You are on page 1of 12

สวัสดิการแรงงาน คือ การดำเนินการใดๆ ไม่ว่าโดยนายจ้าง

สหภาพแรงงาน หรือรัฐบาลที่มีความมุ่งหมายเพื่อให้ลูกจ้างสามารถมี
ระดับความเป็ นอยู่ที่ดีพอสมควร มีความผาสุกทั้งกายและใจ มีสุขภาพ
อนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในการทำงาน มีความเจริญก้าวหน้าและ
ความมั่นคงในการดำเนินชีวิตไม่เฉพาะแต่ตัวลูกจ้างเท่านั้น แต่รวมถึง
ครอบครัวของลูกจ้างด้วย การดำเนินการเพื่อให้มีการจัดสวัสดิการขึ้นใน
สถานประกอบการนั้น
ภายใต้ภารกิจการกำหนดและพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการนี้
สวัสดิการแรงงานได้ถูกจัดแบ่งออกเป็ น 2 ประเภท
1. สวัสดิการแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด
2. สวัสดิการแรงงานนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด

การวางแผนภาษีสำหรับนายจ้าง-ลูกจ้าง พิจารณาดังนี้
1.นายจ้าง พิจารณาเรื่อง 1.1 CIT ค่าสวัสดิการที่นายจ้างจ่ายเป็ นค่าใช้
จ่ายหรือไม่
1.2 VAT ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสามารถเคลมภาษีซื้อได้
หรือไม่
1.3 WHT หักภาษีได้อย่างไร?
2. ลูกจ้างพิจารณาเรื่อง – PIT สวัสดิการได้รับการยกเว้นจากกรม
สรรพากรไม่ต้องนำมาเสียภาษีหรือไม่

สวัสดิการที่จะมาอธิบายในครั้งนี้ได้แก่
1. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
2. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม
3. ค่ารักษาพยาบาล
นายจ้างที่เป็ นนิติบุคคล ก่อนอื่นต้องทำการพิจารณาก่อนว่ารายจ่ายเกี่ยว
กับสวัสดิการนั้น บริษัทนายจ้างต้องมีความผูกพันที่จะต้องจ่ายจึงจะลง
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ หรือกล่าว
คือรายจ่ายค่าสวัสดิการนั้นต้องเป็ นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการหากำไร
หรือเพื่อกิจการของบริษัทฯ โดยเฉพาะ
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการพนักงาน ถือเป็ นรายจ่ายในการ
คำนวณกำไรสุทธิได้ และหากมีภาษีซื้อเกิดขึ้นจากค่าสวัสดิการพนักงาน
ดังกล่าว ก็สามารถเครดิตภาษีซื้อหรือขอคืนได้ แต่สวัสดิการดังกล่าวจะ
ถือเป็ นรายจ่ายของกิจการได้จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ดังนี้
1. สวัสดิการต้องมีระเบียบระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับปฏิบัติอย่าง
ชัดเจน พนักงานรับรู้กันทุกคน
2. ไม่เลือกปฏิบัติกับพนักงาน เป็ นการปฏิบัติให้พนักงานทุกคนอย่างเท่า
เทียมกัน อาจจะแตกต่างกันตามลำดับขั้นของพนักงานได้ แต่ต้องไม่แตก
ต่างกันในระดับขั้นเดียวกันเงื่อนไขนี้เป็ นการแสดงให้เห็นว่าบริษัท /
กิจการไม่ได้เลือกปฏิบัติ ไม่ได้ให้เป็ นการส่วนตัว(ซึ่งเป็ นค่าใช้จ่ายต้อง
ห้าม)
3. ต้องเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ทำให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ มีผล
ต่อการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน
หากไม่เข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ประการแล้ว ไม่ถือว่าเป็ นสวัสดิการพนักงาน แต่
ถือว่าเป็ นรายจ่ายส่วนตัวให้โดยเสน่หา ถือเป็ นรายจ่ายต้องห้ามของ
กิจการ มาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร ในการ
วางแผนภาษีต้องพิจารณาเรื่อง
1.1 CIT ค่าสวัสดิการที่นายจ้างจ่ายเป็ นค่าใช้จ่าย
หรือไม่
1.2 VAT ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสามารถเคลม
ภาษีซื้อได้หรือไม่
1.3 WHT หักภาษีได้อย่างไร?

ลูกจ้าง ในทางภาษีแล้วค่าสวัสดิการที่พนักงานได้รับถือเป็ นเงินได้พึง


ประเมินที่ต้องเสียภาษีของลูกจ้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้พึง
ประเมิน ม.39 หมายความว่าเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้
เงินได้ที่กล่าวให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่าง
อื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็ นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือ
ผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่างๆ ตามมาตรา 40 และเครดิต
ภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย
“เงิน” ในที่นี้หมายถึง
- ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็ นเงิน
- ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็ นเงิน
- เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงิน หรือ ผู้อื่นออกแทนให้
- เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

การวางแผนภาษีค่าสวัสดิการต้องพิจารณาเรื่อง “PIT” พิจารณาจาก


สวัสดิการที่ได้รับจากนายจ้างได้รับการยกเว้นจากกรมสรรพากรไม่ต้องนำ
มาเสียภาษีหรือไม่

1. ค่าเบี้ยเลี้ยง
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางฝั่ งนายจ้าง
บริษัทมีสิทธินำค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่จ่ายให้แก่พนักงานมาถือเป็ นรายจ่าย
ในการคำนวณกำไรสุทธิได้หากเป็ นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการ
ประกอบกิจการ และเป็ นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ
เมื่อมีการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางใช้ “ใบเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง” เป็ น
เอกสารภายในของกิจการ เพื่อเป็ นหลักฐานการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
โดยมีการระบุรายละเอียดดังนี้
1. มีระเบียบสวัสดิการในการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง
2. มีวัตถุประสงค์การเดินทาง
3. ลายเซ็นผู้อนุมัติ
CIT – ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางสามารถนำไปเป็ นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ในกรณี
ที่พนักงานได้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อการงานของกิจการ
VAT – บริษัทไม่สามารถนำมาเคลมภาษีซื้อได้ เว้นแต่มีการเดินทางผ่าน
ขนส่งที่เป็ นนิติบุคคลและพนักงานได้ทำการขอให้ขนส่งที่เป็ นนิติบุคคล
ออกใบกำกับภาษีในนามของบริษัทจึงมีสิทธินำมาเคลมภาษีซื้อได้
WHT – ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายพนักงานในกรณีค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
เป็ นการเดินทางประจำ เนื่องจากค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางประจำนั้นไม่เข้า
เกณฑ์ 42 แห่งประมวลรัษฎากร กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 จึงเข้า
ลักษณะเป็ นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวล
รัษฎากร และต้องดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายเงินได้ของพนักงาน

ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางฝั่ งลูกจ้าง
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี
เงินได้มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ลูกจ้างได้รับเนื่องจากการเดินทางไปปฏิบัติ
งานตามหน้าที่ในประเทศหรือต่างประเทศเป็ นครั้งคราว คือ ไม่ได้ออกไป
เป็ นประจำ
2. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางต้องจ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็ นเฉพาะ
ในการที่จะต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการ
นั้น
3. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางต้องไม่เกินอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทาง
ราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้
จ่ายในการเดินทางไปราชการในประเทศหรือต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
ตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายในตามลักษณะเหมาจ่าย หากไม่เกินจำนวน
เงินไม่ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์
- ค่าเบี้ยเลี้ยงในประเทศ เบิกได้สูงสุดไม่เกินวันละ 270 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยงต่างประเทศ เบิกได้สูงสุดไม่เกินวันละ 3,100
บาท

*ข้อพิจารณา* กรณีที่เบี้ยเลี้ยงที่ได้รับเกินกว่ากำหนดและไม่มีหลักฐาน
มายืนยัน จะสามารถคิดเป็ นค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน
อัตรากำหนดข้างต้น และต้องมีหลักฐานการได้รับอนุมัติให้เดินทางไป
ปฏิบัติงานนอกสำนักงานหรือนอกสถานที่จากนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินได้
โดยต้องระบุลักษณะงานที่ทำและระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ (
อ้างอิง: คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 59/2538) และในกรณีที่เบี้ยเลี้ยงเดิน
ทางเป็ นการเดินทางที่เกิดขึ้นเป็ นประจำถือเป็ นเงินได้ของพนักงานต้องนำ
ไปคำนวณรวมกับเงินได้ของพนักงาน

2. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม
ค่าอาหารและเครื่องดื่มฝั่ งนายจ้าง
CIT – ค่าอาหารและเครื่องดื่มนายจ้างสามารถนำมาใช้เป็ นค่าใช้จ่ายทาง
ภาษีได้
VAT – ในกรณีที่ค่าอาหารและเครื่องดื่มเป็ นสวัสดิการที่นายจ้างจัดหาให้
ระหว่างที่พนักงานปฏิบัติงานสามารถนำไปเป็ นภาษีซื้อได้ ยกเว้นกรณีที่
พนักงานไปรับประทานกับลูกค้า สามารถเป็ นค่าใช้จ่ายได้แต่ไม่สามารถ
เป็ นภาษีซื้อได้เนื่องจากค่าใช้จ่ายนี้เป็ นค่ารับรอง
WHT - ไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม.

ค่าอาหารและเครื่องดื่มฝั่ งลูกจ้าง
ในฝั่ งลูกจ้างนั้นเนื่องจากค่าอาหารและเครื่องดื่มถือเป็ นประโยชน์เพิ่มจาก
การจ้างแรงงานที่พนักงานได้รับดังนั้นจึงต้องนำค่าอาหารและเครื่องดื่ม
มารวมเป็ นเงินได้พึงประเมินตามาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อ
เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

3. ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารักษาพยาบาลในฝั่ งนายจ้าง
CIT – นายจ้างสามารถนำค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลลูกจ้างมารวมเป็ นค่าใช้
จ่ายทางภาษีได้ในกรณีที่บริษัทได้มีระเบียบกำหนดค่ารักษาพยาบาล
จำนวนเท่าไหร่ต่อปี ในกรณีที่ค่ารักษาพยาบาลเกินกว่าระเบียบที่กำหนด
ส่วนที่เกินตั้งแต่ที่เกินระเบียบกำหนดขึ้นไปถือเป็ นรายจ่ายต้องห้าม มี
ลักษณะเป็ นรายจ่ายส่วนตัวไม่สามารถนำมารวมเป็ นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้
VAT – เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลไม่มีการเก็บ VAT ดังนั้นค่ารักษา
พยาบาลจึงไม่สามารถนำไปเป็ นภาษีซื้อของกิจการได้
WHT – สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายเงินเดือนพนักงานได้ในกรณีที่ค่ารักษา
พยาบาลที่จ่ายเกินกว่าระเบียบที่นายจ้างกำหนดให้เป็ นสวัสดิการของ
พนักงาน จะไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายเงินได้ของพนักงานได้ในกรณีที่
ค่ารักษาพยาบาลนั้นยังอยู่ในวงเงินที่เป้ ฯระเบียบของบริษัทนับเป็ นค่าใช้
จ่ายที่ได้รับยกเว้นจากกรมสรรพากร ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวล
รัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(4)(ก) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.
2509)

ค่ารักษาพยาบาลในฝั่ งลูกจ้าง

ค่ารักษาพยาบาลที่ลูกจ้างได้รับจากบริษัทได้ถือเป็ นเงินได้ซึ่งได้รับการ
ยกเว้นไม่ต้องคำนวณรวมเพื่อเสียเงินได้ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวล
รัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(4)(ก) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.
2509) เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลนั้น เกินกว่าระเบียบที่กำหนด ส่วนที่เกิน
ตั้งแต่ที่เกินระเบียบกำหนดขึ้นไปต้องนำไปคำนวณเป็ นเงินได้พึงประเมิน
ของพนักงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
การวางแผนสวัสดิการทางภาษีเพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างได้ประโยชน์
สูงสุดดังนี้
นายจ้าง
1. เลือกค่าใช้จ่ายสวัสดิการที่ไม่เป็ นค่าใช้จ่ายต้องห้าม
คือรายจ่ายใดๆ ที่ไม่อยู่ในมาตรา 65 ตรี (1)-(20) มีสิทธิลงเป็ นรายจ่าย
ทางภาษีอากรได้ ซึ่งจะช่วยทำให้นายจ้างเสียภาษีน้อยลง แต่สิ่งที่ทาง
สรรพากรมักตรวจสอบคือการบันทึกรายได้ครบถ้วนหรือไม่ และค่าใช้
จ่ายที่กิจการนำมาหักนั้นเป็ นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไปมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ครบถ้วนหรือไม่ทั้งนี้
สวัสดิการที่สรรพากรอนุญาตให้นำมาเป็ นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้จะต้องเข้า
เงื่อนไขต่อไปนี้

1.1 กิจการต้องระบุสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างไว้ในข้อ
บังคับเกี่ยวกับการทำงานของกิจการ โดยระบุไว้ในคู่มือพนักงาน
1.2 การให้สวัสดิการจะต้องให้กับลูกจ้างทุกคนทั่วไปโดยไม่ได้มีการ
เลือกปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น รายจ่ายที่นายจ้างจ่ายให้พนักงานเป็ นเงิน
รางวัลลูกจ้างดีเด่น จัดงานปี ใหม่ เป็ นต้น โดยเป็ นไปตามเงื่อนไข คือ จัด
ทำเป็ นระเบียบข้อบังคับให้กับลูกจ้างทุกคนเป็ นการทั่วไป ถือเป็ นการให้
สวัสดิการแก่ลูกจ้างเพื่อเป็ นขวัญกำลังใจในการทำงาน ไม่ถือเป็ นค่าใช้
จ่ายต้องห้าม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้

2. เลือกสวัสดิการที่ภาษีซื้อไม่เป็ นภาษีซื้อต้องห้าม
ค่าสวัสดิการลูกจ้างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในกรณีที่มี
การจ่ายค่าสวัสดิการลูกจ้าง เช่น แจกสิ่งของเป็ นรางวัลปี ใหม่ให้กับ
ลูกจ้างเพื่อเป็ นขวัญกำลังใจในการทำงาน ภาษีซื้อสิ่งของเหล่านี้จะต้องไม่
เป็ นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 ซึ่งแบ่งได้เป็ น 6 กรณี ดังนี้
- กรณีไม่มีใบกำกับภาษี หรือกรณีมีใบกำกับภาษีแต่ไม่อาจแสดงใบ
กำกับภาษีได้
- กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็ น
สาระสำคัญ
- ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้
ประกอบการ
- ภาษีซื้อจากรายจ่ายค่ารับรอง
- ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
- ภาษีซื้อต้องห้ามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
ลูกจ้าง
1. ขึ้นทะเบียนประกันสังคม
เมื่อใดก็ตามที่กิจการเริ่มมีพนักงานที่จ่ายค่าจ้างเป็ นเงินเดือน ต้องไปขึ้น
ทะเบียนประกันสังคม ซึ่งสำหรับกิจการที่จดทะเบียนเป็ นนิติบุคคลกับ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ก็จะได้ขึ้นทะเบียนนายจ้างกับประกันสังคม
กระทรวงแรงงานโดยอัตโนมัติและต้องไปขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่เป็ นผู้
ประกันตนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างงานที่สำนักงานประกัน
สังคม
รวมถึงเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้น ก็ต้องไปแจ้งขึ้นทะเบียน
ลูกจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างงานด้วยเช่นกัน รวมถึงหักเงิน
สมทบของลูกจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินค่าจ้าง เงินเดือน พร้อมจัดทำ
เอกสารตามแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ สปส. 1-10 ส่วนที่ 2 นำส่ง
สำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน โดยไม่ลืมลงรายการ
บัญชีเงินเดือนไว้ให้เรียบร้อย เพื่อให้ลูกจ้างได้รับสวัสดิการความคุ้มครอง
หลายๆ ด้านจากประกันสังคม เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร ค่า
สงเคราะห์บุตร ค่าว่างงาน อีกทั้งลูกจ้างยังสามารถนำค่าประกันตนที่หัก
จ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม ไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่
ต้องยื่นภาษีทุกปี ได้ด้วย

2. เลือกสวัสดิการที่ไม่ต้องนับรวมเป็ นรายได้พนักงาน
ตามหลักการทางภาษี ค่าสวัสดิการที่พนักงานได้รับถือเป็ นเงินได้พึง
ประเมินที่ลูกจ้างต้องเสียภาษี ซึ่งมาตรา 39 เงินได้พึงประเมิน “ให้รวมถึง
ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็ นเงิน”
โดยพิจารณาได้จากประเภทของเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากการจ้าง
แรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น นอกจากเงินได้
พึงประเมินจากการจ้างแรงงานตามกฎหมายภาษีอากรที่ได้รับเป็ นตัวเงิน
เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส ยังหมายรวมถึงทรัพย์สิน หรือ
ประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็ นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่
ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
แต่มีสวัสดิการบางประเภทของลูกจ้าง ที่กิจการบันทึกเป็ นค่าใช้จ่าย
เกี่ยวกับพนักงานได้ และพนักงานที่ได้รับสวัสดิการนั้นจากกิจการ อาจไม่
ต้องรวมเป็ นเงินได้ตามมาตรา 40(1) เพราะกฎหมายได้มีการกำหนดใน
ส่วนของเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีไว้ จึงทำให้สวัสดิการและประโยชน์
ที่ลูกจ้างได้รับจากทางกิจการไม่ต้องนำมาคำนวณเสียภาษี หากเป็ นไป
ตามเงื่อนไข คือ เป็ นการปฏิบัติให้ลูกจ้างทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน อาจ
แตกต่างกันตามลำดับขั้นของลูกจ้างได้ แต่ต้องไม่แตกต่างกันในระดับขั้น
เดียวกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่ากิจการไม่ได้เลือกปฏิบัติ หรือให้เป็ นการส่วน
ตัว เพราะจะถือว่าเป็ นค่าใช้จ่ายต้องห้ามสวัสดิการบางอย่างต้องมี
ระเบียบปฏิบัติอย่างชัดเจน พนักงานรับรู้โดยทั่วกันทุกคน ผลประโยชน์
ให้พนักงานบางกรณีต้องมีการทำหนังสือรับรู้ หรือได้รับการอนุมัติจาก
กรรมการเป็ นลายลักษณ์อักษร เอกสารประกอบชัดเจน ถูกต้อง พร้อมทั้ง
เอกสารบันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นตรงตามที่ได้รับการอนุมัติ

3. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
โดยปกติสำหรับลูกจ้างที่มีเงินเดือนถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี นายจ้าง
จะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกเดือน โดยนายจ้างจะต้องคำนวณ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของลูกจ้างทั้งปี ว่าถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีแล้ว
หรือไม่หากพบว่าถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ให้แจ้งกับลูกจ้างเพื่อให้ลูกจ้าง
แจ้งสิทธิลดหย่อนที่มีกับนายจ้าง โดยลูกจ้างจะต้องแจ้งสิทธิลดหย่อนที่มี
หรือที่ตั้งใจว่าจะซื้อเพิ่มภายในปี นี้เป็ นลายลักษณ์อักษรให้นายจ้างทราบ
อาจแจ้งเป็ นแบบฟอร์มหรือช่องทางอื่นๆ ตามที่นายจ้างกำหนด ซึ่งจะ
ทำให้ลูกจ้างได้รับเงินสดเท่าเดิมทันทีที่จ่ายเงินเดือนครั้งต่อไป
ดังนั้น เบื้องต้นของการวางแผนสวัสดิการให้กับลูกจ้าง นายจ้างอาจ
ต้องระบุสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับ
การทำงานของกิจการไว้ในคู่มือพนักงานตั้งแต่ต้น และเลือกหาสวัสดิการ
ในส่วนของค่าใช้จ่ายรวมถึงภาษีซื้อที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษี
ได้ เพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างได้รับประโยชน์ทางภาษีอย่างสูงสุดจาก
สวัสดิการดังกล่าว รวมถึงสร้างขวัญกำลังใจและความมุ่งมั่นให้กับทุก
คนในองค์กร ช่วยกันพัฒนาพร้อมขับเคลื่อนกิจการให้ไปถึงจุดหมายที่ตั้ง
ไว้ได้ไม่ยาก

You might also like