You are on page 1of 146

ุรี

การปริวรรตเอกสารโบราณสมุดข่อย

รบ
พช
เรื่อง ตำราธาตุพิการ

ณ์เ
ักษ
ผู้จัดทำ


นางสาวกุสุมา
นางสาวเวสารัช
ทรัพย์มา
เมฆสว่าง
ลาย 594101503
594101532
รรม
นางสาวอรณิชา ธรรมเนียมไทย 594101537

รณ

นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย รหัสชั้นเรียน ๕๙๔๑-๐๑/๕


ล ะวร

เสนอ
นแ

อาจารย์แสนประเสริฐ ปานเนียม
ติช
ูลค
้อม

เอกสารฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นเพชรบุรี (๑๕๔๓๒๐๔)
ย์ข

ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑


ศูน

สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำนำ
สมุดข่อยตำราธาตุพิการเล่มนี้ ได้มาจากนายอำเภอมนัส นิลสุข บ้านศาลาเขื่อน มอบให้
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เดิมเป็นสมบัติของหมอพัน นิลสุข บิดาของนายอำเภอมนัส ซึ่งเป็น
แพทย์แผนโบราณ มีเนื้อหากล่าวถึง ความรู้พื้นฐานของทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นส่วนที่มีการ
กล่าวถึงองค์ประกอบต่างๆ ทางร่างกายของมนุษย์ สาเหตุการเกิดโรคของมนุษย์ การวินิจฉัยโรค

ุรี
การรักษาโรค และการศึกษายาสำหรับรักษาโรคตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย โดยบุคคลที่จะศึกษา

รบ
วิชาแพทย์จะต้องเรียนรู้หลักการเบื้องต้นนี้ก่อน จึงจะมีความรู้ความชำนาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

พช
ได้
คณะผู้จัดทำได้ทำการปริวรรตสมุดข่อยตำราธาตุพิการ ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ในสาขาวิชา

ณ์เ
ภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ซึ่งทางหลักสูตรของ

ักษ
สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้จัดให้นักศึกษาเรียนในรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น


เพชรบุรี ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ปริวรรตสมุดไทย หรือใบลานที่เกิดขึ้นในสมัยต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่
ลาย
หาได้ยาก ผู้ศึกษาจึงลงพื้นที่เสาะหา สมุดไทยและทำปริวรรตสมุดข่อยตำราธาตุพิการ เพื่อศึกษา
เนื้อหาใน สมุดข่อย ศึกษาอักขระและการเขียนสะกดคำที่ผู้แต่งใช้เขียน คำศัพท์โบราณและคุณค่า
รรม
ด้านต่างๆ ที่ปรากฏในเรื่อง ทำให้ผู้ศึกษา มีความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นเป็นอย่างมาก การปริวรรตสมุดข่อย

ตำราธาตุพิการ ฉบับนี้อาจยังไม่สมบูรณ์นัก หากมีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้ศึกษาจึงขออภัยท่าน


รณ

ผู้อ่านมา ณ ที่นี้และหากท่าน พึงพอใจกับเนื้อหาที่ปริวรรตวรรณกรรมครั้งนี้ ก็ขอได้ยกคุณความดีให้


แต่ผู้รังสรรค์และคัดลอกวรรณกรรมสืบมา
ะวร

ท้ายที่สุดนี้คณะผู้ศึกษาขอกราบขอบพระคุณอาจารย์แสนประเสริฐ ปานเนียม ที่ให้คำปรึกษา


ได้เมตตาอนุเคราะห์อนุญาตให้ศึกษาและปริว รรต วรรณกรรม ตั้งแต่การลงพื้นที่ส ำรวจข้อมูล


นแ

ตลอดจนให้ คำปรึกษาในการปริวรรตวรรณกรรมอย่างดียิ่ง จนทำให้การปริวรรตสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี


ติช
ูลค
้อม
ย์ข
ศูน

สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
คุณค่าของวรรณกรรม 1

ุรี
คุณค่าด้านเนื้อหา 1

รบ
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ 25

พช
การส่งสัมผัส 25
- สัมผัสนอก 25

ณ์เ
- สัมผัสใน 25

ักษ
การเล่นเสียง 25


- การเล่นเสียงพยัญชนะ 25

ภาพพจน์
- การเล่นเสียงสระ ลาย 26
26
รรม
- อุปมา 26
- อุปลักษณ์ 27

- อติพจน์ 27
รณ

- สัทพจน์ 28
ะวร

คำซ้อน 28
การซ้ำคำ 29

ด้านภาษา 29
นแ

เครื่องหมายวรรคตอนที่ปรากฏ 30
ติช

คุณค่าด้านสังคม 31
ูลค

- การเชื่อฟังคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ 31
- แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของแพทย์ 31
้อม

- ความเป็นอยู่ของคนในสังคม 32
ย์ข

- การรู้เรื่องราวในอดีต 33
ศูน

- การใช้มาตราชั่งตวง 34
- การรู้จักคุณค่าของยา 35
- การนับเวลาแบบจันทรคติ 36

สารบัญ (ต่อ)
เรื่อง หน้า
เนื้อหาส่วนหน้าต้น 37
เนื้อหาส่วนหน้าปลาย 61
ภาคผนวก 71

ุรี
ประวัติผู้จัดทำ 143

รบ
พช
ณ์เ
ล ักษ
ลาย
รรม

รณ
ล ะวร
นแ
ติช
ูลค
้อม
ย์ข
ศูน

วิเคราะห์คุณค่าของสมุดข่อยตำราธาตุพิการ
๑. คุณค่าด้านเนื้อหา
สมุดข่อย ตำรายาฉบับนี้ มีลักษณะคำประพันธ์แบบร้อยกรองประเภทกาพย์ยานี ๑๑ และมี
ลักษณะคำประพันธ์แบบร้อยแก้ว ซึ่งในเนื้อหากล่าวถึง ความรู้พื้นฐานของทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
ซึ่งเป็นส่วนที่มีการกล่าวถึงองค์ประกอบต่างๆ ทางร่างกายของมนุษย์ สาเหตุการเกิดโรคของมนุษย์
การวินิจฉัยโรค การรักษาโรค และการศึกษายาสำหรับรักษาโรคตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย โดย

ุรี
รบ
บุคคลที่จะศึกษาวิชาแพทย์จะต้องเรียนรู้หลักการเบื้องต้นนี้ก่อน จึงจะมีความรู้ความชำนาญในการ
รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ซึ่งในสมุดข่อย ตำรายาฉบับนี้ได้มีหลักการเบื้องต้นของการแพทย์แผนไทยไว้ ๔

พช
หมวดดังนี้

ณ์เ
1. รู้ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค

ักษ
๒. รู้จักชื่อของโรคที่เกิดขึ้น
3. รู้จักยาสำหรับรักษาโรค


4. รู้ว่ายาอย่างใดควรจะแก้โรคอย่างใด
หมวดที่ 1 รู้ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค
ลาย
รรม
หมวดที่ ๑ กล่าวถึง สาเหตุหรือสมุฏฐานที่ทำให้ร่างกายขาดความสมดุลจึงเกิดการ
เจ็บป่วย หรือเกิดโรคขึ้น สมุดข่อยเล่มนี้ บอกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค แบ่งเป็น 4 สาเหตุ ได้แก่

รณ

1. ธาตุสมุฏฐาน
2. อุตุสมุฏฐาน
ะวร

3. อายุสมุฏฐาน
4. กาลสมุฏฐาน

1. ธาตุสมุฏฐาน กล่าวถึง ชื่อธาตุที่เป็นการเกิดของโรคต่างๆ ซึ่งธาตุมีทั้งหมด ๔ ธาตุ ได้แก่


นแ

ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และ ธาตุไฟ ในร่างกายของคนเราจะประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ธาตุ หากมีธาตุใด


ติช

ธาตุหนึ่งเด่นหรือมากกว่าธาตุอื่น จะทำให้ร่างกายมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ
ูลค

2. อุตุสมุฏฐาน กล่าวถึงฤดู ซึ่งฤดูกาลต่างๆ เป็นแหล่งกำเนิดของโรคต่างๆ ซึ่งในแต่ละฤดูมี


สภาพดินฟ้าอากาศที่เกิดขึ้นแตกต่างกันส่งผลให้ร่างกายแปรปรวน เนื่องจากร่างกายมีความคุ้นเคยอยู่
้อม

กับฤดูหนึ่งแต่เมื่อมีการเปลี่ยนฤดูร่างกายจะต้องปรับสภาพให้เข้ากับฤดูนั้นๆ แต่ถ้าเป็นคราวที่ธาตุ
ย์ข

ต่างๆ ในร่างกายหมุนเวียนปรับเปลี่ยนไปไม่ทันตามฤดูจะทำให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาได้
ศูน

๓. อายุสมุฏฐาน กล่าวถึง อายุเป็นที่ตั้งของโรค หรือการเจ็บป่วยที่เกิดจากอายุที่เปลี่ยนไปใน


แต่ละช่วง และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัยก็จะเจ็บป่วยด้วยสมุฏฐานที่แตกต่างกัน
๔. กาลสมุฏฐาน กล่าวถึง เวลาเป็นเหตุของการเกิดโรคต่างๆ เนื่องมาจากเวลาที่ม ีก าร
เปลี่ยนแปลงไปทุก 24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน จึงทำให้เกิดการแปรปรวนของธาตุต่างๆ ในร่างกาย
นอกจากนี้ยังกล่าวถึง ประเทศสมุฏฐาน ประเทศที่อยู่เป็นที่ตั้งของโรค คือ ความเป็นอยู่ของ
แต่ละภูมิภาคในประเทศไทยทำให้เกิด โรคต่าง ๆ ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ของแต่ละที่จะมีความ
แตกต่างไปถ้าบุคคลที่เคยอยู่ในประเทศในธาตุสมุฏฐานที่มีอยู่ในร่างกายก็จะคุ้นเคยกับอากาศใน

ประเทศนั้นตามปกติ แต่ถ้าบุคคลที่เคยอยู่ในประเทศที่ร้อนแล้วมาอยู่ในประเทศที่หนาว หรือบุคคลที่


เคยอยู่ในที่เป็นเขาป่าสูงแล้วมาอยู่ชายทะเล เมื่อยังไม่คุ้นเคยกับอากาศในประเทศนั้นๆ ก็จะทำให้เกิด
ความเจ็บป่วยได้ ซึ่งการเจ็บป่วยนั้นก็เป็นเพราะธาตุไม่คุ้นเคยกับประเทศนั่นเอง
หมวดที่ ๒ รู้จักชื่อของโรคที่เกิดขึ้น
หมวดที่ ๒ กล่าวถึงว่า หมอจะต้องรู้จักชื่อของโรคในอาการป่วยที่คนไข้เป็นนั้นมีชื่อ

ุรี
โรคที่หมอทั้งหลายได้สมมุติไว้ชื่อโรคว่าอย่างไร เช่น โรคหวัด โรคไอ โรคไข้ โรคลม เป็นต้น และต้องรู้

รบ
ชื่อของโรคต่างๆ ที่มีการกล่าวไว้ในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์ทั้งหมด โดยชื่อของโรคที่ได้ กำหนดบัญญัติไว้

พช
เป็นชื่อที่เกิดจากหมอผู้รักษาโรคนั้นได้สมมุติขึ้น เพื่อชื่อโรคที่ถูก กำหนดขึ้นจะได้สะดวกต่อการจดจำ

ณ์เ
และการจำแนกอาการนั้นๆ ในทางการแพทย์แผนไทยได้กำหนดการเรียกชื่อโรคไว้ดังนี้
2.1 เรียกตามสมุฏฐานธาตุโดยเรียกตามชื่อธาตุทั้ง 4 พิการ ซึ่งได้จ ำแนกออกเป็น

ักษ
ธาตุดิน 20 ธาตุน้ ำ 12 ธาตุลม 6 ธาตุไฟ 4 รวมเป็น 42 อย่าง คือ เมื่อธาตุพิการจะมีการแสดง


อาการต่างๆ ตามธาตุที่มีพยาธิสภาพ จึงทำให้มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ถ้าจะเรียกชื่อของโรคให้
ลาย
ตรงกับความเป็นจริงแล้วต้องเรียกตามชื่อของธาตุ 42 ประการนั้นมาเป็นชื่อของโรค เช่น มีความ
ผิดปกติที่ผมก็เรียกชื่อโรคเป็นเกศาพิการ ความผิดปกติที่ฟันก็เรียกชื่อโรคเป็นทันตาพิการ ความ
รรม
ผิดปกติที่เลือดก็เรียกชื่อโรคเป็นโลหิตพิการ เป็นดังนี้เพราะคำว่าโรคนั้นก็คือธาตุพิการ

รณ

หมวดที่ 3 รู้จักยาสำหรับรักษาโรค
หมวดที่ ๓ กล่าวไว้ว่า ผู้ที่จะเป็นหมอได้จะต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆ ทีจ่ ะนำมาปรุงเป็นยา
ะวร

รักษาโรค การที่จะรู้จักยานั้นต้องรู้จักหลัก 4 อย่าง คือ รู้จักตัวยา รู้จักสรรพคุณยา รู้จักตัวยาที่มีชื่อ


ต่างกัน และรู้จักการปรุงยาที่ประสมใช้ตามวิธีต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้


นแ

3.1 รู้จักตัวยา ด้วยลักษณะ 5 ประการ คือ รู้จักรูป รู้จักสี รู้จักกลิ่น รู้จักรสและ


ติช

สรรพคุณ และรู้จักชื่อ ตามหลักของเภสัชวัตถุ ซึ่งเภสัชวัตถุเป็นวัตถุต่างๆ ทุกชนิดที่จะนำมาใช้เป็นยา


รักษาโรค แบ่งเภสัชวัตถุเป็น 3 จำพวก คือ พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุ
ูลค

1) พืชวัตถุ ได้แก่ พรรณไม้ พรรณหญ้า เครือเถา พรรณไม้ให้รู้จักว่า ไม้


้อม

อย่างนี้ ดอก เกสรผล เมล็ด กะพี้ ยาง แก่น ราก มีรูปอย่างนั้น มีกลิ่นอย่างนั้น มีสีอย่างนั้น มีรสอย่าง
ย์ข

นั้นชื่อว่าอย่างนั่น พรรณหญ้าและเครือเถาก็ให้รู้ อย่างเดียวกัน


2) สัตว์วัตถุ ได้แก่ สัตว์ชนิดต่างๆ โดยนำเอาอวัยวะส่วนต่างๆ ของสัตว์มา
ศูน

ใช้ทำยารักษาโรคส่วนอวัยวะของสัตว์ก็ให้รู้ว่าเป็น ขน หนัง เขา นอ งา เขี้ยว ฟัน กราม กีบ กระดูก ดี


มีลักษณะ รูป สี กลิ่น รส ชื่ออย่างนี้เป็นส่วนใดของสัตว์ เป็นกระดูกสัตว์ใด เป็นเขาสัตว์ใดเป็นต้น
3) ธาตุวัตถุ ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือที่ประกอบ
ขึ้นนำมาใช้เป็นยารักษาโรค ส่วนของแร่ธาตุต่างๆ ก็ให้รู้จักลักษณะ รูป สี กลิ่ น รส และชื่อ เช่น
การบูรดินประสิว กำมะถัน จุนสี เหล่านี้ต่างก็มีรูป สี รส กลิ่น เป็นที่แตกต่างกัน

3.2 รู้จักสรรพคุณยา จะต้องรู้จักรสและสรรพคุณของยา และวัตถุที่ต่างๆ ที่จะ


นำมาปรุงเป็นยารักษาโรค ซึ่งรสของยาจะบอกถึงสรรพคุณของยา รสยาจะเอารสยา 3 รสขึ้นตั้งเป็ น
ประธาน (ยารสประธาน) ยังมีการจำแนกตามรสเป็น 9 รส และจัดยาตามธาตุทั้ง 4 ที่เกิดธาตุพิการ
ขึ้นดังนี้
1) รสประธาน 3 รส คือ
- ยารสร้อนได้แก่ยาที่เข้าเบญจกูล ตรีกฎุก เช่น หัสคุณ ขิง ข่า ปรุงเป็นยา

ุรี
รบ
สำหรับแก้ทางวาโยธาตุ เป็นต้น
- ยารสเย็น ได้แก่ ยาที่เข้าใบไม้(ที่ไม่ร้อน) เกสรดอกไม้สัตตเขา เนาวเขี้ยว

พช
และของที่เผาเป็นถ่านแล้วปรุงยา เช่น ยามหานิล สำหรับแก้ทางเตโชธาตุเป็นต้น

ณ์เ
- ยารสสุขุม ได้แก่ ยาที่เข้า โกฐ เทียน กระลำพัก ชะลูด ปรุงเป็นยาหอมทั้ง

ักษ
ปวง สำหรับแก้ทางโลหิต เป็นต้น
2) รสยา 9 รส บางตำราจะเพิ่มรสจืด รวมเป็น 10 รส คือ


- รสฝาด สำหรับสมาน
ลาย
- รสหวาน สำหรับซึมซาบไปตามเนื้อ
รรม
- รสเมาเบื่อ แก้พิษ
- รสขม แก้ทางโลหิตและดี

- รสเผ็ดร้อน แก้ลม
รณ

- รสมัน แก้เส้นเอ็น
ะวร

- รสหอมเย็น ทำให้ชื่นใจ
- รสเค็ม ซาบไปตามผิวหนัง

นแ

- รสเปรี้ยว แก้เสมหะ
- รสจืด สำหรับแก้ทางเสมหะ
ติช

3) ธาตุทั้ง 4 พิการ จะจัดยาตามธาตุที่เกิดพิการ โดยใช้รสยาแก้ให้ถูกตาม


ูลค

โรค คือ
้อม

- โรคที่เกิดขึ้นเพื่อปถวีพิการ ชอบยา รสฝาด รสเค็ม รสหวาน รสมัน


- โรคที่เกิดขึ้นเพื่ออาโปธาตุพิการ ชอบยา รสขม รสเปรี้ยว รสเมาเบื่อ
ย์ข

- โรคที่เกิดขึ้นเพื่อเตโชธาตุพิการ ชอบยา รสจืด รสเย็น


ศูน

- โรคที่เกิดขึ้นเพื่อวาโยธาตุพิการ ชอบยา รสสุขุม รสเผ็ดร้อน


3.3 รู้จักเครื่องยำที่มีชื่อต่ำงกันรวมเรียกเป็นชื่อเดียว (พิกัดยา) ยาเหล่านี้จะจัดไว้
เป็นหมวดๆ ตามพิกัด จะนำมากล่าวไว้พอเป็นตัวอย่าง ดังนี้
1) หมวดของ 2 สิ่ง มีตัวยา 2 อย่าง เช่น
- เทวคันธา (ทเวสุคนธ์) ประกอบด้วย รากบุนนาค รากมะทราง

- เทวตรีคันธา (ทเวติคันธา) ของ 2 สิ่งๆละ 3 ส่วน ประกอบด้วย ดอก


บุนนาค แก่นบุนนาค รากบุนนาค ดอกมะทราง แก่นมะทราง รากมะทราง
2) หมวดของ 3 สิ่ง มีตัวยา 3 อย่าง เช่น
- ตรีสุคนธ์ คือ รากอบเชยเทศ รากอบเชยไทย รากพิมเสนต้น
- ตรีผลา คือ ผลสมอไทย ผลสมอพิเภก ผลมะขามป้อม
- ตรีกระตุก คือ เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี เหง้าขิง

ุรี
รบ
หมวดที่ ๔ รู้ว่ายาอย่างใดควรจะแก้โรคอย่างใด
หมวดที่ ๔ ในหมวดนี้เป็นความรู้ที่สำคัญ เนื่องจากผู้ที่เป็นแพทย์ไม่เรียนรู้ให้มีความชำนาญก็

พช
จะไม่รู้จักยาที่จะใช้รักษาคนไข้และไม่สามารถให้การรักษาได้ ซึ่งยาที่มีอยู่ในตำราเป็นยาที่เคยใช้รักษา

ณ์เ
คนไข้ให้หายจากการเจ็บป่ วยมาแล้ว ถ้าไม่มีความรู้ในสรรพคุณของยา หรือรู้แต่ไม่รู้จริง ก็จะให้ยา

ักษ
รักษาไม่ถูกกับโรคของคนไข้ และบางที่ก็ให้ยาผิดโดยไม่รู้ว่ายาอย่างนี้รักษาโรคอย่างนี้ได้หรือไม่ รู้แต่
ว่าเป็นยาก็ให้คนไข้กิน จากที่จะรักษาโรคของคนไข้กลับเป็นการทำให้โรคของคนไข้เป็นมากขึ้น หรือ


ลาย
อาจจะท าให้เสียชีวิตได้จากที่มีกล่าวไว้ว่า ยาใช้ให้ถูกก็แก้โรคหาย ก็มีคุณอนันต์ แต่ถ้าใช้ไม่ถูกกับโรค
ก็มีโทษมหันต์เช่นกัน เพราะฉะนั้นแพทย์จะต้องมีความรู้ในเรื่องสรรพคุณของยาต่างๆ ว่าควรจะใช้แก้
รรม
โรคชนิดใดได้
จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะทำให้เห็นว่าสมุดข่อยตำราธาตุพิการ มีคุณค่าที่หลากหลาย เป็น

ประโยชน์ต่อผู้รักษาคนไข้หรือที่เรียกกันว่า แพทย์ ซึ่งในด้านของเนื้อหาตำรายาหมวดที่ ๑ ของคัมภีร์


รณ

จะทำให้ทราบที่มาของโรคต่างๆ ว่าแต่ละโรคนั้นเกิดจากอะไร เนื้อหาส่วนนี้ช่วยเป็นแนวทางให้กับ


ะวร

แพทย์ว่า โรคใดเกิดจากอะไรและจะช่วยให้วินิจฉัยผู้ป่วยได้หาวิธีการกำจัดและป้องกันได้อย่างถูกต้อง
หมวดที่ ๒ ทำให้รู้ชื่อโรคของแต่ละโรค ว่าโรคใดควรเรียกว่าอย่างไร หมวดที่ ๓ ทำให้ทราบว่ายาชนิด

นแ

ใดควรรักษาโรคชนิดใด หมวดนี้เป็นประโยชน์แก่แพทย์ ว่าการกินยาให้ถูกกับอาการที่ตนเป็นจะช่วย


ให้ร่างกายได้ฤทธิ์ยาตามที่ต้องการได้ และหายจากการเจ็บป่วยได้ หมวดที่ ๔ รู้ว่ายาอย่างใดควรจะ
ติช

แก้โรคอย่างใด หมวดที่ ๔ นี้ เป็นประโยน์แก่แพทย์ เพื่อนำไปใช้ในการรวบรวมข้อมูลสำหรับ


ูลค

การวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง และนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องด้วย
้อม
ย์ข
ศูน

ชื่อสมุนไพรในตำราธาตุพิการ
ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ
๑. กะเพรา ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้ปวดท้อง
บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียด

ุรี
รบ
พช
๒. กระดอม แก้พิษสำแลง เป็นยาถอนพิษจากการกิน
ผลไม้ที่เป็นพิษบางชนิด ถอนพิษจากพืชพิษ

ณ์เ
ขับน้ำลาย ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี บำรุง

ักษ
ธาตุ รักษาโรคในการแท้งลูก


๓. กระทกรก ลาย
ใช้เป็นยาควบคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมาทุก
ชนิด และใช้รักษาบาดแผล ใช้ตำให้ละเอียด
รรม
แล้วคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อและขับพยาธิ ใช้
พอกแก้สิว

รณ

๔. กระเทียม เป็นยาขับลม แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องอืด


ะวร

ท้องเฟ้อ แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ขับ


เสมหะ ขับเหงื่อ ลดไขมัน รักษาปอด แก้

นแ

ปอดพิการ แก้อุจจาระเป็นมูกเลือด บำรุง


ธาตุ กระจายโลหิต
ติช

5. กระพังโหม เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ธาตุพิการ แก้ตานซาง


ูลค

แก้ดีรั่ว ช่วยเจริญอาหาร
้อม
ย์ข
ศูน

6. กระวานเทศ บำรุงธาตุ กระจายโลหิต เสมหะ ขับลม ช่วย


เจริญอาหาร และระบาย แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้
อาการเกร็งของลำไส้ ทางสุคนธบำบัด

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


7. กันเกรา แก้ไข้มาลาเรีย แก้หอบหืด บำรุงธาตุ และ
รักษาโรคผิวหนังพุพอง แก่น รสมันฝาดขม
บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ บำรุงไขมัน เป็นยา
อายุวัฒนะ แก้ไข้จับสั่น หืด ไอ แก้ริดสีดวง
8. กล้วย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น

ุรี
รบ
โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจ
ควบคุมระดับความดันโลหิต แก้ท้องอืด

พช
ท้องเสีย

ณ์เ
ักษ
9. การบูร มีรสเผ็ดร้อนเป็นยาแก้ปวด การบูรใช้เป็นทา
ถูนวดแก้อาการปวด แก้เคล็ดขัดยอก เคล็ด


บวม ข้อเท้าแพลง ข้อบวมเป็นพิษ แก้
ลาย
อาการปวดตามข้อ แก้ปวดเส้นประสาท
รรม
ปวดขัดตามเส้นประสาท
10. กุ่มน้ำ ขับเหงื่อ แก้ไข้ เจริญอาหาร ระบาย บำรุง

ธาตุ ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น แก้อัมพาต แก้


รณ

โรคไขข้ออักเสบ แก้สะอึก ขับผายลม แก้ลม


ะวร

ขึ้นเบื้องสูง

11. โกฐก้านพร้าว แก้ไข้เรื้อรัง และแก้ไข้ซึ่งมีอาการให้สะอึก


นแ

แก้หอบ แก้เสมหะเป็นพิษ โกศก้านพร้าว


ติช

เป็นโกศชนิดหนึ่งในพิกัดโกศทั้ง 7 และโกศ
ทั้ง 9
ูลค
้อม

12. โกฐเขมา ยาบำรุงธาตุ ขับลม เป็นยาบำรุง ใช้แก้โรค


ย์ข

เข้าข้อ เป็นยาเจริญอาหาร ยาขับปัสสาวะ


แก้โรคในปากในคอเป็นแผลเน่าเปื่อย แก้
ศูน

เสียดแทงสองราวข้าง

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


13. โกฐเชียง แก้ไข้ แก้สะอึก แก้ไอ แก้หอบ แก้เสียดแทง
สองราวข้าง รักษาความผิดปกติของ
ประจำเดือน ปวดประจำเดือน ใช้รักษา
อาการปวดท้อง ปวดข้อ และอาการปวด
หลังจากการผ่าตัด แก้ท้องผูก ตับอักเสบ

ุรี
เรื้อรัง บำรุงโลหิต กระจายโลหิต

รบ
14. โกฐพุงปลา เป็นยาคุมธาตุ แก้อุจจาระธาตุพิการ แก้

พช
อติสาร แก้โรคอุจจาระธาตุลงอติสาร ลงแดง

ณ์เ
ล ักษ
15. โกฐสอ ใช้แก้ไข้ แก้หืด แก้ไอ ทำหัวใจให้ชุ่มชื่น
ลาย
แก้เสมหะเป็นพิษ แก้สะอึก แก้หลอดลม
อักเสบ แก้ไข้จับสั่น
ก รรม
รณ

16. กำยาน แก้การหายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก ช่วย


ทำให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก แก้เป็น
ะวร

ลมเฉียบพลัน

นแ

17. ข่า ขับลม บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ต้าน


ติช

มะเร็ง รักษากลากเกลื้อน
ูลค
้อม
ย์ข

18. ข้าว บำรุงร่างกาย และเสริมสร้างการสึกหรอ


เพิ่มพลังงาน ฟื้นฟูกำลัง ป้องกันอาการ
ศูน

อ่อนเพลีย

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


19. ขิง รักษาอาการท้องอืด เฟ้อ เสียดท้อง อาหาร
ไม่ย่อย ปวดเกร็งช่องท้อง แก้คลื่นไส้
อาเจียน ท้องเสีย ช่วยกระตุ้นความอยาก
อาหาร รักษาอาการหวัด

ุรี
20. ขัดมอน แก้ไข้หัด อิสุกอิใส อิดำอิแดง แก้พิษไข้ ไข้

รบ
กาฬ แก้ฝีดาษแก้ร้อนใน แก้ไข้เยื่อหุ้มสมอง

พช
อักเสบ แก้ปวดมดลูก

ณ์เ
ักษ
21. ขมิ้น ยาบำรุงธาตุ ฟอกเลือด แก้ท้องอืดเฟ้อ แน่น


จุกเสียด ลดน้ำหนัก ปวดประจำเดือน
ลาย
ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาการดีซ่าน แก้
อาการวิงเวียน แก้หวัด แก้อาการชัก ลดไข้
รรม
ขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องมาน แก้ไข้
ผอมแห้ง แก้เสมหะและโลหิตเป็นพิษ

รณ

22. ขี้กา รสขม บำรุงน้ำดี แก้ไข้ ดับพิษไข้ แก้ปวด


ศีรษะ แก้จุกเสียด บดทาฝีฝักบัว แก้ตับโต
ะวร

ม้ามย้อย อวัยวะในช่องท้องบวมโต ผล รส
ขม บำรุงน้ำดี แก้พิษเสมหะและโลหิต ถ่าย

นแ

พิษเสมหะให้ตก แก้พิษตานซาง
23. ขี้เหล็ก แก้อาการท้องผูก บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี
ติช

ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยกำจัดรังแค ทำ
ูลค

ความสะอาดผมทำให้ผมชุ่มชื่นเงางาม
้อม
ย์ข

24. ไข่เน่า รักษาโรคเบาหวาน และบำรุงสมอง ช่วย


ศูน

ระบบการขับถ่าย กินแล้วหัวดี รากต้นไข่เน่า


เป็นยาเจริญอาหาร แก้ท้องเสีย และแก้โรค
ตานขโมย

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


25. คนทีสอ ใช้รักษาอาการไข้จากความเย็น ช่วยแก้ลม
ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย

ุรี
26. จิงจ้อ เถาจิงจ้อขาว รสร้อน ปรุงเป็นยาแก้บวม แก้

รบ
พรรดึก กระตุ้นลำไส้ให้ช่วยย่อยอาหาร แก้

พช
เสมหะ โลหิตและกำเดา ใบจิงจ้อขาว ตำ

ณ์เ
เป็นยาพอกแผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก
เป็นยาพอกแผล

ักษ
27. จุกโรหินี ก้ปวดท้อง เนื่องจากโรคกระเพาะอาหาร


อักเสบ ใบ รสฝาดสุขม ใช้เป็นยาฝาดสมาน
ลาย
แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน แก้บิด แก้อาเจียน
ก รรม

28. เจตพังคี ช่วยคลายเส้นเอ็น และทำให้การไหลเวียน


รณ

ของเลือดดีขึ้น ขับลมชื้น ใช้รักษาโรคไขข้อ


ะวร

อักเสบเนื่องจากลมชื้นเกาะติด แก้ปวด

นแ

29. เจตมูล มีรสร้อน เป็นยาบำรุงไฟธาตุ บำรุงโลหิต ขับ


ติช

ลมในลำไส้และกระเพาะอาหารให้ผายเรอ
แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดเสียด แน่นหน้าอก
ูลค
้อม

30. ชิงช้า ชาลี รสขมเย็น ใช้รักษาพิษฝีดาษ เป็นยาบำรุง


ย์ข

กำลัง บำรุงธาตุ บรรเทาอาการกระหายน้ำ


ศูน

ทำให้เจริญอาหาร เจริญธาตุ รักษาไข้เหนือ


รักษาฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษ
๑๐

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


31. ช้องแมว รสขมเย็น แก้ตานขโมย แก้วัณโรค แก้พิษฝี
ภายใน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้กษัย ดับ
พิษร้อน ถอนพิษไข้ ขับพยาธิ

ุรี
32. ชะลูด ขับผายลม แก้ปวดในท้อง บำรุงกำลัง บำรุง

รบ
ดวงจิตให้ชุ่มชื่น ใช้อบผ้ามีสารหอมกลุ่มคูมา

พช
ริน แก้ปวดมวนท้อง บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์

ณ์เ
รักษา แก้ดีพิการ แก้ไข้ แก้ปวดบวม

ักษ
33. ชะเอม รสหวานขมชุ่ม ทำให้ชุ่มคอ แก้คอแห้ง แก้


ไอ แก้น้ำลายเหนียว ขับเสมหะ
ลาย
ก รรม

34. ช้าแป้น ใช้รักษาอาการตัวบวม ฟกช้ำ ปวดฟัน ปวด


รณ

หัว โรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองระยะเริ่มแรก
โรคเก๊าท์ เป็นฝี แผลไฟไหม้ แผลเปื่อย แผล
ะวร

เปื่อยในปาก ผิวหนังอักเสบ และใช้ห้าม


เลือด รักษาโรคเก๊าท์

นแ

35. ตะเคียน ใช้ฆ่าเชื้อโรค แก้อักเสบ ห้ามเลือด เปลือก


ติช

รสฝาดเมา ใช้สมานแผล แก้บิดมูกเลือด แก้


เหงือกอักเสบ และฆ่าเชื้อโรคในปาก แก้ลง
ูลค

แดง แก่น มีรสขมหวาน รักษาคุดทะราด


้อม

ขับเสมหะ แก้โลหิตและกำเดา แก้ไข้สัม


ประชวร
ย์ข

36. ตะไคร้ ใช้แก้ปวด จากการปวดข้อและฟกช้ำ แก้


ศูน

โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ประจำเดือนมาไม่
ปกติ รวมถึงช่วยให้เจริญอาหาร แก้ท้องเสีย
แก้ท้องอืด แก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลมใน
ลำไส้
๑๑

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


38. ตะบูน รักษาอหิวาตกโรค หรือใช้ต้มล้างแผล
เปลือกและเมล็ดแก้โรคบิดและท้องร่วง

ุรี
39. ตาล ช่วยแก้ตานขโมยในเด็ก ช่วยขับเลือด ช่วย

รบ
แก้อาการกระสับกระส่ายของสตรีหลังคลอด

พช
บุตร

ณ์เ
ักษ
40. ตุมกา ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ ขับ


น้ำย่อย เมล็ด มีพิษมากต้องระมัดระวังใน
ลาย
การใช้ ทางยา เมล็ดมีรสเมาเบื่อขมจัด
บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจให้เต้นแรง แก้อัมพาต
รรม
แก้อิดโรย

41. แตงกวา ช่วยลดอุณหภูมิ หรือความร้อนภายใน


รณ

ร่างกาย
ล ะวร
นแ

41. ดีปลี แก้อัมพาต แก้เส้นปัตตะฆาต แก้เส้นอัม


ติช

พฤกษ์ แก้คุดทะราดให้ปิดธาตุ แก้โรค


หลอดลมอักเสบ เป็นยาขับระดู เป็นยาธาตุ
ูลค

ทาแก้ปวดอักเสบของกล้ามเนื้อ ระงับอชิณ
้อม

โรค บำรุงธาตุ ขับลม


ย์ข

42. เถามวก ใช้เป็นยารักษาอาการพิษ รักษาอาการสลบ


รักษาบาดแผล รักษาอาการประดง รักษา
ศูน

น้ำเหลืองเสีย และฆ่าพยาธิ
๑๒

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


43. เถาวัลย์เปรียง ขับปัสสาวะ แก้บิด แก้หวัด แก้เส้นเอ็น
พิการ แก้เมื่อยขบในร่างกาย แก้กระษัย
เหน็บชา ถ่ายกระษัย แก้เส้นเอ็นขอด ถ่าย
เสมหะ

ุรี
44. ทนดี ขับลม แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย แก้

รบ
อาการบวมน้ำ แก้ดีซ่าน แก้ม้ามอักเสบ ถ่าย

พช
ลมเป็นพิษ

ณ์เ
ักษ
45. ทับทิม ต่อต้านสารอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน


บำรุงหัวใจ บำบัดเบาหวาน
ลาย
ก รรม

46. เทียนแดง แก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจ


รณ

สั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นใน


ท้อง
ล ะวร
นแ

47. เทียนดำ ขับเสมหะให้ลงสู่คูทวาร ขับลมในลำไส้ ช่วย


ติช

ย่อย แก้ท้องอืด เฟ้อ แก้อาเจียน บำรุงโลหิต


ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ ขับระดู บีบมดลูก แก้
ูลค

โรคลม ขับพยาธิ
้อม
ย์ข

48. เทียนตั๊กแตน เป็นยาขับลม บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ช่วย


ย่อยอาหาร แก้ท้องอืดเฟ้อในเด็ก แก้เสมหะ
ศูน

พิการ แก้โรคกำเดา
๑๓

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


49. เทียนเยาวพาณี ขับลม กระจายเสมหะ แก้คลื่นไส้ อาเจียน
จุกเสียด กระจายโลหิต ขับลมในท้องที่
ปั่นป่วนอยู่โดยรอบสะดือ

ุรี
50. เทียนสัตตบุษย์ รสเผ็ดหอมหวานเล็กน้อยแก้ลมครรภ์รักษา

รบ
แก้พิษระส่ำระสาย แก้อาการหอบ และ

พช
สะอึก แก้ไข้ แก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ

ณ์เ
ักษ
51. เทพทาโร ใบ รสร้อน ใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลม จุก


เสียดแน่นเฟ้อ แก้อาการปวดท้อง ขับผาย
ลาย
ลมได้ดี ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร
ให้เรอ เป็นยาบำรุงธาตุ ขับเสมหะ เปลือก
รรม
รสร้อน มีน้ำมันระเหย

52. ทองหลาง เปลือกต้น รสเฝื่อนขม ต้มน้ำดื่ม แก้โรคตับ


รณ

ลดไข้ แก้ปวดท้อง บดเป็นผงอุดฟันแก้ปวด


แก้เสมหะ แก้ลมเป็นพิษ หยอดตาแก้ตาแดง
ะวร

ตาฝ้าฟางและตาแฉะ

นแ

53. นมตำเลีย ยางจากต้นใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ


ติช
ูลค
้อม
ย์ข

54. นมวัว ยาบำรุงร่างกายหลังเจ็บป่วย แก้กษัย ปวด


เมื่อยตามตัว แก้ท้องบวม ปัสสาวะขุ่นข้น
ศูน

รักษาไข้ที่ไม่มีเหงื่อออก รักษาฝีในท้อง แก้


ไข้ ถอนพิษสำแดง ไม่ระบุส่วนที่ใช้ รักษา
มาลาเรีย รักษาวัณโรค
๑๔

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


55. น้ำเต้า เป็นยาเย็นและชื้น มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วย
ที่เป็นโรคหัวใจและผู้ชราภาพ ช่วยป้องกัน
การเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
โรคมะเร็งปอด

ุรี
56. เบญกานี รสขมฝาด เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อ

รบ
ปอด ม้าม และไต ใช้เป็นยาแก้ไอเป็นเลือด

พช
หลอดลมอักเสบ แก้อาการปวดฟัน

ณ์เ
ักษ
57. บุนนาค เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุ และขับลม แก้


ลมกองละเอียด วิงเวียน หน้ามืดตาลาย ใจ
ลาย
สั่น ชูกำลัง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจให้แช่ม
ชื่น แก้ร้อนในกระสับกระส่าย รักษาอาการ
รรม
ร้อนอ่อนเพลีย แก้กลิ่นสาบในร่างกาย

58. บัวหลวง เกสรบัวหลวง ใช้บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น


รณ

บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงกำลัง คุมธาตุ แก้


ล้ม แก้ไข้
ล ะวร
นแ

59. บอระเพ็ด มีรสขมจัดเย็น แก้ไข้ทุกชนิด แก้พิษฝีดาษ


ติช

เป็นยาขมเจริญอาหาร ต้มดื่มเพื่อให้เจริญ
อาหาร ช่วยย่อย บำรุงน้ำดี บำรุงไฟธาตุ แก้
ูลค

โรคกระเพาะอาหาร บำรุงร่างกาย
้อม
ย์ข

60. ใบยางทราย ใบมีรสร้อน มีสรรพคุณแก้เสมหะ ขับลมใน


ลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ขับโลหิต
ศูน
๑๕

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


61. ใบรัก ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร ยาง
ขาวจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาขับเลือด ทำให้แท้ง
ได้

ุรี
62. ปอด ขับเสมหะ ขับเหงื่อในคนเป็นโรคท้องมาน

รบ
ดอก แก้ไข้อันกระทำให้หนาว แก้ริดสีดวง

พช
อันเป็นเพื่อโลหิต ต้น รสขื่น แก้โลหิตพิการ

ณ์เ
แก้ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง แก้ไข้สตรีในเรือน
ไฟ

ักษ
63. เปราะหอม แก้หวัดคัดจมูก รับประทานขับลมในลำไส้


แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ แก้ลงท้อง แก้โลหิต
ซึ่งเจือด้วยลมพิษ ลาย
ก รรม

64. ผักกาด ช่วยลดความดันโลหิตสูง ผักกาดขาวมี


รณ

แคลเซียมสูงจึงช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัวได้ดี
ะวร

แล้วยังช่วยให้หลอดเลือดทำงานได้ดีขึ้นจึง
ทำให้ความดันโลหิตลดลง

นแ

65. ผักคราด ช่วยรักษาโรค แผลในคอ และในปาก ขับ


ติช

น้ำลาย แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ไอ แก้ไข้


ูลค
้อม
ย์ข

66. ผักชี มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงใน


ศูน

การเป็นมะเร็ง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด จึง


เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่กำลังลด
น้ำหนัก
๑๖

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


67. ผักเป็ดแดง ขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยทำให้เลือดเย็น
ช่วยฟอกและบำรุงโลหิต

ุรี
68. ผักแพว ป้องกันและต่อต้านมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ

รบ
บำรุงประสาท ช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ

พช
รักษาปอด แก้ไอ แก้หอบหืด ช่วยในการ

ณ์เ
ขับถ่าย รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย
รักษาริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ

ักษ
67. ผักเสี้ยนผี ช่วยเจริญไฟธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องร่วง แก้


ลม ลงท้อง แก้ฝีภายใน ทำให้หนองแห้ง แก้
ลาย
พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม แก้
โรคไขข้ออักเสบ ทาแก้โรคผิวหนัง หยอดหู
รรม
แก้หูอักเสบ
68. ฝิ่น แก้บิดเรื้อรัง แก้ลงแดง แก้ปวด น้ำมูกไหล

รณ

ปวดหัว เหงื่อออกมาก เบื่ออาหาร คลื่นไส้


อาเจียน กระสับกระส่าย กล้ามเนื้อกระตุก
ะวร

ท้องเดินอย่างรุนแรง หายใจหอบ

นแ

69. แฝกหอม ทำให้ดวงจิตชุ่มชื่น กลิ่นมีสรรพคุณกล่อม


ติช

ประสาท ใช้ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้


หาวเรอ บำรุงโลหิต แก้ปวดท้อง จุกเสียด
ูลค

แก้ท้องอืด ขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้ไข้พิษ


้อม
ย์ข

70. พิกุล บำรุงหัวใจ แก้ปวดหัว แก้เจ็บคอ แก้ร้อนใน


ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต แก้ปวด
ศูน

เมื่อยกล้ามเนื้อ
๑๗

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


71. พิมเสน ยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ กระตุ้นการหายใจ
กระตุ้นสมอง บำรุงหัวใจ ใช้เป็นยาระงับ
ความกระวนกระวาย ทำให้ง่วงซึม แก้ลม
วิงเวียน หน้ามืด หัวใจอ่อน บำรุงหัวใจ ทำ
ให้ชุ่มชื่น ทำให้เรอ ขับผายลม

ุรี
72. พิลังกาสา ผล มีรสร้อน ฝาด สุขุม มีสรรพคุณแก้ไข้

รบ
แก้ท้องเสีย แก้ลมพิษ แก้ธาตุพิการ แก้ซาง

พช
ณ์เ
ักษ
73. พลับพลึง ใช้ภายนอกทำให้ร้อน ใช้ประคบ บรรเทา


อาการปวดเมื่อย เมื่อยล้า สรรพคุณรวม
ลาย
กระตุ้นร่างกาย ทำให้กลับมาสู่สภาวะปกติ
แก้อาการเมื่อยล้า ทำให้จิตใจสดชื่น
รรม
74. พลู รากรสร้อน บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ แก้คูถ

รณ

เสมหะ ขับเสมหะให้ตกลงทางทวารหนัก ทำ
ให้เสมหะแห้ง
ล ะวร
นแ

75. เพกา แก้ไอและขับเสมหะ ใช้เป็นยาระบาย เมล็ด


แก่ มีรสขม เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ
ติช

เมล็ดแห้ง ทำน้ำจับเลี้ยงแก้ร้อนใน กระหาย


ูลค

น้ำ
้อม

76. พริกไทย ลดอาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลม


ย์ข

ในลำไส้ให้ผายเรอ ช่วยเจริญอาหาร
ศูน
๑๘

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


77. มหาหิงค์ รักษาโรคมะเร็ง รักษาภาวะต่างๆ ของสตรี
ใช้คุมกำเนิดในสตรี รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับ
ระบบเลือดและหลอดเลือด

ุรี
78. มะกรูด เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น ขับระดู ขับ

รบ
ผายลม เป็นยาบำรุงหัวใจ ผล ดองเป็นยา

พช
ฟอกเลือดในสตรี ช่วยขับระดู ขับลมในลำไส้

ณ์เ
แก้จุกเสียด ลักปิดลักเปิด

ักษ
79. มะกล่ำ เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย แก้อาการปวด


ศีรษะ ยาแก้ร้อนใน
ลาย
ก รรม

80. มะขามป้อม ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ต้านการ


รณ

อักเสบ
ล ะวร
นแ

81. มะงั่ว เป็นยาฟอกโลหิตระดู ขับโลหิตระดู กัด


ติช

เสมหะ กัดเถาดานในท้อง แก้เลือดออกตาม


ไรฟัน และแก้ไอ ใช้รักษาขี้กลาก แก้ลม
ูลค

เสียดแน่น และแก้ลมขึ้นเบื้องสูง
้อม
ย์ข

82. มะตูม แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้โรคกระเพาะอาหาร


ฝาดสมาน เจริญอาหาร เป็นยาธาตุ แก้ธาตุ
ศูน

พิการ ขับผายลม บำรุงกำลัง และรักษาโรค


ลำไส้
๑๙

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


83. มะนาว ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้
อาเจียน เป็นลมวิงเวียนศีรษะ เมาเหล้าได้
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงและต่ำ

ุรี
84. มะปราง ช่วยบำรุงฟันให้แข็งแรง และป้องกันโรค

รบ
เลือดอออกตามไรฟัน ป้องกันหวัดได้

พช
ณ์เ
ักษ
85. มะรุม ใช้รักษาโรคหัวใจ ช่วยแก้อาการปวดฟัน


ช่วยรักษาโรคคอหอยพอกชนิดมีพิษ ช่วยขับ
ลาย
ลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ
ก รรม

86. มะอึก ช่วยแก้ปอดบวม ใช้ตำแก้พิษฝี ใช้เป็นยา


รณ

พอกแก้อาการคัน ผดผื่นคัน แก้ไข้หวัด


ล ะวร
นแ

87. มังคุด เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย และ


ติช

ลดความเสี่ยงโรคลักปิดลักเปิด
ูลค
้อม
ย์ข

88. มูกมัน บำรุงธาตุทั้งสี่ให้เจริญ รู้ปิดธาตุ แก้บิดมูก


เลือด แก้คุดทะราด แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
ศูน

ปรุงเป็นยาแก้โรคไต เป็นยาเจริญอาหาร
๒๐

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


89. แมงลัก ช่วยขับเหงื่อ ขับลมในลำไส้ แก้วิงเวียน แก้
ท้องอืดท้องเฟ้อ

ุรี
90. โมก เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้บิด แก้เสมหะเป็นพิษ

รบ
แก้ไข้จับสั่นและบำรุงธาตุ

พช
ณ์เ
ักษ
91. ยอป่า แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้ริดสีดวงทวาร แก้


ม้ามโต แก้เบาหวาน
ลาย
ก รรม

92. รกฟ้า ยาแก้กษัยเส้น อาการผิดปกติของสมดุลธาตุ


รณ

ทั้งสี่ในร่างกายและเส้นเอ็น
ล ะวร
นแ

93. ราชดัด มีรสขม มีสรรพคุณแก้กระษัย บำรุงน้ำดี


ติช

บำรุงน้ำเหลือง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลม


วิงเวียน แก้หาวเรอวิงเวียน แก้อาเจียน แก้
ูลค

เจ็บอก แก้อาเจียนเป็นเลือด เป็นยาบำรุง


้อม

ธาตุ ทำให้เจริญอาหาร ขับพยาธิ


ย์ข

94. ลูกจันทน์ แก้ธาตุพิการ บำรุงกำลัง แก้ไข้ บำรุงหัวใจ


บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด ขับลม รักษาอาการ
ศูน

อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย แก้


บิด แก้กำเดา แก้ท้องร่วง แก้ร้อนใน
กระหายน้ำ แก้เสมหะโลหิต แก้ปวดมดลูก
๒๑

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


95. โลด ช่วยแก้วัณโรค แก้หืด ใช้เป็นยาระบาย ช่วย
แก้เสมหะเป็นพิษ หรืออาการเสมหะหรือ
อุจจาระเป็นมูกเลือด

ุรี
96. ว่านน้ำ เป็นยาขับลม ยาหอม แก้ธาตุพิการ เป็นยา

รบ
ขมช่วยเจริญอาหาร ช่วยได้ในอาการ

พช
ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย และอ่อนเพลีย

ณ์เ
ักษ
97. ส้มป่อย เป็นยาฟอกโลหิต ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
ช่วยทำให้เจริญอาหาร ยาแก้กระษัย


ลาย
รรม
98. สลอด ช่วยดับธาตุไฟไม่ให้กำเริบ และช่วยแก้ลม

อัมพฤกษ์ แก้อาการผิดปกติทางจิตและ
รณ

ประสาทช่วยแก้ลำไส้อุดตัน
ล ะวร

99. สวาด แก้กระษัย แก้ไข้ แก้ไอ แก้ท้องเสีย


นแ
ติช
ูลค
้อม

100. สะค้าน ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้จุกเสียด บำรุง


ธาตุ ทำให้ผายเรอ และใช้ปรุงยาธาตุ แก้
ย์ข

ธาตุพิการ เป็นตัวยาประจำธาตุลม
ศูน
๒๒

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


101. สะเดา ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ขับน้ำย่อยอาหาร
ทำให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น ช่วย
บำรุงโลหิต ช่วยทำให้เจริญอาหาร

ุรี
102. สังกรณี แก้อาการไอเป็นเลือด บำรุงกำลัง แก้ร้อนใน

รบ
กระหายน้ำ ดับพิษไข้ทั้งปวง ถอนพิษไข้กาฬ

พช
ลดความร้อนในร่างกาย แก้ไอ แก้โลหิต

ณ์เ
กำเดา

ักษ
103. สัตตบรรณ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษา


โรคเบาหวาน น้ำยางจากต้นใช้หยอดหูแก้
ลาย
อาการปวดหูได้ น้ำยางจากต้นใช้อุดฟันเพื่อ
แก้อาการปวดฟันได้
ก รรม

104. สมุลแว้ง แก้ลมวิงเวียน และลมที่ทำให้ใจสั่น แก้พิษ


รณ

หวัด กำเดา ขับลมในลำไส้ แก้ธาตุพิการ


ล ะวร
นแ

105. สมอไทย แก้ลมป่วง แก้พิษร้อนใน คุมธาตุ แก้ลมจุก


ติช

เสียด รู้ผายธาตุ รู้ระบายรู้ถ่ายอุจจาระ ถ่าย


พิษไข้ คุมธาตุในตัวเสร็จ
ูลค
้อม
ย์ข

106. สารภี เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ใช้ทำยา


หอม จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 5, 7 และ 9แก้
ศูน

โลหิตพิการ แก้ไข้ที่มีพิษร้อน ทำให้เจริญ


อาหาร เกสรเป็นยาบำรุงครรภ์ ทำให้ชื่นใจ
แก้ไข้
๒๓

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


107. เสนียด ยาแก้ไข้ แก้ไอและขับเสมหะ แก้ปวดเมื่อย
ปวดเอว ปวดหลัง ปวดเข่า และเคล็ดขัด
ยอก

ุรี
108. หญ้าเกล็ดหอย เป็นยาดับพิษร้อน แก้อาการร้อนในกระหาย

รบ
น้ำ ช่วยฟอกโลหิต แก้ไข้

พช
ณ์เ
ล ักษ
109. หญ้าตีนนก รสขมเย็น แก้ฟกช้ำ แก้พิษไข้ พิษกาฬ ทำใจ
ลาย
ให้ชุ่มชื่น แก้ไข้เพื่อดีพิการ แก้ดีแห้ง แก้ดี
ซ่าน แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงธาตุ ตำกับ
รรม
สุรา เอาน้ำทาแก้ฟกบวม ปวดแสบ ปวด
ร้อนตามผิวหนัง

รณ

110. หญ้าลูกข้าว แก้โรคผอมแห้ง


ล ะวร
นแ

111. หญ้ารังกา เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย สมานแผล


ติช

และว่าหัวมีรสเผ็ดหอม มีสรรพคุณเป็นยา
ูลค

ลดไข้ ขับลม บำรุงธาตุ


้อม
ย์ข

112. หนาด แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นยาห้าม


ศูน

เลือด ยาเจริญอาหาร แก้โรคไขข้ออักเสบ


เป็นยาบำรุงหลังคลอด แก้ไข้ ลดความดัน
โลหิต ขับพยาธิ ระงับประสาท ขับลม แก้จุก
๒๔

ที่ ชื่อสมุนไพร สรรพคุณสมุนไพร รูปภาพ


113. หวาย ดับพิษร้อน ดับพิษไข้ แก้ไอ บำรุงน้ำดี แก้
ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยให้เจริญอาหาร
ลดความเครียด

ุรี
114. หัสคุณ เป็นยาขับเลือดและหนอง รากใช้เป็นยา

รบ
พอกแผลริดสีดวงจมูก และแผลคุดทะราด

พช
ณ์เ
ักษ
115. หัวหอมแดง แก้หวัดคัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก เป็นยา


ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
ลาย
ก รรม

116. แห้วหมู ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้ปวด


รณ

ประจำเดือน แก้ประจำเดือนผิดปกติ บำรุง


ธาตุ เจริญอาหาร แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงกำลัง
ะวร

บำรุงครรภ์รักษา

นแ

117. อบเชย รสขมร้อน ฝาดเมา ช่วยเจริญอาหาร บำรุง


ติช

ธาตุ ทำให้ประจำเดือนปกติ แก้พิษแมลง


สัตว์กัดต่อย แก้โรคไต ฆ่าเชื้อรำมะนาด เชื้อ
ูลค

คุดทะราด แก้บิดมูกเลือด
้อม
ย์ข

118. อ้อย รักษาโรคนิ่ว อาการไอ แก้ไข้ คอแห้ง


กระหายน้ำ แก่น ผสมกับแก่นปีบ หัวยาข้าว
ศูน

เย็น ต้มดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ ยาฟอกเลือด


แก้ช้ำบวม กินแก้เบาหวาน แก้ไอ ขับเสมหะ
๒๕

๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๒.1 การส่งสัมผัส
สัมผัส คือ ลักษณะบังคับที่ใช้คำที่มีเสียงคล้องจองกัน มี ๒ ชนิด คือ สัมผัสนอกและสัมผัสใน
๒.๑.1 สัมผัสนอก หมายถึง คำสัมผัสหรือคำคล้องจองที่เชื่อมระหว่างวรรคหนึ่งกับ
อีกวรรคหนึ่ง (ไม่ใช่ภายในวรรคเดียวกัน) สัมผัสนอกเป็นสัมผัสบังคับที่จะเชื่อมต่อคำประพันธ์ร้อย

ุรี
เรียงให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน

รบ
ดังตัวอย่าง

พช
แก้ดีเดือดด้วยปถวี วิเศษดีอย่าพึงหมิ่น

ณ์เ
วิบัติภัยหายหมดสิ้น ในกลโรคแห่งปถวี

ักษ
ดังตัวอย่าง


อีกสถานหนึ่งเล่าไซร้
อาจารย์ท่านกล่าวมา
ลาย ย่อมคลั่งไคล้โทษวาตา
ในตำราชื่อสังคะหะ
รรม
ดังตัวอย่าง

สิบห้าเป็นดังนี้ ดังคัมภีร์ท่านสำแดง
รณ

ผู้แพทย์พึงรู้แจ้ง เอกก็โทษลมอย่างเดียว
ะวร

2.1.2 สัมผัสใน หมายถึง คำสัมผัสหรือคำคล้องจองที่อยู่ในวรรคเดียวกัน สัมผัสใน


ใช้ได้ทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระ แต่ต้องรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสม สัมผัสในไม่ใช่สัมผัส


นแ

บังคับ แต่จะช่วยให้ร้อยกรองมีความสละสลวยไพเราะยิ่งขึ้น
ติช

ดังตัวอย่าง
ูลค

หนึ่งเล่าจะกล่าวแถลง ให้รู้แจ้งแห่งฤดู
้อม

ทั้งสามตามกระทรวง คือคิมหันตและเหมันต์
ย์ข

๒.2 การเล่นเสียง
ศูน

การเล่นเสียง คือการเลือกสรรคำสัมผัสมาใช้ในคำประพันธ์ มีทั้งเสียงสัมผัสพยัญชนะ สระ


และวรรณยุกต์ ให้พิเศษกว่าปกติ

2.2.1 การเล่น เสียงพยัญชนะ คือ การใช้ส ัมผัสพยัญชนะ (หรือสัมผัส อักษร)


หลายพยางค์ติดกัน เพื่อความไพเราะ
ดังตัวอย่าง
๒๖

หนึ่งเล่ากล่าวปิตตัง ย่อมวิกลแตกซึมไหล
ผู้ไข้ให้อาพาธมักคลั่งไคล้ ให้พักเพ้อละเมอหลง
ดังตัวอย่าง
อนึ่งเล่าให้หาวเรอ หน้าตาวิงให้เวียนวง
ซึ่งอาหารอันบรรจง ที่จะกินบ่ รู้รส

ุรี
ดังตัวอย่าง

รบ
บังเกิดให้เลือดไหล จากปากหูจมูกพล่าน

พช
ทั้งนี้ย่อมวิการ ด้วยวาโยมักย่ำยี ๚

ณ์เ
ักษ
2.2.2 การเล่นเสียงสระ คือ การใช้สัมผัสสระเดียวกันหลายพยางค์ติดๆ กัน


ดังตัวอย่าง
ให้เมื่อยทุกข้อกระดูก ลาย ตีนมือบวมเป็นสำคัญ
รรม
ลงโลหิตนั้น แล้วให้ไอให้ผอมเหลือง
ดังตัวอย่าง

รณ

มะตูมอ่อนกกลังกา จันทน์ทั้งสองอันหอมยิ่ง
ดอกพิกุลบุนนาคจริง ทั้งสารภีดอกบัวหลวง
ะวร

ดังตัวอย่าง

นแ

ท้องน้อยลั่นครอกๆ ดังโครกๆในท้องให้
ติช

ปถวีสิบสองไซร้ กำเริบเพื่อเจือปนกัน
ูลค

2.๓ ภาพพจน์
้อม

ภาพพจน์ เป็นการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหาร ที่ทำให้ผู้รับสารเกิดมโนภาพ เกิดจินตนาการ


ย์ข

ถ่ายทอดอารมณ์ ทำให้มีความรู้สึกร่วมตรงตามความปรารถนาของผู้ส่งสาร
ศูน

2.๓.๑ อุปมา คือ การเปรียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง โดยธรรมชาติแล้วมีสภาพที่


แตกต่างกันแต่มีลักษณะเด่นร่วมกัน และใช้ คำที่มีความหมายเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนมาก
ยิ่งขึ้นได้แก่คำว่า เสมือน ดัง ดั่ง ประดุจ ประหนึ่ง เพียง ราว เป็นต้น
ดังตัวอย่าง
 แม้นมันขบตอดซึ่งหมู่ชน ดังไฟลนกลุ้มทั้งกาย
เตโชพิกลร้าย ดั่งพิษงูก็เหมือนกัน
๒๗

ดังตัวอย่าง
กินแก้อาโปธาตุ ทั้งสิบสองวิบัติเป็น
หายพลันดังฝันเห็น พร้อมกับดื่มเมื่อลืมตา
ดังตัวอย่าง
นอนหลับและอยากน้ำ มันให้ร้อน บ่ สำราญ
ให้เสียดสองข้างบาง ที่ดุจบ้ามักโกรธขึ้ง

ุรี
รบ
ดังตัวอย่าง

พช
ให้เกิดโรคเพื่อเสมหะ ติดอุระอันยิ่งแรง

ณ์เ
หนักอุระดังหินแลง มากลิ้งทับประดับไว้

ักษ
ดังตัวอย่าง


ให้เจ็บซึ่งสันหลัง และร้อนเอวเป็นใหญ่หลวง
ดังจะลุ่ยหลุดร้อง ลาย ทั้งกรข้อสลักขึ้ง
รรม
ดังตัวอย่าง
ดุจดังเข้าตรีโทษ ในเนื้อมือมัจจุราช

ผู้แพทย์จงคำนึง แต่งสรรพยาจงใคร่ครวญ
รณ

2.๓.๒ อุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง โดยการนำ


ะวร

ของสองสิ่งที่ต่างจำพวกกันแต่มีลักษณะเด่นเหมือนกันมาเปรียบเทียบกัน และใช้คำที่แสดงความ
เปรียบว่า เป็น,คือ หรืออาจละคำว่า เป็น,คือ ก็ได้ แต่เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นการเปรียบเทียบ

นแ

ดังตัวอย่าง
ติช

ให้ขาดเป็นชิ้นๆ ดังมีดเชือดถูกคมเลื่อย
ูลค

วาโยย่อมพังเปื่อย ดังถูกมุขขีคืองูร้าย
มาขบตอดซึ่งบุคคล ให้เปื่อยพังขาดทั้งกาย
้อม

หมอแพทย์พึงกฎหมาย อาการธาตุให้รอบรู้
ย์ข

2.๓.๓ อติพจน์ คือ การกล่าวเกินจริง ซึ่งเป็นความรู้สึกหรือความคิดของผู้กล่าวที่


ศูน

ต้องการย้ำความหมาย ให้ผู้ฟังรู้สึกว่าหนักแน่นจริงจัง เน้นความรู้สึกให้เด่นชัดและน่าสนใจ โดยไม่


เน้นความเป็นจริง เพราะต้องการ ให้ผู้รับ สารเกิดความซาบซึ้งและประทับใจ
ดังตัวอย่าง
หนึ่งเล่าวาโยธาตุ เมื่ออาพาธโทษมหันต์
ร้ายกว่าธาตุทั้ง ๓ นั้น ย่อมมีพิษให้พังเปื่อย
๒๘

ให้ขาดเป็นชิ้นๆ ดังมีดเชือดถูกคมเลื่อย
วาโยย่อมพังเปื่อย ดังถูกมุขขีคืองูร้าย
มาขบตอดซึ่งบุคคล ให้เปื่อยพังขาดทั้งกาย
หมอแพทย์พึงกฎหมาย อาการธาตุให้รอบรู้
2.๓.๔ สัทพจน์ สัทพจน์ คือ การใช้ถ้อยคำที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี
เสียงร้องของสัตว์หรือเลียนเสียงกิริยาอาการต่างๆ ของคน การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้ไม่ว่าจะเป็นการ

ุรี
รบ
พูดหรือการเขียน จะช่วยสื่อให้ผู้รับสารรู้สึกเหมือนได้ยินเสียง โดยธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ และเห็น
กิรยิ าอาการของสิ่งนั้นๆ ด้วย

พช
ณ์เ
ดังตัวอย่าง

ักษ
ให้เกิดโรคผอมเหลือง ให้ครั่นตัวหายใจสั่น


ในท้องให้ร้องลั่น อยู่โครกๆ แดงขึ้นลง
ดังตัวอย่าง ลาย
รรม
ท้องน้อยลั่นครอกๆ ดังโครกๆ ในท้องให้
ปถวีสิบสองไซร้ กำเริบเพื่อเจือปนกัน

รณ

2.๔ คำซ้อน คือ การนำคำมูลที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน หรือตรงข้ามกัน มาวาง


ซ้อนกัน เกิดคคำใหม่ที่มีความหมายใหม่ แบ่งได้ ๒ ประเภทคือ คำซ้อนเพื่อเสียง และคำซ้อนเพื่อ
ะวร

ความหมาย
ดังตัวอย่าง

นแ

ให้ใช้ระส่ำระสาย มักคลั่งไคล้ลืมอินทรีย์
โทษโลหิตกำเดาดี แพทย์พึงแก้ให้พลันสูญ
ติช
ูลค

ดังตัวอย่าง
แก้สารทฤดูโทษ วาโยดับสูญสิน้
้อม

ผู้แพทย์อย่าพึงหมิ่น จงประคิ่นให้ชอบการ
ย์ข

ดังตัวอย่าง
ศูน

ดุจดังปลาดุกยอก ให้รุ่มร้อนดังเพลิงลน
ที่ในท้องในไส้คือ ดังน้ำเดือดพลุ่งพล่าน
ดังตัวอย่าง
ให้ร้อนรนกระวนกระวาย ซึ่งในกายดังเพลิงกอง
ให้วิงเวียนหน้าหมอง ย่อมแสบไส้มักเป็นลม
๒๙

2.๕ การซ้ำคำ เป็นกลวิธีที่ใช้คำเดียวกันมาซ้ำกันใบบทประพันธ์ อาจจะวางไว้ติดกันหรือวาง


ไว้แยกจากกันแต่เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยความหมายของคาซ้ำนั้นจะต้องไม่เปลี่ยนแปลง ต้องมี
ความหมายเดียวกันทุกคำ
ดังตัวอย่าง
มักกินอาหารเมื่อกลางคืน มักบ่ ตื่นยังกรนเสียง
มักอาบน้ำเมื่อดึก เที่ยงราตรีร้อนบ่ นอนหลับ

ุรี
รบ
ดังตัวอย่าง
ให้เมื่อยทุกข้อกระดูก ตีนมือบวมเป็นสำคัญ

พช
ลงโลหิตนั้น แล้วให้ไอให้ผอมเหลือง

ณ์เ
ให้เจ็บท้องให้ลงท้อง ให้มวนท้องเป็นเนืองๆ

ักษ
อาหารย่อมฝืดเคือง กินไม่ได้นอนไม่หลับ


2.๖ ด้านภาษา
ลาย
2.๖.๑ การเขียนคำตามเสียงวรรณยุกต์ คือ การเขียนคำตามเสียงที่ผู้พูดเปล่งเสียง
หรือออกเสียง
รรม
ดังตัวอย่าง

 หน้าต้นคำภีร์ธาตุวิการ คือมุขงูตัวร้าย แม้นมันขบตอดซึ้งหมู่ชน ดังไฟลนกลุ้มทั้ง


รณ

กาย
ะวร

เตโชพิกลร้าย ดั่งพิษงูก็เหมือนกัน
คำว่า ซึ้ง มาจาก ซึ่ง

2.๖.๒ การใช้ ส ระที ่ ไ ม่ ต รงกั บ คำในปั จ จุ บ ั น คื อ การเขี ย นคำที ่ อ อกเสี ย งไม่


นแ

เหมือนกับคำที่ถูกต้อง
ติช

ดังตัวอย่าง
ตืนมือสั่นระรั่วเมื่อยทั้งตัวมักเส่าหมอง หาใจย่อมขัดข้องดุจจะหืด
ูลค

ตืน คือ ตีน , หาใจ คือ หัวใจ


้อม

2.๖.๓ การเขียนตัวสะกดคำที่ไม่ตรงกับคำที่ใช้ในปัจจุบัน คือ การเขียนคำที่ออก


เสียงเหมือนกันกับคำที่เขียนถูกต้อง แต่คำที่นำมาเขียนนั้น ในปัจจุบันมีความหมายต่าง
ย์ข

ออกไป
ศูน

ดังตัวอย่าง
ฤดูสามวิใสโลกมูนโรคทุกหญิงชาย ผู้แพทย์ผึ่งกดหมายให้แม่นจริงจะเห็นคุณ
วิใส คือ วิสัย , มูนโรค คือ มูลโรค , กดหมาย คือ กฎหมาย
ดังตัวอย่าง
ผู้แพทย์ผึ่งสังเกด มีประเพดเป็นมากมาย ปัฐวีออกจากกาย มีประเพด 10 ประการ
สังเกด คือ สังเกต , ประเพด คือ ประเภท , ปัฐวี คือ ปถวี
๓๐

2.๗ เครื่องหมายวรรคตอนที่ปรากฏ
2.๗.๑ เครื่องหมายฟองมันหรือตาไก่ ๏
เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อขึ้นต้นบท ตอนหรือเรื่อง
ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว โดยไม่จ ำเป็นต้องย่อหน้าหรือขึ้นบรรทัดใหม่อย่างไรก็ตาม ใน
ปัจจุบันนี้นิยมใช้ฟองมันเมื่อขึ้นต้นบทร้อยกรองเท่านั้น
2.7.2 เครื่องหมายอังคั่น

ุรี
อังคั่น เป็นชื่อเรียกรวมของเครื่องหมายวรรคตอนโบราณ แบ่งเป็นอังคั่นเดี่ยวและอังคั่นคู่

รบ
2.๗.๒.๑ อังคั่นเดี่ยว หรือ คั่นเดี่ยว หรือ ขั้นเดี่ยว (ฯ) เป็นเครื่องหมาย

พช
วรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อจบบท ตอน หรือเรื่อง ทั้ง คำประพันธ์ร้อยกรอง
และร้อยแก้ว ใช้สัญลักษณ์เดียวกันกับไปยาลน้อย ปัจจุบันมีอังคั่นเดี่ยวให้เห็นในหนังสือวรรณคดีและ

ณ์เ
ตำราเรียนภาษาไทยเท่านั้น

ักษ
2.7.๒.๒ อังคั่นคู่ หรือ คั่นคู่ หรือ ขั้นคู่ (๚) เป็นเครื่องหมายวรรคตอน
ปรากฏในหนังสือไทยโบราณ ใช้ในบทกวีต่างๆ โดยมีไว้ใช้จบตอนนอกจากนี้ยังมีการใช้ อังคั่นคู่กับ


ลาย
เครื่องหมายอื่น ได้แก่ อังคั่นวิสรรชนีย์ (ฯะ, ๚ะ) ใช้เมื่อจบบทกวี และ อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร (๚ะ๛)
ใช้จบบริบูรณ์
รรม
2.๗.๓ เครื่องหมายโคมูตรโคมูตร (โค-มูด) หรือ เยี่ยววัว (๛)
เป็นเครื่องหมายวรรคตอนไทยโบราณ ใช้เมื่อเติมท้ายเมื่อจบบทหรือจบเล่ม พบได้ในหนังสือ

หรือบทกลอนรุ่นเก่า ถ้าใช้คู่กับอังคั่นคู่และวิสรรชนีย์ จะเป็น อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร(๚ะ๛) ซึ่ง


รณ

หมายถึงจบบริบูรณ์
ะวร

2.๗.๔ เครื่องหมายตีนครุตีนครุ หรือ ตีนกา ( ┼ )


เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่งของไทยในสมัยโบราณ มีลักษณะคล้ายเครื่องหมายบวก

แต่ใหญ่กว่า ใช้สำหรับบอกจำนวนเงินตรา โดยใช้ตัวเลขก ากับไว้ 6 ตำแหน่งบนเครื่องหมาย ได้แก่


นแ

เหนือเส้นตั้งคือชั่ง มุมบนซ้ายคือตำลึง มุมบนขวาคือบาท มุมล่างขวาคือ สลึง มุมล่างซ้ายคือเฟื้ อง


ติช

และใต้เส้นตั้งคือไพ วิธีอ่านจะอ่านจาก ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ไพตามลำดับ


ูลค

นอกจากนี้ยังมีการใช้ เลข (๒) แทน (ๆ) เพื่อให้เกิดคำซ้ำ


้อม

ดังตัวอย่าง
ให้ผอมเหลือง ให้เจ็บท้องให้ลงท้อง ให้มวนท้องเป็นเนือง ๒
ย์ข

(เนือง ๒ เป็น เนืองๆ)


ศูน

ดังตัวอย่าง
ท้องน้อยลั่นครอก ๒ ดังโครก ๒ ในท้องให้ปถวี ๑๒ ใช้กำเริบเพื่อเจือปนกัน
(ครอก ๒ เป็น ครอกๆ, โครก ๒ เป็น โครกๆ )
ดังตัวอย่าง
เกิดโรคด้วยเลือดลมกำเดาเสลดเจือเป็นสี แปรปรวนกำเริบ มีวิการโรคต่าง ๒
(ต่าง ๒ เป็น ต่างๆ)
๓๑

๓. คุณค่าด้านสังคม
๓.๑ การเชื่อฟังคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์
ในสมุดข่อยเล่มนี้ได้มีการแสดงให้เห็นถึงการเชื่อฟังคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ใน
การปรุงยาและในการรักษาโรคต่างๆ
ดังตัวอย่าง
แพทย์เร่งพิเคราะห์เอา ดังอาจารย์ท่านสำแดง

ุรี
รบ
จะกล่าวให้เห็นแจ้ง ในกลธาตุสิ้นทั้งสี่

พช
ดังตัวอย่าง

ณ์เ
เหตุฉะนี้อาจารย์กล่าว เรียกสันนิบาตโรคคือเข็ญ
ผู้แพทย์พึงตรองเห็น ซึ่งสู่มูลโรคอย่าดูเบา ๚

ล ักษ
๓.๒ แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของแพทย์
ลาย
ในสมุดข่อยเล่มนี้ได้มีการกล่าวถึงคุณสมบัติของแพทย์ในสมัยอดีต คือ แพทย์ที่ดี
จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งก่อนที่แพทย์จะรักษาโรคได้นั้น
รรม
แพทย์จะต้องรู้ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค รู้จักชื่อโรค รู้ยาสำหรับแก้โรค และรู้ว่ายาใดจะควรแก้ โรคชนิด
ใด

รณ

ดังตัวอย่าง
ะวร

ในที่นี้จะกล่าวด้วยหมอยาซึ่งชำนาญในการแก้ไขโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยวิธีใช้ยาอย่าง
เดียว จะใช้คำว่าหมอเท่านั้น หมอที่จะกล่าวต่อไปนี้ มาจากคำว่า เวช

นแ

คนมีความรู้ แผลงมาเป็นแพทย์ แปลออกเป็นคำไทยว่า หมอ หมอที่จะเป็นผู้รู้ผู้ชำนาญ ใน


การรักษาโรคได้นั้น จะต้องรู้กิจ 4 ประการในเบื้องต้นเสียก่อน กิจ ๔ ประการนั้นแบ่ง
ติช

ออกเป็นหมวดดังนี้
ูลค

หมวดที่ ๑ รู้ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค
หมวดที่ ๒ รู้จักชื่อโรค
้อม

หมวดที่ ๓ รู้ยาสำหรับแก้โรค
ย์ข

หมวดที่ ๔ รู้ว่ายาอย่างใด จะควรแก้โรคชนิดใด


ศูน

ดังตัวอย่าง
แพทย์ดีมียาแก้ จำให้แน่ตรีผลา
ตรีกระตุกเกลือไคร้เครือ น้ำโกศก้านพร้าวใบสะเดา

ดังตัวอย่าง
ที่แพทย์เห็นอาการ แห่งผู้ไข้ดังนี้เจียว
พึงองอาจฉลาดเฉลียว แก้ซึ่งโทษแห่งปถวี
๓๒

ดังตัวอย่าง
ผิไข้เป็นดังนี้ เตโชธาตุให้หม่นหมอง
ผู้แพทย์เร่งตรึกตรอง ซึ่งยาแก้จงฉับพลัน ๚

ดังตัวอย่าง
ที่แพทย์ผู้จะแก้ วาโยกำเริบแปรระสาย

ุรี
ว่านเปราะพริกไทยหมาย ทั้งแห้วหมูแหละดีปลี

รบ
พช
ดังตัวอย่าง
ทั้งนี้เพื่อวาโย วิกาโรรุมร่ำทำ

ณ์เ
ผู้แพทย์พึงจดจำ ซึ่งอาการสิบสี่นา ฯ

ักษ
๓.๓ ความเป็นอยู่ของคนในสังคม


ในสมุดข่อยเล่มนี้ได้มีการกล่าวถึงความเป็นอยู่ของคนไทยในอดีตที่มีการใช้พืช
สมุนไพรหลายชนิดมาปรุงยาเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ลาย
รรม
ดังตัวอย่าง
 ผิแพทย์จะแก้ลม โทษวสันต์ฤดูสี่

แฝกหอมพริกไทยมี ทั้งเปราะหอมและแห้วหมู
รณ

ว่านน้ำและดีปลี เสมอภาคด้วยตราชู
ะวร

รากกระเทียมอันขาวฟู หนักเท่ายาทั้งหลาย
ตากแดดทำผงกิน ด้วยน้ำร้อนเป็นกระสาย

กินแก้วาโยหาย ชื่อฤทธิจรจำเริญดี
นแ
ติช

ดังตัวอย่าง
ผิแพทย์จะแก้พลัน อาโปนั้นวิการราก
ูลค

รากเจตมูลโกฐสอมา ลูกผักชีดีปลีขิง
้อม

มะตูมอ่อนกกลังกา จันทน์ทั้งสองอันหอมยิ่ง
ดอกพิกุลบุนนาคจริง ทั้งสารภีดอกบัวหลวง
ย์ข

สมุนละแว้งเปลือกมูกมัน รากขัดมอนพร้อมทั้งนั้น
ศูน

พึงต้มด้วยน้ำตวง สามเอาหนึ่งอย่าพึงเว้น
กินแก้อาโปธาตุ ทั้งสิบสองวิบัติเป็น
หายพลันดังฝันเห็น พร้อมกับดื่มเมื่อลืมตา
ดังตัวอย่าง
ที่แพทย์จะพลันเห็น ซึ่งมูลโทษในปถวี
ใบสะเดาเทียนดำดี ตรีกระตุกโกฐก้านพร้าว
โกฐสอชะเอมเทศ เปลือกตีนเป็ดเกลือสินเธาว์
๓๓

มะตูมอ่อนกระเทียมเรา ทัง้ สมอไทยใบรัก


บอระเพ็ดและแห้วหมู ทั้งชีลากากีเสมอภาค
ทำผงดีละลาย น้ำผึ้งเร่งภุญชา
แก้โทษในปถวี จนเกสาอัฐิหนา
หายพลันอย่ากังขา โทษวิบัติกำจัดสูญ
ดังตัวอย่าง

ุรี
รบ
ผิแพทย์ผู้จะแก้ กำหนดแน่ดังกล่าวหมาย
จันทน์ทั้งสองอย่าเคลื่อนคลาย ทั้งแห้วหมูและแฝกหอม

พช
หญ้าตีนนกรากขัดมอน ทั้งหกสิ่งปรุงให้พร้อม

ณ์เ
ต้มกินอย่าให้ออม กำเดาดีเลือดระงับดับสูญ

ักษ
ดังตัวอย่าง


ภาคหนึ่งเอาบอระเพ็ด กะพังโหมรากพลูมา
มะแว้งทั้งสองรากขี้กา
รากขัดมอนเชือกเข้าพรวน
ลาย เอาที่แดงทั้งพริกไทย
เปลือกโมกกระทกรก
รรม
รากจิงจ้อทำแท่งหนอ น้ำดอกไม้น้ำจันทน์ก็กินได้
แก้ดีเดือดด้วยปถวี วิเศษดีอย่าพึงหมิ่น

รณ

วิบัติภัยหายหมดสิ้น ในกลโรคแห่งปถวี
ะวร

๓.๔ การรู้เรื่องราวในอดีต
ในสมุดข่อยเล่มนี้ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวในอดีตของพระอานนท์ที่พระอานนท์

นแ

ได้รับทุกข์เป็นไข้หนักแล้ว ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า (ในสมุดข่อยเล่มนี้กล่าวว่า พระสรรเพชญ์)


พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสซึ่งมูลโรคสามสถานให้แก่พระอานนท์ จึงเกิดเป็นคัมภีร์คิริมานนท์
ติช

ดังตัวอย่าง
ูลค

หนึ่งโสดจะกล่าวการ ในสมุฏฐานเป็นเค้ามูล
้อม

พระสรรเพชญ์ตรัสบัณฑูร ซึ่งมูลโรคสามสถาน
ย์ข

เสมหะถ้าวิการ และวาตะสมุฏฐาน
เป็นอาทิให้วิกล …………………………………
ศูน

พระสรรเพชญ์ตรัสออกพระโอษฐ์ โปรดพระเถระคิริมานนท์
อันคิลากำเริบวิกลกาย แห่งเถราอันว่าธาตุทั้งสี่นั้น
หากเจือแทรกในกาย เป็นพาหิระกะโรคา
หากวิบัติตามเหตุ เป็นหนึ่งสัรณิยาห์ติกา
คือ เสลดลมกำเริบเข็ญ พร้อมทั้งสามตามเภทเป็น
เรียกสันนิบาตประกาติมาม หนึ่งอุตุปรินาม
๓๔

คือฤดูวิการแปรปรวนตาม วิสะมะปะริหารินาม
ด้วยอาหารและอิริยาบถ ........................................
หนึ่งโอปักกะมิกาพาท เพื่อวิปลาสในกรรม
หนึ่งกรรมวิปากไข้ เพื่อลมกรรมกระทำผล
อันอาการพาททั้งแปดนี้ ในคัมภีร์คิริมานนท์
ออกจากโอษฐ์พระทศพล แพทย์พึงสดับดังกล่าวมา

ุรี
๓.๕ การใช้มาตราชั่งตวง

รบ
ในสมุดข่อยเล่มนี้ได้มีการกล่าวถึงการใช้มาตราชั่งตวง และมีหน่วยการชั่งตวงเป็น

พช
ตำลึง บาท สลึง ซึ่งเป็นหน่วยของการชั่งตวงยาแบบโบราณ แสดงให้เห็นว่าคนในสมัยก่อนเริ่มรู้จักการ
ใช้ตาชั่งในการชั่งตวงยา ซึ่งนอกจากการชั่งตวงยาก็ยังมีตัวเลขทางคณิตศาสตร์ปรากฏอีกด้วย มาตรา

ณ์เ
ชั่งตวงในสมุดข่อยเล่มนี้ มีดังนี้

ล ักษ
ตำลึง บาท
ลาย
รรม
เฟื้อง สลึง

รณ

ไพ
มาตราชั่ง
ะวร

1 ตำลึง เท่ากับ 4 บาท


1 บาท เท่ากับ 4 สลึง


นแ

1 สลึง เท่ากับ 2 เฟื้อง


ติช

เทียบมาตราชั่งเครื่องยาโบราณเป็นมาตราหลวง
ูลค

1 เฟื้อง เท่ากับ 1.875 กรัม


้อม

1 สลึง เท่ากับ 3.75 กรัม


ย์ข

1 บาท เท่ากับ 15 กรัม


1 ตำลึง เท่ากับ 60 กรัม
ศูน

ในสมุดข่อยเล่มนี้มีการใช้มาตราชั่งตวงและมีหน่วยการชั่งตวงเป็น ตำลึง บาท สลึง ซึ่งเป็น


หน่วยของการชั่งตวงยาแบบโบราณ
ดังตัวอย่าง
หนึ่งชะมดเอาเท่ากัน สิ่งละสลึงชั่งให้พร้อม ┼
โกฐก้านพร้าวอย่าถอยถ่อม หนักสองสลึงเทียนคำหมาย
๓๕

ดังตัวอย่าง
 เทียนทั้ง ๕ สิ่งละสองสลึง กระเทียมถึง บาทพูน คนทาใบคนทีสอคนทีเขมา
ตรีกระตุกชั่งอย่าเบา ยาทั้งนี้เอาสิ่งละบาท

ดังตัวอย่าง
แก้เลือดลมสารพัดไข้ แก้จับหายเสื่อมสูญขาด

ุรี
รบ
หญ้าสี่สิ่งล้วนสิ่งละบาท แต่ลูกกระดอมหนักสองสลึง

พช
ดังตัวอย่าง

ณ์เ
เอาจันทน์หอมสมอไทย รากมะอึกกระดอมมา

ักษ
สิ่งละบาทอย่ากังขา บอระเพ็ดเป็นสองสลึง


ดังตัวอย่าง
กระดอมกินลูกชะพลู
ลาย รากมะอึกจันทน์กลิ่นร้อนหอม
รรม
ลูกขี้กาแดงแต่งต้มพร้อม สิ่งละตำลึงพึงให้กิน

รณ

๓.6 การรู้จักคุณค่าของยา
ะวร

ในสมุดข่อยเล่มนี้ได้มีการกล่าวถึง คุณค่าของยาว่ายาสมุนไพรนั้นมีคุณประโยชน์ ที่


แพทย์และคนไข้ควรตระหนักถึงคุณค่าของยาและตระหนักเสมอว่าการปรุงยาการดื่มยาสมุนไพร จะ

นแ

ช่วยให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่เป็นอยู่ให้หายได้
ดังตัวอย่าง
ติช

เอากะเทียมและกันเกรา ใบสะเดากะเพราดี
ูลค

ตรีผลาขิงแห้งมี เทพทาโรเท่ากันไซร้
้อม

ทำผงละลายน้ำนมวัว และน้ำร้อนก็กินได้
ปถวีวิการไซร้ อาจดับระงับสูญ
ย์ข

ที่มิเหือดเอายางทราย ดีปลีกะเทียมหนุน
ศูน

ทั้งสะค้านเจตมูล ลูกกระดอมมะตูมอ่อนสมอไทย
ขิงแห้งและว่านน้ำ บดทำแท่งจงฉับไว
มูลโคละลายได้ สะอึกน้ำมะนาวเร่งให้กิน
แก้เสมหะอันทำโทษ ในปถวีเหือดหายสิ้น
ผู้แพทย์อย่าเมินหมิ่น โอสถนี้ดีหนักหนา
๓๖

ดังตัวอย่าง
 ๑ ภาคหนึ่งมหาหิงคุ์ แต่ส่วนหนึ่งเป็นเค้ามูล
ว่านน้ำสองส่วนพูน ลูกช้าพลูเป็นตรีสาม
ขิงสี่เยาวภาณีห้า ดังตำราท่านกล่าวความ
เจตมูลหกส่วนพูน โกฐสอเจ็ดสมอไทยแปด
ดีปลีเก้าชีล้อมสิบ ผึ่งแดดประสมเร่ง

ุรี
รบ
ตากแดดทำผงเฉลว ละลายมูตรโคแทรก
กินแก้โทษในเตโช วิการโรคบรรเทาสิ้น

พช
ผู้แพทย์อย่าพึงหมิ่น ตำรานี้ดีนักหนา

ณ์เ
ักษ
ดังตัวอย่าง
ผู้ใดภุญชีโอสถนี้บ่ เห็นคุณ ผู้นั้นย่อมหย่อนบุญ


ดังตัวอย่าง
กรรมหากเตือนให้เลื่อนพบ
ลาย
อย่าได้ประมาทพึงภาวนา
รรม
ฯ ๑ ฯ หนึ่งเล่าลูกกระดอม ลูกโมกหลวงโกฐสอหมาย
จงต้มอย่าเคลื่อนคลาย รินออกไว้พออุ่นๆ

จึงเอาซึ่งพริกไทย ออกตากแดดตำเป็นจุณ
รณ

...............................อย่าอุ่นอุ่น น้ำผึ้งหยดซดดื่มกิน
ะวร

ผู้ไข้เพื่อเสมหะ ย่อมบรรเทาเบาบันสิ้น
สรรพยาทั้งอย่าดูหมิ่น ย่อมมีคุณยิ่งนักหนา

นแ

3.7 การนับเวลาแบบจันทรคติ
ติช

ในสมุดข่อยเล่มนี้ได้มีการกล่าวถึง การนับ เวลาแบบจันทรคติ แสดงให้เห็นว่าใน


ูลค

สมัยก่อนนิยมใช้การนับเวลาแบบจันทรคติ และนับวันเป็นข้างขึ้น ข้างแรม เรียกชื่อเดือนแบบง่ายๆ


้อม

ดังตัวอย่าง
ในฤดู 4 และฤดู 6 ท่านก็แบ่งจัดเป็นสมุฏฐานของโรคไว้เหมือนกันดังจะชี้แจง
ย์ข

ต่อไปนี้ ที่นี้แบ่งฤดู 4 คือปีหนึ่งแบ่งออกเป็น จะมี 4 ฤดู ฤดู หนึ่ง 3 เดือนดังนี้ คือ


ศูน

ฤดูที่ 1 นับแต่วัน แรม 1 ค่ำเดือน 4 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 7 สมุฏฐานเตโช


ฤดูที่ 2 นับแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 7 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 สมุฏฐานวาโย
ฤดูที่ 3 นับแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 10 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 1 สมุฏฐานอาโป
ฤดูที่ 4 นับแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 1 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 สมุฏฐานปถวี
๓๗

 หน้าต้นคำภีร์ธาตุวิการ คือมุขงูตัวร้าย

 แม้นมันขบตอดซึ่งหมู่ชน ดังไฟลนกลุ้มทั้งกาย
เตโชพิกลร้าย ดั่งพิษงูก็เหมือนกัน
หนึ่งเล่าวาโยธาตุ เมื่ออาพาธโทษมหันต์
ร้ายกว่าธาตุทั้ง ๓ นั้น ย่อมมีพิษให้พังเปื่อย

ุรี
รบ
ให้ขาดเป็นชิ้นๆ ดังมีดเชือดถูกคมเลื่อย
วาโยย่อมพังเปื่อย ดังถูกมุขขีคืองูร้าย

พช
มาขบตอดซึ่งบุคคล ให้เปื่อยพังขาดทั้งกาย

ณ์เ
หมอแพทย์พึงกฎหมาย อาการธาตุให้รอบรู้

ักษ
หนึ่งเล่าจะกล่าวแถลง ให้รู้แจ้งแห่งฤดู
ทั้งสามตามกระทรวง คือคิมหันต์1และเหมันต์2


ฤดูหนึ่งหนอสี่เดือน
ฤดูคิมหันต์นั้น
ลาย อย่าฟันเฟือนจำให้มั่น
แรมเดือนสี่จนเดือนแปด
รรม
เพ่งพิศโรคเกิดฤดูนี้ เตโชธาตุวิกลเอง
โลหิตดีจะแสลง เป็นเค้ามูลระส่ำระสาย3

วสันต์แรมเดือนแปด จนเดือนสิบสองเพ็งพึงหมาย
รณ

วาโยวิกลภัย กำเริบแรงกว่าทุกสิ่ง ๚
ะวร

แม้นฤดูหนาวแรมเดือนสิบสองเป็นที่ กำหนดสี่เดือนถึงเดือนสี่เพ็งฤดู4
ผิและโรคเกิดในเหมันต์ เสมหะมักเฟืองฟู

นแ

วาโยธาตุโทษพอดู ย่อมวิกลเป็นมากมาย
ฤดูสามวิสัยโลก มูลโรคทุกหญิงชาย
ติช

ผู้แพทย์พึงกฎหมาย ให้แม่นจริงจะเห็นคุณ
ูลค

หนึ่งจะกล่าวฤดูสี่ ในวิธีธาตุประมูล
้อม

เดือนห้าเดือนหกเดือนเจ็ด ผิและโรคพูนในคิมหันต์
เพื่อเตโชสันตะปัคคีให้วิกล โลหิตตนวิการ
ย์ข

เกิดเหตุด้วยพูนสูปะ พยัญชนะอันเกิดแสลง
ศูน

มักให้อยากอาหารบ่อย บ่ พลันย่อยให้ทราบแรง
พลันอิ่มอาเจียนแสยง ย่อมขัดอกเย็นอุรา

1 คิมหันต์ ฤดูร้อน
2 เหมันตฤดู ฤดูหนาว
3 ระส่ำระสาย วุ่นวาย, เกิดความไม่สงบ
4 ไม่สามารถจัดให้เข้ากับคำประพันธ์ได้
๓๘

หนึ่งโสดให้แสบไส้ จุกเสียดในเวียนหน้าตา
เป็นในครรภา ให้ปวดมวนกำเริบท้อง
ตีนมือสั่นระรัว เมื่อยทั้งตัวมักเศร้าหมอง
หายใจย่อมขัดข้อง ดุจหืดระส่ำระสาย
ทั้งนี้เพื่อเตโช5 สันตัปปัคคี6วิกลกลาย
จึงบังเกิดซึ่งลมร้าย หกจำพวกสำแดงแรง

ุรี
รบ
ผู้แพทย์พึงเยียวยา เตโชหนาอย่าพึงแคลง
ลูกเอ็นลำพันแดง ทั้งโกฐสอ7โกฐพุงปลา 8

พช
ดีปลีขิงแห้วหมู เปลือกมูกมันลูกชีลา

ณ์เ
อบเชยสะค้านนา เสมอภาคตำเป็นผง

ักษ
ละลายน้ำท่ากิน แก้เตโชดังประสงค์
หายพลันเป็นมั่นคง ………………………………………


ลาย
เดือนแปดเดือนเก้าเดือนสิบ
 ทีนี้จะแสดง
เป็นวสันต์ฤดู9อย่าพึ่งแถลง
รรม
วาโยกำเริบแรง เพราะอาหารอันชุ่มมัน
ให้เกิดโรคผอมเหลือง ให้ครั่นตัวหายใจสั่น

ในท้องให้ร้องลั่น อยู่โครกๆ แดงขึ้นลง


รณ

อนึ่งเล่าให้หาวเรอ หน้าตาวิงให้เวียนวง
ะวร

ซึง่ อาหารอันบรรจง ที่จะกินบ่ รู้รส


ให้เมื่อยทุกคอลำ ทั่วสาระพางค์10เป็นกำหนด

นแ

มักร้อนอกระทวยทด ทั้งหูหนักปากเหม็นหวาน
บังเกิดให้เลือดไหล จากปากหูจมูกพล่าน
ติช

ทั้งนี้ย่อมวิการ ด้วยวาโยมักย่ำยี ๚
ูลค

 ผิแพทย์จะแก้ลม โทษวสันต์ฤดูสี่
้อม

แฝกหอมพริกไทยมี ทั้งเปราะหอมและแห้วหมู
ว่านน้ำและดีปลี เสมอภาคด้วยตราชู
ย์ข

รากกระเทียมอันขาวฟู หนักเท่ายาทั้งหลาย
ศูน

5 เตโช ไฟ
6 สันตัปปัคคี ไฟอุ่นกาย ไฟนี้มีหน้าที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น
7 โกศสอ เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทย
8 โกศพุงปลา เป็นยาฝาดสมานอย่างแรง
9 วสันต์ฤดู ฤดูใบไม้ผลิ
10 สาระพางค์ ร่างกาย
๓๙

ตากแดดทำผงกิน ด้วยน้ำร้อนเป็นกระสาย
กินแก้วาโยหาย ชื่อฤทธิจรจำเริญดี
เดือนสิบเอ็ดเดือนสิบสองเดือนอ้าย 11
 เป็นวสันต์เหมันต์มี
แกมกันทั้งสองนี้ อาโปกำเริบเป็น
เหตุด้วยอาหารกิน ผักอันเย็นผิดสำแลง

ุรี
รบ
อาโปวิกลแรง บังเกิดโทษสิ้น ๑๒ เพลง
มักกระหายมักขึ้งโกรธ ทั้งเบาก็มากบังเกิดเอง

พช
ย่อมวิบัติเป็นหลายเพลง เป็นไข้อยากของมัน

ณ์เ
ให้เมื่อยทุกข้อกระดูก ตีนมือบวมเป็นสำคัญ

ักษ
ลงโลหิตนั้น แล้วให้ไอให้ผอมเหลือง
ให้เจ็บท้องให้ลงท้อง ให้มวนท้องเป็นเนืองๆ


อาหารย่อมฝืดเคือง
ทั้งนี้อาโปธาตุ12
ลาย กินไม่ได้นอนไม่หลับ
อันร้ายกาจวิกลกลับ
รรม
แปรปรวนระยำยับ แพทย์พึงรู้ดังกล่าวมา
ผิแพทย์จะแก้พลัน อาโปนั้นวิการราก

รากเจตมูล13โกฐสอมา ลูกผักชีดีปลี14ขิง
รณ

มะตูมอ่อนกกลังกา จันทน์ทั้งสองอันหอมยิ่ง
ะวร

ดอกพิกุลบุนนาคจริง ทั้งสารภีดอกบัวหลวง
สมุนละแว้งเปลือกมูกมัน รากขัดมอนพร้อมทั้งนั้น

นแ

พึงต้มด้วยน้ำตวง สามเอาหนึ่งอย่าพึงเว้น
กินแก้อาโปธาตุ ทั้งสิบสองวิบัติเป็น
ติช

หายพลันดังฝันเห็น พร้อมกับดื่มเมื่อลืมตา
ูลค

เดือนยี่จนเดือนสี่ เป็นเหมันต์คิมหันต์ตรา
้อม

เจือกันทั้งสองนา ในสามเดือนโทษปถวี
ปถวีเป็นเหตุ ด้วยนอนผิดเวลามี
ย์ข

ส่วนปถวียี่สิบนี้ บังเกิดโทษสิบสามสถาน
ศูน

นอนหลับและอยากน้ำ มันให้ร้อน บ่ สำราญ


ให้เสียดสองข้างบาง ทีด่ ุจบ้ามักโกรธขึ้ง

11 ไม่สามารถจัดให้เข้ากับบทประพันธ์ได้
12 อาโปธาตุ ธาตุนำ้
13 เจตมูล ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กหลายชนิด
14 ดีปลี ดีปลีเป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ใบรูปไข่ โคนมน ปลายแหลม เป็นพืชใบเดี่ยว
๔๐

ให้เจ็บแข้งและข้อมือ ทั้งปากหวานเจ็บอกตึง
ให้ลงมูลหนักขึ้ง เบาบ่ ตกน้ำลายไหล
ท้องน้อยลั่นครอกๆ ดังโครกๆในท้องให้
ปถวีสิบสองไซร้ กำเริบเพื่อเจือปนกัน
ให้แพทย์พึงสังเกต เภทเพื่อเหตุสิ่งใดนั้น
พิเคราะห์แม่นมั่น จึงวางยาตามคัมภีร์

ุรี
รบ
ที่แพทย์จะพลันเห็น ซึ่งมูลโทษในปถวี15
ใบสะเดาเทียนดำดี ตรีกระตุก16โกฐก้านพร้าว

พช
โกฐสอชะเอมเทศ เปลือกตีนเป็ดเกลือสินเธาว์

ณ์เ
มะตูมอ่อนกระเทียมเรา ทั้งสมอไทยใบรัก

ักษ
บอระเพ็ดและแห้วหมู ทั้งชีลากากีเสมอภาค
ทำผงดีละลาย น้ำผึ้งเร่งภุญชา


แก้โทษในปถวี
หายพลันอย่ากังขา
ลาย จนเกสาอัฐิหนา
โทษวิบัติกำจัดสูญ
รรม
ฯ จบ ๚
หนึ่งกล่าวฤดู อาจารย์แจ้งเป็นเค้ามูล

เดือนห้าเดือนหกพูน ชื่อคิมหันต์ฤดูเดิม
รณ

ผิไข้ในสองเดือน กำเดาดีย่อมเพิ่มเติม
ะวร

โทษทั้งสามหากฮึกเหิม ให้แสบอกเมื่อยตีนมือ
ให้เสียดแทงนอนมิหลับ มักปวดท้องครางกระฮือ

นแ

อาเจียนและรากอือ ทั้งสะอึกวิกลร้าย
ติช

ผิแพทย์ผู้จะแก้ กำหนดแน่ดังกล่าวหมาย
ูลค

จันทน์ทั้งสองอย่าเคลื่อนคลาย ทั้งแห้วหมูและแฝกหอม
้อม

หญ้าตีนนกรากขัดมอน ทั้งหกสิ่งปรุงให้พร้อม
ต้มกินอย่าให้ออม กำเดาดีเลือดระงับดับสูญ
ย์ข

โทษคิมหันต์และเตโช ให้เกิดโรคสิ้นทั้งมูล
ศูน

วินาศเปรียบปานปูน มฤคสิงหะหาย
 หนึ่งเดือนเจ็ดเดือนแปด สองเดือนนี้ท่านภิปราย
ชื่อนิพพานฤดูหมาย เพื่อเตโชและวาโย
โทษคิมหันต์และวสันต์ เพื่อกำเดาโลหิตโต

15 ปถวี ดิน
16 ตรีกระตุก ของที่มีรสร้อน ๓ อย่าง คือ ดีปลีพริกไทย และขิงแห้ง.
๔๑

เบียดเบียนในกาโย ทั้งสี่สิ่งกล้าหนักหนา
ให้เกิดโรคในศีรษะ ให้มีพิษบ่ นิทรา
อาหารที่ภุญชา บ่ รู้รสกำหนดดี
ให้ใช้ระส่ำระสาย มักคลั่งไคล้ลืมอินทรีย์
โทษโลหิตกำเดาดี แพทย์พึงแก้ให้พลันสูญ
บอระเพ็ดและแห้วหมู รากผักโหมหินเป็นเค้ามูล

ุรี
รบ
สมอไทยทนหนุน หญ้าตีนนกโกฐก้านพร้าว
พร้อมแล้วกระทำผง ให้ผึ่งด้วยผ้าขาว

พช
สมุลแว้งและดีปลี ต้มเอาน้ำเป็นกระสาย

ณ์เ
กินแก้โรคฤดูแทรก ดีกำเดาวาโยหาย

ักษ
โลหิตวิกลร้าย อาจระงับพลันดับสูญ
เดือนเก้าเดือนสิบชื่อ วสันตฤดูพูน


ที่ไข้เป็นเค้ามูล
ให้เกิดโรคเพื่อเสมหะ
ลาย ด้วยวาโย17พิษกล้าแข็ง
ติดอุระอันยิ่งแรง
รรม
หนักอุระดังหินแลง มากลิ้งทับประดับไว้
หายใจมักขัดอก บังเกิดโรคต่างๆ ไป

คันตัวมีพิษไซร้ เพราะโทษทั้งสองหากเจือกัน
รณ

วาโยและเสมหะ บังเกิดกล้ากว่าทุกอัน
ะวร

แพทย์พึงประกอบพลัน สรรพยาอย่าดูหมิ่น
ใบคนทีสอ18ก็เจ็ดใบ พริกไทยก็เจ็ดเม็ดขิงก็เจ็ดชิ้น

นแ

ตำละลายน้ำร้อนกิน แก้วสันตฤดูหาย
ผิเดือนสิบเอ็ดเดือนสิบสอง ฤดูเจือกำเริบร้าย
ติช

ชื่อสารพฤดูหมาย เจือวะสันต์และเหมันต์
ูลค

ฤดูที่ไข้เกิดเพื่อลม เสมหะมูตรเป็นสำคัญ
้อม

ให้ร้อนทรวงอกนั้น ร้อนในไส้และกายเอง
บังเกิดโรคในอก ให้เจ็บอกเป็นหลายเพลง
ย์ข

เจ็บกระดูกสันหลัง ดังหลุดลุ่ยและเจ็บคอ
ศูน

แพทย์ดีมียาแก้ จำให้แน่ตรีผลา 19

17 วาโย ลม
18 คนทีสอ ชื่อพุ่มไม้ชนิดหนึ่ง
19 ตรีผลา ป็นยาสมุนไพรตำรับสมัยพุทธกาล 3 ชนิด ได้แก่ สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม
๔๒

ตรีกระตุกเกลือไคร้เครือ น้ำโกฐก้านพร้าวใบสะเดา
ทั้งกระเทียมเสมอภาคตำ เป็นผงทำแท่งตามแต่
จะเอา น้ำร้อนและน้ำเหล้า ตามควรละลายกระสายกิน
แก้สารทฤดู20โทษ วาโยดับสูญสิ้น
ผู้แพทย์อย่าพึงหมิ่น จงประคิ่นให้ชอบการ
ผิเดือนหนึ่งเดือนสอง ชื่อเหมันต์อันพิศาล

ุรี
รบ
อาโปย่อมบันดาล ปถวีแทรกทำเข็ญ
ที่ไข้เพื่อเสมหะ กำเดาเลือดเจือใบให้เป็น

พช
โทษสามหากเคืองเข็ญ ยิ่งกว่าสิ่งสิ้นทั้งปวง

ณ์เ
ให้เจ็บซึ่งสันหลัง และร้อนเอวเป็นใหญ่หลวง

ักษ
ดังจะลุ่ยหลุดร้อง ทั้งกรข้อสลักขึ้ง
ดุจดังเข้าตรีโทษ21 ในเนื้อมือมัจจุราช


ผู้แพทย์จงคำนึง
บอระเพ็ดทั้งแห้วหมู
ลาย แต่งสรรพยาจงใคร่ครวญ
นมตำเลีย22เร่งประมวล
รรม
หญ้าตีนพอสมควร มะกรูดขิงเร่งปรุงหา
ตากแดดกระทำผง บดด้วยน้ำเปลือกเพกา

น้ำมะแว้งเครือกระสายยา กินดับโรคในเหมันต์
รณ

คือเดือนสามเดือนสี่ ชื่อสระศรีฤดูพลัน
ะวร

ปถวีธาตุนั้น เป็นมูลโรคธิบดี
เกิดโรคด้วยเลือดลม กำเดาเสลดเจือเป็นสี

นแ

แปรปรวนกำเริบมี วิการโรคต่างๆ เป็น


มักบังเกิดโรคให้ฟกบวม หูทั้งสองเป็นหนองเหม็น
ติช

มีเลือดเน่าหากให้เป็น ย่อมไหลออกจากโสตา23
ูลค

ถ้าผู้แพทย์พึงประกอบ ซึ่งโอสถเร่งเยียวยา
้อม

ลูกกระดอมกระเทียมมา ไพลว่านน้ำเยาวภาณี
ตุมกา24ไคร้เครือว่านร่อนทอง ฤๅษีผสมแล้วสังกรณี
ย์ข

ตำผงให้ละเอียดดี แล้วละลายน้ำขิงกิน
ศูน

แก้สะท้านแทรกพริกไทย ลงเก้าเม็ดดื่มให้สิ้น

20 สารทฤดู ฤดู ใบไม้ร่วง


21 ตรีโทษ อาการไข้ที่มีลม เสมหะ และเลือดเกิดขึ้นพร้อมกัน ๓ อย่าง
22 นมตำเลีย เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก
23 โสตา กระแส
24 ตุมกา ต้นไม้มีผลกลม ๆ ใช้ทำยาได้ มี ๒ ชนิด คือตุมกาขาว กับ ตุมกาแดง
๔๓

แก้ร้อนเอาหญ้าตีนนก จันทน์ทั้งสอง.................
...................................... .......................................
ต้มเป็นกระสายละลายกิน แก้ร้อนได้ดังใจปอง
เสร็จสิ้นดังกล่าวมาฤดูหกจบ
แก้ดีเสลดต้อง น้ำมะงั่วและน้ำข่า
กินแก้โทษในปถวี ในสี่ฤดูนา

ุรี
รบ
เสร็จสิ้นดังกล่าวมาฤดูหกจบบริบูรณ์
ทีนี้จะกล่าวธาตุ อันวิปลาส25เป็นเค้ามูล

พช
ธาตุทั้งสี่มีบริบูรณ์ กำเริบหย่อนย่อมกล้าแข็ง

ณ์เ
แพทย์เร่งพิเคราะห์เอา ดังอาจารย์ท่านสำแดง

ักษ
จะกล่าวให้เห็นแจ้ง ในกลธาตุสิ้นทั้งสี่
ทีก่ ำเริบและกล้าหย่อน ในกองธาตุแห่งปถวี


วิบัติย่อมหากมี
ให้เกิดหาวและเหม็นปาก
ลาย ในกลโทษสิบสามประการ
ย่อมไข้ครั่นตัวเป็นประมาณ
รรม
หนึ่งท้องลั่นและพลุ่งพล่าน ย่อมท้องขึ้นและเจ็บท้อง
ให้ลงท้องบ่ หายเหือด และตกเลือดเป็นน้ำหนอง

มักเสียดแทงซึง่ ในท้อง แล้วก็ให้อัณฑะฟก


รณ

เป็นป้างเป็นกระษัย26 และให้เจ็บในอก
ะวร

ในเนื้อย่อมช้ำฟก เล็บตีนมือเป็นสีเขียว
ทีแ่ พทย์เห็นอาการ แห่งผู้ไข้ดังนี้เจียว

นแ

พึงองอาจฉลาดเฉลียว แก้ซึ่งโทษแห่งปถวี
เอากะเทียมและกันเกรา ใบสะเดากะเพราดี
ติช

ตรีผลาขิงแห้งมี เทพทาโรเท่ากันไซร้
ูลค

ทำผงละลายน้ำนมวัว และน้ำร้อนก็กินได้
้อม

ปถวีวิการไซร้ อาจดับระงับสูญ
ที่มเิ หือดเอายางทราย ดีปลีกะเทียมหนุน
ย์ข

ทั้งสะค้านเจตมูล ลูกกระดอมมะตูมอ่อนสมอไทย
ศูน

ขิงแห้งและว่านน้ำ บดทำแท่งจงฉับไว
มูลโคละลายได้ สะอึกน้ำมะนาวเร่งให้กิน
แก้เสมหะอันทำโทษ ในปถวีเหือดหายสิ้น
ผู้แพทย์อย่าเมินหมิ่น โอสถนี้ดีหนักหนา

25 วิปลาส คลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ, ผิดปกติไปในทางเสื่อม


26 กระษัย ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น
๔๔

ภาคหนึ่งเอาบอระเพ็ด กะพังโหม27รากพลูมา
มะแว้งทั้งสองรากขี้กา เอาที่แดงทั้งพริกไทย
รากขัดมอน28เชือกเข้าพรวน เปลือกโมกกระทกรก
รากจิงจ้อทำแท่งหนอ น้ำดอกไม้น้ำจันทน์ก็กินได้
แก้ดีเดือดด้วยปถวี วิเศษดีอย่าพึงหมิ่น
วิบัติภัยหายหมดสิ้น ในกลโรคแห่งปถวี

ุรี
รบ
อนึ่งโสดเอาลูกมะตูม ลูกพิลังกาสาดี
เทียนสัตตบุษย์อันกลิ่นมี กะพังโหมดอกบุนนาค

พช
หญ้าลูกข้าวหญ้าตีนนก เปลือกทองหลางทั้งสองภาค

ณ์เ
ใบมะงั่วจงเสมอภาค ตากตำผงจงเร่งกรองละลาย

ักษ
ซึ่งน้ำร้อนกินแก้เลือด น้ำเหลืองอันหม่นหมอง
ในปถวีโทษธาตุทั้งผอง อันตรธานบรรเทาหาย


หนึ่งเล่าเอาหนังจระเข้
หอยขมหอยแครงหมาย
ลาย หนังมูลโคเผาจงมากหลาย
ทั้งนอแรดจงเร่งเผา
รรม
ลูกจันทน์และดีปลี กระเทียมกรอมแห้วหมูเอา
เสมอชั่งอย่าหนักเบา ทำผงละลายด้วยน้ำร้อน

แก้เจ็บมิรู้หายเอ็นเส้นอัณฑพฤกษ์ 29 ทั้งพรรดึก30บรรเทาหย่อ
รณ

โทษปถวีอันสังหรณ์ ซึ่งวิบัติดังกล่าวมา
ะวร

อันยาห้าขนานนี้ ทีม่ ิหายอย่ากังขา


อีกห้าวันจะมรณา ดังกล่าวมาแม่นแท้แล

นแ

หนึ่งเล่าเตโชธาตุ อันประหลาดจะกำเริบแปร
มีอาการดังนี้แล มักให้ร้อนปลายตีนมือ
ติช

ดุจดังปลาดุกยอก ให้รุ่มร้อนดังเพลิงลน
ูลค

ที่ในท้องในไส้คือ ดังน้ำเดือดพลุ่งพล่าน
้อม

ร้อนในให้บวมหน้าและหลัง และบวมท้องบ่ ได้หย่อน


เป็นเหน็บย่อมแสบร้อน ดังหัวผดสิ้นทั้งตัว
ย์ข

ครันมันจมลงกลุ้มกลับเข้า กระทำพิษพึงเร่งกลัว
ศูน

ให้เจ็บท้องมิใช่ชั่ว ตกมูกเลือดเน่าเป็นหนอง
ผิไข้เป็นดังนี้ เตโชธาตุให้หม่นหมอง

27 กะพังโหม เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม่อนื่ ๆ มี ๒ ชนิด คือ ตูดหมู ตูดหมา


28 รากขัดมอน มีสรรพคุณตามตำรายาไทย แก้ไข้หัด อิสุกอิใส อิดำอิแดง แก้พิษไข้
29 อัณฑพฤกษ์ โรคเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ลูกอัณฑะ องคชาต อาการปัสสาวะขัด
30 พรรดึก อุจจาระที่เป็นก้อนแข็งกลม.
๔๕

ผู้แพทย์เร่งตรึกตรอง ซึ่งยาแก้จงฉับพลัน ๚
มหาหิงคุ์31และดีปลี เจตมูลว่านน้ำหั่น
ช้าพลูพริกไทยขยัน ยางทรายพิลังกาสา
ขิงแห้งมะแว้งคู่ ลูกราชดัดเร่งเร็วหา
บอระเพ็ดขมโสภา ทำผงละลายน้ำอ้อยแดง
และน้ำร้อนน้ำซาวข้าว มูตรโคเป็นกระสาย

ุรี
รบ
แก้เตโชวิกลร้าย อาจจะระงับดับสูญ
 ๑ ภาคหนึ่งมหาหิงคุ์ แต่ส่วนหนึ่งเป็นเค้ามูล

พช
ว่านน้ำสองส่วนพูน ลูกช้าพลูเป็นตรีสาม

ณ์เ
ขิงสี่เยาวภาณีห้า ดังตำราท่านกล่าวความ

ักษ
เจตมูลหกส่วนพูน โกฐสอเจ็ดสมอไทยแปด
ดีปลีเก้าชีล้อมสิบ ผึ่งแดดประสมเร่ง


ตากแดดทำผงเฉลว
กินแก้โทษในเตโช
ลาย ละลายมูตรโคแทรก
วิการโรคบรรเทาสิ้น
รรม
ผู้แพทย์อย่าพึงหมิ่น ตำรานี้ดีนักหนา
๒ หนึ่งโสดเอาโกฐสอ โกฐเขมา32ลูกจันทน์นา

เทียนเทศดำขาว ลูกราชดัด33มหาหิงคุ์
รณ

ลูกสาระพัดพิษกรุงเขมา จุกโรหินีอันดียิ่ง
ะวร

รากพลับพลึงอันแดงจริง รากมะแว้งเครือรากสวาด
รากจิงจ้อเร่งทำผง น้ำมะงั่วมะนาวกินแก้ธาตุ

ชื่อเทพนิมิตประสาท แก้วิปลาสเตโชหาย
นแ

ฯ จบ ฯ
ติช

๓ หนึ่งเล่าวาโยธาตุ กำเริบหย่อนทั้งปวงหมาย
มีอาการวิกลกาย กระทำโทษสิบสามเพลง
ูลค

เป็นตะคริวเมื่อยตีนมือ หูอึงอื้อตึงหนักเอง
้อม

สันหลังย่อมแข็งเคร่ง รากลมเปล่าและเจ็บอก
ย์ข

ให้ขดั ซึ่งหัวเข่า เป็นโบเบาจะโป่งฟก


หายใจย่อมขัดอก เป็นหวัดไอดังหืด
ศูน

เห็นหิ่งห้อยพราย ในจักขุหนักหน้าตา
หากให้เป็นโทษวาโย แพทย์พึงเห็นจงเร่งแก้ประย้า ๚
เอาดีปลีและแฝกหอม ทั้งว่านน้ำพริกไทยมา

31 มหาหิงค์ ยางจากราก และลำต้นใต้ดนิ ของพืชหลายชนิด นิยมใช้เป็นยาทาภายนอก


32 โกศเขมา ชื่อเรียกเครื่องยาที่ได้จากเหง้าแห้งของพืชหลายชนิด
33 ลูกราชดัด มีสรรพคุณแก้กระษัย บำรุงน้ำดี บำรุงน้ำเหลือง แก้ท้องอืดเฟ้อ
๔๖

แห้วหมูว่านเปลาะรา เอาเท่ากันทำผงกิน
พึงละลายด้วยน้ำมะนาว วาโยเล่าเสื่อมหายสิ้น
ผู้ไข้จงเร่งกิน อย่าดูหมิ่นดังกล่าวมา
หนึ่งเล่าเปลือกมูกมัน มูกหลวงรากสลอดหญ้ารังกา
ว่านน้ำพริกไทยมา ขิงแห้งแห้วหมูเจตมูล
สมอไทยรากไคร้เครือ จงกระทำตำเป็นผง

ุรี
มูลโคสุราคูณ บรรเทาโทษวาโยหาย

รบ
๒ หนึ่งโสดเอามหาหิงคุ์ ว่านน้ำและสะค้านยางทราย

พช
ดีปลีชะเอมหมาย ทั้งโกฐเขมาขิงและกรุงเขมา
ทำผงละลายน้ำนมโค น้ำผึ้งชะเอมเอา

ณ์เ
กินพลันจะบรรเทา โทษวาโยระงับสูญ

ักษ
๓ หนึ่งเล่าเอาชะเอม ทั้งใบหนาดเจตมูล
จิงจ้อใหญ่การบูร รากทนดีดีปลีขิง


ว่านน้ำและใบสลอด
มูตรโคน้ำร้อนยิ่ง
ลาย ต้มน้ำเกลือตำผงละเอียดจริง
กินแก้โทษวาโยพลัน………
รรม
๔ ภาคหนึ่งเอาดีปลี เจตพังคี34ขิงเร่งหั่น
บอระเพ็ดหัศคุณนั้น ทั้งพริกไทยแมงลัก

เจตมูลมหาหิงคุ์ สังกรณี35เท่ากันนา
รณ

ทำผงละลายยา ด้วยมูตรโค36น้ำร้อนกิน
ะวร

น้ำซาวข้าวก็กินได้ จงยักกระสายอย่าดูหมิ่น
ย่อมบางเบาบรรเทาสิ้น ในกองธาตุโทษวาโย…….

๕ หนึ่งเล่าเอาผักคราด ลูกผักกาดผักชีโท
นแ

สะค้านจงกลนี ทั้งหอมแดงผักเสี้ยนผี 37
ติช

ผักเป็ดแดงเมล็ดแตงโม ตำเป็นผงละเอียดดี
นมโคน้ำผึ้งมี จงกระสายละลายกิน
ูลค

แก้โทษวาโยหย่อน และกำเริบหายสูญสิ้น
้อม

ผู้ไข้ที่ดื่มกิน ซึ่งยานี้จะพลันสูญ
จบ ๚
ย์ข

๖ หนึ่งโสดธาตุอาโป วิการโรคโทษมากมูล
ศูน

ให้จุกอกแหละลงกรุ่น แล้วแปรเป็นกระษัยกล่อน
ให้ขัดหนักและขัดเบา ตึงหัวเข่ามิได้หย่อน
ท้องน้อยมักเป็นก้อน ย่อมเป็นก้อนกลิ้งขึ้นกลิ้งลง
34 เจตพังคี เป็นพืชสมุนไพร ใช้ ราก แก้ท้องขึ้น ปวดแน่นท้อง ทำให้ผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ
35 สังกรณี ต้นไม้ชนิดหนึง่ ใช้ทำยา
36 มูตรโค เยี่ยววัว
37 ผักเสี้ยนผี ทั้งต้นรสขมร้อน คุมแก้ลม แก้ปวดท้อง ลงท้อง ทำให้หนองแห้ง
๔๗

ตกเลือดหนองผูกพรรดึก ร้อนหน้าหลังดังเพลิงขึง
เหลืองซีดย่อมแห้งลง ให้เกิดเสลดตีนมือเย็น
ชายจะขัดสีข้างขวา ผิหญิงราแสบสีข้างซ้าย
เป็นในอกให้ขัดย่อมมิสบาย ให้เกิดเลือดระส่ำระสาย
........................... เป็นไข้จับวิบัติกลาย
อาโปกำเริบร้าย บั ง เกิ ด โทษสิ บ สองประการ

ุรี
..............ที่แพทย์ จะแก้โทษในสมุฏฐาน

รบ
ประกอบแก้ให้ควรการ ตามคัมภีร์อย่าดูเบา

พช
เปลือกมูกหลวงมะตูมอ่อน เจตมูลพริกไทยเรา
ลูกผักชีว่านน้ำเอา หญ้ารังกาน้ำเต้าขม

ณ์เ
หาไม่ได้ให้เอากระดอม ขิงจิงจ้อดีปลีประสม

ักษ
ตำผงโดยนิยม ละลายมูตรโคน้ำตาลแทรก
แก้โทษในอาโป วิการโรคพลันหายแท้


ย่อมมีคุณยิ่งจริงแล
๑ หนึ่งเล่าเอาจิงจ้อ
ลาย ดังคัมภีร์ท่านกล่าวมา
ทั้งดีปลีหัวเข้าค่า
รรม
กะพังโหมพริกไทยเรา ลูกราชดัดขมิ้นอ้อย
หัวหอมและยาดำ ตามตำราอย่าได้น้อย

ตำผงละลายกระสายพลอย น้ำตาลทรายน้ำแตงกวา
รณ

แก้อาโปธาตุผูกพรรดึก บรรเทาหายอย่ากังขา
ะวร

ผู้ไข้พึงภุญชา โอสถนี้อย่าดูหมิ่น
๒ หนึ่งโสดโกฐก้านพร้าว บอระเพ็ดหั่นเป็นชิ้น

ลูกในแตงกวากิน เปลือกกุ่มน้ำรากทองดี
นแ

มะตูมอ่อนแหละใบสลอด เร่งทำผงละเอียดดี
ติช

น้ำร้อนสุรามี เร่งภุญชีอาโปหาย
๓ หนึ่งเล่าเอาตรีกระตุก ลูกมะขามป้อมดังภิปราย
ูลค

เอาตรีผลาสะค้านหมาย ทั้งไพลข่าและลูกจันทน์
้อม

เสมอภาคกระทำผง น้ำกล้วยตีบ38กระสายฉัน
อาโปวิการนั้น กินพลันดับระงับสูญ
ย์ข

จบธาตุคถาแต่เท่านี้
ศูน

๔ หนึ่งจบคถาธาตุทั้งสี่ อันถึงตรีโทษทั้งมูล
มรณังบังเกิดพูน ธาตุกำเริบออกจากกาย
ผู้แพทย์พึงสังเกต มีประเภทเป็นมากมาย
ปัถวีออกจากกาย มีประเภทสิบประการ

38 กล้วยตีบ ลักษณะคล้ายกล้วยตานี ท้องใบมีสีนวลขาว นิยมปลูกไว้ทำยา


๔๘

ย่อมให้รากทรวงอกแห้ง กายมักแข็งดังท่อนไม้
ปากบ่ รู้รสซึ่งอาหาร จืดและเค็มสิ้นทั้งปวง
มักเป็นนั้นกรุ่นๆ เจ็บในอกเป็นใหญ่หลวง
หนึ่งอาหารสิ้นทั้งปวง ที่จะกินบ่ อยู่ท้อง
ในอุระดังเพลิงสุม ย่อมร้อนรุ่มเร่งเศร้าหมอง
มักท้องขึ้นแหละลงท้อง ย่อมเขียวช้ำสิ้นทั้งตัว

ุรี
ที่แพทย์จะเยียวยา เอาตรีผลากะเทียมหมาย

รบ
ว่านน้ำร่อนทองพราย ทั้งไพลกระดอมคนทีสอ

พช
ต้นมะกล่ำดังจำนงค์ เร่งทำผงอย่าได้หลงรอ
น้ำร้อนกระสายหนอ อีกน้ำขิงให้เร่งกิน

ณ์เ
แก้ปถวีในตรีโทษ อาจจะโปรดให้หายสิ้น

ักษ
ที่มิหายอย่าดูหมิ่น อีกห้าวันพลันมรณา ๚


ฯ จบ ฯ
หนึ่งเล่าอาโปธาตุ
คือโทษที่ถาวร
ลาย วิปลาสจากกายจร
ย่อมวิบัติกำเริบทวี
รรม
มีอาการสิบสองเพลง กายตนเองซูบเศร้าฉวี
เสโทชะโลรี่ ย่อมซึมทราบทั่วสารพางค์

รณ

ให้ตึงตัวทั้งหน้าตา อาหารกินเบาบาง
ะวร

ให้ร้อนกระมลหมาง กระหายน้ำแหละหนักเศียร
ให้มูตรเหลืองแหละมูตรแดง เขโฬ39ตนให้ก่นเหียน

ให้รากเหลืองแหละวิงเวียน ให้ท้องขึ้นและเจ็บอก
นแ

ในท้องเป็นลมลั่น อยากของมันมักโกรธงก
ติช

กระร้อนแหละเย็นอก เป็นไข้จับดังเลือดชรารุด
ให้ปากชุ่มแหละขมร้อน กลับเผ็ดหวานโทษทั้งมูล
ูลค

เพื่ออาโปคือโทษพูน แก่ชนไข้ผู้ใดเป็น
้อม

ที่แพทย์จะเยียวยา ตามอกุศลหากเคืองเข็ญ
ย์ข

จะแจ้งออกบอกให้เห็น ซึ่งโอสถเร่งปรุงหา
พึงให้เอาซึ่งเจตมูล เปลือกมูกดงมูกมันหนา
ศูน

ลูกผักชีดีปลีรา หญ้ารังกามะตูมอ่อน
ทั้งขิงแห้งรากเสนียด หัวว่านน้ำเร่งสังวร
ทำผงละลายน้ำร้อน เร่งกินแก้อาโปหาย
ที่มิเหือดด้วยยานี้ คือชีวีจะจากกาย
อีกเจ็ดวันจะพลันหน่าย ในเพลากลางคืนแล

39 เขโฬ อาโปธาตุที่ประสมขึ้นเป็นฟองภายในปาก
๔๙

ฯ จบ ฯ
ธาตุเตโชจากกาโย วิบัติเป็น.........................
คือโทษที่ถึงแท้ ซึ่งกลโทษสิบสองสถาน
คือให้ร้อนซึ่งในท้อง และไส้พุงให้พลุ่งพล่าน
ดังน้ำเดือดไม่เปรียบปาน แล้วก็ให้ตีนมือตาย
หัวใจดังขลุกๆ ในลมคอทรวงอกหมาย

ุรี
ให้เมื่อยขบทั่วทั้งกาย ให้ผอมแห้งปวดมวนท้อง

รบ
ให้ร้อนรนกระวนกระวาย ซึ่งในกายดังเพลิงกอง

พช
ให้วิงเวียนหน้าหมอง ย่อมแสบไส้มักเป็นลม
ให้มือสั่นและตีนสั่น ให้ร้อนเสียงดังเพลิงระงม

ณ์เ
โทษ ๑๔ ย่อมนิยม ด้วยเตโชวิการสลาย

ักษ
ที่แพทย์เห็นอาการ แห่งผู้ไข้ดังนี้หมาย
คือโทษมาถึงกาย วิบัติโรคให้เคืองเข็ญ


ที่แพทย์ผู้ใดแก้
ลูกชีว่านเหม็น
ลาย เอาโกฐสอแหละลูกเอ็น
ทั้งดีปลีโกฐพุงปลา
รรม
แห้วหมูและว่านเปราะ สะค้านขิงเร่งปรุงหา
เปลือกมูกมันเท่ากันหนา ตากตำผงละลายน้ำเย็น

กินแก้กองเตโช วิการโรคคือโทษเป็น
รณ

ดังน้ำดับไฟให้เย็น ย่อมวินาศ40ขาดสูญหาย ๚
ะวร

ภาคหนึ่งลูกชะพลู ลูกจิงจ้อ41เจตมูล
รากเสนียดไคร้เครือหนุน อีกสมอไทยหญ้ารังกา

ว่านเปราะดีปลีขิง มะขามป้อมชะเอมหา
นแ

ใบกะเพราเท่ากันหนา ตากตำผงจงละลาย
ติช

อาจจะแก้โทษธาตุวาโย ภินทะโก บ่ ตำรง


วิการซ่านออกจากกองค์ ตรีโทษหากแปรปรวน
ูลค

ประกอบด้วยโทษ๑๖สถาน ดังอาการท่านประมวล
้อม

ผอมเหลืองย่อมมีนวล แห้งซูบเศร้าฉวีหมอง
ให้จุกอกเป็นก้อนอยู่ ในอุระแหละในท้อง
ย์ข

ให้รากอาหารท้อง ให้สะอึกให้เรอเหียน
ศูน

หายใจย่อมให้สั้น ให้หวานปากเขฬะเหลือง
ให้ร้อนใอกเป็นพ้นเพียน ให้เจ็บอกให้คันตัว
ให้ผุดแดงแดงดังสีเลือด ไอบ่ เหือดดังหืดมัว
ให้หนักหน้าตาตัว ย่อมวิบัติเป็นมากมาย

40 วินาศ ความฉิบหาย, ความสูญสิน้


41 จิงจ้อ เป็นยาเจริญอาหาร ช่วยย่อย กินทั้งต้น แก้อาการทางเดินปัสสาวะอักเสบ
๕๐

ที่แพทย์ผู้จะแก้ วาโยกำเริบแปรระสาย
ว่านเปราะพริกไทยหมาย ทั้งแห้วหมูแหละดีปลี
อีกข่าแหละว่านน้ำ ตำเป็นผงละเอียดดี
น้ำร้อนเร่งภุญชี แก้วาโยกำเริบสูญ
ที่มิหายด้วยยานี้ ย่อมทวีอาการหนุน
ไม่เหือดดอกเป็นเค้ามูล ถอยกำลังขัดหนักเบา

ุรี
ให้พอใจกินของมีมัน จืดมีเล่าให้พึงเกรงอย่าดูเบา

รบ
ใน ๕ แหละ ๗ วันสามยามสูญ ฯ จบธาตุแตก จบลักษณะตรีโทษแล ๚

พช
 หนึ่งเล่าจะกล่าวทบ ธาตุบรรจบน้ำประสารมูล
ธาตุทั้งสี่มีบริบูรณ์ ภินทะนาวิการหย่อน

ณ์เ
ให้ดำรงคงดังเก่า มิให้ร้าวกำเริบจร

ักษ
อาจจะตั้งให้ถาวร ร้อนวิบัติกำเริบแปร
เอาขิงแห้งและโกฐพุงปลา และโกฐเขมาโกฐเชียงแท้


โกฐสอเทศเทียนดำแล
เทียนเยาวพานีและเทียนแดง
ลาย ทั้งเทียนขาวเทียนสัตตบุษย์42
ลูกจันทน์ดอกจันทน์หอมบริสุทธิ์
รรม
การบูรกลิ่นล้ำอุด ทั้งกานพลูลูกผักชี
ลูกกระวานสมุลแว้ง น้ำประสานท้อนเทศที่ดี

ใบพิมเสนไคร้เครือมี ทั้งดีปลีแหละเปราะหอม
รณ

หนึ่งชะมดเอาเท่ากัน สิ่งละสลึงชั่งให้พร้อม ┼
ะวร

โกฐก้านพร้าวอย่าถอยถ่อม หนักสองสลึงเทียนคำหมาย
....................................... ...........................................

แก้ทุรนกระวนกระวาย น้ำดอกไม้พิมเสนแทรกกิน
นแ

แก้ไข้ละลายน้ำร้อน ผ่อนบรรเทาผาดเสื่อมหายสิ้น
ติช

เลือดกำเดาอันมลทิน ทั้งเลือดลมระทมสูญ
ผู้ใดภุญชีโอสถนี้บ่ เห็นคุณ ผู้นั้นย่อมหย่อนบุญ
ูลค

กรรมหากเตือนให้เลื่อนพบ อย่าได้ประมาทพึงภาวนา
้อม

อะจีรังร่างกายจะเป็นเยื่อแห่งสัตว์ทั้งหลายเพื่อจะให้หมองด้วยกองกูณฑ์ ๚
 เทียนทั้ง ๕ สิ่งละสองสลึง กระเทียมถึงบาทพูน คนทาใบคนทีสอคนทีเขมา
ย์ข

ตรีกระตุกชั่งอย่าเบา ยาทั้งนี้เอาสิ่งละบาท จะทำผงแหละทำแท่ง ละลายน้ำกระทือ43กินอย่า


ศูน

กังขา แก้ปถวีธาตุอาจจะระงับดับพลันหาย44

42 เทียนสัตตบุษย์ ชื่อเรียกผลแก่แห้งของไม้ล้มลุก ใช้เป็นเครื่องเทศ


43 กระทือ เป็น ไม้ล้มลุกอายุหลายปี
44 ไม่สามารถจัดเป็นคำประพันธ์ได้
๕๑

ภาคหนึ่งแก้เตโชเอาผลกระเบา45 ว่านเปราะหมายลูกพิลังกาสา
รากไคร้เครือหญ้ารังกา สมอไทยมะขามป้อม
................................. รากช้าพลูชะเอมมา
รากผักแพวแดงโสภา เสมอภาคเร่งทำผง
จำเพาะกินแต่น้ำร้อน แก้เตโชหายมั่นคง
ซึ่งเรื่องธาตุเล่าจำนงค์ คงยุติจบบริบูรณ์

ุรี
ฯ จบ ฯ กล่าวมาในเรื่องธาตุ เตโชแต่เท่านี้แล ๚

รบ
 หนึ่งโสดจะกล่าวการ ในสมุฏฐานเป็นเค้ามูล

พช
พระสรรเพชญ์ตรัสบัณฑูร ซึ่งมูลโรคสามสถาน
เสมหะถ้าวิการ และวาตะสมุฏฐาน

ณ์เ
เป็นอาทิให้วิกล …………………………………

ักษ
พระสรรเพชญ์ตรัสออกพระโอษฐ์ โปรดพระเถระคิริมานนท์
อันคิลากำเริบวิกลกาย แห่งเถราอันว่าธาตุทั้งสี่นั้น


หากเจือแทรกในกาย
หากวิบัติตามเหตุ
ลาย เป็นพาหิระกะโรคา
เป็นหนึ่งสัรณิยาห์ติกา
รรม
คือเสลดลมกำเริบเข็ญ พร้อมทั้งสามตามเภทเป็น
เรียกสันนิบาตประกาติมาม หนึ่งอุตุปรินาม

คือฤดูวิการแปรปรวนตาม วิสะมะปะริหารินาม
รณ

ด้วยอาหารและอิริยาบถ ........................................
ะวร

หนึ่งโอปักกะมิกาพาท เพื่อวิปลาสในกรรม
หนึ่งกรรมวิปากไข้ เพื่อลมกรรมกระทำผล

อันอาการพาททั้งแปดนี้ ในคัมภีร์คิริมานนท์
นแ

ออกจากโอษฐ์พระทศพล แพทย์พึงสดับดังกล่าวมา
ติช

อันธาตุทั้งสี่ยกไว้ก่อน จะกล่าวย้อนปิตะมา
คือกุลบุตรคิลา ด้วยปิตตะเป็นสมุฏฐาน46
ูลค

คือว่าดีในกายตน ให้วิกลกำเริบร้าว
้อม

ด้วยเหตุและอาการ ซึ่งวิกลต่างๆ ในสังคะหะ47


จักกล่าวเหตุเมื่อก่อผล แห่งบุคคลชายหญิงนี้
ย์ข

เมื่อเหตุกำเริบมี ดีจะก่อโรคอาเพศเป็น
ศูน

มักให้กินอาหารร้อน บ่มิชอบอาหารเย็น
สิ่งอันเปรี้ยวอยากบ่เว้น ย่อมพอใจเผ็ดร้อนบูด
สิ่งของเน่ามักพอใจ ก็ผิงไฟบ่ ใคร่หยุด
ทั้งน้ำมักดื่มดูด และมักโกรธเมื่อตะวันเที่ยง
45 ผลกระเบา ผลใหญ่มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ใช้แก้โรคผิวหนังต่าง ๆ
46 สมุฏฐาน ที่เกิด, ที่ตั้ง, เหตุ.
47 สังคะหะ การรวบรวม
๕๒

มักกินอาหารเมื่อกลางคืน มักบ่ ตื่นยังกรนเสียง


มักอาบน้ำเมื่อดึก เที่ยงราตรีร้อนบ่ นอนหลับ
อันว่าเหตุทั้ง ๑๐ นี้ มีใคร่ดีก่อ
จะกล่าวเหตุก็เสร็จสรรพ จะกลับกล่าวโรคเพื่อดี
48อันวิบัติอาการโรค ๑๕ สิ่ง หากย่อมมีอันผู้ไข้เกิด
เพื่อดีมักสะท้านร้อน สะท้านหนาวมักไหลหลง

ุรี
นอนมิหลับย่อมมักรากเป็นคราวๆ มักคอแห้งร้อนผะผ่าว

รบ
ทั้งร้อนปากร้อนคิ้ว จมูกมักร้อนหน้า

พช
เหงื่อ บ่ ตกย่อมพร่ำพรู พูดผิดถูกมักเพ้อพักบ่มีสุข
ย่อมไหลหลงมัวเมาหนัก มีจักขุนั้นก็แหลม

ณ์เ
เห็นสิ่งของมักรู้จักตาเหลือง เบาเหลืองนักมักวิงเวียน

ักษ
แสบร้อนหน้านักให้ร้อนระส่ำระสาย เพศทั้งสิ้นซึ่งกล่าวมา
หมู่แพทย์อย่ากังขา โรคทั้งนี้ดีทำเข็ญ


ที่แพทย์จะเยียวยา
ชิงช้าชาลีอย่าได้เว้น
ลาย ไข้เพื่อดีวิบัติเป็น
ลูกมะตูมอ่อนรากดีปลี
รรม
ทั้งแห้วหมูและขิงแห้ง ใส่หม้อต้มให้สุกดี
ครั้นเย็นจึงภุญชี โรคเพื่อดีก็หายพลัน

ฯ ๑ ฯ ภาคหนึ่งรากมะตูม หญ้าเกล็ดหอยแฝกหอมหั่น
รณ

รากกระดอมเอาเท่ากัน ต้มไว้เย็นเร่งดื่มกิน
ะวร

ฯ ๒ ฯ อนึ่งโสดหญ้าเกล็ดหอย แต่สิ่งเดียวคุณมากมาย
ต้มกินดับโรคหาย แพทย์ทั้งหลายอย่าพึงหมิ่น

ฯ ๓ ฯ หนึ่งเล่าหญ้าเกล็ดหอย บอระเพ็ดหั่นเป็นชิ้น
นแ

ชิงช้าชาลีเลื้อยลากดิน ลูกมะขามป้อมพร้อมเร่งต้ม
ติช

ฯ ๔ ฯ ครั้นเย็นให้คนไข้ดื่มเข้า หญ้าออกขมพรั่นคลาย
หายระบมดี วิบัติกำจัดสูญ
ูลค

ฯ ๕ ฯ หนึ่งเล่าเอาบอระเพ็ด ทั้งคุคะ49เถามวกมูล
้อม

เกสรบัวหลวงพูน ทั้งรากโลดจงต้มพลัน
เมื่อจะกินน้ำพึงหยุดพลัน แต่สักหน่อยดื่มขยัน
ย์ข

โรคาวินาสัน เพราะยานี้ดีนักหนา
ศูน

ถ้ามิหายหญ้าเกล็ดหอย50 เก็บเพิ่มลงในหม้อยา
กำจัดซึ่งโรคา ใช้ดีเพื่อกำเดาหาย
ฯ ๖ ฯ ภาคหนึ่งรากขัดมอน รากขี้กาผักขวงหมาย
เครือเขายอดด้วนปลาย ต้นผีเสื้อชื่อหญ้าเกล็ดหอย
48 ไม่สามารถจัดเป็นคำประพันธ์ได้
49 คุคะ ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่ง ใช้ทำยาได้
50 หญ้าเกล็ดหอย ชื่อไม้ล้มลุก ลำต้นเรียวเล็กทอด ใบค่อนข้างกลม ขอบใบหยักมนตื้น คล้ายเกล็ดหอย
๕๓

ต้มสุกไว้ให้เย็น หยดน้ำผึ้งแต่สักหน่อย
กินแก้ไข้เพื่อดีหาย ดังตำหรับท่านกล่าวมา
ฯ ๗ ฯ ภาคหนึ่งมะขามป้อม สะเดาดิน............................
ชะลูดหอมพร้อมปรุงหา ต้มไว้เย็นแล้วหล่อกิน
ผู้ไข้เป็นด้วยดี เอายานี้พึงดื่มกิน
โทษร้ายหายหมดสิ้น แก้ปากเผ็ดปากร้อนหาย

ุรี
ฯ ๘ ฯ หนึ่งเอาชะเอม51เครือ ชะลูดหอมดังอภิปราย

รบ
แก่นสะเดาเท่ากันหมาย ต้มไว้เย็นแล้วจึงกิน

พช
แก้ดีอันร้ายนัก ย่อมประจักษ์อย่าดูหมิ่น
โรคร้ายหายหมดสิ้น แผ้วมลทินอาจจะสูญ

ณ์เ
ฯ ๙ ฯ ภาคหนึ่งรากขี้กา หญ้าเกล็ดหอยท่านให้หนุน

ักษ
รากหวายขมก้านตาลพูน ทั้งรากกระดอมเข้ายอด
เอาเท่ากันต้มไว้เย็น น้ำผึ้งหยดแต่พอควร


ผู้ไข้ดีรำจวน
ฯ ๑๐ ฯ หนึ่งเล่าเอาก้านตาล
ลาย เร่งดื่มกินสิ้นสูญไป
ผลสมอที่ห้าเสียม
รรม
ผักบุ้งขันอันเลื้อยเทียม ทั้งชำระพระร่วงสาบ
ลูกมะขามป้อมรากขัดมอน เถายอดด้วนอันเลื้อยพาด

หญ้าเกล็ดหอยคิดกินราบ เร่งให้ต้มทำชอบกล
รณ

แก้ไข้อันเพื่อดี มักเซ้าซี้คลั่งไคล้บ่น
ะวร

กระหายน้ำกระวายวน ทั้งวิงเวียนเสียดแทงมวน
ที่โรคเกิดเพื่อดี เภทดังนี้อย่าละลวน

ผู้แพทย์เร่งสำรวม โอสถนี้ดีดับเสื่อมสูญ
นแ

ฯ ๑๑ ฯ หนึ่งเล่าพระตำรา ชื่อปัตโตลาทิคุณ
ติช

อาจจะแก้ดีพลุ่งหัวใจขุ่น แก้จุกเสียดและสันนิบาต52
แก้เลือดลมสารพัดไข้ แก้จับหายเสื่อมสูญขาด
ูลค

หญ้าสี่สิ่งล้วนสิ่งละบาท แต่ลูกกระดอมหนักสองสลึง
้อม

จุกโรหินี53และจันทน์หอม กรุงเขมากระพังโหม
พึงต้มกินอย่าคำนึง ย่อมมีคุณสูญทันใจ
ย์ข

ฯ ๑๒ ฯ หนึ่งเล่ากล่าวปิตตัง 54 ย่อมวิกลแตกซึมไหล
ศูน

ผู้ไข้ให้อาพาธมักคลั่งไคล้ ให้พักเพ้อละเมอหลง
นอนสะดุ้งมักหวาดหวั่น บางทีมั่นกลับให้ลง
ดั่งกินยาประจุส่ง ลงแดงเหลืองเป็นสีเขียว
51 ชะเอม ใช้ เนื้อไม้ แก้โรคในลำคอ แก้ลม แก้เลือดออกตามไรฟัน
52 สันนิบาต เรียกไข้ชนิดหนึ่ง ผูป้ ่วยมีอาการสั่นเทิ้ม ชักกระตุก และเพ้อว่า ไข้สันนิบาต
53 จุกโรหินี จัดเป็นไม้ล้มลุกที่ เถากลมสีเขียว ตามข้อเถามีรากงอกออก
54 ปิตตัง ดี, น้ำดี ลำดับ 20 ในอาการสามสิบสอง
๕๔

บ่ มีสติตั้งอาการ ดังนี้รีบพบแพทย์
ผู้แพทย์พึงเฉลียว ว่าเภทอื่นอย่ากังขา
ที่จะแก้ให้เอา เทียนตั๊กแตนเทียนเข้าเปลือก
เปลือกมะปรางอันโสภา เปลือกไข่เน่าเทพทาโร
เสมอภาคแล้วให้บด แทรกดีจระเข้ชาอักโข
น้ำดอกไม้แช่ใส่โถ แทรกพิมเสนลงให้กิน

ุรี
แก้คลั่งเพ้อพก ทั้งหลงใหลหายหมดสิ้น

รบ
โทษดีอันเรอริน กินยานี้ดีพลันหาย

พช
ฯ ๑๓ ฯ หนึ่งเล่าที่แถลง เอาครั้งฝิ่นลูกจันทน์หมาย
เบญกานีกำยานยาย เปลือกมังคุดเล็ดตะบูน

ณ์เ
เปลือกทับทิมเปลือกมะขามขบ ครบตำบดด้วยแสงสุรีย์ 55

ักษ
น้ำเปลือกทับทิมพูน แก้โทษลงดำรงใจ
ฯ ๑๔ ฯ หนึ่งเล่ากล่าวมูกธาตุ แก้ดีรั่วดังนี้ไซร้


ให้ลงดังน้ำไหล
ให้บิดปวดและนอนสะดุ้ง
ลาย ถึงอะติสารสีดั่งขมิ้น
มักโทโสเฉียวฉุนพลัน
รรม
ต้มยาให้เร่งกิน แก้ดีรั่วดังกล่าวมา
เอาจันทน์หอมสมอไทย รากมะอึกกระดอมมา

สิ่งละบาทอย่ากังขา บอระเพ็ดเป็นสองสลึง
รณ

ปรุงต้มกินดังท่าน กล่าวสามเอาหนึ่ง
ะวร

คลายโทษเภทอันถึง อะติสารวิการหาย
ฯ ๑๕ ฯ หนึ่งโสดแก้ดีล้น พ้นจากฝักออกกระจาย

ให้ลงระส่ำระส่าย ให้ไคล้คลั่งดังหนึ่งบ้า
นแ

มักพูดพลอดกับปีศาจ บไสยาสน์สักทิวา
ติช

แพทย์จะแก้พึงแต่งยา จันทน์ทั้งสองกรุงเขมา
กะพังโหมสมอไทย ใส่หม้อต้มตั้งบนเตา
ูลค

ขันทศกรแทรกเมื่อริน ออกกินสิ้นถ้วยสูญ
้อม

ฯ ๑๖ ฯ หนึ่งโสดแก้ดีรั่ว ดีกระตุกๆ มักเดือดเป็นไฟพูน


มักบ้าบ่นบ่หลับสนิท ดุจคนอันเดินทาง
ย์ข

.............................. และตกหลุมสะดุ้งจิต
ศูน

ย่อมไข้มักเป็นนิจ เป็นสันนิบาตทั้งสี่นา
สันนิบาตพุทธยักษ์ เพื่อโลหิตนั้นก็ว่า
ผู้แพทย์เร่งแต่งยา ตรีผลาจันทน์หอม

55 สุรีย์ พระอาทิตย์
๕๕

กระดอมกินลูกชะพลู รากมะอึกจันทน์กลิ่นร้อนหอม
ลูกขี้กาแดงแต่งต้มพร้อม สิ่งละตำลึงพึงให้กิน
แก้ดีรั่วและดีกระตุก โทษอะติสารสูญเสื่อมสิ้น
ผู้ไข้อย่าดูหมิ่น ว่าโทษดีว่าง่ายหาย
ฯ จบ ฯ
จะกล่าวปิตตังดังนี้หยุด สมมุติว่าจบตำราหมาย ๚

ุรี
 เบื้องหน้าจะบรรยาย ยกเรื่องลมนิคมมา

รบ
หมู่แพทย์จงสดับ ดังตำรับสาโรชหนา

พช
ดูก็สมดังฎีกา พระสรรเพ็ชตรัสบรรยาย
หนึ่งวาตะสมุฏฐาน56 เมื่ออาการกำเริบร้าย

ณ์เ
เดือนเก้าเดือนสิบหมาย เดือนสิบเอ็ดสิบสองมี

ักษ
ลมกำเริบไซร้ ในภาวะเดือนทั้งสี่
วิบัติยากย่อมภุญชี ซึ่งเผ็ดร้อนและฝาดขม


มักกินเนื้อแห้งและปลาแห้ง
มักดำริซึ่งกามกน
ลาย ย่อมมีจิตคิดนิยม
ในราตรีอันนานนัก
รรม
มักกล่าวและเศร้าโศก นอนบ่ หลับลืม
ประจักษ์บริโภคอาหารนัก จนอิ่มเฟื้อเหลือประมาณ

มักกระทำสิ่งใดๆ ไม่สำเร็จแต่สักคราว
รณ

ย่อมมีจิตกำเริบร้อน จะอื่นนั้นต่อไป
ะวร

มักมีลมกำเริบ เมื่อเวลาเย็นนั้นไซร้
กินอาหารใดเข้าไป มักพะอืดพะอม57 บ่ ย่อยยับ

ลมขึ้นสูงนักมักเสียดแทง ขึ้นเบื้องบนมิใคร่จะหลับ
นแ

ในกายและที่ลับ เป็นลมพิษ58เป็นแผ่นผื่นทั่วผิว
ติช

ช้ำชอกย่อมคร่ำคร่า ...............................................
............................................ ................................................
ูลค

และเป็นผดขึ้นทั้งตัว กายกระด้างแข็งน่ากลัว
้อม

ดุจจะขอนลงนอนขึงโซ่ ทั้งนี้เพื่อเภทลมเป็นสมุฏฐานในกาย
59๑๒ เหตุวิกาโร เมื่อแรกการก่อเกิดลม
ย์ข

เป็นแพทย์พึงวิจารณ์ นมัสการอย่าโง่งม
ศูน

จงแจ้งว่าเภทลม ดังนี้ก่อนวิบัตินา
ที่นั้นจึงล้มไข้ ให้วิกลเมื่อชี้ลา
มักสะท้านทั้งกายา บางคราวนำมาให้หิว
56 วาตะสมุฏฐาน หัวหน้าธาตุลม
57 พะอืดพะอม อาการที่รู้สึกคลื่นไส้จะอาเจียน
58 ลมพิษ ผื่นคันที่เห่อขึ้นตามผิวหนังมักเกิดจากอาการแพ้
59 ไม่สามารถจัดเป็นคำประพันธ์ได้
๕๖

บางทีมีกำลัง บางทีคอแห้งดังผงปลิว
ปากแห้งชักย่นผิว ไข้มักขึ้นในปากคอ
ระบายลมนาสาขัด มิหลับสนิทเรอเชียวหนอ
ไม่จามไม่เรอรอ มักเจ็บคอกายทุกแห่ง
เจ็บเศียรเจ็บอุระ เจ็บนาภี60พื้นท้องแข็ง
กินอาหารไม่มีแรง ท้องลำไส้ไม่มีรส

ุรี
เจรจาบ่ ออกศัพท์ ซึ่งถ้อยความบ่ ปรากฎ

รบ
เข้าเนืองๆบ่ กำหนด มักเสียดแทงในเบื้องต่ำ

พช
ทั้งนี้เพื่อวาโย วิกาโรรุมร่ำทำ
ผู้แพทย์พึงจดจำ ซึ่งอาการสิบสี่นา ฯ

ณ์เ
อีกสถานหนึ่งเล่าไซร้ ย่อมคลั่งไคล้โทษวาตา

ักษ
อาจารย์ท่านกล่าวมา ในตำราชื่อสังคะหะ
มีอาการย่อมคลั่งไคล้ ในสมุฏฐานแห่งคำพระ


จงวิจารณ์อย่าลืมละ
จะบอกอาการใน
ลาย คัมภีร์สองให้ต้องกัน
สังคหะคัมภีร์นั้น
รรม
ให้ขนลุกและขนชัน ย่อมให้หนาวสะท้านเย็น
ให้ปวดเศียรเวียนหน้าตา มักบิดคร้านมิใคร่จะเว้น

ในอุระให้เคืองเข็ญ ด้วยเสียดแทงมิสบาย
รณ

ย่อมอยากน้ำ บ หยุดหย่อน ท้องเป็นก้อนบ่ กระจาย


ะวร

มักทุรนทุรายกาย ทั้งหายใจเข้าออกขัด
ให้จุกขุ61และเล็บเหลือง ให้ไอกะแระดังเป็นหวัด

ปากฝาดเจ็บคางขัด เมื่อข่าตะไคร้ไอแห้ง
นแ

สิบห้าเป็นดังนี้ ดังคัมภีร์ท่านสำแดง
ติช

ผู้แพทย์พึงรู้แจ้ง เอกก็โทษลมอย่างเดียว
บ มีสิ่งอื่นเจือ เพื่อลมนี้สิ่งเดียว
ูลค

พึงองอาจฉลาดเฉลียว แต่งยาแก้แต่เภทลม
้อม

ให้เอารากอบเชย รากมะนาวชะลูดคั้น
ดอกอุบลมูกหลวง ต้มกินร้อนๆน้ำผึ้งหยด
ย์ข

กินแก้ลมอันวิการอันตร ธานเสื่อมสูญหมด
ศูน

ตามคัมภีร์สาโรช ท่านบอกยาตำรามา
ฯ ๑ ฯ ภาคหนึ่งเอาสะค้าน รากมะแว้งทั้งสองมา
บอระเพ็ดรากขี้กา กำลังหนุมาน รากมะเขือขื่น
เทียนดำและข่าลิง สิ่งละเท่ากันต้มยังยืน

60 นาภี ท้อง
61 จุกขุ ตา
๕๗

ด่วน ๆ กินพลันชื่น ไข้เภทลมระทมหาย


ฯ ๒ ฯ หนึ่งเล่าเอาบอระเพ็ด กับทั้งขิงต้มโดยหมาย
แก้ไข้เพื่อลมหาย ยาสองสิ่งยิ่งมหันต์
ฯ ๓ ฯ หนึ่งโสดซ้องแมวควาย 62 รากมะแว้งทั้งสองนั้น
รากผักเป็ดบอระเพ็ดหั่น รากอบเชยกำลังหนุมาน
เสมอภาคเร่งปรุงต้ม กินอุ่นๆอย่าเกียจคร้าน

ุรี
ไข้เพื่อลมอันตรธาน ร้อนเสร็จสิ้นเสื่อมสูญ

รบ
ฯ ๔ ฯ หนึ่งเล่าตรีกระตุก หอมกระเทียมเป็นเค้ามูล

พช
ใบสะเดาหันให้หนุน เอาเท่ายาสิ้นทั้งหลาย
ตำผงละลายน้ำร้อน กินแก้ลมหายพลัน

ณ์เ
กำหนดจงแม่นมั่น สรรพยาอย่าดูหมิ่น

ักษ
ฯ ๕ ฯ หนึ่งโสดหนอนตายอยาก รากมะรุมร้อนมีกลิ่น
รากฟักข้าวทั้งเกลือสินเธาว์เค็ม โคกกะสุน63ขิงแห้งอันร้อนเผ็ด


ทั้งรากเจตมูล
ลาย
..............................................
พูนดีปลีทวีหนุน
...............................................
รรม
ขึ้นเท่ายาทั้งหลายหมาย ตำผงละลายน้ำร้อนกินแก้หายกระจาย
ย่อมมีคุณอันมากมาย แพทย์ทั้งหลายพึงจำเอา

ฯ ๖ ฯ หนึ่งโสดรากสัตตบรรณ ทั้งบอระเพ็ดใบสะเดา
รณ

รากมูกหลวงเร่งเอา ตำเป็นผงจงฉับไว
ะวร

จึ่งเอาสิ่งน้ำผึ้ง เปรียงพระโคอุ่นตั้งไฟ
กวนยาทั้งนั้นไซร้ ไข้เพื่อลมอมกลืนก็สูญ

ฯ ๗ ฯ จะกล่าวสมุฏฐานอาการลม โดยนิยมจบบริบูรณ์
นแ

เบื้องหน้าจะประมูล เภทเสมหะสมุฏฐาน
ติช

เดือนอ้ายเดือนยี่ เดือนสามเดือนสี่จะกล่าวอาการ
เสมหะมักบันดาล วิการเหตุอาเพศทำ
ูลค

64ในฤดูเหมันต์วิการระส่ำระสาย
้อม

ผู้แพทย์จงเร่งทำวิบัติเหตุ จะก่อการมักกินอาหาร
อันมีรสซึ่งเปรี้ยวๆ และหวานๆ และเค็มขานชอบอารมณ์
ย์ข

นิยมกลืนมักพอใจ ซึ่งสิ่งของต้องอารมณ์
ศูน

โภชนาเย็นๆย่อมนิยม กลืนกินเข้าน้ำมักเหลือประมาณ
หนึ่งนึกอยากซึ่งเนื้อพล่า และปลายำกินสำราญ
มักวิบัติฝันบันดาล ได้ว่ายน้ำนอนบนน้ำ

62ซ้องแมวควาย รากมีรสขมเย็น ใช้เป็นยาแก้กระษัย


63 โคกกะสุน เมล็ดตากแห้งใช้ทำเป็นยาลูกกลอนกินบำรุงร่างกาย
64 ไม่สามารถจัดเป็นคำประพันธ์ได้
๕๘

มักฝันว่าได้ดูดดื่ม ซึ่งวารินอันเย็นฉ่ำ
มักเป็นตุ่มตัวระยำ ช้ำฟกบวมที่ในกาย
ย่อมง่วงเหงาหาวนอนนัก มักหลับนิ่งจึงค่อยสบาย
เสมหะกำเริบร้าย ให้ก่อเหตุดังนี้นา
ที่นั้นจึงเกิดโรค เป็นเสมหะสมุฏฐาน 65
มีอาการถึงสิบห้า ให้กายาเยือกเย็น

ุรี
ให้ขนลุกและชูชัน หลับเชื่อมมัววิบัติเป็น

รบ
บ่ อยากน้ำบิดคร้านเล่น บ่ สึกว่ามืดค่ำ

พช
ถ่ายปัสสาวะเป็นสีขาว และเบาข้นบ่ เป็นน้ำ
กายชื่นชุ่มดังอาบน้ำ เล็บมือซึง่ แรงเรี่ยว

ณ์เ
เหงื่อออกจากกายนัก มักร้อนตีนอยูเ่ ดียวๆ

ักษ
มักเป็นหวัดมักไอเจียว บ่ ชอบใจสิ่งใดๆ
ให้ปากหวานปานน้ำอ้อย อาการเสลดดังนี้ไซร้


ผู้แพทย์กำหนดไว้
คือรากสะเดาและรากมะตูม
ลาย จึงแต่งยาประกอบแก้
ทั้งแก่นจวงเอาที่แท้
รรม
บอระเพ็ดเปราะหอมแล รากมะแว้งทั้งว่านน้ำ
รากสะเดาดินและดีปลี จุกโรหินี66วิเศษล้ำ

เท่ากันต้มจงงวดน้ำริน กินแก้เสลดวิเศษหาย
รณ

ฯ ๑ ฯ หนึ่งเล่าลูกกระดอม ลูกโมกหลวงโกฐสอหมาย
ะวร

จงต้มอย่าเคลื่อนคลาย รินออกไว้พออุ่นๆ
จึงเอาซึ่งพริกไทย ออกตากแดดตำเป็นจุณ

...............................อย่าอุ่นอุ่น น้ำผึ้งหยดซดดื่มกิน
นแ

ผู้ไข้เพื่อเสมหะ ย่อมบรรเทาเบาบันสิ้น
ติช

สรรพยาทั้งอย่าดูหมิ่น ย่อมมีคุณยิ่งนักหนา
ฯ ๒ ฯ ภาคหนึ่งรากฟักข้าว รากตะคร้อรากยอป่า
ูลค

เปลือกโลดรากรกฟ้า ลูกมะขามป้อมรากไม้เทศ
้อม

ยาทั้งนี้เอาเท่ากัน เร่งต้มรินกินแก้โทษเสลด
พลันเสื่อมสูญคุณวิเศษ โรคเพื่อเสลดบรรเทาหาย
ย์ข

ฯ ๓ ฯ หนึ่งโสดรากมะตูม อีกทั้งขมิ้นทั้งหางกราย
ศูน

อีกผักปอดง่อนหมูหมาย รากช้าแป้นและแก่นจวง
เสมอภาคต้มกินพลัน เสมหะนั้นก็บันรอน
เสร็จสิ้นตำราหลวง ในสาโรคบอกหมดยา

65 เสมหะสมุฏฐาน หัวหน้าธาตุน้ำ
66 จุกโรหินี มีนํ้ายางขาว ใบเป็นรูปถุง กลวงใน ออกเป็นกระจุก รากใช้ทํายาได้
๕๙

ฯ ๔ ฯ หนึ่งโรคนิทาน กล่าวตำนานเสมหะมา
เมื่อเสลดจะวิการ ภินทนาวิบัติเป็น
มักให้จับสะบัดร้อน สะท้านหนาวเวลาแท้
บ้างลงโลหิตและลงเสมหะเน่า .........................................
ปวดมวนที่แพทย์จะแก้ จับเพื่อเสลดจงคูณควร
เปลือกมูกหลวงลำพันล้วน น้ำเต้าขมระบมใส่

ุรี
ลูกผักชีลาและกระดอม พร้อมรากต้นและรากใบ

รบ
แก่นขี้เหล็กจัดถาดใส่ ในหม้อต้มระดมกิน

พช
แก้จับโทษแห่งเสมหะ อันวิบัติบรรเทาสิ้น
มีอื่นจึงให้กิน สืบต่อไปตามตำรา

ณ์เ
ฯ ๕ ฯ หนึ่งโสดที่ชำระ โทษเสมหะวิการา

ักษ
ใบส้มป่อยใบมะขามมา สิ่งละกำมือ
อีกทั้งฝางหัวหอมทั้งก็ห้าหัว เถาวัลย์เปรียง67ถากแต่บาง


สมอไทยอย่าได้หมาง
ต้มสามเอาหนึ่งริน
ลาย เท่าอายุผู้ไข้นั้น
แทรกดีเกลือตามธาตุอัน
รรม
หนักเบาดื่มเต็มกลั้น พลันประจุเสมหะคลาย
ฯ ๖ ฯ หนึ่งโสดทีแ่ ก้บิด ติดเพื่อธาตุเสมหะร้าย

เอาลูกกระดอมหมาย เบญกานี68ลูกจันทน์
รณ

ครั่งผืนดินกินกระวาน ยางตะเคียนก้านพลูพลัน
ะวร

สีเสียดทั้งสองนั้น น้ำประสานทอง69ทั้งเทียนดำ
เปลือกมะขามขบเปลือกมังคุด ยุติเอาเท่ากันตำ

เป็นผงดังร้อนรำ ซ้ำยัดใส่ทับทิมสิ้น
นแ

จึงเอาขี้โคพอก ที่เปลือกนอกซ้ำพอกด้วยดิน
ติช

สุมไฟแกลบครั้นสุกสิ้น ดินขี้โคออกทิ้งพลัน
เอาแต่ยากับทับทิม พลันบดปั้นแท่งตากแต่วัน
ูลค

น้ำปูนใสน้ำไพลนั้น กินแก้ปวดเสมหะหาย
้อม

แก้เลือดเน่าเสลดเน่า สูญสิ้นโทษเสมหะร้าย
จบสิ้นดังบรรยาย แห่งสมุฏฐานทั้งเสมหะหมาย
ย์ข

ฯ จบ ฯ
ศูน

เบื้องนี้จะกล่าวแจ้ง มูลแห่งโรคท่านกำหนด
ซึ่งชันษาแห่งสมุฏฐาน ทั้งสามมีที่วาตะสมุฏฐาน
ท่านกำหนดเจ็ดราตรี ทวารอายุดีโรคปิตสมุฏฐาน 70
67 เถาวัลย์เปรียง ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด เถาใช้ทํายาได้
68 เบญกานี ชื่อต้นไม้ชนิดหนึง่ ผลมีรสฝาด ใช้ทำยา
69 น้ำประสานทอง เกลือเคมีชนิดหนึ่งใช้เป็นตัวประสานในการเชื่อมหรือบัดกรีโลหะเป็นต้น
70 ปิตสมุฏฐาน หัวหน้าธาตุไฟ
๖๐

เสมหะสมุฏฐานมีทวาทศวาร ตั้งกำหนดทั้งสามสถานผิล่วงการแต่ดีไป
คือล่วงเจ็ดล่วงสิบ ล่วงสิบสองดังนี้ไซร้
ว่าโรคภิญโญไป บ่ เสื่อมสร่างบรรเทาเบา
หากโทษเพิ่มทวี มีเหตุเจือระคนเคล้า
คือเลือดลมเสลดกำเดา ทั้งแทรกวิกลใน
ดุจดังนี้พลธงชัย บุพพาจารย์ท่านกล่าวไข

ุรี
...................................... ว่าสันนิบาตประกาศนาม

รบ
เหตุล่วงอายุเดิม โทษหากเหิมเพิ่มเป็นสองสาม

พช
โทษสี่หากมีตาม มรณะโทษหากแปรปรวน
เหตุลมกำเดาดี อุบัติแทรกให้รัญจวน

ณ์เ
เสมหะเลือดมิบังควร หากแทรกดังนี้นา

ักษ
เป็นเอกโทษทุกวันณะโทษ และตรีโทษตามโรคา
โทษสี่ย่อมมีมา มรณะโทษหากให้เป็น


เหตุฉะนี้อาจารย์กล่าว
ผู้แพทย์พึงตรองเห็น
ลาย เรียกสันนิบาตโรคคือเข็ญ
ซึ่งสู่มูลโรคอย่าดูเบา ๚
รรม
เบื้องนี้จะแสดง ในโทษสองระคนเคล้า
หมู่แพทย์จงจำเอา ดังคัมภีร์ท่านกล่าวมา

คือโทษสองเสมหะลม ย่อมนิยมให้มีประเภทในกายา
รณ

ถึงสิบสถานวิการมี คือผู้ไข้มีกายชุ่มไปด้วยเหงื่อ
ะวร

มักไหลรี่มักเจ็บหัวทั่วอินทรีย์ ……….(สิ้นสมุดหน้าต้น)............

นแ
ติช
ูลค
้อม
ย์ข
ศูน
๖๑

หน้าปลาย
สิทธิการิยะ ความในเวชศึกษาว่ากุ ลบุตรผู้มีความปรารถนาหาคุณสมบัติสำหรับตัว คือที่
เรียกว่าหมอนั้น จะต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญ ในการแก้ไข สิ่งที่เกิด มีขึ้น คำว่าหมอนั้น ย่อม
เรียกกันโดยมาก แต่ต่างกันโดยคุณความดีของบุคคล คือ ผู้ที่ชำนาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ก็
เรียกว่า หมอยา ผู้ที่เข้าใจในวิธีนวด ก็เรียกว่าหมอนวด ผู้ที่ชำนาญในการทรมานช้างก็เรียกว่าหมอ

ุรี
ช้าง หรือสุดแต่ผู้ชำนาญในวิธีใด ก็คงเรียกกันว่าหมอตามวิธีนั้นๆ

รบ
ในที่นี้จะกล่าวด้วยหมอยาซึ่งชำนาญในการแก้ไขโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยวิธีใช้ยาอย่างเดียว จะ

พช
ใช้คำว่าหมอเท่านั้น หมอที่จะกล่าวต่อไปนี้ มาจากคำว่า เวช คนมีความรู้ แผลงมาเป็นแพทย์ แปล
ออกเป็นคำไทยว่า หมอ หมอที่จะเป็นผู้รู้ผู้ชำนาญ ในการรักษาโรคได้นั้น จะต้องรู้กิจ 4 ประการใน

ณ์เ
เบื้องต้นเสียก่อน กิจ ๔ ประการนั้นแบ่งออกเป็นหมวดดังนี้

ักษ
หมวดที่ ๑ รู้ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค
หมวดที่ ๒ รู้จักชื่อโรค


หมวดที่ ๓ รู้ยาสำหรับแก้โรค
ลาย
หมวดที่ ๔ รู้ว่ายาอย่างใด จะควรแก้โรคชนิดใด
รรม
กิจ ๔ ประการนี้แล เป็นความรู้ในเบื้องต้นของหมอ จะได้อธิบายโดยลำดับต่อไปดังนี้ คือ
หมวดที่ ๑ ว่าด้วยความรู้ที่ตั้งแรกเกิดของโรค ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรคนั้น ได้แก่ สมุฎฐาน ๒ ประการ

คือ ธาตุสมัฏฐาน ๑ อุตุสมุฏฐาน ๑ อายุสมุฏฐาน ๑ กาละสมุฏฐาน 1 เป็น ๔ ประการด้วยกัน


รณ

สมุฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งที่เกิด โรคภัยไข้เจ็บจะบังเกิดขึ้นก็เพราะ สมุฏฐานเป็นที่ตั้ง จะได้


จำแนก สมุฏฐานออกเป็นส่วนต่อไป
ะวร

ธาตุสมุฏฐานนั้น แปลว่า ที่ตั้งของธาตุ แบ่งธาตุออกเป็น 4 กอง คือ


1. ปถวีสมุฏฐาน ธาตุดินเป็นที่ตั้ง จำแนกออกเป็น 20 อย่าง


นแ

2. อาโปสมุฏฐาน ธาตุน้ำเป็นที่ตั้ง จำแนกออกเป็น 12 อย่าง


3. วาโยสมุฏฐาน ลมเป็นที่ตั้ง จำแนกออกเป็น 6 อย่าง
ติช

4. เตโชสมุฏฐาน ไฟเป็นที่ตั้ง จำแนกออกเป็น 4 อย่าง


ูลค

จึงรวมเป็นธาตุสมุฏฐาน 42 อย่าง หรือจะเรียกธาตุสมุฏฐาน ทั้ง 4 ว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุ


้อม

ลม ธาตุไฟ ดังนี้ก็ได้ ท่านจำแนกไว้ โดยละเอียดดังนี้


ปถวีธาตุ 20 คือ
ย์ข

1. ชื่อเกศา ผม ที่เป็นเส้นงอกอยู่บนศีรษะ
ศูน

2. ชื่อโลมา คือ ขน เป็นเส้นงอกอยู่ทั่วร่างกาย เช่นขนคิ้ว หนวด เครา เป็นต้น และ


ขนอ่อน ตามตัว
3. ชื่อนขา คือ เล็บ ที่งอกอยู่ตามปลายนิ้วมือ และปลายนิ้วเท้า
4. ชื่อทันตา ฟัน ฟันอย่าง 1 เขี้ยวอย่าง 1 กรามอย่าง 1 รวมเรียกว่าฟัน เป็นฟัน
น้ำนม ผลัดหนึ่งมี 20 ซี่ เป็นฟันแก่ผลัด 1 มี 32 ซี่
5. ชื่อตะโจ หนัง ตามตำราเข้าใจว่าหมายแต่เพียงที่หุ้มกายนอก ซึ่งมี 3 ชั้น คือหนัง
หนา หนังชั้นกลาง หนังกำพร้า แต่ที่จริงหนังชั้นในปาก เป็นหนังเปียกอื่นชนิดหนึ่งควรนับเข้าด้วย
๖๒

6. ชื่อมังสัง เนื้อที่เป็นกล้าม และเป็นแผ่นในกายทั่วไป


7. ชื่อนหารู เส้นและเอ็นในกายทั่วไป
8. ชื่ออัฏฐิกระดูก กระดูกอ่อน อย่าง 1 กระดูกแข็งอย่างหนึ่ง
9. อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก แต่ที่จริงควรเรียกว่าไข เพราะเป็นน้ำมันส่วนเยื่อนั้นมี
อยู่นอกกระดูก
10. วักกัง ม้าม เกาะอยู่ข้างกระเพาะอาหาร

ุรี
11. ชื่อหทะยังหัวใจ อยู่ในทรวงอก สำหรับสูบโลหิต

รบ
๑๒. ชื่อยกะนังตับแก่อยู่ซ้ายโครง ขวาและตับอ่อน

พช
13. ชื่อกิโลมะกัง พังผืด เป็นเนื้อยืดหดได้ มีอยู่ทั่วกาย
14. ชื่อปิหกัง ไต มีอยู่ 2 ไต ขวาซ้าย สำหรับขับปัสสาวะ

ณ์เ
๑๕. ชื่อปัปผาสังปอด มีอยู่ในทรวงอกขวา ซ้าย สำหรับหายใจ

ักษ
16. ชื่ออันตัง ไส้ใหญ่ เข้าใจว่านับทั้ง 2 ตอนๆ บนน่าจะรวมกระเพาะอาหารเข้า
ด้วย กับตอนล่างที่ต่อจาก ไส้ไปหาทวารหนักอีกตอนหนึ่ง


ลาย
17. ชื่ออันตะคุณัง ไส้เล็ก ที่ขดต่อจากกระเพาะอาหารไปต่อกับไส้ใหญ่ตอนล่างบาง
ตำราเรียกว่าสายรัด ไส้เห็นจะเป็นอย่างนี้
รรม
18. อุทริยัง อาหารใหม่ อาหารที่อยู่เพียง ไส้ใหญ่ตอนบน ในกระเพาะอาหาร และ
ในไส้น้อย

19. ชื่อกะรีสังอาหารเก่า กากอาหารที่ตกจากไส้ น้อยมาสู่ไส้ใหญ่ตอนล่าง และตก


รณ

ไป ทวารหนัก
ะวร

20. มัตถะเก มัตถะลุงคัง มันในสมอง ซึ่งเป็นก้อนอยู่ในศีรษะ และลามตลอด


กระดูกสันหลังติดเนื่องกับเส้นประสาททั่วไป รวมปถวีธาตุ ๒๐ ด้วยกันดังนี้

นแ

อาโปธาตุ ๑๒ คือ
ติช

1. ชื่อปิตตังน้ำดี แยกเป็น 2 อย่าง พัทธปิตตัง น้ำดีในฝัก อพัทธปิตตะ น้ำดีนอกฝัก


ที่ตกลงในลำไส้
ูลค

2. ชื่อเสมหังน้ำเสลดแยกเป็น 3 คือ ศอเสมหะในหลอด ลม ๑ คูถเสมหะ ที่ออก


้อม

ทางอุจจาระ ๑ แท้จริงที่เกิดในที่อื่นยังมีอีกข้าง
๓. ชื่อปุพโพหนอง ที่ออกตามแผลต่างๆ เกิดขึ้นเพราะมีเหตุช้ำชอก และเป็นแผล
ย์ข

เป็นต้น
ศูน

4. โลหิตัง เลือด โลหิตแดงอย่าง 1 โลหิตดำอย่างหนึ่ง


5. เสโท เหงื่อ น้ำเหงื่อที่ตามกายทั่วไป
6. ชื่อเมโทมันข้น เป็นเนื้อมันสีขาวออกเหลืองอ่อนมีในกาย
7. ชื่ออัสสุ น้ำตา น้ำใสๆ ที่ออกจากตาทั้ง 2 ข้าง
8. ชื่อวสา คือ มันเหลว หยดมัน และน้ำเหลืองในกาย
9. ชื่อเขโฬ น้ำลายในกาย
10. ชื่อสิงฆานิกา น้ำมูกเป็นน้ำใสๆ ที่ออกทางจมูก
๖๓

11. ชื่อละสิกา ไขข้อ น้ำมันที่อยู่ในข้อทั่วไป


12. ชื่อมุตตัง มูตรน้ำปัส สาวะ น้ำที่ออกจากกระเพาะเบา รวมอาโปธาตุ ๑๒
ด้วยกันดังนี้

วาโยธาตุ 6 อย่าง คือ


1. ชื่ออุทธังคมาวาตา คือ ลมสำหรับพัดตั้งแต่ศีรษะตลอดปลายเท้าบางท่าน กล่าว่า

ุรี
ตั้งแต่ลำไส้กระเพาะอาหารถึงลำคอ ได้แก่ เรอ เป็นต้น

รบ
2. ชื่ออุโธคมาวาตา คือ ลมสำหรับพัดตั้งแต่ปลายเท้า ตลอดถึงศีรษะ บางท่านกล่าว

พช
ว่าตั้งแต่ลำไส้น้อยถึงทวารหนัก ได้แก่ ผายลม เป็นต้น
3. ชื่อกุจฉิสยาวาตา คือ ลมสำหรับพัดอยู่ในท้องแต่นอกลำไส้

ณ์เ
4. ชื่อโกฎฐาสยาวาตา คือ ลมสำหรับพัดในลำไส้ และในกระเพาะอาหาร

ักษ
5 ชื่ออังคะมังคานุสารีวาตา คือ ลมสำหรับพัดทั่ว สรีระกาย (โลหิต แต่ก่อนเรียกว่า
ลม)


ลาย
6. ชื่ออัสสาสะปัสสาสะวาตา คือ ลมสำหรับหายใจเข้าออก
รรม
รวมเตโชธาตุ 4 อย่าง คือ
1. ชื่อสันตัปปัคคี คือ ไฟสำหรับอุ่นกาย ซึ่งทำให้ตัวเราอุ่นเป็นปกติอยู่

2. ชื่อปริทัยหัคคี คือ ไฟสำหรับร้อนระส่ำระสาย ซึ่งทำให้เราต้องอาบน้ำ และพัดวี


รณ

3. ชื่อชิรณัคคี คือ ไฟสำหรับเผาให้แก่คร่ำคร่า ซึ่งทำให้ร่างกายเราเหี่ยวแห้ง ทรุด


ะวร

โทรม ทุพพลภาพไป
4. ชื่อปริณามัคคี คือ ไฟสำหรับย่อยอาหาร ซึ่งทำให้อาหารที่เรากลืนลงไปนั้น ให้

แหลกละเอียดไป
นแ
ติช

รวมเตโชธาตุ ๔ ด้วยกันดังนี้ ก็ชื่อของธาตุดิน 20 ธาตุน้ำ ๑๒ ธาตุลม 6 ธาตุไฟ 4 ดัง


พรรณามาแล้ว นี้แล เป็นที่ตั้งที่เกิดของโรค เพราะธาตุทั้ง 4 นั้นวิการไปแต่ละสิ่งๆ มนุษย์จึงมีความไข้
ูลค

เจ็บไปแต่ละอย่างๆ ท่านได้อธิบายไว้มีพิสดารแจ้งอยู่ ในคัมภีร์ธาตุวิภังค์ และคัมภีร์โรคนิทานนั้นแล้ว


้อม

เพราะเช่นนั้น จึงให้แพทย์ทั้งหลาย รู้จักที่ตั้งที่เกิด แห่งโรคตามอาการของธาตุทั้ง 4 กับตัวยาสำหรับ


แก้โรคโดยพิศดารซึ่งมีแจ้งอยู่ในคัมภีร์โรคนิทานแล้วนั้น
ย์ข

ในที่นี้กล่าวแต่ชื่อของธาตุทั้ง 4 ไว้พอเป็นสังเขปเท่านี้ อนึ่งธาตุ 42 อย่าง ที่เป็นหัวหน้า


ศูน

มักจะพิการบ่อยๆ ไม่ค่อยจะเว้นตัวคน ย่อธาตุ 42 ประการ เป็นสมุฏฐานธาตุ 3 กอง ดังนี้


๑. ปิตตะสมุฏฐานาอาพาธา อาพาธด้วยดี
2. เสมหะสมุฏฐานาอาพาธา อาพาธด้วยเสลด
3. วาตะสมุฏฐานาอาพาธา อาพาธด้วยลม
๖๔

เมื่อสมุฏฐานทั้ง 3 ประชุมกันเข้าเรียกว่าสันนิปาติกาอาพาธา อาพาธด้วยโทษประชุมกัน ชื่อ


ว่าสันนิบาตสมุฏฐานทั้งทั้ง 3 กองนี้ มักจะ พิการเสมอไปไม่ใคร่จะขาด ถ้าฤดูผันแปรวิปริตไปเมื่อใด
สมุฏฐานทั้ง 3 กองนี้ก็พิการไปเมื่อนั้น จะได้กล่าวธาตุพิการ ต่อไปข้างข้างหน้า จบธาตุสมุฏฐาน

จะกล่าวด้วยอุตุสมุฏฐานต่อไป อุตุสมุฏฐานแปลว่าฤดูเป็นที่ตั้ง ฤดูนี้เป็นของมีอยู่สำหรับโลก


ในปี 1 ย่อมแปรไปตามปกติของเดือนวัน อันโลกได้สมมุติกันสืบมาโดยกาลนิยมตราบเท่าทุกวั นนี้

ุรี
อาการที่ฤดูแปรไปนี้ย่อมให้เกิดไข้เจ็บได้ตามที่ท่านกล่าวว่า อุตุปรินามชาอาพาธา ไข้เจ็บเกิดเพราะ

รบ
ฤดูแปรไป ฉะนั้นจึงจัดเอาฤดูเข้าเป็นสมุฏฐานของโรค ดังจะกล่าวต่อไปนี้

พช
ฤดูในคัมภีร์แพทย์ท่านแบ่งออกเป็น 3 อย่าง แบ่งเป็น ฤดู 3 อย่างหนึ่ง ฤดู 4 อย่างหนึ่ง

ณ์เ
แบ่งเป็น ฤดู 6 อย่างหนึ่ง ฤดู ๓ นั้นคือคิมหะฤดู (คิมหันตฤดู) นับตั้งแต่เดือน 4 แรม ค่ำ 1เดือน 5

ักษ
เดือน 6 เดือน 7 จนถึงเดือน 8 แรม 1 ค่ำ รวมเป็น 4 เดือน เรียกว่าคิมหะ คิมหันตฤดู แปลว่าฤดู
ร้อน อากาศร้อนรักษาร่างกายมนุษย์อยู่ สัมผัสภายนอกกับธาตุของมนุษย์ ได้กระทบความร้อนเป็น


ลาย
ธรรมดา ก็มีอากาศฝน อากาศหนาวเจือมาวัสสานะฤดู(วสันตฤดู) ตั้งแต่เดือน 8 แรมค่ำ 1เดือน 9
เดือน 10 เดือน 11 จนถึงเดือน 12 แรมค่ำหนึ่ง รวมเป็น 4 เดือน เรียกว่า วัสสานะ หรือวสันตฤดู
รรม
แปลว่าฤดูฝน อากาศฝนรักษากายมนุษย์อยู่ สัมผัสและธาตุของมนุษย์ได้กระทบความเย็นเป็นธรรมดา
ก็มีอากาศหนาว อากาศร้อนเจือมา เหมันตฤดู ตั้งแต่เดือน 12 แรมค่ำ 1 เดือน 1 เดือน 2 เดือน 3

จนถึงเดือน 4 แรมค่ำ 1 รวมเป็น 4 เดือน เรียกว่า เหมันตฤดู แปลว่า เย็นน้ำค้างหรือฤดูหนาว


รณ

อากาศหนาวรักษาร่างกายมนุษย์อยู่ สัมผัสและธาตุของมนุษย์ได้ก ระทบความหนาวเป็นธรรมดา ก็มี


ะวร

อากาศร้อน อากาศฝนเจือมา

เมื่อฤดูทั้ง 3 ซึ่งแบ่งออกโดยนาม ตามสามัญนิยมผลัดเปลี่ยนกันไป และมีอากาศร้อนเย็น


นแ

หนาวเจือมา ในระหว่างๆ ของฤดูนั้นๆ ดังนี้ ก็ย่อมเป็นเหตุให้มนุษย์ มีความไข้เจ็บด้วยสัมผัสอากาศ


ติช

ธาตุภายนอก กับธาตุภายในไม่เสมอกัน อนึ่ง เมื่อฤดูต่อกันนั้น ทำให้สัมผัสของมนุษย์ไม่เสมอกัน ซึ่ง


ฤดูแปรไปไม่ปกติเช่นนี้ ธาตุในร่างกายของมนุษย์ก็ย่อมแปรไปตามฤดูเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นคราวที่ธาตุ
ูลค

หมุนเวียนไปไม่ทันกับคราวฤดูที่เป็นอากาศธาตุภายนอกคราวใด ก็ย่อมมีการเจ็บไข้บังเกิดขึ้น อนึ่งใน


้อม

ฤดู 3 นั้น ท่านแบ่งออกเป็นสมุฏฐานของโรคดังนี้


1. คิมหันตฤดู เป็นสมุฏฐานเตโช สันตัปปัคคี
ย์ข

2. วสันตฤดู เป็นสมุฏฐานวาโย กุจฉิสยาวาตา


ศูน

3. เหมันตฤดู เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดเสมหะโลหิต

ในฤดู 4 และฤดู 6 ท่านก็แบ่งจัดเป็นสมุฏฐานของโรคไว้เหมือนกันดังจะชี้แจงต่อไปนี้ ที่นี้


แบ่งฤดู 4 คือปีหนึ่งแบ่งออกเป็น จะมี 4 ฤดู ฤดู หนึ่ง 3 เดือนดังนี้ คือ
ฤดูที่ 1 นับแต่วัน แรม 1 ค่ำเดือน 4 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 7 สมุฏฐานเตโช
ฤดูที่ 2 นับแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 7 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 สมุฏฐานวาโย
ฤดูที่ 3 นับแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 10 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 1 สมุฏฐานอาโป
๖๕

ฤดูที่ 4 นับแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 1 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 สมุฏฐานปถวี

ทีนี้แบ่งฤดู 6 คือปีหนึ่งแบ่งเป็น ฤดู ฤดูหนึ่ง 2 เดือน ดังนี้คือ


ฤดูที่ 1 นับแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 4 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ถ้าเป็นไข้ก็เป็นด้วยดี
กำเดา เป็นเพราะเตโช
ฤดูที่ 2 นับแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 6 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ถ้าเป็นไข้เป็นเพื่อเตโช

ุรี
วาโย กำเดาเจือกัน

รบ
ฤดูที่ 3 นับแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดื อน 10 ถ้าเป็นไข้เป็นเพื่อ

พช
วาโยและเสมหะ
ฤดูที่ 4 นับแต่แรมแรม 1 ค่ำเดือน 10 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ถ้าเป็นไข้เป็นเพื่อ

ณ์เ
ลมและเสมหะมูตร

ักษ
ฤดูที่ 5 นับแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 12 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 2 ถ้าเป็นไข้เป็นเพราะ
เสมหะ และกำเดาโลหิต


ลาย
ฤดูที่ 6 นับแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 2 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 ถ้าเป็นไข้เป็นเพราะ
ธาตุดินเป็นมูลเหตุเพื่อเลือดลม กำเดาเจือเสมหะ จบอุตุสมุฏฐาน ในลำดับนี้จะกล่าว ในอายุสมุฏฐาน
รรม
นั้นต่อไป
อายุสมุฏฐาน นั้นแปลว่าอายุเป็นที่ตั้ง ท่านจัดไว้ 3 อย่าง คือ ปฐมวัย ๑ มัชฌิมวัย ๑ ปัจฉิม

วัย ๑ เป็น ๓ อย่างด้วยกัน


รณ

1 ปฐมวัย นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 16 ปี สมุฏฐานอาโปพิกัดเสมหะกับโลหิตระคน


ะวร

กัน แต่ท่านแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกเกิด จนถึงอายุ 8 ขวบ มีเสมหะเป็นเจ้าเรือน โลหิตแทรก


ตอน 8 ขวบ ถึง 16 ขวบมีโลหิตเป็นเจ้าเรือน เสมหะยังเจืออยู่

2 มัชฌิมวัย นับแต่อายุพ้น 16 ปี ขึ้นไป จนถึงอายุ 32 ปี สมุฏฐานอาโป พิกัดโลหิต


นแ

2 ส่วน สมุฏฐานวาโย 1 ส่วนระคนกัน


ติช

3 ปัจฉิมวัย นับตั้งแต่อายุพ้น 32 ปีขึ้นไปจนถึงอายุ 64 ปี สมุฏฐานวาโย เมื่ออายุ


นั้นพ้น ๖๔ ไปแล้ว สมุฏฐานวาโยเป็นเจ้าเรือน อาโปแทรกพิกัด เสมหะกับเหงื่อ จบอายุสมุฏฐาน ใน
ูลค

ลำดับนี้จะกล่าว กาลสมุฏฐานนั้นต่อไป
้อม

กาลสมุฏฐาน นั้นแปลว่า เวลาเป็นที่ตั้ง ท่านแบ่งไว้เป็น กลางวัน 4 ตอน กลางคืน 4 ตอน


ย์ข

ดังนี้คือ
ศูน

ตอนที่ 1 นับแต่ ย่ำรุ่ง ถึง 3 โมงเช้า ย่ำค่ำ ถึงยาม 1 สมุฏฐานอาโป พิกัดเสมหะ


ตอนที่ 2 นับแต่ 3 โมงเช้า ถึงเที่ยง ๑ ยามถึง ๒ ยาม สมุฏฐานอาโป พิกัดโลหิต
ตอนที่ 3 นับแต่ เที่ยง ถึง บ่าย 3 โมง 2 ยาม ถึง 3 ยาม สมุฏฐานอาโป พิกัดดี
ตอนที่ 4 นับแต่ บ่าย 3 โมง ถึงย่ำค่ำ 3 ยาม ถึงย่ำรุ่ง สมุฏฐานวาโย จบกาล
สมุฏฐาน
๖๖

ประเทศสมุฏฐาน ตามที่กล่าวแล้ว ว่าสมุฏฐานทั้ง ๔ เป็นที่ตั้งที่เ กิดโรค ตามคัมภีร์สมุฏฐาน


วินิจฉัย ยังหาสิ้นเชิงไม่ ด้วยประเทศที่เกิดที่อยู่ก็ย่อมเป็นที่ตั้งที่เกิดของโรค ได้อย่างหนึ่งเหมือนกัน
เพราฉะนั้นในที่นี้จึงยกเอาประเทศ เข้าไว้ด้วยกัน จัดเป็นประเทศสมุฏฐานอีกประการหนึ่ง
ที่ว่าประเทศที่อยู่ เป็นที่ตั้งของโรคด้วยนั้นคือบุคคลที่เคยอยู่ในประเทศดอน หรือเนินเขา อัน
ปราศจากเปือกตมก็ดี หรือบุคคลที่ เคยอยู่ในประเทศอันเป็นเปือกตมก็ดีบุคคลอันเคยอยู่ในประเทศ
ร้อนหรือประเทศหนาวก็ดี เคยอยู่ในประเทศใด ธาตุสมุฏฐานอันมีในร่างกายก็คุ้นเคยกับอากาศใน

ุรี
ประเทศนั้นตามปกติ

รบ
ถ้าบุคคลเคยอยู่ดอนแล้วมาอยู่ในที่เปือกตม หรือบุคคลเคยอยู่ประเทศหนาวมาประเทศร้อน

พช
เคยอยู่ประเทศร้อนไปอยู่ประเทศหนาว เมื่อยังไม่คุ้นเคยกับอากาศในประเทศนั้นๆ แล้วก็ย่อมจะมี
ความเจ็บไข้ เช่นดังบุคคลเคยอยู่ชายทะเลขึ้นไปป่าสูง บุคคลอยู่ป่าสูงมาอยู่ชายทะเลก็มีความเจ็บไข้

ณ์เ
ทีเรียกกันว่า ไข้ป่า หรือไข้ผิดน้ำผิดอากาศ นี้ก็ไม่ใช่อะไร เป็นเพราะธาตุไม่คุ้นเคย กับประเทศนั่นเอง

ักษ
แม้แต่ที่ซึ่งเคยอยู่มาแล้ว แต่มีเปือกตม อันเป็นสิ่งโสโครก เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ก็ย่อมเป็น
เหตุจะให้โรค เกิดขึ้นได้เหมือนกัน หมอทั้งหลายจึงแนะนำให้รักษาที่อยู่ให้สะอาด เพื่อเป็นทางป้องกัน


ลาย
โรคได้อย่างหนึ่ง เพราะเหตุนี้แหละ ประเทศที่อยู่จึงจัดเป็นสมุฏฐานที่ตั้งที่เกิดของโรคด้วย
อนึ่งประเทศสมุฏฐานจัดเป็น 4 ประการ เพื่อให้เป็นที่สังเกตวิ ที่อยู่กับธาตุในร่างกาย ย่อม
รรม
เป็นสิ่งแอบอิงอาศัยแก่กัน คนที่เกิดในประเทศหนึ่งๆ มีสมุฏฐานโรคต่างกันอย่างไร ได้กำหนดไว้ดังนี้

1. คนเกิดในประเทศที่สูง เช่น ชาวเขา เรียกประเทศร้อน ที่ตั้งแห่งโรคของคน


รณ

ประเทศนั้นเป็นสมุฏฐานเตโช
ะวร

2. คนเกิดในประเทศที่เป็นน้ำกรวดทราย เรียกประเทศอุ่น ที่ตั้งแห่งโรคของคน


ประเทศนั้นเป็นสมุฏฐานอาโปดีโลหิต

3. คนเกิดในประเทศที่เป็นน้ำฝนเปือกตม เรียกประเทศเย็น ที่ตั้งแห่งโรคของคน


นแ

ประเทศนั้นเป็นสมุฏฐานวาโย
ติช

4. คนเกิดในประเทศที่เป็นน้ำเค็มเปือกตม เรียกประเทศหนาว ที่ตั้งแห่งโรคของคน


ประเทศนั้นเป็นสมุฏฐานปถวี จบประเทศสมุฏฐาน
ูลค
้อม

จะกล่าวด้วยธาตุสมุฏฐานพิการ
สมุฏฐานปถวีธาตุพิการ
ย์ข

1. เกศาพิการ ให้มีอาการเจ็บตามหนังหัว และผมร่วง


ศูน

2. โลมาพิการ ให้มีอาการเจ็บตามผิวหนัง และขนร่วง


3. นะขาพิการ ให้มีอาการปวดที่โคนเล็บ บางทีทำให้เล็บถอด บางทีเป็นเม็ด เป็น
หนองที่โคนเล็บ
4. ทันตาพิการ เป็นรำมะนาด เป็นฝีรำมะนาด ฝีกราม ให้ปวดตามรากฟั น แมงกิน
ฟัน
5. ตะโจพิการ ให้คันตามผิวหนัง ให้รู้สึกกายสากตามผิวหนัง ให้แสบร้อนตาม
ผิวหนัง
๖๗

6. มังสังพิการ ให้เนื้อเป็นผื่นแดงช้ำ แสบร้อนเนื้อเป็นแฝดเป็นไฝ เป็นหูด เป็นพราย


น้ำ
7. นะหารูพิการ ให้รู้สึกตึงรัดผูกดวงใจ ให้สวิงสวาย และอ่อนหิว
8. อัฏฐิพิการ ให้ปวดเจ็บในแท่งกระดูก
9. อัฎฐิมิญชังพิการ ให้ข้นให้เป็นไข แล้วมีอาการเป็นเหน็บชา
10. วักกังพิการ ให้สะท้านร้อนสะท้านหนาว และเป็นโรค เช่น กระษัยลม

ุรี
11. หทะยังพิการ ให้เสียอารมณ์ ให้ใจน้อย มักขึ้งโกรธ ให้หิวโหย

รบ
12. ยกะนังพิการ ให้ตับโต ตับย้อย เป็นฝีที่ตับ ตับช้ำ

พช
13. กิโลมะกังพิการ ให้อกแห้ง ให้กระหายน้ำ และเป็นโรค เช่นโรคริดสีดวงแห้ง
14. ปิหะกังพิการ ให้ขัดในอก ให้แน่นในอก ให้ท้องพอง ให้อ่อนเพลีย กำลังน้อย

ณ์เ
15. ปัปผาสังพิการ ให้กระหายน้ำ ให้ร้อนในอกให้หอบดีหนัก เรียกว่ากาฬขึ้นที่

ักษ
ปอด
๑๖. อันตังพิการ ให้ลงเป็นกำลังให้แน่นให้ไส้ตีบ


ลาย
๑๗. อันตะคุนังพิการ ให้เรอให้หาวให้ตกอุจจาระ เป็นโลหิตให้มืดหน้าตามัว ให้
เมื่อยบั้นเอวให้เสียดสองราวข้าง ให้ร้อนท้องร้อนคอ ให้ตกอุจจาระเป็นหนอง
รรม
๑๘. อุทริยังพิการ ให้ท้องให้จุกเสียด ให้พะอืดพะอมให้สะอึก
๑๙. กะรีสังพิการ อุจจาระไม่ปกติ ธาตุเสียมักจะเนื่องมา แต่ตานขโมยและเป็นโรค

เช่นริดสีดวง
รณ

๒๐. มัตถะลุงคังพิการ ให้หูตึงให้มัวตาให้ลิ้นกระด้างให้คางแข็ง


ะวร

สมุฏฐานอาโพิการ

๑. (ก) พัทธะปิตตะพิการ ให้มีอาการคลุ้มคลั่ง เป็นบ้า


นแ

(ข) อพัทธะปิตตะพิการ ทำให้ปวดศีรษะ ตัวร้อนสะท้านร้อนสะท้านหนาวตา


ติช

เหลือง ปัสสาวะเหลือง จับไข้


๒. (ก) ศอเสมหะพิการ ให้ไอเจ็บคอคอแห้งเป็นหืด
ูลค

(ข) อุระเสมหะพิการ ให้ผอมเหลืองเป็นตาน เป็นเถาให้แสบในอก อกแห้ง


้อม

(ค) คูถเสมหะพิการ ให้ตกอุจ จาระเป็นเสมหะ และโลหิต เช่น มูกเลือดบิด


ริดสีดวง
ย์ข

๓. ปุพโพพิการทำให้ไอเบื่ออาหาร ให้รูปร่างซูบผอม
ศูน

๔. โลหิตังพิการ ให้ตัวร้อนเป็นไข้ให้คลั่งเพ้อ ให้ปัสสาวะแดง ให้เป็นเม็ดตามผิวหนัง


เช่นเป็นประดง ๆ เป็นปานดำปานแดง และกาฬโรค เป็นต้น
๕. เสโทพิการ ให้สวิงสวายให้ตัวเย็น ให้อ่อนอกอ่อนใจ
๖. เมโทพิการ ให้ผุดเป็น แผ่นตามผิวหนัง แลเป็นวงเป็นดวง ให้ปวดแสบปวดร้อน
ผิวหนัง เป็นน้ำเหลืองไหล
๗. อัสสุพิการ ให้ตาเป็นฝ้าน้ำตาไหลตาแฉะเป็นต้อ
๘. วสาพิการ ให้ผิวเหลือง ให้ตาเหลือง ให้ลงท้อง
๖๘

๙. เขโฬพิการ ให้เจ็บคอเป็นเม็ดในคอแลโคนลิ้น
๑๐. สิงฆานิกาพิการ ให้ปวดในสมอง ให้ตามัวให้น้ำมูกตก
๑๑. ละสิกาพิการ ให้เจ็บตามข้อและแท่งกระดูกทั่วตัว
๑๒. มุตตังพิการ ให้ปัสสาวะสีขาวสีเหลือง สีดำสีแดง

สมุฎฐานวาโยพิการ

ุรี
๑. อุทธังคมาวาตาพิการ ให้มือเท้าขวักไขว่ ร้อนในท้องทุรนทุราย หาวเรอเสมหะ

รบ
เฟ้อ

พช
๒. อโธคมาวาตาพิการ ให้ยกมือแลเท้า ไม่ไหวให้เมื่อยขบไปทุกข้อ
๓. กุจฉิสยาวาตาพิการ ให้ท้องลั่น ให้ดวงจิตสวิงสวาย ให้เมื่อยขบไปทุกข้อ

ณ์เ
๔. โกฎฐาสยาวาตา พิการ ให้ขัดในอก ให้จุกเสียดให้อาเจียน ให้คลื่นเหียนให้เหม็น

ักษ
ข้าว
๕. อังคมังคานุสารีวาตาพิการ ให้นัยน์ตาพร่า ให้วิงเวียนให้เจ็บสองหน้าขาให้เจ็บ


ลาย
ตามกระดูกสันหลัง อาเจียนแต่ลมเปล่ากินอาหารไม่ได้สะบัดร้อนสะบัดหนาว
๖. อัสสาสะวาตาพิการ ให้หายใจสั้นเข้าจนไม่ออกไม่เข้า
รรม
สมุฎฐานเตโชพิการ

๑. สันตัปปัคคีพิการ ทำให้กายเย็นชืด
รณ

๒. ปริณามัคคีพิการ ให้ขัดข้อมือข้อเท้า เป็นมองคร่อคือปอดเป็นหวัด ให้ไอให้ปวด


ะวร

ฝ่ามือฝ่าเท้า ให้ท้องแข็งให้ผะอืดผะอม
๓. ชิรณัคคีพิการ ทำให้กายไม่รู้สึกสัมผัส ชิวหาไม่รู้รสหูตึง หน้าผากตึงอาการ

เหล่านี้เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้
นแ

๔. ปริทัยหัคคีพิการ ทำให้ร้อนภายในภายนอกเย็นมือเย็นเท้า จบ
ติช

ธาตุสมุฏฐานพิการ ว่าด้วยรู้จักยาสำหรับแก้โรคหมอจะต้องรู้จักสรรพสิ่งต่าง ๆ ซึ่ง


ูลค

สำหรับจะต้องเอามาปรุงเป็นยาแก้โรค การที่จะรู้จักยานั้น ต้องรู้จัก ๔ ประเภทของยาคือ


้อม

๑. รู้จักตัวยา
๒. รู้จักสรรพคุณยา
ย์ข

๓. รู้จักเครื่องยาที่มีชื่อต่างกันรวมกันเรียกเป็นชื่อเดียว
ศูน

๔. รู้จักการปรุงยาที่ผสม ใช้ตามวิธีต่าง ๆ ๑ รู้จักตัวยานั้น

ให้รู้จัก ๕ ประการ คือให้รู้จักรูปให้รู้จักสี ให้รู้กลิ่น ให้รู้จักรสให้รู้จักชื่อใน เภสัชวัสดุ ๓


จำพวกคือ
๑. พืชวัตถุพรรณไม้พรรณหญ้าเครือเถา
๒. สัตว์วัตถุ เครื่องอวัยวะของสัตว์
๓. ธาตุวัตถุ แร่ธาตุต่างๆ
๖๙

(๑) พรรณไม้ ให้รู้จักว่า ไม้อย่างนี้ดอกเกสรผล เมล็ดกะพี้ยางแก่นราก มีรูปอย่างนั้น มีสี


อย่างนั้น มีรสอย่างนั้น ชื่อว่าอย่างนั้น พรรณหญ้าแลเครือเถา ก็รู้อย่างเดียวกัน ๒ ส่วนเครื่อง อวัยวะ
ของสัตว์ก็ให้รู้เป็นต้นว่า ขน หนัง เขา นอ งา เขี้ยว ฟัน กราม กีบ กระดูก ดี มีลักษณะรูป สี กลิ่น รส
อย่างนั้นๆ เป็นกระดูกสัตว์อย่างนี้ เป็นเขาสัตว์อย่างนั้นๆ เป็นต้น ๓ ส่วนแร่ธาตุต่างๆ ก็ให้รู้จัก
ลักษณะรูป สี กลิ่น รส และชื่อเช่นกันเป็นต้น ว่าการบูร ดินประสิว สุพรรณ กำมะถัน จุนสีเหล่านี้

ุรี
ต่างก็มีรูป สี กลิ่น รสเป็นอย่างหนึ่งๆ การที่จะรู้จักตัวยาว่าสิ่งใดมีรูป สี กลิ่น รส อย่างไรนั้น ต้องรู้จัก

รบ
ด้วยการดูของจริงที่มีอยู่เป็นตัวอย่างในโรงเรียนก็ดี ต้นไม้ซึ่งมีอยู่ในส่วนยาหรือที่อื่นๆ ซึ่งเป็นของสดก็

พช
ดี จะต้องเรียนให้รู้จักของจริงทั้งแห้งทั้งสดและจดจำไว้ ให้รู้ให้ชำนาญยังของสิ่งเดียว เป็นต้นว่าพรรณ
ไม้อย่างหนึ่ง ในประเทศนี้เรียกชื่อว่าอย่างนี้ ครั้นพบในประเทศอื่น เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่ง เช่นนี้ก็เป็น

ณ์เ
หนทางที่ผู้ศึกษา จะต้องค้นคว้าหา ความรู้ความชำนาญด้วยตนเอง จึงจะมีความรู้ยิ่งขึ้นไป

ักษ
(๒) รู้จักสรรพคุณยานั้น ท่านกล่าวเอารสยา ๓ อย่างขึ้นตั้งเป็นประธาน คือยารสเย็นจำพวก
หนึ่ง ยารสร้อนจำพวกหนึ่ง ยารสสุขุมจำพวกหนึ่ง จะกล่าวไว้พอเป็นสังเขปดังนี้ คือ


ลาย
๑. ยารสเย็น ได้แก่ยาที่เข้าใบไม้ (ที่ไม่ร้อน) เกสรดอกไม้ สัตตเขาเนาวเขี้ยว และ
ของที่เผาเป็นถ่าน แล้วปรุงยา เช่นยามหานิล ยามหากาฬ ยาเขียวสำหรับแก้ทางเตโช เป็นต้น
รรม
๒. ยารสร้อน ได้แก่ยาที่เข้าเบญจกูล ตรีกระตุกหัสคุณ ขิงข่า ปรุงเป็นยา เช่นยา
เหลืองทั้งปวงสำหรับแก้ทางวาโย เป็นต้น

๓. ยารสสุขุมได้แก่ยาที่เข้าโกฐ เทียน กฤษณา กระลำพัก ชะลูด อบเชย ขอนดอก


รณ

แก่นจันทร์เทศ เป็นต้น
ะวร

ปรุงเป็นยา เช่น ยาหอมทั้งปวง สำหรับแก้ทางโลหิตเป็นต้น อีกทางหนึ่งท่านจำแนกตามรส


เป็น ๙ รสคือ
นแ

๑. รสฝาด สำหรับสมาน
ติช

๒. รสหวาน สำหรับซึมซาบไปตามเนื้อ
๓. รสเมาเบื่อแก้พิษ
ูลค

๔. รสขมแก้ทางโลหิต
้อม

๕. รสเผ็ดร้อนแก้ลม
๖. รสมันแก้เส้นเอ็น
ย์ข

๗. รสหอมเย็นทำให้ชื่นใจ
ศูน

๘. รสเค็มซาบไปตามผิวหนัง
๙. รสเปรี้ยวแก้เสมหะ

ตามตำราเป็น ๙ รสนี้แต่ควรเติมรสจืดเข้าอีกอย่างหนึ่งสำหรับแก้ทางเสมหะด้วย ยังอีกทาง


หนึ่งท่านจัดตามธาตุทั้ง ๔ คือว่าธาตุอย่างนั้นพิการ ใช้ยารสนั้น ๆแก้ถูกโรคดังนี้คือ
๑. โรคที่เกิดเพื่อปถวีพิการ ชอบยารสฝาดรสเค็มรสหวานรสมัน
๒. โรคที่เกิดเพื่อ อาโปพิการชอบยารสขมรสเปรี้ยวรสเมาเบื่อ
๗๐

๓. โรคที่เกิดขึ้นเพื่อเตโชพิการ ชอบยารสจืดรสเย็น
๔. โรคที่เกิดขึ้นเพื่อวาโยพิการ ชอบยารสสุขุมรสเผ็ดร้อน

การที่จะสอนสรรพคุณยาทั้งปวงเหล่านี้ให้พิสดารละเอียดไป นั้นเป็นการยาก จึงนำมากล่าว


ไว้พอเป็นที่สังเกตพอศึกษา จะต้องเรียนจากคัมภีร์ใหญ่ มีคัมภีร์สรรพคุณเป็นต้น จึงจะได้ความรู้
กว้างขวางต่อไป รู้จักเครื่องยาที่มีชื่อต่าง กันรวมเรียกเป็นชื่อ เดียวนั้นยาเหล่านี้ท่านจัดไว้เป็นหมวด

ุรี
ๆ ตามพิกัดจะนำมา กล่าวไว้พอเป็นตัวอย่างดังนี้

รบ
๑. หมวดของ ๒ สิ่ง

พช
๑ ทเวคันธา คือรากบุนนาค รากมะทราง
๒ ทเวตรีคันธา ของ ๒ สิ่งๆ ละ ๓ อย่าง คือ ดอกบุนนาค แก่นบุนนาค

ณ์เ
รากบุนนาค ดอกมะทราง แก่นมะทราง รากมะทราง

ักษ
๒. หมวดของ ๓ สิ่ง


ลาย
ตรีสุคนธ์ คือ รากอบเชยเทศ รากอบเชยไทย รากพิมเสนต้น
ตรีผลา คือ ผลสมอไทย ผลสมอพิเภก ผลมะขามป้อม
รรม
ตรีกระตุก คือ เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี เหง้าขิง
ยาต้มกินแก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้โ รคกระษัยด้ว ย เอาสะค้ าน ๑ ราก

เจตมู ล เพลิ ง แดง ๑ แสมทั ้ ง ๒ สมอทั ้ ง ๓ แก่ น พรม ๑ ฉั ต รพระอิ น ๑ แก่ น ลั ่ น ทม ๑


รณ

กำลังวัวเถลิง ๑ แก่นขี้เหล็ก ๑ โคกกระสุน ๑ บอระเพ็ด ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ พริกไทย ๑ ดีปลี ๑


ะวร

หญ้าดำ ๑ แห้วหมู ๑ รากตะไคร้ ๑ เช้าเย็นทั้ง ๒ สิ่งละ ๔ พริก ๓ ผักใบมะกา ๑ ผักเป็ด


แดง ๑ บานไม่รู้โรยขาว ๑ ฝาง ๑ รากปะคำไก่ ๑ รากแจง ๑ เถาวัลย์เปรียง ๑ แก่นขนุน ๑

ยาทั้งหมดนี้เอาอย่างละ ๒ ต้มกิน ยาหม้อนี้ฉันได้ต้มกินมีประโยชน์มากแล


นแ
ติช
ูลค
้อม
ย์ข
ศูน
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ล ะวร
รณ

ภาคผนวก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

72
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

73
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

74
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

75
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

76
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

77
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

78
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี
79
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

80
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

81
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

82
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

83
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

84
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี
85
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

86
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

87
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

88
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

89
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

90
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

91
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

92
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

93
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

94
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

95
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

96
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

97
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

98
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

99
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

100
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

101
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

102
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

103
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

104
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

105
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

106
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

107
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

108
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

109
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

110
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

111
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

112
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

113
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

114
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

115
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

116
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

117
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

118
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

119
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

120
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

121
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

122
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

123
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

124
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

125
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

126
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี
127
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

128
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี
129
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

130
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

131
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

132
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

133
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

134
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

135
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

136
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

137
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

138
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

139
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

140
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

141
ศูน
ย์ข
้อม
ูลค
ติช
นแ
ละ
วรร
ณก
รรม
ลาย
ลักษ
ณ์เ
พช
รบ
ุรี

You might also like