You are on page 1of 4

บท 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผลกระทบในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 สาย


ศิลป์ ภาษา โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า ปี การศึกษา 2564 ได้นำแนวคิด
ทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ มาเป็ นกรอบในการศึกษา
ดังนี้

1.แนวคิดเกี่ยวกับผลกระทบ
2.การเรียนการสอนแบบออนไลน์
3.แนวคิดการปรับตัว
4.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดเกี่ยวกับผลกระทบ
ความหมายของผลกระทบ ในการศึกษามีผู้ให้ความหมายของผลกระทบไว้ต่าง ๆ ดังนี้
เสถียร เหลืองอร่าม (2527, หน้า 1 อ้างอิงใน อุษา เพชรยิ้ม,2542)ผลกระทบ หมายถึง ผลประโยชน์และหรือผล
เสียหายอันเกิดขึ้นจากการกระทำเรื่องใด เรื่องหนึ่งโดยตรง
แสวง รัตนมงคลมาศ(2538, หน้า 16-17 อ้างอิงใน ปาริชาติ สังขทิพย์, 2546) ความหมายผลกระทบ คือ ผลที่เกิด
ขึ้นจากการกระทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อาจเป็ นผลที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบัน และอนาคตเป็ นไปทั้งทางบวกและทางลบและอาจ
เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้ าหมายและมิใช่ เป้ าหมาย หรือผลกระทบต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
สรุปได้ว่า ผลกระทบ หมายถึง ผลการเปลี่ยนแปลงผลงานที่คาดว่าจะก่อให้เกิดผลดี หรือ ผลเสียในระยะยาว
อย่างไร

การเรียนการสอนแบบออนไลน์
อมรเทพ เทพวิชิต (2552:1) ได้ให้ความหมายของ การเรียนแบบออนไลน์ คือ เป็ นการ จัดการเรียนผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต โดยใช้ร่วมกับเนื้อหาที่เป็ นสื่อประสม ร่วมกับระบบจัดการเรียน การสอน ( LMS) ซึ่งผู้เรียนและผู้สอนใช้เป็ น
ช่องทางในการติดต่อสื่อสารกันโดยมีส่วนประกอบที่ สําคัญ ได้แก่ ส่วนจัดการระบบ ส่วนของเนื้อหาหรือการจัดการเรียน
เครื่องมือช่วยจัดการเรียน การ ปฏิสัมพันธ์ และกระบวนการในการเรียน ทําให้ไม่มีขีดจํากัดทางการเรียนในระยะทาง เวลา
และ สถานที่ ทําให้ตอบสนองต่อความสนใจและความสามารถของผู้เรียนได้เป็ นอย่างดี

แนวคิดการปรับตัว

การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (The Roy Adaptation


Model) (Roy, 2009) เป็ นกรอบแนวคิด ซึ่งทฤษฎีนี้ได้มีการใช้อย่างแพร่
หลายในการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัว รอยเชื่อว่า มนุษย์เป็ นสิ่งมีชีวิตที่
ประกอบด้วย ร่างกาย จิตใจ และสังคม บุคคลเป็ นเหมือนระบบการปรับ
ตัว (adaptive system) ที่มีความเป็ นองค์รวมและเป็ นระบบเปิ ด ซึ่งจะ
ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกตลอดเวลา ประกอบ
ด้วย สิ่งนำเข้า (input) กระบวนการเผชิญปั ญหา (coping process) สิ่ง
นำออก (output) และกระบวนการป้ อนกลับ (feedback) สิ่งนำเข้าตาม
ทฤษฎี การปรับตัวของรอย คือ สิ่งเร้า โดยโรคระบาดไวรัสโคโรนาที่เกิด
ขึ้นจะเป็ นสิ่งเร้าตรงที่ผู้ป่ วย ต้องปรับตัว ส่วนปั จจัยอื่น ๆ จะเป็ นสิ่งเร้า
ร่วมและสิ่งเร้าแฝงที่มีผลต่อการปรับตัว เมื่อสิ่งเร้าผ่านเข้าสู่ ระบบการ
ปรับตัวของบุคคล ท าให้บุคคลเกิดการปรับตัวผ่านกระบวนการเผชิญ
ปั ญหา ทั้งกลไก ควบคุม (regulator mechanism) ซึ่งเป็ นการตอบ
สนองของร่างกายต่อสิ่งเร้าอย่างอัตโนมัติ เป็ นการท างานกันร่วมกันของ
ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ และกลไกคิดรู้ (cognator mechanism)
ซึ่งจะเป็ นกลไกที่ทำให้ผู้ป่ วยเกิดการปรับตัว

วิทัศน์ ฝั กเจริญผลและคณะ (2563) ที่ศึกษาเรื่องความพร้อมใน


การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-
19 ได้สำรวจครูจำนวน 678 คน จากโรงเรียนใน 67 จังหวัด พบว่าครูไม่
พร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ถึง 50% และ ประเมินว่ามี
นักเรียนจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนออนไลน์
ได้เนื่องจากไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 66% ไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ที่
บ้าน 57% ไม่มี smart phone จำนวน 36% โดยครูประเมินว่านักเรียน
สามารถเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ได้เพียง 45% เท่านั้น พร้อมเรียกร้อง
ความช่วยเหลือจากโรงเรียน และรัฐบาล ในการจัดอบรมเชิง ปฏิบัติการ
ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์อย่างเร่งด่วน รวมถึงการจัดหา
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและอุปกรณ์สื่อสารสำหรับนักเรียนทุกคน
Megan Kuhfeld (June 1, 2021) งานวิจัยที่ผ่านมาได้เคย
ทำการศึกษาถึงผลกระทบของการที่ต้องปิ ดโรงเรียน หรือเปิ ดเรียนล่าช้า
พบว่าการที่นักเรียนต้องอยู่บ้านนานๆ จะส่งผลทำให้การเรียนรู้ของ
นักเรียนถดถอยลง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กยากจนที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่ง
เรียนรู้นอกโรงเรียน และการที่เด็กต้องออกจากโรงเรียนประมาณ 6
สัปดาห์ อาจจะทำให้ความรู้ของเขาหายไปถึงครึ่งปี การศึกษา และพบ
ว่าการเรียนรู้ที่เป็ นที่นิยมของสถานศึกษาในยุค COVID-19 คือการเรียน
ผ่านระบบออนไลน์ แต่ก็มีปั ญหาในบางมิติ ในด้านของความเหลื่อมล้ำ
ดิจิทัล (digital divide) ไม่ว่าจะเป็ นการเข้าถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
สัญญาณอินเทอร์เน็ต ทักษะความรู้ของครูและผู้ปกครองในการช่วย
สนับสนุน ปั ญหาการใช้เวลาหน้าจอมากเกินไป

ข้อมูลจากการสำรวจของ OECD ต่อเด็กกลุ่มอายุ 15 ปี ทั่วโลกในปี 2018


พบว่า ในประเทศไทย นักเรียนอายุ 15 ปี มากกว่า 30% ไม่มีห้องส่วนตัว
หรือพื้นที่เงียบๆ ในการทำการบ้าน นักเรียนไทยเพียง 59% มีเครื่อง
คอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในบ้าน
อ้างอิง
https://wb.yru.ac.th/bitstream/yru/2050/1/3.%E0%B8%AA
%E0%B8%B8%E0%B8%9E
%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%20%E0
%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3
%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C1.pdf
http://cms.dru.ac.th/jspui/bitstream/123456789/934/6/Unit
%202.pdf
http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54930534/chapt
er2.pdf
https://www.matichon.co.th/education/news_2148365
https://www.nwea.org/
https://www.oecd.org/

You might also like