบที่
ทำหน้ำทีเ่ ป็ นโครงร่ำงตำข่ำยแก้ว

4.1.1 ตัวโครงร่างตาข่ายแก้ว (Glass former)

แก้วจะต้องมีสำรประกอบทีท่ ำหน้ำทีเ่ ป็ นโครงร่ำงตำข่ำยแก้วเสมอ ซึง่ จะมี 1 ชนิด หรือมำกกว่ำก็ได้


โดยชื่อเรียกระบบแก้วมักเรียกตำมชนิดของตัวโครงร่ำงตำข่ำยทีใ่ ช้ ดังตัวอย่ำงแสดงในตาราง 4.1

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 41
ตาราง 4.1 กำรเรียกชื่อแก้วทีม่ อี งค์ประกอบเคมีต่ำง ๆ กัน

องค์ประกอบทางเคมีของแก้ว ชื่อเรียก
ระบบที่มีโครงร่างตาข่าย 1 ชนิ ด
SiO2 แก้วซิลกิ ำ
Na2OSiO2 แก้วโซเดียมซิลเิ กต
CaOSiO2 แก้วแคลเซียมซิลเิ กต
B2O 3 แก้วโบรอนออกไซด์
Li2OB2O3 แก้วลิเทียมบอเรต
Tl2OB2O3 แก้วแทลเลียมบอเรต
P2 O 5 แก้วฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์
Rb2OP2O5 แก้วรูบเิ ดียมฟอสเฟต
BaOP2O5 แก้วแบเรียมฟอสเฟต
CaOAl2O3 แก้วแคลเซียมอะลูมเิ นต
MgOGa2O3 แก้วแมกนีเซียมแกลเลต
ระบบที่มีโครงร่างตาข่าย 2 ชนิ ด
CaOB2O3SiO2 แก้วแคลเซียมบอโรซิลเิ กต
Na2OAl2O3SiO2 แก้วโซเดียมอะลูมโิ นซิลเิ กต
* ตัวเอียง คือ สำรประกอบกลุ่มทีท่ ำหน้ำทีเ่ ป็ นโครงร่ำงตำข่ำย (Glass former)

สำรประกอบที่เป็ นตัวโครงร่ำงตำข่ำยแก้ว ที่พบว่ำมีกำรผลิตอย่ำงแพร่หลำย ได้แก่ ซิลกิ ำ (SiO2) โบรอน


ออกไซด์ (B2O3) และฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์ (P2O5) นอกจำกนี้ยงั มีสำรประกอบอื่น ๆ ทีส่ ำมำรถทำหน้ำที่
เป็ นตัวโครงร่ำงตำข่ำย ได้แก่ เจอร์มำเนียมไดออกไซด์ (GeO2) บิสมัตไตรออกไซด์ (Bi2O3) ออกไซด์ของ
สำรหนู หรือ อำร์เซนิกไตรออกไซด์ (As2O3) แอนทิโมนีไตรออกไซด์ (Sb2O3) เทลลูเรียมไดออกไซด์ (TeO2)
อะลูมนิ ำ (Al2O3) แกลเลียมไตรออกไซด์ (Ga2O3) และวำนำเดียมเพนตะออกไซด์ (V2O5) โดยซิลกิ ำ โบรอน
ออกไซด์ ฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์ และเจอร์มำเนียมไดออกไซด์ เป็ นสำรประกอบทีส่ ำมำรถเป็ นตัวโครงร่ำง
ตำข่ำ ยได้ต ัว ตัว เอง แต่ อ อกไซด์ท่ีเ หลือ ไม่ส ำมำรถเป็ น ตัว ท ำให้เ กิด แก้ว ได้ด้ว ยตัว เอง ต้อ งผสมกับ ตัว
โครงสร้ำงแก้ว หรือ สำรอื่น จึงจะทำให้เ กิดแก้วได้ หรือ จะต้อ งใช้เทคนิคอื่น ๆ ช่ว ยในกำรขึ้นรูปแก้ว เช่น
เทคนิ ค กำรกำรลดอุ ณ หภูม ิล งอย่ำ งยิ่งยวด (Rapid quenching technique) หรือ เทคนิ ค กำรสะสมของไอ
(Vapour deposition technique) เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 42
นอกเหนื อ จำกแก้ ว ระบบออกไซด์ ข้ำ งต้ น แล้ ว ยั ง มีต ัว โครงร่ ำ งตำข่ ำ ยของแก้ ว ชำลโคจีไ นด์
(Chalcogenide glass) ได้แก่ ธำตุ ซลั เฟอร์ (S) ซีลเี นียม (Se) และ เทลลูเรียม (Te) และสำหรับแก้วแฮไลด์
(Halide glass) จะนิยมใช้เบริลเลียมฟลูออไรด์ (BeF2) และเซอร์โคเนียมฟลูออไรด์ (ZrF4) เป็ นตัวโครงร่ำง
ตำข่ำยแก้ว

4.1.2 ตัวช่วยหลอม (Flux) หรือ ตัวปรับโครงสร้างแก้ว (Glass network modifier)

ซิลกิ ำเป็ นตัวโครงร่ำงตำข่ำยทีด่ ี สำมำรถผลิตแก้วได้ดว้ ยตัวเอง นอกจำกนี้แก้วซิลกิ ำยังถูกนำไปใช้


กับกำรใช้งำนหลำย ๆ ด้ำน เช่น ขวดแก้วซิลกิ ำ กระจกซิลกิ ำ หลอดแก้วซิลกิ ำ เป็ นต้น แต่อย่ำงไรก็ตำมกำร
ผลิตแก้วซิลกิ ำต้องใช้อุณหภูมกิ ำรหลอมแก้วทีส่ งู มำก (สูงมำกกว่ำ 2000 C) กำรเติมตัวช่วยหลอมเพิม่ ลงไป
ในซิลกิ ำเพื่อให้เกิดแก้วซิลเิ กตจะสำมำรถลดอุณหภูมกิ ำรหลอมลงได้ โดยจะอยู่ทต่ี ่ ำกว่ำ 1600 C ขึน้ อยู่กบั
ชนิดและปริมำณของตัวช่วยหลอมทีเ่ ติมลงไป โดยส่วนมำกแล้วตัวช่วยหลอมทีน่ ิยมเติมลงไป ได้แก่ ออกไซด์
ของธำตุกลุ่มอัลคำไลน์ (Alkaline oxide) เช่น โซเดียมออกไซด์ (Na2O) และ โพแทสเซียมออกไซด์ (K2O)
เป็ นต้น นอกเหนือจำกนัน้ พบว่ำตะกัวออกไซด์
่ (PbO) ซึง่ เป็ นตัวช่วยหลอมทีด่ ที ส่ี ุด ชนิดของตัวช่วยหลอมที่
นิยมเติมในแก้วเพื่อลดอุณหภูมกิ ำรหลอมแสดงในตาราง 4.2 กำรเติมตัวช่วยหลอมลงไปในแก้วในปริมำณที่
ต่ำงกันจะส่งผลต่อกำรเปลี่ยนแปลงของสมบัตขิ องแก้วด้ำนต่ำง ๆ เช่นควำมแข็งแรง และควำมทนทำนต่อ
สำรเคมี เป็ นต้น ซึ่งปั ญ หำนี้อำจจะแก้ไ ขได้ด้ว ยกำรเติมสำรปรับสมบัติแก้ว ของแก้วลงไป เช่น อะลูมนิ ำ
(Al2O3) เป็ นต้น

วัตถุดบิ อีกประเภทหนึ่งซึ่งสำคัญในกำรผลิตแก้วอุตสำหกรรมโดยเฉพำะอย่ำงยิง่ กระจกแผ่น และ


ขวดแก้ว คือ “เศษแก้ว รีไซเคิล ” (Cullet หรือ Scrap glass) ซึ่งได้มำจำกกำรบดหรือทุบ แก้ว ที่ใ ช้แล้ว ให้ม ี
ขนำดเล็ก ซึ่ง ช่วยลดระยะเวลำในกำรหลอม (batch-free time) โดยระยะเวลำในกำรหลอมเป็ นเวลำที่แก้ว
หลอมสมบูรณ์โดยไม่มอี นุ ภำคของผลึกปนอยู่ กำรเติมเศษแก้วรีไซเคิล เป็ นกำรลดปริมำณวัตถุดบิ ที่หลอม
ยำก (Refractory) ในกระบวนกำรผลิต เนื่องจำกเศษแก้วรีไซเคิล ผ่ำนกำรหลอมและกลำยเป็ นแก้วแล้ว จึง
กลำยเป็ นของเหลวได้ง่ำย อีกทัง้ วัตถุดบิ หลอมยำก (Refractory) สำมำรถเกิดกำรละลำยหรือเกิดปฏิกริ ยิ ำกับ
cullet หลอมเหลวในระหว่ำงกำรหลอมแก้วอีกด้วย นอกเหนือจำกนี้กำรใช้ cullet ยังเพิม่ ปริมำณเฟสของเหลว
(Liquid phase) ในกระบวนกำรหลอมอีกด้วย อีกทัง้ กำรใช้เศษแก้วรีไซเคิลจะช่วยลดปริมำณขยะประเภทแก้ว
อีก ด้ว ย อย่ำ งไรก็ต ำมมีข้อ ควรระวัง คือ ชนิ ด ของเศษแก้ว รีไ ซเคิล นัน้ จะต้อ งทรำบแหล่ ง ที่ม ำและควรมี
องค์ประกอบทำงเคมีเหมือนหรือใกล้เคียงกับแก้วทีก่ ำลังผลิตอยู่ เพื่อควบคุมองค์ประกอบทำงเคมีและสมบัติ
ของแก้ว ที่ผลิตให้คงที่ เช่น หำกจะผลิต ขวดแก้วสีเขียว ควรใช้ เ ศษแก้ว รีไซเคิล ที่ได้จำกแก้วขวดสีเขียว
เป็ นต้น ในบำงทวีปจะมีก ำรคัดแยกชนิดของแก้ว ก่ อ นนำไปหลอมใหม่ว่ำแก้ว ที่จะใช้ผ ลิต มำจำกทวีปใด
เพื่อป้ องกันกำรปะปนขององค์ประกอบบำงประกำรที่ไม่ต้องกำร เนื่องจำกกำรแก้ไขปั ญหำกำรเจือปนของ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 43
องค์ประกอบอื่นในแก้วทำได้ยำกมำก อย่ำงไรก็ตำมในประเทศไทยเริม่ ตระหนักถึงปั ญหำสิง่ แวดล้อมจึงมักมี
กำรนำขวดแก้วในสภำพสมบูรณ์กลับไปใช้ใหม่อกี ครัง้ โดยผ่ำนกระบวนกำรฆ่ำเชือ้ โรคทีม่ ปี ระสิทธิภำพ

ตาราง 4.2 ตัวช่วยหลอมทีพ่ บในแก้วกลุ่มต่ำง ๆ


ตัวช่วยหลอม (Flux) กลุ่มแก้วที่เติ ม
1. โซเดียมออกไซด์ หรือ โซดำ แก้วที่ใช้เป็ นบรรจุภณ
ั ฑ์ (Container glass) และกระจกหน้ำต่ำง
(Na2O) (Window glass)
2. โพแทสเซียมออกไซด์ (K2O) แก้วทำงกำรค้ำทัว่ ๆ ไป (Commercial glass)
3. ลิเทียมออกไซด์ (Li2O) กลำสส์ เ ซรำมิก ทำงกำรค้ำ ทัว่ ๆ ไป (Commercial glass-
ceramic)
4. ซีเซียมออกไซด์ (Cs2O) และ พบในกำรศึกษำระดับห้องปฏิบตั กิ ำรเท่ำนัน้ เนื่องจำกสำรกลุ่มนี้
รูบเิ ดียมออกไซด์ (Rb2O) มีรำคำแพง
5. ตะกัวออกไซด์
่ (PbO) แก้วเพื่อกำรประดับตกแต่ง (Decorative glass) เนื่องจำกสมบัติ
ในกำรหักเหแสงทีด่ ี

4.1.3 สารปรับสมบัติ (Properties modifier)

สมบัตบิ ำงประกำรของแก้วสำมำรถปรับปรุงให้ดขี น้ึ ได้โดยกำรเติมสำรเติมแต่งลงไป โดยสำรกลุ่มนี้


ยกตัวอย่ำงเช่น ออกไซด์ของอัลคำไลน์เอิรธ์ (Alkaline earth oxide) ต่ำง ๆ เช่น แคลเซียมออกไซด์ (CaO)
แบเรียมออกไซด์ (BaO) และแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) เป็ นต้น ออกไซด์ของโลหะทรำนซิชนั (Transition
metal oxide) และอะลูมนิ ำ (Al2O3) สำรสองกลุ่มแรกนอกจำกจะทำหน้ำทีเ่ ป็ นสำรปรับสมบัตขิ องแก้วแล้ว ยัง
มีพฤติกรรมเป็ นตัวช่วยหลอมได้อกี ด้วยแต่ควำมรุนแรงของปฏิกริ ยิ ำนัน้ น้อยกว่ำออกไซด์ของอัลคำไลน์และ
ตะกัวออกไซด์
่ และปริมำณกำรใช้สำรปรับสมบัตทิ เ่ี ติมลงไปในแก้วก็ไม่มำกเท่ำกับตัวช่วยหลอม ดังนัน้ กำร
เติมสำรปรับสมบัตลิ งไปในแก้วมักไม่ส่งผลกระทบต่ออุณหภูมกิ ำรหลอมของแก้ว

จำกงำนวิจยั ของ Rao (1963) ทีศ่ กึ ษำผลของกำรเติมไทเทเนียมไดออกไซด์ หรือไทเทเนีย (TiO2) ใน


ปริมำณต่ ำง ๆ ในแก้ว ระบบ K2O-PbO-SiO2-Ti2O โดยมีปริมำณ K2O ในแก้ว คงที่ และปริมำณ PbO อยู่
ในช่วงต่ำง ๆ ดังแสดงในกรำฟในรูป 4.1 โดย TiO2 จะถูกเติมลงไปแทนที่ SiO2 ในปริมำณต่ำง ๆ พบว่ำ
ควำมหนำแน่ นของแก้ว ค่ำดัชนีหกั เหแสง (Refractive index) ค่ำสัมประสิทธิ ์กำรขยำยตัวเพรำะควำมร้อน
(Coefficient of thermal expansion; CTE) และค่ำคงที่ไดอิเล็กทริก (Dielectric constant) จะเปลี่ยนไปเมื่อ
ปริมำณ TiO2 เปลีย่ นไป แต่กำรเปลีย่ นแปลงสมบัตติ ่ำง ๆ จะไม่เป็ นไปตำมควำมสัมพันธ์เชิงเส้นตรง (Linear
relationship) กล่ ำ วคือ จะมีจุ ด สู ง สุ ด หรือ จุ ด ต่ ำ สุ ด ของสมบัติต่ ำ ง ๆ ดัง แสดงในรูป 4.1 ก. และ 4.1 ข.

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 44
ตำมลำดับ โดยรูป 4.1 ก. แสดงให้เห็นกำรเปลีย่ นแปลงอุณหภูมอิ ่อนตัว (Softening temperature) ของแก้วที่
มีปริมำณ TiO2 ต่ำง ๆ กัน จะเห็นได้ว่ำเมื่อปริมำณ TiO2 เพิม่ ขึ้นในช่วงแรก อุณหภูมอิ ่อนตัวของแก้วจะ
เพิม่ ขึน้ จนเมือ่ ปริมำณ TiO2 ปริมำณหนึ่งแก้วจะมีอุณหภูมอิ ่อนตัวสูงสุด จำกนัน้ เมือ่ เพิม่ ปริมำณ TiO2 เพิม่ ขึน้
อุณหภูมอิ ่อนตัวจะลดลง (เกิดจุดสูงสุด ) ซึ่งตรงข้ำมกับค่ำสัมประสิทธิ ์กำรขยำยตัวเพรำะควำมร้อน () ใน
รูป 4.1 ข. พบว่ำจะเกิดจุดต่ ำสุด ซึง่ ค่ำสูงสุดหรือต่ ำสุดนัน้ จะเปลีย่ นไปตำมปริมำณของ PbO ในแก้วอีกด้วย
โดยสำมำรถอธิบำยปรำกฏกำรณ์ทเ่ี กิดขึน้ จำกกำรเปลีย่ นสภำพแวดล้อมของ Ti4+ กล่ำวคือเมื่อปริมำณ TiO2
น้อย (SiO2 สูง) Ti4+ จะมีสภำพแวดล้อมแบบเตตระฮีดรัล (Tetrahedral หรือ [TiO4]) ทีม่ เี ลขโคออดิเนชันเป็ น
4 สภำพแวดล้อมแบบนี้ทำให้แก้วมีโครงสร้ำงที่แข็งแรงขึน้ ส่งผลทำให้สมบัตดิ ้ำนต่ำง ๆ เปลี่ยนไป ในทำง
ตรงข้ำม TiO2 มำกขึน้ (SiO2 ต่ำลง) Ti4+ จะอยูใ่ นสภำวะแวดล้อมแบบออกตะฮีดรัล (Octahedral หรือ [TiO6])
ทีม่ เี ลขโคออดิเนชันเป็ น 6 โดยแก้วจะมีโครงสร้ำงทีม่ คี วำมแข็งแรงน้อยลง

รูป 4.1 (ก) อุณหภูมกิ ำรอ่อนตัว (Softening temperature) และ (ข) ค่ำสัมประสิทธิ ์กำรขยำยตัวเพรำะควำม
ร้อน (Coefficient of thermal expansion, ) ของแก้วระบบ K2O-PbO-SiO2-TiO2 ทีม่ ปี ริมำณ TiO2 ต่ำงกัน
[ทีม่ ำ B.V.J. Rao (1963)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 45
4.1.4 สารให้สี (Colourant)

แก้วสีเริม่ แรกนัน้ ทำขึน้ เพื่อควำมสวยงำม ต่อมำได้พฒ


ั นำสู่กำรใช้งำนหลำย ๆ ด้ำน เช่น ใช้กรองแสง
(แว่นตำกันแดดหรือหน้ำกำกเชื่อม) หรือใช้ในสัญญำณไฟในกำรจำรจร เป็ นต้น สำรทีท่ ำให้แก้วเกิดสีมหี ลำย
ประเภท เช่ น สำรประกอบของโลหะทรำนซิช ัน กลุ่ ม 3d เช่ น วำนำเดีย มออกไซด์ โครเมีย มออกไซด์
แมงกำนีสออกไซด์ และเหล็กออกไซด์ เป็ นต้น และสำรประกอบของโลหะกลุ่มแลนด์ทำไนด์ นอกจำกนัน้ ยังมี
สำรอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งทำให้แก้วมีสเี ทำ ส่งผลให้ลดกำรมองเห็นสีอ่นื ๆ ในบำงครัง้ จึงเรียกว่ำเป็ นสำรฟอกสี
(Decolourant agent) เช่นสำรประกอบของซีลเี นียม (Selenium compound) ยกตัวอย่ำงกำรผลิตกระจกโดย
ใช้ทรำยทีม่ เี หล็กออกไซด์ปะปนอยู่ ทำให้แก้วเกิดสีเขียวขึน้ ซึง่ สำมำรถเติมสำรฟอกสีทำให้แก้วมีสเี ทำ (ลดสี
ที่เกิดจำกเหล็กออกไซด์) นอกเหนือจำกนี้ยูเรเนียมออกไซด์สำมำรถทำให้แก้วเกิด กำรเรืองแสงภำยใต้รงั สี
อัลตรำไวโอเลต (UV) ได้ แต่ออกไซด์ชนิดนี้เป็ นสำรกัมมันตรังสีทำให้เกิดอันตรำยอย่ำงยิง่ สำรประกอบของ
เงินและทอง ก็สำมำรถทำให้เกิดสีในแก้วได้เช่นกัน โดยกลไกกำรเกิดสีเกิดขึน้ เนื่องจำกไอออนของเงินและ
ทองจะทำให้เกิดอนุ ภำคทีเ่ ล็กมำก ๆ หรือทีเ่ รียกว่ำ คอลลอยด์ (Colloid) แขวนลอยอยู่ในแก้วโดยมักจะให้ส ี
โทนสีแดง ในบทนี้จะกล่ำวถึงสำรให้สปี ระเภทโลหะทรำนซิชนั ซึ่งจะให้สตี ่ำง ๆ กัน เมื่อค่ำออกซิเดชันของ
ไอออนนัน้ ๆ ในแก้วต่ำงกันออกไป โดยสรุปไว้ในตาราง 4.3

ตาราง 4.3 สีทเ่ี กิดจำกไอออนหรือกลุ่มของไอออนต่ำง ๆ ในแก้ว [ดัดแปลงจำก J. Hlavac (1983)]


ไอออน สีที่ปรากฎ หมายเหตุ
Co2+ น้ำเงิน
Ni2+ ม่วง ในแก้วทีม่ ี K2O เป็ นองค์ประกอบ
เหลือง ในแก้วทีม่ ี Na2O เป็ นองค์ประกอบ
Nd3+ ม่วง
Pr3+ เขียวแกมเหลือง
Ce4+ เหลือง Ce3+ ทำให้แก้วไม่มสี ี
Cr3+ เขียว เกิดร่วมกับ (CrO4)2- เสมอ
(CrO4)2- เหลือง เกิดร่วมกับ Cr3+ เสมอ
Mn3+ ม่วง หำกมี Mn2+ จะมีสเี หลืองปน
Cu2+ น้ำเงิน Cu+ ไม่มสี ี
Fe3+ น้ำตำลแกมเหลือง
Fe2+ + Fe3+ เขียวแกมน้ำเงิน ไอออน 2 ชนิดนี้จะเกิดร่วมกับเสมอ
(UO4)2- เขียวแกมเหลือง

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 46
4.1.5 สารลดฟอง (Fining agent)

วัตถุดบิ แก้วบำงประเภทเมื่อได้รบั ควำมร้อนจะเกิดกำรสลำยตัวและทำให้เกิดก๊ำซขึน้ ได้ เช่น หินปูน


หรือแคลเซียมคำร์บอเนตจะเกิดปฏิกริ ยิ ำกำรสลำยตัวด้วยควำมร้อน (Thermal decomposition) ที่อุณหภูม ิ
ประมำณ 840 C เกิดก๊ำซคำร์บอนไดออกไซด์ขน้ึ ขณะหลอมดังสมการ 4.1

 840 C
CaCO3 (s) CaO (s) + CO2 (g) สมการ 4.1

ก๊ำซทีเ่ กิดขึน้ ต่ำง ๆ ในระหว่ำงขัน้ ตอนกำรหลอมอำจจะค้ำงอยูใ่ นแก้วเกิดเป็ นฟองอำกำศขนำดต่ำง ๆ ซึง่ อำจ


ไม่สำมำรถมองเห็นได้ดว้ ยตำเปล่ำแต่จะส่งผลต่อสมบัตบิ ำงประกำรของแก้ว เช่น ในแก้วเลนส์ หรือใยแก้วนำ
แสง หำกมีฟองอำกำศค้ำงอยูใ่ นแก้ว จะทำให้สมบัตทิ ำงแสงเปลีย่ นไป ซึง่ ส่งผลเสียต่อกำรนำไปใช้งำน ดังนัน้
กำรกำจัดฟองจึงเป็ นสิง่ ทีจ่ ำเป็ นอย่ำงยิง่ ในแก้วบำงชนิด

สำรเคมีก ลุ่ ม ที่ ส ำมำรถลดฟองหรือ ก ำจัด ฟองในแก้ วได้ ได้ แ ก่ ออกไซด์ ข องสำรหนู ห รื อ
อำร์เซนิกออกไซด์ (As2O3) ออกไซด์ของพลวงหรือแอนทิโมนีไตรออกไซด์ (Sb2O3) โพแทสเซียมไนเตรต
(KNO3) โซเดียมไนเตรต (NaNO3) โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สำรประกอบฟลูออไรด์ (Fluoride compounds)
ต่ำง ๆ เช่น แคลเซียมฟลูออไรด์ (CaF2) โซเดียมฟลูออไรด์ (NaF) และโซเดียมอะลูมเิ นียมเฮกซะฟลูออไรด์
(Na3AlF6) และสำรประกอบซัลเฟต (Sulfate compounds) บำงชนิด กำรเติมสำรลดฟองจะเติมในปริมำณต่ ำ
(น้อยกว่ำ 1% โดยน้ำหนัก) ทำให้สมบัตติ ่ำง ๆ ของแก้วไม่ได้รบั ผลกระทบมำกนัก

จำกทีก่ ล่ำวมำข้ำงต้นวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ในอุตสำหกรรมกำรผลิตแก้วมีหลำยประเภท โดยวัตถุดบิ ทีเ่ ป็ นแร่


ต่ำง ๆ ทีพ่ บในธรรมชำติมกั ถูกใช้ในปริมำณมำก วัตถุดบิ บำงชนิดจะมีช่อื สำมัญที่แตกต่ำงจำกชื่อเรียกตำม
องค์ประกอบเคมีทป่ี รำกฏ อีกทัง้ แร่ต่ำง ๆ เหล่ำนี้อำจประกอบด้วยสำรประกอบออกไซด์หลำยชนิด ซึง่ ส่งผล
ต่ อ กำรค ำนวณปริมำณองค์ประกอบทำงเคมีของแก้วที่จะได้กล่ำวถึงในส่ วนถัดไป จึงได้ส รุปรวมแร่หรือ
วัตถุดบิ ต่ำง ๆ ไว้ในตาราง 4.4

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 47
ตาราง 4.4 แร่ต่ำง ๆ ทีใ่ ช้ในอุตสำหกรรมกำรผลิตแก้ว [ดัดแปลงจำก J.E. Shelby (2005)]
ชื่อแร่ / ชื่อสามัญ สูตรเคมี Gravimetric Factor *
ตัวโครงร่างตาข่ายแก้ว
ทรำย (Sand) SiO2 SiO2 = 1.0
อะลูมนิ ำ (Alumina) Al2O3 Al2O3 = 1.0
อะลูมนิ ำไฮเดรต (Alumina Hydrate) Al2O33H2O Al2O3 = 1.53
กรดบอริก (Boric Acid) B2O33H2O B2O3 = 1.78

ตัวช่วยหลอม
แอลไบต์เฟลด์สปำร์ (Albite Feldspar) Na2OAl2O36SiO2 Na2O = 8.46
Al2O3 = 5.14
SiO2 = 1.45
อะนอร์ไทต์เฟลด์สปำร์ (Anorthite Feldspar) CaOAl2O32SiO2 CaO = 4.96
Al2O3 = 2.73
SiO2 =2.32
แร่แอไพลต์ (Aplite) หรือ aM2ObCaOcAl2O3dSiO2 ค่ำไม่แน่นอน
แอลคำไลน์ไลม์เฟลด์สปำร์ (Alkali lime (M คือโลหะอัลคำไลน์และ a b c d คือสัดส่วน ค่ำไม่แน่นอน
feldspar) โดยโมลของแต่ละองค์ประกอบ)
เถ้ำกระดูก (Bone ash) 3CaOP2O5 หรือ Ca3(PO4)2 CaO = 1.84
P2O5 = 2.19
บอแรกซ์ (Borax) Na2O2B2O310H2O Na2O = 6.14
B2O3 = 2.74
ตะกัวเหลื
่ อง (Lithatge หรือ Yellow lead) PbO PbO = 1.00
ตะกัวแดง
่ (Red lead) Pb3O4 PbO = 1.02
ไมโครคลำยน์ (Microcline) K2OAl2O36SiO2 K2O = 5.91
Al2O3 = 5.46
SiO2 = 1.54
แร่เนฟิ ลนี (Nepheline) Na2OAl2O32SiO2 Na2O = 2.84
Al2O3 = 1.73
SiO2 = 1.47
แร่เนฟิ ลนี ไซอิไนต์ (Nepheline syenite) ผสมระหว่ำงแร่เนฟิ ลนี กับ ค่ำไม่แน่นอน
เฟลด์สปำร์
แร่โพแทช (Potash) K2O หรือ K2O = 1.00
K2CO3 K2O = 1.47

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 48
ตาราง 4.4 แร่ต่ำง ๆ ทีใ่ ช้ในอุตสำหกรรมกำรผลิตแก้ว (ต่อ) [ดัดแปลงจำก J.E. Shelby (2005)]
ชื่อแร่ / ชื่อสามัญ สูตรเคมี Gravimetric factor *
โซดำไฟหรือโซเดียมคำร์บอเนต (Soda ash) Na2CO3 Na2O = 1.71
แร่สปอดูมนี (Spodumene) Li2OAl2O34SiO2 Li2O = 12.46
Al2O3 = 3.65
SiO2 = 1.55
ดินสอพองหรือแคลเซียมคำร์บอเนต CaCO3 CaO = 1.79
(Whiting)
เศษแก้วรีไซเคิล (Cullet) ขึน้ อยูก่ บั ชนิดแก้ว ขึน้ อยูก่ บั ชนิดแก้ว

สารปรับสมบัติ
แร่แบไรต์ (Barite) BaSO4 BaO = 1.52
แร่โดโลไมต์ (Dolomite) CaCO3MgCO3 CaO = 3.29
MgO = 4.58
แร่ยปิ ซัม (Gypsum) CaSO42H2O CaO = 3.07
หินปูน (Limestone หรือ Calcite) CaCO3 CaO = 1.78

สารลดฟอง
แร่ไครโอไลต์ (Cryolite) 3NaFAlF3 NaF = 1.67
AlF3 = 2.50
แร่ฟลูออสปำร์ (Fluorspar) CaF2 CaF2 = 1.00
โซเดียมไนเตรต (Soda niter) NaNO3 Na2O = 2.74
ดินประสิว (Niter) KNO3 K2O = 2.15
*กรำวิเมทริกแฟกเตอร์ (Gravimetric factor) จะใช้ในกำรคำนวณในกรณีทว่ี ตั ถุดบิ สำมำรถให้สำรประกอบ
ออกไซด์ได้หลำยชนิดขณะหลอมซึง่ จะแสดงวิธกี ำรใช้ค่ำกรำวิเมทริกแฟกเตอร์ ในตัวอย่ำงกำรคำนวณต่อไป

4.2 การคานวณองค์ประกอบแก้ว (Batch calculations)

กำรรำยงำนองค์ประกอบของแก้วทัง้ เชิงกำรค้ำ ในสิทธิบตั ร เวปไซต์ทวั ่ ๆ ไป และในเอกสำรเชิง


วิชำกำรจะแตกต่ำงกันออกไปขึน้ อยู่กบั ชนิดของแก้ว (แก้ วออกไซด์ แก้วแฮไลด์ และแก้วชำลโคจีไนด์) และ
ควำมพอใจของผู้รำยงำน โดยรูปแบบที่ปรำกฏสำมำรถแสดงเป็ นร้อยละ (%) สัดส่วนโดยโมล สัดส่วนโดย
น้ำหนัก หรือสัดส่วนโดยอะตอมก็ได้

ในอดีตกำรรำยงำนองค์ประกอบของแก้วจะรำยงำนในรูปของร้อยละโดยน้ ำหนัก (Weight percent;


wt%) ซึ่ง จะเรีย กว่ ำ ส่ ว นประกอบออกไซด์ (Oxide formulations) เช่ น แก้ว โซดำไลม์ซิล ิเ กต (Soda lime

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 49
silicate) มีส่วนผสมคือ 15% โซดำ (Soda) 10% ไลม์ (Lime) และ 75% ซิลกิ ำ (Silica) ผูอ้ ่ำนก็จะเข้ำใจได้ว่ำ
ร้อยละที่แสดงเป็ นร้อยละโดยน้ ำหนักของส่วนผสมต่ำง ๆ ว่ำมี Na2O 15% CaO 10% และ SiO2 75% โดย
น้ำหนัก

กำรรำยงำนในรูปของสัดส่วนโดยน้ำหนัก (Weight fraction) จะเป็ นประโยชน์มำกในกำรทำงำนระดับ


อุตสำหกรรม แต่กจ็ ะเห็นควำมสัมพันธ์ของปริมำณองค์ประกอบต่ำง ๆ ต่อกำรเปลีย่ นแปลงสมบัตไิ ด้ยำก ทำ
ให้กำรรำยงำนแบบนี้ไม่เป็ นทีน่ ิยมในกำรเผยแพร่ผลงำนทำงวิชำกำร ซึง่ จะนิยมรำยงำนในรูปแบบของร้อยละ
โดยโมล (Molar percent; mol %) หรือ สัดส่วนโดยโมล (Molar fraction) เนื่องจำกสำมำรถเห็นควำมสัมพันธ์
ของกำรเปลี่ยนแปลงสมบัติอนั เนื่องมำจำกกำรเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่ ำง ๆ ในแก้ว ได้ชดั เจนยิง่ ขึ้น
อย่ำงไรก็ตำมกำรรำยงำนในรูปแบบร้อยละโดยน้ ำหนัก สัดส่วนโดยน้ ำหนัก ร้อยละโดยโมล หรือ สัดส่วนโดย
โมลจะรำยงำนแยกตำมประเภทของสำรประกอบออกไซด์แต่ละชนิด ยกตัวอย่ำงเช่น กำรแสดงในรูปร้อยละ
โดยน้ ำหนัก 25wt%CaO75wt%SiO2 ซึ่งสำมำรถคำนวณเปลี่ยนให้แสดงองค์ประกอบในในรูปสัดส่ว นโดย
โมลเท่ำกับ 0.26CaO0.74SiO2 (กำรคำนวณจะอำศัยค่ำมวลโมเลกุลของ CaO กับ SiO2 ซึง่ มีค่ำเท่ำกับ 56
และ 60 ตำมลำดับ) จะเห็นได้ว่ำกำรรำยงำนองค์ประกอบแยกส่วนระหว่ำง CaO และ SiO2 จะง่ำยต่อกำร
เตรียมวัตถุดบิ แต่ในควำมเป็ นจริงแล้วแก้วจะประกอบด้วยสององค์ประกอบปะปนกันไป ซึ่งกำรเขียนสูตร
แสดงองค์ป ระกอบดัง กล่ ำ วนัน้ ไม่ส่อื ถึง ควำมเป็ น จริง ที่เ กิด ขึ้น ในแก้ว หรือ ไม่ส่ือ ถึง โค รงสร้ำ งของแก้ว
อย่ำงไรก็ตำมกำรเขียนองค์ประกอบแบบที่ได้กล่ำวมำแล้วก็ยงั นิยมใช้อยู่เนื่องจำกโครงสร้ำงแก้วหรือสิ่งที่
เกิดขึน้ ในแก้วนัน้ ยำกต่อกำรอธิบำย อีกทัง้ มีปัจจัยหลำย ๆ ประกำรทำให้โครงสร้ำงแก้วแตกต่ำงกันออกไป
แม้ว่ำจะมีองค์ประกอบของวัตถุดบิ เหมือนกัน ปั จจัยดังกล่ำว เช่น อัตรำกำรลดอุณหภูม ิ อุณหภูมทิ ใ่ี ช้หลอม
แก้ว และระยะเวลำทีใ่ ช้หลอมแก้ว เป็ นต้น

แก้วชำลโคจีไนด์ (Chalcogenide glass) นิยมรำยงำนองค์ประกอบในรูปของสัดส่วนอะตอมที่เป็ น


องค์ป ระกอบทัง้ หมด เช่ น แก้ ว ที่ป ระกอบไปด้ว ยอะตอมของสำรหนู ( As) ร้อ ยละ 40 และอะตอมของ
ซัล เฟอร์ (S) ร้อ ยละ 60 รูป แบบของกำรเขีย นองค์ป ระกอบเคมีข องแก้ว ชนิ ด นี้ ส ำมำรถเขีย นในรูปของ
As40S60 หรือ As0.40S0.60 หรือ As2S3 ก็ได้ แต่กำรเตรียมวัตถุดบิ แก้วประเภทนี้จะต้องเปลี่ยนสัดส่วนอะตอม
ดังกล่ำวให้อยูใ่ นรูปของน้ำหนักก่อนซึง่ ทำได้ไม่ยำกนัก โดยจะใช้ค่ำมวลอะตอมในกำรคำนวณ

โดยทัวไปแล้
่ วองค์ประกอบทำงเคมีของแก้วมักถูกรำยงำนให้อยู่ในรูปของออกไซด์ของธำตุต่ำง ๆ
ยกตัวอย่ำงเช่นแก้วโซเดียมบอเรตจะมีสูตรทำงเคมีโดยทัวไปคื
่ อ xNa2O(100-x)B2O3 ยกตัวอย่ำงเช่นแก้ว
25% Na2O75%B2O3 ซึง่ หมำยถึงแก้วชนิดนี้มโี ซเดียมออกไซด์อยู่ 25 % และ โบรอนออกไซด์อยู่ 75 % โดย
สำมำรถรำยงำนปริมำณได้ทงั ้ % โดยน้ ำหนัก (wt%) หรือ % โดยโมล (mol%) แต่ในบำงครัง้ อำจรำยงำนให้
อยู่ในรูปของสัดส่วนได้เช่นกัน เช่น 0.25Na2O0.75B2O3 แต่วตั ถุดบิ บำงประเภททีใ่ ช้ในอุตสำหกรรมแก้วจะ
เป็ นสำรประกอบประเภทคำร์บอเนต เช่น กำรใช้หนิ ปูน หรือ แคลเซียมคำร์บอเนต (CaCO3) เป็ นแหล่งของ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 50
แคลเซียมออกไซด์ (CaO) ในแก้ว ดังนัน้ กำรค ำนวณองค์ประกอบทำงเคมีของแก้ว จึง เป็ นสิ่งที่สำคัญ ใน
อุตสำหกรรมแก้ว เพื่อสำมำรถควบคุมปริมำณขององค์ประกอบออกไซด์ต่ำง ๆ ในแก้วเพื่อให้มอี งค์ประกอบ
ตำมมำตรฐำนกำรผลิต ซึ่งในกำรคำนวณอำจจะมีควำมยำกง่ำยแตกต่ำงกันออกไป ขึน้ อยู่กบั วั ตถุดบิ ที่ใช้
เนื่องจำกวัตถุดบิ บำงประเภทเป็ นสำรประกอบออกไซด์อยู่แล้ว เช่น ทรำยแก้ว (SiO2) เป็ นต้น บำงประเภท
เป็ นสำรประกอบอื่น ๆ ทีส่ ำมำรถสลำยตัวทำงควำมร้อน เช่น หินปูน เป็ นต้น และบำงประเภทประกอบด้วย
สำรประกอบหลำยชนิ ด เช่ น แร่ โ ดโลไมต์ (CaCO3MgCO3) เถ้ ำ กระดู ก (Ca3(PO4)2) และแร่ โ ซเดีย ม
เฟลด์สปำร์หรือแร่แอลไบต์ (NaAlSi3O8) เป็ นต้น นอกเหนือจำกนัน้ ควำมยำกง่ำยของกำรคำนวณยังขึน้ อยู่กบั
ควำมบริสุ ท ธิข์ องวัต ถุ ด ิบ ที่ใ ช้ด้ว ย เนื่ อ งจำกบำงอุ ต สำหกรรม ต้ อ งใช้ว ัต ถุ ด ิบ ที่ม ีค วำมบริสุ ท ธิส์ ู ง เช่ น
อุตสำหกรรมกำรผลิตเลนส์ ซึ่งต้องมีกำรควบคุมควำมบริสุทธิ ์ของวัตถุดบิ อย่ำงสูง เพื่อให้ได้สมบัตเิ ชิงแสง
ตำมต้อ งกำร โดยในกำรค ำนวณอำจจะเป็ นกำรคำนวณองค์ประกอบทำงเคมีของแก้วหรืออำจะเป็ นกำร
คำนวณปริมำณวัตถุดบิ ทีต่ อ้ งกำรใช้ เพื่อให้ได้แก้วทีม่ อี งค์ประกอบทำงเคมีตำมต้องกำร

ขัน้ ตอนกำรคำนวณองค์ประกอบทำงเคมีโดยทัวไปจะต้ ่ องทรำบมวลโมเลกุลของสำรประกอบต่ำง ๆ


ทรำบองค์ประกอบทำงเคมีของแร่ต่ำง ๆ ทีใ่ ช้เป็ นวัตถุดบิ เป็ นต้น ลักษณะกำรคำนวณองค์ประกอบของแก้ว
ประเภทออกไซด์จะแสดงดังตัวอย่ำงดังต่อไปนี้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 51
ตัวอย่าง 4.1 จงคำนวณว่ำใน 100 กรัมของวัตถุดบิ ผสมจะต้องใช้แคลเซียมออกไซด์ (CaO) และอะลูมนิ ำ
(Al2O3) อย่ำงละกีก่ รัมเพื่อผลิตแก้วทีม่ อี งค์ประกอบเป็ น 65CaO35Al2O3 (องค์ประกอบทีเ่ ห็นเป็ นร้อยละโดย
โมล)

วิ ธีคิด จากสูตรแก้วทีต่ อ้ งการ 65CaO35Al2O3 สามารถตีความได้ว่าในแก้วประกอบไปด้วย

 CaO 65% โดยโมล หรือ มีสดั ส่วนโดยโมลเท่ากับ 0.65


 Al2O3 35% โดยโมล หรือ มีสดั ส่วนโดยโมลเท่ากับ 0.35

สิง่ ทีค่ วรทราบคือมวลโมเลกุล (Molecular weight) ของ CaO และ Al2O3 ซึง่ มีค่าเท่ากับ 56.08
และ 101.96 กรัม/โมล (gmol -1) ตามลาดับ

ขัน้ ที ่ 1 คานวณหาน้ ำหนักหากกาหนดให้ตอ้ งการผลิตแก้ว 1 โมล (1 โมลของแก้วประกอบด้วย


0.65 และ 0.35 โมลของ CaO และ Al2O3 ตามลาดับ)

น้ าหนัก CaO = 0.65 mol × 56.08 gmol -1 = 36.452 g

น้ าหนัก Al2O3 = 0.35 mol × 101.96 gmol -1 = 35.686 g


รวมเป็น 36.452 g + 35.686 g = 72.138 g ต่อแก้ว 1 โมล
ขัน้ ที ่ 2 คานวณหาสัดส่วนโดยน้ ำหนัก (Weight fraction) ของการผลิตแก้ว 1 โมล

สัดส่วนโดยน้ าหนักของ CaO = 36.452 g ÷ 72.138 g = 0.505


สัดส่วนโดยน้ าหนักของ Al2O3 = 35.686 g ÷ 72.138 g = 0.495
ขัน้ ที ่ 3 คานวณหาน้ ำหนักทีต่ อ้ งการในการผลิตแก้วโดยใช้วตั ถุดบิ ผสมหนักรวม 100 กรัม

น้ าหนักของ CaO = 0.505 × 100 = 50.5 กรัม


น้ าหนักของ Al2O3 = 0.495 × 100 = 49.5 กรัม

ดัง นั ้น ในการผลิต แก้ว 65CaO35Al2O3 จะต้อ งใช้ CaO 50.5 กรัม และ Al2O3 49.5 กรัม เป็ น
วัตถุดบิ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 52
ตัวอย่ าง 4.2 จงค ำนวณว่ ำ จะต้อ งใช้ว ตั ถุ ดิบ อย่ำ งละเท่ ำ ใดในกำรผลิต แก้ว ที่ม ีสูต รคือ 20Na2O80SiO2
(องค์ประกอบทีเ่ ห็นเป็ นร้อยละโดยโมล)

วิ ธี คิ ด สิง่ ทีค่ วรทราบคือ มวลโมเลกุล (Molecular weight) ของ Na2O และ SiO2 ซึง่ มีค่ าเท่ากับ
61.98 และ 60.09 กรัม/โมล (gmol -1) ตามลาดับ และโซเดียมออกไซด์ (Na2O) ได้มาจากวัตถุดบิ
คือ โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) ซึง่ มีมวลโลเลกุ ล เท่ากับ 105.94 gmol -1จากตำรำง 4.4 ค่ า
gravimetric factor ของโซเดียมคาร์บอเนตมีค่าเท่ากับ 1.71 ซึง่ หมายถึงหากต้องการ Na2O 1 กรัม
จะต้อ งใช้ Na2CO3 1.71 กรัม (ค านวณจาก 105.94 ÷ 61.98 = 1.71) โดยค่ านี้จะนาไปใช้ใ นการ
คานวณต่อไป

ขัน้ ที ่ 1 คานวณหาน้ ำหนักหากกาหนดให้ตอ้ งการผลิตแก้ว 1 โมล

น้ าหนัก Na2O = 0.20 mol × 61.98 gmol -1 = 12.396 g

น้ าหนัก SiO2 = 0.80 mol × 60.09 gmol -1 = 48.072 g


รวมเป็น 60.468 g ต่อแก้ว 1 โมล
ขัน้ ที ่ 2 คานวณหาสัดส่วนโดยน้ ำหนัก (Weight fraction) ของการผลิตแก้ว 1 โมล

สัดส่วนโดยน้ าหนักของ Na2O = 12.396 g ÷ 60.468 g = 0.205


สัดส่วนโดยน้ าหนักของ SiO2 = 48.072 g ÷ 60.468 g = 0.795
ขัน้ ที ่ 3 คานวณหาน้ ำหนักทีต่ อ้ งการในการผลิตแก้ว

น้ าหนักของ Na2O = 0.205 × 100 = 20.5 กรัม (ซึง่ ได้มาจาก Na2CO3) ดังนัน้ จะต้องใช้
Na2CO3 = 20.5 × 1.71 (กราวิเมทริกแฟกเตอร์) = 35.05 กรัม
น้ าหนักของ SiO2 = 0.795 × 100 = 79.5 กรัม

ดังนัน้ ในการผลิตแก้ว 20Na2O80SiO2 จะต้องใช้ Na2CO3 35.05 กรัม และ SiO2 79.5 กรัม

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 53
ตัวอย่าง 4.3 จงคำนวณว่ำจะต้องใช้โซเดียมคำร์บอเนต โซเดียมเฟลด์สปำร์ (หรือแร่แอลไบต์) และทรำย
อย่ำงละเท่ำใดในกำรผลิตแก้วทีม่ สี ตู ร 20Na2O5Al2O375SiO2 (องค์ประกอบทีเ่ ห็นเป็ นร้อยละโดยโมล)

วิ ธีคิด โซเดียมเฟลด์สปาร์ หรือ แร่แอลไบต์ มีสูตรทางเคมีคอื Na2OAl2O36SiO2 จะเห็นได้ว่า


วัตถุดบิ เพียงชนิดเดียวสามารถให้องค์ประกอบทีม่ ใี นแก้วได้ แต่ในสัดส่วนต่าง ๆ กัน ซึง่ ส่งผลต่อ
ความยุ่งยากในการคานวณ จากตำรำง 4.4 กราวิเมทริกแฟกเตอร์ (gravimetric factor) ของ
Na2O, Al2O3 และ SiO2 จากแร่แอลไบต์ คือ 8.46, 5.14 และ 1.45 ตามลาดับ และจากวัตถุดบิ ทัง้
สามชนิด องค์ประกอบของ Al2O3 จะได้มาจากแร่แอลไบต์เท่านัน้ โดยการคานวณหาน้ าหนักของ
วัตถุดบิ ทาได้โดย

วิ ธีที ่ 1 อำศัยกรำวิ เมทริ กแฟกเตอร์ (Gravimetric factor)

ขัน้ ที ่ 1 คานวณหาน้ ำหนักหากกาหนดให้ตอ้ งการผลิตแก้ว 1 โมล

น้ าหนัก Na2O = 0.20 mol × 61.98 gmol -1 = 12.396 g

น้ าหนัก Al2O3 = 0.05 mol × 101.96 gmol -1 = 5.098 g

น้ าหนัก SiO2 = 0.75 mol × 60.09 gmol -1 = 45.068 g


รวมเป็น 62.562 g ต่อแก้ว 1 โมล
ขัน้ ที ่ 2 คานวณหาสัดส่วนโดยน้ ำหนัก (Weight fraction) ของการผลิตแก้ว 1 โมล

สัดส่วนโดยน้ าหนักของ Na2O = 12.396 g ÷ 62.562 g = 0.198


สัดส่วนโดยน้ าหนักของ Al2O3 = 5.098 g ÷ 62.562 g = 0.082
สัดส่วนโดยน้ าหนักของ SiO2 = 45.068 g ÷ 62.562 g = 0.720
ขัน้ ที ่ 3 คานวณหาน้ ำหนักทีต่ ้องการในการผลิตแก้ว (สมมติให้ต้องการน้ าหนักรวมของแต่ละ
องค์ประกอบทางเคมีของแก้ว เป็ น 100 กรัม กล่ าวคือ น้ าหนักของ Na2O+Al2O3+SiO2 = 100
กรัม)

น้ าหนักของ Al2O3 = 0.082 × 100 = 8.20 กรัม (ซึง่ ได้มาจากแร่แอลไบต์) ดังนัน้ จะต้อง
ใช้แร่แอลไบต์ = 8.20 × 5.14 (กราวิเมทริกแฟกเตอร์ของ Al2O3 ในแร่แอลไบต์) = 42.148 กรัม
แต่ ใ นแร่แ อลไบต์ยงั ให้Na2O และ SiO2 อีกด้ว ย ซึง่ ค านวณน้ าหนักได้จากการหารน้ าหนักแร่
ด้วยกราวิเมทริกแฟกเตอร์ของ Na2O และ SiO2 ตามลาดับ จะได้ว่าแร่แอลไบต์ 42.148 กรัม

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 54
จะมี Na2O อยู่ = 42.148 ÷ 8.46 = 4.982 กรัม
และ จะมี SiO2 อยู่ = 42.148 ÷ 1.45 = 29.068 กรัม อยูด่ ว้ ย
น้ าหนั ก ของ Na2O ที ต่ ้ อ งการทั ง้ หมดคื อ 0.198 × 100 = 19.8 กรัม ซึ ่ง ได้ ม าจาก
แร่แอลไบต์ 4.921 กรัม ขาดอีก 19.8 - 4.982 = 14.818 กรัม ซึง่ จะได้มาจากโซเดียมคาร์บอเนต
จานวน 14.818 × 1.71 (กราวิเมทริกแฟกเตอร์ของโซเดียมคาร์บอเนต) = 25.339 กรัม
น้ าหนั ก ของ SiO2 ที ต่ ้ อ งการทั ้ง หมดคื อ 0.720 × 100 = 72.0 กรั ม ซึ ่ง ได้ ม าจาก
แร่แอลไบต์ 28.713 กรัม ขาดอีก 72.0 - 29.068 = 42.932 กรัม โดยสามารถได้มาจากวัตถุดบิ คือ
ทราย

ดัง นั ้น ในการผลิต แก้ว 20Na2O5Al2O375SiO2 จะต้อ งใช้ Na2CO3 25.339 กรัม แร่ แ อลไบต์
42.148 กรัม และทราย 42.932 กรัม

วิ ธีที ่ 2 ไม่ทรำบค่ำกรำวิ เมทริ กแฟกเตอร์ (Gravimetric factor)

ขัน้ ที ่ 1 ทราบมวลโมเลกุลของแก้ว ของแต่ละองค์ประกอบเคมี และของวัตถุดบิ

ชนิ ด มวลโมเลกุล; MW
(gmol -1)
แก้ว 20Na2O5Al2O375SiO2 62.56
Na2O 61.98
Al2O3 101.96
ทราย (SiO2) 60.09
แอลไบต์เฟลด์สปาร์ (Na2OAl2O36SiO2) 523.78
โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) 105.94

ขั น้ ที ่ 2 หาน้ าหนั ก ของแต่ ล ะองค์ ป ระกอบทางเคมีที ต่ ้ อ งการ ( Na2O, Al2O3 และ SiO2)
รวม 100 กรัม

จะได้ว่า ต้องใช้ Na2O 19.8 กรัม Al2O3 8.2 กรัม และ SiO2 72.0 กรัม

(คานวณเหมือนวิธที ี ่ 1)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 55
ขัน้ ที ่ 3 หาน้ าหนักของวัตถุดบิ ต่าง ๆ ทีต่ ้องใช้ (มักเริม่ จากวัตถุดบิ ทีม่ จี านวนองค์ประกอบมาก
ทีส่ ุดก่อน เช่น ในกรณีน้ ีจะเริม่ จาก แร่แอลไบต์ก่อน เนือ่ งจาก เป็ นตัวกาหนดปริมาณ Al2O3 และ
มีจานวนองค์ประกอบมากสุด คือ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ Na2O, Al2O3 และ SiO2)

แร่แอลไบต์ทตี ่ อ้ งการจะคานวณได้จากปริมาณ Al2O3 ทีต่ อ้ งการใช้


น้ำหนัก 𝐴𝑙2 𝑂3 ทีต่ อ้ งกำร × 𝑀𝑊ของแร่แอลไบต์ 8.2 ×523.78
ดังนัน้ จะใช้แร่แอลไบต์ = =
𝑀𝑊ของ 𝐴𝑙2 𝑂3 ในแร่แอลไบต์ 101.96

= 42.12 กรัม

แต่ต้องหาน้ าหนักของ Na2O และ SiO2 ที่ได้จำกแร่ แอลไบต์ด้วย เพื่อ ใช้ค ำนวณน้ ำหนักของ
โซเดียมคำร์บอเนตและทรำยทีต่ ้องเติมลงไปในส่วนผสมของวัตถุดบิ เพิม่ เพื่อให้ได้แก้วทีม่ สี ูตร
ตำมต้องกำร
น้ำหนักของแร่แอลไบต์ทใ่ี ช้ ×MW. ของ Na2 O ในแร่แอลไบต์
น้ าหนักของ Na2O ทีไ่ ด้จากแร่แอลไบต์ =
MW. ของแร่แอลไบต์
42.12 ×61.98
= = 4.984 กรัม
523.78
42.12 ×360.54
น้ าหนักของ SiO2 สามารถคานวณได้ในทานองเดียวกัน = = 28.993 กรัม
523.78

หมำยเหตุ ค่า 360.54 คานวณจากสูตรโมเลกุลของแร่แอลไบต์ม ี SiO2 อยู่ 6 โมเลกุลใน


สูตรโครงสร้างคือ Na2OAl2O36SiO2

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 56
กำรคำนวณหำน้ำหนักส่วนประกอบทีเ่ หลือสำมำรถคำนวณได้เช่นกัน ซึง่ กำรคำนวณทัง้ สองวิธอี ำจให้
ค่ำที่แตกต่ำงกันเล็กน้อยขึน้ อยู่กบั ควำมละเอียดหรือนัยสำคัญของน้ ำหนักอะตอมที่ใช้ในกำรคำนวณและยัง
ขึ้นอยู่กบั กำรประมำณตัวเลขที่ได้จำกกำรคำนวณอีกด้วย อย่ำงไรก็ตำมหำกเป็ นกำรผลิตแก้วที่มลี กั ษณะ
พิเศษ เช่นเลนส์ หรือแก้วที่ใช้ในอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์นัน้ องค์ประกอบของแก้วที่เปลี่ยนไปจะส่งผลอย่ำง
มำกต่อสมบัตทิ ส่ี ำคัญของแก้วซึง่ จะส่งผลกระทบต่อกระบวนกำรผลิตได้ ทำให้กำรคำนวณต้องมีควำมละเอียด
และระมัดระวังสูงขึน้ เพื่อให้เกิดควำมแตกต่ำงและควำมคลำดเคลื่อนน้ อยทีส่ ุด

คาถามท้ายบท

1. วัตถุดบิ ที่ใช้ในอุตสำหกรรมแก้วถูกแบ่งออกเป็ นกี่ประเภท อะไรบ้ำง และอำศัยหลัก กำรใดในกำรแบ่ง


พร้อมทัง้ ยกตัวอย่ำงวัตถุดบิ แต่ละประเภทมำอย่ำงละ 4 ชนิด

2. จงอธิบำยหน้ำที่ของวัตถุดบิ ต่ำง ๆ ที่ใช้ในแก้วที่มอี งค์ประกอบทำงเคมีดงั นี้ พร้อมทัง้ บอกว่ำแก้วแต่ละ


องค์ประกอบใช้แร่ใดเป็ นวัตถุดบิ ในกระบวนกำรผลิต
ก. K2O3SiO2
ข. 15Na2O9.8CaO75B2O30.2CaF2
ค. 14.9Li2O5Al2O380B2O30.1Cr2O3

3. จงแสดงวิธกี ำรคำนวณปริมำณวัตถุดบิ ทีต่ ้องใช้ (ชนิดและปริมำณ) เพื่อจะผลิตแก้วทีม่ นี ้ ำหนัก 1 กิโลกรัม


หลังจำกหลอมเสร็จ โดยเลือกชนิดของวัตถุดบิ ได้จำกตาราง 4.4 โดยองค์ประกอบของแก้วเป็ นดังนี้
ก. Na2O3B2O3 ข. 15Na2O10CaO75SiO2
ค. 2Na2OAl2O36SiO2 ง. 20CaO5Al2O330B2O345P2O5
4. จงแสดงวิธกี ำรคำนวณเพื่อเปลีย่ นองค์ประกอบจำกร้อยละโดยโมล (mol%) เป็ นร้อยละโดยมวล (wt%)
หรือ ร้อยละโดยมวล (wt%) เป็ นร้อยละโดยโมล (mol%)

ก. 25 mol%K2O75 mol%SiO2
ข. 25 wt%K2O75 wt%SiO2
ค. 12 โซดำ  9 ไลม์  3 แมกนีเซีย  2 อะลูมนิ ำ  74 ซิลกิ ำ (ตัวเลขแสดง wt%)
5. จงยกตัวอย่ำงวัตถุดบิ ทีท่ ำให้เกิดฟองก๊ำซขึน้ ในแก้วมำ 3 ชนิด พร้อมเขียนปฏิกริ ยิ ำเคมีแสดงกำรเกิดก๊ำซ
ดังกล่ำว และอุณหภูมทิ ท่ี ำให้เกิดก๊ำซขึน้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 57
บทที่ 5
การเกิ ดแก้วและการหลอมแก้ว
Glass Formation and Glass Melting

“ขัน้ ตอนการหลอมถือเป็ นขัน้ ตอนทีส่ าคัญมากในกระบวนการผลิตแก้ว โดยเกิดการเปลีย่ นแปลง


ของวัตถุดบิ ทีเ่ ป็ นของแข็งผลึก (Crystalline solids) ของเหลวทีเ่ ป็ นเนื้อเดียวกัน โดยการให้ความร้อนแก่
วัตถุดบิ ทีอ่ ุณหภูมสิ ูงจนเกิดการเปลีย่ นสถานะจากของแข็งเป็ นของเหลวหนืด จากนัน้ จึงจะส่งต่อไปยัง
ขัน้ ตอนต่อไปคือการขึ้นรูป หากวัตถุดบิ แก้วไม่หลอมหรือไม่เป็ นเนื้อเดียวกันจะทาให้แก้วเกิดตาหนิ หรือ
ทาให้ผลิตภัณฑ์แก้วเสียหายได้ อย่างไรก็ตามปริมาณและสัดส่วนของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ตอ้ งเหมาะสมทีจ่ ะทาให้
เกิดแก้วได้ ซึง่ ในบทนี้จะได้กล่าวถึงทฤษฎีทเี ่ กีย่ วข้องถึงการเกิดแก้ว (Glass formation) นอกเหนือจากนี้
ในการหลอมวัตถุ ดิบต่ างๆ ทีอ่ ุณหภูมิสูง วัตถุ ดิบต่ างๆ จะเกิดการเปลีย่ นสภาพ เปลีย่ นสถานะ หรือ
เกิดปฏิกริ ยิ าเคมีต่างๆ ขึ้น ซึง่ การเปลีย่ นแปลงต่างๆ อันเนือ่ งจากความร้อนเหล่านี้จะถูกอธิบายในบทนี้
ด้วย”

5.1 การเกิ ดแก้ว (Glass formation)

ความสามารถในการเกิดแก้ว (Glass formation) จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์ประกอบของวัตถุดบิ ที่


ใช้ รวมถึงชนิดของวัต ถุ ดิบที่ใ ช้ ใ นกระบวนการผลิต แก้ว ด้ว ย แก้ว องค์ประกอบเดียวกัน อาจมีล กั ษณะที่
แตกต่างกันหากสภาวะทีใ่ ช้ในการหลอมแก้วแตกต่างกัน โดยสภาวะดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น ระยะเวลาทีใ่ ช้
หลอมแก้วและอัตราการเย็นตัว เป็ นต้น นอกจากนัน้ ยังพบว่าปริมาณของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้กส็ ่งผลต่อการเกิดแก้ว
เช่น ในแก้วแคลเซียมอะลูมเิ นต (Calcium aluminate glass) สามารถทาให้เกิดแก้วได้ในสภาวะการทาให้เย็น
ตัวอย่างรวดเร็วทัวๆ
่ ไป เมื่อหลอมวัตถุดบิ ในปริมาณไม่เกิน 5 กรัม แต่หากปริมาณของวัตถุดบิ เกินกว่านัน้
จะต้องปรับสภาวะการเย็นตัวให้เย็นตัวอย่างยิง่ ยวด (Rapid quenching condition) และพบว่าสัด ส่วนของ
CaO ต่ อ Al2O3 ส่ งผลต่ อ ความสามารถในการเกิด แก้ว อีก ด้ว ย การเกิดแก้ว (Glass formation) สามารถ
อธิบ ายได้ด้ว ยหลายทฤษฎี เช่ น ทฤษฎี ก ารเกิ ด แก้ ว เชิ ง โครงสร้ า ง (Structural approach of glass
formation) และ ทฤษฎีการเกิ ดแก้วเชิ งจลน์ (Kinetic approach of glass formation) ดังนี้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 58
5.1.1 ทฤษฎีการเกิ ดแก้วเชิ งโครงสร้าง (Structural approach of glass formation)

มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้อธิบายเกี่ยวกับการเกิดแก้วเชิงโครงสร้างไว้ ได้แก่ Goldschmidt ที่


อธิบายว่าอัตราส่วนระหว่างรัศมีของไอออนบวกต่อรัศมีของไอออนลบ (rc/ra) ของวัสดุหรือวัตถุดบิ ทีส่ ามารถ
เกิดแก้วได้จะต้องอยู่ใ นช่ว งระหว่าง 0.2 - 0.4 ต่อมา Zachariasen ได้อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของแก้ว
ออกไซด์ (oxide glass) จากการอธิบายจากโครงสร้างของแก้วซิลกิ า (Silica glass) ทีป่ ระกอบไปด้วยหน่ วย
เตตระฮีดรัล (Tetrahedral) ของซิลกิ อน หรือ [SiO4] ทีม่ กี ารเชื่อมต่อระหว่างหน่วย [SiO4] ด้วยการแบ่งปั นมุม
หรือที่เรียกว่า “Corner sharing” ซึ่งคล้ายกับโครงสร้างผลึกซิลกิ าแต่ ลกั ษณะการเชื่อมต่อจะไม่เป็ นระเบียบ
เหมือนกับโครงสร้างผลึก (Crystal structure) โดยการเชื่อมต่อของหน่ วย [SiO4] กลายเป็ นโครงข่ายแก้วนี้จะ
เชื่อ มต่ อ ไปทุก ทิศ ทางอย่างไม่เ ป็ นระเบียบส่ งผลให้แก้วมีส มบัติกระจายเท่ากันทุ กทิศ ทางหรือ ที่เรียกว่า
Isotropic properties จากการศึก ษานี้ Zachariasen ได้ส รุป ว่าออกไซด์ท่สี ามารถเกิด แก้ว ได้นัน้ จะต้อ งมี
เงือ่ นไขดังต่อไปนี้

1. ออกซิเ จนไอออน (หรือ อะตอม) จะต้อ งไม่เ ชื่อ มต่ อ กับ ไอออนบวกอื่น ๆ เกิน กว่ า 2 ไอออน
เนื่อ งจากหากออกซิเ จนเชื่อ มต่ อ กับ ไอออนบวกมากเกินไป จะทาให้มุมของพันธะระหว่ างไอออนบวก-
ออกซิเจน-ไอออนบวกเกิดขีดจากัด ซึง่ จะทาให้เกิดแก้วทาได้ยาก (แก้วจะมีมมุ ของพันธะทีก่ ระจายตัวมาก)

2. หน่ วยย่อยของไอออนบวก หรือ สภาพแวดล้อมของไอออนบวก ของไอออนที่เหมาะสมกับการ


เป็ นตัวโครงสร้างแก้วจะต้องเป็ นหน่ วยย่อยแบบสามเหลีย่ ม (Triangular) เช่น B2O3 ซึ่งมีเลขโคออร์ดเิ นชัน
เท่ากับ 3 และแบบเตตระฮีดรัล (Tetrahedral) เช่น SiO2 P2O5 และ GeO2 ซึ่งมีเลขโคออร์ดเิ นชันเท่ากับ 4
เท่านัน้ หรืออาจกล่าวได้ว่าจานวนออกซิเจนที่ล้อมรอบไอออนบวกหรือเลขโคออร์ดเิ นชัน (Coordination
number) ควรมีค่าเท่ากับ 3 หรือ 4

3. การเชื่อมต่อของหน่วยย่อยทีไ่ ด้กล่าวมาจะต้องเชื่อมต่อกันด้วยมุมเท่านัน้ (Corner sharing) ซึง่ ทา


ให้ไอออนบวกอยูห่ ่างกันมากทีส่ ุด

4. โครงสร้างสามมิตขิ องแก้วจะเกิดขึน้ ก็ต่อเมือ่ อย่างน้อย 3 มุมของหน่วยย่อยเชื่อมต่อกับหน่วยย่อย


อื่นๆ

อย่างไรก็ตามการเกิดแก้วจะต้องมีปัจจัยอื่นๆ เสริมด้วย เช่นการทาให้แก้วเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่ง


เกีย่ วข้องโดยตรงกับทฤษฎีจลน์ของการเกิดแก้ว ซึง่ จะได้กล่าวต่อไป

นอกเหนื อ จากนั ้น Standworth แบ่ ง ชนิ ด ของวั ต ถุ ดิ บ แก้ ว ด้ ว ยค่ า อิ เ ล็ ก โทรเนกาติ ว ิ ตี ห รือ
ความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอน (Electronegativity) โดยแบ่งออกเป็ น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มของตัวโครงร่าง
ตาข่ายแก้ว (Glass formers หรือ Network formers) ซึ่งเป็ นกลุ่มที่ทาให้เกิดแก้วได้ พันธะระหว่างไอออน
บวกทีเ่ ป็ นตัวโครงสร้างแก้วกับออกซิเจนจะมีความเป็ นไอออนิกประมาณร้อยละ 50 หากมีความเป็ นไอออนิก

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 59
ของพันธะสูงขึน้ หรือเป็ นกลุ่มทีม่ คี ่าอิเล็กโทรเนกาติวติ ตี ่ ากว่าจะถูกจัดกลุ่มอยู่ระหว่างตัวโครงร่างตาข่ายแก้ว
และตัวช่วยหลอม หรือเรียกว่าตัวอินเทอร์มเี ดียด (Intermediate) ซึ่งจะสามารถทาหน้ าที่เป็ นตัวโครงสร้าง
แก้วได้บางส่วน ขึน้ อยู่กบั ปริมาณที่มใี นแก้ว และกลุ่มสุดท้ายจะเป็ นกลุ่มที่มคี ่าอิเล็กโทรเนกาติวติ ตี ่ าที่สุด
กล่าวคือมีความเป็ นไอออนิกสูงมาก ซึ่งไม่สามารถทาให้เกิดโครงสร้างแก้วได้ โดยสารดังกล่าวจะมีหน้ าที่
ปรับเปลีย่ นโครงสร้างแก้ว จึงถูกเรียกว่าเป็ นตัวช่วยหลอมหรือตัวปรับโครงสร้างแก้ว (Glass modifiers)

Sun ได้เสนอการจัดกลุ่มวัตถุดบิ ด้วยค่าความแข็งแรงพันธะ (Bond strength) เพื่อใช้อธิบายการเกิด


แก้ว ความแข็งแรงพันธะอาจแสดงในรูปแบบของพลังงานที่ใ ช้ใ นการแยกพันธะระหว่างไอออนบวกกับ
ออกซิเจนออกจากกัน (Dissociation energy) หากพันธะระหว่างไอออนบวกกับออกซิเจนมีความแข็งแรงสูง
ทาให้การจัดเรียงตัวเป็ นผลึกในระหว่างการเย็นตัว เกิดขึน้ ได้ยาก นัน่ คือมีความสามารถในการทาให้เกิดแก้ว
ได้ดี โดยค่าพลังงานพันธะระหว่างไอออนบวกและออกซิเจนใดๆ สามารถคานวณได้จากค่าพลังงานการสลาย
พันธะ (Dissociation energy) หารด้วยเลขโคออร์ดเิ นชัน เช่นในกรณีของเตตระฮีดรัลจะนาค่าพลังงานการ
สลายพันธะหารด้วย 4 โดยสามารถแบ่งกลุ่ มออกไซด์ออกเป็ น 3 กลุ่ม เช่นเดียวกับ Standworth คือ ตัว
โครงสร้างแก้ว (Network formers) ตัว Intermediate และตัวปรับโครงสร้าง (Network modifiers)

5.1.2 ทฤษฎีการเกิ ดแก้วเชิ งจลน์ (Kinetic approach of glass formation)

หลักสาคัญของทฤษฎีน้ีคอื การคานึงถึงอัตราเร็วของการลดอุณหภูม ิ (Cooling rate) หรืออัตราการ


เย็นตัวของน้ าแก้วหลอมเหลว โดยต้องเป็ นอัตราที่เร็วพอที่จะไม่ทาให้เกิดการตกผลึก (Crystallisation) ใน
แก้ว โดยหากของเหลวชนิ ด นัน้ ต้อ งการอัต ราการเย็น ตัว ที่ร วดเร็ว มากเพื่อ ให้เ กิด แก้ว จะถือ ว่ า เป็ น ตัว
โครงสร้างแก้ว (Glass network former) ทีแ่ ย่ หากของเหลวชนิดนัน้ แม้จะผ่านการเย็นตัวรวดเร็วยิง่ ยวดก็ไม่
สามารถทาให้เกิดแก้วได้ก็จะไม่ถอื ว่าเป็ นตัวโครงสร้างแก้ว (Non-glass formers) ซึง่ ทฤษฎีการเกิดแก้วเชิง
จลน์จะอธิบายถึงปั จจัยต่างๆ ทีท่ าให้เกิดผลึกได้ ดังนัน้ ในมุมมองของการพิจารณาการเกิดแก้วก็จะหลีกเลีย่ ง
การเกิดผลึก ในระหว่างการเย็นตัว ซึ่งมีปัจจัยที่ส่ งผลต่ อการเกิดผลึกเมื่อ ของเหลวเย็นตัวลง ได้แก่ เกิด
นิวเคลียสในแก้ว (Nucleation) และการโตของผลึก (Crystal growth)

การเกิดนิวเคลียส (Nucleation) นิวเคลียสที่ทาให้เกิดการตกผลึกในแก้วมี 2 ชนิด ได้แก่ นิวเคลียส


ชนิดเอกพันธ์ (Homogeneous nucleus) ซึง่ เป็ นนิวเคลียสทีเ่ กิดขึน้ ในน้ าแก้วได้เอง และ นิวเคลียสชนิดวิวธิ
พัน ธ์ (Heterogeneous nucleus) ซึ่ง เป็ น นิ ว เคลีย สที่เ กิด ขึ้น เนื่ อ งจากความแตกต่ า งของพลัง งานที่ผ ิว
(Surface energy) เช่น ผิวของสิง่ ปนเปื้ อนในแก้ว กับน้ าแก้ว หรือ ผิวระหว่างน้ าแก้วกับถ้วยหลอม เป็ นต้น
หากไม่มนี ิวเคลียสเกิดขึน้ ระหว่างการเย็นตัวก็จะไม่เกิดการโตของผลึกขึน้ ส่งผลให้เกิดแก้วได้ การศึกษาการ
เกิดนิวเคลียสต้องอาศัยการทดลองทีซ่ บั ซ้อน ประกอบไปด้วยการให้ความร้อนกับแก้ว เพื่อให้เกิดนิวเคลียส

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 60
ในแก้วที่อุณหภูมคิ งที่เท่ากับอุณหภูมกิ ารเกิดนิวเคลียส จากนัน้ ลดอุณหภูมลิ งอย่างรวดเร็ว (Quenching)
เพื่อไม่ให้จานวนและขนาดของนิวเคลียสทีเ่ กิดขึน้ เปลีย่ นแปลงขณะลดอุณหภูม ิ จากนัน้ ให้ความร้อนอีกครัง้
หนึ่ง ณ อุณหภูมทิ ่จี ะเกิดการโตของผลึก จนกระทังเกิ ่ ดผลึกขนาดใหญ่ข้นึ เมื่อสามารถตรวจวัดขนาดและ
จานวนของผลึกที่เกิดขึ้นได้ก็จะวิเคราะห์ถึงอัตราการเกิดนิวเคลียสในแก้วได้ โดยสามารถคานวณหาค่ า
อัตราเร็วของการเกิดนิวเคลียสในแก้วได้จากการนับจานวนของนิวเคลียสทีเ่ กิดขึน้ ซึง่ จะเท่ากับจานวนผลึกที่
มองเห็น ต่ อ ปริม าตรของแก้ว ภายในระยะเวลาที่ ท าให้เ กิด นิ ว เคลีย ส (Nucleation time) ซึ่ง อาจใช้ก ล้อ ง
จุลทรรศน์ หรือ กล้องจุลทรรศน์อเิ ล็กตรอนในการวิเคราะห์ เนื่องจากผลึกทีเ่ กิดขึน้ มักมีขนาดเล็กมาก อย่างไร
ก็ตามการควบคุมปริมาณของนิวเคลียสที่เกิดขึน้ ในแก้วในระหว่างการลดหรือเพิม่ อุณหภูมใิ นขัน้ ตอนต่างๆ
ของการทดลองทาได้ยาก ดังนัน้ วิธกี ารนี้จงึ ทาให้เกิดความคลาดเคลื่อนสูง

ทัง้ นี้อตั ราการเกิดนิวเคลียส (I) สามารถใช้สมการทางเทอร์โมไดนามิกทีป่ ระกอบด้วยปั จจัยต่างๆ ที่


เกี่ยวข้องกับการเกิดนิวเคลียส เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบก่อ นและหลังเกิดนิวเคลียส หรือ
อัตราเร็วในการเคลื่อนทีข่ องอะตอมหรือไอออนทีอ่ ุณหภูมติ ่างๆ เพื่อเกิดผลึก เป็ นต้น ซึง่ ทัง้ สองปั จจัยนี้แสดง
ในรูปของการกีดกัน (Barrier) ต่อการเกิดนิวเคลียส ซึ่งได้แก่ การกีดกันทางจลน์ (Kinetic barrier; ED)
ซึ่ ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ พลัง งานกระตุ้ น (Activation energy) ของการเกิ ด นิ ว เคลี ย ส และ การกี ด กัน ทาง
เทอร์โมไดนามิ ก (Thermodynamic Barrier, W*) ซึ่งเกี่ยวกับ พลังงานอิสระที่เปลี่ยนแปลงไปของระบบ
เนื่องมาจากการเกิดนิวเคลียส โดยสามารถอธิบายได้ดว้ ยสมการ 5.1

𝑁 𝑊 ∗
∆𝐸𝐷
( 𝐴 ) (− )
𝐼 = 𝑛𝑣 ∙ 𝑒 𝑅𝑇 ∙𝑒 𝑅𝑇 สมการ 5.1

เมือ่ 𝑛𝑣 คือ ค่ า ความน่ า จะเป็ นของ Boltzmann (Boltzmann probability factor) ที่ท าอัต ราการเกิ ด
นิวเคลียสสูงทีส่ ุด

NA คือ เลขอะโวกาโดร (Avogadro number)

R คือ ค่าคงทีข่ องก๊าซ

T คือ อุณหภูมสิ มั บูรณ์ (Absolute temperature)

เมื่อมีนิวเคลียสที่มขี นาดวิกฤต (Critical size) เกิดขึ้นจะเกิด การโตของผลึกขึน้ โดยการอธิบายจะ


พิจารณาความสัมพันธ์ของการโตของผลึกกับปั จจัยต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ได้แก่ พลังงานกระตุน้ ของการเกิดผลึก
(Activation energy; E) และพลังงานอิสระในการเกิดผลึก (Free energy of crystrallisation, – Gx) ซึ่ง
เป็ นการเปลีย่ นแปลงพลังงานอิสระ (Free energy) ในการเปลีย่ นจากของเหลวเป็ นผลึก และยังพิจารณาการ
สัน่ สะเทือ นของอะตอม (Atomic vibrational frequency, 𝑣) ซึ่ง เกี่ย วข้อ งกับ การเคลื่อ นที่ข องอะตอมใน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 61
ของเหลวไปยังผิวของผลึกที่เกิดขึน้ (𝑣𝑙𝑥 ) และจากผลึกไปยังของเหลว (𝑣𝑥𝑙 ) ซึง่ แสดงดังสมการ 5.2 และ
5.3 ตามลาดับ

∆𝐸
(− 𝑅𝑇 )
𝑣𝑙𝑥 = 𝑣 ∙ 𝑒 สมการ 5.2

∆𝐸 −∆𝐺𝑥
(− )
𝑣𝑥𝑙 = 𝑣 ∙ 𝑒 𝑅𝑇 สมการ 5.3

อัต ราการโตของผลึก (𝑢) สามารถค านวณได้จาก 𝑢 = 𝑎(𝑣𝑙𝑥 − 𝑣𝑥𝑙 ) เมื่อ a คือ ระยะห่าง
ระหว่างผลึกและของเหลว จะได้

∆𝐸′ ∆𝐺
(− 𝑅𝑇 ) ( 𝑅𝑇𝑥 )
𝑢 =𝑎∙𝑣∙𝑒 ∙ [1 − 𝑒 ] สมการ 5.4

หากอุณหภูมขิ องระบบ T มากกว่าจุดหลอมเหลวของของเหลว Tm ส่งผลให้พลังงานอิสระในการเกิด


ผลึก Gx มีค่าบวก ซึง่ แสดงให้เห็นว่าไม่เกิดผลึกขึน้ ในระบบ ตามหลักการทางเทอร์โมไดนามิกส์ ส่งผลให้
∆𝐺𝑥
ทาให้พจน์ของ [1 − 𝑒 ( 𝑅𝑇 ) ] มีค่าลบเนื่องจากพจน์ของเอกซ์โพเนนเชียลจะมีค่ามากกว่า 1 ดังนัน้ สมการ 5.4
ก็มคี ่าลบ นัน่ คืออัตราการโตของผลึก (𝑢) เป็ นลบซึ่งหมายความไม่เกิดผลึก หากอุณหภูมลิ ดลงต่ ากว่าจุด
หลอมเหลว (T < Tm) จะทาให้ค่าอัตราการโตของผลึกเป็ นบวกซึง่ หมายความว่าเกิดผลึกขึน้ ในแก้ว อัตราการ
เกิด นิ ว เคลีย ส (I) และอัต ราการโตของผลึก (u) ที่อุ ณ หภูม ิต่ า งๆ แสดงดัง รูป 5.1 ซึ่ง เห็น ได้ว่า การเกิด
นิวเคลียสจะเกิดทีอ่ ุณหภูมติ ่ ากว่าการโตของผลึก อย่างไรก็ตามถ้า ทาให้แก้วอยู่ ณ อุณหภูมติ รงบริเวณที่แร
เงาในรูป 5.1 จะทาให้แก้วเกิดผลึก ได้ง่าย แสดงให้เห็นว่าถ้า พื้นที่ท่แี รเงามีน้อย หรือ เส้นกราฟการโตของ
ผลึกและเส้นกราฟการเกิดนิวเคลียสอยูห่ ่างกันหรือไม่ซอ้ นทับกันระบบนัน้ ก็จะทาให้เกิดแก้วได้ง่าย

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 62
รูป 5.1 อัตราการเกิดนิวเคลียสและการโตของผลึกทีอ่ ุณหภูมติ ่ ากว่าจุดหลอมเหลว Tm

ในความเป็ นจริงแล้วการเกิดนิวเคลียสและการโตของผลึกจะเกิดขึน้ อยู่ตลอดเวลาในระหว่างที่แก้ว


เย็นตัวลงการเย็นตัวของแก้วเมื่ออุณหภูมเิ หมาะสม แต่ด้วยอัตราการเกิดนิวเคลียสและการโตของผลึกจะ
ขึ้นอยู่กบั อุณหภูม ิ ดังนัน้ การพิจารณาการเกิดผลึกในแก้ว จะพิจารณาจากสัดส่วนโดยปริมาตรของผลึกที่
เกิดขึ้น (Vx/V) เมื่อ Vx คือ ปริมาตรของผลึกและ V คือ ปริมาตรของแก้ว และสามารถอธิบายได้โ ดยใช้
สมการ 5.5

𝑡 𝑡 3
𝑉𝑥 [− ∫0 𝐼𝑣 (∫𝑡′ 𝑢𝑑𝜏 ) 𝑑𝑡 ′ ]
=1−𝑒 สมการ 5.5
𝑉

เมือ่ 𝐼𝑣 คือ อัตราการเกิดนิวเคลียสต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร

𝑢 คือ อัตราการโตของผลึกต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร

𝑡 คือ เวลาทัง้ หมดในการบาบัดด้วยความร้อน (Heat treatment)

𝑡 ′ คือ เวลาทีใ่ ช้ในการเกิดนิวเคลียส

𝜏 คือ เวลาทีใ่ ช้ในการโตของผลึก

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 63
ทัง้ อัต ราการเกิด นิ ว เคลีย สและอัต ราการโตของผลึก นี้ จ ะขึ้น อยู่กับ เวลาและอุ ณ หภูม ิ ดัง นัน้ เมื่อ
พิจารณาการตกผลึกจากสมการ 5.5 แล้ว จะเห็นว่ามีความซับซ้อนอยู่มากเนื่องจาก ณ อุณหภูมหิ นึ่ง ๆ แก้ว
สามารถเกิดทัง้ นิวเคลียสและเกิดการโตของผลึกได้พร้อม ๆ กัน ทาให้เวลาทีป่ รากฏในสมการ 5.5 มีหลายค่า
(𝑡, 𝑡′ และ 𝜏) อย่างไรก็ตามหากแก้วอยู่ในสภาวะอุณหภูมคิ งที่ (Isothermal condition) สัดส่วนโดยปริมาตร
ของผลึกที่เกิดขึน้ ในแก้วจากสมการ 5.5 สามารถเขียนให้อยู่ในรูปอย่างง่ายโดยการอินทิเกรตสมการ 5.5
ภายใต้สมมติฐานทีว่ ่าการผลึกทีเ่ กิดขึน้ มีรปู ร่างเป็ นทรงกลม ได้ดงั สมการ 5.6

𝜋
𝑉𝑥 [− 3 𝐼𝑣 𝑢3 𝑡 4 ]
=1−𝑒 สมการ 5.6
𝑉

เมือ่ 𝑡 คือ เวลาทีแ่ ก้วอยูท


่ อ่ี ุณหภูมคิ งที่ (Isothermal condition)

ในทางกลับกันหากทราบค่าของ 𝐼𝑣 และ 𝑢 ทีอ่ ุณหภูมคิ งทีก่ จ็ ะสามารถคานวณหาเวลาทีต่ ้องการใช้เพื่อให้ได้


ปริม าตรของผลึก ตามต้ อ งการได้ นอกจากนั น้ ยัง สามารถสร้า งกราฟเพื่อ ใช้อ ธิบ ายผลของปั จ จัย ทาง
เทอร์โมไดนามิก (Thermodynamic factors) และปั จจัยทางจลน์ (Kinetic factors) ต่อการเกิดผลึกในแก้วได้
ดังกราฟในรูป 5.2 ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมกิ บั เวลาที่ทาให้เกิดผลึกในแก้วที่มสี ดั ส่วนเท่ากับ
Vx/V โดยกราฟดังกล่ าวมีช่อื เรียกว่า Time-temperature-transformation diagram หรือ TTT diagram จาก
ข้อมูลข้างต้นและจากรูป 5.1 จะเห็นได้ว่าค่าอัตราการเกิดนิวเคลียสและอัตราการโตของผลึกจะลดลงเข้าใกล้
ศูนย์เมื่ออุณหภูมเิ ข้าใกล้จุดหลอมเหลวของแก้ว (Tm) ทาให้ใน TTT diagram แสดงให้เห็นว่าเวลาทีใ่ ช้ในการ
ทาให้เกิดนิวเคลียสจะเข้าสู่  เมือ่ อุณหภูมเิ ข้าใกล้ Tm ในทางกลับกันเมือ่ อุณหภูมลิ ดต่ าลงมากๆ เวลาทีใ่ ช้ก็
จะเข้าสู่  เช่นกันเพราะแก้วมีความหนืดสูงขึ้น จาก TTT diagram พบว่าการเกิด นิวเคลียสจะเร็วที่สุดที่
อุณหภูม ิ Tn โดยใช้เวลาเพียง tn (เวลาน้อยทีส่ ุด) ซึง่ อยูต่ รงส่วนโค้งของกราฟหรือทีเ่ รียกว่า “Nose of curve”
จากกราฟยังทาให้เห็นว่าทางด้านซ้ายของ Nose of curve การเกิดนิวเครียสหรือผลึกในแก้วจะน้อยมาก) ซึง่
ส่งผลให้ของแข็งทีเ่ กิดขึน้ ยังคงสภาพเป็ นแก้วอยู่ โดยทัวไปทางอุ
่ ตสาหกรรมจะถือว่าแก้วทีม่ ผี ลึกในประมาณ
ทีน่ ้อยกว่า 1 ppm เป็ นแก้วทีไ่ ม่มผี ลึก ยกเว้นแก้วพิเศษทีจ่ ะต้ องไม่มผี ลึกในแก้ว เช่น เลนส์ หรือ ใยแก้วนา
แสง เป็ นต้น และยังพบว่า อัต ราการเย็นตัว ส่ ง ผลต่ อ การเกิดผลึกในแก้ว ด้ว ย ซึ่งอัต ราการเย็นตัว วิก ฤต
(Critical cooling rate) สามารถคานวณได้จากความชันของเส้นสัมผัสทีล่ ากระหว่าง Tm และ Nose of curve
(เส้นประ) ซึง่ สามารถแสดงได้ในสมการ 5.7 หากทาให้ของเหลวเย็นตัวช้ากว่าอัตราเย็นตัววิกฤตจะทาให้การ
เกิดผลึกในแก้วสูง

𝑑𝑇 (𝑇𝑚 −𝑇𝑛 )
( ) ≈ สมการ 5.7
𝑑𝑡 𝑐 𝑡𝑛

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 64
รูป 5.2 Time-temperature transformation diagram หรือ TTT diagram ทีก่ ่อให้เกิดผลึกในสัดส่วน Vx/V

5.2 การวิ เคราะห์ความสามารถในการเกิ ดแก้ว (Glass forming ability) และความเสถียรของ


แก้ว (Glass stability)

มีปัจจัยหลายประการทีส่ ่งผลต่อการเกิดแก้ว เช่น ปริมาณแก้ว ทีห่ ลอม อัตราส่วนผสมแก้ว และอัตรา


การเย็นตัวของแก้ว เป็ นต้น โดยพบว่า การหลอมแก้วแคลเซียมอะลูมเิ นตจะทาได้ง่ายเมื่อหลอมแก้วเพียง 5
กรัม ในขณะที่ต้องการการเย็นตัวยิง่ ยวด หากเพิม่ ปริมาณเป็ น 10 กรัม และยังพบว่าสัดส่วนของ CaO ต่อ
Al2O3 เหมาะสมจะทาให้แ ก้ว แคลเซียมอะลูมเิ นตทาได้ง่ายขึ้น ในกรณีของอัต ราการเย็นตัวนัน้ สามารถ
พิจารณาง่ายๆ ว่าหากแก้วทีต่ อ้ งการอัตราการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว องค์ประกอบหรือแก้วชนิดนัน้ ๆ ก็จะทาให้
เกิดแก้วได้ยาก (Lower glass formability) อย่างไรก็ตามการการหาค่าอัตราการเย็นตัววิกฤตนัน้ ยุ่งยากและ
ซับซ้อน ซึ่งสามารถทาได้โดยการหลอมวัตถุดิบที่องค์ประกอบและปริมาณเท่ากัน จนได้ของเหลวสมบูรณ์
จากนัน้ ลดอุณหภูมทิ อ่ี ตั ราคงทีแ่ ล้วพิจารณาว่าวัสดุของแข็งทีเ่ กิดขึน้ เป็ นแก้วหรือไม่ หากเกิดแก้วขึน้ จะต้อง
เปลี่ยนอัตราการลดอุณหภูม ิ โดยควบคุมให้อตั ราการลดอุณหภูมชิ ้าลง อัตราการลดอุณหภูมหิ รืออัตราการ
เย็นตัววิกฤตนัน้ จะเป็ นอัตราการลดอุณหภูมทิ เ่ี ร็วทีส่ ุดแต่ไม่ทาให้เกิดแก้ว อัตราการเย็นตัววิกฤตสามารถหา
ได้งา่ ยขึน้ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงความร้อน (Thermal analysis) เช่น ใช้เทคนิค Differential Scanning
Calorimeter (DSC) ซึง่ จะทางานอัตโนมัตไิ ด้ โดยสามารถตัง้ ค่าอัตราการเย็นตัวค่าต่างๆ กันได้ หากเกิดผลึก
ขึน้ ในแก้ว กราฟที่ได้จากเครื่องจะปรากฏลักษณะของพีคการคายความร้อน (Exothermic peak) อย่างไรก็
ตามวิธนี ้อี าจมีขอ้ จากัด เนื่องจากพีคการเกิดผลึกอาจต่ามากหรือมีความสูงน้อยมากจนไม่สามารถตรวจวัดได้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 65
นอกเหนื อ จากการเกิดแก้ว ได้แ ล้ว ความเสถียรของแก้ว ที่ได้ (Glass stability) ก็มคี วามส าคัญ ที่
จะต้องคานึงถึงอีกด้วย ความเสถียรของแก้วจะถูกนามาพิจารณาในกรณีท่ตี ้องการให้ความร้อนแก้วอีกครัง้
หนึ่ง เช่น เพื่อทาการขึน้ รูปใหม่ เป็ นต้น ยกตัวอย่างเช่นการผลิตใยแก้วนาแสงจากแก้ว ทีเ่ ย็นตัวสมบูรณ์แล้ว
(Preform) ซึ่งแก้วจะถูกให้ความร้อนอีกครัง้ ที่อุณหภูมทิ ่เี หมาะสมในการดึง แก้ว (การขึ้นรูปใยแก้ว) ซึ่งใน
ระหว่างกระบวนการให้ความร้อนครัง้ ทีส่ องนี้แก้วอาจเกิดผลึกขึน้ ได้ ซึง่ แสดงว่าแก้วมีความเสถียรต่ า (Poor
glass stability) ความเสถียรของแก้วและความสามารถในการเกิดแก้วนัน้ เป็ นสมบัตทิ ไ่ี ม่มคี วามสัมพันธ์ซง่ึ กัน
และกัน แต่ในบางกรณีพบว่าแก้วที่มคี วามสามารถในการเกิดแก้วต่ า ก็จะมีความเสถียรต่ าด้วย ความเสถียร
ของแก้ ว นั ้น อาจพิจ ารณาได้ จ ากช่ ว งอุ ณ หภู ม ิร ะหว่ า งอุ ณ หภู ม ิก ารเปลี่ย นเป็ นแก้ ว (Glass transition
temperature, Tg) และอุณหภูมกิ ารเกิดผลึก (Crystallisation temperature, Tc) ซึง่ ทัง้ สองอุณหภูมนิ ้ีสามารถ
หาได้โดยใช้เ ทคนิค การวิเ คราะห์เ ชิงความร้อ นเช่น กัน ได้แก่ เทคนิค Differential scanning calorimeter
(DSC) และ เทคนิค Differential thermal analysis (DTA) ความแตกต่างของอุณหภูมทิ งั ้ สอง (Tc-Tg) จะบอก
ความเสถียรของแก้ว หากมีความต่างมาก (ช่วงกว้าง) แก้วจะมีความเสถียรสูง ลักษณะปรากฏของกราฟทีไ่ ด้
จากเทคนิคการวิเคราะห์เชิงความร้อนแสดงดัง รูป 5.3 ในกรณีทเ่ี กิดผลึกหลายประเภทในแก้วจะปรากฏพีค
การเกิดผลึกหลายพีคเช่นกัน (รูป 5.3 ข) ซึง่ ในการวิเคราะห์ความเสถียรของแก้วก็จะใช้เฉพาะอุณหภูมกิ าร
เกิดผลึกทีต่ ่ าสุดเท่านัน้ อย่างไรก็ตามพบว่าแก้วทางการค้าทัวๆ
่ ไปจะเกิดผลึกช้ามาก โดยจะไม่เกิดผลึกขึน้
ในแก้วหากใช้อตั ราการให้ความร้อนประมาณ 10 – 20 เคลวินต่อนาที หรือ เซลเซียสต่อนาที ซึง่ เป็ นอุณหภูม ิ
ทีม่ กั ใช้ในการวิเคราะห์แก้วด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงความร้อน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 66
(ก)

(ข)

รูป 5.3 ลักษณะกราฟทีไ่ ด้จากเทคนิคการวิเคราะห์เชิงความร้อน (Thermal Analysis) ซึง่ ปรากฏพีคการคาย


ความร้อนซึง่ แสดงถึงการเกิดผลึก (Crystallisation) ในแก้วทีเ่ กิดผลึก (ก) ชนิดเดียวและ (ข) หลายชนิด
(ลูกศร จะแสดงทิศทางของพีคว่าเป็ นปฏิกริ ยิ าดูดความร้อน หรือ คายความร้อน)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 67
5.3 การหลอมแก้ว (Glass melting)

ในขัน้ ตอนการหลอมแก้วจะประกอบด้วยขัน้ ตอนย่อยๆ หลายขัน้ ตอน ในช่วงระหว่างทีส่ ่วนผสมของ


วัตถุดบิ ตัง้ ต้น ซึง่ รายละเอียดของขัน้ ตอนย่อยต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ จะขึน้ อยูก่ บั ชนิดของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ โดยปฏิกริ ยิ า
ทีเ่ กิดขึน้ ได้แก่

5.3.1 การปลดปล่อยก๊าซ (Releasing of gases)

วัตถุดบิ ส่วนใหญ่ทใ่ี ช้ในการหลอมแก้วอุตสาหกรรมมักจะประกอบด้วยความชืน้ ที่ถูกดูดซับอยู่บนผิว


อนุ ภาคของวัตถุดบิ หมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl; OH-) และโมเลกุลของน้ าที่อยู่ในโครงสร้างของวัตถุดบิ ชนิด
ต่ า งๆ เช่ น กรดบอริก (H3BO3) แคลเซี่ย มไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) โซเดีย มไฮดรอกไซด์ (NaOH) และ
บอแรกซ์เ ดคะไฮเดรต (Borax Decahydrate; NaB4O710H2O) เป็ นต้น โดยความชื้นและโมเลกุ ล ของน้ า
เหล่านี้จะหลุดออกจากวัตถุดบิ ในระหว่างการให้ความร้อนทีอ่ ุณหภูมติ ่ า (ประมาณไม่เกิน 250 C) ขึน้ อยู่กบั
แรงหรือ พัน ธะระหว่ า งโมเลกุ ล น้ า หรือ ไฮดรอกซิล กั บ อนุ ภ าคของวัต ถุ ดิ บ เช่ น แรงทางกายภาพ
(Physical force) และพันธะเคมี (Chemical bond) เป็ นต้น ซึง่ แรงทางกายภาพจะใช้พลังงานทีท่ าให้โมเลกุล
ของน้าหลุดน้อยกว่าหรือเกิดทีอ่ ุณหภูมติ ่ ากว่า การหลุดของโมเลกุลของความชืน้ ดังกล่าวเป็ นกระบวนการดูด
ความร้อน (Endothermic reaction) ซึง่ ต้องให้พลังงานแก่วตั ถุดบิ เพื่อไล่ความชืน้ ดังกล่าว

ทีอ่ ุณหภูมสิ งู ขึน้ จะมีการสลายตัวของกลุ่มคาร์บอเนต ซัลเฟต และไนเตรต ซึง่ ขัน้ ตอนนี้จะเกิดก๊าซใน


ปริมาณที่ม ากที่สุ ด การเกิดก๊ าซส่ งผลให้เ กิดการผสมของส่ว นผสมได้ทาให้แก้ว มีความเป็ นเนื้อเดียวกัน
(Homogeneous) มากขึน้ อย่างไรก็ตามการเกิดก๊าซในปริมาณมากจะทาให้แก้วมีฟองก๊าซเหลืออยูท่ ม่ี ากตาม
ไปด้ว ย ซึ่งจะต้อ งเติมสารเพื่อ ลดฟองเพื่อ ก าจัดฟองก๊ า ซเหล่ า นี้ใ ห้หลุ ดออกไปจากน้ าแก้ว หลอมก่ อ นที่
กระบวนการหลอมจะสิ้นสุด ปริมาณของก๊าซที่เกิดขึ้นสามารถประมาณค่าได้จากการคานวณ เช่นหากใช้
หินปูนเป็ นวัตถุดบิ ในองค์ประกอบ หินปูนมีความหนาแน่ นประมาณ 2.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนัน้
หินปูน 1 โมล จะมีปริมาตรประมาณ 37 ลูกบาศก์เซนติเมตร (มวลโมเลกุลของหินปูน เท่ากับ 100 กรัมต่อ
โมล) ดังนัน้ ในการสลายตัวของหินปูน 1 โมล จะทาให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 โมล (ดังสมการ 5.8)
ซึง่ มีปริมาตร 22,400 ลูกบาศก์เซนติเมตร (ประมาณ 600 เท่าของปริมาตรสารตัง้ ต้น)

CaCO3 (s) CaO (s) + CO2 (g) สมการ 5.8

ในบางครัง้ อากาศที่อยู่ในช่องว่างระหว่างอนุ ภาคตัง้ ต้นของวัตถุดบิ อาจถูกกักไว้ในขณะที่วตั ถุดบิ


หลอมเหลว และสามารถขยายตัวได้เมื่อมีอุณหภูมสิ ูงขึน้ หากฟองก๊าซมีปริมาณมากจะทาให้แก้วมีลกั ษณะ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 68
คล้ายโฟม (Foaming) ส่งผลให้น้าแก้วหลอมล้นออกมาจากถ้วยหลอม (Crucible) หรือเตาหลอมได้ ทาให้แก้ว
มีสมบัตไิ ม่ตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ในงานวิจยั ระดับห้องปฏิบ ตั กิ ารที่มกี ารหลอมแก้วในถ้วยหลอม
ขนาดเล็กอาจต้องคานึงถึงการเกิด Foaming เป็ นพิเศษเนื่องจากจะส่งผลเสียต่ออุปกรณ์ทใ่ี ช้ในเตาหลอมหรือ
เตาเผาได้ เช่น ฐานรองเตา หรือ กาแพงเตา เป็ นต้น ซึง่ น้ าแก้วที่ฟูล้นออกมาจากถ้วยหลอมจะทาปฏิกิรยิ า
กับเตาหลอมและวัสดุทนไฟอื่นๆ อย่างไรก็ตามในกระบวนการผลิตแก้วแบบต่อเนื่อง (Continuous process)
จะเกิดฟองก๊าซที่บริเวณส่วนต้นของเตาหลอม (รูป 5.4) ซึ่งเป็ นส่วนที่วตั ถุดบิ ถูกป้ อนเข้าสู่ห้องหลอม โดย
ส่วนปลายของเตาหลอมนัน้ น้ าแก้วจะหลอมเหลวเป็ นเนื้อเดียวกันและจะเป็ นส่วนที่เกิดการกาจัดก๊าซหรือ
ฟองอากาศที่เ กิด ขึ้น ซึ่ง ต้อ งควบคุ ม ให้ไ ม่ม ีฟ องก๊ า ซคงค้า งอยู่ ใ นแก้ว หลอมเหลวก่ อ นที่จ ะส่ ง ต่ อ ไปยัง
กระบวนการขึ้นรูป การให้ความร้อ นกับวัตถุ ดบิ นัน้ จะไม่ใ ห้ความร้อ นจากเปลวไฟที่เกิดจากการเผาไหม้
โดยตรง แต่จะอาศัยการแผ่ความร้อน (Heat radiation) และการนาความร้อน (Heat conduction) จากเปลว
ไฟทีเ่ กิดจากการเผาไหม้เชือ้ เพลิงไปยังวัตถุดบิ ทีต่ อ้ งการหลอม

ในขัน้ ตอนการหลอมแก้วจะต้องคานึงถึง บรรยากาศภายในเตาหลอมที่ส่งผลต่อปฏิกริ ยิ าออกซิเดชัน-


รีดกั ชันขององค์ประกอบบางอย่างในแก้ว เช่น การเกิดปฏิกริ ยิ าออกซิเดชัน-รีดกั ชันของสารให้สที ่จี ะทาให้ส ี
ของแก้วเปลีย่ นไปตามบรรยากาศการหลอม หรือ ข้อจากัดในการใช้ Na2SO4 เป็ นวัตถุดบิ ในแก้วโซดาไลม์
ซิล ิเ กต (Soda-lime-silicate glass) ซึ่ง จะต้ อ งใช้ บ รรยากาศรีด ัก ชัน ; Reduction atmosphere (กล่ า วคือ
ปริมาณออกซิเจนต่ า ปริมาณก๊าซเชือ้ เพลิงสูง) ในห้องหลอม แต่ต้องควบคุมบรรยากาศในช่วงบริเวณทางาน
หรือ Working zone ให้เป็ นบรรยากาศออกซิเดชัน (Oxidation atmosphere) บรรยากาศในเตาหลอมที่ใ ช้
เชื้อ เพลิงไฮโดรคาร์บอนสามารถทาได้โดยการปรับที่หวั พ่นไฟ (Burner) ให้มสี ดั ส่ ว นระหว่างอากาศกับ
เชื้อเพลิงต่างๆ กัน หรืออาจทาโดยการควบคุมชนิดของก๊าซต่างๆ เหนือบริเวณหลอมแก้วภายในเตา โดย
อาจใส่ก๊าซต่างๆ เข้าสู่หอ้ งหลอมตามสมควร

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 69
รูป 5.4 กระบวนการหลอมแก้ว (ก) การป้ อนวัตถุดบิ ลงในเตาหลอมทีใ่ ช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก้วแผ่น
[ทีม่ า http://voices.usglassmag.com] (ข) ภาพจาลองเตาหลอมแก้ว [ทีม่ า
http://www.icglass.org/technical_committees/?id=19] โดยส่วนต้นจะมีการป้ อนวัตถุดบิ เข้าเตาหลอมและจะ
เกิดการหลอมต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการหลอมสมบูรณ์พร้อมส่งต่อไปยังการขึน้ รูปต่อไป

5.3.2 การเกิ ดปฏิ กิริยาเคมีของแข็ง-ของแข็ง (Solid state reaction)

การหลอมแก้วอุตสาหกรรมโดยทัวไปนั ่ น้ จะมีอุณหภูม ิหลอมอยู่ท่ปี ระมาณ 1400 – 1600 เซลเซียส


ขึน้ อยู่กบั ชนิดและส่วนประกอบของแก้ว โดยอุณหภูมเิ ตาจะค่อยๆ เพิม่ ขึน้ จากอุณหภูมหิ ้องจนถึงอุณหภูม ิ
สูงสุดในการหลอม ซึง่ ระยะเวลาทีอ่ ุณหภูมเิ พิม่ ขึน้ นัน้ ขึน้ อยูก่ บั แหล่งให้ความร้อนและชนิดของเตา ในระหว่าง
นี้วตั ถุดบิ อาจเกิดปฏิกริ ยิ าของแข็ง-ของแข็งหรือ Solid state reaction เช่น ปฏิกริ ยิ าระหว่างซิลกิ ากับโซเดียม
คาร์บอเนต ปฏิกิรยิ าระหว่างซิลกิ ากับแคลเซียมคาร์บอเนต และ ปฏิกิรยิ าระหว่างโซเดียมคาร์บอเนตกับ
แคลเซียมคาร์บอเนต เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 70
ปฏิกริ ยิ าของแข็ง-ของแข็งระหว่างซิลกิ ากับโซเดียมคาร์บอเนตนัน้ สามารถเกิดได้ท่อี ุณหภูมใิ นช่วง
630 – 780 เซลเซีย ส โดยอัต ราส่ ว นของซิล ิกาต่ อ โซเดีย มคาร์บ อเนตที่ เ กิดปฏิกิร ิยาเท่ า กับ 4:1 ได้เ ป็ น
โซเดียมซิลเิ กตซึง่ มีจุดหลอมเหลวประมาณ 1088 เซลเซียส (ลดอุณหภูมกิ ารหลอมซิลกิ าลงได้จากเดิม 1726
เซลเซียส) ดังปฏิกริ ยิ าแสดงในสมการ 5.9

4SiO2 + Na2CO3 Na2SiO3 + 3SiO2 + CO2(g) สมการ 5.9

รูป 5.5 แบบจาลองการเกิดปฏิกริ ยิ าของแข็ง-ของแข็งระหว่างซิลกิ ากับโซเดียมคาร์บอเนต

การเกิดปฏิกิรยิ าสามารถจาลองได้ดงั รูป 5.5 ซึ่งจะเริม่ จากอนุ ภาคโซเดียมคาร์บอเนตที่อยู่รอบๆ อนุ ภาค


ซิลกิ าซึง่ มีขนาดใหญ่กว่าเมื่ออุณหภูมอิ ยู่ระหว่างอุณหภูมทิ ส่ี ามารถเกิดปฏิกริ ยิ าได้จะเกิดปฏิกริ ยิ ากลายเป็ น
โซเดียมซิลเิ กตเคลือบทีผ่ วิ อนุ ภาคซิลกิ าและเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขน้ึ อัตราการเกิดโซเดียมซิลเิ กตจะ
ช้าลงเมื่อชัน้ ของโซเดียมซิลเิ กตหนาขึน้ เนื่องจากการแพร่ผ่านของโซเดียมไอออน (Na+) เข้าไปทาปฏิกริ ยิ า
กับซิล ิก าเกิดขึ้นได้ช้าลง นอกจากนี้ย งั พบว่ าอัต ราการเกิด ปฏิกิร ิย าจะขึ้นอยู่กับอุ ณหภูมอิ ีก ด้ว ย โดยมี
ความสัมพันธ์ดงั รูป 5.6 พบว่าทีอ่ ุณหภูมสิ งู ขึน้ อัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าจะเพิม่ ขึน้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 71
รูป 5.6 อัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าของแข็ง-ของแข็งระหว่างซิลกิ าและโซเดียมคาร์บอเนตทีอ่ ุณหภูม ิ 680, 730
และ 782 เซลเซียส (ความชันของกราฟมากแสดงให้เห็นว่าปฏิกริ ยิ าเกิดขึน้ ได้ด)ี

ส่ ว นการเกิด ปฏิกิร ิย าระว่ า งซิล ิกาและแคลเซีย มคาร์บ อเนตจะเริ่ม เกิด ที่อุ ณ หภูม ิป ระมาณ 600
เซลเซียส โดยปฏิกริ ยิ าทีเ่ กิดขึน้ จะคล้ายๆ กับปฏิกริ ยิ าระหว่างซิลกิ ากับโซเดียมคาร์บอเนตแต่อตั ราส่วนการ
เกิดปฏิกิรยิ าต่ างกัน คือ เกิดในอัต ราส่ว นซิลกิ าต่อแคลเซียมคาร์บอเนตเท่ากับ 1:2 และมีผ ลิต ภัณฑ์จาก
ปฏิกริ ยิ าคือแคลเซียมซิลเิ กต (Ca2SiO4 หรือ 2CaOSiO2)

ส่ ว นการเกิด ปฏิกิร ิย าระหว่ า งโซเดีย มคาร์บ อเนตและแคลเซีย มคาร์บ อเนตนัน้ จะเกิด ปฏิกิร ิย า
กลายเป็ นโซเดียมแคลเซียมคาร์บอเนต (Na2Ca(CO3)2) ทีม่ จี ดุ หลอมเหลวอยูท่ ป่ี ระมาณ 813 เซลเซียส ซึง่ ต่า
กว่าจุดหลอมเหลวของโซเดียมคาร์บอเนต

5.3.3 การเกิ ดวัฏภาคของเหลว (Formation of liquid phases)

วัฎภาคของเหลวที่เกิดขณะหลอมแก้ว จะเกิดจากการให้ความร้อนโดยอาจเกิด ปฏิกิรยิ าต่างๆ กัน


หลายลักษณะ เช่น

1) การหลอมขององค์ประกอบต่างๆ ทีเ่ ป็ นส่วนผสม


2) การหลอมขององค์ประกอบต่างๆ หลังจากสลายตัวด้วยความร้อน (Thermal decomposition)
3) การละลายของส่วนผสมทีล่ ะลายยากกับวัฏภาคของเหลวทีเ่ กิดขึน้ ก่อน
4) การหลอมขององค์ประกอบยูเทคติก (Eutectic component) ของส่วนผสมต่างๆ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 72
ทัง้ นี้ขน้ึ อยู่กบั องค์ประกอบตัง้ ต้นของส่วนผสมแก้ว และชนิดของวัตถุดบิ ที่ใช้ ว่าปฏิกริ ยิ าใดเกิดขึ้น
ตามลาดับก่อนหลัง ยกตัวอย่างเช่น ในแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กต (Na2OCaOSiO2) ที่ใช้วตั ถุดบิ คือ โซเดียม
คาร์บอเนต แคลเซียมคาร์บอเนตและทราย ปฏิกริ ยิ าเคมีท่เี กิดขึน้ ขณะหลอมจะมีความแตกต่างจากการใช้
วัต ถุ ดิบประเภทแร่เ ฟลด์สปาร์แ ละทราย ปฏิกิรยิ าที่เ กี่ยวข้อ งอาจได้แก่ การสลายตัว ด้ว ยความร้อนของ
แคลเซียมคาร์บอเนต (เริม่ ทีอ่ ุณหภูมปิ ระมาณ 600 เซลเซียส) การหลอมขององค์ประกอบยูเทคติคระหว่าง
โซเดีย มคาร์บ อเนตและแคลเซีย มคาร์บ อเนต (ประมาณ 813 เซลเซีย ส) การหลอมขององค์ป ระกอบ
ยูเทคติคระหว่างโซเดียมไดซิลเิ กตและซิลกิ า (ประมาณ 800 เซลเซียส ดังแสดงในรูป 5.7 ณ จุดที่ลูกศรชี้)
เป็ นต้น อีก ทัง้ วัฏ ภาคของเหลวที่เ กิด ขึ้นที่อุ ณหภูม ิประมาณ 800 เซลเซียส ในแก้ว โซดาไลม์ซิล ิเ กตจะ
เหนี่ยวนาให้วฏั ภาคของแข็งอื่นๆ ทีเ่ หลืออยู่หลอมได้ดยี งิ่ ขึน้ โดยเฉพาะวัฏภาคขององค์ประกอบทีท่ นความ
ร้อนสูง (มีจุดหลอมเหลวสูง) หรือองค์ประกอบขององค์ประกอบทนไฟ (Refractory) เช่น อะลูมนิ า (Al2O3)
และทราย (SiO2) เป็ นต้น ในระหว่างการหลอมอาจเกิดฟองก๊ าซขึ้นได้จากกรณีต่ างๆ ที่ได้กล่ าวมาแล้ว
หากวัฏภาคของเหลวที่เกิดขึน้ มีความหนืดต่ าฟองก๊าซจะลอยขึน้ สู่ผวิ น้ าแก้วได้ง่ายกว่า โดยองค์ประกอบที่
หลอมยากจะทาให้แก้วมีความหนืดทีส่ ูงขึน้ แก้วทีม่ คี วามหนืดสูงอาจต้องเพิม่ อุณหภูมขิ น้ึ เพื่อลดความหนืดลง
ซึง่ จะช่วยทาให้ฟองก๊าซหลุดออกจากน้ าแก้วหลอมเหลวได้ง่ายขึน้ แก้วจะหลอมสมบูรณ์ต่อเมือ่ ไม่มวี ตั ถุดบิ ที่
มีความเป็ นผลึกของแข็งเหลืออยู่และมีความเป็ นเนื้อเดียว (Homogeneous) โดยขัน้ ตอนที่จะทาให้น้ าแก้ว
เป็ นเนื้อเดียวกันจะใช้เวลานานเนื่องจากน้ าแก้วมีความหนืดสูง ดังนัน้ อาจต้องหลอมแก้วทีอ่ ุณหภูมสิ ูงสุด ใน
ระยะเวลาทีน่ านขึน้ ซึง่ จะเรียกว่าการยืนไฟ หรือ Soaking อย่างไรก็ตามก็อาจมีบางองค์ประกอบทีร่ ะเหยง่าย
ระเหยออกไป ส่งผลทาให้องค์ประกอบของแก้วไม่ตรงตามต้องการ

เวลาทีใ่ ช้ในการหลอมแก้วจนสมบูรณ์ ทเ่ี รียกว่า Batch-free time เป็ นเวลาตัง้ แต่เริม่ ให้ความร้อนแก่
วัตถุดบิ จนวัตถุดบิ หลอมเป็ นของเหลวสมบูรณ์ การหาเวลาที่ใช้ในการหลอมแก้วจนสมบูรณ์ (Batch-free
time) ในห้องปฏิบตั กิ ารหรือในอุตสาหกรรมทาได้ยากและมีความคลาดเคลื่อนสูงจึงไม่นิยมหาเวลาทีใ่ ช้ในการ
หลอมแก้ว จนสมบูรณ์ (Batch-free time) จะขึ้นอยู่กับ หลายๆ ปั จจัย เช่น อุ ณหภูมหิ ลอม อัต ราการเพิ่ม
อุณหภูม ิ ชนิดของวัตถุดบิ การผสมเข้ากันของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ ชนิดของแก้ว ขนาดอนุ ภาคเริม่ ต้นของวัตถุดบิ
ต่างๆ และปริมาณเศษแก้วรีไซเคิล (Cullet) ทีใ่ ช้ เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 73
รูป 5.7 จุดยูเทคติคระหว่างโซเดียมไดซิลเิ กตกับซิลกิ าทีอ่ ุณหภูม ิ 800 เซลเซียส โดยโซเดียมไดซิลเิ กตเกิด
จากปฏิกริ ยิ าของแข็ง-ของแข็งระหว่างโซเดียมออกไซด์และซิลกิ าในอัตราส่วนทีเ่ หมาะสม

หากอนุ ภาคของวัต ถุ ดิบ ตัง้ ต้น มีข นาดเล็ก จะทาให้เ วลาการหลอมสมบูร ณ์ ล ดลง เนื่อ งจากการ
เกิดปฏิกิรยิ าจะเกิดได้ดกี ว่าหากอนุ ภาคตัง้ ต้น มีขนาดเล็ก ซึ่งพบว่าอนุ ภาคขนาดเล็ก จะมีพ้นื ที่ผวิ ในการ
เกิดปฏิกิรยิ ามากขึ้น ดังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดอนุ ภาคของโดโลไมท์ (Dolomite; CaMg(CO3)2)
และพื้นที่ผวิ จาเพาะในรูป 5.8 ซึ่งพบว่าขนาดอนุ ภาคเฉลี่ยของโดโลไมท์ลดลง จะทาให้มพี ้นื ที่ผวิ จาเพาะ
เพิม่ ขึน้ อย่างเห็นได้ชดั อย่างไรก็ตามอนุ ภาคขนาดเล็กมากอาจเกิดการเกาะตัวกัน (Agglomerate) เป็ นกลุ่ม
ก้อนขนาดใหญ่ขน้ึ ดังรูป 5.9 โดยก้อนอนุ ภาคที่รวมตัวกันนี้จะมีรูพรุนมาก ซึง่ เป็ นสาเหตุหนึ่งของการเกิด
ฟองก๊าซในน้าแก้วหลอม

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 74
รูป 5.8 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดอนุ ภาคเฉลีย่ กับพืน้ ทีผ่ วิ จาเพาะของแร่โดโลไมต์
[ทีม่ า N. Laorodphan และคณะ (2004)]

(ก) (ข)

รูป 5.9 การรวมตัวกันของอนุภาคเมือ่ อนุภาคมีขนาดเล็กลง (ก) ขนาดอนุ ภาคเริม่ ต้น (ข) การรวมตัวกันของ
อนุภาค (Agglomeration) (บริเวณล้อมรอบด้วยเส้นประ - - -) เมือ่ อนุภาคมีขนาดเล็กลงหลังผ่านการบด
ลดขนาดเป็ นเวลา 16 ชัวโมง
่ [ทีม่ า C.S. Torres และ L. Schaeffer (2010)]

ในขณะเดียวกันการใช้เศษแก้วรีไซเคิลในปริมาณมากจะทาให้เวลาทีใ่ ช้ในการหลอมแก้วจนสมบูรณ์
(Batch-free time) ลดลง ดังนัน้ การเติมเศษแก้วรีไซเคิล (ส่วนมากจะเป็ นชนิดเดียวกับแก้วทีก่ าลังผลิตอยู)่ ลง
ไปผสมกับวัตถุดบิ นัน้ จึงเป็ นทีน่ ิยมในอุตสาหกรรมแก้ว เนื่องจากช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายทีเ่ กิดขึน้
จากขัน้ ตอนการหลอมแก้ว การใช้เศษแก้ว รีไซเคิล (Cullet) จะเพิม่ ปริมาณวัฏภาคของเหลวในขัน้ ตอนการ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 75
หลอมแก้ว ส่งผลช่วยให้เกิดการละลายของส่วนประกอบทีเ่ ป็ นผลึกของแข็งอื่นๆ ได้เร็วขึน้ อีกทัง้ การใช้เศษ
แก้วยังลดส่วนผสมของวัตถุดบิ ทีม่ คี วามทนไฟสูง เช่น ทรายและอะลูมนิ าอีกด้วย

องค์ประกอบของแก้ว หรือ ชนิดของแก้ว ส่งผลต่อเวลาทีใ่ ช้ในการหลอมแก้วจนสมบูรณ์ (Batch-free


time) ของการหลอมแก้ว แก้วซิลเิ กตจะหลอมทีอ่ ุณหภูมสิ ูงกว่าแก้วบอเรต ฟอสเฟตและเจอร์มาเนต ดังนัน้
เวลาที่ใช้ในการหลอมแก้วจนสมบูรณ์ (Batch-free time) ก็จะสูงกว่าด้วย ในขณะเดียวกัน การละลายของ
อนุ ภาคทีท่ นไฟอื่นๆ ในแก้วซิลเิ กตจะต่ ากว่าแก้วประเภทอื่น เนื่องจากของเหลวทีเ่ กิดขึน้ จะมีความหนืดสูง
กว่าแก้วกลุ่มอื่น ส่งผลทาให้เวลาทีใ่ ช้ในการหลอมแก้วจนสมบูรณ์ (Batch-free time) นานขึน้

ชนิดของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้สาหรับแก้วชนิดหนึ่งๆ จะส่งผลต่อปริมาณวัฏภาคของเหลวทีเ่ กิดขึน้ ในระหว่าง


การหลอม ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าหากประมาณวัฏภาคของเหลวมีสูงจะทาให้การละลายหรือการหลอมของ
อนุ ภาคอื่นๆ เกิดขึน้ ได้ดยี งิ่ ขึน้ ทาให้ Batch-free time ลดลงตามไปด้วย ชนิดของวัตถุดบิ ทีแ่ ตกต่างกัน จะมี
อุณหภูมใิ นการเกิดปฏิกริ ยิ าทางความร้อนต่างกัน ดังนัน้ จึงควรคานึงถึงรายละเอียดเหล่านี้ในการพิจารณา
อุณหภูมทิ ใ่ี ช้ในการหลอมแก้วและระยะเวลาทีใ่ ช้ในการหลอมแก้ว อย่างไรก็ตามการผสมวัตถุดบิ ควรจะมีการ
กระจายตัวของวัตถุดบิ ต่างๆ อย่างสม่าเสมอ (Homogeneous mixing) ซึง่ ส่งผลโดยตรงต่อการเกิดปฏิกิรยิ า
ระหว่างอนุ ภาคของวัตถุดบิ ต่างชนิดกันและส่งผลต่อเนื่องถึงความเป็ นเนื้อเดียวกันของน้ าแก้ว ทาให้สมบัติ
ของแก้วมีความสม่าเสมอทัวทั ่ ง้ ผลิตภัณฑ์อกี ด้วย

นอกเหนือจากปั จจัยทีก่ ล่าวถึงก่อนหน้านี้ การเติม สารช่วยหลอม (Melting accelerants) จะสามารถ


ลด Batch-free time ได้เช่นกัน สารช่วยหลอมมักเป็ นสารทดแทนวัตถุดบิ ที่ใช้อยู่ โดยเติมลงไปในปริมาณ
เล็กน้อย เพื่อลด Batch-free time โดยเฉพาะ หากเติมสารเหล่านี้ในปริมาณมากเกินไป อาจะส่งผลเสียต่อ
สมบัติและลักษณะของแก้ว ได้ สารช่วยหลอมที่นิยมเติมนัน้ มักเติมลงไปแทนที่วตั ถุดบิ ที่เป็ นสารประกอบ
คาร์บอเนต เช่นการเติมโซเดียมซัลเฟต (Na2SO4) โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
และโซเดียมฟลูออไรด์ (NaF) ในแก้วร่วมกับการใช้โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) ในสัดส่วนทีเ่ หมาะสม การ
เติมโซเดียมซัลเฟตนัน้ จะเร่งปฏิกริ ยิ าการละลายของทรายเร็วขึน้ โดยจะเกิดวัฏภาคของเหลวทีอ่ ุณหภูมติ ่ า
กว่าการใช้โซเดียมคาร์บอเนต เนื่องจากปฏิกริ ยิ ายูเทคติคระหว่างทรายกับโซเดียมซัลเฟตเกิดทีอ่ ุณหภูมติ ่ า
กว่า เมื่อให้ความร้อนทีอ่ ุณหภูมสิ ูงขึน้ ของเหลวยูเทคติคซัลเฟตทีเ่ กิดขึน้ จะมีองค์ประกอบของซิลกิ า (SiO2)
สูงขึน้ โดยกลไกการช่วยหลอมจะเริม่ จากการละลายของซิลกิ าในของวัฏภาคของเหลวยูเทคติคทีเ่ กิดขึน้ ก่อน
มากขึ้น เมื่อ ประมาณซิลกิ าละลายอยู่เพิม่ ขึ้นจะเกิดการแยกวัฏภาค (Phase separation) เป็ นสองวัฏภาค
คือวัฏภาคของเหลวที่มซี ลิ กิ าสูง กับวัฏภาคของเหลวที่มซี ลั เฟตสูง เมื่ออุณหภูมสิ ูงขึน้ จะเกิดการสลายตัว
ของวัฏภาคของเหลวที่มซี ลั เฟตสูง (ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์; SO3) เกิดเป็ นวัฏภาคของเหลวชนิด
โซเดียมเมตะซิลเิ กต (Sodium metasilicate) โดยก๊าซที่เกิดขึน้ ทาให้เกิดการผสมของของเหลวทัง้ สองชนิด
และยัง เพิ่ม โอกาสที่อ นุ ภ าคของแข็ง สัม ผัส กับ วัฏ ภาคของเหลวที่เ กิด ขึ้น นอกจากนั น้ ยัง พบว่ า การใช้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 76
โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เกลือ (NaCl) หรือ โซเดียมฟลูออไรด์ (NaF) ก็ทาให้เวลาทีใ่ ช้ในการหลอมแก้ว
จนสมบูรณ์ (Batch-free time) ลดลง โดยสารเหล่านี้เมื่อหลอมเหลวจะได้ของเหลวที่มคี วามหนืดต่ ามาก ซึง่
สามารถทาให้การละลายของวัตถุดบิ อื่นๆ ในของเหลวมีมากขึน้ จากนัน้ ของเหลวทีเ่ กิดขึน้ จะทาปฏิกริ ยิ ากับ
ออกซิเจนในบรรยากาศ กลายเป็ นสารประกอบออกไซด์เหลวที่มอี งค์ประกอบตามต้องการและมีความหนืด
เพิม่ ขึน้

นอกเหนือจากนี้ยงั มีรายงานว่าหากมีไอน้ าเกิดขึ้นระหว่างการหลอมจะสามารถลดความหนืดของ


ของเหลวออกไซด์ลง น้ าทีม่ อี ยู่ในระหว่างการหลอมจะเกิดจากการสลายตัวออกจากวัตถุดบิ เช่น การใช้กรด
บอริก (H3BO3) เพื่อให้ตวั โครงสร้างแก้วชนิดโบรอนออกไซด์ (B2O3) หรือการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ เพื่อให้
โซเดียมออกไซด์ หรือโดยการเพิม่ ความชืน้ เข้าไปกับส่วนผสมของวัตถุดบิ ก่อนส่งเข้าเตาหลอมเล็กน้อย หรือ
การปรับบรรยากาศในการเผาซึ่งทาได้โดยการปรับใช้ก๊าซออกซิเจนในระหว่างการเผาไหม้ แทนที่การใช้
อากาศทีบ่ รรยากาศปกติ ซึง่ การใช้ก๊าซออกซิเจนมากขึน้ จะเพิม่ ความดันไอน้าในบรรยากาศของการหลอมได้

วิธกี ารทาให้ปฏิกริ ยิ าการหลอมสมบูรณ์ได้เร็วขึน้ อาจจะใช้แรงเชิงกลอื่นๆ เพื่อช่วยทาให้เกิดการผสม


ระหว่างวัตถุดบิ ต่าง ๆ ได้ดขี น้ึ และเพิม่ การสัมผัสกันระหว่างวัตถุดบิ ทีส่ ามารถทาปฏิกริ ยิ ากันแล้วเกิดวัฏภาค
ของเหลวได้ การอัดส่วนผสมเป็ นก้อนนัน้ สามารถช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพการหลอมได้เนื่องจากสามารถทาให้
การถ่ า ยเทความร้อ นดีข้ึน และการอัด ยัง ท าให้อ นุ ภ าคต่ า ง ๆ อยู่ชิด กัน มากขึ้น แต่ ไ ม่นิ ย มท าในระดับ
อุ ต สาหกรรมเนื่ อ งจากเป็ นการเพิ่ ม ขัน้ ตอนการผลิต ให้ ม ีค วามยุ่ ง ยากมากขึ้น จากข้ อ มู ล ข้ า งต้ น
นักวิทยาศาสตร์ห รือผู้ควบคุ มการหลอมแก้ว จะต้อ งค านึงถึงปั จจัยหลายๆ ด้าน เพื่อทาให้เกิดการหลอม
สมบูรณ์ทส่ี ุด ภายใต้สภาวะการปฏิบตั งิ านทีไ่ ม่ทาให้เกิดความยุง่ ยาก ไม่ทาให้เกิดอันตรายระหว่างการหลอม
หรือเพื่อให้ตน้ ทุนการผลิตแก้วต่าสุด

เมื่อของเหลวเกิดขึน้ ในปริมาณที่มากพอ จากนัน้ กระบวนการหลักทีเ่ ป็ นตัวกาหนดระยะเวลาในการ


หลอมคือการละลายของวัตถุดบิ ทีห่ ลอมยาก ซึง่ โดยทัวไป
่ ได้แก่ ทราย (SiO2) อะลูมนิ า (Al2O3) รวมถึงวัสดุ
ทนไฟตัวอื่นที่อาจมีอยู่ในปริมาณน้ อย เช่น เซอร์โคเนีย (ZrO2) โครไมท์ เกาลินหรือมัลไลท์ เป็ นต้น การ
ละลายของควอตซ์ในวัฏภาคของเหลวที่เกิดขึน้ ก่อนนัน้ เป็ นขัน้ ตอนที่ใช้เวลานานมาก (ประมาณ 90% ของ
ระยะเวลาการหลอมทัง้ หมด) แสดงให้เห็นว่าอนุภาควัตถุดบิ ทีห่ ลอมยากนัน้ จะใช้เวลาในการหลอมนานทีส่ ุด

5.3.4 การกาจัดฟองก๊าซ (Fining or refining)

ฟองก๊าซทีเ่ กิดขึน้ ในแก้วอาจเกิดจากก๊าซต่างๆ ในบรรยากาศทีถ่ ูกกักเก็บไว้ในวัตถุดบิ เช่น อากาศ


ก๊าซเชือ้ เพลิง รวมไปถึงก๊าซทีใ่ ช้ในการปรับสภาวะในเตาหลอม หรือ อาจเกิดจากการสลายตัวทางความร้อน
ของวัตถุดบิ ต่างๆ ฟองก๊าซที่หลงเหลือในน้ าแก้วจะถูกล้อมรอบด้วยน้ าแก้ว โดยหลักการของแรงตึงผิวของ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 77
แก้วซึ่งทาให้ฟองก๊าซในน้ าแก้วมีลกั ษณะเป็ นทรงกลม (Spherical shape) วิธกี ารป้ องกันการเกิดฟองก๊าซ
ที่มาจากบรรยากาศนัน้ สามารถทาได้โดยการกาจัดก๊ าซในบรรยากาศการหลอม เช่น การหลอมภายใต้
สุญญากาศ เป็ นต้น โดยวิธนี ้ีจะมีค่าใช้จ่ายสูงมากและไม่เป็ นทีน่ ิยมสาหรับการผลิตแก้วอุตสาหกรรมที่มกี าร
หลอมในปริมาณที่สูง มาก ก๊ าซจากบรรยากาศจะถู ก กักเก็บได้ม ากหากใช้ ว ตั ถุ ดิบ ที่มอี นุ ภาคขนาดเล็ก
การสลายตัวด้วยความร้อนของวัตถุดบิ บางประเภทเป็ นสาเหตุท่ที าให้เกิดฟองก๊าซได้มากที่สุดใน
กระบวนการผลิต ซึ่ง ก๊ า ซที่เ กิด ขึ้น ได้แ ก่ CO2, SO3, NOx และไอน้ า นอกเหนื อ จากนัน้ ก๊ า ซยัง เกิด จาก
ปฏิกริ ยิ าอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytic reaction) ระหว่างน้ าแก้วหลอมกับโลหะทีอ่ าจบนมากับวัตถุดบิ เกิดเป็ น
ก๊าซ O2, CO2 หรือ H2 เป็ นต้น วัสดุทนไฟทีใ่ ช้ในเตาหลอมแก้วเองก็เป็ นสาเหตุหนึ่งทีเ่ กิดก๊าซ เช่น เกิดจาก
การกัดกร่อนผิววัสดุทนไฟต่างๆ ก๊าซที่มอี ยู่ในรูพรุนของวัสดุทนไฟหลุดออกมาปนในน้ าแก้วหลอม รวมถึง
การเกิดก๊าซ CO2 และ CO จากวัสดุทนไฟประเภทคาร์ไบด์ เช่น ซิลกิ อนคาร์ไบด์ (SiC) ที่ทาปฏิกริ ยิ ากับ
วัตถุดบิ ประเภทออกไซด์ต่างๆ

ก๊าซออกซิเจนในแก้วสามารถเกิดขึน้ จากปฏิกริ ยิ ารีดกั ชันของไอออนของโลหะทรานซิชนั ในแก้วสีได้


เช่นในแก้วทีม่ ี เหล็ก โครเมียม หรือแมงกานีส เป็ นต้น เช่นปฏิกริ ยิ ารีดกั ชันของเหล็กดังสมการ 5.10

4Fe3+ + 2O2- 4Fe2+ + O2 (g) สมการ 5.10

การลดฟองก๊าซในแก้วนัน้ อาศัยหลักการ 2 ประเภท คืออาศัยแรงทางกายภาพ นันคื ่ อแรงลอยตัวซึง่


ทาให้แก้วลอย (Buoyancy force) ออกสู่ผวิ แก้ว และอาศัยการเติมสารเคมีเพื่อกาจัดฟองก๊าซที่เกิดขึน้ ฟอง
ก๊าซจะมีความหนาแน่ นน้ อยกว่าน้ าแก้วหลอมเหลว ดังนัน้ ฟองก๊าซจะลอยขึ้นสู่ผวิ หน้ าของน้ าแก้วได้ ซึ่ง
สามารถคานวณได้จากกฎของ Stokes ซึ่งพิจารณาอัตราเร็วของการลอยตัวของของแข็งทรงกลมที่ลอยขึน้
บนผิวของเหลว ดังสมการ 5.11

2𝑔∆𝜌𝑟 2
𝑉𝑠 = สมการ 5.11
9

เมือ่ Vs คือ อัตราเร็วของการลอยตัวของของแข็ง


g คือ อัตราเร่งด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก หรือ แรงดึงดูดของโลก
 คือ ความแตกต่างระหว่างความหนาแน่นของของแข็งและของเหลว
r คือ รัศมีของทรงกลม
 คือ ความหนืดของของเหลว

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 78
โดยสามารถปรับประยุกต์ใช้กบั การลอยตัวของฟองก๊าซ (Vb) ออกจากน้าแก้วหนืดได้ดงั สมการ 5.12

3 𝑔∆𝑟 2
𝑉𝑏 = 𝑉𝑠 = สมการ 5.12
2 3

อัต ราเร็ว ในการลอยของฟองก๊ า ซสู่ผ ิว แก้ว ดัง สมการ 5.12 จะเหมาะสมกับ ฟองก๊ า ซที่ม ีข นาดเส้ น ผ่ า น
ศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร โดยฟองก๊าซขนาดเล็กมากจะทาให้ระยะเวลาทีใ่ ช้ในการลอยตัวเพิม่ มากขึน้
ซึง่ จะไม่สามารถใช้สมการ 5.12 ในการอธิบายได้ การทาให้ขนาดฟองก๊าซมีขนาดใหญ่ขน้ึ จะช่วยเร่งให้ฟอง
ก๊าซลอยตัวขึน้ และหลุดออกจากผิวแก้วได้เร็วขึน้ จากสมการ 5.11 และ 5.12 พบว่าความหนืดของแก้วและ
ความหนาแน่ นของแก้ว ส่งผลต่ออัตราเร็วในการลอยตัวของฟองก๊าซ การบังคับให้น้ าแก้วหลอมเคลื่อนที่จะ
ช่วยเร่งให้ฟองก๊าซลอยขึ้นสู่ผวิ แก้วได้เร็วขึ้น ซึ่งอาจทาได้โดยการคนน้ าแก้ว หรือการออกแบบเตาหลอม
เพื่อให้เกิดการไหลของน้ าแก้ว (อาจทาโดยการให้ความร้อนแก่น้ าแก้วเพื่อให้น้ าแก้วมีอุณหภูมทิ แ่ี ตกต่างกัน
น้ าแก้วทีม่ อี ุณหภูมสิ ูงกว่าจะมีความหนาแน่ นต่ากว่าและจะลอยขึน้ ได้) รวมถึงการปล่อยก๊าซด้านล่างของเตา
หลอมเพื่อให้ฟองก๊าซขนาดใหญ่ทเ่ี ติมลงไปลอยขึน้ สู่ดา้ นบน

การเติมสารเคมีบางประเภทลงไปจะช่ว ยกาจัดฟองก๊ าซได้ โดยสารเคมีดงั กล่าวเรียกว่า “Fining


agents” สารเคมีประเภทนี้จะทาให้เกิดก๊าซจานวนมาก ก๊าซเหล่านี้จะมีขนาดฟองก๊าซขนาดใหญ่ทาให้ลอย
ขึน้ สู่ผวิ แก้วได้งา่ ย ในระหว่างทีฟ่ องก๊าซลอยตัวขึน้ สู่ผวิ แก้วจะช่วยพาฟองก๊าซอื่นๆ ในน้าแก้วลอยขึน้ สู่ผวิ น้ า
แก้วอีกด้วย หรือสารเคมีเหล่านี้จะทาปฏิกริ ยิ ากับก๊าซออกซิเจนทีท่ าให้ขนาดของฟองก๊าซเล็กลง จนกระทังมี ่
ขนาดเล็กต่ ากว่าขนาดวิกฤตของฟองก๊าซ (Critical radius size) ทาให้ฟองก๊าซหายไปจากน้ าแก้วหลอมได้
สารลดฟองดังกล่ า ว ได้แ ก่ ออกไซด์ข องสารหนู (Arsenic oxide) ออกไซด์ข องพลวง (Antimony oxide)
โซเดียมซัลเฟต สารประกอบไนเตรต สารประกอบแฮไลด์ และออกไซด์ของธาตุทรานซิชนั อื่นๆ เป็ นต้น

ออกไซด์ของสารหนู และพลวง เป็ นสารลดฟองที่มปี ระสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมักเติมลงไปในแก้วใน


ปริมาณน้อย (ช่วง 0.1 – 1 %โดยน้ าหนัก) ซึ่งจะใช้อยู่ในรูปของไตรออกไซด์ ซึ่งได้แก่ As2O3 และ Sb2O3
อย่างไรก็ตามออกไซด์ทงั ้ สองชนิดนี้ระเหยได้เร็ว ดังนัน้ จะทางานได้ดใี นสภาวะทีม่ อี งค์ประกอบของอัลคาไลน์
หรืออัลคาไลน์เอิรธ์ ออกไซด์อยู่ในแก้ว ซึ่งจะทาให้กลายเป็ นสารประกอบ Arsenates หรือ Antimonate ซึ่ง
ระเหยได้ชา้ ลง กลไกในการลดฟองของออกไซด์สองประเภทนี้จะเกิดหลายขัน้ ตอนในระหว่างการหลอมแก้ว
ดังนี้

1. เกิดปฏิกริ ยิ ากับสารประกอบไนเตรตปลดปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์และก๊าซออกซิเจนจานวนมาก ซึง่


ทาให้เกิดฟองก๊าซขนาดใหญ่ลอยขึน้ สู่ผวิ แก้วได้ ซึง่ ในระหว่างนัน้ ฟองก๊าซจะรวบรวมฟองก๊าซขนาดเล็กกว่า
ทาให้ฟองก๊าซขนาดเล็กหายไปจากน้ าแก้วหลอม ปฏิกริ ยิ าทีเ่ กิดขึน้ เป็ นดัง สมการ 5.13 (กรณีของ Sb2O3 ก็
เกิดในทานองเดียวกัน)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 79
4KNO3 + 2As2O3 2K2O + 2As2O5 + 4NO(g) + O2(g) สมการ 5.13

2. เมือ่ อุณหภูมสิ งู ขึน้ ในระหว่างการหลอม เพนตะออกไซด์ (X2O5) ทีเ่ กิดขึน้ ในขัน้ ตอนที่ 1 จะแตกตัวเกิดก๊าซ
ออกซิเจนเพิม่ เติม ซึง่ หากมีฟองก๊าซอื่นๆ หลงเหลืออยู่กจ็ ะรวมกับออกซิเจนทีเ่ กิดขึน้ นี้ทาให้มขี นาดใหญ่ขน้ึ
และลอยสู่ผวิ น้าแก้วต่อไป โดยปฏิกริ ยิ าทีเ่ กิดขึน้ เป็ นดังสมการ 5.14

As2O5 As2O3 + O2(g) สมการ 5.14

ปฏิกริ ยิ าดังกล่าวเป็ นปฏิกริ ยิ าทีข่ น้ึ อยู่กบั อุณหภูม ิ โดยทีอ่ ุณหภูมติ ่ าจะทาให้เกิดปฏิกริ ยิ าย้อนกลับกลายเป็ น
เพนตะออกไซด์ซง่ึ ต้องการปริมาณออกซิเจนทีม่ อี ยูใ่ นแก้ว ซึง่ ทาให้เกิดการแพร่ของฟองก๊าซทีม่ อี อกซิเจนใน
แก้วเพื่อทาปฏิกริ ยิ ากับไตรออกไซด์ดงั กล่าว เมื่อฟองก๊าซดังกล่าวถูกทาให้เกิดปฏิกริ ยิ าก็จะมีขนาดเล็กลง
เมื่อขนาดของฟองก๊าซมีขนาดเล็กมาก (เล็กกว่า 0.1 มิลลิเมตร) จะทาให้แรงดันภายในฟองก๊าซจะลดลงทา
ให้ฟองก๊าซถูกกาจัดในที่สุด ซึ่งความดันภายในฟอง (Internal pressure, P) จะมีความสัมพันธ์กบั พลังงาน
พืน้ ผิว (Surface energy, ) และขนาดของฟองดังสมการ 5.15

2𝛾
𝑃= สมการ 5.15
𝑟

ส่วนโซเดียมซัลเฟตจะสลายตัวให้ก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) ในระหว่างทีเ่ กิดปฏิกริ ยิ ากับซิลกิ า


(SiO2) จากนัน้ ก๊าซทีเ่ กิดขึน้ จะสลายตัวให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และก๊าซออกซิเจนดังสมการ 5.16
และ 5.17 ตามลาดับ

Na2SO4 + nSiO2 Na2O – nSiO2 + SO3(g) สมการ 5.16

2SO3 2SO2(g) + O2(g) สมการ 5.17

โดยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะรวมตัวกับฟองก๊าซอื่นๆ กลายเป็ นฟองก๊าซขนาดใหญ่และลอยขึ้นสู่


ผิวหน้าน้ าแก้ว หรือ อาจรวมกลายเป็ นสารประกอบซัลเฟตละลายอยู่ในแก้วหากอุณหภูมติ ่ าลง ซึง่ ทาให้ฟอง
ก๊าซซัลเฟตมีขนาดเล็กลงและหายไปในทีส่ ุด คล้ายกับในกรณีของการหายไปของก๊าซออกซิเจนในระบบทีใ่ ช้
ออกไซด์ของสารหนู และพลวง ส่วนก๊าซออกซิเจนที่เกิดขึ้นจะรวมตัวกับฟองก๊าซอื่นๆ กลายเป็ น ฟองก๊าซ
ขนาดใหญ่ ในกรณี ท่ี ก ารหลอมมีค าร์ บ อน หรือ คาร์ บ อนมอนอกไซด์ ( CO) จะเกิ ด ปฏิ กิ ร ิ ย ากั บ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 80
ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) กลายเป็ นก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์แทน ซึ่งทาให้เกิด
ฟองก๊าซเป็ นจานวนมากได้

สารประกอบไนเตรตสามารถลดฟองก๊าซได้จากการสลายตัวให้ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซออกซิเจน
อย่างไรก็ตามปฏิกริ ยิ าการสลายตัวของไนเตรตนัน้ เกิดทีอ่ ุณหภูมติ ่ามาก (ประมาณ 500 – 800 เซลเซียส) ซึง่
เป็ นอุณหภูมทิ ว่ี ฏั ภาคของเหลวยังไม่เกิด ขึน้ ส่วนการใช้สารประกอบแฮไลด์นัน้ จะทาให้ของเหลวทีเ่ กิดขึน้ มี
ความหนืดต่ามาก ซึง่ จะทาให้อตั ราเร็วในการลอยตัวของฟองก๊าซเร็วขึน้ สารประกอบแฮไลด์จะนิยมใช้ในการ
หลอมแก้วทีม่ ปี ริมาณอะลูมนิ าสูง นอกจากนี้แก้วทีม่ อี อกไซด์ของธาตุทรานซิชนั เป็ นส่วนประกอบ เช่น CeO2
MnO2 Fe2O3 และ Pb3O4 เป็ นต้น จะเกิดก๊าซออกซิเจนขึน้ เมื่อเกิดปฏิกริ ยิ ารีดกั ชันของไอออนดังกล่าว ซึ่ง
ก๊าซออกซิเจนนัน้ จะมีกลไกการลดฟองเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตามสารประกอบของ
โลหะทรานซิชนั นี้ถูกเติมลงไปในแก้วเพื่อวัตถุประสงค์อ่นื มากกว่าการเติมเพื่อกาจัดฟองก๊าซ เช่นการเติม
CeO2 ลงไปเพื่อป้ องกันการเกิดปฏิกริ ยิ ากับแสงแดด (Solarisation) หรือการเติม MnO2 เพื่อเป็ นสารให้ส ี เป็ น
ต้น

5.3.5 การไหลของน้าแก้วหลอมในเตาหลอม (Melts circulation in furnace)

การไหลของน้ าแก้วหลอมในระหว่างการหลอมเป็ นสิง่ ทีค่ วรนามาพิจารณาในกระบวนการหลอมแก้ว


เนื่องจากการไหลของน้ าแก้วจะทาให้เกิดการถ่ายเทมวล (Mass transfer) และการถ่ายเทพลังงานหรือความ
ร้อน (Heat transfer) ซึ่งส่งผลให้เกิดปฏิกิรยิ าการหลอมได้ดีข้นึ และทาให้ น้ าแก้ว มีความเป็ นเนื้อเดียวกัน
อย่างไรก็ตามอาจทาให้เกิดการนาพาวัตถุดบิ ทีย่ งั ไม่หลอมไปยังบริเวณทีพ่ ร้อมใช้งาน (Working zone) ทาให้
เกิดเป็ นตาหนิในผลิตภัณฑ์ การไหลของน้ าแก้วในเตานี้ประกอบด้วยการไหลแบบไปข้างหน้า (Throughput
flow) และการไหลแบบไหลวน (Circulating flow หรือในบางครัง้ จะเรียกว่า secondary flow)

การไหลแบบไปด้า นหน้ า (Throughput flow) เป็ นการไหลจากบริเ วณที่ป้ อ นสาร (Feeding หรือ
Batch charging) ไปยังบริเวณพร้อมใช้งาน (Working zone) จากการเติมส่วนผสมลงไปในอ่างหลอมและการ
ดึงน้ าแก้วที่หลอมสมบูรณ์แล้วออกไปใช้งาน กระแสการไหลของน้ าแก้วจะขนานกัน โดยอัตราการไหล ณ
บริเวณก้นอ่างหลอมหรือบริเวณผนังเตาหลอมจะน้ อ ยมาก หรือ มีค่าเป็ น 0 และอัตราการไหลจะเพิ่มขึ้น
เรือ่ ยๆ สู่ผวิ ด้านบนของน้าแก้ว โดยมีทศิ ทางของกระแสไหลน้าแก้วเป็ นไปดังแบบจาลองในรูป 5.10

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 81
รูป 5.10 ทิศทางของกระแสน้าแก้วในการไหลแบบไปด้านหน้า (Throughput flow)
[ทีม่ า J.Hlavac (1983)]

การไหลแบบไหลวน (Circulation flow) เป็ นการไหลแบบที่ไม่มแี รงกระทาโดยตรงจากภายนอก


(Free-convection flow) โดยการไหลของน้ า แก้ ว จะเกิด จากความแตกต่ า งของอุ ณ หภู ม ิ (Temperature
gradient) และความแตกต่างของความหนาแน่ นของน้ าแก้วหลอม (Melt-density gradient) โดยทัวไปการให้ ่
ความร้อนในเตาเผามักให้บริเวณเหนือน้ าแก้วหรือเหนือวัตถุดบิ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนัน้ บริเวณน้ าแก้ว
ส่วนบนจะมีอุณหภูมสิ ูงสุด มีความหนืดต่ าสุดและมีความหนาแน่ นต่ าทีส่ ุด เมื่อพิจารณาร่วมกับการไหลแบบ
ไปด้านหน้ า (Throughput flow) จะทาให้ลกั ษณะการไหลเป็ นไปดังแบบจาลองในรูป 5.11 ดังนัน้ การปรับ
อุณหภูมใิ นเตาจะสาคัญมากในการควบคุมการไหลเพื่อส่งผลดีต่อขัน้ ตอนการหลอมแก้ว ซึง่ โดยทัวไปแล้ ่ วทา
ได้โดยเพิม่ อุณหภูมติ รงระยะ 2 ใน 3 ของบริเวณหลอม (Melting zone) ให้มอี ุณหภูมสิ ูงกว่าตาแหน่ งอื่นอยู่
ประมาณ 100 C

รูป 5.11 แบบจาลองการไหลแบบไหลวน (Circulation flow) ในเตาหลอมแบบต่อเนื่อง


[ทีม่ า J.Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 82
5.3.6 การเป็ นเนื้ อเดียวกันของแก้ว (Homogenising)

ในระหว่างการสลายตัวเพราะความร้อนของวัตถุดบิ ต่างๆ หรือในระหว่างทีเ่ กิดปฏิกริ ยิ าการหลอมตัว


ขององค์ประกอบต่างๆ ส่วนต่างๆ ในน้ าแก้วยังไม่เป็ นเนื้อเดียวกัน ในระหว่างขัน้ ตอนการกาจัดฟองก๊าซจะ
เกิดการผสมเข้ากันขึน้ เนื่องจากการเกิดฟองก๊าซขนาดใหญ่นัน้ จะช่วยกวนน้ าแก้วในให้ส่วนผสมต่างๆ ของ
แก้วเข้ากันได้ดจี นเป็ นเนื้อเดียวกัน แก้วทีไ่ ม่เป็ นเนื้อเดียวกันอาจเกิดได้หลายประเภททัง้ ทีส่ ามารถมองเห็น
ด้วยตาเปล่าและไม่สามารถมองเห็นได้ ซึง่ จะมีช่อื เรียกเฉพาะต่างๆ กัน เช่น

Stones คือแก้วที่มอี นุ ภาคอื่นปนอยู่ เช่น เศษวัสดุทนไฟ และเศษวัตถุดบิ ที่ไม่หลอม เป็ นต้น โดย
ส่วนมากจะสามารถมองเห็นได้ดว้ ยตาเปล่าได้

Striae เป็ นชัน้ หรือบริเวณ (2 มิต)ิ ทีอ่ งค์ประกอบของแก้วแตกต่างจากแก้วบริเวณอื่นๆ ซึง่ สามารถ


ตรวจสอบได้ดว้ ยเครือ่ งมือทางแสง ซึง่ การมองเห็นจะแตกต่างกัน จึงทาให้สามารถมองเห็นบริเวณ Striae ได้
หากบริเวณทีม่ อี งค์ประกอบต่างจากเนื้อแก้วส่วนอื่นมีลกั ษณะเป็ นเส้น จะเรียกว่า Cord

Wavy เป็ นตาหนิของแก้วทีเ่ กิดจากการมีค่าดัชนีหกั แหแสงแต่ละบริเวณไม่เท่ากัน หากเป็ นแก้วสีก็


จะสังเกตจากสีทแ่ี ตกต่างกันได้

ตาหนิต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในแก้วอาจตรวจวัดได้โดยการสังเกตจากหลายๆ วิธ ี เช่นการพิจารณาค่าดัชนี


หักเหของแสง การพิจารณาความหนาแน่ นของแก้ว หรือ การดูภายใต้แสงเพื่อดูลกั ษณะการมืด -สว่าง ของ
แก้ว เป็ นต้น หากปรากฏเป็ นเนื้อเดียวกันก็จะมองเห็นเป็ นลักษณะเดียวกัน เช่น มืดอย่างเดียวหรือสว่างอย่าง
เดียว หากมีก ารปรากฏลัก ษณะทัง้ มืดและสว่างก็แสดงว่าแก้วไม่เป็ นเนื้อเดียวกัน ( Inhomogeneity) การ
วิเ คราะห์ด้ว ยแสงนี้ มัก ปรากฏเป็ น แถบมืด สว่ า งสลับ กัน คล้า ยลายของม้า ลาย ท าให้เ รี ย กเทคนิ ค ที่ใ ช้
ตรวจสอบความเป็ นเนื้อเดียวกันของแก้วว่า Zebra board method

5.3.7 การระเหยขององค์ประกอบต่างๆ ในแก้ว (Volatilisation of components from melts)

เมื่อวัตถุดบิ กลายสภาพเป็ นของเหลวแล้ว อาจมีการระเหยขององค์ประกอบบางประเภทในระหว่าง


การหลอม ทาให้องค์ประกอบทางเคมีของแก้วเปลี่ยนไป ซึ่ง สามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัตติ ่างๆ
ของแก้ว ส่วนประกอบทีร่ ะเหยได้ง่าย ได้แก่ออกไซด์ของโลหะอัลคาไลน์ สารประกอบตะกัว่ โบรอนออกไซด์
ฟอสฟอรัสออกไซด์ และสารประกอบอื่นๆ ที่มคี วามดันไอสูงที่อุณหภูมสิ ูง ในกรณีของอัลคาไลน์ นัน้ การ
สูญ เสีย ของอัล คาไลน์ จ ะเพิ่ม ขึ้น ตามล าดับดัง นี้ Li < Na < K < Rb < Cs ซึ่ง การสูญ เสีย ส่ ว นผสมเหล่ านี้
เนื่องจากการระเหยนัน้ สามารถทาให้ลดลงได้โดยการเพิม่ ไอของสารเหล่านี้ในบรรยากาศของการหลอม โดย
จะส่งผลให้ความดันไอของสารที่ระเหยได้เพิม่ ขึน้ จนกระทังอั ่ ตราการระเหยและอัตราการควบแน่ นของสาร

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 83
ระเหยได้เข้าสู่ส มดุล ทาให้การระเหยของวัตถุ ดบิ ลดลง ในกรณีของการหลอมในถ้ว ยหลอมขนาดเล็กใน
ห้องปฏิบตั กิ ารหรือการหลอมในปริมาณทีไ่ ม่มาก อาจทาได้โดยการปิ ดฝาถ้วยหลอมหรือเบ้าหลอมไว้ ซึง่ จะ
ทาให้ความดันไอของสารระเหยเข้าสู่สภาวะทีส่ มดุลได้เร็วขึน้ อย่างไรก็ตามการปิ ดหรือคลุมเพื่อเพิม่ ความดัน
ไอเหนือของเหลวนัน้ ทาได้ยากในกรณีของการหลอมในปริมาณมากหรือการหลอมในเตาหลอมแบบต่อเนื่อง
ดังนัน้ การแก้ปัญหาอาจทาได้โดยการเติมส่วนผสมทีร่ ะเหยง่ายเพิม่ ขึน้ เพื่อทดแทนการสูญเสียองค์ประกอบ
นัน้ จากการระเหยในระหว่างการหลอม การพิจารณาว่าแก้วมีองค์ประกอบตามต้องการหรือไม่ อาจทาได้ดว้ ย
วิธอี ย่างง่ายคือการคานวณค่าร้อยละการสูญเสียน้ าหนัก (% weight loss) แต่วธิ กี ารนี้จะมีความคลาดเคลื่อน
สูงมาก เนื่อ งจากวัต ถุ ดิบที่ใ ช้อาจดูดซับน้ าได้ดี ซึ่งทาให้การสูญ เสียน้ าหนักมากเกินความเป็ นจริง โดย
น้าหนักทีห่ ายไปมากเกินนัน้ เกิดจากการสูญเสียน้า ไม่ใช่เกิดจากการระเหยของอัลคาไลน์

คาถามท้ายบท

1. การเกิดแก้ว (Glass formation) คือ อะไร จงอธิบายให้เ ข้าใจ โดยใช้การอธิบายเชิงโครงสร้างและการ


อธิบายเชิงจลน์

2. TTT-diagram คืออะไร สามารถใช้อธิบายการเกิดแก้วได้อย่างไร จงอธิบาย

3. ความเสถียรของแก้ว (Glass stability) คือ อะไร สามารถวิเ คราะห์ได้อ ย่างไรว่าแก้วแต่ล ะชนิดมีค วาม
เสถียรมากน้อยกว่ากัน

4. จงอธิบายปฏิกริ ยิ าเคมีทเี กิดขึน้ ในระหว่างการหลอมแก้วจากอุณหภูมหิ อ้ งถึงอุณหภูมสิ ูงสุดของการหลอม


ว่าเกิดอะไรบ้าง

5. จงอธิบายกลไกการกาจัดฟองก๊าซหากมีออกไซด์ของพลวงอยูใ่ นวัตถุดบิ แก้ว

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 84
บทที่ 6
การขึน้ รูปแก้ว
Glass Forming

“เมือ่ ได้น้ าแก้วหลอมทีม่ คี วามเป็ นเนื้อเดียวและปราศจากฟองก๊าซแล้ว เพือ่ สร้างสรรค์ผลงานใน


รูปแบบต่าง ๆ ทีไ่ ด้ออกแบบไว้ เช่น ขวดปากกว้าง ขวดทรงสูง กระจกใส และหลอดแก้ว เป็ นต้น น้ าแก้ว
หลอมจะถูก ส่งต่ อ ไปยังขัน้ ตอนต่ อไปเพือ่ เปลีย่ นน้ าแก้ว ทีเ่ ป็ น ของเหลว ให้ก ลายเป็ น ของแข็งทีไ่ ม่มี
โครงสร้างผลึก (อสัณฐาน หรือ Amorphous) ด้วยการขึ้นรูปพร้อมกับการลดอุณหภูมลิ งอย่างรวดเร็ว เมือ่
ผลิตภัณฑ์แข็งตัวและคงสภาพอยู่ได้ก็จะถูกส่งต่อไปยังขัน้ ตอนการอบอ่อนต่อไป ในบทนี้จะได้กล่าวถึง
ปั จจัยต่าง ๆ ทีส่ ง่ ผลต่อการขึ้นรูป ได้แก่ ความหนืด (Viscosity) ความหนืดในกระบวนการผลิตช่วงต่าง ๆ
การวัดค่าความหนืดของแก้ว และปั จจัยต่าง ๆ ทีส่ ง่ ผลต่อความหนืด ซึง่ สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการหา
อุณหภูมทิ เี ่ หมาะสมในการขึ้นรูป รวมไปถึงช่วงทีส่ ามารถขึ้นรูปแก้ว (Working range) ได้”

จากนัน้ กระบวนการทีส่ าคัญอีกประการหนึ่ง ในอุตสาหกรรมการผลิตแก้ว คือกระบวนการขึน้ รูป เพื่อ


ผลิตเป็ นผลิตภัณฑ์แก้วทีม่ ลี กั ษณะต่าง ๆ ขัน้ ตอนนี้อาจเป็ นขัน้ ตอนทีซ่ บั ซ้อน และยุ่งยาก และมีปัจจัยหลาย
อย่างทีจ่ ะต้องควบคุม ทัง้ ปั จจัยภายนอกทางด้านเทคโนโลยีทใ่ี ช้ขน้ึ รูป หรือปั จจัยภายในทีส่ ่งผลต่อเนื้อแก้ว
โดยตรง ผลิตภัณฑ์แก้วจะมีทงั ้ แบบหนึ่งมิติ เช่น ใยแก้ว (Glass fibre) แบบสองมิติ เช่น จาน หรือ กระจก
แผ่น และแบบสามมิติ เช่น ขวด บรรจุภณ ั ฑ์และภาชนะต่าง ๆ เป็ นต้น กล่าวโดยสรุปแล้วแก้วหลอมเหลวที่ม ี
อุณหภูมสิ ูงจะทาให้เย็นตัวลงในระหว่างการขึน้ รูป เพื่อเปลีย่ นสภาพของเนื้อแก้วทีม่ คี วามอ่อนตัว ให้มคี วาม
หนืดเพิม่ ขึน้ และไม่เปลีย่ นแปลงรูปร่าง (คงรูปได้) กลายเป็ นผลิตภัณฑ์ทม่ี รี ปู ร่างต่าง ๆ ตามต้องการ

ขัน้ ตอนการขึ้นรูปแก้ว นี้ต้อ งทาในช่ว งที่แก้ว มีส ถานะเป็ นของเหลวหนืด ซึ่งจะสามารถบังคับให้


ของเหลวหนืด เปลี่ยนรูปทรงไปเป็ นรูป ร่างต่ าง ๆ ตามต้อ งการได้ เมื่อ แก้ว เย็นตัว ลงเนื้อ แก้ว จะแข็ง ตัว
(Solidify) มากขึน้ ตามความหนืด (Viscosity) ทีเ่ พิม่ ขึน้ ของแก้ว โดยความหนืดจะเพิม่ ขึน้ ขึน้ อยูก่ บั สัมประสิทธิ ์
ระหว่างอุณหภูมกิ บั ความหนืด และ ขึน้ อยู่กบั อัตราการถ่ายเทความร้อนจากเนื้อแก้วสู่สงิ่ แวดล้อม โดยค่า
สัมประสิทธิ ์ระหว่างอุณ หภูมกิ บั ความหนืดของแก้วแต่ล ะชนิดจะไม่ เท่ากัน ส่งผลถึงชนิดของเทคนิค หรือ
เทคโนโลยีท่เี ลือกใช้ในการขึ้นรูป การถ่ ายเทความร้อ นจากน้ าแก้วหลอมไปสู่สงิ่ แวดล้อมนัน้ จะส่ งผลถึง
ระยะเวลาทีใ่ ช้ในการขึน้ รูป ยกตัวอย่างเช่นผลิตภัณฑ์ทม่ี คี วามหนาจะเย็นตัวช้ากว่าผลิตภัณฑ์ทม่ี คี วามบาง
ผลิตภัณฑ์ทม่ี คี วามบางจึงใช้เวลาขึน้ รูปน้อยกว่าแก้วหนา

ความหนาของแก้วจะส่งผลต่ออัตราการเย็นตัวของแก้ว ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความเค้นคงค้างที่
เหลืออยู่ในแก้ว ซึ่งเป็ นข้อกาหนดว่า แก้วสามารถขึ้นรูปได้หรือไม่ และควรต้องควบคุมอัตราการเย็นตัวใน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 85
ระหว่างการขึน้ รูปอย่างไร มีรายงานว่าอัตราการถ่ายเทความร้อนของแก้วแผ่นจะสัมพั นธ์กบั ความหนาของ
แก้ว อีกทัง้ ความร้อนคงค้างภายในแก้ว จะถ่ายเทออกมาช้ากว่าหากแก้วมีความหนา ซึง่ ทาให้ มคี วามเค้นคง
ค้างเหลืออยู่ในแก้วสูง ทาให้อาจเกิดรอยแตกร้าวในแก้วได้หากขัน้ ตอนการอบอ่อนไม่สมบูรณ์ ซึง่ ความหนา
ของผลิตภัณฑ์แก้วโดยทัวไปไม่
่ ควรเกิน 15 เซนติเมตร

นอกจากการควบคุมอัตราการเย็นตัวของแก้วขณะขึ้นรูปแล้ว เทคนิคการขึ้นรูปด้วยวิธตี ่าง ๆ จะ


เหมาะสมกับความหนืดของแก้วทีต่ ่างกันดังสรุปได้ในตาราง 6.1

ตาราง 6.1 ช่วงความหนืดทีเ่ หมาะสมต่อวิธกี ารขึน้ รูปด้วยวิธตี ่าง ๆ

วิ ธีการขึ้นรูป ช่วงความหนื ดที่เหมาะสม


(log ; หน่วยของ  คือ Pas)
การผลิ ตแก้วแผ่นแบบต่ อเนื่ อง 2.8 – 4.0
(Continuous of flat glass)
การผลิ ตภาชนะ 3.0 – 6.0
(Forming of container)
การผลิ ตแก้วแผ่นด้วยวิ ธีการดึง 4.0
(Continuous sheet drawing; Fourcault)
การผลิ ตแก้วหลอดด้วยวิ ธีการดึง 5.0
(Continuous drawing of tubes; Danner method)
การเป่ า 3.4 – 8.0
(Hand blowing)

กล่าวโดยสรุปแล้วในกระบวนการขึน้ รูปแก้ว ขึน้ อยู่กบั สมบัตติ ่าง ๆ ของแก้ว ได้แก่ การถ่ายเทความ


ร้อ น (Heat transfer) โดยเฉพาะอย่างยิง่ แบบการนาความร้อ น (Conduction) และแบบการแผ่ ค วามร้อ น
(Radiation) ความหนืดของแก้ว (Viscosity) ความตึงผิว (Surface tension) อุณหภูมกิ ารเปลีย่ นเป็ นของเหลว
(Liquidus temperature) ความร้อ นจ าเพาะ (Specific heat) ความหนาแน่ น (Density) ปริม าตรจ าเพาะ
(Specific volume) และค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อน (Coefficient of thermal expansion)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 86
6.1 ความหนื ดของแก้วในกระบวนการผลิ ตในขัน้ ตอนต่ าง ๆ (Viscosity of glass forming melts)

จากทฤษฎีการเกิดแก้วซึง่ อธิบายจากหลักเชิงจลน์ จะได้ว่าแก้วสามารถเกิดได้ง่ายเมื่อ 1) ทีอ่ ุณหภูม ิ


การหลอมน้ าแก้วมีความหนืดสูงมาก และ 2) เมื่อความหนืดของน้ าแก้วเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วเมื่อลดอุณหภูม ิ
ลงต่ ากว่าอุณหภูมกิ ารหลอม เนื่องจากการจัดเรียงตัวของอะตอมกลายเป็ นผลึก เกิดขึน้ ยากจากความหนืดที่
สูงขึ้นทาให้อะตอมเคลื่อนที่ช้าลง ดังนัน้ จะเห็นได้ว่า ความหนืดของแก้วมีความสาคัญ มากต่อกระบวนการ
หลอมแก้ว และความหนืดยังเป็ นสิง่ ทีส่ ่งผลต่อขัน้ ตอนอื่น ๆ อีก เช่น การกาจัดฟองก๊าซ (ความหนืดสูงกาจัด
ได้ยาก) การทาให้เป็ นเนื้อเดียวกัน (ความหนืดสูงทาให้เป็ นเนื้อเดียวกันได้ยาก) และ ระยะเวลาในการอบ
อ่อนแก้วซึง่ เป็ นการทาให้แก้วมีความเครียดน้อยลง เป็ นต้น

ความหนื ด (Viscosity, ) คือ ความต้า นทานของของเหลวต่ อ การเสีย รูป จากแรงเฉื อ น (Shear


deformation) หรืออาจกล่าวได้กว่าคือ การวัดอัตราส่วนระหว่างแรงเฉือนที่ให้กบั ของเหลวต่ออัตราการไหล
ของของเหลว ค่าความหนืดหาได้จากสมการ 6.1 โดยจะพิจารณาความแตกต่างของแรงกระทาคู่ขนาน (𝐹)
ต่อระนาบทีม่ พี ้นื ที่ 𝐴 โดยทัง้ สองระนาบนี้อยู่ห่างในระยะทาง 𝑑 และระนาบทัง้ สองเคลื่อนที่ดว้ ยอัตราเร็วค่า
หนึ่ง โดยมีความเร็วสัมพัทธ์ (Relative velocity) ระหว่างระนาบทัง้ สองเท่ากับ 𝑣 ดังรูป 6.1

𝐹𝑑
 = 𝐴𝑣 สมการ 6.1

รูป 6.1 การหาความหนืด เมือ่ พิจารณาความเร็วในการไหลของระนาบพืน้ ที่ A สองระนาบทีข่ นานกัน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 87
ค่าของความหนืดในหน่ วยวัดระบบ Centimeter-gram-second, CGS คือ ดายน์ วนิ าทีต่อตารางเซนติเ มตร
(dynescm-2) หรือ พอยส์ (Poise) (ใช้ต ัว ย่ อ P) ส าหรับ รหน่ ว ยวัด ระบบเอสไอ (SI unit: International
system unit) จะใช้นิวตันวินาทีต่อตารางเมตร (Nsm-2) หรือพาสคัลวินาที (Pas) ค่าความหนืดถูกใช้แบ่ง
ประเภทของของไหล เป็ นของไหลนิวโตเนียน (Newtonian) และของไหลนอนนิวโตเนียน (Non-newtonian)
โดยของไหลนิวโตเนียน (Newtonian) ซึ่งเป็ นของไหลที่มคี วามเร็ว ของการไหลตามแรงเฉือนคงที่ ส่วนของ
ไหลนอนนิวโตเนียน (Non-Newtonian) เป็ นของไหลที่เมื่อให้แรงเฉือนมากขึ้นความหนืดจะลดลง น้ าแก้ว
หลอมเป็ นของไหลแบบนอนนิวโตเนียน (Non-Newtonian) โดยพฤติกรรมทีค่ วามหนืดลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อ
ให้แรงเฉือนเพิม่ ขึน้ นี้จะเรียกว่าพฤติกรรมการไหลแบบซูโดพลาสติก (Pseudoplastic) หรือ Shear thinning
ซึง่ พฤติกรรมนี้ส่งผลต่อกระบวนการขึน้ รูปแก้ว โดยเฉพาะเทคนิคการขึน้ รูปทีใ่ ช้แรงเฉือนสูง นอกจากนัน้ ค่า
ความหนืดอาจรายงานในรูปของค่าการไหลตัว หรือ Fluidity ซึง่ จะแปรผกผันกับความหนืด ในกระบวนการ
ขึน้ รูปแก้วนัน้ น้ าแก้วหลอมจะมีความหนืดสูงขึน้ เมื่ออุณหภูมลิ ดลง ตัวอย่างการขึน้ รูปแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กตที่
พบการเปลีย่ นแปลงของความหนืดของแก้วเป็ นดังรูป 6.2 ทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ ในระหว่างกระบวนการผลิตแก้ว
โดยสามารถสรุปไว้ในตาราง 6.2 ซึง่ แสดงจุดสาคัญต่าง ๆ เทียบกับค่าความหนืด เช่น ช่วงทีส่ ามารถขึ้นรูป
แก้วได้ ช่วงทีแ่ ก้วมีการอ่อนตัวและช่วงทีเ่ หมาะแก่การอบอ่อน เป็ นต้น

รูป 6.2 การเพิม่ ขึน้ ของความหนืดของแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กตทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ


[ดัดแปลงจาก J.E. Shelby (2005)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 88
ตาราง 6.2 จุดต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตแก้วทีค่ วามหนืดของแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กตช่วงต่าง ๆ
ความหนื ดของแก้ว
เหตุการณ์ ที่เกิ ดขึ้น
(พาสคัลวิ นาที ; Pas)
แก้วหลอมสมบูรณ์ 1 – 10
จุดขึน้ รูปแก้ว 103
จุดอ่อนตัวแบบ Littleton (Littleton softening point) 106.6
จุดอ่อนตัวแบบ Dilatometric 108 – 109
ช่วงการเปลีย่ นเป็ นแก้ว (Glass transition range) 1011.3
ช่วงการอบอ่อน 1012 – 1012.4
จุดความเครียดต่า (Strain Point) 1013.5

ในการอธิบายเหตุก ารณ์ต่ าง ๆ ที่ปรากฏในรูป 6.2 และ ตาราง 6.2 จะเป็ นค่าความหนืด ที่แต่ ล ะ
อุณหภูมเิ มื่อน้ าแก้วเย็นตัวลง โดยเป็ นของกระบวนการผลิตแก้วชนิดโซดาไลม์ซลิ เิ กตซึง่ ใช้เป็ นระบบอ้างอิง
ในอุ ต สาหกรรมการผลิต แก้วทัวไป ่ โดยเมื่อ วัต ถุ ดิบต่ าง ๆ ผ่ านกระบวนการหลอมจนสมบูรณ์ กล่ าวคือ
กลายเป็ นของเหลวสมบูรณ์ ท่ีมคี วามเป็ น เนื้อ เดียวกัน และถู กไล่ ฟอร์ม ก๊ าซแล้ว จะมีค วามหนืด น้ อ ยกว่ า
10 พาสคัล วินาที (Pas) จากรูป 6.2 แสดงจุดหลอมเหลวของแก้ว ที่เ ป็ นอุ ณหภูมหิ ลอมเหลวสมบูรณ์ ใ น
กระบวนการผลิตแก้วซึง่ มักจะสูงกว่าจุดหลอมเหลว (Melting point) ของส่วนผสม

ในการขึน้ รูปแก้วนัน้ น้ าแก้วเหลวจะได้รบั แรงกระทาเพื่อเปลีย่ นรูปร่างให้เป็ นไปตามต้องการ ตามที่


ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ ดังนัน้ น้าแก้วหลอมเหลวต้องมีการไหลตัวทีเ่ หมาะสมเพื่อให้สามารถขึน้ รูปได้ และ
ต้องมีความหนืดมากพอเพื่อสามารถคงรูปอยูไ่ ด้ในระหว่างการขึน้ รูป ความหนืดทีเ่ หมาะสมกับการขึน้ รูปจะมี
ค่าความหนืดอยู่ประมาณ 103 พาสคัลวินาที (Pas) โดยเรียกจุดนี้ว่า Working point เมื่อน้ าแก้วได้รบั แรง
และมีรปู ร่างตามต้องการแล้ว ในระหว่างทีค่ วามหนืดยังต่ าอยู่แก้วจะต้องอยู่ในแบบพิมพ์ขน้ึ รูปในระยะเวลา
หนึ่งเพื่อรอให้มคี วามหนืดสูงขึ้นจนสามารถคงสภาพอยู่ได้ ค่าความหนืดนี้จะอยู่ท่ปี ระมาณ 106.6 พาสคัล
วินาที (Pas) ซึ่งเป็ นช่วงที่แก้วอ่อนตัว หรือ ณ จุด อ่อนตัว (Softening point) ช่วงการขึน้ รูป หรือ ช่วงการ
ท างาน (Working range) โดยทัว่ ไปแล้ ว จะถือ เอาช่ ว งตัง้ แต่ จุ ด ขึ้น รู ป (Working point) ถึง จุ ด อ่ อ นตัว
(Softening point) หากแก้ว มีช่ว งการขึ้น รูป ที่กว้างจะเรียกแก้ว ชนิด นัน้ ว่ า แก้ว ยาว (Long glass) ในทาง
กลับกันแก้วทีม่ ชี ่วงการทางานแคบจะถูกเรียกว่า แก้วสัน้ (Short glass) นอกจากนัน้ ยังมีนิยามการเรียกชนิด
ของแก้วตามอุณหภูมขิ องช่วงการขึน้ รูป ซึง่ เรียกว่าแก้วแข็ง (Hard glass) ในกรณีทช่ี ่วงการทางานอยูส่ ูงกว่า
ช่วงการทางานของแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กต หากอยูต่ ่ากว่าแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กตจะเรียกว่าแก้วอ่อน (Soft glass)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 89
จุดอ่อนตัวแบบ Littleton (Littleton softening point) เป็ นชื่อเรียกจุดอ่อ นตัว ที่ถู กวัดด้ว ยวิธ ีเ ฉพาะ
สามารถวัดจากอัตราการยืดตัวของเส้นใยแก้ว (ไฟเบอร์) ทีม่ ขี นาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.7 มิลลิเมตร
ยาว 24 เซนติเมตร โดยปลายด้านหนึ่งของไฟเบอร์ (ประมาณ 10 เซนติเมตร) จะได้รบั ความร้อนทีอ่ ุณหภูม ิ
สูงขึน้ เรื่อย ๆ โดยใช้อตั ราการเพิม่ อุณหภูมเิ ท่ากับ 5 K/min จุดอ่อนตัวแบบ Littleton คือจุดที่อุณหภูมขิ อง
ตัวอย่างแก้วโซดาไลม์ซลิ กิ ามีอตั ราการยืดตัว (Elongation) เท่ากับ 1 มิลลิเมตรต่อนาที โดยในตาราง 6.2
สามารถอ่านค่าได้เท่ากับ 106.6 พาสคัลวินาที (Pas) อย่างไรก็ตามแก้วประเภทอื่น ๆ จะมีอุณหภูม ิของ
จุดอ่อนตัวแบบ Littleton ทีแ่ ตกต่างไป นอกจากนี้ยงั มีการวัดจุดอ่อนตัวด้วยวิธกี ารพิจารณาจากการขยายตัว
เพราะความร้อน (Thermal expansion) ของแก้ว ซึ่งจะเรียกว่าจุดอ่อนตัวแบบ Dilatometric (Dilatometric
softening point, Td) ซึง่ มาจากเครื่องมือทีใ่ ช้วดั ค่าการขยายตัวเพราะความร้อนนัน้ มีช่อื เรียกว่า Dilatometer
โดยจุดอ่อนตัวแบบ Dilatometric นัน้ คือ อุณหภูมสิ ูงสุดที่ช้นิ งานแก้วมีการขยายตัวสูงที่สุด (วัดในระหว่าง
การเพิม่ อุณหภูมแิ ก้ว)

เมื่อแก้วอยู่ในช่วงอุณหภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ นแก้ว (Glass transition temperature, Tg) แก้วจะมีความ


หนื ด อยู่ท่ีป ระมาณ 1011.3 พาสคัล วิน าที (Pas) อุ ณ หภูม ิก ารเปลี่ย นเป็ น แก้ว (Tg) สามารถวัด จากการ
เปลี่ย นแปลงค่ า ความจุ ค วามร้อ น (Heat capacity) หรือ ค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้ อ น
(Thermal expansion coefficient) โดยการค่าทีไ่ ด้จะขึน้ อยู่กบั อัตราการเพิม่ อุณหภูม ิทใ่ี ช้ในการวิเคราะห์และ
ขึน้ อยูก่ บั ขนาดของสารตัวอย่าง ส่งผลทาให้อุณหภูมกิ ารเปลีย่ นเป็ นแก้ว (Tg) แตกต่างกัน ดังนัน้ การแสดงค่า
อุณหภูมกิ ารเปลีย่ นเป็ นแก้วควรระบุวธิ กี ารวัด อัตราการเพิม่ อุณหภูม ิทใ่ี ช้ในการวิเคราะห์ รวมถึงขนาดของ
ตัวอย่างด้วย

เมื่อแก้วสามารถคงตัวอยู่ได้หลังจากขึน้ รูป ชิ้นงานจะถูกแกะออกจากแบบพิมพ์ข้นึ รูปและลาเลียง


ต่อไปยังกระบวนการอบอ่อน (Annealing) ซึง่ เป็ นขัน้ ตอนสาคัญในการลดความเค้นทีเ่ กิดขึน้ ในแก้วระหว่าง
การขึน้ รูป ความหนืดของแก้วทีเ่ หมาะสมทีจ่ ะเข้าอบอ่อนอยูท่ ป่ี ระมาณ 1012 หรือ 1012.4 พาสคัลวินาที (Pas)

แก้ว จะมีพ ฤติก รรมการตอบสนองต่อแรงกระทาอยู่ระหว่างพฤติกรรมการเป็ นของเหลวสมบูรณ์


(Newtonian liquid) ซึ่ง เป็ น ของเหลวที่ส ามารถปลดปล่ อ ยความเครีย ดได้ท ัน ทีเ มื่อ ได้ร บั แรงกระท า กับ
ของเหลวทีม่ คี วามหนืดสูงซึง่ มีพฤติกรรมเหมือนวัสดุ ทม่ี คี วามยืดหยุ่น (Elastic materials) ซึง่ เป็ นพฤติกรรม
ทีเ่ รียกว่า Viscoelastic ทาให้น้าแก้วหลอมถูกจัดเป็ นวัสดุหยุน่ หนืด หรือวัสดุทม่ี คี วามเป็ น Viscoelasticity

ความหนืดของแก้วมักรายงานใน 2 รูปแบบคือ Isothermal viscosity ซึ่งเป็ นค่าของความหนืดที่


รายงาน ณ อุณหภูมหิ นึ่ง ๆ และรูปแบบที่จะรายงานอุณหภูมทิ ่แี ก้วมีความหนืดค่าหนึ่ง (ตัวอย่างของการ
รายงานอุณหภูม ิ ณ จุดอ่อนตัวแบบ Littleton และการรายงานอุณหภูมกิ ารเปลีย่ นเป็ นแก้ว เป็ นต้น) ซึง่ มีช่อื
เรียกเฉพาะของอุณหภูมดิ งั กล่าวว่าอุณหภูมิไอโซคอม (Isokom temperature) สาหรับแต่ละค่าความหนืด

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 90
6.2 ความสัมพันธ์ระหว่างความหนื ดกับอุณหภูมิ (Viscosity and temperature relationship)

โดยทัวไปแล้
่ วหากต้องการอธิบายค่าความหนืดของแก้วหรือของของเหลวที่ อุณหภูมติ ่าง ๆ มักจะใช้
สมการของ Arrhenian (สมการ 6.2) และสมการของ Vogel-Fulcher-Tamman (สมการ 6.3) ในการอธิบาย
โดยสมการของ Arrhenian เหมาะส าหรับ ความหนื ดในช่ว ง 1013 – 109 พาสคัล วินาที ส่ ว นในช่ว งที่แ ก้ว
สามารถไหลตัว ได้ดีห รือ มีค วามหนื ดต่ ากว่ า จะใช้ ส มการของ Vogel-Fulcher-Tamman ซึ่ง พัฒนามาจาก
สมการของ Arrhenian โดยร่วมกันคิดโดยนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน จึงมีการเรียกชื่อรวม ๆ กันว่า Vogel-
Fulcher-Tamman Equation หรือ VFT Equation

 = 0 𝑒 ∆𝐻 /𝑅𝑇 สมการ 6.2

เมือ่  คือ ความหนืด

0 คือ ค่าคงที่

∆𝐻 คือ พลังงานกระตุน้ ในการไหลของของเหลวหนืด (Activation energy for viscous flow)

R คือ ค่าคงทีข่ องก๊าซ

T คือ อุณหภูมสิ มั บูรณ์ (หน่วยเคลวิน; K)

โดยค่าของพลังงานกระตุน้ ∆𝐻 จะน้อยหากความหนืดของแก้วต่า

สมการของ Vogel-Fulcher-Tamman ถู ก ปรับ ปรุ ง จากสมการของ Arrhenian (สมการ 6.2) มาเป็ น


สมการ 6.3 โดยลดรูปของพจน์บางพจน์ในสมการลงและปรับเปลี่ยนปั จจัยของอุณหภูม ิ โดยเพิม่ ตัวแปร T0
ซึ่ง T0 ซึ่งเป็ นอุณหภูมทิ ่ใี กล้กบั อุณหภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ นแก้ว (Glass transition temperature) ดังนัน้ T0 จะ
เปลีย่ นไปขึน้ อยูก่ บั องค์ประกอบทางเคมีของแก้ว ซึง่ จะกาหนด T0 ไว้ต่ากว่า Tg เสมอ

 = 0 𝑒 𝐵/(𝑇−𝑇0) สมการ 6.3

เมือ่ B คือ ตัวแปรทีล่ ดรูปมาจากพลังงานกระตุน้ ในการไหลของของเหลวหนืด (∆𝐻)

T คือ อุณหภูมทิ ต่ี อ้ งการหาความหนืด ในหน่วยเคลวิน

อย่างไรก็ตามสมการที่ 6.3 ไม่นิยมใช้มากนัก ซึ่งสมการของ Vogel-Fulcher-Tamman ที่นิยมใช้ในโรงงาน


อุตสาหกรรมการผลิตแก้วจะอยูใ่ นรูปของลอการิทมึ (Logarithm) ดังสมการ 6.4

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 91
𝐵×103
log  = −𝐴 + สมการ 6.4
𝑇−𝑇0

เมือ่ A คือ ค่าคงที่ (ใช้แทน 0 )

T หรือ T0 คือ อุณหภูมใิ นหน่วยของเซลเซียส (C)

ในการหาค่าความหนืดที่อุณ หภูมใิ ด ๆ นัน้ จะต้องกาหนดค่ าอุณหภูม ิ T0 ขึ้นมาสาหรับแก้ว แต่ ล ะ


องค์ประกอบ ซึ่งสมการของ Vogel-Fulcher-Tamman สามารถใช้ได้หลายอุ ณหภูม ิ อย่างไรก็ต ามก็จ ะมี
ข้อจากัดคือหากใช้ทอ่ี ุณหภูมใิ กล้ ๆ อุณหภูมกิ ารเปลีย่ นเป็ นแก้ว (Tg) ค่าความหนืดทีไ่ ด้มกั ห่างจากความเป็ น
จริง เนื่องจาก ณ อุณหภูมชิ ่วงนี้พลังงานกระตุ้นในการไหลของของเหลวหนืด ( ∆𝐻) จะมีค่าคงที่ นอกจากนี้
การเลือกอุณหภูม ิ T0 ก็ส่งผลต่อค่าความหนืดเช่นกัน กล่าวคือหากกาหนดค่า T0 เท่ากับ 0 ความสัมพันธ์
ระหว่างความหนืดกับอุณหภูมจิ ะเป็ นไปตามความสัมพันธ์ดงั สมการของ Arrhenian กล่าวคือ (T-T0 = T) ซึง่
หากสร้างกราฟระหว่างความหนืดกับอุณหภูม ิ จะได้ความสัมพันธ์เป็ นเส้นตรง ดังรูป 6.3 และหากตัง้ ค่า T0
ใกล้เคียงกับ Tg ความสัมพันธ์ระหว่างความหนืด กับอุณหภูมจิ ะมีความโค้งมากขึน้ นอกจากนี้ ความหนืดของ
แก้ว จะมีค วามเชื่อ มโยงกับ ความแข็ง หรือ ความเปราะ (Fragility) ของแก้ว อีก ด้ว ย ซึ่ง สามารถแสดงใน
แผนภาพความเปราะ (Fragility diagram) ดังแสดงในรูป 6.3 แก้วองค์ประกอบทีม่ คี วามสัมพันธ์ระหว่างความ
หนืดกับอุณหภูมเิ ป็ นเส้นตรง (มีความสัมพันธ์แบบ Arrhenian) จะเรียกองค์ประกอบนัน้ ว่า Strong melts ซึง่
สามารถทาให้เกิดแก้วได้ง่าย กล่าวคือองค์ประกอบนัน้ เกิด พันธะระหว่างหน่ วยย่อยของแก้ว เป็ นพันธะโควา
เลนท์ หากองค์ประกอบไหนทีใ่ ห้ความสัมพันธ์เป็ นเส้นโค้งจะมีความเปราะมากขึน้ ซึง่ เรียกว่า Fragile melts
จะเป็ นแก้วทีม่ อี งค์ประกอบทีเ่ กิดทัง้ พันธะไอออนิกและโควาเลนท์อยู่ร่วมกันในโครงสร้างแก้ว เช่น กรณีการ
เติม ตัว ท าลายโครงข่า ย (Network modifier oxide) เพิ่ม ลงไปในแก้ว Fragile melt จะมีก ารเปลี่ย นแปลง
โครงสร้างอย่างรวดเร็วเมือ่ อุณหภูมเิ พิม่ สูงกว่า Tg

นอกจากนัน้ ความสัมพันธ์ระหว่างความหนืดกับอุณหภูมยิ งั สามารถอธิบายได้ดว้ ยการเปลี่ยนแปลงปริมาตร


ของน้ าแก้วหลอม ซึ่งสมการที่ใช้อธิบายนัน้ จะถูกปรับปรุงจากสมการข้างต้นให้มพี จน์ ของปริมาตรจาเพาะ
เพิม่ เติมเข้ามาในสมการ ดังสมการ 6.5

 = 0 𝑒 𝐵1/(𝑉−𝑉0) สมการ 6.5

เมือ่ B1 คือ ค่าคงที่

V คือ ปริมาตรจาเพาะ (หรือปริมาตรต่อโมล) ของน้าแก้วหลอม

V0 คือ ปริมาตรจาเพาะของโครงสร้างทีเ่ รียงตัวกันแน่ น (Close pack)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 92
โดยผลต่างระหว่าง V-V0 นัน้ จะแปรผันโดยตรงกับกับความต่างของอุณหภูม ิ (T-T0) ซึง่ ทีอ่ ุณหภูม ิ T0
ความหนืดของแก้วหรือของเหลวจะมีค่าสูงมาก และหากพิจารณาความเกี่ยวเนื่องกับปริมาตรจาเพาะ V0
พบว่า ความหนืดจะสูงมากเช่นกันเนื่องจากอะตอมไม่สามารถเคลื่อนทีไ่ ด้เนื่องจากเป็ นสภาวะทีม่ กี ารจัดเรียง
ตัวของอะตอมต่าง ๆ ชิดกันมากทีส่ ุด (Close pack) ซึง่ เป็ นสภาวะทีส่ สารมีความหนาแน่ นสูงสุด

อีก ทัง้ ยัง สามารถอธิบ ายความสัม พัน ธ์น้ี จ ากค่ า เอนโทรปี ข องน้ า แก้ว หลอม ซึ่ง มีส มมติฐ านว่ า
ของเหลวจะประกอบไปด้วยบริเวณที่มกี ารจัดเรียงตัวของอะตอมเป็ นกลุ่มก้อนที่มกี ารผันผวนของพลังงาน
(Fluctuation of energy) โดยขนาดของกลุ่มก้อนนี้จะขึ้นอยู่กบั อุณหภูมแิ ละมีขนาดที่ใหญ่ข้นึ เมื่อเอนโทรปี
ของการจัดเรียงตัวของอะตอมในกลุ่มก้อนลดลง โดยขนาดของกลุ่มก้อนจะใหญ่ทส่ี ุดในกรณีทเ่ี อนโทรปี มคี ่า
เท่ากับศูนย์ โดยสามารถเขียนให้อยูใ่ นรูปสมการได้ดงั แสดงในสมการ 6.6

 = 0 𝑒 𝐵2/(𝑇𝑆𝑐) สมการ 6.6

เมือ่ B2 คือ ค่าคงที่

T คือ อุณหภูมทิ ต่ี อ้ งการหาความหนืด

Sc คือ เอนโทรปี

ซึง่ Sc มีความสัมพันธ์กบั อุณหภูมดิ งั สมการ 6.7

𝑇−𝑇0
𝑆𝑐 = ∆𝐶𝑝 ( ) สมการ 6.7
𝑇

เมือ่ Cp คือ ความแตกต่างของความจุความร้อนจาเพาะของแก้วทีส่ องอุณหภูม ิ T0 และ T ซึง่ จะมีค่าคงที่

T หรือ T0 คือ อุณหภูมทิ ต่ี ้องการหาความหนืด และ อุณหภูมทิ ก่ี าหนดขึน้ (ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น) ใน
หน่วยของเซลเซียส (C)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 93
รูป 6.3 แผนภาพความเปราะ (Fragility diagram) ของของเหลวหนืด [ดัดแปลงจาก Shelby (2005)]

6.3 ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่ อความหนื ดของแก้ว (Factors effecting viscosity of glasses)

6.3.1 องค์ประกอบทางเคมี (Chemical composition)

ปั จจั ย นี้ อ าศั ย การอธิ บ ายด้ ว ยความเชื่ อ มต่ อ ของโครงสร้ า งแก้ ว หรื อ การเชื่ อ มต่ อ ของ
ตัวโครงร่างตาข่ายแก้ว (Glass former) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าองค์ประกอบแก้วที่ลดความเชื่อ มต่อของแก้วลง
ความหนืดของแก้วองค์ประกอบนัน้ ๆ จะลดลงด้วย

6.3.1.1 แก้วระบบซิ ลิเกต (Silicate glasses)

น้าแก้วหลอมของแก้วซิลกิ า (SiO2) จะมีความหนืดสูงสุดในบรรดาแก้วออกไซด์ แก้วซิลกิ ามีอุณหภูม ิ


การเปลี่ยนเป็ นแก้วอยู่ในช่วงที่สูงมาก โดยอยู่ท่ปี ระมาณ 1060 – 1200 เซลเซียส ความหนืดของน้ าแก้ว
หลอมชนิดนี้จะเพิม่ ขึน้ ช้ามากเมื่ออุณหภูมขิ องน้ าแก้วหลอมลดลง โดยในการผลิตแก้วซิลกิ าจะมีอุณหภูมทิ ่ี
เหมาะสมต่อการขึน้ รูปอยู่ทป่ี ระมาณ 2200 เซลเซียส ซึง่ สูงกว่าจุดหลอมเหลวของซิลกิ า (SiO2) มาก การเติม
ออกไซด์ของโลหะอัลคาไลน์ (M2O) ลงไปในแก้วซิลกิ า จะเกิดการทาลายการเชื่อมต่อของพันธะระหว่างตัว
โครงสร้างแก้ว กล่ าวคือ พันธะของ Si-O-Si จะถู ก ทาลาย โดย Bridging oxygen (ออกซิเ จนที่เ ชื่อ มต่ อ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 94
ระหว่างตัวโครงสร้างแก้ว ในกรณีน้คี อื ระหว่าง Si และ Si) จะถูกเปลีย่ นเป็ น Non-bridging oxygen ดังสมการ
เคมีแสดงปฏิกิรยิ า (สมการ 6.8) เมื่อ – แสดงความเป็ นพันธะโควาเลนท์ และ  แสดงความเป็ นพันธะ
ไอออนิกในแก้ว

Si-O-Si + M2O Si-O–+M + M+–O-Si สมการ 6.8

การทาลายโครงข่ายของตัวโครงสร้างแก้วดังกล่าวจะทาให้ความหนืดของแก้วลดลงมากเมื่อเติมออกไซด์
ของอัลคาไลน์ลงไปในประมาณน้อย ๆ แต่หากเติมลงไปสูงขึน้ ถึงประมาณ 10 – 20 % โดยโมล ค่าความหนืด
จะไม่แตกต่างกันมากนัก นอกจากนัน้ ชนิดของออกไซด์ของอัลคาไลน์ ท่เี ติมลงไปก็ส่งผลต่อการลดลงของ
ความหนืดเช่นกัน (ส่งผลต่อความหนืดน้อยกว่าปริมาณออกไซด์ทเ่ี ติมลงไป) โดยมีลาดับการลดลงของความ
หนืดเป็ นดังนี้ Cs2O > Rb2O > K2O > Na2O > Li2O

ส่วนผลของการเติมออกไซด์ของอัลคาไลน์เอิรธ์ นัน้ ไม่ทาให้ความหนืดลดลงมากนักเมื่อเปรียบเทีย บ


กับการเติมออกไซด์ของอัลคาไลน์ ซึ่งพบว่าค่าความหนืดของแก้ว ณ อุณหภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ นแก้ว (Glass
transition temperature, Tg) จะมีค่าความหนืดประมาณ 1012 พาสคัลวินาที (Pas) โดยความหนืดค่านี้วดั ได้
ทีอ่ ุณหภูมสิ งู กว่าแก้วทีเ่ ติมออกไซด์ของอัลคาไลน์ถงึ 200 เคลวิน

การเติม Al2O3 หรือ Ga2O3 ซึ่งเป็ นออกไซด์กลุ่มที่เป็ น Intermediate oxide ลงไปแทนที่อ อกไซด์
ของอัลคาไลน์หรืออัลคาไลน์เอิรธ์ นัน้ จะทาให้ความหนืดของแก้วสูงขึ้น เนื่องจาก Al2O3 และ Ga2O3 ทาให้
โครงร่างตาข่ายของแก้วเพิม่ มากขึน้ (Bridging oxygen เพิม่ ขึน้ ) โดยความหนืดจะสูงทีส่ ุดเมื่อปริมาณที่เติม
ลงไปเท่ากับออกไซด์ของอัลคาไลน์หรืออัลคาไลน์เอิรธ์ ที่มอี ยู่ในแก้ว (อัตราส่วนระหว่าง Al2O3 หรือ Ga2O3
ต่ อ ออกไซด์ของอัลคาไลน์ ห รืออัลคาไลน์ เ อิร์ธ เท่ากับ 1) ดังแสดงในรูป 6.4 ซึ่งเป็ นตัว อย่างของการเติม
Ga2O3 ลงไปในแก้ว อัล คาไลน์ ซิล ิเ กต โดยแก้ว จะมีป ริม าณออกไซด์ข องอัล คาไลน์ อ ยู่ค งที่ท่ี 15 mol%
(ออกไซด์ของอัลคาไลน์ทใ่ี ช้ได้แก่ Li2O, Na2O และ K2O) หากเติม Al2O3 และ Ga2O3 เกินกว่าประมาณของ
ออกไซด์ของอัลคาไลน์หรืออัลคาไลน์เอิรธ์ ทีม่ อี ยูใ่ นแก้วแล้วค่าความหนืดจะลดลง

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 95
รูป 6.4 ผลขององค์ประกอบทางเคมีของแก้วต่อการเปลีย่ นแปลงอุณหภูม ิ Isokom ทีใ่ ห้ค่าความหนืด
1011 พาสคัลวินาที (Pas) ของแก้วระบบลิเทียมซิลเิ กต โซเดียมซิลเิ กต และ โพแทสเซียมซิลเิ กต (แก้วแต่ละ
ชนิดมีปริมาณอัลคาไลน์ออกไซด์เท่ากัน = 15 % โดยโมล) ทีม่ กี ารเติม Ga2O3 ในปริมาณทีต่ ่างกัน
[ดัดแปลงจาก J.E. Shelby (2005)]

นอกเหนือจากการเติมออกไซด์ของธาตุต่าง ๆ ดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วจะส่งผลต่อแก้ว การเติมออกไซด์


ของตะกัวในแก้
่ วทาให้ความหนืดของแก้วซิลเิ กตลดลงมากขึน้ อยูก่ บั ปริมาณทีเ่ ติมลงไป

6.3.1.2 แก้วระบบบอเรต (Borate glasses)

แก้วระบบนี้เป็ นแก้วที่มคี วามหนืดค่อนข้างต่ า โดยเฉพาะแก้วโบรอนออกไซด์ (B2O3) เมื่อเทียบกับ


แก้วทีม่ ี SiO2 และ GeO2เป็ นส่วนประกอบ เนื่องจากการเชื่อมต่อของโครงสร้าง 3 มิตมิ นี ้อยกว่าเมือ่ เทียบกับ
โครงสร้าง 3 มิตขิ องแก้ว SiO2 และ GeO2 โครงสร้างพื้นฐานของแก้วระบบนี้จะประกอบไปด้วยโครงสร้าง
สามเหลี่ยมแบนราบของโบรอน (Boron triangle) (ดังรูป 6.5 ก) ประกอบกันเป็ นวงที่เรียกว่า Boroxol ring

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 96
(ดังรูป 6.5 ข) โดยโครงสร้าง Boroxol ring จะขยายตัวและแตกออกเมือ่ อุณหภูมสิ ูงขึน้ ซึง่ เป็ นปั จจัยหนึ่งทีท่ า
ให้ความหนืดของแก้วระบบนี้ต่า

รูป 6.5 หน่วยย่อยพืน้ ฐานของแก้วโบรอนออกไซด์ แสดงลักษณะของ (ก) โครงสร้างสามเหลีย่ มแบนราบของ


โบรอน (Boron triangle, [BO3]) (ข) โครงสร้าง Boroxol ring และ (ค) โครงสร้างเตตระฮีดรัลโบรอน
(Tetrahedral, [BO4])

การเติมออกไซด์ของอัลคาไลน์ ลงไปในแก้วโบรอนออกไซด์ นัน้ จะทาให้ความหนืดของแก้วบอเรต


เปลี่ยนไป โดยพฤติกรรมการเปลีย่ นแปลงความหนืดของแก้วชนิดนี้ เป็ นไปดังรูป 6.6 ซึ่งแสดงตัวอย่างของ
การเติ ม ลิเ ทีย มออกไซด์ (Li2O) ลงไปในแก้ ว B2O3 ซึ่ง ความหนื ด ของแก้ ว แสดงในรู ป ของ Isokom
temperature ของแก้วทีม่ คี ่าความหนืดเท่ากับ 1011 พาสคัลวินาที เมือ่ เติมออกไซด์ของอัลคาไลน์ลงไปในแก้ว
ในช่วงแรก แก้วจะมีความหนืดเพิม่ ขึน้ อันเนื่องมาจากการการเปลีย่ นแปลงโครงสร้างสามเหลีย่ มแบนราบของ
โบรอน ([BO3]) กลายเป็ น โครงสร้างเตตระฮีดราของโบรอน (Tetrahedral, [BO4]– ซึง่ แสดงในรูป 6.5 ค) โดย
ไม่เกิด Non-bridging oxygen เหมือนกับกรณีของแก้วระบบซิลเิ กตทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว จากนัน้ ความหนืดของ
แก้วจะลดลงเมื่อเติมออกไซด์ของอัลคาไลน์เพิม่ ขึน้ ซึง่ เป็ นผลมาจากการเกิด Non-bridging oxygen ในแก้ว
โดยความหนืดของแก้วจะมีค่าสูงสุดทีอ่ งค์ประกอบของออกไซด์ของอัลคาไลน์อยู่ทป่ี ระมาณ 25 – 30 %โดย
โมล อย่างไรก็ตามเมื่อวัดความหนืดของแก้วที่อุณหภูมสิ ูงกว่า 1000 เซลเซียส ความหนืดของแก้ว จะอยู่
ในช่วงต่ ากว่า 103 พาสคัลวินาที โดยความหนืดของแก้วจะลดลงเมื่อปริมาณออกไซด์ของอัลคาไลน์เพิม่ ขึ้น
โดยไม่ ม ีก ารรายงานว่ า พบจุ ด สู ง สุ ด (Maximum point) ที่ก ารวัด ที่อุ ณ หภู ม ิสู ง กว่ า 1000 เซลเซีย สนี้
นอกเหนือจากนัน้ ความหนืดของแก้วในช่วงของการเปลี่ยนเป็ นแก้ว (Glass transition range) ยังลดลงตาม
ผลของชนิดของออกไซด์ของอัลคาไลน์ ท่เี ติมลงไป ซึ่งมีลาดับดังนี้ Li2O > Na2O > K2O > Rb2O > Cs2O
ตามลาดับ ซึ่งผลจะตรงข้ามกับแก้ว ซิลเิ กต พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงความหนืดจะคล้ายกับที่แสดงใน
รูป 6.6 กล่าวคือมีค่าสูงสุดของความหนืดนัน้ ยังสามารถพบได้ในแก้วระบบ Sb2O3-B2O3 และ Bi2O3-B2O3

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 97
แม้ว่าทัง้ สองระบบนี้ Sb2O3 และ Bi2O3 จะมีพฤติกรรมเป็ นตัวโครงสร้างแก้ว (Glass network former) ซึ่ง
แตกต่างจากแก้วระบบ Si2O-B2O3 หรือ GeO2-B2O3 ซึง่ ความหนืดจะเพิม่ ขึน้ เมื่อเพิม่ ปริมาณของ SiO2 หรือ
GeO2 ส่วนการเติมออกไซด์ชนิด Intermediate ลงไปในแก้วจะส่งผลต่อความหนืดเพียงเล็กน้อย

รูป 6.6 ความหนืดของแก้ว Li2O-B2O3 ทีม่ ปี ริมาณ Li2O ต่าง ๆ โดยความหนืดจะอยูใ่ นรูปของอุณหภูม ิ
ไอโซคอม (Isokom temperature) ทีม่ คี ่าความหนืดเท่ากับ 1011 พาสคัลวินาที

6.3.2 ผลของอัตราการเย็นตัวของน้ าแก้ วหลอมต่ อ ความหนื ด ของแก้ ว (Effect of cooling


rate of melts on viscosity of glasses)

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าอัตราการเย็นตัวของของเหลวกลายเป็ นแก้ว นัน้ ส่ งผลทาให้แก้ว มีช่ว งการ


เปลี่ยนเป็ นแก้วที่แตกต่างกัน จากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรหรือเอนทาลปี กบั อุณหภูมขิ องการเย็นตัว
ของของเหลวดังรูป 6.7 ซึ่งแสดงอุณหภูม ิ Fictive (Tf) ของแก้วที่ผ่านการเย็นตัวในอัตราเร็วที่แตกต่างกัน
โดยแก้วทีเ่ ย็นตัวช้ากว่าจะมีอุณหภูม ิ Fictive ต่ ากว่า โดยตาแหน่ งของอุณหภูม ิ Fictive นี้ จะมีความสัมพันธ์
กับเวลาทีแ่ ก้วใช้ในการปลดปล่อยความเครียดคงค้างจากการทาให้ของเหลวเย็นตัวอย่ างรวดเร็วและมีความ
เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างของแก้วด้วย ดังนัน้ หากแก้วมี Fictive temperature ทีแ่ ตกต่างกัน จะแสดงให้เห็นว่า
แก้วมีโครงสร้างที่ต่างกันด้วย ทาให้เกิด ความแตกต่างของสมบัติบางประการของแก้ว ได้ แก้วที่ม ี Fictive
temperature สูงกว่าเกิดจากการเย็นตัวของของเหลวกลายเป็ นแก้วที่เร็วกว่า ทาให้โครงสร้างแก้วมีความ
แน่นตัวน้อย (Less dense) ซึง่ ทาให้ความหนืดของแก้วต่า โดยโครงสร้างและสมบัตขิ องแก้วสามารถปรับแต่ง
ได้โดยการอบแก้วทีอ่ ุณหภูม ิ (ณ อุณหภูม ิ Fictive ทีต่ อ้ งการ) และระยะเวลาทีเ่ หมาะสม ซึง่ จะทาให้โครงสร้าง
แก้วจะปรับสภาพเพื่อเข้าสู่โครงสร้างใหม่ตามต้องการ โดยเวลาที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างไปเป็ น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 98
โครงสร้างใหม่ตามต้องการนัน้ จะขึ้นอยู่กบั ความหนืดของแก้ว แก้วที่มคี วามหนืดต่ าจะมีการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างในช่วงแรกในอัตราที่เร็วกว่า แสดงให้เห็นว่าการคลายความเครียด (Relaxation) ในช่วงแรกของ
แก้วชนิดนี้สูงกว่า ยกตัวอย่างในกรณีของการอบแก้วที่อุณหภูม ิ T3 ซึ่งเป็ นอุณหภูม ิ Fictive ที่ต้องการ โดย
เริ่ม จากแก้ ว 2 ชนิ ด ที่ม ีอุ ณ หภู ม ิ Fictive สู ง กว่ า (T1) และ ต่ า กว่ า (T2) ตามล าดับ โดยที่ T1 > T2 > T3
ดังแสดงใน รูป 6.8 แสดงให้เห็นว่าแก้วทีม่ อี ุณหภูม ิ Fictive สูงกว่า ในช่วงต้นของการอบทีอ่ ุณหภูม ิ T3 แก้ว
จะมีการเปลีย่ นแปลงความหนืดทีเ่ ร็วกว่า เนื่องจากแก้วมีความหนืดเริม่ ต้นทีต่ ่ ากว่า อย่างไรก็ตามแก้วจะต้อง
ใช้เวลาในการอบทีน่ านกว่าแก้วทีม่ อี ุณหภูม ิ Fictive ต่ากว่า

รูป 6.7 อุณหภูม ิ Fictive ของแก้วทีเ่ ย็นตัวทีอ่ ตั ราต่างกัน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 99
รูป 6.8 การเปลีย่ นแปลงความหนืดของแก้วเพื่อเข้าสู่สมดุลใหม่ จากแก้วทีม่ อี ุณหภูม ิ Fictive ต่างกัน
(T1 และ T2 โดยที่ T1 > T2 > T3) [ดัดแปลงจาก J.E. Shelby (2005)]

หากอุณหภูม ิ Fictive ใหม่ (T3) อยู่ระหว่าง T1 และ T2 แก้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยมีการเปลี่ยนแปลง


โครงสร้างให้เข้าสู่โครงสร้างใหม่ท่อี ุณหภูม ิ T3 แต่ทศิ ทางการเปลี่ยนแปลงจะแสดงดังรูป 6.9 โดยแก้วที่ม ี
Fictive temperature สูงกว่าจะมีการเปลีย่ นแปลงในช่วงต้นทีเ่ ร็วกว่า เนื่องจากความหนืดตัง้ ต้นต่ากว่านัน่ เอง
ส่วนแก้วทีม่ คี วามหนืดสูงกว่า (Fictive temperature ต่ากว่า) ก็จะมีการเปลีย่ นแปลงช้ากว่าในช่วงต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 100


รูป 6.9 การเปลีย่ นแปลงความหนืดของแก้วเพื่อเข้าสู่สมดุลใหม่ ที่อุณหภูม ิ Fictive = T3 จากแก้วทีม่ อี ุณหภูม ิ
Fictive ต่างกัน (T1 และ T2 โดยที่ T1 > T3 > T2) [ดัดแปลงจาก J.E. Shelby (2005)]

6.4 การวัดความหนื ดของแก้ว (Viscosity measurements)

ความหนืดของแก้ว (Viscosity, ) จะขึน้ อยู่กบั อุณหภูม ิ โดยการวิเคราะห์ความหนืดสามารถทาได้


หลายวิธ ี เช่นการพิจารณาอัตราการหมุนของหัวตรวจวัด และ การวิเคราะห์การจมของลูกตุ้มในของเหลว
เป็ นต้น การวัดความหนืดของแก้วนัน้ อาจจาเป็ นต้องใช้หลายเทคนิคร่วมกัน เนื่องจากแต่ละเทคนิคมีขอ้ จากัด
และมีช่วงของค่าความหนืดทีเ่ หมาะสมแตกต่างกันออกไป หลักการโดยย่อของเทคนิคต่าง ๆ มีดงั นี้

Rotation Viscometers : การวิเ คราะห์ด้ว ยวิธ ีน้ี ป ระกอบไปด้ว ยวัส ดุ ท รงกระบอกขนาดเล็ก ที่
เรียกว่า Spindle ซึง่ จะหมุนอยู่ภายในของเหลวทีต่ ้องการวัดค่าความหนืด หรือการวัดค่าความหนืดโดยการ
ให้ภาชนะรองรับของเหลวที่ต้องการวัดค่าความหนืดหมุนแล้ววัดค่าแรงบิด (Torque) ที่ของเหลวกระทาต่อ
สปิ นเดิล (Spindle) ค่าความหนืดทีว่ ดั ได้นัน้ จะอยู่ในช่วง 103.5 ถึง 109 ขึน้ อยู่กบั การออกแบบเครื่องมือ โดย
เทคนิคนี้จะใช้แก้วตัวอย่างประมาณ 100 – 1000 กรัม ขึ้นอยู่ปริมาณน้ าแก้วหลอมเหลวที่จะต้องเพียงพอ
สาหรับการวัด โดยค่าความหนืดของน้ าแก้วจะมีความสัมพันธ์กบั แรงบิด (Torque) ขนาดของสปิ นเดิลและ
ขนาดของภาชนะรองรับน้ าแก้ว ดังสมการ 6.9

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 101


1 1 1 𝑇
= ( 2 − 2) ( ) สมการ 6.9
4𝜋𝐿 𝑟 𝑅 𝜔

เมือ่ L และ r คือ ความยาวและรัศมีของสปิ นเดิล ตามลาดับ

R คือ รัศมีภายในของภาชนะสาหรับใส่น้ าแก้วหลอม

T คือ อุณหภูมทิ ต่ี อ้ งการวิเคราะห์ความหนืด

 คือ ความเร็วเชิงมุม (Angular velocity) ของการหมุนของสปิ นเดิล


อย่างไรก็ตามไม่จาเป็ นต้องทราบค่ าความยาวหรือรัศ มีของอุ ปกรณ์ท่ใี ช้ เนื่องจากค่าเหล่านี้จะแฝงอยู่ใ น
ค่าคงทีม่ าตรฐานของการเทียบมาตรฐาน (Calibration constant) ซึง่ หาได้จากการวัดความหนืดของของเหลว
ทีท่ ราบค่าความหนืดทีแ่ น่ นอน เช่นน้าหรือน้ามัน เป็ นต้น อย่างไรก็ตามจาเป็ นต้องทราบค่าอัตราส่วนระหว่าง
T กับความเร็วในการหมุน (ค่า  ในทีน่ ้)ี เพื่อหาค่าความหนืดของแก้วทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ ได้

Falling Sphere Viscometers : เทคนิคนี้จะพิจารณาค่ าความหนืดจากแรงต้านการเคลื่อ นที่ของ


วัตถุทรงกลมภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ซึง่ อาศัยการอธิบายโดยใช้สมการของ Stokes (Stokes equation)
ดังสมการ 6.10

2 𝑟2𝑔
= (𝜌𝑠 − 𝜌𝑚 ) สมการ 6.10
9 𝑣

เมือ่ r คือ รัศมีของวัตถุทรงกลม

g คือ แรงโน้มถ่วงของโลก

𝑣 คือ อัตราเร็วในการเคลื่อนทีข่ องวัตถุทรงกลม

𝜌𝑠 และ 𝜌𝑚 คือความหนาแน่นของทรงกลมและน้าแก้วหลอม ตามลาดับ

ค่าความหนืดทีว่ ดั ได้จากเทคนิคนี้จะอยู่ในช่วง 1 – 106 Pas โดยทัวไปเทคนิ


่ คนี้จะมีอุปกรณ์เพื่อให้สามารถ
วัดได้ทงั ้ การลอยและการตกจมของวัตถุ เพื่อให้ได้ค่ามาเปรียบเทียบกัน

Fiber Elongation Viscometers : เป็ นเทคนิคที่นิยมใช้มากทีส่ ุด โดยเป็ นเทคนิคที่วดั อัตราการยืด


ตัวของเส้นใยแก้ว (Glass fibre) ทีท่ ราบขนาดและความยาวทีแ่ น่ นอน โดยเส้นใยแก้วจะได้รบั แรงกดหรือแรง
ดึงทีค่ งที่ ค่าความหนืดทีว่ ดั ได้จะอยู่ในช่วง 105 – 1012 Pas เทคนิคนี้เป็ นเทคนิคทีส่ ามารถหาค่าจุดอ่อนตัว
ของ Littleton และอุณหภูมสิ าหรับอบอ่อนแก้วได้อกี ด้วย ซึง่ สมการทีใ่ ช้อธิบายนัน้ แสดงในสมการ 6.11

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 102


𝐿𝐹
= สมการ 6.11
3𝐴(𝑑𝐿/𝑑𝑡)

เมือ่ (dL/dt) คือ อัตราการยืดของเส้นใยแก้ว

L คือ ความยาวตัง้ ต้นของเส้นใยแก้ว

A คือ พืน้ ทีห่ น้าตัดของเส้นใย

ซึ่งเส้นใยนี้จะถูกแขวนในแนวดิง่ ภายในอุปกรณ์วดั ความหนืด โดยความหนืดในสมการ 6.11 จะ


พิจารณาถึงแรงกระทาต่อพืน้ ทีท่ ใ่ี ห้กบั เส้นใยแก้ว (F/A) เนื่องจากพืน้ ทีห่ น้าตัดของเส้นใยแก้วจะลดลงเมื่อเส้น
ใยยืดตัว ดังนัน้ ตลอดช่วงทีท่ าการวัดค่าความหนืดจะต้องคานึงถึงการลดลงของขนาดเส้นใยแก้ว อีกทัง้ ในการ
วัดควรทาให้สดั ส่วนระหว่างพื้นผิวเส้นใยแก้วกับปริมาตรแก้ว มีค่าต่ า หากสัดส่วนนี้มคี ่ามากอาจเกิดปั ญหา
ของความแตกต่างขององค์ประกอบของแก้วในบริเวณพื้นผิวกับภายในชิ้นงานระหว่างการวัดค่าความหนืด
ซึ่งดังได้กล่าวมาแล้วว่าองค์ประกอบทางเคมีของแก้วส่งผลต่อ ค่าความหนืดของแก้ว โดยการเปลี่ยนแปลง
องค์ประกอบนี้อาจเกิดจากปฏิกริ ยิ าระหว่างแก้วกับบรรยากาศหรือการระเหยของแก้วทีก่ ลายเป็ นของเหลว
เป็ นต้น

Beam-Bending Viscometer : เทคนิคนี้เหมาะสาหรับการวัดความหนืดของแก้วในช่วงที่มคี วาม


หนืดสูง (108 – 1013 Pas) ในการวิเคราะห์ความหนืดของแท่งแก้วที่มพี น้ื ที่หน้าตัด A และมีความหนาแน่ น
เท่ากับ  ชิน้ งานตัวอย่างจะได้รบั น้ าหนักกดเท่ากับ M โดยชิน้ งานตัวอย่างจะวางอยู่บนฐานรองรับทีอ่ ยู่ห่าง
กันในระยะ L ซึง่ การวางชิน้ งานนี้เรียกว่า 3-point bending ดังแสดงในรูป 6.10 ซึง่ ความหนืดสามารถคานวณ
ได้จากสมการ 6.12

𝑔𝐿3 𝐴𝐿𝜌
= (𝑀 + ) สมการ 6.12
2.4𝐼𝑐 𝑉 1.6

เมือ่ 𝐼𝑐 คือ โมเมนต์ความเฉื่อย (Moment of inertia) ของชิน้ งาน

𝑉 คือ อัตราการโก่งตัวของชิน้ งานทีต่ อ้ งการวิเคราะห์

M คือ น้าหนักกด

เทคนิคนี้ตวั อย่างทีใ่ ช้สามารถเตรียมให้อยูใ่ นรูปของแท่งทรงกระบอกหรือแท่งทรงสีเ่ หลีย่ มก็ได้ ทาให้สามารถ


เตรีย มตัว อย่า งได้ง่า ยกว่ า เทคนิ ค อื่น ๆ รวมไปถึง มีก ารพัฒ นาให้ส ามารถวัด ชิ้น งานที่ม ีข นาดเล็ก มาก
(1 x 1 x 10 มิลลิเมตร) ได้ ซึง่ เป็ นข้อดีของเทคนิคนี้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 103


รูป 6.10 การวางตัวในลักษณะ 3-point bending ในการวิเคราะห์หาความหนืดของแก้วด้วยวิธ ี
Beam-bending

คาถามท้ายบท

1. จงเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความหนืดกับอุณหภูมขิ องของเหลวทีเ่ ป็ นตัวโครงสร้างแก้วที่ดี


(Good glass former) และแสดงต าแหน่ ง ของ จุด Strain จุด อบอ่ อ น จุด อ่ อ นตัว อุ ณ หภูม ิข้นึ รูป และ
อุณหภูมหิ ลอมตัว

2. จงเขียนแผนผังความเปราะของแก้ว แสดงถึงของเหลวหรือแก้วที่เรียกว่า Strong และ Fragile พร้อมทัง้


อธิบายลักษณะของ Strong และ Fragile melts โดยละเอียด

3. จงทานายความหนืด ของแก้ว ระบบ SiO2 และ 0.15Na2O3-0.85SiO2 ว่าแก้ว ระบบไหนจะมีค วามหนื ด


มากกว่าหรือน้อยกว่า พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ

4. จงทานายความหนืดของแก้วระบบ SiO2 และ B2O3 ว่าแก้วระบบไหนจะมีความหนืดมากกว่าหรือน้อยกว่า


พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ

5. จงยกตัวอย่างวิธ ีการวิเคราะห์ความหนืดพร้อมทัง้ อธิบายหลักการการวิเคราะห์ดงั กล่าว และระบุว่าวิธ ี


ดังกล่าวมีขอ้ ดีขอ้ เสียอย่างไร

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 104


บทที่ 7
การอบอ่อนแก้ว
Glass Annealing

“ความเค้นในผลิตภัณฑ์แก้วมี 2 ชนิด คือ ความเค้นชัวคราว่ และ ความเค้นถาวรหรือความเค้น


คงค้าง ซึง่ ความเค้น ทีม่ อี ยู่ในแก้วจะส่งผลต่อสมบัตขิ องผลิตภัณฑ์แก้ว โดยเฉพาะอย่างยิง่ สมบัตเิ ชิงกล
เช่น ความแข็ง และ ความแข็งแรง เป็ นต้น โดยความเค้นดังกล่าวมักเกิดจากการกระจายตัวอย่างไม่
สมา่ เสมอของอุณหภูมใิ นชิ้นงานแก้ว ซึง่ มักพบในระหว่างการเพิม่ หรือลดอุณหภูมแิ ก่แก้ว หรือ เกิดขณะ
ขึ้น รูป ผลิต ภัณฑ์ โดยความเค้น ดัง กล่ า วท าให้ลดลงได้ด้ว ยกระบวนการทีเ่ รีย กว่ า การอบอ่ อ น หรือ
Annealing ซึง่ เป็ น กระบวนการทีใ่ ห้ค วามร้อ นแก่ ผ ลิต ภัณฑ์แ ก้ว และท าให้แ ก้ว มีก ารกระจายตัว ของ
อุณหภูมทิ วกั
ั ่ นทัง้ ชิ้นงาน เป็ นผลทาให้ความเค้นในแก้วลดลง”

การอบอ่อนหรือที่เรียกว่า Annealing ผลิตภัณฑ์แก้วนัน้ ทาเพื่อลดความเครียด (Strain) หรือความ


เค้น (Stress) ที่มอี ยู่ในแก้ว ในที่น้ีจะหมายรวมเป็ นความเค้นในแก้วเท่านัน้ เพื่อง่ายต่อการทาความเข้าใจ
เนื่องจากความเค้นและความเครียดมีความสัมพันธ์ซง่ึ กันและกัน การอบอ่อนจะทาให้ความเค้นคงค้างในแก้ว
ลดลงจนมีระดับทีไ่ ม่เกินค่ามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากนัน้ การอบอ่อนยังทาให้โครงสร้างแก้วมี
ความเสถียรเพิม่ ขึน้ ซึง่ จะส่งผลโดยตรงทาให้สมบัตขิ องแก้วไม่เปลีย่ นแปลงไปหลังจากทาให้แก้วเย็นตัวลงถึง
อุณหภูมหิ อ้ ง การอบอ่อนแก้วนอกจากจะเป็ นการลดความเค้นของแก้ว แล้ว ในบางกรณียงั เป็ นการการบาบัด
ทางความร้อน หรือ Heat treatment เพื่อทาให้แก้วมีสมบัตทิ เ่ี ด่นขึน้ เช่น การอบอ่อนทีม่ กี ารควบคุมอุณหภูม ิ
อย่างระมัดระวังในการผลิตแก้วเชิงแสง หรือ การใช้ความร้อนเพื่อทาให้กระจกแผ่นมีความแข็งแรงมากขึน้
เป็ นต้น ในทางปฏิบตั ผิ ลิตภัณฑ์แก้วจะเข้าสู่กระบวนการอบอ่อนทีอ่ ุณหภูมใิ นช่วงระหว่างจุด Strain (ความ
หนืดเท่ากับ 1014.5 Ps) และจุด Upper annealing temperature (ความหนืดเท่ากับ 1013 Ps) โดยแก้วที่ม ี
ความเค้นได้รบั ความร้อนจนมีอุณหภูมเิ ท่ากับจุด Upper annealing temperature จากนัน้ จะให้ความร้อนคงที่
เป็ นระยะเวลาหนึ่งเรียกว่า “การยืนอุณหภูม ิ หรือ Soaking” โดยระยะเวลาดังกล่าวจะนานมากหรือน้อยขึน้ อยู่
กับขนาดของผลิตภัณฑ์ ความหนาของผลิตภัณฑ์ น้ าหนักและรูปร่างของผลิตภัณฑ์อกี ด้วย ซึ่ง การอบอ่อน
จะต้องทาให้แก้วมีความเค้นต่ ากว่าค่าความเค้นที่ยอมรับได้ทอ่ี ุณหภูมหิ อ้ งอยู่ครึง่ หนึ่ง จากนัน้ แก้วจะถูกลด
อุณหภูมอิ ย่างช้า ๆ ลงถึงจุด Strain ซึง่ การลดอุณหภูมคิ รัง้ นี้จะทาให้ค่าความเค้นเพิม่ ขึน้ เล็กน้อย ซึง่ จะต้อง
ระมัดระวังไม่ให้ความเค้นเพิม่ มากเกินกึ่งหนึ่งของค่าทีย่ อมรับได้ทอ่ี ุณหภูมหิ อ้ ง เมื่อสิน้ สุดขัน้ ตอนนี้แก้วจะมี
ความเค้นใกล้เคียงกับค่าที่ยอมรับได้ทอ่ี ุณหภูมหิ อ้ ง เมื่อถึงจุด Strain แก้วจะถูกลดอุณหภูมอิ ย่างรวดเร็วถึง
อุณหภูมหิ ้อง การลดอุณหภูมคิ รัง้ นี้จะไม่ก่อให้เกิดความเค้นใด ๆ ในแก้ว ขัน้ ตอนต่าง ๆ ในการอบอ่ อ น
สามารถสรุปไว้ในรูป 7.1 โดยในทางปฏิบตั แิ ล้วอุณหภูมภิ ายในเตาอบอ่อน หรือ Annealing lehr จะไม่ตรง

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 105


ตามทฤษฎี โดยจากรูปเป็ นกราฟจาลองจากการอบอ่อนแก้วในกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous
process) เนื่องจากในสภาวะการทางานจริง จะมีปัจจัยต่าง ๆ มากมายทีท่ าให้อุณหภูมใิ นเตาเปลีย่ นไป เช่น
การถ่ายเทความร้อนจากเตาสู่แก้ว หรืออุปกรณ์อ่นื ๆ และการเคลื่อนทีข่ องผลิตภัณฑ์อยูอ่ ย่างต่อเนื่อง เป็ นต้น

รูป 7.1 แนวทางการอบอ่อน (Annealing) ผลิตภัณฑ์แก้วในอุตสาหกรรม


[ดัดแปลงจาก C.L. Babcock (1977)]

7.1 ความเค้นและความเค้นคงค้างในแก้ว (Stress and residual stress in glass)

ความเค้นในแก้วจะเกิดขึน้ เมื่อเพิม่ หรือลดอุณหภูมแิ ก่ชน้ิ งานแก้ว โดยการเปลีย่ นแปลงของอุณหภูม ิ


จะทาให้แก้วมีการกระจายอุณหภูมไิ ม่เท่ากันทัวชิ ่ ้นงาน นัน่ คือเกิดความแตกต่างของอุณหภูม ิ ภายในแก้วที่
เรียกว่า temperature gradient โดยเฉพาะอย่างยิง่ บริเวณผิว แก้วกับบริเวณภายในแก้วดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว
ก่ อ นหน้ านี้ ทาให้เ กิดความเค้นขึ้นในแก้ว โดยเกิดจากแรงอัด (Compression) หรือ แรงดึง (Tensile) ที่ม ี
บทบาทสาคัญ โดยแรงทัง้ สองนี้ขน้ึ อยูก่ บั ว่าแก้วเย็นตัวลงหรือแก้วได้รบั ความร้อน เมือ่ แก้วเย็นตัวลงจะทาให้
แก้วเกิดแรงดึงทีผ่ วิ และเกิดแรงอัดภายในเนื้อแก้ว ดังแสดงในรูป 7.2 และในทางกลับกันหากให้ความร้อนกับ
แก้วผิวแก้วจะตกอยู่ภายใต้แรงอัด ส่วนด้านในของแก้วจะเกิดแรงดึงขึน้ จากรูป 7.2 จะเห็นได้ว่าแรงอัดจะมี
มากในบริเวณเนื้อแก้วที่มอี ุณหภูมสิ ูงกว่า ส่วนในทางกลับกันแรงดึงจะมีมากในเนื้อแก้วที่มอี ุณหภูมติ ่ ากว่า
เมื่อแก้วเย็นตัวในอัตราการลดอุณหภูมทิ ่คี งที่ (Constant cooling rate) การกระจายอุณหภูม ิ (Temperature
distribution) และการกระจายความเค้ น (Stress distribution) ในแก้ ว มีล ัก ษณะเป็ นกราฟพาราโบลา

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 106


(Parabola) ดังแสดงในรูป 7.2 โดยความเค้น () นี้จะมีความสัมพันธ์กับความแตกต่ างของอุณหภูมแิ ละ
สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อน โดยความเค้นสูงสุดจะอยู่ตรงกลางและบริเวณผิวของชิ้นงานแก้ว
ซึง่ ความเค้นสูงสุดสามารถแสดงดังสมการ 7.1

αE
σ Tav  T  สมการ 7.1
1 μ

เมือ่ E คือ มอดูล สั ความยืดหยุ่น (Elastic modulus) ซึ่งเป็ นตัว เลขที่แสดงความต้านทานต่ อ การเสีย
รูปแบบยืดหยุน่ หรือการเสียรูปแบบชัวคราว
่ (Elastic or non-permanent deformation) ของวัสดุ

 คือ สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนของแก้ว

 คือ อัตราส่วนปั วซอง (Poison’s ratio) ซึง่ เป็ นค่าทีแ่ สดงอัตราส่วนของความเครียดในแนวข้างต่อ


ความเครียดในแนวดิง่

T, Tav คือ อุณหภูมทิ ่ผี วิ หรือที่ส่วนกลางของผลิตภัณฑ์แก้ว และ อุณหภูมเิ ฉลี่ยทัง้ ผลิตภัณฑ์แก้ว


ตามลาดับ

รูป 7.2 ผลของความแตกต่างของอุณหภูมติ ่อการเกิดแรงอัดและแรงดึงกับแก้ว (ก) ขณะเย็นตัวลง และ (ข)


ขณะให้ความร้อน ณ อุณหภูมติ ่ากว่าอุณหภูมติ ่าสุดของการอบอ่อน [ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 107


เมื่อแก้วมีอุณหภูมเิ ท่ากันทัง้ ชิน้ งานความเค้นในลักษณะที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นจะหายไป ซึ่งความเค้นใน
แก้ว ประเภทนี้ เ รีย กว่ า ความเค้น ชัว่ คราว หรือ Temporary stress แม้ว่ า ความเค้น ชนิ ด นี้ จ ะหายไปเมื่อ
อุณหภูมขิ องชิ้นแก้วเท่ากันทัวทั ่ ง้ ชิ้นงาน อย่างไรก็ตามการลดอุณหภูมลิ งอย่างรวดเร็ว หรือ เพิม่ อุณหภูม ิ
อย่างรวดเร็ว (กรณีลดอุณหภูมจิ ะส่งผลกระทบมากกว่า) จะทาให้แก้วเสียหายได้ ในกรณีทค่ี วามเค้นสูงกว่า
ความแข็งแรงต่อแรงดึงของวัสดุแก้ว

หากพิจารณาความเค้นที่เกิดขึน้ ในระหว่างกระบวนการผลิตแก้วซึ่งเป็ นกระบวนการทีน่ ้ าแก้วหลอม


ถูกทาให้เย็นตัวลงอย่างรวดเร็วในระหว่างการขึน้ รูปนัน้ ความเค้นจะเกิดขึน้ เมื่อมีความแตกต่างของอุณหภูม ิ
ภายในเนื้อแก้ว แต่ เนื่องจากความเค้น เกิดขึ้นขณะที่เนื้อแก้วมีความหนืดต่ า (ช่วงขึ้นรูปได้ หรือ working
range) ทาให้ความเค้นทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงนี้หายไปได้ง่าย จากนัน้ เมื่อแก้วแข็งตัวสมบูรณ์ จะเกิดความเค้นถาวร
ขึน้ ซึ่งความเค้นประเภทนี้จะคงอยู่ในแก้ว จึงเรียกว่าความเค้นถาวรหรือความเค้นคงค้าง (Permanent or
residual stress) โดยความเค้นทีเ่ กิดขึ้นจะมีลกั ษณะแบบพาราโบลาเช่นกัน ดังรูป 7.3 แต่ความเค้นเนื่องจาก
แรงกด (Compression stress) จะสูงบริเวณผิว ซึ่งเป็ นบริเวณที่มอี ตั ราการเย็นตัวของแก้วสูงสุด (อุณหภูม ิ
ต่ าสุด) และความเค้นเนื่องจากแรงดึง (Tensile Stress) จะสูงกว่าตรงกลางชิน้ งานซึง่ เป็ นบริเวณทีม่ อี ุณหภูม ิ
สูงสุดในแก้วระหว่างการเย็นตัว โดยจะตรงข้ามกับ Temporary stress ทีแ่ สดงในรูป 7.2 ความเค้นคงค้างจะ
สูงสุดเมือ่ อุณหภูมใิ นชิน้ งานแก้วเท่ากัน (เย็นตัวเท่ากัน)

รูป 7.3 (ก) ความแตกต่างของอุณหภูมขิ ณะน้ าแก้วเริม่ เย็นตัวในกระบวนการขึน้ รูปซึง่ ก่อให้เกิด (ข) ความ
เค้นคงค้าง (Residual stress) ในแก้ว เมือ่ แก้วเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วทีอ่ ุณหภูมสิ งู กว่าอุณหภูมกิ าร
เปลีย่ นเป็ นแก้ว (Glass transition temperature; Tg)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 108


การหลีกเลี่ยงความเค้นทัง้ สองประเภทที่เกิดขึ้นในแก้วสามารถทาได้โดยการเพิม่ หรือลดอุณหภูม ิ
แก้วหรือน้ าแก้วอย่างช้า ๆ ในอัตราทีค่ วามแตกต่างของอุณหภูม ใิ นชิน้ งาน (Temperature gradient) เกิดขึน้
น้ อ ย แต่ ใ นการผลิต เชิงอุ ต สาหกรรมไม่ส ามารถท าได้ จึงทาให้ต้อ งมีกระบวนการที่เ รียกว่ าการอบอ่ อ น
(Annealing) เพื่อลดความเค้นคงค้างในแก้ว

7.2 การอบอ่อน (Annealing)

กระบวนการอบอ่อนแก้วเป็ นกระบวนการบาบัดทางความร้อน (Heat treatment) เพื่อเป็ นการลด


ความเค้นคงค้างในแก้วทีเ่ กิดขึน้ ในระหว่างการลดอุณหภูมใิ นระหว่างกระบวนการผลิต โดยช่วงอุณหภูมทิ ใ่ี ช้
ในการอบอ่ อ นตามมาตรฐานการทดสอบอเมริก า (The American Society for Testing and Materials;
ASTM) ได้กาหนดไว้เป็ นช่วงอุณหภูมริ ะหว่างอุณหภูมสิ ูงสุดในการอบอ่อน (Upper annealing temperature)
และอุณหภูมติ ่ าสุดในการอบอ่อน (Lower annealing temperature) โดยอุณหภูมสิ องอุณหภูมดิ งั กล่าวนี้ถูก
กาหนดจากความหนืดของแก้วแต่ละชนิด โดยแก้วจะมีความหนืดอยู่ระหว่าง 1013.0 ถึง 1014.5 พาสคัลวินาที
ตามล าดับ โดยแก้ว ที่อ บที่อุ ณ หภูม ิ Upper annealing จะใช้เ วลาในการอบน้ อ ยกว่าอบที่อุ ณหภูม ิ Lower
annealing ตามลาดับ โดยขัน้ ตอนต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในระหว่างกระบวนการอบอ่อนมีดงั นี้

1) การให้ความร้อนแก่ผลิตภัณฑ์แก้ว ณ อุณหภูม ิ Upper annealing

2) คงอุณหภูม ิ ณ อุณหภูม ิ Upper annealing เป็ นระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้ความแตกต่างของอุณหภูม ิ


ในชิน้ งานแก้วลดลงและเป็ นการลดความเค้นคงค้างทีเ่ กิดในกระบวนการอื่น ๆ ก่อนหน้านี้

3) เมือ่ ความเค้นลดลงแล้วหรืออุณหภูมขิ องชิน้ งานแก้วเท่ากันแก้ว ทัวทั


่ ง้ ชิน้ งาน ช่วงนี้แก้วจะมีความ
หนืดอยู่ในช่วงประมาณ 1013.0 – 1014.5 พาสคัลวินาที ช่วงนี้จะลดอุณหภูมชิ น้ิ งานลงอย่างช้า ๆ เพื่อไม่ให้เกิด
ความเค้นในแก้วเพิม่ ขึน้ มาอีก

4) เมื่อแก้วมีความหนืดมากพอ (มากกว่า 1014.5 พาสคัลวินาที) สามารถทาให้แก้วเย็นตัวเร็วขึน้ ได้


จนถึงอุณหภูมหิ อ้ ง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการลดอุณหภูมติ อ้ งไม่ทาให้ Temporary stress ทีอ่ าจเกิดขึน้ สูงจน
ทาให้ชน้ิ งานเกิดความเสียหายได้

เมื่อพิจารณาแล้ว การอธิบายเกี่ยวกับการอบอ่อนจะอธิบายได้โดย 1) พลังงานจลน์ ของการคลาย


ความเค้น (Stress relief) ที่อุณหภูมคิ งที่ และ 2) จากความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเย็นตัว ความแตกต่าง
ของอุณหภูม ิ (Temperature gradient) และความเค้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 109


หากพิจ ารณาวัส ดุ ท่ีม ีส มบัติห ยุ่ น หนื ด (Viscoelastic materials) ตามทฤษฎีข อง Maxwell และ
Adams and Williamson แล้วจะพบว่าการคลายความเค้นที่อุณหภูมคิ งที่จะมีความสัมพันธ์ดงั สมการ 7.2
และสมการ 7.3 ตามลาดับ โดยสมการของ Maxwell นัน้ ไม่เหมาะกับการอธิบายการคลายความเค้นของแก้ว
เนื่องจากทฤษฎีน้ีสมมติว่าแก้วมีความหนืดคงที่ท่ี แต่ในความเป็ นจริงแล้วความหนืดของแก้วเปลีย่ นไปตาม
อุณหภูม ิ

Kt
ln  0  ln   สมการ 7.2

เมือ่ 0 คือ ความเค้นเริม่ ต้น

 คือ ความเค้นหลังจากอบอ่อนเป็ นเวลา


t คือ เวลาทีใ่ ช้ในการอบอ่อน

K คือ ค่าคงที่

 คือ ความหนืด
หรือสามารถเขียนให้อยูใ่ นอีกรูปสมการ (สมการ 7.3)

1 1
  At สมการ 7.3
 0

เมือ่ A คือ ค่าคงทีข่ องการอบอ่อน (Annealing constant)

ซึง่ ค่าคงทีข่ องการอบอ่อนจะขึน้ อยู่กบั องค์ประกอบของแก้ว โดยค่าคงทีน่ ้ีจะมีความสัมพันธ์ กบั อุณหภูมแิ บบ


เอกซ์โพเนนเชียล (Exponential function)

ค่ าคงที่ A จะเปลี่ยนแปลงตามอุ ณหภูม ิ องค์ประกอบของแก้ว และความหนืด ทาให้ส มการของ


Adams and Williamson ถูกนาไปใช้ในทางอุตสาหกรรม การหาค่าคงที่การอบอ่อน (Annealing constant)
ไม่มคี วามจาเป็ น เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการหานานมาก ในทางปฏิบตั นิ นั ้ จะหาอุณหภูมทิ แ่ี ก้วทีม่ คี วาม
หนืดเท่ากับ 1013.0 พาสคัลวินาที ซึง่ เป็ นความหนืดของแก้วทีม่ อี ุณหภูมอิ ยู่ทอ่ี ุณหภูม ิ Upper annealing การ
อบทีอ่ ุณหภูมนิ ้ีจะทาให้ความเค้นในแก้วลดลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาสัน้ (ช่วงนาที) ดังนัน้ โดยส่วนใหญ่จะ
อบอ่อนแก้วที่อุณหภูม ิ Upper annealing เป็ นเวลาประมาณ 5 – 20 นาที อย่างไรก็ตามหากไม่ทราบความ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 110


หนืดของแก้ว ก็จะประมาณอุณหภูม ิ Upper annealing จากอุณหภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ นแก้ว (Tg) โดยอุณหภูม ิ
Upper annealing จะสูงกว่า Tg ทีห่ าจากเทคนิคไดลาโตมิเตอร์อยูป่ ระมาณ 5 – 10 องศาเซลเซียส

แก้ ว โซดาไลม์ซิล ิเ กตจะมีค่ า คงที่ก ารอบอ่ อ น (A) จะมีค่ า ประมาณ 4.6 x 10–10 Pa–1s–1 หรือ
4.5 x 10–5 ตารางเซนติเมตรต่อกิโลพาสคัลวินาที (cm2kp–1s–1) ณ อุณหภูม ิ Upper annealing (Ta) และจะ
ลดลงอย่างรวดเร็วเมือ่ ความหนืดเพิม่ ขึน้ (T น้อยกว่า Ta) ซึง่ อาจเขียนความสัมพันธ์ได้ดงั สมการ 7.4

A  4.6  10 10 exp0.07T  Ta  สมการ 7.4

หากความเค้นเริม่ ต้น (0) มากกว่าความเค้นหลังจากการอบอ่อน () มาก ๆ จะสามารถหาเวลา (t) ทีใ่ ช้ใน
การยืนอุณหภูมหิ รือ Soaking ได้จากสมการ 7.5

1
t สมการ 7.5
A

จะทาให้ได้ว่าเวลาทีใ่ ช้ในการอบอ่อนแก้ว ณ อุณหภูมใิ ด ๆ ( Ta) สามารถคานวณได้จากสมการ 7.6

exp0.07Ta  T 
t สมการ 7.6
4.6 1010   c

เมือ่ c คือค่าความเค้นสูงสุดทีย่ อมรับได้ของผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ ในหน่วย Pa

หลังจากอบอ่อนแก้วทีอ่ ุณหภูมติ ามต้องการเป็ นระยะเวลาทีว่ างแผนไว้แล้ว จะต้องทาให้แก้วเย็นตัว


ลงจนถึงอุ ณ หภูมขิ องจุด Strain (ในบางต าราเรียกว่า Lower annealing temperature) ซึ่งในช่ว งระหว่ า ง
Upper annealing temperature กับ Lower annealing temperature จะเรีย กว่ า Annealing range จากการ
กระบวนการผลิ ต แก้ ว ของบริ ษั ท คอร์ นิ ง ( Corning) ช่ ว งของอุ ณ หภู ม ิ นั ้น จะอยู่ ใ นช่ ว งประมาณ
70 – 100 เซลเซียส คือตัง้ แต่อุณหภูม ิ Ta + 5 เซลเซียส ถึง อุณหภูม ิ Lower annealing – 50 เซลเซียส ซึ่ง
ในช่วงนี้จะต้องลดอุณหภูมลิ งอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่เพิม่ ความเค้นให้กบั แก้วอันเนื่องมาจากการลดอุณหภูม ิ
โดย Schill พบว่าความเค้นทีเ่ กิดขึน้ จะมีความสัมพันธ์กบั อัตราการลดอุณหภูมดิ งั สมการ 7.7

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 111


  M a h 2 สมการ 7.7

เมือ่ Ma คือ ค่าคงทีข่ องวัสดุซง่ึ หาได้จาก สมการ 7.8 โดยมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของแก้วและ


อุณหภูมขิ องแก้ว

h คือ อัตราการลดอุณหภูม ิ

 คือ ประสิทธิภาพของมิติ (Effective dimension)

 คือ ปริมาณไร้มติ ทิ เ่ี ป็ นฟั งก์ชนั ของรูปร่างและขนาดของผลิตภัณฑ์ โดยหาได้จากการถ่ายเทความ


ร้อนของรูปร่างสมมาตรต่าง ๆ

โดย  เท่ากับความหนาทัง้ หมดของแก้ว แผ่นหากแก้วเย็นตัวของแก้วเกิดจากด้านเดียวของผลิตภัณฑ์ หาก


ผลิตภัณฑ์แก้วถูกทาให้เย็นตัวพร้อมกันจากทัง้ สองข้าง  จะเท่ากับความหนาครึ่งหนึ่งของแผ่นแก้ว หรือ
ผลิต ภัณ ฑ์ ก ลวง (Hollow product) หรือ มีค่ า เท่ า กั บ รัศ มีข องผลิต ภัณ ฑ์ ท่ี ม ีรู ป ร่ า งเป็ นทรงกลมหรือ
ทรงกระบอกตัน

ซึง่ Ma สามารถหาได้จากสมการ 7.8

E Ec p
Ma   สมการ 7.8
a1    k 1   

เมือ่ a,k คื อ ค่ า การแพร่ ข องความร้ อ น (Thermal diffusivity) และ การน าความร้ อ น ( Thermal
conductivity) ของวัสดุ ตามลาดับ

E คือ มอดูลสั ความยืดหยุน่ (Modulus of elasticity)

 คือ สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนเชิงเส้น

 คือ ความหนาแน่น
cp คือ ความร้อนจาเพาะ (Specific heat)

 คือ อัตราส่วนปั วซอง (Poisson’s ratio)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 112


ในทางปฏิบตั แิ ล้วการหาค่า Ma จากสมการ 7.8 นัน้ ค่อนข้างยากและซับซ้อน เนื่องจากการหาค่าการ
แพร่ของความร้อนและการนาความร้อนของแก้วทาได้ยาก และค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อน
ของแก้ว จะขึ้นอยู่ก ับ อุ ณ หภูม ิ โดยค่ าสัมประสิทธิ ์การขยายตัว เพราะความร้อ นที่อุ ณหภูมสิ ูงจะสูง กว่ า ที่
อุณหภูมติ ่ า ดังนัน้ การหาค่า Ma นิยมหาจากการทดลองโดยใช้แผ่นแก้วทีต่ ้องการหาค่านามาทาให้เย็นตัวลง
ในอัตราการเย็นตัวทีค่ งที่ จากนัน้ ใช้สมการ 7.7 ในการคานวณ ซึง่ สาหรับแก้วที่ใช้ทาภาชนะทัวไป ่ กระจก
และแก้ ว ตะกัว่ โดยค่ า Ma จะมีค่ า ประมาณ 120  3 เมกะพาสคัล วิน าทีต่ อ เคลวิน ตารางเซนติเ มตร
(MPasK–1cm–2)

ค่า  ของรูปทรงสมมาตรต่าง ๆ สามารถคานวณหาได้โดยใช้กฎต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเท


ความร้อน สาหรับรูปทรงอื่น ๆ ทีไ่ ม่แน่ นอน สามารถหาได้จากการทดลอง โดยค่านี้จะมีความแตกต่างกันใน
ผลิตภัณฑ์ชน้ิ เดียวกันขึน้ อยูก่ บั ตาแหน่งทีพ่ จิ ารณา ซึง่ โดยทัวไปจะรายงานตรงต
่ าแหน่ งทีม่ คี วามเค้นจากแรง
กดสูงหรือ ความเค้นจากแรงดึงสูง (ที่ผวิ หรือในผลิตภัณฑ์) ซึ่งได้รายงานไว้ดงั ตาราง 7.1 สาหรับรูปร่าง
ผลิตภัณฑ์บางประเภท

ค่า Ma และ  จะสามารถนามาช่วยคานวณหาอัตราการเย็นตัว (h1; หน่ วย เซลเซียสต่อนาที; C/min) ทีเ่ ร็ว


ทีส่ ุดของแก้วในช่วง Annealing โดยใช้สมการ 7.7 ซึง่ สามารถจัดรูปใหม่ได้ดงั สมการ 7.9

c
h1  สมการ 7.9
M a 2

เมือ่ c เป็ นความเค้นสูงสุดทีย่ อมรับได้ในผลิตภัณฑ์แก้ว

ซึง่ ปกติแล้วความเค้นสูงสุดทีย่ อมรับได้จะอยู่ในช่วง 1.5 – 3 MPa หรือค่าประมาณ 50 – 100 nmcm–1 จาก


การวัดด้วยวิธกี ารหักเหสองแนว (Birefringence)

ตาราง 7.1 ค่า  ของผลลิตภัณฑ์รปู ทรงต่าง ๆ ตรงบริเวณผิวและในผลิตภัณฑ์ [ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

ทีผ่ วิ ผลิตภัณฑ์ ในผลิตภัณฑ์


กระจก (กรณีเย็นต้วพร้อมกันจากทัง้ สองด้าน) –0.0056 +0.0028
ทรงกระบอก –0.0021 +0.0021
ทรงกลม –0.0011 +0.0011
ค่าจากตารางเป็ นค่าทีป่ รับหน่วยเพื่อให้ค่าทีค่ านวณได้จากสมการด้านล่างได้คาตอบเป็ น C/min

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 113


ตัวอย่างเช่นการหาอัตราการเย็นตัวในช่วง Annealing ของกระจกทีม่ คี วามหนา 2 มิลลิเมตร โดยการเย็นตัว
ทาพร้อม ๆ กันทัง้ สองด้าน (สมมติว่าค่าความเค้นทีย่ อมรับได้อยู่ท่ี 1.5 MPa และ ค่าคงที่ Ma มีค่าประมาณ
120 MPasK–1cm–2) สามารถใช้สมการ 7.9 คานวณได้ดงั นี้

1.5( MPa) 1
h1   2.2(C  min )
1 2 2 2
120 ( MPa  s  K  cm )  1 (cm )  (0.0056 )

เมื่อ ได้ค่ าอัต ราการเย็นตัวที่เ หมาะสมแล้ว ในการวางแผนการลดอุ ณหภูมหิ ลัง อบอ่ อนที่อุณหภูม ิ Upper
annealing เป็ นระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยทัวไปมั
่ กลดอุณหภูมจิ นถึงอุณหภูม ิ Lower annealing โดยใช้อตั รา
การลดอุณหภูมเิ ป็ น 3 ช่วง โดยในขัน้ แรกจะใช้อตั ราการลดอุณหภูมเิ ท่ากับ (2/3) x h1 จากนัน้ จึงลดอุณหภูม ิ
ด้วยอัตราการเย็นตัวเท่ากับ h1 และในขัน้ สุดท้ายจะลดอุณหภูมลิ งในอัตราเท่ากับ 2 x h1

ช่วงการอบอ่อน (Annealing range) ของแก้วชนิดต่าง ๆ ซึ่งเป็ นช่วงที่แก้วมีความหนืดอยู่ระหว่าง


(1013.0 – 1014.5 dPas) มีรายงานไว้ดงั นี้

- กระจกทีผ่ ลิตด้วยวิธ ี Fourcault 521 – 483 C


- ภาชนะทีม่ สี ี 542 – 505 C
- แก้วคริสตัลชนิดโซเดียมโพแทสเซียม 500 – 460 C
- แก้วคริสตัลทีม่ ตี ะกัวออกไซด์
่ 24 % 453 – 416 C
- แก้ว Pyrex 582 – 540 C
ในทางปฏิบตั ใิ นอุตสาหกรรมการผลิตแก้ว เตาอบอ่อนจะเป็ นเตาแบบต่อเนื่องในกระบวนการผลิต
กล่าวคือผลิตภัณฑ์จะถูกลาเลียงไปตามความยาวของเตาซึ่งอุณหภูมจิ ะเปลี่ยนไปตามตาแหน่ งของเตาด้วย
สายพานลาเลียงทีท่ าจากโลหะเบา จากข้อมูลข้างต้นเตาอบจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนอุณหภูมใิ นแต่ละช่วง
ได้ดี ดังนัน้ เตาอบในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะมีแหล่งให้ความเย็นหรือความร้อนแยกกันแต่ละส่วนเพื่อง่ายต่อ
การควบคุมอุณหภูมแิ ละเพื่อเพิม่ ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเตาอบ เช่น เตาส่วนต้นที่จะมีแหล่งให้
ความร้อนโดยใช้ก๊าซร้อน หรือ ใช้ไฟฟ้ า และส่วนปลายของเตาอบจะมีการให้ลมเย็นแทนเพื่อให้การเย็นตั ว
ของผลิตภัณฑ์เร็วขึน้ เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 114


7.3 การบาบัดด้วยความร้อน (Heat treatment)

กระบวนการนี้ใ นบางครัง้ อาจอยู่ใ นขัน้ ตอนที่เ รียกว่า After working ซึ่งเป็ นขัน้ ตอนการปรับปรุง
สมบัติของแก้ว ที่ไ ด้ใ ห้ดีข้นึ ซึ่งส่วนมากพบในการผลิต แก้ว ที่มกี ารใช้งานเชิงแสง (Optical glasses) แก้ว
สาหรับทาเทอร์โมมิเตอร์ และ กระจก Tempered ทีม่ กี ารใช้งานเป็ นกระจกรถยนต์หรือกระจกในงานก่อสร้าง
เป็ นต้น การบาบัดด้วยความร้อนจะมีลกั ษณะคล้าย ๆ กับการอบอ่อนทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่เป็ นขัน้ ตอน
ทีต่ อ้ งควบคุมเวลาและอุณหภูมใิ ห้แม่นยา

แก้วทีม่ กี ารใช้งานเชิงแสงนัน้ พบว่าอุณหภูมทิ ใ่ี ช้ในการอบอ่อนจะส่งผลต่อตัวเลขทศนิยมตาแหน่ งที่


สามของค่าดัชนีหกั เหแสง (Refractive index) และยังพบว่าอัตราการเย็นตัวของแก้ว ชนิดนี้ต่างกันก็จะทาให้
ดัชนีหกั เหแสงของแก้วต่างกันอีกด้วย ดังรูป 7.4 โดยในช่วงแรกของการเย็นตัว (ช่วงเปลี่ยนเป็ นแก้ว หรือ
Glass transformation range) ค่าดัชนีหกั เหแสงจะมีค่าคงทีเ่ ป็ นเส้นตรง ซึง่ อัตราการเย็นตัวทีแ่ ตกต่างกันจะ
ทาให้ค่าดัชนีหกั เหของแก้วจะต่างกันด้วย จากนัน้ เมื่อถึงอุณหภูมอิ บอ่อนแก้วจะถูกให้อุณหภูมเิ ป็ นระยะเวลา
หนึ่ง ซึง่ จะทาให้ค่าดัชนีหกั เหแสงของแก้วลดลง (เริม่ มีการเบนออกจากเส้นตรงในรูป 7.4) นอกเหนือจากนัน้
สาหรับแก้วที่ม ี CdS หรือ CdSe เป็ นส่วนประกอบ พบว่าการดูดกลืนแสงของแก้ว จะดูดกลืนแสง ณ ความ
ยาวคลื่นทีต่ ่างกันในช่วงแสงทีต่ ามองเห็นได้ (Visible light) หากแก้วถูกอบอ่อนทีอ่ ุณหภูมติ ่างกันออกไป การ
อบอ่อนแก้วทีม่ กี ารใช้งานเชิงแสงนัน้ มีความละเอียดอ่อนและมีความแม่นยาสูง การอบอ่อนยังทาให้โครงสร้าง
ของแก้วเกิดความเสถียรมากขึ้น ส่งผลต่อสมบัติของแก้ว ที่ มคี วามเสถียรมากขึ้นอีกด้วย ในบางครัง้ การ
อบอ่อนประเภทนี้จะเรียกว่า Fine annealing หรือ Stabilisation annealing

รูป 7.4 ผลของอัตราการเย็นตัวของแก้วทีต่ ่างกันในช่วงอบอ่อนซึง่ ทาให้ค่าดัชนีหกั เหเบนออกจากแนว


เส้นตรง [ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 115


ความเค้นทีม่ อี ยู่ในแก้วจาเป็ นต้องทาให้ลดลงหรือถูกกาจัดออกไปด้วยการอบอ่อน อย่างไรก็ตามยัง
พบว่าความเค้นถาวรทีม่ อี ยู่ในแก้วอย่างเหมาะสม (โดยเฉพาะอย่างยิง่ ทีผ่ วิ แก้ว) จะทาให้แก้วมีความแข็งแรง
มากขึน้ ในแก้วบางประเภทจะทาให้แก้วเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วเพื่อให้แก้วมี ความเค้นเนื่องจากแรงกดอัด
(Compression stress) ที่ผวิ สูงขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Thermal toughening โดยเริม่ ตัง้ แต่การทาให้
แก้วเย็นตัวจากอุณหภูมทิ ่ใี กล้กบั จุดอ่อนตัวของแก้ว (Softening point) โดยใช้อากาศเย็นพ่นใส่ผลิต ภัณฑ์
หรือการนาผลิตภัณฑ์แก้วใส่ลงไปในอ่างน้ ามันหรืออาจให้แก้วสัมผัสกับผิวของโลหะเย็น เพื่อเพิม่ อัตราการ
เย็นตัวของแก้ว แก้วทีผ่ ่านการทาให้แข็งแรงขึน้ (Toughen glass) จะมีความแข็งแรงสูงมากเพราะแก้วมีความ
เค้นจากแรงกด (Compression stress) ทีผ่ วิ สูง ดังแสดงในรูป 7.5ก โดยแรงใด ๆ ทีก่ ระทาต่อผิวแก้วแล้วจะ
ทาให้เกิดความเสียหายกับแก้วได้จะต้องมีค่าสูงกว่าความเค้นดังกล่าว หากแรงกระทาสูงกว่าความเค้นที่ผวิ
แก้ว แก้วจะแตกเสียหายเป็ นชิ้นเล็ก ๆ ดังแสดงในรูป 7.5ข ซึ่งกระจกชนิดนี้เรียกว่า Tempered glass ที่ม ี
ความเค้นทีผ่ วิ มีค่าสูงกว่า 10,000 psi หรือสูงกว่าประมาณ 60.89 MPa ตัวอย่างแก้วประเภทนี้ได้แก่ กระจก
หน้ า รถยนต์ เป็ น ต้ น แก้ ว อีก ประเภทหนึ่ ง จะมีค วามเค้น จากแรงกด (Compression stress) อยู่ใ นช่ ว ง
3,000 – 7,500 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) หรือ ประมาณ 20.68 – 51.71 เมกะพาสคัล (MPa) โดยกระบวนการ
นัน้ จะควบคุมการลดอุณหภูมชิ ้ากว่า Tempered glass ซึ่งเรียกว่า Heat-strengthened glass โดยรอยแตก
ของแก้วที่เกิดขึน้ จะมีขนาดใหญ่กว่าและมีความคมมากกว่ารอยแตกของแก้ว Tempered glass ดังแสดงใน
รูป 7.5ค ดังนัน้ การประยุกต์ใช้งานจึงแตกต่างกันออกไป

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 116


รูป 7.5 (ก) ลักษณะการกระจายความเค้นจากแรงกดและจากแรงดึงในแก้ว Tempered glass และ
Heat-strengthened glass (ข) รอยแตกของแก้ว Tempered glass และ (ค) รอยแตกของแก้ว
Heat-strengthened glass [ทีม่ า http://educationcenter.ppg.com/glasstopics/heated_glass.aspx]

คาถามท้ายบท

1. ความเค้นในแก้วเกิดขึน้ จากสาเหตุใด

2. ความเค้นทีเ่ กิดขึน้ สามารถทาให้หายไปได้หรือลดความรุนแรงได้โดยใช้วธิ ใี ดและเหตุใดความเค้นถึงลดลง

3. นอกเหนือจากการอบอ่อนเพื่อลดความเค้นในผลิตภัณฑ์แก้วแล้ว การใช้ความร้อนในลักษณะเดียวกับการ
อบอ่อนสามารถปรับปรุงหรือทาให้แก้วมีสมบัตติ ่าง ๆ ดีขนั ้ ได้อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 117


บทที่ 8
แก้วสี
Coloured Glasses

“แก้วสีถูกนาไปใช้ในงานด้านต่ าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในงานประดับตกแต่ง ภาชนะบนโต๊ ะ


อาหาร เป็ นต้น การเกิดสีในแก้ว เกิดจากองค์ประกอบในแก้วทีม่ กี ารดูดกลืนแสงทีค่ วามยาวคลืน่ ต่าง ๆ
โดยองค์ประกอบดังกล่าวมีหลายลักษณะ เช่น ไอออนต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ หรือโมเลกุลต่าง ๆ เป็ นต้น ในบท
นี้จะกล่าวถึงกลไกการเกิดสีในแก้วหรือการเห็นสี ชนิดของสารทีท่ าให้เกิดสีต่าง ๆ รวมถึงการรายงานค่าสี
ทีส่ ามารถอ้างอิงได้ เช่น การดูจากสเปกตรัมการดูดกลืนแสงของแก้ว หรือ การศึกษาจากค่า CIE ซึง่ เป็ น
ค่ามาตรฐานทีใ่ ช้รายงานสีเป็ นตัวเลข”

แก้วสีในอดีตจะเน้นการนาไปใช้งานทางด้านความสวยงามเป็ นหลัก เช่น เครื่องประดับและแก้วหรือ


กระจกเพื่อใช้ในการตกแต่ง เป็ นต้น เมือ่ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมมี ากขึน้ ทาให้มกี ารใช้
งานแก้วสีในด้านต่าง ๆ มากขึน้ เช่น ใช้เป็ นแก้วกันแสงในงานเชื่อม แว่นตากันแดด กระจกกรองแสง และ
แก้วส่งสัญญาณ เป็ นต้น โดยการเกิดสีจะขึน้ กับแสงที่ตกกระทบและขึน้ อยู่กบั องค์ประกอบในแก้ว ซึ่งจะได้
กล่าวถึงต่อไป ยกตัวอย่างเช่น

- ในแก้วที่ใช้งานด้านความสวยงามหรือด้านการตกแต่งนัน้ องค์ประกอบที่ทาให้เกิดสีได้ ได้แก่


ไอออนของโลหะทรานซิชนั เช่น ไอออนของทองแดง (Cu+ หรือ Cu2+) เป็ นต้น สารประกอบต่าง
ๆ ที่ใ ห้ส ี เช่ น CdS ซึ่ง เป็ น สารที่ใ ห้ส ีเ หลือ ง เป็ น ต้ น หรือ อาจอยู่ใ นรูป ของอนุ ภ าคโลหะที่
แขวนลอยในแก้ว เช่น โลหะทองแดง (ให้สแี ดงที่เรียกว่า Copper-ruby) โลหะทอง (ให้สแี ดงที่
เรียกว่า Gold-ruby) หรือ โลหะเงิน (ให้สเี หลือง) เป็ นต้น โดยทีข่ นาดของอนุ ภาคจะต้องเล็กกว่า
5 นาโนเมตร
- แก้วทีป่ ้ องกันแสง จะมีองค์ประกอบของเหล็กออกไซด์ โดยหากเป็ น Fe3+ แก้วจะสามารถดูดกลืน
รังสีอลั ตราไวโอเลต (Ultraviolet) ได้ ส่วน Fe2+ แก้วจะดูดกลืนรังสีอนิ ฟราเรด (Infrared) ได้ ส่วน
ในแก้วที่ใช้ทาแว่นตากันแดดนัน้ มักมีไอออนอื่น ๆ รวมอยู่ด้วยเป็ นจานวนมากเพื่อให้ไ ด้เฉดสี
ของแว่นกันแดดแตกต่างกันออกไป ไอออนต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แก่ แมงกานีส บิสมัต ทองแดง
โครเมียม โคบอลต์ และ ไททาเนียมร่ว มกับซีเ รีย ม ซึ่งทาให้แก้ว ดูดกลืนแสงไว้ได้ประมาณ
50 – 90 %

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 118


- แก้วทีใ่ ช้ทาสัญญาณไฟจราจร สีแดงจะมีไอออนของซีเรียม (Ce จะให้ส ี Cerium ruby) สีเขียวจะ
ใช้ทองแดงไอออนร่ว มกับโครเมีย มไอออน (Cu2+ และ Cr6+) และสีเ หลือ งหรือ สีน้ า เงิน จะใช้
ทองแดงไอออนและโคบอลต์ไอออน (Cu2+ และ Co2+)

เมื่อแสงในช่วงความยาวคลื่นต่าง ๆ ตกกระทบผิวแก้ว จะเกิดปรากฏการณ์เชิงแสงต่าง ๆ ขึน้ โดย


แสงบางส่วนจะเกิดสะท้อนทีผ่ วิ (Reflection) แสงบางส่วนหรือบางความยาวคลื่นจะถูกดูดกลืน(Absorption)
ไว้โดยแก้วและแสงบางส่วนจะส่องผ่านหรือลอดผ่านแก้ว (Transmission) แสงทีส่ ะท้อนทีผ่ วิ แก้วจะขึน้ อยูก่ บั
ค่าดัชนีหกั เหแสง (Refractive index; n) ของแก้วตามสมการ 8.1

R
n  12
สมการ 8.1
n  12

จากสมการ 8.1 หากค่าดัชนีหกั เหแสงของแก้ว (n) มีค่าเท่ากับ 1.5 จะทาให้ค่า R มีค่าเท่ากับ 0.04 ซึง่ แสดง
ให้เห็นว่าปริมาณแสงทีส่ ะท้อนทีผ่ วิ แก้วคิดเป็ น 4% ของแสงทีต่ กกระทบ ส่วนปริมาณแสงทีจ่ ะถูกดูดกลืนโดย
แก้ว นัน้ จะขึ้นอยู่ก ับความยาวคลื่นแสงที่ต กกระทบ (Incident wavelength) โดยแต่ ล ะความยาวคลื่นจะมี
ปริม าณแสงหรือ ความเข้ม แสงที่ถู ก ดู ด ซับ ไว้ ไ ม่ เ ท่ า กัน โดยแตกต่ า งกัน ตามชนิ ด ของตัว ดู ด กลืน แสง
(Absorbing agents) ซึ่งมีความเข้มข้นเท่ากับ c นอกจากนัน้ ยังขึ้นอยู่กบั ความเข้ม ของแสงตกกระทบ (I0)
ค่าคงที่ Extinction coefficient () และความหนาของแก้ว (l) โดยมีความสัมพันธ์ดงั สมการ 8.2

I  I 0 e cl สมการ 8.2

ค่า Extinction coefficient ของแก้วจะขึน้ อยู่กบั ระบบแก้วและขึน้ อยู่กบั ชนิดของสารดูดกลืนแสงทีม่ อี ยู่ในแก้ว


(Absorbing species) ส่วนแสงทีไ่ ม่ถูกดูดกลืนในแก้วก็จะส่องผ่านแก้วได้ ดังนัน้ สีทม่ี องเห็นได้ในแก้วคือสีท่ี
เกิดจากการรวมกันของความยาวคลื่น ของแสงทีค่ วามยาวคลื่นต่าง ๆ ในช่วงทีต่ ามองเห็น (ช่วง 400 – 700
นาโนเมตร) แต่เนื่องจากสายตามนุ ษย์มคี วามสามารถในการมองเห็นสีทต่ี ่างกัน อีกทัง้ ยังไม่สามารถแยกแยะ
ความเข้มสีทต่ี ่างกันได้ ดังนัน้ ในการจาแนกสีจะต้องใช้เครื่องมือในวิทยาศาสตร์เพื่อจาแนกสีได้อย่างแม่นยา
และเหมาะสมกับการนาไปอ้างอิงเชิงการค้าหรือด้านต่าง ๆ ต่อไป เช่น การใช้เครื่องวัดการดูดกลืนแสงที่
ความยาวคลื่ น ต่ า ง ๆ (UV-Visible spectroscopy) หรื อ การเปรี ย บเที ย บค่ า CIE (The Commission
Internationale de l’Echairage หรือ International Commission on Illumination) เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 119


ค่า CIE จะสัมพันธ์กบั ค่าการส่องผ่านแสง (Transmission) ค่าการส่องผ่านของแสงที่ความยาวคลื่น
ต่าง ๆ จะถูกเปลี่ยนเป็ นค่า X, Y และ Z ซึ่งเป็ นฟั งก์ชนั ของการส่องผ่านแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ โดยจะ
ขึ้นอยู่กบั ความเข้มแสง (I) ที่ความยาวคลื่น ( ) ต่าง ๆ ระหว่าง 380 – 780 นาโนเมตร (ค่า x , y และ z
ตามลาดับ ดังสมการ 8.3 – 8.5) ตัวอย่างของลักษณะการลอดผ่านของแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ เป็ นดัง
รูป 8.1

X  380 I  x  d
780
สมการ 8.3

Y  380 I  y  d
780
สมการ 8.4

Z  380 I  z  d
780
สมการ 8.5

รูป 8.1 ตัวอย่างลักษณะการลอดผ่านของแสงทีผ่ ่านการวิเคราะห์เพื่อใช้ในการแยกแยะสีดว้ ยระบบ CIE


[ดัดแปลงจาก C.L. Babcock (1977)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 120


ค่า X Y และ Z จะถูกนาไปคานวณหาค่า x และ y โดยใช้สมการ 8.6 และ 8.7 ซึง่ ใช้ประกอบกับแผนผัง CIE
ในรูป 8.2

X
x สมการ 8.6
X Y  Z

Y
y สมการ 8.7
X Y  Z

โดยสามารถบอกสี ใ นลัก ษณะของตัว เลขต่ า ง ๆ ได้ นอกจากนั ้น ค่ า CIE ยัง บ่ ง บอกถึง ความสว่ า ง
(Brightness) ของสีได้อีกด้วย ซึ่งได้มาจากค่ า y หรือ จากการอินทิเกรตพื้นที่ของกราฟการส่องผ่า นแสง
(Transmission) ได้ และยังบ่งบอกความยาวคลื่นเด่น (Dominant wavelength) และค่าความบริสุทธิ ์ (Purity)
ได้จากการลากเส้นจากจุด CIE illuminant (C) ผ่านจุด (x,y) ของแก้วไปยังความยาวคลื่น โดยจุดตัดจะเป็ น
ความยาวคลื่นเด่น และค่าความบริสุทธิ ์สามารถหาได้จากสมการ 8.8

a
Purity  สมการ 8.8
( a  b)

โดยค่ า a และ b คือ ความยาวจากจุด CIE illuminant C ถึงจุด (x,y) และจากจุด (x,y) ถึงความยาวคลื่น
ตามลาดับ ดังแสดงในรูป 8.3

รูป 8.2 แผนผัง CIE ซึง่ จะบ่งบอกค่าสีต่าง ๆ ของวัสดุ [ทีม่ า http://www.ntsc-tv.com/ntsc-index-05.htm]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 121


รูป 8.3 การลากเส้นเพื่อหาค่าความยาวคลื่นเด่น (Dominant wavelength) และความบริสุทธิ ์ (Purity)
[ทีม่ า C.L Babcock (1977)]

8.1 ชนิ ดของสารให้สี (Types of colouring agents)

สีของแก้วดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วเกิดจากชนิดของสารทีส่ ามารถดูดกลืนความยาวคลื่นต่าง ๆ กันทาให้


เกิดเป็ นแก้วสีต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามตัวทีท่ าให้เกิดสีในแก้วชนิดเดียวกันอาจทาให้สขี องแก้วต่างกันได้ ตาม
ชนิดของตัว โครงสร้า งแก้ว นอกจากนัน้ สีของแก้ว ยัง ขึ้นอยู่กับ ประวัติท างความร้อ นของแก้ว (Thermal
history) ของแก้วอีกด้วย เช่น อัตราการเย็นตัว อุณหภูมอิ บอ่อน และเวลาทีใ่ ช้ในการอบอ่ อน เป็ นต้น ทัง้ นี้จะ
ขึน้ อยูก่ บั องค์ประกอบของสารให้สที อ่ี ยูใ่ นแก้ว

8.1.1 ไอออนต่าง ๆ ที่ให้สี (Colouring ions)

สีทเ่ี กิดขึน้ เป็ นผลมาจากการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนของธาตุทรานซิชนั (Transition) หรือธาตุ 3d


และธาตุหายาก (Rare earth elements) หรือธาตุ 4f โดยค่าการดูดกลืนแสงของแก้วที่มไี อออนต่าง ๆ เช่น
โครเมียม 3+ (Cr3+) จะดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นประมาณ 450 และ 650 นาโนเมตร เป็ นต้น โดยการ
ดูดกลืนแสงในช่วงต่าง ๆ ทาให้การเห็นสีของแก้วเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่นแก้วที่ม ีแมงกานีสไอออนเป็ น
องค์ประกอบ หากแมงกานีสมีเลขออกซิเดชัน 3+ (Mn3+) แก้วจะมีสมี ่วง ส่วน Mn2+ จะไม่มสี ี สีทแ่ี ตกต่างกัน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 122


สามารถอธิบ ายได้จ ากทฤษฎีส นามลิแ กนด์ (Ligand field theory) หรือ ทฤษฎีส นามผลึก (Crystal field
theory) สาหรับไอออนของธาตุกลุ่ม 3d หากไอออนเหล่านี้มไี อออนลบล้อมรอบอยู่ซง่ึ เป็ นสภาวะทีเ่ ป็ นอยู่ใน
แก้วทีม่ ไี อออนของออกซิเจน; O2- ล้อมรอบอยู่ ซึง่ ไอออนลบนี้ในทฤษฎีสนามลิแกนด์จะเรียกว่า “ลิแกนด์” ซึง่
ลิแกนด์น้ีจะทาให้เกิดการแยกของระดับพลังงาน (Energy splitting) ของไอออนของธาตุกลุ่ม 3d โดยระดับ
พลังงานจะห่างกันมากหรือน้อยขึน้ อยู่กบั ความแข็งแรงของสนาม (Field strength) รอบ ๆ ไอออนของธาตุ
กลุ่ม 3d หรือขึ้นอยู่กบั จานวนไอออนลบที่อยู่ล้อมรอบและการจัดเรียงตัวของไอออนลบที่อยู่ล้อมรอบ ซึ่ง
พบว่าการแยกของระดับพลังงานงานจะเป็ นฟั งก์ชนั กับการจัดเรียงอิเล็กตรอน (Electronic configuration)
ของไอออนบวกและเลขโคออดิเนชัน (Coordination number) ของไอออนบวก สาหรับธาตุกลุ่ม 3d ระดับ
พลังงานดังกล่าวจะอยู่ทป่ี ระมาณ 1 – 3 eV เมือ่ มีแสงตกกระทบไอออนนี้จะดูดกลืนแสงในช่วงความยาวคลื่น
ทีส่ อดคล้องกับการแยกของระดับพลังงาน (Energy splitting) ซึง่ จะอยู่ในช่วงแสงทีต่ ามองเห็นพอดี (Visible
light) ทาให้เกิดแก้วสีต่าง ๆ ส่วนกรณีของไอออนบวกกลุ่ม 4f นัน้ ก็สามารถอธิบายในทานองเดียวกันและเกิด
ในช่วงแสงทีต่ ามองเห็นได้เช่นกัน จากทฤษฎีดงั กล่าวสีทต่ี ่างกันนัน้ เกิดจากการดูดกลืนแสงทีค่ วามยาวคลื่น
ต่าง ๆ กัน โดยสามารถสรุปชนิดของไอออนของโลหะที่ให้สตี ่าง ๆ กันไว้ในตาราง 3.4 ชนิดไอออนลบที่
แตกต่างกันจะทาให้ระดับพลังงานดังกล่าวเปลีย่ นแปลงไป โดยจะส่งผลทาให้การดูดกลืนแสงต่างกัน กล่าวคือ
เกิดการเปลี่ยนตาแหน่ งของความยาวคลื่นที่ถูกดูดกลืน เนื่องจากความแข็งแรงของสนาม (Field strength)
เปลี่ ย นไป โดยผลของไอออนลบที่ ล้ อ มรอบจะท าให้ ค วามแรงของสนาม ลดลงตามล าดั บ ดั ง นี้
O2- > F- > Cl- > Br- > I- ในแก้วออกไซด์การเติมสารประกอบแฮไลด์บางชนิดลงไปในแก้วในปริมาณเล็กน้อย
จะส่งผลต่อการเกิดสีได้เช่นกันเนื่องมาจากผลของความแข็งแรงของสนามดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว เช่น การเติม
NaCl แทน Na2O หากเป็ น แก้ว ที่ม ี Co2+ ซึ่ง เป็ น สารให้ส ีจ ะท าให้แ ก้ว เป็ น สีเ ขีย วอมน้ า เงิน (Blue-green
colour) แทนที่จะเป็ นสีม่วงอมน้ าเงิน (Blue-purple colour) เนื่องจากการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น ที่ยาว
กว่า และหากใช้ NaBr และ NaI ก็จะทาให้แก้วเป็ นสีเขียวและสีแดงน้ าตาล ตามลาดับ ความเข้มข้นของ
ปริมาณสารให้สกี ย็ งั ส่งผลต่อลักษณะสีทป่ี รากฏในแก้วได้เช่นกัน เนื่องจากเมือ่ มีความเข้มข้นของปริมาณสาร
ให้สมี าก ปริมาณแสงทีถ่ ูกดูดกลืนก็จะสูงด้วย ซึง่ พบว่าปริมาณของอัลคาไลน์ออกไซด์ (R2O) เช่น Li2O Na2O
และ K2O ในแก้วซิลเิ กตส่งผลต่อสีของแก้วที่ปรากฏ นอกจากนัน้ ระบบของแก้วหรือชนิดของตัวโครงสร้าง
แก้ว (Glass network former) ที่ต่างกันก็ส่งผลต่อความแข็งแรงของสนามและเลขโคออดิเนชันของไอออน
บวกอีกด้วย สารให้สที ม่ี เี ลขออกซิเดชันได้หลายค่า เช่น ไอออนของแมงกานีส (Mn2+ และ Mn3+) ไอออนของ
ทองแดง (Cu+ และ Cu2+) และไอออนของเหล็ก (Fe2+ และ Fe3+) เป็ น ต้ น จะมีก ารเปลี่ย นสีไ ด้เ มื่อ เลข
ออกซิเดชันเปลี่ยนไป โดยพบว่าบรรยากาศในการหลอมแก้วส่งผลต่อสีของแก้ว เนื่องจากบรรยากาศการ
หลอมจะเป็ นตัวควบคุมปฏิกริ ยิ าออกซิเดชันและรีดกั ชันทีเ่ กิดในน้ าแก้วหลอม อุณหภูมกิ ารหลอมแก้วก็ส่งผล
ต่อสีเช่นกัน ดังกรณีของการหลอมแก้วที่มอี อกไซด์ของเหล็กเป็ นองค์ประกอบที่อุณหภูมสิ ูงจะทาให้ Fe2O3
(Fe3+) เปลีย่ นเป็ น FeO (Fe2+) ซึง่ ให้สที แ่ี ตกต่างกัน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 123


ในกระบวนการผลิต แก้ว สีน้ าตาล ที่มกี ารใช้งานในด้านต่ าง ๆ เช่น ขวดเบียร์ ขวดยา หรือ ขวด
สารเคมี เป็ นต้น แก้วชนิดนี้จะประกอบด้วยสารประกอบของเหล็กและซัลเฟอร์ โดยเหล็กจะอยู่ในรูปที่มเี ลข
ออกซิเดชันสูง (Oxidised form) และซัลเฟอร์จะอยู่ในรูปที่มเี ลขออกซิเดชันต่ า (Reduced form) มีผเู้ สนอว่า
เหล็ก จะมีส ภาพแวดล้อ มเป็ นแบบเตตระฮีด รัล (Tetrahedral) โดยมีอ อกซิเ จน (O2-) ล้อ มรอบสามตัว
และซัลเฟอร์ (S2-) ล้อมรอบ 1 ตัว การทีจ่ ะทาให้ได้สารทัง้ สองตามต้องการนัน้ จะต้องควบคุม บรรยากาศการ
หลอมให้ดี โดยควบคุมความดันย่อยของออกซิเจนในบรรยากาศการหลอมที่เหมาะสมหรือ การเพิม่ ปริมาณ
คาร์บอนในแก้ว นอกจากการควบคุมบรรยากาศและการเพิม่ คาร์บอนแล้ว การมีสารประกอบบางชนิดในแก้ว
จะทาให้สเี ปลีย่ นไป เช่น หากมีซลี เี นียมแก้วจะเปลีย่ นเป็ นสีดาหรือหากเติมออกไซด์ของสังกะสีหรือออกไซด์
ของดีบุกสีแก้วจะจางลง เป็ นต้น

8.1.2 อนุภาคโลหะที่แขวนลอยในแก้ว (Metal particles in glasses)

ตัวอย่างของแก้วทีม่ อี นุ ภาคของโลหะแขวนลอยอยู่แล้วทาให้เกิดสี เช่น แก้วสีแดงทับทิมจากอนุ ภาค


ทองทีแ่ ขวนลอยอยูใ่ นเนื้อแก้วทีเ่ รียกว่า Gold-ruby glass โดยสีทเ่ี กิดขึน้ นัน้ ไม่ได้เกิดจากการกระเจิงของแสง
(Light scattering) จากการตกกระทบอนุ ภาคทอง แต่เกิดจากการดูดกลืนแสงเช่นเดียวกับกรณีของไอออน
ของโลหะทรานซิชนั และธาตุหายากดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วในข้อ 8.1.1 โดยสีแดงนี้เกิดจากการดูดกลืนแสงของ
อนุ ภาคทองทีค่ วามยาวคลื่นประมาณ 530 นาโนเมตร หากมีโลหะทองแดงแทนที่ทองก็จะมีการดูดกลืนแสง
อยูท่ ป่ี ระมาณ 565 นาโนเมตร ซึง่ ทาให้แก้วมีสแี ดงเช่นกัน อย่างไรก็ตามมีผเู้ สนอว่าสีแดงอาจเกิดจากอนุ ภาค
ของ Cu2O แขวนลอยอยู่ใ นแก้ว มากกว่ า โลหะทองแดง หรือ อาจเป็ นไปได้ว่ า การเกิด สีเ กิด จากทัง้ สอง
ปรากฏการณ์ร่วมกัน ในแก้วสีเหลืองทีม่ อี นุ ภาคของเงินอยู่ (Silver-yellow glass) จะมีช่วงการดูดกลืนแสงที่
ประมาณ 410 นาโนเมตร ดังแสดงในรูป 8.4 นอกจากนี้โลหะตะกัว่ (Pb) สารหนู (As) แอนทิโมนี (Sb) บิสมัต
(Bi) ดีบุก (Sn) และเจอร์มาเนียม (Ge) จะทาให้แก้วมีสนี ้ าตาล ดา หรือ เทา ขึน้ กับชนิดและปริมาณของโลหะ
แต่ละชนิด โดยจานวนของอนุ ภาคโลหะต่าง ๆ ที่แขวนลอยอยู่ในแก้วต้องมีปริมาณไม่สูงเกินไป เนื่องจาก
หากมีปริมาณสูงเกินจะทาให้แก้วมีความทึบแสง

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 124


รูป 8.4 ลักษณะกราฟการดูดกลืนแสงของแก้วทีม่ โี ลหะเงินแขวนลอยอยู่ [ทีม่ า J.E. Shelby (2005)]

อนุ ภาคแขวนลอยของโลหะในแก้ว เกิดขึน้ จากปฏิกริ ยิ ารีดอกซ์ของไอออนของโลหะซึ่งจะเปลีย่ นให้


ไอออนกลายเป็ นอะตอมของโลหะ โดยอะตอมทีเ่ กิดขึน้ นี้จะแพร่เข้าหากันขณะหลอมและรวมตัวกันกลายเป็ น
ผลึกทอง จนมีขนาดอยู่ในช่วงของคอลลอยด์แขวนลอยอยู่ในแก้วเมื่อ น้ าแก้วเย็นตัวลง โดยปฏิกริ ยิ ารีดกั ชัน
ของไอออนของโลหะทีส่ นใจนี้อาจเกิดจากการเติมตัวรีดวิ ซ์ลงไปในแก้วหรืออาจเกิดจากสภาวะในการขึ้นรูป
แก้วเช่นการปรับบรรยากาศให้เ ป็ น H2 ในช่วงที่อุณหภูมลิ ดลงมาใกล้กบั ช่วงการเปลี่ยนเป็ นแก้ว (Glass
transition range) เพื่อให้ไอออนดังกล่ าวถูกรีดิว ซ์เ ป็ นโลหะได้ ยกตัวอย่างเช่นการเติมออกไซด์ของดีบุก
(Stannic oxide; SnO2) ลงไปในแก้วที่มอี อกไซด์ของทองอยู่ เพื่อให้เกิดเป็ นอนุ ภาคทองแขวนลอยในแก้ว
เมือ่ หลอมแก้วทีอ่ ุณหภูมสิ งู น้าแก้วหลอมจะอยูใ่ นสมดุลของสภาวะทีม่ อี อกซิเจนสูงซึง่ จะทาให้เกิดผลิตภัณฑ์ท่ี
เกี่ยวข้องกับการเกิดสีได้แก่ Au+ และ Sn2+ เมื่ออุณหภูมลิ ดลงสมดุลจะเปลีย่ นแปลงไปทางปฏิกริ ยิ ารีดกั ชัน
ของทองและออกซิเดชันของดีบุกดังสมการ 8.9 โดยปฏิกริ ยิ านี้จะมีช่อื เรียกเฉพาะว่า Striking ซึ่งสามารถ
เกิด ขึ้น ได้เ องหากให้ค วามร้อ นแก้ว (ที่ม ีอ งค์ป ระกอบเหมาะสม) ที่ไ ม่ม ีส ีไ ปที่อุ ณ หภูม ิท่ีเ หมาะสมก็จ ะ
เกิดปฏิกริ ยิ า Striking เกิดสีในแก้วขึน้

2Au+ + Sn2+ 2Au0 + Sn4+ สมการ 8.9

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 125


ส่วนของการปรับบรรยากาศให้เป็ นบรรยากาศรีดกั ชันระหว่างการเย็นตัวเพื่อให้เกิดอนุ ภาคทอง หรือ เงิน
หรือ ทองแดงในแก้วนัน้ สามารถทาได้โดยการเพิม่ ก๊าซไฮโดรเจนในระบบทีอ่ ุณหภูมใิ กล้เคียงกับอุณหภูมกิ าร
เปลีย่ นเป็ นแก้ว (Glass transition temperature) โดยปฏิกริ ยิ าทีเ่ กิดขึน้ จะเกิดขึน้ ทีผ่ วิ แก้วก่อนจากนัน้ จึงเกิด
ด้านในเนื้อแก้ว โดยสีทเ่ี กิดขึน้ จะเกิดเป็ นชัน้ ๆ และความหนาของชัน้ ทีเ่ กิดสีจะแปรผันกับ t1/2 หรือ t เมือ่ t
คือ เวลาทีแ่ ก้วอยู่ในสภาวะรีดกั ชัน ซึง่ แสดงให้เห็นว่าการแพร่ของก๊าซไฮโดรเจนในแก้วเป็ นกลไกที่ควบคุม
การเกิดสีของแก้ว ซึ่งกระบวนการนี้เกิดขึ้นได้ง่ายมากในกรณีของโลหะชนิดตะกัว่ สารหนู แอนทิโมนีและ
บิสมัต ในแก้ว

สาหรับแก้วทีต่ อ้ งการสีจากอนุ ภาคเงินนัน้ สามารถทาได้จากการให้เงินแพร่ผ่านจากผิวด้านนอกเข้าสู่


แก้ว ซึง่ ในแก้วจะต้องมีไอออนของโลหะอัลคาไลน์อยู่ โดยแหล่งของเงินที่ใช้จะได้มาจากฟิ ล์มบางของโลหะ
เงินหรือเกลือของเงินหลอมเหลว การแลกเปลี่ยนหรือการแพร่ของเงินก็จะเกิดขึน้ ที่ผวิ รอยต่อระหว่างฟิ ล์ม
บางหรือเกลือของเงินหลอมเหลวกับแก้ว จากนัน้ จึงแพร่เข้าสู่ภายในเนื้อแก้ว โดยกระบวนการแพร่นนั ้ เงินยัง
อยูใ่ นรูปของไอออน เมือ่ การเกิดการแลกเปลีย่ นไอออนระหว่างไอออนของเงินกับไอออนของอัลคาไลน์ในแก้ว
ตามความหนาทีต่ ้องการแล้ว แก้วจะถูกนาเข้าสู่บรรยากาศรีดกั ชันเพื่อ เปลีย่ นไอออนของเงินให้เป็ นโลหะเงิน
แขวนลอยอยูใ่ นแก้ว

8.1.3 สารประกอบซัลไฟด์ ซีลีไนด์และเทลลูไรด์ (Sulfide selenide and telluride compounds)

สีท่เี กิดขึ้นเกิดจากการมีส ารประกอบกลุ่ มนี้อ ยู่ในแก้ว ซึ่งสารประกอบเหล่ านี้จะมีส มบัติก่งึ ตัว น า


(Semiconductor properties) เมื่อพิจารณาลักษณะการดูดกลืนแสงของแก้วประเภทนี้จะมีความแตกต่างจาก
กรณีของสารให้ส ีส องประเภทแรกที่ไ ด้กล่ าวมาแล้ว จากสเปกตรัม การส่ อ งผ่ านของแสง (Transmission
spectrum) ของสารกลุ่มนี้ทจ่ี ะมีลกั ษณะของกราฟทีช่ นั มาก หรือเรียกว่ามี Sharp cutoff ของการส่องผ่านแสง
ดังรูป 8.5 ซึง่ ค่าการส่องผ่านแสงดังกล่าวจะสอดคล้องกับช่องว่างระหว่างแถบพลังงาน หรือ Band gap ของ
สารกึ่งตัวนาแต่ละชนิด สีทป่ี รากฏก็จะขึน้ อยู่กบั ชนิดและส่วนผสมของสารให้สดี งั กล่าว เช่นในกรณีของการ
ผสม CdS กับ CdSe จะทาให้สที ไ่ี ด้แตกต่างจากแก้วทีม่ เี พียง CdS หรือ CdSe หนึ่งชนิดในแก้ว โดยที่ CdS
จะให้ส ีเ หลือ ง และ CdSe จะให้ส ีแ ดง นอกจากชนิดและส่ ว นผสมแล้ว ปริมาณด่างในแก้ว (เช่นสารกลุ่ม
อัลคาไลน์ออกไซด์) สภาวะออกซิเดชัน-รีดกั ชัน อุณหภูมกิ ารหลอม และขนาดของผลึกให้สกี ลุ่มนี้จะส่งผลต่อ
สีของแก้วทีป่ รากฏเช่นกัน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 126


รูป 8.5 สเปกตรัมการส่องผ่านแสง (Transmission spectrum) ของแก้วใช้เป็ นแก้วกรองแสง ซึง่ มีส่วนผสม
ของ CdS และ CdS + CdSe [ทีม่ า C.L. Babcock (1977)]

8.2 ผลของแสงแดดต่ อสีของแก้ว (Effect of solarisation on colour of glasses)

แก้วบางชนิดสามารถเกิดเป็ นสีต่าง ๆ ได้เมือ่ ได้รบั แสงแดด โดยกระบวนการเกิดสีเมือ่ ได้รบั แสงแดด


นัน้ มีช่อื เรียกว่าการโซลาร์ไรซ์เซชัน (Solarisation) ในบางกรณีอาจทาให้เกิดการเปลีย่ นสีท่ยี ่านของคลื่นที่ม ี
พลังงานสูงขึน้ เช่นย่านอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet radiation) ซึง่ การเกิดสีเกิดจากกลไกของการแลกเปลีย่ น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 127


อิเล็กตรอนในปฏิกริ ยิ ารีดอกซ์ของไอออนของแมงกานีสทีม่ พี ลังงานในช่วงของความยาวคลื่นแสงอาทิตย์เป็ น
ตัวเร่งให้เกิดปฏิกริ ยิ า ดังสมการ 8.10

Mn2+ + Fe3+ + Photon Mn3+ + Fe2+ สมการ 8.10

ปฏิกิรยิ าดังกล่ าวในอดีต ใช้เ พื่อ ลดความเข้มของสีเ ขียวของแก้ว ที่มเี หล็กเป็ นองค์ป ระกอบด้ว ยการเติม
แมงกานีสเป็ นตัวลดสีซ่งึ สามารถอธิบายได้จากการมองเห็นสีของแก้วผสมระหว่างสีม่วง (ของไอออนของ
แมงกานีส) และสีเขียว (ของไอออนของเหล็ก) พร้อม ๆ กัน ทาให้เกิดเป็ นลักษณะไม่มสี เี มื่อใช้สายตามอง
โดยปั จจุบนั การใช้แมงกานีสไม่เป็ นที่นิยมเนื่องจากว่าเกิดปั ญหาได้งา่ ยและควบคุมการเกิดสีได้ยาก เนื่องจาก
แมงกานีสจะไวต่อการเกิดปฏิกิรยิ าโซลาร์ไรซ์เซชันมาก (Light-sensitive) จึงเปลี่ยนมาใช้โคบอลต์ร่ว มกับ
ซีลเี นียมแทนในการทาให้แก้วไม่มสี ี (จากการมองเห็นด้วยตาเปล่า) ในปั จจุบนั ได้พฒ ั นาคู่ของไอออนอื่น ๆ ที่
ทาให้ค่าการดูดกลืนแสงของแก้วเปลีย่ นช่วงพลังงานไป เช่น การใช้ไอออนของ Mn-As หรือ Fe-As รวมไปถึง
คู่ไอออนของธาตุทรานซิชนั อื่น ๆ คู่กบั ไอออนของซีเรียม (Ce) เป็ นต้น ซึ่งการมีผลมากกว่าเพียงการลดสี
หรือฟอกจางสีทเ่ี กิดขึน้ ในแก้ว

8.3 ผลของการกระตุ้นด้วยรังสีต่อสีของแก้ว (Effect of radiation on colour of glasses)

รังสีท่ที าให้เกิดการเปลี่ยนสีของแก้วนัน้ มีหลายชนิดขึน้ อยู่กบั พลังงานที่เกี่ยวข้องในการเกิดสี เช่น


รังสีเอกซ์ (X-rays) รังสีเบตา (Beta-rays) หรือ รังสีแกมมา (Gamma-rays) เป็ นต้น โดยการเปลีย่ นสีในแก้ว
เกิดจากตาหนิของโครงสร้างแก้วทีส่ ่งผลเชิงแสง (Optical defects) โดยตาหนิดงั กล่าวอาจเป็ นตาแหน่ งของ
ไอออนที่ม ีจ านวนอิเ ล็ก ตรอนมากกว่ า ปกติ (Trapped electrons site) หรือ ต าแหน่ ง ที่ไ อออนมีจ านวน
อิเล็กตรอนน้อยกว่าปกติ (Holes) ซึง่ ทัง้ สองชนิดเกิดจากการทีแ่ ก้วได้รบั รังสีในย่านความยาวคลื่นต่าง ๆ หรือ
พลังงานต่ าง ๆ โดยต าหนิ (Defects) ดังกล่ าวจะเกิดการดูดกลืนพลังงานในย่า นที่แตกต่ างกัน โดยการ
ดูดกลืนพลังงานสามารถอธิบายด้วยหลักการของทฤษฎีแถบ (Band theory) ซึ่งใช้อธิบายลักษณะของวัสดุ
กึ่งตัวนา (Semiconductor) โดยการดูดกลืนพลังงานจะทาให้อเิ ล็กตรอนสามารถเคลื่อนที่จากแถบวาเลนซ์
(Valence band) ไปยังตาแหน่ งของตาหนิ (Defect levels) หรืออาจทาให้อเิ ล็กตรอนเคลื่อนทีจ่ ากตาหนิไปยัง
แถบนา (Conduction band) อย่างไรก็ตามอาจเติมไอออนบางชนิดในแก้วเพื่อเป็ นตัวดักจับอิเล็กตรอนทีเ่ กิด
การเปลีย่ นพลังงานเมือ่ ได้รบั รังสี ยกตัวอย่างเช่นการเติมซีเรียมออกไซด์ เป็ นต้น แก้วซิลกิ าซึง่ เป็ นแก้วทีไ่ ม่ม ี
สี แม้ว่าจะได้รบั รังสีในปริมาณมากหรือ พลังงานมากก็ตามจะไม่ทาให้เกิดสีได้ แต่จะเกิดสีกต็ ่อเมื่อแก้วชนิดนี้
มีตาหนิ หรือ defect จากการเติมอะลูมนิ า (Al2O3) ลงไปเล็กน้อย ซึง่ จะทาให้เกิดตาหนิทเ่ี รียกว่า Aluminum
oxide hole centres (AOHC) ซึ่งทาให้แก้วเกิดเป็ นสีม่วงเมื่อได้รบั รังสี นอกจากนัน้ ยังมีไอออนอื่น ๆ ที่จะ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 128


สร้างตาหนิในแก้วซิลกิ าได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เจอร์มาเนียม หรือ ไทเทเนียม เป็ นต้น ส่วนแก้วซิลเิ กต
ทัว่ ๆ ไปที่มอี งค์ประกอบของอัลคาไลน์ออกไซด์ หรือ อัลคาไลน์เอิรธ์ ออกไซด์ จะทาให้เกิด Non-bridging
oxygen หรือออกซิเจนทีไ่ ม่เชื่อมต่อกับตัวโครงสร้างแก้วครบสองตัว ซึง่ เป็ นศูนย์กลางของตาหนิทม่ี อี ยูใ่ นแก้ว
ชนิดนี้ เมือ่ ได้รบั รังสีจะเกิดเป็ นสีน้ าตาล สีของแก้วทีเ่ กิดขึน้ หลังจากทีแ่ ก้วได้รบั รังสีสามารถทาให้สซี ดี ลงหรือ
จางลงได้จากการให้ความร้อนแก้วอีกครัง้ หนึ่ง (Thermal annealing) โดยอุณหภูมทิ เ่ี ลือกใช้จะขึน้ อยู่กบั ชนิด
ของตาหนิทเ่ี กิดขึน้ ในแก้ว

คาถามท้ายบท

1. จงอธิบายการมองเห็นสีของสิง่ ของต่าง ๆ ของตามนุษย์

2. จงอธิบายว่าสารให้สแี ต่ละกลุ่มจะทาให้แก้วเกิดสีได้อย่างไร

3. เมื่อนาแก้วที่ใสไม่มสี ี (Colourless) ซึ่งเป็ นภาชนะใส่น้ าไปผ่านเครื่องฉายรังสีเอกซ์พลังงานสูงเป็ นเวลา


10 นาที พบว่าแก้วเกิดสีขน้ึ จงอธิบายว่าเหตุใดแก้วจึงเกิดสี

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 129


บทที่ 9
ลักษณะเฉพาะและสมบัติของแก้ว
Characteristics and Properties of Glass

“ลักษณะเฉพาะและสมบัติของแก้ว มีอยู่หลากหลายประการ ในทีน่ ้ ีจะกล่าวถึงลักษณะเฉพาะ


(Characteristics) และ สมบัติ (Properties) ของแก้ ว ที ส่ าคัญ ในแก้ ว ที ม่ ี ร ะดับ การผลิ ต อยู่ ใ นระดับ
อุตสาหกรรม เช่น ความหนาแน่ น (Density) ปริมาตรต่อโมล (Molar volume) สมบัติทางเคมี (Chemical
properties) สมบัตทิ างกล (Mechanical properties) สมบัตทิ างความร้อน (Thermal properties) และสมบัติ
ทางแสง (Optical properties) โดยจะกล่าวถึงทฤษฎี การคานวณเบื้องต้นและเครือ่ งมือทีใ่ ช้วเิ คราะห์ทใี ่ ช้
หาลักษณะเฉพาะและสมบัตติ ่าง ๆ”

9.1 ลักษณะเฉพาะและสมบัติของวัสดุ

ลักษณะเฉพาะของวัสดุ มักหมายถึงสิง่ ที่มอี ยู่เฉพาะในวัสดุนัน้ ๆ โดยไม่เปลีย่ นแปลงเมื่อได้รบั แรง


(Force) หรือการกระทา (Action) ใด ๆ กล่าวคือเป็ นสิง่ ที่สะท้อนถึงลักษณะซึ่งมีความจาเพาะสาหรับวัสดุ
นั น้ ๆ เท่ า นั น้ เช่ น ความหนาแน่ น (Density) ปริม าตรต่ อ โมล (Molar volume) องค์ป ระกอบทางเคมี
(Chemical composition) โครงสร้าง (Structure) และ องค์ประกอบทางแร่ (Mineral composition) เป็ นต้น

สมบัตขิ องวัสดุ หมายถึง การตอบสนองต่อแรงหรือการกระทาใด ๆ ภายนอกทีใ่ ห้กบั วัสดุนนั ้ ๆ เช่น


แรงทางความร้อน แรงทางกล และแสง เป็ นต้น เมือ่ วัสดุได้รบั แรงหรือการกระทาแล้ว จะตอบสนองต่อแรงนัน้
ในรูปแบบต่าง ๆ ขึน้ อยู่กบั ชนิดและลักษณะเฉพาะของวัสดุนัน้ ๆ โดยวัสดุต่างชนิดกันจะตอบสนองต่อแรง
กระทาต่างกัน โดยในที่น้ีจะกล่าวถึง สมบัตทิ างความร้อน (Thermal properties) สมบัตทิ างเคมี (Chemical
properties) สมบัตทิ างกล (Mechanical properties) และสมบัตทิ างแสง (Optical properties) ซึง่ เป็ นสมบัตทิ ่ี
สาคัญในอุตสาหกรรมแก้ว และจะต้องตรวจสอบสมบัตติ ่าง ๆ เหล่านี้ให้ได้ตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ก่อน
จาหน่ ายสู่ลูกค้า โดยแต่ละผลิตภัณฑ์จะเน้นสมบัตทิ ่แี ตกต่างกันออกไปตามประเภทการใช้งาน เช่น เลนส์
แก้วจะเน้ นสมบัติทางแสงมากกว่าสมบัติด้านอื่น ๆ หรือ กระจกแผ่นสาหรับอาคารต่างๆ จะเน้ นทัง้ ความ
แข็งแรง (สมบัตเิ ชิงกล) และ สมบัตทิ างแสง เช่นความโปร่งใสและสี เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 130


9.2 ความหนาแน่ นและปริ มาตรต่อโมล (Density and molar volume)

ความหนาแน่ น (Density) เป็ น ค่ า ที่แ สดงมวลของสารต่ อ หนึ่ ง หน่ ว ยปริม าตร (Mass per unit
volume) มักใช้ตวั ย่อเป็ น D หรือ  ซึง่ สามารถเขียนให้อยูใ่ นสมการทัว่ ๆ ไปได้ดงั สมการ 9.1

𝑀 𝑀
𝐷= หรือ ρ = สมการ 9.1
𝑉 𝑉

เมือ่ M คือ มวลหรือน้าหนักของแก้ว

V คือ ปริมาตรของแก้ว

ความหนาแน่ นสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทขึน้ กับการตีความ ได้แก่ความหนาแน่ นแท้ (True


density) เป็ นความหนาแน่ นของวัสดุทป่ี ราศจากรูพรุน ฟองอากาศ สิง่ เจือปน หรือ ตาหนิต่าง ๆ ซึง่ ในทาง
ปฏิบตั ทิ วั ่ ๆ ไปในการหาค่าความหนาแน่ นแบบนี้ จะทาได้โดยบดวัสดุทต่ี ้องการวิเคราะห์ให้เป็ นผงละเอียด
ก่อน เพื่อกาจัดรูพรุนหรือฟองอากาศ ความหนาแน่ นปรากฏ (Apparent density) จะเป็ นความหนาแน่ นที่
รวมทัง้ รูพรุน ฟองอากาศ หรือสิง่ เจือปนต่าง ๆ ที่ประกอบกับอยู่ในชื้นงาน ในบางครัง้ อาจเรียกว่า ความ
หนาแน่ นรวม (Bulk density) และชนิดสุดท้ายคือความหนาแน่ นทางทฤษฎี (Theoretical density) ซึ่ง
สามารถคานวณจากองค์ประกอบทางเคมีและทางแร่ของวัส ดุ ซึ่งอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ในการคานวณ เช่น
ข้อมูลพืน้ ฐานทางผลึกศาสตร์ และความหนาแน่นของผลึก เป็ นต้น

วัสดุแก้วมักแตกต่างจากวัสดุอ่นื ๆ เนื่องจากเป็ นวัสดุทไ่ี ม่มโี ครงสร้างผลึก (Non-crystalline) หรือมี


ความเป็ นอสัณฐาน (Amorphous) กล่าวคือโครงสร้างแก้วจะมีโครงสร้างที่ไม่แน่ นอน โดยความยาวพันธะ
ระหว่างคู่อะตอมใด ๆ และมุมพันธะ (Bond Angle) จะมีได้หลายค่าในแก้วทีม่ อี งค์ประกอบเดียวกัน ซึง่ ต่าง
จากโครงสร้างผลึกทีม่ รี ะยะห่างระหว่างอะตอมและมุมระหว่างพันธะเท่ากัน อีกทัง้ การกระจายตัวของอะตอม
ต่ าง ๆ ในแก้ว เป็ นไปอย่างอิส ระแบบสุ่ ม (Random distribution) โครงสร้างแก้ว แบบสุ่ ม ส่ งผลท าให้ก าร
คานวณความหนาแน่ นทางทฤษฎี (Theoretical density) ทาได้ยาก การหาความหนาแน่ น ของแก้ว ท าได้
หลายวิธ ี เช่น การใช้หลักการอาร์คมิ ดิ สี (Archimedes) พิคโนมิเตอร์ (Pycnometer) การให้แก้วแขวนลอยใน
ของเหลวทีท่ ราบความหนาแน่นแน่ นอน และ การใช้เทคนิคจม-ลอย (Sink-float technique) เป็ นต้น

การหาความหนาแน่ นของวัสดุทท่ี ราบปริมาตรแน่ นอนหรือมีมติ ทิ แ่ี น่ นอนสามารถคานวณจากข้อมูล


ของน้ าหนักและปริมาตรของแก้วโดยใช้สมการ 9.1 หากไม่ทราบปริมาตรของแก้วทีแ่ น่ นอนสามารถใช้หลัก
ของอาร์คมิ ดี สี (Archimedes’ Principle) โดยอาศัยน้ าหนักของแก้ว ที่ชงในอากาศและน
ั่ ้ าหนักชังในตั
่ วกลาง
ของเหลว โดยต้องทราบความหนาแน่ นของของเหลวที่แน่ นอนที่อุณหภูม ิ ณ ขณะทาการทดลอง จากนัน้
สามารถคานวณหาความหนาแน่นจากสมการ 9.2

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 131


𝑊𝐴
ρ = (𝑊 (𝜌𝐿 − 𝜌𝐴 ) + 𝜌𝐴 สมการ 9.2
𝐴 −𝑊𝐿 )

เมือ่ , L และ A คือ ความหนาแน่นของของแข็ง ของของเหลวตัวกลาง และ ของอากาศ ตามลาดับ


WA และ WL คือ น้าหนักของของแข็งทีช่ งในอากาศและในของเหลวตั
ั่ วกลาง (นิยมใช้น้า) ตามลาดับ

ซึง่ สมการ 9.2 นัน้ โดยทัวไปในอุ


่ ตสาหกรรมอาจลดรูปตัวแปรต่าง ๆ ของอากาศ เนื่องจากความหนาแน่ นที่
คานวณได้จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยซึง่ ไม่มนี ัยสาคัญ อีกทัง้ การหาค่าความหนาแน่ นของอากาศจะต้อง
ทราบค่าความชืน้ ในอากาศ อุณหภูม ิ และความดันบรรยากาศ เป็ นต้นซึง่ จะยุง่ ยากต่อการคานวณ ซึง่ สามารถ
ลดรูปสมการทีใ่ ช้คานวณความหนาแน่ นลงได้ดงั สมการ 9.3 โดยการหาน้ าหนักของแก้วทีช่ งในอากาศและใน
ั่
ตัวกลางของเหลวสามารถใช้เครื่องมือทีเ่ รียกว่า Density-kit ซึง่ เครื่องมือจะต่อเข้ากับเครื่องชังวิ
่ เคราะห์ได้ดงั
แสดงในรูป 9.1

WA  L
 สมการ 9.3
(WA  WL )

รูป 9.1 ตัวอย่าง Density-kit ซึง่ จะต่อเข้ากับเครือ่ งชังวิ


่ เคราะห์เพื่อใช้ชงน
ั ่ ้ าหนักของวัสดุทส่ี นใจในอากาศและ
ในตัวกลางของเหลว
[ทีม่ า http://www.grainger.com/product/ADAM-EQUIPMENT-Balance-Density-Kit-19YN73]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 132


ตัวอย่าง 9.1 เพื่อศึกษาผลขององค์ประกอบทางเคมีของแก้วต่อความหนาแน่ นทีเ่ ปลีย่ นไปของแก้ว นักวิจยั
จึงหาความหนาแน่ นของแก้วทีม่ อี งค์ประกอบทางเคมีคอื 25V2O575B2O3 ซึง่ แก้วชนิดนี้อาจเกิดปฏิกริ ยิ ากับ
น้า ทาให้ตอ้ งใช้ไซลีน (Xylene) แทนน้า เพื่อทดลองหาค่าความหนาแน่ น พบว่าน้าหนักทีช่ งในอากาศเท่
ั่ ากับ
0.1417 กรัม และน้ าหนักที่ชงในของเหลวตั
ั่ วกลางเท่ากับ 0.0867 กรัม จงแสดงการหาความหนาแน่ นของ
แก้วชนิดนี้ กาหนดให้ ค่าความหนาแน่ นของไซลีนที่อุณหภูมขิ ณะทาการทดลอง (28.9 เซลเซียส) เท่ากับ
0.853382 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

วิ ธีทา จากโจทย์จะได้ว่า WA เท่ากับ 0.1417 กรัม WL เท่ากับ 0.0867 กรัม และ L เท่ากับ 0.853382 กรัม
ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

แทนค่าเหล่านี้ในสมการ 9.3 เพื่อหาความหนาแน่นจะได้

 glass 
0.14170.853382  0.1209  2.20
กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
0.1417  0.0867 0.0550

ปริ มาตรต่ อโมล (Molar Volume) คือปริมาตรของวัสดุ จานวน 1 โมล ซึ่งสามารถคานวณได้จาก


สมการ 9.4 ซึ่ง แสดงความสัม พัน ธ์ ร ะหว่ า งปริม าตรต่ อ โมล ( Vm) มวลโมเลกุ ล ของวัส ดุ (MWt) และ
ความหนาแน่น () ในบางกรณีอาจมีการหาปริมาตรต่อโมลด้วยวิธอี ่นื ๆ เช่นในกรณีของวัสดุผลึกจะสามารถ
คานวณได้จากข้อมูลโครงสร้างผลึก (Lattice parameters) เพื่อหาปริมาตรของผลึกหรือวัสดุชนิดนัน้ ๆ

𝑀𝑊𝑡
𝑉𝑚 = สมการ 9.4
𝜌

ความหนาแน่ นของวัสดุจะขึน้ อยูก่ บั ปริมาตรของวัสดุทป่ี ระกอบไปด้วยอะตอมต่าง ๆ บรรจุอยู่ ดังนัน้ ปริมาตร


ต่อโมลจึงถูกใช้ในการเปรียบเทียบพฤติกรรมของแก้วหรือวัสดุดว้ ยเช่นกัน ปริมาตรต่อโมลของแก้วมักถูกใช้
ในการศึกษาพฤติกรรมอะนอมัลลี (Anomalous behaviour) ของแก้วอีกด้วย ดังรูป 9.2 ทีซ่ ง่ึ เปรียบเทียบการ
เปลี่ยนแปลงความหนาแน่ นของแก้วและปริมาตรต่อโมลของแก้วทาลเลียมบอเรต (Tl2OB2O3) ที่ปริมาณ
ทาลเลียมออกไซด์ (Tl2O) ต่าง ๆ ซึง่ จะเห็นได้ว่าปริมาตรต่อโมลเกิดจุดต่ าสุด (Minimum Point) ซึง่ แสดงให้
เห็นถึงพฤติกรรมอะนอมัลลีของแก้วบอเรต (Borate anomaly) โดยพฤติกรรมนี้จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
โครงสร้างแก้วและสมบัตขิ องแก้ว ซึง่ สามารถอธิบายได้จากการเปลี่ยนโครงสร้างของหน่ วยย่อยของโบรอน
จากหน่ วยย่อยที่มอี อกซิเจนล้อมรอบ 3 อะตอม หรือ [BO3] หรือไตรโกนอลโบรอนเป็ นโบรอนที่มอี อกซิเจน
ล้อมรอบ 4 อะตอม หรือ [BO4]– หรือเตตระฮีดรัลโบรอน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 133


รูป 9.2 ความหนาแน่ น () และปริมาตรต่อโมล () ของแก้วระบบทาลเลียมบอเรต (Tl2OB2O3) ทีป่ ริมาณ
(ความเข้มข้น) ของทาลเลียมออกไซด์ (Tl2O) ต่างกัน [ทีม่ า N. Laorodphan (2012)]

จะเห็นได้ว่าสมการ 9.4 จะต้องหามวลโมเลกุลของแก้วก่อน โดยทัวไปแล้ ่ วมวลโมเลกุลของแก้วนัน้


จะอ้างอิงตามองค์ประกอบทางเคมีของออกไซด์ทเ่ี ป็ นองค์ประกอบ เช่น แก้วทีห่ ลอมมาจากวัตถุดบิ 2 ชนิด
คือทราย (SiO2) และโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) ในการคานวณมวลโมเลกุลจะต้องอาศัยองค์ประกอบโดย
โมลของสารประกอบออกไซด์ทงั ้ สองได้แก่ ซิลกิ อนไดออกไซด์ (SiO2) และโซเดียมออกไซด์ (Na2O) ทีม่ อี ยู่
ในแก้ว ซึ่งคานวณจากสัดส่ ว นของวัต ถุดิบตัง้ ต้นที่ใ ช้ หรือคานวณจากสูต รโมเลกุล ของแก้ว ที่รายงานไว้
อย่างไรก็ตามแก้วซึ่งมีโครงสร้างไม่แน่ นอนนัน้ จะไม่สามารถหาปริมาตรต่อโมลได้ด้วยวิธกี ารคานวณหา
ปริมาตรจากข้อมูลโครงสร้างผลึก ซึง่ วิธกี ารคานวณแสดงดังตัวอย่างด้านล่าง

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 134


ตัวอย่าง 9.2 จากงานวิจยั หนึ่งได้ศกึ ษาแก้วทีม่ อี งค์ประกอบทางเคมีคอื 35K2O65B2O3 ซึง่ มีความหนาแน่น
เท่ากับ 2.32 g/cm3 จงคานวณหาปริมาตรต่อโมล (Molar Volume) ของแก้วชนิดนี้

วิ ธีทา ข้อมูลมวลโมเลกุลขององค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ K2O และ B2O3 เท่ากับ 94.195 กรัมต่อโมล (g/mol)
และ 69.671 กรัมต่อโมล (g/mol) ตามลาดับ

จากสูตรโมเลกุลของแก้ว 35K2O65B2O3 จะหมายถึงในแก้วมีส่วนผสมของ K2O 35 % โดยโมล และ


B2O3 อยู่ 65 % โดยโมล หากเทียบกับ 1 โมลของแก้วจะได้ว่ามี K2O 0.35 โมล และ B2O3 0.65 โมล

ขัน้ ที่ 1 หามวลโมเลกุลของแก้ว

มวลโมเลกุลของแก้ว = (จานวนโมล x มวลโมเลกุลองค์ประกอบ)

=(จานวนโมล𝐾2𝑂 × 𝑀𝑊𝐾2𝑂 ) + (จานวนโมล𝐵2𝑂3 × 𝑀𝑊𝐵2𝑂3 )

= (0.35 x 94.195) + (0.65 x 69.671)

= 78.254 กรัมต่อโมล (g/mol)

ขัน้ ที่ 2 หาปริมาตรต่อโมล


𝑀𝑊𝑡
จากสมการที่ 9.2 𝑉𝑚 =
𝜌

78.254 𝑔.𝑚𝑜𝑙 −1
จะได้ปริมาตรต่อโมลของแก้ว (Vm) = = 33.73 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อโมล (cm3mol-1)
2.32 𝑔.𝑐𝑚−3

ดังนัน้ ปริมาตรต่อโมลของแก้ว 35K2O65B2O3 เท่ากับ 33.73 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อโมล

9.3 สมบัติทางความร้อน (Thermal properties)

พฤติก รรมทางความร้อ นของแก้ว จะบ่ งบอกถึง การเปลี่ยนแปลงหรือ ความทนทานของแก้ว เมื่อ


อุณหภูมสิ ูงขึน้ ซึ่งมีอยู่หลายชนิดขึน้ อยู่กบั สมบัตขิ องแก้วที่ต้องการวิเคราะห์ เช่น ความจุความร้อน (Heat
Capacity) การขยายตัวเพราะความร้อน (Thermal Expansion) การนาความร้อน (Thermal Conductivity)
และความเครียดเพราะความร้อน (Thermal Stress) เป็ นต้น เนื่องจากแก้วเกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว
เพื่อหลีกเลีย่ งการเกิดผลึกขึน้ ในแก้ว การให้ความร้อนกับแก้วอาจทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลงต่าง ๆ กับแก้ว
เช่น ทาให้แก้วเกิดผลึก หรือทาให้แก้วอ่อนตัว เป็ นต้น ดังนัน้ จึงเป็ นสิง่ จาเป็ น ทีจ่ ะศึกษาพฤติกรรมทางความ
ร้อน (Thermal behaviour) ของแก้วว่าเกิดการเปลีย่ นแปลงอย่างไรเมือ่ อุณหภูมเิ พิม่ ขึน้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 135


9.3.1 การขยายตัวเพราะความร้อน (Thermal expansion)

แก้วจะขยายตัวเมื่ออยู่ในสภาวะทีอ่ ุณหภูมสิ ูงและจะหดตัวเมื่ออุณหภูมลิ ดลง ซึง่ พฤติกรรมของการ


ขยายตัวหรือหดตัวเพราะความร้อนของแก้วจะพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนของ
แก้ว (Thermal Expansion Coefficient, COE หรือ CTE) โดยค านวณจากอัต ราการเปลี่ยนแปลงปริมาตร
เมื่อ อุ ณ หภู ม ิเ ปลี่ย นไป ค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ นแบ่ ง ออกเป็ น 2 ประเภท คือ ค่ า
สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนจริง (True หรือ Instantaneous Thermal Expansion Coefficient)
คือค่าสัมประสิทธิ ์ทีห่ าจากความชันของกราฟระหว่างปริมาตรกับอุณหภูม ิ ทีค่ วามดันคงที่ (โดยส่วนมากจะวัด
ทีค่ วามดัน 1 atm) โดยจะคานวณจากสมการ 9.5

1 𝜕𝑉
𝛼𝑉 = [ ] สมการ 9.5
𝑉 𝜕𝑇 𝑃

เมือ่ 𝛼𝑉 คือ ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนจริง

𝑉 คือ ปริมาตรของชิน้ งาน


𝜕𝑉
[ ] คือ ความชันของกราฟระหว่างปริมาตรกับอุณหภูมทิ ค่ี วามดันคงที่
𝜕𝑇 𝑃

และอีกชนิดคือค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนเฉลีย่ (Average หรือ Mean Thermal Expansion


Coefficient, 𝛼 𝑉 โดยนิยมรายงานทัวไปในเอกสารวิ
̅̅̅̅) ่ ชาการต่าง ๆ ซึง่ คานวณจากการเปลี่ยนแปลงปริมาตร
(∆𝑉) ในช่วงอุณหภูมทิ ส่ี นใจใด ๆ (∆𝑇) ดังสมการ 9.6

1 Δ𝑉
𝛼
̅̅̅̅
𝑉 = [ ] สมการ 9.6
𝑉 Δ𝑇

จากสมการ 9.5 และ 9.6 จะอธิบายการขยายตัวเพราะความร้อนของแก้วโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของ


ปริมาตรแก้ว อย่างไรก็ตามการติดตามการเปลีย่ นแปลงปริมาตรแก้วทีอ่ ุณหภูมใิ ด ๆ ทาได้ยาก ดังนัน้ ในทาง
ปฏิบตั จิ งึ นิยมวัดการขยายตัวของแก้วในมิตเิ ดียว (One Dimension) ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความ
ร้อ นที่ไ ด้จ ะเรีย กว่ า ค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ นเชิง เส้ น (Linear Thermal Expansion
Coefficient, 𝛼𝐿 ) ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนแท้หรือเฉลี่ยเชิงเส้นสามารถหาได้ในทานอง
เดียวกันกับสมการ 9.5 และ 9.6

แก้วเป็ นวัสดุสมลักษณ์หรือวัสดุท่มี สี มบัตเิ ท่ากันทุกทิศทาง (Isotropic Material) และมีการขยายตัว


เพราะความร้อนค่อนข้างต่ า ดังนัน้ ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อน (α𝑉 ) อาจะประมาณได้จากค่า

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 136


สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนเชิงเส้น (α𝐿 ) จาก 𝛼𝑉 = 3𝛼𝐿 โดยทัวไปแล้ ่ วช่วงอุณหภูมทิ น่ี ิยม
ใช้ ห าค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ นของแก้ ว คือ ที่อุ ณ หภู ม ิ 0 – 300 เซลเซีย ส หรือ ที่
อุณหภูมหิ อ้ งถึง 300 เซลเซียส แต่ในบางกรณีอาจหาทีช่ ่วงอุณหภูมอิ ่นื ๆ ทีต่ ้องการใช้งาน เช่น ในแก้วทีใ่ ช้
สาหรับเซลล์เชือ้ เพลิงของแข็งออกไซด์แบบแผ่นจะหาในช่วงประมาณ 275 – 550 เซลเซียส [N.Laorodphan
และคณะ (2009)] เนื่องจากแก้วถูกใช้งานทีอ่ ุณหภูมสิ งู กว่าอุณหภูมหิ อ้ งทัวไป
่ ดังนัน้ หากต้องการเปรียบเทียบ
ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนของแก้วจะต้องคานึงถึงช่วงอุณหภูมทิ ่รี ายงาน และ ชนิดของ
สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนว่าเป็ น 𝛼𝑉 หรือ 𝛼𝐿 เนื่องจากช่วงอุณหภูมจิ ะส่งผลอย่างมากต่อ
ค่าสัมประสิทธ์การขยายตัวเพราะความร้อนของแก้ว

โดยทัว่ ไปแล้ ว ค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ นของวัส ดุ จ ะอยู่ ใ นช่ ว ง 1 x 10-6 ถึง
50 x 10-6 ต่ อ เคลวิน (K-1) ในบางครัง้ ค่ าสัม ประสิทธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ นอาจรายงานในหน่ ว ย
ppm K-1 อย่างไรก็ตามในการรายงานค่าของแก้วนิยมรายงานในรูป 10-7 ต่อเคลวิน (K-1) หน่ วยของอุณหภูม ิ
ที่ใช้อาจะทาให้ค่าตัวเลขเปลีย่ นไปได้ ดังนัน้ ต้องพึงระวังการเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะ
ความร้อนทีม่ หี น่วยต่าง ๆ

การหาค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนนัน้ นิยมใช้เทคนิคไดลาโตมิเตอร์ (Dilatometer)


ซึง่ จะประกอบไปด้วยแท่งกดทรงกระบอก (Push-rod) ทีท่ ราบค่าการขยายตัวเพราะความร้อนแน่ นอน โดย
แท่งกดจะมีปลายด้านหนึ่งติดกับหัวตรวจวัด (Displacement sensor) ซึ่งจะวัดการความยาวที่เปลี่ยนแปลง
เมือ่ วัสดุได้รบั ความร้อน ส่วนปลายอีกด้านของ Push-rod จะอยูใ่ นบริเวณทีส่ ามารถให้ความร้อนได้และติดกับ
วัสดุทต่ี ้องการหาค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อน ดังรูป 9.3 ซึง่ ค่าทีไ่ ด้จากเครื่องไดลาโตมิเตอร์
จะเป็ นการเปลี่ยนแปลงความยาวที่อุณ หภูมติ ่าง ๆ โดยจะต้องนามาใช้ในการคานวณหาค่าสัมประสิทธิ ์การ
ขยายตัว เพราะความร้อ นในช่ ว งอุ ณ หภู ม ิท่ีส นใจ โดยสัม ประสิท ธิท์ ่ีไ ด้จ ะเป็ น สัม ประสิท ธิเ์ ชิง เส้น (L)
เนื่องจากพิจารณาจากการขยายตัวเชิงเส้นของวัสดุ วัสดุท่ใี ช้ทาแทงกดหรือ Push-rod ได้แก่แท่งอะลูมนิ า
(Al2O3) ซึ่ง สามารถใช้ง านที่อุ ณ หภู ม ิสูง และแท่ ง แก้ว ซิล ิก า (Silica glass, SiO2) ที่ม ีค่ า สัม ประสิท ธิก์ าร
ขยายตัวเพราะความร้อนอยูท่ ป่ี ระมาณ 0.55 ppmK-1

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 137


รูป 9.3 เครือ่ งไดลาโตมิเตอร์ (Dilatometer) เพื่อใช้วดั ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนของวัสดุ
[ดัดแปลงจาก http://www.directindustry.com/prod/netzsch-geratebau-gmbh/dilatometer-push-knob-
horizontal-39926-416653.html]

นอกเหนือจากไดลาโตมิเตอร์ชนิด Push-rod แล้ว เพื่อการหาค่าได้แม่นยามากขึ้นสามารถหาค่ า


สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนได้โดยใช้ Push-rod 2 ตัว โดยตัวหนึ่งใช้สาหรับวัดตัวอย่างมาตรฐาน
(Standard) และอีกตัวสาหรับวัดชิน้ งานตัวอย่าง (Sample) ซึง่ มีความแม่นยามากขึน้ ไดลาโตมิเตอร์ชนิดนี้ยงั
ถูกออกแบบมาเพื่อความเหมาะสมในการวิเคราะห์งานเชื่อมประสาน เนื่องจากในงานเชื่อมประสานนัน้ วัสดุ
สองชนิ ด ที่ต่ อ เข้า ด้ ว ยกัน จะต้ อ งมีค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ นที่ใ กล้ เ คีย งกัน มาก ซึ่ง
ไดลาโตมิเตอร์ประเภทนี้สามารถหาค่าความแตกต่างของการขยายตัวของวัสดุสองชนิดทีแ่ ตกต่างกันได้ และ
เทคนิ ค ที่ ส ามารถวัด ค่ า สัม ประสิ ท ธิ ก์ ารขยายตั ว เพราะความร้ อ นได้ ค วามแม่ น ย าสู ง สุ ด คือ การใช้
อินเตอร์เฟอร์โรมิเตอร์ (Interferometer) ซึง่ เป็ นเทคนิคทีใ่ ช้แสงหรือเลเซอร์ตวั วัดการเปลีย่ นแปลงขนาดของ
วัส ดุเ มื่อ ได้รบั ความร้อ นซึ่งแตกต่ างจากกรณีหวั ตรวจวัดของไดลาโตมิเ ตอร์ ทาให้ส ามารถตรวจวัดการ
เปลีย่ นแปลงความยาวได้ถงึ ระดับ 20 นาโนเมตร (กรณีใช้ Visible light เป็ นตัวตรวจวัด)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 138


นอกเหนือจากการขยายตัวเพราะความร้อนของแก้วแล้วในแก้วบางประเภทอาจต้องศึกษาหรือวัดค่า
สมบัติอ่นื ๆ เพิม่ เติม เช่น ค่าการนาความร้อ น (Thermal conductivity) และ ความร้อนจาเพาะ (Specific
heat) เป็ นต้น แต่ในที่น้ีไม่ได้กล่าวถึงหลักการหรือวิธกี ารวัดสมบัตดิ งั กล่าว อย่างไรก็ตามได้รวมรวมสมบัติ
เหล่านี้ไว้ในตาราง 9.1 เพื่อเป็ นตัวอย่าง

ตาราง 9.1 สมบัตทิ างความร้อนของแก้วประเภทต่าง ๆ [ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

ชนิดของแก้ว สัมประสิทธิการขยายตั
์ วเพราะ การนาความร้อน ความร้อนจาเพาะ
ความร้อนของแก้ว ที่ 20 – 300 C
(ต่อเคลวิน; K-1) (Wcm-1K-1) (Jg-1K-1)
Sodium-potassion crystal glass 90 – 96 x 10-7

Lead glass (50wt% PbO) 0.0071

Sheet and container glass 80 – 90 x 10-7 0.0096 0.977

Soft instrument glass 98 x 10-7

Thermometer glass 82 x 10-7

Simax (Pyrex type) 33 x 10-7 0.0105

Low alkali fibre glass 52 x 10-7

Quartz glass 6.7 x 10-7 0.0138 0.887

9.3.2 พฤติ กรรมทางความร้อนของแก้ว (Thermal behaviour of glass)

พฤติก รรมทางความร้อ นหรือ การเปลี่ย นแปลงทางความร้อ นของแก้ ว นั ้น คือ การติด ตามการ


เปลี่ยนแปลงสมบัตหิ รือลักษณะเฉพาะของแก้วเมื่อได้รบั ความร้อนที่อุณหภูมติ ่าง ๆ ซึ่งโดยทัวไปนั ่ น้ จะใช้
เครือ่ งมือการวิเคราะห์ทางความร้อนหรือทีเ่ รียกว่า Thermal analysis เช่น เทคนิคการวิเคราะห์ความร้อนเชิง
อนุพนั ธ์ (Differential thermal analysis; DTA) เทคนิค Differential scanning calorimetry (DSC) และ เทคนิค
Thermogravimetry (TGA) หรือการวิเคราะห์เชิงน้ าหนัก เป็ นต้น โดยสองเทคนิคแรกจะวิเคราะห์เชิงความ
ร้อนของปฏิกริ ยิ าที่เกิดขึน้ ในเมื่ออุณหภูมขิ องวัสดุเพิม่ ขึน้ หรือลดลง ว่าเป็ นปฏิกริ ยิ าดูดความร้อนหรือคาย
ความร้อน ส่วนเทคนิคสุดท้ายจะติดตามการเปลีย่ นแปลงน้าหนักของวัสดุเมือ่ อุณหภูมสิ งู ขึน้ ซึง่ เทคนิคต่าง ๆ
ดังกล่าวเป็ นทีน่ ิยมใช้ในการติดตามการเปลีย่ นแปลงแก้วทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ อาทิเช่น ช่วงการเปลีย่ นเป็ นแก้ว
(Glass transformation) อุณหภูม ิ Fictive อุณหภูมกิ ารเกิดผลึก (Crystallisation temperature) และจุดอ่อน
ตัว (Softening point) เป็ นต้น ในทีน่ ้จี ะกล่าวถึงเทคนิค DSC ทีใ่ ช้ตดิ ตามพฤติกรรมทางความร้อนของแก้ว

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 139


Differential Scanning Calorimetry เป็ นเทคนิคที่พฒ ั นามาจากเทคนิคการวิเคราะห์ความร้อ นเชิง
อนุ พ ัน ธ์ (Differential thermal analysis; DTA) ซึ่ง เป็ นเทคนิ ค ที่เ ปรีย บเทีย บอุ ณ หภู ม ิข องวัส ดุ ท่ีส นใจ
(Sample) กับสารมาตรฐาน (Standard) หากไม่เกิดการเปลีย่ นแปลงใด ๆ (ไม่ดูดความร้อนหรือไม่คายความ
ร้อน) อุณหภูมขิ องระบบทัง้ สองควรจะไม่แตกต่างกัน ค่าทีไ่ ด้จากเครือ่ งวิเคราะห์จะมีค่าเท่ากับ 0 หากเกิดการ
เปลีย่ นแปลงขึน้ ในวัสดุทส่ี นใจเช่นการคายความร้อนของวัสดุเพื่อสร้างผลึกใหม่จะทาให้ความร้อนของวัสดุท่ี
สนใจสูงกว่าสารมาตรฐาน ทาให้สามารถติดตามปฏิกริ ยิ าต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม
DTA ไม่ทาให้ทราบค่ าที่แ ท้จริงของการเปลี่ยนแปลงพลังงานหรือ เอนทาลปี (H) หรือ ความร้อ นจาเพาะ
(Specific heat) ของปฏิกริ ยิ าต่าง ๆ ที่เกิดขึน้ ในวัสดุ DSC จึงได้พฒ ั นาข้อด้อยของ DTA ดังกล่าว สาหรับ
วัสดุแก้วกราฟที่ได้จากเทคนิค DSC จะมีลกั ษณะดังรูป 9.4 ซึ่งติดตามพฤติกรรมทางความร้อนของแก้ว ใน
ระหว่างเพิม่ อุณหภูม ิ ซึง่ จะเกิดการเปลีย่ นแปลงดังนี้

- การเปลีย่ นเป็ นแก้ว (Glass transformation; Tg) ในระหว่างทีอ่ ุณหภูมสิ งู ขึน้ แก้วซึง่ อยูใ่ นสถานะ
ของแข็ง (Solid) จะเปลี่ยนสถานะเป็ นของเหลว (Liquid) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ทาให้เกิด การ
เปลี่ยนแปลงความร้อ นจาเพาะ (Specific heat) ของแก้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของความร้อ น
จาเพาะดังกล่าวจะเกิดการหน่วงทางความร้อนเมือ่ เทียบกับสารอ้างอิง ทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลง
เส้นฐาน (Baseline) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเส้นฐานจะใช้ หาอุณหภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ นแก้ว Tg ด้วย
การลากเส้นสัมผัสสองเส้นดังแสดงอยูต่ รงมุมซ้ายล่างของรูป 9.4
- เมื่ออุณหภูมสิ ูงขึน้ จะเกิดการคายพลังงาน (Exothermic) เนื่องจากการตกผลึก (Crystallisation)
ขึน้ ในแก้ว ซึ่งจะมีลกั ษณะเป็ นพีค (Peak) เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงเอนทาลปี (H) ของ
ระบบ ดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วว่าการเกิดผลึกของแก้วอาจเกิดได้หลายชนิดทาให้พคี ทีเ่ กิดขึน้ เกิดได้
หลายอุณหภูม ิ ขึน้ อยูก่ บั ชนิดและปริมาณของผลึกทีเ่ กิดในแก้ว
- จากนัน้ จะเกิด พีค ที่แ สดงถึง การดู ด พลัง งาน (Endothermic) ที่อุ ณ หภูม ิสูง สุ ด เนื่ อ งจากเป็ น
อุ ณ หภูมทิ ่ผี ลึก ที่เ กิดขึ้นเกิด การหลอม นัน่ คือ เป็ นจุดหลอมเหลว (Melting point) ของผลึกที่
เกิดขึน้ ก่อนหน้านี้นัน่ เอง อย่างไรก็ตามพีคที่แสดงการดูดพลังงานนัน้ อาจเกิดจากการปฏิกริ ยิ า
การเปลี่ยนแปลงจากของแข็งชนิดหนึ่งเป็ นของแข็งอีกชนิด หนึ่ง (Solid-solid transformation)
เช่นการเปลีย่ นวัฏภาคจาก -ควอท์ซ (-Quartz) เป็ น -ควอท์ซ (-Quartz) เป็ นต้น
-

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 140


รูป 9.4 กราฟ DSC ของแก้วโดยทัวไป
่ ซึง่ จะประกอบด้วยปฏิกริ ยิ าต่าง ๆ หรือการเปลีย่ นแปลงต่าง ๆ เมือ่
ได้รบั ความร้อน [ทีม่ า J.E. Shelby (2005)]

9.4 สมบัติทางเคมี (Chemical properties)

สมบัตทิ างเคมีของแก้วยกตัวอย่างเช่นความทนทานต่อสารเคมี และ การแลกเปลีย่ นไอออน เป็ นต้น


ในทีน่ ้ีจะกล่าวถึงความทนทานต่อสารเคมี (Chemical durability) แก้วซิลเิ กตจะเป็ นแก้วทีม่ คี วามทนทานต่ อ
การกัดกร่อ นได้ดีใ นบรรยากาศ น้ า สารละลายน้ า และสารละลายอื่น ๆ นอกจากนี้ยงั พบว่าแก้ว ซิล ิเกต
สามารถทนต่ อ สารละลายกรดได้ดีก ว่ า สารละลายด่ า ง โดยความทนทานต่ อ สารเคมีนั ้น จะขึ้น อยู่ กับ
องค์ประกอบทางเคมีของแก้ว หากแก้วเกิดการกัดกร่อนจะเกิดเป็ นฝ้ าสีขาวขุ่นปกคลุมทีผ่ วิ แก้ว เช่นกรณีของ
การเกิดปฏิกริ ยิ ากับความชืน้ ในอากาศของแก้วบอเรตบางองค์ประกอบ เป็ นต้น

การกัดกร่อ นของแก้ว ที่ส าคัญ ในเชิงอุ ต สาหกรรมจะพิจ ารณาการเกิดปฏิกิร ิยาในสารละลายน้ า


(Aqueous solution) และน้ า ซึง่ สารทีล่ ะลายออกมาจากแก้วอาจส่งผลอย่างร้ายแรงต่อการใช้งาน เช่นหากมี
การละลายออกมาปนกับอาหารที่บรรจุอยู่ก็จะทาให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เป็ นต้น ในแก้วซิลเิ กตที่ม ี

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 141


อัลคาไลน์ออกไซด์เป็ นส่วนประกอบ พบว่าแก้วจะทาปฏิกริ ยิ ากับสารละลายน้ าทาให้ไอออนของอัลคาไลน์
ละลายออกมาจากแก้ว ซึ่งปริมาณที่ละลายออกมาขึ้นอยู่กบั ค่าความเป็ น กรดด่าง (pH) ของสารละลาย ดัง
แสดงในรูป 9.5 ซึง่ แสดงปริมาณโซเดียมไอออนทีล่ ะลายออกมาทีเ่ วลาและค่าความเป็ นกรดด่างต่าง ๆ และ
ยังพบว่าไอออนของอัลคาไลน์ทผ่ี วิ แก้วจะละลายออกมาก่อน จากนัน้ เมือ่ ปริมาณอัลคาไลน์ลดลงจะทาให้แก้ว
บริเวณผิวมีซลิ กิ า (SiO2) สูงเสมือนเป็ นชัน้ ป้ องกันปกคลุมแก้ว ทาให้เกิดปฏิกิรยิ าช้าลง ซึ่งจะเห็นได้ จาก
รูป 9.5 ว่าในสารละลายกรด (pH = 3.1) ปริมาณอัลคาไลน์ทล่ี ะลายออกมานัน้ จะเริม่ คงทีเ่ มื่อเวลาผ่านไป ใน
ส่วนของสารละลายด่าง (pH = 10.6 11.4 และ 12.5) พบว่าปริมาณอัลคาไลน์ทล่ี ะลายออกมาสู งกว่าและเกิด
ในอัตราเร็ยวสูงกว่า โดยการทดลองทาในสารละลายไฮโดรคลอริก (HCl) และ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
(KOH) ที่ pH ต่าง ๆ

รูป 9.5 การละลายของไอออนของโซเดียมจากแก้วทีม่ อี งค์ประกอบทางเคมีคอื


15%wtNa2O12%wtCaO75%wtSiO2 ในสารละลายไฮโดรคลอริกและโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ท่ี pH ต่าง
ๆ ทีอ่ ุณหภูม ิ 100 เซลเซียส [ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 142


โดยกลไกการเกิดปฏิกริ ยิ าการกัดกร่อนของแก้วซิลเิ กตนัน้ มีดงั นี้

ขัน้ ที่ 1 การแลกเปลี่ยนไอออนระหว่างอัลคาไลน์ ไอออนกับไฮโดรเจนไอออน (H+) หรืออัลคาไลน์


ไอออนในแก้วกับไฮดรอกซิลไอออน (OH–) ซึง่ อาศัยกระบวนการแพร่ (Diffusion) ของไอออนต่าง ๆ ในแก้ว
โดยจะเป็ นกระบวนการที่ข้นึ อยู่ก ับเวลาที่ทาปฏิกิรยิ า โดยเมื่อเวลาเปลี่ยนไปอัต ราการเกิดปฏิกิรยิ าการ
แลกเปลีย่ นไอออนและการแพร่จะช้าลง เมื่อเกิดการแลกเปลีย่ นไอออน จะเกิดชัน้ ป้ องกัน (Protective layer)
ซึ่งคือชัน้ ที่ถูกกัดกร่อนไปแล้ว (Corroded layer) นัน่ เอง สาหรับแก้วซิลเิ กตก็คอื ชัน้ ที่มซี ลิ กิ าสูงดังที่กล่าว
มาแล้วข้างต้น ซึง่ ชัน้ ป้ องกันนี้เป็ นสิง่ ทีท่ าให้อตั ราการเกิดการแลกเปลีย่ นไอออนช้าลง โดยความหนาของชัน้
ป้ องกัน (x) จะมากขึน้ เมื่อเวลาเพิม่ ขึน้ และความหนานี้เองส่งผลต่อ อัตราการแพร่ของไอออนทีถ่ ูกแลกเปลีย่ น
(อัลคาไลน์ไอออน) ผ่านชัน้ ป้ องกันจากด้านในเนื้อแก้วออกมาสู่สารละลาย โดยอัตราการแพร่จะแสดงในรูป
ของสัมประสิทธิ ์การแพร่ (Diffusion coefficient; D)

ขัน้ ที่ 2 เกิดการกัดกร่อนชัน้ ป้ องกันที่เกิดขึน้ โดยอัตราการกัดกร่อนชัน้ นี้จะมีอตั ราการกัดกร่อนผิว


คงทีเ่ ท่ากับ B (cms-1)

จากขัน้ ตอนทัง้ สองดังกล่าวทาให้สามารถอธิบายอัตราการเปลีย่ นแปลงหรือการกัดกร่อนในรูปของสมการทาง


คณิตศาสตร์ได้ (สมการ 9.7) ในกรณีของแก้วซิลเิ กตที่อยู่ในสารละลายกรดขัน้ ตอนการกัดกร่อนชัน้ ป้ องกัน
(ขัน้ ที่ 2) จะช้ามาก แต่หากอยูใ่ นสารละลายด่างจะเกิดขึน้ เร็วมาก เมือ่ ระยะเวลาผ่านไปอัตราการเกิดปฏิกริ ยิ า
ของทัง้ สองขัน้ จะเท่ากัน ซึง่ ส่งผลให้อตั ราการเปลีย่ นแปลงของแก้วในสารละลายกรดและด่างมีค่าคงที่ (จาก
รูป 9.5 จะเห็นการเปลีย่ นแปลงเมือ่ เวลาเปลีย่ นไปเส้นกราฟจะมีความชันคงที)่ ซึง่ ความหนาของชัน้ ป้ องกันที่
เวลาใด ๆ จะสัมพันธ์กบั สัมประสิทธิ ์ของการแพร่ (D) และอัตราการกัดกร่อนผิว (B) ดังสมการ 9.7

dx D 
 2  B  สมการ 9.7
dt x 

โดยความหนาสุดท้ายของชัน้ ป้ องกันคือความหนาทีไ่ ม่มกี ารเปลีย่ นแปลงเมือ่ เวลาเพิม่ ขึน้ (dx/dt = 0) ซึง่ เกิด
ในกรณีทข่ี นั ้ ตอนทัง้ สองมีอตั ราการเกิดปฏิกริ ยิ าเท่ากัน ส่งผลให้สามารถคานวณหาค่า x ได้เท่ากับ D/B และ
หากอัต ราการกัด กร่ อ นผิว (B) มีค่ า มากกว่ า อัต ราการแพร่ ม าก ท าให้ช ัน้ ป้ อ งกัน จะมีค วามหนาน้ อ ย
กระบวนการแพร่จงึ ไม่ส่งผลต่อปฏิกริ ยิ าระหว่างแก้วกับสารละลายมากนัก ทาให้เกิดการกัดกร่อนได้เร็ว (พบ
ในกรณีสารละลายด่างทีม่ ี pH สูง)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 143


9.5 สมบัติทางกล (Mechanical properties)

แก้วถือเป็ นวัสดุเปราะ (Brittle materials) เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุกลุ่มเดียวกัน (วัสดุอนินทรีย)์ เช่น


เซรามิก และ โลหะ เป็ นต้น พบว่า แก้ว จะมีค วามแข็งแรงต่ าสุ ด นอกจากนัน้ แก้ว ยังสามารถทนต่ อ การ
เปลี่ยนแปลงของอุณหภูมอิ ย่างฉับพลัน (Thermal shock resistance) ได้ต่ าสุดอีกด้วย การพิจารณาความ
แข็งแรงของแก้ว อาจพิจารณาความทนทานต่ อ แรงเชิงกลที่กระทากับ แก้ว จนแก้ว เกิดความเสียหาย ซึ่ง
เรียกว่า Fracture strength หรืออาจพิจารณาจากมอดูลสั ความยืดหยุ่น (Elastic modulus; E) หรือ ความแข็ง
(Hardness) ซึ่งจะอธิบายเกี่ยวกับความแข็งแรงของโครงสร้างแก้ว ความหนาแน่ น ในการจัดเรียงตัว ของ
อะตอมของแก้วและความแข็งแรงพันธะต่าง ๆ ในแก้ว ซึง่ ถือเป็ นปั จจัยภายใน (Inherent factors)

9.5.1 มอดูลสั ความยืดหยุ่น (Elastic modulus)

มอดูลสั ความยืดหยุ่น (Elastic modulus; E) หรือ มอดูลสั ของยัง (Young’s modulus) คืออัตราส่วน
ระหว่างความเครียด (Strain; ) ซึง่ เป็ นผลมาจากการให้ความเค้นแก่วสั ดุ (Stress; ) ซึง่ สามารถแสดงดัง
สมการ 9.8

  E สมการ 9.8

หากให้ความเค้นจากแรงดึง (Tensile stress) กับชิน้ งานในแนวแกน x ชิน้ งานจะขยายตัวในแนวแกน x และ


ทาให้เกิดการหดตัวของวัสดุในแนวแกน y และ z ส่งผลต่ออัตราส่วนของความเครียดในแนวแกน y และ z
หรือ transverse strain และ ความเครียดในแนวแกน x หรือ Axial strain ซึ่งอัตราส่วนนี้เรียกว่าอัตราส่ว น
ปั วซอง (Poisson’s ratio; ) ค่าอัตราส่วนปั วซองของแก้วจะมีค่ าประมาณ 0.2 – 0.3 ยกเว้นของแก้วซิลเิ กต
ทีอ่ ตั ราส่วนปั วซองต่ากว่าทีป่ ระมาณ 0.17

ความแข็งแรงของวัสดุยงั สามารถพิจารณาได้จากแรงกระทาที่ให้กบั วัสดุ (F) ซึ่งส่งผลให้ระยะห่าง


ระหว่างอะตอม (r) เปลีย่ นไปดังแสดงในรูป 9.6 (กราฟของ Condon-Morse) และแสดงดังสมการ 9.9

a b
F n
 m สมการ 9.9
r r

เมือ่ a b n และ m เป็ นค่าคงที่

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 144


จากรูป 9.6 แสดงให้เห็นจุดตัดแกน x คือความยาวเฉลี่ยของพันธะต่าง ๆ หรือระยะห่างระหว่างอะตอมใน
วัสดุ (r0) และแรงกระทาภายนอกจะทาให้ระยะห่างระหว่างอะตอมเปลีย่ นไปตามสมการ 9.10


r  r0  สมการ 9.10
r0

เมือ่ r คือ ระยะระหว่างอะตอมหลังได้รบั แรงกระทา (Strained interatomic distance)

โดยความชันของกราฟระหว่างแรง (F) และระยะห่างระหว่างอะตอม (r) ทีร่ ะยะห่างระหว่างอะตอมเท่ากับ r0


จะเป็ นค่ามอดูลสั แรงเฉือน (Shear modulus; G) ซึ่งมีความสัมพันธ์กบั ความเครียดจากแรงเฉือน (Shear
strain; ) และความเค้นจากแรงเฉือน (Shear stress; ) ดังสมการ 9.11 และยังมีความสัมพันธ์กบั มอดูลสั
ความยืดหยุน่ กับอัตราส่วนปั วซองดังสมการ 9.12

  G สมการ 9.11

E
G สมการ 9.12
2(1   )

รูป 9.6 กราฟของ Condon-Morse ระหว่างแรง (F) และ ระยะระหว่างอะตอม (r) [ทีม่ า J.E. Shelby (2005)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 145


9.5.2 ความแข็ง (Hardness)

ความแข็งของวัสดุสามารถหาได้จาก 2 วิธคี อื การพิจารณาจากการขูดขีด หรือที่เรียกว่า Scratch


hardness ซึง่ จะเปรียบเทียบความแข็งได้ 10 ระดับ ตามระดับความแข็งของโมหส์ (Mohs scale) ทีส่ รุปไว้ใน
ตาราง 9.2 ซึ่งได้จากการขูดขีดของแร่ท่พี บตามธรรมชาติ โดยแร่ท่แี ข็งกว่าก็จะทาให้เกิดรอยขูดบนแร่ท่มี ี
ความแข็งน้อยกว่า เช่น เพชร (ความแข็งระดับ 10) จะสร้างรอยขูดขีดบนแร่คอรันดัม (ความแข็งระดับ 9) ได้
และการพิจารณาจากรอยกด (Indentation hardness) เช่นการหาความแข็งโดยใช้หวั กดทรงกลม หรือ ที่
เรียกว่า Brinell indentation hardness และการหาความแข็งโดยใช้หวั กดพีรามิด หรือ Vickers indentation
hardness ดังแสดงในรูป 9.7 โดยการพิจารณาความแข็งของวัสดุจะดูจากรอยกดทีเ่ กิดขึน้ ในเนื้อวัสดุ

ตาราง 9.2 ความแข็งตามระดับของโมหส์ (Mohs scale hardness)

ค่าความแข็ง แร่เปรียบเทียบ ค่าความแข็ง แร่เปรียบเทียบ


1 ทัลค์ (Talc) 6 ออร์โทเคลส (Orthoclase)
2 ยิปซัม (Gypsum) 7 ควอตซ์ (Quartz)
3 แคลไซต์ (Calcite) 8 โทปาส (Topas)
4 ฟลูออไรท์ (Fluorite) 9 คอรันดัม (Corundum)
5 อะพาไทต์ (Apatite) 10 เพชร (Diamond)

แก้วออกไซด์ทวไปจะมี
ั่ ความแข็งตามระดับของโมหส์อยูใ่ นช่วง 5 – 7 และมีความแข็งทีห่ าจากหัวกด
แบบวิกเกอร์ (Vickers hardness) อยู่ในช่วง 2 – 8 GPa (ความแข็งของเพชรอยู่ท่ปี ระมาณ 100 GPa) โดย
แก้วซิลเิ กตเป็ นแก้วที่มคี วามแข็งสูง ส่วนแก้วบอเรต เจอร์มาเนต และฟอสเฟตเป็ นแก้วทีค่ วามแข็งต่ า และ
แก้วชอลโคจีไนด์จะมีความแข็งน้อยสุด (ความแข็งประมาณ 0.3 GPa สาหรับแก้วซีลเี นียม)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 146


รูป 9.7 ลักษณะหัวกดแบบต่าง ๆ ในการวัดความแข็งของวัสดุ
[ทีม่ า http://www.astm.org/SNEWS/MJ_2010/e0405_mj10.html
และ http://www.twi-global.com/technical-knowledge/job-knowledge/hardness-testing-part-1-074]

9.6 สมบัติทางแสง (Optical properties)

แก้วเป็ นวัสดุไม่ก่ปี ระเภทที่แสง Visible light ส่องผ่านได้ ทาให้แก้วมีการประยุกต์ใช้งานโดยอาศัย


ประโยชน์ของการส่องผ่านของแสงมากมาย เช่น ใช้ในอาคารบ้านเรือนเพื่อให้แสงแดดส่องผ่านเข้ามาในบ้าน
ได้ ใช้เป็ นกระจกหน้าต่าง ใช้ประดับตกแต่งเพื่อความสวยงาม และหลอดไฟ เป็ นต้น นอกจากนัน้ แก้วยัง ถูก
ปรับปรุงสมบัติเชิงแสงเพื่อ ให้สามารถใช้ในงานที่มคี วามทันสมัยมากขึ้น เช่นใช้ในอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิคส์
เครือ่ งมือวิเคราะห์ขนั ้ สูงต่าง ๆ หรือใช้นาสัญญาณเพื่อการติดต่อสื่อสาร (optical waveguide) เป็ นต้น

สมบัติทางแสงของแก้ว สามารถแบ่ งกลุ่ ม ย่อ ยได้ส ามกลุ่ มดัง นี้ (1) สมบัติเ ชิงแสงโดยรวม (Bulk
optical properties) เช่น ค่าดัชนีหกั เหแสง (Refractive index) และ การกระเจิงแสง (Dispersion) (2) สมบัติ
ที่ข้นึ กับ ความยาวคลื่น เช่ น การเกิด สีใ นแก้ว เป็ น ต้น และ (3) สมบัติอ่ืน ๆ ขัน้ สูง เช่ น ความไวแสง
(Photosensitivity) สมบัติ Photochromism และ การกระเจิงแสง เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 147


9.6.1 ค่าดัชนี หกั เหแสง (Refractive index)

ความสามารถในการหักเหแสงเชิงโมล (Molar refractivity; Rm) จะเป็ นสัดส่วนกับความสามารถใน


การเกิดขัว้ ของไอออนต่าง ๆ ที่เป็ นองค์ประกอบในแก้ว ซึ่งความสามารถในการหักเหแสงเชิงโมลสามารถ
อธิบายในรูปของสมการได้ดงั สมการ 9.13

 n2 1 
Rm  Vm  2 
 สมการ 9.13
n  2

เมือ่ Vm คือ ปริมาตรต่อโมลของแก้ว

n คือ ค่าดัชนีหกั เหแสงทีค่ วามยาวคลื่นทีส่ นใจ

ค่าความสามารถในการหักเหแสงเชิงโมลยังสามารถคานวณได้จากแต่ละไอออนทีเ่ ป็ นองค์ประกอบ เช่นการ


หาค่าความสามารถในการหักเหแสงเชิงโมลของสารประกอบ AxBy จะหาจากผลรวมของผลคูณระหว่างการ
หักเหแสงของไอออนทีเ่ ป็ นองค์ประกอบ (Rn) กับความเข้มข้นของแต่ละองค์ประกอบในแก้วดังสมการ 9.14

Rm  xRA  yRB สมการ 9.14

เนื่องจากการหักเหแสงของไอออนขึ้นอยู่กบั ความสามารถในการเกิดขัว้ ของไอออน ค่าการหักเหแสงของ


ไอออนจะสูง เมื่อ ไอออนมีข นาดใหญ่ แ ละมีค วามแรงของสนามต่ า (Low field strength) เช่ น ไอออนของ
ทาลเลียม (Tl+) และไอออนของตะกัว่ (Pb2+) สาหรับแก้วออกไซด์วธิ กี ารคานวณนี้จะให้ค่าที่มคี วามผิดพลาด
สูง เนื่องจากการหักเหแสงของออกซิเจนไอออนขึน้ อยู่กบั โครงสร้างแก้ว เช่น ออกซิเจนทีเ่ ชื่อมต่อระหว่างตัว
โครงสร้างแก้ว (Bridging oxygen) จะแตกต่างจากออกซิเจนที่ไม่เชื่อมต่อระหว่างตัวโครงสร้างแก้ว (Non-
bridging oxygen) และยัง ขึ้น อยู่ ก ับ ธรรมชาติข องไอออนที่ท าหน้ า ที่เ ป็ นตัว ปรับ สภาพแก้ ว ( Network
modifier) หรือ ไอออนบวกต่าง ๆ ที่เกิดพันธะไอออนิกกับออกซิเจน ดังนัน้ ในการคานวณจะใช้เป็ น เพียง
แนวทางเบือ้ งต้นในการหาค่าการหักเหแสงของแก้วเท่านัน้

จากสมการ 9.13 แสดงให้เห็นว่าค่าดัชนีหกั เหแสงของแก้วจะขึน้ อยูก่ บั สัดส่วนระหว่างการหักเหแสง


เชิงโมลกับปริมาตรต่อโมล ดังนัน้ ถ้าแก้วมีปริมาตรต่อโมลต่ าก็จะทาให้มคี ่าดัชนีหกั เหแสงสูงเมื่อพิจารณาใน
แก้วทีม่ ไี อออนทีม่ คี ่าความสามารถในการเกิดขัว้ (Polarisability) ใกล้เคียงกัน เช่นในกรณีแก้วเจอร์มาเนตที่ม ี
ชนิดและปริมาณอัลคาไลน์ออกไซด์ในปริมาณที่ต่างกัน จะทาให้ค่าดัชนีหกั เหแสงของแก้วต่างกันด้วย ดัง
แสดงในรูป 9.8 โดยพบว่าแก้วที่มลี ิเทียมออกไซด์เป็ นส่ว นประกอบจะทาให้โครงข่ายแก้ว ชิดกันมากขึ้น
ดังนัน้ หากเติมลิเทียมออกไซด์เพิม่ ขึน้ ปริมาตรต่อ โมล (Molar volume) ของแก้วจะลดลง ส่งผลต่อค่าค่าดัชนี

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 148


หักเหแสงทาให้มคี ่าสูงขึน้ โดยทัวไปในการรายงานสมบั
่ ตทิ างแสงของแก้วมักรายงานค่าความสามารถในการ
หักเหแสงจาเพาะ (Specific refractivity; Rs) แทนการใช้ค่าปริมาตรต่อโมลของแก้วดัง สมการ 9.15 ค่าการ
หักเหแสงจาเพาะจะมีความสัมพันธ์กบั ความหนาแน่นของแก้ว

1  n 2  1 
Rs  สมการ 9.15
  n 2  2 

รูป 9.8 ผลของชนิดของอัลคาไลน์ออกไซด์ (Li2O, Na2O และ K2O) ต่อค่าดัชนีหกั เหแสงของแก้วอัลคาไลน์


เจอร์มาเนต [ทีม่ า J.E. Shelby (2005)]

9.6.2 ค่าการกระจายแสง (Light dispersion)

การกระจายแสงในแก้วเกิดเมื่อแก้วมีค่าการหักเหแสงทีเ่ ปลี่ยนไปเมื่อความยาวคลื่นแสงเปลี่ยน ซึง่


สามารถมองเห็นภาพได้ชดั เจนมากขึ้นหากพิจารณาการกระจายแสงที่ความยาวคลื่นต่ าง ๆ (เห็นเป็ นสี
ต่าง ๆ) เมื่อแสงขาว (White light) ผ่านปริซมึ แก้วดังรูป 9.9 ซึง่ การกระจายแสงนี้อาจส่งผลทาให้เกิดปั ญหา
ความคลาดเคลื่อนของสี หรือความคลาดรงค์ (Chromatic aberration) ในแก้วที่ใช้ทาเลนส์ การรายงานค่ า
การกระจายแสงจะรายงานในลักษณะของการกระจายแสงเฉลี่ย (Mean dispersion) ระหว่างสองความยาว
คลื่นใด ๆ โดยมักใช้ความยาวคลื่นเท่ากับ 486.1 และ 656.3 นาโนเมตร ดังสมการ 9.16

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 149


Mean dispersion = nF – nC สมการ 9.16

เมือ่ nF และ nC คือ ดัชนีหกั เหแสงทีว่ ดั ทีค่ วามยาวคลื่น 486.1 และ 656.3 นาโนเมตร ตามลาดับ

นอกจากนัน้ ในแก้วที่ใช้งานทางด้านแสง เช่น เลนส์แก้ว จะรายงานค่าเลข Abbe (Abbe number; ) จะใช้


อธิบายการกระจายแสงของแก้วเลนส์อกี ด้วย

รูป 9.9 การกระจายของแสงขาวผ่านปริซมึ ทีท่ าให้เกิดการหักเหแสงต่างกันเมือ่ ความยาวคลื่นแสงต่างกัน

คาถามท้ายบท

1. จงอธิบายความแตกต่างของสมบัตแิ ละลักษณะเฉพาะของวัสดุ

2. จงคานวณหาปริมาตรต่อโมลของแก้ว 0.16Li2O0.08Na2O0.76B2O3 ที่มคี วามหนาแน่ น 2.2 กรัมต่อ


ลูกบาศก์เซนติเมตร

3. มีปัจจัยใดบ้างทีส่ ่งผลต่อการเปลีย่ นแปลงสมบัตทิ างเคมี ทางกล และทางแสงของแก้ว และปั จจัยต่าง ๆ


ดังกล่าวส่งผลอย่างไร

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 150


บรรณานุกรม
[1] ASTM, Microindentation Hardness (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก : http://www.astm.org/
SNEWS/MJ_2010/e0405_mj10.html, เข้าถึงเมือ่ 7 พฤศจิกายน 2557.
[2] Babcock, C. L., Silicate Glass Technology Methods, John Wiley & Sons, Inc, The United States
of America, 1977.
[3] Best B, Lessons for Cryonics from Metallurgy and Ceramics (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก :
http://www.benbest.com/cryonics/lessons.html, เข้าถึงเมือ่ 11 มกราคม 2558.
[4] BDF Industries, Forming Process (ออนไลน์ ) , เข้า ถึง ได้ จ าก: http:/www.bdfindustriesgroup.com/
glass_container_forming, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.
[5] Brad, Low iron glass manufacturing technology for Solar cell ( อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก :
www.sneresearch.com/eng/info/show.php?c_id=4889&pg=8&s_sort=&sub_cat=&s_type=
&s_word=, เข้าถึงเมือ่ 12 มกราคม 2557.
[6] British glass Manufacturers' Confederation, Container Glass Manufacture by Automatic Process
(ออนไลน์ ) , เข้าถึงได้จาก: http://www.britglass.org.uk/container-glass-manufacture, เข้าถึง
เมือ่ 16 มกราคม 2558.
[7] Chaffee D. , The Coming Market for Optical Fiber and Cable ( อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก :
http://www.photonics.com/Article.aspx?AID=49953, เข้าถึงเมือ่ 7 เมษายน 2557.
[8] CoSMiLE, Interventions in Glass Sector (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก : http://www.cosmile.org/
glass.htm, เข้าถึงเมือ่ 7 มกราคม 2558.
[9] Direct Industry, NETZSCH-Horizontal push-rod dilatometer (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.
directindustry.com/prod/netzsch-geratebau-gmbh/dilatometer-push-knob-horizontal-39926
-416653.html, เข้าถึงเมือ่ 6 มกราคม 2558.
[10] Eitel, W., Silicate Science, Academic Press, New York, The United States of America, Vol. 8 ,
1976.
[11] Encyclopaedia Britannica, Inc., float-glass method (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก : http://global.
britannica.com/EBchecked/topic/210354/float-glass-method, เข้าเมือ่ 16 มกราคม 2558.
[12] Eurotherm, Tube glass (ออนไลน์ ) , เข้าถึงได้จาก: http://www.eurotherm.com.au/en-gb/industries/
glass/tube-glass/, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 151


[13] G&D Viking Glass INC., Flat Glass Products (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.gdvikingglass.
com/flat_glass.htm, เข้าถึงเมือ่ 7 เมษายน 2557.
[14] Glass Note 4.0, The Free Standing Pot Furnace (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.glassnotes.
com/notes.html, เข้าถึงเมือ่ 7 มกราคม 2558.
[15] Hlavac, J., Glass Science and Technology, Elsevier Science Publishing Company,
Czechoslovakia, 1983.
[16] Kurinsky S., Glassmaking: A Jewish Tradition Part III: Flint Glass and the Jews of Genoa
Fact Paper 6-III (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.hebrewhistory.info/factpapers/fp006-
3_glass.htm, เข้าถึงเมือ่ 20 เมษายน 2557.
[17] Laorodphan, N., Structural Studies of Thallium Containing Germanate and Borate Glasses
and Crystalline Phases, Thesis, Department of Physics, The University of Warwick,
2012.
[18] Laorodphan, N., Namwong, P., Thiemsorn, W., Jaimasith, M., Wannagon, A., Chairuangsri, T., A
low silica, barium borate glass-ceramic for use as seals in planar SOFCs, Journal of
Non-Crystalline Solids, 355 (1), 38-44, 2009.
[19] Laorodphan, N., Sujirote, K., Atong, D., Dateraksa, K. Mechanical Enhanced Reactivity of the
Decomposition Reaction of Dolomite (CaMg(CO3) 2) , The Third Thailand Materials
Science and Technology Conference, Miracle Grand Convention Hotel, Bangkok, Miracle
Grand Convention Hotel, Bangkok, 207-209, 2004.
[20] Leicher J., Giese A., Reduce NOx Emissions in Glass Melting Furnaces (ออนไลน์ ) , เข้าถึงได้
จาก: www. http://www.glassonweb.com/articles/article/854/, เข้าถึงเมือ่ 7 มกราคม 2558.
[21] Mathers G., Hardness Testing Part 1 (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก : http://www.twi-
global.com/technical-knowledge/job-knowledge/hardness-testing-part-1-074/, เข้าถึงเมื่อ 7
พฤศจิกายน 2557.
[22] Mysen, B., Richet, P., Development in Geochemistry, Elsevier Inc., The Natherlands, Vol. 1 0 ,
2005.
[23] National Television System Committee, Colour physics: eyes, CIE (ออนไลน์ ) , เข้ า ถึ ง ได้ จ าก:
http://www.ntsc-tv.com/ntsc-index-05.htm, เข้าถึงเมือ่ 10 มกราคม 2558.
[24] Nippon Electric Glass Co., Ltd., Process Technology (ออนไลน์ ) , เข้าถึงได้จาก: http://www.neg.
co.jp/EN/technology/process.html, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 152


[25] Parkinson-Spencer Refractories Ltd,. Metering Spout System (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก :
http://www.parkinson-spencer.co.uk/SpecialParts.html, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.
[26] PPG Industries, Heated glass comparison (ออนไลน์ ) , เข้ า ถึ ง ได้ จ าก: http://educationcenter.
ppg.com/glasstopics/heated_glass.aspx, เข้าถึงเมือ่ 10 มกราคม 2558.
[27] Rao, B. V. J., Influence of TiO2 on Properties of Glasses in the System K2O–PbO–SiO2–TiO2
and Its Relation to Structure, Journal of the American Ceramic Society, 46 (3), 107-114,
1963.
[28] Rao, K. J., Structural Chemistry of Glasses, Elsevier Science Ltd, Oxford, 2002.
[29] RASKO, Production (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.rasko.ru/en/manufacture/. เข้าถึงเมื่อ 16
มกราคม 2558.
[30] SCHOTT AG, Products (ออนไลน์ ), เข้าถึงได้จาก: http://www.schott.com, เข้าถึงเมื่อ 7 เมษายน
2557.
[31] Shand, E. B., Glass Engineering Handbook. 2nd ed., McGraw-Hill Book Company, New York, The
United States of America, 1958.
[32] Shelby, J. E., Introduction to Glass Science and Technology, 2nd ed., The Royal Society of
Chemistry, United Kingdom, 2005.
[33] Solar Decathlon China, Distributer and Forehearth (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.cgeglass
.com.cn/cge/en, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.
[34] The Bombay Harbor, thick wall quartz glass tube (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก : http://www.
bombayharbor.com/Product/27805/Thick_Wall_Quartz_Glass_Tube.html, เข้ า ถึ ง เมื่ อ 24
เมษายน 2557.
[35] Tom, Stained Glass - on a License Plate (ออนไลน์ ) , เข้ า ถึ ง ได้ จ าก: http://www.krepcio.com/
vitreosity/archives/2008_04.html, เข้าถึงเมือ่ 20 เมษายน 2557.
[36] Torres, C. d. S., Schaeffer, L., Effect of high energy milling on the microstruture and
properties of Wc-Ni composite. Materials Research, 13, 293-298, 2010.
[37] Trier, W., Glass Furnace: Design Construction and Operation, (Loewenstein, K.L., Trans.),
Sheffield, Society of Glass Technology, 1987.
[38] University of Portsmouth, Glass (ออนไลน์ ) , เข้า ถึง ได้ จ าก: http://uwe.port.ac.uk/glass/oldglass/
section4.htm, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 153


[39] Varshneya, A. K., Fundamentals of Inorganic Glasses, The Society of Glass Technology, United
Kingdom, 2006.
[40] Verallia, Glass production (ออนไลน์ ), เข้าถึงได้จาก: http://de.verallia.com/en/about-glass/glass-
production, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.
[41] W.W Grainger, Inc., Balance Density Kit (ออนไลน์ ) , เข้ า ถึ ง ได้ จ าก: http://www.grainger.com/
product/ADAM-EQUIPMENT-Balance-Density-Kit-19YN73 เข้าถึงเมือ่ 11 มกราคม 2558.
[42] Weyl, W. A., Coloured Glasses. Society of Glass Technology, Huddersfield, United Kingdom,
1999.
[43] Wikipedia, Glasmaschine (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://de.wikipedia.org/wiki/Glasmaschine#IS-
Maschinen, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.
[44] WordPress Entries (RSS) and Comments (RSS), SPRING INTO A GLASSY STYLE! (ออนไลน์),
เข้าถึงได้จาก: bloginabottle.com, เข้าถึงเมือ่ 7 เมษายน 2557.
[45] เลาห์รอดพันธุ,์ ณ. การพัฒนากลาสส์เซรามิ กเป็ นสารปิ ดผนึ กในเซลล์เชื้อเพลิ งออกไซด์แข็งแบบ
แผ่น, วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่, 2550.

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 154


บทที่ 1
แก้วและการจาแนกชนิ ดของแก้ว
Glass and Classification of Glass

“วัสดุ แ ก้ว มีลัก ษณะทีแ่ ตกต่ า งจากวัสดุ ชนิ ด อืน่ ๆ เช่ น มีค วามแข็ง แรงค่ อ นข้างสูงแต่ เปราะ
คล้าย ๆ กับวัสดุเซรามิกทีม่ คี วามแข็งแรงสูงแต่เปราะ แต่ในขณะเดียวกันแก้วมีความโปร่งใสจึงถูกนาไปใช้
งานในหน้าทีแ่ ละลักษณะทีแ่ ตกต่างกันออกไป เช่น ภาชนะบนโต๊ะอาหาร เครือ่ งครัว วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์
อิเ ล็ก ทรอนิ ก ส์ และอุ ป กรณ์ วิท ยาศาสตร์ ใ นห้อ งปฏิบ ัติ ก าร เป็ น ต้ น กระบวนการผลิ ต แก้ว ในทาง
อุตสาหกรรมนัน้ เริม่ ต้นจากการหลอมวัตถุดบิ หรือส่วนผสมต่าง ๆ ให้กลายเป็ นของเหลวทีม่ คี วามเป็ นเนื้อ
เดียวกันเรียกว่าน้ าแก้วหลอมหรือน้ าแก้ว เมือ่ น้ าแก้วมีความหนืดเหมาะสมจะถูกนาไปขึ้นรูปด้วยวิธตี ่าง ๆ
ตามชนิดและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ โดยน้ าแก้วจะถูกลดอุณหภูมลิ งอย่างรวดเร็วเพือ่ กลายเป็ นแก้วทีม่ ี
ลักษณะโปร่งใส นอกเหนือจากนี้ยงั มีขนั ้ ตอนต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วกับกระบวนการผลิตแก้วอุตสาหกรรมซึง่ จะได้
กล่าวถึงต่อไป โดยในบทแรกนี้จะแนะนาผูอ้ ่านถึงวัสดุแก้วและชนิดของแก้วเป็ นหลัก”

1.1 คาจากัดความของแก้ว

แก้ว คือ วัส ดุ ท่ีม ีโ ครงสร้า งอสัณ ฐาน (Amorphous) หรือ มีโ ครงสร้า งที่ไ ม่เ ป็ น ระเบีย บ โดยเมื่อ
เปรียบเทียบกับวัสดุท่มี โี ครงร่างผลึกแน่ นอน (Crystalline solid) แก้วจะไม่มกี ารจัดเรียงตัว ที่มคี วามเป็ น
ระเบียบของอะตอมต่าง ๆ เหมือนกับวัสดุท่มี โี ครงร่างผลึกแน่ นอน ยกตัวอย่างกรณีของแก้วซิลกิ า (Silica
glass) ที่ได้จากการหลอมทราย (SiO2) แล้วทาให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว พบว่า ตาแหน่ งของอะตอมต่าง ๆ ใน
แก้วซึง่ มีโครงสร้างแบบ อสัณฐานจัดเรียงกันอย่างไม่เป็ นระเบียบและไม่แน่ นอน (รูป 1.1 ก.) เมือ่ เปรียบเทียบ
กับโครงร่างผลึก ของซิลกิ า (SiO2) ที่มกี ารจัดเรียงตัวของอะตอมอย่างเป็ นระเบียบและมีระยะห่างระหว่าง
อะตอมและมุมระหว่างอะตอมอย่างสม่าเสมอ (รูป 1.1 ข.) โดยอะตอมของซิลกิ อน (Si) 1 อะตอมจะมีอะตอม
ของออกซิเจน (O) 4 อะตอมล้อมรอบอยู่ (รูป 1.1 ค.) เหมือ นกันทัง้ ในแก้วและผลึกซิล ิกา แต่ ใ นแก้วนัน้
ระยะห่างระหว่างอะตอมหรือมุมระหว่างอะตอมต่าง ๆ จะไม่แน่ นอน และยังมีผนู้ ิยามความหมายของแก้วว่า
คือวัสดุทม่ี ชี ่วงการเปลีย่ นเป็ นแก้ว (Glass transition range หรือ Glass transformation range) ซึง่ อธิบายได้
จากกราฟระหว่างเอนทาลปี หรือปริมาตรกับอุณหภูม ิ หรือทีเ่ รียกว่ากราฟการเย็นตัวของแก้ว ดัง รูป 1.2 โดย
วัสดุทห่ี ลอมเหลวหรือมีสถานะของเหลว (Liquid) ณ อุณหภูมสิ ูงกว่าจุดหลอมเหลว (Melting point; Tm) ของ
วัสดุนนั ้ ๆ โดยจุดหลอมเหลว คือ จุดทีข่ องแข็งและของเหลวมีความดันไอและพลังงานอิสระของกิบส์ (Gibbs
free energy) ที่เ ท่ากัน นัน่ คือ การเกิดผลึก (Crystallisation) จะเกิดขึ้น ณ จุดหลอมเหลวนี้พร้อ มกับ การ
หลอมเหลวของผลึกกลายเป็ นของเหลว ทาให้ผลึก (crystal) ปริมาณน้ อย ๆ เกิดสมดุลเทอร์โมไดนามิก

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 1
(Thermodynamic Equilibrium) กับของเหลว ซึ่งการเกิดผลึกนัน้ จะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กบั ปริมาณ
ของเหลวทีเ่ ย็นตัวหรือมีอุณหภูมติ ่ากว่า

รูป 1.1 ลักษณะของโครงข่าย SiO2 แบบ (ก) อสัณฐาน (Amorphous) (ข) ผลึก (Crystalline) และ
(ค) หน่วยย่อยของ [SiO4]4–
[ทีม่ า http://www.benbest.com/cryonics/lessons.html]
หมายเหตุ ไม่ได้แสดงออกซิเจนอะตอมที่ 4 เพื่อง่ายต่อการทาความเข้าใจ

รูป 1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทาลปี หรือปริมาตรทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ ของ (ก) ของเหลว (ข) ผลึก
และ (ค และ ง) แก้วทีม่ อี ตั ราการเย็นตัวต่างกัน
[ดัดแปลงจาก J. E. Shelby (2009) และ A. K. Varshneya (2006)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 2
โดยผลึกจะเกิดขึน้ ได้เมื่อ 1) มีนิวคลีไอ (Nuclei) หรือนิวเคลียสเกิดขึน้ ในปริมาณมาก และ 2) อัตราการโต
ของผลึก (Crystal growth rate) มากกว่าอัตราการหลอมเหลว อุณหภูมทิ ่ที าให้เกิดของเหลวเย็นตัวนัน้ จะ
ปรากฏเป็ นช่ ว งกว้ า ง (ในพื้ น ที่ ท่ี แ รเงาไว้ ) ซึ่ ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ แรงขับ เคลื่ อ นทางเทอร์ โ มไดนามิ ก
(Thermodynamic driving force) ซึง่ ทาให้กลุ่มของอะตอมในสถานะของเหลวเปลีย่ นเป็ นผลึกของแข็งและจะ
เกี่ยวข้องกับความเร็วของอะตอมที่จะเคลื่อนที่ไปอยู่ระหว่างรอยต่อระหว่างของแข็งของเหลว (Liquid-solid
interface) กล่ า วคือ หากของเหลวมีอุ ณ หภู ม ิล ดลงต่ า กว่ า Tm และอยู่ใ นช่ ว งที่แ รเงาเป็ น เวลานาน แรง
ขับเคลื่อนทางเทอร์โมไดนามิกที่ทาให้เกิดของแข็งและการเคลื่อนที่ของอะตอมไปอยู่บริเวณรอยต่อระหว่ าง
ของแข็งของเหลวจะมีสูง ซึ่งในสภาวะนี้ทาให้จานวนนิวคลีไอเพิม่ มากขึ้นและอัตราการโตของผลึก เพิ่มขึ้น
ส่งผลให้เกิดผลึก (Crystal) ขึน้ ในระหว่างการเย็นตัว ทาให้ค่าเอนทาลปี หรือปริมาตรของระบบลดลงอย่าง
รวดเร็ว จากนัน้ เมื่ออุณหภูมลิ ดต่ าลง เอนทาลปี หรือ ปริมาตรของระบบจะลดลงอย่างช้า ๆ โดยจะขึน้ อยู่กบั
ความจุความร้อนของผลึก (หากพิจารณาเอนทาลปี ของวัสดุ) หรือ ขึน้ อยู่กบั การขยายตัวเพราะความร้อ น
(Thermal expansion) ของผลึก (หากพิจารณาปริมาตรของวัสดุ)

ในกรณีท่อี ตั ราการเย็นตัวของของเหลวดังกล่าวเร็ว มาก จะทาให้อุณหภูมขิ องระบบลดลงต่ ากว่า


บริเ วณพื้น ที่ท่ีแ รเงา ท าให้ข องเหลวอยู่ใ นสภาวะเย็น ตัว ยิ่ง ยวด จึง เรีย กว่ า ของเหลวเย็น ตัว ยิ่ง ยวด
(Supercooled liquid) ซึ่งมีเอนทาลปี หรือปริมาตรลดลงอย่างต่อเนื่อง (ความชันจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเส้น
ของของเหลว) เมื่ออุณหภูมลิ ดลงมากขึน้ อะตอมต่าง ๆ จะเคลื่อนที่ได้ช้าลง จนไม่สามารถจัดเรียงตัวให้ ม ี
ความเป็ นระเบียบเหมือนกับโครงร่างผลึกได้ ประกอบกับความหนืดของแก้วสูงขึน้ ทาให้การเคลื่อนตัวของ
อะตอมทาได้ยากเช่นกัน ณ อุณหภูมนิ ้ี กราฟการลดลงของเอนทาลปี หรือการหดตัว จะเปลี่ยนความชันจาก
ของของเหลว (Deviation) กล่าวคือ ปริมาตรหดตัวช้าลงเนื่องจากความหนืดของระบบสูงขึ้น จนของเหลว
ดังกล่าวแข็งตัวและเกิดเป็ นแก้วในทีส่ ุด และเมือ่ อุณหภูมลิ ดลงมากขึน้ อัตราการลดลงของเอนทาลปี และอัตรา
การหดตัวของแก้วจะเท่ากับอัตราการลดลงของเอนทาลปี และปริมาตรของผลึก (ความชันเท่ากับเส้นกราฟ
ของผลึกหรือขนานกับเส้นกราฟของผลึก) ช่วงที่เส้นกราฟมีความโค้งเรียกว่า “ช่วงการเปลีย่ นเป็ นแก้ว ”
(Glass transition range หรือ Glass transformation range) ซึง่ เป็ นช่วงรอยต่อระหว่างของเหลวทีม่ กี ารเย็น
ตัว ยิง่ ยวด (Supercooled liquid) กับ ช่ว งที่อ ะตอมหยุดเคลื่อ นที่ (Fictive point) ซึ่งอุ ณหภูม ิท่อี ะตอมหยุด
เคลื่อนที่จะเรียกว่า Fictive temperature (Tf) โดยจะหาได้จากตัดระหว่างเส้นกราฟการหดตัวของของเหลว
เย็นตัว ยิง่ ยวดกับ เส้นกราฟการหดตัว ของแก้ว นอกจากนัน้ รูป 1.2 ยังแสดงให้เ ห็นว่า หากอัต ราการลด
อุณหภูมขิ องของเหลวต่างกันจะทาให้อตั ราการลดลงของเอนทาลปี หรือปริมาตรต่างกันด้วย จากรูปจะได้ว่า
เมื่ออัตราการเย็นตัวช้า (ช่วงการเปลีย่ นเป็ นแก้วกว้าง) อะตอมมีโอกาสจัดเรียงตัวได้ นานกว่าจึงทาให้อะตอม
อยูช่ ดิ กันมากขึน้ ทาให้ปริมาตรลดลง (หดตัว) มากกว่า แก้วทีเ่ ย็นตัวเร็วกว่า ดังนัน้ แก้วองค์ประกอบเดียวกัน
แต่เย็นตัวในอัตราทีช่ า้ กว่าจะมีความหนาแน่ นมากกว่า (ปริมาตรน้อยกว่า) และมีอุณหภูม ิ fictive (Tf) ต่ ากว่า
แก้วทีเ่ ย็นตัวเร็วกว่า

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 3
การผลิตแก้วนัน้ สามารถทาได้หลายวิธขี ้นึ อยู่กบั ชนิดของแก้ว และลักษณะการใช้งาน เป็ นต้น แต่
โดยทัวไปแล้
่ วแก้วทีม่ กี ารผลิตจานวนมากในระดับอุตสาหกรรมนัน้ ทาได้โดยการหลอมวัตถุดบิ ชนิดต่าง ๆ ที่
ผสมตามส่วนผสมทีค่ านวณไว้ทอ่ี ุณหภูมสิ งู จนวัตถุดบิ เหล่านัน้ กลายเป็ นของเหลวหนืดหรือน้ าแก้วทีเ่ รียกว่า
ของเหลวปราศจากผลึก (Crystal-free melt) จากนั น้ น้ า แก้ ว หลอมจะถู ก ท าให้ เ ย็น ตัว อย่ า งรวดเร็ว ถึง
อุณหภูมหิ อ้ ง กลายเป็ นวัสดุแก้ว โดยแก้วจะไม่มโี ครงสร้างผลึก (Crystal structure) แต่มโี ครงสร้างอสัณฐาน
(Amorphous structure) ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น สภาพอสัณฐานของแก้วสามารถตรวจสอบได้ดว้ ยเทคนิคต่าง
ๆ เช่น เทคนิค การเลี้ยวเบนของรังสีเ อกซ์ (X-ray diffraction) หรือ เทคนิค การเลี้ยวเบนของอิเ ล็กตรอน
(Electron diffraction) เป็ นต้น ซึ่งลักษณะที่ได้จะมีความแตกต่างกันชัดเจน ดังแบบแผนการเลี้ยวเบนของ
รังสีเอกซ์ (X-ray diffraction pattern) ของแก้ว (รูป 1.3 ก.) กับผลึก (รูป 1.3 ข.)

รูป 1.3 แบบแผนการเลีย้ วเบนของรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction pattern) ของ (ก) วัสดุอสัณฐาน
และ (ข) วัสดุทม่ี โี ครงร่างผลึกแน่นอน

1.2 การจาแนกประเภทของแก้ว

สมบัตแิ ละลักษณะเฉพาะของแก้ว เช่น ความแข็ง ความแข็งแรง ความหนาแน่น ความสามารถในการ


หักเหแสง ความทนทานต่อสารเคมี และความทนทานต่อความร้อน เป็ นต้น จะส่งผลต่อการนาไปใช้งานใน
ลักษณะต่าง ๆ โดยสมบัตแิ ละลักษณะเฉพาะของแก้วมักจะขึน้ อยู่กบั องค์ประกอบทางเคมีของแก้ว เช่น แก้ว
คริส ตัล ที่ใ ช้ใ นการประดับตกแต่ งจะประกอบด้ว ยซิล ิกา (SiO2) ตะกัว่ ออกไซด์ (PbO) โซเดียมออกไซด์
(Na2O) และ โพแทสเซียมออกไซด์ (K2O) เป็ นหลัก โดยตะกัวออกไซด์ ่ เป็ นองค์ประกอบทีส่ าคัญทีท่ าให้แก้วมี
ค่าดัชนีหกั เหแสงสูงซึง่ เป็ นสมบัตทิ ส่ี าคัญของแก้วชนิดนี้ หรือ ในกรณีของแก้วในห้องปฏิบตั กิ ารวิทยาศาสตร์
ทีม่ ชี ่อื ทางการค้าว่า “ไพเรกซ์ (Pyrex)” จะมีส่วนประกอบของซิลกิ า (SiO2) โบรอนออกไซด์ (B2O3) อะลูมนิ า
(Al2O3) และโซเดีย มออกไซด์ (Na2O) เป็ นองค์ ป ระกอบหลัก ซึ่ง ท าให้ แ ก้ ว ชนิ ด นี้ ส ามารถทนต่ อ การ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 4
เปลี่ยนแปลงความร้อนอย่างฉับพลัน (Thermal shock resistance) ได้ดี ดังนัน้ การจาแนกประเภทของแก้ว
สามารถแบ่งตามลักษณะการนาไปใช้ (ตัวอย่างดังรูป 1.4 ) หรือแบ่งตามองค์ประกอบของแก้ว

(ก) (ข)

(ค) (ง)

รูป 1.4 แก้วประเภทต่าง ๆ แบ่งตามลักษณะการใช้งาน (ก) แก้วบรรจุภณ ั ฑ์ [ทีม่ า www.bloginabottle.com]


(ข) กระจก [ทีม่ า http://www.gdvikingglass.com] หรือ แก้วแผ่น [ทีม่ า http://www.schott.com]
(ค) แก้วเลนส์ และ (ง) ไฟเบอร์กลาสหรือใยแก้วนาแสง
[ทีม่ า http://www.photonics.com/Article.aspx?AID=49953]

1.2.1 จาแนกตามลักษณะการใช้งาน

- บรรจุภณ ั ฑ์แก้ว (Container glass) เช่น ขวด แก้ว น้ า ถ้วย และ จาน เป็ นต้น แก้วประเภทนี้ม ี
ปริมาณการผลิตต่อปี สงู ทีส่ ุด เพราะมีราคาถูกและมีความต้องการใช้สงู ในขัน้ ตอนการขึน้ รูปของแก้วชนิดนี้จะ
ใช้หลักการเป่ าก้อนแก้วเหลว (Gob) เพื่อให้เป็ นรูปทรงตามต้องการ ดังตัวอย่างในรูป 1.5 โดยเป็ นแก้ว
ประเภทโซดาไลม์ซิล ิก า (Soda lime silica glass) หรือ แก้ว โซเดียมแคลเซียมซิล ิเ กต (Sodium calcium
silicate glass) ซึง่ เป็ นแก้วกลุ่มซิลเิ กตทีเ่ ติมโซเดียมออกไซด์หรือโซดา (Na2O) และ แคลเซียมออกไซด์ หรือ
ไลม์ (CaO) เพื่อช่วยลดอุณภูมทิ ่ใี ช้ในการหลอมแก้ว ซิลกิ าลงและเพื่อปรับปรุงสมบัติของแก้วอีกด้วย แก้ว
ประเภทนี้อาจเติมก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) ลงไปเพื่อลดฟองก๊าซทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างการหลอมซึง่ จะได้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 5
กล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป องค์ประกอบทางเคมีโดยทัวไปของแก้
่ วชนิดนี้จะประกอบด้วย ซิลกิ า (SiO2) 72%
โซดา (Na2O) 14% ไลม์ (CaO) 11% และ อะลูมนิ า (Al2O3) 2% โดยน้ าหนัก หากเป็ นแก้วที่ใช้เป็ นภาชนะ
บรรจุยาหรือสารเคมีบางชนิดแก้วทีใ่ ช้มกั เป็ นแก้วประเภทบอโรซิลเิ กต (Borosilicate glass) ซึง่ จะประกอบไป
ด้วยโบรอนออกไซด์ (B2O3) และซิลกิ า (SiO2) เป็ นหลัก โดยจะไม่มปี ริมาณของโซเดียมออกไซด์แก้วชนิดนี้
เนื่องจากโซเดียมจะละลายออกมาจากแก้วและทาปฏิกริ ยิ ากับตัวยาหรือสารเคมีทบ่ี รรจุอยู่ภายใน

- กระจก (Flat glass) เช่น กระจกแผ่นในอาคารต่าง ๆ ในขัน้ ตอนการขึน้ รูปแก้วชนิดนี้ในอดีตจะใช้


วิธกี ารหมุน (Spin) ก้อนแก้ว เหลว (Gob) ทาให้แผ่ออกไปด้วยแรงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal force) วิธนี ้ี
เรียกว่า คราวน์ (Crown method) ดังรูป 1.5 โดยปั จจุบนั เทคนิคนี้ถูกแทนทีด่ ว้ ยเครือ่ งจักรในอุตสาหกรรมซึง่
จะได้กล่าวถึงต่อไป วิธกี ารอื่น ๆ ทีใ่ ช้ในการขึน้ รูปแก้วประเภทนี้ เช่น วิธ ี Machine cylinder หรือ วิธ ี Colburn
ซึง่ จะดึงน้ าแก้วหลอมให้มลี กั ษณะเป็ นแผ่นบางตามต้องการ โดยควบคุมวิธกี ารดึง ความเร็วในการดึงและทิศ
ทางการดึงเพื่อให้ได้ลกั ษณะของผลิตภัณฑ์ตามต้องการ แต่วธิ นี ้ีจะทาให้ผวิ แก้วเป็ นคลื่น (Waviness) และ
วิธ ีก ารลอย (Float method) เป็ น วิธ ีท่ีเ ทน้ า แก้ ว หลอมเหลวลงบนอ่ า งขนาดใหญ่ (Tank) ที่ม ีดีบุ ก (Tin)
หลอมเหลวอยู่ โดยแก้วหลอมจะลอยอยู่บนดีบุกหลอมเหลวเนื่องจากความหนาแน่ นน้อยกว่า ทาให้แก้วมี
ลักษณะเป็ นแผ่น วิธกี ารนี้จะมีการควบคุมบรรยากาศของอ่างดีบุกเพื่อป้ องกันการเกิ ดปฏิกริ ยิ าออกซิเดชัน
ของดีบุก และยังเป็ นวิธที ท่ี าให้ได้แก้วแผ่นที่มคี ุณภาพและผิวมีความเรียบสม่าเสมอ นอกจากนี้ยงั สามารถขึน้
รูปได้ดว้ ยวิธดี งึ ลง (Downdraw method)

- แก้วเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เครื่อ งแก้ว สาหรับห้อ งปฏิบตั ิก าร แก้ว เพื่อ การตกแต่ ง (Lead
crystal glass) เลนส์ แ ก้ ว (Glass lens) ไฟเบอร์ ก ลาส (Glass fibre) หรือ ใยแก้ ว น าแสง (Optical fibre)
หลอดไฟต่าง ๆ แก้วพรุน (Porous glass) และแก้วเชื่อมประสาน (Sealing glass) เป็ นต้น

แก้ว ที่ใ ช้ง านเชิง แสง (Optical glass) คือ แก้ว ที่ใ ช้ง านในอุ ป กรณ์ ห รือ เครื่อ งมือ ขัน้ สู ง ต่ า ง ๆ ที่
เกีย่ วข้องปฏิกริ ยิ าระหว่างแสงกับแก้ว เช่น การดูดกลืนแสง การส่องผ่านแสง และการหักเหแสง เป็ นต้น โดย
แก้วจะต้องผ่านกระบวนการผลิตทีม่ กี ารควบคุมคุณภาพอย่างเคร่งครัดและผ่านการเทียบมาตรฐานต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้อง เช่น ค่าดัชนีหกั เหแสง (Refractive index) และเลข Abbe (Abbe number) ซึ่งใช้สญ ั ลักษณ์คอื 
เป็ นต้น อีกทัง้ แก้วต้องมีความเป็ นเนื้อเดียวกันสูง (ทัง้ ทางกายภาพและทางเคมี) แก้วทีใ่ ช้งานเชิงแสงสามารถ
แบ่งได้เป็ น 4 ประเภท ได้แก่

- แก้วคราวน์ (Crowns) เป็ นแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กต ทีม่ เี ลข Abbe มากกว่า 55


- แก้วแทรนเซียนต์ (Transient glass) เป็ นแก้วทีม่ เี ลข Abbe ระหว่าง 50 – 55
- แก้วฟลินท์ (Flints) เป็ นแก้วระบบ K2O-PbO-SiO2 ทีม่ คี ่า Abbe น้อยกว่า 50
- แก้วพิเศษ เป็ นแก้วกลุ่มฟลูออไรด์ (Fluoride) ฟอสเฟต (Phosphate) หรือ บอเรต (Borate)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 6
โดยค่าดัชนีหกั เหแสงและเลข Abbe ของแก้วที่ใช้งานเชิง แสงจะมีความสัมพันธ์กนั และสามารถสรุปได้ดงั
แผนผังแสดงในรูป 1.6

(ก)

(ข)

รูป 1.5 วิธกี ารผลิตขวดแก้วด้วย (ก) การเป่ า [ทีม่ า http://www.hebrewhistory.info/factpapers/fp006-


3_glass.htm] และ การผลิตแก้วแผ่น หรือกระจก ด้วยวิธ ี (ข) คราวน์ หรือ หมุนเหวีย่ ง (Crown method)
[ทีม่ า http://www.krepcio.com/vitreosity/archives/2008_04.html]

รูป 1.6 ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีการหักเหแสงและค่า Abbe ของแก้วทีใ่ ช้งานเชิงแสง (Optical glass)


[ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 7
ไฟเบอร์กลาส (Glass fibre) เป็ นเส้นใยแก้วที่ยาวต่อเนื่องซึ่งถูกใช้งานในหลายลักษณะ เช่นใช้เป็ น
ฉนวนไฟฟ้ า ฉนวนความร้อนและใช้เป็ นวัสดุเสริมแรงในพลาสติก เป็ นต้น แก้วชนิดนี้เป็ นแก้วที่มอี อกไซด์
ของอัลคาไลน์ต่ า (Na2O+K2O ไม่เกิน 1%) ในการผลิตทาได้โดยการหลอมวัตถุดบิ ที่ผสมแล้วในเตาหลอม
แบบต่อเนื่อง ทีอ่ ุณหภูมปิ ระมาณ 1550 เซลเซียส (อาจเติม CaF2 ลงไปเพื่อทาให้การหลอมดีขน้ึ ) ความหนืด
ของแก้วหลอมเป็ นสิง่ ทีส่ าคัญทีส่ ่งผลต่อการขึน้ รูปโดยการดึงแก้วหลอมให้เป็ นเส้นใยยาว นอกเหนือไปจากนี้
ยังมีการพัฒนาไฟเบอร์กลาสชนิดที่สามารถนาแสงได้ ที่เรียกว่า เส้นใยนาแสง (Fibre optics หรือ Optical
fibre) หรือใยแก้วนาแสง ซึง่ เริม่ มีการพัฒนามาตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1967 โดยใยแก้วนาแสงสามารถประยุกต์ใช้ใน
หลายลัก ษณะ เช่ น สายสัญ ญาณน าภาพในวัส ดุ ท างการแพทย์ หรือ สายน าสัญ ญาณ ส่ ง ข้อ มูล ในการ
ติดต่อสื่อสาร เป็ นต้น

1.2.2 จาแนกตามชนิ ดขององค์ประกอบ

ในทีน่ ้ีจะเน้นชนิดของแก้วตามองค์ประกอบทางเคมี ทีผ่ ลิตจริงในระดับอุตสาหกรรม ซึง่ โดยส่วนใหญ่


แล้วจะเป็ นแก้วประเภทออกไซด์ (Oxide glass) ซึง่ แบ่งได้ 5 กลุ่ม คือ

1) แก้ ว ซิ ลิ ก า (Silica glass or quartz glass) คือ แก้ ว ที่ ใ ช้ แ ร่ ค วอตซ์ (Quartz) หรือ ทรายหรือ
ซิลกิ อนไดออกไซด์ (SiO2) เป็ นวัตถุดบิ โดยทัวไปวั่ ตถุดบิ ประเภทนี้จะมีสงิ่ เจือปนปนอยู่เล็กน้อย (ประมาณ
0.01 %) เช่น ออกไซด์ของโลหะต่าง ๆ เป็ นต้น น้ าแก้วซิลกิ าจะมีความหนืดค่อนข้างสูง (สูงที่สุดในบรรดา
แก้วกลุ่มออกไซด์) โดยมีความหนืด ณ อุณหภูม ิ 1726 องศาเซลเซียส (จุดหลอมเหลวของ SiO2) ประมาณ
107 เดซิพาสคัลวินาที (dPas) แก้วประเภทนี้จะเริม่ ตกผลึกที่อุ ณหภูมชิ ่ว ง 1150 – 1200 เซลเซียส แก้ว
ควอตซ์มกั จะขึน้ รูปเป็ นท่อกลวง (ดังรูป 1.7) เนื่องจากแก้วชนิดนี้มคี วามหนืดสูงมากทาให้มโี อกาสที่ไอน้ า
หรืออากาศจะถูกกักไว้ในแก้วในระหว่างการหลอมกลายเป็ นตาหนิของผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งโดยทัวไปฟองก๊ ่ าซ
ดังกล่าวจะมีขนาดประมาณ 10 – 100 ไมโครเมตร และพบว่าความบริสุทธิ ์ของวัตถุดบิ จะส่งผลต่อปริมาณ
ฟองอากาศที่เกิดขึ้นในแก้ว ซึ่ง อาจทาให้วตั ถุดบิ บริสุทธิ ์มากขึ้นโดยการชะด้วยกรด (Acid leaching) หลัง
ขัน้ ตอนการบดวัตถุดบิ อย่างไรก็ตามในกระบวนการหลอมแก้วควอตซ์จะต้องใช้วธิ พี เิ ศษเพื่อไล่ฟองก๊าซ โดย
การหลอมแก้วในระบบสุญญากาศ ซึง่ จะเริม่ ดูดอากาศออกขณะหลอมทีอ่ ุณหภูมปิ ระมาณ 1400 เซลเซียส ซึง่
เป็ นอุณหภูมกิ ารเผาผนึก (Sintering) ของซิลกิ า ซึ่งทาให้ฟองอากาศหรือก๊าซที่ค้างอยู่ในช่องว่างระหว่าง
วัตถุดบิ ถูกกาจัดออกไป โดยการใช้ระบบสุญญากาศจะทาให้อนุ ภาคอยู่ชดิ กันมากทีส่ ุด ซึง่ ทาให้ฟองอากาศ
หรือ ฟองก๊ าซที่ถู ก กักในช่องว่างระหว่างอนุ ภาคมีน้อยลง ส่ งผลให้ฟองก๊ าซคงค้างมีน้อย จากนัน้ จึงเพิ่ม
อุณหภูมสิ งู ถึงประมาณ 2000 เซลเซียส เพื่อทาให้วตั ถุดบิ กลายเป็ นของเหลวสมบูรณ์

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 8
รูป 1.7 ท่อแก้วควอตซ์ทม่ี คี วามหนาต่าง ๆ กัน
[ทีม่ า http://www.bombayharbor.com/Product/27805/Thick_Wall_Quartz_Glass_Tube.html]

นอกจากนัน้ แก้วควอตซ์สามารถประยุกต์ใช้งานเชิงแสง (Optical glass) ได้ โดยจะขึ้นรูปให้เป็ นแผ่นกลม


(Glass disk) ซึง่ ทาได้โดยหลอมวัตถุดบิ อย่างช้า ๆ จากนัน้ หยดน้าแก้วหลอมลงบนแท่นหมุน (มักทาจากแก้ว
ควอตซ์) ที่กาลังหมุนอยู่ เมื่อน้ าแก้วหลอมหยดลงบนแท่นหมุนจะแผ่ตามแรงเหวี่ยงเกิดเป็ นแผ่นแก้ว การ
ผลิตแก้วด้วยวิธนี ้จี ะมีความชืน้ อยูใ่ นแก้วในรูปของหมูไ่ ฮดรอกซิล (OH–) อยูป่ ระมาณ 0.1 % H2O

2) แก้ ว โซเดี ย มซิ ลิ เ กต (Sodium silicate glass; SiO2Na2O หรื อ Water glass) ค าว่ า Water
glass มาจากการนาแก้วโซเดียมซิลเิ กตไปละลายในน้ า ซึ่งจะให้สารละลายที่มสี มบัตเิ ป็ นตัวเชื่อมประสาน
(Binding agent) ซึ่ง แก้ ว จะมีอ ัต ราส่ ว นระหว่ า ง SiO2 ต่ อ Na2O หรือ ที่เ รีย กว่ า ซิล ิเ กตมอดุ ล ัส (Silicate
modulus) นัน้ จะมีค่ า อยู่ใ นช่ ว งระหว่ า ง 2.0 – 3.3 (แก้ว โซเดีย มซิล ิเ กตทางการค้า จะมีค่ า นี้ อ ยู่ป ระมาณ
3.2 - 3.3 หรือมีปริมาณ SiO2 อยู่ประมาณ 66 – 76 %) แก้วประเภทนี้จะมีความหนืดต่ าเมื่อเปรียบเทียบกับ
แก้วควอตซ์ โดยค่าความหนืด () ของแก้วชนิดนี้จะขึน้ อยู่กบั อุณหภูมแิ ละค่า ซิลเิ กตมอดุลสั หรือ ปริมาณ
Na2O ที่มอี ยู่ในแก้ว ซึ่งความหนืดของแก้วจะลดลงเมื่ออุณหภูมเิ พิ่มขึน้ และเมื่อสัดส่วนของ Na2O เพิม่ ขึน้
ดังแสดงในรูป 1.8 แก้ว โซเดียมซิล ิเ กตจะหลอมในเตาหลอมแบบต่อ เนื่อง (Continuous tank furnace) ที่
อุณหภูมปิ ระมาณ 1400 เซลเซียส การผสมส่วนผสมควรควบคุมให้สงิ่ ปนเปื้ อนให้น้อยกว่า 1 % เนื่องจากสิง่
ปนเปื้ อนทาให้การละลายน้ าเปลี่ยนไป การหลอมแก้วประเภทนี้ ทาให้อายุการใช้งานของเตาหลอมสัน้ ลง
เนื่องจากแก้วชนิดนี้จะกัดกร่อนวัสดุทนไฟทีใ่ ช้สร้างเตา นอกจากนัน้ ในการหลอมแก้วชนิดนี้จะต้องคานึงถึง
การระเหยของ Na2O ออกจากน้าแก้วหลอม ซึง่ ส่งผลต่อค่าซิลเิ กตมอดุลสั หรือ ปริมาณของ Na2O ในแก้วจะ
แตกต่างจากที่คานวณไว้ แก้วที่หลอมได้จะมีความโปร่งใส เนื่องจากแก้วชนิดนี้สามารถละลายน้ าได้หรือ
เกิดปฏิกริ ยิ ากับน้ าได้ง่ายจึงจาเป็ นต้องเก็บในที่ท่ปี ราศจากความชื้น หากแก้ว เกิดปฏิกริ ยิ ากับความชื้นใน
อากาศผิวของแก้วจะมีลกั ษณะขุน่

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 9
แก้ว โพแทสเซียมซิล ิเ กต (Potassium silicate water glass) เป็ นแก้ว ที่จดั อยู่ใ นกลุ่ มเดียวกับแก้ว
โซเดียมซิลเิ กต ซึง่ ถูกใช้ในอุตสาหกรรมทีม่ คี วามเฉพาะเจาะจงมากขึน้ เช่น ใช้เป็ นตัวเชื่อมประสานในซีเมนต์
ทีม่ คี วามทนทานต่อกรด เป็ นต้น

รูป 1.8 ความหนืดของแก้วโซเดียมซิลเิ กตทีค่ วามเข้มข้นของโซเดียมออกไซด์ต่าง ๆ ทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ


[ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

3) แก้ ว โซดาไลม์ซิ ลิ เ กต หรื อ โซเดี ย มแคลเซี ย มซิ ลิ เ กต (Soda-lime silicate glass หรื อ
Sodium-calcium silicate; Na2OCaOSiO2) เป็ นแก้วทีใ่ ช้ทาบรรจุภณ ั ฑ์ต่าง ๆ เช่น ขวดน้ า แก้วน้ า จาน
และแผ่นกระจก เป็ นต้น หากพิจารณาแผนภาพวัฏภาค (Phase diagram) ของออกไซด์ระบบนี้ (รูป 1.9)
พบว่าช่วงทีส่ ามารถเกิดแก้วได้ (Glass-forming range) ของระบบนี้มชี ่วงกว้าง ซึง่ เป็ นบริเวณทีม่ ปี ริมาณของ
ซิลกิ ามากกว่า 50 % โดยโมล ซึง่ เป็ นพืน้ ทีท่ แ่ี รเงาในรูป 1.9 ซึง่ องค์ประกอบของแก้วทางการค้าจะครอบคลุม
บริเ วณต่ า ง ๆ ได้ แ ก่ บริเ วณของดี ว ิ ไ ทรท์ (Devitrite; Na2O3CaO6SiO2) บริเ วณวอลลาสโทไนท์
(Wallastonite; CaOSiO2) บริเวณทริไดไมท์ (Tridymite; SiO2) และบริเวณของ Na2OCaO5SiO2 อีกทัง้
จากแผนภาพวัฏภาคในรูป 1.9 จะแสดงเส้นอุณหภูมคิ งที่ (Isothermal line) ซึง่ เป็ นเส้นทีร่ ะบุว่าองค์ประกอบ
ในบริเวณนัน้ ๆ จะกลายเป็ นของเหลวหากอุณหภูมขิ ององค์ประกอบนัน้ ๆ สูงกว่าอุณหภูมทิ ่แี สดงบนเส้น
อุณหภูมคิ งที่ เส้นนี้ในบางกรณีจะถูกเรียกว่า Liquidus line จากแผนภาพวัฏภาคในรูป 1.8 แต่ละอุณหภูมทิ ่ี
ปรากฏจะต่ ากว่าจุดหลอมเหลวของซิลกิ ามาก แสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบที่ปรากฏอยู่ในบริเวณดังกล่ าว
สามารถหลอมเหลวหรือกลายเป็ นของเหลวได้ทอ่ี ุณหภูมติ ่า

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 10
การเติมสารประกอบออกไซด์บางประเภทลงไปในแก้ว Na2OCaOSiO2 จะช่วยปรับปรุงสมบัติของ
แก้ว และทาให้ตาหนิทเ่ี กิดระหว่างกระบวนการผลิตลดลงได้ เช่น การเติม MgO และอะลูมนิ า (Al2O3) จะช่วย
ลดการเกิดผลึกในแก้วระหว่างการเย็นตัว โดย Al2O3 ส่งผลทาให้แก้วมีความหนืดเพิม่ ขึน้ เล็กน้อย เมื่อแก้วมี
ความหนืดสูงขึน้ การเกิดผลึกในแก้วจะช้าลง การเติม Al2O3 นอกจากจะลดอัตราการเกิดผลึกในแก้วแล้ว ยัง
เพิม่ ความทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีอกี ด้วย องค์ประกอบของแก้วทางการค้าทีท่ าเป็ นกระจกแผ่น
และภาชนะที่ผ ลิต กันมากคือ มี SiO2 อยู่ใ นช่ว ง 70 – 73.5 wt% Al2O3 อยู่ใ นช่ว ง 0.6 – 2.0 wt% CaO อยู่
ในช่วง 6 – 11 wt% MgO อยูใ่ นช่วง 1.5 – 4.5 wt% และ Na2O อยูใ่ นช่วง 13 – 15 wt%

รูป 1.9 แผนภาพวัฏภาคของระบบ Na2O-CaO-SiO2 บริเวณทีแ่ รเงาคือบริเวณขององค์ประกอบทีผ่ ลิตแก้ว


ทางการค้า [ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

นอกเหนือจากการเติมสารประกอบออกไซด์ดงั กล่าวแล้ว ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้มสี สี นั ของผลิตภัณฑ์ท่ี


หลากหลายจากการเติมสารประกอบออกไซด์ทท่ี าให้เกิดสีในแก้ว เช่น สาหรับแก้วขวดสีเขียวมะกอกจะเติม
Fe2O3 1.5 – 2.0 % และ MnO 0.3 – 0.8 แก้วสีเขียวจะเติม Cr2O3 หรือ Fe2O3 และ Cr2O3 ร่วมกัน (0.1-0.2
% Cr2O3 + 0.1-1 %Fe2O3) แก้วสีน้ าตาล จะเติม Fe2O3 และ MnO โดยอัตราส่วนระหว่าง Fe2O3:MnO อยูท่ ่ี
1:2 หรือ 1:3 หรือเติม Fe2O3 ร่วมกับซัลเฟอร์จากสารประกอบซัลเฟตหรือซัลไฟด์ (เรียกว่า Amber glass)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 11
โดยสีทป่ี รากฏจะขึน้ อยู่กบั ชนิดและปริมาณของไอออนต่าง ๆ ได้แก่ Fe2+ หรือ Fe3+ และ S2- หรือ SO42- โดย
ไอออนเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับบรรยากาศในการหลอมว่าเป็ นบรรยากาศออกซิเดชัน หรือบรรยากาศรีดกั ชัน
ทาให้ตอ้ งควบคุมการบรรยากาศการหลอมอย่างเคร่งครัด

4) แก้วระบบ K2OCaOSiO2 และ K2OPbOSiO2 หรือที่ เรียกว่ าแก้ วคริ สตัล (Crystal glass)
คาว่า Crystal glass เป็ นแก้วใสและมีลกั ษณะแวววาวเนื่องจากมีการหักเหแสงสูง แก้วชนิดนี้มกั ใช้ใ นการ
ตกแต่งหรือเป็ นเครื่องประดับ เช่น แก้วภายใต้แบรน “สวารอฟสกี” (Swarovski) เป็ นต้น อย่างไรก็ตามคา
จากัดความของคาว่าแก้ว Crystal ยังไม่ชดั เจน โดยขึ้นอยู่กบั ผู้ให้คานิยาม โดยส่วนมากแก้วคริสตัล จะมี
องค์ประกอบของตะกัวออกไซด์
่ (PbO) มากกว่า 24 % โดยน้ าหนัก และมีค่าดัชนีหกั เหแสง (Refractive
index) มากกว่า 1.545 นอกจากตะกัวออกไซด์
่ แล้ว โพแทสเซียมออกไซด์ (K2O) สามารถใช้เป็ นวัต ถุ ดิบ
ทดแทนการใช้ตะกัวออกไซด์
่ (PbO) แก้วชนิดนี้แบ่งเป็ น 2 ประเภทตามเหล่งกาเนิดทีม่ กี ารผลิตแก้วชนิดนี้ใน
สมัยโบราณ คือ แก้ว Bohemain Crystal (K2O-CaO) และแก้ว English Crystal (K2O-PbO) เมื่อ พิจารณา
ลักษณะเฉพาะของแผนภาพวัฏภาคของระบบ K2O-PbO-SiO2 ดังรูป 1.10 ก. พบว่าแก้วชนิดนี้มชี ่วงการเกิด
แก้ว ที่ก ว้า งมากท าให้ส ามารถท าแก้ว ได้ง่า ย แต่ ใ นทางปฏิบ ัติเ นื่ อ งจากอัต ราการตกผลึก ของแก้ว บาง
องค์ประกอบสูงกกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ (บริเวณที่ม ี PbO) และบางองค์ประกอบแก้วจะมีความทนทานต่อ
สารเคมีต่ า (ปริมาณ K2O สูง) โดยองค์ประกอบที่เหมาะสมในการผลิตแก้วคริสตัล ในเชิงการค้าจะอยู่ใ น
บริเวณที่แรเงาไว้ในรูป 1.10 ก. (บริเวณ SiO2 - K2O4SiO2 - K2OPbO4SiO2 - K2O4PbO - PbOSiO2)
ผลขององค์ประกอบทางเคมีจะส่งผลต่อค่าดัชนีหกั เหแสงและความหน้าแน่ นของแก้ว พบว่าเมือ่ ปริมาณซิลกิ า
สูงขึน้ ความหนืดของแก้วก็จะเพิม่ ขึน้ เช่นกัน ส่วนปริมาณ PbO ทีเ่ พิม่ ขึน้ จะส่งผลต่อค่าดัชนีหกั เหแสง; n (เส้น
ทึบ) และ ความหนาแน่นของแก้ว;  (เส้นประ) ดังแสดงในรูป 1.10 ข.

แก้วประเภทนี้จะต้องควบคุมปริมาณสารให้สที ่อี าจจะปนมากับวัตถุดบิ หรือในระหว่างกระบวนการ


ผลิต เช่น ควบคุมปริมาณเหล็กออกไซด์ (Fe2O3) ให้น้อยกว่า 0.025 % เป็ นต้น อย่างไรก็ตามผูผ้ ลิตมักเติม
สารลดสีอ่นื ๆ ลงไปเพื่อให้แก้วคริสตัลมีสสี นั สวยงามมากขึน้ เช่น NiO เป็ นต้น นอกจากสารให้สที เ่ี ติมลงไป
แล้ว อาจเติมออกไซด์ของธาตุหายาก เช่น Nd2O3 และ Pr2O3 เพื่อปรับปรุงสมบัติทางแสงของแก้วคริสตัล
เป็ นพิเศษ รวมไปถึงสารลดฟองในแก้ว เช่น As2O3 หรือ Sb2O3 เป็ นต้น ข้อควรระวังในการใช้สารลดฟองใน
แก้วคริสตัล ที่ม ี PbO ไม่ควรใช้ Na2SO4 เนื่องจากการจะทาปฏิกิรยิ ากับ PbO กลายเป็ น PbSO4 เกิดเป็ น
ตาหนิในแก้ว

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 12
รูป 1.10 (ก) แผนภาพวัฏภาคระบบ K2O-PbO-SiO2 และ (ข) ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบแก้วกับ
ความหนาแน่ นและความหนืดของแก้วคริสตัล [ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 13
5) ระบบโซเดี ยมบอโรซิ ลิเกต (Na2OB2O3SiO2) แก้วชนิดนี้จะทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูม ิ
อย่างฉับพลัน (Thermal Shock Resistance) ได้ดี เนื่องจากเป็ นแก้วที่มคี ่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะ
ความร้อ น (Thermal Expansion Coefficient; ) ต่ า (ต่ า กว่ า 50 x 10-7 ต่ อ เซลเซีย ส หรือ C–1) ซึ่ง ใน
บางครัง้ ถู ก เรียกว่าแก้ว ทนความร้อ น (Heat-resistance glass) แก้ว ชนิดนี้เ ป็ นแก้ว ที่ถู กพัฒนาเพื่อ ใช้ใ น
ห้องปฏิบตั กิ ารทางวิทยาศาสตร์และมีอยูห่ ลายประเภท แก้วทีร่ จู้ กั กันดีในกลุ่มนี้คอื แก้ว ไพเร็กซ์ (Pyrex) หรือ
แก้วทีใ่ ช้ในทางการแพทย์จะเรียกว่าแก้วนิวทรัล (Neutral glass) เป็ นต้น แก้วนิวทรัลทางการแพทย์จะมีการ
ละลายของไอออนต่ ามากที่อุณหภูม ิ 120 เซลเซียส ทาให้ยา เซรุม หรือสารเคมีต่าง ๆ ไม่เสียสภาพหรือเสีย
ฤทธิ ์ทางยาจากการเกิดปฏิกริ ยิ ากับไอออนทีอ่ าจละลายออกมาจากแก้ว

แก้วระบบนี้เกิดการแยกวัฏภาค (Phase separation) ได้ง่าย ซึ่งปรากฏการณ์ น้ีเรียกว่าการแยกตัว


แบบกึ่งเสถียร “Metastable immiscibility” คือการแยกวัฏภาคของของเหลว 2 ชนิดที่มอี งค์ประกอบต่างกัน
โดยเกิด ที่อุ ณ หภูม ิต่ า กว่ า อุ ณ หภูม ิก ารเปลี่ย นเป็ น ของเหลว (Liquidus temperature) และอาจเกิด ขึ้น ใน
ระหว่างการอบอ่อนแก้ว (Annealing) ก็ได้ การเกิดการแยกวัฏภาคนี้มอี ยู่ 2 ลักษณะคือ แยกแบบกระจายตัว
(Isolated droplets) และการแยกแบบต่ อ เนื่ อ ง (Continuous interconnected phases) หรือ ที่เ รีย กว่ า การ
สลายตัวแบบสปิ นนูเดิล (Spinodal decomposition) ดังรูป 1.11 หากเกิดปรากฏการณ์น้ีในแก้วจะทาให้แก้วมี
ความทนทานต่ อ สารเคมีล ดลงและมีส มบัติ โ ดยรวม (Bulk properties) เปลี่ย นไป เป็ นต้ น ดัง นั ้น ใน
กระบวนการอบอ่อนจะต้องทาทีอ่ ุณหภูมทิ เ่ี หมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดการแยกวัฏภาคดังกล่าว

รูป 1.11 ภาพอิเล็กตรอน (Electron image) ของการเกิดการแยกตัวแบบกึง่ เสถียร (Metastable


immiscibility) ในแก้ว [ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 14
แก้วทีม่ กี ารผลิตในระดับอุตสาหกรรม จะมีองค์ประกอบต่าง ๆ กันขึน้ อยูก่ บั ชนิดและการนาไปใช้งาน
ซึง่ สามารถสรุปได้ดงั ตาราง 1.1

ตาราง 1.1 องค์ประกอบทางเคมีของแก้วต่าง ๆ [ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

ชนิ ด ชื่อ ร้อยละขององค์ประกอบ


การค้า SiO2 B2O3 Al2O3 Fe2O3 MgO CaO Na2O K2O PbO SO3 อื่น ๆ
แก้วแผ่น1 72.2 1.0 0.1 3.6 7.1 14.8 0.2 0.5
แก้วแผ่น2 72.5 1.0 0.07 3.9 8.1 13.7 0.3 0.25
ภาชนะ (flint) 72.4 1.7 0.05 1.7 9.6 13.8 0.6 0.13 0.2 BaO
ภาชนะ (Amber) 73.4 2.0 0.22 3.0 8.0 13.0 0.4 0.16 FeO
ภาชนะ (สีเขียว) 72.0 1.9 0.15 1.4 9.2 14.4 0.6 0.2 0.2 BaO
0.1 Cr2O3
Neutral glass 70.2 7.0 7.5 1.8 9.5 1.0 3.0 BaO
Technical glass Pyrex 80.8 12.0 2.2 0.3 0.3 4.2 0.6
Technical glass Slimax 80.0 12.8 2.3 3.5 1.2
แก้วทีม่ ซี ลิ กิ าสูง Vycor 94 5 0.5
Thermometer glass 16-III 67.5 2.0 2.5 7.0 14.0 7.0 ZnO
Soft instrument glass Unihost 68.9 3.9 2.9 5.5 17.8 1.3
หลอดไฟ 72.4 0.8 3.7 5.3 17.4
แก้วเชือ่ มประสาน3 KIA 57.1 1.5 4.9 7.0 29.4
แก้วเชือ่ มประสาน 4 KS 51 67.7 18.9 3.6 0.4 8.4 0.9 Li2O
แก้วเชือ่ มประสาน 5 KS 50 75.0 11.6 4.0 1.5 5.9 1.6 0.4 BaO
Low-loss glass6 LL 71.0 24.8 0.9 0.3 1.5 1.2 0.2 Li2O
แก้วอะลูมนิ าสูง 53.0 10.0 21.0 10.0 5.0
แก้วเชิงแสง (flint) F2 45.1 3.2 6.0 45.2
แก้วเชิงแสง (crown) BK 7 66.0 12.4 8.0 12.0 1.0 ZnO
Crystal glass 59.0 2.0 12.0 25.0 1.5 ZnO
Crystal glass 75.0 0.4 6.7 6.1 11.4
ภาชนะ 7 75.6 0.4 0.02 2.6 2.6 13.5 4.1
ไฟเบอร์กลาส Eutal 52.9 9.2 14.5 0.3 4.4 4.4 1.0
(E-glass)8
ไฟเบอร์กลาส9 Mangal 59.0 7.0 0.3 3.5 3.5 20.0 2.9 MnO
1ผลิ ต ด้ ว ยกระบวนการโฟร์ ค อลท์ (Fourcault process) 2ผลิ ต ด้ ว ยกระบวนการลอย (Float process) 3ส าหรับ ประสาน Fe-Ni และ Pt
4ส าหรับประสาน Kovar alloy (Fe-Ni-Co) 5ส าหรับประสาน Molybdenum 6Low dielectric loss glass 7ขึ้น รูปด้ว ยวิธก
ี ารอัด (Pressed forming
method) 8continuous fibre และ 9สาหรับใช้ทาฉนวน

นอกเหนือจากแก้วอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ทีเ่ ป็ นแก้วกลุ่มออกไซด์ (Oxide glass) ยังมีแก้วกลุ่ม


อื่น ๆ ที่มกี ารประยุกต์ใช้งานแตกต่างกันออกไป ได้แก่ แก้วแฮไลด์ (Halide glass) และแก้ว ชาลโคจีไนด์
(Chalcogenides glass) แก้วโลหะ (Metallic glass) เป็ นต้น ซึง่ มีองค์ประกอบและการนาไปใช้งานทีแ่ ตกต่าง
กัน เช่น แก้วชาลโคจีไนด์ เป็ นแก้วที่เป็ นสารประกอบซัลไฟด์ ซีลไี นด์ และ เทลลูไรด์ โดยประกอบด้วยธาตุ
S, Se, Te แทนที่ ออกซิเจน ในสารประกอบออกไซด์ เช่น แก้ว As2S3 เช่น As2Se3 เป็ นต้น แก้วชนิดนี้มกั ใช้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 15
ในการใช้งานกับย่านแสงช่วงอินฟราเรด (Infrared region) และดูดกลืนความยาวคลื่นในช่วงวิซเิ บิล (Visible)
ได้ดี แก้ว ประเภทนี้ยงั มีส มบัติเ ป็ นสารกึ่งตัว นา (Semiconductor) โดยในการผลิต แก้ว กลุ่ มนี้จะหลอมใน
สุญญากาศเพื่อป้ องกันการเกิด ปฏิกริ ยิ าออกซิเดชันกับองค์ประกอบต่าง ๆ ในแก้ว กลายเป็ นสารประกอบ
ออกไซด์

คาถามท้ายบท

1) แก้วคืออะไร

2) แก้ว (Glass) แตกต่างกับผลึก (Crystalline solid) อย่างไร

3) จงอธิบายกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทาลปี หรือปริมาตรกับอุณหภูมวิ ่าแก้วต่างจากผลึกอย่างไร

4) แก้วสามารถจาแนกประเภทได้กป่ี ระเภท อะไรบ้าง

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 16
บทที่ 2
กระบวนการผลิ ตแก้ว
Glass Production Processes

“กระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรมเป็ นกระบวนการผลิตทีค่ ่อนข้างซับซ้อนและแตกต่างกันตาม


ชนิดของผลิตภัณฑ์ทผี ่ ลิต ในกระบวนการผลิตแก้ว จะทาให้วตั ถุดบิ ต่าง ๆ หลอมรวมเป็ นเนื้อเดียวกันที ่
อุณหภูมสิ ูง จากนัน้ น้ าแก้วหลอมเหลวจะถูกส่งต่อไปยังกระบวนการขึ้นรูป เพือ่ ทาให้เป็ นรูปทรงต่าง ๆ
ตามทีไ่ ด้ อ อกแบบไว้ จากนั น้ จึง น าผลิต ภัณ ฑ์ทีไ่ ด้เ ข้า สู่ข นั ้ ตอนการอบอ่ อ นเพือ่ ลดความเค้น หรือ
ความเครียดคงค้างในแก้วทีเ่ กิดขึ้นระหว่างกระบวนการขึ้นรูป นอกเหนือจากนัน้ ผลิตภัณฑ์แก้วจะต้องถูก
ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน ก่อนจาหน่ าย โดยในบทนี้จะได้กล่าวถึงภาพรวมของกระบวนการผลิต
ดังกล่าวพอสังเขป โดยเนื้อหาโดยละเอียดของแต่ละขัน้ ตอนจะได้กล่าวถึงในบทต่อ ๆ ไป”

จากทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วในบทที่ 1 ว่าแก้วมีหลายชนิดขึน้ อยู่กบั การประยุกต์ใช้งาน หรือขึน้ อยู่


กับองค์ประกอบหรือส่วนประกอบของแก้ว ดังนัน้ ในบทนี้จะได้กล่าวถึงภาพรวมของกระบวนการผลิตแก้วใน
อุตสาหกรรมซึง่ ประกอบไปด้วยขัน้ ตอนสาคัญ ได้แก่ ขัน้ ตอนการเตรียมวัตถุดบิ (Preparing and Mixing of
Raw Materials) ขัน้ ตอนการหลอมแก้ว (Melting) ขัน้ ตอนการขึ้นรูป (Forming) และ ขัน้ ตอนการอบอ่อน
(Annealing) รูป 2.1 แสดงให้เห็นถึงแผนผังในกระบวนการผลิตกระจกแผ่น ซึง่ ประกอบไปด้วยขัน้ ตอนต่าง ๆ
ดังกล่าวมาแล้ว เมื่อกระบวนการผลิตสิ้นสุดแล้ว อาจจะมีขนั ้ ตอนหลังจากการอบอ่อนเพื่อปรับปรุงคุณภาพ
และเพิม่ วามสวยงามของผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะไม่ถูก
กล่าวถึงในทีน่ ้ี

2.1 ขัน้ ตอนการเตรียมวัตถุดิบและการผสมวัตถุดิบ (Preparing and mixing of raw materials)

องค์ป ระกอบของแก้ ว จะมีส ัม พัน ธ์ กับ ลัก ษณะเฉพาะและสมบัติข องแก้ ว โดยความคงที่ข อง


องค์ประกอบทางเคมีของวัตถุดบิ ถือเป็ นปั จจัยทีส่ าคัญต่อกระบวนการผลิตในขัน้ ตอนนี้ ดังนัน้ ในกระบวนการ
ผลิตแก้วอุตสาหกรรมต้องควบคุมให้องค์ประกอบของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ผลิตแก้วถูกต้องและคงทีต่ ามที่ ได้คานวณ
ไว้ หากวัตถุดบิ ที่นาเข้าสู่กระบวนการผลิตมีองค์ประกอบไม่คงที่ เช่น มีสงิ่ เจือปนเปื้ อนปะปนมา ทาให้ต้อง
ค านวณปริม าณวัต ถุ ดิบ ที่ต้ อ งใช้ใ หม่ ต ามองค์ป ระกอบที่เ ปลี่ย นไป ส่ ง ผลต่ อ การควบคุ ม คุ ณ ภาพของ
ผลิตภัณฑ์ ในบางกรณีความบริสุทธิ ์ (Purity) ของวัตถุดบิ ต้องมีความบริสุทธิ ์สูงมากในแก้วบางประเภท เช่น
แก้วทีใ่ ช้งานเชิงแสงในเครือ่ งมือวิทยาศาสตร์หรืออุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกต่าง ๆ เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 17
รูป 2.1 กระบวนการผลิตกระจกแผ่น [ดัดแปลงจาก http://www.sneresearch.com/eng/info/
show.php?c_id=4889&pg=8&s_sort=&sub_cat=&s_type=&s_word=]

ขนาดอนุ ภาคของวัตถุดบิ ก็เป็ นสิง่ ที่สาคัญ อีกประการหนึ่งต่อกระบวนการหลอมแก้ว กล่าวคือ หาก


ขนาดอนุ ภาคของวัตถุดบิ มีขนาดเล็ก การเกิดปฏิกริ ยิ าทัง้ ทางเคมีและทางกายภาพที่เกิดขึน้ ในระหว่างการ
หลอมจะเกิดได้ดขี น้ึ หรือเร็วขึน้ ซึง่ จะได้กล่าวโดยละเอียดต่อไป ดังนัน้ ขนาดของวัตถุดบิ จะต้องเหมาะสมและ
ถูกควบคุมขนาด โดยเฉพาะอย่างยิง่ ขนาดของส่วนประกอบทีห่ ลอมยาก (มีความทนไฟสูง) เช่น ทราย (SiO2)
และ อะลูมนิ า (Al2O3) เป็ นต้น โดยทัวไปแล้
่ วทัง้ ความคงที่ ความบริสุทธิ ์ และ ขนาดอนุ ภาคของวัตถุดบิ จะถูก
ควบคุมจากบริษทั ผูผ้ ลิตวัตถุดบิ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมีการตรวจสอบเสมอว่าเป็ นไปตามทีโ่ รงงานต้องการ
หรือไม่ เพื่อป้ องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในกระบวนการผลิต ซึง่ จะส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์อกี ด้วย

ตัวอย่างของวัตถุดบิ ที่มกี ารใช้อย่างแพร่หลาย เช่น ทรายแก้ว (SiO2) จะต้องมีความบริสุทธิ ์สูง ใน


บางกรณีจะต้องทาให้ทรายมีความบริสุทธิ ์มากขึน้ โดยการล้าง เพื่อกาจัดสิง่ เจือปนต่าง ๆ เช่น แร่ดนิ (Clay
mineral) เป็ น ต้น ก่ อ นน าเข้า สู่เ ตาหลอมและคัด ขนาดอนุ ภ าคเพื่อ คัด แยกทรายที่ม ีข นาดใหญ่ เ กิน ออก
โดยทัวไปแล้
่ วขนาดทีเ่ หมาะสมของทรายคือ 0.1 – 0.6 มิลลิเมตร และทรายต้องมีสารให้สใี นปริมาณน้อยมาก
สารให้ส ีท่ีม กั ปนเปื้ อ นมากับ ทรายได้แ ก่ ส ารประกอบของธาตุ ท รานซิช ัน เช่ น เหล็ก ออกไซด์ (Fe2O3)
โครเมียมออกไซด์ (Cr2O3) และ ไทเทเนียมออกไซด์ (TiO2) เป็ นต้น แก้ว ที่ใ ช้งานเชิงแสงจะต้อ งมีเ หล็ก
ออกไซด์เป็ นองค์ประกอบน้อยกว่า 0.010 % ส่วนทรายทีใ่ ช้ในกระบวนการผลิตกระจกใสหรือภาชนะใสจะมี
เหล็กออกไซด์ได้ไม่เกิน 0.02 – 0.04 %

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 18
แคลเซีย มออกไซด์แ ละแมกนี เ ซีย มออกไซด์ซ่ึง ได้ม าจากวัต ถุ ดิบ หลัก คือ หิน ปูน (CaCO3) และ
โดโลไมท์ (Dolomite; CaMg(CO3)2) จะต้องผ่านการควบคุมปริมาณเหล็กออกไซด์และขนาดอนุ ภาคเช่นกัน
โดยขนาดทีเ่ หมาะสมใช้ในการผลิตกระจกและภาชนะหรือบรรจุภณ ั ฑ์จากแก้ว คือ 0.1 – 0.6 มิลลิเมตร และ
1 – 3 มิลลิเมตร ตามลาดับ

โซดาแอช (Soda ash; Na2CO3) เป็ นวัตถุดบิ หนึ่งทีใ่ ห้ Na2O ในแก้ว ซึง่ ขนาดเฉลีย่ ของโซดาแอชจะ
มีขนาดหยาบได้ โดยมีขนาดอยู่ในช่วง 0.1 – 1 มิลลิเมตร นอกเหนือจากโซดาแอชแล้วยังมีแร่เฟลด์สปาร์
แร่โฟโนไลต์ (Phonolite) ที่เติมลงไปเพื่อให้องค์ประกอบของ Na2O ในแก้ว อย่างไรก็ตามวัตถุดบิ สองชนิด
ดังกล่าวจะแตกตัวให้สารประกอบออกไซด์อ่นื ๆ ด้วย เช่น แร่เฟลด์สปาร์ (Na2OAl2O36SiO2) จะสลายตัว
ให้ Na2O, Al2O3 และ SiO2 หากใช้แร่เหล่านี้จะส่งผลทาให้ปริมาณของ Al2O3 สูงขึน้ อีกทัง้ แร่เหล่านี้มปี ริมาณ
เหล็กออกไซด์สูงอีกด้วย อาจมีการใช้โซเดียมซัลเฟต (Na2SO4) โซเดียมไนเตรต (NaNO3) และ โซดาไฟ
(NaOH) ในบางอุตสาหกรรม เพื่อปรับสมบัติของน้ าแก้วหลอม แต่มขี ้อควรระวังคืออาจเกิดผลกระทบต่อ
สิง่ แวดล้อมได้ เช่น เกิดก๊าซเรื่อนกระจก หรือ อาจทาให้แก้วมีปริมาณหมู่ไฮดรอกซิล (OH–) สูง จึงไม่ควรใช้
สารเหล่านี้ในปริมาณทีส่ งู เกินไป

แร่โพแทช (Potash; K2CO3) ไฮเดรตโพแทช (Hydrated potash หรือ pearl ash; K2CO31.5H2O)
เป็ นวัตถุดบิ ที่ให้โพแทสเซียมออกไซด์ (K2O) ในแก้ว จากปฏิกิรยิ าการสลายตัวด้ว ยความร้อ น (Thermal
decomposition หรือ calcination) อย่างไรก็ตาม K2O ที่ได้จากการแตกตัวนัน้ สามารถทาปฏิกริ ยิ ากับน้ าได้
ง่าย (Hygroscopic) ซึง่ ส่งผลต่อการชังน
่ ้ าหนักวัตถุดบิ และอาจทาให้เกิดปั ญหาในระหว่างการลาเลียงเข้าเตา
หรือเข้าถังพัก เช่น การเกาะเป็ นก้อนในระหว่างการผสม หรือทีเ่ รียกว่า Lumps

โบรอนออกไซด์ (B2O3) จะได้มาจากกรดบอริก (H3BO3) บอแรก (Na2B4O710H2O) หรือ โบรอน


ออกไซด์ (B2O3) หรือได้จากแร่ตามธรรมชาติ เช่น ดาโตไลท์ (Datolite; 2CaOB2O32SiO2H2O) แดนบูไรท์
(Danburite; CaOB2O32SiO2) และ โคลีมาไนท์ (Colemanite; 2CaO3B2O35H2O) เป็ นต้น

วัตถุดบิ อื่น ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมแก้ว เช่น วัตถุดบิ ที่ให้แ บเรียมออกไซด์ (BaO) ได้แก่ แบเรียม
คาร์บ อเนต (BaCO3) และแบเรีย มซัล เฟต (BaSO4) ซึ่ง ใช้ ใ นปริม าณเล็ก น้ อ ย หรือ แบเรีย มไนเตรต
(Ba(NO3)2) ทีใ่ ช้ในแก้วเชิงแสง วัตถุดบิ กลุ่มทีใ่ ห้ตะกัวออกไซด์
่ (PbO) ได้แก่ ตะกัวแดง
่ (Red lead; Pb3O4)
ตะกัวออกไซด์
่ (PbO) รวมไปถึงตะกัวซิ
่ ลเิ กต เช่น PbO0.33SiO2 หรือ PbO0.67SiO2 ทีม่ ขี อ้ ดีกว่าคือ PbO
จะระเหยได้น้อยกว่าวัตถุดบิ สองชนิดแรก และวัตถุดบิ กลุ่มทีใ่ ห้อะลูมนิ า (Al2O3) อาจใช้อะลูมนิ าเติมลงไปเป็ น
ส่วนผสมโดยตรง แต่กม็ ขี อ้ เสีย คือ อะลูมนิ าเป็ นวัตถุดบิ ทีห่ ลอมได้ยากมาก จึงอาจจะจาเป็ นต้องเลีย่ งไปใช้แร่
ต่ าง ๆ ที่มอี ะลูมนิ าเป็ นองค์ประกอบ หรือ สารประกอบอื่น ๆ แทน เช่น เฟลด์ส ปาร์ แร่เ กาลิน (Kaolin;
Al2O32SiO22H2O) หรือ โฟโนไลท์ เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 19
วัตถุดบิ ต่าง ๆ ทีผ่ ่านการตรวจสอบคุณภาพจะถูกกักเก็บในถังเก็บขนาดใหญ่หรือไซโล (Silo) เพื่อรอ
การนาไปใช้ในกระบวนการผลิต ตามสัดส่วนที่ได้คานวณไว้ จากที่กล่าวมาข้างต้นวัตถุดบิ แต่ละชนิดอาจให้
ออกไซด์ได้หลายชนิด ดังนัน้ ในการคานวณจะต้องคานึงถึงองค์ประกอบทางเคมีหรือผลวิเคราะห์องค์ประกอบ
ทางเคมีของวัตถุดบิ แต่ละชนิด ความชืน้ ทีว่ ตั ถุดบิ มีอยู่ และปริมาณการสูญเสียของสารระเหยได้จากวัตถุดบิ
(Volatilisation loss) เป็ นต้น จากนัน้ วัตถุดบิ จะถูกชังน
่ ้ าหนักตามปริมาณทีต่ ้องการ และลาเลียงไปสู่ขนั ้ ตอน
การผสมเพื่อให้วตั ถุดบิ ผสมเป็ นเนื้อเดียวกันและกระจายตัวดีทส่ี ุด ในขัน้ ตอนการลาเลียงวัตถุดบิ ทีผ่ สมเข้ากัน
ดีแล้วสู่เตาหลอมก็ควรคานึงถึงปั จจัยหลายประการ เช่ น แรงสันสะเทื ่ อนของเครื่องจักรอาจทาให้เกิดการฟุ้ง
กระจายของวัต ถุ ดิบ ที่ม ีข นาดเล็ก มาก แรงสัน่ สะเทือ นอาจท าให้ว ัต ถุ ดิบ เกิด การแยกชัน้ หรือ แยกส่ ว น
(Segregation) เนื่องจากความหนาแน่ นของวัตถุดบิ แต่ละชนิดไม่เท่ากัน ซึ่งอาจแก้ปัญหานี้โดยการพ่นน้ า
เล็กน้อย (ประมาณ 3 – 4 %) ในระหว่างการลาเลียงเข้าสู่เตาหลอม

2.2 ขัน้ ตอนการหลอมแก้ว (Melting process)

ขัน้ ตอนการหลอมแก้วจะประกอบไปด้วยขัน้ ตอนย่อย 3 ขัน้ ตอน คือการหลอมแก้ว (Melting) การ


กาจัดฟองก๊าซ (Fining) และการทาให้ส่วนผสมเข้ากันเป็ นเนื้อเดียว (Homogenisation) ขัน้ ตอนการหลอม
แก้วจะเป็ นขัน้ ตอนทีใ่ ช้พลังงานสูงทีส่ ุดในกระบวนการผลิตแก้ว เนื่องจากต้องทาให้เตาหลอมมีอุณหภูมสิ ูงอยู่
ตลอดเวลาโดยอุณหภูมจิ ะแตกต่างกันขึน้ อยูก่ บั ชนิดและองค์ประกอบของแก้ว

การหลอมแก้วเป็ นขัน้ ตอนการเปลีย่ นแปลงวัตถุดบิ ต่าง ๆ ทีใ่ ช้ ซึง่ จะอยู่ในลักษณะของผลึกของแข็ง


(ยกเว้น Cullet ทีเ่ ป็ นแก้วอยู่แก้ว) ให้อยู่ในรูปของของเหลวหลอม (Molten liquid) ผ่านปฏิกริ ยิ าทางเคมีต่าง
ๆ ระหว่างวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ การพิจารณาอุณหภูมทิ ใ่ี ช้หลอมแก้ว โดยทฤษฎีแล้วสามารถพิจารณาจากแผนภาพ
วัฏภาค (Phase diagram) ของสารประกอบออกไซด์หลักทีเ่ ป็ นส่วนประกอบ ว่าจะเปลีย่ นสภาพเป็ นของเหลว
ที่อุณหภูมใิ ด โดยเป็ นอุณหภูมทิ ่สี ูงกว่าอุณ หภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ นของเหลว (Liquidus temperature) หรือใน
กรณีทส่ี ่วนผสมอยูต่ รงตาแหน่งขององค์ประกอบยูเทคติค (Eutectic) ของเหลวจะเกิดสมบูรณ์ทอ่ี ุณหภูมเิ หนือ
อุณหภูมยิ เู ทคติค (Eutectic temperature) อย่างไรก็ตามของเหลวทีห่ ลอมได้อาจมีความหนืดไม่เหมาะสมกับ
กระบวนการผลิต เนื่องจากของเหลว ณ อุณหภูม ิดงั กล่าวจะมีความหนืดสูงมาก ทาให้ในกระบวนการผลิต
จาเป็ นต้องเพิม่ อุณหภูมใิ ห้สูงขึน้ เพื่อลดความหนืดของแก้วลงให้เหมาะสมกับขัน้ ตอนการขึน้ รูป ดังตัวอย่าง
ของแก้วที่มอี งค์ประกอบ 15%Na2O 7.9%CaO 2.1%Al2O3 และ 74.5% SiO2 (% โดยน้ าหนัก) จะมีค วาม
หนื ด ประมาณ 104.5 พอยส์ (Poises) ณ อุ ณ หภู ม ิท่ีก ลายเป็ นของเหลว (Liquidus temperature) ตาม
แผนภาพวัฏภาค คือที่ 1004 เซลเซียส โดยความหนืดจะลดลงเหลือ 103 พอยส์ ทีอ่ ุณหภูม ิ 1204 เซลเซียส
(หรือทีอ่ ุณหภูมสิ งู ขึน้ 200 เซลเซียส) และจะลดลงเหลือ 102 พอยส์ ทีอ่ ุณหภูม ิ 1485 เซลเซียส (ความหนืดที่
น้ าแก้วจะออกจากเตาหลอมสู่กระบวนการขึน้ รูปจะอยู่ทป่ี ระมาณ 103 พอยส์) โดยปกติแล้วบริเวณทีเ่ กิดการ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 20
หลอม (Melting bath) จะมีอุ ณ หภูมสิ ูงเพื่อ ให้ได้น้ าแก้ว ที่มคี วามหนืดประมาณ 102 พอยส์ จากนัน้ จะลด
อุณหภูมลิ งในขัน้ ตอนของการลดฟองก๊าซ และ ขัน้ ตอนการทาให้เป็ นเนื้อเดียวกัน เพื่ อให้ความหนืดอยู่ท่ี
ประมาณ 103 พอยส์ เพื่อให้มคี วามเหมาะสมกับกระบวนการขึน้ รูป

ก๊าซทีเ่ กิดในระหว่างกระบวนการหลอมวัตถุดบิ ต่าง ๆ เกิดจากการเปลีย่ นแปลงของวัตถุดบิ เมือ่ ได้รบั


ความร้อน เช่น การระเหย หรือ การสลายตัว ด้วยความร้อน เป็ นต้น โดยก๊าซต่าง ๆ ทีพ่ บ ได้แก่ ออกซิเจน
(O2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไอน้ า (H2O) ก๊าซไนโตรเจน (N2) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็ น
ต้น เมื่อการหลอมวัตถุดบิ สมบูรณ์ น้ าแก้วจะต้องถูกกาจัดฟองก๊าซออก ทัง้ ด้วยวิธกี ารทางเคมี โดยการเติม
สารบางประเภทลงไป และวิธกี ารทางกายภาพอื่น ๆ ซึง่ จะได้กล่าวถึงต่อไป

แก้วทีเ่ ป็ นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous) ทาให้สมบัตทิ างเคมีและสมบัตทิ างกายภาพของแก้วมีความ


สม่าเสมอทัวทั
่ ง้ ผลิตภัณฑ์ ซึง่ การทาให้แก้วเป็ นเนื้อเดียวกันนัน้ จะต้องทาในระหว่างการหลอม เช่น การพ่น
ฟองก๊ าซจากก้นเตาหลอม ซึ่งเปรียบเสมือ นการกวนถังหลอมท าให้เ กิดการผสมดีข้นึ รวมไปถึงวิธ ีก าร
ออกแบบเตาให้เ กิดการไหลวนของน้ าแก้ว ทาให้เ กิดการผสมเข้ากัน เช่นการสร้างกาแพงเพื่อ บังคับทิศ
ทางการไหลของน้าแก้ว เป็ นต้น

2.3 ขัน้ ตอนการขึ้นรูป (Forming process)

ขัน้ ตอนการขึน้ รูป จะขึ้นอยู่กบั ชนิดและลักษณะของผลิตภัณฑ์ โดยวิธกี ารขึน้ รูปมีอยู่หลายวิธ ี เช่น


การกดอัด (Pressing) การเป่ า (Blowing) การผสมระหว่างการอัดและการเป่ า การหล่อแบบ (Casting) การ
รีด (Rolling) และการดึง (Drawing) เป็ นต้น สมบัตขิ องแก้วหรือน้าแก้วทีเ่ กีย่ วข้องกับขัน้ ตอนการขึน้ รูป ได้แก่
ความยืด หยุ่ น (Elasticity) ความหนื ด (Viscosity) และ ระยะเวลาที่ใ ช้ ใ นการปลดปล่ อ ยความเครีย ด
(Relaxation time) เป็ นต้น ในกระบวนการขึน้ รูปเนื้อแก้วจะได้รบั แรงจากภายนอก เช่น แรงกดและแรงเป่ า
เป็ นต้น เมื่อกระบวนการขึ้นรูปเสร็จสมบูรณ์ หากแก้วไม่สามารถปลดปล่อ ยความเครียดได้ทนั แก้วจะมี
ความเครียดคงค้างสูงมาก แต่ทาให้แก้วแตกในระหว่างการขึน้ รูป โดยปั จจัยหนึ่งทีม่ ผี ลต่อการลดความเครียด
ของแก้วคือความหนืดของแก้ว ความหนืดที่เหมาะสมในแต่ล ะขัน้ ตอนของกระบวนการผลิต จะสรุปไว้ใ น
ตาราง 2.1 เห็นได้ว่าช่วงความหนืดทีเ่ หมาะสมกับการขึน้ รูป นัน้ กว้างมาก เช่น ในกรณีการขึน้ รูปแก้วเพื่อใช้
เป็ นภาชนะบรรจุดว้ ยเครือ่ งจักรอุตสาหกรรม ความหนืดทีเ่ หมาะสมจะอยูใ่ นช่วง 103 – 107 พอยส์ ความหนืด
จะมีความสัมพันธ์กบั อุณหภูม ิ ดังนัน้ เมื่อทราบช่วงความหนืดที่เหมาะสม ก็สามารถควบคุมได้โดยควบคุ ม
อุณหภูมใิ ห้เหมาะสม นอกเหนือจากนัน้ จะต้องคานึงถึงค่าการขยายตัวเพราะความร้อนของแก้ว (Coefficient
of thermal expansion, CTE) แรงตึงผิว (Surface tension) รวมไปถึงการถ่ายเทความร้อน (Heat transfer)
จากแก้วไปสู่แบบขึน้ รูปโลหะ (Metal mold) ซึง่ ส่งผลโดยตรงต่อการเกิดความเครียดในแก้ว หากการถ่ายเท

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 21
ความร้อนดีมาก แก้วจะเริม่ แตกทีผ่ วิ ก่อน เนื่องจากเกิดความแตกต่างของอุณหภูมทิ ผ่ี วิ แก้วและภายในเนื้อ
แก้ว หรือหากการถ่ายเทความร้อนไม่ดแี ก้วจะติดอยู่กบั แบบขึน้ รูปโลหะได้ เนื่องจากแก้วหดตัวช้าทาให้หลุด
ออกจากแบบพิมพ์โลหะได้ยาก อย่างไรก็ตามการควบคุมการถ่ายเทความร้อนของแก้วทาได้ยากมาก ดังนัน้
ความเสีย หายของผลิต ภัณ ฑ์แ ก้ว หรือ การแตกของแก้ว ในระหว่ า งการขึ้น รูป จึง เกิด ขึ้น บ่ อ ย ดัง นัน้ ใน
กระบวนการขึน้ รูปอาจมีการเก็บข้อมูลของอุณหภูมทิ เ่ี ปลีย่ นไปในแต่ละขัน้ ตอน อุณหภูมขิ องแก้วทีเ่ ปลี่ยนไป
ทีเ่ วลาต่าง ๆ และเวลาทีใ่ ช้ในการขึน้ รูป เพื่อนาไปสู่การคานวณทางคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างสมการทีส่ ามารถ
ใช้เป็ นแนวทางในการควบคุมขัน้ ตอนต่าง ๆ ในกระบวนการขึน้ รูป เพื่อลดปั ญหาทีเ่ กิดจากการถ่ายเทความ
ร้อนของแก้ว

ตาราง 2.1 ความหนืดทีเ่ หมาะสมของแต่ละช่วงในขัน้ ตอนการผลิตแก้ว [ดัดแปลงจาก C.L. Babcock (1977)]


กระบวนการผลิ ต ค่า log [ความหนื ด;พอยส์]*
ขัน้ ตอนการหลอม (Melting) 1.7 – 2.0
ขัน้ ตอนการทาให้ส่วนผสมเข้ากันเป็ นเนื้อเดียว (Homogenisation) 2.0 – 2.5
ขัน้ ตอนการขึน้ รูป และ กระบวนการหลังการขึน้ รูป 2.5 – 8.0
- จุดอ่อนตัว (Softening point) 7.6
ขัน้ ตอนการอบอ่อน 12.0 – 15.0
- การอบอ่อน (Annealing point) 13.0
- จุดความเครียดตา่ ** (Strain point) 14.5
* log[ความหนืดในหน่วยพอยส์ (poise)] = log[ความหนืดในหน่วยพาสคัลวินาที (PaS)]+1
10 พอยส์ หรือ 10 P = 1 PaS
** จุดความเครียดต่า (Strain point) คือ จุดทีส่ ามารถลดอุณหภูมแิ ก้วจนถึงอุณหภูมหิ อ้ งได้โดยไม่ตอ้ งควบคุม
อัตราการเย็นตัว

โดยสรุปแล้วขัน้ ตอนการขึ้นรูปแก้วจะขึ้นอยู่กบั สมบัตติ ่าง ๆ ของแก้วและน้ าแก้ว เช่น การถ่ายเท


ความร้อน (Heat transfer) โดยเฉพาะอย่างยิง่ ด้วยวิธ กี ารนาความร้อน (Conduction) และวิธกี ารแผ่ความ
ร้อน (Radiation) ความหนืดของแก้ว (Viscosity) ความตึงผิว (Surface tension) อุณหภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ น
ของเหลว (Liquidus temperature) ความร้ อ นจ าเพาะ (Specific heat) ความหนาแน่ น (Density) ซึ่ง มี
ความสัม พัน ธ์ก ับ ปริม าตรจ าเพาะ (Specific volume) และค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ น
(Coefficient of thermal expansion) เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 22
2.4 ขัน้ ตอนการอบอ่อน (Annealing process)

จากทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วว่าแก้วมีปริมาตรและเอนทาลปี สงู กว่าผลึก (รูป 1.2) อีกทัง้ การลดอุณหภูมอิ ย่าง


รวดเร็ว ในระหว่างการขึ้นรูปจะทาให้แ ก้ว มีค วามเครียด (Strain) คงค้างสูง เพื่อ เป็ นการลดความเครีย ด
ดังกล่าวจึงต้องนาแก้วทีข่ น้ึ รูปเสร็จสมบูรณ์ แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการอบอ่อน เพื่อลดความเครียดทีค่ งค้างใน
แก้วจากขัน้ ตอนการขึน้ รูปและเป็ นขัน้ ตอนทีท่ าให้โครงสร้างแก้วมีความเสถียร ความเสถียรของแก้วจะส่งผล
ทาให้สมบัตติ ่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์แก้วมีความคงทีท่ อ่ี ุณหภูมหิ อ้ ง

ความเครียดดังกล่าวอาจเกิดขึน้ มากในผลิตภัณฑ์ทม่ี คี วามหนา เมื่อแก้วเย็นตัวลงในระหว่างการขึน้


รูป ผิวภายนอกจะเย็นตัวเร็วกว่าเนื้อแก้ว ที่อ ยู่ด้านใน ทาให้ผวิ แก้วด้านนอกหดตัวเร็วกว่า ภายใน ซึ่งผิว
ภายนอกจะแข็ง ตัว (Rigid) ส่ ว นแก้ว ด้านในจะยังคงเคลื่อ นที่ได้เ นื่อ งจากยัง อยู่ใ นสถานะของเหลวหนื ด
(Viscous liquid) ดังนัน้ ผิวแก้วด้านนอกจะตกอยู่ภายใต้ความเค้นจากแรงกด (Compressive stress) ส่วนเนื้อ
แก้วด้านในทีห่ ดตัวช้ากว่าเนื่องจากสูญเสียความร้อนน้อยกว่า จะเสมือนว่าตกอยู่ภายใต้ความเค้นจากแรงดึง
(Tensile stress) ดังแสดงในรูป 2.2 ความเค้นดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเครียดคงค้างอยูใ่ นแก้วซึง่ ควรจะถูก
กาจัดหรือทาให้ลดลงเหลือไม่เกินค่าทีม่ าตรฐานกาหนดไว้ ด้วยการอบอ่อน (ความเครียดคงค้างในแก้วทีเ่ กิด
จากความหนาของแก้วจะพบน้อยมากในแก้วที่มคี วามบาง เช่นหลอดไฟ หรือ มีลกั ษณะเป็ นเส้นขนาดเล็ก
เช่นไฟเบอร์ เป็ นต้น

รูป 2.2 สภาวะทีแ่ ก้วเกิดความเค้น (Stress) ทีส่ ะสมอยู่ เนื่องจากผลของการหดตัวทีไ่ ม่เท่ากัน

ความเครียดคงค้างของแก้วจะตรวจสอบได้ด้ว ยการวัดสมบัติเ ชิงแสงของแก้ว เช่นการดูลกั ษณะ


ปรากฏของสีท่เี กิดการหักเหแสงโดยแก้ว หากพบความเครียดคงค้างสูง แก้วจะปรากฏเป็ นสีมากกว่า 1 สี
(ดังรูป 2.3) สิง่ นี้เรียกว่าการหักเหสองแนวหรือไบรีฟรินเจนท์ (Birefringent) หากแก้วมีความเครียดคงค้าง
น้อยหรือไม่ม ี แก้วก็จะปรากฏเป็ นสีเพียงสีเดียว ค่าไบรีฟรินเจนท์ (Birefringent) ที่ยอมรับได้ในผลิตภัณฑ์
แก้วจะมากหรือน้อยขึน้ อยู่กบั ชนิดของแก้ว เช่น หากเป็ นแก้วทีใ่ ช้งานเชิงแสง จะต้องมี Birefringent ไม่เกิน
5 มิลลิไมโครเมตรต่อเซนติเมตร หรือ มิลลิไมครอนต่อเซนติเมตร (m/cm) หรือในกรณีของแก้วที่มขี นาด

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 23
ใหญ่ทวไปก็
ั ่ ควรจะมีค่าไม่เกิน 50 – 100 มิลลิไมครอนต่อเซนติเมตร (ค่าไบรีฟรินเจนท์ประมาณ 30 มิลลิ
ไมครอนต่อเซนติเมตร จะเทียบเท่ากับความเค้น (Stress) ทีป่ ระมาณ 150 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือ 1 x 106
พาสคัล)

รูป 2.3 ลักษณะการปรากฏของแก้วภายใต้กล้องจุลทรรศน์แสงของ (ก) แก้วทีไ่ ม่มคี วามเครียดคงค้างซึง่ ไม่


ปรากฏลักษณะของการหักเหสองแนวหรือไบรีฟรินเจนท์ (Birefringent) (ข) และ (ค) ของแก้วทีม่ ี
ความเครียดคงค้างในปริมาณทีต่ ่างกัน [ทีม่ า ณ. เลาห์รอดพันธุ์ (2550)]

การควบคุมให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์แก้วอุตสาหกรรมให้คงทีแ่ ละเป็ นไปตามทีผ่ ซู้ อ้ื ต้องการนัน้ เป็ น


สิง่ ที่สาคัญมาก ดังนัน้ ระหว่างกระบวนการผลิตจะมีขนั ้ ตอนการควบคุมคุณภาพด้านต่าง ๆ เพิม่ เข้ามาใน
กระบวนการผลิต นอกเหนือจากนัน้ ผลิตภัณฑ์ท่พี ร้อมส่งขายยังถูกสุ่มขึน้ มาเพื่อตรวจสอบคุณภาพด้านต่าง
ๆ ก่อนออกจากโรงงานผลิตอีกด้วย โดยขัน้ ตอนนี้อาจใช้แรงงานคนในการตรวจสอบ เช่น การตรวจสอบด้วย
สายตาว่าแก้วมีฟองอากาศหรือสิง่ เจือปนหรือไม่ หรือการใช้เครือ่ งมืออัตโนมัติ เช่น ตรวจวัดขนาด รวมไปถึง
การใช้เครือ่ งมือขัน้ สูงเพื่อตรวจสอบความแข็งแรง องค์ประกอบทางเคมี และสี เป็ นต้น

คาถามท้ายบท

1. กระบวนการหลอมแก้วโดยทัว่ ๆ ไปประกอบไปด้วยกีข่ นั ้ ตอน อะไรบ้าง จงอธิบายการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิด


ขึน้ กับวัตถุดบิ แก้ว น้าแก้ว และแก้วในแต่ละขัน้ ตอน

2. ในขัน้ ตอนต่าง ๆ ของกระบวนการหลอมแก้วจะต้องคานึงถึงปั จจัยใดบ้างทีจ่ ะส่งผลกระทบต่อสมบัตแิ ละ


ลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์แก้ว

3. ความเครียดคงค้างในแก้วหรือความเค้นทีเ่ กิดขึน้ ในแก้วเกิดขึน้ ในกระบวนการใด มีสาเหตุมาจากอะไร


และจะลดความเครียดคงค้างหรือความเค้นทีเ่ กิดขึน้ ได้อย่างไร

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 24
บทที่ 3
เครื่องจักรในกระบวนการผลิ ตแก้ว
Machines in Glass Production Processes

“เครือ่ งจักรทีใ่ ช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก้ว มีความแตกต่างกันออกไปตามขนาดของโรงงาน


อุตสาหกรรมและตามชนิดของผลิตภัณฑ์ทผี ่ ลิต เนือ่ งจากแก้วแต่ละประเภท ล้วนแล้วแต่มกี ระบวนการขึ้น
รูปทีแ่ ตกต่างกัน เช่นขวดแก้ว กระจกแผ่นและแก้วเลนส์ เป็ นต้น ดังนัน้ การทาความเข้าใจถึง หลักการ
ท างานของเครือ่ งมือ และเครือ่ งจัก รในกระบวนการผลิต แก้ว เป็ น สิง่ ทีจ่ าเป็ น สาหรับ ผู้ป ฏิบ ัติง านใน
อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว โดยในบทนี้จะแสดงเครือ่ งมือและเครือ่ งจักรต่าง ๆ ตามขัน้ ตอนต่ าง ๆ ใน
กระบวนการผลิต ซึง่ ได้แก่ ขัน้ ตอนการเตรียมวัตถุ ดิบ ขัน้ ตอนการหลอมแก้ว ขัน้ ตอนการขึ้นรูป และ
ขัน้ ตอนการอบอ่อน”

3.1 ขัน้ ตอนการเตรียมวัตถุดิบและการผสมวัตถุดิบ (Preparing and mixing of raw materials)

วัตถุดบิ ทีใ่ ช้ในการผลิตแก้วจะผ่านขัน้ ตอนการคัดขนาดอนุ ภาค การชังน่ ้ าหนัก และการผสม ก่อนที่


วัตถุดบิ ที่ผสมกันอย่างดีจะถูกป้ อนเข้าสู่เตาหลอม โดยแสดงขัน้ ตอนการผลิตแบบต่อเนื่องในรูป 3.1 เมื่อ
วัต ถุ ดิบ จากผู้ข ายวัต ถุ ดิบ (Supplier) เข้า มาสู่ ก ระบวนการผลิต โดยทัว่ ไปแล้ว ควรทดสอบสมบัติแ ละ
ลัก ษณะเฉพาะต่ า ง ๆ ของวัต ถุ ดิบ เบื้อ งต้น ก่ อ น เช่ น องค์ป ระกอบทางเคมี และขนาดอนุ ภ าค เป็ น ต้น
หลังจากนัน้ วัตถุดบิ แต่ละประเภท รวมไปถึงแก้วรีไซเคิล ทีเ่ รียกว่า Cullet ก็จะถูกนาไปเก็บไว้ยงั ถังเก็บขนาด
ใหญ่ หรือ ไซโล (Silo) แยกตามชนิดของวัตถุดบิ จากนัน้ วัตถุดบิ แต่ละประเภท เช่น ทราย โซดาแอช หินปูน
เฟลด์สปาร์ จะถูกปล่อยลงบนสายพานลาเลียง (Belt conveyor) เพื่อเข้าสู่ถงั ผสม ซึ่งจะผสมวัตถุดบิ แต่ ละ
ชนิดให้เข้ากัน (Homogeneous) แล้วจึงส่งเข้าสู่กระบวนการหลอมแก้วต่อไป

3.2 ขัน้ ตอนการหลอมแก้ว (Melting Process)

เตาหลอมเป็ นเครื่องมือที่สาคัญมากอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิตแก้ว ซึ่งวัตถุดบิ ต่าง ๆ จะเปลี่ยน


สถานะจากของแข็งกลายเป็ นของเหลวในเตาหลอม ก่อนทีจ่ ะถูกส่งต่อไปในกระบวนการขึน้ รูปต่อไป สภาวะ
ในการหลอมแก้วเป็ นสภาวะทีร่ ุนแรง (Extreme condition) กล่าวคือ อุณหภูมสิ ูงมาก มีไอระเหยของก๊าซต่าง
ๆ และมีการกัดกร่อนสูง ดังนัน้ การประดิษฐ์เตาหลอมแก้วจะต้องคานึงถึงปั จจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ความร้อนที่
ให้แก่เตาหลอมนัน้ อาจมาจากหลายแหล่ง ขึน้ กับความสะดวก ราคา หรือปั จจัยอื่น ๆ ตามทีผ่ ปู้ ระกอบการได้
เลือกใช้ เช่น ความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง (ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซหุงต้ม น้ ามัน หรือถ่านหิน เป็ นต้น)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 25
และความร้อนจากไฟฟ้ าเตาทีใ่ ช้แหล่งเชือ้ เพลิงทีแ่ ตกต่างกันจะต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมที่จะทาให้ได้
น้าแก้วหลอมเหลวทีม่ คี วามเป็ นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous) มากทีส่ ุด ในโรงงานผลิตแก้วมักมีการนาความ
ร้อนทีเ่ กิดจากกระบวนการหลอมกลับมาใช้ใหม่แทนทีจ่ ะให้ความร้อนนัน้ ถ่ายเทไปสู่สงิ่ แวดล้อม ซึง่ ทาได้โดย
การดูดความร้อนโดยใช้พดั ลมดูดอากาศดูด เอาความร้อนทีจ่ ะสูญเสียสู่สงิ่ แวดล้อมกลับมาให้กบั วัตถุดบิ เพื่อ
ทาให้วตั ถุดบิ มีอุณหภูมสิ ูงขึน้ ก่อนเข้าสู่เตาหลอม ทาให้สามารถลดพลังงานทีจ่ ะใช้ในการหลอมแก้วได้ อีกทัง้
จะทาให้ความชืน้ ทีม่ อี ยูใ่ นวัตถุดบิ บางประเภทระเหยออกไปก่อนทีว่ ตั ถุดบิ จะเข้าสู่เตาหลอม เตาหลอมแก้วใน
กระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรม สามารถแบ่งประเภทได้ 4 กลุ่ม ได้แก่

1. เตาหลอมแบบหม้ อ (Pot furnace) (รูป 3.2 และ 3.3) ปริม าณการผลิต แก้ ว จากเตาชนิ ด นี้
ค่อนข้างน้ อยและมักใช้ในการหลอมแก้วชนิดพิเศษที่มฐี านการผลิตไม่มากหรือไม่บ่อย เช่นอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก หรือ อุ ต สาหกรรมในครัว เรือ น ซึ่ง เหมาะกับ กระบวนการผลิต ที่ม ีข นั ้ ตอนที่ไ ม่ต่ อ เนื่ อ ง หรือ
กระบวนการแบบชุด (Batch process) เตาประเภทนี้มปี ระสิทธิภาพในการหลอมต่ า โดยน้ าแก้วจะถูกหลอม
ในหม้อทีท่ าจากเซรามิก ภายในเตาหลอมประเภทนี้จงึ มักจะประกอบไปด้วยถ้วยหลอมหลาย ๆ ใบ เข้าหลอม
พร้อม ๆ กัน เตาประเภทนี้จะทาให้น้ าแก้วหลอมเป็ นเนื้อเดียวกันทาได้ค่อนข้างยาก ซึง่ อาจจะต้องใช้การคน
หรือการพ่นอากาศผ่านท่อเหล็กสู่น้าแก้วหลอมโดยตรงขณะทีแ่ ก้วเป็ นของเหลวสมบูรณ์

รูป 3.1 ขัน้ ตอนต่าง ๆ ในกระบวนการเตรียมวัตถุดบิ [ดัดแปลงจาก http://de.verallia.com/en/about-


glass/glass-production]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 26
2. ตาหลอมแบบถัง (Day tank furnace) เป็ นเตาที่เ หมาะกับกระบวนการผลิต แบบไม่ต่ อ เนื่ อ ง
เช่นกัน โครงสร้างของเตาและลักษณะของเตามีความแตกต่ างจากเตาหลอมแบบหม้อ (Pot furnace) ขนาด
ของเตา รูปร่างของเตา และวิธกี ารให้ความร้อนของเตาหลอมแบบถังจะมีความแตกต่างกันมากมายขึน้ อยู่กบั
ผูอ้ อกแบบและชนิดของการผลิต เป็ นต้น

รูป 3.2 เตาหลอมแบบหม้อ (Pot furnace) แสดงให้เห็นช่องเปิ ด (ลูกศรชี)้ ทีส่ ามารถนาน้ าแก้วหลอมออกมา
ขึน้ รูปด้วยวิธตี ่าง ๆ แบบไม่ต่อเนื่องได้ [ดัดแปลงจาก http://www.cosmile.org/glass.htm]

รูป 3.3 โครงสร้างภายในของเตาหลอมแก้วแบบหม้อ (Pot furnace) ขนาดเล็ก


[ทีม่ า http://www.glassnotes.com/notes.html]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 27
3. เตาหลอมแบบถังต่ อเนื่ อง (Continuous tank furnaces) เตาประเภทนี้เหมาะกับอุตสาหกรรม
ขนาดใหญ่ และมีการผลิตอยู่ตลอด 24 ชัวโมง ่ เช่นในอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร และการ
ผลิตขวดแก้ว เป็ นต้น ซึง่ มักจะใช้ร่วมกับเครื่องขึน้ รูปชนิดอัตโนมัติ พิจารณาแบบของเตาหลอมแบบต่อเนื่อง
ดังรูป 3.4 โดยการหลอมจะใช้พลังงานจากก๊าซทาให้เกิดความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง โดยบริเวณที่
เกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิงจะอยู่เหนือส่วนผสมวัตถุดบิ (ดังแสดงในรูป 3.5) การหลอมจะอยู่ส่วนต้นของเตา
หลอม เมื่อเกิดการหลอมสมบูรณ์ น้ าแก้วที่หลอมสมบูรณ์จะถูกดึงออกที่ปลายทางของเตาหลอม รูป 3.4
แสดงช่องทางออกทัง้ หมด 9 ช่องทางออกใช้สาหรับ 9 สายการผลิต เตาหลอมประเภทนี้ส่วนผสมจะถูกป้ อน
อย่างต่อเนื่อง และน้าแก้วทีห่ ลอมสมบูรณ์กจ็ ะถูกใช้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซึง่ บริเวณทีน่ ้าแก้วถูกดึงออกไป
ใช้นัน้ จะมีอุณหภูมติ ่ ากว่าบริเวณหลอมเล็กน้อย เพื่อให้น้ าแก้วมีความหนืดเหมาะสมกับการขึ้นรูป การลด
อุณหภูม ิ อาจทาโดยการสร้างกาแพงกัน้ เหนือบริเวณน้าแก้วระหว่างห้องหลอม (บริ เวณ ข) กับช่องดึงน้าแก้ว
(บริ เวณ ค) เพื่อให้ความร้อนไม่แผ่ไปยังบริ เวณ ค อีกทัง้ จะทาให้ความร้อนบริเวณห้องหลอมเกิดการสูญเสีย
ความร้อนน้อย โดยการออกแบบเตาเพื่อให้ความร้อนจากการเผาไหม้เชือ้ เพลิงเป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพนัน้
ขึน้ อยูก่ บั ผูอ้ อกแบบ เชือ้ เพลิงทีใ่ ช้ จานวนสายการผลิตและเครื่องมือทีใ่ ช้ขน้ึ รูป เป็ นต้น เตาประเภทนี้มกี าลัง
การผลิตสูงมาก (อยู่ในช่วง 50 – 300 ตันต่อวัน) หากเป็ นสายการผลิตกระจก (แก้วแผ่น) จะมีกาลังการผลิต
สูงขึน้ ได้ถงึ 700 ตันต่อวัน

รูป 3.4 แบบของเตาหลอมแก้ว (มุมสูง : Top view) แสดงบริเวณป้ อนวัตถุดบิ (บริ เวณ ก) บริเวณทีเ่ กิดการ
หลอมกลายเป็ นของเหลวหรือห้องหลอมซึง่ เป็ นบริเวณทีม่ อี ุณหภูมสิ งู ทีส่ ุด (บริ เวณ ข) และบริเวณน้าแก้วถูก
ดึงออกไปสู่ขนั ้ ตอนการขึน้ รูป (บริ เวณ ค) [ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 28
รูป 3.5 ลักษณะการให้ความร้อนเหนือวัตถุดบิ และน้าแก้ว โดยการใช้หวั พ่นไฟ (Burner)
[ทีม่ า http://www.glassonweb.com/articles/article/854]

4. เตาไฟฟ้ า (Electric furnace) เตาทัง้ สามชนิดดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วข้างต้นจะมีประสิทธิภาพการใช้


ความร้อนทีต่ ่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิง่ เตาแบบ Pot furnace หรือในกรณีของเตาแบบ Tank furnace พบว่ามี
ประสิทธิภาพอยู่ประมาณร้อยละ 20 – 35 โดยความร้อนที่เหลือจะสูญเสียไปสู่สภาพแวดล้อม เช่น อุปกรณ์
ภายในเตา ผนังเตาและบรรยากาศ เป็ นต้น การใช้แหล่งให้ความร้อนจากไฟฟ้ าทาให้ประสิทธิภาพการใช้
พลังงานสูงขึน้ โดยอุปกรณ์ทใ่ี ห้ความร้อน เช่น แท่งให้ความร้อน (Heating electrode หรือ Heating Booster)
ซึง่ จะให้ความร้อนโดยตรงกับวัตถุดบิ การใช้แท่งให้ความร้อนร่วมกับการให้ความร้อนเหนือวัตถุดบิ (ดังทีใ่ ช้
อยู่ในเตา 3 ประเภทที่ได้กล่าวมาแล้ว) จะทาให้ประสิทธิภาพการเพิม่ อุณหภูมแิ ก่ วตั ถุดบิ สูงขึ้น โดยจะมี
อุณหภูมสิ งู ขึน้ เร็วกกว่าการให้ความร้อนเหนือวัตถุดบิ เพียงอย่างเดียว นอกเหนือจากการใช้แท่งให้ความร้อน
เสริมกับการใช้พลังงานประเภทอื่นแล้ว ยัง มีการพัฒนาเตาเผาทีใ่ ห้ความร้อนด้วยพลังงานไฟฟ้ าเพียงแหล่ง
เดียว (รูป 3.6) โดยให้ความร้อนจากแผ่นให้ความร้อนที่ทาจากโมลิบดีนัม (Molybdenum plate electrode)
จากรูปจะแสดงให้เห็นส่วนที่วตั ถุดบิ ถูกป้ อนและได้รบั ความร้อนจากแผ่นให้ความร้อน (หมายเลข 5) โดย
วัต ถุ ดิบ จะถู ก ป้ อ นเหนื อ บริเ วณที่ไ ด้ร บั ความร้อ น ซึ่ง จะช่ ว ยป้ อ งกัน ไม่ ใ ห้ เ ตาหลอมสูญ เสีย ความร้อ น
สู่บรรยากาศมากเกิน และยังช่วยป้ องกันการระเหยของน้ าแก้ว ที่หลอมเหลวแล้ว อีกด้วย จากนัน้ น้ าแก้วที่
หลอมสมบูรณ์จะไหลไปตามช่อง (หมายเลข 2) ไปยังช่องที่น้ าแก้วจะถูกนาไปขึ้นรูป หรือ ห้องที่น้ าแก้ว
พร้อมใช้งาน (Working chamber) (หมายเลข 3, 4)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 29
รูป 3.6 เตาหลอมแก้วซึง่ ให้ความร้อนด้วยแผ่นให้ความร้อน โดย หมายเลข 1 คือ บริเวณทีห่ ลอมวัตถุดบิ
ทัง้ หมด หมายเลข 2 คือ ช่องทีใ่ ห้น้าแก้วทีห่ ลอมเป็ นของเหลวไหลไปสู่บริเวณทีพ่ ร้อมใช้งาน หรือ
Working zone (หมายเลข 3 และ 4) และหมายเลข 5 คือ แผ่นให้ความร้อนชนิดโมลิบดีนัม
[ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

นอกเหนือจากเตาชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพของการใช้พลังงานสูง แล้ว (ประมาณ 60 – 80 %) ยังมีขอ้ ดีอ่นื ๆ


ของเตาทีใ่ ห้ความร้อนด้วยไฟฟ้ าอีก ได้แก่

1. เนื่องจากการออกแบบเตาที่ช่วยให้อตั ราการระเหยของน้ าแก้วต่ า ทาให้การระเหยของสารที่มคี วามเป็ น


พิษในน้าแก้วลดลง โดยสารพิษทีม่ กั พบในอุตสาหกรรมแก้ว ได้แก่ ฟลูออรีน และ ตะกัว่ เป็ นต้น

2. ควบคุมอุณหภูมไิ ด้งา่ ย เนื่องจากแหล่งให้ความร้อนคือแท่งให้ความร้อน หรือแผ่นให้ความร้อน ซึง่ สามารถ


ควบคุมอุณหภูมจิ ากการควบคุมปริมาณกระแสไฟทีจ่ ่ายให้กบั แหล่งให้ความร้อน ในกรณีของการใช้เชือ้ เพลิง
ฟอสซิล (ก๊าซธรรมชาติหรือน้ ามัน) จะต้องควบคุมปั จจัยหลายอย่างเพื่อให้ได้อุณหภูมติ ามต้องการเพื่อให้เกิด
การเผาไหม้ทเ่ี หมาะสมและให้ได้ความร้อนตามต้องการ เช่น อัตราส่วนเชือ้ เพลิงต่ออากาศ ช่องว่าภายในเตา
หลอมเหนือวัตถุดบิ และความดันภายในเตา เป็ นต้น หากอุณหภูมกิ ารหลอมไม่สูงเพียงพอจะทาให้การหลอม
ไม่สมบูรณ์ และจะส่งผลต่อกระบวนการผลิตขัน้ ตอนอื่น ๆ และส่งผลให้เกิดตาหนิในแก้วได้

อย่างไรก็ต ามเตาประเภทนี้ อ าจเกิดปั ญ หาในบางกรณี เช่น การปนเปื้ อ นของโมลิบดีนัม ในแก้ว


เนื่องจากน้ าแก้วหลอมจะสัมผัสกับแผ่นหรือแท่งให้ความร้อนโดยตรง ซึง่ อาจเกิดปฏิกริ ยิ าระหว่างโมลิบดีนัม

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 30
กับแก้วได้ โดยมีแนวทางในการแก้ไขปั ญหาโดยการใช้แหล่งให้ความร้อนทีท่ าจากวัสดุชนิดออกไซด์ของดีบุก
(SnO2) แทน

ในการออกแบบเตาหลอมแก้ว นอกเหนือจากข้อมูลที่ได้กล่า วไปข้างต้นแล้ว สิง่ หนึ่งที่สาคัญในการ


สร้างเตาหลอมคือวัสดุทนไฟ (Refractory) ที่ใช้ก่อสร้างเตาหลอม วัสดุดงั กล่าวจะสัมผัสโดยตรงกับน้ าแก้ว
หลอม ในสภาวะการหลอมทีร่ ุนแรงดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว ทาให้ การเกิดปฏิกริ ยิ าระหว่างน้ าแก้วหลอมกับวัสดุ
ทนไฟง่ายขึน้ ดังนัน้ วัสดุทนไฟดังกล่าวจะต้องมีคุณภาพทีส่ ูงมากกว่าวัสดุทใ่ี ช้ทาเตาเผาอุณหภูมสิ ูงทัวไป
่ ใน
การหลอมแก้วเมื่อเริม่ หลอมแล้วจะต้องผลิตต่อเนื่องเป็ นเวลานานมาก เช่นในกรณีของโรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดใหญ่ จะใช้งานเตาหลอมอย่างต่อเนื่องเป็ นเวลานานประมาณ 2 – 7 ปี โดยหลอมตลอด 24 ชัวโมง ่
จากนัน้ เมือ่ เกิดความเสียหายของเตาจึงซ่อมแซมเตาหลอม ซึง่ อาจจาเป็ นต้องมีการเปลีย่ นวัสดุทนไฟ โดยใน
การซ่อมแซมเตาหลอมจะต้องหยุดกระบวนการผลิตทุกขัน้ ตอน ซึ่งทาให้เกิดความยุ่งยากและมีค่าใช้จ่าย
ค่อนข้างสูง มีรายงานว่าวัสดุทนไฟจะละลายปนเข้าไปในแก้วประมาณ 5 – 15 กิโลกรัมต่อการหลอมแก้ว
1 ตัน

3.3 ขัน้ ตอนการขึ้นรูป (Forming Process)

เมื่อวัตถุดบิ ต่าง ๆ ถูกเปลีย่ นเป็ นน้ าแก้วทีม่ คี วามเป็ นเนื้อเดียวกันและมีความหนืดเหมาะสม น้ าแก้ว


จะได้รบั แรงกระทาต่าง ๆ เช่น แรงจากการกดอัด (Pressing) จากการเป่ า (Blowing) จากการรีด (Rolling)
และจากการดึง (Drawing) เพื่อขึน้ รูปเป็ นรูปทรงต่าง ๆ เช่น

3.3.1 การผลิ ตภาชนะกลวงที่มีรปู ร่างต่ าง ๆ

ในการผลิตภาชนะที่มรี ูปทรงต่ าง ๆ เช่น ขวด แก้ว และเหยือก ในการผลิต นัน้ มักใช้วธิ กี ารกดหรือ
การเป่ า ซึง่ จะเริม่ จากการหยดน้ าแก้วหนืดลงในแบบพิมพ์ โดยในการหยดจะต้องมีปริมาณของน้ าแก้วเท่า ๆ
กันในแต่ละครัง้ ของการหยด ซึง่ ควบคุมจากเครือ่ งมืออัตโนมัติ ทีเ่ รียกว่าเครือ่ งป้ อนน้ าแก้ว หรือ Gob feeder
ซึ่งก้อนน้ าแก้วหนืดที่ถูกทาให้เป็ นก้อนเพื่อเข้าเครื่องขึน้ รูปจะเรียกว่าก้อนแก้ว (Gob) อีกวิธหี นึ่งที่สามารถ
ป้ อ น ก้อ นแก้ว ลงในแบบพิมพ์นัน้ ทาได้โดยการใช้เ ครื่อ งดูด (Suction machine) แต่ เ ป็ นที่นิยมน้ อ ยมาก
หลักการทางานของเครื่องป้ อนน้ าแก้ว (Gob feeder) (รูป 3.7 ก และ ข) ณ บริเวณฟอร์ฮาร์ท (Forehearth)
(รูป 3.7 ค) หรือบริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างเตาเผากับเครื่องขึน้ รูป เป็ นบริเวณที่น้ าแก้วจะลดอุณหภูมลิ งจน
แก้วมีความหนืดเหมาะสม ตรงบริเวณส่วนปลายของฟอร์ฮาร์ท (Forehearth) นี้เองจะมีเครือ่ งป้ อนน้ าแก้วติด
ตัง้ อยู่ ซึง่ จะมีหวั กด (Plunger) คอยกดน้ าแก้วให้หยดลงมาด้านล่าง จากนัน้ จะมีใบมีด (Blade) ตัดน้ าแก้วให้
หล่นลงไปในแบบพิมพ์โลหะทีอ่ ยู่ดา้ นล่าง จากนัน้ เครื่องขึน้ รูป จึงทางานต่อไป ซึง่ ใช้ลกั ษณะการขึน้ รูปหลาย
แบบ ได้แก่

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 31
รูป 3.7 (ก) หลักการทางานของเครือ่ งป้ อนน้ าแก้ว (Gob feeder) [ทีม่ า J. Hlavac (1983)]
(ข) แบบจาลองสามมิตขิ องเครือ่ งป้ อนน้ าแก้ว (Gob feeder) [ทีม่ า http://www.parkinson-
spencer.co.uk/SpecialParts.html] และ (ค) ส่วนของฟอร์ฮาร์ท (Forehearth)
[ทีม่ าhttp://www.cgeglass.com.cn/cge/en]

เครื่องขึ้นรูปที่ ทางานด้วยการกด (Pressing) ก้อนแก้ว (Gob) จะถูกกดให้แนบชิดกับแบบพิมพ์


ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ แบบพิมพ์ด้านล่าง แท่งกด (Plunger) และวงแหวน (Ring) ซึ่งวงแหวนจะทาให้
แก้วไม่ไหลออกมาภายนอกแบบพิมพ์ และสามารถควบคุมความหนาและขอบของผลิตภัณฑ์อกี ด้วย โดย
ขัน้ ตอนต่ าง ๆ แสดงดัง รูป 3.8 ภาชนะที่ส ามารถขึ้นรูปด้ว ยวิธ ีน้ี จ ะต้อ งเป็ น ภาชนะที่ม ีรูปร่างภายในไม่
ซับซ้อน เมือ่ แก้วแข็งตัว (Settling) เครือ่ งขึน้ รูปก็จะดึงแท่งกดออกจากแบบพิมพ์ เมือ่ แก้วเย็นตัวมากขึน้ จนก็
หดตัวมากขึน้ และหลุดออกจากแบบพิมพ์ได้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 32
รูป 3.8 การผลิตแก้วด้วยวิธกี ารกด (Pressing) ด้านบนแสดงแบบพิมพ์แบบชิน้ เดียว (Block mold) และ
ด้านล่างแสดงแบบพิมพ์แบบแยกส่วนได้ (Split mold) [ทีม่ า E.B. Shand (1958)]

เครื่องขึ้นรูปด้ วยวิ ธีการเป่ า (Blowing) (รูป 3.9) ก้อ นแก้ว หรือ Gob จะถู กเป่ าให้แนบกับแบบ
พิมพ์โลหะ ซึง่ เป็ นแบบพิมพ์เพียงชุดเดียว ข้อดีของการใช้วธิ นี ้ีคอื การผลิตแก้วให้มรี ปู ร่างซับซ้อนได้มากขึน้
ผลิตภัณฑ์แก้วที่ได้อาจมีรอยต่อ หากใช้แบบพิมพ์หลายส่วนประกบเข้าด้วยกัน เนื่องจากเนื้อแก้วสามารถ
แทรกเข้าไปในช่องว่างระหว่างแบบพิมพ์ ได้ ดังนัน้ ผลิตภัณฑ์ท่ไี ด้จะต้องผ่านกระบวนการกาจัดส่วนเกินนี้
ภายหลัง

รูป 3.9 การผลิตแก้วด้วยวิธกี ารเป่ า (Blowing) [ทีม่ า E.B. Shand (1958)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 33
นอกจากนัน้ ได้มกี ารพัฒนาจากเทคนิคต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเพื่อให้มคี วามสามารถในการขึน้ รูปได้
เร็วขึ้นและสามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ท่มี ีรูปร่างซับซ้อนมากขึ้นได้ ซึ่งจะเป็ นเครื่องจักรที่มขี นาดใหญ่และมี
ความซับซ้อนประกอบด้วยหลายขัน้ ตอน ดังแสดงในรูป 3.10 โดยเครื่องจักรเหล่านี้ได้รบั การออกแบบมา
อย่างดี โดยอาจจะรวมเทคนิคการขึน้ รูปต่าง ๆ หลายวิธดี งั กล่าวข้างต้นเข้าไว้ดว้ ยกัน เช่นการรวมกันระหว่าง
การกดและการเป่ า ที่เรียกว่าเทคนิค Press and blow เป็ นต้น โดยแต่ละเทคนิคอาจเหมาะสาหรับเนื้อแก้ว
หรือการผลิตผลิตภัณฑ์ทแ่ี ตกต่างกัน เช่น

รูป 3.10 เครือ่ งจักรทีใ่ ช้ในกระบวนการขึน้ รูปภาชนะต่าง ๆ


[ทีม่ า (ก) และ (ข) http://www.bdfindustriesgroup.com/glass_container_forming
(ค) http://de.wikipedia.org/wiki/Glasmaschine#IS-Maschinen และ
(ง) http://www.rasko.ru/en/manufacture]

เครื่องขึ้นรูปด้วยวิ ธีการกดอัดและการเป่ า (Press and blow process; PB)

เป็ นวิธที ่นี ้ าแก้วหนืดจะถูกกดอัดเข้าสู่แบบพิมพ์ชุดแรก ต่อจากนัน้ จะถูกเป่ าให้เข้ากับแบบพิมพ์ชุด


ทีส่ อง (ดังรูป 3.11 ก) วิธนี ้ีจะเหมาะกับการขึน้ รูปภาชนะปากกว้าง เหมาะกับผลิตภัณฑ์ทม่ี คี วามหนาเท่ากัน
ตลอดทัวทั่ ง้ ชิน้ งาน และเป็ นกระบวนการผลิตทีม่ คี วามรวดเร็ว (เร็วกว่า BB process ซึง่ จะกล่าวถึงต่อไป) ใน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 34
ปั จจุบนั มีว ิธ ีท่ถี ู ก ปรับปรุงเพื่อ ให้ผ ลิต ได้เ ร็ว มากขึ้น ถึง 15 - 20% ใช้มวลแก้ว น้ อ ยลงประมาณ 30% และ
เพื่อให้สามารถขึน้ รูปผลิตภัณฑ์ทม่ี คี วามหนาของผลิตภัณฑ์ไม่เท่ากันได้ ซึง่ เรียกว่าวิธกี ารกดอัดและการเป่ า
แบบคอแคบ (Narrow neck press and blow; NNPB) และมีขอ้ ดีคอื มีอายุการใช้งานของแบบพิมพ์นานขึน้

เครื่องขึ้นรูปด้วยวิ ธีการเป่ าและเป่ า (Blow and blow process; BB)

วิธกี ารนี้น้ าแก้วหนืดจะถูกเป่ าให้แนบติดกับแบบพิมพ์โลหะ ทัง้ 2 ชุด (ดังรูป 3.11 ข) วิธนี ้ีมขี อ้ ดีคอื
สามารถขึน้ รูปผลิตภัณฑ์ทม่ี รี ปู ร่างได้หลากหลาย (ยกเว้นประเภทเหยือก โถ หรือภาชนะปากกว้าง) ซึง่ ต่อมา
ถูกพัฒนาให้สามารถผลิตได้เร็วขึน้ ประมาณ 10 – 15 % และลดการใช้ปริมาณแก้วได้ประมาณ 10 – 15 %
ซึง่ วิธดี งั กล่าวเรียกว่าวิธกี ารปั ม๊ สุญญากาศ (Blank vacuum (BVP-551))

รูป 3.11 วิธกี ารขึน้ รูปด้วย (ก) วิธกี ดอัดและเป่ า และ (ข) วิธเี ป่ าและเป่ า
[ที่มา http://www.britglass.org.uk/container-glass-manufacture]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 35
3.3.2 การผลิ ตกระจกแผ่น

ในกระบวนการผลิตกระจกหรือแก้วแผ่ นนัน้ มักใช้ 2 วิธกี ารหลัก ๆ คือวิธกี ารดึง (Drawing) และ


วิธกี ารรีด (Rolling) โดยการขึน้ รูปด้วยวิธกี ารดึงนัน้ ได้ออกแบบโดยชาวเบลเยีย่ มที่ช่อื Émile Fourcault ทา
ให้กระบวนการนี้ถูกเรียกว่ากระบวนการโฟร์คอลท์ (Fourcault process) (รูป 3.12 ก) ซึง่ เครื่องขึน้ รูปจะ
ประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า หัวปล่ อยแก้ว (Debiteuse) (รูป 3.12 ข) ทาจากวัสดุทนไฟ ลักษณะคล้ายเรือ
ลอยอยูบ่ นน้ าแก้วทีห่ ลอมสมบูรณ์ และมีช่องทีม่ คี วามกว้างตามขนาดความหนาของกระจกทีต่ อ้ งการ โดยหัว
ปล่อยแก้ว (Debiteuse) จะเป็ นตัวควบคุมความหนาของกระจก และยังทาให้แก้วเย็นตัวอย่างรวดเร็วอีกด้วย
ซึ่งถือเป็ นหน้าที่ท่สี าคัญ แผ่นแก้วจะถูกดึงขึน้ ด้านบนเพื่อลดอุณหภูม ิและจะทาให้แก้วแข็งตัว (รูป 3.12 ค)
แก้วทีม่ คี วามแข็งตัวเหมาะสมแล้ว จะถูกลาผ่านเข้าสู่กระบวนการอบอ่อนในทีส่ ุด วิธนี ้ีสามารถผลิตแก้วที่ม ี
ความหนาอยู่ในช่วง 0.8 – 10 มิลลิเมตร (มีความกว้างประมาณ 2 เมตร) ความเร็วในการผลิตจะขึน้ อยู่กบั
ความหนาของกระจก ตัวอย่างเช่นการผลิตกระจกที่มคี วามหนา 2 มิลลิเมตร จะมีความเร็วในการผลิตอยู่ท่ี
ประมาณ 100 – 130 เมตรต่อชัวโมง ่ อย่างไรก็ตามวิธนี ้ีมขี อ้ จากัด คือ อาจเกิดตาหนิในแก้วได้ง่าย โดยมี
สาเหตุมาจากผิวของหัวปล่อยแก้ว (Debiteuse) เกิดการชารุดในระหว่างการผลิต ดังนัน้ จึงมีการคิดค้นวิธใี หม่
ๆ มากมายเพื่อแก้ไขปั ญหาดังกล่าว

รูป 3.12 การผลิตกระจกด้วย (ก) กระบวนการโฟร์คอลท์ (Fourcault process)


[ทีม่ า http://uwe.port.ac.uk/glass/oldglass/section4.htm] ซึง่ ประกอบไปด้วย (ข) หัวปล่อยแก้ว
(Debiteuse) ทีช่ ่วยในการคุมขนาดของกระจก และ (ค) ขัน้ ตอนการดึงผ่านอุปกรณ์ทาความเย็น
[ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 36
การผลิตกระจกด้วยวิธกี ารรีด (Rolling) มีหลักการคือการรีดน้ าแก้วหนืดผ่านแท่งรีด (Roller) ซึง่ เป็ น
ตัวกาหนดความหนาของกระจก วิธนี ้ีเป็ นวิธที ใ่ี ช้ผลิตกระจกหลายประเภท โดยกระจกทีไ่ ด้จะมีความขรุขระ
อยู่ทาให้วธิ กี ารนี้จะต้องมีกระบวนการต่อเนื่องเพื่อทาให้กระจกเรียบและมีความใสมากขึน้ เช่นการขัดกระจก
ซึง่ เป็ นขัน้ ตอนทีใ่ ช้พน้ื ที่ของโรงงานมาก และมีค่าใช้จ่ายในการขัดสูง ดังนัน้ จึงเกิดการพัฒนาเทคนิคที่ใช้กนั
อย่ า งแพร่ ห ลายในปั จจุ บ ัน คื อ วิ ธี ล อยแก้ ว (Float process) ดัง รูป 3.13 ซึ่ ง พัฒ นาโดย Sir Alastair
Pilkington เป็ นวิธที ่ที าให้กระจกเรียบได้โดยการให้น้ าแก้วหลอมลอยอยู่บนโลหะหลอมเหลว เช่น อ่างดีบุก
เหลว (Tin bath) ทีเ่ ป็ นทีน่ ิยมโดยทัวไป ่ เทคนิคนี้แก้วทีห่ ลอมสมบูรณ์จะถูกทาให้แผ่ บนอ่างดีบุก ความหนา
ของกระจกจะถูกควบคุมโดยการคานวณจากสมดุลระหว่างแรงดึงดูดของโลก (Gravitational force) ทีก่ ระทา
ต่อน้ าแก้วหลอม และแรงตึงผิวของโลหะด้านล่าง ณ สภาวะสมดุลของแรงสองแรงดังกล่าวจะทาให้แก้วมี
ความหนาประมาณ 6 – 7 มิลลิเมตร หากต้องการความหนามากขึน้ จะต้องปรับความกว้างของกระจก โดย
การควบคุมระยะการแผ่ของน้ าแก้วหลอมให้พอดี เนื่องจากวิธนี ้ีอาศัยโลหะหลอมเหลว ดังนัน้ จึงต้องป้ องกัน
การเกิดปฏิกริ ยิ าออกซิเดชันของโลหะหลอมเหลวกับอากาศในเตาหลอม โดยทัวไปใช้ ่ บรรยากาศของก๊าซ
ไนโตรเจนผสมกับไฮโดรเจน (N2+H2) ซึง่ เป็ นบรรยากาศรีดวิ ซ์ (Reducing atmosphere) ความหนืดของแก้ว
ในช่วงทีผ่ ่านอ่างดีบุกจะอยู่ท่ปี ระมาณ 104 เดซิพาสคัลวินาที (dPas) โดยผิวบนของแก้วจะต้องได้รบั ความ
ร้อนในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อควบคุมความหนืดของแก้ว และควบคุมอัตราการเย็นตัวของแก้ว จนกระทัง่
ผ่านออกจากอ่างเมื่อมีความแข็งตัวเหมาะสม และจะเข้าสู่การอบอ่อนทีป่ ระมาณ 600 เซลเซียส กระบวนการ
นี้ถูกพัฒนาจนสามารถผลิตแก้วทีม่ คี วามกว้าง 3 เมตร และมีความหนาในช่วง 3 – 15 มิลลิเมตร โดยการผลิต
กระจกหนา 3 และ 6 มิลลิเมตร สามารถทาได้เร็ว 1000 และ 300 เมตรต่อชัวโมง ่ ตามลาดับ กระบวนการนี้
สามารถพัฒนาทาให้ผวิ แก้วมีสมบัตพิ เิ ศษต่าง ๆ ได้ เช่น ทาให้ผวิ แก้วสามารถสะท้อนและดูดกลืนบางความ
ยาวคลื่นแสงได้ ทาให้แก้วสามารถป้ องกันความร้อนได้ระดับหนึ่ง ซึง่ สามารถประยุกต์แก้วนี้กบั งานด้านการ
ก่ อ สร้างและสถาปั ต ยกรรม ซึ่งทาได้โดยการให้แก้ว สัมผัส กับ โลหะผสม (Alloy) ประเภทตะกัว่ ทองแดง
(PbCu) ทีห่ ลอมเหลวอยู่ในระหว่างทีแ่ ก้วลอยอยูใ่ นอ่างดีบุก เมือ่ จ่ายกระแสไฟฟ้ าเข้าไปในระบบ ไอออนของ
โลหะผสมจะสามารถแพร่เข้าสู่ผวิ แก้วได้ ทาให้ผวิ แก้วมีลกั ษณะเป็ นสีทองแดงซึ่งทาให้สมบัติของผิวแก้ ว
เปลี่ย นไป โดยกระบวนการดัง กล่ า วเรีย กว่ า สเปกโทรโฟร์ท (Spectrofloat) หรือ อิ เ ล็ก โทรโฟร์ท
(Electrofloat) เนื่องจากมีการให้กระแสไฟฟ้ าในระหว่างการผลิต

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 37
(ก)

(ข)

รูป 3.13 กระบวนการลอยแก้ว (Float process)


[ทีม่ า (ก) http://global.britannica.com/EBchecked/topic/210354/float-glass-method
(ข) J. Hlavac (1983)]

3.3.3 การผลิ ตท่อแก้ว

เทคนิคที่ใช้ในการผลิตท่อแก้ววิธหี นึ่งคือ กระบวนการแดนเนอร์ (Danner process) ดังรูป 3.14


เมื่อน้ าแก้วหลอมสมบูรณ์ น้ าแก้วจะถูกเทลงบนอุปกรณ์พเิ ศษที่ทาหน้าที่ขน้ึ รูป ทีเ่ รียกว่า หัวฉี ด (Mandrel)
ซึง่ จะหมุนและเป่ าน้ าแก้วหลอมไปพร้อมกัน เมื่อน้ าแก้วไหลผ่านหัวฉีดจะแผ่คลุมทัวทั ่ ง้ หัวฉีด เมื่อได้รบั แรง
เป่ าโดยการพ่นอากาศหรือก๊าซจะทาให้แก้วมีลกั ษณะเป็ นท่อ และทาให้ท่อแก้วมีความยาวขึน้ จากการดึงยืด
ออก อัตราการผลิตท่อแก้วด้วยวิธนี ้ีอยู่ทป่ี ระมาณ 10 – 200 เมตรต่อนาที ขึน้ อยู่กบั ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
ของท่อแก้ว กระบวนการแดนเนอร์ (Danner process) เหมาะกับการผลิตท่อแก้วทีม่ คี วามหนาของท่อไม่มาก
และมีขนาดท่อไม่ใหญ่มาก (เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 4 เซนติเมตร)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 38
(ก) (ข)

รูป 3.14 กระบวนการแดนเนอร์ (Danner process)


[ทีม่ า (ก) http://www.neg.co.jp/EN/technology/process.html และ (ข) J. Hlavac (1983)]

เทคนิคหนึ่งที่ถูกพัฒนาต่อเนื่องจากกระบวนการแดนเนอร์ (Danner process) คือ กระบวนการ


เวลโล (Vello process) ดังแสดงในรูป 3.15 ซึง่ สามารถผลิตท่อแก้วได้หลายขนาด และเหมาะกับแก้วชนิด
บอโรซิลเิ กต ซึง่ การดึงจะดึงในแนวดิง่ ซึง่ แตกต่างจากกระบวนการแดนเนอร์ (Danner process) ทีด่ งึ แก้วใน
แนวนอน โดยในกระบวนการนี้จะมีหวั ฉีดอยู่ในตาแหน่ งของฟอร์ฮาร์ท (Forhearth) ซึ่งหมุนและเป่ าแก้วให้
เป็ นท่อเช่นกัน โดยน้าแก้วจะไหลผ่านรอบ ๆ หัวฉีด ทาให้สามารถกาหนดความหนาและขนาดของท่อแก้วได้
จากขนาดของรูเปิ ดและขนาดของหัวฉีดทีใ่ ช้

รูป 3.15 การผลิตท่อแก้วด้วยกระบวนการเวลโล (Vello process)


[ทีม่ า http://www.eurotherm.com.au/en-gb/industries/glass/tube-glass]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 39
3.4 ขัน้ ตอนการอบอ่อน (Annealing process)

เช่นเดียวกับขัน้ ตอนการหลอม การอบอ่อนจะเป็ นการให้ความร้อนกับแก้วที่อุณหภูมเิ หมาะสมใน


เวลาที่เ หมาะสม และมีก ารควบคุ ม อัต ราการลดอุ ณ หภู ม ิ ซึ่ง เรีย กว่ า การบ าบัด ด้ว ยความร้อ น ( Heat
treatment) โดยขัน้ ตอนนี้จะเป็ นการลดความเครียดคงค้างในแก้วที่เกิดขึน้ ในระหว่างกระบวนการผลิตแก้ว
ก่อนหน้านี้ การควบคุมอุณหภูมใิ ห้เหมาะสมเป็ นสิง่ ทีส่ าคัญทีส่ ุดในขัน้ ตอนนี้ ในกระบวนการผลิตทีต่ ่อเนื่อง
นัน้ เตาอบจะต้องมีความยาวและขนาดทีเ่ หมาะสมกับกาลังการผลิต และอัตราการผลิต เตาทีใ่ ห้ความร้อนใน
ขัน้ ตอนนี้จะมีช่อื เรียกว่า Annealing lehr โดยการออกแบบและที่ตงั ้ ของเตาอบอ่อน (Annealing lehr) จะ
ขึน้ อยูก่ บั ชนิดของผลิตภัณฑ์ และมักให้ความร้อนด้วยไฟฟ้ า

คาถามท้ายบท

1. เตาหลอมแก้วชนิดใดดีทส่ี ุดในความคิดของท่าน เพราะเหตุใด และมีขอ้ จากัดในการใช้งานอย่างไรบ้าง

2. ปั จจัยใดเป็ นปั จจัยทีส่ าคัญในการเลือกวิธกี ารขึน้ รูปผลิตภัณฑ์แก้วด้วยวิธหี รือเทคนิคต่าง ๆ เพราะอะไร


ปั จจัยเหล่านัน้ ถึงสาคัญต่อการเลือกเทคนิคการขึน้ รูป

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 40
บทที่ 4
วัตถุดิบแก้วและการคานวณส่วนผสม
Glass Raw Materials and Batch Calculations

“โดยทัวไปวั
่ ตถุดบิ ทีใ่ ช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก้วจะเป็ นแร่ต่าง ๆ ตามธรรมชาติ
เช่น ทรายแก้ว หินปูน แร่โดโลไมต์ เถ้ากระดูกและหินฟั นม้า เป็ นต้น ซึง่ แร่ต่าง ๆ เหล่านี้เมือ่
ได้รบั ความร้อนในขัน้ ตอนการหลอมแก้ว จะเกิดการปฏิกิรยิ าเคมีต่าง ๆ เช่นการสลายตัว
เพราะความร้อน (Thermal decomposition) การเปลีย่ นแปลงวัฏภาค (Phase transformation) และ
อาจเกิดปฏิกริ ยิ าเคมีระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เป็นต้น ในบทนี้จะได้กล่าวถึงวัตถุดบิ ทีน่ ิยม
ใช้ในอุตสาหกรรมแก้วโดยทัวไป ่ รวมถึงการเปลีย่ นแปลงของวัตถุดบิ เมือ่ ได้รบั ความร้อน
ในขณะหลอม และการคานวณองค์ประกอบทางเคมีของแก้วเบื้องต้น”

4.1 วัตถุดิบแก้ว (Glass raw materials)

วัตถุดบิ แต่ละชนิดที่เป็ นองค์ประกอบที่ทำให้เกิด แก้วล้วนมีหน้ ำที่ท่ตี ่ำงกันออกไปและจะส่งผลต่อ


สมบัตแิ ละลักษณะเฉพำะของแก้ว โดยแบ่งออกได้เป็ น 5 ชนิด คือ ชนิดที่เป็ นโครงร่ำงตำข่ำยแก้ว (Glass
network former หรือ Glass former) ชนิด ที่เ ป็ นตัว ช่ว ยหลอมหรือ ตัวทำลำยโครงร่ำงตำข่ำย (Flux หรือ
Network modifier) ชนิดที่ช่ว ยปรับปรุงสมบัติแก้ว (Properties modifier) ชนิดที่เ ป็ น สำรให้ส ี (Colourant)
และชนิดที่ช่วยลดฟอง (Fining agent) อย่ำงไรก็ตำมสำรประกอบชนิดเดียวกันอำจทำหน้ ำที่ ได้หลำยชนิด
ขึ้นอยู่ก ับชนิดของแก้ว และปริมำณของสำรประกอบนัน้ ๆ ในแก้ว เช่ น ในแก้ว อะลูมเิ นต ซึ่งเป็ นแก้ว ที่
ประกอบด้วยอะลูมนิ ำ (Al2O3) เป็ นหลักในปริมำณมำก อะลูมนิ ำจะเป็ นโครงร่ำงตำข่ำยแก้ว หำกอะลูมนิ ำถูก
เติมลงไปเล็กน้อยในแก้วซิลเิ กตหรือแก้วชนิดอื่น อะลูมนิ ำจะทำหน้ำที่เป็ นตัวปรับสมบัตขิ องแก้ว ออกไซด์
ของสำรหนู (As2O3) ก็สำมำรถทำหน้ำทีไ่ ด้ทงั ้ ตัวโครงร่ำงตำข่ำยของแก้ว หรือ ทำหน้ำทีล่ ดฟองในแก้ว ขึน้ อยู่
กับปริมำณทีเ่ ติมลงไปในส่วนผสม อย่ำงไรก็ตำมสำรประกอบทีส่ ำคัญทีส่ ุดในกำรผลิตแก้วคือสำรประกอบที่
ทำหน้ำทีเ่ ป็ นโครงร่ำงตำข่ำยแก้ว

4.1.1 ตัวโครงร่างตาข่ายแก้ว (Glass former)

แก้วจะต้องมีสำรประกอบทีท่ ำหน้ำทีเ่ ป็ นโครงร่ำงตำข่ำยแก้วเสมอ ซึง่ จะมี 1 ชนิด หรือมำกกว่ำก็ได้


โดยชื่อเรียกระบบแก้วมักเรียกตำมชนิดของตัวโครงร่ำงตำข่ำยทีใ่ ช้ ดังตัวอย่ำงแสดงในตาราง 4.1

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 41
ตาราง 4.1 กำรเรียกชื่อแก้วทีม่ อี งค์ประกอบเคมีต่ำง ๆ กัน

องค์ประกอบทางเคมีของแก้ว ชื่อเรียก
ระบบที่มีโครงร่างตาข่าย 1 ชนิ ด
SiO2 แก้วซิลกิ ำ
Na2OSiO2 แก้วโซเดียมซิลเิ กต
CaOSiO2 แก้วแคลเซียมซิลเิ กต
B2O 3 แก้วโบรอนออกไซด์
Li2OB2O3 แก้วลิเทียมบอเรต
Tl2OB2O3 แก้วแทลเลียมบอเรต
P2 O 5 แก้วฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์
Rb2OP2O5 แก้วรูบเิ ดียมฟอสเฟต
BaOP2O5 แก้วแบเรียมฟอสเฟต
CaOAl2O3 แก้วแคลเซียมอะลูมเิ นต
MgOGa2O3 แก้วแมกนีเซียมแกลเลต
ระบบที่มีโครงร่างตาข่าย 2 ชนิ ด
CaOB2O3SiO2 แก้วแคลเซียมบอโรซิลเิ กต
Na2OAl2O3SiO2 แก้วโซเดียมอะลูมโิ นซิลเิ กต
* ตัวเอียง คือ สำรประกอบกลุ่มทีท่ ำหน้ำทีเ่ ป็ นโครงร่ำงตำข่ำย (Glass former)

สำรประกอบที่เป็ นตัวโครงร่ำงตำข่ำยแก้ว ที่พบว่ำมีกำรผลิตอย่ำงแพร่หลำย ได้แก่ ซิลกิ ำ (SiO2) โบรอน


ออกไซด์ (B2O3) และฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์ (P2O5) นอกจำกนี้ยงั มีสำรประกอบอื่น ๆ ทีส่ ำมำรถทำหน้ำที่
เป็ นตัวโครงร่ำงตำข่ำย ได้แก่ เจอร์มำเนียมไดออกไซด์ (GeO2) บิสมัตไตรออกไซด์ (Bi2O3) ออกไซด์ของ
สำรหนู หรือ อำร์เซนิกไตรออกไซด์ (As2O3) แอนทิโมนีไตรออกไซด์ (Sb2O3) เทลลูเรียมไดออกไซด์ (TeO2)
อะลูมนิ ำ (Al2O3) แกลเลียมไตรออกไซด์ (Ga2O3) และวำนำเดียมเพนตะออกไซด์ (V2O5) โดยซิลกิ ำ โบรอน
ออกไซด์ ฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์ และเจอร์มำเนียมไดออกไซด์ เป็ นสำรประกอบทีส่ ำมำรถเป็ นตัวโครงร่ำง
ตำข่ำ ยได้ต ัว ตัว เอง แต่ อ อกไซด์ท่ีเ หลือ ไม่ส ำมำรถเป็ น ตัว ท ำให้เ กิด แก้ว ได้ด้ว ยตัว เอง ต้อ งผสมกับ ตัว
โครงสร้ำงแก้ว หรือ สำรอื่น จึงจะทำให้เ กิดแก้วได้ หรือ จะต้อ งใช้เทคนิคอื่น ๆ ช่ว ยในกำรขึ้นรูปแก้ว เช่น
เทคนิ ค กำรกำรลดอุ ณ หภูม ิล งอย่ำ งยิ่งยวด (Rapid quenching technique) หรือ เทคนิ ค กำรสะสมของไอ
(Vapour deposition technique) เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 42
นอกเหนื อ จำกแก้ ว ระบบออกไซด์ ข้ำ งต้ น แล้ ว ยั ง มีต ัว โครงร่ ำ งตำข่ ำ ยของแก้ ว ชำลโคจีไ นด์
(Chalcogenide glass) ได้แก่ ธำตุ ซลั เฟอร์ (S) ซีลเี นียม (Se) และ เทลลูเรียม (Te) และสำหรับแก้วแฮไลด์
(Halide glass) จะนิยมใช้เบริลเลียมฟลูออไรด์ (BeF2) และเซอร์โคเนียมฟลูออไรด์ (ZrF4) เป็ นตัวโครงร่ำง
ตำข่ำยแก้ว

4.1.2 ตัวช่วยหลอม (Flux) หรือ ตัวปรับโครงสร้างแก้ว (Glass network modifier)

ซิลกิ ำเป็ นตัวโครงร่ำงตำข่ำยทีด่ ี สำมำรถผลิตแก้วได้ดว้ ยตัวเอง นอกจำกนี้แก้วซิลกิ ำยังถูกนำไปใช้


กับกำรใช้งำนหลำย ๆ ด้ำน เช่น ขวดแก้วซิลกิ ำ กระจกซิลกิ ำ หลอดแก้วซิลกิ ำ เป็ นต้น แต่อย่ำงไรก็ตำมกำร
ผลิตแก้วซิลกิ ำต้องใช้อุณหภูมกิ ำรหลอมแก้วทีส่ งู มำก (สูงมำกกว่ำ 2000 C) กำรเติมตัวช่วยหลอมเพิม่ ลงไป
ในซิลกิ ำเพื่อให้เกิดแก้วซิลเิ กตจะสำมำรถลดอุณหภูมกิ ำรหลอมลงได้ โดยจะอยู่ทต่ี ่ ำกว่ำ 1600 C ขึน้ อยู่กบั
ชนิดและปริมำณของตัวช่วยหลอมทีเ่ ติมลงไป โดยส่วนมำกแล้วตัวช่วยหลอมทีน่ ิยมเติมลงไป ได้แก่ ออกไซด์
ของธำตุกลุ่มอัลคำไลน์ (Alkaline oxide) เช่น โซเดียมออกไซด์ (Na2O) และ โพแทสเซียมออกไซด์ (K2O)
เป็ นต้น นอกเหนือจำกนัน้ พบว่ำตะกัวออกไซด์
่ (PbO) ซึง่ เป็ นตัวช่วยหลอมทีด่ ที ส่ี ุด ชนิดของตัวช่วยหลอมที่
นิยมเติมในแก้วเพื่อลดอุณหภูมกิ ำรหลอมแสดงในตาราง 4.2 กำรเติมตัวช่วยหลอมลงไปในแก้วในปริมำณที่
ต่ำงกันจะส่งผลต่อกำรเปลี่ยนแปลงของสมบัตขิ องแก้วด้ำนต่ำง ๆ เช่นควำมแข็งแรง และควำมทนทำนต่อ
สำรเคมี เป็ นต้น ซึ่งปั ญ หำนี้อำจจะแก้ไ ขได้ด้ว ยกำรเติมสำรปรับสมบัติแก้ว ของแก้วลงไป เช่น อะลูมนิ ำ
(Al2O3) เป็ นต้น

วัตถุดบิ อีกประเภทหนึ่งซึ่งสำคัญในกำรผลิตแก้วอุตสำหกรรมโดยเฉพำะอย่ำงยิง่ กระจกแผ่น และ


ขวดแก้ว คือ “เศษแก้ว รีไซเคิล ” (Cullet หรือ Scrap glass) ซึ่งได้มำจำกกำรบดหรือทุบ แก้ว ที่ใ ช้แล้ว ให้ม ี
ขนำดเล็ก ซึ่ง ช่วยลดระยะเวลำในกำรหลอม (batch-free time) โดยระยะเวลำในกำรหลอมเป็ นเวลำที่แก้ว
หลอมสมบูรณ์โดยไม่มอี นุ ภำคของผลึกปนอยู่ กำรเติมเศษแก้วรีไซเคิล เป็ นกำรลดปริมำณวัตถุดบิ ที่หลอม
ยำก (Refractory) ในกระบวนกำรผลิต เนื่องจำกเศษแก้วรีไซเคิล ผ่ำนกำรหลอมและกลำยเป็ นแก้วแล้ว จึง
กลำยเป็ นของเหลวได้ง่ำย อีกทัง้ วัตถุดบิ หลอมยำก (Refractory) สำมำรถเกิดกำรละลำยหรือเกิดปฏิกริ ยิ ำกับ
cullet หลอมเหลวในระหว่ำงกำรหลอมแก้วอีกด้วย นอกเหนือจำกนี้กำรใช้ cullet ยังเพิม่ ปริมำณเฟสของเหลว
(Liquid phase) ในกระบวนกำรหลอมอีกด้วย อีกทัง้ กำรใช้เศษแก้วรีไซเคิลจะช่วยลดปริมำณขยะประเภทแก้ว
อีก ด้ว ย อย่ำ งไรก็ต ำมมีข้อ ควรระวัง คือ ชนิ ด ของเศษแก้ว รีไ ซเคิล นัน้ จะต้อ งทรำบแหล่ ง ที่ม ำและควรมี
องค์ประกอบทำงเคมีเหมือนหรือใกล้เคียงกับแก้วทีก่ ำลังผลิตอยู่ เพื่อควบคุมองค์ประกอบทำงเคมีและสมบัติ
ของแก้ว ที่ผลิตให้คงที่ เช่น หำกจะผลิต ขวดแก้วสีเขียว ควรใช้ เ ศษแก้ว รีไซเคิล ที่ได้จำกแก้วขวดสีเขียว
เป็ นต้น ในบำงทวีปจะมีก ำรคัดแยกชนิดของแก้ว ก่ อ นนำไปหลอมใหม่ว่ำแก้ว ที่จะใช้ผ ลิต มำจำกทวีปใด
เพื่อป้ องกันกำรปะปนขององค์ประกอบบำงประกำรที่ไม่ต้องกำร เนื่องจำกกำรแก้ไขปั ญหำกำรเจือปนของ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 43
องค์ประกอบอื่นในแก้วทำได้ยำกมำก อย่ำงไรก็ตำมในประเทศไทยเริม่ ตระหนักถึงปั ญหำสิง่ แวดล้อมจึงมักมี
กำรนำขวดแก้วในสภำพสมบูรณ์กลับไปใช้ใหม่อกี ครัง้ โดยผ่ำนกระบวนกำรฆ่ำเชือ้ โรคทีม่ ปี ระสิทธิภำพ

ตาราง 4.2 ตัวช่วยหลอมทีพ่ บในแก้วกลุ่มต่ำง ๆ


ตัวช่วยหลอม (Flux) กลุ่มแก้วที่เติ ม
1. โซเดียมออกไซด์ หรือ โซดำ แก้วที่ใช้เป็ นบรรจุภณ
ั ฑ์ (Container glass) และกระจกหน้ำต่ำง
(Na2O) (Window glass)
2. โพแทสเซียมออกไซด์ (K2O) แก้วทำงกำรค้ำทัว่ ๆ ไป (Commercial glass)
3. ลิเทียมออกไซด์ (Li2O) กลำสส์ เ ซรำมิก ทำงกำรค้ำ ทัว่ ๆ ไป (Commercial glass-
ceramic)
4. ซีเซียมออกไซด์ (Cs2O) และ พบในกำรศึกษำระดับห้องปฏิบตั กิ ำรเท่ำนัน้ เนื่องจำกสำรกลุ่มนี้
รูบเิ ดียมออกไซด์ (Rb2O) มีรำคำแพง
5. ตะกัวออกไซด์
่ (PbO) แก้วเพื่อกำรประดับตกแต่ง (Decorative glass) เนื่องจำกสมบัติ
ในกำรหักเหแสงทีด่ ี

4.1.3 สารปรับสมบัติ (Properties modifier)

สมบัตบิ ำงประกำรของแก้วสำมำรถปรับปรุงให้ดขี น้ึ ได้โดยกำรเติมสำรเติมแต่งลงไป โดยสำรกลุ่มนี้


ยกตัวอย่ำงเช่น ออกไซด์ของอัลคำไลน์เอิรธ์ (Alkaline earth oxide) ต่ำง ๆ เช่น แคลเซียมออกไซด์ (CaO)
แบเรียมออกไซด์ (BaO) และแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) เป็ นต้น ออกไซด์ของโลหะทรำนซิชนั (Transition
metal oxide) และอะลูมนิ ำ (Al2O3) สำรสองกลุ่มแรกนอกจำกจะทำหน้ำทีเ่ ป็ นสำรปรับสมบัตขิ องแก้วแล้ว ยัง
มีพฤติกรรมเป็ นตัวช่วยหลอมได้อกี ด้วยแต่ควำมรุนแรงของปฏิกริ ยิ ำนัน้ น้อยกว่ำออกไซด์ของอัลคำไลน์และ
ตะกัวออกไซด์
่ และปริมำณกำรใช้สำรปรับสมบัตทิ เ่ี ติมลงไปในแก้วก็ไม่มำกเท่ำกับตัวช่วยหลอม ดังนัน้ กำร
เติมสำรปรับสมบัตลิ งไปในแก้วมักไม่ส่งผลกระทบต่ออุณหภูมกิ ำรหลอมของแก้ว

จำกงำนวิจยั ของ Rao (1963) ทีศ่ กึ ษำผลของกำรเติมไทเทเนียมไดออกไซด์ หรือไทเทเนีย (TiO2) ใน


ปริมำณต่ ำง ๆ ในแก้ว ระบบ K2O-PbO-SiO2-Ti2O โดยมีปริมำณ K2O ในแก้ว คงที่ และปริมำณ PbO อยู่
ในช่วงต่ำง ๆ ดังแสดงในกรำฟในรูป 4.1 โดย TiO2 จะถูกเติมลงไปแทนที่ SiO2 ในปริมำณต่ำง ๆ พบว่ำ
ควำมหนำแน่ นของแก้ว ค่ำดัชนีหกั เหแสง (Refractive index) ค่ำสัมประสิทธิ ์กำรขยำยตัวเพรำะควำมร้อน
(Coefficient of thermal expansion; CTE) และค่ำคงที่ไดอิเล็กทริก (Dielectric constant) จะเปลี่ยนไปเมื่อ
ปริมำณ TiO2 เปลีย่ นไป แต่กำรเปลีย่ นแปลงสมบัตติ ่ำง ๆ จะไม่เป็ นไปตำมควำมสัมพันธ์เชิงเส้นตรง (Linear
relationship) กล่ ำ วคือ จะมีจุ ด สู ง สุ ด หรือ จุ ด ต่ ำ สุ ด ของสมบัติต่ ำ ง ๆ ดัง แสดงในรูป 4.1 ก. และ 4.1 ข.

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 44
ตำมลำดับ โดยรูป 4.1 ก. แสดงให้เห็นกำรเปลีย่ นแปลงอุณหภูมอิ ่อนตัว (Softening temperature) ของแก้วที่
มีปริมำณ TiO2 ต่ำง ๆ กัน จะเห็นได้ว่ำเมื่อปริมำณ TiO2 เพิม่ ขึ้นในช่วงแรก อุณหภูมอิ ่อนตัวของแก้วจะ
เพิม่ ขึน้ จนเมือ่ ปริมำณ TiO2 ปริมำณหนึ่งแก้วจะมีอุณหภูมอิ ่อนตัวสูงสุด จำกนัน้ เมือ่ เพิม่ ปริมำณ TiO2 เพิม่ ขึน้
อุณหภูมอิ ่อนตัวจะลดลง (เกิดจุดสูงสุด ) ซึ่งตรงข้ำมกับค่ำสัมประสิทธิ ์กำรขยำยตัวเพรำะควำมร้อน () ใน
รูป 4.1 ข. พบว่ำจะเกิดจุดต่ ำสุด ซึง่ ค่ำสูงสุดหรือต่ ำสุดนัน้ จะเปลีย่ นไปตำมปริมำณของ PbO ในแก้วอีกด้วย
โดยสำมำรถอธิบำยปรำกฏกำรณ์ทเ่ี กิดขึน้ จำกกำรเปลีย่ นสภำพแวดล้อมของ Ti4+ กล่ำวคือเมื่อปริมำณ TiO2
น้อย (SiO2 สูง) Ti4+ จะมีสภำพแวดล้อมแบบเตตระฮีดรัล (Tetrahedral หรือ [TiO4]) ทีม่ เี ลขโคออดิเนชันเป็ น
4 สภำพแวดล้อมแบบนี้ทำให้แก้วมีโครงสร้ำงที่แข็งแรงขึน้ ส่งผลทำให้สมบัตดิ ้ำนต่ำง ๆ เปลี่ยนไป ในทำง
ตรงข้ำม TiO2 มำกขึน้ (SiO2 ต่ำลง) Ti4+ จะอยูใ่ นสภำวะแวดล้อมแบบออกตะฮีดรัล (Octahedral หรือ [TiO6])
ทีม่ เี ลขโคออดิเนชันเป็ น 6 โดยแก้วจะมีโครงสร้ำงทีม่ คี วำมแข็งแรงน้อยลง

รูป 4.1 (ก) อุณหภูมกิ ำรอ่อนตัว (Softening temperature) และ (ข) ค่ำสัมประสิทธิ ์กำรขยำยตัวเพรำะควำม
ร้อน (Coefficient of thermal expansion, ) ของแก้วระบบ K2O-PbO-SiO2-TiO2 ทีม่ ปี ริมำณ TiO2 ต่ำงกัน
[ทีม่ ำ B.V.J. Rao (1963)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 45
4.1.4 สารให้สี (Colourant)

แก้วสีเริม่ แรกนัน้ ทำขึน้ เพื่อควำมสวยงำม ต่อมำได้พฒ


ั นำสู่กำรใช้งำนหลำย ๆ ด้ำน เช่น ใช้กรองแสง
(แว่นตำกันแดดหรือหน้ำกำกเชื่อม) หรือใช้ในสัญญำณไฟในกำรจำรจร เป็ นต้น สำรทีท่ ำให้แก้วเกิดสีมหี ลำย
ประเภท เช่ น สำรประกอบของโลหะทรำนซิช ัน กลุ่ ม 3d เช่ น วำนำเดีย มออกไซด์ โครเมีย มออกไซด์
แมงกำนีสออกไซด์ และเหล็กออกไซด์ เป็ นต้น และสำรประกอบของโลหะกลุ่มแลนด์ทำไนด์ นอกจำกนัน้ ยังมี
สำรอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งทำให้แก้วมีสเี ทำ ส่งผลให้ลดกำรมองเห็นสีอ่นื ๆ ในบำงครัง้ จึงเรียกว่ำเป็ นสำรฟอกสี
(Decolourant agent) เช่นสำรประกอบของซีลเี นียม (Selenium compound) ยกตัวอย่ำงกำรผลิตกระจกโดย
ใช้ทรำยทีม่ เี หล็กออกไซด์ปะปนอยู่ ทำให้แก้วเกิดสีเขียวขึน้ ซึง่ สำมำรถเติมสำรฟอกสีทำให้แก้วมีสเี ทำ (ลดสี
ที่เกิดจำกเหล็กออกไซด์) นอกเหนือจำกนี้ยูเรเนียมออกไซด์สำมำรถทำให้แก้วเกิด กำรเรืองแสงภำยใต้รงั สี
อัลตรำไวโอเลต (UV) ได้ แต่ออกไซด์ชนิดนี้เป็ นสำรกัมมันตรังสีทำให้เกิดอันตรำยอย่ำงยิง่ สำรประกอบของ
เงินและทอง ก็สำมำรถทำให้เกิดสีในแก้วได้เช่นกัน โดยกลไกกำรเกิดสีเกิดขึน้ เนื่องจำกไอออนของเงินและ
ทองจะทำให้เกิดอนุ ภำคทีเ่ ล็กมำก ๆ หรือทีเ่ รียกว่ำ คอลลอยด์ (Colloid) แขวนลอยอยู่ในแก้วโดยมักจะให้ส ี
โทนสีแดง ในบทนี้จะกล่ำวถึงสำรให้สปี ระเภทโลหะทรำนซิชนั ซึ่งจะให้สตี ่ำง ๆ กัน เมื่อค่ำออกซิเดชันของ
ไอออนนัน้ ๆ ในแก้วต่ำงกันออกไป โดยสรุปไว้ในตาราง 4.3

ตาราง 4.3 สีทเ่ี กิดจำกไอออนหรือกลุ่มของไอออนต่ำง ๆ ในแก้ว [ดัดแปลงจำก J. Hlavac (1983)]


ไอออน สีที่ปรากฎ หมายเหตุ
Co2+ น้ำเงิน
Ni2+ ม่วง ในแก้วทีม่ ี K2O เป็ นองค์ประกอบ
เหลือง ในแก้วทีม่ ี Na2O เป็ นองค์ประกอบ
Nd3+ ม่วง
Pr3+ เขียวแกมเหลือง
Ce4+ เหลือง Ce3+ ทำให้แก้วไม่มสี ี
Cr3+ เขียว เกิดร่วมกับ (CrO4)2- เสมอ
(CrO4)2- เหลือง เกิดร่วมกับ Cr3+ เสมอ
Mn3+ ม่วง หำกมี Mn2+ จะมีสเี หลืองปน
Cu2+ น้ำเงิน Cu+ ไม่มสี ี
Fe3+ น้ำตำลแกมเหลือง
Fe2+ + Fe3+ เขียวแกมน้ำเงิน ไอออน 2 ชนิดนี้จะเกิดร่วมกับเสมอ
(UO4)2- เขียวแกมเหลือง

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 46
4.1.5 สารลดฟอง (Fining agent)

วัตถุดบิ แก้วบำงประเภทเมื่อได้รบั ควำมร้อนจะเกิดกำรสลำยตัวและทำให้เกิดก๊ำซขึน้ ได้ เช่น หินปูน


หรือแคลเซียมคำร์บอเนตจะเกิดปฏิกริ ยิ ำกำรสลำยตัวด้วยควำมร้อน (Thermal decomposition) ที่อุณหภูม ิ
ประมำณ 840 C เกิดก๊ำซคำร์บอนไดออกไซด์ขน้ึ ขณะหลอมดังสมการ 4.1

 840 C
CaCO3 (s) CaO (s) + CO2 (g) สมการ 4.1

ก๊ำซทีเ่ กิดขึน้ ต่ำง ๆ ในระหว่ำงขัน้ ตอนกำรหลอมอำจจะค้ำงอยูใ่ นแก้วเกิดเป็ นฟองอำกำศขนำดต่ำง ๆ ซึง่ อำจ


ไม่สำมำรถมองเห็นได้ดว้ ยตำเปล่ำแต่จะส่งผลต่อสมบัตบิ ำงประกำรของแก้ว เช่น ในแก้วเลนส์ หรือใยแก้วนำ
แสง หำกมีฟองอำกำศค้ำงอยูใ่ นแก้ว จะทำให้สมบัตทิ ำงแสงเปลีย่ นไป ซึง่ ส่งผลเสียต่อกำรนำไปใช้งำน ดังนัน้
กำรกำจัดฟองจึงเป็ นสิง่ ทีจ่ ำเป็ นอย่ำงยิง่ ในแก้วบำงชนิด

สำรเคมีก ลุ่ ม ที่ ส ำมำรถลดฟองหรือ ก ำจัด ฟองในแก้ วได้ ได้ แ ก่ ออกไซด์ ข องสำรหนู ห รื อ
อำร์เซนิกออกไซด์ (As2O3) ออกไซด์ของพลวงหรือแอนทิโมนีไตรออกไซด์ (Sb2O3) โพแทสเซียมไนเตรต
(KNO3) โซเดียมไนเตรต (NaNO3) โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สำรประกอบฟลูออไรด์ (Fluoride compounds)
ต่ำง ๆ เช่น แคลเซียมฟลูออไรด์ (CaF2) โซเดียมฟลูออไรด์ (NaF) และโซเดียมอะลูมเิ นียมเฮกซะฟลูออไรด์
(Na3AlF6) และสำรประกอบซัลเฟต (Sulfate compounds) บำงชนิด กำรเติมสำรลดฟองจะเติมในปริมำณต่ ำ
(น้อยกว่ำ 1% โดยน้ำหนัก) ทำให้สมบัตติ ่ำง ๆ ของแก้วไม่ได้รบั ผลกระทบมำกนัก

จำกทีก่ ล่ำวมำข้ำงต้นวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ในอุตสำหกรรมกำรผลิตแก้วมีหลำยประเภท โดยวัตถุดบิ ทีเ่ ป็ นแร่


ต่ำง ๆ ทีพ่ บในธรรมชำติมกั ถูกใช้ในปริมำณมำก วัตถุดบิ บำงชนิดจะมีช่อื สำมัญที่แตกต่ำงจำกชื่อเรียกตำม
องค์ประกอบเคมีทป่ี รำกฏ อีกทัง้ แร่ต่ำง ๆ เหล่ำนี้อำจประกอบด้วยสำรประกอบออกไซด์หลำยชนิด ซึง่ ส่งผล
ต่ อ กำรค ำนวณปริมำณองค์ประกอบทำงเคมีของแก้วที่จะได้กล่ำวถึงในส่ วนถัดไป จึงได้ส รุปรวมแร่หรือ
วัตถุดบิ ต่ำง ๆ ไว้ในตาราง 4.4

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 47
ตาราง 4.4 แร่ต่ำง ๆ ทีใ่ ช้ในอุตสำหกรรมกำรผลิตแก้ว [ดัดแปลงจำก J.E. Shelby (2005)]
ชื่อแร่ / ชื่อสามัญ สูตรเคมี Gravimetric Factor *
ตัวโครงร่างตาข่ายแก้ว
ทรำย (Sand) SiO2 SiO2 = 1.0
อะลูมนิ ำ (Alumina) Al2O3 Al2O3 = 1.0
อะลูมนิ ำไฮเดรต (Alumina Hydrate) Al2O33H2O Al2O3 = 1.53
กรดบอริก (Boric Acid) B2O33H2O B2O3 = 1.78

ตัวช่วยหลอม
แอลไบต์เฟลด์สปำร์ (Albite Feldspar) Na2OAl2O36SiO2 Na2O = 8.46
Al2O3 = 5.14
SiO2 = 1.45
อะนอร์ไทต์เฟลด์สปำร์ (Anorthite Feldspar) CaOAl2O32SiO2 CaO = 4.96
Al2O3 = 2.73
SiO2 =2.32
แร่แอไพลต์ (Aplite) หรือ aM2ObCaOcAl2O3dSiO2 ค่ำไม่แน่นอน
แอลคำไลน์ไลม์เฟลด์สปำร์ (Alkali lime (M คือโลหะอัลคำไลน์และ a b c d คือสัดส่วน ค่ำไม่แน่นอน
feldspar) โดยโมลของแต่ละองค์ประกอบ)
เถ้ำกระดูก (Bone ash) 3CaOP2O5 หรือ Ca3(PO4)2 CaO = 1.84
P2O5 = 2.19
บอแรกซ์ (Borax) Na2O2B2O310H2O Na2O = 6.14
B2O3 = 2.74
ตะกัวเหลื
่ อง (Lithatge หรือ Yellow lead) PbO PbO = 1.00
ตะกัวแดง
่ (Red lead) Pb3O4 PbO = 1.02
ไมโครคลำยน์ (Microcline) K2OAl2O36SiO2 K2O = 5.91
Al2O3 = 5.46
SiO2 = 1.54
แร่เนฟิ ลนี (Nepheline) Na2OAl2O32SiO2 Na2O = 2.84
Al2O3 = 1.73
SiO2 = 1.47
แร่เนฟิ ลนี ไซอิไนต์ (Nepheline syenite) ผสมระหว่ำงแร่เนฟิ ลนี กับ ค่ำไม่แน่นอน
เฟลด์สปำร์
แร่โพแทช (Potash) K2O หรือ K2O = 1.00
K2CO3 K2O = 1.47

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 48
ตาราง 4.4 แร่ต่ำง ๆ ทีใ่ ช้ในอุตสำหกรรมกำรผลิตแก้ว (ต่อ) [ดัดแปลงจำก J.E. Shelby (2005)]
ชื่อแร่ / ชื่อสามัญ สูตรเคมี Gravimetric factor *
โซดำไฟหรือโซเดียมคำร์บอเนต (Soda ash) Na2CO3 Na2O = 1.71
แร่สปอดูมนี (Spodumene) Li2OAl2O34SiO2 Li2O = 12.46
Al2O3 = 3.65
SiO2 = 1.55
ดินสอพองหรือแคลเซียมคำร์บอเนต CaCO3 CaO = 1.79
(Whiting)
เศษแก้วรีไซเคิล (Cullet) ขึน้ อยูก่ บั ชนิดแก้ว ขึน้ อยูก่ บั ชนิดแก้ว

สารปรับสมบัติ
แร่แบไรต์ (Barite) BaSO4 BaO = 1.52
แร่โดโลไมต์ (Dolomite) CaCO3MgCO3 CaO = 3.29
MgO = 4.58
แร่ยปิ ซัม (Gypsum) CaSO42H2O CaO = 3.07
หินปูน (Limestone หรือ Calcite) CaCO3 CaO = 1.78

สารลดฟอง
แร่ไครโอไลต์ (Cryolite) 3NaFAlF3 NaF = 1.67
AlF3 = 2.50
แร่ฟลูออสปำร์ (Fluorspar) CaF2 CaF2 = 1.00
โซเดียมไนเตรต (Soda niter) NaNO3 Na2O = 2.74
ดินประสิว (Niter) KNO3 K2O = 2.15
*กรำวิเมทริกแฟกเตอร์ (Gravimetric factor) จะใช้ในกำรคำนวณในกรณีทว่ี ตั ถุดบิ สำมำรถให้สำรประกอบ
ออกไซด์ได้หลำยชนิดขณะหลอมซึง่ จะแสดงวิธกี ำรใช้ค่ำกรำวิเมทริกแฟกเตอร์ ในตัวอย่ำงกำรคำนวณต่อไป

4.2 การคานวณองค์ประกอบแก้ว (Batch calculations)

กำรรำยงำนองค์ประกอบของแก้วทัง้ เชิงกำรค้ำ ในสิทธิบตั ร เวปไซต์ทวั ่ ๆ ไป และในเอกสำรเชิง


วิชำกำรจะแตกต่ำงกันออกไปขึน้ อยู่กบั ชนิดของแก้ว (แก้ วออกไซด์ แก้วแฮไลด์ และแก้วชำลโคจีไนด์) และ
ควำมพอใจของผู้รำยงำน โดยรูปแบบที่ปรำกฏสำมำรถแสดงเป็ นร้อยละ (%) สัดส่วนโดยโมล สัดส่วนโดย
น้ำหนัก หรือสัดส่วนโดยอะตอมก็ได้

ในอดีตกำรรำยงำนองค์ประกอบของแก้วจะรำยงำนในรูปของร้อยละโดยน้ ำหนัก (Weight percent;


wt%) ซึ่ง จะเรีย กว่ ำ ส่ ว นประกอบออกไซด์ (Oxide formulations) เช่ น แก้ว โซดำไลม์ซิล ิเ กต (Soda lime

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 49
silicate) มีส่วนผสมคือ 15% โซดำ (Soda) 10% ไลม์ (Lime) และ 75% ซิลกิ ำ (Silica) ผูอ้ ่ำนก็จะเข้ำใจได้ว่ำ
ร้อยละที่แสดงเป็ นร้อยละโดยน้ ำหนักของส่วนผสมต่ำง ๆ ว่ำมี Na2O 15% CaO 10% และ SiO2 75% โดย
น้ำหนัก

กำรรำยงำนในรูปของสัดส่วนโดยน้ำหนัก (Weight fraction) จะเป็ นประโยชน์มำกในกำรทำงำนระดับ


อุตสำหกรรม แต่กจ็ ะเห็นควำมสัมพันธ์ของปริมำณองค์ประกอบต่ำง ๆ ต่อกำรเปลีย่ นแปลงสมบัตไิ ด้ยำก ทำ
ให้กำรรำยงำนแบบนี้ไม่เป็ นทีน่ ิยมในกำรเผยแพร่ผลงำนทำงวิชำกำร ซึง่ จะนิยมรำยงำนในรูปแบบของร้อยละ
โดยโมล (Molar percent; mol %) หรือ สัดส่วนโดยโมล (Molar fraction) เนื่องจำกสำมำรถเห็นควำมสัมพันธ์
ของกำรเปลี่ยนแปลงสมบัติอนั เนื่องมำจำกกำรเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่ ำง ๆ ในแก้ว ได้ชดั เจนยิง่ ขึ้น
อย่ำงไรก็ตำมกำรรำยงำนในรูปแบบร้อยละโดยน้ ำหนัก สัดส่วนโดยน้ ำหนัก ร้อยละโดยโมล หรือ สัดส่วนโดย
โมลจะรำยงำนแยกตำมประเภทของสำรประกอบออกไซด์แต่ละชนิด ยกตัวอย่ำงเช่น กำรแสดงในรูปร้อยละ
โดยน้ ำหนัก 25wt%CaO75wt%SiO2 ซึ่งสำมำรถคำนวณเปลี่ยนให้แสดงองค์ประกอบในในรูปสัดส่ว นโดย
โมลเท่ำกับ 0.26CaO0.74SiO2 (กำรคำนวณจะอำศัยค่ำมวลโมเลกุลของ CaO กับ SiO2 ซึง่ มีค่ำเท่ำกับ 56
และ 60 ตำมลำดับ) จะเห็นได้ว่ำกำรรำยงำนองค์ประกอบแยกส่วนระหว่ำง CaO และ SiO2 จะง่ำยต่อกำร
เตรียมวัตถุดบิ แต่ในควำมเป็ นจริงแล้วแก้วจะประกอบด้วยสององค์ประกอบปะปนกันไป ซึ่งกำรเขียนสูตร
แสดงองค์ป ระกอบดัง กล่ ำ วนัน้ ไม่ส่อื ถึง ควำมเป็ น จริง ที่เ กิด ขึ้น ในแก้ว หรือ ไม่ส่ือ ถึง โค รงสร้ำ งของแก้ว
อย่ำงไรก็ตำมกำรเขียนองค์ประกอบแบบที่ได้กล่ำวมำแล้วก็ยงั นิยมใช้อยู่เนื่องจำกโครงสร้ำงแก้วหรือสิ่งที่
เกิดขึน้ ในแก้วนัน้ ยำกต่อกำรอธิบำย อีกทัง้ มีปัจจัยหลำย ๆ ประกำรทำให้โครงสร้ำงแก้วแตกต่ำงกันออกไป
แม้ว่ำจะมีองค์ประกอบของวัตถุดบิ เหมือนกัน ปั จจัยดังกล่ำว เช่น อัตรำกำรลดอุณหภูม ิ อุณหภูมทิ ใ่ี ช้หลอม
แก้ว และระยะเวลำทีใ่ ช้หลอมแก้ว เป็ นต้น

แก้วชำลโคจีไนด์ (Chalcogenide glass) นิยมรำยงำนองค์ประกอบในรูปของสัดส่วนอะตอมที่เป็ น


องค์ป ระกอบทัง้ หมด เช่ น แก้ ว ที่ป ระกอบไปด้ว ยอะตอมของสำรหนู ( As) ร้อ ยละ 40 และอะตอมของ
ซัล เฟอร์ (S) ร้อ ยละ 60 รูป แบบของกำรเขีย นองค์ป ระกอบเคมีข องแก้ว ชนิ ด นี้ ส ำมำรถเขีย นในรูปของ
As40S60 หรือ As0.40S0.60 หรือ As2S3 ก็ได้ แต่กำรเตรียมวัตถุดบิ แก้วประเภทนี้จะต้องเปลี่ยนสัดส่วนอะตอม
ดังกล่ำวให้อยูใ่ นรูปของน้ำหนักก่อนซึง่ ทำได้ไม่ยำกนัก โดยจะใช้ค่ำมวลอะตอมในกำรคำนวณ

โดยทัวไปแล้
่ วองค์ประกอบทำงเคมีของแก้วมักถูกรำยงำนให้อยู่ในรูปของออกไซด์ของธำตุต่ำง ๆ
ยกตัวอย่ำงเช่นแก้วโซเดียมบอเรตจะมีสูตรทำงเคมีโดยทัวไปคื
่ อ xNa2O(100-x)B2O3 ยกตัวอย่ำงเช่นแก้ว
25% Na2O75%B2O3 ซึง่ หมำยถึงแก้วชนิดนี้มโี ซเดียมออกไซด์อยู่ 25 % และ โบรอนออกไซด์อยู่ 75 % โดย
สำมำรถรำยงำนปริมำณได้ทงั ้ % โดยน้ ำหนัก (wt%) หรือ % โดยโมล (mol%) แต่ในบำงครัง้ อำจรำยงำนให้
อยู่ในรูปของสัดส่วนได้เช่นกัน เช่น 0.25Na2O0.75B2O3 แต่วตั ถุดบิ บำงประเภททีใ่ ช้ในอุตสำหกรรมแก้วจะ
เป็ นสำรประกอบประเภทคำร์บอเนต เช่น กำรใช้หนิ ปูน หรือ แคลเซียมคำร์บอเนต (CaCO3) เป็ นแหล่งของ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 50
แคลเซียมออกไซด์ (CaO) ในแก้ว ดังนัน้ กำรค ำนวณองค์ประกอบทำงเคมีของแก้ว จึง เป็ นสิ่งที่สำคัญ ใน
อุตสำหกรรมแก้ว เพื่อสำมำรถควบคุมปริมำณขององค์ประกอบออกไซด์ต่ำง ๆ ในแก้วเพื่อให้มอี งค์ประกอบ
ตำมมำตรฐำนกำรผลิต ซึ่งในกำรคำนวณอำจจะมีควำมยำกง่ำยแตกต่ำงกันออกไป ขึน้ อยู่กบั วั ตถุดบิ ที่ใช้
เนื่องจำกวัตถุดบิ บำงประเภทเป็ นสำรประกอบออกไซด์อยู่แล้ว เช่น ทรำยแก้ว (SiO2) เป็ นต้น บำงประเภท
เป็ นสำรประกอบอื่น ๆ ทีส่ ำมำรถสลำยตัวทำงควำมร้อน เช่น หินปูน เป็ นต้น และบำงประเภทประกอบด้วย
สำรประกอบหลำยชนิ ด เช่ น แร่ โ ดโลไมต์ (CaCO3MgCO3) เถ้ ำ กระดู ก (Ca3(PO4)2) และแร่ โ ซเดีย ม
เฟลด์สปำร์หรือแร่แอลไบต์ (NaAlSi3O8) เป็ นต้น นอกเหนือจำกนัน้ ควำมยำกง่ำยของกำรคำนวณยังขึน้ อยู่กบั
ควำมบริสุ ท ธิข์ องวัต ถุ ด ิบ ที่ใ ช้ด้ว ย เนื่ อ งจำกบำงอุ ต สำหกรรม ต้ อ งใช้ว ัต ถุ ด ิบ ที่ม ีค วำมบริสุ ท ธิส์ ู ง เช่ น
อุตสำหกรรมกำรผลิตเลนส์ ซึ่งต้องมีกำรควบคุมควำมบริสุทธิ ์ของวัตถุดบิ อย่ำงสูง เพื่อให้ได้สมบัตเิ ชิงแสง
ตำมต้อ งกำร โดยในกำรค ำนวณอำจจะเป็ นกำรคำนวณองค์ประกอบทำงเคมีของแก้วหรืออำจะเป็ นกำร
คำนวณปริมำณวัตถุดบิ ทีต่ อ้ งกำรใช้ เพื่อให้ได้แก้วทีม่ อี งค์ประกอบทำงเคมีตำมต้องกำร

ขัน้ ตอนกำรคำนวณองค์ประกอบทำงเคมีโดยทัวไปจะต้ ่ องทรำบมวลโมเลกุลของสำรประกอบต่ำง ๆ


ทรำบองค์ประกอบทำงเคมีของแร่ต่ำง ๆ ทีใ่ ช้เป็ นวัตถุดบิ เป็ นต้น ลักษณะกำรคำนวณองค์ประกอบของแก้ว
ประเภทออกไซด์จะแสดงดังตัวอย่ำงดังต่อไปนี้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 51
ตัวอย่าง 4.1 จงคำนวณว่ำใน 100 กรัมของวัตถุดบิ ผสมจะต้องใช้แคลเซียมออกไซด์ (CaO) และอะลูมนิ ำ
(Al2O3) อย่ำงละกีก่ รัมเพื่อผลิตแก้วทีม่ อี งค์ประกอบเป็ น 65CaO35Al2O3 (องค์ประกอบทีเ่ ห็นเป็ นร้อยละโดย
โมล)

วิ ธีคิด จากสูตรแก้วทีต่ อ้ งการ 65CaO35Al2O3 สามารถตีความได้ว่าในแก้วประกอบไปด้วย

 CaO 65% โดยโมล หรือ มีสดั ส่วนโดยโมลเท่ากับ 0.65


 Al2O3 35% โดยโมล หรือ มีสดั ส่วนโดยโมลเท่ากับ 0.35

สิง่ ทีค่ วรทราบคือมวลโมเลกุล (Molecular weight) ของ CaO และ Al2O3 ซึง่ มีค่าเท่ากับ 56.08
และ 101.96 กรัม/โมล (gmol -1) ตามลาดับ

ขัน้ ที ่ 1 คานวณหาน้ ำหนักหากกาหนดให้ตอ้ งการผลิตแก้ว 1 โมล (1 โมลของแก้วประกอบด้วย


0.65 และ 0.35 โมลของ CaO และ Al2O3 ตามลาดับ)

น้ าหนัก CaO = 0.65 mol × 56.08 gmol -1 = 36.452 g

น้ าหนัก Al2O3 = 0.35 mol × 101.96 gmol -1 = 35.686 g


รวมเป็น 36.452 g + 35.686 g = 72.138 g ต่อแก้ว 1 โมล
ขัน้ ที ่ 2 คานวณหาสัดส่วนโดยน้ ำหนัก (Weight fraction) ของการผลิตแก้ว 1 โมล

สัดส่วนโดยน้ าหนักของ CaO = 36.452 g ÷ 72.138 g = 0.505


สัดส่วนโดยน้ าหนักของ Al2O3 = 35.686 g ÷ 72.138 g = 0.495
ขัน้ ที ่ 3 คานวณหาน้ ำหนักทีต่ อ้ งการในการผลิตแก้วโดยใช้วตั ถุดบิ ผสมหนักรวม 100 กรัม

น้ าหนักของ CaO = 0.505 × 100 = 50.5 กรัม


น้ าหนักของ Al2O3 = 0.495 × 100 = 49.5 กรัม

ดัง นั ้น ในการผลิต แก้ว 65CaO35Al2O3 จะต้อ งใช้ CaO 50.5 กรัม และ Al2O3 49.5 กรัม เป็ น
วัตถุดบิ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 52
ตัวอย่ าง 4.2 จงค ำนวณว่ ำ จะต้อ งใช้ว ตั ถุ ดิบ อย่ำ งละเท่ ำ ใดในกำรผลิต แก้ว ที่ม ีสูต รคือ 20Na2O80SiO2
(องค์ประกอบทีเ่ ห็นเป็ นร้อยละโดยโมล)

วิ ธี คิ ด สิง่ ทีค่ วรทราบคือ มวลโมเลกุล (Molecular weight) ของ Na2O และ SiO2 ซึง่ มีค่ าเท่ากับ
61.98 และ 60.09 กรัม/โมล (gmol -1) ตามลาดับ และโซเดียมออกไซด์ (Na2O) ได้มาจากวัตถุดบิ
คือ โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) ซึง่ มีมวลโลเลกุ ล เท่ากับ 105.94 gmol -1จากตำรำง 4.4 ค่ า
gravimetric factor ของโซเดียมคาร์บอเนตมีค่าเท่ากับ 1.71 ซึง่ หมายถึงหากต้องการ Na2O 1 กรัม
จะต้อ งใช้ Na2CO3 1.71 กรัม (ค านวณจาก 105.94 ÷ 61.98 = 1.71) โดยค่ านี้จะนาไปใช้ใ นการ
คานวณต่อไป

ขัน้ ที ่ 1 คานวณหาน้ ำหนักหากกาหนดให้ตอ้ งการผลิตแก้ว 1 โมล

น้ าหนัก Na2O = 0.20 mol × 61.98 gmol -1 = 12.396 g

น้ าหนัก SiO2 = 0.80 mol × 60.09 gmol -1 = 48.072 g


รวมเป็น 60.468 g ต่อแก้ว 1 โมล
ขัน้ ที ่ 2 คานวณหาสัดส่วนโดยน้ ำหนัก (Weight fraction) ของการผลิตแก้ว 1 โมล

สัดส่วนโดยน้ าหนักของ Na2O = 12.396 g ÷ 60.468 g = 0.205


สัดส่วนโดยน้ าหนักของ SiO2 = 48.072 g ÷ 60.468 g = 0.795
ขัน้ ที ่ 3 คานวณหาน้ ำหนักทีต่ อ้ งการในการผลิตแก้ว

น้ าหนักของ Na2O = 0.205 × 100 = 20.5 กรัม (ซึง่ ได้มาจาก Na2CO3) ดังนัน้ จะต้องใช้
Na2CO3 = 20.5 × 1.71 (กราวิเมทริกแฟกเตอร์) = 35.05 กรัม
น้ าหนักของ SiO2 = 0.795 × 100 = 79.5 กรัม

ดังนัน้ ในการผลิตแก้ว 20Na2O80SiO2 จะต้องใช้ Na2CO3 35.05 กรัม และ SiO2 79.5 กรัม

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 53
ตัวอย่าง 4.3 จงคำนวณว่ำจะต้องใช้โซเดียมคำร์บอเนต โซเดียมเฟลด์สปำร์ (หรือแร่แอลไบต์) และทรำย
อย่ำงละเท่ำใดในกำรผลิตแก้วทีม่ สี ตู ร 20Na2O5Al2O375SiO2 (องค์ประกอบทีเ่ ห็นเป็ นร้อยละโดยโมล)

วิ ธีคิด โซเดียมเฟลด์สปาร์ หรือ แร่แอลไบต์ มีสูตรทางเคมีคอื Na2OAl2O36SiO2 จะเห็นได้ว่า


วัตถุดบิ เพียงชนิดเดียวสามารถให้องค์ประกอบทีม่ ใี นแก้วได้ แต่ในสัดส่วนต่าง ๆ กัน ซึง่ ส่งผลต่อ
ความยุ่งยากในการคานวณ จากตำรำง 4.4 กราวิเมทริกแฟกเตอร์ (gravimetric factor) ของ
Na2O, Al2O3 และ SiO2 จากแร่แอลไบต์ คือ 8.46, 5.14 และ 1.45 ตามลาดับ และจากวัตถุดบิ ทัง้
สามชนิด องค์ประกอบของ Al2O3 จะได้มาจากแร่แอลไบต์เท่านัน้ โดยการคานวณหาน้ าหนักของ
วัตถุดบิ ทาได้โดย

วิ ธีที ่ 1 อำศัยกรำวิ เมทริ กแฟกเตอร์ (Gravimetric factor)

ขัน้ ที ่ 1 คานวณหาน้ ำหนักหากกาหนดให้ตอ้ งการผลิตแก้ว 1 โมล

น้ าหนัก Na2O = 0.20 mol × 61.98 gmol -1 = 12.396 g

น้ าหนัก Al2O3 = 0.05 mol × 101.96 gmol -1 = 5.098 g

น้ าหนัก SiO2 = 0.75 mol × 60.09 gmol -1 = 45.068 g


รวมเป็น 62.562 g ต่อแก้ว 1 โมล
ขัน้ ที ่ 2 คานวณหาสัดส่วนโดยน้ ำหนัก (Weight fraction) ของการผลิตแก้ว 1 โมล

สัดส่วนโดยน้ าหนักของ Na2O = 12.396 g ÷ 62.562 g = 0.198


สัดส่วนโดยน้ าหนักของ Al2O3 = 5.098 g ÷ 62.562 g = 0.082
สัดส่วนโดยน้ าหนักของ SiO2 = 45.068 g ÷ 62.562 g = 0.720
ขัน้ ที ่ 3 คานวณหาน้ ำหนักทีต่ ้องการในการผลิตแก้ว (สมมติให้ต้องการน้ าหนักรวมของแต่ละ
องค์ประกอบทางเคมีของแก้ว เป็ น 100 กรัม กล่ าวคือ น้ าหนักของ Na2O+Al2O3+SiO2 = 100
กรัม)

น้ าหนักของ Al2O3 = 0.082 × 100 = 8.20 กรัม (ซึง่ ได้มาจากแร่แอลไบต์) ดังนัน้ จะต้อง
ใช้แร่แอลไบต์ = 8.20 × 5.14 (กราวิเมทริกแฟกเตอร์ของ Al2O3 ในแร่แอลไบต์) = 42.148 กรัม
แต่ ใ นแร่แ อลไบต์ยงั ให้Na2O และ SiO2 อีกด้ว ย ซึง่ ค านวณน้ าหนักได้จากการหารน้ าหนักแร่
ด้วยกราวิเมทริกแฟกเตอร์ของ Na2O และ SiO2 ตามลาดับ จะได้ว่าแร่แอลไบต์ 42.148 กรัม

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 54
จะมี Na2O อยู่ = 42.148 ÷ 8.46 = 4.982 กรัม
และ จะมี SiO2 อยู่ = 42.148 ÷ 1.45 = 29.068 กรัม อยูด่ ว้ ย
น้ าหนั ก ของ Na2O ที ต่ ้ อ งการทั ง้ หมดคื อ 0.198 × 100 = 19.8 กรัม ซึ ่ง ได้ ม าจาก
แร่แอลไบต์ 4.921 กรัม ขาดอีก 19.8 - 4.982 = 14.818 กรัม ซึง่ จะได้มาจากโซเดียมคาร์บอเนต
จานวน 14.818 × 1.71 (กราวิเมทริกแฟกเตอร์ของโซเดียมคาร์บอเนต) = 25.339 กรัม
น้ าหนั ก ของ SiO2 ที ต่ ้ อ งการทั ้ง หมดคื อ 0.720 × 100 = 72.0 กรั ม ซึ ่ง ได้ ม าจาก
แร่แอลไบต์ 28.713 กรัม ขาดอีก 72.0 - 29.068 = 42.932 กรัม โดยสามารถได้มาจากวัตถุดบิ คือ
ทราย

ดัง นั ้น ในการผลิต แก้ว 20Na2O5Al2O375SiO2 จะต้อ งใช้ Na2CO3 25.339 กรัม แร่ แ อลไบต์
42.148 กรัม และทราย 42.932 กรัม

วิ ธีที ่ 2 ไม่ทรำบค่ำกรำวิ เมทริ กแฟกเตอร์ (Gravimetric factor)

ขัน้ ที ่ 1 ทราบมวลโมเลกุลของแก้ว ของแต่ละองค์ประกอบเคมี และของวัตถุดบิ

ชนิ ด มวลโมเลกุล; MW
(gmol -1)
แก้ว 20Na2O5Al2O375SiO2 62.56
Na2O 61.98
Al2O3 101.96
ทราย (SiO2) 60.09
แอลไบต์เฟลด์สปาร์ (Na2OAl2O36SiO2) 523.78
โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) 105.94

ขั น้ ที ่ 2 หาน้ าหนั ก ของแต่ ล ะองค์ ป ระกอบทางเคมีที ต่ ้ อ งการ ( Na2O, Al2O3 และ SiO2)
รวม 100 กรัม

จะได้ว่า ต้องใช้ Na2O 19.8 กรัม Al2O3 8.2 กรัม และ SiO2 72.0 กรัม

(คานวณเหมือนวิธที ี ่ 1)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 55
ขัน้ ที ่ 3 หาน้ าหนักของวัตถุดบิ ต่าง ๆ ทีต่ ้องใช้ (มักเริม่ จากวัตถุดบิ ทีม่ จี านวนองค์ประกอบมาก
ทีส่ ุดก่อน เช่น ในกรณีน้ ีจะเริม่ จาก แร่แอลไบต์ก่อน เนือ่ งจาก เป็ นตัวกาหนดปริมาณ Al2O3 และ
มีจานวนองค์ประกอบมากสุด คือ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ Na2O, Al2O3 และ SiO2)

แร่แอลไบต์ทตี ่ อ้ งการจะคานวณได้จากปริมาณ Al2O3 ทีต่ อ้ งการใช้


น้ำหนัก 𝐴𝑙2 𝑂3 ทีต่ อ้ งกำร × 𝑀𝑊ของแร่แอลไบต์ 8.2 ×523.78
ดังนัน้ จะใช้แร่แอลไบต์ = =
𝑀𝑊ของ 𝐴𝑙2 𝑂3 ในแร่แอลไบต์ 101.96

= 42.12 กรัม

แต่ต้องหาน้ าหนักของ Na2O และ SiO2 ที่ได้จำกแร่ แอลไบต์ด้วย เพื่อ ใช้ค ำนวณน้ ำหนักของ
โซเดียมคำร์บอเนตและทรำยทีต่ ้องเติมลงไปในส่วนผสมของวัตถุดบิ เพิม่ เพื่อให้ได้แก้วทีม่ สี ูตร
ตำมต้องกำร
น้ำหนักของแร่แอลไบต์ทใ่ี ช้ ×MW. ของ Na2 O ในแร่แอลไบต์
น้ าหนักของ Na2O ทีไ่ ด้จากแร่แอลไบต์ =
MW. ของแร่แอลไบต์
42.12 ×61.98
= = 4.984 กรัม
523.78
42.12 ×360.54
น้ าหนักของ SiO2 สามารถคานวณได้ในทานองเดียวกัน = = 28.993 กรัม
523.78

หมำยเหตุ ค่า 360.54 คานวณจากสูตรโมเลกุลของแร่แอลไบต์ม ี SiO2 อยู่ 6 โมเลกุลใน


สูตรโครงสร้างคือ Na2OAl2O36SiO2

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 56
กำรคำนวณหำน้ำหนักส่วนประกอบทีเ่ หลือสำมำรถคำนวณได้เช่นกัน ซึง่ กำรคำนวณทัง้ สองวิธอี ำจให้
ค่ำที่แตกต่ำงกันเล็กน้อยขึน้ อยู่กบั ควำมละเอียดหรือนัยสำคัญของน้ ำหนักอะตอมที่ใช้ในกำรคำนวณและยัง
ขึ้นอยู่กบั กำรประมำณตัวเลขที่ได้จำกกำรคำนวณอีกด้วย อย่ำงไรก็ตำมหำกเป็ นกำรผลิตแก้วที่มลี กั ษณะ
พิเศษ เช่นเลนส์ หรือแก้วที่ใช้ในอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์นัน้ องค์ประกอบของแก้วที่เปลี่ยนไปจะส่งผลอย่ำง
มำกต่อสมบัตทิ ส่ี ำคัญของแก้วซึง่ จะส่งผลกระทบต่อกระบวนกำรผลิตได้ ทำให้กำรคำนวณต้องมีควำมละเอียด
และระมัดระวังสูงขึน้ เพื่อให้เกิดควำมแตกต่ำงและควำมคลำดเคลื่อนน้ อยทีส่ ุด

คาถามท้ายบท

1. วัตถุดบิ ที่ใช้ในอุตสำหกรรมแก้วถูกแบ่งออกเป็ นกี่ประเภท อะไรบ้ำง และอำศัยหลัก กำรใดในกำรแบ่ง


พร้อมทัง้ ยกตัวอย่ำงวัตถุดบิ แต่ละประเภทมำอย่ำงละ 4 ชนิด

2. จงอธิบำยหน้ำที่ของวัตถุดบิ ต่ำง ๆ ที่ใช้ในแก้วที่มอี งค์ประกอบทำงเคมีดงั นี้ พร้อมทัง้ บอกว่ำแก้วแต่ละ


องค์ประกอบใช้แร่ใดเป็ นวัตถุดบิ ในกระบวนกำรผลิต
ก. K2O3SiO2
ข. 15Na2O9.8CaO75B2O30.2CaF2
ค. 14.9Li2O5Al2O380B2O30.1Cr2O3

3. จงแสดงวิธกี ำรคำนวณปริมำณวัตถุดบิ ทีต่ ้องใช้ (ชนิดและปริมำณ) เพื่อจะผลิตแก้วทีม่ นี ้ ำหนัก 1 กิโลกรัม


หลังจำกหลอมเสร็จ โดยเลือกชนิดของวัตถุดบิ ได้จำกตาราง 4.4 โดยองค์ประกอบของแก้วเป็ นดังนี้
ก. Na2O3B2O3 ข. 15Na2O10CaO75SiO2
ค. 2Na2OAl2O36SiO2 ง. 20CaO5Al2O330B2O345P2O5
4. จงแสดงวิธกี ำรคำนวณเพื่อเปลีย่ นองค์ประกอบจำกร้อยละโดยโมล (mol%) เป็ นร้อยละโดยมวล (wt%)
หรือ ร้อยละโดยมวล (wt%) เป็ นร้อยละโดยโมล (mol%)

ก. 25 mol%K2O75 mol%SiO2
ข. 25 wt%K2O75 wt%SiO2
ค. 12 โซดำ  9 ไลม์  3 แมกนีเซีย  2 อะลูมนิ ำ  74 ซิลกิ ำ (ตัวเลขแสดง wt%)
5. จงยกตัวอย่ำงวัตถุดบิ ทีท่ ำให้เกิดฟองก๊ำซขึน้ ในแก้วมำ 3 ชนิด พร้อมเขียนปฏิกริ ยิ ำเคมีแสดงกำรเกิดก๊ำซ
ดังกล่ำว และอุณหภูมทิ ท่ี ำให้เกิดก๊ำซขึน้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 57
บทที่ 5
การเกิ ดแก้วและการหลอมแก้ว
Glass Formation and Glass Melting

“ขัน้ ตอนการหลอมถือเป็ นขัน้ ตอนทีส่ าคัญมากในกระบวนการผลิตแก้ว โดยเกิดการเปลีย่ นแปลง


ของวัตถุดบิ ทีเ่ ป็ นของแข็งผลึก (Crystalline solids) ของเหลวทีเ่ ป็ นเนื้อเดียวกัน โดยการให้ความร้อนแก่
วัตถุดบิ ทีอ่ ุณหภูมสิ ูงจนเกิดการเปลีย่ นสถานะจากของแข็งเป็ นของเหลวหนืด จากนัน้ จึงจะส่งต่อไปยัง
ขัน้ ตอนต่อไปคือการขึ้นรูป หากวัตถุดบิ แก้วไม่หลอมหรือไม่เป็ นเนื้อเดียวกันจะทาให้แก้วเกิดตาหนิ หรือ
ทาให้ผลิตภัณฑ์แก้วเสียหายได้ อย่างไรก็ตามปริมาณและสัดส่วนของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ตอ้ งเหมาะสมทีจ่ ะทาให้
เกิดแก้วได้ ซึง่ ในบทนี้จะได้กล่าวถึงทฤษฎีทเี ่ กีย่ วข้องถึงการเกิดแก้ว (Glass formation) นอกเหนือจากนี้
ในการหลอมวัตถุ ดิบต่ างๆ ทีอ่ ุณหภูมิสูง วัตถุ ดิบต่ างๆ จะเกิดการเปลีย่ นสภาพ เปลีย่ นสถานะ หรือ
เกิดปฏิกริ ยิ าเคมีต่างๆ ขึ้น ซึง่ การเปลีย่ นแปลงต่างๆ อันเนือ่ งจากความร้อนเหล่านี้จะถูกอธิบายในบทนี้
ด้วย”

5.1 การเกิ ดแก้ว (Glass formation)

ความสามารถในการเกิดแก้ว (Glass formation) จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์ประกอบของวัตถุดบิ ที่


ใช้ รวมถึงชนิดของวัต ถุ ดิบที่ใ ช้ ใ นกระบวนการผลิต แก้ว ด้ว ย แก้ว องค์ประกอบเดียวกัน อาจมีล กั ษณะที่
แตกต่างกันหากสภาวะทีใ่ ช้ในการหลอมแก้วแตกต่างกัน โดยสภาวะดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น ระยะเวลาทีใ่ ช้
หลอมแก้วและอัตราการเย็นตัว เป็ นต้น นอกจากนัน้ ยังพบว่าปริมาณของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้กส็ ่งผลต่อการเกิดแก้ว
เช่น ในแก้วแคลเซียมอะลูมเิ นต (Calcium aluminate glass) สามารถทาให้เกิดแก้วได้ในสภาวะการทาให้เย็น
ตัวอย่างรวดเร็วทัวๆ
่ ไป เมื่อหลอมวัตถุดบิ ในปริมาณไม่เกิน 5 กรัม แต่หากปริมาณของวัตถุดบิ เกินกว่านัน้
จะต้องปรับสภาวะการเย็นตัวให้เย็นตัวอย่างยิง่ ยวด (Rapid quenching condition) และพบว่าสัด ส่วนของ
CaO ต่ อ Al2O3 ส่ งผลต่ อ ความสามารถในการเกิด แก้ว อีก ด้ว ย การเกิดแก้ว (Glass formation) สามารถ
อธิบ ายได้ด้ว ยหลายทฤษฎี เช่ น ทฤษฎี ก ารเกิ ด แก้ ว เชิ ง โครงสร้ า ง (Structural approach of glass
formation) และ ทฤษฎีการเกิ ดแก้วเชิ งจลน์ (Kinetic approach of glass formation) ดังนี้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 58
5.1.1 ทฤษฎีการเกิ ดแก้วเชิ งโครงสร้าง (Structural approach of glass formation)

มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้อธิบายเกี่ยวกับการเกิดแก้วเชิงโครงสร้างไว้ ได้แก่ Goldschmidt ที่


อธิบายว่าอัตราส่วนระหว่างรัศมีของไอออนบวกต่อรัศมีของไอออนลบ (rc/ra) ของวัสดุหรือวัตถุดบิ ทีส่ ามารถ
เกิดแก้วได้จะต้องอยู่ใ นช่ว งระหว่าง 0.2 - 0.4 ต่อมา Zachariasen ได้อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของแก้ว
ออกไซด์ (oxide glass) จากการอธิบายจากโครงสร้างของแก้วซิลกิ า (Silica glass) ทีป่ ระกอบไปด้วยหน่ วย
เตตระฮีดรัล (Tetrahedral) ของซิลกิ อน หรือ [SiO4] ทีม่ กี ารเชื่อมต่อระหว่างหน่วย [SiO4] ด้วยการแบ่งปั นมุม
หรือที่เรียกว่า “Corner sharing” ซึ่งคล้ายกับโครงสร้างผลึกซิลกิ าแต่ ลกั ษณะการเชื่อมต่อจะไม่เป็ นระเบียบ
เหมือนกับโครงสร้างผลึก (Crystal structure) โดยการเชื่อมต่อของหน่ วย [SiO4] กลายเป็ นโครงข่ายแก้วนี้จะ
เชื่อ มต่ อ ไปทุก ทิศ ทางอย่างไม่เ ป็ นระเบียบส่ งผลให้แก้วมีส มบัติกระจายเท่ากันทุ กทิศ ทางหรือ ที่เรียกว่า
Isotropic properties จากการศึก ษานี้ Zachariasen ได้ส รุป ว่าออกไซด์ท่สี ามารถเกิด แก้ว ได้นัน้ จะต้อ งมี
เงือ่ นไขดังต่อไปนี้

1. ออกซิเ จนไอออน (หรือ อะตอม) จะต้อ งไม่เ ชื่อ มต่ อ กับ ไอออนบวกอื่น ๆ เกิน กว่ า 2 ไอออน
เนื่อ งจากหากออกซิเ จนเชื่อ มต่ อ กับ ไอออนบวกมากเกินไป จะทาให้มุมของพันธะระหว่ างไอออนบวก-
ออกซิเจน-ไอออนบวกเกิดขีดจากัด ซึง่ จะทาให้เกิดแก้วทาได้ยาก (แก้วจะมีมมุ ของพันธะทีก่ ระจายตัวมาก)

2. หน่ วยย่อยของไอออนบวก หรือ สภาพแวดล้อมของไอออนบวก ของไอออนที่เหมาะสมกับการ


เป็ นตัวโครงสร้างแก้วจะต้องเป็ นหน่ วยย่อยแบบสามเหลีย่ ม (Triangular) เช่น B2O3 ซึ่งมีเลขโคออร์ดเิ นชัน
เท่ากับ 3 และแบบเตตระฮีดรัล (Tetrahedral) เช่น SiO2 P2O5 และ GeO2 ซึ่งมีเลขโคออร์ดเิ นชันเท่ากับ 4
เท่านัน้ หรืออาจกล่าวได้ว่าจานวนออกซิเจนที่ล้อมรอบไอออนบวกหรือเลขโคออร์ดเิ นชัน (Coordination
number) ควรมีค่าเท่ากับ 3 หรือ 4

3. การเชื่อมต่อของหน่วยย่อยทีไ่ ด้กล่าวมาจะต้องเชื่อมต่อกันด้วยมุมเท่านัน้ (Corner sharing) ซึง่ ทา


ให้ไอออนบวกอยูห่ ่างกันมากทีส่ ุด

4. โครงสร้างสามมิตขิ องแก้วจะเกิดขึน้ ก็ต่อเมือ่ อย่างน้อย 3 มุมของหน่วยย่อยเชื่อมต่อกับหน่วยย่อย


อื่นๆ

อย่างไรก็ตามการเกิดแก้วจะต้องมีปัจจัยอื่นๆ เสริมด้วย เช่นการทาให้แก้วเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่ง


เกีย่ วข้องโดยตรงกับทฤษฎีจลน์ของการเกิดแก้ว ซึง่ จะได้กล่าวต่อไป

นอกเหนื อ จากนั ้น Standworth แบ่ ง ชนิ ด ของวั ต ถุ ดิ บ แก้ ว ด้ ว ยค่ า อิ เ ล็ ก โทรเนกาติ ว ิ ตี ห รือ
ความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอน (Electronegativity) โดยแบ่งออกเป็ น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มของตัวโครงร่าง
ตาข่ายแก้ว (Glass formers หรือ Network formers) ซึ่งเป็ นกลุ่มที่ทาให้เกิดแก้วได้ พันธะระหว่างไอออน
บวกทีเ่ ป็ นตัวโครงสร้างแก้วกับออกซิเจนจะมีความเป็ นไอออนิกประมาณร้อยละ 50 หากมีความเป็ นไอออนิก

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 59
ของพันธะสูงขึน้ หรือเป็ นกลุ่มทีม่ คี ่าอิเล็กโทรเนกาติวติ ตี ่ ากว่าจะถูกจัดกลุ่มอยู่ระหว่างตัวโครงร่างตาข่ายแก้ว
และตัวช่วยหลอม หรือเรียกว่าตัวอินเทอร์มเี ดียด (Intermediate) ซึ่งจะสามารถทาหน้ าที่เป็ นตัวโครงสร้าง
แก้วได้บางส่วน ขึน้ อยู่กบั ปริมาณที่มใี นแก้ว และกลุ่มสุดท้ายจะเป็ นกลุ่มที่มคี ่าอิเล็กโทรเนกาติวติ ตี ่ าที่สุด
กล่าวคือมีความเป็ นไอออนิกสูงมาก ซึ่งไม่สามารถทาให้เกิดโครงสร้างแก้วได้ โดยสารดังกล่าวจะมีหน้ าที่
ปรับเปลีย่ นโครงสร้างแก้ว จึงถูกเรียกว่าเป็ นตัวช่วยหลอมหรือตัวปรับโครงสร้างแก้ว (Glass modifiers)

Sun ได้เสนอการจัดกลุ่มวัตถุดบิ ด้วยค่าความแข็งแรงพันธะ (Bond strength) เพื่อใช้อธิบายการเกิด


แก้ว ความแข็งแรงพันธะอาจแสดงในรูปแบบของพลังงานที่ใ ช้ใ นการแยกพันธะระหว่างไอออนบวกกับ
ออกซิเจนออกจากกัน (Dissociation energy) หากพันธะระหว่างไอออนบวกกับออกซิเจนมีความแข็งแรงสูง
ทาให้การจัดเรียงตัวเป็ นผลึกในระหว่างการเย็นตัว เกิดขึน้ ได้ยาก นัน่ คือมีความสามารถในการทาให้เกิดแก้ว
ได้ดี โดยค่าพลังงานพันธะระหว่างไอออนบวกและออกซิเจนใดๆ สามารถคานวณได้จากค่าพลังงานการสลาย
พันธะ (Dissociation energy) หารด้วยเลขโคออร์ดเิ นชัน เช่นในกรณีของเตตระฮีดรัลจะนาค่าพลังงานการ
สลายพันธะหารด้วย 4 โดยสามารถแบ่งกลุ่ มออกไซด์ออกเป็ น 3 กลุ่ม เช่นเดียวกับ Standworth คือ ตัว
โครงสร้างแก้ว (Network formers) ตัว Intermediate และตัวปรับโครงสร้าง (Network modifiers)

5.1.2 ทฤษฎีการเกิ ดแก้วเชิ งจลน์ (Kinetic approach of glass formation)

หลักสาคัญของทฤษฎีน้ีคอื การคานึงถึงอัตราเร็วของการลดอุณหภูม ิ (Cooling rate) หรืออัตราการ


เย็นตัวของน้ าแก้วหลอมเหลว โดยต้องเป็ นอัตราที่เร็วพอที่จะไม่ทาให้เกิดการตกผลึก (Crystallisation) ใน
แก้ว โดยหากของเหลวชนิ ด นัน้ ต้อ งการอัต ราการเย็น ตัว ที่ร วดเร็ว มากเพื่อ ให้เ กิด แก้ว จะถือ ว่ า เป็ น ตัว
โครงสร้างแก้ว (Glass network former) ทีแ่ ย่ หากของเหลวชนิดนัน้ แม้จะผ่านการเย็นตัวรวดเร็วยิง่ ยวดก็ไม่
สามารถทาให้เกิดแก้วได้ก็จะไม่ถอื ว่าเป็ นตัวโครงสร้างแก้ว (Non-glass formers) ซึง่ ทฤษฎีการเกิดแก้วเชิง
จลน์จะอธิบายถึงปั จจัยต่างๆ ทีท่ าให้เกิดผลึกได้ ดังนัน้ ในมุมมองของการพิจารณาการเกิดแก้วก็จะหลีกเลีย่ ง
การเกิดผลึก ในระหว่างการเย็นตัว ซึ่งมีปัจจัยที่ส่ งผลต่ อการเกิดผลึกเมื่อ ของเหลวเย็นตัวลง ได้แก่ เกิด
นิวเคลียสในแก้ว (Nucleation) และการโตของผลึก (Crystal growth)

การเกิดนิวเคลียส (Nucleation) นิวเคลียสที่ทาให้เกิดการตกผลึกในแก้วมี 2 ชนิด ได้แก่ นิวเคลียส


ชนิดเอกพันธ์ (Homogeneous nucleus) ซึง่ เป็ นนิวเคลียสทีเ่ กิดขึน้ ในน้ าแก้วได้เอง และ นิวเคลียสชนิดวิวธิ
พัน ธ์ (Heterogeneous nucleus) ซึ่ง เป็ น นิ ว เคลีย สที่เ กิด ขึ้น เนื่ อ งจากความแตกต่ า งของพลัง งานที่ผ ิว
(Surface energy) เช่น ผิวของสิง่ ปนเปื้ อนในแก้ว กับน้ าแก้ว หรือ ผิวระหว่างน้ าแก้วกับถ้วยหลอม เป็ นต้น
หากไม่มนี ิวเคลียสเกิดขึน้ ระหว่างการเย็นตัวก็จะไม่เกิดการโตของผลึกขึน้ ส่งผลให้เกิดแก้วได้ การศึกษาการ
เกิดนิวเคลียสต้องอาศัยการทดลองทีซ่ บั ซ้อน ประกอบไปด้วยการให้ความร้อนกับแก้ว เพื่อให้เกิดนิวเคลียส

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 60
ในแก้วที่อุณหภูมคิ งที่เท่ากับอุณหภูมกิ ารเกิดนิวเคลียส จากนัน้ ลดอุณหภูมลิ งอย่างรวดเร็ว (Quenching)
เพื่อไม่ให้จานวนและขนาดของนิวเคลียสทีเ่ กิดขึน้ เปลีย่ นแปลงขณะลดอุณหภูม ิ จากนัน้ ให้ความร้อนอีกครัง้
หนึ่ง ณ อุณหภูมทิ ่จี ะเกิดการโตของผลึก จนกระทังเกิ ่ ดผลึกขนาดใหญ่ข้นึ เมื่อสามารถตรวจวัดขนาดและ
จานวนของผลึกที่เกิดขึ้นได้ก็จะวิเคราะห์ถึงอัตราการเกิดนิวเคลียสในแก้วได้ โดยสามารถคานวณหาค่ า
อัตราเร็วของการเกิดนิวเคลียสในแก้วได้จากการนับจานวนของนิวเคลียสทีเ่ กิดขึน้ ซึง่ จะเท่ากับจานวนผลึกที่
มองเห็น ต่ อ ปริม าตรของแก้ว ภายในระยะเวลาที่ ท าให้เ กิด นิ ว เคลีย ส (Nucleation time) ซึ่ง อาจใช้ก ล้อ ง
จุลทรรศน์ หรือ กล้องจุลทรรศน์อเิ ล็กตรอนในการวิเคราะห์ เนื่องจากผลึกทีเ่ กิดขึน้ มักมีขนาดเล็กมาก อย่างไร
ก็ตามการควบคุมปริมาณของนิวเคลียสที่เกิดขึน้ ในแก้วในระหว่างการลดหรือเพิม่ อุณหภูมใิ นขัน้ ตอนต่างๆ
ของการทดลองทาได้ยาก ดังนัน้ วิธกี ารนี้จงึ ทาให้เกิดความคลาดเคลื่อนสูง

ทัง้ นี้อตั ราการเกิดนิวเคลียส (I) สามารถใช้สมการทางเทอร์โมไดนามิกทีป่ ระกอบด้วยปั จจัยต่างๆ ที่


เกี่ยวข้องกับการเกิดนิวเคลียส เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบก่อ นและหลังเกิดนิวเคลียส หรือ
อัตราเร็วในการเคลื่อนทีข่ องอะตอมหรือไอออนทีอ่ ุณหภูมติ ่างๆ เพื่อเกิดผลึก เป็ นต้น ซึง่ ทัง้ สองปั จจัยนี้แสดง
ในรูปของการกีดกัน (Barrier) ต่อการเกิดนิวเคลียส ซึ่งได้แก่ การกีดกันทางจลน์ (Kinetic barrier; ED)
ซึ่ ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ พลัง งานกระตุ้ น (Activation energy) ของการเกิ ด นิ ว เคลี ย ส และ การกี ด กัน ทาง
เทอร์โมไดนามิ ก (Thermodynamic Barrier, W*) ซึ่งเกี่ยวกับ พลังงานอิสระที่เปลี่ยนแปลงไปของระบบ
เนื่องมาจากการเกิดนิวเคลียส โดยสามารถอธิบายได้ดว้ ยสมการ 5.1

𝑁 𝑊 ∗
∆𝐸𝐷
( 𝐴 ) (− )
𝐼 = 𝑛𝑣 ∙ 𝑒 𝑅𝑇 ∙𝑒 𝑅𝑇 สมการ 5.1

เมือ่ 𝑛𝑣 คือ ค่ า ความน่ า จะเป็ นของ Boltzmann (Boltzmann probability factor) ที่ท าอัต ราการเกิ ด
นิวเคลียสสูงทีส่ ุด

NA คือ เลขอะโวกาโดร (Avogadro number)

R คือ ค่าคงทีข่ องก๊าซ

T คือ อุณหภูมสิ มั บูรณ์ (Absolute temperature)

เมื่อมีนิวเคลียสที่มขี นาดวิกฤต (Critical size) เกิดขึ้นจะเกิด การโตของผลึกขึน้ โดยการอธิบายจะ


พิจารณาความสัมพันธ์ของการโตของผลึกกับปั จจัยต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ได้แก่ พลังงานกระตุน้ ของการเกิดผลึก
(Activation energy; E) และพลังงานอิสระในการเกิดผลึก (Free energy of crystrallisation, – Gx) ซึ่ง
เป็ นการเปลีย่ นแปลงพลังงานอิสระ (Free energy) ในการเปลีย่ นจากของเหลวเป็ นผลึก และยังพิจารณาการ
สัน่ สะเทือ นของอะตอม (Atomic vibrational frequency, 𝑣) ซึ่ง เกี่ย วข้อ งกับ การเคลื่อ นที่ข องอะตอมใน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 61
ของเหลวไปยังผิวของผลึกที่เกิดขึน้ (𝑣𝑙𝑥 ) และจากผลึกไปยังของเหลว (𝑣𝑥𝑙 ) ซึง่ แสดงดังสมการ 5.2 และ
5.3 ตามลาดับ

∆𝐸
(− 𝑅𝑇 )
𝑣𝑙𝑥 = 𝑣 ∙ 𝑒 สมการ 5.2

∆𝐸 −∆𝐺𝑥
(− )
𝑣𝑥𝑙 = 𝑣 ∙ 𝑒 𝑅𝑇 สมการ 5.3

อัต ราการโตของผลึก (𝑢) สามารถค านวณได้จาก 𝑢 = 𝑎(𝑣𝑙𝑥 − 𝑣𝑥𝑙 ) เมื่อ a คือ ระยะห่าง
ระหว่างผลึกและของเหลว จะได้

∆𝐸′ ∆𝐺
(− 𝑅𝑇 ) ( 𝑅𝑇𝑥 )
𝑢 =𝑎∙𝑣∙𝑒 ∙ [1 − 𝑒 ] สมการ 5.4

หากอุณหภูมขิ องระบบ T มากกว่าจุดหลอมเหลวของของเหลว Tm ส่งผลให้พลังงานอิสระในการเกิด


ผลึก Gx มีค่าบวก ซึง่ แสดงให้เห็นว่าไม่เกิดผลึกขึน้ ในระบบ ตามหลักการทางเทอร์โมไดนามิกส์ ส่งผลให้
∆𝐺𝑥
ทาให้พจน์ของ [1 − 𝑒 ( 𝑅𝑇 ) ] มีค่าลบเนื่องจากพจน์ของเอกซ์โพเนนเชียลจะมีค่ามากกว่า 1 ดังนัน้ สมการ 5.4
ก็มคี ่าลบ นัน่ คืออัตราการโตของผลึก (𝑢) เป็ นลบซึ่งหมายความไม่เกิดผลึก หากอุณหภูมลิ ดลงต่ ากว่าจุด
หลอมเหลว (T < Tm) จะทาให้ค่าอัตราการโตของผลึกเป็ นบวกซึง่ หมายความว่าเกิดผลึกขึน้ ในแก้ว อัตราการ
เกิด นิ ว เคลีย ส (I) และอัต ราการโตของผลึก (u) ที่อุ ณ หภูม ิต่ า งๆ แสดงดัง รูป 5.1 ซึ่ง เห็น ได้ว่า การเกิด
นิวเคลียสจะเกิดทีอ่ ุณหภูมติ ่ ากว่าการโตของผลึก อย่างไรก็ตามถ้า ทาให้แก้วอยู่ ณ อุณหภูมติ รงบริเวณที่แร
เงาในรูป 5.1 จะทาให้แก้วเกิดผลึก ได้ง่าย แสดงให้เห็นว่าถ้า พื้นที่ท่แี รเงามีน้อย หรือ เส้นกราฟการโตของ
ผลึกและเส้นกราฟการเกิดนิวเคลียสอยูห่ ่างกันหรือไม่ซอ้ นทับกันระบบนัน้ ก็จะทาให้เกิดแก้วได้ง่าย

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 62
รูป 5.1 อัตราการเกิดนิวเคลียสและการโตของผลึกทีอ่ ุณหภูมติ ่ ากว่าจุดหลอมเหลว Tm

ในความเป็ นจริงแล้วการเกิดนิวเคลียสและการโตของผลึกจะเกิดขึน้ อยู่ตลอดเวลาในระหว่างที่แก้ว


เย็นตัวลงการเย็นตัวของแก้วเมื่ออุณหภูมเิ หมาะสม แต่ด้วยอัตราการเกิดนิวเคลียสและการโตของผลึกจะ
ขึ้นอยู่กบั อุณหภูม ิ ดังนัน้ การพิจารณาการเกิดผลึกในแก้ว จะพิจารณาจากสัดส่วนโดยปริมาตรของผลึกที่
เกิดขึ้น (Vx/V) เมื่อ Vx คือ ปริมาตรของผลึกและ V คือ ปริมาตรของแก้ว และสามารถอธิบายได้โ ดยใช้
สมการ 5.5

𝑡 𝑡 3
𝑉𝑥 [− ∫0 𝐼𝑣 (∫𝑡′ 𝑢𝑑𝜏 ) 𝑑𝑡 ′ ]
=1−𝑒 สมการ 5.5
𝑉

เมือ่ 𝐼𝑣 คือ อัตราการเกิดนิวเคลียสต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร

𝑢 คือ อัตราการโตของผลึกต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร

𝑡 คือ เวลาทัง้ หมดในการบาบัดด้วยความร้อน (Heat treatment)

𝑡 ′ คือ เวลาทีใ่ ช้ในการเกิดนิวเคลียส

𝜏 คือ เวลาทีใ่ ช้ในการโตของผลึก

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 63
ทัง้ อัต ราการเกิด นิ ว เคลีย สและอัต ราการโตของผลึก นี้ จ ะขึ้น อยู่กับ เวลาและอุ ณ หภูม ิ ดัง นัน้ เมื่อ
พิจารณาการตกผลึกจากสมการ 5.5 แล้ว จะเห็นว่ามีความซับซ้อนอยู่มากเนื่องจาก ณ อุณหภูมหิ นึ่ง ๆ แก้ว
สามารถเกิดทัง้ นิวเคลียสและเกิดการโตของผลึกได้พร้อม ๆ กัน ทาให้เวลาทีป่ รากฏในสมการ 5.5 มีหลายค่า
(𝑡, 𝑡′ และ 𝜏) อย่างไรก็ตามหากแก้วอยู่ในสภาวะอุณหภูมคิ งที่ (Isothermal condition) สัดส่วนโดยปริมาตร
ของผลึกที่เกิดขึน้ ในแก้วจากสมการ 5.5 สามารถเขียนให้อยู่ในรูปอย่างง่ายโดยการอินทิเกรตสมการ 5.5
ภายใต้สมมติฐานทีว่ ่าการผลึกทีเ่ กิดขึน้ มีรปู ร่างเป็ นทรงกลม ได้ดงั สมการ 5.6

𝜋
𝑉𝑥 [− 3 𝐼𝑣 𝑢3 𝑡 4 ]
=1−𝑒 สมการ 5.6
𝑉

เมือ่ 𝑡 คือ เวลาทีแ่ ก้วอยูท


่ อ่ี ุณหภูมคิ งที่ (Isothermal condition)

ในทางกลับกันหากทราบค่าของ 𝐼𝑣 และ 𝑢 ทีอ่ ุณหภูมคิ งทีก่ จ็ ะสามารถคานวณหาเวลาทีต่ ้องการใช้เพื่อให้ได้


ปริม าตรของผลึก ตามต้ อ งการได้ นอกจากนั น้ ยัง สามารถสร้า งกราฟเพื่อ ใช้อ ธิบ ายผลของปั จ จัย ทาง
เทอร์โมไดนามิก (Thermodynamic factors) และปั จจัยทางจลน์ (Kinetic factors) ต่อการเกิดผลึกในแก้วได้
ดังกราฟในรูป 5.2 ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมกิ บั เวลาที่ทาให้เกิดผลึกในแก้วที่มสี ดั ส่วนเท่ากับ
Vx/V โดยกราฟดังกล่ าวมีช่อื เรียกว่า Time-temperature-transformation diagram หรือ TTT diagram จาก
ข้อมูลข้างต้นและจากรูป 5.1 จะเห็นได้ว่าค่าอัตราการเกิดนิวเคลียสและอัตราการโตของผลึกจะลดลงเข้าใกล้
ศูนย์เมื่ออุณหภูมเิ ข้าใกล้จุดหลอมเหลวของแก้ว (Tm) ทาให้ใน TTT diagram แสดงให้เห็นว่าเวลาทีใ่ ช้ในการ
ทาให้เกิดนิวเคลียสจะเข้าสู่  เมือ่ อุณหภูมเิ ข้าใกล้ Tm ในทางกลับกันเมือ่ อุณหภูมลิ ดต่ าลงมากๆ เวลาทีใ่ ช้ก็
จะเข้าสู่  เช่นกันเพราะแก้วมีความหนืดสูงขึ้น จาก TTT diagram พบว่าการเกิด นิวเคลียสจะเร็วที่สุดที่
อุณหภูม ิ Tn โดยใช้เวลาเพียง tn (เวลาน้อยทีส่ ุด) ซึง่ อยูต่ รงส่วนโค้งของกราฟหรือทีเ่ รียกว่า “Nose of curve”
จากกราฟยังทาให้เห็นว่าทางด้านซ้ายของ Nose of curve การเกิดนิวเครียสหรือผลึกในแก้วจะน้อยมาก) ซึง่
ส่งผลให้ของแข็งทีเ่ กิดขึน้ ยังคงสภาพเป็ นแก้วอยู่ โดยทัวไปทางอุ
่ ตสาหกรรมจะถือว่าแก้วทีม่ ผี ลึกในประมาณ
ทีน่ ้อยกว่า 1 ppm เป็ นแก้วทีไ่ ม่มผี ลึก ยกเว้นแก้วพิเศษทีจ่ ะต้ องไม่มผี ลึกในแก้ว เช่น เลนส์ หรือ ใยแก้วนา
แสง เป็ นต้น และยังพบว่า อัต ราการเย็นตัว ส่ ง ผลต่ อ การเกิดผลึกในแก้ว ด้ว ย ซึ่งอัต ราการเย็นตัว วิก ฤต
(Critical cooling rate) สามารถคานวณได้จากความชันของเส้นสัมผัสทีล่ ากระหว่าง Tm และ Nose of curve
(เส้นประ) ซึง่ สามารถแสดงได้ในสมการ 5.7 หากทาให้ของเหลวเย็นตัวช้ากว่าอัตราเย็นตัววิกฤตจะทาให้การ
เกิดผลึกในแก้วสูง

𝑑𝑇 (𝑇𝑚 −𝑇𝑛 )
( ) ≈ สมการ 5.7
𝑑𝑡 𝑐 𝑡𝑛

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 64
รูป 5.2 Time-temperature transformation diagram หรือ TTT diagram ทีก่ ่อให้เกิดผลึกในสัดส่วน Vx/V

5.2 การวิ เคราะห์ความสามารถในการเกิ ดแก้ว (Glass forming ability) และความเสถียรของ


แก้ว (Glass stability)

มีปัจจัยหลายประการทีส่ ่งผลต่อการเกิดแก้ว เช่น ปริมาณแก้ว ทีห่ ลอม อัตราส่วนผสมแก้ว และอัตรา


การเย็นตัวของแก้ว เป็ นต้น โดยพบว่า การหลอมแก้วแคลเซียมอะลูมเิ นตจะทาได้ง่ายเมื่อหลอมแก้วเพียง 5
กรัม ในขณะที่ต้องการการเย็นตัวยิง่ ยวด หากเพิม่ ปริมาณเป็ น 10 กรัม และยังพบว่าสัดส่วนของ CaO ต่อ
Al2O3 เหมาะสมจะทาให้แ ก้ว แคลเซียมอะลูมเิ นตทาได้ง่ายขึ้น ในกรณีของอัต ราการเย็นตัวนัน้ สามารถ
พิจารณาง่ายๆ ว่าหากแก้วทีต่ อ้ งการอัตราการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว องค์ประกอบหรือแก้วชนิดนัน้ ๆ ก็จะทาให้
เกิดแก้วได้ยาก (Lower glass formability) อย่างไรก็ตามการการหาค่าอัตราการเย็นตัววิกฤตนัน้ ยุ่งยากและ
ซับซ้อน ซึ่งสามารถทาได้โดยการหลอมวัตถุดิบที่องค์ประกอบและปริมาณเท่ากัน จนได้ของเหลวสมบูรณ์
จากนัน้ ลดอุณหภูมทิ อ่ี ตั ราคงทีแ่ ล้วพิจารณาว่าวัสดุของแข็งทีเ่ กิดขึน้ เป็ นแก้วหรือไม่ หากเกิดแก้วขึน้ จะต้อง
เปลี่ยนอัตราการลดอุณหภูม ิ โดยควบคุมให้อตั ราการลดอุณหภูมชิ ้าลง อัตราการลดอุณหภูมหิ รืออัตราการ
เย็นตัววิกฤตนัน้ จะเป็ นอัตราการลดอุณหภูมทิ เ่ี ร็วทีส่ ุดแต่ไม่ทาให้เกิดแก้ว อัตราการเย็นตัววิกฤตสามารถหา
ได้งา่ ยขึน้ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงความร้อน (Thermal analysis) เช่น ใช้เทคนิค Differential Scanning
Calorimeter (DSC) ซึง่ จะทางานอัตโนมัตไิ ด้ โดยสามารถตัง้ ค่าอัตราการเย็นตัวค่าต่างๆ กันได้ หากเกิดผลึก
ขึน้ ในแก้ว กราฟที่ได้จากเครื่องจะปรากฏลักษณะของพีคการคายความร้อน (Exothermic peak) อย่างไรก็
ตามวิธนี ้อี าจมีขอ้ จากัด เนื่องจากพีคการเกิดผลึกอาจต่ามากหรือมีความสูงน้อยมากจนไม่สามารถตรวจวัดได้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 65
นอกเหนื อ จากการเกิดแก้ว ได้แ ล้ว ความเสถียรของแก้ว ที่ได้ (Glass stability) ก็มคี วามส าคัญ ที่
จะต้องคานึงถึงอีกด้วย ความเสถียรของแก้วจะถูกนามาพิจารณาในกรณีท่ตี ้องการให้ความร้อนแก้วอีกครัง้
หนึ่ง เช่น เพื่อทาการขึน้ รูปใหม่ เป็ นต้น ยกตัวอย่างเช่นการผลิตใยแก้วนาแสงจากแก้ว ทีเ่ ย็นตัวสมบูรณ์แล้ว
(Preform) ซึ่งแก้วจะถูกให้ความร้อนอีกครัง้ ที่อุณหภูมทิ ่เี หมาะสมในการดึง แก้ว (การขึ้นรูปใยแก้ว) ซึ่งใน
ระหว่างกระบวนการให้ความร้อนครัง้ ทีส่ องนี้แก้วอาจเกิดผลึกขึน้ ได้ ซึง่ แสดงว่าแก้วมีความเสถียรต่ า (Poor
glass stability) ความเสถียรของแก้วและความสามารถในการเกิดแก้วนัน้ เป็ นสมบัตทิ ไ่ี ม่มคี วามสัมพันธ์ซง่ึ กัน
และกัน แต่ในบางกรณีพบว่าแก้วที่มคี วามสามารถในการเกิดแก้วต่ า ก็จะมีความเสถียรต่ าด้วย ความเสถียร
ของแก้ ว นั ้น อาจพิจ ารณาได้ จ ากช่ ว งอุ ณ หภู ม ิร ะหว่ า งอุ ณ หภู ม ิก ารเปลี่ย นเป็ นแก้ ว (Glass transition
temperature, Tg) และอุณหภูมกิ ารเกิดผลึก (Crystallisation temperature, Tc) ซึง่ ทัง้ สองอุณหภูมนิ ้ีสามารถ
หาได้โดยใช้เ ทคนิค การวิเ คราะห์เ ชิงความร้อ นเช่น กัน ได้แก่ เทคนิค Differential scanning calorimeter
(DSC) และ เทคนิค Differential thermal analysis (DTA) ความแตกต่างของอุณหภูมทิ งั ้ สอง (Tc-Tg) จะบอก
ความเสถียรของแก้ว หากมีความต่างมาก (ช่วงกว้าง) แก้วจะมีความเสถียรสูง ลักษณะปรากฏของกราฟทีไ่ ด้
จากเทคนิคการวิเคราะห์เชิงความร้อนแสดงดัง รูป 5.3 ในกรณีทเ่ี กิดผลึกหลายประเภทในแก้วจะปรากฏพีค
การเกิดผลึกหลายพีคเช่นกัน (รูป 5.3 ข) ซึง่ ในการวิเคราะห์ความเสถียรของแก้วก็จะใช้เฉพาะอุณหภูมกิ าร
เกิดผลึกทีต่ ่ าสุดเท่านัน้ อย่างไรก็ตามพบว่าแก้วทางการค้าทัวๆ
่ ไปจะเกิดผลึกช้ามาก โดยจะไม่เกิดผลึกขึน้
ในแก้วหากใช้อตั ราการให้ความร้อนประมาณ 10 – 20 เคลวินต่อนาที หรือ เซลเซียสต่อนาที ซึง่ เป็ นอุณหภูม ิ
ทีม่ กั ใช้ในการวิเคราะห์แก้วด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงความร้อน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 66
(ก)

(ข)

รูป 5.3 ลักษณะกราฟทีไ่ ด้จากเทคนิคการวิเคราะห์เชิงความร้อน (Thermal Analysis) ซึง่ ปรากฏพีคการคาย


ความร้อนซึง่ แสดงถึงการเกิดผลึก (Crystallisation) ในแก้วทีเ่ กิดผลึก (ก) ชนิดเดียวและ (ข) หลายชนิด
(ลูกศร จะแสดงทิศทางของพีคว่าเป็ นปฏิกริ ยิ าดูดความร้อน หรือ คายความร้อน)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 67
5.3 การหลอมแก้ว (Glass melting)

ในขัน้ ตอนการหลอมแก้วจะประกอบด้วยขัน้ ตอนย่อยๆ หลายขัน้ ตอน ในช่วงระหว่างทีส่ ่วนผสมของ


วัตถุดบิ ตัง้ ต้น ซึง่ รายละเอียดของขัน้ ตอนย่อยต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ จะขึน้ อยูก่ บั ชนิดของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ โดยปฏิกริ ยิ า
ทีเ่ กิดขึน้ ได้แก่

5.3.1 การปลดปล่อยก๊าซ (Releasing of gases)

วัตถุดบิ ส่วนใหญ่ทใ่ี ช้ในการหลอมแก้วอุตสาหกรรมมักจะประกอบด้วยความชืน้ ที่ถูกดูดซับอยู่บนผิว


อนุ ภาคของวัตถุดบิ หมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl; OH-) และโมเลกุลของน้ าที่อยู่ในโครงสร้างของวัตถุดบิ ชนิด
ต่ า งๆ เช่ น กรดบอริก (H3BO3) แคลเซี่ย มไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) โซเดีย มไฮดรอกไซด์ (NaOH) และ
บอแรกซ์เ ดคะไฮเดรต (Borax Decahydrate; NaB4O710H2O) เป็ นต้น โดยความชื้นและโมเลกุ ล ของน้ า
เหล่านี้จะหลุดออกจากวัตถุดบิ ในระหว่างการให้ความร้อนทีอ่ ุณหภูมติ ่ า (ประมาณไม่เกิน 250 C) ขึน้ อยู่กบั
แรงหรือ พัน ธะระหว่ า งโมเลกุ ล น้ า หรือ ไฮดรอกซิล กั บ อนุ ภ าคของวัต ถุ ดิ บ เช่ น แรงทางกายภาพ
(Physical force) และพันธะเคมี (Chemical bond) เป็ นต้น ซึง่ แรงทางกายภาพจะใช้พลังงานทีท่ าให้โมเลกุล
ของน้าหลุดน้อยกว่าหรือเกิดทีอ่ ุณหภูมติ ่ ากว่า การหลุดของโมเลกุลของความชืน้ ดังกล่าวเป็ นกระบวนการดูด
ความร้อน (Endothermic reaction) ซึง่ ต้องให้พลังงานแก่วตั ถุดบิ เพื่อไล่ความชืน้ ดังกล่าว

ทีอ่ ุณหภูมสิ งู ขึน้ จะมีการสลายตัวของกลุ่มคาร์บอเนต ซัลเฟต และไนเตรต ซึง่ ขัน้ ตอนนี้จะเกิดก๊าซใน


ปริมาณที่ม ากที่สุ ด การเกิดก๊ าซส่ งผลให้เ กิดการผสมของส่ว นผสมได้ทาให้แก้ว มีความเป็ นเนื้อเดียวกัน
(Homogeneous) มากขึน้ อย่างไรก็ตามการเกิดก๊าซในปริมาณมากจะทาให้แก้วมีฟองก๊าซเหลืออยูท่ ม่ี ากตาม
ไปด้ว ย ซึ่งจะต้อ งเติมสารเพื่อ ลดฟองเพื่อ ก าจัดฟองก๊ า ซเหล่ า นี้ใ ห้หลุ ดออกไปจากน้ าแก้ว หลอมก่ อ นที่
กระบวนการหลอมจะสิ้นสุด ปริมาณของก๊าซที่เกิดขึ้นสามารถประมาณค่าได้จากการคานวณ เช่นหากใช้
หินปูนเป็ นวัตถุดบิ ในองค์ประกอบ หินปูนมีความหนาแน่ นประมาณ 2.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนัน้
หินปูน 1 โมล จะมีปริมาตรประมาณ 37 ลูกบาศก์เซนติเมตร (มวลโมเลกุลของหินปูน เท่ากับ 100 กรัมต่อ
โมล) ดังนัน้ ในการสลายตัวของหินปูน 1 โมล จะทาให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 โมล (ดังสมการ 5.8)
ซึง่ มีปริมาตร 22,400 ลูกบาศก์เซนติเมตร (ประมาณ 600 เท่าของปริมาตรสารตัง้ ต้น)

CaCO3 (s) CaO (s) + CO2 (g) สมการ 5.8

ในบางครัง้ อากาศที่อยู่ในช่องว่างระหว่างอนุ ภาคตัง้ ต้นของวัตถุดบิ อาจถูกกักไว้ในขณะที่วตั ถุดบิ


หลอมเหลว และสามารถขยายตัวได้เมื่อมีอุณหภูมสิ ูงขึน้ หากฟองก๊าซมีปริมาณมากจะทาให้แก้วมีลกั ษณะ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 68
คล้ายโฟม (Foaming) ส่งผลให้น้าแก้วหลอมล้นออกมาจากถ้วยหลอม (Crucible) หรือเตาหลอมได้ ทาให้แก้ว
มีสมบัตไิ ม่ตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ในงานวิจยั ระดับห้องปฏิบ ตั กิ ารที่มกี ารหลอมแก้วในถ้วยหลอม
ขนาดเล็กอาจต้องคานึงถึงการเกิด Foaming เป็ นพิเศษเนื่องจากจะส่งผลเสียต่ออุปกรณ์ทใ่ี ช้ในเตาหลอมหรือ
เตาเผาได้ เช่น ฐานรองเตา หรือ กาแพงเตา เป็ นต้น ซึง่ น้ าแก้วที่ฟูล้นออกมาจากถ้วยหลอมจะทาปฏิกิรยิ า
กับเตาหลอมและวัสดุทนไฟอื่นๆ อย่างไรก็ตามในกระบวนการผลิตแก้วแบบต่อเนื่อง (Continuous process)
จะเกิดฟองก๊าซที่บริเวณส่วนต้นของเตาหลอม (รูป 5.4) ซึ่งเป็ นส่วนที่วตั ถุดบิ ถูกป้ อนเข้าสู่ห้องหลอม โดย
ส่วนปลายของเตาหลอมนัน้ น้ าแก้วจะหลอมเหลวเป็ นเนื้อเดียวกันและจะเป็ นส่วนที่เกิดการกาจัดก๊าซหรือ
ฟองอากาศที่เ กิด ขึ้น ซึ่ง ต้อ งควบคุ ม ให้ไ ม่ม ีฟ องก๊ า ซคงค้า งอยู่ ใ นแก้ว หลอมเหลวก่ อ นที่จ ะส่ ง ต่ อ ไปยัง
กระบวนการขึ้นรูป การให้ความร้อ นกับวัตถุ ดบิ นัน้ จะไม่ใ ห้ความร้อ นจากเปลวไฟที่เกิดจากการเผาไหม้
โดยตรง แต่จะอาศัยการแผ่ความร้อน (Heat radiation) และการนาความร้อน (Heat conduction) จากเปลว
ไฟทีเ่ กิดจากการเผาไหม้เชือ้ เพลิงไปยังวัตถุดบิ ทีต่ อ้ งการหลอม

ในขัน้ ตอนการหลอมแก้วจะต้องคานึงถึง บรรยากาศภายในเตาหลอมที่ส่งผลต่อปฏิกริ ยิ าออกซิเดชัน-


รีดกั ชันขององค์ประกอบบางอย่างในแก้ว เช่น การเกิดปฏิกริ ยิ าออกซิเดชัน-รีดกั ชันของสารให้สที ่จี ะทาให้ส ี
ของแก้วเปลีย่ นไปตามบรรยากาศการหลอม หรือ ข้อจากัดในการใช้ Na2SO4 เป็ นวัตถุดบิ ในแก้วโซดาไลม์
ซิล ิเ กต (Soda-lime-silicate glass) ซึ่ง จะต้ อ งใช้ บ รรยากาศรีด ัก ชัน ; Reduction atmosphere (กล่ า วคือ
ปริมาณออกซิเจนต่ า ปริมาณก๊าซเชือ้ เพลิงสูง) ในห้องหลอม แต่ต้องควบคุมบรรยากาศในช่วงบริเวณทางาน
หรือ Working zone ให้เป็ นบรรยากาศออกซิเดชัน (Oxidation atmosphere) บรรยากาศในเตาหลอมที่ใ ช้
เชื้อ เพลิงไฮโดรคาร์บอนสามารถทาได้โดยการปรับที่หวั พ่นไฟ (Burner) ให้มสี ดั ส่ ว นระหว่างอากาศกับ
เชื้อเพลิงต่างๆ กัน หรืออาจทาโดยการควบคุมชนิดของก๊าซต่างๆ เหนือบริเวณหลอมแก้วภายในเตา โดย
อาจใส่ก๊าซต่างๆ เข้าสู่หอ้ งหลอมตามสมควร

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 69
รูป 5.4 กระบวนการหลอมแก้ว (ก) การป้ อนวัตถุดบิ ลงในเตาหลอมทีใ่ ช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก้วแผ่น
[ทีม่ า http://voices.usglassmag.com] (ข) ภาพจาลองเตาหลอมแก้ว [ทีม่ า
http://www.icglass.org/technical_committees/?id=19] โดยส่วนต้นจะมีการป้ อนวัตถุดบิ เข้าเตาหลอมและจะ
เกิดการหลอมต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการหลอมสมบูรณ์พร้อมส่งต่อไปยังการขึน้ รูปต่อไป

5.3.2 การเกิ ดปฏิ กิริยาเคมีของแข็ง-ของแข็ง (Solid state reaction)

การหลอมแก้วอุตสาหกรรมโดยทัวไปนั ่ น้ จะมีอุณหภูม ิหลอมอยู่ท่ปี ระมาณ 1400 – 1600 เซลเซียส


ขึน้ อยู่กบั ชนิดและส่วนประกอบของแก้ว โดยอุณหภูมเิ ตาจะค่อยๆ เพิม่ ขึน้ จากอุณหภูมหิ ้องจนถึงอุณหภูม ิ
สูงสุดในการหลอม ซึง่ ระยะเวลาทีอ่ ุณหภูมเิ พิม่ ขึน้ นัน้ ขึน้ อยูก่ บั แหล่งให้ความร้อนและชนิดของเตา ในระหว่าง
นี้วตั ถุดบิ อาจเกิดปฏิกริ ยิ าของแข็ง-ของแข็งหรือ Solid state reaction เช่น ปฏิกริ ยิ าระหว่างซิลกิ ากับโซเดียม
คาร์บอเนต ปฏิกิรยิ าระหว่างซิลกิ ากับแคลเซียมคาร์บอเนต และ ปฏิกิรยิ าระหว่างโซเดียมคาร์บอเนตกับ
แคลเซียมคาร์บอเนต เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 70
ปฏิกริ ยิ าของแข็ง-ของแข็งระหว่างซิลกิ ากับโซเดียมคาร์บอเนตนัน้ สามารถเกิดได้ท่อี ุณหภูมใิ นช่วง
630 – 780 เซลเซีย ส โดยอัต ราส่ ว นของซิล ิกาต่ อ โซเดีย มคาร์บ อเนตที่ เ กิดปฏิกิร ิยาเท่ า กับ 4:1 ได้เ ป็ น
โซเดียมซิลเิ กตซึง่ มีจุดหลอมเหลวประมาณ 1088 เซลเซียส (ลดอุณหภูมกิ ารหลอมซิลกิ าลงได้จากเดิม 1726
เซลเซียส) ดังปฏิกริ ยิ าแสดงในสมการ 5.9

4SiO2 + Na2CO3 Na2SiO3 + 3SiO2 + CO2(g) สมการ 5.9

รูป 5.5 แบบจาลองการเกิดปฏิกริ ยิ าของแข็ง-ของแข็งระหว่างซิลกิ ากับโซเดียมคาร์บอเนต

การเกิดปฏิกิรยิ าสามารถจาลองได้ดงั รูป 5.5 ซึ่งจะเริม่ จากอนุ ภาคโซเดียมคาร์บอเนตที่อยู่รอบๆ อนุ ภาค


ซิลกิ าซึง่ มีขนาดใหญ่กว่าเมื่ออุณหภูมอิ ยู่ระหว่างอุณหภูมทิ ส่ี ามารถเกิดปฏิกริ ยิ าได้จะเกิดปฏิกริ ยิ ากลายเป็ น
โซเดียมซิลเิ กตเคลือบทีผ่ วิ อนุ ภาคซิลกิ าและเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขน้ึ อัตราการเกิดโซเดียมซิลเิ กตจะ
ช้าลงเมื่อชัน้ ของโซเดียมซิลเิ กตหนาขึน้ เนื่องจากการแพร่ผ่านของโซเดียมไอออน (Na+) เข้าไปทาปฏิกริ ยิ า
กับซิล ิก าเกิดขึ้นได้ช้าลง นอกจากนี้ย งั พบว่ าอัต ราการเกิด ปฏิกิร ิย าจะขึ้นอยู่กับอุ ณหภูมอิ ีก ด้ว ย โดยมี
ความสัมพันธ์ดงั รูป 5.6 พบว่าทีอ่ ุณหภูมสิ งู ขึน้ อัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าจะเพิม่ ขึน้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 71
รูป 5.6 อัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าของแข็ง-ของแข็งระหว่างซิลกิ าและโซเดียมคาร์บอเนตทีอ่ ุณหภูม ิ 680, 730
และ 782 เซลเซียส (ความชันของกราฟมากแสดงให้เห็นว่าปฏิกริ ยิ าเกิดขึน้ ได้ด)ี

ส่ ว นการเกิด ปฏิกิร ิย าระว่ า งซิล ิกาและแคลเซีย มคาร์บ อเนตจะเริ่ม เกิด ที่อุ ณ หภูม ิป ระมาณ 600
เซลเซียส โดยปฏิกริ ยิ าทีเ่ กิดขึน้ จะคล้ายๆ กับปฏิกริ ยิ าระหว่างซิลกิ ากับโซเดียมคาร์บอเนตแต่อตั ราส่วนการ
เกิดปฏิกิรยิ าต่ างกัน คือ เกิดในอัต ราส่ว นซิลกิ าต่อแคลเซียมคาร์บอเนตเท่ากับ 1:2 และมีผ ลิต ภัณฑ์จาก
ปฏิกริ ยิ าคือแคลเซียมซิลเิ กต (Ca2SiO4 หรือ 2CaOSiO2)

ส่ ว นการเกิด ปฏิกิร ิย าระหว่ า งโซเดีย มคาร์บ อเนตและแคลเซีย มคาร์บ อเนตนัน้ จะเกิด ปฏิกิร ิย า
กลายเป็ นโซเดียมแคลเซียมคาร์บอเนต (Na2Ca(CO3)2) ทีม่ จี ดุ หลอมเหลวอยูท่ ป่ี ระมาณ 813 เซลเซียส ซึง่ ต่า
กว่าจุดหลอมเหลวของโซเดียมคาร์บอเนต

5.3.3 การเกิ ดวัฏภาคของเหลว (Formation of liquid phases)

วัฎภาคของเหลวที่เกิดขณะหลอมแก้ว จะเกิดจากการให้ความร้อนโดยอาจเกิด ปฏิกิรยิ าต่างๆ กัน


หลายลักษณะ เช่น

1) การหลอมขององค์ประกอบต่างๆ ทีเ่ ป็ นส่วนผสม


2) การหลอมขององค์ประกอบต่างๆ หลังจากสลายตัวด้วยความร้อน (Thermal decomposition)
3) การละลายของส่วนผสมทีล่ ะลายยากกับวัฏภาคของเหลวทีเ่ กิดขึน้ ก่อน
4) การหลอมขององค์ประกอบยูเทคติก (Eutectic component) ของส่วนผสมต่างๆ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 72
ทัง้ นี้ขน้ึ อยู่กบั องค์ประกอบตัง้ ต้นของส่วนผสมแก้ว และชนิดของวัตถุดบิ ที่ใช้ ว่าปฏิกริ ยิ าใดเกิดขึ้น
ตามลาดับก่อนหลัง ยกตัวอย่างเช่น ในแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กต (Na2OCaOSiO2) ที่ใช้วตั ถุดบิ คือ โซเดียม
คาร์บอเนต แคลเซียมคาร์บอเนตและทราย ปฏิกริ ยิ าเคมีท่เี กิดขึน้ ขณะหลอมจะมีความแตกต่างจากการใช้
วัต ถุ ดิบประเภทแร่เ ฟลด์สปาร์แ ละทราย ปฏิกิรยิ าที่เ กี่ยวข้อ งอาจได้แก่ การสลายตัว ด้ว ยความร้อนของ
แคลเซียมคาร์บอเนต (เริม่ ทีอ่ ุณหภูมปิ ระมาณ 600 เซลเซียส) การหลอมขององค์ประกอบยูเทคติคระหว่าง
โซเดีย มคาร์บ อเนตและแคลเซีย มคาร์บ อเนต (ประมาณ 813 เซลเซีย ส) การหลอมขององค์ป ระกอบ
ยูเทคติคระหว่างโซเดียมไดซิลเิ กตและซิลกิ า (ประมาณ 800 เซลเซียส ดังแสดงในรูป 5.7 ณ จุดที่ลูกศรชี้)
เป็ นต้น อีก ทัง้ วัฏ ภาคของเหลวที่เ กิด ขึ้นที่อุ ณหภูม ิประมาณ 800 เซลเซียส ในแก้ว โซดาไลม์ซิล ิเ กตจะ
เหนี่ยวนาให้วฏั ภาคของแข็งอื่นๆ ทีเ่ หลืออยู่หลอมได้ดยี งิ่ ขึน้ โดยเฉพาะวัฏภาคขององค์ประกอบทีท่ นความ
ร้อนสูง (มีจุดหลอมเหลวสูง) หรือองค์ประกอบขององค์ประกอบทนไฟ (Refractory) เช่น อะลูมนิ า (Al2O3)
และทราย (SiO2) เป็ นต้น ในระหว่างการหลอมอาจเกิดฟองก๊ าซขึ้นได้จากกรณีต่ างๆ ที่ได้กล่ าวมาแล้ว
หากวัฏภาคของเหลวที่เกิดขึน้ มีความหนืดต่ าฟองก๊าซจะลอยขึน้ สู่ผวิ น้ าแก้วได้ง่ายกว่า โดยองค์ประกอบที่
หลอมยากจะทาให้แก้วมีความหนืดทีส่ ูงขึน้ แก้วทีม่ คี วามหนืดสูงอาจต้องเพิม่ อุณหภูมขิ น้ึ เพื่อลดความหนืดลง
ซึง่ จะช่วยทาให้ฟองก๊าซหลุดออกจากน้ าแก้วหลอมเหลวได้ง่ายขึน้ แก้วจะหลอมสมบูรณ์ต่อเมือ่ ไม่มวี ตั ถุดบิ ที่
มีความเป็ นผลึกของแข็งเหลืออยู่และมีความเป็ นเนื้อเดียว (Homogeneous) โดยขัน้ ตอนที่จะทาให้น้ าแก้ว
เป็ นเนื้อเดียวกันจะใช้เวลานานเนื่องจากน้ าแก้วมีความหนืดสูง ดังนัน้ อาจต้องหลอมแก้วทีอ่ ุณหภูมสิ ูงสุด ใน
ระยะเวลาทีน่ านขึน้ ซึง่ จะเรียกว่าการยืนไฟ หรือ Soaking อย่างไรก็ตามก็อาจมีบางองค์ประกอบทีร่ ะเหยง่าย
ระเหยออกไป ส่งผลทาให้องค์ประกอบของแก้วไม่ตรงตามต้องการ

เวลาทีใ่ ช้ในการหลอมแก้วจนสมบูรณ์ ทเ่ี รียกว่า Batch-free time เป็ นเวลาตัง้ แต่เริม่ ให้ความร้อนแก่
วัตถุดบิ จนวัตถุดบิ หลอมเป็ นของเหลวสมบูรณ์ การหาเวลาที่ใช้ในการหลอมแก้วจนสมบูรณ์ (Batch-free
time) ในห้องปฏิบตั กิ ารหรือในอุตสาหกรรมทาได้ยากและมีความคลาดเคลื่อนสูงจึงไม่นิยมหาเวลาทีใ่ ช้ในการ
หลอมแก้ว จนสมบูรณ์ (Batch-free time) จะขึ้นอยู่กับ หลายๆ ปั จจัย เช่น อุ ณหภูมหิ ลอม อัต ราการเพิ่ม
อุณหภูม ิ ชนิดของวัตถุดบิ การผสมเข้ากันของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ ชนิดของแก้ว ขนาดอนุ ภาคเริม่ ต้นของวัตถุดบิ
ต่างๆ และปริมาณเศษแก้วรีไซเคิล (Cullet) ทีใ่ ช้ เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 73
รูป 5.7 จุดยูเทคติคระหว่างโซเดียมไดซิลเิ กตกับซิลกิ าทีอ่ ุณหภูม ิ 800 เซลเซียส โดยโซเดียมไดซิลเิ กตเกิด
จากปฏิกริ ยิ าของแข็ง-ของแข็งระหว่างโซเดียมออกไซด์และซิลกิ าในอัตราส่วนทีเ่ หมาะสม

หากอนุ ภาคของวัต ถุ ดิบ ตัง้ ต้น มีข นาดเล็ก จะทาให้เ วลาการหลอมสมบูร ณ์ ล ดลง เนื่อ งจากการ
เกิดปฏิกิรยิ าจะเกิดได้ดกี ว่าหากอนุ ภาคตัง้ ต้น มีขนาดเล็ก ซึ่งพบว่าอนุ ภาคขนาดเล็ก จะมีพ้นื ที่ผวิ ในการ
เกิดปฏิกิรยิ ามากขึ้น ดังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดอนุ ภาคของโดโลไมท์ (Dolomite; CaMg(CO3)2)
และพื้นที่ผวิ จาเพาะในรูป 5.8 ซึ่งพบว่าขนาดอนุ ภาคเฉลี่ยของโดโลไมท์ลดลง จะทาให้มพี ้นื ที่ผวิ จาเพาะ
เพิม่ ขึน้ อย่างเห็นได้ชดั อย่างไรก็ตามอนุ ภาคขนาดเล็กมากอาจเกิดการเกาะตัวกัน (Agglomerate) เป็ นกลุ่ม
ก้อนขนาดใหญ่ขน้ึ ดังรูป 5.9 โดยก้อนอนุ ภาคที่รวมตัวกันนี้จะมีรูพรุนมาก ซึง่ เป็ นสาเหตุหนึ่งของการเกิด
ฟองก๊าซในน้าแก้วหลอม

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 74
รูป 5.8 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดอนุ ภาคเฉลีย่ กับพืน้ ทีผ่ วิ จาเพาะของแร่โดโลไมต์
[ทีม่ า N. Laorodphan และคณะ (2004)]

(ก) (ข)

รูป 5.9 การรวมตัวกันของอนุภาคเมือ่ อนุภาคมีขนาดเล็กลง (ก) ขนาดอนุ ภาคเริม่ ต้น (ข) การรวมตัวกันของ
อนุภาค (Agglomeration) (บริเวณล้อมรอบด้วยเส้นประ - - -) เมือ่ อนุภาคมีขนาดเล็กลงหลังผ่านการบด
ลดขนาดเป็ นเวลา 16 ชัวโมง
่ [ทีม่ า C.S. Torres และ L. Schaeffer (2010)]

ในขณะเดียวกันการใช้เศษแก้วรีไซเคิลในปริมาณมากจะทาให้เวลาทีใ่ ช้ในการหลอมแก้วจนสมบูรณ์
(Batch-free time) ลดลง ดังนัน้ การเติมเศษแก้วรีไซเคิล (ส่วนมากจะเป็ นชนิดเดียวกับแก้วทีก่ าลังผลิตอยู)่ ลง
ไปผสมกับวัตถุดบิ นัน้ จึงเป็ นทีน่ ิยมในอุตสาหกรรมแก้ว เนื่องจากช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายทีเ่ กิดขึน้
จากขัน้ ตอนการหลอมแก้ว การใช้เศษแก้ว รีไซเคิล (Cullet) จะเพิม่ ปริมาณวัฏภาคของเหลวในขัน้ ตอนการ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 75
หลอมแก้ว ส่งผลช่วยให้เกิดการละลายของส่วนประกอบทีเ่ ป็ นผลึกของแข็งอื่นๆ ได้เร็วขึน้ อีกทัง้ การใช้เศษ
แก้วยังลดส่วนผสมของวัตถุดบิ ทีม่ คี วามทนไฟสูง เช่น ทรายและอะลูมนิ าอีกด้วย

องค์ประกอบของแก้ว หรือ ชนิดของแก้ว ส่งผลต่อเวลาทีใ่ ช้ในการหลอมแก้วจนสมบูรณ์ (Batch-free


time) ของการหลอมแก้ว แก้วซิลเิ กตจะหลอมทีอ่ ุณหภูมสิ ูงกว่าแก้วบอเรต ฟอสเฟตและเจอร์มาเนต ดังนัน้
เวลาที่ใช้ในการหลอมแก้วจนสมบูรณ์ (Batch-free time) ก็จะสูงกว่าด้วย ในขณะเดียวกัน การละลายของ
อนุ ภาคทีท่ นไฟอื่นๆ ในแก้วซิลเิ กตจะต่ ากว่าแก้วประเภทอื่น เนื่องจากของเหลวทีเ่ กิดขึน้ จะมีความหนืดสูง
กว่าแก้วกลุ่มอื่น ส่งผลทาให้เวลาทีใ่ ช้ในการหลอมแก้วจนสมบูรณ์ (Batch-free time) นานขึน้

ชนิดของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้สาหรับแก้วชนิดหนึ่งๆ จะส่งผลต่อปริมาณวัฏภาคของเหลวทีเ่ กิดขึน้ ในระหว่าง


การหลอม ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าหากประมาณวัฏภาคของเหลวมีสูงจะทาให้การละลายหรือการหลอมของ
อนุ ภาคอื่นๆ เกิดขึน้ ได้ดยี งิ่ ขึน้ ทาให้ Batch-free time ลดลงตามไปด้วย ชนิดของวัตถุดบิ ทีแ่ ตกต่างกัน จะมี
อุณหภูมใิ นการเกิดปฏิกริ ยิ าทางความร้อนต่างกัน ดังนัน้ จึงควรคานึงถึงรายละเอียดเหล่านี้ในการพิจารณา
อุณหภูมทิ ใ่ี ช้ในการหลอมแก้วและระยะเวลาทีใ่ ช้ในการหลอมแก้ว อย่างไรก็ตามการผสมวัตถุดบิ ควรจะมีการ
กระจายตัวของวัตถุดบิ ต่างๆ อย่างสม่าเสมอ (Homogeneous mixing) ซึง่ ส่งผลโดยตรงต่อการเกิดปฏิกิรยิ า
ระหว่างอนุ ภาคของวัตถุดบิ ต่างชนิดกันและส่งผลต่อเนื่องถึงความเป็ นเนื้อเดียวกันของน้ าแก้ว ทาให้สมบัติ
ของแก้วมีความสม่าเสมอทัวทั ่ ง้ ผลิตภัณฑ์อกี ด้วย

นอกเหนือจากปั จจัยทีก่ ล่าวถึงก่อนหน้านี้ การเติม สารช่วยหลอม (Melting accelerants) จะสามารถ


ลด Batch-free time ได้เช่นกัน สารช่วยหลอมมักเป็ นสารทดแทนวัตถุดบิ ที่ใช้อยู่ โดยเติมลงไปในปริมาณ
เล็กน้อย เพื่อลด Batch-free time โดยเฉพาะ หากเติมสารเหล่านี้ในปริมาณมากเกินไป อาจะส่งผลเสียต่อ
สมบัติและลักษณะของแก้ว ได้ สารช่วยหลอมที่นิยมเติมนัน้ มักเติมลงไปแทนที่วตั ถุดบิ ที่เป็ นสารประกอบ
คาร์บอเนต เช่นการเติมโซเดียมซัลเฟต (Na2SO4) โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
และโซเดียมฟลูออไรด์ (NaF) ในแก้วร่วมกับการใช้โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) ในสัดส่วนทีเ่ หมาะสม การ
เติมโซเดียมซัลเฟตนัน้ จะเร่งปฏิกริ ยิ าการละลายของทรายเร็วขึน้ โดยจะเกิดวัฏภาคของเหลวทีอ่ ุณหภูมติ ่ า
กว่าการใช้โซเดียมคาร์บอเนต เนื่องจากปฏิกริ ยิ ายูเทคติคระหว่างทรายกับโซเดียมซัลเฟตเกิดทีอ่ ุณหภูมติ ่ า
กว่า เมื่อให้ความร้อนทีอ่ ุณหภูมสิ ูงขึน้ ของเหลวยูเทคติคซัลเฟตทีเ่ กิดขึน้ จะมีองค์ประกอบของซิลกิ า (SiO2)
สูงขึน้ โดยกลไกการช่วยหลอมจะเริม่ จากการละลายของซิลกิ าในของวัฏภาคของเหลวยูเทคติคทีเ่ กิดขึน้ ก่อน
มากขึ้น เมื่อ ประมาณซิลกิ าละลายอยู่เพิม่ ขึ้นจะเกิดการแยกวัฏภาค (Phase separation) เป็ นสองวัฏภาค
คือวัฏภาคของเหลวที่มซี ลิ กิ าสูง กับวัฏภาคของเหลวที่มซี ลั เฟตสูง เมื่ออุณหภูมสิ ูงขึน้ จะเกิดการสลายตัว
ของวัฏภาคของเหลวที่มซี ลั เฟตสูง (ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์; SO3) เกิดเป็ นวัฏภาคของเหลวชนิด
โซเดียมเมตะซิลเิ กต (Sodium metasilicate) โดยก๊าซที่เกิดขึน้ ทาให้เกิดการผสมของของเหลวทัง้ สองชนิด
และยัง เพิ่ม โอกาสที่อ นุ ภ าคของแข็ง สัม ผัส กับ วัฏ ภาคของเหลวที่เ กิด ขึ้น นอกจากนั น้ ยัง พบว่ า การใช้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 76
โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เกลือ (NaCl) หรือ โซเดียมฟลูออไรด์ (NaF) ก็ทาให้เวลาทีใ่ ช้ในการหลอมแก้ว
จนสมบูรณ์ (Batch-free time) ลดลง โดยสารเหล่านี้เมื่อหลอมเหลวจะได้ของเหลวที่มคี วามหนืดต่ ามาก ซึง่
สามารถทาให้การละลายของวัตถุดบิ อื่นๆ ในของเหลวมีมากขึน้ จากนัน้ ของเหลวทีเ่ กิดขึน้ จะทาปฏิกริ ยิ ากับ
ออกซิเจนในบรรยากาศ กลายเป็ นสารประกอบออกไซด์เหลวที่มอี งค์ประกอบตามต้องการและมีความหนืด
เพิม่ ขึน้

นอกเหนือจากนี้ยงั มีรายงานว่าหากมีไอน้ าเกิดขึ้นระหว่างการหลอมจะสามารถลดความหนืดของ


ของเหลวออกไซด์ลง น้ าทีม่ อี ยู่ในระหว่างการหลอมจะเกิดจากการสลายตัวออกจากวัตถุดบิ เช่น การใช้กรด
บอริก (H3BO3) เพื่อให้ตวั โครงสร้างแก้วชนิดโบรอนออกไซด์ (B2O3) หรือการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ เพื่อให้
โซเดียมออกไซด์ หรือโดยการเพิม่ ความชืน้ เข้าไปกับส่วนผสมของวัตถุดบิ ก่อนส่งเข้าเตาหลอมเล็กน้อย หรือ
การปรับบรรยากาศในการเผาซึ่งทาได้โดยการปรับใช้ก๊าซออกซิเจนในระหว่างการเผาไหม้ แทนที่การใช้
อากาศทีบ่ รรยากาศปกติ ซึง่ การใช้ก๊าซออกซิเจนมากขึน้ จะเพิม่ ความดันไอน้าในบรรยากาศของการหลอมได้

วิธกี ารทาให้ปฏิกริ ยิ าการหลอมสมบูรณ์ได้เร็วขึน้ อาจจะใช้แรงเชิงกลอื่นๆ เพื่อช่วยทาให้เกิดการผสม


ระหว่างวัตถุดบิ ต่าง ๆ ได้ดขี น้ึ และเพิม่ การสัมผัสกันระหว่างวัตถุดบิ ทีส่ ามารถทาปฏิกริ ยิ ากันแล้วเกิดวัฏภาค
ของเหลวได้ การอัดส่วนผสมเป็ นก้อนนัน้ สามารถช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพการหลอมได้เนื่องจากสามารถทาให้
การถ่ า ยเทความร้อ นดีข้ึน และการอัด ยัง ท าให้อ นุ ภ าคต่ า ง ๆ อยู่ชิด กัน มากขึ้น แต่ ไ ม่นิ ย มท าในระดับ
อุ ต สาหกรรมเนื่ อ งจากเป็ นการเพิ่ ม ขัน้ ตอนการผลิต ให้ ม ีค วามยุ่ ง ยากมากขึ้น จากข้ อ มู ล ข้ า งต้ น
นักวิทยาศาสตร์ห รือผู้ควบคุ มการหลอมแก้ว จะต้อ งค านึงถึงปั จจัยหลายๆ ด้าน เพื่อทาให้เกิดการหลอม
สมบูรณ์ทส่ี ุด ภายใต้สภาวะการปฏิบตั งิ านทีไ่ ม่ทาให้เกิดความยุง่ ยาก ไม่ทาให้เกิดอันตรายระหว่างการหลอม
หรือเพื่อให้ตน้ ทุนการผลิตแก้วต่าสุด

เมื่อของเหลวเกิดขึน้ ในปริมาณที่มากพอ จากนัน้ กระบวนการหลักทีเ่ ป็ นตัวกาหนดระยะเวลาในการ


หลอมคือการละลายของวัตถุดบิ ทีห่ ลอมยาก ซึง่ โดยทัวไป
่ ได้แก่ ทราย (SiO2) อะลูมนิ า (Al2O3) รวมถึงวัสดุ
ทนไฟตัวอื่นที่อาจมีอยู่ในปริมาณน้ อย เช่น เซอร์โคเนีย (ZrO2) โครไมท์ เกาลินหรือมัลไลท์ เป็ นต้น การ
ละลายของควอตซ์ในวัฏภาคของเหลวที่เกิดขึน้ ก่อนนัน้ เป็ นขัน้ ตอนที่ใช้เวลานานมาก (ประมาณ 90% ของ
ระยะเวลาการหลอมทัง้ หมด) แสดงให้เห็นว่าอนุภาควัตถุดบิ ทีห่ ลอมยากนัน้ จะใช้เวลาในการหลอมนานทีส่ ุด

5.3.4 การกาจัดฟองก๊าซ (Fining or refining)

ฟองก๊าซทีเ่ กิดขึน้ ในแก้วอาจเกิดจากก๊าซต่างๆ ในบรรยากาศทีถ่ ูกกักเก็บไว้ในวัตถุดบิ เช่น อากาศ


ก๊าซเชือ้ เพลิง รวมไปถึงก๊าซทีใ่ ช้ในการปรับสภาวะในเตาหลอม หรือ อาจเกิดจากการสลายตัวทางความร้อน
ของวัตถุดบิ ต่างๆ ฟองก๊าซที่หลงเหลือในน้ าแก้วจะถูกล้อมรอบด้วยน้ าแก้ว โดยหลักการของแรงตึงผิวของ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 77
แก้วซึ่งทาให้ฟองก๊าซในน้ าแก้วมีลกั ษณะเป็ นทรงกลม (Spherical shape) วิธกี ารป้ องกันการเกิดฟองก๊าซ
ที่มาจากบรรยากาศนัน้ สามารถทาได้โดยการกาจัดก๊ าซในบรรยากาศการหลอม เช่น การหลอมภายใต้
สุญญากาศ เป็ นต้น โดยวิธนี ้ีจะมีค่าใช้จ่ายสูงมากและไม่เป็ นทีน่ ิยมสาหรับการผลิตแก้วอุตสาหกรรมที่มกี าร
หลอมในปริมาณที่สูง มาก ก๊ าซจากบรรยากาศจะถู ก กักเก็บได้ม ากหากใช้ ว ตั ถุ ดิบ ที่มอี นุ ภาคขนาดเล็ก
การสลายตัวด้วยความร้อนของวัตถุดบิ บางประเภทเป็ นสาเหตุท่ที าให้เกิดฟองก๊าซได้มากที่สุดใน
กระบวนการผลิต ซึ่ง ก๊ า ซที่เ กิด ขึ้น ได้แ ก่ CO2, SO3, NOx และไอน้ า นอกเหนื อ จากนัน้ ก๊ า ซยัง เกิด จาก
ปฏิกริ ยิ าอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytic reaction) ระหว่างน้ าแก้วหลอมกับโลหะทีอ่ าจบนมากับวัตถุดบิ เกิดเป็ น
ก๊าซ O2, CO2 หรือ H2 เป็ นต้น วัสดุทนไฟทีใ่ ช้ในเตาหลอมแก้วเองก็เป็ นสาเหตุหนึ่งทีเ่ กิดก๊าซ เช่น เกิดจาก
การกัดกร่อนผิววัสดุทนไฟต่างๆ ก๊าซที่มอี ยู่ในรูพรุนของวัสดุทนไฟหลุดออกมาปนในน้ าแก้วหลอม รวมถึง
การเกิดก๊าซ CO2 และ CO จากวัสดุทนไฟประเภทคาร์ไบด์ เช่น ซิลกิ อนคาร์ไบด์ (SiC) ที่ทาปฏิกริ ยิ ากับ
วัตถุดบิ ประเภทออกไซด์ต่างๆ

ก๊าซออกซิเจนในแก้วสามารถเกิดขึน้ จากปฏิกริ ยิ ารีดกั ชันของไอออนของโลหะทรานซิชนั ในแก้วสีได้


เช่นในแก้วทีม่ ี เหล็ก โครเมียม หรือแมงกานีส เป็ นต้น เช่นปฏิกริ ยิ ารีดกั ชันของเหล็กดังสมการ 5.10

4Fe3+ + 2O2- 4Fe2+ + O2 (g) สมการ 5.10

การลดฟองก๊าซในแก้วนัน้ อาศัยหลักการ 2 ประเภท คืออาศัยแรงทางกายภาพ นันคื ่ อแรงลอยตัวซึง่


ทาให้แก้วลอย (Buoyancy force) ออกสู่ผวิ แก้ว และอาศัยการเติมสารเคมีเพื่อกาจัดฟองก๊าซที่เกิดขึน้ ฟอง
ก๊าซจะมีความหนาแน่ นน้ อยกว่าน้ าแก้วหลอมเหลว ดังนัน้ ฟองก๊าซจะลอยขึ้นสู่ผวิ หน้ าของน้ าแก้วได้ ซึ่ง
สามารถคานวณได้จากกฎของ Stokes ซึ่งพิจารณาอัตราเร็วของการลอยตัวของของแข็งทรงกลมที่ลอยขึน้
บนผิวของเหลว ดังสมการ 5.11

2𝑔∆𝜌𝑟 2
𝑉𝑠 = สมการ 5.11
9

เมือ่ Vs คือ อัตราเร็วของการลอยตัวของของแข็ง


g คือ อัตราเร่งด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก หรือ แรงดึงดูดของโลก
 คือ ความแตกต่างระหว่างความหนาแน่นของของแข็งและของเหลว
r คือ รัศมีของทรงกลม
 คือ ความหนืดของของเหลว

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 78
โดยสามารถปรับประยุกต์ใช้กบั การลอยตัวของฟองก๊าซ (Vb) ออกจากน้าแก้วหนืดได้ดงั สมการ 5.12

3 𝑔∆𝑟 2
𝑉𝑏 = 𝑉𝑠 = สมการ 5.12
2 3

อัต ราเร็ว ในการลอยของฟองก๊ า ซสู่ผ ิว แก้ว ดัง สมการ 5.12 จะเหมาะสมกับ ฟองก๊ า ซที่ม ีข นาดเส้ น ผ่ า น
ศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร โดยฟองก๊าซขนาดเล็กมากจะทาให้ระยะเวลาทีใ่ ช้ในการลอยตัวเพิม่ มากขึน้
ซึง่ จะไม่สามารถใช้สมการ 5.12 ในการอธิบายได้ การทาให้ขนาดฟองก๊าซมีขนาดใหญ่ขน้ึ จะช่วยเร่งให้ฟอง
ก๊าซลอยตัวขึน้ และหลุดออกจากผิวแก้วได้เร็วขึน้ จากสมการ 5.11 และ 5.12 พบว่าความหนืดของแก้วและ
ความหนาแน่ นของแก้ว ส่งผลต่ออัตราเร็วในการลอยตัวของฟองก๊าซ การบังคับให้น้ าแก้วหลอมเคลื่อนที่จะ
ช่วยเร่งให้ฟองก๊าซลอยขึ้นสู่ผวิ แก้วได้เร็วขึ้น ซึ่งอาจทาได้โดยการคนน้ าแก้ว หรือการออกแบบเตาหลอม
เพื่อให้เกิดการไหลของน้ าแก้ว (อาจทาโดยการให้ความร้อนแก่น้ าแก้วเพื่อให้น้ าแก้วมีอุณหภูมทิ แ่ี ตกต่างกัน
น้ าแก้วทีม่ อี ุณหภูมสิ ูงกว่าจะมีความหนาแน่ นต่ากว่าและจะลอยขึน้ ได้) รวมถึงการปล่อยก๊าซด้านล่างของเตา
หลอมเพื่อให้ฟองก๊าซขนาดใหญ่ทเ่ี ติมลงไปลอยขึน้ สู่ดา้ นบน

การเติมสารเคมีบางประเภทลงไปจะช่ว ยกาจัดฟองก๊ าซได้ โดยสารเคมีดงั กล่าวเรียกว่า “Fining


agents” สารเคมีประเภทนี้จะทาให้เกิดก๊าซจานวนมาก ก๊าซเหล่านี้จะมีขนาดฟองก๊าซขนาดใหญ่ทาให้ลอย
ขึน้ สู่ผวิ แก้วได้งา่ ย ในระหว่างทีฟ่ องก๊าซลอยตัวขึน้ สู่ผวิ แก้วจะช่วยพาฟองก๊าซอื่นๆ ในน้าแก้วลอยขึน้ สู่ผวิ น้ า
แก้วอีกด้วย หรือสารเคมีเหล่านี้จะทาปฏิกริ ยิ ากับก๊าซออกซิเจนทีท่ าให้ขนาดของฟองก๊าซเล็กลง จนกระทังมี ่
ขนาดเล็กต่ ากว่าขนาดวิกฤตของฟองก๊าซ (Critical radius size) ทาให้ฟองก๊าซหายไปจากน้ าแก้วหลอมได้
สารลดฟองดังกล่ า ว ได้แ ก่ ออกไซด์ข องสารหนู (Arsenic oxide) ออกไซด์ข องพลวง (Antimony oxide)
โซเดียมซัลเฟต สารประกอบไนเตรต สารประกอบแฮไลด์ และออกไซด์ของธาตุทรานซิชนั อื่นๆ เป็ นต้น

ออกไซด์ของสารหนู และพลวง เป็ นสารลดฟองที่มปี ระสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมักเติมลงไปในแก้วใน


ปริมาณน้อย (ช่วง 0.1 – 1 %โดยน้ าหนัก) ซึ่งจะใช้อยู่ในรูปของไตรออกไซด์ ซึ่งได้แก่ As2O3 และ Sb2O3
อย่างไรก็ตามออกไซด์ทงั ้ สองชนิดนี้ระเหยได้เร็ว ดังนัน้ จะทางานได้ดใี นสภาวะทีม่ อี งค์ประกอบของอัลคาไลน์
หรืออัลคาไลน์เอิรธ์ ออกไซด์อยู่ในแก้ว ซึ่งจะทาให้กลายเป็ นสารประกอบ Arsenates หรือ Antimonate ซึ่ง
ระเหยได้ชา้ ลง กลไกในการลดฟองของออกไซด์สองประเภทนี้จะเกิดหลายขัน้ ตอนในระหว่างการหลอมแก้ว
ดังนี้

1. เกิดปฏิกริ ยิ ากับสารประกอบไนเตรตปลดปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์และก๊าซออกซิเจนจานวนมาก ซึง่


ทาให้เกิดฟองก๊าซขนาดใหญ่ลอยขึน้ สู่ผวิ แก้วได้ ซึง่ ในระหว่างนัน้ ฟองก๊าซจะรวบรวมฟองก๊าซขนาดเล็กกว่า
ทาให้ฟองก๊าซขนาดเล็กหายไปจากน้ าแก้วหลอม ปฏิกริ ยิ าทีเ่ กิดขึน้ เป็ นดัง สมการ 5.13 (กรณีของ Sb2O3 ก็
เกิดในทานองเดียวกัน)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 79
4KNO3 + 2As2O3 2K2O + 2As2O5 + 4NO(g) + O2(g) สมการ 5.13

2. เมือ่ อุณหภูมสิ งู ขึน้ ในระหว่างการหลอม เพนตะออกไซด์ (X2O5) ทีเ่ กิดขึน้ ในขัน้ ตอนที่ 1 จะแตกตัวเกิดก๊าซ
ออกซิเจนเพิม่ เติม ซึง่ หากมีฟองก๊าซอื่นๆ หลงเหลืออยู่กจ็ ะรวมกับออกซิเจนทีเ่ กิดขึน้ นี้ทาให้มขี นาดใหญ่ขน้ึ
และลอยสู่ผวิ น้าแก้วต่อไป โดยปฏิกริ ยิ าทีเ่ กิดขึน้ เป็ นดังสมการ 5.14

As2O5 As2O3 + O2(g) สมการ 5.14

ปฏิกริ ยิ าดังกล่าวเป็ นปฏิกริ ยิ าทีข่ น้ึ อยู่กบั อุณหภูม ิ โดยทีอ่ ุณหภูมติ ่ าจะทาให้เกิดปฏิกริ ยิ าย้อนกลับกลายเป็ น
เพนตะออกไซด์ซง่ึ ต้องการปริมาณออกซิเจนทีม่ อี ยูใ่ นแก้ว ซึง่ ทาให้เกิดการแพร่ของฟองก๊าซทีม่ อี อกซิเจนใน
แก้วเพื่อทาปฏิกริ ยิ ากับไตรออกไซด์ดงั กล่าว เมื่อฟองก๊าซดังกล่าวถูกทาให้เกิดปฏิกริ ยิ าก็จะมีขนาดเล็กลง
เมื่อขนาดของฟองก๊าซมีขนาดเล็กมาก (เล็กกว่า 0.1 มิลลิเมตร) จะทาให้แรงดันภายในฟองก๊าซจะลดลงทา
ให้ฟองก๊าซถูกกาจัดในที่สุด ซึ่งความดันภายในฟอง (Internal pressure, P) จะมีความสัมพันธ์กบั พลังงาน
พืน้ ผิว (Surface energy, ) และขนาดของฟองดังสมการ 5.15

2𝛾
𝑃= สมการ 5.15
𝑟

ส่วนโซเดียมซัลเฟตจะสลายตัวให้ก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) ในระหว่างทีเ่ กิดปฏิกริ ยิ ากับซิลกิ า


(SiO2) จากนัน้ ก๊าซทีเ่ กิดขึน้ จะสลายตัวให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และก๊าซออกซิเจนดังสมการ 5.16
และ 5.17 ตามลาดับ

Na2SO4 + nSiO2 Na2O – nSiO2 + SO3(g) สมการ 5.16

2SO3 2SO2(g) + O2(g) สมการ 5.17

โดยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะรวมตัวกับฟองก๊าซอื่นๆ กลายเป็ นฟองก๊าซขนาดใหญ่และลอยขึ้นสู่


ผิวหน้าน้ าแก้ว หรือ อาจรวมกลายเป็ นสารประกอบซัลเฟตละลายอยู่ในแก้วหากอุณหภูมติ ่ าลง ซึง่ ทาให้ฟอง
ก๊าซซัลเฟตมีขนาดเล็กลงและหายไปในทีส่ ุด คล้ายกับในกรณีของการหายไปของก๊าซออกซิเจนในระบบทีใ่ ช้
ออกไซด์ของสารหนู และพลวง ส่วนก๊าซออกซิเจนที่เกิดขึ้นจะรวมตัวกับฟองก๊าซอื่นๆ กลายเป็ น ฟองก๊าซ
ขนาดใหญ่ ในกรณี ท่ี ก ารหลอมมีค าร์ บ อน หรือ คาร์ บ อนมอนอกไซด์ ( CO) จะเกิ ด ปฏิ กิ ร ิ ย ากั บ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 80
ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) กลายเป็ นก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์แทน ซึ่งทาให้เกิด
ฟองก๊าซเป็ นจานวนมากได้

สารประกอบไนเตรตสามารถลดฟองก๊าซได้จากการสลายตัวให้ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซออกซิเจน
อย่างไรก็ตามปฏิกริ ยิ าการสลายตัวของไนเตรตนัน้ เกิดทีอ่ ุณหภูมติ ่ามาก (ประมาณ 500 – 800 เซลเซียส) ซึง่
เป็ นอุณหภูมทิ ว่ี ฏั ภาคของเหลวยังไม่เกิด ขึน้ ส่วนการใช้สารประกอบแฮไลด์นัน้ จะทาให้ของเหลวทีเ่ กิดขึน้ มี
ความหนืดต่ามาก ซึง่ จะทาให้อตั ราเร็วในการลอยตัวของฟองก๊าซเร็วขึน้ สารประกอบแฮไลด์จะนิยมใช้ในการ
หลอมแก้วทีม่ ปี ริมาณอะลูมนิ าสูง นอกจากนี้แก้วทีม่ อี อกไซด์ของธาตุทรานซิชนั เป็ นส่วนประกอบ เช่น CeO2
MnO2 Fe2O3 และ Pb3O4 เป็ นต้น จะเกิดก๊าซออกซิเจนขึน้ เมื่อเกิดปฏิกริ ยิ ารีดกั ชันของไอออนดังกล่าว ซึ่ง
ก๊าซออกซิเจนนัน้ จะมีกลไกการลดฟองเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตามสารประกอบของ
โลหะทรานซิชนั นี้ถูกเติมลงไปในแก้วเพื่อวัตถุประสงค์อ่นื มากกว่าการเติมเพื่อกาจัดฟองก๊าซ เช่นการเติม
CeO2 ลงไปเพื่อป้ องกันการเกิดปฏิกริ ยิ ากับแสงแดด (Solarisation) หรือการเติม MnO2 เพื่อเป็ นสารให้ส ี เป็ น
ต้น

5.3.5 การไหลของน้าแก้วหลอมในเตาหลอม (Melts circulation in furnace)

การไหลของน้ าแก้วหลอมในระหว่างการหลอมเป็ นสิง่ ทีค่ วรนามาพิจารณาในกระบวนการหลอมแก้ว


เนื่องจากการไหลของน้ าแก้วจะทาให้เกิดการถ่ายเทมวล (Mass transfer) และการถ่ายเทพลังงานหรือความ
ร้อน (Heat transfer) ซึ่งส่งผลให้เกิดปฏิกิรยิ าการหลอมได้ดีข้นึ และทาให้ น้ าแก้ว มีความเป็ นเนื้อเดียวกัน
อย่างไรก็ตามอาจทาให้เกิดการนาพาวัตถุดบิ ทีย่ งั ไม่หลอมไปยังบริเวณทีพ่ ร้อมใช้งาน (Working zone) ทาให้
เกิดเป็ นตาหนิในผลิตภัณฑ์ การไหลของน้ าแก้วในเตานี้ประกอบด้วยการไหลแบบไปข้างหน้า (Throughput
flow) และการไหลแบบไหลวน (Circulating flow หรือในบางครัง้ จะเรียกว่า secondary flow)

การไหลแบบไปด้า นหน้ า (Throughput flow) เป็ นการไหลจากบริเ วณที่ป้ อ นสาร (Feeding หรือ
Batch charging) ไปยังบริเวณพร้อมใช้งาน (Working zone) จากการเติมส่วนผสมลงไปในอ่างหลอมและการ
ดึงน้ าแก้วที่หลอมสมบูรณ์แล้วออกไปใช้งาน กระแสการไหลของน้ าแก้วจะขนานกัน โดยอัตราการไหล ณ
บริเวณก้นอ่างหลอมหรือบริเวณผนังเตาหลอมจะน้ อ ยมาก หรือ มีค่าเป็ น 0 และอัตราการไหลจะเพิ่มขึ้น
เรือ่ ยๆ สู่ผวิ ด้านบนของน้าแก้ว โดยมีทศิ ทางของกระแสไหลน้าแก้วเป็ นไปดังแบบจาลองในรูป 5.10

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 81
รูป 5.10 ทิศทางของกระแสน้าแก้วในการไหลแบบไปด้านหน้า (Throughput flow)
[ทีม่ า J.Hlavac (1983)]

การไหลแบบไหลวน (Circulation flow) เป็ นการไหลแบบที่ไม่มแี รงกระทาโดยตรงจากภายนอก


(Free-convection flow) โดยการไหลของน้ า แก้ ว จะเกิด จากความแตกต่ า งของอุ ณ หภู ม ิ (Temperature
gradient) และความแตกต่างของความหนาแน่ นของน้ าแก้วหลอม (Melt-density gradient) โดยทัวไปการให้ ่
ความร้อนในเตาเผามักให้บริเวณเหนือน้ าแก้วหรือเหนือวัตถุดบิ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนัน้ บริเวณน้ าแก้ว
ส่วนบนจะมีอุณหภูมสิ ูงสุด มีความหนืดต่ าสุดและมีความหนาแน่ นต่ าทีส่ ุด เมื่อพิจารณาร่วมกับการไหลแบบ
ไปด้านหน้ า (Throughput flow) จะทาให้ลกั ษณะการไหลเป็ นไปดังแบบจาลองในรูป 5.11 ดังนัน้ การปรับ
อุณหภูมใิ นเตาจะสาคัญมากในการควบคุมการไหลเพื่อส่งผลดีต่อขัน้ ตอนการหลอมแก้ว ซึง่ โดยทัวไปแล้ ่ วทา
ได้โดยเพิม่ อุณหภูมติ รงระยะ 2 ใน 3 ของบริเวณหลอม (Melting zone) ให้มอี ุณหภูมสิ ูงกว่าตาแหน่ งอื่นอยู่
ประมาณ 100 C

รูป 5.11 แบบจาลองการไหลแบบไหลวน (Circulation flow) ในเตาหลอมแบบต่อเนื่อง


[ทีม่ า J.Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 82
5.3.6 การเป็ นเนื้ อเดียวกันของแก้ว (Homogenising)

ในระหว่างการสลายตัวเพราะความร้อนของวัตถุดบิ ต่างๆ หรือในระหว่างทีเ่ กิดปฏิกริ ยิ าการหลอมตัว


ขององค์ประกอบต่างๆ ส่วนต่างๆ ในน้ าแก้วยังไม่เป็ นเนื้อเดียวกัน ในระหว่างขัน้ ตอนการกาจัดฟองก๊าซจะ
เกิดการผสมเข้ากันขึน้ เนื่องจากการเกิดฟองก๊าซขนาดใหญ่นัน้ จะช่วยกวนน้ าแก้วในให้ส่วนผสมต่างๆ ของ
แก้วเข้ากันได้ดจี นเป็ นเนื้อเดียวกัน แก้วทีไ่ ม่เป็ นเนื้อเดียวกันอาจเกิดได้หลายประเภททัง้ ทีส่ ามารถมองเห็น
ด้วยตาเปล่าและไม่สามารถมองเห็นได้ ซึง่ จะมีช่อื เรียกเฉพาะต่างๆ กัน เช่น

Stones คือแก้วที่มอี นุ ภาคอื่นปนอยู่ เช่น เศษวัสดุทนไฟ และเศษวัตถุดบิ ที่ไม่หลอม เป็ นต้น โดย
ส่วนมากจะสามารถมองเห็นได้ดว้ ยตาเปล่าได้

Striae เป็ นชัน้ หรือบริเวณ (2 มิต)ิ ทีอ่ งค์ประกอบของแก้วแตกต่างจากแก้วบริเวณอื่นๆ ซึง่ สามารถ


ตรวจสอบได้ดว้ ยเครือ่ งมือทางแสง ซึง่ การมองเห็นจะแตกต่างกัน จึงทาให้สามารถมองเห็นบริเวณ Striae ได้
หากบริเวณทีม่ อี งค์ประกอบต่างจากเนื้อแก้วส่วนอื่นมีลกั ษณะเป็ นเส้น จะเรียกว่า Cord

Wavy เป็ นตาหนิของแก้วทีเ่ กิดจากการมีค่าดัชนีหกั แหแสงแต่ละบริเวณไม่เท่ากัน หากเป็ นแก้วสีก็


จะสังเกตจากสีทแ่ี ตกต่างกันได้

ตาหนิต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในแก้วอาจตรวจวัดได้โดยการสังเกตจากหลายๆ วิธ ี เช่นการพิจารณาค่าดัชนี


หักเหของแสง การพิจารณาความหนาแน่ นของแก้ว หรือ การดูภายใต้แสงเพื่อดูลกั ษณะการมืด -สว่าง ของ
แก้ว เป็ นต้น หากปรากฏเป็ นเนื้อเดียวกันก็จะมองเห็นเป็ นลักษณะเดียวกัน เช่น มืดอย่างเดียวหรือสว่างอย่าง
เดียว หากมีก ารปรากฏลัก ษณะทัง้ มืดและสว่างก็แสดงว่าแก้วไม่เป็ นเนื้อเดียวกัน ( Inhomogeneity) การ
วิเ คราะห์ด้ว ยแสงนี้ มัก ปรากฏเป็ น แถบมืด สว่ า งสลับ กัน คล้า ยลายของม้า ลาย ท าให้เ รี ย กเทคนิ ค ที่ใ ช้
ตรวจสอบความเป็ นเนื้อเดียวกันของแก้วว่า Zebra board method

5.3.7 การระเหยขององค์ประกอบต่างๆ ในแก้ว (Volatilisation of components from melts)

เมื่อวัตถุดบิ กลายสภาพเป็ นของเหลวแล้ว อาจมีการระเหยขององค์ประกอบบางประเภทในระหว่าง


การหลอม ทาให้องค์ประกอบทางเคมีของแก้วเปลี่ยนไป ซึ่ง สามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัตติ ่างๆ
ของแก้ว ส่วนประกอบทีร่ ะเหยได้ง่าย ได้แก่ออกไซด์ของโลหะอัลคาไลน์ สารประกอบตะกัว่ โบรอนออกไซด์
ฟอสฟอรัสออกไซด์ และสารประกอบอื่นๆ ที่มคี วามดันไอสูงที่อุณหภูมสิ ูง ในกรณีของอัลคาไลน์ นัน้ การ
สูญ เสีย ของอัล คาไลน์ จ ะเพิ่ม ขึ้น ตามล าดับดัง นี้ Li < Na < K < Rb < Cs ซึ่ง การสูญ เสีย ส่ ว นผสมเหล่ านี้
เนื่องจากการระเหยนัน้ สามารถทาให้ลดลงได้โดยการเพิม่ ไอของสารเหล่านี้ในบรรยากาศของการหลอม โดย
จะส่งผลให้ความดันไอของสารที่ระเหยได้เพิม่ ขึน้ จนกระทังอั ่ ตราการระเหยและอัตราการควบแน่ นของสาร

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 83
ระเหยได้เข้าสู่ส มดุล ทาให้การระเหยของวัตถุ ดบิ ลดลง ในกรณีของการหลอมในถ้ว ยหลอมขนาดเล็กใน
ห้องปฏิบตั กิ ารหรือการหลอมในปริมาณทีไ่ ม่มาก อาจทาได้โดยการปิ ดฝาถ้วยหลอมหรือเบ้าหลอมไว้ ซึง่ จะ
ทาให้ความดันไอของสารระเหยเข้าสู่สภาวะทีส่ มดุลได้เร็วขึน้ อย่างไรก็ตามการปิ ดหรือคลุมเพื่อเพิม่ ความดัน
ไอเหนือของเหลวนัน้ ทาได้ยากในกรณีของการหลอมในปริมาณมากหรือการหลอมในเตาหลอมแบบต่อเนื่อง
ดังนัน้ การแก้ปัญหาอาจทาได้โดยการเติมส่วนผสมทีร่ ะเหยง่ายเพิม่ ขึน้ เพื่อทดแทนการสูญเสียองค์ประกอบ
นัน้ จากการระเหยในระหว่างการหลอม การพิจารณาว่าแก้วมีองค์ประกอบตามต้องการหรือไม่ อาจทาได้ดว้ ย
วิธอี ย่างง่ายคือการคานวณค่าร้อยละการสูญเสียน้ าหนัก (% weight loss) แต่วธิ กี ารนี้จะมีความคลาดเคลื่อน
สูงมาก เนื่อ งจากวัต ถุ ดิบที่ใ ช้อาจดูดซับน้ าได้ดี ซึ่งทาให้การสูญ เสียน้ าหนักมากเกินความเป็ นจริง โดย
น้าหนักทีห่ ายไปมากเกินนัน้ เกิดจากการสูญเสียน้า ไม่ใช่เกิดจากการระเหยของอัลคาไลน์

คาถามท้ายบท

1. การเกิดแก้ว (Glass formation) คือ อะไร จงอธิบายให้เ ข้าใจ โดยใช้การอธิบายเชิงโครงสร้างและการ


อธิบายเชิงจลน์

2. TTT-diagram คืออะไร สามารถใช้อธิบายการเกิดแก้วได้อย่างไร จงอธิบาย

3. ความเสถียรของแก้ว (Glass stability) คือ อะไร สามารถวิเ คราะห์ได้อ ย่างไรว่าแก้วแต่ล ะชนิดมีค วาม
เสถียรมากน้อยกว่ากัน

4. จงอธิบายปฏิกริ ยิ าเคมีทเี กิดขึน้ ในระหว่างการหลอมแก้วจากอุณหภูมหิ อ้ งถึงอุณหภูมสิ ูงสุดของการหลอม


ว่าเกิดอะไรบ้าง

5. จงอธิบายกลไกการกาจัดฟองก๊าซหากมีออกไซด์ของพลวงอยูใ่ นวัตถุดบิ แก้ว

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 84
บทที่ 6
การขึน้ รูปแก้ว
Glass Forming

“เมือ่ ได้น้ าแก้วหลอมทีม่ คี วามเป็ นเนื้อเดียวและปราศจากฟองก๊าซแล้ว เพือ่ สร้างสรรค์ผลงานใน


รูปแบบต่าง ๆ ทีไ่ ด้ออกแบบไว้ เช่น ขวดปากกว้าง ขวดทรงสูง กระจกใส และหลอดแก้ว เป็ นต้น น้ าแก้ว
หลอมจะถูก ส่งต่ อ ไปยังขัน้ ตอนต่ อไปเพือ่ เปลีย่ นน้ าแก้ว ทีเ่ ป็ น ของเหลว ให้ก ลายเป็ น ของแข็งทีไ่ ม่มี
โครงสร้างผลึก (อสัณฐาน หรือ Amorphous) ด้วยการขึ้นรูปพร้อมกับการลดอุณหภูมลิ งอย่างรวดเร็ว เมือ่
ผลิตภัณฑ์แข็งตัวและคงสภาพอยู่ได้ก็จะถูกส่งต่อไปยังขัน้ ตอนการอบอ่อนต่อไป ในบทนี้จะได้กล่าวถึง
ปั จจัยต่าง ๆ ทีส่ ง่ ผลต่อการขึ้นรูป ได้แก่ ความหนืด (Viscosity) ความหนืดในกระบวนการผลิตช่วงต่าง ๆ
การวัดค่าความหนืดของแก้ว และปั จจัยต่าง ๆ ทีส่ ง่ ผลต่อความหนืด ซึง่ สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการหา
อุณหภูมทิ เี ่ หมาะสมในการขึ้นรูป รวมไปถึงช่วงทีส่ ามารถขึ้นรูปแก้ว (Working range) ได้”

จากนัน้ กระบวนการทีส่ าคัญอีกประการหนึ่ง ในอุตสาหกรรมการผลิตแก้ว คือกระบวนการขึน้ รูป เพื่อ


ผลิตเป็ นผลิตภัณฑ์แก้วทีม่ ลี กั ษณะต่าง ๆ ขัน้ ตอนนี้อาจเป็ นขัน้ ตอนทีซ่ บั ซ้อน และยุ่งยาก และมีปัจจัยหลาย
อย่างทีจ่ ะต้องควบคุม ทัง้ ปั จจัยภายนอกทางด้านเทคโนโลยีทใ่ี ช้ขน้ึ รูป หรือปั จจัยภายในทีส่ ่งผลต่อเนื้อแก้ว
โดยตรง ผลิตภัณฑ์แก้วจะมีทงั ้ แบบหนึ่งมิติ เช่น ใยแก้ว (Glass fibre) แบบสองมิติ เช่น จาน หรือ กระจก
แผ่น และแบบสามมิติ เช่น ขวด บรรจุภณ ั ฑ์และภาชนะต่าง ๆ เป็ นต้น กล่าวโดยสรุปแล้วแก้วหลอมเหลวที่ม ี
อุณหภูมสิ ูงจะทาให้เย็นตัวลงในระหว่างการขึน้ รูป เพื่อเปลีย่ นสภาพของเนื้อแก้วทีม่ คี วามอ่อนตัว ให้มคี วาม
หนืดเพิม่ ขึน้ และไม่เปลีย่ นแปลงรูปร่าง (คงรูปได้) กลายเป็ นผลิตภัณฑ์ทม่ี รี ปู ร่างต่าง ๆ ตามต้องการ

ขัน้ ตอนการขึ้นรูปแก้ว นี้ต้อ งทาในช่ว งที่แก้ว มีส ถานะเป็ นของเหลวหนืด ซึ่งจะสามารถบังคับให้


ของเหลวหนืด เปลี่ยนรูปทรงไปเป็ นรูป ร่างต่ าง ๆ ตามต้อ งการได้ เมื่อ แก้ว เย็นตัว ลงเนื้อ แก้ว จะแข็ง ตัว
(Solidify) มากขึน้ ตามความหนืด (Viscosity) ทีเ่ พิม่ ขึน้ ของแก้ว โดยความหนืดจะเพิม่ ขึน้ ขึน้ อยูก่ บั สัมประสิทธิ ์
ระหว่างอุณหภูมกิ บั ความหนืด และ ขึน้ อยู่กบั อัตราการถ่ายเทความร้อนจากเนื้อแก้วสู่สงิ่ แวดล้อม โดยค่า
สัมประสิทธิ ์ระหว่างอุณ หภูมกิ บั ความหนืดของแก้วแต่ล ะชนิดจะไม่ เท่ากัน ส่งผลถึงชนิดของเทคนิค หรือ
เทคโนโลยีท่เี ลือกใช้ในการขึ้นรูป การถ่ ายเทความร้อ นจากน้ าแก้วหลอมไปสู่สงิ่ แวดล้อมนัน้ จะส่ งผลถึง
ระยะเวลาทีใ่ ช้ในการขึน้ รูป ยกตัวอย่างเช่นผลิตภัณฑ์ทม่ี คี วามหนาจะเย็นตัวช้ากว่าผลิตภัณฑ์ทม่ี คี วามบาง
ผลิตภัณฑ์ทม่ี คี วามบางจึงใช้เวลาขึน้ รูปน้อยกว่าแก้วหนา

ความหนาของแก้วจะส่งผลต่ออัตราการเย็นตัวของแก้ว ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความเค้นคงค้างที่
เหลืออยู่ในแก้ว ซึ่งเป็ นข้อกาหนดว่า แก้วสามารถขึ้นรูปได้หรือไม่ และควรต้องควบคุมอัตราการเย็นตัวใน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 85
ระหว่างการขึน้ รูปอย่างไร มีรายงานว่าอัตราการถ่ายเทความร้อนของแก้วแผ่นจะสัมพั นธ์กบั ความหนาของ
แก้ว อีกทัง้ ความร้อนคงค้างภายในแก้ว จะถ่ายเทออกมาช้ากว่าหากแก้วมีความหนา ซึง่ ทาให้ มคี วามเค้นคง
ค้างเหลืออยู่ในแก้วสูง ทาให้อาจเกิดรอยแตกร้าวในแก้วได้หากขัน้ ตอนการอบอ่อนไม่สมบูรณ์ ซึง่ ความหนา
ของผลิตภัณฑ์แก้วโดยทัวไปไม่
่ ควรเกิน 15 เซนติเมตร

นอกจากการควบคุมอัตราการเย็นตัวของแก้วขณะขึ้นรูปแล้ว เทคนิคการขึ้นรูปด้วยวิธตี ่าง ๆ จะ


เหมาะสมกับความหนืดของแก้วทีต่ ่างกันดังสรุปได้ในตาราง 6.1

ตาราง 6.1 ช่วงความหนืดทีเ่ หมาะสมต่อวิธกี ารขึน้ รูปด้วยวิธตี ่าง ๆ

วิ ธีการขึ้นรูป ช่วงความหนื ดที่เหมาะสม


(log ; หน่วยของ  คือ Pas)
การผลิ ตแก้วแผ่นแบบต่ อเนื่ อง 2.8 – 4.0
(Continuous of flat glass)
การผลิ ตภาชนะ 3.0 – 6.0
(Forming of container)
การผลิ ตแก้วแผ่นด้วยวิ ธีการดึง 4.0
(Continuous sheet drawing; Fourcault)
การผลิ ตแก้วหลอดด้วยวิ ธีการดึง 5.0
(Continuous drawing of tubes; Danner method)
การเป่ า 3.4 – 8.0
(Hand blowing)

กล่าวโดยสรุปแล้วในกระบวนการขึน้ รูปแก้ว ขึน้ อยู่กบั สมบัตติ ่าง ๆ ของแก้ว ได้แก่ การถ่ายเทความ


ร้อ น (Heat transfer) โดยเฉพาะอย่างยิง่ แบบการนาความร้อ น (Conduction) และแบบการแผ่ ค วามร้อ น
(Radiation) ความหนืดของแก้ว (Viscosity) ความตึงผิว (Surface tension) อุณหภูมกิ ารเปลีย่ นเป็ นของเหลว
(Liquidus temperature) ความร้อ นจ าเพาะ (Specific heat) ความหนาแน่ น (Density) ปริม าตรจ าเพาะ
(Specific volume) และค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อน (Coefficient of thermal expansion)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 86
6.1 ความหนื ดของแก้วในกระบวนการผลิ ตในขัน้ ตอนต่ าง ๆ (Viscosity of glass forming melts)

จากทฤษฎีการเกิดแก้วซึง่ อธิบายจากหลักเชิงจลน์ จะได้ว่าแก้วสามารถเกิดได้ง่ายเมื่อ 1) ทีอ่ ุณหภูม ิ


การหลอมน้ าแก้วมีความหนืดสูงมาก และ 2) เมื่อความหนืดของน้ าแก้วเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วเมื่อลดอุณหภูม ิ
ลงต่ ากว่าอุณหภูมกิ ารหลอม เนื่องจากการจัดเรียงตัวของอะตอมกลายเป็ นผลึก เกิดขึน้ ยากจากความหนืดที่
สูงขึ้นทาให้อะตอมเคลื่อนที่ช้าลง ดังนัน้ จะเห็นได้ว่า ความหนืดของแก้วมีความสาคัญ มากต่อกระบวนการ
หลอมแก้ว และความหนืดยังเป็ นสิง่ ทีส่ ่งผลต่อขัน้ ตอนอื่น ๆ อีก เช่น การกาจัดฟองก๊าซ (ความหนืดสูงกาจัด
ได้ยาก) การทาให้เป็ นเนื้อเดียวกัน (ความหนืดสูงทาให้เป็ นเนื้อเดียวกันได้ยาก) และ ระยะเวลาในการอบ
อ่อนแก้วซึง่ เป็ นการทาให้แก้วมีความเครียดน้อยลง เป็ นต้น

ความหนื ด (Viscosity, ) คือ ความต้า นทานของของเหลวต่ อ การเสีย รูป จากแรงเฉื อ น (Shear


deformation) หรืออาจกล่าวได้กว่าคือ การวัดอัตราส่วนระหว่างแรงเฉือนที่ให้กบั ของเหลวต่ออัตราการไหล
ของของเหลว ค่าความหนืดหาได้จากสมการ 6.1 โดยจะพิจารณาความแตกต่างของแรงกระทาคู่ขนาน (𝐹)
ต่อระนาบทีม่ พี ้นื ที่ 𝐴 โดยทัง้ สองระนาบนี้อยู่ห่างในระยะทาง 𝑑 และระนาบทัง้ สองเคลื่อนที่ดว้ ยอัตราเร็วค่า
หนึ่ง โดยมีความเร็วสัมพัทธ์ (Relative velocity) ระหว่างระนาบทัง้ สองเท่ากับ 𝑣 ดังรูป 6.1

𝐹𝑑
 = 𝐴𝑣 สมการ 6.1

รูป 6.1 การหาความหนืด เมือ่ พิจารณาความเร็วในการไหลของระนาบพืน้ ที่ A สองระนาบทีข่ นานกัน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 87
ค่าของความหนืดในหน่ วยวัดระบบ Centimeter-gram-second, CGS คือ ดายน์ วนิ าทีต่อตารางเซนติเ มตร
(dynescm-2) หรือ พอยส์ (Poise) (ใช้ต ัว ย่ อ P) ส าหรับ รหน่ ว ยวัด ระบบเอสไอ (SI unit: International
system unit) จะใช้นิวตันวินาทีต่อตารางเมตร (Nsm-2) หรือพาสคัลวินาที (Pas) ค่าความหนืดถูกใช้แบ่ง
ประเภทของของไหล เป็ นของไหลนิวโตเนียน (Newtonian) และของไหลนอนนิวโตเนียน (Non-newtonian)
โดยของไหลนิวโตเนียน (Newtonian) ซึ่งเป็ นของไหลที่มคี วามเร็ว ของการไหลตามแรงเฉือนคงที่ ส่วนของ
ไหลนอนนิวโตเนียน (Non-Newtonian) เป็ นของไหลที่เมื่อให้แรงเฉือนมากขึ้นความหนืดจะลดลง น้ าแก้ว
หลอมเป็ นของไหลแบบนอนนิวโตเนียน (Non-Newtonian) โดยพฤติกรรมทีค่ วามหนืดลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อ
ให้แรงเฉือนเพิม่ ขึน้ นี้จะเรียกว่าพฤติกรรมการไหลแบบซูโดพลาสติก (Pseudoplastic) หรือ Shear thinning
ซึง่ พฤติกรรมนี้ส่งผลต่อกระบวนการขึน้ รูปแก้ว โดยเฉพาะเทคนิคการขึน้ รูปทีใ่ ช้แรงเฉือนสูง นอกจากนัน้ ค่า
ความหนืดอาจรายงานในรูปของค่าการไหลตัว หรือ Fluidity ซึง่ จะแปรผกผันกับความหนืด ในกระบวนการ
ขึน้ รูปแก้วนัน้ น้ าแก้วหลอมจะมีความหนืดสูงขึน้ เมื่ออุณหภูมลิ ดลง ตัวอย่างการขึน้ รูปแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กตที่
พบการเปลีย่ นแปลงของความหนืดของแก้วเป็ นดังรูป 6.2 ทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ ในระหว่างกระบวนการผลิตแก้ว
โดยสามารถสรุปไว้ในตาราง 6.2 ซึง่ แสดงจุดสาคัญต่าง ๆ เทียบกับค่าความหนืด เช่น ช่วงทีส่ ามารถขึ้นรูป
แก้วได้ ช่วงทีแ่ ก้วมีการอ่อนตัวและช่วงทีเ่ หมาะแก่การอบอ่อน เป็ นต้น

รูป 6.2 การเพิม่ ขึน้ ของความหนืดของแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กตทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ


[ดัดแปลงจาก J.E. Shelby (2005)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 88
ตาราง 6.2 จุดต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตแก้วทีค่ วามหนืดของแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กตช่วงต่าง ๆ
ความหนื ดของแก้ว
เหตุการณ์ ที่เกิ ดขึ้น
(พาสคัลวิ นาที ; Pas)
แก้วหลอมสมบูรณ์ 1 – 10
จุดขึน้ รูปแก้ว 103
จุดอ่อนตัวแบบ Littleton (Littleton softening point) 106.6
จุดอ่อนตัวแบบ Dilatometric 108 – 109
ช่วงการเปลีย่ นเป็ นแก้ว (Glass transition range) 1011.3
ช่วงการอบอ่อน 1012 – 1012.4
จุดความเครียดต่า (Strain Point) 1013.5

ในการอธิบายเหตุก ารณ์ต่ าง ๆ ที่ปรากฏในรูป 6.2 และ ตาราง 6.2 จะเป็ นค่าความหนืด ที่แต่ ล ะ
อุณหภูมเิ มื่อน้ าแก้วเย็นตัวลง โดยเป็ นของกระบวนการผลิตแก้วชนิดโซดาไลม์ซลิ เิ กตซึง่ ใช้เป็ นระบบอ้างอิง
ในอุ ต สาหกรรมการผลิต แก้วทัวไป ่ โดยเมื่อ วัต ถุ ดิบต่ าง ๆ ผ่ านกระบวนการหลอมจนสมบูรณ์ กล่ าวคือ
กลายเป็ นของเหลวสมบูรณ์ ท่ีมคี วามเป็ น เนื้อ เดียวกัน และถู กไล่ ฟอร์ม ก๊ าซแล้ว จะมีค วามหนืด น้ อ ยกว่ า
10 พาสคัล วินาที (Pas) จากรูป 6.2 แสดงจุดหลอมเหลวของแก้ว ที่เ ป็ นอุ ณหภูมหิ ลอมเหลวสมบูรณ์ ใ น
กระบวนการผลิตแก้วซึง่ มักจะสูงกว่าจุดหลอมเหลว (Melting point) ของส่วนผสม

ในการขึน้ รูปแก้วนัน้ น้ าแก้วเหลวจะได้รบั แรงกระทาเพื่อเปลีย่ นรูปร่างให้เป็ นไปตามต้องการ ตามที่


ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ ดังนัน้ น้าแก้วหลอมเหลวต้องมีการไหลตัวทีเ่ หมาะสมเพื่อให้สามารถขึน้ รูปได้ และ
ต้องมีความหนืดมากพอเพื่อสามารถคงรูปอยูไ่ ด้ในระหว่างการขึน้ รูป ความหนืดทีเ่ หมาะสมกับการขึน้ รูปจะมี
ค่าความหนืดอยู่ประมาณ 103 พาสคัลวินาที (Pas) โดยเรียกจุดนี้ว่า Working point เมื่อน้ าแก้วได้รบั แรง
และมีรปู ร่างตามต้องการแล้ว ในระหว่างทีค่ วามหนืดยังต่ าอยู่แก้วจะต้องอยู่ในแบบพิมพ์ขน้ึ รูปในระยะเวลา
หนึ่งเพื่อรอให้มคี วามหนืดสูงขึ้นจนสามารถคงสภาพอยู่ได้ ค่าความหนืดนี้จะอยู่ท่ปี ระมาณ 106.6 พาสคัล
วินาที (Pas) ซึ่งเป็ นช่วงที่แก้วอ่อนตัว หรือ ณ จุด อ่อนตัว (Softening point) ช่วงการขึน้ รูป หรือ ช่วงการ
ท างาน (Working range) โดยทัว่ ไปแล้ ว จะถือ เอาช่ ว งตัง้ แต่ จุ ด ขึ้น รู ป (Working point) ถึง จุ ด อ่ อ นตัว
(Softening point) หากแก้ว มีช่ว งการขึ้น รูป ที่กว้างจะเรียกแก้ว ชนิด นัน้ ว่ า แก้ว ยาว (Long glass) ในทาง
กลับกันแก้วทีม่ ชี ่วงการทางานแคบจะถูกเรียกว่า แก้วสัน้ (Short glass) นอกจากนัน้ ยังมีนิยามการเรียกชนิด
ของแก้วตามอุณหภูมขิ องช่วงการขึน้ รูป ซึง่ เรียกว่าแก้วแข็ง (Hard glass) ในกรณีทช่ี ่วงการทางานอยูส่ ูงกว่า
ช่วงการทางานของแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กต หากอยูต่ ่ากว่าแก้วโซดาไลม์ซลิ เิ กตจะเรียกว่าแก้วอ่อน (Soft glass)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 89
จุดอ่อนตัวแบบ Littleton (Littleton softening point) เป็ นชื่อเรียกจุดอ่อ นตัว ที่ถู กวัดด้ว ยวิธ ีเ ฉพาะ
สามารถวัดจากอัตราการยืดตัวของเส้นใยแก้ว (ไฟเบอร์) ทีม่ ขี นาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.7 มิลลิเมตร
ยาว 24 เซนติเมตร โดยปลายด้านหนึ่งของไฟเบอร์ (ประมาณ 10 เซนติเมตร) จะได้รบั ความร้อนทีอ่ ุณหภูม ิ
สูงขึน้ เรื่อย ๆ โดยใช้อตั ราการเพิม่ อุณหภูมเิ ท่ากับ 5 K/min จุดอ่อนตัวแบบ Littleton คือจุดที่อุณหภูมขิ อง
ตัวอย่างแก้วโซดาไลม์ซลิ กิ ามีอตั ราการยืดตัว (Elongation) เท่ากับ 1 มิลลิเมตรต่อนาที โดยในตาราง 6.2
สามารถอ่านค่าได้เท่ากับ 106.6 พาสคัลวินาที (Pas) อย่างไรก็ตามแก้วประเภทอื่น ๆ จะมีอุณหภูม ิของ
จุดอ่อนตัวแบบ Littleton ทีแ่ ตกต่างไป นอกจากนี้ยงั มีการวัดจุดอ่อนตัวด้วยวิธกี ารพิจารณาจากการขยายตัว
เพราะความร้อน (Thermal expansion) ของแก้ว ซึ่งจะเรียกว่าจุดอ่อนตัวแบบ Dilatometric (Dilatometric
softening point, Td) ซึง่ มาจากเครื่องมือทีใ่ ช้วดั ค่าการขยายตัวเพราะความร้อนนัน้ มีช่อื เรียกว่า Dilatometer
โดยจุดอ่อนตัวแบบ Dilatometric นัน้ คือ อุณหภูมสิ ูงสุดที่ช้นิ งานแก้วมีการขยายตัวสูงที่สุด (วัดในระหว่าง
การเพิม่ อุณหภูมแิ ก้ว)

เมื่อแก้วอยู่ในช่วงอุณหภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ นแก้ว (Glass transition temperature, Tg) แก้วจะมีความ


หนื ด อยู่ท่ีป ระมาณ 1011.3 พาสคัล วิน าที (Pas) อุ ณ หภูม ิก ารเปลี่ย นเป็ น แก้ว (Tg) สามารถวัด จากการ
เปลี่ย นแปลงค่ า ความจุ ค วามร้อ น (Heat capacity) หรือ ค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้ อ น
(Thermal expansion coefficient) โดยการค่าทีไ่ ด้จะขึน้ อยู่กบั อัตราการเพิม่ อุณหภูม ิทใ่ี ช้ในการวิเคราะห์และ
ขึน้ อยูก่ บั ขนาดของสารตัวอย่าง ส่งผลทาให้อุณหภูมกิ ารเปลีย่ นเป็ นแก้ว (Tg) แตกต่างกัน ดังนัน้ การแสดงค่า
อุณหภูมกิ ารเปลีย่ นเป็ นแก้วควรระบุวธิ กี ารวัด อัตราการเพิม่ อุณหภูม ิทใ่ี ช้ในการวิเคราะห์ รวมถึงขนาดของ
ตัวอย่างด้วย

เมื่อแก้วสามารถคงตัวอยู่ได้หลังจากขึน้ รูป ชิ้นงานจะถูกแกะออกจากแบบพิมพ์ข้นึ รูปและลาเลียง


ต่อไปยังกระบวนการอบอ่อน (Annealing) ซึง่ เป็ นขัน้ ตอนสาคัญในการลดความเค้นทีเ่ กิดขึน้ ในแก้วระหว่าง
การขึน้ รูป ความหนืดของแก้วทีเ่ หมาะสมทีจ่ ะเข้าอบอ่อนอยูท่ ป่ี ระมาณ 1012 หรือ 1012.4 พาสคัลวินาที (Pas)

แก้ว จะมีพ ฤติก รรมการตอบสนองต่อแรงกระทาอยู่ระหว่างพฤติกรรมการเป็ นของเหลวสมบูรณ์


(Newtonian liquid) ซึ่ง เป็ น ของเหลวที่ส ามารถปลดปล่ อ ยความเครีย ดได้ท ัน ทีเ มื่อ ได้ร บั แรงกระท า กับ
ของเหลวทีม่ คี วามหนืดสูงซึง่ มีพฤติกรรมเหมือนวัสดุ ทม่ี คี วามยืดหยุ่น (Elastic materials) ซึง่ เป็ นพฤติกรรม
ทีเ่ รียกว่า Viscoelastic ทาให้น้าแก้วหลอมถูกจัดเป็ นวัสดุหยุน่ หนืด หรือวัสดุทม่ี คี วามเป็ น Viscoelasticity

ความหนืดของแก้วมักรายงานใน 2 รูปแบบคือ Isothermal viscosity ซึ่งเป็ นค่าของความหนืดที่


รายงาน ณ อุณหภูมหิ นึ่ง ๆ และรูปแบบที่จะรายงานอุณหภูมทิ ่แี ก้วมีความหนืดค่าหนึ่ง (ตัวอย่างของการ
รายงานอุณหภูม ิ ณ จุดอ่อนตัวแบบ Littleton และการรายงานอุณหภูมกิ ารเปลีย่ นเป็ นแก้ว เป็ นต้น) ซึง่ มีช่อื
เรียกเฉพาะของอุณหภูมดิ งั กล่าวว่าอุณหภูมิไอโซคอม (Isokom temperature) สาหรับแต่ละค่าความหนืด

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 90
6.2 ความสัมพันธ์ระหว่างความหนื ดกับอุณหภูมิ (Viscosity and temperature relationship)

โดยทัวไปแล้
่ วหากต้องการอธิบายค่าความหนืดของแก้วหรือของของเหลวที่ อุณหภูมติ ่าง ๆ มักจะใช้
สมการของ Arrhenian (สมการ 6.2) และสมการของ Vogel-Fulcher-Tamman (สมการ 6.3) ในการอธิบาย
โดยสมการของ Arrhenian เหมาะส าหรับ ความหนื ดในช่ว ง 1013 – 109 พาสคัล วินาที ส่ ว นในช่ว งที่แ ก้ว
สามารถไหลตัว ได้ดีห รือ มีค วามหนื ดต่ ากว่ า จะใช้ ส มการของ Vogel-Fulcher-Tamman ซึ่ง พัฒนามาจาก
สมการของ Arrhenian โดยร่วมกันคิดโดยนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน จึงมีการเรียกชื่อรวม ๆ กันว่า Vogel-
Fulcher-Tamman Equation หรือ VFT Equation

 = 0 𝑒 ∆𝐻 /𝑅𝑇 สมการ 6.2

เมือ่  คือ ความหนืด

0 คือ ค่าคงที่

∆𝐻 คือ พลังงานกระตุน้ ในการไหลของของเหลวหนืด (Activation energy for viscous flow)

R คือ ค่าคงทีข่ องก๊าซ

T คือ อุณหภูมสิ มั บูรณ์ (หน่วยเคลวิน; K)

โดยค่าของพลังงานกระตุน้ ∆𝐻 จะน้อยหากความหนืดของแก้วต่า

สมการของ Vogel-Fulcher-Tamman ถู ก ปรับ ปรุ ง จากสมการของ Arrhenian (สมการ 6.2) มาเป็ น


สมการ 6.3 โดยลดรูปของพจน์บางพจน์ในสมการลงและปรับเปลี่ยนปั จจัยของอุณหภูม ิ โดยเพิม่ ตัวแปร T0
ซึ่ง T0 ซึ่งเป็ นอุณหภูมทิ ่ใี กล้กบั อุณหภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ นแก้ว (Glass transition temperature) ดังนัน้ T0 จะ
เปลีย่ นไปขึน้ อยูก่ บั องค์ประกอบทางเคมีของแก้ว ซึง่ จะกาหนด T0 ไว้ต่ากว่า Tg เสมอ

 = 0 𝑒 𝐵/(𝑇−𝑇0) สมการ 6.3

เมือ่ B คือ ตัวแปรทีล่ ดรูปมาจากพลังงานกระตุน้ ในการไหลของของเหลวหนืด (∆𝐻)

T คือ อุณหภูมทิ ต่ี อ้ งการหาความหนืด ในหน่วยเคลวิน

อย่างไรก็ตามสมการที่ 6.3 ไม่นิยมใช้มากนัก ซึ่งสมการของ Vogel-Fulcher-Tamman ที่นิยมใช้ในโรงงาน


อุตสาหกรรมการผลิตแก้วจะอยูใ่ นรูปของลอการิทมึ (Logarithm) ดังสมการ 6.4

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 91
𝐵×103
log  = −𝐴 + สมการ 6.4
𝑇−𝑇0

เมือ่ A คือ ค่าคงที่ (ใช้แทน 0 )

T หรือ T0 คือ อุณหภูมใิ นหน่วยของเซลเซียส (C)

ในการหาค่าความหนืดที่อุณ หภูมใิ ด ๆ นัน้ จะต้องกาหนดค่ าอุณหภูม ิ T0 ขึ้นมาสาหรับแก้ว แต่ ล ะ


องค์ประกอบ ซึ่งสมการของ Vogel-Fulcher-Tamman สามารถใช้ได้หลายอุ ณหภูม ิ อย่างไรก็ต ามก็จ ะมี
ข้อจากัดคือหากใช้ทอ่ี ุณหภูมใิ กล้ ๆ อุณหภูมกิ ารเปลีย่ นเป็ นแก้ว (Tg) ค่าความหนืดทีไ่ ด้มกั ห่างจากความเป็ น
จริง เนื่องจาก ณ อุณหภูมชิ ่วงนี้พลังงานกระตุ้นในการไหลของของเหลวหนืด ( ∆𝐻) จะมีค่าคงที่ นอกจากนี้
การเลือกอุณหภูม ิ T0 ก็ส่งผลต่อค่าความหนืดเช่นกัน กล่าวคือหากกาหนดค่า T0 เท่ากับ 0 ความสัมพันธ์
ระหว่างความหนืดกับอุณหภูมจิ ะเป็ นไปตามความสัมพันธ์ดงั สมการของ Arrhenian กล่าวคือ (T-T0 = T) ซึง่
หากสร้างกราฟระหว่างความหนืดกับอุณหภูม ิ จะได้ความสัมพันธ์เป็ นเส้นตรง ดังรูป 6.3 และหากตัง้ ค่า T0
ใกล้เคียงกับ Tg ความสัมพันธ์ระหว่างความหนืด กับอุณหภูมจิ ะมีความโค้งมากขึน้ นอกจากนี้ ความหนืดของ
แก้ว จะมีค วามเชื่อ มโยงกับ ความแข็ง หรือ ความเปราะ (Fragility) ของแก้ว อีก ด้ว ย ซึ่ง สามารถแสดงใน
แผนภาพความเปราะ (Fragility diagram) ดังแสดงในรูป 6.3 แก้วองค์ประกอบทีม่ คี วามสัมพันธ์ระหว่างความ
หนืดกับอุณหภูมเิ ป็ นเส้นตรง (มีความสัมพันธ์แบบ Arrhenian) จะเรียกองค์ประกอบนัน้ ว่า Strong melts ซึง่
สามารถทาให้เกิดแก้วได้ง่าย กล่าวคือองค์ประกอบนัน้ เกิด พันธะระหว่างหน่ วยย่อยของแก้ว เป็ นพันธะโควา
เลนท์ หากองค์ประกอบไหนทีใ่ ห้ความสัมพันธ์เป็ นเส้นโค้งจะมีความเปราะมากขึน้ ซึง่ เรียกว่า Fragile melts
จะเป็ นแก้วทีม่ อี งค์ประกอบทีเ่ กิดทัง้ พันธะไอออนิกและโควาเลนท์อยู่ร่วมกันในโครงสร้างแก้ว เช่น กรณีการ
เติม ตัว ท าลายโครงข่า ย (Network modifier oxide) เพิ่ม ลงไปในแก้ว Fragile melt จะมีก ารเปลี่ย นแปลง
โครงสร้างอย่างรวดเร็วเมือ่ อุณหภูมเิ พิม่ สูงกว่า Tg

นอกจากนัน้ ความสัมพันธ์ระหว่างความหนืดกับอุณหภูมยิ งั สามารถอธิบายได้ดว้ ยการเปลี่ยนแปลงปริมาตร


ของน้ าแก้วหลอม ซึ่งสมการที่ใช้อธิบายนัน้ จะถูกปรับปรุงจากสมการข้างต้นให้มพี จน์ ของปริมาตรจาเพาะ
เพิม่ เติมเข้ามาในสมการ ดังสมการ 6.5

 = 0 𝑒 𝐵1/(𝑉−𝑉0) สมการ 6.5

เมือ่ B1 คือ ค่าคงที่

V คือ ปริมาตรจาเพาะ (หรือปริมาตรต่อโมล) ของน้าแก้วหลอม

V0 คือ ปริมาตรจาเพาะของโครงสร้างทีเ่ รียงตัวกันแน่ น (Close pack)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 92
โดยผลต่างระหว่าง V-V0 นัน้ จะแปรผันโดยตรงกับกับความต่างของอุณหภูม ิ (T-T0) ซึง่ ทีอ่ ุณหภูม ิ T0
ความหนืดของแก้วหรือของเหลวจะมีค่าสูงมาก และหากพิจารณาความเกี่ยวเนื่องกับปริมาตรจาเพาะ V0
พบว่า ความหนืดจะสูงมากเช่นกันเนื่องจากอะตอมไม่สามารถเคลื่อนทีไ่ ด้เนื่องจากเป็ นสภาวะทีม่ กี ารจัดเรียง
ตัวของอะตอมต่าง ๆ ชิดกันมากทีส่ ุด (Close pack) ซึง่ เป็ นสภาวะทีส่ สารมีความหนาแน่ นสูงสุด

อีก ทัง้ ยัง สามารถอธิบ ายความสัม พัน ธ์น้ี จ ากค่ า เอนโทรปี ข องน้ า แก้ว หลอม ซึ่ง มีส มมติฐ านว่ า
ของเหลวจะประกอบไปด้วยบริเวณที่มกี ารจัดเรียงตัวของอะตอมเป็ นกลุ่มก้อนที่มกี ารผันผวนของพลังงาน
(Fluctuation of energy) โดยขนาดของกลุ่มก้อนนี้จะขึ้นอยู่กบั อุณหภูมแิ ละมีขนาดที่ใหญ่ข้นึ เมื่อเอนโทรปี
ของการจัดเรียงตัวของอะตอมในกลุ่มก้อนลดลง โดยขนาดของกลุ่มก้อนจะใหญ่ทส่ี ุดในกรณีทเ่ี อนโทรปี มคี ่า
เท่ากับศูนย์ โดยสามารถเขียนให้อยูใ่ นรูปสมการได้ดงั แสดงในสมการ 6.6

 = 0 𝑒 𝐵2/(𝑇𝑆𝑐) สมการ 6.6

เมือ่ B2 คือ ค่าคงที่

T คือ อุณหภูมทิ ต่ี อ้ งการหาความหนืด

Sc คือ เอนโทรปี

ซึง่ Sc มีความสัมพันธ์กบั อุณหภูมดิ งั สมการ 6.7

𝑇−𝑇0
𝑆𝑐 = ∆𝐶𝑝 ( ) สมการ 6.7
𝑇

เมือ่ Cp คือ ความแตกต่างของความจุความร้อนจาเพาะของแก้วทีส่ องอุณหภูม ิ T0 และ T ซึง่ จะมีค่าคงที่

T หรือ T0 คือ อุณหภูมทิ ต่ี ้องการหาความหนืด และ อุณหภูมทิ ก่ี าหนดขึน้ (ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น) ใน
หน่วยของเซลเซียส (C)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 93
รูป 6.3 แผนภาพความเปราะ (Fragility diagram) ของของเหลวหนืด [ดัดแปลงจาก Shelby (2005)]

6.3 ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่ อความหนื ดของแก้ว (Factors effecting viscosity of glasses)

6.3.1 องค์ประกอบทางเคมี (Chemical composition)

ปั จจั ย นี้ อ าศั ย การอธิ บ ายด้ ว ยความเชื่ อ มต่ อ ของโครงสร้ า งแก้ ว หรื อ การเชื่ อ มต่ อ ของ
ตัวโครงร่างตาข่ายแก้ว (Glass former) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าองค์ประกอบแก้วที่ลดความเชื่อ มต่อของแก้วลง
ความหนืดของแก้วองค์ประกอบนัน้ ๆ จะลดลงด้วย

6.3.1.1 แก้วระบบซิ ลิเกต (Silicate glasses)

น้าแก้วหลอมของแก้วซิลกิ า (SiO2) จะมีความหนืดสูงสุดในบรรดาแก้วออกไซด์ แก้วซิลกิ ามีอุณหภูม ิ


การเปลี่ยนเป็ นแก้วอยู่ในช่วงที่สูงมาก โดยอยู่ท่ปี ระมาณ 1060 – 1200 เซลเซียส ความหนืดของน้ าแก้ว
หลอมชนิดนี้จะเพิม่ ขึน้ ช้ามากเมื่ออุณหภูมขิ องน้ าแก้วหลอมลดลง โดยในการผลิตแก้วซิลกิ าจะมีอุณหภูมทิ ่ี
เหมาะสมต่อการขึน้ รูปอยู่ทป่ี ระมาณ 2200 เซลเซียส ซึง่ สูงกว่าจุดหลอมเหลวของซิลกิ า (SiO2) มาก การเติม
ออกไซด์ของโลหะอัลคาไลน์ (M2O) ลงไปในแก้วซิลกิ า จะเกิดการทาลายการเชื่อมต่อของพันธะระหว่างตัว
โครงสร้างแก้ว กล่ าวคือ พันธะของ Si-O-Si จะถู ก ทาลาย โดย Bridging oxygen (ออกซิเ จนที่เ ชื่อ มต่ อ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 94
ระหว่างตัวโครงสร้างแก้ว ในกรณีน้คี อื ระหว่าง Si และ Si) จะถูกเปลีย่ นเป็ น Non-bridging oxygen ดังสมการ
เคมีแสดงปฏิกิรยิ า (สมการ 6.8) เมื่อ – แสดงความเป็ นพันธะโควาเลนท์ และ  แสดงความเป็ นพันธะ
ไอออนิกในแก้ว

Si-O-Si + M2O Si-O–+M + M+–O-Si สมการ 6.8

การทาลายโครงข่ายของตัวโครงสร้างแก้วดังกล่าวจะทาให้ความหนืดของแก้วลดลงมากเมื่อเติมออกไซด์
ของอัลคาไลน์ลงไปในประมาณน้อย ๆ แต่หากเติมลงไปสูงขึน้ ถึงประมาณ 10 – 20 % โดยโมล ค่าความหนืด
จะไม่แตกต่างกันมากนัก นอกจากนัน้ ชนิดของออกไซด์ของอัลคาไลน์ ท่เี ติมลงไปก็ส่งผลต่อการลดลงของ
ความหนืดเช่นกัน (ส่งผลต่อความหนืดน้อยกว่าปริมาณออกไซด์ทเ่ี ติมลงไป) โดยมีลาดับการลดลงของความ
หนืดเป็ นดังนี้ Cs2O > Rb2O > K2O > Na2O > Li2O

ส่วนผลของการเติมออกไซด์ของอัลคาไลน์เอิรธ์ นัน้ ไม่ทาให้ความหนืดลดลงมากนักเมื่อเปรียบเทีย บ


กับการเติมออกไซด์ของอัลคาไลน์ ซึ่งพบว่าค่าความหนืดของแก้ว ณ อุณหภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ นแก้ว (Glass
transition temperature, Tg) จะมีค่าความหนืดประมาณ 1012 พาสคัลวินาที (Pas) โดยความหนืดค่านี้วดั ได้
ทีอ่ ุณหภูมสิ งู กว่าแก้วทีเ่ ติมออกไซด์ของอัลคาไลน์ถงึ 200 เคลวิน

การเติม Al2O3 หรือ Ga2O3 ซึ่งเป็ นออกไซด์กลุ่มที่เป็ น Intermediate oxide ลงไปแทนที่อ อกไซด์
ของอัลคาไลน์หรืออัลคาไลน์เอิรธ์ นัน้ จะทาให้ความหนืดของแก้วสูงขึ้น เนื่องจาก Al2O3 และ Ga2O3 ทาให้
โครงร่างตาข่ายของแก้วเพิม่ มากขึน้ (Bridging oxygen เพิม่ ขึน้ ) โดยความหนืดจะสูงทีส่ ุดเมื่อปริมาณที่เติม
ลงไปเท่ากับออกไซด์ของอัลคาไลน์หรืออัลคาไลน์เอิรธ์ ที่มอี ยู่ในแก้ว (อัตราส่วนระหว่าง Al2O3 หรือ Ga2O3
ต่ อ ออกไซด์ของอัลคาไลน์ ห รืออัลคาไลน์ เ อิร์ธ เท่ากับ 1) ดังแสดงในรูป 6.4 ซึ่งเป็ นตัว อย่างของการเติม
Ga2O3 ลงไปในแก้ว อัล คาไลน์ ซิล ิเ กต โดยแก้ว จะมีป ริม าณออกไซด์ข องอัล คาไลน์ อ ยู่ค งที่ท่ี 15 mol%
(ออกไซด์ของอัลคาไลน์ทใ่ี ช้ได้แก่ Li2O, Na2O และ K2O) หากเติม Al2O3 และ Ga2O3 เกินกว่าประมาณของ
ออกไซด์ของอัลคาไลน์หรืออัลคาไลน์เอิรธ์ ทีม่ อี ยูใ่ นแก้วแล้วค่าความหนืดจะลดลง

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 95
รูป 6.4 ผลขององค์ประกอบทางเคมีของแก้วต่อการเปลีย่ นแปลงอุณหภูม ิ Isokom ทีใ่ ห้ค่าความหนืด
1011 พาสคัลวินาที (Pas) ของแก้วระบบลิเทียมซิลเิ กต โซเดียมซิลเิ กต และ โพแทสเซียมซิลเิ กต (แก้วแต่ละ
ชนิดมีปริมาณอัลคาไลน์ออกไซด์เท่ากัน = 15 % โดยโมล) ทีม่ กี ารเติม Ga2O3 ในปริมาณทีต่ ่างกัน
[ดัดแปลงจาก J.E. Shelby (2005)]

นอกเหนือจากการเติมออกไซด์ของธาตุต่าง ๆ ดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วจะส่งผลต่อแก้ว การเติมออกไซด์


ของตะกัวในแก้
่ วทาให้ความหนืดของแก้วซิลเิ กตลดลงมากขึน้ อยูก่ บั ปริมาณทีเ่ ติมลงไป

6.3.1.2 แก้วระบบบอเรต (Borate glasses)

แก้วระบบนี้เป็ นแก้วที่มคี วามหนืดค่อนข้างต่ า โดยเฉพาะแก้วโบรอนออกไซด์ (B2O3) เมื่อเทียบกับ


แก้วทีม่ ี SiO2 และ GeO2เป็ นส่วนประกอบ เนื่องจากการเชื่อมต่อของโครงสร้าง 3 มิตมิ นี ้อยกว่าเมือ่ เทียบกับ
โครงสร้าง 3 มิตขิ องแก้ว SiO2 และ GeO2 โครงสร้างพื้นฐานของแก้วระบบนี้จะประกอบไปด้วยโครงสร้าง
สามเหลี่ยมแบนราบของโบรอน (Boron triangle) (ดังรูป 6.5 ก) ประกอบกันเป็ นวงที่เรียกว่า Boroxol ring

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 96
(ดังรูป 6.5 ข) โดยโครงสร้าง Boroxol ring จะขยายตัวและแตกออกเมือ่ อุณหภูมสิ ูงขึน้ ซึง่ เป็ นปั จจัยหนึ่งทีท่ า
ให้ความหนืดของแก้วระบบนี้ต่า

รูป 6.5 หน่วยย่อยพืน้ ฐานของแก้วโบรอนออกไซด์ แสดงลักษณะของ (ก) โครงสร้างสามเหลีย่ มแบนราบของ


โบรอน (Boron triangle, [BO3]) (ข) โครงสร้าง Boroxol ring และ (ค) โครงสร้างเตตระฮีดรัลโบรอน
(Tetrahedral, [BO4])

การเติมออกไซด์ของอัลคาไลน์ ลงไปในแก้วโบรอนออกไซด์ นัน้ จะทาให้ความหนืดของแก้วบอเรต


เปลี่ยนไป โดยพฤติกรรมการเปลีย่ นแปลงความหนืดของแก้วชนิดนี้ เป็ นไปดังรูป 6.6 ซึ่งแสดงตัวอย่างของ
การเติ ม ลิเ ทีย มออกไซด์ (Li2O) ลงไปในแก้ ว B2O3 ซึ่ง ความหนื ด ของแก้ ว แสดงในรู ป ของ Isokom
temperature ของแก้วทีม่ คี ่าความหนืดเท่ากับ 1011 พาสคัลวินาที เมือ่ เติมออกไซด์ของอัลคาไลน์ลงไปในแก้ว
ในช่วงแรก แก้วจะมีความหนืดเพิม่ ขึน้ อันเนื่องมาจากการการเปลีย่ นแปลงโครงสร้างสามเหลีย่ มแบนราบของ
โบรอน ([BO3]) กลายเป็ น โครงสร้างเตตระฮีดราของโบรอน (Tetrahedral, [BO4]– ซึง่ แสดงในรูป 6.5 ค) โดย
ไม่เกิด Non-bridging oxygen เหมือนกับกรณีของแก้วระบบซิลเิ กตทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว จากนัน้ ความหนืดของ
แก้วจะลดลงเมื่อเติมออกไซด์ของอัลคาไลน์เพิม่ ขึน้ ซึง่ เป็ นผลมาจากการเกิด Non-bridging oxygen ในแก้ว
โดยความหนืดของแก้วจะมีค่าสูงสุดทีอ่ งค์ประกอบของออกไซด์ของอัลคาไลน์อยู่ทป่ี ระมาณ 25 – 30 %โดย
โมล อย่างไรก็ตามเมื่อวัดความหนืดของแก้วที่อุณหภูมสิ ูงกว่า 1000 เซลเซียส ความหนืดของแก้ว จะอยู่
ในช่วงต่ ากว่า 103 พาสคัลวินาที โดยความหนืดของแก้วจะลดลงเมื่อปริมาณออกไซด์ของอัลคาไลน์เพิม่ ขึ้น
โดยไม่ ม ีก ารรายงานว่ า พบจุ ด สู ง สุ ด (Maximum point) ที่ก ารวัด ที่อุ ณ หภู ม ิสู ง กว่ า 1000 เซลเซีย สนี้
นอกเหนือจากนัน้ ความหนืดของแก้วในช่วงของการเปลี่ยนเป็ นแก้ว (Glass transition range) ยังลดลงตาม
ผลของชนิดของออกไซด์ของอัลคาไลน์ ท่เี ติมลงไป ซึ่งมีลาดับดังนี้ Li2O > Na2O > K2O > Rb2O > Cs2O
ตามลาดับ ซึ่งผลจะตรงข้ามกับแก้ว ซิลเิ กต พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงความหนืดจะคล้ายกับที่แสดงใน
รูป 6.6 กล่าวคือมีค่าสูงสุดของความหนืดนัน้ ยังสามารถพบได้ในแก้วระบบ Sb2O3-B2O3 และ Bi2O3-B2O3

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 97
แม้ว่าทัง้ สองระบบนี้ Sb2O3 และ Bi2O3 จะมีพฤติกรรมเป็ นตัวโครงสร้างแก้ว (Glass network former) ซึ่ง
แตกต่างจากแก้วระบบ Si2O-B2O3 หรือ GeO2-B2O3 ซึง่ ความหนืดจะเพิม่ ขึน้ เมื่อเพิม่ ปริมาณของ SiO2 หรือ
GeO2 ส่วนการเติมออกไซด์ชนิด Intermediate ลงไปในแก้วจะส่งผลต่อความหนืดเพียงเล็กน้อย

รูป 6.6 ความหนืดของแก้ว Li2O-B2O3 ทีม่ ปี ริมาณ Li2O ต่าง ๆ โดยความหนืดจะอยูใ่ นรูปของอุณหภูม ิ
ไอโซคอม (Isokom temperature) ทีม่ คี ่าความหนืดเท่ากับ 1011 พาสคัลวินาที

6.3.2 ผลของอัตราการเย็นตัวของน้ าแก้ วหลอมต่ อ ความหนื ด ของแก้ ว (Effect of cooling


rate of melts on viscosity of glasses)

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าอัตราการเย็นตัวของของเหลวกลายเป็ นแก้ว นัน้ ส่ งผลทาให้แก้ว มีช่ว งการ


เปลี่ยนเป็ นแก้วที่แตกต่างกัน จากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรหรือเอนทาลปี กบั อุณหภูมขิ องการเย็นตัว
ของของเหลวดังรูป 6.7 ซึ่งแสดงอุณหภูม ิ Fictive (Tf) ของแก้วที่ผ่านการเย็นตัวในอัตราเร็วที่แตกต่างกัน
โดยแก้วทีเ่ ย็นตัวช้ากว่าจะมีอุณหภูม ิ Fictive ต่ ากว่า โดยตาแหน่ งของอุณหภูม ิ Fictive นี้ จะมีความสัมพันธ์
กับเวลาทีแ่ ก้วใช้ในการปลดปล่อยความเครียดคงค้างจากการทาให้ของเหลวเย็นตัวอย่ างรวดเร็วและมีความ
เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างของแก้วด้วย ดังนัน้ หากแก้วมี Fictive temperature ทีแ่ ตกต่างกัน จะแสดงให้เห็นว่า
แก้วมีโครงสร้างที่ต่างกันด้วย ทาให้เกิด ความแตกต่างของสมบัติบางประการของแก้ว ได้ แก้วที่ม ี Fictive
temperature สูงกว่าเกิดจากการเย็นตัวของของเหลวกลายเป็ นแก้วที่เร็วกว่า ทาให้โครงสร้างแก้วมีความ
แน่นตัวน้อย (Less dense) ซึง่ ทาให้ความหนืดของแก้วต่า โดยโครงสร้างและสมบัตขิ องแก้วสามารถปรับแต่ง
ได้โดยการอบแก้วทีอ่ ุณหภูม ิ (ณ อุณหภูม ิ Fictive ทีต่ อ้ งการ) และระยะเวลาทีเ่ หมาะสม ซึง่ จะทาให้โครงสร้าง
แก้วจะปรับสภาพเพื่อเข้าสู่โครงสร้างใหม่ตามต้องการ โดยเวลาที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างไปเป็ น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 98
โครงสร้างใหม่ตามต้องการนัน้ จะขึ้นอยู่กบั ความหนืดของแก้ว แก้วที่มคี วามหนืดต่ าจะมีการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างในช่วงแรกในอัตราที่เร็วกว่า แสดงให้เห็นว่าการคลายความเครียด (Relaxation) ในช่วงแรกของ
แก้วชนิดนี้สูงกว่า ยกตัวอย่างในกรณีของการอบแก้วที่อุณหภูม ิ T3 ซึ่งเป็ นอุณหภูม ิ Fictive ที่ต้องการ โดย
เริ่ม จากแก้ ว 2 ชนิ ด ที่ม ีอุ ณ หภู ม ิ Fictive สู ง กว่ า (T1) และ ต่ า กว่ า (T2) ตามล าดับ โดยที่ T1 > T2 > T3
ดังแสดงใน รูป 6.8 แสดงให้เห็นว่าแก้วทีม่ อี ุณหภูม ิ Fictive สูงกว่า ในช่วงต้นของการอบทีอ่ ุณหภูม ิ T3 แก้ว
จะมีการเปลีย่ นแปลงความหนืดทีเ่ ร็วกว่า เนื่องจากแก้วมีความหนืดเริม่ ต้นทีต่ ่ ากว่า อย่างไรก็ตามแก้วจะต้อง
ใช้เวลาในการอบทีน่ านกว่าแก้วทีม่ อี ุณหภูม ิ Fictive ต่ากว่า

รูป 6.7 อุณหภูม ิ Fictive ของแก้วทีเ่ ย็นตัวทีอ่ ตั ราต่างกัน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 99
รูป 6.8 การเปลีย่ นแปลงความหนืดของแก้วเพื่อเข้าสู่สมดุลใหม่ จากแก้วทีม่ อี ุณหภูม ิ Fictive ต่างกัน
(T1 และ T2 โดยที่ T1 > T2 > T3) [ดัดแปลงจาก J.E. Shelby (2005)]

หากอุณหภูม ิ Fictive ใหม่ (T3) อยู่ระหว่าง T1 และ T2 แก้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยมีการเปลี่ยนแปลง


โครงสร้างให้เข้าสู่โครงสร้างใหม่ท่อี ุณหภูม ิ T3 แต่ทศิ ทางการเปลี่ยนแปลงจะแสดงดังรูป 6.9 โดยแก้วที่ม ี
Fictive temperature สูงกว่าจะมีการเปลีย่ นแปลงในช่วงต้นทีเ่ ร็วกว่า เนื่องจากความหนืดตัง้ ต้นต่ากว่านัน่ เอง
ส่วนแก้วทีม่ คี วามหนืดสูงกว่า (Fictive temperature ต่ากว่า) ก็จะมีการเปลีย่ นแปลงช้ากว่าในช่วงต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 100


รูป 6.9 การเปลีย่ นแปลงความหนืดของแก้วเพื่อเข้าสู่สมดุลใหม่ ที่อุณหภูม ิ Fictive = T3 จากแก้วทีม่ อี ุณหภูม ิ
Fictive ต่างกัน (T1 และ T2 โดยที่ T1 > T3 > T2) [ดัดแปลงจาก J.E. Shelby (2005)]

6.4 การวัดความหนื ดของแก้ว (Viscosity measurements)

ความหนืดของแก้ว (Viscosity, ) จะขึน้ อยู่กบั อุณหภูม ิ โดยการวิเคราะห์ความหนืดสามารถทาได้


หลายวิธ ี เช่นการพิจารณาอัตราการหมุนของหัวตรวจวัด และ การวิเคราะห์การจมของลูกตุ้มในของเหลว
เป็ นต้น การวัดความหนืดของแก้วนัน้ อาจจาเป็ นต้องใช้หลายเทคนิคร่วมกัน เนื่องจากแต่ละเทคนิคมีขอ้ จากัด
และมีช่วงของค่าความหนืดทีเ่ หมาะสมแตกต่างกันออกไป หลักการโดยย่อของเทคนิคต่าง ๆ มีดงั นี้

Rotation Viscometers : การวิเ คราะห์ด้ว ยวิธ ีน้ี ป ระกอบไปด้ว ยวัส ดุ ท รงกระบอกขนาดเล็ก ที่
เรียกว่า Spindle ซึง่ จะหมุนอยู่ภายในของเหลวทีต่ ้องการวัดค่าความหนืด หรือการวัดค่าความหนืดโดยการ
ให้ภาชนะรองรับของเหลวที่ต้องการวัดค่าความหนืดหมุนแล้ววัดค่าแรงบิด (Torque) ที่ของเหลวกระทาต่อ
สปิ นเดิล (Spindle) ค่าความหนืดทีว่ ดั ได้นัน้ จะอยู่ในช่วง 103.5 ถึง 109 ขึน้ อยู่กบั การออกแบบเครื่องมือ โดย
เทคนิคนี้จะใช้แก้วตัวอย่างประมาณ 100 – 1000 กรัม ขึ้นอยู่ปริมาณน้ าแก้วหลอมเหลวที่จะต้องเพียงพอ
สาหรับการวัด โดยค่าความหนืดของน้ าแก้วจะมีความสัมพันธ์กบั แรงบิด (Torque) ขนาดของสปิ นเดิลและ
ขนาดของภาชนะรองรับน้ าแก้ว ดังสมการ 6.9

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 101


1 1 1 𝑇
= ( 2 − 2) ( ) สมการ 6.9
4𝜋𝐿 𝑟 𝑅 𝜔

เมือ่ L และ r คือ ความยาวและรัศมีของสปิ นเดิล ตามลาดับ

R คือ รัศมีภายในของภาชนะสาหรับใส่น้ าแก้วหลอม

T คือ อุณหภูมทิ ต่ี อ้ งการวิเคราะห์ความหนืด

 คือ ความเร็วเชิงมุม (Angular velocity) ของการหมุนของสปิ นเดิล


อย่างไรก็ตามไม่จาเป็ นต้องทราบค่ าความยาวหรือรัศ มีของอุ ปกรณ์ท่ใี ช้ เนื่องจากค่าเหล่านี้จะแฝงอยู่ใ น
ค่าคงทีม่ าตรฐานของการเทียบมาตรฐาน (Calibration constant) ซึง่ หาได้จากการวัดความหนืดของของเหลว
ทีท่ ราบค่าความหนืดทีแ่ น่ นอน เช่นน้าหรือน้ามัน เป็ นต้น อย่างไรก็ตามจาเป็ นต้องทราบค่าอัตราส่วนระหว่าง
T กับความเร็วในการหมุน (ค่า  ในทีน่ ้)ี เพื่อหาค่าความหนืดของแก้วทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ ได้

Falling Sphere Viscometers : เทคนิคนี้จะพิจารณาค่ าความหนืดจากแรงต้านการเคลื่อ นที่ของ


วัตถุทรงกลมภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ซึง่ อาศัยการอธิบายโดยใช้สมการของ Stokes (Stokes equation)
ดังสมการ 6.10

2 𝑟2𝑔
= (𝜌𝑠 − 𝜌𝑚 ) สมการ 6.10
9 𝑣

เมือ่ r คือ รัศมีของวัตถุทรงกลม

g คือ แรงโน้มถ่วงของโลก

𝑣 คือ อัตราเร็วในการเคลื่อนทีข่ องวัตถุทรงกลม

𝜌𝑠 และ 𝜌𝑚 คือความหนาแน่นของทรงกลมและน้าแก้วหลอม ตามลาดับ

ค่าความหนืดทีว่ ดั ได้จากเทคนิคนี้จะอยู่ในช่วง 1 – 106 Pas โดยทัวไปเทคนิ


่ คนี้จะมีอุปกรณ์เพื่อให้สามารถ
วัดได้ทงั ้ การลอยและการตกจมของวัตถุ เพื่อให้ได้ค่ามาเปรียบเทียบกัน

Fiber Elongation Viscometers : เป็ นเทคนิคที่นิยมใช้มากทีส่ ุด โดยเป็ นเทคนิคที่วดั อัตราการยืด


ตัวของเส้นใยแก้ว (Glass fibre) ทีท่ ราบขนาดและความยาวทีแ่ น่ นอน โดยเส้นใยแก้วจะได้รบั แรงกดหรือแรง
ดึงทีค่ งที่ ค่าความหนืดทีว่ ดั ได้จะอยู่ในช่วง 105 – 1012 Pas เทคนิคนี้เป็ นเทคนิคทีส่ ามารถหาค่าจุดอ่อนตัว
ของ Littleton และอุณหภูมสิ าหรับอบอ่อนแก้วได้อกี ด้วย ซึง่ สมการทีใ่ ช้อธิบายนัน้ แสดงในสมการ 6.11

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 102


𝐿𝐹
= สมการ 6.11
3𝐴(𝑑𝐿/𝑑𝑡)

เมือ่ (dL/dt) คือ อัตราการยืดของเส้นใยแก้ว

L คือ ความยาวตัง้ ต้นของเส้นใยแก้ว

A คือ พืน้ ทีห่ น้าตัดของเส้นใย

ซึ่งเส้นใยนี้จะถูกแขวนในแนวดิง่ ภายในอุปกรณ์วดั ความหนืด โดยความหนืดในสมการ 6.11 จะ


พิจารณาถึงแรงกระทาต่อพืน้ ทีท่ ใ่ี ห้กบั เส้นใยแก้ว (F/A) เนื่องจากพืน้ ทีห่ น้าตัดของเส้นใยแก้วจะลดลงเมื่อเส้น
ใยยืดตัว ดังนัน้ ตลอดช่วงทีท่ าการวัดค่าความหนืดจะต้องคานึงถึงการลดลงของขนาดเส้นใยแก้ว อีกทัง้ ในการ
วัดควรทาให้สดั ส่วนระหว่างพื้นผิวเส้นใยแก้วกับปริมาตรแก้ว มีค่าต่ า หากสัดส่วนนี้มคี ่ามากอาจเกิดปั ญหา
ของความแตกต่างขององค์ประกอบของแก้วในบริเวณพื้นผิวกับภายในชิ้นงานระหว่างการวัดค่าความหนืด
ซึ่งดังได้กล่าวมาแล้วว่าองค์ประกอบทางเคมีของแก้วส่งผลต่อ ค่าความหนืดของแก้ว โดยการเปลี่ยนแปลง
องค์ประกอบนี้อาจเกิดจากปฏิกริ ยิ าระหว่างแก้วกับบรรยากาศหรือการระเหยของแก้วทีก่ ลายเป็ นของเหลว
เป็ นต้น

Beam-Bending Viscometer : เทคนิคนี้เหมาะสาหรับการวัดความหนืดของแก้วในช่วงที่มคี วาม


หนืดสูง (108 – 1013 Pas) ในการวิเคราะห์ความหนืดของแท่งแก้วที่มพี น้ื ที่หน้าตัด A และมีความหนาแน่ น
เท่ากับ  ชิน้ งานตัวอย่างจะได้รบั น้ าหนักกดเท่ากับ M โดยชิน้ งานตัวอย่างจะวางอยู่บนฐานรองรับทีอ่ ยู่ห่าง
กันในระยะ L ซึง่ การวางชิน้ งานนี้เรียกว่า 3-point bending ดังแสดงในรูป 6.10 ซึง่ ความหนืดสามารถคานวณ
ได้จากสมการ 6.12

𝑔𝐿3 𝐴𝐿𝜌
= (𝑀 + ) สมการ 6.12
2.4𝐼𝑐 𝑉 1.6

เมือ่ 𝐼𝑐 คือ โมเมนต์ความเฉื่อย (Moment of inertia) ของชิน้ งาน

𝑉 คือ อัตราการโก่งตัวของชิน้ งานทีต่ อ้ งการวิเคราะห์

M คือ น้าหนักกด

เทคนิคนี้ตวั อย่างทีใ่ ช้สามารถเตรียมให้อยูใ่ นรูปของแท่งทรงกระบอกหรือแท่งทรงสีเ่ หลีย่ มก็ได้ ทาให้สามารถ


เตรีย มตัว อย่า งได้ง่า ยกว่ า เทคนิ ค อื่น ๆ รวมไปถึง มีก ารพัฒ นาให้ส ามารถวัด ชิ้น งานที่ม ีข นาดเล็ก มาก
(1 x 1 x 10 มิลลิเมตร) ได้ ซึง่ เป็ นข้อดีของเทคนิคนี้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 103


รูป 6.10 การวางตัวในลักษณะ 3-point bending ในการวิเคราะห์หาความหนืดของแก้วด้วยวิธ ี
Beam-bending

คาถามท้ายบท

1. จงเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความหนืดกับอุณหภูมขิ องของเหลวทีเ่ ป็ นตัวโครงสร้างแก้วที่ดี


(Good glass former) และแสดงต าแหน่ ง ของ จุด Strain จุด อบอ่ อ น จุด อ่ อ นตัว อุ ณ หภูม ิข้นึ รูป และ
อุณหภูมหิ ลอมตัว

2. จงเขียนแผนผังความเปราะของแก้ว แสดงถึงของเหลวหรือแก้วที่เรียกว่า Strong และ Fragile พร้อมทัง้


อธิบายลักษณะของ Strong และ Fragile melts โดยละเอียด

3. จงทานายความหนืด ของแก้ว ระบบ SiO2 และ 0.15Na2O3-0.85SiO2 ว่าแก้ว ระบบไหนจะมีค วามหนื ด


มากกว่าหรือน้อยกว่า พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ

4. จงทานายความหนืดของแก้วระบบ SiO2 และ B2O3 ว่าแก้วระบบไหนจะมีความหนืดมากกว่าหรือน้อยกว่า


พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ

5. จงยกตัวอย่างวิธ ีการวิเคราะห์ความหนืดพร้อมทัง้ อธิบายหลักการการวิเคราะห์ดงั กล่าว และระบุว่าวิธ ี


ดังกล่าวมีขอ้ ดีขอ้ เสียอย่างไร

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 104


บทที่ 7
การอบอ่อนแก้ว
Glass Annealing

“ความเค้นในผลิตภัณฑ์แก้วมี 2 ชนิด คือ ความเค้นชัวคราว่ และ ความเค้นถาวรหรือความเค้น


คงค้าง ซึง่ ความเค้น ทีม่ อี ยู่ในแก้วจะส่งผลต่อสมบัตขิ องผลิตภัณฑ์แก้ว โดยเฉพาะอย่างยิง่ สมบัตเิ ชิงกล
เช่น ความแข็ง และ ความแข็งแรง เป็ นต้น โดยความเค้นดังกล่าวมักเกิดจากการกระจายตัวอย่างไม่
สมา่ เสมอของอุณหภูมใิ นชิ้นงานแก้ว ซึง่ มักพบในระหว่างการเพิม่ หรือลดอุณหภูมแิ ก่แก้ว หรือ เกิดขณะ
ขึ้น รูป ผลิต ภัณฑ์ โดยความเค้น ดัง กล่ า วท าให้ลดลงได้ด้ว ยกระบวนการทีเ่ รีย กว่ า การอบอ่ อ น หรือ
Annealing ซึง่ เป็ น กระบวนการทีใ่ ห้ค วามร้อ นแก่ ผ ลิต ภัณฑ์แ ก้ว และท าให้แ ก้ว มีก ารกระจายตัว ของ
อุณหภูมทิ วกั
ั ่ นทัง้ ชิ้นงาน เป็ นผลทาให้ความเค้นในแก้วลดลง”

การอบอ่อนหรือที่เรียกว่า Annealing ผลิตภัณฑ์แก้วนัน้ ทาเพื่อลดความเครียด (Strain) หรือความ


เค้น (Stress) ที่มอี ยู่ในแก้ว ในที่น้ีจะหมายรวมเป็ นความเค้นในแก้วเท่านัน้ เพื่อง่ายต่อการทาความเข้าใจ
เนื่องจากความเค้นและความเครียดมีความสัมพันธ์ซง่ึ กันและกัน การอบอ่อนจะทาให้ความเค้นคงค้างในแก้ว
ลดลงจนมีระดับทีไ่ ม่เกินค่ามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากนัน้ การอบอ่อนยังทาให้โครงสร้างแก้วมี
ความเสถียรเพิม่ ขึน้ ซึง่ จะส่งผลโดยตรงทาให้สมบัตขิ องแก้วไม่เปลีย่ นแปลงไปหลังจากทาให้แก้วเย็นตัวลงถึง
อุณหภูมหิ อ้ ง การอบอ่อนแก้วนอกจากจะเป็ นการลดความเค้นของแก้ว แล้ว ในบางกรณียงั เป็ นการการบาบัด
ทางความร้อน หรือ Heat treatment เพื่อทาให้แก้วมีสมบัตทิ เ่ี ด่นขึน้ เช่น การอบอ่อนทีม่ กี ารควบคุมอุณหภูม ิ
อย่างระมัดระวังในการผลิตแก้วเชิงแสง หรือ การใช้ความร้อนเพื่อทาให้กระจกแผ่นมีความแข็งแรงมากขึน้
เป็ นต้น ในทางปฏิบตั ผิ ลิตภัณฑ์แก้วจะเข้าสู่กระบวนการอบอ่อนทีอ่ ุณหภูมใิ นช่วงระหว่างจุด Strain (ความ
หนืดเท่ากับ 1014.5 Ps) และจุด Upper annealing temperature (ความหนืดเท่ากับ 1013 Ps) โดยแก้วที่ม ี
ความเค้นได้รบั ความร้อนจนมีอุณหภูมเิ ท่ากับจุด Upper annealing temperature จากนัน้ จะให้ความร้อนคงที่
เป็ นระยะเวลาหนึ่งเรียกว่า “การยืนอุณหภูม ิ หรือ Soaking” โดยระยะเวลาดังกล่าวจะนานมากหรือน้อยขึน้ อยู่
กับขนาดของผลิตภัณฑ์ ความหนาของผลิตภัณฑ์ น้ าหนักและรูปร่างของผลิตภัณฑ์อกี ด้วย ซึ่ง การอบอ่อน
จะต้องทาให้แก้วมีความเค้นต่ ากว่าค่าความเค้นที่ยอมรับได้ทอ่ี ุณหภูมหิ อ้ งอยู่ครึง่ หนึ่ง จากนัน้ แก้วจะถูกลด
อุณหภูมอิ ย่างช้า ๆ ลงถึงจุด Strain ซึง่ การลดอุณหภูมคิ รัง้ นี้จะทาให้ค่าความเค้นเพิม่ ขึน้ เล็กน้อย ซึง่ จะต้อง
ระมัดระวังไม่ให้ความเค้นเพิม่ มากเกินกึ่งหนึ่งของค่าทีย่ อมรับได้ทอ่ี ุณหภูมหิ อ้ ง เมื่อสิน้ สุดขัน้ ตอนนี้แก้วจะมี
ความเค้นใกล้เคียงกับค่าที่ยอมรับได้ทอ่ี ุณหภูมหิ อ้ ง เมื่อถึงจุด Strain แก้วจะถูกลดอุณหภูมอิ ย่างรวดเร็วถึง
อุณหภูมหิ ้อง การลดอุณหภูมคิ รัง้ นี้จะไม่ก่อให้เกิดความเค้นใด ๆ ในแก้ว ขัน้ ตอนต่าง ๆ ในการอบอ่ อ น
สามารถสรุปไว้ในรูป 7.1 โดยในทางปฏิบตั แิ ล้วอุณหภูมภิ ายในเตาอบอ่อน หรือ Annealing lehr จะไม่ตรง

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 105


ตามทฤษฎี โดยจากรูปเป็ นกราฟจาลองจากการอบอ่อนแก้วในกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous
process) เนื่องจากในสภาวะการทางานจริง จะมีปัจจัยต่าง ๆ มากมายทีท่ าให้อุณหภูมใิ นเตาเปลีย่ นไป เช่น
การถ่ายเทความร้อนจากเตาสู่แก้ว หรืออุปกรณ์อ่นื ๆ และการเคลื่อนทีข่ องผลิตภัณฑ์อยูอ่ ย่างต่อเนื่อง เป็ นต้น

รูป 7.1 แนวทางการอบอ่อน (Annealing) ผลิตภัณฑ์แก้วในอุตสาหกรรม


[ดัดแปลงจาก C.L. Babcock (1977)]

7.1 ความเค้นและความเค้นคงค้างในแก้ว (Stress and residual stress in glass)

ความเค้นในแก้วจะเกิดขึน้ เมื่อเพิม่ หรือลดอุณหภูมแิ ก่ชน้ิ งานแก้ว โดยการเปลีย่ นแปลงของอุณหภูม ิ


จะทาให้แก้วมีการกระจายอุณหภูมไิ ม่เท่ากันทัวชิ ่ ้นงาน นัน่ คือเกิดความแตกต่างของอุณหภูม ิ ภายในแก้วที่
เรียกว่า temperature gradient โดยเฉพาะอย่างยิง่ บริเวณผิว แก้วกับบริเวณภายในแก้วดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว
ก่ อ นหน้ านี้ ทาให้เ กิดความเค้นขึ้นในแก้ว โดยเกิดจากแรงอัด (Compression) หรือ แรงดึง (Tensile) ที่ม ี
บทบาทสาคัญ โดยแรงทัง้ สองนี้ขน้ึ อยูก่ บั ว่าแก้วเย็นตัวลงหรือแก้วได้รบั ความร้อน เมือ่ แก้วเย็นตัวลงจะทาให้
แก้วเกิดแรงดึงทีผ่ วิ และเกิดแรงอัดภายในเนื้อแก้ว ดังแสดงในรูป 7.2 และในทางกลับกันหากให้ความร้อนกับ
แก้วผิวแก้วจะตกอยู่ภายใต้แรงอัด ส่วนด้านในของแก้วจะเกิดแรงดึงขึน้ จากรูป 7.2 จะเห็นได้ว่าแรงอัดจะมี
มากในบริเวณเนื้อแก้วที่มอี ุณหภูมสิ ูงกว่า ส่วนในทางกลับกันแรงดึงจะมีมากในเนื้อแก้วที่มอี ุณหภูมติ ่ ากว่า
เมื่อแก้วเย็นตัวในอัตราการลดอุณหภูมทิ ่คี งที่ (Constant cooling rate) การกระจายอุณหภูม ิ (Temperature
distribution) และการกระจายความเค้ น (Stress distribution) ในแก้ ว มีล ัก ษณะเป็ นกราฟพาราโบลา

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 106


(Parabola) ดังแสดงในรูป 7.2 โดยความเค้น () นี้จะมีความสัมพันธ์กับความแตกต่ างของอุณหภูมแิ ละ
สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อน โดยความเค้นสูงสุดจะอยู่ตรงกลางและบริเวณผิวของชิ้นงานแก้ว
ซึง่ ความเค้นสูงสุดสามารถแสดงดังสมการ 7.1

αE
σ Tav  T  สมการ 7.1
1 μ

เมือ่ E คือ มอดูล สั ความยืดหยุ่น (Elastic modulus) ซึ่งเป็ นตัว เลขที่แสดงความต้านทานต่ อ การเสีย
รูปแบบยืดหยุน่ หรือการเสียรูปแบบชัวคราว
่ (Elastic or non-permanent deformation) ของวัสดุ

 คือ สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนของแก้ว

 คือ อัตราส่วนปั วซอง (Poison’s ratio) ซึง่ เป็ นค่าทีแ่ สดงอัตราส่วนของความเครียดในแนวข้างต่อ


ความเครียดในแนวดิง่

T, Tav คือ อุณหภูมทิ ่ผี วิ หรือที่ส่วนกลางของผลิตภัณฑ์แก้ว และ อุณหภูมเิ ฉลี่ยทัง้ ผลิตภัณฑ์แก้ว


ตามลาดับ

รูป 7.2 ผลของความแตกต่างของอุณหภูมติ ่อการเกิดแรงอัดและแรงดึงกับแก้ว (ก) ขณะเย็นตัวลง และ (ข)


ขณะให้ความร้อน ณ อุณหภูมติ ่ากว่าอุณหภูมติ ่าสุดของการอบอ่อน [ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 107


เมื่อแก้วมีอุณหภูมเิ ท่ากันทัง้ ชิน้ งานความเค้นในลักษณะที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นจะหายไป ซึ่งความเค้นใน
แก้ว ประเภทนี้ เ รีย กว่ า ความเค้น ชัว่ คราว หรือ Temporary stress แม้ว่ า ความเค้น ชนิ ด นี้ จ ะหายไปเมื่อ
อุณหภูมขิ องชิ้นแก้วเท่ากันทัวทั ่ ง้ ชิ้นงาน อย่างไรก็ตามการลดอุณหภูมลิ งอย่างรวดเร็ว หรือ เพิม่ อุณหภูม ิ
อย่างรวดเร็ว (กรณีลดอุณหภูมจิ ะส่งผลกระทบมากกว่า) จะทาให้แก้วเสียหายได้ ในกรณีทค่ี วามเค้นสูงกว่า
ความแข็งแรงต่อแรงดึงของวัสดุแก้ว

หากพิจารณาความเค้นที่เกิดขึน้ ในระหว่างกระบวนการผลิตแก้วซึ่งเป็ นกระบวนการทีน่ ้ าแก้วหลอม


ถูกทาให้เย็นตัวลงอย่างรวดเร็วในระหว่างการขึน้ รูปนัน้ ความเค้นจะเกิดขึน้ เมื่อมีความแตกต่างของอุณหภูม ิ
ภายในเนื้อแก้ว แต่ เนื่องจากความเค้น เกิดขึ้นขณะที่เนื้อแก้วมีความหนืดต่ า (ช่วงขึ้นรูปได้ หรือ working
range) ทาให้ความเค้นทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงนี้หายไปได้ง่าย จากนัน้ เมื่อแก้วแข็งตัวสมบูรณ์ จะเกิดความเค้นถาวร
ขึน้ ซึ่งความเค้นประเภทนี้จะคงอยู่ในแก้ว จึงเรียกว่าความเค้นถาวรหรือความเค้นคงค้าง (Permanent or
residual stress) โดยความเค้นทีเ่ กิดขึ้นจะมีลกั ษณะแบบพาราโบลาเช่นกัน ดังรูป 7.3 แต่ความเค้นเนื่องจาก
แรงกด (Compression stress) จะสูงบริเวณผิว ซึ่งเป็ นบริเวณที่มอี ตั ราการเย็นตัวของแก้วสูงสุด (อุณหภูม ิ
ต่ าสุด) และความเค้นเนื่องจากแรงดึง (Tensile Stress) จะสูงกว่าตรงกลางชิน้ งานซึง่ เป็ นบริเวณทีม่ อี ุณหภูม ิ
สูงสุดในแก้วระหว่างการเย็นตัว โดยจะตรงข้ามกับ Temporary stress ทีแ่ สดงในรูป 7.2 ความเค้นคงค้างจะ
สูงสุดเมือ่ อุณหภูมใิ นชิน้ งานแก้วเท่ากัน (เย็นตัวเท่ากัน)

รูป 7.3 (ก) ความแตกต่างของอุณหภูมขิ ณะน้ าแก้วเริม่ เย็นตัวในกระบวนการขึน้ รูปซึง่ ก่อให้เกิด (ข) ความ
เค้นคงค้าง (Residual stress) ในแก้ว เมือ่ แก้วเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วทีอ่ ุณหภูมสิ งู กว่าอุณหภูมกิ าร
เปลีย่ นเป็ นแก้ว (Glass transition temperature; Tg)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 108


การหลีกเลี่ยงความเค้นทัง้ สองประเภทที่เกิดขึ้นในแก้วสามารถทาได้โดยการเพิม่ หรือลดอุณหภูม ิ
แก้วหรือน้ าแก้วอย่างช้า ๆ ในอัตราทีค่ วามแตกต่างของอุณหภูม ใิ นชิน้ งาน (Temperature gradient) เกิดขึน้
น้ อ ย แต่ ใ นการผลิต เชิงอุ ต สาหกรรมไม่ส ามารถท าได้ จึงทาให้ต้อ งมีกระบวนการที่เ รียกว่ าการอบอ่ อ น
(Annealing) เพื่อลดความเค้นคงค้างในแก้ว

7.2 การอบอ่อน (Annealing)

กระบวนการอบอ่อนแก้วเป็ นกระบวนการบาบัดทางความร้อน (Heat treatment) เพื่อเป็ นการลด


ความเค้นคงค้างในแก้วทีเ่ กิดขึน้ ในระหว่างการลดอุณหภูมใิ นระหว่างกระบวนการผลิต โดยช่วงอุณหภูมทิ ใ่ี ช้
ในการอบอ่ อ นตามมาตรฐานการทดสอบอเมริก า (The American Society for Testing and Materials;
ASTM) ได้กาหนดไว้เป็ นช่วงอุณหภูมริ ะหว่างอุณหภูมสิ ูงสุดในการอบอ่อน (Upper annealing temperature)
และอุณหภูมติ ่ าสุดในการอบอ่อน (Lower annealing temperature) โดยอุณหภูมสิ องอุณหภูมดิ งั กล่าวนี้ถูก
กาหนดจากความหนืดของแก้วแต่ละชนิด โดยแก้วจะมีความหนืดอยู่ระหว่าง 1013.0 ถึง 1014.5 พาสคัลวินาที
ตามล าดับ โดยแก้ว ที่อ บที่อุ ณ หภูม ิ Upper annealing จะใช้เ วลาในการอบน้ อ ยกว่าอบที่อุ ณหภูม ิ Lower
annealing ตามลาดับ โดยขัน้ ตอนต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในระหว่างกระบวนการอบอ่อนมีดงั นี้

1) การให้ความร้อนแก่ผลิตภัณฑ์แก้ว ณ อุณหภูม ิ Upper annealing

2) คงอุณหภูม ิ ณ อุณหภูม ิ Upper annealing เป็ นระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้ความแตกต่างของอุณหภูม ิ


ในชิน้ งานแก้วลดลงและเป็ นการลดความเค้นคงค้างทีเ่ กิดในกระบวนการอื่น ๆ ก่อนหน้านี้

3) เมือ่ ความเค้นลดลงแล้วหรืออุณหภูมขิ องชิน้ งานแก้วเท่ากันแก้ว ทัวทั


่ ง้ ชิน้ งาน ช่วงนี้แก้วจะมีความ
หนืดอยู่ในช่วงประมาณ 1013.0 – 1014.5 พาสคัลวินาที ช่วงนี้จะลดอุณหภูมชิ น้ิ งานลงอย่างช้า ๆ เพื่อไม่ให้เกิด
ความเค้นในแก้วเพิม่ ขึน้ มาอีก

4) เมื่อแก้วมีความหนืดมากพอ (มากกว่า 1014.5 พาสคัลวินาที) สามารถทาให้แก้วเย็นตัวเร็วขึน้ ได้


จนถึงอุณหภูมหิ อ้ ง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการลดอุณหภูมติ อ้ งไม่ทาให้ Temporary stress ทีอ่ าจเกิดขึน้ สูงจน
ทาให้ชน้ิ งานเกิดความเสียหายได้

เมื่อพิจารณาแล้ว การอธิบายเกี่ยวกับการอบอ่อนจะอธิบายได้โดย 1) พลังงานจลน์ ของการคลาย


ความเค้น (Stress relief) ที่อุณหภูมคิ งที่ และ 2) จากความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเย็นตัว ความแตกต่าง
ของอุณหภูม ิ (Temperature gradient) และความเค้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 109


หากพิจ ารณาวัส ดุ ท่ีม ีส มบัติห ยุ่ น หนื ด (Viscoelastic materials) ตามทฤษฎีข อง Maxwell และ
Adams and Williamson แล้วจะพบว่าการคลายความเค้นที่อุณหภูมคิ งที่จะมีความสัมพันธ์ดงั สมการ 7.2
และสมการ 7.3 ตามลาดับ โดยสมการของ Maxwell นัน้ ไม่เหมาะกับการอธิบายการคลายความเค้นของแก้ว
เนื่องจากทฤษฎีน้ีสมมติว่าแก้วมีความหนืดคงที่ท่ี แต่ในความเป็ นจริงแล้วความหนืดของแก้วเปลีย่ นไปตาม
อุณหภูม ิ

Kt
ln  0  ln   สมการ 7.2

เมือ่ 0 คือ ความเค้นเริม่ ต้น

 คือ ความเค้นหลังจากอบอ่อนเป็ นเวลา


t คือ เวลาทีใ่ ช้ในการอบอ่อน

K คือ ค่าคงที่

 คือ ความหนืด
หรือสามารถเขียนให้อยูใ่ นอีกรูปสมการ (สมการ 7.3)

1 1
  At สมการ 7.3
 0

เมือ่ A คือ ค่าคงทีข่ องการอบอ่อน (Annealing constant)

ซึง่ ค่าคงทีข่ องการอบอ่อนจะขึน้ อยู่กบั องค์ประกอบของแก้ว โดยค่าคงทีน่ ้ีจะมีความสัมพันธ์ กบั อุณหภูมแิ บบ


เอกซ์โพเนนเชียล (Exponential function)

ค่ าคงที่ A จะเปลี่ยนแปลงตามอุ ณหภูม ิ องค์ประกอบของแก้ว และความหนืด ทาให้ส มการของ


Adams and Williamson ถูกนาไปใช้ในทางอุตสาหกรรม การหาค่าคงที่การอบอ่อน (Annealing constant)
ไม่มคี วามจาเป็ น เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการหานานมาก ในทางปฏิบตั นิ นั ้ จะหาอุณหภูมทิ แ่ี ก้วทีม่ คี วาม
หนืดเท่ากับ 1013.0 พาสคัลวินาที ซึง่ เป็ นความหนืดของแก้วทีม่ อี ุณหภูมอิ ยู่ทอ่ี ุณหภูม ิ Upper annealing การ
อบทีอ่ ุณหภูมนิ ้ีจะทาให้ความเค้นในแก้วลดลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาสัน้ (ช่วงนาที) ดังนัน้ โดยส่วนใหญ่จะ
อบอ่อนแก้วที่อุณหภูม ิ Upper annealing เป็ นเวลาประมาณ 5 – 20 นาที อย่างไรก็ตามหากไม่ทราบความ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 110


หนืดของแก้ว ก็จะประมาณอุณหภูม ิ Upper annealing จากอุณหภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ นแก้ว (Tg) โดยอุณหภูม ิ
Upper annealing จะสูงกว่า Tg ทีห่ าจากเทคนิคไดลาโตมิเตอร์อยูป่ ระมาณ 5 – 10 องศาเซลเซียส

แก้ ว โซดาไลม์ซิล ิเ กตจะมีค่ า คงที่ก ารอบอ่ อ น (A) จะมีค่ า ประมาณ 4.6 x 10–10 Pa–1s–1 หรือ
4.5 x 10–5 ตารางเซนติเมตรต่อกิโลพาสคัลวินาที (cm2kp–1s–1) ณ อุณหภูม ิ Upper annealing (Ta) และจะ
ลดลงอย่างรวดเร็วเมือ่ ความหนืดเพิม่ ขึน้ (T น้อยกว่า Ta) ซึง่ อาจเขียนความสัมพันธ์ได้ดงั สมการ 7.4

A  4.6  10 10 exp0.07T  Ta  สมการ 7.4

หากความเค้นเริม่ ต้น (0) มากกว่าความเค้นหลังจากการอบอ่อน () มาก ๆ จะสามารถหาเวลา (t) ทีใ่ ช้ใน
การยืนอุณหภูมหิ รือ Soaking ได้จากสมการ 7.5

1
t สมการ 7.5
A

จะทาให้ได้ว่าเวลาทีใ่ ช้ในการอบอ่อนแก้ว ณ อุณหภูมใิ ด ๆ ( Ta) สามารถคานวณได้จากสมการ 7.6

exp0.07Ta  T 
t สมการ 7.6
4.6 1010   c

เมือ่ c คือค่าความเค้นสูงสุดทีย่ อมรับได้ของผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ ในหน่วย Pa

หลังจากอบอ่อนแก้วทีอ่ ุณหภูมติ ามต้องการเป็ นระยะเวลาทีว่ างแผนไว้แล้ว จะต้องทาให้แก้วเย็นตัว


ลงจนถึงอุ ณ หภูมขิ องจุด Strain (ในบางต าราเรียกว่า Lower annealing temperature) ซึ่งในช่ว งระหว่ า ง
Upper annealing temperature กับ Lower annealing temperature จะเรีย กว่ า Annealing range จากการ
กระบวนการผลิ ต แก้ ว ของบริ ษั ท คอร์ นิ ง ( Corning) ช่ ว งของอุ ณ หภู ม ิ นั ้น จะอยู่ ใ นช่ ว งประมาณ
70 – 100 เซลเซียส คือตัง้ แต่อุณหภูม ิ Ta + 5 เซลเซียส ถึง อุณหภูม ิ Lower annealing – 50 เซลเซียส ซึ่ง
ในช่วงนี้จะต้องลดอุณหภูมลิ งอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่เพิม่ ความเค้นให้กบั แก้วอันเนื่องมาจากการลดอุณหภูม ิ
โดย Schill พบว่าความเค้นทีเ่ กิดขึน้ จะมีความสัมพันธ์กบั อัตราการลดอุณหภูมดิ งั สมการ 7.7

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 111


  M a h 2 สมการ 7.7

เมือ่ Ma คือ ค่าคงทีข่ องวัสดุซง่ึ หาได้จาก สมการ 7.8 โดยมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของแก้วและ


อุณหภูมขิ องแก้ว

h คือ อัตราการลดอุณหภูม ิ

 คือ ประสิทธิภาพของมิติ (Effective dimension)

 คือ ปริมาณไร้มติ ทิ เ่ี ป็ นฟั งก์ชนั ของรูปร่างและขนาดของผลิตภัณฑ์ โดยหาได้จากการถ่ายเทความ


ร้อนของรูปร่างสมมาตรต่าง ๆ

โดย  เท่ากับความหนาทัง้ หมดของแก้ว แผ่นหากแก้วเย็นตัวของแก้วเกิดจากด้านเดียวของผลิตภัณฑ์ หาก


ผลิตภัณฑ์แก้วถูกทาให้เย็นตัวพร้อมกันจากทัง้ สองข้าง  จะเท่ากับความหนาครึ่งหนึ่งของแผ่นแก้ว หรือ
ผลิต ภัณ ฑ์ ก ลวง (Hollow product) หรือ มีค่ า เท่ า กั บ รัศ มีข องผลิต ภัณ ฑ์ ท่ี ม ีรู ป ร่ า งเป็ นทรงกลมหรือ
ทรงกระบอกตัน

ซึง่ Ma สามารถหาได้จากสมการ 7.8

E Ec p
Ma   สมการ 7.8
a1    k 1   

เมือ่ a,k คื อ ค่ า การแพร่ ข องความร้ อ น (Thermal diffusivity) และ การน าความร้ อ น ( Thermal
conductivity) ของวัสดุ ตามลาดับ

E คือ มอดูลสั ความยืดหยุน่ (Modulus of elasticity)

 คือ สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนเชิงเส้น

 คือ ความหนาแน่น
cp คือ ความร้อนจาเพาะ (Specific heat)

 คือ อัตราส่วนปั วซอง (Poisson’s ratio)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 112


ในทางปฏิบตั แิ ล้วการหาค่า Ma จากสมการ 7.8 นัน้ ค่อนข้างยากและซับซ้อน เนื่องจากการหาค่าการ
แพร่ของความร้อนและการนาความร้อนของแก้วทาได้ยาก และค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อน
ของแก้ว จะขึ้นอยู่ก ับ อุ ณ หภูม ิ โดยค่ าสัมประสิทธิ ์การขยายตัว เพราะความร้อ นที่อุ ณหภูมสิ ูงจะสูง กว่ า ที่
อุณหภูมติ ่ า ดังนัน้ การหาค่า Ma นิยมหาจากการทดลองโดยใช้แผ่นแก้วทีต่ ้องการหาค่านามาทาให้เย็นตัวลง
ในอัตราการเย็นตัวทีค่ งที่ จากนัน้ ใช้สมการ 7.7 ในการคานวณ ซึง่ สาหรับแก้วที่ใช้ทาภาชนะทัวไป ่ กระจก
และแก้ ว ตะกัว่ โดยค่ า Ma จะมีค่ า ประมาณ 120  3 เมกะพาสคัล วิน าทีต่ อ เคลวิน ตารางเซนติเ มตร
(MPasK–1cm–2)

ค่า  ของรูปทรงสมมาตรต่าง ๆ สามารถคานวณหาได้โดยใช้กฎต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเท


ความร้อน สาหรับรูปทรงอื่น ๆ ทีไ่ ม่แน่ นอน สามารถหาได้จากการทดลอง โดยค่านี้จะมีความแตกต่างกันใน
ผลิตภัณฑ์ชน้ิ เดียวกันขึน้ อยูก่ บั ตาแหน่งทีพ่ จิ ารณา ซึง่ โดยทัวไปจะรายงานตรงต
่ าแหน่ งทีม่ คี วามเค้นจากแรง
กดสูงหรือ ความเค้นจากแรงดึงสูง (ที่ผวิ หรือในผลิตภัณฑ์) ซึ่งได้รายงานไว้ดงั ตาราง 7.1 สาหรับรูปร่าง
ผลิตภัณฑ์บางประเภท

ค่า Ma และ  จะสามารถนามาช่วยคานวณหาอัตราการเย็นตัว (h1; หน่ วย เซลเซียสต่อนาที; C/min) ทีเ่ ร็ว


ทีส่ ุดของแก้วในช่วง Annealing โดยใช้สมการ 7.7 ซึง่ สามารถจัดรูปใหม่ได้ดงั สมการ 7.9

c
h1  สมการ 7.9
M a 2

เมือ่ c เป็ นความเค้นสูงสุดทีย่ อมรับได้ในผลิตภัณฑ์แก้ว

ซึง่ ปกติแล้วความเค้นสูงสุดทีย่ อมรับได้จะอยู่ในช่วง 1.5 – 3 MPa หรือค่าประมาณ 50 – 100 nmcm–1 จาก


การวัดด้วยวิธกี ารหักเหสองแนว (Birefringence)

ตาราง 7.1 ค่า  ของผลลิตภัณฑ์รปู ทรงต่าง ๆ ตรงบริเวณผิวและในผลิตภัณฑ์ [ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

ทีผ่ วิ ผลิตภัณฑ์ ในผลิตภัณฑ์


กระจก (กรณีเย็นต้วพร้อมกันจากทัง้ สองด้าน) –0.0056 +0.0028
ทรงกระบอก –0.0021 +0.0021
ทรงกลม –0.0011 +0.0011
ค่าจากตารางเป็ นค่าทีป่ รับหน่วยเพื่อให้ค่าทีค่ านวณได้จากสมการด้านล่างได้คาตอบเป็ น C/min

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 113


ตัวอย่างเช่นการหาอัตราการเย็นตัวในช่วง Annealing ของกระจกทีม่ คี วามหนา 2 มิลลิเมตร โดยการเย็นตัว
ทาพร้อม ๆ กันทัง้ สองด้าน (สมมติว่าค่าความเค้นทีย่ อมรับได้อยู่ท่ี 1.5 MPa และ ค่าคงที่ Ma มีค่าประมาณ
120 MPasK–1cm–2) สามารถใช้สมการ 7.9 คานวณได้ดงั นี้

1.5( MPa) 1
h1   2.2(C  min )
1 2 2 2
120 ( MPa  s  K  cm )  1 (cm )  (0.0056 )

เมื่อ ได้ค่ าอัต ราการเย็นตัวที่เ หมาะสมแล้ว ในการวางแผนการลดอุ ณหภูมหิ ลัง อบอ่ อนที่อุณหภูม ิ Upper
annealing เป็ นระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยทัวไปมั
่ กลดอุณหภูมจิ นถึงอุณหภูม ิ Lower annealing โดยใช้อตั รา
การลดอุณหภูมเิ ป็ น 3 ช่วง โดยในขัน้ แรกจะใช้อตั ราการลดอุณหภูมเิ ท่ากับ (2/3) x h1 จากนัน้ จึงลดอุณหภูม ิ
ด้วยอัตราการเย็นตัวเท่ากับ h1 และในขัน้ สุดท้ายจะลดอุณหภูมลิ งในอัตราเท่ากับ 2 x h1

ช่วงการอบอ่อน (Annealing range) ของแก้วชนิดต่าง ๆ ซึ่งเป็ นช่วงที่แก้วมีความหนืดอยู่ระหว่าง


(1013.0 – 1014.5 dPas) มีรายงานไว้ดงั นี้

- กระจกทีผ่ ลิตด้วยวิธ ี Fourcault 521 – 483 C


- ภาชนะทีม่ สี ี 542 – 505 C
- แก้วคริสตัลชนิดโซเดียมโพแทสเซียม 500 – 460 C
- แก้วคริสตัลทีม่ ตี ะกัวออกไซด์
่ 24 % 453 – 416 C
- แก้ว Pyrex 582 – 540 C
ในทางปฏิบตั ใิ นอุตสาหกรรมการผลิตแก้ว เตาอบอ่อนจะเป็ นเตาแบบต่อเนื่องในกระบวนการผลิต
กล่าวคือผลิตภัณฑ์จะถูกลาเลียงไปตามความยาวของเตาซึ่งอุณหภูมจิ ะเปลี่ยนไปตามตาแหน่ งของเตาด้วย
สายพานลาเลียงทีท่ าจากโลหะเบา จากข้อมูลข้างต้นเตาอบจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนอุณหภูมใิ นแต่ละช่วง
ได้ดี ดังนัน้ เตาอบในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะมีแหล่งให้ความเย็นหรือความร้อนแยกกันแต่ละส่วนเพื่อง่ายต่อ
การควบคุมอุณหภูมแิ ละเพื่อเพิม่ ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเตาอบ เช่น เตาส่วนต้นที่จะมีแหล่งให้
ความร้อนโดยใช้ก๊าซร้อน หรือ ใช้ไฟฟ้ า และส่วนปลายของเตาอบจะมีการให้ลมเย็นแทนเพื่อให้การเย็นตั ว
ของผลิตภัณฑ์เร็วขึน้ เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 114


7.3 การบาบัดด้วยความร้อน (Heat treatment)

กระบวนการนี้ใ นบางครัง้ อาจอยู่ใ นขัน้ ตอนที่เ รียกว่า After working ซึ่งเป็ นขัน้ ตอนการปรับปรุง
สมบัติของแก้ว ที่ไ ด้ใ ห้ดีข้นึ ซึ่งส่วนมากพบในการผลิต แก้ว ที่มกี ารใช้งานเชิงแสง (Optical glasses) แก้ว
สาหรับทาเทอร์โมมิเตอร์ และ กระจก Tempered ทีม่ กี ารใช้งานเป็ นกระจกรถยนต์หรือกระจกในงานก่อสร้าง
เป็ นต้น การบาบัดด้วยความร้อนจะมีลกั ษณะคล้าย ๆ กับการอบอ่อนทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่เป็ นขัน้ ตอน
ทีต่ อ้ งควบคุมเวลาและอุณหภูมใิ ห้แม่นยา

แก้วทีม่ กี ารใช้งานเชิงแสงนัน้ พบว่าอุณหภูมทิ ใ่ี ช้ในการอบอ่อนจะส่งผลต่อตัวเลขทศนิยมตาแหน่ งที่


สามของค่าดัชนีหกั เหแสง (Refractive index) และยังพบว่าอัตราการเย็นตัวของแก้ว ชนิดนี้ต่างกันก็จะทาให้
ดัชนีหกั เหแสงของแก้วต่างกันอีกด้วย ดังรูป 7.4 โดยในช่วงแรกของการเย็นตัว (ช่วงเปลี่ยนเป็ นแก้ว หรือ
Glass transformation range) ค่าดัชนีหกั เหแสงจะมีค่าคงทีเ่ ป็ นเส้นตรง ซึง่ อัตราการเย็นตัวทีแ่ ตกต่างกันจะ
ทาให้ค่าดัชนีหกั เหของแก้วจะต่างกันด้วย จากนัน้ เมื่อถึงอุณหภูมอิ บอ่อนแก้วจะถูกให้อุณหภูมเิ ป็ นระยะเวลา
หนึ่ง ซึง่ จะทาให้ค่าดัชนีหกั เหแสงของแก้วลดลง (เริม่ มีการเบนออกจากเส้นตรงในรูป 7.4) นอกเหนือจากนัน้
สาหรับแก้วที่ม ี CdS หรือ CdSe เป็ นส่วนประกอบ พบว่าการดูดกลืนแสงของแก้ว จะดูดกลืนแสง ณ ความ
ยาวคลื่นทีต่ ่างกันในช่วงแสงทีต่ ามองเห็นได้ (Visible light) หากแก้วถูกอบอ่อนทีอ่ ุณหภูมติ ่างกันออกไป การ
อบอ่อนแก้วทีม่ กี ารใช้งานเชิงแสงนัน้ มีความละเอียดอ่อนและมีความแม่นยาสูง การอบอ่อนยังทาให้โครงสร้าง
ของแก้วเกิดความเสถียรมากขึ้น ส่งผลต่อสมบัติของแก้ว ที่ มคี วามเสถียรมากขึ้นอีกด้วย ในบางครัง้ การ
อบอ่อนประเภทนี้จะเรียกว่า Fine annealing หรือ Stabilisation annealing

รูป 7.4 ผลของอัตราการเย็นตัวของแก้วทีต่ ่างกันในช่วงอบอ่อนซึง่ ทาให้ค่าดัชนีหกั เหเบนออกจากแนว


เส้นตรง [ดัดแปลงจาก J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 115


ความเค้นทีม่ อี ยู่ในแก้วจาเป็ นต้องทาให้ลดลงหรือถูกกาจัดออกไปด้วยการอบอ่อน อย่างไรก็ตามยัง
พบว่าความเค้นถาวรทีม่ อี ยู่ในแก้วอย่างเหมาะสม (โดยเฉพาะอย่างยิง่ ทีผ่ วิ แก้ว) จะทาให้แก้วมีความแข็งแรง
มากขึน้ ในแก้วบางประเภทจะทาให้แก้วเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วเพื่อให้แก้วมี ความเค้นเนื่องจากแรงกดอัด
(Compression stress) ที่ผวิ สูงขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Thermal toughening โดยเริม่ ตัง้ แต่การทาให้
แก้วเย็นตัวจากอุณหภูมทิ ่ใี กล้กบั จุดอ่อนตัวของแก้ว (Softening point) โดยใช้อากาศเย็นพ่นใส่ผลิต ภัณฑ์
หรือการนาผลิตภัณฑ์แก้วใส่ลงไปในอ่างน้ ามันหรืออาจให้แก้วสัมผัสกับผิวของโลหะเย็น เพื่อเพิม่ อัตราการ
เย็นตัวของแก้ว แก้วทีผ่ ่านการทาให้แข็งแรงขึน้ (Toughen glass) จะมีความแข็งแรงสูงมากเพราะแก้วมีความ
เค้นจากแรงกด (Compression stress) ทีผ่ วิ สูง ดังแสดงในรูป 7.5ก โดยแรงใด ๆ ทีก่ ระทาต่อผิวแก้วแล้วจะ
ทาให้เกิดความเสียหายกับแก้วได้จะต้องมีค่าสูงกว่าความเค้นดังกล่าว หากแรงกระทาสูงกว่าความเค้นที่ผวิ
แก้ว แก้วจะแตกเสียหายเป็ นชิ้นเล็ก ๆ ดังแสดงในรูป 7.5ข ซึ่งกระจกชนิดนี้เรียกว่า Tempered glass ที่ม ี
ความเค้นทีผ่ วิ มีค่าสูงกว่า 10,000 psi หรือสูงกว่าประมาณ 60.89 MPa ตัวอย่างแก้วประเภทนี้ได้แก่ กระจก
หน้ า รถยนต์ เป็ น ต้ น แก้ ว อีก ประเภทหนึ่ ง จะมีค วามเค้น จากแรงกด (Compression stress) อยู่ใ นช่ ว ง
3,000 – 7,500 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) หรือ ประมาณ 20.68 – 51.71 เมกะพาสคัล (MPa) โดยกระบวนการ
นัน้ จะควบคุมการลดอุณหภูมชิ ้ากว่า Tempered glass ซึ่งเรียกว่า Heat-strengthened glass โดยรอยแตก
ของแก้วที่เกิดขึน้ จะมีขนาดใหญ่กว่าและมีความคมมากกว่ารอยแตกของแก้ว Tempered glass ดังแสดงใน
รูป 7.5ค ดังนัน้ การประยุกต์ใช้งานจึงแตกต่างกันออกไป

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 116


รูป 7.5 (ก) ลักษณะการกระจายความเค้นจากแรงกดและจากแรงดึงในแก้ว Tempered glass และ
Heat-strengthened glass (ข) รอยแตกของแก้ว Tempered glass และ (ค) รอยแตกของแก้ว
Heat-strengthened glass [ทีม่ า http://educationcenter.ppg.com/glasstopics/heated_glass.aspx]

คาถามท้ายบท

1. ความเค้นในแก้วเกิดขึน้ จากสาเหตุใด

2. ความเค้นทีเ่ กิดขึน้ สามารถทาให้หายไปได้หรือลดความรุนแรงได้โดยใช้วธิ ใี ดและเหตุใดความเค้นถึงลดลง

3. นอกเหนือจากการอบอ่อนเพื่อลดความเค้นในผลิตภัณฑ์แก้วแล้ว การใช้ความร้อนในลักษณะเดียวกับการ
อบอ่อนสามารถปรับปรุงหรือทาให้แก้วมีสมบัตติ ่าง ๆ ดีขนั ้ ได้อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 117


บทที่ 8
แก้วสี
Coloured Glasses

“แก้วสีถูกนาไปใช้ในงานด้านต่ าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในงานประดับตกแต่ง ภาชนะบนโต๊ ะ


อาหาร เป็ นต้น การเกิดสีในแก้ว เกิดจากองค์ประกอบในแก้วทีม่ กี ารดูดกลืนแสงทีค่ วามยาวคลืน่ ต่าง ๆ
โดยองค์ประกอบดังกล่าวมีหลายลักษณะ เช่น ไอออนต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ หรือโมเลกุลต่าง ๆ เป็ นต้น ในบท
นี้จะกล่าวถึงกลไกการเกิดสีในแก้วหรือการเห็นสี ชนิดของสารทีท่ าให้เกิดสีต่าง ๆ รวมถึงการรายงานค่าสี
ทีส่ ามารถอ้างอิงได้ เช่น การดูจากสเปกตรัมการดูดกลืนแสงของแก้ว หรือ การศึกษาจากค่า CIE ซึง่ เป็ น
ค่ามาตรฐานทีใ่ ช้รายงานสีเป็ นตัวเลข”

แก้วสีในอดีตจะเน้นการนาไปใช้งานทางด้านความสวยงามเป็ นหลัก เช่น เครื่องประดับและแก้วหรือ


กระจกเพื่อใช้ในการตกแต่ง เป็ นต้น เมือ่ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมมี ากขึน้ ทาให้มกี ารใช้
งานแก้วสีในด้านต่าง ๆ มากขึน้ เช่น ใช้เป็ นแก้วกันแสงในงานเชื่อม แว่นตากันแดด กระจกกรองแสง และ
แก้วส่งสัญญาณ เป็ นต้น โดยการเกิดสีจะขึน้ กับแสงที่ตกกระทบและขึน้ อยู่กบั องค์ประกอบในแก้ว ซึ่งจะได้
กล่าวถึงต่อไป ยกตัวอย่างเช่น

- ในแก้วที่ใช้งานด้านความสวยงามหรือด้านการตกแต่งนัน้ องค์ประกอบที่ทาให้เกิดสีได้ ได้แก่


ไอออนของโลหะทรานซิชนั เช่น ไอออนของทองแดง (Cu+ หรือ Cu2+) เป็ นต้น สารประกอบต่าง
ๆ ที่ใ ห้ส ี เช่ น CdS ซึ่ง เป็ น สารที่ใ ห้ส ีเ หลือ ง เป็ น ต้ น หรือ อาจอยู่ใ นรูป ของอนุ ภ าคโลหะที่
แขวนลอยในแก้ว เช่น โลหะทองแดง (ให้สแี ดงที่เรียกว่า Copper-ruby) โลหะทอง (ให้สแี ดงที่
เรียกว่า Gold-ruby) หรือ โลหะเงิน (ให้สเี หลือง) เป็ นต้น โดยทีข่ นาดของอนุ ภาคจะต้องเล็กกว่า
5 นาโนเมตร
- แก้วทีป่ ้ องกันแสง จะมีองค์ประกอบของเหล็กออกไซด์ โดยหากเป็ น Fe3+ แก้วจะสามารถดูดกลืน
รังสีอลั ตราไวโอเลต (Ultraviolet) ได้ ส่วน Fe2+ แก้วจะดูดกลืนรังสีอนิ ฟราเรด (Infrared) ได้ ส่วน
ในแก้วที่ใช้ทาแว่นตากันแดดนัน้ มักมีไอออนอื่น ๆ รวมอยู่ด้วยเป็ นจานวนมากเพื่อให้ไ ด้เฉดสี
ของแว่นกันแดดแตกต่างกันออกไป ไอออนต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แก่ แมงกานีส บิสมัต ทองแดง
โครเมียม โคบอลต์ และ ไททาเนียมร่ว มกับซีเ รีย ม ซึ่งทาให้แก้ว ดูดกลืนแสงไว้ได้ประมาณ
50 – 90 %

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 118


- แก้วทีใ่ ช้ทาสัญญาณไฟจราจร สีแดงจะมีไอออนของซีเรียม (Ce จะให้ส ี Cerium ruby) สีเขียวจะ
ใช้ทองแดงไอออนร่ว มกับโครเมีย มไอออน (Cu2+ และ Cr6+) และสีเ หลือ งหรือ สีน้ า เงิน จะใช้
ทองแดงไอออนและโคบอลต์ไอออน (Cu2+ และ Co2+)

เมื่อแสงในช่วงความยาวคลื่นต่าง ๆ ตกกระทบผิวแก้ว จะเกิดปรากฏการณ์เชิงแสงต่าง ๆ ขึน้ โดย


แสงบางส่วนจะเกิดสะท้อนทีผ่ วิ (Reflection) แสงบางส่วนหรือบางความยาวคลื่นจะถูกดูดกลืน(Absorption)
ไว้โดยแก้วและแสงบางส่วนจะส่องผ่านหรือลอดผ่านแก้ว (Transmission) แสงทีส่ ะท้อนทีผ่ วิ แก้วจะขึน้ อยูก่ บั
ค่าดัชนีหกั เหแสง (Refractive index; n) ของแก้วตามสมการ 8.1

R
n  12
สมการ 8.1
n  12

จากสมการ 8.1 หากค่าดัชนีหกั เหแสงของแก้ว (n) มีค่าเท่ากับ 1.5 จะทาให้ค่า R มีค่าเท่ากับ 0.04 ซึง่ แสดง
ให้เห็นว่าปริมาณแสงทีส่ ะท้อนทีผ่ วิ แก้วคิดเป็ น 4% ของแสงทีต่ กกระทบ ส่วนปริมาณแสงทีจ่ ะถูกดูดกลืนโดย
แก้ว นัน้ จะขึ้นอยู่ก ับความยาวคลื่นแสงที่ต กกระทบ (Incident wavelength) โดยแต่ ล ะความยาวคลื่นจะมี
ปริม าณแสงหรือ ความเข้ม แสงที่ถู ก ดู ด ซับ ไว้ ไ ม่ เ ท่ า กัน โดยแตกต่ า งกัน ตามชนิ ด ของตัว ดู ด กลืน แสง
(Absorbing agents) ซึ่งมีความเข้มข้นเท่ากับ c นอกจากนัน้ ยังขึ้นอยู่กบั ความเข้ม ของแสงตกกระทบ (I0)
ค่าคงที่ Extinction coefficient () และความหนาของแก้ว (l) โดยมีความสัมพันธ์ดงั สมการ 8.2

I  I 0 e cl สมการ 8.2

ค่า Extinction coefficient ของแก้วจะขึน้ อยู่กบั ระบบแก้วและขึน้ อยู่กบั ชนิดของสารดูดกลืนแสงทีม่ อี ยู่ในแก้ว


(Absorbing species) ส่วนแสงทีไ่ ม่ถูกดูดกลืนในแก้วก็จะส่องผ่านแก้วได้ ดังนัน้ สีทม่ี องเห็นได้ในแก้วคือสีท่ี
เกิดจากการรวมกันของความยาวคลื่น ของแสงทีค่ วามยาวคลื่นต่าง ๆ ในช่วงทีต่ ามองเห็น (ช่วง 400 – 700
นาโนเมตร) แต่เนื่องจากสายตามนุ ษย์มคี วามสามารถในการมองเห็นสีทต่ี ่างกัน อีกทัง้ ยังไม่สามารถแยกแยะ
ความเข้มสีทต่ี ่างกันได้ ดังนัน้ ในการจาแนกสีจะต้องใช้เครื่องมือในวิทยาศาสตร์เพื่อจาแนกสีได้อย่างแม่นยา
และเหมาะสมกับการนาไปอ้างอิงเชิงการค้าหรือด้านต่าง ๆ ต่อไป เช่น การใช้เครื่องวัดการดูดกลืนแสงที่
ความยาวคลื่ น ต่ า ง ๆ (UV-Visible spectroscopy) หรื อ การเปรี ย บเที ย บค่ า CIE (The Commission
Internationale de l’Echairage หรือ International Commission on Illumination) เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 119


ค่า CIE จะสัมพันธ์กบั ค่าการส่องผ่านแสง (Transmission) ค่าการส่องผ่านของแสงที่ความยาวคลื่น
ต่าง ๆ จะถูกเปลี่ยนเป็ นค่า X, Y และ Z ซึ่งเป็ นฟั งก์ชนั ของการส่องผ่านแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ โดยจะ
ขึ้นอยู่กบั ความเข้มแสง (I) ที่ความยาวคลื่น ( ) ต่าง ๆ ระหว่าง 380 – 780 นาโนเมตร (ค่า x , y และ z
ตามลาดับ ดังสมการ 8.3 – 8.5) ตัวอย่างของลักษณะการลอดผ่านของแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ เป็ นดัง
รูป 8.1

X  380 I  x  d
780
สมการ 8.3

Y  380 I  y  d
780
สมการ 8.4

Z  380 I  z  d
780
สมการ 8.5

รูป 8.1 ตัวอย่างลักษณะการลอดผ่านของแสงทีผ่ ่านการวิเคราะห์เพื่อใช้ในการแยกแยะสีดว้ ยระบบ CIE


[ดัดแปลงจาก C.L. Babcock (1977)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 120


ค่า X Y และ Z จะถูกนาไปคานวณหาค่า x และ y โดยใช้สมการ 8.6 และ 8.7 ซึง่ ใช้ประกอบกับแผนผัง CIE
ในรูป 8.2

X
x สมการ 8.6
X Y  Z

Y
y สมการ 8.7
X Y  Z

โดยสามารถบอกสี ใ นลัก ษณะของตัว เลขต่ า ง ๆ ได้ นอกจากนั ้น ค่ า CIE ยัง บ่ ง บอกถึง ความสว่ า ง
(Brightness) ของสีได้อีกด้วย ซึ่งได้มาจากค่ า y หรือ จากการอินทิเกรตพื้นที่ของกราฟการส่องผ่า นแสง
(Transmission) ได้ และยังบ่งบอกความยาวคลื่นเด่น (Dominant wavelength) และค่าความบริสุทธิ ์ (Purity)
ได้จากการลากเส้นจากจุด CIE illuminant (C) ผ่านจุด (x,y) ของแก้วไปยังความยาวคลื่น โดยจุดตัดจะเป็ น
ความยาวคลื่นเด่น และค่าความบริสุทธิ ์สามารถหาได้จากสมการ 8.8

a
Purity  สมการ 8.8
( a  b)

โดยค่ า a และ b คือ ความยาวจากจุด CIE illuminant C ถึงจุด (x,y) และจากจุด (x,y) ถึงความยาวคลื่น
ตามลาดับ ดังแสดงในรูป 8.3

รูป 8.2 แผนผัง CIE ซึง่ จะบ่งบอกค่าสีต่าง ๆ ของวัสดุ [ทีม่ า http://www.ntsc-tv.com/ntsc-index-05.htm]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 121


รูป 8.3 การลากเส้นเพื่อหาค่าความยาวคลื่นเด่น (Dominant wavelength) และความบริสุทธิ ์ (Purity)
[ทีม่ า C.L Babcock (1977)]

8.1 ชนิ ดของสารให้สี (Types of colouring agents)

สีของแก้วดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วเกิดจากชนิดของสารทีส่ ามารถดูดกลืนความยาวคลื่นต่าง ๆ กันทาให้


เกิดเป็ นแก้วสีต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามตัวทีท่ าให้เกิดสีในแก้วชนิดเดียวกันอาจทาให้สขี องแก้วต่างกันได้ ตาม
ชนิดของตัว โครงสร้า งแก้ว นอกจากนัน้ สีของแก้ว ยัง ขึ้นอยู่กับ ประวัติท างความร้อ นของแก้ว (Thermal
history) ของแก้วอีกด้วย เช่น อัตราการเย็นตัว อุณหภูมอิ บอ่อน และเวลาทีใ่ ช้ในการอบอ่ อน เป็ นต้น ทัง้ นี้จะ
ขึน้ อยูก่ บั องค์ประกอบของสารให้สที อ่ี ยูใ่ นแก้ว

8.1.1 ไอออนต่าง ๆ ที่ให้สี (Colouring ions)

สีทเ่ี กิดขึน้ เป็ นผลมาจากการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนของธาตุทรานซิชนั (Transition) หรือธาตุ 3d


และธาตุหายาก (Rare earth elements) หรือธาตุ 4f โดยค่าการดูดกลืนแสงของแก้วที่มไี อออนต่าง ๆ เช่น
โครเมียม 3+ (Cr3+) จะดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นประมาณ 450 และ 650 นาโนเมตร เป็ นต้น โดยการ
ดูดกลืนแสงในช่วงต่าง ๆ ทาให้การเห็นสีของแก้วเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่นแก้วที่ม ีแมงกานีสไอออนเป็ น
องค์ประกอบ หากแมงกานีสมีเลขออกซิเดชัน 3+ (Mn3+) แก้วจะมีสมี ่วง ส่วน Mn2+ จะไม่มสี ี สีทแ่ี ตกต่างกัน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 122


สามารถอธิบ ายได้จ ากทฤษฎีส นามลิแ กนด์ (Ligand field theory) หรือ ทฤษฎีส นามผลึก (Crystal field
theory) สาหรับไอออนของธาตุกลุ่ม 3d หากไอออนเหล่านี้มไี อออนลบล้อมรอบอยู่ซง่ึ เป็ นสภาวะทีเ่ ป็ นอยู่ใน
แก้วทีม่ ไี อออนของออกซิเจน; O2- ล้อมรอบอยู่ ซึง่ ไอออนลบนี้ในทฤษฎีสนามลิแกนด์จะเรียกว่า “ลิแกนด์” ซึง่
ลิแกนด์น้ีจะทาให้เกิดการแยกของระดับพลังงาน (Energy splitting) ของไอออนของธาตุกลุ่ม 3d โดยระดับ
พลังงานจะห่างกันมากหรือน้อยขึน้ อยู่กบั ความแข็งแรงของสนาม (Field strength) รอบ ๆ ไอออนของธาตุ
กลุ่ม 3d หรือขึ้นอยู่กบั จานวนไอออนลบที่อยู่ล้อมรอบและการจัดเรียงตัวของไอออนลบที่อยู่ล้อมรอบ ซึ่ง
พบว่าการแยกของระดับพลังงานงานจะเป็ นฟั งก์ชนั กับการจัดเรียงอิเล็กตรอน (Electronic configuration)
ของไอออนบวกและเลขโคออดิเนชัน (Coordination number) ของไอออนบวก สาหรับธาตุกลุ่ม 3d ระดับ
พลังงานดังกล่าวจะอยู่ทป่ี ระมาณ 1 – 3 eV เมือ่ มีแสงตกกระทบไอออนนี้จะดูดกลืนแสงในช่วงความยาวคลื่น
ทีส่ อดคล้องกับการแยกของระดับพลังงาน (Energy splitting) ซึง่ จะอยู่ในช่วงแสงทีต่ ามองเห็นพอดี (Visible
light) ทาให้เกิดแก้วสีต่าง ๆ ส่วนกรณีของไอออนบวกกลุ่ม 4f นัน้ ก็สามารถอธิบายในทานองเดียวกันและเกิด
ในช่วงแสงทีต่ ามองเห็นได้เช่นกัน จากทฤษฎีดงั กล่าวสีทต่ี ่างกันนัน้ เกิดจากการดูดกลืนแสงทีค่ วามยาวคลื่น
ต่าง ๆ กัน โดยสามารถสรุปชนิดของไอออนของโลหะที่ให้สตี ่าง ๆ กันไว้ในตาราง 3.4 ชนิดไอออนลบที่
แตกต่างกันจะทาให้ระดับพลังงานดังกล่าวเปลีย่ นแปลงไป โดยจะส่งผลทาให้การดูดกลืนแสงต่างกัน กล่าวคือ
เกิดการเปลี่ยนตาแหน่ งของความยาวคลื่นที่ถูกดูดกลืน เนื่องจากความแข็งแรงของสนาม (Field strength)
เปลี่ ย นไป โดยผลของไอออนลบที่ ล้ อ มรอบจะท าให้ ค วามแรงของสนาม ลดลงตามล าดั บ ดั ง นี้
O2- > F- > Cl- > Br- > I- ในแก้วออกไซด์การเติมสารประกอบแฮไลด์บางชนิดลงไปในแก้วในปริมาณเล็กน้อย
จะส่งผลต่อการเกิดสีได้เช่นกันเนื่องมาจากผลของความแข็งแรงของสนามดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว เช่น การเติม
NaCl แทน Na2O หากเป็ น แก้ว ที่ม ี Co2+ ซึ่ง เป็ น สารให้ส ีจ ะท าให้แ ก้ว เป็ น สีเ ขีย วอมน้ า เงิน (Blue-green
colour) แทนที่จะเป็ นสีม่วงอมน้ าเงิน (Blue-purple colour) เนื่องจากการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น ที่ยาว
กว่า และหากใช้ NaBr และ NaI ก็จะทาให้แก้วเป็ นสีเขียวและสีแดงน้ าตาล ตามลาดับ ความเข้มข้นของ
ปริมาณสารให้สกี ย็ งั ส่งผลต่อลักษณะสีทป่ี รากฏในแก้วได้เช่นกัน เนื่องจากเมือ่ มีความเข้มข้นของปริมาณสาร
ให้สมี าก ปริมาณแสงทีถ่ ูกดูดกลืนก็จะสูงด้วย ซึง่ พบว่าปริมาณของอัลคาไลน์ออกไซด์ (R2O) เช่น Li2O Na2O
และ K2O ในแก้วซิลเิ กตส่งผลต่อสีของแก้วที่ปรากฏ นอกจากนัน้ ระบบของแก้วหรือชนิดของตัวโครงสร้าง
แก้ว (Glass network former) ที่ต่างกันก็ส่งผลต่อความแข็งแรงของสนามและเลขโคออดิเนชันของไอออน
บวกอีกด้วย สารให้สที ม่ี เี ลขออกซิเดชันได้หลายค่า เช่น ไอออนของแมงกานีส (Mn2+ และ Mn3+) ไอออนของ
ทองแดง (Cu+ และ Cu2+) และไอออนของเหล็ก (Fe2+ และ Fe3+) เป็ น ต้ น จะมีก ารเปลี่ย นสีไ ด้เ มื่อ เลข
ออกซิเดชันเปลี่ยนไป โดยพบว่าบรรยากาศในการหลอมแก้วส่งผลต่อสีของแก้ว เนื่องจากบรรยากาศการ
หลอมจะเป็ นตัวควบคุมปฏิกริ ยิ าออกซิเดชันและรีดกั ชันทีเ่ กิดในน้ าแก้วหลอม อุณหภูมกิ ารหลอมแก้วก็ส่งผล
ต่อสีเช่นกัน ดังกรณีของการหลอมแก้วที่มอี อกไซด์ของเหล็กเป็ นองค์ประกอบที่อุณหภูมสิ ูงจะทาให้ Fe2O3
(Fe3+) เปลีย่ นเป็ น FeO (Fe2+) ซึง่ ให้สที แ่ี ตกต่างกัน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 123


ในกระบวนการผลิต แก้ว สีน้ าตาล ที่มกี ารใช้งานในด้านต่ าง ๆ เช่น ขวดเบียร์ ขวดยา หรือ ขวด
สารเคมี เป็ นต้น แก้วชนิดนี้จะประกอบด้วยสารประกอบของเหล็กและซัลเฟอร์ โดยเหล็กจะอยู่ในรูปที่มเี ลข
ออกซิเดชันสูง (Oxidised form) และซัลเฟอร์จะอยู่ในรูปที่มเี ลขออกซิเดชันต่ า (Reduced form) มีผเู้ สนอว่า
เหล็ก จะมีส ภาพแวดล้อ มเป็ นแบบเตตระฮีด รัล (Tetrahedral) โดยมีอ อกซิเ จน (O2-) ล้อ มรอบสามตัว
และซัลเฟอร์ (S2-) ล้อมรอบ 1 ตัว การทีจ่ ะทาให้ได้สารทัง้ สองตามต้องการนัน้ จะต้องควบคุม บรรยากาศการ
หลอมให้ดี โดยควบคุมความดันย่อยของออกซิเจนในบรรยากาศการหลอมที่เหมาะสมหรือ การเพิม่ ปริมาณ
คาร์บอนในแก้ว นอกจากการควบคุมบรรยากาศและการเพิม่ คาร์บอนแล้ว การมีสารประกอบบางชนิดในแก้ว
จะทาให้สเี ปลีย่ นไป เช่น หากมีซลี เี นียมแก้วจะเปลีย่ นเป็ นสีดาหรือหากเติมออกไซด์ของสังกะสีหรือออกไซด์
ของดีบุกสีแก้วจะจางลง เป็ นต้น

8.1.2 อนุภาคโลหะที่แขวนลอยในแก้ว (Metal particles in glasses)

ตัวอย่างของแก้วทีม่ อี นุ ภาคของโลหะแขวนลอยอยู่แล้วทาให้เกิดสี เช่น แก้วสีแดงทับทิมจากอนุ ภาค


ทองทีแ่ ขวนลอยอยูใ่ นเนื้อแก้วทีเ่ รียกว่า Gold-ruby glass โดยสีทเ่ี กิดขึน้ นัน้ ไม่ได้เกิดจากการกระเจิงของแสง
(Light scattering) จากการตกกระทบอนุ ภาคทอง แต่เกิดจากการดูดกลืนแสงเช่นเดียวกับกรณีของไอออน
ของโลหะทรานซิชนั และธาตุหายากดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วในข้อ 8.1.1 โดยสีแดงนี้เกิดจากการดูดกลืนแสงของ
อนุ ภาคทองทีค่ วามยาวคลื่นประมาณ 530 นาโนเมตร หากมีโลหะทองแดงแทนที่ทองก็จะมีการดูดกลืนแสง
อยูท่ ป่ี ระมาณ 565 นาโนเมตร ซึง่ ทาให้แก้วมีสแี ดงเช่นกัน อย่างไรก็ตามมีผเู้ สนอว่าสีแดงอาจเกิดจากอนุ ภาค
ของ Cu2O แขวนลอยอยู่ใ นแก้ว มากกว่ า โลหะทองแดง หรือ อาจเป็ นไปได้ว่ า การเกิด สีเ กิด จากทัง้ สอง
ปรากฏการณ์ร่วมกัน ในแก้วสีเหลืองทีม่ อี นุ ภาคของเงินอยู่ (Silver-yellow glass) จะมีช่วงการดูดกลืนแสงที่
ประมาณ 410 นาโนเมตร ดังแสดงในรูป 8.4 นอกจากนี้โลหะตะกัว่ (Pb) สารหนู (As) แอนทิโมนี (Sb) บิสมัต
(Bi) ดีบุก (Sn) และเจอร์มาเนียม (Ge) จะทาให้แก้วมีสนี ้ าตาล ดา หรือ เทา ขึน้ กับชนิดและปริมาณของโลหะ
แต่ละชนิด โดยจานวนของอนุ ภาคโลหะต่าง ๆ ที่แขวนลอยอยู่ในแก้วต้องมีปริมาณไม่สูงเกินไป เนื่องจาก
หากมีปริมาณสูงเกินจะทาให้แก้วมีความทึบแสง

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 124


รูป 8.4 ลักษณะกราฟการดูดกลืนแสงของแก้วทีม่ โี ลหะเงินแขวนลอยอยู่ [ทีม่ า J.E. Shelby (2005)]

อนุ ภาคแขวนลอยของโลหะในแก้ว เกิดขึน้ จากปฏิกริ ยิ ารีดอกซ์ของไอออนของโลหะซึ่งจะเปลีย่ นให้


ไอออนกลายเป็ นอะตอมของโลหะ โดยอะตอมทีเ่ กิดขึน้ นี้จะแพร่เข้าหากันขณะหลอมและรวมตัวกันกลายเป็ น
ผลึกทอง จนมีขนาดอยู่ในช่วงของคอลลอยด์แขวนลอยอยู่ในแก้วเมื่อ น้ าแก้วเย็นตัวลง โดยปฏิกริ ยิ ารีดกั ชัน
ของไอออนของโลหะทีส่ นใจนี้อาจเกิดจากการเติมตัวรีดวิ ซ์ลงไปในแก้วหรืออาจเกิดจากสภาวะในการขึ้นรูป
แก้วเช่นการปรับบรรยากาศให้เ ป็ น H2 ในช่วงที่อุณหภูมลิ ดลงมาใกล้กบั ช่วงการเปลี่ยนเป็ นแก้ว (Glass
transition range) เพื่อให้ไอออนดังกล่ าวถูกรีดิว ซ์เ ป็ นโลหะได้ ยกตัวอย่างเช่นการเติมออกไซด์ของดีบุก
(Stannic oxide; SnO2) ลงไปในแก้วที่มอี อกไซด์ของทองอยู่ เพื่อให้เกิดเป็ นอนุ ภาคทองแขวนลอยในแก้ว
เมือ่ หลอมแก้วทีอ่ ุณหภูมสิ งู น้าแก้วหลอมจะอยูใ่ นสมดุลของสภาวะทีม่ อี อกซิเจนสูงซึง่ จะทาให้เกิดผลิตภัณฑ์ท่ี
เกี่ยวข้องกับการเกิดสีได้แก่ Au+ และ Sn2+ เมื่ออุณหภูมลิ ดลงสมดุลจะเปลีย่ นแปลงไปทางปฏิกริ ยิ ารีดกั ชัน
ของทองและออกซิเดชันของดีบุกดังสมการ 8.9 โดยปฏิกริ ยิ านี้จะมีช่อื เรียกเฉพาะว่า Striking ซึ่งสามารถ
เกิด ขึ้น ได้เ องหากให้ค วามร้อ นแก้ว (ที่ม ีอ งค์ป ระกอบเหมาะสม) ที่ไ ม่ม ีส ีไ ปที่อุ ณ หภูม ิท่ีเ หมาะสมก็จ ะ
เกิดปฏิกริ ยิ า Striking เกิดสีในแก้วขึน้

2Au+ + Sn2+ 2Au0 + Sn4+ สมการ 8.9

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 125


ส่วนของการปรับบรรยากาศให้เป็ นบรรยากาศรีดกั ชันระหว่างการเย็นตัวเพื่อให้เกิดอนุ ภาคทอง หรือ เงิน
หรือ ทองแดงในแก้วนัน้ สามารถทาได้โดยการเพิม่ ก๊าซไฮโดรเจนในระบบทีอ่ ุณหภูมใิ กล้เคียงกับอุณหภูมกิ าร
เปลีย่ นเป็ นแก้ว (Glass transition temperature) โดยปฏิกริ ยิ าทีเ่ กิดขึน้ จะเกิดขึน้ ทีผ่ วิ แก้วก่อนจากนัน้ จึงเกิด
ด้านในเนื้อแก้ว โดยสีทเ่ี กิดขึน้ จะเกิดเป็ นชัน้ ๆ และความหนาของชัน้ ทีเ่ กิดสีจะแปรผันกับ t1/2 หรือ t เมือ่ t
คือ เวลาทีแ่ ก้วอยู่ในสภาวะรีดกั ชัน ซึง่ แสดงให้เห็นว่าการแพร่ของก๊าซไฮโดรเจนในแก้วเป็ นกลไกที่ควบคุม
การเกิดสีของแก้ว ซึ่งกระบวนการนี้เกิดขึ้นได้ง่ายมากในกรณีของโลหะชนิดตะกัว่ สารหนู แอนทิโมนีและ
บิสมัต ในแก้ว

สาหรับแก้วทีต่ อ้ งการสีจากอนุ ภาคเงินนัน้ สามารถทาได้จากการให้เงินแพร่ผ่านจากผิวด้านนอกเข้าสู่


แก้ว ซึง่ ในแก้วจะต้องมีไอออนของโลหะอัลคาไลน์อยู่ โดยแหล่งของเงินที่ใช้จะได้มาจากฟิ ล์มบางของโลหะ
เงินหรือเกลือของเงินหลอมเหลว การแลกเปลี่ยนหรือการแพร่ของเงินก็จะเกิดขึน้ ที่ผวิ รอยต่อระหว่างฟิ ล์ม
บางหรือเกลือของเงินหลอมเหลวกับแก้ว จากนัน้ จึงแพร่เข้าสู่ภายในเนื้อแก้ว โดยกระบวนการแพร่นนั ้ เงินยัง
อยูใ่ นรูปของไอออน เมือ่ การเกิดการแลกเปลีย่ นไอออนระหว่างไอออนของเงินกับไอออนของอัลคาไลน์ในแก้ว
ตามความหนาทีต่ ้องการแล้ว แก้วจะถูกนาเข้าสู่บรรยากาศรีดกั ชันเพื่อ เปลีย่ นไอออนของเงินให้เป็ นโลหะเงิน
แขวนลอยอยูใ่ นแก้ว

8.1.3 สารประกอบซัลไฟด์ ซีลีไนด์และเทลลูไรด์ (Sulfide selenide and telluride compounds)

สีท่เี กิดขึ้นเกิดจากการมีส ารประกอบกลุ่ มนี้อ ยู่ในแก้ว ซึ่งสารประกอบเหล่ านี้จะมีส มบัติก่งึ ตัว น า


(Semiconductor properties) เมื่อพิจารณาลักษณะการดูดกลืนแสงของแก้วประเภทนี้จะมีความแตกต่างจาก
กรณีของสารให้ส ีส องประเภทแรกที่ไ ด้กล่ าวมาแล้ว จากสเปกตรัม การส่ อ งผ่ านของแสง (Transmission
spectrum) ของสารกลุ่มนี้ทจ่ี ะมีลกั ษณะของกราฟทีช่ นั มาก หรือเรียกว่ามี Sharp cutoff ของการส่องผ่านแสง
ดังรูป 8.5 ซึง่ ค่าการส่องผ่านแสงดังกล่าวจะสอดคล้องกับช่องว่างระหว่างแถบพลังงาน หรือ Band gap ของ
สารกึ่งตัวนาแต่ละชนิด สีทป่ี รากฏก็จะขึน้ อยู่กบั ชนิดและส่วนผสมของสารให้สดี งั กล่าว เช่นในกรณีของการ
ผสม CdS กับ CdSe จะทาให้สที ไ่ี ด้แตกต่างจากแก้วทีม่ เี พียง CdS หรือ CdSe หนึ่งชนิดในแก้ว โดยที่ CdS
จะให้ส ีเ หลือ ง และ CdSe จะให้ส ีแ ดง นอกจากชนิดและส่ ว นผสมแล้ว ปริมาณด่างในแก้ว (เช่นสารกลุ่ม
อัลคาไลน์ออกไซด์) สภาวะออกซิเดชัน-รีดกั ชัน อุณหภูมกิ ารหลอม และขนาดของผลึกให้สกี ลุ่มนี้จะส่งผลต่อ
สีของแก้วทีป่ รากฏเช่นกัน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 126


รูป 8.5 สเปกตรัมการส่องผ่านแสง (Transmission spectrum) ของแก้วใช้เป็ นแก้วกรองแสง ซึง่ มีส่วนผสม
ของ CdS และ CdS + CdSe [ทีม่ า C.L. Babcock (1977)]

8.2 ผลของแสงแดดต่ อสีของแก้ว (Effect of solarisation on colour of glasses)

แก้วบางชนิดสามารถเกิดเป็ นสีต่าง ๆ ได้เมือ่ ได้รบั แสงแดด โดยกระบวนการเกิดสีเมือ่ ได้รบั แสงแดด


นัน้ มีช่อื เรียกว่าการโซลาร์ไรซ์เซชัน (Solarisation) ในบางกรณีอาจทาให้เกิดการเปลีย่ นสีท่ยี ่านของคลื่นที่ม ี
พลังงานสูงขึน้ เช่นย่านอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet radiation) ซึง่ การเกิดสีเกิดจากกลไกของการแลกเปลีย่ น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 127


อิเล็กตรอนในปฏิกริ ยิ ารีดอกซ์ของไอออนของแมงกานีสทีม่ พี ลังงานในช่วงของความยาวคลื่นแสงอาทิตย์เป็ น
ตัวเร่งให้เกิดปฏิกริ ยิ า ดังสมการ 8.10

Mn2+ + Fe3+ + Photon Mn3+ + Fe2+ สมการ 8.10

ปฏิกิรยิ าดังกล่ าวในอดีต ใช้เ พื่อ ลดความเข้มของสีเ ขียวของแก้ว ที่มเี หล็กเป็ นองค์ป ระกอบด้ว ยการเติม
แมงกานีสเป็ นตัวลดสีซ่งึ สามารถอธิบายได้จากการมองเห็นสีของแก้วผสมระหว่างสีม่วง (ของไอออนของ
แมงกานีส) และสีเขียว (ของไอออนของเหล็ก) พร้อม ๆ กัน ทาให้เกิดเป็ นลักษณะไม่มสี เี มื่อใช้สายตามอง
โดยปั จจุบนั การใช้แมงกานีสไม่เป็ นที่นิยมเนื่องจากว่าเกิดปั ญหาได้งา่ ยและควบคุมการเกิดสีได้ยาก เนื่องจาก
แมงกานีสจะไวต่อการเกิดปฏิกิรยิ าโซลาร์ไรซ์เซชันมาก (Light-sensitive) จึงเปลี่ยนมาใช้โคบอลต์ร่ว มกับ
ซีลเี นียมแทนในการทาให้แก้วไม่มสี ี (จากการมองเห็นด้วยตาเปล่า) ในปั จจุบนั ได้พฒ ั นาคู่ของไอออนอื่น ๆ ที่
ทาให้ค่าการดูดกลืนแสงของแก้วเปลีย่ นช่วงพลังงานไป เช่น การใช้ไอออนของ Mn-As หรือ Fe-As รวมไปถึง
คู่ไอออนของธาตุทรานซิชนั อื่น ๆ คู่กบั ไอออนของซีเรียม (Ce) เป็ นต้น ซึ่งการมีผลมากกว่าเพียงการลดสี
หรือฟอกจางสีทเ่ี กิดขึน้ ในแก้ว

8.3 ผลของการกระตุ้นด้วยรังสีต่อสีของแก้ว (Effect of radiation on colour of glasses)

รังสีท่ที าให้เกิดการเปลี่ยนสีของแก้วนัน้ มีหลายชนิดขึน้ อยู่กบั พลังงานที่เกี่ยวข้องในการเกิดสี เช่น


รังสีเอกซ์ (X-rays) รังสีเบตา (Beta-rays) หรือ รังสีแกมมา (Gamma-rays) เป็ นต้น โดยการเปลีย่ นสีในแก้ว
เกิดจากตาหนิของโครงสร้างแก้วทีส่ ่งผลเชิงแสง (Optical defects) โดยตาหนิดงั กล่าวอาจเป็ นตาแหน่ งของ
ไอออนที่ม ีจ านวนอิเ ล็ก ตรอนมากกว่ า ปกติ (Trapped electrons site) หรือ ต าแหน่ ง ที่ไ อออนมีจ านวน
อิเล็กตรอนน้อยกว่าปกติ (Holes) ซึง่ ทัง้ สองชนิดเกิดจากการทีแ่ ก้วได้รบั รังสีในย่านความยาวคลื่นต่าง ๆ หรือ
พลังงานต่ าง ๆ โดยต าหนิ (Defects) ดังกล่ าวจะเกิดการดูดกลืนพลังงานในย่า นที่แตกต่ างกัน โดยการ
ดูดกลืนพลังงานสามารถอธิบายด้วยหลักการของทฤษฎีแถบ (Band theory) ซึ่งใช้อธิบายลักษณะของวัสดุ
กึ่งตัวนา (Semiconductor) โดยการดูดกลืนพลังงานจะทาให้อเิ ล็กตรอนสามารถเคลื่อนที่จากแถบวาเลนซ์
(Valence band) ไปยังตาแหน่ งของตาหนิ (Defect levels) หรืออาจทาให้อเิ ล็กตรอนเคลื่อนทีจ่ ากตาหนิไปยัง
แถบนา (Conduction band) อย่างไรก็ตามอาจเติมไอออนบางชนิดในแก้วเพื่อเป็ นตัวดักจับอิเล็กตรอนทีเ่ กิด
การเปลีย่ นพลังงานเมือ่ ได้รบั รังสี ยกตัวอย่างเช่นการเติมซีเรียมออกไซด์ เป็ นต้น แก้วซิลกิ าซึง่ เป็ นแก้วทีไ่ ม่ม ี
สี แม้ว่าจะได้รบั รังสีในปริมาณมากหรือ พลังงานมากก็ตามจะไม่ทาให้เกิดสีได้ แต่จะเกิดสีกต็ ่อเมื่อแก้วชนิดนี้
มีตาหนิ หรือ defect จากการเติมอะลูมนิ า (Al2O3) ลงไปเล็กน้อย ซึง่ จะทาให้เกิดตาหนิทเ่ี รียกว่า Aluminum
oxide hole centres (AOHC) ซึ่งทาให้แก้วเกิดเป็ นสีม่วงเมื่อได้รบั รังสี นอกจากนัน้ ยังมีไอออนอื่น ๆ ที่จะ

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 128


สร้างตาหนิในแก้วซิลกิ าได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เจอร์มาเนียม หรือ ไทเทเนียม เป็ นต้น ส่วนแก้วซิลเิ กต
ทัว่ ๆ ไปที่มอี งค์ประกอบของอัลคาไลน์ออกไซด์ หรือ อัลคาไลน์เอิรธ์ ออกไซด์ จะทาให้เกิด Non-bridging
oxygen หรือออกซิเจนทีไ่ ม่เชื่อมต่อกับตัวโครงสร้างแก้วครบสองตัว ซึง่ เป็ นศูนย์กลางของตาหนิทม่ี อี ยูใ่ นแก้ว
ชนิดนี้ เมือ่ ได้รบั รังสีจะเกิดเป็ นสีน้ าตาล สีของแก้วทีเ่ กิดขึน้ หลังจากทีแ่ ก้วได้รบั รังสีสามารถทาให้สซี ดี ลงหรือ
จางลงได้จากการให้ความร้อนแก้วอีกครัง้ หนึ่ง (Thermal annealing) โดยอุณหภูมทิ เ่ี ลือกใช้จะขึน้ อยู่กบั ชนิด
ของตาหนิทเ่ี กิดขึน้ ในแก้ว

คาถามท้ายบท

1. จงอธิบายการมองเห็นสีของสิง่ ของต่าง ๆ ของตามนุษย์

2. จงอธิบายว่าสารให้สแี ต่ละกลุ่มจะทาให้แก้วเกิดสีได้อย่างไร

3. เมื่อนาแก้วที่ใสไม่มสี ี (Colourless) ซึ่งเป็ นภาชนะใส่น้ าไปผ่านเครื่องฉายรังสีเอกซ์พลังงานสูงเป็ นเวลา


10 นาที พบว่าแก้วเกิดสีขน้ึ จงอธิบายว่าเหตุใดแก้วจึงเกิดสี

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 129


บทที่ 9
ลักษณะเฉพาะและสมบัติของแก้ว
Characteristics and Properties of Glass

“ลักษณะเฉพาะและสมบัติของแก้ว มีอยู่หลากหลายประการ ในทีน่ ้ ีจะกล่าวถึงลักษณะเฉพาะ


(Characteristics) และ สมบัติ (Properties) ของแก้ ว ที ส่ าคัญ ในแก้ ว ที ม่ ี ร ะดับ การผลิ ต อยู่ ใ นระดับ
อุตสาหกรรม เช่น ความหนาแน่ น (Density) ปริมาตรต่อโมล (Molar volume) สมบัติทางเคมี (Chemical
properties) สมบัตทิ างกล (Mechanical properties) สมบัตทิ างความร้อน (Thermal properties) และสมบัติ
ทางแสง (Optical properties) โดยจะกล่าวถึงทฤษฎี การคานวณเบื้องต้นและเครือ่ งมือทีใ่ ช้วเิ คราะห์ทใี ่ ช้
หาลักษณะเฉพาะและสมบัตติ ่าง ๆ”

9.1 ลักษณะเฉพาะและสมบัติของวัสดุ

ลักษณะเฉพาะของวัสดุ มักหมายถึงสิง่ ที่มอี ยู่เฉพาะในวัสดุนัน้ ๆ โดยไม่เปลีย่ นแปลงเมื่อได้รบั แรง


(Force) หรือการกระทา (Action) ใด ๆ กล่าวคือเป็ นสิง่ ที่สะท้อนถึงลักษณะซึ่งมีความจาเพาะสาหรับวัสดุ
นั น้ ๆ เท่ า นั น้ เช่ น ความหนาแน่ น (Density) ปริม าตรต่ อ โมล (Molar volume) องค์ป ระกอบทางเคมี
(Chemical composition) โครงสร้าง (Structure) และ องค์ประกอบทางแร่ (Mineral composition) เป็ นต้น

สมบัตขิ องวัสดุ หมายถึง การตอบสนองต่อแรงหรือการกระทาใด ๆ ภายนอกทีใ่ ห้กบั วัสดุนนั ้ ๆ เช่น


แรงทางความร้อน แรงทางกล และแสง เป็ นต้น เมือ่ วัสดุได้รบั แรงหรือการกระทาแล้ว จะตอบสนองต่อแรงนัน้
ในรูปแบบต่าง ๆ ขึน้ อยู่กบั ชนิดและลักษณะเฉพาะของวัสดุนัน้ ๆ โดยวัสดุต่างชนิดกันจะตอบสนองต่อแรง
กระทาต่างกัน โดยในที่น้ีจะกล่าวถึง สมบัตทิ างความร้อน (Thermal properties) สมบัตทิ างเคมี (Chemical
properties) สมบัตทิ างกล (Mechanical properties) และสมบัตทิ างแสง (Optical properties) ซึง่ เป็ นสมบัตทิ ่ี
สาคัญในอุตสาหกรรมแก้ว และจะต้องตรวจสอบสมบัตติ ่าง ๆ เหล่านี้ให้ได้ตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ก่อน
จาหน่ ายสู่ลูกค้า โดยแต่ละผลิตภัณฑ์จะเน้นสมบัตทิ ่แี ตกต่างกันออกไปตามประเภทการใช้งาน เช่น เลนส์
แก้วจะเน้ นสมบัติทางแสงมากกว่าสมบัติด้านอื่น ๆ หรือ กระจกแผ่นสาหรับอาคารต่างๆ จะเน้ นทัง้ ความ
แข็งแรง (สมบัตเิ ชิงกล) และ สมบัตทิ างแสง เช่นความโปร่งใสและสี เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 130


9.2 ความหนาแน่ นและปริ มาตรต่อโมล (Density and molar volume)

ความหนาแน่ น (Density) เป็ น ค่ า ที่แ สดงมวลของสารต่ อ หนึ่ ง หน่ ว ยปริม าตร (Mass per unit
volume) มักใช้ตวั ย่อเป็ น D หรือ  ซึง่ สามารถเขียนให้อยูใ่ นสมการทัว่ ๆ ไปได้ดงั สมการ 9.1

𝑀 𝑀
𝐷= หรือ ρ = สมการ 9.1
𝑉 𝑉

เมือ่ M คือ มวลหรือน้าหนักของแก้ว

V คือ ปริมาตรของแก้ว

ความหนาแน่ นสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทขึน้ กับการตีความ ได้แก่ความหนาแน่ นแท้ (True


density) เป็ นความหนาแน่ นของวัสดุทป่ี ราศจากรูพรุน ฟองอากาศ สิง่ เจือปน หรือ ตาหนิต่าง ๆ ซึง่ ในทาง
ปฏิบตั ทิ วั ่ ๆ ไปในการหาค่าความหนาแน่ นแบบนี้ จะทาได้โดยบดวัสดุทต่ี ้องการวิเคราะห์ให้เป็ นผงละเอียด
ก่อน เพื่อกาจัดรูพรุนหรือฟองอากาศ ความหนาแน่ นปรากฏ (Apparent density) จะเป็ นความหนาแน่ นที่
รวมทัง้ รูพรุน ฟองอากาศ หรือสิง่ เจือปนต่าง ๆ ที่ประกอบกับอยู่ในชื้นงาน ในบางครัง้ อาจเรียกว่า ความ
หนาแน่ นรวม (Bulk density) และชนิดสุดท้ายคือความหนาแน่ นทางทฤษฎี (Theoretical density) ซึ่ง
สามารถคานวณจากองค์ประกอบทางเคมีและทางแร่ของวัส ดุ ซึ่งอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ในการคานวณ เช่น
ข้อมูลพืน้ ฐานทางผลึกศาสตร์ และความหนาแน่นของผลึก เป็ นต้น

วัสดุแก้วมักแตกต่างจากวัสดุอ่นื ๆ เนื่องจากเป็ นวัสดุทไ่ี ม่มโี ครงสร้างผลึก (Non-crystalline) หรือมี


ความเป็ นอสัณฐาน (Amorphous) กล่าวคือโครงสร้างแก้วจะมีโครงสร้างที่ไม่แน่ นอน โดยความยาวพันธะ
ระหว่างคู่อะตอมใด ๆ และมุมพันธะ (Bond Angle) จะมีได้หลายค่าในแก้วทีม่ อี งค์ประกอบเดียวกัน ซึง่ ต่าง
จากโครงสร้างผลึกทีม่ รี ะยะห่างระหว่างอะตอมและมุมระหว่างพันธะเท่ากัน อีกทัง้ การกระจายตัวของอะตอม
ต่ าง ๆ ในแก้ว เป็ นไปอย่างอิส ระแบบสุ่ ม (Random distribution) โครงสร้างแก้ว แบบสุ่ ม ส่ งผลท าให้ก าร
คานวณความหนาแน่ นทางทฤษฎี (Theoretical density) ทาได้ยาก การหาความหนาแน่ น ของแก้ว ท าได้
หลายวิธ ี เช่น การใช้หลักการอาร์คมิ ดิ สี (Archimedes) พิคโนมิเตอร์ (Pycnometer) การให้แก้วแขวนลอยใน
ของเหลวทีท่ ราบความหนาแน่นแน่ นอน และ การใช้เทคนิคจม-ลอย (Sink-float technique) เป็ นต้น

การหาความหนาแน่ นของวัสดุทท่ี ราบปริมาตรแน่ นอนหรือมีมติ ทิ แ่ี น่ นอนสามารถคานวณจากข้อมูล


ของน้ าหนักและปริมาตรของแก้วโดยใช้สมการ 9.1 หากไม่ทราบปริมาตรของแก้วทีแ่ น่ นอนสามารถใช้หลัก
ของอาร์คมิ ดี สี (Archimedes’ Principle) โดยอาศัยน้ าหนักของแก้ว ที่ชงในอากาศและน
ั่ ้ าหนักชังในตั
่ วกลาง
ของเหลว โดยต้องทราบความหนาแน่ นของของเหลวที่แน่ นอนที่อุณหภูม ิ ณ ขณะทาการทดลอง จากนัน้
สามารถคานวณหาความหนาแน่นจากสมการ 9.2

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 131


𝑊𝐴
ρ = (𝑊 (𝜌𝐿 − 𝜌𝐴 ) + 𝜌𝐴 สมการ 9.2
𝐴 −𝑊𝐿 )

เมือ่ , L และ A คือ ความหนาแน่นของของแข็ง ของของเหลวตัวกลาง และ ของอากาศ ตามลาดับ


WA และ WL คือ น้าหนักของของแข็งทีช่ งในอากาศและในของเหลวตั
ั่ วกลาง (นิยมใช้น้า) ตามลาดับ

ซึง่ สมการ 9.2 นัน้ โดยทัวไปในอุ


่ ตสาหกรรมอาจลดรูปตัวแปรต่าง ๆ ของอากาศ เนื่องจากความหนาแน่ นที่
คานวณได้จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยซึง่ ไม่มนี ัยสาคัญ อีกทัง้ การหาค่าความหนาแน่ นของอากาศจะต้อง
ทราบค่าความชืน้ ในอากาศ อุณหภูม ิ และความดันบรรยากาศ เป็ นต้นซึง่ จะยุง่ ยากต่อการคานวณ ซึง่ สามารถ
ลดรูปสมการทีใ่ ช้คานวณความหนาแน่ นลงได้ดงั สมการ 9.3 โดยการหาน้ าหนักของแก้วทีช่ งในอากาศและใน
ั่
ตัวกลางของเหลวสามารถใช้เครื่องมือทีเ่ รียกว่า Density-kit ซึง่ เครื่องมือจะต่อเข้ากับเครื่องชังวิ
่ เคราะห์ได้ดงั
แสดงในรูป 9.1

WA  L
 สมการ 9.3
(WA  WL )

รูป 9.1 ตัวอย่าง Density-kit ซึง่ จะต่อเข้ากับเครือ่ งชังวิ


่ เคราะห์เพื่อใช้ชงน
ั ่ ้ าหนักของวัสดุทส่ี นใจในอากาศและ
ในตัวกลางของเหลว
[ทีม่ า http://www.grainger.com/product/ADAM-EQUIPMENT-Balance-Density-Kit-19YN73]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 132


ตัวอย่าง 9.1 เพื่อศึกษาผลขององค์ประกอบทางเคมีของแก้วต่อความหนาแน่ นทีเ่ ปลีย่ นไปของแก้ว นักวิจยั
จึงหาความหนาแน่ นของแก้วทีม่ อี งค์ประกอบทางเคมีคอื 25V2O575B2O3 ซึง่ แก้วชนิดนี้อาจเกิดปฏิกริ ยิ ากับ
น้า ทาให้ตอ้ งใช้ไซลีน (Xylene) แทนน้า เพื่อทดลองหาค่าความหนาแน่ น พบว่าน้าหนักทีช่ งในอากาศเท่
ั่ ากับ
0.1417 กรัม และน้ าหนักที่ชงในของเหลวตั
ั่ วกลางเท่ากับ 0.0867 กรัม จงแสดงการหาความหนาแน่ นของ
แก้วชนิดนี้ กาหนดให้ ค่าความหนาแน่ นของไซลีนที่อุณหภูมขิ ณะทาการทดลอง (28.9 เซลเซียส) เท่ากับ
0.853382 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

วิ ธีทา จากโจทย์จะได้ว่า WA เท่ากับ 0.1417 กรัม WL เท่ากับ 0.0867 กรัม และ L เท่ากับ 0.853382 กรัม
ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

แทนค่าเหล่านี้ในสมการ 9.3 เพื่อหาความหนาแน่นจะได้

 glass 
0.14170.853382  0.1209  2.20
กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
0.1417  0.0867 0.0550

ปริ มาตรต่ อโมล (Molar Volume) คือปริมาตรของวัสดุ จานวน 1 โมล ซึ่งสามารถคานวณได้จาก


สมการ 9.4 ซึ่ง แสดงความสัม พัน ธ์ ร ะหว่ า งปริม าตรต่ อ โมล ( Vm) มวลโมเลกุ ล ของวัส ดุ (MWt) และ
ความหนาแน่น () ในบางกรณีอาจมีการหาปริมาตรต่อโมลด้วยวิธอี ่นื ๆ เช่นในกรณีของวัสดุผลึกจะสามารถ
คานวณได้จากข้อมูลโครงสร้างผลึก (Lattice parameters) เพื่อหาปริมาตรของผลึกหรือวัสดุชนิดนัน้ ๆ

𝑀𝑊𝑡
𝑉𝑚 = สมการ 9.4
𝜌

ความหนาแน่ นของวัสดุจะขึน้ อยูก่ บั ปริมาตรของวัสดุทป่ี ระกอบไปด้วยอะตอมต่าง ๆ บรรจุอยู่ ดังนัน้ ปริมาตร


ต่อโมลจึงถูกใช้ในการเปรียบเทียบพฤติกรรมของแก้วหรือวัสดุดว้ ยเช่นกัน ปริมาตรต่อโมลของแก้วมักถูกใช้
ในการศึกษาพฤติกรรมอะนอมัลลี (Anomalous behaviour) ของแก้วอีกด้วย ดังรูป 9.2 ทีซ่ ง่ึ เปรียบเทียบการ
เปลี่ยนแปลงความหนาแน่ นของแก้วและปริมาตรต่อโมลของแก้วทาลเลียมบอเรต (Tl2OB2O3) ที่ปริมาณ
ทาลเลียมออกไซด์ (Tl2O) ต่าง ๆ ซึง่ จะเห็นได้ว่าปริมาตรต่อโมลเกิดจุดต่ าสุด (Minimum Point) ซึง่ แสดงให้
เห็นถึงพฤติกรรมอะนอมัลลีของแก้วบอเรต (Borate anomaly) โดยพฤติกรรมนี้จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
โครงสร้างแก้วและสมบัตขิ องแก้ว ซึง่ สามารถอธิบายได้จากการเปลี่ยนโครงสร้างของหน่ วยย่อยของโบรอน
จากหน่ วยย่อยที่มอี อกซิเจนล้อมรอบ 3 อะตอม หรือ [BO3] หรือไตรโกนอลโบรอนเป็ นโบรอนที่มอี อกซิเจน
ล้อมรอบ 4 อะตอม หรือ [BO4]– หรือเตตระฮีดรัลโบรอน

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 133


รูป 9.2 ความหนาแน่ น () และปริมาตรต่อโมล () ของแก้วระบบทาลเลียมบอเรต (Tl2OB2O3) ทีป่ ริมาณ
(ความเข้มข้น) ของทาลเลียมออกไซด์ (Tl2O) ต่างกัน [ทีม่ า N. Laorodphan (2012)]

จะเห็นได้ว่าสมการ 9.4 จะต้องหามวลโมเลกุลของแก้วก่อน โดยทัวไปแล้ ่ วมวลโมเลกุลของแก้วนัน้


จะอ้างอิงตามองค์ประกอบทางเคมีของออกไซด์ทเ่ี ป็ นองค์ประกอบ เช่น แก้วทีห่ ลอมมาจากวัตถุดบิ 2 ชนิด
คือทราย (SiO2) และโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) ในการคานวณมวลโมเลกุลจะต้องอาศัยองค์ประกอบโดย
โมลของสารประกอบออกไซด์ทงั ้ สองได้แก่ ซิลกิ อนไดออกไซด์ (SiO2) และโซเดียมออกไซด์ (Na2O) ทีม่ อี ยู่
ในแก้ว ซึ่งคานวณจากสัดส่ ว นของวัต ถุดิบตัง้ ต้นที่ใ ช้ หรือคานวณจากสูต รโมเลกุล ของแก้ว ที่รายงานไว้
อย่างไรก็ตามแก้วซึ่งมีโครงสร้างไม่แน่ นอนนัน้ จะไม่สามารถหาปริมาตรต่อโมลได้ด้วยวิธกี ารคานวณหา
ปริมาตรจากข้อมูลโครงสร้างผลึก ซึง่ วิธกี ารคานวณแสดงดังตัวอย่างด้านล่าง

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 134


ตัวอย่าง 9.2 จากงานวิจยั หนึ่งได้ศกึ ษาแก้วทีม่ อี งค์ประกอบทางเคมีคอื 35K2O65B2O3 ซึง่ มีความหนาแน่น
เท่ากับ 2.32 g/cm3 จงคานวณหาปริมาตรต่อโมล (Molar Volume) ของแก้วชนิดนี้

วิ ธีทา ข้อมูลมวลโมเลกุลขององค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ K2O และ B2O3 เท่ากับ 94.195 กรัมต่อโมล (g/mol)
และ 69.671 กรัมต่อโมล (g/mol) ตามลาดับ

จากสูตรโมเลกุลของแก้ว 35K2O65B2O3 จะหมายถึงในแก้วมีส่วนผสมของ K2O 35 % โดยโมล และ


B2O3 อยู่ 65 % โดยโมล หากเทียบกับ 1 โมลของแก้วจะได้ว่ามี K2O 0.35 โมล และ B2O3 0.65 โมล

ขัน้ ที่ 1 หามวลโมเลกุลของแก้ว

มวลโมเลกุลของแก้ว = (จานวนโมล x มวลโมเลกุลองค์ประกอบ)

=(จานวนโมล𝐾2𝑂 × 𝑀𝑊𝐾2𝑂 ) + (จานวนโมล𝐵2𝑂3 × 𝑀𝑊𝐵2𝑂3 )

= (0.35 x 94.195) + (0.65 x 69.671)

= 78.254 กรัมต่อโมล (g/mol)

ขัน้ ที่ 2 หาปริมาตรต่อโมล


𝑀𝑊𝑡
จากสมการที่ 9.2 𝑉𝑚 =
𝜌

78.254 𝑔.𝑚𝑜𝑙 −1
จะได้ปริมาตรต่อโมลของแก้ว (Vm) = = 33.73 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อโมล (cm3mol-1)
2.32 𝑔.𝑐𝑚−3

ดังนัน้ ปริมาตรต่อโมลของแก้ว 35K2O65B2O3 เท่ากับ 33.73 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อโมล

9.3 สมบัติทางความร้อน (Thermal properties)

พฤติก รรมทางความร้อ นของแก้ว จะบ่ งบอกถึง การเปลี่ยนแปลงหรือ ความทนทานของแก้ว เมื่อ


อุณหภูมสิ ูงขึน้ ซึ่งมีอยู่หลายชนิดขึน้ อยู่กบั สมบัตขิ องแก้วที่ต้องการวิเคราะห์ เช่น ความจุความร้อน (Heat
Capacity) การขยายตัวเพราะความร้อน (Thermal Expansion) การนาความร้อน (Thermal Conductivity)
และความเครียดเพราะความร้อน (Thermal Stress) เป็ นต้น เนื่องจากแก้วเกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว
เพื่อหลีกเลีย่ งการเกิดผลึกขึน้ ในแก้ว การให้ความร้อนกับแก้วอาจทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลงต่าง ๆ กับแก้ว
เช่น ทาให้แก้วเกิดผลึก หรือทาให้แก้วอ่อนตัว เป็ นต้น ดังนัน้ จึงเป็ นสิง่ จาเป็ น ทีจ่ ะศึกษาพฤติกรรมทางความ
ร้อน (Thermal behaviour) ของแก้วว่าเกิดการเปลีย่ นแปลงอย่างไรเมือ่ อุณหภูมเิ พิม่ ขึน้

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 135


9.3.1 การขยายตัวเพราะความร้อน (Thermal expansion)

แก้วจะขยายตัวเมื่ออยู่ในสภาวะทีอ่ ุณหภูมสิ ูงและจะหดตัวเมื่ออุณหภูมลิ ดลง ซึง่ พฤติกรรมของการ


ขยายตัวหรือหดตัวเพราะความร้อนของแก้วจะพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนของ
แก้ว (Thermal Expansion Coefficient, COE หรือ CTE) โดยค านวณจากอัต ราการเปลี่ยนแปลงปริมาตร
เมื่อ อุ ณ หภู ม ิเ ปลี่ย นไป ค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ นแบ่ ง ออกเป็ น 2 ประเภท คือ ค่ า
สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนจริง (True หรือ Instantaneous Thermal Expansion Coefficient)
คือค่าสัมประสิทธิ ์ทีห่ าจากความชันของกราฟระหว่างปริมาตรกับอุณหภูม ิ ทีค่ วามดันคงที่ (โดยส่วนมากจะวัด
ทีค่ วามดัน 1 atm) โดยจะคานวณจากสมการ 9.5

1 𝜕𝑉
𝛼𝑉 = [ ] สมการ 9.5
𝑉 𝜕𝑇 𝑃

เมือ่ 𝛼𝑉 คือ ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนจริง

𝑉 คือ ปริมาตรของชิน้ งาน


𝜕𝑉
[ ] คือ ความชันของกราฟระหว่างปริมาตรกับอุณหภูมทิ ค่ี วามดันคงที่
𝜕𝑇 𝑃

และอีกชนิดคือค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนเฉลีย่ (Average หรือ Mean Thermal Expansion


Coefficient, 𝛼 𝑉 โดยนิยมรายงานทัวไปในเอกสารวิ
̅̅̅̅) ่ ชาการต่าง ๆ ซึง่ คานวณจากการเปลี่ยนแปลงปริมาตร
(∆𝑉) ในช่วงอุณหภูมทิ ส่ี นใจใด ๆ (∆𝑇) ดังสมการ 9.6

1 Δ𝑉
𝛼
̅̅̅̅
𝑉 = [ ] สมการ 9.6
𝑉 Δ𝑇

จากสมการ 9.5 และ 9.6 จะอธิบายการขยายตัวเพราะความร้อนของแก้วโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของ


ปริมาตรแก้ว อย่างไรก็ตามการติดตามการเปลีย่ นแปลงปริมาตรแก้วทีอ่ ุณหภูมใิ ด ๆ ทาได้ยาก ดังนัน้ ในทาง
ปฏิบตั จิ งึ นิยมวัดการขยายตัวของแก้วในมิตเิ ดียว (One Dimension) ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความ
ร้อ นที่ไ ด้จ ะเรีย กว่ า ค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ นเชิง เส้ น (Linear Thermal Expansion
Coefficient, 𝛼𝐿 ) ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนแท้หรือเฉลี่ยเชิงเส้นสามารถหาได้ในทานอง
เดียวกันกับสมการ 9.5 และ 9.6

แก้วเป็ นวัสดุสมลักษณ์หรือวัสดุท่มี สี มบัตเิ ท่ากันทุกทิศทาง (Isotropic Material) และมีการขยายตัว


เพราะความร้อนค่อนข้างต่ า ดังนัน้ ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อน (α𝑉 ) อาจะประมาณได้จากค่า

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 136


สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนเชิงเส้น (α𝐿 ) จาก 𝛼𝑉 = 3𝛼𝐿 โดยทัวไปแล้ ่ วช่วงอุณหภูมทิ น่ี ิยม
ใช้ ห าค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ นของแก้ ว คือ ที่อุ ณ หภู ม ิ 0 – 300 เซลเซีย ส หรือ ที่
อุณหภูมหิ อ้ งถึง 300 เซลเซียส แต่ในบางกรณีอาจหาทีช่ ่วงอุณหภูมอิ ่นื ๆ ทีต่ ้องการใช้งาน เช่น ในแก้วทีใ่ ช้
สาหรับเซลล์เชือ้ เพลิงของแข็งออกไซด์แบบแผ่นจะหาในช่วงประมาณ 275 – 550 เซลเซียส [N.Laorodphan
และคณะ (2009)] เนื่องจากแก้วถูกใช้งานทีอ่ ุณหภูมสิ งู กว่าอุณหภูมหิ อ้ งทัวไป
่ ดังนัน้ หากต้องการเปรียบเทียบ
ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนของแก้วจะต้องคานึงถึงช่วงอุณหภูมทิ ่รี ายงาน และ ชนิดของ
สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนว่าเป็ น 𝛼𝑉 หรือ 𝛼𝐿 เนื่องจากช่วงอุณหภูมจิ ะส่งผลอย่างมากต่อ
ค่าสัมประสิทธ์การขยายตัวเพราะความร้อนของแก้ว

โดยทัว่ ไปแล้ ว ค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ นของวัส ดุ จ ะอยู่ ใ นช่ ว ง 1 x 10-6 ถึง
50 x 10-6 ต่ อ เคลวิน (K-1) ในบางครัง้ ค่ าสัม ประสิทธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ นอาจรายงานในหน่ ว ย
ppm K-1 อย่างไรก็ตามในการรายงานค่าของแก้วนิยมรายงานในรูป 10-7 ต่อเคลวิน (K-1) หน่ วยของอุณหภูม ิ
ที่ใช้อาจะทาให้ค่าตัวเลขเปลีย่ นไปได้ ดังนัน้ ต้องพึงระวังการเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะ
ความร้อนทีม่ หี น่วยต่าง ๆ

การหาค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนนัน้ นิยมใช้เทคนิคไดลาโตมิเตอร์ (Dilatometer)


ซึง่ จะประกอบไปด้วยแท่งกดทรงกระบอก (Push-rod) ทีท่ ราบค่าการขยายตัวเพราะความร้อนแน่ นอน โดย
แท่งกดจะมีปลายด้านหนึ่งติดกับหัวตรวจวัด (Displacement sensor) ซึ่งจะวัดการความยาวที่เปลี่ยนแปลง
เมือ่ วัสดุได้รบั ความร้อน ส่วนปลายอีกด้านของ Push-rod จะอยูใ่ นบริเวณทีส่ ามารถให้ความร้อนได้และติดกับ
วัสดุทต่ี ้องการหาค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อน ดังรูป 9.3 ซึง่ ค่าทีไ่ ด้จากเครื่องไดลาโตมิเตอร์
จะเป็ นการเปลี่ยนแปลงความยาวที่อุณ หภูมติ ่าง ๆ โดยจะต้องนามาใช้ในการคานวณหาค่าสัมประสิทธิ ์การ
ขยายตัว เพราะความร้อ นในช่ ว งอุ ณ หภู ม ิท่ีส นใจ โดยสัม ประสิท ธิท์ ่ีไ ด้จ ะเป็ น สัม ประสิท ธิเ์ ชิง เส้น (L)
เนื่องจากพิจารณาจากการขยายตัวเชิงเส้นของวัสดุ วัสดุท่ใี ช้ทาแทงกดหรือ Push-rod ได้แก่แท่งอะลูมนิ า
(Al2O3) ซึ่ง สามารถใช้ง านที่อุ ณ หภู ม ิสูง และแท่ ง แก้ว ซิล ิก า (Silica glass, SiO2) ที่ม ีค่ า สัม ประสิท ธิก์ าร
ขยายตัวเพราะความร้อนอยูท่ ป่ี ระมาณ 0.55 ppmK-1

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 137


รูป 9.3 เครือ่ งไดลาโตมิเตอร์ (Dilatometer) เพื่อใช้วดั ค่าสัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนของวัสดุ
[ดัดแปลงจาก http://www.directindustry.com/prod/netzsch-geratebau-gmbh/dilatometer-push-knob-
horizontal-39926-416653.html]

นอกเหนือจากไดลาโตมิเตอร์ชนิด Push-rod แล้ว เพื่อการหาค่าได้แม่นยามากขึ้นสามารถหาค่ า


สัมประสิทธิ ์การขยายตัวเพราะความร้อนได้โดยใช้ Push-rod 2 ตัว โดยตัวหนึ่งใช้สาหรับวัดตัวอย่างมาตรฐาน
(Standard) และอีกตัวสาหรับวัดชิน้ งานตัวอย่าง (Sample) ซึง่ มีความแม่นยามากขึน้ ไดลาโตมิเตอร์ชนิดนี้ยงั
ถูกออกแบบมาเพื่อความเหมาะสมในการวิเคราะห์งานเชื่อมประสาน เนื่องจากในงานเชื่อมประสานนัน้ วัสดุ
สองชนิ ด ที่ต่ อ เข้า ด้ ว ยกัน จะต้ อ งมีค่ า สัม ประสิท ธิก์ ารขยายตัว เพราะความร้อ นที่ใ กล้ เ คีย งกัน มาก ซึ่ง
ไดลาโตมิเตอร์ประเภทนี้สามารถหาค่าความแตกต่างของการขยายตัวของวัสดุสองชนิดทีแ่ ตกต่างกันได้ และ
เทคนิ ค ที่ ส ามารถวัด ค่ า สัม ประสิ ท ธิ ก์ ารขยายตั ว เพราะความร้ อ นได้ ค วามแม่ น ย าสู ง สุ ด คือ การใช้
อินเตอร์เฟอร์โรมิเตอร์ (Interferometer) ซึง่ เป็ นเทคนิคทีใ่ ช้แสงหรือเลเซอร์ตวั วัดการเปลีย่ นแปลงขนาดของ
วัส ดุเ มื่อ ได้รบั ความร้อ นซึ่งแตกต่ างจากกรณีหวั ตรวจวัดของไดลาโตมิเ ตอร์ ทาให้ส ามารถตรวจวัดการ
เปลีย่ นแปลงความยาวได้ถงึ ระดับ 20 นาโนเมตร (กรณีใช้ Visible light เป็ นตัวตรวจวัด)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 138


นอกเหนือจากการขยายตัวเพราะความร้อนของแก้วแล้วในแก้วบางประเภทอาจต้องศึกษาหรือวัดค่า
สมบัติอ่นื ๆ เพิม่ เติม เช่น ค่าการนาความร้อ น (Thermal conductivity) และ ความร้อนจาเพาะ (Specific
heat) เป็ นต้น แต่ในที่น้ีไม่ได้กล่าวถึงหลักการหรือวิธกี ารวัดสมบัตดิ งั กล่าว อย่างไรก็ตามได้รวมรวมสมบัติ
เหล่านี้ไว้ในตาราง 9.1 เพื่อเป็ นตัวอย่าง

ตาราง 9.1 สมบัตทิ างความร้อนของแก้วประเภทต่าง ๆ [ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

ชนิดของแก้ว สัมประสิทธิการขยายตั
์ วเพราะ การนาความร้อน ความร้อนจาเพาะ
ความร้อนของแก้ว ที่ 20 – 300 C
(ต่อเคลวิน; K-1) (Wcm-1K-1) (Jg-1K-1)
Sodium-potassion crystal glass 90 – 96 x 10-7

Lead glass (50wt% PbO) 0.0071

Sheet and container glass 80 – 90 x 10-7 0.0096 0.977

Soft instrument glass 98 x 10-7

Thermometer glass 82 x 10-7

Simax (Pyrex type) 33 x 10-7 0.0105

Low alkali fibre glass 52 x 10-7

Quartz glass 6.7 x 10-7 0.0138 0.887

9.3.2 พฤติ กรรมทางความร้อนของแก้ว (Thermal behaviour of glass)

พฤติก รรมทางความร้อ นหรือ การเปลี่ย นแปลงทางความร้อ นของแก้ ว นั ้น คือ การติด ตามการ


เปลี่ยนแปลงสมบัตหิ รือลักษณะเฉพาะของแก้วเมื่อได้รบั ความร้อนที่อุณหภูมติ ่าง ๆ ซึ่งโดยทัวไปนั ่ น้ จะใช้
เครือ่ งมือการวิเคราะห์ทางความร้อนหรือทีเ่ รียกว่า Thermal analysis เช่น เทคนิคการวิเคราะห์ความร้อนเชิง
อนุพนั ธ์ (Differential thermal analysis; DTA) เทคนิค Differential scanning calorimetry (DSC) และ เทคนิค
Thermogravimetry (TGA) หรือการวิเคราะห์เชิงน้ าหนัก เป็ นต้น โดยสองเทคนิคแรกจะวิเคราะห์เชิงความ
ร้อนของปฏิกริ ยิ าที่เกิดขึน้ ในเมื่ออุณหภูมขิ องวัสดุเพิม่ ขึน้ หรือลดลง ว่าเป็ นปฏิกริ ยิ าดูดความร้อนหรือคาย
ความร้อน ส่วนเทคนิคสุดท้ายจะติดตามการเปลีย่ นแปลงน้าหนักของวัสดุเมือ่ อุณหภูมสิ งู ขึน้ ซึง่ เทคนิคต่าง ๆ
ดังกล่าวเป็ นทีน่ ิยมใช้ในการติดตามการเปลีย่ นแปลงแก้วทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ อาทิเช่น ช่วงการเปลีย่ นเป็ นแก้ว
(Glass transformation) อุณหภูม ิ Fictive อุณหภูมกิ ารเกิดผลึก (Crystallisation temperature) และจุดอ่อน
ตัว (Softening point) เป็ นต้น ในทีน่ ้จี ะกล่าวถึงเทคนิค DSC ทีใ่ ช้ตดิ ตามพฤติกรรมทางความร้อนของแก้ว

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 139


Differential Scanning Calorimetry เป็ นเทคนิคที่พฒ ั นามาจากเทคนิคการวิเคราะห์ความร้อ นเชิง
อนุ พ ัน ธ์ (Differential thermal analysis; DTA) ซึ่ง เป็ นเทคนิ ค ที่เ ปรีย บเทีย บอุ ณ หภู ม ิข องวัส ดุ ท่ีส นใจ
(Sample) กับสารมาตรฐาน (Standard) หากไม่เกิดการเปลีย่ นแปลงใด ๆ (ไม่ดูดความร้อนหรือไม่คายความ
ร้อน) อุณหภูมขิ องระบบทัง้ สองควรจะไม่แตกต่างกัน ค่าทีไ่ ด้จากเครือ่ งวิเคราะห์จะมีค่าเท่ากับ 0 หากเกิดการ
เปลีย่ นแปลงขึน้ ในวัสดุทส่ี นใจเช่นการคายความร้อนของวัสดุเพื่อสร้างผลึกใหม่จะทาให้ความร้อนของวัสดุท่ี
สนใจสูงกว่าสารมาตรฐาน ทาให้สามารถติดตามปฏิกริ ยิ าต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ทีอ่ ุณหภูมติ ่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม
DTA ไม่ทาให้ทราบค่ าที่แ ท้จริงของการเปลี่ยนแปลงพลังงานหรือ เอนทาลปี (H) หรือ ความร้อ นจาเพาะ
(Specific heat) ของปฏิกริ ยิ าต่าง ๆ ที่เกิดขึน้ ในวัสดุ DSC จึงได้พฒ ั นาข้อด้อยของ DTA ดังกล่าว สาหรับ
วัสดุแก้วกราฟที่ได้จากเทคนิค DSC จะมีลกั ษณะดังรูป 9.4 ซึ่งติดตามพฤติกรรมทางความร้อนของแก้ว ใน
ระหว่างเพิม่ อุณหภูม ิ ซึง่ จะเกิดการเปลีย่ นแปลงดังนี้

- การเปลีย่ นเป็ นแก้ว (Glass transformation; Tg) ในระหว่างทีอ่ ุณหภูมสิ งู ขึน้ แก้วซึง่ อยูใ่ นสถานะ
ของแข็ง (Solid) จะเปลี่ยนสถานะเป็ นของเหลว (Liquid) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ทาให้เกิด การ
เปลี่ยนแปลงความร้อ นจาเพาะ (Specific heat) ของแก้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของความร้อ น
จาเพาะดังกล่าวจะเกิดการหน่วงทางความร้อนเมือ่ เทียบกับสารอ้างอิง ทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลง
เส้นฐาน (Baseline) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเส้นฐานจะใช้ หาอุณหภูมกิ ารเปลี่ยนเป็ นแก้ว Tg ด้วย
การลากเส้นสัมผัสสองเส้นดังแสดงอยูต่ รงมุมซ้ายล่างของรูป 9.4
- เมื่ออุณหภูมสิ ูงขึน้ จะเกิดการคายพลังงาน (Exothermic) เนื่องจากการตกผลึก (Crystallisation)
ขึน้ ในแก้ว ซึ่งจะมีลกั ษณะเป็ นพีค (Peak) เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงเอนทาลปี (H) ของ
ระบบ ดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วว่าการเกิดผลึกของแก้วอาจเกิดได้หลายชนิดทาให้พคี ทีเ่ กิดขึน้ เกิดได้
หลายอุณหภูม ิ ขึน้ อยูก่ บั ชนิดและปริมาณของผลึกทีเ่ กิดในแก้ว
- จากนัน้ จะเกิด พีค ที่แ สดงถึง การดู ด พลัง งาน (Endothermic) ที่อุ ณ หภูม ิสูง สุ ด เนื่ อ งจากเป็ น
อุ ณ หภูมทิ ่ผี ลึก ที่เ กิดขึ้นเกิด การหลอม นัน่ คือ เป็ นจุดหลอมเหลว (Melting point) ของผลึกที่
เกิดขึน้ ก่อนหน้านี้นัน่ เอง อย่างไรก็ตามพีคที่แสดงการดูดพลังงานนัน้ อาจเกิดจากการปฏิกริ ยิ า
การเปลี่ยนแปลงจากของแข็งชนิดหนึ่งเป็ นของแข็งอีกชนิด หนึ่ง (Solid-solid transformation)
เช่นการเปลีย่ นวัฏภาคจาก -ควอท์ซ (-Quartz) เป็ น -ควอท์ซ (-Quartz) เป็ นต้น
-

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 140


รูป 9.4 กราฟ DSC ของแก้วโดยทัวไป
่ ซึง่ จะประกอบด้วยปฏิกริ ยิ าต่าง ๆ หรือการเปลีย่ นแปลงต่าง ๆ เมือ่
ได้รบั ความร้อน [ทีม่ า J.E. Shelby (2005)]

9.4 สมบัติทางเคมี (Chemical properties)

สมบัตทิ างเคมีของแก้วยกตัวอย่างเช่นความทนทานต่อสารเคมี และ การแลกเปลีย่ นไอออน เป็ นต้น


ในทีน่ ้ีจะกล่าวถึงความทนทานต่อสารเคมี (Chemical durability) แก้วซิลเิ กตจะเป็ นแก้วทีม่ คี วามทนทานต่ อ
การกัดกร่อ นได้ดีใ นบรรยากาศ น้ า สารละลายน้ า และสารละลายอื่น ๆ นอกจากนี้ยงั พบว่าแก้ว ซิล ิเกต
สามารถทนต่ อ สารละลายกรดได้ดีก ว่ า สารละลายด่ า ง โดยความทนทานต่ อ สารเคมีนั ้น จะขึ้น อยู่ กับ
องค์ประกอบทางเคมีของแก้ว หากแก้วเกิดการกัดกร่อนจะเกิดเป็ นฝ้ าสีขาวขุ่นปกคลุมทีผ่ วิ แก้ว เช่นกรณีของ
การเกิดปฏิกริ ยิ ากับความชืน้ ในอากาศของแก้วบอเรตบางองค์ประกอบ เป็ นต้น

การกัดกร่อ นของแก้ว ที่ส าคัญ ในเชิงอุ ต สาหกรรมจะพิจ ารณาการเกิดปฏิกิร ิยาในสารละลายน้ า


(Aqueous solution) และน้ า ซึง่ สารทีล่ ะลายออกมาจากแก้วอาจส่งผลอย่างร้ายแรงต่อการใช้งาน เช่นหากมี
การละลายออกมาปนกับอาหารที่บรรจุอยู่ก็จะทาให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เป็ นต้น ในแก้วซิลเิ กตที่ม ี

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 141


อัลคาไลน์ออกไซด์เป็ นส่วนประกอบ พบว่าแก้วจะทาปฏิกริ ยิ ากับสารละลายน้ าทาให้ไอออนของอัลคาไลน์
ละลายออกมาจากแก้ว ซึ่งปริมาณที่ละลายออกมาขึ้นอยู่กบั ค่าความเป็ น กรดด่าง (pH) ของสารละลาย ดัง
แสดงในรูป 9.5 ซึง่ แสดงปริมาณโซเดียมไอออนทีล่ ะลายออกมาทีเ่ วลาและค่าความเป็ นกรดด่างต่าง ๆ และ
ยังพบว่าไอออนของอัลคาไลน์ทผ่ี วิ แก้วจะละลายออกมาก่อน จากนัน้ เมือ่ ปริมาณอัลคาไลน์ลดลงจะทาให้แก้ว
บริเวณผิวมีซลิ กิ า (SiO2) สูงเสมือนเป็ นชัน้ ป้ องกันปกคลุมแก้ว ทาให้เกิดปฏิกิรยิ าช้าลง ซึ่งจะเห็นได้ จาก
รูป 9.5 ว่าในสารละลายกรด (pH = 3.1) ปริมาณอัลคาไลน์ทล่ี ะลายออกมานัน้ จะเริม่ คงทีเ่ มื่อเวลาผ่านไป ใน
ส่วนของสารละลายด่าง (pH = 10.6 11.4 และ 12.5) พบว่าปริมาณอัลคาไลน์ทล่ี ะลายออกมาสู งกว่าและเกิด
ในอัตราเร็ยวสูงกว่า โดยการทดลองทาในสารละลายไฮโดรคลอริก (HCl) และ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
(KOH) ที่ pH ต่าง ๆ

รูป 9.5 การละลายของไอออนของโซเดียมจากแก้วทีม่ อี งค์ประกอบทางเคมีคอื


15%wtNa2O12%wtCaO75%wtSiO2 ในสารละลายไฮโดรคลอริกและโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ท่ี pH ต่าง
ๆ ทีอ่ ุณหภูม ิ 100 เซลเซียส [ทีม่ า J. Hlavac (1983)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 142


โดยกลไกการเกิดปฏิกริ ยิ าการกัดกร่อนของแก้วซิลเิ กตนัน้ มีดงั นี้

ขัน้ ที่ 1 การแลกเปลี่ยนไอออนระหว่างอัลคาไลน์ ไอออนกับไฮโดรเจนไอออน (H+) หรืออัลคาไลน์


ไอออนในแก้วกับไฮดรอกซิลไอออน (OH–) ซึง่ อาศัยกระบวนการแพร่ (Diffusion) ของไอออนต่าง ๆ ในแก้ว
โดยจะเป็ นกระบวนการที่ข้นึ อยู่ก ับเวลาที่ทาปฏิกิรยิ า โดยเมื่อเวลาเปลี่ยนไปอัต ราการเกิดปฏิกิรยิ าการ
แลกเปลีย่ นไอออนและการแพร่จะช้าลง เมื่อเกิดการแลกเปลีย่ นไอออน จะเกิดชัน้ ป้ องกัน (Protective layer)
ซึ่งคือชัน้ ที่ถูกกัดกร่อนไปแล้ว (Corroded layer) นัน่ เอง สาหรับแก้วซิลเิ กตก็คอื ชัน้ ที่มซี ลิ กิ าสูงดังที่กล่าว
มาแล้วข้างต้น ซึง่ ชัน้ ป้ องกันนี้เป็ นสิง่ ทีท่ าให้อตั ราการเกิดการแลกเปลีย่ นไอออนช้าลง โดยความหนาของชัน้
ป้ องกัน (x) จะมากขึน้ เมื่อเวลาเพิม่ ขึน้ และความหนานี้เองส่งผลต่อ อัตราการแพร่ของไอออนทีถ่ ูกแลกเปลีย่ น
(อัลคาไลน์ไอออน) ผ่านชัน้ ป้ องกันจากด้านในเนื้อแก้วออกมาสู่สารละลาย โดยอัตราการแพร่จะแสดงในรูป
ของสัมประสิทธิ ์การแพร่ (Diffusion coefficient; D)

ขัน้ ที่ 2 เกิดการกัดกร่อนชัน้ ป้ องกันที่เกิดขึน้ โดยอัตราการกัดกร่อนชัน้ นี้จะมีอตั ราการกัดกร่อนผิว


คงทีเ่ ท่ากับ B (cms-1)

จากขัน้ ตอนทัง้ สองดังกล่าวทาให้สามารถอธิบายอัตราการเปลีย่ นแปลงหรือการกัดกร่อนในรูปของสมการทาง


คณิตศาสตร์ได้ (สมการ 9.7) ในกรณีของแก้วซิลเิ กตที่อยู่ในสารละลายกรดขัน้ ตอนการกัดกร่อนชัน้ ป้ องกัน
(ขัน้ ที่ 2) จะช้ามาก แต่หากอยูใ่ นสารละลายด่างจะเกิดขึน้ เร็วมาก เมือ่ ระยะเวลาผ่านไปอัตราการเกิดปฏิกริ ยิ า
ของทัง้ สองขัน้ จะเท่ากัน ซึง่ ส่งผลให้อตั ราการเปลีย่ นแปลงของแก้วในสารละลายกรดและด่างมีค่าคงที่ (จาก
รูป 9.5 จะเห็นการเปลีย่ นแปลงเมือ่ เวลาเปลีย่ นไปเส้นกราฟจะมีความชันคงที)่ ซึง่ ความหนาของชัน้ ป้ องกันที่
เวลาใด ๆ จะสัมพันธ์กบั สัมประสิทธิ ์ของการแพร่ (D) และอัตราการกัดกร่อนผิว (B) ดังสมการ 9.7

dx D 
 2  B  สมการ 9.7
dt x 

โดยความหนาสุดท้ายของชัน้ ป้ องกันคือความหนาทีไ่ ม่มกี ารเปลีย่ นแปลงเมือ่ เวลาเพิม่ ขึน้ (dx/dt = 0) ซึง่ เกิด
ในกรณีทข่ี นั ้ ตอนทัง้ สองมีอตั ราการเกิดปฏิกริ ยิ าเท่ากัน ส่งผลให้สามารถคานวณหาค่า x ได้เท่ากับ D/B และ
หากอัต ราการกัด กร่ อ นผิว (B) มีค่ า มากกว่ า อัต ราการแพร่ ม าก ท าให้ช ัน้ ป้ อ งกัน จะมีค วามหนาน้ อ ย
กระบวนการแพร่จงึ ไม่ส่งผลต่อปฏิกริ ยิ าระหว่างแก้วกับสารละลายมากนัก ทาให้เกิดการกัดกร่อนได้เร็ว (พบ
ในกรณีสารละลายด่างทีม่ ี pH สูง)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 143


9.5 สมบัติทางกล (Mechanical properties)

แก้วถือเป็ นวัสดุเปราะ (Brittle materials) เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุกลุ่มเดียวกัน (วัสดุอนินทรีย)์ เช่น


เซรามิก และ โลหะ เป็ นต้น พบว่า แก้ว จะมีค วามแข็งแรงต่ าสุ ด นอกจากนัน้ แก้ว ยังสามารถทนต่ อ การ
เปลี่ยนแปลงของอุณหภูมอิ ย่างฉับพลัน (Thermal shock resistance) ได้ต่ าสุดอีกด้วย การพิจารณาความ
แข็งแรงของแก้ว อาจพิจารณาความทนทานต่ อ แรงเชิงกลที่กระทากับ แก้ว จนแก้ว เกิดความเสียหาย ซึ่ง
เรียกว่า Fracture strength หรืออาจพิจารณาจากมอดูลสั ความยืดหยุ่น (Elastic modulus; E) หรือ ความแข็ง
(Hardness) ซึ่งจะอธิบายเกี่ยวกับความแข็งแรงของโครงสร้างแก้ว ความหนาแน่ น ในการจัดเรียงตัว ของ
อะตอมของแก้วและความแข็งแรงพันธะต่าง ๆ ในแก้ว ซึง่ ถือเป็ นปั จจัยภายใน (Inherent factors)

9.5.1 มอดูลสั ความยืดหยุ่น (Elastic modulus)

มอดูลสั ความยืดหยุ่น (Elastic modulus; E) หรือ มอดูลสั ของยัง (Young’s modulus) คืออัตราส่วน
ระหว่างความเครียด (Strain; ) ซึง่ เป็ นผลมาจากการให้ความเค้นแก่วสั ดุ (Stress; ) ซึง่ สามารถแสดงดัง
สมการ 9.8

  E สมการ 9.8

หากให้ความเค้นจากแรงดึง (Tensile stress) กับชิน้ งานในแนวแกน x ชิน้ งานจะขยายตัวในแนวแกน x และ


ทาให้เกิดการหดตัวของวัสดุในแนวแกน y และ z ส่งผลต่ออัตราส่วนของความเครียดในแนวแกน y และ z
หรือ transverse strain และ ความเครียดในแนวแกน x หรือ Axial strain ซึ่งอัตราส่วนนี้เรียกว่าอัตราส่ว น
ปั วซอง (Poisson’s ratio; ) ค่าอัตราส่วนปั วซองของแก้วจะมีค่ าประมาณ 0.2 – 0.3 ยกเว้นของแก้วซิลเิ กต
ทีอ่ ตั ราส่วนปั วซองต่ากว่าทีป่ ระมาณ 0.17

ความแข็งแรงของวัสดุยงั สามารถพิจารณาได้จากแรงกระทาที่ให้กบั วัสดุ (F) ซึ่งส่งผลให้ระยะห่าง


ระหว่างอะตอม (r) เปลีย่ นไปดังแสดงในรูป 9.6 (กราฟของ Condon-Morse) และแสดงดังสมการ 9.9

a b
F n
 m สมการ 9.9
r r

เมือ่ a b n และ m เป็ นค่าคงที่

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 144


จากรูป 9.6 แสดงให้เห็นจุดตัดแกน x คือความยาวเฉลี่ยของพันธะต่าง ๆ หรือระยะห่างระหว่างอะตอมใน
วัสดุ (r0) และแรงกระทาภายนอกจะทาให้ระยะห่างระหว่างอะตอมเปลีย่ นไปตามสมการ 9.10


r  r0  สมการ 9.10
r0

เมือ่ r คือ ระยะระหว่างอะตอมหลังได้รบั แรงกระทา (Strained interatomic distance)

โดยความชันของกราฟระหว่างแรง (F) และระยะห่างระหว่างอะตอม (r) ทีร่ ะยะห่างระหว่างอะตอมเท่ากับ r0


จะเป็ นค่ามอดูลสั แรงเฉือน (Shear modulus; G) ซึ่งมีความสัมพันธ์กบั ความเครียดจากแรงเฉือน (Shear
strain; ) และความเค้นจากแรงเฉือน (Shear stress; ) ดังสมการ 9.11 และยังมีความสัมพันธ์กบั มอดูลสั
ความยืดหยุน่ กับอัตราส่วนปั วซองดังสมการ 9.12

  G สมการ 9.11

E
G สมการ 9.12
2(1   )

รูป 9.6 กราฟของ Condon-Morse ระหว่างแรง (F) และ ระยะระหว่างอะตอม (r) [ทีม่ า J.E. Shelby (2005)]

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 145


9.5.2 ความแข็ง (Hardness)

ความแข็งของวัสดุสามารถหาได้จาก 2 วิธคี อื การพิจารณาจากการขูดขีด หรือที่เรียกว่า Scratch


hardness ซึง่ จะเปรียบเทียบความแข็งได้ 10 ระดับ ตามระดับความแข็งของโมหส์ (Mohs scale) ทีส่ รุปไว้ใน
ตาราง 9.2 ซึ่งได้จากการขูดขีดของแร่ท่พี บตามธรรมชาติ โดยแร่ท่แี ข็งกว่าก็จะทาให้เกิดรอยขูดบนแร่ท่มี ี
ความแข็งน้อยกว่า เช่น เพชร (ความแข็งระดับ 10) จะสร้างรอยขูดขีดบนแร่คอรันดัม (ความแข็งระดับ 9) ได้
และการพิจารณาจากรอยกด (Indentation hardness) เช่นการหาความแข็งโดยใช้หวั กดทรงกลม หรือ ที่
เรียกว่า Brinell indentation hardness และการหาความแข็งโดยใช้หวั กดพีรามิด หรือ Vickers indentation
hardness ดังแสดงในรูป 9.7 โดยการพิจารณาความแข็งของวัสดุจะดูจากรอยกดทีเ่ กิดขึน้ ในเนื้อวัสดุ

ตาราง 9.2 ความแข็งตามระดับของโมหส์ (Mohs scale hardness)

ค่าความแข็ง แร่เปรียบเทียบ ค่าความแข็ง แร่เปรียบเทียบ


1 ทัลค์ (Talc) 6 ออร์โทเคลส (Orthoclase)
2 ยิปซัม (Gypsum) 7 ควอตซ์ (Quartz)
3 แคลไซต์ (Calcite) 8 โทปาส (Topas)
4 ฟลูออไรท์ (Fluorite) 9 คอรันดัม (Corundum)
5 อะพาไทต์ (Apatite) 10 เพชร (Diamond)

แก้วออกไซด์ทวไปจะมี
ั่ ความแข็งตามระดับของโมหส์อยูใ่ นช่วง 5 – 7 และมีความแข็งทีห่ าจากหัวกด
แบบวิกเกอร์ (Vickers hardness) อยู่ในช่วง 2 – 8 GPa (ความแข็งของเพชรอยู่ท่ปี ระมาณ 100 GPa) โดย
แก้วซิลเิ กตเป็ นแก้วที่มคี วามแข็งสูง ส่วนแก้วบอเรต เจอร์มาเนต และฟอสเฟตเป็ นแก้วทีค่ วามแข็งต่ า และ
แก้วชอลโคจีไนด์จะมีความแข็งน้อยสุด (ความแข็งประมาณ 0.3 GPa สาหรับแก้วซีลเี นียม)

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 146


รูป 9.7 ลักษณะหัวกดแบบต่าง ๆ ในการวัดความแข็งของวัสดุ
[ทีม่ า http://www.astm.org/SNEWS/MJ_2010/e0405_mj10.html
และ http://www.twi-global.com/technical-knowledge/job-knowledge/hardness-testing-part-1-074]

9.6 สมบัติทางแสง (Optical properties)

แก้วเป็ นวัสดุไม่ก่ปี ระเภทที่แสง Visible light ส่องผ่านได้ ทาให้แก้วมีการประยุกต์ใช้งานโดยอาศัย


ประโยชน์ของการส่องผ่านของแสงมากมาย เช่น ใช้ในอาคารบ้านเรือนเพื่อให้แสงแดดส่องผ่านเข้ามาในบ้าน
ได้ ใช้เป็ นกระจกหน้าต่าง ใช้ประดับตกแต่งเพื่อความสวยงาม และหลอดไฟ เป็ นต้น นอกจากนัน้ แก้วยัง ถูก
ปรับปรุงสมบัติเชิงแสงเพื่อ ให้สามารถใช้ในงานที่มคี วามทันสมัยมากขึ้น เช่นใช้ในอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิคส์
เครือ่ งมือวิเคราะห์ขนั ้ สูงต่าง ๆ หรือใช้นาสัญญาณเพื่อการติดต่อสื่อสาร (optical waveguide) เป็ นต้น

สมบัติทางแสงของแก้ว สามารถแบ่ งกลุ่ ม ย่อ ยได้ส ามกลุ่ มดัง นี้ (1) สมบัติเ ชิงแสงโดยรวม (Bulk
optical properties) เช่น ค่าดัชนีหกั เหแสง (Refractive index) และ การกระเจิงแสง (Dispersion) (2) สมบัติ
ที่ข้นึ กับ ความยาวคลื่น เช่ น การเกิด สีใ นแก้ว เป็ น ต้น และ (3) สมบัติอ่ืน ๆ ขัน้ สูง เช่ น ความไวแสง
(Photosensitivity) สมบัติ Photochromism และ การกระเจิงแสง เป็ นต้น

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 147


9.6.1 ค่าดัชนี หกั เหแสง (Refractive index)

ความสามารถในการหักเหแสงเชิงโมล (Molar refractivity; Rm) จะเป็ นสัดส่วนกับความสามารถใน


การเกิดขัว้ ของไอออนต่าง ๆ ที่เป็ นองค์ประกอบในแก้ว ซึ่งความสามารถในการหักเหแสงเชิงโมลสามารถ
อธิบายในรูปของสมการได้ดงั สมการ 9.13

 n2 1 
Rm  Vm  2 
 สมการ 9.13
n  2

เมือ่ Vm คือ ปริมาตรต่อโมลของแก้ว

n คือ ค่าดัชนีหกั เหแสงทีค่ วามยาวคลื่นทีส่ นใจ

ค่าความสามารถในการหักเหแสงเชิงโมลยังสามารถคานวณได้จากแต่ละไอออนทีเ่ ป็ นองค์ประกอบ เช่นการ


หาค่าความสามารถในการหักเหแสงเชิงโมลของสารประกอบ AxBy จะหาจากผลรวมของผลคูณระหว่างการ
หักเหแสงของไอออนทีเ่ ป็ นองค์ประกอบ (Rn) กับความเข้มข้นของแต่ละองค์ประกอบในแก้วดังสมการ 9.14

Rm  xRA  yRB สมการ 9.14

เนื่องจากการหักเหแสงของไอออนขึ้นอยู่กบั ความสามารถในการเกิดขัว้ ของไอออน ค่าการหักเหแสงของ


ไอออนจะสูง เมื่อ ไอออนมีข นาดใหญ่ แ ละมีค วามแรงของสนามต่ า (Low field strength) เช่ น ไอออนของ
ทาลเลียม (Tl+) และไอออนของตะกัว่ (Pb2+) สาหรับแก้วออกไซด์วธิ กี ารคานวณนี้จะให้ค่าที่มคี วามผิดพลาด
สูง เนื่องจากการหักเหแสงของออกซิเจนไอออนขึน้ อยู่กบั โครงสร้างแก้ว เช่น ออกซิเจนทีเ่ ชื่อมต่อระหว่างตัว
โครงสร้างแก้ว (Bridging oxygen) จะแตกต่างจากออกซิเจนที่ไม่เชื่อมต่อระหว่างตัวโครงสร้างแก้ว (Non-
bridging oxygen) และยัง ขึ้น อยู่ ก ับ ธรรมชาติข องไอออนที่ท าหน้ า ที่เ ป็ นตัว ปรับ สภาพแก้ ว ( Network
modifier) หรือ ไอออนบวกต่าง ๆ ที่เกิดพันธะไอออนิกกับออกซิเจน ดังนัน้ ในการคานวณจะใช้เป็ น เพียง
แนวทางเบือ้ งต้นในการหาค่าการหักเหแสงของแก้วเท่านัน้

จากสมการ 9.13 แสดงให้เห็นว่าค่าดัชนีหกั เหแสงของแก้วจะขึน้ อยูก่ บั สัดส่วนระหว่างการหักเหแสง


เชิงโมลกับปริมาตรต่อโมล ดังนัน้ ถ้าแก้วมีปริมาตรต่อโมลต่ าก็จะทาให้มคี ่าดัชนีหกั เหแสงสูงเมื่อพิจารณาใน
แก้วทีม่ ไี อออนทีม่ คี ่าความสามารถในการเกิดขัว้ (Polarisability) ใกล้เคียงกัน เช่นในกรณีแก้วเจอร์มาเนตที่ม ี
ชนิดและปริมาณอัลคาไลน์ออกไซด์ในปริมาณที่ต่างกัน จะทาให้ค่าดัชนีหกั เหแสงของแก้วต่างกันด้วย ดัง
แสดงในรูป 9.8 โดยพบว่าแก้วที่มลี ิเทียมออกไซด์เป็ นส่ว นประกอบจะทาให้โครงข่ายแก้ว ชิดกันมากขึ้น
ดังนัน้ หากเติมลิเทียมออกไซด์เพิม่ ขึน้ ปริมาตรต่อ โมล (Molar volume) ของแก้วจะลดลง ส่งผลต่อค่าค่าดัชนี

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 148


หักเหแสงทาให้มคี ่าสูงขึน้ โดยทัวไปในการรายงานสมบั
่ ตทิ างแสงของแก้วมักรายงานค่าความสามารถในการ
หักเหแสงจาเพาะ (Specific refractivity; Rs) แทนการใช้ค่าปริมาตรต่อโมลของแก้วดัง สมการ 9.15 ค่าการ
หักเหแสงจาเพาะจะมีความสัมพันธ์กบั ความหนาแน่นของแก้ว

1  n 2  1 
Rs  สมการ 9.15
  n 2  2 

รูป 9.8 ผลของชนิดของอัลคาไลน์ออกไซด์ (Li2O, Na2O และ K2O) ต่อค่าดัชนีหกั เหแสงของแก้วอัลคาไลน์


เจอร์มาเนต [ทีม่ า J.E. Shelby (2005)]

9.6.2 ค่าการกระจายแสง (Light dispersion)

การกระจายแสงในแก้วเกิดเมื่อแก้วมีค่าการหักเหแสงทีเ่ ปลี่ยนไปเมื่อความยาวคลื่นแสงเปลี่ยน ซึง่


สามารถมองเห็นภาพได้ชดั เจนมากขึ้นหากพิจารณาการกระจายแสงที่ความยาวคลื่นต่ าง ๆ (เห็นเป็ นสี
ต่าง ๆ) เมื่อแสงขาว (White light) ผ่านปริซมึ แก้วดังรูป 9.9 ซึง่ การกระจายแสงนี้อาจส่งผลทาให้เกิดปั ญหา
ความคลาดเคลื่อนของสี หรือความคลาดรงค์ (Chromatic aberration) ในแก้วที่ใช้ทาเลนส์ การรายงานค่ า
การกระจายแสงจะรายงานในลักษณะของการกระจายแสงเฉลี่ย (Mean dispersion) ระหว่างสองความยาว
คลื่นใด ๆ โดยมักใช้ความยาวคลื่นเท่ากับ 486.1 และ 656.3 นาโนเมตร ดังสมการ 9.16

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 149


Mean dispersion = nF – nC สมการ 9.16

เมือ่ nF และ nC คือ ดัชนีหกั เหแสงทีว่ ดั ทีค่ วามยาวคลื่น 486.1 และ 656.3 นาโนเมตร ตามลาดับ

นอกจากนัน้ ในแก้วที่ใช้งานทางด้านแสง เช่น เลนส์แก้ว จะรายงานค่าเลข Abbe (Abbe number; ) จะใช้


อธิบายการกระจายแสงของแก้วเลนส์อกี ด้วย

รูป 9.9 การกระจายของแสงขาวผ่านปริซมึ ทีท่ าให้เกิดการหักเหแสงต่างกันเมือ่ ความยาวคลื่นแสงต่างกัน

คาถามท้ายบท

1. จงอธิบายความแตกต่างของสมบัตแิ ละลักษณะเฉพาะของวัสดุ

2. จงคานวณหาปริมาตรต่อโมลของแก้ว 0.16Li2O0.08Na2O0.76B2O3 ที่มคี วามหนาแน่ น 2.2 กรัมต่อ


ลูกบาศก์เซนติเมตร

3. มีปัจจัยใดบ้างทีส่ ่งผลต่อการเปลีย่ นแปลงสมบัตทิ างเคมี ทางกล และทางแสงของแก้ว และปั จจัยต่าง ๆ


ดังกล่าวส่งผลอย่างไร

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 150


บรรณานุกรม
[1] ASTM, Microindentation Hardness (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก : http://www.astm.org/
SNEWS/MJ_2010/e0405_mj10.html, เข้าถึงเมือ่ 7 พฤศจิกายน 2557.
[2] Babcock, C. L., Silicate Glass Technology Methods, John Wiley & Sons, Inc, The United States
of America, 1977.
[3] Best B, Lessons for Cryonics from Metallurgy and Ceramics (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก :
http://www.benbest.com/cryonics/lessons.html, เข้าถึงเมือ่ 11 มกราคม 2558.
[4] BDF Industries, Forming Process (ออนไลน์ ) , เข้า ถึง ได้ จ าก: http:/www.bdfindustriesgroup.com/
glass_container_forming, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.
[5] Brad, Low iron glass manufacturing technology for Solar cell ( อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก :
www.sneresearch.com/eng/info/show.php?c_id=4889&pg=8&s_sort=&sub_cat=&s_type=
&s_word=, เข้าถึงเมือ่ 12 มกราคม 2557.
[6] British glass Manufacturers' Confederation, Container Glass Manufacture by Automatic Process
(ออนไลน์ ) , เข้าถึงได้จาก: http://www.britglass.org.uk/container-glass-manufacture, เข้าถึง
เมือ่ 16 มกราคม 2558.
[7] Chaffee D. , The Coming Market for Optical Fiber and Cable ( อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก :
http://www.photonics.com/Article.aspx?AID=49953, เข้าถึงเมือ่ 7 เมษายน 2557.
[8] CoSMiLE, Interventions in Glass Sector (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก : http://www.cosmile.org/
glass.htm, เข้าถึงเมือ่ 7 มกราคม 2558.
[9] Direct Industry, NETZSCH-Horizontal push-rod dilatometer (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.
directindustry.com/prod/netzsch-geratebau-gmbh/dilatometer-push-knob-horizontal-39926
-416653.html, เข้าถึงเมือ่ 6 มกราคม 2558.
[10] Eitel, W., Silicate Science, Academic Press, New York, The United States of America, Vol. 8 ,
1976.
[11] Encyclopaedia Britannica, Inc., float-glass method (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก : http://global.
britannica.com/EBchecked/topic/210354/float-glass-method, เข้าเมือ่ 16 มกราคม 2558.
[12] Eurotherm, Tube glass (ออนไลน์ ) , เข้าถึงได้จาก: http://www.eurotherm.com.au/en-gb/industries/
glass/tube-glass/, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 151


[13] G&D Viking Glass INC., Flat Glass Products (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.gdvikingglass.
com/flat_glass.htm, เข้าถึงเมือ่ 7 เมษายน 2557.
[14] Glass Note 4.0, The Free Standing Pot Furnace (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.glassnotes.
com/notes.html, เข้าถึงเมือ่ 7 มกราคม 2558.
[15] Hlavac, J., Glass Science and Technology, Elsevier Science Publishing Company,
Czechoslovakia, 1983.
[16] Kurinsky S., Glassmaking: A Jewish Tradition Part III: Flint Glass and the Jews of Genoa
Fact Paper 6-III (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.hebrewhistory.info/factpapers/fp006-
3_glass.htm, เข้าถึงเมือ่ 20 เมษายน 2557.
[17] Laorodphan, N., Structural Studies of Thallium Containing Germanate and Borate Glasses
and Crystalline Phases, Thesis, Department of Physics, The University of Warwick,
2012.
[18] Laorodphan, N., Namwong, P., Thiemsorn, W., Jaimasith, M., Wannagon, A., Chairuangsri, T., A
low silica, barium borate glass-ceramic for use as seals in planar SOFCs, Journal of
Non-Crystalline Solids, 355 (1), 38-44, 2009.
[19] Laorodphan, N., Sujirote, K., Atong, D., Dateraksa, K. Mechanical Enhanced Reactivity of the
Decomposition Reaction of Dolomite (CaMg(CO3) 2) , The Third Thailand Materials
Science and Technology Conference, Miracle Grand Convention Hotel, Bangkok, Miracle
Grand Convention Hotel, Bangkok, 207-209, 2004.
[20] Leicher J., Giese A., Reduce NOx Emissions in Glass Melting Furnaces (ออนไลน์ ) , เข้าถึงได้
จาก: www. http://www.glassonweb.com/articles/article/854/, เข้าถึงเมือ่ 7 มกราคม 2558.
[21] Mathers G., Hardness Testing Part 1 (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก : http://www.twi-
global.com/technical-knowledge/job-knowledge/hardness-testing-part-1-074/, เข้าถึงเมื่อ 7
พฤศจิกายน 2557.
[22] Mysen, B., Richet, P., Development in Geochemistry, Elsevier Inc., The Natherlands, Vol. 1 0 ,
2005.
[23] National Television System Committee, Colour physics: eyes, CIE (ออนไลน์ ) , เข้ า ถึ ง ได้ จ าก:
http://www.ntsc-tv.com/ntsc-index-05.htm, เข้าถึงเมือ่ 10 มกราคม 2558.
[24] Nippon Electric Glass Co., Ltd., Process Technology (ออนไลน์ ) , เข้าถึงได้จาก: http://www.neg.
co.jp/EN/technology/process.html, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 152


[25] Parkinson-Spencer Refractories Ltd,. Metering Spout System (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก :
http://www.parkinson-spencer.co.uk/SpecialParts.html, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.
[26] PPG Industries, Heated glass comparison (ออนไลน์ ) , เข้ า ถึ ง ได้ จ าก: http://educationcenter.
ppg.com/glasstopics/heated_glass.aspx, เข้าถึงเมือ่ 10 มกราคม 2558.
[27] Rao, B. V. J., Influence of TiO2 on Properties of Glasses in the System K2O–PbO–SiO2–TiO2
and Its Relation to Structure, Journal of the American Ceramic Society, 46 (3), 107-114,
1963.
[28] Rao, K. J., Structural Chemistry of Glasses, Elsevier Science Ltd, Oxford, 2002.
[29] RASKO, Production (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.rasko.ru/en/manufacture/. เข้าถึงเมื่อ 16
มกราคม 2558.
[30] SCHOTT AG, Products (ออนไลน์ ), เข้าถึงได้จาก: http://www.schott.com, เข้าถึงเมื่อ 7 เมษายน
2557.
[31] Shand, E. B., Glass Engineering Handbook. 2nd ed., McGraw-Hill Book Company, New York, The
United States of America, 1958.
[32] Shelby, J. E., Introduction to Glass Science and Technology, 2nd ed., The Royal Society of
Chemistry, United Kingdom, 2005.
[33] Solar Decathlon China, Distributer and Forehearth (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://www.cgeglass
.com.cn/cge/en, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.
[34] The Bombay Harbor, thick wall quartz glass tube (อ อ น ไ ล น์ ) , เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก : http://www.
bombayharbor.com/Product/27805/Thick_Wall_Quartz_Glass_Tube.html, เข้ า ถึ ง เมื่ อ 24
เมษายน 2557.
[35] Tom, Stained Glass - on a License Plate (ออนไลน์ ) , เข้ า ถึ ง ได้ จ าก: http://www.krepcio.com/
vitreosity/archives/2008_04.html, เข้าถึงเมือ่ 20 เมษายน 2557.
[36] Torres, C. d. S., Schaeffer, L., Effect of high energy milling on the microstruture and
properties of Wc-Ni composite. Materials Research, 13, 293-298, 2010.
[37] Trier, W., Glass Furnace: Design Construction and Operation, (Loewenstein, K.L., Trans.),
Sheffield, Society of Glass Technology, 1987.
[38] University of Portsmouth, Glass (ออนไลน์ ) , เข้า ถึง ได้ จ าก: http://uwe.port.ac.uk/glass/oldglass/
section4.htm, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 153


[39] Varshneya, A. K., Fundamentals of Inorganic Glasses, The Society of Glass Technology, United
Kingdom, 2006.
[40] Verallia, Glass production (ออนไลน์ ), เข้าถึงได้จาก: http://de.verallia.com/en/about-glass/glass-
production, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.
[41] W.W Grainger, Inc., Balance Density Kit (ออนไลน์ ) , เข้ า ถึ ง ได้ จ าก: http://www.grainger.com/
product/ADAM-EQUIPMENT-Balance-Density-Kit-19YN73 เข้าถึงเมือ่ 11 มกราคม 2558.
[42] Weyl, W. A., Coloured Glasses. Society of Glass Technology, Huddersfield, United Kingdom,
1999.
[43] Wikipedia, Glasmaschine (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก: http://de.wikipedia.org/wiki/Glasmaschine#IS-
Maschinen, เข้าถึงเมือ่ 16 มกราคม 2558.
[44] WordPress Entries (RSS) and Comments (RSS), SPRING INTO A GLASSY STYLE! (ออนไลน์),
เข้าถึงได้จาก: bloginabottle.com, เข้าถึงเมือ่ 7 เมษายน 2557.
[45] เลาห์รอดพันธุ,์ ณ. การพัฒนากลาสส์เซรามิ กเป็ นสารปิ ดผนึ กในเซลล์เชื้อเพลิ งออกไซด์แข็งแบบ
แผ่น, วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่, 2550.

คอ 351 อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว 154

You might also like