You are on page 1of 27

ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.

4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 1


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
การเมืองการปกครอง
1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรัฐ
Ø ความหมายของรัฐ
รัฐ (State) หมายถึง ชุม ชนทางการเมื องของมนุ ษ ย์ที่ อาศั ยอยู่ร่วมกัน โดยมี อำนาจ
อธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการดำเนินกิจการของรัฐเป็นของตนเอง มีอาณาเขตดินแดนที่แน่นอน
และอยู่ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล/อำนาจการปกครองเดียวกัน
ชาติ (Nation) หมายถึง ชุมชนมนุษย์ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และมี
ความผูกพันในทางวัฒนธรรมร่วมกัน
ประเทศ (Country) หมายถึง ดินแดนที่บ่งชี้ให้เห็นถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ทะเลทราย
เกาะ ความแห้งแล้ง ดินฟ้าอากาศ แม่น้ำ ภูเขา ทะเล ป่าไม้
คำว่า “รัฐ ประเทศ ชาติ” แตกต่างกันอย่างไร
การปกครอ
รัฐ เน้นความสำคัญใน_________________________________
ฒนธร
ชาติ เน้นความสำคัญใน_________________________________
นแด
ประเทศ เน้นความสำคัญใน_________________________________
รัฐ ชาติ (Nation State) เป็นการผสมผสานความหมายของ รัฐ กับ ชาติ เข้าด้วยกัน โดยหมายถึง
ชุ ม ชนของมนุ ษ ย์ ที่ ป ระกอบด้ ว ยลั ก ษณะอั น ได้ แ ก่ มี ค วามผู ก พั น กั น ในทางวั ฒ นธรรม มี ค วามเป็ น มาทาง
ประวัติศาสตร์ร่วมกัน และมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง
Ø องค์ประกอบของรัฐ
1) ประชากร (Population) เป็นพลเมืองของรัฐนั้นโดยไม่มีการกำหนดจำนวน แต่ต้องเป็นพลเมืองที่มา
รวมตัวกันบนพื้นฐานของความผูกพันทางวัฒนธรรม เช่น ภาษา ศาสนา
2) ดินแดน (Territory) รัฐต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน โดยจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้
แบ่งเป็น แผ่นดิน ทะเล (แบ่งเป็นทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล เขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล
ทะเลหลวง อยู่ถัดออกไปจากเขตเศรษฐกิจจำเพาะ) น่านฟ้า (ไม่กำหนด)

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ดิ
วั
ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 2
3) รัฐบาล (Government) คือ องค์กรทางการเมืองที่ทำหน้าที่ในการบริหารปกครองรัฐ
กำหนดนโยบาย ทั้งภายในและภายนอกรัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาความมั่นคง ความปลอดภัย
และให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนของรัฐ
4) อำนาจอธิป ไตย (Sovereignty) คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการมีอำนาจอย่าง
สมบูรณ์และเด็ดขาดในการดำเนินกิจการหรือการปกครองภายในรัฐของตน โดยไม่ถูกควบคุมหรือบงการจากรัฐ
อื่นๆ หากขาดองค์ประกอบข้อนี้จะไม่มีสภาพเป็นรัฐ แต่จะมีสภาพเป็นอาณานิคม (Colony) เช่น มาเก๊า ถือเป็น
เขตปกครองพิเศษของจีน เป็นต้น
องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของรัฐ คือ ________

คำถามชวนคิด
“ฮ่องกง” กับ “นครรัฐวาติกัน” เป็นรัฐหรือไม่
ฮ่องกง (เป็นรัฐ/ไม่เป็นรัฐ) เพราะ___________________________________________
นครรัฐวาติกัน (เป็นรัฐ/ไม่เป็นรัฐ) เพราะ_______________________________________

Ø รูปแบบของรัฐ
รัฐโดยทั่วไปมี 2 รูปแบบ ( สังเกตทีจ่ ำนวนรัฐบาลภายในรัฐ ) ดังนี้
1) รัฐเดี่ยว (Unitary State) หรือ เอกรัฐ
หมายถึง รัฐที่มีเอกภาพ มีรัฐ บาล_____________ที่ใช้อำนาจอธิปไตยปกครอง
ทั่วทั้งดินแดนของรัฐ ประชาชนที่อยู่ในรัฐจะอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเดียวกันทั้งหมด
โดยรัฐบาลกลางจะสั่งตัวแทนจากส่วนกลางไปประจำเพื่อดำเนินการต่าง ๆ ตามนโยบายหรือคำสั่งจาก
รัฐบาลกลาง อำนาจของรัฐบาลกลางเป็นอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
ตัวอย่างรัฐเดี่ยว เช่น _________________________________________

คำถามชวนคิด
“นักเรียนคิดว่ารูปแบบของรัฐเดี่ยว มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง”
ข้อดี
__________________________________________________________
__________________________________________________________
ข้อเสีย
__________________________________________________________
__________________________________________________________

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 3
2) รัฐรวม (Federal State) หรือ สหพันธรัฐ
หมายถึง รัฐ ที่มีรัฐ บาล_____________คือ รัฐบาลกลาง (Federal Government)
และรัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลมลรัฐ (State Government) รัฐบาลแต่ละระดับมีการใช้อำนาจอธิปไตย
แตกต่างกันตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
โดยทั่ ว ไปรัฐ บาลกลางจะควบคุ ม ดู แ ลภารกิ จ สำคั ญ ในระดั บ รัฐ หรือ ระดั บ ประเทศที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ
ผลประโยชน์ส่วนรวมของรัฐทั้งหมด เช่น การติดต่อกับต่างประเทศ การทำสงครามป้องกันประเทศ การเงินและ
การคลัง
ส่ ว นรัฐ บาลท้ อ งถิ่ น หรือ รัฐ บาลมลรัฐ จะดู แ ลสวั ส ดิ ก ารของประชาชนในท้ อ งถิ่ น เช่ น การศึ ก ษา
การสาธารณสุข/การรักษาสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น
ตัวอย่างรัฐรวม เช่น __________________________________________

คำถามชวนคิด
“นักเรียนคิดว่ารูปแบบของรัฐรวม มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง”
ข้อดี
__________________________________________________________
__________________________________________________________
ข้อเสีย
__________________________________________________________
__________________________________________________________

Ø การจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ
1) การรวมอำนาจ (Centralization)
- เรียกว่า ส่วน___ ตั้งอยู่ที่เมืองหลวง
- ข้อดี คือ เกิดเอกภาพในการบริหาร ประหยัด เก็บภาษีและนำทรัพยากรมาได้สะดวก
มีการวางแผนพัฒนาและกระจายความเจริญไปส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทยได้ง่าย
- ข้อเสีย คือ ล่าช้าในการบริหาร ดูแลความประพฤติของเจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคไม่ทั่วถึง ไม่สามารถ
ตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้ รัฐบาลมีภาระมาก ประชาชนไม่มีโอกาสปกครอง
ตนเอง
- ได้แก่ _________________
2) การแบ่งอำนาจ (Deconcentralization)
- เรียกว่า ส่วน_____ เป็นการที่ส่วนกลางแต่งตั้งราชการไปสังกัดยังส่วนภูมิภาค
- ข้อดี คือ ทำให้ประชาชนได้รับบริการจากรัฐเร็วขึ้น
- ข้อเสีย คือ ประชาชนไม่มีโอกาสปกครองตนเอง
- ได้แก่ ______________________

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 4
3) การกระจายอำนาจ (Decentralization)
- เรียกว่า ส่วน______ จะมีการปกครองกันเองภายในนั้น เห็นได้จากการเลือกตั้ง
- โดยมีอำนาจที่ให้มีอย่างเต็มที่ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายซึ่งออกจากส่วนกลาง
- ข้อดี คือ ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จัดกิจกรรมตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
ได้อย่างเต็มที่และทั่วถึง แบ่งเบาภาระของรัฐบาลได้ดี
- ข้อเสีย คือ เสียค่าใช้จ่ายมาก ขาดเอกภาพในการบริหาร
- ได้แก่ ________________________________________________
Ø ความสำคัญของรัฐ
1) ทำหน้าที่ให้พลเมืองของรัฐนั้นอยู่รอด ปลอดภัยและมีชีวิตที่สุขสมบูรณ์ เพราะรัฐจะคอยสร้างความ
เป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยการออกกฎเกณฑ์/กติกา/กฎหมาย มาควบคุมความประพฤติของพลเมืองในรัฐ
2) จั ด หาสิ่ งที่ เป็ น บริก ารสาธารณะมาให้ บ ริก ารแก่ พ ลเมื อ งของรัฐ เช่ น ไฟฟ้ า ประปา น้ ำสะอาด
เส้นทางการคมนาคม
3) สร้างความเจริญก้าวหน้ามั่นคงและยั่งยืน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมให้
เกิดขึ้นภายในรัฐ
2. ระบอบการเมืองการปกครอง
Ø แบ่งตามสากล
ระบอบการเมืองการปกครองที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกใช้ในปัจจุบัน มี 2 ระบอบ คือ ประชาธิป ไตย
และเผด็จการ
- บางครั้งการปกครองโดยคนๆเดียวดีกว่าการปกครองโดยคนหมู่มาก เพราะการปกครองโดยคนๆ
เดียวจะรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า
- การปกครองแบบประชาธิปไตยย่อมดีกว่าการปกครองโดยคนๆเดียวหรือกลุ่มคน เพราะเป็นที่ยอมรับ
ของคนส่วนใหญ่
Ø ระบอบประชาธิปไตย (Democracy)
- เป็นรูปแบบการปกครองที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด
- “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อ ประชาชน” อับราฮัม ลินคอร์น
ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
- แบ่งเป็นประชาธิปไตยทางตรง คือ ประชาชนทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองได้
โดยตรงด้ ว ยการประชุ ม กั น มี ที่ แ รก คื อ ___________ และประชาธิ ป ไตยทางอ้ อ ม คื อ
ประชาชนต้องเลือกตัวแทนเพื่อทำหน้าที่ปกครองประเทศแทนตัวเอง เนื่องจากการขยายตัวของ
สังคม มีที่แรก คือ อังกฤษ
- หัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย คือ ___________________

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 5
- มีลักษณะเด่นอยู่ที่มีการแข่งขันอย่างเสรี ระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการดำเนินการ/
นโยบายใดๆ เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในประเทศให้ขึ้นเป็นรัฐบาลบริหารกิจการต่างๆของ
ประเทศนั้นๆ
หลักการของระบอบประชาธิปไตย มีดังนี้
1) อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน
อำนาจอธิป ไตยหรือ อำนาจสูงสุด ในการปกครองประเทศ เป็ น อำนาจที่ ม าจากประชาชน เรียกว่า
"อำนาจรัฐ" โดยผู้ที่จะได้อำนาจการปกครองต้องได้รับความยินยอม/เห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเองโดยการออกเสียง
เลือกตั้ง ผู้แทน/ผู้ที่อาสาจะเข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศ แทนประชาชนตามระยะเวลาและวิธีการ
ที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดไว้ว่าทุก 4 ปี จะต้องมีการเลือกตั้งผู้แทน (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)
ของประชาชนพร้อมกันทั่วประเทศ โดยผู้แทนที่ชนะการเลือกตั้งจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อ
ประชาชนและถูกตรวจสอบโดยประชาชน
2) หลักสิทธิและเสรีภาพ
รัฐบาลจะต้องเคารพในสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน เช่น สิทธิในชีวิต
สิทธิในทรัพย์สิน สินในการเข้ารับการศึกษา เสรีภาพในการเขียน พูดและแสดงความ
คิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุมโดนปราศจากอาวุธ เสรีภาพในการรวมกลุ่มกัน
3) ความเสมอภาค
ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกันในการที่จะได้รับการบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้ เช่น การศึกษา การ
บริการสาธารณะ สวัสดิการทางสังคม โดยไม่เลือกปฏิบัติหรือให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดๆ
4) หลักนิติธรรม
รัฐบาลถือว่ากฎหมายและความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศ ทั้งนี้เพื่อปกป้องสิทธิ
เสรีภาพและแก้ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ในประเทศ
5) หลักใช้เสียงส่วนมาก แต่ไม่ลืมเสียงส่วนน้อย
ระบอบประชาธิปไตย จำแนกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1) จำแนกตามประมุขของรัฐ/ประเทศ
1.1 ระบอบประชาธิป ไตยอัน มีพ ระมหากษัต ริย์ท รงเป็น ประมุข และทรงเป็น
กลางทางการเมื อ ง ทรงอยู่ ใ นฐานะสู ง สุ ด ผู้ ใ ดจะกล่ า วหาหรื อ ล่ ว งละเมิ ด ไม่ ไ ด้ และพระ
พระมหากษัตริย์จะทรงใช้อำนาจผ่านทาง 3 หน่วยงาน คือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทาง____
ทรงใช้อำนาจบริหารผ่านทาง______ ทรงใช้อำนาจตุลาการผ่านทาง____ เช่น ประเทศไทย
ญี่ปุ่น อังกฤษ (มักเรียกรัฐแบบนี้ว่า ราชอาณาจักร)

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 6
1.2 ระบอบประชาธิปไตยที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยมีทั้งแบบที่ประธานาธิบดีมีฐานะ
เป็นประมุขของรัฐอย่างเดียว เช่น อินเดีย สิงคโปร์ กับแบบที่ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
จะทำหน้ าที่ เป็ น ทั้ งประมุ ข ของรัฐและเป็ น ประมุ ข ของฝ่ ายบริห ารอี ก ตำแหน่ งหนึ่ งด้ วย เช่ น สหรัฐอเมริก า
อินโดนีเซีย (มักเรียกรัฐแบบนี้ว่า สาธารณรัฐ)
2) จำแนกตามสถาบันการปกครอง
2.1 แบบรัฐสภา
- อำนาจอธิปไตย ประกอบด้วย อำนาจนิติบัญญัติ
(รัฐสภา) อำนาจบริหาร (คณะรัฐมนตรี) และอำนาจตุลาการ (ศาล)
จะเชื่อมอำนาจกันและคอยถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
กลไกการทำงาน
- ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) และสมาชิกวุฒิสภา (สว.)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประชุมกันเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี à นายกรัฐมนตรีจะไปตั้ง
คณะรัฐมนตรี à คณะรัฐบาล
- เห็นได้ว่ารัฐบาลมาจากการตั้งโดยรัฐสภา และต้องบริหารงานภายใต้ความไว้วางใจจาก
รัฐสภา เรียกว่า สภาตั้ง สภาคุม
- อำนาจนิติบัญญัติ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) และสมาชิกวุฒิสภา (สว.) มีหน้าที่
ออกกฎหมายและควบคุมรัฐบาล โดยการให้รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตั้งกระทู้ถาม เพื่อซักฟอกรัฐบาล
ได้ และเปิดอภิปรายทั่วไปแล้วลงมติไม่ไว้วางใจ
- อำนาจบริหาร (รัฐบาล) มีหน้าที่บริหารประเทศภายใต้การไว้วางใจจากรัฐบาลและสามารถ
ยุบสภาได้ ถ้าเกิดความขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อำนาจตุลาการ (ศาล) ทำหน้าที่ได้โดยปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายใดๆทั้งสิ้น
- ประเทศที่เป็นแม่แบบของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ได้แก่ _________
2.2 แบบประธานาธิบดี
- แยกอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ออกจากกันโดย
เด็ดขาด เป็นอิสระจากกัน แต่มีการถ่วงดุลและคานอำนาจกันเล็กน้อย
กลไกการทำงาน
- ประชาชนเลือกประธานาธิบดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) และ
สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ทางตรง (ยกเว้นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาจากการเลือกตั้ง
ทางอ้อม)
- ประธานาธิบดีจะไปจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเอง แต่ไม่ได้มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
- ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจยุบสภา ฝ่ายนิติบัญ ญั ติไม่มีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร
ดังนั้นรัฐสภาและรัฐบาลจึงอยู่ครบวาระ

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 7
- อย่างไรก็ตาม การบริหารงานแบบนี้มีการถ่วงดุลและคานอำนาจกัน (Check & Balance)
ระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายรัฐสภาด้วย เช่น
1) กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดี ถ้าไม่เห็นชอบมีสิทธิ
Veto หรือยับยั้ง ได้
2) ประธานาธิบดีจะไปทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ต้องให้สภาเห็นชอบ
3) ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ออกงบประมาณแผ่นดิน ต้องให้สภาอนุมัติ
- หากเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับรัฐสภา ศาลสูงสุด (Supreme Court) จะเป็นผู้
ตัดสินว่าใครถูกใครผิด เพราะไม่มีการลงมติไม่ไว้วางใจและยุบสภา
- ประเทศที่เป็นแม่แบบของระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี ได้แก่ ________
2.3 แบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี
กลไกการทำงาน
- ประชาชนเลื อ กตั้ ง ประธานาธิ บ ดี โ ดยตรง และเลื อ กสภา
ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
- ประธานาธิบดีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี à นายกรัฐมนตรีจะไป
แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (โดยความเห็นชอบจากประธานาธิบดี ไม่ต้องขอความเห็นชอบ
จากรัฐสภา)
- นายกรั ฐ มนตรี และคณะรั ฐ มนตรี บริ ห ารประเทศภายใต้ น โยบายและรั บ ผิ ด ชอบต่ อ
ประธานาธิบดี (แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐสภา)
- นายกรัฐมนตรีในระบบนี้เปรียบเหมือนตำแหน่งรองนายกในระบบรัฐสภา
- รัฐสภามีสิทธิลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (แต่ไม่มีสิทธิลงมติไม่
ไว้วางใจประธานาธิบดี)
- นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีต้องลาออก ประธานาธิบดีไม่ต้องลาออกจึงอยู่ครบวาระ
- ประธานาธิบดีมีสิทธิประกาศยุบสภาได้ถ้าเกิดความขัดแย้งกัน
- ระบบนี้ ผู้มีอำนาจมากที่สุด คือ ประธานาธิบดี
- ประเทศที่เป็นแม่แบบของระบอบประชาธิปไตยแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ได้แก่ ___

คำถามชวนคิด
“นักเรียนคิดว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง”
ข้อดี
___________________________________________________________
___________________________________________________________
ข้อเสีย
___________________________________________________________
___________________________________________________________

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 8
Ø ระบอบเผด็จการ (Dictatorship)
- ระบอบเผด็จการ เป็นการปกครองที่รวบอำนาจทางการเมืองไว้ที่บุค คลเพียงคน
เดียวหรือคณะเดียว
- เป็นการปกครองที่เน้นความสำคัญอยู่ที่ “รัฐกับผู้นำ” ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพ
สักเท่าไร และต้องทำตามคำสั่งของรัฐโดยเคร่งครัด
- มีอุดมการณ์ คือ มนุษ ย์เกิด มาไม่เท่า กัน ไม่มีเหตุผล ไม่มีความสามารถในการปกครองตนเองจึง
ต้องพึ่งผู้นำ
หลักการระบอบเผด็จการ
1) อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของผู้นำ หรือคณะผู้นำฝ่ายทหาร หรือพรรคการเมืองเพียง
พรรคเดียว โดยไม่ฟังเสียงประชาชน
2) การเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญ ใช้เป็นกลไกรองรับอำนาจและความชอบธรรมของผู้นำเผด็จการเท่านั้น
ไม่มีความหมายและความสำคัญเหมือนดังระบอบประชาธิปไตย
3) การรักษาความมั่นคงของผู้นำมีความสำคัญยิ่ง การละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเพื่อรักษา
ความมั่นคงของผู้นำเป็นความชอบธรรมที่รัฐพึงกระทำ
4) ผู้นำหรือคณะผู้นำจะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต ประชาชนไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลง
ประเภทของระบอบเผด็จการ
1. เผด็จการอำนาจนิยม หรือ เผด็จการทหาร คือ ควบคุมเฉพาะด้าน______ ส่วนด้านอื่น ๆ เช่น
เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มีการให้สิทธิ เสรีภาพบ้าง เช่น พม่า ลิเบีย
- คณะผู้นำฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองประเทศโดยตรงหรือปกครอง
ทางอ้อมโดยผ่านทางรัฐบาลพลเรือนที่ตนสนับสนุน
- ในอดี ต ประเทศที่ เคยปกครองด้ ว ยระบอบเผด็ จ การทหาร ได้ แ ก่ ญี่ ปุ่ น ในสมั ย
สงครามโลกครั้งที่ 2 และประเทศไทยในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และรัฐบาลจอมพล
ถนอม กิตติขจร
2. เผด็จ การเบ็ด เสร็จ นิย ม คือ ควบคุมสิทธิ เสรีภาพของประชาชนทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
และการเมือง แบ่งออกเป็น
2.1 เผด็จ การฟาสซิส ต์ เป็นระบอบเผด็จการที่เน้นความสำคัญ
ของ_________เพียงคนเดียวภายใต้การสนับสนุนของกองทัพ มีการส่งเสริม
พวกนายทุน ได้แก่
- ระบอบฟาสซิสต์ของประเทศอิตาลี (Fascism) ในช่วงก่อนเกิด
สงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ น ำเผด็ จ การมี ชื่ อ ว่า เบนิ โต มุ ส โสลิ นี (Benito Mussolini)
ปกครองอิตาลีระหว่างปี ค.ศ.1922 – 1938 (เน้นชาตินิยม ความมั่นคงแห่งรัฐ)

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 9
- ระบอบฟาสซิสต์ของประเทศเยอรมัน หรือที่เรียกว่า นาซี (Nazism) ระหว่างสงครามโลกครั้ง
ที่ 2 ผู้ น ำเผด็ จ การมี ชื่ อ ว่า อดอล์ ฟ ฮิ ต เลอร์ (Adolf Hitler) มี อ ำนาจในช่ วงปี ค.ศ.1933 – 1945 (เน้ น เชื้ อ
ชาตินิยม)
2.2 เผด็จการคอมมิวนิสต์ (Communism) ปกครองโดย_________
เพียงพรรคเดียว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ โดยใช้อำนาจเผด็จการควบคุมประเทศ
และประชาชนครบทุกด้าน ทั้งด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
- เผด็ จ การคอมมิ ว นิ ส ต์ เกิ ด ขึ้ น จากแนวคิ ด ของ__________
ต้องการต่อต้านนายทุน จึงเขียนไว้ในหนังสือ The Capital และ The Communist Manifesto
แต่ไม่ได้ดำเนินการใด ๆ จนกระทั่งมีคนมาอ่านจึงปรับแนวคิดแล้วลงมือดำเนินการจริง ๆ
คนนั้น คือ วลาดิมีร์ อุยยานอฟ หรือ เลนิน จึงทำให้สหภาพโซเวียต (รัสเซีย) กลายเป็น
สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ประเทศแรกของโลก ใน ค.ศ.1917
- ประเทศที่เป็นเผด็จการคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน คือ จีน ลาว เวียดนาม คิวบา และเกาหลีเหนือ

คำถามชวนคิด
“นักเรียนคิดว่าการปกครองระบอบเผด็จการ มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง”
ข้อดี
__________________________________________________________
__________________________________________________________
ข้อเสีย
__________________________________________________________
__________________________________________________________

3. การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
Ø การใช้อำนาจอธิปไตย
การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฐานะของพระมหากษัตริย์
อยู่เหนือการเมือง และทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทย โดยผ่านสถาบันการปกครองทั้งสาม ได้แก่
รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
อำนาจอธิป ไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
เป็นอำนาจสูงสุดเหนือสมาชิกทุกคนภายในรัฐ การมีอำนาจอธิปไตยแสดง
ถึงการมีเอกราชของรัฐ ทำให้รัฐนั้นมีอิสระที่จะดำเนินกิจการใด ๆ ภายใน
รัฐของตนได้ โดยไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐอื่นใด

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 10
ประเภทของอำนาจอธิปไตย จำแนกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1) อำนาจอธิปไตยในการปกครองภายในรัฐ คือ อำนาจในการดำเนินกิจการภายในรัฐ ได้แก่ อำนาจนิติ
บัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
2) อำนาจอธิปไตยที่มีต่อภายนอกรัฐ คือ การมีเอกราชของประเทศ เป็นอำนาจ
ในการดำเนินความสัมพันธ์กับรัฐหรือประเทศอื่น ๆ ในฐานะรัฐต่อรัฐ เช่น การประกาศ
สงคราม การทำสัญญาต่าง ๆ
เจ้า ของอำนาจอธิป ไตย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
มาตรา 3 กำหนดให้ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็น
ประมุขทรงใช้อำนาจนัน้ ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
Ø พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทย
1) การใช้อ ำนาจนิติบัญ ญัติท างรัฐ สภา ทรงใช้อำนาจในการออกกฎหมายโดย
คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ร่างพระราชบัญญัติจะมีผลสมบูรณ์เป็นกฎหมายจะต้อง
ได้รับการลงพระปรมาภิไธยจากพระมหากษัตริย์ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาจึงมีผลบังคับใช้
อำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา
1) บัญญัติกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ กฎหมายที่
รัฐสภาบัญญัติ เรียกว่า พระราชบัญญัติ
2) ให้ความเห็นชอบในกิจการบ้านเมืองที่สำคัญ เช่น แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
รับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ และให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม เป็นต้น
อำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร
1) การเสนอและพิจารณากฎหมาย เช่น การเข้าชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ. โดย สส.จำนวนไม่น้อย
กว่า__คน
2) การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน เช่น การยื่นมติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีหรือทั้งคณะ
3) ควบคุมการตรากฎหมายที่ขดั หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญฯ
อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา
1) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
2) ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยตรวจสอบให้คณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไป
ตามที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา ( สว. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่สามารถเข้าชื่อขอเปิด
อภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา โดยไม่มีการลงมติ)
3) ควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญฯ
รู้หรือไม่
สมาชิกวุฒิ สภาชุดแรก (ตามบทเฉพาะกาลแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560) ยังมีหน้าที่ ติด ตาม
เสนอแนะ และเร่ง รัด การปฏิรูป ประเทศ เพื่อ ให้บ รรลุเป้า หมายตามหมวด 16 การปฏิรูป ประเทศ
และการจัดทําและดําเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติด้วย
Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ
ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 11
2) การใช้อ ำนาจบริห ารทางคณะรัฐมนตรี ทรงใช้อำนาจในการบริหารโดยแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและ
คณะรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีในการบริหารประเทศ 1) กำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน
2) รักษากฎหมาย 3) ควบคุมข้าราชการให้ปฏิบัติตามนโยบาย
3) การใช้อ ำนาจตุล าการทางศาล ทรงใช้อำนาจตุลาการผ่านทางศาลยุติธรรม โดยการแต่งตั้งผู้
พิ พ ากษา ทั้ ง นี้ ก ารพิ พ ากษาพิ จ ารณาคดี ค วามต่ า ง ๆ ของผู้ พิ พ ากษาให้ เป็ น ในพระปรมาภิ ไ ธยของ
พระมหากษัตริย์
4. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
Ø แนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้โดยอาจจะ
- รวมกันเป็นกลุ่มผลประโยชน์ - รวมกันเป็นพรรคการเมือง
- การเลือกตั้ง - ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50,000 คน เสนอชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 10,000 คนเข้าชื่อกันเพื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญ
- การเมืองภาคประชาชน
Ø กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มผลักดัน หรือกลุ่มกดดัน เป็นกลุ่มคนที่มารวมกัน เพราะมี_________
ร่วมกัน ดำเนินการเคลื่อนไหว ผลักดันให้รัฐบาลวางนโยบายเพื่อความต้องการของกลุ่มคน แบ่งเป็น
1) กลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มเกษตรกร, กลุ่มผู้ใช้แรงงาน, กลุ่มพ่อค้านักธุรกิจ, กลุ่มข้าราชการ
2) กลุ่มอิทธิพล เช่น กลุ่มสาธารณประโยชน์, กลุ่มปัญญาชน, กลุ่มสื่อมวลชน
Ø พรรคการเมือง เป็นกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกัน____คนขึ้นไป เพราะมีความคิดทางเศรษฐกิจ สังคมและ
การเมืองคล้ายคลึงกัน โดยมุ่งหวังที่จะเป็น_________
ในระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองมี 2 แบบ คือ
- แบบสองพรรค เช่น อเมริกา อังกฤษ - แบบหลายพรรค เช่น ไทย
สรุป
พรรคการเมือง ต้องการจัดตั้งรัฐบาล ใช้นโยบายในการบริหารประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของชาติ
กลุ่มผลประโยชน์ เรียกร้องผลประโยชน์จากรัฐบาล โดยให้แก้ เพิ่มนโยบายเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่ม
Ø การเลือกตั้ง มีหลักเกณฑ์ คือ
- หลักอิสระแห่งการเลือกตั้ง - เลือกตั้งตามกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
- เลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม - หลักใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างเสมอภาค
- หลักการออกเสียงทั่วไป - หลักการของคะแนนลับ
- ผู้ทำหน้าที่ดูแลการเลือกตั้ง คือ _______________________

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 12
Ø การเมื อ งภาคประชาชน คื อ การทำประชาสั งคม โดยเน้ น ให้ ป ระชาชนในสั งคม ได้ มี ส่ ว นร่ว ม
เคลื่ อ นไหวตื่ น ตั วในกิ จ กรรมสาธารณะในระดั บ ต่ าง ๆ ตั้ งแต่ ระดั บ ท้ อ งถิ่ น ถึ งระดั บ ชาติ เป็ น การ
เคลื่อนไหวที่เอาจริงเอาจังเข้มข้น และจะต้องเป็นอิสระจากรัฐและทุน
Ø การทำประชาพิจารณ์ คือ การให้ประชาชนออกมาแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาใดปัญหาหนึ่งในการที่
ประชาชนนั้นเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ควรทำเป็นสิ่งแรกก่อนการออกเสียงประชามติ
Ø การออกเสียงประชามติ คือ การที่รัฐบาลขอฟังเสียงจากประชาชนว่าจะเอาอย่างไรดี เป็นการที่รัฐคืน
เสรีภาพในการออกเสียงรับรองหรือคัดค้านให้แก่เจ้าของประเทศตัวจริง (ประชาชน)
- ผู้ทำหน้าที่ดูแลการออกเสียงประชามติ คือ _______________________
5. อิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครองที่มีต่อการดำเนินชีวิต

คำถามชวนคิด
“นักเรียนคิดว่าระบอบการเมืองการปกครองส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของนักเรียนอย่างไร”
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________

6. สถานการณ์การเมืองการปกครองของไทย
ในปัจจุบันสถานการณ์การเมืองการปกครองของไทย ยังคงต้องเผชิญอยู่กับสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เช่น
Ø การทุจริตในหมู่นักการเมืองและข้าราชการชั้นสูง
มีสาเหตุมาจากการเป็นสังคมบริโภคนิยม ตามกระแสทุนนิยม ที่ให้ความสำคัญ
กับวัตถุและยกย่องบุคคลตามตำแหน่ง ฐานะความร่ำรวย ส่งผลผู้คนมีความต้องการ
ด้านวัตถุและผลประโยชน์อย่างไร้ขอบเขตและขาดคุณธรรม นำมาสู่ปัญหาการทุจริต
คอรัปชั่นในหมู่นักการเมืองและข้าราชการ
Ø ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์
ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะยังปรากฏอยู่ในทาง
การเมื อ งต่ อ ไป ตราบใดที่ ป ระชาชนในชนบทยั ง ขาดความเข้ ม แข็ ง และพึ่ ง พาตนเองไม่ ไ ด้
การดำรงชีวิตยังติดพึ่งพากลุ่มผู้มีอิทธิพล/อำนาจในการช่วยเหลือทางการเงินและปกป้องคุ้มครอง

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 13
7. ปัญหาการเมืองสำคัญที่เกิดขึ้นภายในประเทศ

คำถามชวนคิด
“จากสภาพปัญหาการเมืองในปัจจุบัน
จงวิเคราะห์ปัญหาทางการเมืองที่นักเรียนอยากแก้ไขมา 1 ประเด็น พร้อมเสนอแนวทางแก้ไข”
ปัญหาการเมืองไทยที่ควรแก้ไข คือ________________________________________
__________________________________________________________
สาเหตุของปัญหา คือ_______________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
ลักษณะของปัญหา คือ ______________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
แนวทางการแก้ไข คือ ______________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________

8. การดำเนินนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย
Ø ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations : IR)
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือ การดำเนินปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือ
ตั วแสดงอื่ น ๆ ในเวที ระหว่างประเทศ โดยการดำเนิ น ความสัม พั น ธ์ระหว่าง
ประเทศ ต้องเน้นผลประโยชน์แห่งชาติ คามมั่นคง และเศรษฐกิจ เป็นสำคัญ
Ø รูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มี 5 ด้าน ดังนี้
1) ความสัมพันธ์ทางการเมือง เช่น การแลกเปลี่ยนทางการทูต การดำเนินนโยบายต่างประเทศ ความ
ร่วมมือทางทหาร เป็นต้น
2) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เช่น การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ การกู้ยืมเงินระหว่างประเทศ
การส่งออกแรงงานไปต่างประเทศ เป็นต้น

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 14
3) ความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น การแลกเปลี่ยนการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒ นธรรม การกีฬ า การ
ท่องเที่ยว เป็นต้น
4) ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย มีข้อตกลงหรือกฎหมายระหว่างประเทศ
เพื่ อ เสริม สร้างความร่วมมื อ ระหว่างกั น เช่ น สนธิสั ญ ญา อนุ สั ญ ญา กฎบั ต ร
ข้อตกลง ฯลฯ
5) ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การใช้ประโยชน์
จากสั ญ ญาณดาวเที ย มร่ว มกั น การแลกเปลี่ ย นความรู้ท างด้ านวิ ท ยาศาสตร์
การแพทย์ ความร่วมมือทางด้านพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ เป็นต้น
Ø การเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ
องค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN)
ความเป็นมา
- องค์การสหประชาชาติ เกิดขึ้นจากประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ ของ
สหรัฐอเมริกา กับนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิล ของอังกฤษ ร่วมลงนามในกฎบัตร
แอตแลนติ ก ในปี ค.ศ.1941 เพื่ อ เป็ น แนวทางปฏิ บั ติ ข องฝ่ ายสั ม พั น ธมิ ต รเมื่ อ หลั ง
สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง
- สถาปนาอย่ า งเป็ น ทางการเมื่ อ วั น ที่ 24 ตุ ล าคม ค.ศ.1945 ถื อ เป็ น วั น สหประชาชาติ
เพราะชาติสมาชิกให้สัตยาบันและกฎบัตรมีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์
- มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ _________________
- มีวัตถุประสงค์ คือ ธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกันของโลก ส่งเสริม
สิทธิมนุษยชน และเป็นศูนย์กลางประสานงานของชาติต่าง ๆ
- เลขาธิก ารองค์ ก ารสหประชาชาติ ค นปั จ จุ บั น คื อ _______________
ชาวโปรตุเกส
หน่วยงานที่สำคัญในสหประชาชาติ
1) สมัชชาใหญ่ ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 193 ประเทศ
2) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ดูแลด้านความมั่นคงและตัดสินข้อพิพาทระหว่างสมาชิก
มีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ (Big 5) คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน (ประเทศเหล่านี้มีสิทธิ
พิเศษยับยั้ง หรือ Veto ได้) และสมาชิกหมุนเวียน 10 ประเทศ
3) คณะมนตรี พิ เ ศษเศรษฐกิ จ และสั ง คม ทำหน้ า ที่ ดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบเรื่ อ งเศรษฐกิ จ สั ง คม และ
วัฒนธรรม รวมทั้งเรื่องสิทธิมนุษยชน
4) สำนั ก งานเลขาธิก าร ทำหน้าที่ บ ริห ารงานของสหประชาชาติ มีผู้บ ริห ารสูงสุด คือ เลขาธิการ
สหประชาชาติ

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 15
5) ศาลโลกหรือ ศาลยุติธ รรมระหว่า งประเทศ ทำหน้าที่พิจารณา ตัดสินคดีพิพาทระหว่างประเทศ
สมาชิก ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก เนเธอแลนด์
6) คณะมนตรีภาวะทรัสตี ทำหน้าที่ดูแลประเทศที่ยังปกครองตนเองไม่ได้ ปัจจุบันยุติบทบาทแล้ว
สมาคมประชาชาติแ ห่ง เอเชีย ตะวัน ออกเฉีย งใต้ หรือ อาเซีย น (Association of South-East Asian
Nations : ASEAN)
- อาเซียน เป็นกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2510 ในปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่
1) ไทย 2) อินโดนีเซีย 3) มาเลเซีย 4) สิงคโปร์
5) ฟิลิปปินส์ 6) บรูไนฯ 7) เวียดนาม 8) ลาว
9) เมียนมา 10) กัมพูชา
- วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องอาเซี ย น คื อ ส่ งเสริม ความร่ว มมื อ ระหว่ างประเทศสมาชิ ก ทั้ งด้ านการเมื อ ง
เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่งเสริมให้ภูมิภาคนี้เป็นเขตสันติภาพและมีความมั่นคงด้านการเมือง
Ø ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับสหรัฐอเมริกา
- สมัยรัชกาลที่ 3 สหรัฐอเมริกาส่งเอ็ดมัน โรเบิร์ต มาทำสัญญการค้า
- สมัยรัชกาลที่ 5 ประธานธิบดียูลิสซิส เอส แกรนต์ เดินทางมาเยือนไทย พ.ศ.2422
- พระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จฯเยือนสหรัฐอเมริกา คือ รัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2474)
- ชาวอเมริกันที่มีบทบาทในการแก้ไขสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับประเทศต่าง ๆ คือ ดร.ฟรานซิส บี แซร์
(พระยากัลยาณไมตรี)
- สหรัฐอเมริกาเป็นชาติแรกที่ยอมแก้ไขสนธิสัญญาเบาว์ริ่งบางส่วนในสมัยรัชกาลที่ 6
- หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาช่วยเหลือให้ไทยแก้ไขความตกลงสมบูรณ์แบบที่ไทยทำกับ
อังกฤษ และให้ความช่วยเหลือไทยด้านเศรษฐกิจ สังคมและทหาร
ความสัมพันธ์ปัจจุบัน
- สหรัฐฯ ให้การฝึกอบรมทหารผสมร่วมกับ Cobra Gold
- สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ไทย ให้ GSP (สิทธิพิเศษทางภาษีศุลการการเป็นการทั่วไป)
เข้ามาลงทุนในไทย รวมทั้งเป็นตลาดสินค้าออกของไทย
- หน่วยงานความช่วยเหลือทางการศึกษาของสหรัฐอเมริกาต่อไทย เช่น หน่วยสันติภาพ (The Peace
Corps) มูลนิธิการศึกษามิตรภาพ (The Mitraparb Education Foundation) มูลนิธิฟลูไบรท์ มูลนิธิการศึกษาไทย
อเมริกัน รวมทั้งความร่วมมือทางการศึกษา เช่น AUA, AFS
- ความร่วมมือด้านการปราบยาเสพติด การก่อการร้าย
- ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม เช่น ร่วมกับกรมศิลปากรขุดหาศิลปวัฒนธรรมวัตถุสมัยบ้านเชียง
- USIS : สำนักข่าวสารของสหรัฐอเมริกา

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 16
Ø ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับจีน
- ไทยมีความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการ(จิ้มก้อง) กับจีน
- เมื่อจีนเปลี่ยนเป็นคอมมิวนิสต์ ไทยจึงยุติความสัมพันธ์ชั่วคราว และมาเปิดความสัมพันธ์อีกครั้งเมื่อ
สหรัฐอเมริกาเปลี่ยนท่าทีต่อจีน โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เดินทางเยือนจีน เมื่อ พ.ศ.2518
- ปั จ จุ บั น ความสั ม พั น ธ์ ไ ทยและจี น ใกล้ ชิ ด กั น มากขึ้ น เช่ น ASEAN-China Annual Consultation,
ASEAN+3, ARF, ASEM
- ความร่วมมืออื่น ๆ เช่น ด้านสารเสพติด ด้านการเงิน การคลัง พาณิชย์นาวี ด้านวัฒนธรรม
- การลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมไทย-จีน (Joint Action Plan) เมื่อ พ.ศ.2550 ถือเป็นกรอบความ
ร่วมมือในระยะ 5 ปี และเป็นหนทาง (Roadmap) ของการร่วมมือในอนาคต
Ø ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับญี่ปุ่น
- ไทย-ญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่สุโขทัย ยุติความสัมพันธ์ชั่วคราวสมัยอยุธยา และกลับมาฟื้นฟูอีก
ครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาไทยประกาศเข้าข้างญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
- ปัจจุบันญี่ปุ่นสนใจไทยในฐานะแหล่งลงทุน แหล่งตลาด และเส้นทางลำเลียงน้ำมันจากตะวันออกกลาง
- กรอบความร่วมมือทวิภาคสำคัญที่ไทยร่วมมือกับญี่ปุ่น เช่น ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทยญี่ปุ่น
(JTEPA) การหารือหุ้นส่วนทางการเมืองไทยญี่ปุ่น (JTPPC) การประชุมประจำปีทวิภาคีด้านการเมืองและ
การทหารทวิภาคีระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงต่างประเทศของไทยกับญี่ปุ่น (Bilateral Political
and Military Meeting) การประชุมคณะทำงานร่วมเฉพาะกิจไทยญี่ปุ่น ว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์
การประชุมความร่วมมือทางวิชาการหุ้นส่วนไทยญี่ปุ่น (JTPP) การประชุมคณะกรรมการความร่วมมือ
ทางการค้าและเศรษฐกิจไทยญี่ปุ่น
Ø ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับอาเซียน
- ไทยสถาปนาความสัมพันธ์กับฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรก
- ไทยร่วมมือทางทหารกับมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน
ด้านเศรษฐกิจ
1) ความร่วมมือไทย-ลาว (สะพานมิตรภาพไทย – ลาว) เพื่อความสะดวก
ในการเดินทางและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน พึ่งพาและแลกเปลี่ยนกันด้านเศรษฐกิจ ได้แก่
สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 - เชื่อมต่อจังหวัดหนองคายเข้ากับกรุงเวียงจันทน์
สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 2 - เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารเข้ากับแขวงสุวรรณเขต
สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 3 - เชื่อมต่อจังหวัดนครพนมเข้ากับท่าแขก
สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 4 - เชื่อมต่อจังหวัดเชียงรายเข้ากับห้วยทราย
โครงการสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 - เชื่อมต่อจังหวัดบึงกาฬเข้ากับปากซัน
โครงการสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 6 – เชื่อมต่อจังหวัดอุบลราชธานีเข้ากับแขวงสาละวัน
โครงการสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 7 - สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดเลยเข้ากับแขวงเวียงจันทน์
โครงการสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 8 - สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดอุบลราชธานีเข้ากับแขวงจำปาศักดิ์

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 17
2) ความร่วมมือไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน ในการสร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกัน เพื่อความสะดวก
ในการค้าขาย

3) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี เจ้าพระยา แม่โขง (ACMECS)


4) หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ : ไทย เมียนมา ลาว จีน กัมพูชา เวียดนาม

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 18
ด้านการศึกษา
ไทยมีการพึ่งพาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประเทศต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาการศึกษาของไทยในรูปแบบ
ของการศึกษาดูงาน การสัมมนา การไปศึกษาต่อต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ไทยมีความสัมพันธ์ทางด้านสังคมและวัฒ นธรรมกับประเทศต่าง ๆ เช่น การแข่งขันกีฬา ประกวด
วรรณกรรมซีไรต์

Ø สถานการณ์การดำเนินนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับ_______________
คำชี้แจง : จงสืบค้นข่าวปัจจุบัน (ย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี) ที่สะท้อนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย
กับประเทศที่นักเรียนสนใจ จากนั้นตอบคำถามต่อไปนี้
หัวข้อข่าว คือ__________________________________________________
__________________________________________________________
https://www.thairath.co.th/news/foreign/2737976
อ้างอิง ______________________________________________________
__________________________________________________________
สรุปข่าวได้ดังนี้ _________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ด้านใด__________________________________________
จากข่าวข้างต้น นักเรียนคิดว่ามีผลกระทบเชิงบวกหรือลบที่เกิดขึ้นตามมาอย่างไรบ้าง
ผลกระทบเชิงบวก
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
ผลกระทบเชิงลบ
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________
__________________________________________________________

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 19
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
1. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
- รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ
- ในปัจจุบันประเทศไทยใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ฉบับ
พ.ศ.2560 ถือเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2560
โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระราช
โองการ
- รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกอบด้วย 279 มาตรา 16 หมวด และ 1 บทเฉพาะกาล
- ผู้ ที่ ท ำหน้ า ที่ ร่า งรัฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ นี้ คื อ _____________________ จำนวน 21 คน
โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน เมื่อร่างเสร็จจึงนำร่างรัฐธรรมนูญออกเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบและทำ
การลงประชามติพร้อมคำถามพ่วงว่าด้วยการกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) และสมาชิกวุฒิสภา
(สว.) เลือกนายกรัฐมนตรีในระยะเวลา 5 ปีแรก
- รัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อจัดทำร่างพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญ (กฎหมายลูก) มีทั้งหมด 10 ฉบับ ให้แล้วเสร็จและเสนอสภานิติบัญ ญั ติแห่งชาติ เพื่อ
พิจารณา ดังต่อไปนี้
1) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
3) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
4) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
5) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
6) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
7) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
8) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
9) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
10) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สรุป พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับแรกเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ถ้าไม่มีกฎหมายทั้ง 4 ฉบับนี้
ก็ไม่อาจจัดการเลือกตั้งได้ ส่วนฉบับที่เหลือเป็นกฎหมายที่จะกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระที่ทำหน้าที่
ตรวจสอบอำนาจรัฐ

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 20
2. สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560
Ø บททั่วไป
- ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแบ่งแยกมิได้
- ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขขงรัฐและทรงใช้
อำนาจอธิปไตยผ่านทางสถาบันทางการเมือง 3 สถาบัน คือ อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจ
บริหารผ่านทางรัฐบาล และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล
- ประชาชนไทยได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
- รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมายหรือการกระทำใดที่ขัดแย้งต่อ
รัฐธรรมนูญถือว่าเป็นอันใช้บังคับมิได้
Ø พระมหากษัตริย์
พระราชอำนาจและพระราชสถานะตามรัฐธรรมนูญ
1) ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิด
มิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
2) ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
3) ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย (เป็นโดยตำแหน่ง แต่ไม่สามารถบังคับบัญชากองทัพ)
4) ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาและถอดถอนฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานและเรียกคืน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ฐานันดรศักดิ์ ใช้กับ พระราชวงศ์
- สมณศักดิ์ ใช้กับ พระภิกษุสงฆ์
- เครื่องราชอิสริยภรณ์ ใช้กับ ข้าราชการ และ พระราชวงศ์
5) ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรี
อื่ น อี ก ไม่ เกิ น _____คนประกอบเป็ น คณะองคมนตรี (โดยคณะองคมนตรีมี ห น้ าที่ ถ วาย
ความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา)
6) ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (หมายถึง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนพระมหากษัตริย์) กรณี ที่
พระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ (หรือไม่ก็ได้)
7) ทรงแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467
8) ทรงทำหนังสือสัญญา
9) ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้พิพากษา ข้าราชการในพระองค์และข้าราชการระดับสูง
10) พระราชทานอภัยโทษ

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 21
ข้อควรรู้
พระราชอำนาจที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระราชอำนาจตามโบราณราชประเพณี ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติ ดังนี้
1) ทรงมีพระราชอำนาจในการรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสถานการณ์ ของบ้านเมือง โดยการรายงานของ
นายกรัฐมนตรี เช่น ภัยแล้ง อุทกภัย ภัยหนาว ฯลฯ และทรงมีสิทธิที่จะพระราชทานคำแนะนำหรือความคิดเห็น
ในการแก้ไขปัญหา
2) ทรงมีพระราชอำนาจให้คำแนะนำหรือตักเตือนแก่รัฐบาล รัฐสภา ศาล หรือองค์กรของรัฐอื่น ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบ้านเมือง หรือเมื่อทรงเห็นว่าการกระทำใด ๆ อาจเกิดผลเสียหายต่อบ้านเมือง
3) ทรงมีพระราชอำนาจให้คำปรึกษาหารือแก่คณะรัฐมนตรี กรณีที่นายกรัฐมนตรีนำปัญหาการบริหาร
ราชการแผ่นดินขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อขอพระราชทานพระบรมวินิจฉัย
4) ทรงมีพระราชอำนาจในการสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของรัฐหรือเอกชน เพื่อการพัฒนา
ประเทศและความอยู่ดีกินดีของประชาชน ซึ่งปรากฏในรูปของโครงการในพระราชดำริต่าง ๆ

Ø สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
- บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำการใด ๆ และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบ
เท่าที่การใช้สิทธิและเสรีภาพนั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้อื่น
- ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
- สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
- เสรีภาพในการนับถือศาสนา
- สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียงและครอบครัว
- เสรีภาพในเคหสถาน (บุกรุกหรือค้นบ้านคนอื่นไม่ได้ ยกเว้นมีคำสั่งหรือหมายศาล)
- เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
- เสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นของวิชาชีพสื่อสารมวลชน
- เสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าทางใด
- สิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก
- เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่
- ไม่มีโทษเนรเทศบุคคลสัญชาติไทยออกนอกอาณาจักร
- เสรีภาพในการประกอบอาชีพ
- เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
- เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 22
- สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครอง
- สิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ
- สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตรย่อมได้รับความคุ้มครอง
- สิทธิของบุคคลที่มีอายุเกิน ____ ปี และไม่มีรายได้เพียงพอ จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
- ห้ า มปวงชนชาวไทยใช้ สิ ท ธิ ห รื อ เสรี ภ าพเพื่ อ ล้ ม ล้ า งการปกครองระบอบประชาธิ ป ไตยอั น มี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุขมิได้
Ø หน้าที่ของปวงชนชาวไทย
- พิ ทั ก ษ์ รั ก ษาไว้ ซึ่ ง ชาติ ศาสนา พระมหากษั ต ริ ย์ แ ละการปกครองระบอบประชาธิ ป ไตยอั น มี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์และสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
- ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
- เข้ารับการศึกษาในภาคบังคับ
- รับราชการทหารตามที่กฎหมายกำหนด
- เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่ทำการที่ก่อให้เกิดความแตกแยกหรือสร้าง
ความเกลียดชัง
- ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติ
- ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
ความหลากหลายทางชีวภาพและมรดกทางวัฒนธรรม
- เสียภาษีอากร
- ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตหรือประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ
Ø รัฐสภา
- รัฐสภา เป็นสถาบันทางการเมืองที่ใช้อำนาจนิติบัญ ญั ติ ทำหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรอง ร่าง
กฎหมาย ควบคุมการทำงานของรัฐบาล ตั้งกระทู้ถามและขอเปิดอภิปรายทั่วไปในสภา
- รัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร (สส.) และ วุฒิสภา (สว.)
- ประธานรั ฐ สภาโดยตำแหน่ ง คื อ ประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร และรองประธานรั ฐ สภา
คือ ประธานวุฒิสภา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย ____ คน เป็นสมาชิก 2 ประเภท (ตามรัฐธรรมนูญ ฯ
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) เมื่อ 7 พ.ย. พ.ศ.2564) คือ
1) จากระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน ____ คน (เขตเลือกตั้งมี สส. ได้เขตละ 1 คน)
2) จากระบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองจำนวน ____ คน

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 23
- ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า ____ ปี เป็น
สมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
- บุคคลต้องห้ามลงรับสมัครเลือกตั้ง เช่น
1) ติดยาเสพติดให้โทษ
2) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
3)เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ
4) ผู้ที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
5) เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่า
กระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
6) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวบ
ผิดปกติ
7) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วย
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต
8) เป็นข้าราชการประจำ
บุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้ง
- คุณสมบัติของบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้ง มีดังนี้
1) มี สั ญ ชาติ ไ ทย หรื อ หากแปลงสั ญ ชาติ ต้ อ งได้ รั บ
สัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2) อายุไม่ต่ำกว่า ___ ปีในวันเลือกตั้ง
3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า ___ วันนับถึงวันเลือกตั้ง
วุฒิสมาชิก
- มี จ ำนวน _____ คน ซึ่ ง มาจากการเลื อ กกั น เองของบุ ค คลซึ่ ง มี ค วามรู้ ความเชี่ ย วชาญ
ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงานหรือเคยทำงานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายของ
สังคม โดยการเลือกนี้ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
- คุณ สมบัติของวุฒิ สมาชิก ได้แก่ ต้องไม่สังกัดพรรคการเมือง มีวาระการดำรงตำแหน่ง ___ ปี
จบปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีอายุ ___ ปีขึ้นไป และต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของ สส.หรือผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมือง
การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคลหรือทั้งคณะ : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อย
กว่า ______ ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า _______ ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่สามารถเข้าชื่อ
ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี โดยไม่มีการลงมติก็ได้

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 24
- สมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่น้อยกว่า _______ ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่สามารถเข้าชื่อขอเปิด
อภิปรายทั่วไปในวุฒิ สภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญ หาเกี่ยวกับการบริหารราชการ
แผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติ
Ø คณะรัฐมนตรี
- คณะรัฐมนตรี เป็นสถาบันทางการเมืองที่ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
- คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีไม่เกิน ____ คน บริหารราชการ
ตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
- นายกรัฐมนตรี ต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ และห้ามดำรงตำแหน่ง
ติดต่อกันเกิน 8 ปี
- นายกรัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภา สส. เพื่อถ่วงดุลกับฝ่ายนิติบัญ ญั ติ นับแต่วันยุบสภาให้จัดมีการ
เลือกตั้ง สส. ทั่วไปในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน
- ระเบียบบริหารราชการปัจจุบัน มีทั้งหมด 20 กระทรวง (สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเทียบเท่า
กระทรวงและอีก 19 กระทรวง)
Ø ศาล
- ศาล เป็นสถาบันที่ใช้อำนาจตุลาการ ประมุขสูงสุดของฝ่ายตุลาการ คือ
___________
- ศาล แบ่ ง ออกเป็ น 4 ประเภท ได้ แ ก่ ศาลยุ ติ ธ รรม ศาลปกครอง
ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลทหาร
- ศาลยุติธรรม มีอำนาจพิพากษาคดีทั้งปวง ที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลอื่น มี 3 ลำดับชั้น คือ
1> ศาลชั้นต้น เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลแขวง ศาลคดีเด็กและเยาวชน ศาลล้มละลาย
2> ศาลอุทธรณ์
3> ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุด คำตัดสินถือเป็นอันสิ้นสุด
- ศาลปกครอง มีอำนาจพิพากษาคดีพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน หรือ ระหว่างหน่วยงาน
ของรัฐด้วยกันเอง ประกอบด้วย ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด
- ศาลรัฐ ธรรมนูญ มีหน้าที่วินิจฉัยกฎหมายหรือร่างกฎหมายว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ พิจารณา
วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรอิสระ
> ประกอบด้วยสมาชิก 9 คน คือ ประธาน 1 คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 8 คน มี
สัญชาติไทย อายุ 45 ปีขึ้นไป
> ที่มาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ
1) ผู้พิพากษาศาลฎีกา 3 คน
2) ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 2 คน
3) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ 1 คน

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 25
4) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ 1 คน
5) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้รับหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่า
อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า จำนวน 2 คน
- ศาลทหาร มีหน้าที่พิพากษาคดีอาญา ผู้ที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในเวลากระทำผิด
> มี 3 ชั้นศาล คือ ศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารกลาง และศาลทหารสูงสุด
Ø การขัดกันแห่งผลประโยชน์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ สมาชิกวุฒิสภา จะต้อง
- ไม่ดำรงตำแหน่งใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
- ไม่รับหรือก้าวก่ายแทรกแซงการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ หรือเข้าคู่เป็นสัญญากับรัฐ ไม่เป็นหุ้นส่วนหรือ
ผู้ถือหุ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อม
- ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษ
- ไม่กระทำการใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการใช้สิทธิหรือ
เสรีภาพของหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนโดยมิชอบ
- ไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งของตนกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะที่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อ
ประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
- รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือ
ผู้ถือหุ้นในห้างส่วนหรือบริษัทต่อไปตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ และต้องไม่เป็นลูกจ้างของบุคคลใด
Ø การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
บุคคลที่สามารถเสนอพระราชบัญญัติได้ มีดังนี้
- คณะรัฐมนตรี
- สส. จำนวนไม่น้อยกว่า ____ คน
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า ______ คนเข้าชื่อกัน
Ø การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ผู้มีสิทธิเสนอแก้ไข ได้แก่
- คณะรัฐมนตรี - สส. ไม่น้อยกว่า ______ ของจำนวนที่มีอยู่
- สส. และ สว. รวมกันไม่น้อยกว่า ______ ของจำนวนสมาชิกสองสภารวมกันที่มีอยู่
- ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อไม่น้อยกว่า ________ คน
Ø การปกครองส่วนท้องถิ่น
- เป็นรูปแบบการปกครองที่ใช้หลักการกระจายอำนาจ
- องค์กรส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการบริหาร การจัดทำบริการสาธารณะ การส่งเสริมและสนับสนุนการจัด
การศึกษา การเงินและการคลัง และการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 26
- การปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน มี 5 รูปแบบ คือ
> เทศบาล มี 3 ระดับ คือ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล
> องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
> องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
> กรุงเทพมหานคร
> เมืองพัทยา
- สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง
Ø องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
มีหน้าที่ ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ การแต่งตั้งบุคลากรขององค์กรอิสระนั้น พระมหากษัตริย์ทรง
แต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
องค์กร จำนวนสมาชิก วาระการดำรงตำแหน่ง หน้าที่
มีสมาชิกทั้งหมด __ คน - วาระการดำรงตำแหน่ ง - ค ว บ คุ ม แ ล ะ ดู แ ล ก าร
7 ปี เลือกตั้งทั้งในระดับชาติและ
- ดำรงตำแหน่ ง ได้ เพี ย ง ระดับท้องถิ่น
คณะกรรมการการ
วาระเดียว - เป็ น นายทะเบี ย นพรรค
เลือกตั้ง (ก.ก.ต.)
การเมือง
- ดู แ ล ก า ร อ อ ก เสี ย ง
ประชามติ
มีสมาชิกทั้งหมด __ คน - วาระการดำรงตำแหน่ ง - รั บ เรื่ อ งร้ อ งทุ ก ข์ จ าก
7 ปี ประชาชนในกรณี ที่ ไม่ ได้ รับ
ผู้ตรวจการแผ่นดิน - ดำรงตำแหน่ ง ได้ เพี ย ง ความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่
วาระเดียว ของรัฐ

มีสมาชิกจำนวน __ คน - วาระการดำรงตำแหน่ ง - ป้ อ งกั น ตรวจสอบ และ


7 ปี ปราบปรามทุจริตของผู้ดำรง
คณะกรรมการ
- ดำรงตำแหน่ ง ได้ เพี ย ง ตำแหน่ ง ทางการเมื อ งและ
ป้องกันและ
วาระเดียว เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ
ปราบปรามทุจริต
- เช่ น กรณี ร่ ำ รวยผิ ด ปกติ
แห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ทุ จ ริ ต ต่ อ ห น้ าที่ ห รื อ ท ำ
ความผิดต่อหน้าที่ราชการ
มีสมาชิกทั้งหมด __ คน - วาระการดำรงตำแหน่ ง - ตรวจสอบการใช้ จ่ า ยเงิ น
คณะกรรมการ
7 ปี ของแผ่นดิน
ตรวจเงินแผ่นดิน
- ดำรงตำแหน่ ง ได้ เพี ย ง
(ค.ต.ง.)
วาระเดียว

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ


ª×èÍ-Ê¡ØÅ___________________ªÑé¹ Á.4/____ àÅ¢·Õ_è ___ 27
องค์กร จำนวนสมาชิก วาระการดำรงตำแหน่ง หน้าที่
มีกรรมการ __ คน - วาระการดำรงตำแหน่ ง - เผยแพร่ ค วามรู้ เรื่ อ งสิ ท ธิ
คณะกรรมการสิทธิ 7 ปี มนุษยชน
มนุษยชนแห่งชาติ - ดำรงตำแหน่ ง ได้ เพี ย ง - ให้ ค วาม คุ้ ม ค รองและ
(กสม.) วาระเดียว ตรวจสอบการละเมิ ด สิ ท ธิ
มนุษยชน

คำถามชวนคิด
จากการศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. นักเรียนคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีจุดใดที่ต้องแก้ไขหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
___________________________________________________________
___________________________________________________________
___________________________________________________________
___________________________________________________________
___________________________________________________________
___________________________________________________________
___________________________________________________________
2. นักเรียนคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความสำคัญอย่างไรต่อชีวิตของนักเรียนบ้าง จงอธิบาย
___________________________________________________________
___________________________________________________________
___________________________________________________________
___________________________________________________________
___________________________________________________________
___________________________________________________________
___________________________________________________________

Ê31102 Êѧ¤ÁÈÖ¡ÉÒ ÈÒʹÒáÅÐÇѲ¹¸ÃÃÁ Á.4 ÀÒ¤àÃÕ¹·Õè 2 »Õ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ 2566 âçàÃÕ¹ÊÒÁàʹÇÔ·ÂÒÅÑÂ

You might also like