You are on page 1of 25

พระราชนิพนธ์โดย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)
รูปแบบการประพันธ์
แต่งเป็นกาพย์เห่เกริ่นด้วยโคลงสี่สุภาพ ๑ บท
ก่อนจะตามด้วยกาพย์ยานี ๑๑ ที่มีเนื้อหาสอดคล้อง
กันกับโคลงบทนา

.
ความเป็นมา ของ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
พ ระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น
เพื่อชมฝีพระหัตถ์ในการประกอบพระกระยาหารของสมเด็จพระศรีสุริเยน
ทราบรมราชินี พระอัครมเหสีเมื่อครั้งยังดารงพระยศเป็นเจ้าฟ้าบุญรอด
และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็ทรงดารงพระยศเป็น
เจ้าฟ้า ฯ กรมหลวงอิศรสุนทร

.
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานมีเนื้อหาความบรรยาย
เนื้อเรื่อง พริก
และพรรณนาถึงอาหารคาวหวาน และผลไม้ต่างๆ
บทเห่ชมเครื่องคาว มี ๑๕ อย่าง ได้แก่
๑. แกงมัสมั่น ๒. ยาใหญ่ ๓. ตับเหล็กลวก ๔. หมูแนม ๕. ก้อยกุ้ง
๖. แกงเทโพ ๗. น้ายาแกงขม ๘. ข้าวหุง ๙. แกงคั่วส้มหมูป่า ๑๐. พล่าเนื้อ
๑๑. ล่าเตียง ๑๒. หรุ่ม ๑๓. รังนกนึ่ง ๑๔. ไตปลา ๑๕. แสร้งว่า

“ และปิดท้ายด้วยผักโฉมและผักหวาน ”
.
เนื้อเรื่อง ผลไม้มี ๑๕ ชนิด คือ
๑. ลูกชิด ๕. มะม่วง ๙. น้อยหน่า ๑๓. ลางสาด
๒. ลูกตาล ๖. ลิ้นจี่ ๑๐. ผลเกด ๑๔. เงาะ
๓. ผลจาก ๗. ส้มฉุน ๑๑. ทับทิม ๑๕. สละ
๔. มะปราง ๘. ลูกพลับ ๑๒. ทุเรียน

.
เนื้อเรื่อง เครื่องหวานมี ๑๖ ชนิด คือ
๑. ข้าวเหนียวสังขยา ๕. ลุดตี่แผ่นกลม ๙. ขนมผิง ๑๓. จ่ามงกุฎ
๒. ซ่าหริ่ม ๖. ขนมจีบ ๑๐. ขนมเรไร๑๔. บัวลอย
๓. ลาเจียก ๗. ขนมเทียน ๑๑. ทองหยอด ๑๕. ช่อม่วง
๔. มัศกอด ๘. ทองหยิบ ๑๒. ทองม้วน ๑๖. ฝอยทอง

.
แกงมัสมั่น
“ มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา ”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงแกงมัสมั่นที่มีกลิ่นหอม
ของยี่หร่าว่า เมื่อชายใดได้ลิ้มรสแล้วอยากลิ้มรสอยูเ่ สมอ

.
ยาใหญ่
“ ยาใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา
รสดีด้วยน้าปลา ญี่ปุ่นล้าย้ายวนใจ ”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงยาใหญ่ ที่จัดวางเอาไว้ในจาน
อย่างมากมายและปรุงรสให้อร่อยขึ้นด้วยน้าปลาญี่ปุ่น

.
ตับเหล็กลวก
“ ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้าส้มโรยพริกไทย
โอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง ”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงอาหารที่นางอันเป็นที่รักปรุงให้ คือ
ตับเหล็กลวก ที่ไม่มีฝีมือของนางใดเทียบเทียมได้

.
หมูแนม
“ หมูแนมแหลมเลิศรส พร้อมพริกสดใบทองหลาง
พิศห่อเห็นรางชาง ห่างห่อหวนป่วนใจโหย ”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงหมูแนมว่ามีรสชาติอร่อย รับประทาน
พร้อมกับพริกสดและใบทองหลาง ที่น้องห่อมาอย่างประณีต

.
ก้อยกุ้ง
“ ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤาจะเปรียบเทียบทันขวัญ ”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงก้อยกุ้ง เมื่อสัมผัสถึงลิ้นก็เหมือน
ได้ลิ้มรสอาหารที่อร่อยกว่าอาหารทิพย์

.
แกงเทโพ
“ เทโพพื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยมัน
น่าซดรสครามครัน ของสวรรค์เสวยรมย์ ”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงแกงปลาเทโพ ที่มีเนื้อหน้าท้องเป็นมันย่อง
เมื่อได้ซดน้าแกง ก็เหมือนกับได้ลิ้มรสอาหารสวรรค์

.
น้ายาแกงขม
“ ความรักยักเปลี่ยนท่า ทาน้ายาอย่างแกงขม
กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคลับคล้ายเห็น”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงยามเมื่อได้รับประทานน้ายากิน
กับแกงขม (มะระ) ว่ามีรสที่กลมกล่อม

.
ข้าวหุง
“ ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น
ใครหุงปรุงไม่เป็น เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทา ”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงข้าวหุง ที่เป็นอาหาร
ของชาวอิสลามว่าไม่มีใครอีกแล้ว ที่จะปรุงข้าวหุง
ได้อร่อยเหมือนนาง

.
แกงคั่วส้มหมูปา่
“ เหลือรู้หมูป่าต้ม แกงคั่วส้มใส่ระกา
รอยแจ้งแห่งความขา ช้าทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงแกงคั่วส้มที่มีส่วนผสมของหมูป่า
และระกา ทาให้กวีนึกถึงอดีตที่เคยปกปิดไว้ และนึกถึงนาง
ว่าคงจะอยู่อย่างยากลาบาก

.
พล่าเนือ้
“ ช้าช้าพล่าเนื้อสด ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม
คิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์ ”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงพล่าเนื้อสดที่มีกลิ่นหอม ทาให้กวี
คิดถึงยามที่เคยกอดนาง และเนื้อของนางนั้นมีกลิ่นหอม

.
ล่าเตียง
“ ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทาเมืองบน
ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงล่าเตียงที่ทาเป็นชั้นๆ ทาให้คิดถึง
น้องที่นอนบนเตียงทองจากเมืองบน (เมืองสวรรค์) ที่ลดหลั่นเป็นชั้นๆ
ทาให้กวีคิดอยากที่จะนอนกอดนาง

.
หรุ่ม
“ เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน
เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง ”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึง หรุ่ม เมื่อกวีเห็นหรุ่มก็ทาให้จิตใจของ
กวีร้อนรุ่ม ประกอบกับความคิดถึงนาง จึงเหมือนมีคนมาสุมไฟ

.
รังนกนึง่
“ รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง
นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน ”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงรักนกนึ่งที่น่าซด เพราะว่ามีรสอร่อย
กว่าอาหารทั้งหมด แล้วเปรียบเทียบว่านกพรากจากรังก็เหมือน
กับกวีในขณะนี้ที่ต้องพรากจากนาง

.
ไตปลา/แสร้งว่า
“ ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน
ใบโศกบอกโศกครวญ ให้พี่เคร่าเจ้าดวงใจ ”
กาพย์บทนี้เป็นบทเปรียบเทียบ ไตปลากับแสร้งว่า
ว่าเหมือนดังวาจาของน้องที่แกล้งเจรจา ครั้นแลไปเห็นใบโศก
ทาให้กวีต้องโศกเศร้าเพราะรอเวลาที่จะได้พบนาง
.
ผักโฉมและผักหวาน
“ ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤาโฉมไหน
ผักหวานซ่านทรวงใน ใคร่ครวญรักผักหวานนาง ”
กาพย์บทนี้กวีกล่าวถึงผักสองชนิด คือ ผักโฉมและ
ผักหวาน แล้วเปรียบเทียบว่าผักโฉมนี้คือโฉมของน้องหรือ
โฉมของนางใด ส่วนผักหวานนั้นเมื่อกวีได้แลเห็นก็ทาให้
ความรักอันหวานซึ้งแผ่ซ่านไปทั่วหัวใจ
.
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การเล่นเสียง
“ เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน
เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง ”
กวีเล่นเสียงคาว่า หรุ่ม รุม รุ่ม และเสียงพยัญชนะในคาว่า
ร้อน รุม รุ่ม ฟังแล้วเกิดความไพเราะ และยังสัมผัสได้ถึงความรู้สึก
ของกวีได้ชัดเจนว่ากาลังอยู่ในความรู้สึกเศร้าใจ

.
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การใช้สานวนเปรียบเทียบ
“ ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทาเมืองบน
ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน ”
บทนี้กวีกล่าวถึง ล่าเตียง แล้วนาไปสัมพันธ์กับนางอันเป็นที่รัก คือ
นึกถึงเตียงของนางที่เหมือนเตียงเมืองสวรรค์

.
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การกล่าวเกินจริง
“ ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤาจะเปรียบเทียบทันขวัญ ”
บทนี้กวีกล่าวถึง ก้อยกุ้ง ว่ามีกลิ่นหอม เลิศรสราวกับอาหารทิพย์
ครั้นเมื่อได้สัมผัสกับลิ้นก็รู้สึกอร่อยมากจนแทบจะขาดใจ

.
คุณค่าด้านสังคม
สะท้อนวัฒนธรรมอาหารการกิน
บทเห่ชมเครื่องคาวหวานนี้ ผู้อ่านจะได้รู้จักอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งเป็นที่นิยม
รับประทานในสมัยรัชกาลที่ ๒ บางชนิดรู้จักกันดีในปัจจุบัน เช่น มัสมั่น หมูแนม
ก้อยกุ้ง แกงคั่ว เป็นต้น แต่บางชนิดก็หารัปประทานได้ยากในปัจจุบัน เช่น ล่าเตียง
หรุ่ม อีกทั้งผู้อ่านยังได้ทราบว่าอาหารไทยนั้นทั้งประณีตและวิจิตร และมีรสชาติ
เป็นเลิศไม่แพ้ชาติใด นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่ากวีใช้อาหารเป็นเครื่องหมาย
แทนความผูกพันของคนในครอบครัว

You might also like