You are on page 1of 43

ชื่อโครงงาน : สบู่ใบเตย

ผู้จัดทำโครงงาน : นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนวัดวังพลับใต้

ครูที่ปรึกษา : นางสาวณัฐพิชชา พลายละหาร

ระยะเวลา : ( ระหว่าง วันที่ 13 มกราคม – ๑ 4 กุมภาพันธ์ 2563)

ที่มาของโครงงาน ( วันที่ 13 มกราคม 2563 )


ที่มาของโครงงาน
นักเรียนชั้นอนุบาลปี ที่ 3 ได้เรียนหน่วยการเรียน “ชุมชนของเรา”
ในกิจกรรมการเรียนการสอนได้นำรูปภาพเกี่ยวกับอาชีพในชุมชนมาให้
นักเรียนได้ทำความรู้จักและเรียนรู้ พร้อมกับเล่านิทานเรื่อง“อาชีพใน
ชุมชน ” ให้นักเรียนฟั ง เมื่อนักเรียนฟั งนิทานจบ นักเรียนเกิดความสนใจ
เกี่ยวกับในอาชีพเกษตรกรรม ครูจึงสนทนากับนักเรียนเรื่อง “อาชีพ
เกษตรกรรมในชุมชนที่นักเรียนเคยเห็น” เด็กส่วนมากสนใจในอาชีพการ
ปลูกใบเตยของชาวบ้าน ครูเลยสนทนาร่วมกับเด็กอีกครั้งและถาม
นักเรียนว่า
ครู : ใบเตยที่นักเรียนเคยเห็นมีลักษณะอย่างไร
อิฐ : มีใบยาวๆ
กานต์ : มีสีเขียวๆ ใบแหลมๆ
เอย : มีสีเขียว เป็ นก้าน
ครู : นักเรียน มีข้อสงสัยหรือคำถามที่อยากรู้อะไรบ้างเกี่ยว
กับเรื่องใบเตยบ้าง
น้ำหวาน : ใบเตยปลูกอย่างไร
โบท : ทำไมใบเตยมีสีเขียว
ณภัทร : ใบเตยมีประโยชน์อะไรบ้าง
น้ำมนต์ : ใบเตยนำไปทำขนมอะไรได้บ้าง
หอม : นอกจากขนม ใบเตยนำไปทำอะไรได้บ้าง
แซนตี้ : ใบเตยทำยาได้ไหม
ครู : นักเรียนมีคำถามอะไรอีกไหมที่อยากรู้ นักเรียน
ตอบว่าไม่มี ครูจึงสนทนาร่วมกับนักเรียนและสรุป
คำถามที่นักเรียนอยากรู้ โดยใช้ชาร์ทที่ครูจดบันทึก ซึ่ง
คำถามที่นักเรียนอยากรู้ 6 คำถาม

สรุปคำถามที่นักเรียนอยากรู้เกี่ยวกับเรื่อง ใบเตย นี้ ได้แก่


จากการที่ครูร่วมกันสนทนากับนักเรียน และมีคำถามที่นักเรียน
สงสัยเกี่ยวกับใบเตย 6 คำถาม ดังนี้
คำถามที่ 1 ใบเตยปลูกอย่างไร
คำถามที่ 2 ทำไมใบเตยมีสีเขียว
คำถามที่ 3 ใบเตยมีประโยชน์อะไรบ้าง
คำถามที่ 4 ใบเตยนำไปทำขนมอะไรได้บ้าง
คำถามที่ 5 นอกจากขนม ใบเตยนำไปทำอะไรได้บ้าง
คำถามที่ ๖ ใบเตยทำยาได้ไหม
จากคำถามที่นักเรียนอยากรู้ 6 คำถาม นักเรียนและครูร่วมกัน
สนทนาเพื่อเลือกคำถามที่จะนำมาสำรวจตรวจสอบ โดยการให้เหตุผล
ประกอบ ซึ่งนักเรียนเห็นว่า ต้องการเลือกคำถามที่ 4 คือ ใบเตยนำไปทำ
ขนมอะไรได้บ้าง เพราะจะได้เรียนรู้วิธีการนำใบเตยมาทำขนม และ
คำถามที่ ๕ คือ นอกจากขนมใบเตยนำไปทำอะไรได้บ้าง เพราะจะได้นำ
ความรู้ที่ได้ไปสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว คำถามที่ต้องการนำมาหา
คำตอบ คือ

๑. ใบเตยนำไปทำขนมอะไรได้บ้าง
๒. นอกจากขนม ใบเตยนำไปทำอะไรได้บ้าง

กิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องอาชีพในชุมชนหน่วยการ
ที่มาของโครงงาน

นักเรียนเกิดข้อสงสัยจากนิทาน เรื่อง
ครูจดคำถามที่นักเรียนอยากรู้
และเลือกคำถามที่จะนำมาสู่การสำรวจ
คำถามที่ ๑ ใบเตยนำไปทำ
ขั้นที่ 1 ตั้งคำถาม (วันที่ 14 มกราคม 25 ๖ 3)
นักเรียนและครูสนทนาร่วมกัน โดยครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียน
เล่าประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับใบเตย
ครู : นักเรียนเคยเห็นขนมที่ทำมาจากใบเตยบ้างไหมคะ
นักเรียนทุกคน : เคยเห็นค่ะ
ครู : แล้วขนมอะไรที่เด็ก ๆ เคยเห็นบ้าง
โปเต้ : ขนมถ้วยครับ
หอม : ขนมใส่ใส้ใบเตยค่ะ
แซนตี้ : ขนมปั งใบเตยค่ะ
ปุ้ม : ขนมบัวลอยค่ะ
เก้า : วุ้นครับ
โปเต้ : ขนมครกครับ
ครู : แล้วนักเรียนคนอื่นละค่ะ เคยเห็นไหม
นักเรียน : ไม่เคยค่ะ/ไม่เคยครับ

ครูจึงสนทนาต่อกับนักเรียนถึงขนมที่ทำมาจากใบเตย โดยการพา
นักเรียนไปห้องเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาหาข้อมูล แล้วให้นักเรียนมา
สรุปให้ครูและเพื่อนๆ ฟั งว่ามีขนมอะไรบ้างที่ทำมาจากใบเตย (เป็ นที่มา
ของคำถามที่ ๑ ใบเตยนำไปทำขนมอะไรได้บ้าง )
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น ใบเตย
ตัวแปรตาม ขนมที่ทำมาจากใบเตย
ตัวแปรควบคุม สีของใบเตย

ขั้นที่ 2 รวบรวมความคิดและข้อสันนิษฐาน (วันที่ 15 มกราคม


25 ๖ 3)
ครูสนทนาร่วมกับนักเรียนต่อ เรื่อง ใบเตย ที่นักเรียนได้ไปศึกษา
จากห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ครูได้ทบทวนถึงคำถามที่นักเรียนอยากรู้ คือ
“ใบเตยนำไปทำขนมอะไรได้บ้าง” และครูให้นักเรียนคาดคะเนคำตอบ
เป็ นการร่วมกันสันนิษฐานถึงคำตอบ ให้นักเรียนร่วมกันคาดคะเนคำตอบ
ว่าอย่างไร จากคำถามนี้ “นักเรียนคิดว่า ใบเตยนำไปทำขนมอะไรได้
บ้าง” และให้นักเรียนนำเสนอ ครูเขียนข้อสันนิษฐานลงในกระดาษชาร์ท

กลุ่มที่ 1 ใบเตยนำไปทำขนมบัวลอยได้
กลุ่มที่ 2 ใบเตยนำไปทำขนมวุ้นใบเตยได้

นักเรียนเสนอข้อสันนิษฐานคำตอบ คำถามที่ 1. ใบเตย


ขั้นที่ 3 ทดสอบและการปฏิบัติการสืบเสาะ (วันที่ 17 มกราคม
25 ๖ 3)
ครูสนทนากับนักเรียน โดยใช้คำถาม “นักเรียนมีวิธีการหาคำตอบโดยวิธี
ใดบ้าง ถึงจะทราบว่าใบเตยนำไปทำขนมอะไรได้บ้าง”
กลุ่มที่ ๒ บอกว่า ไปถามผู้ปกครองที่บ้าน
ครู : ถ้านักเรียนจำไม่ได้จะทำอย่างไร
โบท : วาดรูปครับ ครูเขียนบันทึกที่แผ่นชาร์ท
กลุ่มที่ 1 บอกว่า ดูจากอินเตอร์เน็ตก็ได้หนูดูรูปภาพ
ครู : หนูดูรูปภาพแต่อ่านหนังสือไม่ออกจะทำอย่างไร
กานต์ : ให้คุณครูอ่านให้ฟั ง ครูเขียนบันทึกที่แผ่น
ชาร์ท
นักเรียนและครูร่วมกันสรุปวิธีการหาคำตอบ เรื่อง ใบเตยนำไปทำ
ขนมอะไรได้บ้าง และนักเรียนตกลงกันว่า จะใช้วิธีการสืบค้นทาง
อินเตอร์เน็ต และทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ เพราะจะได้รู้คำตอบพร้อมกับ
เห็นใบเตยของจริงและสนุกด้วย
ขั้นที่ 3 ทดสอบและการปฏิบัติการสืบเสาะ (วันที่ 20 มกราคม
25 ๖ 3)
ครูพานักเรียนทั้งสองกลุ่ม ค้นคว้าข้อมูลการนำใบเตยมาทำขนมใน
แบบต่างๆ จากอินเตอร์เน็ตที่ห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน โดยครู
สหชาติ ปานสุวรรณ ครูผู้รับผิดชอบห้องคอมพิวเตอร์ ให้ความอนุเคราะห์
แนะนำวิธีการค้นหาข้อมูล

นักเรียนค้นคว้าหาข้อมูลจาก
ขั้นที่ 3 ทดสอบและการปฏิบัติการสืบเสาะ (วันที่ 21 มกราคม
25 ๖ 3)
นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเรื่องราวความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา
ค้นคว้าข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตในห้องคอมพิวเตอร์
ครู : นักเรียนเห็นขนมอะไรบ้างที่ทำมาจากใบเตย
โปเต้ : ขนมต้มครับ
หอม : ขนมบัวลอยค่ะ
แซนตี้ : วุ้นใบเตยค่ะ
ครู : มีอะไรอีกไหมค่ะ ที่นักเรียนเห็น จากการศึกษาใบเตยนำ
มาทำขนมอะไรได้บ้าง
นักเรียน : ไม่มีค่ะ/ครับ
ครู : ถ้าไม่มีอะไรต่อ เราทดลองการทำขนมจากใบเตยตามวิธีที่
นักเรียนได้ไปศึกษาค้นคว้ามากันเถอะค่ะ
นักเรียน : ดีค่ะ/ดีครับ

อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการทดลอง
( ขนมต้มใบเตย )
1. น้ำใบเตยโดยคั้นสีมาแล้ว
2. แป้ งข้าวเหนียว
3. มะพร้าวขูด
4. น้ำเปล่า
นักเรียนร่วมกันสรุปขั้นตอนการทดลองเรื่อง ใบเตยนำมาทำขนมอะไรได้
บ้าง ( ขนมต้มใบเตย )
1. นำแป้ งข้าวเหนียวมาผสมน้ำนิดหน่อย และขยำแป้ งไปเรื่อย ๆ
ให้เข้ากัน
2. เทน้ำใบเตยที่คั้นแล้วลงไปในแป้ ง
3. ตั้งน้ำให้พอประมาณ รอเดือด
4. ปั้นแป้ งที่ผสมเรียบร้อยแล้วให้เป็ นวงกลมพอดีคำ
5. เมื่อน้ำเดือด ให้นำแป้ งที่ปั้นเป็ นวงกลม ค่อย ๆ ใส่ลงไป รอสุก
6. เมื่อสุกแล้ว นำมาคลุกมะพร้าว พร้อมทาน

ภาพการทดลองทำขนมต้มใบ

ภาพการทดลองทำขนมต้มใบ
อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการทดลอง
( ขนมบัวลอยใบเตย )
1. แป้ งข้าวเหนียว
2. น้ำใบเตยโดยคั้นสีมาแล้ว
3. กะทิ
4. น้ำตาล
5. เกลือ
6. น้ำเปล่า
นักเรียนร่วมกันสรุปขั้นตอนการทดลองเรื่อง ใบเตยนำมาทำขนมอะไรได้
บ้าง ( ขนมบัวลอยใบเตย )
1. นำแป้ งข้าวเหนียวมาผสมน้ำนิดหน่อย และขยำแป้ งไปเรื่อย ๆ
ให้เข้ากัน
2. เทน้ำใบเตยที่คั้นแล้วลงไปในแป้ ง
3. ปั้นแป้ งที่ผสมเรียบร้อยแล้วให้เป็ นวงกลมเล็ก ๆ และคลุกด้วย
แป้ งเพื่อไม่ให้แป้ งที่ปั้นติดกัน
4. ตั้งน้ำให้พอประมาณ รอเดือด
5. เมื่อน้ำเดือด ให้นำแป้ งที่ปั้นเป็ นวงกลม ค่อย ๆ ใส่ลงไป รอสุก
6. เมื่อสุกแล้วให้ตักขึ้นมาพักน้ำไว้
7. แล้วต้มกะทิ เกลือ น้ำตาล ลงไป ( ชิมน้ำ ให้พอดี )
8. คน กะทิ ให้เดือด แล้วใส่ใบเตยลงไปเพื่อความหอม
9. เมื่อน้ำเดือดเรียบร้อยแล้ว ให้นำแป้ งที่ต้มสุกแล้ว มาใส่ลงไป รอ
เดือดอีกรอบ พร้อมทาน

ภาพการทดลองทำขนม
ภาพการทดลองทำขนมบัวลอย
อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการทดลอง
( ขนมวุ้นใบเตย )
1. น้ำใบเตยโดยคั้นสีมาแล้ว
2. น้ำเปล่า
3. ผงวุ้น
4. พิมพ์วุ้น
นักเรียนร่วมกันสรุปขั้นตอนการทดลองเรื่อง ใบเตยนำมาทำขนมอะไรได้
บ้าง ( ขนมวุ้นใบเตย )
1. ต้มน้ำเปล่าให้เดือด
2. เมื่อน้ำเดือนให้ใส่ผงวุ้นลงไป และ เทน้ำใบเตยที่คั้นสีไว้ ลงไป
แล้วคน
3. รอให้วุ้นและน้ำเปล่าเข้ากันจนเดือด
4. นำวุ้นลงพิมพ์ที่เตรียมไว้
5. รอประมาณ 5 – 10 นาที ให้วุ้นแข็งตัว พร้อมทาน

ภาพการทดลองทำขนมวุ้น
ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย (วันที่ 27 มกราคม 25 ๖ 3)
นักเรียนแต่ละกลุ่มสังเกตผลของการทดลองเกี่ยวกับใบเตยนำมาทำ
ขนมอะไรได้บ้าง
ครู : นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างเมื่อใส่น้ำของใบเตยลงไป
โปเต้ : ขนมจะมีสีเขียวครับ
ปุ้ม : ขนมมีกลิ่นหอมค่ะ
ครู : นักเรียนสังเกตเห็นอะไรอีกบ้าง
กานต์ : มีรสชาติที่อร่อยมาก ๆ เลยค่ะ
ครู : มีอะไรอีกไหมค่ะ ที่นักเรียนเห็น จากการนำใบเตยมาทำ
เป็ นขนม
นักเรียน : ไม่มีค่ะ/ครับ

ขั้นที่ ๕ บันทึกข้อมูล (วันที่ 28 มกราคม 25 ๖ 3)


บันทึกผลการทดลอง
ทำได้ ทำไม่ได้
ขั้น ใบเตยนำมาทำขนมอะไรได้บ้าง ที่ 6
ขนมต้มใบเตย 

ขนมบัวลอยใบเตย 

ขนมวุ้นใบเตย 

สรุปและอภิปรายผล (วันที่ 29 มกราคม 25 ๖ 3)


นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาถึงคำถามที่นักเรียนอยากรู้ “ใบเตย
นำมาทำขนมอะไรได้บ้าง” ครูให้นักเรียนทบทวน โดยการให้นักเรียนออก
มาเล่าวิธีการหาคำตอบว่าได้มาอย่างไร และผลการศึกษาเป็ นอย่างไร
โดยใช้ผลงานที่วาดประกอบการนำเสนอ และครูร่วมกับนักเรียนสรุปต่อ
ไปโดยใช้คำถามว่า
ครู : จากการทดลองเด็ก ๆ คิดว่า ขนมอะไรที่เราทดลองกัน
ทำง่ายที่สุด
ออม : วุ้นใบเตยคะ
กานต์ : ขนมต้มคะ
ครูจึงถามนักเรียนต่อว่า แล้วนักเรียนมีคำถามอะไรอีกไหมที่อยากรู้
ซึ่งพบว่านักเรียนมีคำถามต่อเนื่องอีก คือ นอกจากขนม ใบเตยนำไปทำ
อะไรได้บ้าง

ผลการพัฒนาความสามารถของนักเรียนปฐมวัย
1.ผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน 4 ด้าน
1.1 ด้านการเรียนรู้
- นักเรียนสามารถเล่า/บอกวิธีการหาคำตอบของตนเองได้
- นักเรียนได้เรียนรู้สีที่คั้นได้จากใบเตย
1.2 ด้านภาษา
- นักเรียนมีพัฒนาการด้านภาษาจากการสนทนาโต้ตอบแสดง
ความคิดเห็น
- ทักษะด้านภาษาจากการอ่านคำง่ายๆ เช่น น้ำ สี ฯ
- นักเรียนได้พูด เล่า สิ่งที่พบ ด้วยคำพูดของตนเอง
1.3 ด้านสังคม
- นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟั งความ
คิดเห็นของผู้อื่น
- นักเรียนเคารพกฎกติกาและปฏิบัติตามข้อตกลงของ
ห้องเรียน
1.4 ด้านการเคลื่อนไหว
- นักเรียนเคลื่อนไหวหยิบจับ อุปกรณ์ ได้อย่างคล่องแคล่ว
- นักเรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตด้วยตัวเอง
จนได้ข้อมูลที่ชัดเจน
2. ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.1 ทักษะการสังเกต
- การ หยิบ จับ สัมผัส และสังเกตการเปลี่ยนสีของขนมที่ทำ
2.2 ทักษะการวัด
- การวัดความเร็ว ความช้าของสารที่ทำต้มน้ำ
2.3 ทักษะการคำนวณ
- การคำนวณวัตถุในการทำขนม
2.4 ทักษะการจำแนกประเภท
- เปรียบเทียบสิ่งที่คาดคะเนกับผลการศึกษาว่าเหมือนหรือ
ต่างกัน
2.5 ทักษะการพยากรณ์หรือการคาดคะเนคำตอบ
- นักเรียนบอกได้ว่าใบเตยนำมาทำขนมอะไรได้บ้าง
2.6 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเป
สกับเวลา
- นักเรียนบอกได้ว่าเมื่อใส่น้ำใบเตยที่คั้นลงไปจะเป็ นอย่างไร
2.7 ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
- นักเรียนสามารถสรุปผลสิ่งที่สังเกตโดยการวาดภาพในแบบ
บันทึก และนำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เพื่อน ๆ เข้าใจได้
2.8 ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
- นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมโดยใช้ความคิด
เห็นส่วนตัวได้ว่า เมื่อใส่ใบเตยลงไปจะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร

คำถามที่ ๒ นอกจากขนม ใบเตยนำ

ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามที่อยากรู้ (วันที่ 30 มกราคม 25 ๖ 3)


จากการที่นักเรียน ได้เรียนรู้เรื่อง ใบเตยนำไปทำขนมอะไรได้บ้าง
และได้คำตอบว่า สามารถนำมาทำขนมได้หลายอย่างมาก เช่น ขนมต้มใบ
เตย ขนมบัวลอยใบเตย และ ขนมวุ้นใบเตย เป็ นต้น และนักเรียนบางคน
มีคำถามต่อเนื่องว่า
อิฐ : นอกจากขนม ใบเตยนำไปทำอะไรได้บ้างครับ
น้ำหวาน : เรานำใบเตยมาสร้างรายได้ ได้ไหมค่ะ
ครูจึงถามนักเรียนว่า แล้วนักเรียนคนอื่นๆ ล่ะค่ะอยากรู้อย่างอื่นเพิ่ม
เติมอีกหรือไม่ นักเรียนส่วนใหญ่บอกว่า หนูอยากรู้เหมือนเหมือนอิฐ ครู
จึงร่วมสนทนากับนักเรียนต่อ
ครู : นักเรียนคิดว่านอกจากขนม ใบเตยสามารถนำมาทำ
อะไรได้บ้าง
อิฐ : นำมาทำสบู่ใบเตยครับ
ปุ้ม : นำมาทำดอกไม้จากใบเตยค่ะ
ออม : นำมาทำมงกุฏดอกไม้ค่ะ
ณภัทร : นำมาทำเครื่องหอมครับ
โปเต้ : นำมาทำน้ำใบเตยครับ
นักเรียนและครูร่วมกันสรุปและเลือกการทดลอง คือ การทดลองสบู่ใบ
เตย

ขั้นที่ 2 รวบรวมความคิดและคาดคะเนคำตอบ (วันที่ 31 มกราคม


25 ๖ 3)
นักเรียนและครูสนทนาร่วมกัน โดยครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียน
เล่าประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับการนำใบเตยมาแปรรูปด้วยวิธีต่างๆ
ครู : นักเรียนเคยนำใบเตยมาทำขนมกันแล้วนะคะ
โปเต้ : เคยครับ
เอย : เคยค่ะ
ครู : นักเรียนเคยเห็นสบู่ที่ทำมาจากใบเตยไหมคะ
โบท : ไม่เคยครับ
ปุ้ม : เคยค่ะ
ครูให้นักเรียนคาดคะเนคำตอบ โดยแบ่งกลุ่ม ๆ เดิม และให้แต่ล่ะ
กลุ่มคาดคะเนคำตอบโดยครูใช้คำถาม นักเรียนคิดว่าถ้าเรา นำใบเตยมา
ดัดแปลงทำสบู่จะได้หรือไม่
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอความคิดและครูบันทึกคำพูดของ
นักเรียนลงบนชาร์ท

ขั้นที่ 3 ดำเนินการสำรวจตรวจสอบ (วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 25 ๖ 3)


ครูสนทนากับนักเรียน โดยใช้คำถาม “นักเรียนมีวิธีการหาคำตอบ เรื่อง
นอกจากขนม ใบเตยนำมาทำอะไรได้บ้าง ”
กลุ่มที่ 1 บอกว่า ดูจากอินเตอร์เน็ตก็ได้หนูดูรูปภาพ
ครู : หนูจะหาข้อมูลเรื่องนี้อย่างไรค่ะ
ปุ้ม : ให้ครูเตยดูค่ะ
ครู : แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ารสชาติเป็ นแบบไหน
เอย : ให้ครูเตยอ่านให้ฟั งค่ะ
กลุ่มที่ 2 บอกว่า ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้และเชิญวิทยากร
ครู : นอกจากการหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตแล้ว นักเรียน
คิดว่ามีวิธีใดบ้างที่ทำให้ ได้ข้อมูลที่ต้องการรู้ เรื่อง นอกจากขนม ใบเตย
นำมาทำอะไรได้บ้าง
กาน : ไปดูงานตามสถานที่ต่างๆ ค่ะ ที่มีคนใบเตย และ
ให้วิทยากรให้ข้อมูล
นักเรียนและครูร่วมกันสรุปวิธีการหาคำตอบ เรื่อง นอกจากขนม
ใบเตยนำมาทำอะไรได้บ้างและนักเรียนตกลงกันว่า จะทัศนศึกษาแหล่ง
เรียนรู้และเชิญวิทยากรมาให้ข้อมูล เพราะจะได้รู้คำตอบพร้อมกับเห็นวิธี
การทำของจริงและสนุกด้วย
ครูให้นักเรียนออกแบบวิธีบันทึกผล และนำเสนองาน โดยถามว่า
“เมื่อได้รับความรู้เรื่อง นอกจากขนม ใบเตยนำมาทำอะไรได้บ้าง
นักเรียนมีวิธีบันทึกผลอย่างไรบ้าง และจะนำงานไปให้คนอื่นมีความรู้ด้วย
อย่างไร”
เอย : พอสังเกตใบเตยแล้วให้นักเรียนวาดรูปใบเตย
ต้าร์ : สอบถามวิทยากรจากแหล่งเรียนรู้ที่เข้าศึกษา
นักเรียนและครูสรุปตามวิธีการที่นักเรียนร่วมกันออกแบบ
ดังนั้นครูจึงให้นักเรียนหาข้อมูลการนำใบเตยมาแปรรูป จากห้อง
คอมพิวเตอร์ของโรงเรียน
มอบหมายให้นักเรียนทุกคนนำหนังสือขออนุญาตผู้ปกครองกลับไปให้ผู้
ปกครองเซ็นต์และนำมาส่งคืนคุณครู

ภาพการศึกษาแหล่งเรียนรู้ ณ ศูนย์แหล่ง
ภาพการศึกษาแหล่งเรียนรู้ ณ ศูนย์แหล่งเรียนรู้
ภาพการศึกษาแหล่งเรียนรู้ ณ ศูนย์แหล่งเรียนรู้
ขั้นที่ 3 ทดสอบและปฏิบัติการสืบเสาะ (วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 25 ๖ 3)

นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเรื่องราวความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา
ค้นคว้าข้อมูลจากวิทยากร
ครู : นักเรียนคิดว่าเราสามารถนำใบเตยมาทำอะไรได้
นอกจากขนมบ้างค่ะ
อิฐ : สบู่ใบเตยครับ
ครู : นักเรียนคนอื่นละคะคิดว่าเราสามารถนำใบเตยมาทำ
อะไรได้นอกจากขนมบ้างค่ะ
นักเรียน : คิดเหมือนอิฐ
ครู : ถ้าไม่มีอะไรต่อ เราทดลองการทำสบู่ใบเตยตามวิธีที่
นักเรียนได้ไปศึกษาค้นคว้ามากันเถอะค่ะ
นักเรียน : ดีค่ะ/ดีครับ

อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการทดลอง
๑. น้ำมันปาล์ม
๒. น้ำมันมะพร้าว
๓. โซดาไฟ
๔. พิมพ์สบู่
5. ใบเตยซอย
6. น้ำใบเตยที่คั้นเป็ นสี
นักเรียนร่วมกันสรุปขั้นตอนการทดลองการทำสบู่ใบเตย เพื่อตรวจสอบ
คำถามข้อที่ ๒. เรื่อง นอกจากขนม ใบเตยนำไปทำอะไรได้บ้าง
1. นำน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว และ โซดาไฟ เทใส่ลงไปแล้วค้น
ให้เข้ากัน
2. นำน้ำใบเตยที่คั้นเป็ นสีแล้วมาเทแล้วคนให้เข้ากัน
3. เมื่อคนเข้ากันแล้ว นำใบเตยซอยแล้วมาใส่แล้วคนให้เข้ากันอีก
รอบ
4. เทใส่พิมพ์
5. รอให้แห้งและแข็งตัว ประมาณ 2 ชั่วโมง พร้อมใช้

ภาพการทดลองทำสบู่ใบเตย

ภาพการทดลองทำสบู่ใบเตย
ภาพการทดลองทำสบู่ใบเตย
ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย (วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 25 ๖ 3)

นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเรื่องราวความรู้ที่ได้รับจากการ
ไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ชุมชนของวังพลับใต้และศึกษาข้อมูลจาก
วิทยากรในการทำสบู่

นักเรียนแต่ละกลุ่มสังเกตผลของการทดลองเกี่ยวกับสบู่ใบเตย
ครู : นักเรียนได้ลงมือทำสบู่ใบเตยกันแล้วใช่ไหมคะ
นักเรียน : ใช่คะ
ครู : นักเรียนสังเกตเห็นอะไรอีกบ้างในการทำสบู่
เก้า : เห็นสีของสบู่ที่เปลี่ยนไปเมื่อใส่น้ำใบเตยครับ
หอม : ได้กลิ่นหอมเมื่อใส่ใบเตยที่ซอยลงไปคะ
ครู : มีอะไรอีกไหมค่ะ ที่นักเรียนเห็น จากการนำใบเตยมาทำ
สบู่
นักเรียน : ไม่มีค่ะ/ครับ

ขั้นที่ ๕ บันทึกข้อมูล (วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 25 ๖ 3)

นักเรียนบันทึกผลการทดลอง โดยการวาด
ขั้นที่ 6 สรุปและอภิปรายผล (วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 25 ๖ 3)
นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาถึงคำถามที่นักเรียนอยากรู้
“นอกจากขนม ใบเตยนำไปทำอะไรได้บ้าง” ครูให้นักเรียนทบทวน โดย
การให้นักเรียนออกมาเล่าวิธีการหาคำตอบว่าได้มาอย่างไร และผลการ
ศึกษาเป็ นอย่างไร โดยใช้ผลงานที่วาดประกอบการนำเสนอ และครูร่วม
กับนักเรียนสรุปต่อไปโดยใช้คำถามว่า
ครู : จากการทดลองนักเรียนได้คำตอบที่นักเรียน
ต้องการทราบ เรื่อง นอกจากขนม ใบเตยนำไปทำอะไรได้บ้าง
โบท : ได้คำตอบครับ
ครู : จากการทดลอง นักเรียนรู้แล้วใช่หรือไม่ว่าใบเตย
สามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย
นักเรียน : รู้แล้วค่ะ/ครับ

ครูให้นักเรียน คิดวิธีการนำเสนอผลการทดลองร่วมกัน โดยนักเรียนคิดวิธี


การเผยแพร่โครงงานสบู่ใบเตย ดังนี้
๑. นำเสนอโดยจัดเป็ นนิทรรศการ
๒. จำหน่ายผลิตภัณฑ์โครงงาน ( สบู่ใบเตย )
๓. นำมาทำเป็ นขนมแปรรูปสำหรับจำหน่าย

การเผยแพร่ผลสำเร็จของโครงงาน

โดยการจัดนิทรรศการ(วันที่ 14
การเผยแพร่ผลสำเร็จของ
โครงงาน ( ต่อ )

การเผยแพร่ผลสำเร็จของ
โครงงาน ( ต่อ )
การเผยแพร่ผลสำเร็จของ
โครงงาน ( ต่อ )
การเผยแพร่ผลสำเร็จของ
โครงงาน ( ต่อ )
การเผยแพร่ผลสำเร็จของ
โครงงาน ( ต่อ )
การเผยแพร่ผลสำเร็จของ
โครงงาน ( ต่อ )
ผลการพัฒนาความสามารถของนักเรียนปฐมวัย
1.ผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน 4 ด้าน
1.1 ด้านการเรียนรู้
- นักเรียน ๆ สามารถเล่า/บอกวิธีการหาคำตอบของตนเองได้
- นักเรียนได้เรียนรู้สารหรือส่วนประกอบของการทำสบู่ได้
1.2 ด้านภาษา
- นักเรียนมีพัฒนาการด้านภาษาจากการสนทนาโต้ตอบแสดง
ความคิดเห็น
- ทักษะด้านภาษาจากการอ่านคำง่ายๆ เช่น น้ำ สบู่ สี ฯ
- นักเรียนได้พูด เล่า สิ่งที่พบ ด้วยคำพูดของตนเอง
1.3 ด้านสังคม
- นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับฟั งความ
คิดเห็นของผู้อื่น
- นักเรียนเคารพกฎกติกาและปฏิบัติตามข้อตกลงของ
ห้องเรียน
1.4 ด้านการเคลื่อนไหว
- นักเรียนเคลื่อนไหวหยิบจับ อุปกรณ์ ได้อย่างคล่องแคล่ว
- นักเรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตด้วยตัวเอง
จนได้ข้อมูลที่ชัดเจน
2. ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.1 ทักษะการสังเกต
- การ หยิบ จับ สัมผัส และสังเกตสารหรือส่วนประกอบของ
การทำสบู่
2.2 ทักษะการวัด
- การวัดความเร็ว ความช้าของส่วนผสมในการคนในเข้ากัน
2.3 ทักษะการคำนวณ
- การคำนวณวัสดุในการทำสบู่
2.4 ทักษะการจำแนกประเภท
- เปรียบเทียบสิ่งที่คาดคะเนกับผลการศึกษาว่าเหมือนหรือ
ต่างกัน
2.5 ทักษะการพยากรณ์หรือการคาดคะเนคำตอบ
- นักเรียนบอกได้ว่านอกจากขนม ใบเตยนำมาทำอะไรได้บ้าง
2.6 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเป
สกับเวลา
- นักเรียนบอกได้ว่าเมื่อใส่น้ำใบเตยที่คั้นลงไปจะเป็ นอย่างไร
2.7 ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
- นักเรียนสามารถสรุปผลสิ่งที่สังเกตโดยการวาดภาพในแบบ
บันทึก และนำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เพื่อน ๆ เข้าใจได้
2.8 ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
- นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมโดยใช้ความคิด
เห็นส่วนตัวได้ว่า เมื่อใส่ใบเตยลงไปจะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร

You might also like