You are on page 1of 5

ธงคำตอบ

ข้อสอบปลายภาค
ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา ๒๕๖๕
วิชา กฎหมาย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด รหัสวิชา ๒๓๐๑ ๒๑๑
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รองศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.วิศิษฏ์ เจนนานนท์

ธงคำตอบ ข้อ ๑. หลักกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๐๐


วรรคหนึ่ง, มาตรา ๙๒๑, มาตรา ๙๓๘, มาตรา ๙๓๙ มาตรา ๙๔๐ วรรคหนึ่ง และ
มาตรา ๙๘๙ วรรคหนึ่ง (๕ คะแนน) (วางเนื้อความในตัวบทข้างต้นมาในการตอบคำถาม
ด้วย ถ้าใส่แต่เลขมาตรา มาพียงอย่างเดียว ไม่ตรวจข้อสอบในข้อนี้)
(ก) อธิบาย วิธีการอาวัลหรือรับอาวัลเช็คนั้น มีวิธีการเช่นเดียวกับการอาวัลตั๋ว
แลกเงิน กล่าวคือ จะต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ๒ วิธีการ ดังนี้ กล่าวคือ
๑. บุคคลที่จะเข้ามารับอาวัลคู่สัญ ญาในตั๋วเงิน อาจจะเป็นบุคคลภายนอกหรือ
อาจจะเป็ นคู่สัญ ญาเดิม ในตั๋วเงิน นั้น ก็ได้ ตามมาตรา ๙๓๘ วรรคท้าย ทั้ งจะต้ องเขีย น
ข้อความว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสำนวนอื่นใดที่มีความหมายเดียวกัน เช่น “รับประกัน”
หรือ “ค้ำประกัน” และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล ไว้ที่ด้านหน้าหรือด้านหลังของตั๋วเงิน
หรือใบประจำต่อ ทั้งนี้ต้องระบุไว้ด้วยว่ารับอาวัลให้แก่ผู้ ใด ซึ่งหากไม่ระบุไว้ให้ถื อว่าเป็น
การรับอาวัลผู้สั่งจ่าย ตามมาตรา ๙๓๙ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคท้าย (๕ คะแนน)
หรือ
๒. เพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลไว้ที่ด้านหน้าของตั๋วเงินนั้น กฎหมายก็ให้ถือ
ว่าเป็นการรับอาวัลแล้วโดยเป็นการรับอาวัลผู้สั่งจ่าย เว้นแต่กรณีที่เป็นผู้สั่งจ่ายหรือผุ้ จ่าย
1
เท่านั้นที่จะลงแต่ลายมือชื่อของตนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ถ้าจะเข้ารับอาวัลผู้ใดจะต้องเขียน
ข้อความและลงลายมือชื่อของตนตามวิธีการที่ ๑ ข้ างต้นเสมอ ตามมาตรา ๙๓๙ วรรค
สาม
และ เมื่อมีการรับอาวัลตามแบบวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว
ย่อมมีผลทำให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับบุคลลที่ตนประกัน ตามมาตรา ๙๔๐
วรรคหนึ่ง
อนึ่ง ในกรณีที่มีสลักหลังตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ ายแก่ผู้ถือ กฎหมายให้ถือว่าการสลักหลัง
นั้นเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย และรับผิดเช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายตามมาตรา ๙๒๑ ประกอบ
มาตรา ๙๔๐ วรรคหนึ่ง (๕ คะแนน)
(ข) ตามกฎหมาย ในกรณีที่มีการรับอาวัล ผู้เป็นคู่สัญญาตามเช็ค ผู้รับอาวัลจะต้อง
เขียนข้อความว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือข้อความอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกัน และลง
ลายมือชื่อของผู้รับอาวัลไว้ที่ด้านหน้าหรือด้านหลังเช็ค หรือผู้รับอาวัลอาจจะลงแต่ลายมือ
ชื่อของตนไว้ที่ด้านหน้าของเช็คก็ได้ ตามมาตรา ๙๓๙ ประกอบมาตรา ๙๘๙ วรรคหนึ่ง
กรณีตามอุทาหรณ์ เช็คที่นายวินัยออกให้แก่นายวิชิตเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายโดยระบุ
ชื่อนายวิชิตเป็น ผู้รับเงิน เมื่อนายวิชิตนำเช็คไปให้นายวิรัตน์รับอาวัล กรณีที่จะถือได้ว่า
นายวิรัตน์เข้ามารับอาวัลเช็คฉบับนี้แล้ว นายวิรัตน์จะต้องปฏิบัติตามวิธีการอย่างใดอย่าง
หนึ่งตามมาตรา ๙๓๙ ข้างต้ น แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายวิรัตน์ได้ลงแต่ลายมือชื่อ
ของตนไว้ที่ด้านหลังเช็ค โดยมิได้เขียนข้อความว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือข้อความอื่นที่มี
ความหมายเดียวกัน จึงไม่ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับอาวัลเช็คแต่อย่างใด
ดังนั้น แม้ว่า นายวิรัตน์จะต้องรับผิดในเช็คเพราะได้ลงลายมือชื่อไว้ในเช็ค แต่นายวิศิษฏ์
จะฟ้องให้นายวิรัตน์รับผิดในฐานะผู้รับอาวัลไม่ได้
สรุป นายวิศิษฏ์ จะฟ้องให้นายวิรัตน์รับผิดในฐานะผู้ รับอาวัลเช็คไม่ได้ จากหลัก
กฎหมายและเหตุผลดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น (๑๕ คะแนน)

2
ธงคำตอบ ข้อ ๒ หลักกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ,มาตรา ๙๖๗
มาตรา ๙๖๙ และมาตรา ๑๐๐๓ (๕ คะแนน)
กรณี ต ามอุท าหรณ์ นางรุ่งนภา ฟ้ องไล่ เบี้ ยให้ บ ริษั ท โตโยต้ า ทู โช(ไทยแลนด์ )
จำกัด ได้ เมื่อนางรุ่งนภาได้ใช้เงินแก่นายคณพศไปและเข้าถือเอาตั๋วเงินนั้น แล้ว ย่อมมี
สิทธิที่จะใช้บังคับเอาแก่บริษัท โตโยต้า ทูโช(ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ที่มีความผูกพันอยู่
แล้วก่อนตน ตามมาตรา ๙๖๗ วรรคสาม และมีสิทธิเรียกเอาเงินใช้จากบริ ษัท โตโยต้า
จำกัด ซึ่งต้องรับผิดต่อตนตาม มาตรา ๙๖๙ (๕ คะแนน) ได้ดังนี้ คือ
(๑) เงินเต็มจำนวนซึ่งตนได้ใช้ไป (จำนวน ๕,๓๒๐,๐๐๐ บาท(ห้าล้านสามแสนสองหมื่น
บาทถ้วน)) (๕ คะแนน)
(๒) ดอกเบี้ยในจำนวนเงินนั้น คิดอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ได้ใช้เงินไป คือวันที่ ๑
กรกฎาคม ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ รวมจำนวน ๕ เดือน (จำนวน
๑๑๐,๘๓๓.๓๓ บาท (หนึ่ง แสนหนึ่ง หมื่น แปดร้อยสามสิ บ สามบาทสามสิบ สาม
สตางค์)) (๕ คะแนน)
สูตรการคิดดอกเบี้ยในข้อ (๒) นี้คือ ๕,๓๒๐,๐๐๐X๕/๑๐๐=๒๖๖,๐๐๐/๑๒X๕
(๓) ค่าใช้จ่ายต่างๆ อันตนต้อ งออกไป (จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท(สองหมื่ นบาทถ้วน))
(๒.๕ คะแนน)
(๔) ค่าชักส่วนลดจากต้นเงินจำนวนในตั๋วแลกเงินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙๖๘(๔) คือ
ร้อยละ ๑/๖ ในต้นเงินอันจะพึงใช้ตามตั๋วเงิน (จำนวน ๘,๐๐๐ บาท(แปดพันบาท
ถ้วน)) (๒.๕ คะแนน)
สูตรการคิดค่าชักส่วนลดในข้อ (๔) นี้คือ ๕,๐๐๐,๐๐๐X๐.๑๖/๑๐๐=๘,๐๐๐ บาท
ดั งนั้ น สรุป ว่ า บริษั ท เงิน ทุ น ทองดี จำกั ด ต้ อ งจ่ า ยเงิน ให้ แ ก่ น างนภาพร
จำนวนทั้งสิ้น ๕,๔๕๘,๘๓๓.๓๓-บาท (ห้าล้านสี่แสนห้าหมื่นแปดพันแปดร้อยสามสิบ
สามบาทสามสิบสามสตางค์ ) และนางรุ่งนภาต้องฟ้องบริษัท โตโยต้า ทูโช(ไทยแลนด์)
จำกัด ภายในอายุความ ๖ เดือนนับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันที่ นางรุ่ง
นภาได้ใช้เงินให้แก่นายคณพศไปและเข้าถือเอาตั๋วเงินนั้น ตาม มาตรา ๑๐๐๓ ซึ่งปรากฏ
ข้อเท็จจริงว่า นางรุ่งนภาได้ฟ้องไล่เบี้ย บริษัท โตโยต้า ทูโช(ไทยแลนด์) จำกัด ในวันที่ ๓๐
พฤศจิกายน ๒๕๖๕ วัน สุด ท้ายของอายุความ ๖ เดื อน ย่อ มสิ้ นสุ ดลงในวัน ก่อ นวั น
เริ่มต้นนับอายุความในเดือนสุดท้าย ตาม มาตรา ๑๙๓/๕ วรรคสอง เมื่อวันอันตรงกับ
3
วันเริ่มต้นนับอายุความในเดือนสุดท้าย ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ วันก่อนวันเริ่มต้น
นับอายุความในเดือนสุดท้ายจึงตรงกับวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ซึ่งถือว่า วันนี้เป็นวัน
สุดท้ายของอายุความ ๖ เดือน คดีของนางรุ่งนภาจึงไม่ขาดอายุความ (๕ คะแนน)

ธงคำตอบ ข้อ ๓. หลักกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๙๐๐


วรรคหนึ่ง, มาตรา ๙๐๕, มาตรา ๙๑๔, มาตรา ๙๘๙ วรรคหนึ่ง, มาตรา ๑๐๐๗ วรรค
สองและวรรคสาม และมาตรา ๑๐๐๘ วรรคหนึ่ง (๕ คะแนน)

กรณีตามอุทาหรณ นิธิ ปลอมลายลายมือชื่อนิตา สั่งใหธนาคาร บัวหลวง จำกัด


จายเงินจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท ใหแกนิเวศน ตอมานิเวศนไดแกไขจำนวนเงินในเช็คจาก
๕๐,๐๐๐ บาท เปน ๑๕๐,๐๐๐ บาท แลวสลักหลังเช็คนั้นสงมอบเช็คเพื่อชำระหนี้ใหแก
นิรันดร เมื่อนิรันดรรับโอนเช็คฉบับนั้นโดยสุจริต และมิไดประมาทเลินเลออยางรายแรง
และการโอนเช็คจากนิเวศนผูโอนมายังนิรันดรผูรับโอนไมขาดสายแลว นิรันดรจึงถือวาเปน
ผูทรงโดยชอบดวยกฎหมายตาม มาตรา ๙๐๕ เพราะถึงแมเช็คพิพาทฉบับดังกลาวจะมี
ลายมือชื่อผูสั่งจายปลอม แตเช็คฉบับ ดังกลาวคงเสียไปหรือเปนอันใชไมไดเลยเฉพาะนิตา
ผูสั่งจายซึ่งเปนผูถูกปลอมลายมือชื่อ ตามมาตรา ๑๐๐๘ วรรคหนึ่ง (๒.๕ คะแนน)
เมื่อปรากฎตามขอเท็จจริงวา นิเวศน ไดแกไขจำนวนเงินในเช็คทั้งจำนวนเงินที่เปน
ตัวเลขและตัวหนังสือไดอยางแนบเนียน ซึ่งการแกไขจำนวนเงินนี้ถือวาเปนการแกไขในขอ
สำคัญ ตามมาตรา ๑๐๐๗ วรรคทาย (๒.๕ คะแนน) แตความเปลี่ยนแปลงนั้น เห็ นไม
ประจักษชัดเจน ดังนั้น เมื่อธนาคาร บัวหลวง จำกัด ซึ่งเปนธนาคารตามเช็คไดปฏิเสธการ
จายเงิน นิรันดรซึ่งเปนผูทรงเช็คที่ชอบดวยกฎหมาย ยอมมีสิทธิฟองบั งคับไลเบี้ย นิเวศน
ซึ่งเปนผูแกไขจำนวนเงินในเช็คและเปนผูสลักหลังเช็คพิพาท ไดในจำนวน ๑๕๐,๐๐๐
บาท ตามราคาที่ถูกแกไขใหม (๕ คะแนน) หากไลเบี้ยนิเวศนแลวยังไดเงินมาไมเพียงพอ
๑๕๐,๐๐๐ บาท นิรันดรผูทรงเช็คฉบับนี้ยังมีสิทธิไลเบี้ย นิธิ ผูซึ่งปลอมลายมือชื่อนิตา ผู
สั่งจาย ใหรับผิดตามเนื้อความเดิมกอนมีการแกไข คือจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาทไดอีกดวย
(๕ คะแนน) แตทั้ งนี้ นิ รันดรผูท รงเช็ค จะไลเบี้ย ทั้งนิ เวศนและนิธิ ให รวมกัน รับผิดใน
จำนวนเงินเกินกวาราคาที่ถูกแกไขใหมคือ ๑๕๐,๐๐๐ บาทไมได ตามมาตรา ๙๐๐ วรรค

4
หนึ่ง มาตรา ๙๑๔, มาตรา ๙๘๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๐๐๗ วรรคสองและวรรคสาม
(๕ คะแนน)
สวนกรณีของ นิตา นั้น นิ รันดรผูทรงเช็คไมมี สิทธิไลเบี้ยนิตาได เนื่องจาก นิตา
ไมไดลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท นิตาจึงไมตองรับผิดตาม มาตรา ๙๐๐ วรรคหนึ่ง อีกทั้ง
เช็คฉบั บ พิ พาทเสียไปหรือ เป น อันใชไมได แลว สำหรับนิ ตา ผูสั่งจายซึ่งเปนผูถูกปลอม
ลายมือชื่อ ตามมาตรา ๑๐๐๘ วรรคหนึ่ง (๕ คะแนน)
สรุป นิรันดร ผูทรงเช็คโดยชอบดวยกฎหมาย สามารถฟองบังคับไลเบี้ยนิเวศน ผู
แกไขจำนวนเงินและเปนผูสลักหลังเช็คพิพาท ไดจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ตามราคาที่ถูก
แกไขใหม และไลเบี้ยนิธิ ซึ่งเปนผูปลอมลายมือชื่อนิตาผูสั่งจายใหรับผิดตามเนื้อความ
เดิมกอนมีการแกไข คือจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท แตทั้งนี้ นิรันดรผูทรงเช็ค จะไลเบี้ย ทั้ง
นิเวศนและนิธิ ใหรวมกันรับผิดในจำนวนเงินเกินกวาราคาที่แกไขใหมคือ ๑๕๐,๐๐๐ บาท
ไมได ตามมาตรา ๙๐๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๙๑๔, มาตรา ๙๘๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา
๑๐๐๗ วรรคสองและวรรคสาม และนิรันดรไมมีสิทธิฟองไลเบี้ย นิต า ตามมาตรา ๙๐๐
วรรคหนึ่งและมาตรา ๑๐๐๘ วรรคหนี่ ง และกรณีนี้ หากธนาคาร บัวหลวง จำกัด ซึ่งเปน
ธนาคารตามเช็คไดจายเงินตามเช็คไปใหแกนิรันดรผูทรงเช็ค ธนาคารจะมาอางว าตนเอง
หลุดพนจากความรับผิดแลวไมได เนื่องจากเช็คฉบับนี้ มีลายมือชื่อของผูสั่งจายปลอมโดย
นิธิมาปลอมลายมือชื่อของนิตา มาตรา ๑๐๐๙ ไมคุมครองธนาคารผูใชเงินตามเช็ค ดังนั้น
ธนาคารไมมีสิทธิหักเงินในบัญชีของนิตาผูสั่งจาย ดวยเหตุผลดังที่ไดกลาวไปแลวขางตน

***************************

You might also like