You are on page 1of 26

เอกสารประกอบการสอน

วิชาการประมาณราคากอสราง 1
(2106 - 2107)
หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545
ประเภทวิชาชางอุตสาหกรรม
สาขาวิชาชางกอสราง

โดย
นายวิเชียร ปญญาจักร

แผนกวิชาชางกอสราง วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
รายงานการใชเอกสารประกอบการสอน
วิชาการประมาณราคากอสราง 1
(2106 - 2107)
หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545
ประเภทวิชาชางอุตสาหกรรม
สาขาวิชาชางกอสราง

โดย
นายวิเชียร ปญญาจักร

แผนกวิชาชางกอสราง วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
คําแนะนําการใชเอกสารประกอบการสอน
วิชา การประมาณราคากอสราง (2106 – 2107)

เอกสารประกอบการสอน วิชาการประมาณราคากอสราง (2106 – 2107) ผูเขียนมีความประสงค


ใหครูผูสอน และผูเรียนใชเอกสารประกอบการสอน ที่มีเนื้อหาที่ครอบคลุมจรงตามหลักสูตร ในระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) 2545 ประกอบดวยคําบรรยาย และรูปภาพประกอบทีช่ ัดเจน เขาใจงาย
การเรียบเรียงเนื้อหาภายในเลมเปนเรื่องเกีย่ วกับ การประมาณราคากอสราง ประกอบดวย การ
ประมาณราคากอสรางเบื้องตน การหาปริมาณงานดินขุดและงานดินถม การหาปริมาณงานโครงสราง
การหาปริมาณงานสถาปตยกรรม การหาปริมาณงานไฟฟา การหาปริมาณงานสุขาภิบาล และบัญชีวัสดุ
กอสราง กําหนด 18 สัปดาห (รวมสอบปลายภาค) เนื้อหาในเอกสารเลมนี้ประกอบไปดวย 7 หนวยคือ

หนวยที่ 1 เรื่อง การประมาณราคากอสรางเบื้องตน


มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของการประมาณราคา ประโยชนของการประมาณราคา ลักษณะ
ของการประมาณราคา วิธีการประมาณราคา ขั้นตอนในการประมาณราคา แบบกอสราง การจัดหมวด
งานกอสราง และสัญญากอสราง

หนวยที่ 2 เรื่อง การหาปริมาณงานดินขุดและงานดินถม


มีเนื้อหาเกี่ยวกับการหาปริมาณงานดินขุดฐานราก การหาปริมาณงานดินขุดบอเกรอะและบอซึม
การหาดินถมฐานราก การปริมาณงานดินถมบอเกรอะและบอซึม และการหาปริมาณงานทรายถมรอง
พื้นกอนเทคอนกรีตพื้นชัน้ ลาง

หนวยที่ 3 เรื่อง การหาปริมาณงานโครงสราง


มีเนื้อหาเกี่ยวกับการหาปริมาณงานโครงสรางฐานราก การหาปริมาณงานโครงสรางเสา การหา
ปริมาณงานโครงสรางคาน การหาปริมาณงานโครงสรางพื้นและการหาปริมาณงานโครงหลังคา การหา
ปริมาณงานโครงสรางก็แยกงานยอยเปนงานคอนกรีต งานเหล็กเสริม งานไมแบบ งานลวดผูกเหล็ก
และงานตะปู

หนวยที่ 4 เรื่องการหาปริมาณงานสถาปตยกรรม
มีเนื้อหาเกี่ยวกับการหาปริมาณงานผนัง การหาปริมาณงานประตูและหนาตาง การหาปริมาณ
งานสี การหาปริมาณงานตกแตงผิวพื้นและงานตกแตงผิวผนัง การหาปริมาณงานฝาเพดาน
หนวยที่ 5 เรื่องการหาปริมาณงานไฟฟา
มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเดินสายไฟฟาในบาน และชนิดของอุปกรณหลอดไฟ โคมไฟ งานระบบ
ไฟฟาที่ตองประมาณการ การหาปริมาณงานไฟฟา

หนวยที่ 6 เรื่องการหาปริมาณงานสุขาภิบาล
มีเนื้อหาเกี่ยวกับระบบสุขาภิบาล การหาปริมาณงานทอประปา ทอน้ําเสีย ทอน้ําอุนน้ํารอน
ทอโสโครก การหาปริมาณงานสุขภัณฑตางในหองน้ํา

หนวยที่ 7 เรื่องบัญชีรายการวัสดุ
มีเนื้อหาเกี่ยวกับสวนประกอบตางๆของใบรายการวัสดุกอสราง ประโยชนของการทําบัญชี
รายการวัสดุกอ สราง แบบฟอรมที่ใชในการประมาณราคา

........................................................
(นายวิเชียร ปญญาจักร)
ครู คศ.2
แผนกวิชาชางกอสราง
วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม
1

หนวยที่ 1
การประมาณราคากอสรางเบื้องตน

หัวขอเรื่อง
ความหมายของการประมาณราคา
ประโยชนของการประมาณราคา
ลักษณะของการประมาณราคา
วิธีการประมาณราคาและขั้นตอนการประมาณราคา
แบบกอสรางและการจัดหมวดรายการกอสราง
สัญญากอสราง

สาระสําคัญ
การประมาณราคาเบื้องตนเปนทฤษฎีพื้นฐานที่ผูเรียนตองรูกอนที่จะเริ่มประมาณราคาจริง ตอง
มีความรูในการประมาณราคา รูหลักการและขั้นตอนในการประมาณราคา การจัดหมวดรายการกอสราง
เพื่อจัดหมวดงานตางๆ ใหเปนระเบียบและที่สําคัญคือไมหลงลืม กอนที่จะทําสัญญากอสราง

จุดประสงคการเรียนรู
เมื่อเรียนบทที่ 1 จบแลวผูเรียนสามารถ
1. บอกความหมายของการประมาณราคาได
2. บอกประโยชนของการประมาณราคาได
3. บอกลักษณะของการประมาณราคาได
4. บอกวิธีการและขั้นตอนการประมาณราคาได
5. บอกลักษณะสวนประกอบของแบบและจัดหมวดงานกอสรางได
6. บอกความหมายของสัญญากอสรางได
2

บทนํา
การประมาณราคาต น ทุ น งานก อ สร า งของโครงการใดโครงการหนึ่ ง เป น เรื่ อ งที่ ต อ งนํ า มา
พิจารณาในแตละระดับนับตั้งแตเจาของโครงการ ผูออกแบบ ผูรับเหมา ซึ่งจะพิจารณาตนทุนงาน
กอสรางที่แตกตางกัน นอกจากตนทุนแลว ยังประกอบดวยคาใชจายอื่นๆอีกหลายอยาง ในฐานะผู
ประมาณราคาตองพยายามอยางที่สุดที่จะใหยอดคาใชจายถูกตอง หรือใกลราคาจริงมากที่สุด

ความหมายของการประมาณราคา
คําวา “ประมาณ” เปนคําที่มีความหมายชัดเจนตัวเองอยูแลวคือ ความไมแนนอนตายตัว แตเปน
การคาดคะเนใหใกลเคียงหรือเกือบเทากับความจริง เทานั้น ฉะนั้นคําวาการประมาณราคากอสราง จึง
หมายความวา การคิดการคํานวณหาปริมาณและราคาวัสดุกอสราง คาแรงงาน คาโสหุย คากําไร คา
ภาษีตลอดจนคาใชจายอื่นๆที่ควรจะเปนสําหรับงานกอสรางในหนวยนั้นๆ โดยอาศัยหลักวิชาและ
ขอเท็จจริงตามทองตลาดรวมกับสถิติตางๆทางดานงานกอสราง ราคากอสรางที่ประมาณไดจึงเปนราคา
ที่ไมใชราคาจริง แตอาจใกลเคียงกับราคากอสรางจริง ทั้งนี้ขึ้นอยูกับประสบการณของผูประมาณราคา
และหลักวิธีการประมาณราคาที่ผูประมาณราคาเลือกมาใชวาถูกวิธีมากนอยเพียงใด ผูประมาณราคาที่มี
ประสบการณมากอาจจะประมาณราคาไดใกลความจริงมาก ซึ่งอาจผิดพลาดไปจากความจริงเพียงรอย
ละ 1 – 5 % ของราคาจริงเทานั้น
ผูประมาณราคา หมายถึง บุคคลที่ทําหนาที่ประมาณราคาหรือแยกราคาวัสดุกอสรางในหนวย
กอสรางนั้นๆ ใหเปนไปตามรูปแบบและรายการกอสรางอันประกอบดวยคาวัสดุ คาแรงงาน คาโสหุย
ค า กํ า ไร และค า ภาษี เพื่ อ เสนองานแก เ จ า ของงานหรื อ ผู ว า จ า ง บางครั้ ง ในกรณี ที่ ผู ว า จ า งเป น
ผูรับเหมากอสราง ผูประมาณราคาจะดําเนินการประมาณราคาเฉพาะคาวัสดุและคาแรงงานเทานั้น สวน
คากําไรและคาภาษีผูวาจางจะเปนผูประมาณการเองกอนที่จะนําไปประมูลหรือประกวดราคา
การประมาณราคากอสรางจะใกลเคียงความเปนจริงมากนอยเพียงใดขึ้นอยูกับประสบการณของ
ผูประมาณราคา ซึ่งควรมีคุณสมบัติดังตอไปนี้ คือ
1. มีความรูพื้นฐานทางดานคณิตศาสตร และเรขาคณิต
2. มีความรูความเขาใจในการอานแบบ รายการกอสราง และสัญญากอสรางเปนอยางดี
3. มีความรู ความชํานาญเกี่ยวกับเทคนิคและการควบคุมงานกอสราง สามารถรูและทํางานตาม
ขั้นตอนหรือลําดับงานของการกอสราง ตลอดจนสามารถแกปญหาที่เกิดขึ้นขณะดําเนินการกอสราง
4. มีความรูความสนใจเกี่ยวกับวัสดุกอสรางตามทองตลาด ทั้งคุณสมบัติ ราคา ตลอดจนแหลง
ผลิตและจําหนายวัสดุนั้นๆ เพื่อนํามาคํานวณหาตนทุนของวัสดุแตละชนิด
5. มีวิสัยทัศนในการมองเหตุการณที่จะเกิดขึ้นระหวางการดําเนินการกอสราง เชนแหลงที่มา
ของวัสดุ และสภาพแวดลอมและอิทธิพลของดินฟาอากาศ
3

6. สามารถเลือกวิธีการประมาณราคาใหเหมาะสมตามสถานการณ มีลําดับขั้นตอนในการ
ประมาณราคาเพื่อกันการลืม
7. มีความสนใจเกี่ยวกับสถิติ การความเคลื่อนไหวของและการเปลี่ยนแปลงตามตลาดแรงงาน
อยูเสมอ
8. มีความชางสังเกตและติดตาม ตลอดจนการวิเคราะหประเมินผลการดําเนินงานในแตละครั้ง
เพื่อนําขอบกพรองหรือขอผิดพลาดไปทําการแกไขตอไป
จากคุณสมบัติขางตน จะสังเกตวาผูประมาณราคาที่ดี จะตองเปนบุคคลที่มีความรูความสามารถ
ตลอดจนประสบการณในการกอสรางเปนอยางมากจึงจะชวยใหการประมาณราคาไดใกลเคียงกับความ
เปนจริงมากยิ่งขึ้น

ประโยชนของการประมาณราคา
การประมาณราคากอสรางมีความสําคัญและมีประโยชนตอบุคคลที่เกี่ยวของกับธุรกิจกอสราง
ทุกฝายไมวาจะเปนเจาของงาน สถาปนิก วิศวกร หรือผูรับเหมากอสราง ทั้งในดานการดําเนินการ
กอสราง และวงเงินคากอสราง และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการกอสราง หากประมาณราคาผิดพลาด
อาจทําใหโครงการนั้นลมเหลวไดโดยงาย
เจาของงาน เปนบุคคลที่สามารถกําหนดงบประมาณวงเงินคากอสรางเพื่อใหสถาปนิก หรือ
วิศวกรทําการออกแบบ
สถาปนิกหรือวิศวกร เปนบุคคลที่นําวงเงินหรืองบประมาณที่ไดจากเจาของงานมาพิจารณา
ออกแบบ รวมทั้งศึกษาหาความเหมาะสมของโครงการ หรือใชในการเสนอราคากลางแกเจาของงาน
ผูรับเหมา เปนบุคคลที่นําแบบจากเจาของงานมาประมาณราคาเพื่อเสนอราคา จึงมีความสําคัญ
มากที่ผูรับเหมาะจะตองรูจักวิธีการประมาณราคากอสราง เพราะถาเสนอราคาสูงเกินไปโอกาสที่จะได
งานก็มีนอย ในทางตรงกันขามถาเสนอราคาต่ําเกินไปก็อาจเสี่ยงตอการขาดทุน จนเปนสาเหตุทําใหทิ้ง
งานกอใหเกิดความเสียหายตอเจาของงาน
การประมาณราคากอสรางยังมีประโยชนในกรณีที่เจาของเกิดการเปลี่ยนแปลงงาน คือเพิ่ม หรือ
ลดงานในขณะกอสราง จะชวยใหผูรับเหมาสามารถตกลงราคากับเจาของงานเปนหนวยตามที่เกิดการ
เปลี่ยนแปลงจริง จะชวยใหลดความขัดแยงที่เกิดขึ้นระหวางผูรับเหมากับเจาของงาน ซึ่งบางครั้งเจาของ
งานอาจเห็นเปนเรื่องเล็กนอย สําหรับผูรับเหมาถือเปนตนทุนในการผลิตอาจเกิดผลกระทบตอกําไร-
ขาดทุนได ดังนั้นการคิดราคางานเพิ่มหรือลดงานควรจะทําเปนงานๆไป ณ เวลานั้นๆ ไมควรทิ้งไวทีหลัง
เนื่องจากงานเพิ่มหลายๆงานจะทําใหราคาเปลี่ยนแปลงไปมากจนอาจทําใหเกิดปญหาระหวางเจาของงาน
และผูรับเหมาเรื่องราคาที่สูงหรือต่ําเกินไป
4

ลักษณะของการประมาณราคา
การประมาณราคากอสรางสามารถทําไดหลายวิธี ตั้งแตวิธีการประมาณราคาอยางงาย คือ การ
เดาโดยอาศัยประสบการณและความชํานาญ ไปจนถึงการประมาณราคาอยางละเอียด แตละวิธีมีขอจํากัด
และระดับความแมนยําแตกตางกันออกไป สําหรับผลที่ไดรับจะเปนเพียงความใกลเคียงกับความเปนจริง
เทานั้น
การประมาณราคาจึงจําแนกออกไดหลายลักษณะตามขั้นตอนตางๆของการวางแผนการกอสราง
ตั้งแตเริ่มโครงการ จนถึงการกอสรางแลวเสร็จซึ่งจําแนกออกเปนหลายลักษณะตางกันออกไป
การประมาณราคาเบื้องตน เปนการประมาณราคาอยางหยาบเพื่อนําไปใชในกรณีการคาดการณ
เพื่อตัดสินใจในการทําโครงการ ความเปนไปได และการกําหนดงบประมาณ ผูออกแบบจะกําหนด
ขนาดของโครงการใหเพียงพอกับงบประมาณที่มีอยู
การประมาณราคาโดยผูรับเหมากอสราง เปนการประมาณราคาอยางละเอียด เนื่องจากผูรับเหมา
ตองมีขอมูลอยางละเอียดเพื่อคํานวณตนทุนจากรูปแบบและรายการกอสรางตามที่ตนตองการจะเขารวม
การประมูลงานหรือเสนอราคา ซึ่งจะตองใชความละเอียด รอบคอบสูงมาก
การประมาณราคาโดยเจาของงาน การประมาณราคาแบบนี้มีขอบเขต และขอจํากัดมากกวาการ
ประมาณราคาโดยผู รั บ เหมา จะต อ งประมาณราคาทั้ ง หมด ตั้ ง แต ริ เ ริ่ ม หาที่ ดิ น ค า ก อ สร า ง ค า
สาธารณูปโภค คาออกแบบโครงการ ตลอดจนคาภาษีเงินกู ฯลฯ
การประมาณราคาโดยผูป ระมาณการ การประมาณราคาแบบนี้เ ปน การประมาณการแบบ
ละเอียด สามารถมองออกเปนหลายมุมมอง เชน ถาผูประมาณราคาเปนคนของเจาของโครงการ ก็จะเริ่ม
ประมาณตั้งแตริเริ่มโครงการไปจนแลวเสร็จโครงการ ราคาที่ไดถือเปนราคากลางของการโครงการ ถา
ผูประมาณราคาเปนคนของผูรับเหมาก็จะประมาณราคาในลักษณะเฉพาะจุด เชน งานปรับถนน งาน
กอสรางอาคาร หรืองานสาธารณูปโภค ฯลฯ
การประมาณราคาความก าวหน า การประมาณการแบบนี้เ ปนการประมาณในลักษณะการ
ตรวจสอบไปในตัว เพราะจะตองประมาณการในขณะที่ทํางานเพื่อนําไปเปรียบเทียบกับการประมาณ
ราคาที่ทําไวในแตละจุด

วิธีการประมาณราคากอสราง
การประมาณราคากอสรางโดยทั่วไปแบงออกได 2 วิธี คือการประมาณราคาอยางหยาบ และการ
ประมาณราคาอยางละเอียด
1. วิธีการประมาณราคาแบบหยาบ เปนการประมาณราคาเบื้องตน ใชสําหรับการประมาณราคา
ที่รวดเร็ว และไมตองการความแมนยํามากนัก การประมาณราคาเบื้องตนเหมาะสําหรับที่จะนําไปใชใน
ขั้นตอนตางๆของการวางแผนงานกอสรางดังนี้ คือ
5

1.1 ขั้นริเริ่มโครงการ เมื่อเจาของโครงการตองการทราบขอมูลตนทุนเคราๆ จะชวยใหทราบวา


โครงการนั้นจะอยูในระดับใด จะตองใชเงินลงทุนประมาณเทาไร อันจะกอใหเกิดงบประมาณในการ
ลงทุนขึ้น
1.2 ขั้นศึกษาโครงการ เมื่อคํานวณแลววาโครงการสามารถเกิดขึ้นได ก็เริ่มศึกษาความเปนไป
ไดหรือความเหมาะสมของโครงการ ในขั้นตอนนี้ตองการความแมนยําในการประมาณราคาที่คอนขาง
สูง เพื่อประมาณราคาและวิเคราะหการเงินเบื้องตน
1.3 ขั้ น การออกแบบ เมื่ อเจา ของโครงการตัด สิน ใจที่จ ะทํ า โครงการ คณะผูอ อกแบบคื อ
สถาปนิกและวิศวกรก็จะใชหลักการประมาณราคาเบื้องตนเพื่อศึกษาสถิติและขอมูลในอดีตเกี่ยวกับราคา
คากอสราง เพื่อเลือกรูปแบบของโครงการใหเหมาะสมภายใตวงเงินที่กําหนดไว
หลักการประมาณราคาเบื้องตนสามารถทําไดหลายแบบ ในแตละแบบจะมีตัวแปรหลักเปน
สัดสวนโดยตรงกับราคาคากอสราง เชน พื้นที่ใชสอยของอาคาร ปริมาตรของอาคารและจํานวนหนวย
การใชสอย

การประมาณราคาโดยใชพื้นที่ใชสอย
การประมาณราคาโดยพื้นที่ใชสอย ทําไดโดยการหาพื้นที่ใชสอยรวมของอาคารทั้งหมดซึ่งคิด
จากเสนรอบรูปภายนอกของอาคารไมหักสวนใดสวนหนึ่งออก แลวคูณดวยตนทุนตอหนวยพื้นที่ใชสอย
ของอาคาร หรือสิ่งปลูกสรางนั้นๆ
ตัวอยางที่ 1 อาคารพาณิชย 2 ชั้น 4 คูหา มีความกวางรวม 12.00 เมตร ความยาวรวม 16.00
เมตร ตนทุนการผลิต ตารางเมตรละ 10,000 บาท จงคํานวณหาราคาโดยพื้นที่ใชสอย
6

รูปที่ 1.1 แปลนพื้นชั้น 1 และชั้น 2 ของอาคารพาณิชย 2 ชั้น 4 คูหา


ที่มา : วิเชียร ปญญาจักร

วิธีคิด หาพืน้ ใชสอยที่รวมทั้งหมด = ความกวาง x ความยาว x จํานวนชั้น


= 12 x 16 x 2
= 384 ตารางเมตร
ตนทุนตารางเมตรละ 10,000 บาท = 384 x 10,000
จะใชตน ทุนในการกอสราง = 3,840,000 บาท

ตนทุนคากอสรางซึ่งไดจากการประมาณราคาแบบนี้อาจแตกตางกันออกไป เนื่องจาก
1. เขตพื้นที่กอสราง ทําใหราคาวัสดุและคาแรงงานตางกัน
2. วิธีการกอสราง เชนวัสดุสําเร็จรูปและวัสดุทําในที่
3. รายละเอียดอื่นๆ เชนรูปแบบของอาคารที่แตกตางกัน ทําใหลักษณะโครงสรางตางกัน

การเลือกใชวิธีการประมาณราคาแบบพื้นที่ใชสอย เปนการประมาณราคากอสรางอยางหยาบ จึง


ควรระวังเรื่องตัวเลขของตนทุนตอตารางเมตร ตองไมลืมวามีความคลาดเคลื่อนคอนขางสูง
7

การประมาณราคากอสรางโดยปริมาตร
การประมาณราคาแบบนี้คลายกับการประมาณราคาแบพื้นที่ใชสอย จะตางกันตรงที่วา การ
ประมาณราคาแบบพื้นที่ใชสอยใชพื้นที่เปนตัวแปรหลัก สวนการประมาณราคาแบบปริมาตรใชปริมาตร
ของงานเปนตัวแปรหลัก การประมาณราคาแบบปริมาตรอาศัยปริมาตรที่คํานวณจากการครอบคลุมพื้นที่
ของอาคารทั้งหมดตั้งแตพื้นชั้นลางไปจนถึงหลังคาแลวคูณดวยตนทุนราคาตอหนวยปริมาตร

ตัวอยางที่ 2 ตึกแถว 3 ชั้น 5 คูหา แตละคูหามีความกวาง 4.00 เมตร ความยาว 12 .00 เมตร
ความสูง 10.40 เมตร

รูปที่ 1.2 แปลนพื้นและรูปดานของอาคารพาณิชย 3 ชั้น 5 คูหา


ที่มา : วิเชียร ปญญาจักร
8

วิธีคิด หาปริมาตรของตึก = ความกวาง x ความยาว x ความสูง x จํานวนคูหา


= 4 x 12 x 10.40 x 5
= 2496 ลูกบาศกเมตร
ถาราคาตนทุนตอลูกบาศกเมตร = 1500 บาท
จะไดตนทุนกอสรางตึกแถว = 2496 x 1500 บาท
= 3,744,000 บาท
จะเห็นไดวาถาอาคารหรือสิ่งกอสรางที่มีพื้นที่เทากัน แตความสูงของอาคารตางกัน ยอมทําให
ปริมาตรตางกัน จึงเปนเหตุทําใหตนทุนตางกัน
การประมาณราคากอสรางโดยหนวยการใชสอย
การประมาณราคาแบบนี้อาศัยหลักการที่วาตนทุนของสิ่งกอสรางแปรตามจํานวณหนวยการใช
สอยการประมาณราคาโดยหนวยการใชสอย ทําไดโดย การคูณจํานวนหนวยของตัวแปรหลักดวย
ตนทุนตอหนวยของตัวแปรหลักนั้น
ตัวอยางที่ 3 หอพัก คสล. 2 ชั้น จํานวนชั้นละ 6 ยูนิต ราคาคากอสรางตอยูนิต 120,000 บาท

รูปที่ 1.3 แปลนพื้นชั้น 1 และ แปลนพื้นชั้น 2 ของอาคารหอพัก คสล. 2 ชั้น 6 ยูนิต


ที่มา : วิเชียร ปญญาจักร
9

วิธีคิด หาหนวยการใชสอย = จํานวนยูนติ x จํานวนชัน้


= 6x2
= 12 ยูนิต
ถาราคาตอยูนิต = 120,000 บาท
จะไดตนทุนกอสรางตึกแถว = 12 x 120,000
= 1,440,000 บาท
การประมาณราคาแบบนี้จะใหผลที่มีความแมนยําสูงขึ้นเมื่อมีลักษณะของสิ่งกอสรางคลายกัน

2. วิธีการประมาณราคาแบบละเอียด จะสามารถทําไดเมื่อรูปแบบไดพัฒนาจนถึงขั้นสมบูรณ
แลวและมีรายละเอียดครบถวน กําหนดระยะเวลากอสรางที่แนนอนแลว และพรอมที่จะเปดการ
ประกวดราคา ฉะนั้นผูรับเหมาจึงมีบทบาทมากในการประมาณราคาอยางละเอียด เริ่มตั้งแตการเขาไป
สํารวจสถานที่กอสรางกอนเพื่อใหทราบถึงสภาพเดิม ลักษณะของเสนทางเขาถึง ปญหาอุปสรรคที่ตอง
แกไขที่หนางาน จากนั้นจะประชุมกับผูเกี่ยวของแตละฝายเพื่อมอบหมายหนาที่รับผิดชอบ เชน ติดตอ
จัดเตรียมเครื่องจักร ติดตอแหลงวัสดุตางๆ ติดตอผูรับเหมาชวง เปนตน
การเตรียมการประมาณราคาตองศึกษาแบบรายละเอียดใหชัดเจนทุกระบบงาน รวมทั้งเอกสาร
ประกอบแบบและเงื่อนไขเพิ่มเติมตางๆ จากนั้นจึงเริ่มถอดแบบหาปริมาณของวัสดุตางๆสํารวจแหลง
ราคาวัสดุและแหลงแรงงานที่มีอยูและตองจัดหาเพิ่ม รวมทั้งจัดหาผูรับเหมาชวงที่เหมาะสมสําหรับงาน
แตละประเภท
วิธีการประมาณราคาแบบละเอียดนี้ จะไดปริมาณและราคาวัสดุที่ไดใกลเคียงความจริงมาก
สามารถนําปริมาณจากประมาณการเอาไว มาควบคุมปริมาณวัสดุที่ใชในการกอสรางจริงได และการ
ตรวจสอบคาวัสดุกอสรางเทียบกับที่ไดประมาณการเอาไวก็สามารถทําไดโดยงาย นับวาเปนที่นิยมใช
กันพอประมาณเพราะความละเอียดของขอมูลทําใหโอกาสผิดพลาดนอย และยังคอยควบคุมปริมาณวัสดุ
กอสรางไมใหเกินกําหนดไดเปนอยางดี ซึ่งจะสรุปใหทราบเปนแนวทางกวางๆดังนี้
1. แรงงาน
2. วัสดุกอสราง
3. เครื่องจักรกลและอุปกรณ
4. การจัดเตรียมและบริหารหนวยงานกอสราง
5. การควบคุมหนวยงานกอสราง
6. การจัดเตรียมพื้นที่กองเก็บวัสดุหรือประกอบชิ้นสวน
7. ผูรับเหมาชวง
8. คาใชจายนอกเหนือจากที่ปรากฏในรูปแบบ
9. คาดําเนินการ
10

10. คากําไรและคาภาษี
11. ดอกเบี้ย

ขั้นตอนการประมาณราคา
เปนหนาที่ของผูรับเหมาที่จะตองตัดสินใจหลังจากที่ไดรับแบบแปลนกอสรางจากเจาของงาน
แลววาจะวางแผนดําเนินการถอดราคาและคิดราคาอยางไรจึงจะประมูลงานสูกับผูรับเหมารายอื่นไดโดย
ไมเสี่ยงตอสภาวะขาดทุน แตละคนจะตองหากลยุทธวิธีที่จะชนะคูตอสูใหได และวิธีที่สําคัญที่สุดที่
ผูรับเหมาแตละคนไมสามารถหลีกเลี่ยงไดก็คือ วิธีการประมาณราคาที่ถูกตองเปนไปอยางเปนระบบและ
เปนขั้นเปนตอน ดังนั้นการประมาณราคาที่ถูกวิธีควรมีขั้นตอนดังนี้
1. รวบรวมขอมูลทั้งหมดพรอมทั้งสํารวจสถานที่กอสรางจริง ( Data)
2. ถอดแบบเพื่อหาปริมาณงานและวัสดุทั้งหมดที่ปรากฏอยูในแบบ (Take off )
3. ลงราคาวัสดุและแรงงานที่ใชลงแบบฟอรมการประมาณราคา ( Take cost )
4. สรุปราคารวมคาดําเนินการและกําไร (Overhead and profit )

1. รวบรวมขอมูล (Data) หลังจากที่ผูรับเหมาตัดสินใจจะประมูลงานนี้แลว จะตอง


ดํ า เนิ น การรวบรวมข อ มู ล พร อ มทั้ ง ตรวจสอบสถานที่ จ ะต อ งก อ สร า งจริ ง ว า มี อุ ป สรรคหรื อ ป ญ หา
อะไรบางที่จะเกิดขึ้นหรือตามมา ขอมูลสวนมากที่จะใชในขั้นตอนนี้ก็คือ
1.1. แบบรูป ( Drawing )
1.2. รายการประกอบหรือขอกําหนดในแบบ ( Specification )
1.3. เอกสารที่เกี่ยวของทั้งหมด เชน เอกสารสัญญา เอกสารแนบทายสัญญา เปนตน
1.4. สํารวจสถานที่จริง
จากขอมูลดังกลาวขางตนนี้จะเปนขอมูลสําคัญสําหรับการประมาณราคา ไมวาจะเปนอาคาร
ขนาดเล็กหรืออาคารขนาดใหญก็ตาม ผูรับเหมาหรือผูประมาณราคาจะตองนํามาดําเนินการตามขั้นตอน
ของการประมาณราคาตอไป ในขณะเดียวกันขอมูลที่ไดอาจเปนปญหาอยางมากสําหรับผูประมาณราคา
มือใหมหรือผูประมาณราคาที่ไมเคยมีประสบการณมากอน ที่อาจไมรูวาจะเริ่มดําเนินการอยางไร ที่จริง
แลวการประมาณราคางานกอสรางทุกชนิดทุกประเภทจะมีแนวทางการดําเนินการหรือหลักการประมาณ
ราคาหรือพื้นฐานการประมาณราคาเปนไปในแนวเดียวกันหมด อาจแตกตางกันตรงเทคนิควิธีเพียง
เล็กนอย แตผลสรุปออกมาก็คือเปาหมายอันเดียวกันโดยมีแบบรูปหรือแบบแปลนเปนตัวกําหนด หรือ
แมแตขอกําหนดที่ตกลงดวย ไมวาจะระบุไวในแบบหรือไมก็ตามผูรับจางควรจะนํามาคิดไวเปนตนทุน
ดวย งานกอสรางบางงานระบุขอกําหนดหรือคุณสมบัติของวัสดุตางๆที่ใชในงานนั้นๆลงไวในแบบ
เรียบรอย ดังนั้นไมวาผลการประมาณราคาจะออกมาแตกตางราคากันมากนอยเพียงใดก็ตาม ถาผูรับเหมา
11

ยื่นซองประมูลราคามาแลวถือวาไมมีผูใดประมาณราคาผิด แตที่ราคาที่ผูรับเหมายื่นซองมาแลวมีราคาที่
แตกตางกันออกไปก็เนื่องจากนโยบายใน
ทางการดําเนินการหรือในเชิงธุรกิจที่ไมเหมือน ผูรับเหมาบางคนอาจตองการกําไรมาก บางคน
อาจมีตนทุนที่ต่ํากวา เชน ไมแบบที่ใชในการกอสรางในสถานการณจริงแลวสามารถใชได 2 ถึง 3 ครั้ง
ตอไมแบบ 1 ชุด การประมาณราคาไมแบบจึงสามารถลดปริมาณประมาณได 30 - 50 เปอรเซ็นต ซึ่ง
ผูรับเหมาบางคนอาจคิด 100 เปอรเซ็นต ก็ไมผิดเงื่อนไขการประมาณราคา
การดูสถานที่กอสรางจริงเปนวันที่ถูกกําหนดขึ้นโดยผูวาจาง ที่จะนัดหมายใหผูที่จะตองการ
ประมูลราคาในงานกอสรางนั้นๆใหมาดูสถานที่จริงกอนที่จะนําไปประกอบในการคิดราคาซึ่งผูวาจางจะ
เปนผูกําหนดเงื่อนไขตางๆขึ้นใหผูรับจางไดปฏิบัติตาม เชน ระดับอางอิงในการกอสราง การรักษาตนไม
บางตนไว เปนตน จึงนับวาเปนสิ่งสําคัญและจําเปนอยางมากสําหรับผูรับจางหรือผูประมาณราคา
เนื่องจากสถานที่อาจเปนตัวกําหนดตนทุนหรือกําไรไดมาก สถานที่จริงจะบอกไดวาอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น
ในขณะปฏิบัติงานหรือขั้นเตรียมงานมีมากนอยเพียงใดที่ผูรับจางจะตองแกไขหรือดําเนินการหรือตอง
เสียคาใชจายเพิ่มขึ้น เชน สถานที่จริงในการปฏิบัติงานเปนสถานที่แคบมาก การขนยายวัสดุไมสะดวก
ตองใชแรงงานคนในการขนยายวัสดุบางสวน ก็สามารถที่จะคิดคาใชจายเพิ่มขึ้นได

2. ถอดแบบหาปริมาณของงานทั้งหมด จากขอมูล (Take off) ในวงการกอสรางเราคุนเคยกับ


คําวา “ ถอดแบบ ” หรือ “Take off” ก็คือการหาปริมาณวัสดุกอสราง ที่เปนไปตามรูปแบบ ( Drawing
) เปนไปตามขอกําหนด (Specification ) เปนไปตามสัญญาและขอตกลงอื่นๆ เพราะขอมูลทุกอยาง
แลวแตเปนเงินทั้งนั้น การหาปริมาณวัสดุแตละชนิดนั้นเราสามารถคํานวณปริมาณตางๆ ตามหลักดังนี้
ในเรื่องความยาว มีหนวยเปน มิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร เชน
1.1 ความยาวของเสาเข็ม เปนเมตร
1.2 ควมยาวของเชิงชาย เปนเมตร
1.3 ความสูงของอาคาร เปนเมตร เปนตน

ในเรื่องของพื้นที่ มีหนวยเปน ตารางเมตร ตารางวา งาน ไร


1.1 พื้นที่ของไมแบบ เปนตารางเมตร
1.2 พื้นที่ของผนังกออิฐ เปนตารางเมตร
1.3 พื้นที่ของการมุงกระเบื้องหลังคา เปนตารางเมตร เปนตน

ในเรื่องของปริมาตร มีหนวยเปน ลูกบาศกเมตร หรือ คิวบิคเมตร


1.1 ปริมาตรของคอนกรีต เปนลูกบาศกเมตร หรือ คิวบิคเมตร
1.2 ปริมาตรของคอนกรีต เปนลูกบาศกเมตร หรือ คิวบิคเมตร
12

1.3 ปริมาตรของไม เปนลูกบาศกฟุต หรือคิวบิคฟุต เปนตน

แบบกอสราง
แบบกอสรางเปนแบบที่จะใชเพื่อทําการกอสราง ตามที่สถาปนิกและวิศวกรไดกําหนดขึ้น โดย
อาศัยหลักวิชาและกฎระเบียบขอบังคับของทองถิ่นที่จะกอสราง โดยใหเปนไปตามวัตถุประสงคของ
เจาของงาน แบบกอสรางถือเปนสวนหนึ่งของสัญญากอสราง มีรูปแบบเรียงลําดับตามความสําคัญของ
งานกอสรางและมีแบบขยาย เพื่อใหผูรับเหมาหรือชางกอสรางตลอดจนผูประมาณราคา เกิดความเขาใจ
ในรายละเอียดสวนประกอบของอาคารและวัสดุตางๆ
แบบกอสรางประกอบดวย รูปแผนผัง แบบรูปตั้งทุกดาน แปลนพื้นชั้นตางๆ แบบรูปตัดของ
สวนสําคัญ และแบบขยายรายละเอียดตางๆ ทั้งในแบบงานสถาปตยกรรม แบบงานวิศวกรรมโครงสราง
แบบงานวิศวกรรมไฟฟาและแบบงานวิศวกรรมเครื่องกล ปกติแบบกอสรางเขียนอยูในระบบเมตริก
( คือ มิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร ) ซึ่งนิยมใชในประเทศไทย ในแบบจะระบุวาเปนรูปแบบอะไร มี
มาตรตราสวนเทาไร เชน 1:20 จะหมายความวาที่เขียนลงในแบบ 1 เซนติเมตร จะเทากับที่จะตอง
กอสรางจริง 20 เซนติเมตร เปนตน เลขหมายของแบบแตละแผน นิยมใชตัวอักษรขึ้นตนที่แสดงถึง
แบบของแตละฝายที่เกี่ยวของ เชน
A = งานสถาปตยกรรม
S = งานวิศวกรรมโครงสราง
E = งานวิศวกรรมไฟฟา
M = งานวิศวกรรมเครื่องกล
SN = งานวิศวกรรมสุขาภิบาล

แบบงานสถาปตยกรรม ( แทนดวยอักษร A) ประกอบดวย


รูปแปลน เปนรูปที่แสดงตําแหนงของอาคารวาตั้งหันหนาไปทางทิศใด มีขนาดของอาคาร
เทาใด อยูหางจากรั้วหรือเขตที่ดินเปนระยะเทาไร แตละชั้นของอาคารมีหองอะไรบาง และขนาดเทาได
ทางเดินติดตอภายในอาคารมีอะไรบาง อยูตรงไหนบาง เชน ประตู ระเบียง บันได และมีชองแสง
ชองลม หรือหนาตางอยูสวนใดของผนัง ตลอดจนระดับของแตละชั้นแตละหอง
รูปดานหรือรูปตั้ง มักแสดงทั้งสี่ดาน คือดานหนา ดานหลัง ดานขางสองดาน เพื่อใหเห็น
รูปทรงอาคาร ประตูและหนาตางวาเปนอยางไร อยูตรงไหน ตลอดจนความสูงของอาคาร
รูปตัด มีรูปตัดตามขวางและรูปตัดตามยาว ตามแนวตัดที่ไดแสดงไวในรูปแปลน รูปตัดแสดง
ถึงความสูงและระยะของแตละชั้นในอาคาร ตลอดจนชนิดและขนาดของวัสดุที่ใชเปนสวนประกอบของ
อาคาร
13

รูปขยาย เปนรูปตัดที่เขียนขยายขึ้นเพื่อใหเห็นรายละเอียดของการใชวัสดุที่จะทําเปนสวนของ
โครงสราง ใหเห็นชัดเจนขึ้น

แบบงานวิศวกรรมโครงสราง ( แทนดวยอักษร S) ประกอบดวย


รูปแปลน แสดงตําแหนงของฐานราก เสา คานคอดิน คานชั้นสอง และโครงหลังคา
รูปขยาย เพื่อขยายรายละเอียดของฐานราก เสา คาน โครงหลังคา วามีขนาดกวางยาวเทาใด
ใชชนิดและขนาดของวัสดุอยางไร ที่จะทําเปนสวนของโครงสราง
แบบงานวิศวกรรมไฟฟา ( แทนดวยอักษร E) ประกอบดวย
รูปแปลน แสดงจํานวนและตําแหนงของดวงโคม สวิทช ปลั๊ก การเดินสายไฟ ฯลฯ
แบบงานวิศวกรรมสุขาภิบาล ( แทนดวยอักษร SN) ประกอบดวย
รูปแปลน แสดงจํานวนและตําแหนง ที่ตั้งของบอเกรอะ บอซึม บอน้ําทิ้ง หรือถังบําบัด บอพัก
ทอระบายน้ํา ฯลฯ
รูปขยาย แสดงรายละเอียดของขนาด ลักษณะ และชนิดของวัสดุที่จะใชทําในงานสุขาภิบาล

รายละเอียดประกอบการกอสราง
รายละเอียดประกอบการกอสราง หรือรายการกอสราง คือขอเขียนที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติม
จากที่ไดแสดงไวในแบบกอสราง โดยขอกําหนดทางสถาปตยกรรมและวิศวกรรม เกี่ยวกับขนาดแสดง
คุณสมบัติของวัสดุกอสราง การเตรียมงานและหลักการดําเนินการกอสรางสําหรับงานนั้นๆ เพื่อชี้บงถึง
ความตองการของเจาของงานและมาตรฐานของงานที่ตองการ ซึ่งผูรับจางจะตองถือเปนสวนหนึ่งของ
สั ญ ญาที่ ต อ งปฏิ บั ติ แ ละดํ า เนิ น การ ผู ป ระมาณการจะต อ งศึ ก ษาและทํ า ความเข า ใจในรายละเอี ย ด
ประกอบการกอสราง ทั้งนี้เพราะงานกอสราง 2 งานที่ใชแบบกอสรางเหมือนกัน ราคาอาจแตกตางกันได
หากรายการกอสรางที่กําหนดคุณภาพของวัสดุและมาตรฐานของงานที่ตองการมีความแตกตางกัน
รายการกอสรางมีสองแบบ คือ
1. รายการอยางละเอียด ซึ่งเขียนไวโดยละเอียดและสมบูรณทุกขั้นตอนของงาน อาจแบงเปน
รายการฝายสถาปตยกรรมและฝายวิศวกรรม
2. รายการยอ ซึ่งเขียนไวโดยสั้นๆโดยยอ แจงความประสงคงายๆ ถึงคุณสมบัติของวัสดุ
กอสราง เชน การใชคอนกรีต 1 : 2 : 4 โดยปริมาตร เปนตน สวนใหญมักเขียนไวในแบบกอสรางเลย
ปกติรายการกอสรางอยางละเอียดจะเขียนตามลําดับขั้นตอนของการดําเนินการกอสราง เชน
การเตรียมสถานที่ ปกผังปริเวณ การทําฐานราก ฯลฯ โดยบงถึง ขนาดและคุณสมบัติของวัสดุกอสราง
การทดสอบวัสดุ การปฏิบัติงานตางๆ เชน การประกอบและติดตั้ง เปนตน รายการกอสรางอาจแยกเปน
รายการทั่วไปที่เขียนเปนบทหรือสวนทั่วๆไปของงานที่พึงประสงค รายการกอสรางทางเทคนิคที่แยก
14

เฉพาะงานที่จะทําเปนเรื่องๆไป โดยบอกวาเปนงานอะไร ใชวัสดุอะไร ใชที่ไหน และทําอยางไร ซึ่งเปน


การอธิบายถึงคุณภาพของวัสดุและฝมือมาตรฐานการทํางานที่ตองการ
กอนลงมือประมาณราคา ผูประมาณการจะตองศึกษารายละเอียดประกอบการกอสรางทุก
ถอ ยคํา วาคุ ณ ภาพของวั สดุแ ละมาตรฐานของงานเป น อยา งไร มีขอ ขั ด แยง กับ แบบกอสรา ง หรือ มี
ขอสังเกตอื่นใดที่จะตองหาขอมูลเพิ่มเติม หรือสอบถามตอไป เพื่อปองกันความผิดพลาดในการประมาณ
การ เกี่ยวกับคาแรงงาน วัสดุ และระยะเวลาที่จะดําเนินการปลูกสราง

การจัดหมวดรายการงานกอสราง
ในการจัดทําบัญชีสวนประกอบของงานกอสรางหรือเอกสาร “บัญชีวัสดุกอสราง” หรือ
“บัญชีรายการคากอสราง” จุดประสงคของการจําแนกรายการของงานกอสราง ก็เพื่อจัดหมวดหมูของ
งานตางๆใหเปนระเบียบ ชวยใหการประมาณราคาทําไดโดยสะดวก และที่สําคัญคือไมหลงลืมบาง
รายการไป สําหรับการจําแนกรายการกอสรางตามระบบ CSI ของสหรัฐอเมริกา แบงออกเปน 16 หมวด
ดังนี้
หมวดที่ 1. GENERAL REQUTREMENTS
หมวดที่ 2. SITE WORK
หมวดที่ 3. CONCRETE
หมวดที่ 4. MASONRY
หมวดที่ 5. METALS
หมวดที่ 6. WOOD AND PLASTICS
หมวดที่ 7. THERMAL AND MOISTURE PROTECTION
หมวดที่ 8. DOORS AND WINDOWS
หมวดที่ 9. FINISHES
หมวดที่ 10. SPECIALTIES
หมวดที่ 11. EQUIPMENT
หมวดที่ 12. FURNISHINGS
หมวดที่ 13. SPECIAL CONSTRUCTION
หมวดที่ 14. CONVEYING SYSTEMS
หมวดที่ 15. MECHANICAL
หมวดที่ 16. ELECTRICAL
15

การจัดหมวดรายการงานกอสรางภายในประเทศไทย แบงหมวดหมูตางๆ ของงานโครงสราง


ทั่วไป ดังนี้
หมวดที่ 1. งานฐานราก
- งานขุดดินฐานรากและกลบคืน
- งานตอกเสาเข็ม (เสาเข็มไม, เสาเข็ม คสล., เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง, เสาเข็มเจาะ )
- งานทดสอบการรับน้ําหนักของเสาเข็ม
- งานวัสดุรองใตฐานราก
- งานคอนกรีตหยาบรองใตฐานราก
หมวดที่ 2. งานโครงสรางคอนกรีตเสริมเหล็ก
- งานโครงสรางคอนกรีตเสริมเหล็กใตระดับดิน ประกอบดวยงาน คสล. (ฐานราก,
ตอมอ คานยึดฐานราก, ตานคอดิน) งานไมแบบ
- งานโครงสรางคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นที่ 1, 2, 3........... ประกอบดวยงาน คสล. (พื้น
คาน, เสา, บันได ฯลฯ) งานไมแบบ
- งานโครงสรางพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กระดับหลังคา ประกอบดวยงาน คสล. (พื้น,
ดาดฟา, คาน, เสารับโครงหลังคา) งานไมแบบ น้ํายากันซึมผสมคอนกรีต
หมวดที่ 3. งานหลังคา
- งานโครงหลังคา (โครงหลังคาไม, โครงหลังคาเหล็ก)
- งานมุงหลังคา (วัสดุแผนมุงหลังคาและอุปกรณ)
หมวดที่ 4. งานฝาเพดานและเพดาน
- งานฝาเพดานคอนกรีตเปลือย
- งานฝาเพดานฉาบปูนเรียบ
- งานฝาเพดานวัสดุแผนและคราวไม
หมวดที่ 5. งานผนังและฝา
- งานผนังกอดวยวัสดุกอ (ผนังกออิฐมอญ, ผนังกอคอนกรีตบล็อก ฯลฯ)
- งานผนังคอนกรีตเปลือย
- งานฝาวัสดุแผนและคราวไม
หมวดที่ 6. งานตกแตงผิว
- งานตกแตงผิวผนัง (งานผนังบุวัสดุแผน, งานผนังฉาบผิวหินลาง ทรายลาง)
- งานฉาบปูนทราย (งานผนังฉาบปูนเรียบ, งานผนังฉาบปูนและแตงแนว)
- งานตกแตงผิวพื้น (งานเทปูนทรายปรับระดับ, งานปูดวยวัสดุแผน, งานบัวเชิงผนัง)
16

หมวดที่ 7. งานประตู หนาตาง


- ประตูไม, ประตูเหล็ก, ประตูอลูมิเนียม พรอมวงกบและอุปกรณ
- หนาตางไม, หนาตางอลูมิเนียม กระจกพรอมอลูมิเนียม
หมวดที่ 8. งานลูกกรงและราวลูกกรง
- งานลูกกรงและราวลูกกรงบันได
- งานลูกกรงและราวลูกกรงทั่วไป
หมวดที่ 9. งานระบบสุขาภิบาลและดับเพลิง
- งานระบบทอประปา (น้ําใช)
- งานระบบทอระบายน้ํา (น้ําทิ้ง)
- งานระบบระบายอากาศและกําจัดน้ําโสโครก (รวมสุขภัณฑ)
- งานระบบดับเพลิง
หมวดที่ 10. งานระบบไฟฟา
- งานไฟฟากําลัง
- งานไฟฟาแสงสวาง
- งานระบบสื่อสารติดตอภายใน-ภายนอก
หมวดที่ 11. งานสี
- งานทาสีภายนอกอาคาร
- งานทาสีภายในอาคาร
หมวดที่ 12. งานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ
หมวดที่ 13. งานลิฟทและทางเลื่อนตางๆ
หมวดที่ 14. งานอุปกรณเครื่องใชภายในอาคาร และเฟอรนิเจอร
หมวดที่ 15. งานภายนอกอาคารทั่วไป (ทางเดินเทารอบอาคาร, ถนน, ลานจอดรถ, รั้ว, ประตู
ทางออก งานตกแตงสวนและบริเวณทั่วไป)

สัญญาการกอสราง
สัญญาการกอสราง เปนขอตกลงระหวางบุคคลสองฝายคือ ฝายผูวาจางกับฝายผูรับจางโดยมี
ความ
มุงหมายใหฝายใดฝายหนึ่งปฏิบัติภารกิจอยางใดอยางหนึ่งตามขอตกลงที่ระบุไว เชน กําหนดระยะเวลา
กอสราง กําหนดการชําระเงิน กําหนดคาเสียหาย (เบี้ยปรับ)หากฝายใดฝางหนึ่งผิดสัญญา เปนตน ปกติ
สัญญาการกอสรางจะประกอบไปดวยหัวขอตางๆดังนี้
1. เรื่องของสัญญา สถานที่ทําสัญญา
2. วัน เดือน ป ที่ทําสัญญา
17

3. ผู ทํ า สั ญ ญาระหว า งใครกั บ ใคร ซึ่ ง ต อ งบ ง ชื่ อ สกุ ล สั ญ ชาติ เชื้ อ ชาติ อายุ อาชี พ
ตลอดจนที่อยูอาศัยใหละเอียดชัดเจน
7. กําหนดวันลงมือทําการกอสราง และวันแลวเสร็จของอาคารนั้น พรอมทั้งรวมระยะเวลา
การกอสรางวาเปนเวลากี่วัน
8. ระบุการจายคาเสียหายทดแทน (คาปรับ)หากมีการผิดสัญญาตามขอ 7
9. ระบุการแบงงวดการจายเงินคากอสรางไวอยางชัดเจนวา ทําการกอสรางไดงานแลวเสร็จถึง
อะไร ผูวาจางตองจายเงินเทาใดเปนงวดๆไป
10. บงถึงการเลิกสัญญาวา จะเลิกสัญญากันไดเพราะเหตุใดบาง และเมื่อใด
11. มีชองลงลายเซ็นทายสัญญาของผูวาจางและผูรับจาง พรอมพยานอยางนอยสองคน และ
ผูเขียนสัญญาอีกหนึ่งคน
ผูประมาณราคาจะตองศึกษาขอตกลงและสัญญาใหละเอียดกอนลงมือประมาณราคา เพราะขอ
สัญญาตางๆตามความตองการของผูวาจาง จะมีผลกระทบตอราคาคากอสราง
18

สรุป
หลักการประมาณราคาเบื้องตนนั้นผูประมาณราคาตองรูความหมาย หลักการและขัน้ ตอนใน
การประมาณราคา การประมาณราคามีประโยชนตอเจาของงาน สถาปนิก วิศวกรหรือผูรับเหมา การ
ประมาณราคาจะใกลเคียงความจริงมากแคไหนนัน้ ขึ้นอยูก ับวิธีการประมาณราคาของผูประมาณราคา วา
เปนแบบหยาบหรือแบบระเอียด และที่สําคัญอีกอยางหนึ่งผูประมาณราคาตองอานแบบออกและเขาใจ
รายละเอียดของแบบ
19

แบบฝกหัด
หนวยที่ 1 การประมาณราคากอสรางเบื้องตน

คําชี้แจง จงเลือก หนาคําตอบที่ถูกตองที่สุดเพียงขอเดียว


1. ขอใดคือความหมายของการประมาณราคาที่ถูกตองที่สุด
ก. การคาดคะเน การเดา
ข. การคิดการคํานวณหาปริมาณและราคาวัสดุกอสราง
ค. การคิดการคํานวณหาปริมาณและราคาวัสดุกอสราง คาแรงงาน คาโสหุย คากําไร คาภาษี
ตลอดจนคาใชจายอืน่ ๆที่ควรจะเปนสําหรับงานกอสรางในหนวยนัน้ ๆ
ง. ถูกทุกขอ
2. ขอใดคือความหมายของผูประมาณราคา
ก. บุคคลที่ทําหนาที่เขียนแบบ
ข. บุคคลที่ทําหนาที่เปนเจาของงาน
ค. บุคคลที่ทําหนาที่ควบคุมงานกอสราง
ง. บุคคลที่ทําหนาที่ประมาณราคาหรือแยกราคาวัสดุกอสราง
3. ผูประมาณราคาควรมีคุณสมบัติตามขอใด
ก. มีความรูพนื้ ฐานทางดานคณิตศาสตร และเรขาคณิต
ค. มีความรูความสนใจเกีย่ วกับวัสดุกอสรางตามทองตลาด ทั้งคุณสมบัติและราคา
ข. มีความรูความเขาใจในการอานแบบ รายการกอสราง และสัญญากอสรางเปนอยางดี
ง. ถูกทุกขอ
4. วิธีการประมาณราคางานกอสรางโดยทัว่ ไปแบงออกเปนกี่แบบ
ก. 2 แบบ
ข. 3 แบบ
ค. 4 แบบ
ง. 5 แบบ
5. มาตราสวน 1:20 มีความหมายตรงกับขอใด
ก. หมายความวาที่เขียนลงในแบบ 1 เซนติเมตร จะเทากับที่จะตองกอสรางจริง 20 เซนติเมตร
ข. หมายความวาที่เขียนลงในแบบ 20 เซนติเมตร จะเทากับที่จะตองกอสรางจริง 1 เซนติเมตร
ค. หมายความวาที่เขียนลงในแบบ 1:20 นั้น จะสรางจริง 1 เซนติเมตร หรือ 20 เซนติเมตร ก็ได
ง. ถูกทุกขอ
20

6. อักษรใดตอไปนี้ใชแทนแบบดานงานวิศวกรรมโครงสราง
ก. A
ข. S
ค. E
ง. M
7. อักษรใดตอไปนี้ใชแทนแบบดานงานสถาปตยกรรม
ก. A
ข. S
ค. E
ง. SN
8. อักษรใดตอไปนี้ใชแทนแบบดานงานสุขาภิบาล
ก. A
ข. S
ค. E
ง. SN
9. อักษรใดตอไปนี้ใชแทนแบบดานงานไฟฟา
ก. A
ข. S
ค. E
ง. SN
10. แบบงานสถาปตยกรรม รูปแปลน แสดงถึงอะไร
ก. แสดงตําแหนงฐานราก เสา คาน
ข. แสดงตําแหนงสวิทช ปลั๊ก การเดินสายไฟฟา
ค. แสดงตําแหนงทอน้ําใช ทอน้ําเสีย ทอโสโครก
ง. แสดงตําแหนงของอาคารวาหันหนาไปทางทิศใด มีขนาดของอาคารเทาใด
11. แบบงานวิศวกรรมโครงสราง รูปแปลน แสดงถึงอะไร
ก. แสดงตําแหนงฐานราก เสา คาน
ข. แสดงตําแหนงสวิทช ปลั๊ก การเดินสายไฟฟา
ค. แสดงตําแหนงของอาคารวาหันหนาไปทางทิศใด มีขนาดของอาคารเทาใด
ง. แสดงที่ตั้งของบอเกรอะ บอซึม บอน้ําทิ้ง หรือถังบําบัด บอพัก ทอระบายน้ํา
21

12. แบบงานวิศวกรรมสุขาภิบาล รูปแปลน แสดงถึงอะไร


ก. แสดงตําแหนงฐานราก เสา คาน
ข. แสดงตําแหนงสวิทช ปลั๊ก การเดินสายไฟฟา
ค. แสดงตําแหนงของอาคารวาหันหนาไปทางทิศใด มีขนาดของอาคารเทาใด
ง. แสดงที่ตั้งของบอเกรอะ บอซึม บอน้ําทิ้ง หรือถังบําบัด บอพัก ทอระบายน้ํา
13. รูปตัด แสดงถึงอะไร
ก. แสดงถึงรายละเอียดการใชวัสดุ
ข. แสดงถึงความสูงและระยะของแตละชั้นในอาคาร
ค. แสดงถึงรูปดานหนา ดานขางสองขาง ดานหลัง เห็นรูปทรงอาคาร ประตู หนาตาง
ง. ถูกทุกขอ
14. รูปดาน แสดงถึงอะไร
ก. แสดงถึงรายละเอียดการใชวัสดุ
ข. แสดงถึงความสูงและระยะของแตละชั้นในอาคาร
ค. แสดงถึงรูปดานหนา ดานขางสองขาง ดานหลัง เห็นรูปทรงอาคาร ประตู หนาตาง
ง. ถูกทุกขอ
15. รายละเอียดประกอบการกอสราง หมายถึงขอใด
ก. ขอเขียนที่แสดงรายละเอียดดานเทคนิคกอสราง
ข. ขอเขียนทีแ่ สดงรายละเอียดการใชวัสดุกอสราง
ค. ขอเขียนทีแ่ สดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริเวณกอสราง
ง. ขอเขียนที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากที่แสดงในแบบแบบกอสราง
16. จุดประสงคของการจําแนกรายการของงานกอสราง คือขอใด
ก. เพื่อใหไมหลงลืมบางรายการ
ข. เพื่อชวยใหการประมาณราคาทําไดโดยสะดวก
ค. เพื่อจัดหมวดหมูของงานตางๆใหรวมเปนกลุมเปนระเบียบ
ง. ถูกทุกขอ
17. การจําแนกรายการงานกอสรางภายในประเทศไทยแบงออกเปนกีง่ วด
ก. 10 งวด
ข. 16 งวด
ค. 18 งวด
ง. 20 งวด
22

18. สัญญากอสรางมีความหมายตรงกับขอใด
ก. เปนสัญญาที่ใชไมไดตามกฎหมาย
ข. เปนสัญญาที่ไมตองทําเปนลายลักษณอกั ษร
ค. เปนขอตกลงระหวางบุคคลสองฝายคือ ฝายผูวาจางและผูรับจาง
ง. ถูกทุกขอ
19. การทําสัญญากอสรางตองมีพยานอยางนอยกี่คน
ก. 1 คน
ข. 2 คน
ค. 3 คน
ง. 4 คน
20. ในการทําสัญญากอสรางตองมีกี่บุคคล
ก. ผูวาจาง ผูร ับจาง
ข. ผูวาจาง ผูรับจาง พยาน 1 คน
ค. ผูวาจาง ผูรับจาง พยาน 2 คน
ง. ผูวาจาง ผูรับจาง พยาน 2 คน ผูเขียนสัญญา 1 คน

You might also like