You are on page 1of 5

สรุป กฎหมายที่เกี่ยวข้องของสปาบำบัด

พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙


ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559
(มีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 180 วัน)
ดังนั้นเริ่มมีผลบังคับใช้... “วันที่ 27 กันยายน 2559”
เหตุผลในการใช้พรบ. นี้…
● ยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลการดำเนินกิจการนี้เป็นการเฉพาะ
● ถ้ามีกิจการแฝงอย่างอื่น ทำให้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้รับบริการที่มีต่อกิจการ
● เพื่อให้สถานประกอบการมีมาตรฐานอันเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนและคุ้มครองผู้บริโภค
หมวดที่ 1 คณะกรรมการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
● ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ
● กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถด้านบริการเพื่อ
สุขภาพ
● กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี
● กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อ
กันเกินสองวาระไม่ได้
● ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้อื่นดำรงตำแหน่งแทน
เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึง 90 วัน จะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้
และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรง
คุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
● การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
● คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา หรือปฎิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดแทน
คณะกรรมการ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้

หมวดที่ 2 ใบอนุญาตและการขึ้นทะเบียน
● ผู้ใดประสงค์จะประกอบอาชีพนี้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
จากผู้อนุญาต
● ใบอนุญาตประกอบกิจการมีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
● ใบอนุญาตประกอบกิจการสิ้นสุดลงเมื่อผู้รับอนุญาตตาย เลิกประกอบกิจการ หรือถูกเพิกถอนใบ
อนุญาตประกอบกิจการ
● การขอโอนใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ
กระทรวง
● ผู้รับอนุญาตซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบกิจการให้แจ้งให้ผู้อนุญาตทราบพร้อมทั้งส่งคืนใบอนุญาต
ประกอบกิจการแก่ผู้อนุญาตภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการ
● ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ
ต้องห้ามดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติ
○ ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
○ ได้รับวุฒิบัตรเป็นการรับรองจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
○ ผ่านการทดสอบประเมินความรู้จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
ข. ลักษณะต้องห้าม
○ เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
○ เป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำผิดในความผิดเกี่ยวกับเพศ ยาเสพติด การ
ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ตามประ
บวนกฏหมายอาญา
○ เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
○ เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการ
○ เป็นผู้เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการและยังไม่ผลกำหนด 1 ปีนับถึงวันยื่นคำขอ
รับใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการ
หมวดที่ 3 หน้าที่ของผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการ
● ผู้รับอนุญาตต้องประกอบกิจการที่ตรงตามประเภทตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตประกอบกิจการ
● การใช้ชื่อสถานประกอบการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด
● มาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย และการให้บริการหรือสถานประกอบการแต่ละประเภท ให้เป็น
ไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
● ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. แสดงใบอนุญาตประกอบกิจการไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
2. จัดให้มีผู้ดำเนินการอยู่ประจำสถานประกอบการตลอดเวลาทำการพร้อมทั้งแสดงชื่อผู้ดำเนิน
การไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
3. จัดทำทะเบียนประวัติผู้ดำเนินการและผู้ให้บริการ
4. รักษามาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย และการให้บริการให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต
5. รับผู้ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา 22 เท่านั้นเข้าทำงานในสถานประกอบการ
6. ไม่โฆษณาเกี่ยวกับการให้บริการเพื่อสุขภาพในลักษณะดังต่อไปนี้
● การใช้ข้อความโฆษณาอันเป็นเท็จ โอ้อวดเกินความเป็นจริง
● โอ้อวดสรรพคุณของการบริการเพื่อสุขภาพ อันเป็นส่วนประกอบในการให้บริการว่า
สามารถบำบัด รักษา หรือป้องกันโรคได้อยู่ใช้ถ้อยคำอื่นใดที่มีความหมายในทำนอง
เดียวกัน
● โฆษณาในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการให้
บริการเพื่อสุขภาพ
● โฆษณาที่มีลักษณะส่อไปในทางลามกอนาจาร
7. ควบคุมดูแลมิให้สถานประกอบการเพื่อสุขภาพก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อาศัยใน
บริเวณใกล้เคียง
8. ห้ามมิให้มีการจัดสถานที่หรือสิ่งอื่นใดสำหรับให้ผู้ให้บริการแสดงตนเพื่อให้สามารถเลือกผู้ให้
บริการได้
9. ควบคุมดูแลมิให้มีการลักลอบหรือการค้าประเวณี
10. ห้ามมิให้หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการจำหน่ายหรือเสพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบในสถานประกอบการ
11. ห้ามมิให้หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดใน
สถานประกอบการ
12. ห้ามมิให้หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้ผู้มีอาการมึนเมาจนประพฤติตนวุ่นวายหรือ
ของสติไม่ได้เข้าไปในสถานประกอบการระหว่างเวลาทำการ
13. ห้ามมิให้หรือยินยอมปล่อยปละละเลยให้มีการนำอาวุธเข้าไปในสถานประกอบการ
● ผู้ดำเนินการมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. จัดทำคู่มือปฎิบัติงานสำหรับบริการหรือคู่มือการใช้อุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือเครื่อง
ใช้ต่างๆ และพัฒนาผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการได้ตามคู่มือที่จัดทำขึ้น
2. ควบคุมดูแลการบริการอุปกรณ์ผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่ได้มาตรฐาน ถูก
สุขลักษณะ และใช้ได้อย่างปลอดภัย
3. สอบถามเรื่องบันทึกข้อมูลสุขภาพพื้นฐาน และคัดกรองผู้รับบริการเพื่อจัดบริการที่เหมาะสม
กับสุขภาพของผู้รับบริการ
4. ควบคุมดูแลผู้ให้บริการให้ปฏิบัติตามคู่มือการปฎิบัติงานอย่างเคร่งครัด และควบคุมดูแลมิให้
ผู้ให้บริการออกไปให้บริการนอกสถานประกอบการเพื่อสุขภาพในเวลาทำงาน
5. จัดให้มีมาตรการดูแลความปลอดภัยในการทำงาน และป้องกันมิให้ผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ
และบุคคลซึ่งทำงานในสถานประกอบการถูกล่วงละเมิดทางเพศ

หมวดที่ 4 การพักใช้ใบอนุญาตการเพิกถอนใบอนุญาตและการลบชื่อออกจากทะเบียน
● ถ้าหากว่าผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้บัญญัติไว้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่ง
ให้ผู้รับอนุญาตดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้รับอนุญาตไม่ดำเนินการ
แก้ไขภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่จะรายงานต่อผู้อนุญาตเพื่อ
พิจารณา ในการนี้ ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการจนกว่าผู้ผู้รับอนุญาตจะ
ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ให้ผู้อนุญาตสั่งถอนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้นและผู้รับอนุญาตต้อง
หยุดประกอบกิจการตามที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
● ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ให้บริการผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในมาตรา 23
ให้ผู้อนุญาตลบชื่อผู้ให้บริการนั้นออกจากทะเบียน
● คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต และคำสั่งลบชื่อออกจากทะเบียน ให้ทำเป็นหนังสือ
แจ้งผู้รับอนุญาต ผู้ดำเนินการ และผู้ให้บริการทราบแล้วแต่กรณี
หมวดที่ 5 พนักงานเจ้าหน้าที่
● เข้าไปในสถานประกอบการในระหว่างเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไป
ตามพระราชบัญญัตินี้
● เก็บอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ในการให้บริการเพื่อสุขภาพในปริมาณพอ
สมควรเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบหรือวิเคราะห์
● ยึดหรืออายัดอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ตลอดจนภาชนะบรรจุ หีบห่อ ฉลาก
และเอกสารกำกับ ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะเกี่ยวข้องกับการกระทำความ
ผิด
● มีหนังสือเรียกให้บุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่จำเป็นเพื่อประกอบการ
พิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่
● ในการปฎิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่
เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด
● ในการปฎิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวดที่ 6 การอุทธรณ์
● ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตไม่ให้ต่ออายุใบอนุญาตไม่ให้โอนใบอนุญาตหรือไม่รับขึ้นทะเบียน
เป็นผู้ให้บริการให้ผู้ขอมีสิทธิ์อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อปลัดกระทรวงภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับ
แจ้งการไม่ออกใบอนุญาตการไม่ให้ต่ออายุใบอนุญาตการไม่ให้โอนใบอนุญาตหรือการไม่รับขึ้น
ทะเบียน แล้วแต่กรณี
● ผู้รับอนุญาต ผู้ดำเนินการ หรือผู้ให้บริการ ซึ่งถูกพักใช้ใบอนุญาต ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกลบ
ชื่อออกจากทะเบียน มีสิทธิ์อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อปลัดกระทรวงภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือคำสั่งลบชื่อออกจากทะเบียน แล้วแต่กรณี
● ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์
ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกิน 30
วันนับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โดยการวินิจฉัยของปลัดกระทรวงให้เป็นที่สุด
หมวดที่ 7 บทกำหนดโทษ
● ผู้ใดใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า “สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ” “กิจการสปา” “นวดเพื่อ
สุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม” หรือกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือคำอื่นใดที่มีความ
หมายเช่นเดียวกันในประการที่อาจทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นสถานประกอบการเพื่อสุขภาพโดย
มิได้เป็นผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท
● ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 22 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน 50,000 บาทหรือทั้งจำทั้ง
ปรับ
● ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 20 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
● ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท
● ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 28 (9) (10) (11) (12) (13) หรือผู้ดำเนินการผู้ใด
ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 วรรคสองต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
● ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 35 วรรคสองต้องระวังโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
● ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ
หรือการกระทำของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของ
กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นผู้นั้นต้องรับโทษ
ตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย
● มาตรา 48 บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามหลักเกณฑ์
ที่อธิบดีประกาศกำหนด
เมื่อผู้ต้องหาชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วให้ถือว่าคดีเลิก
กันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กฎกระทรวง
กำหนดมาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย และการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจ
การสปา และกิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรฐานด้านสถานที่
1. มีการแบ่งเขตพื้นที่บริเวณอย่างชัดเจน
2. ต้องไม่มีช่องทางที่ผู้ให้บริการคือผู้รับบริการไปมาหาสู่กัน
3. พื้นที่บริเวณที่มีการใช้น้ำ พื้นผิวต้องทำด้วยวัสดุกันลื่น
4. มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ
5. มีการจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสียที่เหมาะสม
6. มีระบบการควบคุมพาหะนำโรคตามหลักสุขาภิบาล เช่น โควิด 19
7. มีการตกแต่งสถานที่เหมาะสมไม่มีลักษณะที่ทำให้เสื่อมเสียศีลธรรม
8. จัดให้มีห้องน้ำหรืออาบน้ำ ห้องผัดเปลี่ยนเสื้อผ้า และตู้เก็บเสื้อผ้าที่สะอาด ถูกสุขลักษณะปลอดภัย
และเพียงพอ และแยกส่วนชายและหญิง

มาตรฐานด้านความปลอดภัย
1. มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและปลุกใช้งาน
2. มีป้ายหรือข้อความเพื่อเตือนให้ผู้รับบริการระมัดระวังอันตรายหรือความเสี่ยง
3. มีการทำความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องมือทุกชนิดอย่างถูกสุขลักษณะ
4. จัดให้ผู้ให้บริการต้องใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
5. มีระบบการเก็บและป้องกันการติดเชื้อจากรถไฟที่เหมาะสม
6. มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ และติดตั้งเครื่องดับเพลิงไว้ในตำแหน่งที่เห็นชัดเจน อย่างน้อย 1
เครื่อง
7. หากมีการให้บริการที่ใช้ความร้อนความเย็น ต้องจัดให้มีเบิกบุคลากรและอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ผู้
เชี่ยวชาญให้ความรู้ ระบบฉุกเฉิน
8. มีระบบคัดกรองผู้รับบริการนี้อาจมีความเสี่ยงต่อการเข้าใช้บริการเช่น โควิด-19 คุณท้อง หรือโร
คอื่นๆ อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
9. ต้องดูแลและควบคุมคุณภาพน้ำที่ให้บริการที่ปลอดภัย

มาตรฐานด้านการให้บริการ
● ไม่ฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขหรือกฎหมาย
ว่าด้วยสถานพยาบาล
● แสดงรายการการให้บริการและอัตราค่าบริการไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายขึ้น
● ต้องไม่จัดให้มีบริการอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพทำ
ร้านใหม่
● กำหนดให้มีเครื่องแบบผู้ให้บริการ รัดกุม สุภาพสะอาด เรียบร้อยและสะดวกต่อการปฎิบัติงาน และ
ต้องมีป้ายชื่อผู้ให้บริการติดไว้ที่บริเวณหน้าอก
● มีการกำหนดเวลาเปิดและปิดที่ชัดเจน 06:00 น. ถึง 24:00 น.
● กิจการสปา ต้องมีการจัดทำทะเบียนประวัติผู้รับบริการไว้เป็นหลักฐานตามแบบที่อธิบดีประกาศ
กำหนด

You might also like