You are on page 1of 96

ปักษาพรรณ

ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง
โดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงชัย หาญยุทธนากร


ว่าที่ร้อยตรีศักรินทร์ แสนสุข

จัดพิมพ์โดย
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สนองพระราชดำ�ริโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อพ.สธ.-จฬ)
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนับสนุนโดย
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

��������� 6.indd 1 10/3/2563 BE 10:28


คำ�นิยม
เพือ่ เป็นการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพิ ลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร เรือ่ งการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสานพระราชปณิธานต่อ ในงานอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากร
ของประเทศ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราช
สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ที่ทรงมีพระราชดำ�ริให้มีการศึกษาสำ�รวจ ตั้งแต่ยอดเขาถึงใต้ทะเล
เพื่ออนุรักษ์และพัฒนา ทรัพยากรไทย ภูมิปัญญาไทย ให้คงอยู่เป็นสมบัติของชาติสืบไป
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้ร่วมสนองพระราชดำ�ริ ในโครงการอนุรักษ์
พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
ทำ�การศึกษาสำ�รวจ วิจัย ในพื้นที่ต่าง ๆ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ มาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ โครงการสร้าง
ป่าพันธุกรรมพืชตามแนวพระราชดำ�ริ อุทยานแห่งชาติทับลาน อำ�เภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่
เกาะแสมสารและเกาะข้างเคียง อำ�เภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รวมทัง้ เกาะอืน่ ๆ ในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน
ที่อยู่ในการดูแลของกองทัพเรือและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พื้นที่โครงการอนุรักษ์
พันธุกรรมพืชอันเนือ่ งมาจากพระราชดำ�ริฯ องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พืน้ ที่
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เขาวังเขมรและแปลง ๙๐๕ อำ�เภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และพื้นที่
ปกปักพันธุกรรมพืชและทรัพยากร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในการนีจ้ ฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้จัดทำ�หนังสือเรื่อง “ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง”
นกหรือปักษาพรรณ เป็นสิง่ มีชวี ติ ทีม่ คี วามมหลากหลายในธรรมชาติ และมีความสำ�คัญในระบบ
นิเวศ เป็นทั้งผู้ผสมเกสร ผู้แพร่พันธุ์พืช และผู้ล่า นกแต่ละชนิดมีความต้องการของอาหารไม่เหมือนกัน
หากในแต่ละพื้นที่มีอาหารของนกหลากหลายชนิดอยู่ในบริเวณเดียวกัน จะดึงดูดให้นกชนิดต่าง ๆ เข้ามา
อาศัยหรือหากินอยู่ในบริเวณเดียวนั้น นอกจากนี้นกยังมีพฤติกรรมในการอพยพจากบริเวณซีกโลกต่าง
ๆ ที่มีอากาศหนาวเย็นลงมาหาอาหารและสืบพันธุ์ในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นกว่าตามเส้นทางเดิมทุกปี
ซึ่งผลจาการอพยพของประชากรนกเหล่านี้ทำ�ให้ความหลากหลายทางชนิดของนกในพื้นที่หนึ่ง ๆ อาจมี
การเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลและตามลักษณะของพื้นที่
ดังนัน้ การศึกษาความหลากหลายทางชนิดของนกในพืน้ ทีห่ นึง่ ๆ อย่างต่อเนือ่ ง จึงเป็นประโยชน์
ในการประเมินความหลากหลายทางชนิดของนกในพืน้ ทีน่ นั้ ๆ ได้ถกู ต้อง อีกทัง้ ยังสามารถนำ�ไปใช้เป็นดัชนี
ชีว้ ดั ความอุดมสมบูรณ์และการเปลีย่ นแปลงของพืน้ ที่ ใช้ในการจัดการพืน้ ทีแ่ ละพืน้ ทีข่ า้ งเคียงให้เป็นแหล่ง
เรียนรู้ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการสร้างจิตสำ�นึกในการอนุรักษ์ได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งการเรียนรู้ดังกล่าว
ยังเป็นประโยชน์ส�ำ หรับกิจกรรมการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ กิจกรรมในการฝึกทักษะ
การสังเกต กิจกรรมสำ�หรับการออกกำ�ลังกาย กิจกรรมทีช่ ว่ ยให้ผอ่ นคลาย และการส่งเสริมการท่องเทีย่ ว
เชิงนิเวศ
หนังสือเล่มนี้ จะเป็นคู่มือเกี่ยวกับการศึกษาความหลากหลายของนก (ปักษาพรรณ) ในพื้นที่
เกาะแสมสารและเกาะข้างเคียง ซึ่งจะทำ�ให้ผู้ที่สนใจได้รับความรู้ รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้เยาวชน นิสิต
นักศึกษา ประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไป ได้เห็นถึงประโยชน์ ความงดงามและคุณค่าของทรัพยากรในกลุ่ม
นี้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรของประเทศอย่างยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต

รองศาสตราจารย์ ผุสตี ปริยานนท์


บรรณาธิการ

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


1
��������� 6.indd 1 10/3/2563 BE 10:28
คำ�นำ�

หนังสือ “ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง” เป็นการรวบรวมผลงานจาก


การสำ�รวจตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2557 - 2562 และจากข้อมูลในหนังสือ “นกในหมู่เกาะแสมสาร” (2553)
และหนังสือ “ความหลากหลาย และสถานภาพนกในหมู่เกาะทะเลไทย” (2554) โดยมีรองศาสตราจารย์
วีณา เมฆวิชยั เป็นบรรณาธิการ ภายใต้โครงการอนุรกั ษ์พนั ธุกรรมพืชอันเนือ่ งมาจากพระราชดำ�ริ สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โครงการ อพ.สธ.) โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วม
สนองพระราชดำ�ริฯ จัดทำ�เป็นโครงการ อพ.สธ.-จฬ ทั้งนี้ข้อมูลบางส่วนเคยได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ
“แล...นก บนเกาะแสมสาร” (2559)
ในหนังสือเล่มนี้มีรายงานจำ�นวนของนกทั้งสิ้น 158 ชนิด เพิ่มขึ้นจากหนังสือ “แล...นก บน
เกาะแสมสาร” (2559) จำ�นวน 28 ชนิด ในจำ�นวนนี้มีทั้งนกที่พบบนเกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง
เช่น เกาะจวง เกาะจาน และหินโสโครกรอบข้างเกาะแสมสาร นกบางกลุ่มมีจำ�นวนเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการ
เปลี่ยนแปลงการจัดจำ�แนกทำ�ให้มีชนิด (species) เพิ่มขึ้น เช่น นกแซวสวรรค์ ถูกแบ่งออก 3 ชนิด คือ
นกแซวสวรรค์หางดำ� นกแซวสวรรค์หวั ดำ� และนกแซวสวรรค์ ในขณะเดียวกันนกกระจ้อยวงตาสีทองถูก
ตัดออกจากรายชือ่ นก เนือ่ งจากในปัจจุบนั นกชนิดนีถ้ กู แบ่งออกเป็นชนิดใหม่ 4 ชนิด ทำ�ให้ไม่สามารถแยก
ออกได้ว่านกที่พบในรายงานเป็นนกชนิดใดจากข้อมูลที่มีอยู่
ภาพนกในหนังสือเล่มนีเ้ กือบทัง้ หมดเป็นภาพจากหนังสือ “แล...นก บนเกาะแสมสาร” (2559)
ยกเว้นนกชนิดที่เพิ่มเติมเข้ามา ภาพนกเหล่านี้บางส่วนได้มาจากการถ่ายภาพนกบนเกาะแสมสาร หรือ
พื้นที่ใกล้เคียง เช่น นกนางนวลแกลบสีกุหลาบ นกนางนวลแกลบคิ้วขาว และนางนวลแกลบหงอนใหญ่
ภาพบางส่วนเป็นภาพนกที่ได้จากแหล่งอื่น ๆ เพื่อนำ�มาเพิ่มเติมความสมบูรณ์ของหนังสือ
ทีมผู้จัดทำ�หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างจิตสำ�นึกเพื่อ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สำ�หรับเยาวชน นักเรียน ครู อาจารย์ และประชาชนผู้สนใจในกิจกรรม
ดูนก หรือศึกษาธรรมชาติ และนำ�ไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในที่สุด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงชัย หาญยุทธนากร
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


2
��������� 6.indd 2 10/3/2563 BE 10:28
คำ�นำ�
จากหนังสือ “นกในหมู่เกาะแสมสาร”
โดย รองศาสตราจารย์ วีณา เมฆวิชัย

เกาะแสมสารได้จัดให้เป็นเสมือนแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติสำ�หรับเยาวชนและ
ประชาชน เกาะแสมสารเป็นพืน้ ทีภ่ ายใต้การดูแลของกองทัพเรือ ได้รบั การสนับสนุนจากโครงการอนุรกั ษ์
พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
และทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้เข้าร่วมสนองพระราชดำ�ริฯ ในโครงการอพ.
สธ.
นกเป็นสิ่งมีชีวิตที่พบได้ง่าย และเกือบทุกแห่งหน จึงเป็นโอกาสที่ดีสำ�หรับเยาวชน และ
ประชาชนที่สนใจ จะได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติทางด้านนกในบริเวณ
หมู่เกาะแสมสาร นอกจากนั้นยังได้ฝึกทักษะเกี่ยวกับการสังเกต การจดบันทึกเพื่อที่จะถ่ายทอดข้อมูลไป
ยังอนุชนรุ่นหลัง เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาส่งผลถึงชนิดนกที่อาศัยภายใต้
สิง่ แวดล้อมนีเ้ ปลีย่ นแปลงไปด้วย ดังนัน้ ผูท้ เี่ ข้ามาเรียนรูใ้ นพืน้ ทีน่ เี้ ปรียบเสมือนเป็นการมาเรียนรูร้ ว่ มกัน
และถ่ายทอดความรู้แก่คนรุ่นหลังสืบต่อไป กิจกรรมดูนกยังเป็นกิจกรรมที่มีการฝึกปฏิบัติตัวไม่ส่งเสียง
ดัง และไม่ไปรบกวน ตลอดจนส่งผลกระทบด้านลบแก่นก ในทางตรงกันข้ามกลับจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้
ปฏิบัติมีจิตใจอ่อนโยนรัก และหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสมบัติของปวงชนชาวไทยให้ยังคง
อยู่ได้อย่างยั่งยืน
ในเนือ้ หาของหนังสือเล่มนีไ้ ด้กล่าวถึงสภาพป่าทีเ่ ป็นถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของนก วิธปี ฏิบตั ติ วั ในการดู
นก ความรูเ้ บือ้ งต้นเกีย่ วกับการดูนก เพือ่ ทีจ่ ะปูความรูพ้ นื้ ฐานในการนำ�เข้าสูก่ จิ กรรม แนะนำ�เส้นทางการ
ดูนกพร้อมภาพนกที่สามารถจะพบได้ตามเส้นทางต่าง ๆ นอกจากนั้นยังสามารถติดตามเนื้อหาสาระ และ
รายละเอียดของนกแต่ละชนิดในเกาะแสมสาร พร้อมภาพนกประกอบ และข้อมูลการพบนกในหมูเ่ กาะข้าง
เคียง
คณะผูจ้ ดั ทำ�หนังสือเล่มนีห้ วังว่าจะเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรูแ้ ละ
เป็นการปลูกจิตสำ�นึกแก่เยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน

หนังสือ “นกในหมู่เกาะแสมสาร”
พ.ศ. 2553

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


3
��������� 6.indd 3 10/3/2563 BE 10:28
“การดูนกทำ�ให้เราเพลิดเพลินมีความสุข เกิดแรงบันดาลใจ จากเริ่ม
แรกเราอาจเป็นผู้ไม่รู้ถ้าเราได้เรียนรู้ และทำ�ต่อไปเรื่อย ๆ ในที่สุดเรา
จะเป็นผู้รู้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ที่สำ�คัญ คือ ขอให้ทำ�สม่ำ�เสมอ”
รองศาสตราจารย์วีณา เมฆวิชัย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


4
��������� 6.indd 4 10/3/2563 BE 10:28
สารบัญ
คำ�นิยม 1
คำ�นำ� 2
คำ�นำ�จากหนังสือ “นกในหมู่เกาะแสมสาร” 3
สารบัญ 5
ส่วนประกอบต่างของข้อมูลนกในหนังสือ “ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร
และเกาะข้างเคียง” 8
ส่วนต่าง ๆ ของนก 9
บทกลอน “ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง” 89
ความหลากหลายของปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง 91
ดัชนีชื่อสามัญ (ไทย) 93
คณะปฏิบัติงานวิทยาการ 95
กิตติกรรมประกาศ 95
หนังสืออ้างอิง 95
วงศ์ Phasianidae นกอัญชันอกเทา 21
ไก่ป่าตุ้มหูขาว 10 นกกวัก 22
วงศ์ Columbidae วงศ์ Charadriidae
นกเปล้าอกสีม่วงน้ำ�ตาล 10 นกกระแตแต้แว้ด 22
นกเขาชวา 11 วงศ์ Scolopacidae
นกเขาใหญ่ 11 นกเด้าดิน 23
นกเขาไฟ 11 นกอีก๋อยเล็ก 23
วงศ์ Caprimulgidae นกอีก๋อยใหญ่ 24
นกตบยุงเล็ก 12 วงศ์ Turnicidae
นกตบยุงภูเขา 13 นกคุ่มอกลาย 24
นกตบยุงหางยาว 13 วงศ์ Laridae
วงศ์ Apodidae นกนางนวลแกลบเคราขาว 25
นกแอ่นตาล 14 นกนางนวลแกลบท้ายทอยดำ� 25
นกแอ่นกินรัง 14 นกนางนวลแกลบเล็ก 26
นกแอ่นบ้าน 15 นกนางนวลแกลบคิ้วขาว 26
วงศ์ Cuculidae นกนางนวลแกลบธรรมดา 27
นกคัคคูมรกต 15 นกนางนวลแกลบสีกุหลาบ 27
นกคัคคูแซงแซว 16 นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่ 28
นกคัคคูพันธุ์อินเดีย 16 วงศ์ Phalacrocoracidae
นกคัคคูพันธุ์หิมาลัย 17 นกกาน้ำ�เล็ก 28
นกคัคคูเหยี่ยวอกแดง 17 วงศ์ Ardeidae
นกคัคคูเหยี่ยวใหญ่ 18 นกยางไฟหัวดำ� 29
นกกาเหว่า 18 นกยางไฟธรรมดา 29
นกคัคคูหงอน 19 นกยางกรอกพันธุ์จีน 30
นกอีวาบตั๊กแตน 19 นกยางทะเล 30
นกกระปูดเล็ก 20 นกยางเขียว 31
นกกระปูดใหญ่ 20 นกยางโทนน้อย 31
นกบั้งรอกใหญ่ 21 นกยางดำ� 32
วงศ์ Rallidae นกยางเปีย 32

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


5
��������� 6.indd 5 10/3/2563 BE 10:28
สารบัญ
วงศ์ Ciconiidae นกแก้วโม่ง 48
นกปากห่าง 33 วงศ์ Pittidae
วงศ์ Accipitridae นกแต้วแล้วนางฟ้า 49
เหยี่ยวแดง 33 วงศ์ Oriolidae
เหยี่ยวขาว 34 นกขมิ้นท้ายทอยดำ� 49
เหยี่ยวนกเขาชิครา 34 วงศ์ Pachycephalidae
เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ� 35 นกโกงกางหัวโต 50
เหยี่ยวหน้าเทา 35 วงศ์ Campephagidae
เหยี่ยวรุ้ง 36 นกพญาไฟสีเทา 50
เหยี่ยวผึ้ง 36 นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่ 51
เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น 37 วงศ์ Artamidae
เหยี่ยวทุ่งพันธุ์เอเชียตะวันออก 37 นกแอ่นพง 51
เหยี่ยวดำ�ใหญ่ 38 วงศ์ Aegithinidae
นกออก 38 นกขมิ้นน้อยธรรมดา 52
เหยี่ยวออสเปร 39 วงศ์ Rhipiduridae
วงศ์ Strigidae นกอีแพรดแถบอกดำ� 52
นกเค้าหูยาวเล็ก 39 วงศ์ Dicruridae
นกเค้าจุด 40 นกแซงแซวหางปลา 53
นกเค้ากู่, นกฮูก 40 นกแซงแซวสีเทา 53
นกเค้าโมง, นกเค้าแมว 41 นกแซงแซวหงอนขน 54
วงศ์ Bucerotidae นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ 54
นกแก๊ก 41 วงศ์ Monarchidae
วงศ์ Upupidae นกจับแมลงจุกดำ� 55
นกกะรางหัวขวาน 42 นกแซวสวรรค์หางดำ� 56
วงศ์ Meropidae นกแซวสวรรค์ 56
นกจาบคาเล็ก 42 นกแซวสวรรค์หัวดำ� 57
นกจาบคาหัวสีส้ม 43 วงศ์ Laniidae
นกจาบคาคอสีฟ้า 43 นกอีเสือลายเสือ 57
นกจาบคาหัวเขียว 44 นกอีเสือสีน�้ำ ตาล 58
วงศ์ Coraciidae วงศ์ Corvidae
นกตะขาบดง 45 นกกาแวน 58
วงศ์ Alcedinidae อีกา 59
นกกะเต็นน้อยธรรมดา 45 วงศ์ Cisticolidae
นกกะเต็นอกขาว 45 นกกระจิบหญ้าสีเรียบ 59
นกกะเต็นหัวดำ� 46 นกกระจิบคอดำ� 60
นกกินเปี้ยว 46 นกกระจิบธรรมดา 60
วงศ์ Megalaimidae วงศ์ Acrocephalidae
นกโพระดกธรรมดา 47 นกพงคิ้วดำ� 61
วงศ์ Falconidae วงศ์ Locustellidae
เหยี่ยวเพเรกริน 47 นกพงตั๊กแตนอกลาย 61
วงศ์ Psittacidae นกพงตั๊กแตนท้ายทอยสีเทา 62
นกกะลิง, นกกะแล 48

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


6
��������� 6.indd 6 10/3/2563 BE 10:28
สารบัญ
วงศ์ Hirundinidae นกจับแมลงคิ้วเหลือง 80
นกนางแอ่นบ้าน 62 นกจับแมลงดำ�อกสีส้ม 80
นกนางแอ่นแปซิฟิค 63 นกจับแมลงพันธุ์จีน 81
วงศ์ Pycnonotidae นกจับแมลงสีฟ้า 81
นกปรอดหน้านวล 63 นกจับแมลงสีฟ้าอกดำ� 82
นกปรอดหัวสีเขม่า 64 นกจับแมลงสีฟ้าท้องขาว 82
นกปรอดสวน 64 นกกระเบื้องผา 83
นกปรอดคอลาย 65 วงศ์ Dicaeidae
นกปรอดทอง 65 นกสีชมพูสวน 83
นกปรอดเหลืองหัวจุก 66 วงศ์ Nectariniidae
วงศ์ Phylloscopidae นกกินปลีอกเหลือง 84
นกกระจิ๊ดธรรมดา 66 นกกินปลีคอสีน�้ำ ตาล 84
นกกระจิ๊ดเขียวปีกสองแถบ 67 วงศ์ Ploceidae
นกกระจิ๊ดสีคล้ำ� 67 นกกระจาบธรรมดา 85
นกกระจิ๊ดขั้วโลกเหนือ 68 วงศ์ Passeridae
นกกระจิ๊ดคัมชัตกา 68 นกกระจอกตาล 85
นกกระจิ๊ดขาสีเนื้อ 69 วงศ์ Estrildidae
นกกระจิ๊ดหัวมงกุฎ 69 นกกระติ๊ดขี้หมู 86
นกกระจิ๊ดปากหนา 70 วงศ์ Motacillidae
นกกระจิ๊ดซาคาลิน 70 นกเด้าดินสวน 86
วงศ์ Zosteropidae นกเด้าดินทุ่งเล็ก 87
นกแว่นตาขาวสีข้างแดง 71 นกเด้าลมดง 87
วงศ์ Sturnidae นกเด้าลมเหลือง 88
นกกิ้งโครงแกลบหลังม่วงดำ� 71 นกเด้าลมหลังเทา 88
นกเอี้ยงสาริกา 72
นกเอี้ยงหงอน 72
วงศ์ Turdidae
นกเดินดงสีดำ� 73
นกเดินดงสีคล้ำ� 73
นกเดินดงสีเทาดำ� 74
นกเดินดงหัวสีส้ม 74
วงศ์ Muscicapidae
นกกางเขนดง 75
นกกางเขนบ้าน 75
นกเขนท้องแดง 76
นกเขนน้อยไซบีเรีย 76
นกจับแมลงคอแดง 77
นกจับแมลงสีน�้ำ ตาล 77
นกจับแมลงสีคล้ำ� 78
นกจับแมลงสีน�้ำ ตาลแดง 78
นกจับแมลงหลังเขียว 79
นกจับแมลงตะโพกเหลือง 79

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


7
��������� 6.indd 7 10/3/2563 BE 10:28
ส่วนประกอบต่างของข้อมูลนกในหนังสือ “ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง”

ส่วนประกอบของข้อมูลนกในหนังสือ “ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง”

ชื่อภาษาไทย (Thai Name)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name)

ชื่อสามัญ (Common Name)


ขนาด (Size) (เซนติเมตร)
ความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง
(ค่าสูงสุด-ค่าต่ำ�สุด หรือค่าเฉลี่ย)

นกกระปูดใหญ่ Greater Coucal 53


Centropus sinensis
เป็นนกขนาดใหญ่ ลำ�ตัวและหางสีออกดำ�
เหลือบ ยกเว้นหลังและปีกมีสีน�้ำ ตาลแดง ตาสี
แดง มักร้อง ปูด ปูดๆ โต้ตอบกัน นกชนิดนี้มักจะ
บินลงตามพื้นบ่อย มักพบอยู่ใกล้แหล่งน้�ำ เพื่อ
หาอาหารพวกสั ต ว์ มี ก ระดู ก สั น หลั ง ขนาดเล็ ก
เช่น ปลา กบ เขียด
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ภาพนก (Bird Picture) รายละเอียดของนก (ฺBird Detail)

แถบสีแสดงขนาดตัวนก สัญลักษณ์บอกเพศนก
ขนาดใหญ่ (>50 เซนติเมตร) เพศผู้ (Male)
ขนาดกลาง (>15 ถึง 50 เซนติเมตร)
ขนาดเล็ก (≤15 เซนติเมตร) เพศเมีย (Female)
หมายเหตุ : รูปนกบางส่วนถ่ายมาจากนอกเกาะแสมสาร นำ�มาใส่ไว้เพื่อความสมบูรณ์ของหนังสือ

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


8
��������� 6.indd 8 10/3/2563 BE 10:28
ส่วนต่าง ๆ ของนก

ส่วนต่าง ๆ ของนก

กระหม่อม

ขนคลุมหู หน้าผาก

ท้ายทอย
หัวตา

หลัง

คอ
ตะโพก
อก

สีข้าง

ท้อง

ขนคลุมใต้โคนหาง, ก้น

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


9
��������� 6.indd 9 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Phasianidae l วงศ์ Columbidae

ไก่ป่าตุ้มหูขาว Red Junglefowl 41-78


Gallus gallus
ไก่ป่าเป็นนกขนาดใหญ่ เพศผู้ และเพศเมียมี
ลักษณะแตกต่างกัน เพศผู้มีขนคอยาวเป็นสร้อย
สีทอง หรือสีแดง หลัง และขนคลุมปีกสีแดง ขน
ปลายปีก ท้อง และหางสีด�ำ ขนโคนปีกด้านนอก
มีสีน้ำ�ตาล ขนหางคู่กลางยาวโค้งยื่นออกมาจาก
ขนหางอื่น ๆ โคนขนหางมีขนฟูสีขาว หน้า หงอน
และเหนียงมีสีแดงสด จะงอยปาก และขามีสีดำ�
ขณะที่เพศเมียจะไม่มีหงอน และเหนียง ขนตาม
ลำ�ตัวมีสนี �้ำ ตาลประด้วยสีด�ำ ทัว่ ตัว ในฤดูสบื พันธุ์
มักพบอยู่รวมกันเป็นฝูงกับเพศผู้ที่โตเต็มวัย จาก
หลักฐานต่าง ๆ เชื่อว่าไก่ป่าเป็นบรรพบุรุษของไก่
เลี้ยง เพศเมียจะเป็นฝ่ายเลี้ยงลูกตามลำ�พัง พบ
ตามป่าเบญจพรรณ และป่าฟื้นสภาพแม้กระทั่ง
ตามไร่ชายป่า
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

นกเปล้าอกสีม่วงน้ำ�ตาล Orange-breasted Green-Pigeon 28.5-29


Treron bicinctus
เป็นนกขนาดกลาง ขนตามลำ�ตัวสีเขียว
หัวสีเขียว ท้ายทอยสีเทา จะงอยปากสีเขียว
อมเหลืองปีกสีเขียวแก่มีแถบสีเหลือง ปลาย
ปีกดำ� ขนคูน่ อกของปลายหางมีแถบสีเทา ขา
สีแดง เพศผู้ อกส่วนบนสีม่วงชมพู อกส่วน
ล่างสีน้ำ�ตาลแกมส้ม พบได้ตาม ป่าโปร่ง ป่า
ชายหาด หรือป่าชายเลน
เป็นนกประจำ�ถิน่ พบไม่บอ่ ย หรือหายาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


10
��������� 6.indd 10 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Columbidae

นกเขาชวา Zebra Dove 21-21.5


Geopelia striata
เป็นนกขนาดกลาง บริเวณส่วนหลัง
และหางมี สี น้ำ � ตาลส่ ว นหั ว มี สี ฟ้ า อมเทา
ท้องสีน�้ำ ตาลอ่อน ด้านข้างของลำ�ตัวมีลาย
แถบพาดขวางสีดำ� เป็นนกที่พบตามบ้าน
เรือน สวนในเมือง มักหากินเป็นคู่
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

นกเขาใหญ่ Eastern Spotted Dove 30-31


Spilopelia chinensis
เป็นนกขนาดกลาง ขนด้านหลังสีน�้ำ ตาล
มีแถบสีเทาบริเวณขนคลุมปีก ขณะที่ขน
ปลายปีกมีสีดำ� หลัง คอ ท้องมีสีน้ำ�ตาล
อ่อน คอสั้น ขาสั้นสีแดง บริเวณคอมีแถบสี
ดำ�ลายจุดสีขาว เป็นนกที่มักหากินอยู่เป็นคู่
ตามในเมือง บ้านเรือน และทุ่งโล่ง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


11
��������� 6.indd 11 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Columbidae l วงศ์ Caprimulgidae

นกเขาไฟ Red Collared-dove


Streptopelia tranquebarica
23-24.5
เป็นนกขนาดกลาง ตัวผู้ ลำ�ตัวสีน้ำ�ตาล
แดง ลำ�ตัวด้านบนและปีกสีแดงเข้มกว่าด้าน
อกและท้อง ปลายปีกสีออกดำ� หัวเล็ก คอ
สั้น เมื่อเทียบกับลำ�ตัว หัวและหลังคอสีเทา
ท้ายทอยมีแถบสีด�ำ คาด ตัวเมียสีออกน้�ำ ตาล
มากกว่าตัวผู้ มักหากินอยู่ตามพื้น
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

นกตบยุ งเล็ก Indian Nightjar


Caprimulgus asiaticus
23-24
เป็ น นกขนาดกลาง ลำ � ตั ว สี น้ำ � ตาลมี
ลายแต้มสีดำ�ทั่วตัว เพศผู้ และเพศเมียมี
ลั ก ษณะคล้ า ยกั น มี ปื้ น สี น วลที่ ปี ก และ
บริเวณขนปลายขอบหาง มักบินหากินแมลง
ตอนพลบค่ำ � ตอนกลางวั น ไม่ อ อกหากิ น
ทำ�ให้พบเห็นได้ยาก แต่ถ้าสังเกตให้ดีอาจ
จะพบกำ�ลังนั่งกกไข่อยู่ตามพื้นดูกลมกลืน
กับสภาพแวดล้อม มักอยู่บริเวณที่โล่งหรือ
พุ่มไม้
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


12
��������� 6.indd 12 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Caprimulgidae

นกตบยุงภูเขา Grey Nightjar 28-32


Caprimulgus jotaka
เป็นนกขนาดกลาง ขนตามลำ�ตัวเป็น
ลายน้ำ�ตาลประกระจายทั่วลำ�ตัว เพศผู้มีสี
เทามากกว่าเพศเมีย ทั้งสองเพศข้างคอมี
แต้มขาว ไหล่มแี ถบน้�ำ ตาลเหลืองและขาว ใน
ขณะบิน เพศผูจ้ ะมีแต้มขาวสองแต้มทีป่ ลาย
ปีกแต่ละข้าง และที่ปลายหางคู่นอก ขณะที่
เพศเมียมีแต้มสีน้ำ�ตาลเหลืองที่ปลายปีกไม่
พบที่ปลายหาง
เป็นนกอพยพในพื้นที่เกาะแสมสาร พบ
ไม่บ่อย

นกตบยุงหางยาว Large-tailed Nightjar


Caprimulgus macrurus
31.5-33
เป็ น นกขนาดกลาง ลั ก ษณะเด่ น คื อ
หางยาวกว่าปลายปีกมาก เพศผู้หน้าผากไล่
ไปถึงท้ายทอยสีน้ำ�ตาลเหลือง มีแถบสีเข้ม
บาง ๆ พาดกลาง หนวดขาว และแถบขาว
ข้างคอชัดเจน ปีกมีแถบลายประสี่แถบค่อน
ข้างชัดเจน ขณะบินปลายปีก และปลายหาง
มีแต้มขาวชัดเจน เพศเมียแต้มทีป่ ลายปีกและ
ปลายหางเป็นสีน�้ำ ตาลเหลือง มักพบตามป่า
โปร่ง ชายป่า หรือพื้นที่เปิดโล่งต่าง ๆ ร้อง
เสียงดัง จุ๋ง จุ๋ง จุ๋ง ในช่วงเวลาโพล้เพล้จะ
บินโฉบจับแมลงกลางอากาศ
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


13
��������� 6.indd 13 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Apodidae

นกแอ่ นตาล Asian Palm-Swift


Cypsiurus balasiensis
11-12
เป็นนกขนาดเล็ก มักพบร่อนอยูใ่ นอากาศ
ขณะร่ อ นปี ก ทั้ ง สองข้ า งจะเรี ย งตั ว เป็ น รู ป
พระจันทร์เสีย้ ว ตัวปีกแคบ สามารถเห็นลำ�ตัว
มีลกั ษณะเพรียวบางเมือ่ เทียบกับนกแอ่นชนิด
อื่น ปลายปีกแหลม ลำ�ตัวสีน�้ำ ตาลเข้ม ด้าน
ล่างและตะโพกจะมีสีจางกว่า หางแหลม บาง
ครั้งเห็นปลายหางแยกเป็น 2 แฉก กินแมลง
เป็นอาหาร มักพบร่อนอยู่ในอากาศเหนือพื้น
ราบ หรือตามเกาะ
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

นกแอ่ นกินรัง Germain’s Swiftlet


Aerodramus germani
11.5-12.5
เป็นนกขนาดเล็ก มักพบร่อนอยูใ่ นอากาศ
ขณะร่ อ นปี ก ทั้ ง สองข้ า งจะเรี ย งตั ว เป็ น รู ป
พระจันทร์เสี้ยว ตัวปีกจะกว้างกว่านกแอ่น
ตาล ลำ�ตัวอ้วนกว่านกแอ่นตาล ลำ�ตัวสีดำ�
ด้านล่างสีจางกว่า ส่วนตะโพกจะมีสีออกขาว
กว่านกแอ่นตาล ขณะร่อนหางกว้างกว่านก
แอ่นตาล ปลายหางเว้าเล็กน้อย กินแมลง
เป็นอาหาร มักพบร่อนอยู่ในอากาศเหนือพื้น
ราบ หรือตามเกาะ
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


14
��������� 6.indd 14 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Apodidae l วงศ์ Cuculidae

นกแอ่ นบ้าน House Swift


Apus nipalensis
15
เป็ น นกขนาดเล็ ก มั ก พบร่ อ นอยู่ ใ น
อากาศ ขณะร่อนปีกทั้งสองข้างจะเรียงตัว
เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ปลายปีกมน ลำ�ตัว
ดำ�เหลือบออกสีน�้ำ เงิน เห็นสีขาวบริเวณคอ
และตะโพกได้ชัดเจน หางสั้น ปลายหางเว้า
เล็กน้อย กินแมลงเป็นอาหาร มักพบร่อน
อยู่ในอากาศเหนือพื้นที่ราบ หรือตามเกาะ
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

นกคัคคูมรกต Asian Emerald Cuckoo


Chrysococcyx maculatus
17
เป็นนกขนาดกลาง ปากเหลืองปลาย
ปากดำ� เพศผู้มีสีเขียวเข้มเหลือบเป็นมัน
ลำ � ตั ว ด้ า นล่ า งตั้ ง แต่ อ กตอนล่ า งสี ข าวมี
แถบขวางสี เ ขี ย วไปถึ ง ก้ น เพศเมี ย หน้ า
ผาก กระหม่อม ท้ายทอยมีสีน้ำ�ตาลแดง
คอและอกแซมสีน้ำ�ตาลแดง ลำ�ตัวด้านบน
สีเขียวแกมเหลืองเหลือบเป็นมัน มีแถบ
ขวางด้านล่างของลำ�ตัว พบในป่าดิบ ป่า
ผลัดใบ สวนผลไม้
เป็นนกประจำ�ถิ่นและนกอพยพ พบ
ไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


15
��������� 6.indd 15 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Cuculidae

นกคัคคูแซงแซว Square-tailed Drongo-cuckoo 24


Surniculus lugubris
เป็นนกขนาดเล็ก ลำ�ตัวสีด�ำ มันคล้ายกับ
นกแซงแซวแต่ตวั เล็กเรียวกว่า ปากเรียวกว่า
นกแซงแซว ปลายปากโค้งเล็กน้อย หางยาว
ปลายหางเว้าเล็กน้อย ก้นและใต้หางมีลาย
ขวางสีขาว พบในป่าดิบ ป่าผลัดใบ สวน
เป็นนกอพยพ พบไม่บ่อย

นกคั คคูพันธุ์อินเดีย Indian Cuckoo


Cuculus micropterus
31-33
เป็นนกขนาดกลาง โคนปาก และหนังรอบตา
เหลือง หัวสีเทา หลัง และปีกสีน�้ำ ตาลเข้ม ท้องมี
ลายขวางสีด�ำ หางสีน�้ำ ตาลมีลายบัง้ จาง ๆ ปลาย
หางมีแถบสีด�ำ สามารถพบได้ตามป่าดิบ ป่าผลัด
ใบ และป่าชายหาด
เป็นนกประจำ�ถิ่น และอพยพ พบค่อนข้าง
บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


16
��������� 6.indd 16 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Cuculidae

นกคัคคูพันธุ์หิมาลัย Himalayan Cuckoo 29-33


Cuculus saturatus
เป็นนกขนาดกลาง ตัวผู้ล�ำ ตัวด้านบนสี
เทาแกมฟ้า ท้องมีสนี �้ำ ตาลจางๆ มีลายขวาง
สีด�ำ เข้ม เพศเมียลำ�ตัวมีสีน�้ำ ตาลแดง พบได้
ตามป่าดิบ ป่าโปร่ง ป่าชายเลน หรือสวน
เป็นนกอพยพผ่าน พบไม่บ่อย

นกคั คคูเหยี่ยวอกแดง Whistling Hawk Cuckoo


Hierococcyx nisicolor
27-29.5
เป็นนกขนาดกลาง ลักษณะเด่นที่แตก
ต่างจากนกคัดคูอื่น คือ ปลายจะงอยปาก
สีเหลือง แถบอก และท้องตอนบนมีสีแดง
ส้ม ลำ�ตัวด้านบนสีเทา ปลายหางมีแถบคาด
สีดำ� และสีน้ำ�ตาล วัยอ่อนลำ�ตัวด้านบนสี
น้ำ�ตาลเข้ม มีขอบขนสีน้ำ�ตาลอ่อนทำ�ให้
เห็นเป็นลาย ท้องสีขาว มีลายขีดสีน้ำ�ตาล
คล้ายเส้นประ พบได้ตามป่าดิบ ชายป่า
เป็นนกอพยพผ่าน พบไม่บอ่ ยถึงหายาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


17
��������� 6.indd 17 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Cuculidae

นกคั คคูเหยี่ยวใหญ่ Large Hawk Cuckoo


Hierococcyx sparverioides
38-41
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวด้านบนมีสีเทา
แกมน้ำ�ตาล อกมีสีน�้ำ ตาลแดง มีลายขีดสีคล้�ำ
ท้องสีขาวมีแถบคาดขวางสีด�ำ หางสีเทามีแถบ
กว้างคาดขวางสีเข้ม วัยอ่อน หัวสีเทาอ่อน ลำ�
ตัวด้านบนสีน�้ำ ตาลแดง ลำ�ตัวด้านล่างมีลายขีด
สีน้ำ�ตาล อาศัยในป่าดิบ ป่าโปร่ง สวน หรือแม้
กระทั่งป่าชายเลน
เป็นนกอพยพ พบบ่อยในบางพื้นที่

นกกาเหว่ า Western Koel


Eudynamys scolopaceus
40-44
เป็นนกขนาดกลาง ปากหนาสีเหลือง
อมเขียว ตาสีแดง หางยาว เพศผู้ลำ�ตัวสีดำ�
อมเขียว เพศเมียลำ�ตัวสีน�้ำ ตาล ลำ�ตัวด้าน
ล่างสีจางกว่าด้านบน มีลายทั้งด้านบนและ
ล่างของลำ�ตัว สามารถกินอาหารได้หลาก
หลายตั้งแต่แมลงไปจนถึงสัตว์มีกระดูกสัน
หลังขนาดเล็ก แต่มักกินผลไม้ มีเสียงร้อง
เป็นเอกลักษณ์ “กา-เว้า กา-เว้า”
เป็นนกประจำ�ถิ่นบางส่วนเป็น
นกอพยพ พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


18
��������� 6.indd 18 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Cuculidae

นกคัคคูหงอน Chestnut-winged Cuckoo 46


Cuculus saturatus
เป็นนกขนาดกลาง หางยาวกว่าลำ�ตัว
คอสั้น มีหงอนสีด�ำ บนหัว ปาก หน้า หลัง
ตะโพก และหางสีดำ� ท้ายทอยมีแถบคาดสี
ขาว คอสีส้ม ปีกสีน�้ำ ตาลแดง อกและท้อง
สีออกขาว
เป็นนกอพยพผ่าน พบไม่บ่อย

นกอีวาบตั๊กแตน Plaintive Cuckoo 22


Cuculus saturatus
เป็นนกขนาดกลาง ปากเรียวโค้ง ตัวผู้
ส่วนหัว และอกส่วนบนสีเทา ลำ�ตัวด้านบน
สีน�้ำ ตาลเข้มจนถึงดำ� อกส่วนล่าง ท้อง และ
ก้นสีน้ำ�ตาลแดง หางยาว ตัวเมียมีขีดบางๆ
คาดผ่านตา ลำ�ตัวด้านบนสีน้ำ�ตาลแดง มี
ลายสีดำ�กระจายทั่วลำ�ตัว ลำ�ตัวด้านล่างสี
ขาว มีแถบคาดสีเข้มบางๆจำ�นวนมาก
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


19
��������� 6.indd 19 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Cuculidae

นกกระปูดเล็ก Lesser Coucal 38


Centropus bengalensis
เป็นนกขนาดกลาง มีขนาดเล็กกว่านก
กระปู ด ใหญ่ ในฤดู ผ สมพั น ธุ์ จ ะมี ลั ก ษณะ
คล้ายนกกระปูดใหญ่ คือ มีหัว คอและท้อง
สีด�ำ ด้านหลังสีน�้ำ ตาลแดง ต่างกันตรงทีน่ ก
กระปูดเล็กจะมีลายขีดสีออ่ นแซม บริเวณหัว
คอ และด้านหลังลำ�ตัว นอกฤดูผสมพันธุ์ ลำ�
ตัวจะมีสอี อกน้�ำ ตาล ปีกสีน�้ำ ตาลแดง มีลาย
ขีดสีอ่อนอยู่ตามลำ�ตัว มักหากินตามลำ�พัง
ตามทุ่งหญ้า พุ่มไม้ และมักพบเกาะอยู่กับ
หญ้าหรือต้นไม้ กินพวกสัตว์มกี ระดูกสันหลัง
ขนาดเล็กเช่น ปลา กิ้งก่า
เป็นนกประจำ�ถิ่น และอพยพ พบไม่
บ่อย

นกกระปูดใหญ่ Greater Coucal 53


Centropus sinensis
เป็นนกขนาดใหญ่ ลำ�ตัวและหางสีออก
ดำ�เหลือบ ยกเว้นหลังและปีกมีสีน้ำ�ตาล
แดง ตาสีแดง มักร้อง ปูด ปูด ๆ โต้ตอบกัน
นกชนิดนี้มักจะบินลงตามพื้นบ่อย มักพบ
อยู่ใกล้แหล่งน้ำ�เพื่อหาอาหารพวกสัตว์มี
กระดูกสันหลังขนาดเล็กเช่น ปลา กบ เขียด
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


20
��������� 6.indd 20 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Cuculidae l วงศ์ Rallidae

นกบั ้งรอกใหญ่ Green-billed Malkohal


Phaenicophaeus tristis
53-59
เป็นนกขนาดใหญ่ นกชนิดนี้มีจุดเด่น คือ มี
หางยาวมาก ขนาดเกือบสองเท่าของความยาว
ลำ�ตัว และยังมีลายขวางสีขาวคล้ายลายบั้งรอบ
บริเวณด้านในของหาง ขนหางมีสีเทา บริเวณคอ
ไปจนถึงท้องมีสีเทาอ่อน หนังรอบตาสีแดง จะงอย
ปากสีเหลืองอมเขียว เมื่อบินไปเกาะบนต้นไม้มักจะ
กระโดดไปตามกิ่งไม้ขึ้นสูงไปเรื่อยๆจนสุดยอดไม้จึง
บินออกจากต้นไม้นั้นไปยังต้นไม้อีกต้นหนึ่ง หากิน
โดดเดี่ยว กินหนอนและแมลงเป็นอาหาร พบตาม
ป่าหลายประเภท
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

นกอัญชันอกเทา Slaty-breasted Rail 26-31


Lewinia striata
เป็ น นกขนาดกลาง ขายาวนิ้ ว เท้ า ยาวสี เ ทา
ลักษณะเด่น คือ ปากสีแดง มีสีน้ำ�ตาลแดงตั้งแต่
หน้าผาก กระหม่อม และท้ายทอย ตัดกับสีเทาตัง้ แต่
โคนปากล่าง คอ หน้า อก และท้อง ส่วนหลังและปีก
เป็นลายสีน�้ำ ตาลเข้มสลับสีขาว ส่วนท้องและก้นเป็น
ลายสีด�ำ สลับสีขาว กินแมลง หรือสัตว์ขนาดเล็กเป็น
อาหาร พบได้ตามทุ่งนา หรือบริเวณแหล่งน้ำ�
เป็นนกประจำ�ถิ่น และอพยพ พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


21
��������� 6.indd 21 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Rallidae l วงศ์ Charadriidae

นกกวั ก White-breasted Waterhen


Amaurornis phoenicurus
28.5-36
เป็นนกขนาดกลาง ปากสีเหลือง โคนปากมี
สีแดง ตาสีแดง มีสีขาวตั้งแต่หน้า คอ และอก
ตัดกับสีด�ำ ของลำ�ตัวด้านบน ส่วนหางสัน้ มีสอี ม
แดง ตั้งขึ้นเล็กน้อย ท้องตอนล่างสีน�้ำ ตาลแดง
ขาและตีนสีเหลือง มีนิ้วตีนยาวช่วยในการกระ
จายน้ำ�หนัก และทรงตัวขณะเดินหากินบนพืช
น้ำ� มักพบในบริเวณใกล้แหล่งน้ำ� กินอาหารได้
ทั้งปลาขนาดเล็ก แมลง และสัตว์ไม่มีกระดูก
สันหลังในน้ำ�
เป็นนกประจำ�ถิ่น และนกอพยพ พบบ่อย
มาก

นกกระแตแต้แว้ด Red-wattled Lapwing 31.5-35


Vanellus indicus
เป็ น นกขนาดกลาง หลั ง และปี ก สี
น้ำ�ตาล หัว คอ และอกมีสีดำ� ท้องขาว มี
แต้มสีขาวหลังตามีติ่งเนื้อสีแดงพาดด้าน
หน้าระหว่างตาทัง้ สองข้าง จะงอยปากตรง
สีแดงปลายดำ� ขายาวสีเหลือง มักส่งเสียง
ดังขณะบิน กระแต แต้ แว๊ดๆ จึงเรียกชือ่ นก
ตามเสียงร้อง มักหากินตามท้องนา ท้องทุง่
หรือใกล้แหล่งน้ำ� อาจหากินเป็นฝูงเล็กๆ
2-3 ตัว ไปจนถึงกว่าสิบตัว
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


22
��������� 6.indd 22 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Scolopacidae

นกเด้ าดิน Common Sandpiper


Actitis hypoleucos
19-21
เป็นนกขนาดกลาง หัวและลำ�ตัว ด้าน
บนสีน้ำ�ตาล คิ้วยาวสีขาวชัดเจน เวลายืน
และเดินมักกระดกก้น และหางขึ้นลง ปลาย
หางยาวกว่าปลายปีกมาก ลำ�ตัวด้านล่างขาว
ขาและตีนเหลือง ขณะบินจะเห็นแถบขาวที่
ปีกชัดเจน หัวไหล่มีแถบน้ำ�ตาลเข้ม ตะโพก
และหางน้ำ�ตาลมีลายขาวที่ขอบ และปลาย
หาง สามารถพบได้ตามบริเวณชายขอบของ
แหล่งน้ำ�ต่าง ๆ เช่น นาเกลือ คันนา
เป็นนกอพยพ พบบ่อยมาก

นกอี ก๋อยเล็ก Whimbrel


Numenius phaeopus
40-46
เป็นนกขนาดกลาง ขายาวนิ้วเท้าสั้นสี
เทาอมเขียว ลักษณะพิเศษ คือ ปากโค้งยาว
ประมาณ 2 เท่าของความยาวหัว ปากสีดำ�
โคนปากล่างสีชมพู คิว้ สีน�้ำ ตาลแกมเหลือง
เหนือคิ้วมีแถบสีเข้ม ส่วนคอ ลำ�ตัวด้านบน
อก และท้องเป็นลายสีน�้ำ ตาลสลับขาว ท้อง
ส่วนล่างและก้นสีออกขาว ชอบเดินลุยน้ำ�
หาพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก
กินเป็นอาหาร หากินเป็นฝูงเล็กๆ พบได้
ตามหาดทรายหรือบริเวณใกล้ป่าชายเลน
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


23
��������� 6.indd 23 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Scolopacidae l วงศ์ Turnicidae

นกอี ก๋อยใหญ่ Eurasian Curlew


Numenius arquata
50-60
เป็นนกชายเลนขนาดใหญ่ปีกยาวแหลม
พอดีกับขนหาง มีลักษณะที่สังเกตได้ง่าย คือ
มีจะงอยปากที่ยาวมากราวสามเท่าของหัว
และปลายโค้งลงเหมาะสำ�หรับแทงเข้าไปใน
โคลนเพื่อกินหนอนบริเวณชายเลนหรือตาม
หาดทราย ลำ�ตัวด้านหลังสีน�้ำ ตาลมีลายประ
สีดำ� หัว และคอสีน้ำ�ตาล ท้องสีขาวนวล
ด้านข้างของลำ�ตัวมีลายประ ขายาวสีด�ำ ชอบ
เดินลุยน้ำ�หาอาหาร หากินเดี่ยว ๆ หรือเป็น
ฝูงเล็ก ๆ
เป็นนกอพยพ พบค่อนข้างบ่อย ปัจจุบัน
พบได้น้อยลง

นกคุ่มอกลาย Barred Buttonquail 15-17.5


Turnix suscitator
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวมีสีน้ำ�ตาล
แดง คอและหางสั้น บริเวณหลังมีลายจุด
สีดำ� บริเวณอก และด้านข้างลำ�ตัวมีลาย
พาดขวางสีดำ� เพศผู้มีคอสีนวล ในขณะที่
เพศเมียมีคอและอกสีดำ� จะงอยปาก และ
ขาสีเทาคล้ำ� มักหากินธัญพืชตามทุ่งหญ้า
หรือตามไร่ สวน
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


24
��������� 6.indd 24 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Laridae

นกนางนวลแกลบเคราขาว Whiskered Tern 24-28


Chlidonias hybrida
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวด้านหลังมีสี
เทาคล้ำ� ท้ายทอยมีสีด�ำ ส่วนหน้าผาก และ
กระหม่อมเป็นสีขาว แก้ม คอและท้องมีสี
ขาว ปากและขาสีดำ� หางเป็นแฉกลึก ใน
ฤดูผสมพันธุ์หน้าผาก หัว และท้ายทอยจะ
มีสีด�ำ ปากสีแดงเกือบดำ� มักหากินเป็นฝูง
ตามแหล่งน้ำ�จืดหรือชายทะเล
เป็นนกอพยพ พบบ่อยมาก

นกนางนวลแกลบท้ายทอยดำ� Black-naped Tern 30-35


Sterna sumatrana
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวด้านหลังสีขาว
หม่น เมื่อเทียบกับนกนางนวลแกลบเครา
ขาวและนกนางนวลแกลบเล็กแล้วนกชนิดนี้
จะมีสขี าวกว่านกทัง้ สองชนิด บริเวณหัว อก
และท้องมีสีขาว บริเวณหัวมีแถบดำ�ตั้งแต่
หลังตาอ้อมไปยังท้ายทอย จะงอยปากและ
ขาสีด�ำ ปีกยาวแหลม ขนปลายปีกด้านนอก
มีสดี �ำ แซม หางเป็นแฉกลึก มักหากินอยูเ่ ป็น
ฝูงตามชายทะเลและเกาะต่าง ๆ
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


25
��������� 6.indd 25 10/3/2563 BE 10:28
วงศ์ Laridae

นกนางนวลแกลบเล็
Sternula albifrons
ก Little Tern 22-25
เป็นนกขนาดกลาง หลังมีสีเทา คอ อก
ท้อง และตะโพกมีสีขาว หางสีขาวเป็นแฉก
แต่แฉกจะไม่ลึก หัวสีด�ำ มีแถบสีด�ำ พาดผ่าน
ตา หน้าผากมีสีขาว ช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์
จะงอยปากสีดำ� แต่ในฤดูผสมพันธุ์จะงอย
ปากจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปลายสีดำ� ขา
เหลืองเข้ม ปีกเรียวแหลมบินได้เร็ว มักบิน
เป็นฝูงเล็ก ๆ ไปจนถึงฝูงใหญ่หากินปลาตาม
ชายหาดหรือชายเลน
เป็นนกประจำ�ถิน่ และอพยพ พบไม่บอ่ ย
ชุดขนฤดูผสมพันธุ์

ชุดขนนอกฤดูผสมพันธุ์

นกนางนวลแกลบคิ
Onychoprion anaethetus
้วขาว Bridled Tern 37-42
เป็นนกขนาดกลาง บริเวณหัว ปีก และ
หลังมีสีดำ� มีแถบสีขาวบริเวณหน้าผาก
เรียวเล็กมาจนถึงเหนือตาคล้ายกับคิ้ว หัว
ปีกเป็นแถบสีขาว นกชนิดนี้จะบินปะปน
กับนกนางนวลแกลบชนิดอืน่ เช่น นางนวล
แกลบท้ายทอยดำ� แต่จะสังเกตสีบริเวณ
หลังจะเป็นสีดำ�และมีขนาดใหญ่กว่า นก
กลุ่มนี้มักจะบินหาปลาตามทะเลใกล้ชาย
เกาะ แล้วบินดิ่งโฉบหาปลาในน้ำ�
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


26
��������� 6.indd 26 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Laridae

นกนางนวลแกลบธรรมดา
Sterna hirundo
Common Tern 33-37
เป็นนกขนาดกลาง หัวกว้าง คอสั้น
หนา ปากเรียวแหลมสีด�ำ หน้า กระหม่อม
และท้ายทอยสีด�ำ ด้านบนของลำ�ตัวสีอม
เทา ลำ�ตัวด้านล่างสีออกขาว ปลายขนปีก
สีเทาเข้ม ขาและตีนแดงเข้ม ในฤดูผสม
พันธุ์หัวด้านบนเป็นสีดำ� ปากสีแดงเข้ม
ปลายดำ� มักพบร่อนอยู่ในทะเล
เป็ น นอพยพ พบบ่ อ ยมากเฉพาะ
บางพื้นที่

นกนางนวลแกลบสีกุหลาบ Roseate Tern 33-39


Sterna dougallii
เป็นนกขนาดกลาง หัวกว้าง คอสั้น
หนา ปากแหลมสีดำ� เรียวบางกว่านก
นางนวลแกลบธรรมดา ลักษณะลำ�ตัว
และหัวคล้ายนางนวลแกลบธรรมดา ขา
และตีนดำ� ในฤดูผสมพันธุ์ลำ�ตัวด้านล่าง
มีสีชมพูจาง ๆ ปากแดงปนดำ� ขา และ
ตีนแดงสด มักพบร่อนอยู่ในทะเล ทำ�รัง
อยู่บนหินโสโครก หรือเกาะขนาดเล็กที่
ไม่มีการรบกวน
เป็นนกประจำ�ถิน่ หายาก ไม่มรี ายงาน
การทำ�รังวางไข่มานานแล้ว

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


27
��������� 6.indd 27 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Laridae l วงศ์ Phalacrocoracidae

นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่
Thalasseus bergii
Greater Crested Tern 45-49
เป็นนกขนาดกลาง หัวกว้าง คอสั้นหนา
ปากหนายาวสีเหลือง ด้านบนของหัวสีดำ�
มีหงอนสั้นบริเวณท้ายทอย คอ คาง และ
ส่วนล่างของลำ�ตัวสีขาว ลำ�ตัวด้านบนสีเทา
ขา และตีนดำ� มักพบร่อนอยู่ในทะเล ทำ�รัง
อยู่บนหินโสโครก หรือเกาะขนาดเล็กที่ไม่มี
การรบกวน
เป็นนกประจำ�ถิ่น หายากมาก

นกกาน้ �ำ เล็ก Little Cormorant


Microcarbo niger
51-54.5
เป็นนกขนาดใหญ่ ลำ�ตัว ท้อง อก ปีก
มีสดี �ำ คอ และหางยาว ปากสีเทาปนน้�ำ ตาล
ปากมีความยาวประมาณครึง่ หนึง่ ของความ
กว้างของหัว คางสีขาวแต่เปลี่ยนเป็นสีดำ�
ในฤดูผสมพันธุ์ มักยืนเกาะคอนกางปีกเพือ่
ผึ่งแดด หลังดำ�น้ำ�จับปลา
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


28
��������� 6.indd 28 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Ardeidae

นกยางไฟหั วดำ� Yellow Bittern


Ixobrychus sinensis
36-38
เป็นนกขนาดกลาง คอยาว ขายาว ปาก
ยาวสีเหลือง ลักษณะเด่น คือ หน้าผากถึง
ท้ายทอยสีเข้มออกดำ� หัวและลำ�ตัวสีน�้ำ ตาล
อ่อนแกมเหลือง มีเส้นยาวสีน�้ำ ตาลอ่อนเริม่
จากคอไปจนจรดท้อง ปลายปีก ขอบปีกด้าน
ล่าง และหางสีดำ� กินแมลง ปลาและสัตว์
สะเทินน้ำ�สะเทินบกเป็นอาหาร พบได้ใกล้
แหล่งน้ำ� หรือทุ่งนา
เป็นนกอพยพ พบไม่บ่อย

วัยอ่อน
นกยางไฟธรรมดา
Ixobrychus cinnamomeus
Cinnamon Bittern 38-41
เป็นนกขนาดกลาง ขนตามลำ�ตัวมี
สีน้ำ�ตาลแดง มีจะงอยปากและแข้งยาว
สีเหลือง สีขนด้านหลังเข้มกว่าด้านท้อง
เพศผู้มีแถบสีขาวบริเวณข้างคอ ขณะที่
เพศเมียมีลายขีดสีเข้มด้านท้อง
เป็นนกอพยพ พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


29
��������� 6.indd 29 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Ardeidae

นกยางกรอกพั
Ardeola bacchus
นธุ์จีน Chinese Pond Heron 45-52
เป็นนกน้ำ�ขนาดใหญ่ บริเวณหัว คอ
และอก มีสีเข้ม และมีลายขีดสีน�้ำ ตาลเข้ม
บริเวณหลังสีน้ำ�ตาลดำ� ท้องสีขาว ปาก
ยาว จะงอยปากส่วนบนและส่วนปลายสี
ดำ� ขายาวสีเหลือง เมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์
บริเวณหัว คอและอกเป็นสีน้ำ�ตาลแดง
เป็นนกอพยพ พบบ่อยมาก

ชุดขนนอกฤดูผสมพันธุ์

นกยางทะเล
Egretta sacra
Pacific Reef Heron 56-58
เป็นนกขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมีลักษณะ
เป็นสองรูปแบบ คือ มีสีขาวและส่วนมาก
มักมีสเี ทาดำ� ปากยาวสีเทาและขายาวสีเทา
ส่วนรูปแบบสีขาวลักษณะคล้ายยางเปีย
แตกต่างกันตรงทีจ่ ะงอยปากและขาของนก
ชนิดนี้มีสีเหลืองอมเทาและหางสั้นกว่านก
ยางเปียเล็กน้อย นกยางทะเลมักหากินตาม
ลำ�พังโดยเดินลุยน้ำ�ทะเลตามหาดหินเพื่อ
หาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้�ำ เป็นอาหาร
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

ชุดขนสีขาว

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


30
��������� 6.indd 30 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Ardeidae

นกยางเขียว Striated Heron 40-48


Butorides striata
เป็นนกขนาดกลาง คอยาว ขายาว ปาก
ยาวสี เ ทาเข้ ม อมเขี ย ว โคนปากล่ า ง และ
หนังรอบตาสีเหลืองเข้ม หัวดำ� มีขนเปียที่
ท้ายทอยสีดำ� ลำ�ตัวสีเทาแกมเขียว ลำ�ตัว
ด้านบน และปีกสีเข้มกว่าด้านล่าง ขอบขน
ปีกมีสีจางทำ�ให้เห็นเป็นลายขนปีกได้ชัดเจน
ขาและตีนเหลือง จับปลากินเป็นอาหาร พบ
ในบริเวณแหล่งน้ำ�
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

นกยางโทนน้
Ardea intermedia
อย Intermediate Egret 65-72
เป็นนกขนาดใหญ่ คอยาว ขายาว ขนสี
ออกขาวทัง้ ตัว ปากยาวตรงสีเหลือง ปลาย
ปากดำ� มุมปากลึกแต่ไม่เลยลูกตา ในฤดู
ผสมพันธุ์ปากเปลี่ยนเป็นสีดำ� มีพู่ขนสีขาว
บริเวณหลัง และอก
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


31
��������� 6.indd 31 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Ardeidae

นกยางดำ � Black Bittern


Ixobrychus flavicollis
54-61
เป็นนกขนาดใหญ่ คอยาว ขายาว ปากยาว
สีเหลืองเข้มออกดำ� ด้านบนลำ�ตัวสีเข้มน้ำ�ตาล
เข้มหรือดำ� ข้างคอมีแถบเหลืองแกมน้ำ�ตาล
คอ และอกเป็นลายขาวสลับน้�ำ ตาลเข้มหรือดำ�
ลำ�ตัวด้านล่างสีน้ำ�ตาลเข้มหรือดำ� ล่าปลาหรือ
สัตว์ขนาดเล็กอื่นๆเป็นอาหาร พบได้ตามทุ่งนา
หรือแหล่งน้ำ�
เป็นนกอพยพ พบค่อนข้างบ่อย

วัยอ่อน

นกยางเปี ย Little Egret


Egretta garzetta
55-65
เป็นนกขนาดใหญ่ มีลกั ษณะคล้ายนกยาง
ทะเลรูปแบบที่มีขนสีขาวแต่ต่างกันที่นกยาง
เปียมีจะงอยปากและขาเป็นสีดำ� ตีนสีเหลือง
เมือ่ เข้าฤดูผสมพันธุจ์ ะมีขนบริเวณท้ายทอยสี
ขาวยาวออกมาคล้ายเปียผม นกชนิดนีอ้ าจพบ
ตัวเดียว หรือยูร่ วมกันเป็นฝูงหากินตามแหล่ง
น้�ำ จืด บางครัง้ อาจพบบริเวณอยูห่ าดหิน และ
หาดทรายตามชายทะเลได้
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


32
��������� 6.indd 32 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Ciconiidae l วงศ์ Accipitridae

นกปากห่ าง Asian Openbill


Anastomus oscitans
68-81
เป็นนกขนาดใหญ่ คอยาว ขายาว ปาก
ยาวใหญ่สอี อกน้�ำ ตาล ช่วงกลางปากมีชอ่ งว่าง
ระหว่างปากบน และปากล่าง หนา ลำ�ตัวส่วน
ใหญ่สีขาวอมเทา ปลายปีก ขอบด้านล่างของ
ปีก และหางสีด�ำ ขาและตีนสีออกชมพู
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

เหยี ่ยวแดง Brahminy Kite


Haliastur indus
44-52
เป็นเหยี่ยวที่มีขนาดใหญ่ ปากหนาสั้นสี
ดำ� ปลายปากบนงองุ้ม หัว ต้นคอ อก และ
ท้องส่วนบนสีขาว มีลายขีดเล็ก ๆ ส่วนบน
ของลำ�ตัวสีน�้ำ ตาลแดง ขนปลายปีกสีด�ำ ปีก
ด้านล่างจะมีขอบปีกด้านบนเป็นสีน�้ำ ตาลรูป
สามเหลี่ยมเข้มกว่าส่วนล่างของปีกและหาง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยเฉพาะบาง
พื้นที่

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


33
��������� 6.indd 33 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Accipitridae

เหยี ่ยวขาว Black-winged Kite


Elanus caeruleus
31-35
เป็นเหยีย่ วทีม่ ขี นาดกลาง มีขนทีล่ �ำ ตัวสี
ขาว ขนปลายปีก และหัวไหล่สีด�ำ ปีกแหลม
นกชนิดนี้มักหากินอยู่ตามลำ�พัง สามารถ
กระพือปีกบินอยู่กับที่ได้ ซึ่งเป็นลักษณะเด่น
ของเหยี่ยวชนิดนี้ มักพบอาศัยล่าเหยื่อตาม
ทุ่งนาหรือพื้นที่โล่ง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยแต่ปัจจุบัน
พบเห็นได้น้อยลง

เหยี ่ยวนกเขาชิครา Shikra


Tachyspiza badia
30-36
เป็นเหยี่ยวขนาดกลาง ปากหนาแหลมคมปลาย
ปากบนงุม้ ลง หัว ปีก และลำ�ตัวสีเทาอมฟ้า ปลายปีก
สีดำ� ท้อง และอกสีขาวมีลายขวางสีส้มแกมน้�ำ ตาล
หางมีลายขวาง ปีกกว้างและสั้น ใต้ปีกสีขาวด้าน
บนมีลายเส้นสีส้มแกมน้ำ�ตาล ด้านล่างเป็นลายเส้น
สีดำ� ขนปลายปีกสีด�ำ ตัวผู้ตาสีแดง ส่วนตัวเมียตาสี
เหลืองและมีสตี วั เข้มกว่า มักพบร่อนอยูก่ ลางอากาศ
เพื่อคอยจับเหยื่อเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ สัตว์ขนาดเล็ก
รวมทั้งนกขนาดเล็กอื่น ๆ พบได้ในที่โล่ง ป่าโปร่ง
เป็นนกประจำ�ถิ่น บางส่วนอพยพระยะสั้น พบ
บ่อย

วัยอ่อน

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


34
��������� 6.indd 34 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Accipitridae

เหยี่ยวกิ้งก่าสีด�ำ Black Baza 31.5-33


Aviceda leuphotes
เป็นเหยี่ยวขนาดกลาง ปากหนาสั้นสี
ดำ� ปลายปากบนงองุ้ม หัวกว้างมีหงอน หัว
ด้านบนของลำ�ตัว และหางสีด�ำ อก และท้อง
ขาว มีลายพาดสีด�ำ หรือน้�ำ ตาล ขณะบินเห็น
ปีกมีลกั ษณะกว้างเทียบกับความยาวของปีก
ปลายปีกและขอบปีกด้านบนสีดำ� ปีกด้านที่
ติดกับลำ�ตัวสีเทา
เป็นนกอพยพ และนกอพยพผ่าน
พบบ่อย

เหยี่ยวหน้าเทา Grey-faced Buzzard 41-49


Butastur indicus
เป็นเหยีย่ วขนาดกลาง ปากหนาสัน้ ปลาย
ปากบนงองุ้ม ตา และหนังคลุมจมูกสีเหลือง
ปลายปากสีดำ� หัวสีเทาอาจเห็นคิ้วสีขาวบาง
ๆ คอสีขาวมีเส้นสีเข้มขีดจากโคนปากลงมาที่
อก มีแถบหนวด 2 ข้างสีเข้ม ลำ�ตัวด้านบนสี
น้ำ�ตาล ลำ�ตัวด้านล่างสีขาว อกสีน�้ำ ตาล อก
ด้านล่าง และท้องมีแถบสีน้ำ�ตาลหลายแถบ
หางยาวปลายมนสีจางมีแถบสีเข้ม 3 แถบ
เป็นนกอพยพผ่าน พบบ่อยเฉพาะบาง
พื้นที่

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


35
��������� 6.indd 35 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Accipitridae

เหยี่ยวรุ้ง Crested Serpent-eagle 76-84


Spilornis cheela
เป็นเหยี่ยวขนาดใหญ่ ปากหนาสั้น ปลาย
ปากบนงองุม้ หนังบริเวณตา และจมูกสีเหลือง
เห็นได้ชัดเจน ท้ายทอยอาจเห็นเป็นหงอนสั้น
ๆ ลำ�ตัวด้านบนสีเข้ม ด้านล่างสีจางกว่า มีจุด
สีขาวกระจายอยู่ตามท้ายทอย ปีก และท้อง
หางยาวปลายมน มีแถบสีจาง และแถบสีเข้ม
อย่างละ 2 แถบขนาดเท่ากันเรียงสลับกัน
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบค่อนข้างบ่อย

เหยี ่ยวผึ้ง Oriental Honey-buzzard


Pernis ptilorhynchus
55-65
เป็นเหยี่ยวขนาดใหญ่ ปากหนาสั้นสีดำ� ปลาย
ปากบนงองุ้ม ปาก และหัวมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ
เหยี่ยวชนิดอื่น ๆ มีหงอนสั้นที่ท้ายทอย หางยาว
ปลายมนสีจางมีแถบคาดสีดำ�แคบ 3 แถบ แถบคาด
2 แถบปลายหางอยู่ห่างกันกว่าแถบอื่น เหยี่ยวชนิด
นี้มีชุดขนได้หลายแบบ
เป็นนกอพยพ พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


36
��������� 6.indd 36 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Accipitridae

เหยี ่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น Japanese Sparrowhawk


Tachyspiza gularis
25-31
เป็นนกขนาดกลาง มีขนาดเล็กเมือ่ เทียบ
กับเหยี่ยวชนิดอื่น ด้านหลังมีสีเทาเกือบดำ�
ท้องมีสีน้ำ�ตาลแดง และมีลายสีน�้ำ ตาลแดง
ตามขวาง มีหรือไม่มีลายเส้นใต้คอ หางเป็น
รูปพัดมีแถบดำ�ตามขวาง ขณะอพยพมักบิน
รวมกันเป็นฝูง
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

เหยี่ยวทุ่งพันธุ์เอเชียตะวันออก Eastern Marsh Harrier 48-56


Circus spilonotus
เป็นเหยี่ยวขนาดใหญ่ ขนบริเวณลำ�ตัว
สีน้ำ�ตาลเข้ม ปีกมีขอบขนเป็นสีน�้ำ ตาลอ่อน
ในเพศผูจ้ ะมีสนี �้ำ ตาลดำ�คล้�ำ กว่าเพศเมีย ขน
ปลายปีกแยกออกเป็นแฉกมีลายตามขวางสี
น้�ำ ตาลเข้ม ปีกกว้าง และยาว หางยาวปลาย
ตัด ขณะบินจะเห็นหัวยืน่ ยาวออกมามากกว่า
เหยี่ยวชนิดอื่น ๆ บริเวณหัว และด้านหลัง
ของคอเป็นลายขีดสีน้ำ�ตาลเข้ม เพศเมียมี
ลายขวางสีน้ำ�ตาลเข้มสลับกับสีครีมที่หาง
มักร่อนหากินอยู่ใกล้แหล่งน้ำ�
เป็นนกอพยพ พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


37
��������� 6.indd 37 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Accipitridae

เหยี ่ยวดำ�ใหญ่, เหยี่ยวหูดำ� Black-eared Kite


Milvus lineatus
61-66
เป็นเหยี่ยวขนาดใหญ่ จะงอยปากหนา
แหลมคม ปลายปากบนงุ้มลง ขนลำ�ดัวสี
น้ำ�ตาลเข้ม ลักษณะเด่น คือ โคนปาก ใต้คาง
สีออกขาว แข้ง และตีนสีเทา ขณะบินจะเห็น
ปลายปีกมีแถบกว้างสีขาวตัดกับขนปลายปีก
สีเข้ม ท้องสีน้ำ�ตาล ใต้หางมีลายขีดเส้นเล็ก
หลายขีด ปลายหางตัดตรงหรือบางครั้งเว้า
เข้าเล็กน้อย พบได้บริเวณพื้นที่เปิดโล่ง ใกล้
พื้นที่ชุ่มน้ำ� จับสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร
เป็นนกอพยพ พบบ่อยบางพื้นที่

วัยอ่อน

นกออก White-Bellied Sea Eagle 70-85


Haliaeetus leucogaster
เป็นนกในกลุ่มนกอินทรีที่มีขนาดใหญ่ ตัวเต็มวัย
ลำ�ตัวด้านหลังมีสีเทาดำ� หัว ท้อง และลำ�ตัวมีสีขาว
หางเป็นรูปใบหอกมีสีขาว และมีแถบดำ�บริเวณโคน
หาง สำ�หรับตัวที่ยังไม่เต็มวัยมีสีน้ำ�ตาล ปีกมีขนาด
ยาวปลายขนแยกเป็ นช่ อ ง มั ก บิ นร่ อ นอยู่ เดี่ ย ว ๆ
หรือเป็นคู่เพื่อหาปลาตามชายฝั่งทะเล ในทะเล และ
ตามหมู่เกาะ
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบไม่บ่อย ปัจจุบันมีจำ�นวน
ลดลง

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


38
��������� 6.indd 38 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Pandionidae l วงศ์ Strigidae

เหยี่ยวออสเปร Osprey 55-63


Pandion haliaetus
เป็นเหยี่ยวขนาดใหญ่ ปากหนาสั้นสีดำ�
ปลายปากบนงองุ้ม ปลายปากสีเข้ม หัว
สีขาวมีหงอนสั้นที่ท้ายทอย มีแถบคาดตา
สีน้ำ�ตาลเข้มจนถึงท้ายทอย ต่อกับแถบสี
น้ำ�ตาลเข้มด้านหลังคอ ลำ�ตัวด้านบน และ
ปีกสีน้ำ�ตาลเข้ม ด้านล่างของลำ�ตัวสีขาว
อกมีแถบสีน้ำ�ตาลจางๆ หางยาวปลายมน
ใต้หางสีขาวมีแถบสีเข้มบาง ๆ คาด จำ�นวน
หลายแถบ
เป็นนกอพยพ พบไม่บ่อย

นกเค้ าหูยาวเล็ก Oriental Scops Owl


Otus sunia
19
เป็ น นกขนาดกลาง ปลายหู สั้ น ตา
เหลื อ ง จะงอยปากดำ � ขนลำ � ตั ว อาจมี สี
น้ำ�ตาลอมแดง หรือนำ�้ตาลอมเทา อก และ
ท้องมีขดี สีด�ำ สัน้ ๆ คล้ายเส้นประ เห็นได้คอ่ น
ข้างชัดเจน ปลายปีกเท่ากับปลายหาง เวลา
ยืน ขนคลุมโคนขา และขนคลุมใต้โคนหางสี
ขาว นิว้ สีเหลืองอมน้�ำ ตาล แหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัย
ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็ง
รัง และป่าชายหาด
เป็นนกประจำ�ถิ่น และนกอพยพ พบ
ไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


39
��������� 6.indd 39 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Strigidae

นกเค้าจุด Spotted Owlet 20-2.5


Athene brama
เป็นนกขนาดกลาง ลักษณะของใบหน้าเหมือนใส่
หน้ากากสีขาว ตัดกับม่านตาสีเหลืองปากเหลือง สี
พื้นหัว และด้านหลังเป็นสีดำ�อมเทา มีจุดกระจายอยู่
ทั่ว หน้าอกมีริ้วสีเทา ขนคลุมแข้งยาวคลุมถึงโคนนิ้ว
นิ้วสีเหลือง เล็บสีด�ำ ตัววัยเด็ก สีพื้นด้านหลังโดยรวม
เป็นสีดำ�อมน้ำ�ตาล บนหัวมีจุดสีขาวไม่มากนัก ขนคิ้ว
และขนภายในรูปเค้าหน้าเป็นสีขาว ปากสีเหลืองอม
เขียว ขนหน้าอกสีด�ำ ขนคลุมใต้โคนหางสีขาว สามารถ
อาศัยอยู่ได้เกือบทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นป่า โพรงไม้ โพรง
ถ้ำ� หน้าผา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะอาศัยอยู่ตามชุมชนที่มี
ตันไม้ใหญ่ในพื้นที่ เช่น โพรงต้นจามจุรี ต้นโพธิ์ โดยจะ
อาศัยอยู่กันเป็นคู่ ๆ
เป็นนกประจำ�ถิ่นที่มีปริมาณค่อนข้างมาก พบเห็น
ได้บ่อย

นกเค้ ากู่, นกฮูก Collared Scops Owl


Otus lettia
23
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวสีน�้ำ ตาล ด้านท้อง
สีเนือ้ แกมเทาจาง ๆ มีขดี ลายดำ�บาง แต่บริเวณ
ท้องไม่มีลายขีด ตาสีน้ำ�ตาลแดงเข้ม รอบคอสี
น้ำ�ตาลแกมเหลือง หน้าผาก และคิ้วสีนำ้�ตาล
อ่อน เสียงร้องคล้ายคนกู่ร้อง “ปู้ว” หรือ “วู้”
พบทั่วไปตามป่าดิบ ป่าโปร่ง สวนผลไม้ สวน
สาธารณะ จนถึงความสูง 2,200 เมตร
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


40
��������� 6.indd 40 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Strigidae l วงศ์ Bucerotidae

นกเค้าโมง, นกเค้าแมว Asian Barred Owlet 20.5-23


Glaucidium cuculoides
เป็ น นกขนาดกลาง สี โ ดยรวมเป็ น สี น้ำ � ตาล
และน้ำ�ตาลเข้ม หัว และลำ�ตัวด้านบนมีลายขวาง
สีน้ำ�ตาลอ่อนชัดเจน อกและสีข้างมีลายน้ำ�ตาล
แดงคล้ำ� ท้องขาว ขนคลุมแข้งยาวคลุมลงไปถึง
โคนนิ้ว นิ้วตีนสีเหลือง เล็บสีดำ� ดวงตาค่อนข้าง
เล็กเมื่อเทียบกับส่วนหัว นิ้วคู่ต่าง แบ่งออกเป็น
หน้า 2 หลัง 2 นกวัยเด็ก สีโดยรวมเป็นสีน้ำ�ตาล
คิ้วแคบสั้น บนหัว หน้าอก หลังมีจุดสีน�้ำ ตาลอ่อน
ขนคลุมไหล่สีขาวค่อนข้างกว้าง ช่วงกลางท้องมี
ริ้วสีน้ำ�ตาล นิ้วสีเหลืองอมเขียว แหล่งที่อยู่อาศัย
พื้นที่เกษตรกรรม ไร่ร้าง ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ
ป่าดิบแล้ง ป่าสวนสาธารณะ
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบเห็นได้ค่อนข้างบ่อย

นกแก๊ ก Oriental Pied Hornbill


Anthracoceros albirostris
70
เป็ น นกขนาดใหญ่ จั ด เป็ น นกเงื อ กที่ มี
ขนาดเล็กที่สุดที่พบในประเทศ ลำ�ตัวด้านบน
คอ และหางสีดำ� ลำ�ตัวด้านล่างตั้งแต่อกส่วน
ล่างลงไปสีขาว หนังรอบตาและมุมปากสีขาว
โหนกเหนือปาก และปากสีเหลืองอ่อน ใต้ปีก
สีดำ�มีขอบปลายปีกสีขาว เพศเมียโหนกขนาด
เล็กกว่า มีแต้มสีดำ�ที่โหนก และปลายปาก
ร้องเสียง “แก๊ก แก๊ก” พบในป่าดิบและป่าผลัด
ใบ บางครั้งพบในเกาะกลางทะเล
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบค่อนข้างบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


41
��������� 6.indd 41 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Upupidae l วงศ์ Meropidae

นกกะรางหั
Upupa epops
วขวาน Common Hoopoe 30
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวเรียว บริเวณ
หัวมีหงอน เมื่อตกใจขนบริเวณหงอนจะแผ่
ออกทำ � ให้ ม องคล้ า ยขนประดั บ ศี ร ษะของ
อินเดียนแดง สีบริเวณหัว คอ และท้องมีสี
น้ำ � ตาล ลำ � ตั ว ด้ า นหลั ง มี แ ถบตามขวางดำ �
สลับขาวไปจนถึงส่วนหาง ปากเรียวยาว และ
โค้งลงเหมาะสำ�หรับกินหนอน และแมลงตาม
เปลือกไม้ หากินลำ�พัง มักพบบริเวณที่โล่งป่า
โปร่งไปจนถึงป่าเบญจพรรณ ถึงป่าดิบ ทำ�รัง
อยู่ในโพรงไม้
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

นกจาบคาเล็
Merops orientalis
ก Little Green Bee-eater 19-20
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวมีสีเขียวมะกอก
คอสีฟ้าอมเขียว มีลายเส้นสีดำ�พาดบริเวณ
คอ อกและท้องสีเขียวอ่อน หัวสีน้ำ�ตาล หาง
คู่กลางมีเส้นขนเรียวยาวยื่นพ้นออกมาจาก
ขนหางคู่อื่น ปากเรียวแหลมโค้งลงเล็กน้อย
มักอยู่รวมกันเป็นฝูงหรือบินหากินตามลำ�พัง
กินแมลงเป็นอาหาร
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


42
��������� 6.indd 42 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Meropidae

นกจาบคาหั วสีส้ม Chestnut-headed Bee-eater


Merops leschenaulti
21-22.5
เป็นนกขนาดกลาง ลักษณะคล้ายนก
จาบคาคอสีฟ้า เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะ
คล้ายกัน ส่วนหัวและหลังตอนบนสีน�้ำ ตาล
แดง มีแถบคาดตาสีด�ำ คางสีเหลือง มีแถบ
สีส้มดำ�บริเวณคอ ปีกสีเขียว ลำ�ตัวด้านล่าง
สีเขียว ตะโพกสีฟ้าสด หางสีเขียว ไม่มีขน
หางคู่กลางยื่นยาว จะงอยปากยาวบางสีด�ำ
ปลายโค้งเล็กน้อย
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

นกจาบคาคอสี
Merops viridis
ฟ้า Blue-throated Bee-eater 22.5-23.5
เป็นนกขนาดกลาง เพศผู้ และเพศเมียมี
ลักษณะคล้ายกัน ส่วนหัว และหลังตอนบนสี
น้�ำ ตาลเข้ม มีแถบคาดตาสีด�ำ คอสีฟา้ ตามชือ่
ปีกสีเขียว ลำ�ตัวด้านล่างสีเขียว ตะโพก และ
หางสีฟ้าสด ขนหางคู่กลางยื่นยาว จะงอย
ปากยาวบางสีดำ� ปลายโค้งเล็กน้อย
เป็นนกอพยพ (ภาคกลาง และภาคตะวัน
ออกบางส่วน) และนกประจำ�ถิน่ (ภาคใต้และ
ภาคตะวันออกบางส่วน) พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


43
��������� 6.indd 43 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Meropidae l วงศ์ Coraciidae

นกจาบคาหั วเขียว Blue-tailed Bee-eater


Merops philippinus
23-24
เป็นนกขนาดกลาง ลักษณะคล้ายนก
จาบคาคอสีฟา้ เพศผู้ และเพศเมียมีลกั ษณะ
คล้ายกัน ส่วนหัว และหลังสีเขียว มีแถบ
คาดตาสีดำ� คางตอนล่างถึงคอสีส้มแดง
ปีกสีเขียว ลำ�ตัวด้านล่างสีเขียว ตะโพกสีฟา้
เข้ม หางสีฟ้า มีขนหางคู่กลางยื่นยาวสีฟ้า
จะงอยปากยาวบางสีด�ำ ปลายโค้งเล็กน้อย
เป็นนกประจำ�ถิ่น นกอพยพ นกอพยพ
ผ่าน และนกอพยพมาทำ�รังวางไข่ พบบ่อย

นกตะขาบดง Oriental Dollarbird


Eurystomus orientalis
30
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวสีน�้ำ เงินเกือบดำ� เหลือบ
ม่วงเวลาโดนแสง หัวสีน้ำ�ตาลเข้ม จะงอยปากหนาสี
ส้มแดงปลายงองุม้ ลง ม่านตาสีเหลือง เวลาบินปลาย
ปีมีแต้มขาวกลมทั้งสองข้าง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


44
��������� 6.indd 44 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Alcedinidae

นกกะเต็ นน้อยธรรมดา Common Kingfisher


Alcedo atthis
16-18
เป็นนกขนาดกลาง เมื่อเทียบกับกลุ่ม
นกกะเต็นจะเป็นนกขนาดเล็ก โดยทั่วไปมี
ลักษณะทีเ่ ด่น คือ ปากยาวใหญ่ หัวโต คอสัน้
สีสดใส นกชนิดนี้มีด้านหลังสีฟ้า หัวและปีก
สีน้ำ�เงิน ขนคลุมหูสีน�้ำ ตาลแดง และมีแถบ
สีขาวข้างหู คอขาว อก และท้องสีน้ำ�ตาล
แดง จะงอยปากสีด�ำ เป็นเพศผู้ หากเป็นเพศ
เมียจะงอยปากล่างสีออกแดง มักหากินตาม
ลำ�พัง เกาะตามต้นไม้ใกล้แหล่งน้ำ�เพื่อจ้อง
หาเหยื่อในน้ำ�
เป็นนกอพยพ พบบ่อยมาก

นกกะเต็ นอกขาว White-breasted Kingfisher


Halcyon smyrnensis
27-29.5
เป็นนกขนาดกลาง นกชนิดนี้มีลักษณะ
ที่เด่นชัดต่างจากนกกะเต็นชนิดอื่น ๆ คือ
บริเวณคอและอกมีสีขาว หัวและท้องมีสี
น้ำ�ตาลแดง หลังสีฟ้า ปีกสีน้ำ�เงินเข้ม หัว
ไหล่มีแถบสีน้ำ�ตาลแดงสลับสีดำ� มักหากิน
ตามลำ�พัง ร้องเสียงดังแก๊ก ๆ จะงอยปาก
สีส้มแดง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


45
��������� 6.indd 45 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Alcedinidae

นกกะเต็ นหัวดำ� Black-capped Kingfisher


Halcyon pileata
29-31.5
นกกะเต็นชนิดนี้มีขนาดใหญ่กว่านกกะเต็น
อกขาวเล็กน้อย ลักษณะเด่นชัดที่ต่างจากนก
กระเต็นชนิดอื่น ๆ คือ มีหัวสีดำ�รอบคอสีขาว
ด้านหลัง และปีกมีสีน้ำ�เงินเข้ม เฉพาะบริเวณ
หัวปีกมีสีด�ำ ปากสีส้มแดง มักหากินใกล้แหล่ง
น้ำ� ทุ่งนา สวน ตามชายทะเล หากินตามลำ�พัง
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

นกกิ นเปี้ยว Collared Kingfisher


Todiramphus chloris
24-26
เป็นนกขนาดกลาง ด้านหลังมีสีฟ้าน้ำ�ทะเลสดใส
บริเวณคอมีแถบสีขาว อก และท้องมีแถบสีขาวเช่น
เดียวกัน จะงอยปากบนมีสีดำ� ปากล่างสีเนื้อ ร้อง
เสียงดังและถี่ แก๊ก ๆ ๆ โดยเฉพาะเวลาบิน มักหากิน
ลำ�พังหรือเป็นคู่ พบบริเวณชายทะเลป่าโกงกางจนถึง
ลึกเข้ามาในสวน และแม่น้ำ�
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


46
��������� 6.indd 46 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Megalaimidae l วงศ์ Falconidae

นกโพระดกธรรมดา
Psilopogon lineatus
Lineated Barbet 27-28
เป็นนกขนาดกลาง กลุ่มนกโพระดก
เป็นนกที่ลำ�ตัวสีเขียว ทำ�รังในโพรงไม้ นก
โพระดกธรรมดามีหัวสีเหลืองอ่อน มีลาย
เกล็ดน้ำ�ตาล ท้องลายสีเขียว หลัง และปีก
สีเขียว ปากหนามีขนาดใหญ่สีเหลืองส้ม
อาศัยในทุ่งโล่ง ป่าผลัดใบ มักส่งเสียงร้อง
โป๊ก ๆ เป็นจังหวะถี่ ๆ
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

เหยี ่ยวเพเรกริน Peregrine Falcon


Falco peregrinus
38-48
เป็นเหยี่ยวขนาดกลาง ปีกแหลมบิน
ได้เร็วเป็น ผู้ล่าเหยื่ อ แม้ ก ระทั่ ง นกด้ ว ยกั น
บริเวณหัว และด้านหลังมีสีเทาเข้ม ด้าน
บนลำ � ตั ว ขอบขนมี สี เ ทา บริ เ วณตามี ปื้ น
สีดำ�ยาวลงมาคล้ายกับสวมหน้ากากสีดำ�
ท้อง และหางมีสีนวลมีลายแถบตามขวาง
มั ก หากิ น เป็ น คู่ ห รื อ ตามลำ � พั ง อยู่ ต ามป่ า
และชายทะเล
เป็นนกอพยพ พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


47
��������� 6.indd 47 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Psittacidae

นกกะลิง, นกกะแล Grey-headed Parakeet 36-46


Psittacula finschii
เป็นกลุ่มนกแก้วขนาดกลางที่มีหางยาว
ปลายหางสีเหลือง ปากสีแดง หัวเทา นกวัย
อ่อนหัวสีจางกว่า และปากล่างสีเหลือง ถิ่น
ที่อยู่อาศัย ป่าผลัดใบ ป่าโปร่ง บางครั้งพบ
ในพื้นที่เกษตรกรรม
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบได้ในภาคเหนือ
หรือนกหลุดจากกรง พบไม่บ่อย

นกแก้วโม่ง Alexandrine Parakeet 51


Psittacula eupatria
เป็นกลุ่มนกแก้วขนาดกลาง หัว ลำ�ตัว
และปีกส่วนใหญ่สีเขียว หัวโต ปากหนาสี
แดง ปากด้านบนงุ้มลง มีแถบสีแดงบริเวณ
หัวไหล่ ตัวผู้มีแถบสีดำ�รอบคอด้านหน้าต่อ
กับแถบสีชมพูรอบคอด้านหลัง ตัวเมียไม่มี
แถบรอบคอ หางยาวกว่าลำ�ตัว โคนหางสี
เขียวปนฟ้า ปลายหางสีเหลือง
เป็นนกประจำ�ถิ่น

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


48
��������� 6.indd 48 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Pittidae l วงศ์ Oriolidae

นกแต้วแล้วนางฟ้า Fairy Pitta 16-19.5


Pitta nympha
เป็นนกขนาดกลาง หัวมีขนาดใกล้เคียง
กับลำ�ตัว คอสั้นหนา ทำ�ให้รูปร่างโดยรวม
มีลักษณะกลมรี ปากหนาสั้น ขายาว หัวมี
แถบดำ�คาดตาถึงท้ายทอย คิว้ ยาวสีขาวแกม
น้ำ�ตาล ตัดกับสีน้ำ�ตาลบริเวณด้านบนของ
หัว ปีกสีเขียว มีแถบสั้นสีฟ้าอ่อนบริเวณ
โคนปีก ท้องสีขาวแกมเหลือง ท้องด้านล่าง
และก้นสีแดง
เป็นอพยพผ่าน หายาก

นกขมิ ้นท้ายทอยดำ� Black-naped Oriole


Oriolus chinensis
24.5-27.5
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวสีเหลืองสด
จะงอยปากหนาสีชมพูอมส้ม ตาสีแดง มี
แถบคาดตากว้างสีด�ำ บรรจบกันทีท่ า้ ยทอย
ปลายปีก และโคนหางสีดำ� ตัวเมีย หลัง
และปีกสีเหลืองอมเขียว พบทั่วไปตามชาย
ป่า ป่าโปร่ง สวนสาธารณะ ป่าชายเลน พบ
ได้ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนจนถึงเดือน
พฤษภาคม
เป็นนกอพยพ พบบ่อยมาก และนก
ประจำ�ถิ่น พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


49
��������� 6.indd 49 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Pachycephalidae l วงศ์ Campephagidae

นกโกงกางหั วโต Mangrove Whistler


Pachycephala cinerea
15.5-17
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวบริเวณหลัง และหางมี
สีน้ำ�ตาล หัวมีสีน้ำ�ตาลอมเทา จะงอยปากหนาสีดำ�
บริเวณคอสีขาว อกมีแถบสีเทาจาง ๆ ท้องสีขาว นก
ชนิดนีม้ จี ดุ เด่นคือ จะร้องเสียงดังชัด 5 พยางค์ ทวี ทวี
ทวี ทวี วิ๊ด มักพบตามป่าโกงกางและตามเกาะต่าง ๆ
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบไม่บ่อย

นกพญาไฟสีเทา Ashy Minivet 18.5-20


Pericrocotus divaricatus
เป็นนกขนาดกลาง เพศผู้หลังถึงสะโพก
สีเทาเข้ม หัว และท้ายทอยสีดำ� หน้าผากขาว
ท้องขาว ปีก และหางดำ� จะงอยปากเล็กสั้น
สีดำ� ขาสั้น เล็ก สีดำ� เพศเมีย หัว ท้ายทอย
หลัง สะโพกสีเทาเข้ม เหนือจะงอยปาก และ
ดวงตามีเส้นขีดขาวบาง ๆ คอ อก ก้นสีขาว มี
สีเทาปนเล็กน้อย ปีก และหางสีเทาเข้มถึงดำ�
สามารถพบได้ตามป่าโปร่ง ชายป่า
เป็นนกอพยพ พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


50
��������� 6.indd 50 10/3/2563 BE 10:29
วงศ์ Campephagidae l วงศ์ Artamidae

นกเฉี ่ยวบุ้งใหญ่ Black-winged Cuckooshrike


Lalage melaschistos
21.5-25.5
เป็นนกขนาดกลาง ตัวผู้ และตัวเมียมีลักษณะต่าง
กันโดยตัวผู้มีปีกสีดำ� ลำ�ตัวด้านบนสีเทา ตะโพกจะมีสี
อ่อนกว่าหลัง ท้องตอนล่างมีสขี าวไปจนจรดก้น ขนหาง
สีดำ� แต่ถ้าหากสังเกตหางทางด้านล่างจะเห็นหางซ้อน
กันเป็นชัน้ สีด�ำ ปลายสีขาว ส่วนตัวเมียมีขอบตาบน และ
ล่างสีขาว มีลายดำ�ขวางบริเวณหน้าและด้านล่างลำ�ตัว
(มีความผันแปรอาจสังเกตได้ง่ายไปจนถึงยาก) อาหาร
ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (แมลง)
เป็นนกประจำ�ถิ่นทางตอนบนของประเทศไทยแต่
จะอพยพลงมาในช่วงฤดูหนาว ทำ�ให้สามารถพบได้ทุก
ภาคยกเว้นภาคใต้

นกแอ่นพง Ashy Woodswallow 16-18


Artamus fuscus
เป็นนกขนาดกลาง ลักษณะเด่น คือ
ปากหนาสีเทาแกมฟ้า หัว หลัง และปีกสี
เทาอาจมีสีน้ำ�ตาลปน บริเวณตาจนถึงโคน
ปากสีเข้ม ส่วนอก และท้องสีน้ำ�ตาล ก้นสี
จางหรือออกขาว ชอบเกาะตามสายไฟหรือ
กิ่งไม้แห้ง โดยมักขยับตัวมาเกาะเรียงติด
กันเป็นแถว บางครั้งก็จะบินออกจากกลุ่ม
แล้วกลับมาเกาะเข้ากลุ่มเหมือนเดิม ขณะ
บินปีกจะกางออกเป็นรูปสามเหลี่ยม กิน
แมลงเป็นอาหาร หรือ น้�ำ หวานจากดอกไม้
พบง่ายตามที่โล่ง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


51
��������� 6.indd 51 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Aegithinidae l วงศ์ Rhipiduridae

นกขมิ ้นน้อยธรรมดา Common Iora


Aegithina tiphia
12-14.5
เป็นนกขนาดเล็ก มีหัว หลัง และหางสีเขียว
มะกอก คอ อก และท้องสีเหลืองสด บริเวณปีกมีลาย
แถบสีขาว 2 แถบ ขณะทีเ่ พศเมียจะมีสไี ม่สดใสเท่าใน
เพศผู้ มักหากินเป็นคู่หรือลำ�พังตัวเดียว กินหนอน
ตามต้นไม้ พบในสวน ในป่าโกงกาง และป่าโปร่ง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

นกอี แพรดแถบอกดำ� Malaysian Pied-Fantail


Leucocirca javanica
17.5-19.5
เป็นนกขนาดกลาง บริเวณลำ�ตัวด้าน
หลังสีดำ�ตั้งแต่หัว ตัวไปจนถึงหาง คอ และ
ท้องมีสีขาว อกมีสีดำ� ขณะเกาะกิ่งไม้หรือ
ตามพื้นมักจะกางขนหางสีดำ�มีปลายหางสี
ขาว หางสามารถคลี่ออกได้คล้ายพัด จึงได้
ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า นกหางพัด หากินทั่วไป
ตามบ้านเรือน สวน และตามป่าชายเลน
ทำ�รังเป็นรูปถ้วยขนาดเล็กทำ�จากหญ้าแห้ง
สานด้วยเอาใยแมงมุม
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


52
��������� 6.indd 52 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Dicruridae

นกแซงแซวหางปลา Black Drongo 27-28.5


Edolius macrocercus
เป็นนกขนาดกลาง มีสีดำ�เป็นมันตลอดตัว หาง
เป็นแฉกคล้ายหางปลา มักเกาะตามกิ่งไม้แห้ง คอย
โฉบจับแมลงเป็นอาหารกลางอากาศ แล้วกลับมา
เกาะที่เดิม พบตามท้องนา ในเมือง และตามที่โล่ง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

นกแซงแซวปากกา Crow-billed Drongo 27-32


Dicrurus annectens
เป็นนกขนาดกลาง ทุกส่วนสีดำ� หางยาวใกล้
เคียงกับขนาดลำ�ตัว ปากหนา ใหญ่กว่าแซงแซวชนิด
อื่น ปลายหางแยกเป็นสองแฉกคล้ายกับแซงแซว
หางปลา
เป็นนกอพยพผ่าน พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


53
��������� 6.indd 53 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Dicruridae

นกแซงแซวสี เทา Ashy Drongo


Edolius leucophaeus
25.5-29

E.l. leucogenis E.l. mouhoti


เป็นนกขนาดกลาง มีลักษณะคล้ายนกแซงแซวหางปลา แต่สีของนกชนิดนี้มีสีเทา หรือเทาดำ� ใน
ประเทศไทยสามารถพบชนิดย่อยได้ถึง 5 ชนิด แต่บนเกาะแสมสารสามารถพบได้ถึง 3 ชนิดย่อย คือ ชนิด
ย่อย leucogenis สีล�ำ ตัวจางทีส่ ดุ เห็นสีขาวทีแ่ ก้ม และรอบตาชัดเจน ชนิดย่อย salangensis สีล�ำ ตัวเข้ม
กว่าเล็กน้อย มีสีขาวที่แก้มน้อยกว่า และชนิดย่อย mouhoti สีล�ำ ตัวเข้มพอ ๆ กับชนิดย่อย salangensis
หรือเข้มมากกว่าเล็กน้อย ไม่มสี ขี าวทีแ่ ก้ม และรอบตา พบบินโฉบกินแมลงตามชายป่า และป่าทุกประเภท
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

นกแซงแซวหงอนขน Hair-crested Drongo 29-33


Dicrurus hottentottus
นกแซงแซวหงอนขนมี ข นาดไล่ เ ลี่ ย กั น กั บ
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกชนิดนี้มีลักษณะเด่นคือ
หางใหญ่ และขอบปลายหางบิดเข้าหาด้านกลางหาง
บริเวณหัวมีเส้นขนเป็นเส้นขนาดเล็กยืน่ ออกมาแต่มกั
มองไม่ค่อยเห็น หากินตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ
และตามสวน
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


54
��������� 6.indd 54 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Dicruridae l วงศ์ Monarchidae

นกแซงแซวหางบ่
Dicrurus paradiseus
วงใหญ่ Greater Racket-tailed Drongo 33-35
เป็นนกขนาดกลาง มีลักษณะเด่นคือปลายหางด้าน
นอก มีขนหางยาวยื่นออกมา 1 คู่ ใบขนที่ยื่นออกมาไม่
สมมาตรกัน และจะบิดเล็กน้อย บริเวณฐานโคนปากมีขน
หงอนยื่นออกมา มักพบหากินตามลำ�พัง หรือเป็นคู่ตาม
ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ตามสวน
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

นกจั บแมลงจุกดำ� Black-naped Monarch


Hypothymis azurea
16-17.5
เป็นนกขนาดกลาง เพศผู้ลำ�ตัวด้านบน และ
ปากสี ฟ้ า เข้ ม คอและอกด้ า นบนสี ฟ้ า ส่ ว นอก
ตอนล่างและก้นสีขาว อกมีแถบคาดแคบ ๆ สีดำ�
ท้ายทอยมีหงอนดำ�สั้น เพศเมีย สีฟ้าหม่น ลำ�ตัว
ด้านบนสีเทาอมน้�ำ ตาล ไม่มแี ถบคาดอก พบได้ตาม
ป่าดิบ ป่าโปร่ง และป่าชายเลน
เป็นนกประจำ�ถิ่น และอพยพ พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


55
��������� 6.indd 55 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Monarchidae

นกแซวสวรรค์ หางดำ� Japanese Paradise-flycatcher


Terpsiphone atrocaudata
16-18.5
เป็นนกขนาด นกขนาดกลาง ปากหนาสั้นสีฟ้า
หัวมีหงอนสั้น รอบตามีวงตาสีฟ้า ตัวผู้ลำ�ตัวส่วน
ใหญ่สีดำ�เหลือบม่วง ยกเว้นส่วนท้อง และก้นสีขาว
ขนหางคู่กลางยาวกว่าความยาวทั้งหมดของตัว ตัว
เมีย หัว อก และคอสีออกเทา ปีก และหางสีน�้ำ ตาล
ขนหางคู่กลางไม่ยาว
เป็นนกอพยพผ่าน หายาก

นกแซวสวรรค์
Terpsiphone affinis
Blyth’s Paradise-flycatcher 17.5-20
เป็นนกขนาดกลาง ปากหนาสั้นสีฟ้า หัวมี
หงอนสั้น รอบตามีวงตาสีฟ้า ตัวผู้ส่วนหัวสีดำ�
ปีก ตะโพก และหางสีน้ำ�ตาล บริเวณคาง และ
อกสีดำ�ต่อเนื่องกัน ท้องส่วนล่างสีขาว ขนหาง
คู่กลางยาวกว่าความยาวทั้งหมดของตัว ตัวเมีย
หัว และคอสีดำ�จางกว่า ปีกและหางสีน้ำ�ตาล ขน
หางคู่กลางไม่ยาว
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


56
��������� 6.indd 56 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Monarchidae l วงศ์ Laniidae

นกแซวสวรรค์
Terpsiphone incei
หัวดำ� Amur Paradise-flycatcher 19.5-23.5
เป็นนกขนาดกลาง นกชนิดนีม้ จี ดุ เด่นทีเ่ พศผู้
จะมีขนหางคู่กลางยาวมาก โดยปรกติจะพบสอง
ลักษณะ คือ ลำ�ตัวสีน้ำ�ตาล และสีขาว แต่ส่วน
ใหญ่มักจะพบตัวสีน�้ำ ตาลได้บ่อยกว่า บริเวณหัว
และใบหน้ามีสีเทา บริเวณอกมีสีเทาจาง ๆ ท้อง
สีนวล เพศเมียสีคล้ายเพศผู้ แต่ขนหางคู่กลาง
จะไม่ยาวยื่นออกมาเหมือนเพศผู้ พบตามป่าดิบ
เขา ป่าเบญจพรรณ ป่าโกงกาง และตามสวน
บ้านเรือน
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

นกอี เสือลายเสือ Tiger Shrike


Lanius tigrinus
17-18.5
เป็นนกขนาดกลาง นกในกลุม่ นีจ้ ะงอยปาก
หนาแข็งแรง ปลายปากบนงุม้ ลงเหมาะสำ�หรับ
ล่าสัตว์อนื่ หัวโตคอสัน้ มีแถบดำ�หรือสีคล้�ำ พาด
ผ่านตา หน้าผาก หัว ท้ายทอย และหลังด้านบน
สีเทา หลัง ปีก และหางสีน้ำ�ตาล ไม่มีจุดขาว
ที่ปีก ลักษณะพิเศษ คือ มีลายเกล็ดที่ปีกหรือ
สีข้าง นกวัยอ่อนหรือนอกฤดูผสมพันธุ์หัวอาจ
มีสีน้ำ�ตาล โฉบจับแมลง หรือล่าสัตว์ขนาดเล็ก
กินเป็นอาหาร มักพบเกาะอยูต่ ามทีโ่ ล่งใต้พมุ่ ไม้
เป็นนกอพยพผ่าน พบค่อนข้างบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


57
��������� 6.indd 57 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Laniidae l วงศ์ Corvidae

นกอี เสือสีน�้ำ ตาล Brown Shrike


Lanius cristatus
19-20
เป็นนกขนาดกลาง นกในกลุ่มนี้จะงอย
ปากหนาแข็งแรง ปลายโค้ง หัวโตคออ้วนสัน้
มีแถบดำ�พาดผ่านตา ลักษณะพิเศษต่างจาก
อีเสือชนิดอื่น คือ มีคิ้วสีขาวเห็นได้ชัดเจน
ไม่มีจุดสีขาวที่ปีก หัว ท้ายทอย และหลังสี
น้ำ�ตาล ตัวเมีย และวัยอ่อนอาจมีลายเกล็ด
โฉบจับแมลง หรือล่าสัตว์ขนาดเล็กกินเป็น
อาหาร มักนำ�เหยื่อไปเกี่ยวไว้ตามกิ่งไม้หรือ
หนามแหลมเพื่อย้อนกลับมากินภายหลัง
มักพบเกาะบนยอดไม้ หรือกิ่งไม้ บริเวณที่
โล่ง หรือตามสวน
เป็นนกอพยพ พบบ่อยมาก

นกกาแวน
Crypsirina temia
Black Racket-tailed Treepie 37-40.5
เป็นนกที่มีสีดำ�ล้วนคล้ายนกแซงแซว
และขนาดใกล้เคียงกัน ลักษณะเด่นที่แตก
ต่างจากนกแซงแซว คือ ลักษณะปลายหาง
ของนกกาแวน จะมีปลายหางแผ่ออกคล้าย
ใบพาย และตามีสีฟ้า กินแมลงเป็นอาหาร
อาศัยตามป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


58
��������� 6.indd 58 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Carvidae l วงศ์ Cisticolidae

อีCorvus
กา levaillantii
Eastern Jungle Crow 48-59
เป็ น นกขนาดใหญ่ ลำ � ตั ว มี สี ดำ � สนิ ท
จะงอยปากใหญ่หนา เป็นนกที่ฉลาดมีการ
เรียนรูง้ า่ ย ๆ ได้ กินอาหารได้หลากหลายชนิด
ล่านกชนิดอื่น และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร
ขณะนอนมักกลับมานอนรวมกันเป็นฝูง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

นกกระจิ บหญ้าสีเรียบ Plain Prinia


Prinia inornata
13.5-15
เป็นนกขนาดเล็ก ตัวสีน้ำ�ตาล บริเวณ
ด้านหลังจะมีสเี ข้มกว่าด้านท้อง ลักษณะเด่น
คือ มีหางยาว ขนหางยาวไม่เท่ากันโดยมีขน
คู่กลางยาวมากที่สุดแล้วไล่ขึ้นไป ปลายขน
หางด้านในมีสขี าว มีควิ้ สีขาว พบหากินทัว่ ไป
ใกล้แหล่งน้ำ�หรือตามป่าชายเลน
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


59
��������� 6.indd 59 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Cisticolidae

นกกระจิ บคอดำ� Dark-necked Tailorbird


Orthotomus atrogularis
10.5-12
เป็ น นกขนาดเล็ ก นกชนิ ด นี้ มี ข นาด
ไล่เลี่ยกับกระจิบธรรมดา มีลักษณะที่คล้าย
กัน ต่างกันทีน่ กชนิดนีใ้ นเพศผูบ้ ริเวณคอมีสี
ดำ� และหน้าผากมีสีน�้ำ ตาลแดงเข้มกว่า ลำ�
ตัวด้านหลังมีสเี ขียวอมเหลือง ก้นมีสเี หลือง
ทั้งเพศผู้และเพศเมีย พบได้ทั่วไปทุกพื้นที่
ทั้งในสวนใกล้ที่พัก ป่าชายเลน ป่าดิบ ป่า
โปร่ง ป่าไผ่ และชายป่า
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบไม่บ่อย

นกกระจิ บธรรมดา Common Tailorbird


Orthotomus sutorius
11-13
เป็นนกขนาดเล็ก ลำ�ตัวบริเวณหลังและ
หางสีเขียวขี้ม้า มีหน้าผากสีน้ำ�ตาลแดง คอ
และท้องสีนวล ก้นสีขาว บริเวณหน้ามีสีเทา
ขณะเกาะกิง่ ไม้มกั จะกระดกหางขึน้ นกชนิดนี้
มักส่งเสียงร้อง ดัง จิ๊บ...จิ๊บ.. เสียงดัง พบ
หากินหนอนตามสวน ป่าเบญจพรรณ และ
ป่าชายเลน
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


60
��������� 6.indd 60 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Acrocephalidae l วงศ์ Locustellidae

นกพงคิ ้วดำ� Black-browed Reed-Warbler


Titiza bistrigiceps
13.5-14
เป็ น นกขนาดเล็ ก ลำ � ตั ว ด้ า นหลั ง มี สี
น้�ำ ตาลอมเขียว คิว้ มีแถบสีเนือ้ และสีด�ำ พาด
จากหน้าผากไปยังกระหม่อม อก และท้องสี
น้ำ�ตาลอ่อน พบตามต้นกก และพืชน้ำ�ตาม
ขอบของทุ่งนาที่มีน้ำ�ขัง
เป็นนกอพยพ พบบ่อยมาก

นกพงตั ๊กแตนอกลาย Lanceolated Warbler


Locustella lanceolata
12-13.5
เป็นนกขนาดเล็ก ลำ�ตัวสีน�้ำ ตาลอมเขียว
คิ้วสีน้ำ�ตาลอ่อนยาวเลยดวงตา จะงอยปาก
สั้นตรง จะงอยปากบนสีน้ำ�ตาลดำ� จะงอย
ปากล่างสีน้ำ�ตาลอ่อน หัว ท้ายทอย หลัง
สี ข้ า งมี ล ายสี ดำ � ขี ด กระจายทั่ ว ไป หางสี
น้ำ�ตาลเข้ม ด้านล่างลำ�ตัวสีอ่อนกว่าด้าน
บน มีลายสีน้ำ�ตาลบาง ๆ คอ และท้องสีขาว
ทำ�ให้คล้ายมีแถบสีน�้ำ ตาลอมเขียวจางๆพาด
ผ่านอก ขาสีน�้ำ ตาลอ่อน สามารถพบตามป่า
โปร่ง ชายป่า ท้องนาและพื้นที่เกษตรต่าง ๆ
เป็นนกอพยพ พบได้บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


61
��������� 6.indd 61 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Locustellidae l วงศ์ Hirundinidae

นกพงตั ๊กแตนท้ายทอยสีเทา Pallas’s Grasshopper-Warbler 14-15


Locustella certhiola
เป็นนกขนาดเล็ก ขนลำ�ตัวสีน้ำ�ตาลอม
แดง คิ้วขาวยาวเลยดวงตา ปากตรงเรียว
บาง จะงอยปากบนสีน�้ำ ตาลเข้ม จะงอยปาก
ล่างสีน�้ำ ตาลอมส้ม ลำ�ตัวด้านบนมีลายสีด�ำ
ขีดกระจายทัว่ ไปจากหน้าผากถึงหลัง หางสี
เทาดำ�มีลายสีด�ำ บาง ๆ ปลายหางมีแต้มขาว
ลำ�ตัวด้านล่างสีน�้ำ ตาลอ่อน คอ และกลาง
ท้องขาว ขาสีน้ำ�ตาล พบได้ตามดงหญ้าสูง
กก ตามพื้นที่ชุ่มน้ำ�
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

นกนางแอ่นบ้าน Barn Swallow 13-14


Hirundo rustica
เป็นนกขนาดเล็ก บริเวณหัวด้านหลัง
ของลำ�ตัวไปจนถึงหางมีสีดำ� ท้องสีขาว คอ
มี สี น้ำ � ตาลแดงคาดด้ ว ยขอบดำ � หางเป็ น
แฉกลึก โดยเฉพาะในเพศผู้หางจะมีแฉกลึก
กว่าเพศเมีย หากินเป็นฝูง โดยโฉบแมลง
ในอากาศ
เป็นนกอพยพ พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


62
��������� 6.indd 62 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Hirundinidae l วงศ์ Pycnonotidae

นกนางแอ่
Hirundo tahitica
นแปซิฟิค Pacific Swallow 13-14
เป็ น นกขนาดเล็ ก ขนด้ า นบนลำ � ตั ว สี
เหลือบน้ำ�เงินหน้าผากสีน้ำ�ตาลแดง คาง
คอ อกสีน�้ำ ตาลแดง ท้องสีขาว หรือบางทีมี
สีเทาแซม หางมีแต้มขาวเรียงเป็นแนว ปลา
งหางเว้าเข้า มักพบได้ตามทะเล ชายฝัง่ ส่วน
ใหญ่สร้างรังจากโคลนผสมกับน้�ำ ลาย
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบได้บ่อยมาก

นกปรอดหน้ านวล Yellow-vented Bulbul


Pycnonotus goiavier
20-20.5
ลั ก ษณะเด่ น ชั ด ที่ ส ามารถสั ง เกตเห็ น
ได้ ง่ า ยคื อ หน้ า มี สี ข าวนวล บริ เ วณกลาง
กระหม่อมมีสันสีดำ�ยาวตลอดหัว ลักษณะ
เป็นขนตั้งขึ้นเป็นหงอนเล็กน้อย บริเวณส่วน
หลัง และหางมีสีน้ำ�ตาล ท้องสีน้ำ�ตาลอ่อน
ก้นสีเหลือง พบตามสวน ป่าฟื้นสภาพหรือ
ตามชายหาด
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


63
��������� 6.indd 63 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Pycnonotidae

นกปรอดหั วสีเขม่า Sooty-headed Bulbul


Pycnonotus aurigaster
19-21
เป็นนกขนาดกลาง กินผลไม้เป็นอาหาร
มีปากขนาดเล็กปลายแหลม เพื่อทิ่มเข้าไป
ยังเนื้อผลไม้ หัวมีหงอนเล็กน้อยสีดำ� ส่วน
หลัง และหางมีสีเทาดำ� ก้นมีสีเหลือง ท้องสี
น้ำ�ตาลอ่อน มักหากินอยู่รวมกันเป็นฝูง พบ
ตามสวน และพื้นที่โล่ง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

นกปรอดสวน
Pycnonotus blanfordi
Streak-eared Bulbul 17.5-19.5
เป็นนกขนาดกลาง นกชนิดนี้ต้ังแต่หัว
หลัง ไปจนถึงหางสีน้ำ�ตาล อก และท้องสี
น้ำ�ตาลอมเหลือง ก้นมีสีเหลืองอ่อน บริเวณ
ขนคลุมหูมลี กั ษณะเป็นลายขีด มักหากินเป็น
คู่ หรือเป็นฝูงตามป่าเบญจพรรณ ในสวน
หรือตามบ้านเรือน
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


64
��������� 6.indd 64 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Pycnonotidae

นกปรอดคอลาย
Pycnonotus finlaysoni
Stripe-throated Bulbul 19-20
เป็นนกขนาดกลาง หัวค่อนข้างกว้างเล็ก
กว่าลำ�ตัว ลายขีดสีเหลืองสัน้ ๆกระจายอยูต่ าม
หน้าผาก หน้า คาง และอกส่วนบน ลำ�ตัวรูป
รีหางยาวเกินครึง่ หนึง่ ของลำ�ตัว ด้านบนของ
หัวและหลังสีเขียวปนเทา ปีกสีเขียวปนเหลือง
ท้องสีจางกว่าลำ�ตัวด้านบน ก้นสีเหลือง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

นกปรอดทอง
Brachypodius atriceps
Black-headed Bulbul 19-21
เป็นนกขนาดกลาง หัวค่อนข้างกว้างเล็ก
กว่าลำ�ตัว ส่วนหัวสีด�ำ ยกเว้นท้ายทอย ตาสีฟา้
ลำ�ตัวรูปรีหางยาวเกินครึ่งหนึ่งของลำ�ตัว ลำ�
ตัวส่วนใหญ่ และท้ายทอย สีเขียวปนเหลือง
ขอบปีกสีดำ� และปลายหางมีแถบคาดสีดำ�
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


65
��������� 6.indd 65 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Pycnonotidae l วงศ์ Phylloscopidae

นกปรอดเหลื องหัวจุก Black-crested Bulbul


Pycnonotus flaviventris
18.5-19.5
เป็นนกขนาดกลาง หัวค่อนข้างกว้างเล็ก
กว่าลำ�ตัว ส่วนหัวสีด�ำ มีหงอน ตาสีเหลือง ลำ�
ตัวรูปรีหางยาวเกินครึ่งหนึ่งของลำ�ตัว ลำ�ตัว
ส่วนใหญ่สีเขียวปนเหลือง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

นกกระจิ ๊ดธรรมดา Yellow-browed Warbler


Phylloscopus inornatus
11-11.5
เป็นนกขนาดเล็ก ลำ�ตัวด้านบนสีเขียว
อมเทา ท้องสีขาวหรือขาวอมเหลือง มีแถบ
ปีกสองแถบ แถบที่สองหนากว่าแถบแรก มี
ขอบขนปีกมีสีอ่อนเห็นเป็นลายเส้นที่ปีก คิ้ว
สีขาวอมเหลือง ส่วนใหญ่ไม่มีแถบกระหม่อม
และแถบตะโพก ปากล่างเหลืองส้ม สามารถ
พบได้ตามป่า ดงไม้พุ่ม และสวน
เป็นนกอพยพ พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


66
��������� 6.indd 66 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Phylloscopidae

นกกระจิ๊ดเขียวปีกสองแถบ Two-barred Warbler 12


Phylloscopus plumbeitarsus
เป็นนกขนาดเล็ก ลำ�ตัวด้านบนสีเขียว
อมเทา ท้องสีขาวนวล และมีแถบปีกสอง
แถบ แต่มักเห็นแถบที่สองที่หนาและยาว
ได้ชัดเจนกว่า หากเป็นชุดขนเก่าอาจเห็น
เพียงแถบเดียว จะงอยปากล่างเป็นสีส้ม
แข้ง และตีนสีออกชมพูู พบได้ตามป่าโปร่ง
และชายป่า ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

นกกระจิ ๊ดสีคล้ำ� Dusky Warbler


Phylloscopus fuscatus
12-12.5
เป็นนกขนาดเล็ก อยู่ในกลุ่มนกกระจิ๊ดสี
น้ำ�ตาล ลำ�ตัวด้านบนสีน้ำ�ตาลเข้มกว่าลำ�ตัว
ด้านล่าง ก้น และท้องสีเสมอกัน ใต้คอ และ
อกสีจางกว่าเล็กน้อย คิ้วยาวสีน้ำ�ตาลอ่อน
ปากบนสีเข้มกว่าปากล่าง ลักษณะคล้ายกระ
จิ๊ดปากหนามาก
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


67
��������� 6.indd 67 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Phylloscopidae

นกกระจิ ๊ดขั้วโลกเหนือ Arctic Warbler


Phylloscopus borealis
12.5-13
เป็นนกขนาดเล็ก ปากค่อนข้างยาวเมือ่
เทียบกับนกกระจิด๊ ชนิดอืน่ คิว้ ยาวสีขาวอม
เหลืองยาวจรดหน้าผาก ลำ�ตัวด้านบนสี
ออกเขียวอมเทา มีขีดสีขาวอมเหลืองที่ปีก
1 ขีด บางครั้งอาจเห็นเป็น 2 ขีด ลำ�ตัวด้าน
ล่างสีขาวอมเทา คล้ายกระจิด๊ คัมชัตกามาก
สามารถจำ�แนกออกจากกันได้โดยเสียงร้อง
หรือใช้เทคนิดทางอณูชีววิทยาเท่านั้น
เป็นนกอพยพผ่าน และนกอพยพ พบ
บ่อย

นกกระจิ ๊ดคัมชัตกา Kamchatka Leaf-warbler


Phylloscopus examinandus
12-13
เป็นนกขนาดเล็ก ปากค่อนข้างยาวเมือ่
เทียบกับนกกระจิด๊ ชนิดอืน่ คิว้ ยาวสีขาวอม
เหลืองแต่ไม่ยาวจรดหน้าผาก ลำ�ตัวด้าน
บนสีออกเขียวอมเทา มีขีดสีขาวอมเหลือง
ที่ปีก 1 ขีด บางครั้งอาจเห็นเป็น 2 ขีด ลำ�
ตัวด้านล่างสีขาวอมเทา คล้ายกระจิ๊ดขั้ว
โลกเหนือมาก สามารถจำ�แนกออกจาก
กันได้โดยเสียงร้องหรือใช้เทคนิดทางอณู
ชีววิทยาเท่านั้น
เป็นนกอพยพ พบไม่บ่อยหรืออาจถูก
มองข้าม

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


68
��������� 6.indd 68 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Phylloscopidae

นกกระจิ ๊ดขาสีเนื้อ Pale-legged Leaf-warbler


Phylloscopus tenellipes
12-13
เป็นนกขนาดเล็ก หลังเป็นสีเขียวอมน้ำ�ตาล
ตะโพกสีอ่อนกว่าหลังและหาง มีแถบคาดปีกสี
อ่อน 2 แถบ กระหม่อมสีเขียวอมเทาเข้มกว่าลำ�
ตัว มีแถบคาดตาสีเข้ม และแถบคิ้วยาวสีขาว โคน
ปากล่าง และขาออกสีชมพู หรือสีเนื้อ ชอบหากิน
ตามพุ่มไม้ หรือกิ่งไม้ที่ไม่สูงมากนัก พบเห็นได้
ทั่วไปในช่วงเดือนเมษายน พบได้บ่อยตามไม้พื้น
ล่างในป่าทีไ่ ม่รกทึบจนเกินไป ป่าชายเลน และสวน
สาธารณะ กระจายอยู่ทั่วทุกภาค ยกเว้นบางส่วน
ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนล่าง
จับแมลงกินเป็นอาหาร
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

นกกระจิ ๊ดหัวมงกุฎ Eastern Crowned Leaf-warbler


Phylloscopus coronatus
12.5-13
เป็นนกขนาดเล็ก ปากค่อนข้างยาวเมื่อ
เทียบกับกระจิ๊ดอื่น ๆ ปากบนสีเข้มกว่าปาก
ล่างที่มีสีส้ม ลำ�ตัวด้านบนสีเขียวแกมเหลือง
หัวมีสีเข้มกว่าลำ�ตัวเล็กน้อย มีแถบกลางหัว
สีเขียวแกมเหลือง คิ้วออกขาว แถบคาดตา
สีเข้ม แถบคาดปีกสีเหลืองอ่อน 1 แถบ คอ
และลำ�ตัวด้านล่างสีออกขาว ก้นสีเหลืองจาง
ๆ พบเห็นได้ตามป่า และสวน
เป็นนกอพยพผ่าน และนกอพยพ พบ
ค่อนข้างบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


69
��������� 6.indd 69 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Phylloscopidae

นกกระจิ ๊ดปากหนา Radde’s Warbler


Phylloscopus schwarzi
13.5-14
เป็นนกขนาดเล็ก แต่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน
บรรดากระจิ๊ดสีน้ำ�ตาล คิ้วยาวสีออกขาว แต่
บริเวณหัวคิว้ แกมน้�ำ ตาลเหลือง ปากหนา แข้ง
และตีนหนากว่านกกระจิ๊ดสีน�้ำ ตาลตัวอื่นๆ ก้น
สีน้ำ�ตาลเข้มกว่าส่วนท้อง แข้ง และตีนสีชมพู
เข้ม หรือส้มแกมน้ำ�ตาล สามารถพบได้ตามไม้
พุ่ม ป่าโปร่ง ชายป่า ป่าละเมาะ และทุ่งหญ้า
เป็นนกอพยพ พบค่อนข้างบ่อย

นกกระจิ๊ดซาคาลิน Sakhalin Leaf-warbler 11-11.5


Phylloscopus borealoides
เป็นนกขนาดเล็ก เพศผู้ และเพศเมียมี
ลักษณะคล้ายกัน มีคิ้วยาวสีขาวเด่นชัด แถบ
คาดตาสีดำ� กระหม่อมสีเขียวเข้มอมน้ำ�ตาล
ปีกสีเขียวอมน้�ำ ตาลอ่อนกว่ากระหม่อม มีแถบ
ปีกสั้น ๆ 2 แถบ ลำ�ตัวด้านล่างสีขาว สีข้างสี
น้ำ�ตาลอ่อน ปากเล็กสั้นสีดำ� อาจไม่สามารถ
จำ�แนกได้จากนกกระจิ๊ดขาสีเนื้อในธรรมชาติ
นอกจากฟังเสียงร้อง พบตามสวนและ ป่า
ทุกประเภท
เป็นนกอพยพผ่าน พบไม่บ่อยนัก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


70
��������� 6.indd 70 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Zosteropidae l วงศ์ Sturnidae

นกแว่ นตาขาวสีข้างแดง Chestnut-flanked White-eye


Zosterops erythropleurus
11.5
เป็นนกขนาดเล็ก มีวงสีขาวรอบตา ลำ�
ตัวด้านบนเขียวแกมเหลือง อก และท้องสี
เทา คอ และก้นสีเหลือง สีขา้ งมีแถบสีแดงอม
ส้ม หรืออาจเป็นสีจาง ๆ มักอยูร่ วมกันเป็นฝูง
หรืออยู่กับนกขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ กระโดดไป
มาตามพุ่มไม้เพื่อจับแมลงเป็นอาหาร พบได้
ในป่า ชายป่า หรือดงไม้
เป็นนกอพยพ พบค่อนข้างบ่อย

นกกิ ้งโครงแกลบหลังม่วงดำ� Purple-backed Starling


Agropsar sturninus
17-19
เป็นนกขนาดกลาง ปลายปากดำ� โคนปาก
สีจางกว่าเล็กน้อย ปีกสีดำ�เหลือบเขียวเป็น
มัน มีแถบสีอ่อนเป็นลายขวาง หลัง และแต้ม
ที่ท้ายทอยสีดำ�เหลือบม่วงเป็นมัน หัว และลำ�
ตัวด้านล่างสีเทาอ่อน ตะโพกสีน�ำ้ ตาลอ่อน เพศ
เมีย คล้ายตัวผู้แต่กระหม่อม และลำ�ตัวด้านบน
สีออกน้ำ�ตาล ขนไม่เป็นมัน พบได้บริเวณป่า
โปร่ง พื้นที่โล่ง พื้นที่เกษตร และพบอยู่เป็นฝูง
เป็นนกอพยพผ่าน และอพยพ พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


71
��������� 6.indd 71 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Sturnidae

นกเอี้ยงสาริกา Common Myna 24.5-27


Acridotheres tristis
เป็นนกขนาดกลาง มักกระโดดหรือเดิน
หากินอยู่ตามพื้น ลักษณะเด่น คือ ปาก และ
หนังรอบตาสีเหลือง ลำ�ตัวสีน�้ำ ตาล หัว และ
อกดำ� ขณะหุบปีกขอบปีกเห็นเป็นแถบขาว
ข้างลำ�ตัว ซึ่งจะเห็นเป็นแถบสีขาวทั้งด้าน
บน และด้านล่างของปีกขณะบิน ท้องและก้น
สีขาว กินอาหารได้หลายชนิด ทั้งผลไม้ และ
สัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ เช่น แมลง ไส้เดือน พบ
ได้ทั่วไปในเขตเมือง และพื้นที่เกษตร
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

นกเอี้ยงหงอน White-vented Myna 24.5-27.5


Acridotheres grandis
เป็นนกขนาดกลาง มักกระโดดหรือเดิน
หากินอยู่ตามพื้น ลักษณะเด่น คือ มีหงอน
ที่หน้าผาก ปากสีเหลือง ลำ�ตัวสีดำ� ขณะ
หุบปีกขอบปีกเห็นเป็นแถบขาวข้างลำ�ตัว
ซึง่ จะเห็นเป็นแถบสีขาวทัง้ ด้านบนและด้าน
ล่างของปีกขณะบิน ก้นและปลายหางสีขาว
กินอาหารได้หลายชนิด ทั้งผลไม้ และสัตว์
ขนาดเล็กอื่น ๆ เช่น แมลง ไส้เดือน พบได้
ทั่วไปในเขตเมืองและพื้นที่เกษตร
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


72
��������� 6.indd 72 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Turdidae

นกเดินดงสีด�ำ Chinese Blackbird 27-29


Turdus mandarinus
เป็นนกขนาดกลาง เพศผู้ ขนทั่วทั้ง
ตั ว สี ดำ � ล้ ว น จะงอยปาก และหนั ง รอบ
ดวงตาสีเหลือง ขาสีดำ� เพศเมียขนตาม
ลำ�ตัวสีน้ำ�ตาลเทาดำ� คอสีนำ้�ตาลอ่อน มี
ลายขีดบาง ๆ อกสีน�้ำ ตาลจาง จะงอยปาก
บนสีน้ำ�ตาลเข้ม ถึงดำ� จะงอยปากล่างสี
เหลือง หนังรอบตาสีเหลือง พบตามชาย
ป่า หรือป่าดิบ
เป็นนกอพยพ หายาก

นกเดิ นดงสีคล้ำ� Eyebrowed Thrush


Turdus obscurus
22.5-24.5
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวด้านบนสีน�้ำ ตาล
หางสีน�้ำ ตาล อกสีน�้ำ ตาลอ่อน ส่วนท้องถึงก้น
มีสีขาว เพศผู้หัวสีเทาถึงคอ มีคิ้วและเคราสี
ขาว ในเพศเมียหัวสีน้ำ�ตาลเข้ม คิ้ว เครา คาง
มีเส้นสีขาว ปากบนสีน้ำ�ตาลเข้ม ปากล่างสี
เหลืองอมส้มปลายดำ� ขาสีเหลือง พบได้ตาม
ป่าดิบ หรือชายป่า อาจพบเดี่ยว ๆ หรือ เป็น
ฝูงใหญ่ พบได้บ่อยกว่านกเดินดงชนิดอื่น
เป็นนกอพยพ พบค่อนข้างบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


73
��������� 6.indd 73 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Turdidae

นกเดินดงสีเทาดำ� Siberian Thrush 20.5-23


Geokichla sibirica
เป็นนกขนาดกลาง ตัวผู้ลำ�ตัวด้านบน
สีเทาเข้มปนน้ำ�เงิน มีคิ้วยาวสีขาว ลำ�ตัว
ด้านล่างสีอ่อนกว่าเล็กน้อย สีค่อยๆจาง
ลงไล่จากอกไปยังท้อง ก้นลายสีเทาเข้ม
สลับขาว ตัวเมียสีออกน้ำ�ตาล คิ้วยาวสี
ขาวปนเหลือง คอสีขาวปนเหลือง อกและ
ท้องเป็นลายเกล็ดขาวปนเหลืองสลับกับสี
เหลืองเข้ม ค่อยจางลงบริเวณท้อง ปลาย
หางมีแถบขาว
เป็นนกอพยพผ่าน พบไม่บ่อย

นกเดินดงหัวสีส้ม Orange-headed Thrush 20-23


Geokichla citrina
เป็นนกขนาดกลาง ปากสีด�ำ หัว คอ อก
สีส้ม ท้องส่วนล่างและก้นสีขาว ปีกมีแถบ
สีขาวสั้น ๆ 1 แถบ ตัวผู้ลำ�ตัวด้านบนสีเทา
ปนฟ้า ตัวเมียลำ�ตัวด้านบนสีเทาอมเขียว
มีแถบสีดำ�สั้น ๆ 2 แถบในแนวตั้งบริเวณ
ตา และหางตา
เป็นนกอพยพ พบไม่บอ่ ย หรือพบบ่อย
ในบางแห่ง

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


74
��������� 6.indd 74 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Muscicapidae

นกกางเขนดง White-rumped Shama


Copsychus malabaricus
21.5-28
เป็นนกขนาดกลาง มีลกั ษณะ และขนาด
คล้ายกับนกกางเขนบ้าน ที่แตกต่างกัน คือ
มีท้องสีแดง สะโพกสีขาว และหางจะยาว
ปลายหางมีลักษณะมน ขนขอบหางด้าน
นอกมีสีขาว พบหากินลำ�พังหรือหากินเป็น
คู่ตามพุ่มไม้ของป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ
รวมทั้งป่าฟื้นสภาพ นกชนิดนี้โดยปกติจะ
ไม่บินสูงนัก มีเสียงไพเราะจึงมักถูกจับไป
เลี้ยงในกรง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อย

นกกางเขนบ้าน Oriental Magpie Robin 19-21


Copsychus saularis
เป็นนกที่มักเป็นที่คุ้นเคยพบตามบ้าน
เรือนและสวน มีขนาดกลาง เพศผู้มีลำ�ตัว
ด้านหลัง หัว อก และหางสีดำ� ปีกมีสีดำ�
และมีแถบยาวสีขาวบริเวณขนปีก เพศเมีย
มีคอ และอกสีเทา ชอบกระโดดไปมาตาม
ต้นไม้หรือลงพืน้ เพือ่ หากินหนอน นอกจาก
นั้นยังพบตามป่าชายเลน
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


75
��������� 6.indd 75 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Muscicapidae

นกเขนท้ องแดง Daurian Redstart


Phoenicurus auroreus
15
เป็นนกขนาดเล็ก ตัวผู้หัวด้านบนสีเทา
หน้าและคางสีดำ� ปีกและหลังสีดำ� มีแถบ
กว้างสีขาวบนปีก ท้อง ตะโพก และหางคู่
นอกสีแดงตัดกับหางสีดำ� ตัวเมียสีน้ำ�ตาล
แดง มีแถบสีขาวบนปีก
เป็นนกอพยพ พบไม่บ่อย

นกเขนน้อยไซบีเรีย Siberian Blue Robin 13.5-14.5


Larvivora cyane
เป็นนกขนาดเล็ก เพศผู้ลำ�ตัวด้านบนสีฟ้า
เข้ม ตัดกับลำ�ตัวด้านล่างที่มีสีขาว มีแถบสีดำ�
คาดผ่านตา ข้างคอลงมาถึงข้างอก หากเป็น
วัยอ่อนจะมีขนสีน้ำ�ตาลปน เพศเมียจะมีสีเทา
ปนน้ำ�ตาล ตะโพก และหางฟ้า แก้ม อก และ
สีข้างสีน้ำ�ตาลอ่อน หากเป็นวัยอ่อนสีตามลำ�
ตัวจะเข้ม หางไม่เป็นสีฟ้า พบอาศัยตามป่า
หรือชายป่า หรือสวน
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


76
��������� 6.indd 76 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Muscicapidae

นกจับแมลงคอแดง Taiga Flycatcher 13-13.5


Ficedula albicilla
เป็นนกที่มีขนาดเล็ก ปากสีดำ� หัว และ
ลำ�ตัวด้านบนน้ำ�ตาลแกมเทา หางดำ� ขอบ
หางด้านนอกมีสขี าว ลำ�ตัวด้านล่างขาวแกม
เทา ในช่วงฤดูผสมพันธุเ์ พศผูใ้ ต้คอจะมีสสี ม้
เข้ม มีพฤติกรรมชอบกระดกหาง พบได้ตาม
พืน้ ทีป่ า่ โปร่ง สวนผลไม้ และสวนสาธารณะ
เป็นนกอพยพ พบบ่อยมาก

นกจั บแมลงสีน�้ำ ตาล Asian Brown Flycatcher


Muscicapa latirostris
12.5-13.5
เป็นนกขนาดเล็ก ลำ�ตัวบริเวณหลัง หัว
และหางมีสีน้ำ�ตาล ท้องสีขาวนวล ปลาย
จะงอยปากสีดำ� โคนจะงอยปากมีสีเหลือง
รอบ ๆ ตามีสีขาวนวล ขณะเกาะกิ่งไม้ ปีก
จะตกลู่แนบกับลำ�ตัว หากินลำ�พังบริเวณ
ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าชายเลน
และตามสวน
เป็นนกอพยพ พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


77
��������� 6.indd 77 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Muscicapidae

นกจั บแมลงสีคล้ำ� Dark-sided Flycatcher


Muscicapa sibirica
11.5-13
เป็นนกขนาดเล็ก มีขนาด และลักษณะ
คล้ายนกจับแมลงสีน้ำ�ตาลแต่จะแตกต่าง
กันที่จะงอยปากของนกชนิดนี้สั้นกว่าและ
มีสดี �ำ บริเวณขากรรไกรล่างมีแถบสีน�้ำ ตาล
ดำ� บริเวณอกมีลายขีดสีน�้ำ ตาลดำ� และปีก
มีความยาวมากเกือบถึงขนหาง พบตาม
ป่าดิบ ป่าชายเลน
เป็นนกอพยพ และอพยพผ่าน พบบ่อย

นกจั บแมลงสีน�้ำ ตาลแดง Ferruginous Flycatcher


Muscicapa ferruginea
12.5-13
เป็นนกขนาดเล็ก เพศผู้ และเพศเมียมี
ลักษณะคล้ายกัน ส่วนหัวสีเทา มีแถบเคราสี
เทาตัดกับคางสีขาว วงตาสีขาวเด่นชัด หลัง
สีน้ำ�ตาลแดงอมเทา ตะโพกสีน้ำ�ตาลแดงสด
ปีกสีเข้มมีแถบปีกสีน้ำ�ตาลแดง ส่วนท้อง
ไล่ตั้งแต่บริเวณคอลงมาสีน้ำ�ตาลแดง แซม
ด้วยสีเทาเล็กน้อย โดยเฉพาะบริเวณอก ขน
คลุมก้นสีเดียวกับท้อง ส่วนมากพบในช่วง
อพยพทั้งไป และกลับช่วงเดือนตุลาคม และ
เมษายน
เป็นนกอพยพ (ภาคใต้) และนกอพยพ
ผ่าน พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


78
��������� 6.indd 78 10/3/2563 BE 10:30
วงศ์ Muscicapidae

นกจั บแมลงหลังเขียว Green-backed Flycatcher


Ficedula elisae
13-13.5
เป็นนกขนาดเล็ก เพศผู้ และเพศเมีย
มีลักษณะแตกต่างกัน ในเพศผู้มีแถบคิ้ว
สีเหลืองอมเขียว ลำ�ตัวด้านหลังสีน้ำ�ตาล
ตะโพกสีเหลืองอมเขียวขนาดใหญ่เห็นเด่น
ชัด มีแถบปีกสีขาวขนาดใหญ่ทั้ง 2 ข้าง ลำ�
ตัวด้านล่างตัง้ แต่คอลงมาสีเหลือง ขนคลุม
ก้นสีขาว จะงอยปากเล็กสีด�ำ เพศเมียลำ�ตัว
ด้านบนสีน�้ำ ตาล หางสีน�้ำ ตาลแดง แถบปีก
เล็ก ๆ สีน�้ำ ตาล ลำ�ตัวด้านล่างสีเหลืองหม่น
อกมีลายจาง ๆ พบได้ตาม สวน ป่าชายเลน
และตามเกาะ
เป็นนกอพยพ และอพยพผ่าน หายาก

นกจั บแมลงตะโพกเหลือง Yellow-rumped Flycatcher 13-13.5


Ficedula zanthopygia
เป็นนกขนาดเล็ก เพศผู้มีลักษณะคล้าย
นกจับแมลงคิ้วเหลืองแต่แถบคิ้วเป็นสีขาว
ขนาดใหญ่ ลำ�ตัวด้านหลังสีดำ�สนิท ตะโพก
สีเหลืองสด มีแถบปีกสีขาวขนาดใหญ่ทั้ง 2
ข้างลักษณะเป็นรูปตัว L ลำ�ตัวด้านล่างตัง้ แต่
คอลงมาสีเหลืองสด ตัดกับขนคลุมก้นสีขาว
จะงอยปากเล็กสีดำ� เพศเมียลำ�ตัวด้านบนสี
น้ำ�ตาล บริเวณลำ�ตัวด้านล่างสีเหลืองอ่อน
ตั ด กั บ ขนคลุ ม ก้ น สี ข าว แถบปี ก สี ข าวเล็ ก
กว่าในเพศผู้ พบได้ตาม สวน ป่าทุกประเภท
และตามเกาะ
เป็ น นกอพยพผ่ า น พบบ่ อ ยหรื อ พบ
บ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


79
��������� 6.indd 79 10/3/2563 BE 10:31
วงศ์ Muscicapidae

นกจับแมลงคิ้วเหลือง Narcissus Flycatcher 13-13.5


Ficedula narcissina
เป็ น นกขนาดเล็ ก เพศผู้ แ ละเพศเมี ย มี
ลักษณะแตกต่างกัน ในเพศผูม้ แี ถบคิว้ สีเหลือง
ส้มยาวตัง้ แต่หวั ตาถึงท้ายทอย ลำ�ตัวด้านหลัง
สีด�ำ สนิท ตะโพกสีเหลืองส้มขนาดใหญ่เห็นเด่น
ชัด มีแถบปีกสีขาวขนาดใหญ่ทั้ง 2 ข้าง ลำ�ตัว
ด้านล่างตัง้ แต่คอลงมาสีเหลืองส้มค่อย ๆ จาง
ลง ขนคลุมก้นสีขาว จะงอยปากเล็กสีด�ำ เพศ
เมียลำ�ตัวด้านบนสีน้ำ�ตาล หางสีน้ำ�ตาลอม
แดง ลำ�ตัวด้านล่างขาวอมเหลือง อกมีลายจาง
ๆ พบได้ตาม สวน ป่าชายเลน และตามเกาะ
เป็นนกอพยพผ่าน หายากมาก

นกจั บแมลงดำ�อกสีส้ม Mugimaki Flycatcher


Ficedula mugimaki
13-13.5
เป็นนกขนาดเล็ก เพศผู้ และเพศเมียมี
ลักษณะแตกต่างกัน ในเพศผู้มีแถบคิ้วสีขาว
ลำ�ตัวด้านหลังสีดำ�สนิท ตะโพกสีดำ� มีแถบ
ปีกสีขาวขนาดใหญ่ทั้ง 2 ข้าง ลำ�ตัวด้านล่าง
ตั้งแต่คอลงมาสีส้มสดตัดกับท้องส่วนล่างสี
ขาว ขนคลุมก้นสีขาว จะงอยปากเล็กสั้นสีดำ�
เพศเมียลำ�ตัวด้านบนสีน้ำ�ตาล บริเวณคางสี
ส้มไล่ระดับลงมาเรื่อยๆจนขาว อกสีส้มจาง ๆ
พบได้ตาม สวน ป่าทุกประเภท และตามเกาะ
เป็นนกอพยพ และอพยพผ่าน พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


80
��������� 6.indd 80 10/3/2563 BE 10:31
วงศ์ Muscicapidae

นกจั บแมลงพันธุ์จีน Chinese Blue Flycatcher


Cyornis glaucicomans
14-15
เป็นนกขนาดเล็ก เพศผู้ และเพศเมียมี
ลักษณะแตกต่างกัน ในเพศผู้มีแถบคิ้วสีฟ้า
เหลือบ (สังเกตเห็นได้ยาก) ลำ�ตัวด้านบน
สีน้ำ�เงินเข้ม หน้าสีเข้มกว่าลำ�ตัวเล็กน้อย
แถบคางสีส้มแคบ ๆ เป็นรูปตัว V แต่ไม่สุด
ถึงโคนจะงอยปาก จะงอยปากเล็กสีด�ำ เพศ
เมียลำ�ตัวด้านบนสีน้ำ�ตาล บริเวณคางสีส้ม
แคบ ๆ ไล่ระดับลงมาเรื่อย ๆ จนขาว อกสีส้ม
จาง ข้างแก้มสีน�้ำ ตาล พบได้ตาม สวน ป่าทุก
ประเภท และตามเกาะ
เป็นนกอพยพ พบไม่บ่อย

นกจั บแมลงสีฟ้า Verditer Flycatcher


Eumyias thalassinus
15-17
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวมีสีฟ้าอมเขียว
บริเวณโคนจะงอยปากถึงขอบตามีสีดำ� นก
เพศเมียจะมีสีหม่นกว่าเพศผู้ และบริเวณก้น
จะมีลายตามขวาง มักหากินเป็นคูห่ รือลำ�พัง
ตัวเดียวตามป่าดิบเขา ชายป่า ป่าชายเลน
หรือตามสวน
เป็นนกอพยพ พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


81
��������� 6.indd 81 10/3/2563 BE 10:31
วงศ์ Muscicapidae

นกจั บแมลงสีฟ้าอกดำ� Blue-and-white Flycatcher


Cyanoptila cyanomelana
18
เป็นนกขนาดกลาง เพศผู้ และเพศเมีย
มีลักษณะแตกต่างกัน เพศผู้มีลักษณะคล้าย
นกจับแมลงสีฟา้ ท้องขาว แตกต่างกันในส่วน
ของใบหน้าไล่ลงมาจนถึงหน้าอกสีน�้ำ เงินเข้ม
จนเกือบดำ�สนิท ส่วนท้องไล่ตงั้ แต่บริเวณคอ
ลงมาสีขาวตัดกับลำ�ตัวส่วนที่เหลือ เพศเมีย
คล้ายเพศเมียของนกจับแมลงสีฟ้าท้องขาว
มากจนอาจไม่สามารถจำ�แนกชนิดได้
เป็นนกอพยพผ่าน พบไม่บ่อย

นกจั บแมลงสีฟ้าท้องขาว Zappey’s Flycatcher


Cyanoptila cumatilis
18
เป็นนกขนาดกลาง เพศผู้ และเพศเมียมี
ลักษณะแตกต่างกัน เพศผู้ ส่วนหัวลำ�ตัวด้าน
บนตลอดจนตะโพก คาง และหน้า สีฟ้าสด
อมน้ำ�เงิน ส่วนท้องไล่ตั้งแต่บริเวณคอลงมา
สีขาวตัดกับลำ�ตัวส่วนที่เหลือ เพศเมียลำ�ตัว
ด้านบนสีน้ำ�ตาลตัดกับส่วนท้องสีขาว หางสี
น้ำ�ตาลแดง คางสีขาว อาจพบลักษณะเป็น
รูปสามเหลี่ยมสีขาวที่คาง (ซึ่งมีข้อสันนิฐาน
ว่าอาจใช้เป็นจุดจำ�แนกกับเพศเมียของนกจับ
แมลงสีฟ้าอกดำ�)
เป็นนกอพยพผ่าน พบไม่บ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


82
��������� 6.indd 82 10/3/2563 BE 10:31
วงศ์ Muscicapidae l วงศ์ Dicaeidae

นกกระเบื้องผา Blue Rock-Thrush 21-23


Monticola solitarius
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวมีสีเทาอมฟ้า
ด้านหลังมีแต้มสีขาวขนาดเล็ก ส่วนบริเวณ
ท้องมีสเี หลืองอมฟ้า และเห็นขอบสีขาวคล้าย
เกล็ดปลา ชอบเกาะตามโขดหินและตาม
หลังคา โดยจะเชิดตัวตั้งขึ้น หากินลำ�พังตัว
เดียว มักพบตามบ้านเรือนตามเกาะต่าง ๆ
เพศเมียลำ�ตัวด้านบนสีเทาแกมน้ำ�ตาล อก
และท้องมีลายเกล็ดสีน�้ำ ตาล
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

นกสีชมพูสวน Scarlet-backed Flowerpecker 8.5-9


Dicaeum cruentatum
เป็นนกขนาดเล็ก เพศผู้ และเพศเมียมี
ลักษณะแตกต่างกันโดยทีเ่ พศผูล้ �ำ ตัวจะมีสดี �ำ
มีแถบสีแดงพาดตั้งแต่หน้าผาก หัว ไปจนถึง
หลัง และตะโพก หางสีดำ� ท้องสีครีม จะงอย
ปากสัน้ เพศเมียบริเวณส่วนหลังมีสนี �้ำ ตาลอม
เทา บริเวณตะโพกสีแดง หากเป็นเพศผู้ที่ยัง
ไม่เต็มวัยจะไม่มีแถบสีแดงด้านหลัง นกเหล่า
นี้กินเมล็ดกาฝากเป็นอาหาร เวลาถ่ายมักจะ
มีเมือกเหนียวป้ายกับกิ่งไม้ ทำ�ให้เมล็ดงอก
ออกมาเป็นต้นกาฝากที่ขึ้นตามต้นไม้ มักพบ
ในสวน และตามในเมือง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


83
��������� 6.indd 83 10/3/2563 BE 10:31
วงศ์ Nectariniidae

นกกิ นปลีอกเหลือง Olive-backed Sunbird


Cinnyris jugularis
10.5-11.5
เป็ น นกขนาดเล็ ก มี ข นาดเล็ ก กว่ า นก
กินปลีคอสีน้ำ�ตาลเล็กน้อย ปากยาวโค้งลง
เพศผู้ และเพศเมียมีลักษณะต่างกัน โดยที่นก
เพศผู้จะมีอกสีน้ำ�เงินเข้ม ขณะช่วงผลัดขน
ก่อนฤดูผสมพันธุ์ของเพศผู้จะมีแถบสีน้ำ�เงิน
ตรงกลางคอถึงอก เพศเมียมีลักษณะคล้าย
นกกินปลีคอสีน้ำ�ตาล แต่มีขนาดเล็กกว่าเล็ก
น้อย ขอบหางทั้งสองข้างสีขาว พบหากินน้�ำ
หวานดอกไม้และแมลงตามป่า และพบที่โล่ง
ป่าชายเลน และตามสวน
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

นกกิ นปลีคอสีน�้ำ ตาล Brown-throated Sunbird


Anthreptes malacensis
13.5-14
เป็ น นกขนาดเล็ ก จะงอยปากยาวโค้ ง
ลงเหมาะสำ�หรับดูดน้ำ�หวาน และกินแมลง
บริเวณส่วนหลังของลำ�ตัวมีสเี ขียวขีม้ า้ ขนาด
ตัวใหญ่กว่านกกินปลีอกเหลืองทัง้ เพศผู้ และ
เพศเมีย มีลักษณะต่างกันโดยที่บริเวณคอมี
สีน้ำ�ตาล บริเวณหัวไหล่มีสีม่วงมันเป็นเงา
ขณะที่เพศเมีย ท้องมีสีเหลือง ส่วนเหนือตา
และใต้ตามีเส้นสีเหลืองอ่อนคล้ายวงรอบตา
แต่ไม่ต่อกัน
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


84
��������� 6.indd 84 10/3/2563 BE 10:31
วงศ์ Ploceidae l วงศ์ Passeridae

นกกระจาบธรรมดา
Ploceus philippinus
Baya Weaver 14.5-15
เป็ น นกขนาดเล็ ก ฤดู ผ สมพั น ธุ์ เ พศผู้
ปากสีดำ� มีแถบสีเหลืองสดจากหน้าผากถึง
ท้ายทอย หน้าสีน้ำ�ตาลเข้ม ลำ�ตัวด้านบนสี
ดำ�แกมน้ำ�ตาล ขอบขนสีจางทำ�ให้ดูเป็นลาย
ลำ�ตัวด้านล่างสีน้ำ�ตาลอ่อน เพศผู้นอกฤดู
ผสมพันธุ์ และเพศเมียมีลักษณะเหมือนกัน
คือ ลำ�ตัวด้านบนสีน้ำ�ตาลเข้มกว่าลำ�ตัวด้าน
ล่าง แต่มีขอบขนสีจางทำ�ให้ดูเป็นลายจาก
หัวถึงปลายปีก ตะโพกสีน้ำ�ตาลอ่อน รังรูป
ทรงกลม มีท่อยาวห้อยลงมาด้านล่างใช้เป็น
ทางเข้าออก มักทำ�รังอยู่ร่วมกันหลาย ๆ รัง
บนต้นไม้ต้นเดียวกัน กินอาหารได้ทั้งเมล็ด
พืช และแมลง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบได้บ่อย

นกกระจอกตาล
Passer flaveolus
Plain-backed Sparrow 13.5-15
เป็นนกขนาดเล็กในกลุม่ นกกระจอก ปาก
หนาตรงสัน้ หลังไม่มลี ายต่างจากนกกระจอก
ชนิดอื่น แก้มสีเหลืองอมเทาไม่มีแต้มสีดำ�
ตัวผู้ มีแถบสีน้ำ�ตาลแดงจากหลังตาต่อเนื่อง
มายังด้านหลัง คอเป็นแถบสีดำ� ลงมาจนถึง
อกตอนต้น แก้มและท้องสีเหลืองอมเทา ตัว
เมียสีเหลืองแกมเทา
นกประจำ�ถิ่น พบบ่อยในบางพื้นที่

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


85
��������� 6.indd 85 10/3/2563 BE 10:31
วงศ์ Estrildidae l วงศ์ Motacillidae

นกกระติ ๊ดขี้หมู Scaly-breasted Munia


Lonchura punctulata
12-12.5
เป็นนกขนาดเล็ก ปากดำ� หัว คอ และลำ�
ตัวด้านบนสีน้ำ�ตาลเข้ม อก และสีข้างมีลาย
เกล็ดสีน�้ำ ตาลสลับสีเทา ท้อง และก้นสีขาว
ไม่มีลาย นกวัยอ่อนลำ�ตัวสีน้ำ�ตาลอ่อนกว่า
ตัวเต็มวัย อกและสีขา้ งสีน�้ำ ตาลอ่อนไม่มลี าย
มักพบบินหากินกันเป็นฝูงตามพงหญ้า หรือ
สนามหญ้า อาหารส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพืช
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบได้บ่อย

นกเด้ าดินสวน Olive-backed Pipit


Anthus hodgsoni
16-17
เป็นนกขนาดกลาง มองเผิน ๆ คล้ายกับ
นกกระจอกบ้าน มีลำ�ตัวสีน้ำ�ตาลอมเขียว
แตกต่างกันทีน่ กเด้าดินสวนมีจะงอยปากเรียว
สีเหลืองปลายสีด�ำ บริเวณหน้าอกมีลายขีดสี
ดำ� บริเวณใบหน้ามีแถบสีอ่อนบริเวณเหนือ
ตาและอ้อมลงมาใต้คาง หากินเป็นฝูงหรือ
ลำ�พังตามพื้นดิน เพื่อกินแมลง หนอน เมล็ด
หญ้า อาศัยตามทุ่งหญ้าหรือป่าเสื่อมโทรม
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


86
��������� 6.indd 86 10/3/2563 BE 10:31
วงศ์ Motacillidae

นกเด้าดินทุ่งเล็ก Paddyfield Pipit 15-16


Anthus rufulus
เป็ น นกขนาดกลาง ปากเรี ย วไม่ ย าว
มาก มีคิ้วสีน้ำ�ตาลอ่อน ลำ�ตัวด้านบนสีออก
น้ำ�ตาล ลำ�ตัวด้านล่างสีน้ำ�ตาลอ่อนกว่า และ
จางลงบริเวณท้อง มีลายขีดสีเข้มบนหัว หลัง
และคอ เป็นขีดสั้น ๆ แนวยาวไปตามลำ�ตัว
ลักษณะคล้ายนกเด้าดินทุง่ ใหญ่มาก ส่วนใหญ่
ไม่สามารถแยกออกจากนกเด้าดินทุง่ ใหญ่โดย
ใช้ลักษณะภายนอก แต่เสียงร้องของนกเด้า
ดินทุง่ เล็กจะร้องติดกันหลายพยางค์ถ่ี ๆ ขณะ
ทีน่ กเด้าดินทุง่ ใหญ่รอ้ งเสียงพยางค์เดียวแล้ว
เว้นช่วงก่อนที่จะร้องอีกครั้ง
เป็นนกประจำ�ถิ่น พบบ่อยมาก

นกเด้าลมดง Forest Wagtail 17-18


Dendronanthus indicus
เป็นนกขนาดกลาง ลำ�ตัวด้านหลังสีเขียว
มะกอก คอ อก ท้อง ก้น สีขาวแกมเหลือง อก
มีแถบสีดำ�พาดขวาง 2 แถบ แต่แถบล่างอาจ
ขาดตรงกลาง ปีกสีด�ำ มีแถบสีอ่อนคาดขวาง
มีควิ้ สีออ่ นเหนือตายาวไปจรดท้ายทอย หากิน
ตามพื้นที่ พบได้ตามป่าดิบ ป่าโปร่ง สวนผล
ไม้ สวนสาธารณะ
เป็นนกอพยพ พบไม่บ่อยหรือบ่อยบาง
พื้นที่

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


87
��������� 6.indd 87 10/3/2563 BE 10:31
วงศ์ Motacillidae

นกเด้ าลมเหลือง Eastern Yellow Wagtail


Motacilla tschutschensis
17
นกชนิดนี้ขนาดใกล้เคียงกับนกเด้าลม
หลังเทา แตกต่างกันที่นกชนิดนี้มีล�ำ ตัวด้าน
บนสีน�้ำ ตาลปนเขียว หางสัน้ กว่า ส่วนคอ อก
และท้องอาจมีสีแตกต่างกันตั้งแต่สีเหลือง
จาง ๆ หรือเหลืองเข้ม บางชนิดย่อยอาจมีควิ้
สีอ่อนเหนือตา เพศเมียมีคอ อก และท้องสี
นวล อาศัยใกล้แหล่งน้�ำ ในป่าหญ้า ชายหาด
เป็นนกอพยพ พบไม่บ่อย

นกเด้าลมหลังเทา Grey Wagtail 19


Motacilla cinerea
กลุ่มนกชนิดนี้เป็นนกขนาดกลาง เวลา
เดิ น มั ก จะกระดกหางขึ้ น ลง หางยาว หั ว
ท้ายทอยและหลังสีเทา ตะโพกเหลือง คอและ
อกสีขาว ก้นสีเหลือง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์เพศ
ผูม้ สี ดี �ำ ตัง้ แต่คอถึงอกส่วนบน อก ท้อง ก้นจะ
เปลีย่ นเป็นสีเหลือง มักจะเดินหาแมลงบริเวณ
พื้นใกล้แหล่งน้ำ�
เป็นนกอพยพ พบบ่อย

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


88
��������� 6.indd 88 10/3/2563 BE 10:31
ปักษาพรรณ
ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง

...เดินพลาง ทางชม คณานก แว่ววิหค เซ็งแซ่ ชะแง้หา


กระจอกตาล ไล่กระจาบ ธรรมดา กระจิ๊ดพา กระจิบจับ ขยับนาน

ติ๊ดขี้หมู หันแต แต้แว้ดร้อง กระเบื้องพ้อง ผาคืน ยืนสถาน


กะปูดกวัก รักเห็น กะเต็นนาน รางหัวขวาน พานรัก ให้พักใจ

กางเขนดง เขนบ้าน ผ่านดวงจิต เกาะพินิจ กะลิง พิงอาศัย


กาน้�ำ เล็ก กาแวน แทนฤทัย กาเหว่าให้ กิ้งโครงแกลบ แถบม่วงดำ�

กินปลีศอ คอ-อก น้ำ�ตาลเหลือง แก้วโม่งเคือง แก๊กตาม ดูงามขำ�


กินเปี้ยวโยง โกงกาง หัวโตรำ� ไก่ป่าย่ำ� เขาใหญ่ ไฟชวา

ท้ายทอยดำ� ธรรมดา ทาขมิ้น ท้องแดงถิ่น เขนยาม งามหนักหนา


ไซบีเรีย เขนน้อย ละห้อยพา คัดคูมา เค้าคุ่ม หลบพุ่มเดิน

ทั้งแดงส้ม จับแมลง แฝงสีฟ้า อีกจาบคา เฉี่ยวบุ้งใหญ่ ไม่ขัดเขิน


ดำ�แซงแซว แซวสวรรค์ พลันให้เพลิน เด้าดินเชิญ สวนรุ่ง ทุ่งเล็กที

เด้าลมเหิร เดินดง แอ่นพงร่อน ตบยุงนอน ทิวา มารศรี


ตะขาบดง พงเอี้ยง แอ่นเสียงดี แต้วแล้วมี นางฟ้าวรรณ กัลยา

นางนวลแกลบ จับคู่ ไปสู่ขอ นางแอ่นรอ บั้งรอก ออกมาหา


ปรอดจ้อง ปากห่าง กร่างเข้ามา ธรรมดา โพระดก อกกระลาย

พญาไฟ สีเทา เปล้าอกม่วง อีการ่วง ขนไซ้ ไล้เป็นสาย


เหล่านกยาง ก้าวผิน บินสุดปลาย ไฟย่างกราย กรอกกลับ ขยับตัว

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


89
��������� 6.indd 89 10/3/2563 BE 10:31
แว่นตาขาว ข้างแสง แดงจำ�รัส สวนสัมผัส ชมพู ดูที่หัว
เหยี่ยวร่อนผ่าน น่านฟ้า ท้าไม่กลัว ดำ�แดงทั่ว เหยี่ยวรุ้ง ทุ่งเอเชีย

กิ้งก่าดำ� หน้าเทา เขาญี่ปุ่น ผึ้งหัวหมุน ชิครา คร่าเหยื่อเสีย


เพเรกริน ลอยหน้า ท่าเหมือนเพลีย ขาวมาเชียร์ ออสเปร เร่ลอยลม

อัญชันอก สีเทา เอามาพูด อีแพรดปูด อีก๋อย มาคอยถม


ชวนอีวาบ ตั๊กแตน แสนคำ�คม ปักษาชม แสมสาร พานให้เพลิน...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พงชัย หาญยุทธนากร

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


90
��������� 6.indd 90 10/3/2563 BE 10:31
ความหลากหลายของปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง

จากการสำ�รวจนกในช่วงปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีนกทั้งสิ้น 158 ชนิดที่


มีรายงานการพบเห็นบนเกาะแสมสารและเกาะใกล้เคียง แต่นกทั้ง 158 ชนิดนี้บางชนิด
อาจมีการพบเห็นในช่วงบางปีเท่านั้น เช่น ในการสำ�รวจในปี พ.ศ. 2562 พบนกที่สามารถ
จำ�แนกชนิดเพียง 86 ชนิด ดังนั้นการสำ�รวจความหลากชนิดของนกในพื้นที่หนึ่ง ๆ จึง
ต้องทำ�การสำ�รวจอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปี โดยช่วงเดือนที่พบนกได้หลากชนิด
ที่สุด คือ ช่วงเดือนมีนาคม และเมษายนของทุกปี ทำ�ให้ช่วงเดือนดังกล่าวเป็นช่วงที่เหมาะ
สำ�หรับกิจกรรมการดูนกบนเกาะแสมสาร ดังผลการสำ�รวจในช่วงดังกล่าวในปี พ.ศ. 2562
พบนกถึง 43 ชนิด หรือประมาณ 50% ของนกที่พบในปีดังกล่าว นกประจำ�ถิ่นที่สามารถ
พบได้ตลอดปีและพบเห็นได้ง่าย ได้แก่ นกกระจิบคอดำ� นกกระแตแต้แว้ด นกกาแวน นก
กินปลีอกเหลือง นกเขาใหญ่ นกปรอดสวน นกปรอดหน้านวล นกยางทะเล นกสีชมพูสวน
เหยี่ยวนกเขาชิครา และนกอีแพรดแถบอกดำ�
พืน้ ทีเ่ กาะแสมสารและบริเวณใกล้เคียงมีความสำ�คัญในแง่ของการเป็นแหล่งพักพิงของ
นกอพยพทีม่ คี วามสำ�คัญหลายชนิด เช่น นกแต้วแล้วนางฟ้า นกจับแมลงคิว้ เหลือง ทีเ่ ป็น
นกอพยพหายากมากของประเทศไทย หรือ นกตะขาบดง ที่เป็นนกอพยพ ค่อนข้างหายาก
บนเกาะแสมสาร นอกจากนี้ยังพบนกอพยพ และอพยพผ่านที่พบไม่บ่อยหลายชนิด ได้แก่
นกกิง้ โครงแกลบหลังม่วงดำ� นกจับแมลงดำ�อกสีสม้ นกจับแมลงสีน�้ำ ตาลแดง นกจับแมลง
สีฟ้าอกดำ� นกแซงแซวปากกา นกเดินดงสีเทาดำ� นกเดินดงหัวสีส้ม นกคัคคูแซงแซว นก
จับแมลงสีฟ้า นกเด้าลมดง นกพญาไฟสีเทา เหยี่ยวเพเรกริน และเหยี่ยวออสเปร
จะเห็นได้ว่าเกาะแสมสารเป็นหนึ่งในเส้นทางอพยพของนกอพยพหลายชนิด แต่
เนือ่ งจากมีแหล่งน้�ำ จืดทีเ่ กิดจากการขุดทีม่ ขี นาดใหญ่เพียงแห่งเดียว ประกอบกับมีปริมาณ
น้�ำ ฝนในแต่ละปีไม่มากนัก เกาะแสมสารจึงมีปญ ั หาในการจัดการน้�ำ เพือ่ สนับสนุนงานด้าน
การอนุรักษ์สำ�หรับพืชและสัตว์ แม้ว่าจะมีการส่งน้�ำ จืดจำ�นวนมากไปจากฝั่งแต่ถูกนำ�ไปใช้
เพื่อประโยชน์สำ�หรับนักท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่หากสามารถ recycle น้ำ�เหล่านี้กลับมา
ใช้ใหม่ได้ก็อาจช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการขาดแคลนน้ำ�ของเกาะแสมสารได้ ในขณะที่เกาะ
แสมสารเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทั้งจากการเพิ่มจำ�นวนของนักท่องเที่ยวจำ�นวน
มาก ก่อให้เกิดการสะสมของขยะ และรบกวนสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนพื้นที่
เพื่อให้บริการด้านต่าง ๆ เพื่อรับรอง ให้ความสะดวก และดูแลด้านความปลอดภัยแก่นัก
ท่องเที่ยว นอกจากนี้การเพิ่มจำ�นวนของหมูป่า ก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อนกที่ทำ�รัง
บนพื้น เนื่องจากหมูป่าสามารถกินไข่หรือล่าสัตว์อื่นเป็นอาหารได้เช่นกัน และมีแนวโน้ม
ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อนักท่องเที่ยวได้ในอนาคต ดังนั้นหากมีการวางแผนการจัดการ
เพื่อพัฒนาเกาะแสมสารอย่างเป็นระบบ เช่น การเพิ่มแหล่งน้ำ� และ การปลูกอาหารนก
และแมลง จะทำ�ให้งานอนุรักษ์ประสบความสำ�เร็จอย่างยั่งยืน

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


91
��������� 6.indd 91 10/3/2563 BE 10:31
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
เกาะแสมสาร มีศกั ยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งอนุรกั ษ์นกทีด่ แี ห่งหนึง่ ของประเทศไทย
หากมีการวางแผนการจัดการพื้นที่ ทั้งในแง่ของการปลูกพืชอาหารของนก การปรับปรุง
สถานที่แหล่งน้ำ�เพื่อให้เหมาะกับการดำ�รงชีวิตของนก ในขณะเดียวกันขั้นตอนการจัดการ
เหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้กรอบของเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้มีผลกระทบต่อนกน้อยที่สุด เช่น
ในช่วงเวลาจับคู่ผสมพันธุ์ ทำ�รัง หรือช่วงที่มีนกอพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนเกาะต้องลดการ
รบกวนสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด งดการตัดแต่งกิ่ง การตัดหญ้า หรือการกำ�จัดวัชพืช
โดยเฉพาะบริเวณที่มีนกอพยพมาอาศัยหรือหากินอยู่
ประโยชน์ทไี่ ด้จากการพัฒนาพืน้ ทีเ่ ป็นแหล่งอนุรกั ษ์นก คือ การเพิม่ กิจกรรมการดูนกใน
แง่ของการท่องเทีย่ วบนเกาะ โดยอาจจัดบริเวณให้นกั ดูนกสามารถเฝ้าดูนกโดยไม่รบกวนนก
หรือรบกวนให้นอ้ ยทีส่ ดุ ซึง่ จะเป็นกิจกรรมทีส่ ามารถใช้ในการสร้างจิตสำ�นึกด้านการอนุรกั ษ์
อีกทางหนึง่ ทัง้ นีค้ วรมีการจัดบุคลากรในการดูแลและให้ความรูเ้ กีย่ วกับการดูนกทีถ่ กู ต้อง
ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการใช้เกาะแสมสารเป็นแหล่งเรียนรูท้ รัพยากรธรรมชาติ เพือ่
ปลูกฝังทรัพยากรบุคคลให้รู้จักการใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูก
ต้อง อันจะนำ�ไปสู่อนาคตที่มีความมั่นคง และยั่งยืนของลูกหลานสืบไป

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


92
��������� 6.indd 92 10/3/2563 BE 10:31
ดัชนีชื่อสามัญ (ไทย)
ชนิด หน้า ค
ก คัคคูแซงแซว 16
กระจอกตาล 85 คัคคูพันธุ์หิมาลัย 17
กระจาบธรรมดา 85 คัคคูพันธุ์อินเดีย 16
กระจิ๊ดขั้วโลกเหนือ 68 คัคคูมรกต 15
กระจิ๊ดขาสีเนื้อ 69 คัคคูหงอน 19
กระจิ๊ดเขียวปีกสองแถบ 67 คัคคูเหยี่ยวใหญ่ 18
กระจิ๊ดคัมชัตกา 68 คัคคูเหยี่ยวอกแดง 17
กระจิ๊ดซาคาลิน 70 คุ่มอกลาย 24
กระจิ๊ดธรรมดา 66 เค้ากู่, ฮูก 40
กระจิ๊ดปากหนา 70 เค้าจุด 40
กระจิ๊ดสีคล้ำ� 67 เค้าโมง, เค้าแมว 41
กระจิ๊ดหัวมงกุฎ 69 เค้าหูยาวเล็ก 39
กระจิบคอดำ� 60 จ
กระจิบธรรมดา 60 จับแมลงคอแดง 77
กระจิบหญ้าสีเรียบ 59 จับแมลงคิ้วเหลือง 80
กระติ๊ดขี้หมู 86 จับแมลงจุกดำ� 55
กระแตแต้แว้ด 22 จับแมลงดำ�อกสีส้ม 80
กระเบื้องผา 83 จับแมลงตะโพกเหลือง 79
กระปูดเล็ก 20 จับแมลงพันธุ์จีน 81
กระปูดใหญ่ 20 จับแมลงสีคล้�ำ 78
กวัก 22 จับแมลงสีน�้ำ ตาล 77
กะเต็นน้อยธรรมดา 45 จับแมลงสีน�้ำ ตาลแดง 78
กะเต็นหัวดำ� 46 จับแมลงสีฟ้า 81
กะเต็นอกขาว 45 จับแมลงสีฟ้าท้องขาว 82
กะรางหัวขวาน 42 จับแมลงสีฟ้าอกดำ� 82
กะลิง, กะแล 48 จับแมลงหลังเขียว 79
กางเขนดง 75 จาบคาคอสีฟ้า 43
กางเขนบ้าน 75 จาบคาเล็ก 42
กาน้ำ�เล็ก 28 จาบคาหัวเขียว 44
กาแวน 58 จาบคาหัวสีส้ม 43
กาเหว่า 18 ฉ
กิ้งโครงแกลบหลังม่วงดำ� 71 เฉี่ยวบุ้งใหญ่ 51
กินปลีคอสีน้ำ�ตาล 84 ซ
กินปลีอกเหลือง 84 แซงแซวปากกา 53
กินเปี้ยว 46 แซงแซวสีเทา 54
แก๊ก 41 แซงแซวหงอนขน 54
แก้วโม่ง 48 แซงแซวหางบ่วงใหญ่ 55
โกงกางหัวโต 50 แซงแซวหางปลา 53
ไก่ป่าตุ้มหูขาว 10 แซวสวรรค์ 56
ข แซวสวรรค์หัวดำ� 57
ขมิ้นท้ายทอยดำ� 49 แซวสวรรค์หางดำ� 56
ขมิ้นน้อยธรรมดา 52 ด
เขนท้องแดง 76 เด้าดิน 23
เขนน้อยไซบีเรีย 76 เด้าดินทุ่งเล็ก 87
เขาชวา 11 เด้าดินสวน 86
เขาไฟ 12 เด้าลมดง 87
เขาใหญ่ 11 เด้าลมหลังเทา 88

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


93
��������� 6.indd 93 10/3/2563 BE 10:31
ดัชนีชื่อสามัญ (ไทย)
เด้าลมเหลือง 88 ยางทะเล 30
เดินดงสีคล้ำ� 73 ยางโทนน้อย 31
เดินดงสีดำ� 73 ยางเปีย 32
เดินดงสีเทาดำ� 74 ยางไฟธรรมดา 29
เดินดงหัวสีส้ม 74 ยางไฟหัวดำ� 29
ต ว
ตบยุงภูเขา 13 แว่นตาขาวสีข้างแดง 71
ตบยุงเล็ก 12 ส
ตบยุงหางยาว 13 สีชมพูสวน 83
ตะขาบดง 44 ห
แต้วแล้วนางฟ้า 49 เหยี่ยวกิ้งก่าสีด�ำ 35
น เหยี่ยวขาว 34
นางนวลแกลบคิ้วขาว 26 เหยี่ยวดำ�ใหญ่ 38
นางนวลแกลบเคราขาว 25 เหยี่ยวแดง 33
นางนวลแกลบท้ายทอยดำ� 25 เหยี่ยวทุ่งพันธุ์เอเชียตะวันออก 37
นางนวลแกลบธรรมดา 27 เหยี่ยวนกเขาชิครา 34
นางนวลแกลบเล็ก 26 เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น 37
นางนวลแกลบสีกุหลาบ 27 เหยี่ยวผึ้ง 36
นางนวลแกลบหงอนใหญ่ 28 เหยี่ยวเพเรกริน 47
นางแอ่นบ้าน 62 เหยี่ยวรุ้ง 36
นางแอ่นแปซิฟิค 63 เหยี่ยวหน้าเทา 35
บ เหยี่ยวออสเปร 39
บั้งรอกใหญ่ 21 อ
ป ออก 38
ปรอดคอลาย 65 อัญชันอกเทา 21
ปรอดทอง 65 อีก๋อยเล็ก 23
ปรอดสวน 64 อีก๋อยใหญ่ 24
ปรอดหน้านวล 63 อีกา 59
ปรอดหัวสีเขม่า 64 อีแพรดแถบอกดำ� 52
ปรอดเหลืองหัวจุก 66 อีวาบตั๊กแตน 19
ปากห่าง 33 อีเสือลายเสือ 57
เปล้าอกสีม่วงน้ำ�ตาล 10 อีเสือสีน�้ำ ตาล 58
พ เอี้ยงสาริกา 72
พงคิ้วดำ� 61 เอี้ยงหงอน 72
พงตั๊กแตนท้ายทอยสีเทา 62 แอ่นกินรัง 14
พงตั๊กแตนอกลาย 61 แอ่นตาล 14
พญาไฟสีเทา 50
โพระดกธรรมดา 47 แอ่นบ้าน 15
ย แอ่นพง 51
ยางกรอกพันธุ์จีน 30
ยางเขียว 31
ยางดำ� 32

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


94
��������� 6.indd 94 10/3/2563 BE 10:31
คณะปฏิบัติงานวิทยาการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงชัย หาญยุทธนากร
อ.ดร.ธงชัย งามประเสริฐวงศ์
อ.ดร.นนทิวิชญ ตัณฑวนิช
ว่าที่ร้อยตรีศักรินทร์ แสนสุข
นายอัศวิทย์ ศรีศักราภิคุปต์
นายกฤต อดิเรก
นายวิชญนันท์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ
นายสุทธิพงศ์ อาศิรพจน์
นายเลอสรรค์ วศิโนภาส
นายกาญจน์ สฤษดิ์นิรันดร์
นายณัฐภัท โชติจักรดิกุล
นายปรมินทร์ เสนานันท์สกุล

กิตติกรรมประกาศ
โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากเงินงบประมาณแผ่นดินประจําปีงบประมาณ 2559 คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณ
โครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และหน่วย
บัญชาการสงครามพิเศษ ทางเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ที่ให้การสนับสนุน และอํานวยความสะดวกในการเก็บข้อมูล
โดยเฉพาะเรือเอก ดรงค์ บุญวงษ์ และนาวาตรี วิรัช บรรลือเขต ที่คอยให้ความช่วยเหลือตลอดมา และขอขอบพระคุณ นาย
สุภาพ แพรกน้อยในการให้ความช่วยเหลือ และอํานวยความสะดวกในการเดิน ทางไป-กลับ ระหว่างฝั่ง และเกาะแสมสาร ขอ
ขอบพระคุณภาควิชาชีววิทยา และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการให้ความช่วยเหลือด้านการประสานงาน
และดําเนินงานด้านต่าง ๆ ขอขอบพระคุณนายอนันต์ เอี่ยมสําอางค์ นายสุกิจ มาเอียด รวมทั้งหน่วยยานพาหนะ และซ่อม
และนายชาตรี ดาทอง ในการให้บริการด้านพาหนะด้วยดีตลอดมา และคุณศิริลักษณ์ นาคฉาย ที่ช่วยประสานงานฝ่ายต่าง ๆ
หนังสือเล่มนีค้ งไม่สามารถเกิดขึน้ ได้หากไม่ได้รบั ข้อมูลเบือ้ งต้นจากหนังสือ “นกในหมูเ่ กาะแสมสาร” และ “ความหลาก
หลาย และสถานภาพนกในหมู่เกาะทะเลไทย” ของรองศาสตราจารย์วีณา เมฆวิชัย ตลอดจนกองบรรณาธิการทั้งสองเล่ม
(สุทธิพงศ์ อาศิรพจน์, เลอสรรค์ วศิโนภาศ, ฐาปนา จ้อยเจริญ, พนิดา กรุดทอง, ธนพล วงศ์สวัสดิ์, พรชนก เอกเอื้อมณี
และวจนพร เทพสอน) ซึ่งขอขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ และขอขอบพระคุณครอบครัวเมฆวิชัยที่อนุญาตให้นําบทความของรอง
ศาสตราจารย์วีณา เมฆวิชัย ในหนังสือ “นกในหมู่เกาะแสมสาร” มาใช้ในหนังสือเล่มนี้ได้
สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณผู้ร่วมสํารวจ คณะที่ปรึกษา และกองบรรณาธิการ ทุกท่านที่ร่วมกันจัดทําหนังสือเล่มนี้จน
ประสบ ความสําเร็จในที่สุด

หนังสืออ้างอิง
- โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนอง
พระราชดำ�ริโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วีณา เมฆวิชัย (บรรณาธิการ) 2554 ความหลากหลาย และสถานภาพนกในหมู่
เกาะทะเลไทย. Print-At-Me (Thailand) Co., Ltd. กรุงเทพฯ
- โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนอง
พระราชดำ�ริโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วีณา เมฆวิชัย (บรรณาธิการ) 2553 นกในหมู่เกาะแสมสาร. Print-At-Me (Thai-
land) Co., Ltd. กรุงเทพฯ
- จารุจินต์ นภีตะภัฏ, กานต์ เลขะกุล, วัชระ สงวนสมบัติ. 2555 คู่มือศึกษาธรรมชาติหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมือง
ไทย. บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำ�กัด. กรุงเทพฯ
- Winkler, D.W., Billerman, S.M., Lovette, I.J. (2015). Bird Families of the World: An Invitation to the
Spectacular Diversity of Birds. Lynx Edicions, Barcelona.
- Treesucon, U. and Limparungpatthanakij, W. (2018). Birds of Thailand. Lynx and BirdLife International
Field Guides. Lynx Edicions, Barcelona.

ปักษาพรรณ ในพื้นที่เกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง


95
��������� 6.indd 95 10/3/2563 BE 10:31

You might also like