You are on page 1of 14

COAL

ENERGY
พลังงานถ่านหิน
ถ่านหิน (Coal)
คือ หนึ่งในเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil fuel) ที่เกิดจากการ
ทับถมกันของซากพืชในพื้นที่ชื้นแฉะหรือแหล่งน้ำตื้นเขิน ภาย
ใต้การทับถมกันของหิน ดิน ทราย และตะกอนในแหล่งน้ำ
ทำให้ซากพืชไม่ย่อยสลายไปอย่างรวดเร็วตามธรรมชาติ แต่
สะสมกันเป็ นชั้นหนา ก่อนถูกบีบอัดให้จมลึกลงใต้พื้นโลก ภาย
ใต้ความร้อนและความดันที่เพิ่มสูงขึ้นเป็ นระยะเวลาหลายร้อย
ล้านปี ทำให้ซากพืชที่ทับถมกันกลายเป็ นถ่านหิน ซึ่งเป็ น
หินตะกอนสีน้ำตาล - ดำชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติเป็ นเชื้อเพลิงที่ดี
และสังคมมนุษย์ก็ขับเคลื่อนด้วย พลังงานจากถ่านหิน มาเป็ น
เวลาหลายศตวรรษ
พีต (Peat) แอนทราไซต์
(Anthracite)

ประเภทของ ลิกไนต์ (Lignite)

ถ่านหิน ซับบิทูมินัส (Sub–bituminous)

บิทูมินัส (bituminous)
พีต (Peat)
เป็ นถ่านหินในขั้นแรกเริ่มของกระบวนการเกิดถ่านหิน จึงมีองค์
ประกอบของซากพืชบางส่วนที่ยังย่อยสลายไม่หมด สามารถมองเห็น
รูปร่างของกิ่งไม้ ลำต้น หรือใบไม้ ในเนื้ อถ่านหินประเภทนี้ได้ ซึ่งส่ง
ผลให้พีตมีลักษณะค่อนข้างร่วนและมีความชื้นสูง ดังนั้น ก่อนนำพี
ตมาใช้เป็ นเชื้อเพลิง จึงต้องผ่านกระบวนการกำจัดความชื้นเสียก่อน
ความร้อนที่ได้จากการเผาพีตสูงกว่าที่ได้จากไม้ฟื นทั่วไป สามารถใช้
เป็ นเชื้อเพลิงให้ความร้อนภายในครัวเรือนได้ดี
มีคาร์บอน 60%
ลิกไนต์ (Lignite)
มีอายุน้อยเป็ นลำดับที่ 2 รองจากพีต มีเนื้ อเหนียว สีเข้ม และผิว
ด้าน มีปริมาณคาร์บอนสูงกว่าพีต ยังคงมีความชื้นและองค์
ประกอบของซากพืชหลงเหลืออยู่ภายในเนื้ อถ่านหินเล็กน้อย ส่ง
ผลให้เมื่อติดไฟมักเกิดควันและเถ้าถ่านปริมาณมาก ดังนั้น
ลิกไนต์จึงถือเป็ นถ่านหินคุณภาพต่ำที่ให้ความร้อนได้ไม่สูงนัก
แต่เพียงพอสำหรับการนำไปใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงาน
ความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
มีคาร์บอน 55 - 60 %
ซับบิทูมินัส
(Sub–bituminous)
มีอายุมากกว่าลิกไนต์ เป็ นถ่านหินสีน้ำตาล - ดำ
มีทั้งผิวด้านและผิวมันวาว
มีปริมาณคาร์บอนสูงกว่าลิกไนต์และมีความชื้นต่ำ
ซับบิทูมินัสจึงถือเป็ นถ่านหินคุณภาพสูง เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็ น
เชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าภายในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
บิทูมินัส
(bituminous)
มีอายุมากเป็ นลำดับที่ 4 โดยมีอายุประมาณ 300 ล้านปี
มีเนื้ อแน่นและแข็ง สีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ ผิวมันวาว
มีความชื้นต่ำและมีปริมาณคาร์บอนสูง
ดังนั้น บิทูมินัสจึงเป็ นถ่านหินที่มีคุณภาพสูงสุดเป็ นอันดับที่ 2
รองจากแอนทราไซต์ เป็ นเชื้อเพลิงที่ให้ความร้อนได้ดีเยี่ยม จึง
เป็ นถ่านหินที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการนำไปใช้ในอุตสาหกรรม
ผลิตเหล็กกล้าและซีเมนต์ รวมถึงการผลิตกระแสไฟฟ้า
แอนทราไซต์
(Anthracite)
มีอายุมากที่สุด โดยมีอายุราว 350 ล้านปี ส่งผลให้แอนทราไซต์เป็ น
ถ่านหินที่มีการแปรสภาพสมบูรณ์ จากการอยู่ภายใต้แรงดันและ
ความร้อนมหาศาลใต้ผิวโลกเป็ นเวลานาน ทำให้น้ำและสารระเหย
ต่างๆในพืชหมดไป เหลือไว้เพียงคาร์บอน
แอนทราไซต์จึงมีความชื้นต่ำ เนื้ อแน่นและแข็ง สีดำเป็ นเงามันวาว
และยังมีปริมาณคาร์บอนสูงสุด ( ราวร้อยละ 97) ติดไฟยาก แต่เมื่อ
จุดไฟติดแล้ว จะก่อให้เกิดเปลวไฟสีน้ำเงินจางๆ ซึ่งมีความร้อนสูง
ไม่มีการปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหยจากการเผาไหม้ แอนทราไซต์
จึงถือเป็ นถ่านหินที่มีคุณภาพสูงสุดในบรรดาถ่านหินทั้งหมด
ตารางแสดงการเปรียบ
เทียบคุณภาพของถ่านหิน
ความร้อน ความชื้น ปริมาณขี้เถ้า ปริมาณกำมะถัน

พีต (Peat) ต่ำ สูง สูง ไม่แน่นอน

ลิกไนต์ (Lignite) ต่ำ – ปานกลาง สูง สูง ต่ำ – สูง

ซับบิทูมินัส (Sub–
ปานกลาง – สูง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง
bituminous)

บิทูมินัส (bituminous) สูง ต่ำ ต่ำ ต่ำ

แอนทราไซต์
สูง ต่ำ ต่ำ ต่ำ
(Anthracite)
ข้อดี
มีแหล่งผลิตแน่นอนและปริมาณสำรองเพียงพอ
( สำหรับอีก 220 ปี ข้างหน้า ) เนื่ องจากถ่านหินเป็ น
ทรัพยากรที่กระจายอยู่ทั่วโลกและมีการผลิตที่ไม่
ได้อาศัยปั จจัยทางสภาพอากาศเหมือนอย่าง
พลังงานทดแทนอื่นๆ ( แสงอาทิตย์ ลม และคลื่น )
ดังนั้น ถ่านหินจึงสามารถผลิตได้ตลอดเวลา มี
ต้นทุนต่ำ และมีราคาถูก
ข้อเสีย
เป็ นทรัพยากรที่มีจำกัดและไม่สามารถทดแทนได้ (Non-Renewable
Resource) การเผาไหม้ถ่านหินยังก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือน
กระจกและสารพิษที่ปนเปื้ อนในอากาศ พื้นดิน และแหล่งน้ำ ซึ่งเป็ น
อันตรายอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
และปรอท นอกจากนี้ การทำเหมืองถ่านหินยังถือเป็ นงานที่อันตราย
ที่สุดงานหนึ่งในโลก อีกทั้งการขุดเจาะพื้นผิวโลกยังก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์อย่างถาวร ระบบนิเวศในพื้นที่จะถูกทำลายไป
อย่างสิ้นเชิง เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและภัยพิบัติทางธรรม
ชาติอื่นๆอีกมากมาย
แหล่งที่มา
https://ngthai.com/scienc
e/26351/coal/
https://dmf.go.th/public/li
st/data/index/menu/630/
mainmenu/630/
นาย กฤตภาส ตั้งหะรัฐ ม.6/2 เลขที่ 2

สมาชิก
นาย ชวิศา จินานันท์ ม.6/2 เลขที่ 3
นาย ณัฏฐพัชร์ โชตืสกุลรักษ์ ม.6/2 เลขที่ 5
นาย ภัทรวรรธ เอี่ยมดี ม.6/2 เลขที่ 13
นาย วีรชาย เมืองใย ม.6/2 เลขที่ 15
THANK
YOU

You might also like