You are on page 1of 73

ผลของการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายที่มีผลต่อความวิตก

กังวลทางความคิดและความแม่นยาในการปาลูกดอกของนักกีฬา

นายชาญวิทย์ อินทรักษ์

วิจัยนี้ได้รับทุนจาก
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี
ปีงบประมาณ 2566

ชื่องานวิจัย
ภาษาไทย: ผลของการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายที่มีผลต่อความวิตกกังวล
ทางความคิดและความแม่นยาในการปาลูกดอกของนักกีฬา
ภาษาอังกฤษ: Effect of Imagery with Classical Music for Relaxation on Cognitive Anxiety
and Accuracy of Darts Throwing in Athletes
ผู้วิจัย: ชาญวิทย์ อินทรักษ์
ปีการศึกษา: 256
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาความวิตกกังวลตามสถานการณ์ และ
ความแม่นยาในการปาลูกดอกของกลุ่มที่ได้รับการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ครั้งนี้ คือ นักกีฬาที่ มีอายุระหว่าง 18-22 ปี (จานวน 20 คน) เพศหญิงที่กาลังศึกษา
อยู่คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี
จานวน 1 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่ได้รับการฝึกโปรแกรมจินตภาพร่วม กับดนตรีบรรเลงเพื่อ
การผ่อนคลาย การทดลองครั้งนี้ฝึกทั้งหมด 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 12 นาที เครื่องมือในการ
เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ (CSAI-2R) แบบทดสอบความ
แม่นยาในการปาลูกดอก และโปรแกรมการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลตามสถานการณ์และความแม่นยาใน
การปาลู ก ดอกที่ ไ ด้ รั บ การฝึ ก โปรแกรมจิ น ตภาพร่ ว มกั บ ดนตรี บ รรเลงเพื่ อ การผ่ อ นคลาย ก่ อ น
และหลังการฝึก 6 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิต กกังวลทางความคิด ก่อนการฝึกเท่ากับ
14.67 หลังการฝึก 13.00 ความวิตกกังวลทางกาย ก่อนการฝึกเท่ากับ 22.00 หลังการฝึก 17.33
ความเชื่อมั่ น ในตนเองก่ อ นการฝึ ก เท่ากับ 14.33 หลั งการฝึ ก 15.00 และความแม่ นย าในการ
ปาลู กดอกก่อนการฝึกเท่ากับ 16.67 หลั งการฝึ ก 23.00 สรุปได้ว่า กลุ่ มที่ได้รับการฝึกจินตภาพ
ร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อ การผ่อนคลายคะแนนความวิตกกังวลตามสถานการณ์และคะแนนความ
แม่นยาไม่แตกต่างกัน

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ…………………………………………………………………………………………………………………………… ก
บทที่
1 บทนา…………………………………………………………………………………………………………………………... 1
ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา............................................................................. 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย................................................................................................... 2
สมมติฐานของการวิจัย....................................................................................................... 2
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย…………………………………………………………………………………. 3
ความสาคัญของการวิจัย………………………………………………………………………………………… 3
ขอบเขตของการวิจัย……………………………………………………………………………………………… 3
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา……………………………………………………………………………………….... 3
นิยามศัพท์เฉพาะ………………………………………………………………………………………………….. 4
กรอบแนวคิดในการวิจัย…………………………………………………………………………………………. 4
2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง………………………………………………………………………………………… 6
การจินตภาพ....................................................................................................................... 7
การสร้างจินตภาพ…………………………………………………………………………………………………. 14
ดนตรี…………………………………………………………………………………………………………………… 18
ความวิตกกังวลตามสถานการณ์………………………………………………………………………………. 25
การจาลองสถานการณ์กีฬา…………………………………………………………………………………….. 30
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง………………………………………………………………………………………………… 30
3 วิธีดาเนินการวิจัย……………………………………………………………………………………………………………. 37
กลุ่มตัวอย่าง…………………………………………………………………………………………………………. 37
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล…………………………………………………………………….. 37
วิธีการดาเนินการทดลอง………………………………………………………………………………………… 39
การวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………………………………………………………… 40
4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล……………………………………………………………………………………………………… 41
สัญลักษณ์ในการวิเคราะห์และแปลผล……………………………………………………………………… 41
การนาเสนอการวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………………………………………. 41
5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ…………………………………………………………………………………… 44

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
สรุปผลการวิจัย……………………………………………………………………………………………………… 44
อภิปรายผล…………………………………………………………………………………………………………… 45
ข้อเสนอแนะในนาผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้………………………………………………………………….. 47
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป…………………………………………………………………………. 48
บรรณานุกรม...................................................................................................................... 49
ภาคผนวก........................................................................................................................... 55
ภาคผนวก ก....................................................................................................................... 56
ภาคผนวก ข....................................................................................................................... 60
ภาคผนวก ค....................................................................................................................... 63
ภาคผนวก ง........................................................................................................................ 64
ประวัติย่อของผู้วิจัย............................................................................................................ 71
บทที่ 1
บทนา

ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา
ในการแข่ งขัน กีฬานั้ น นักกีฬาที่เล่ นเพื่อความเป็นเลิ ศนั้นต้องมีความแข็งแกร่งทั้งทาง
ด้านร่างกาย และจิตใจ สิ่งเหล่านี้ได้มาจากการเรียนรู้และฝึกฝนอย่างหนักจนสามารถเล่นได้อย่ าง
อั ต โนมั ติ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ Cox (1985) ที่ ก ล่ า วว่ า ในการแข่ ง ขั น กี ฬ าเพื่ อ ความเป็ น เลิ ศ นั้ น
ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สาคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ และทักษะนั้นมีความสาคัญต่อ
การแสดงความสามารถทางการกีฬาของนักกีฬาโดยทั่วไปนักกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬา และผู้ควบคุมทีมจะ
ให้ความสาคัญกับการพัฒนาด้านสมรรถภาพทางกายและทางด้านทักษะกีฬาจะทาให้บทบาทของ
การฝึกฝนทักษะทางจิตใจน้อยลงปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการแสดงความสามารถทั้งระหว่าง
การฝึกซ้อมและการแข่งขันของนั กกีฬา นักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแรงและมีทักษะกีฬาดีแต่กลั บ ไม่
สามารถแสดงความสามารถออกไปใช้ในการแข่งขันจริงได้ ดังคากล่าวที่ว่า “หมูสนามจริง สิงห์สนาม
ซ้ อ ม” ในช่ ว งก่ อ นและขณะแข่ ง ขั น กี ฬ านั ก กี ฬ าอาจจะเกิ ด ประสบปั ญ หาทางด้ า นจิ ต ใจ ได้ แ ก่
ความตื่นเต้น ความวิตกกังวลความคาดหวังที่สูงเกินไปซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นทาให้ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
ที่ตั้งไว้ดังนั้นนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และผู้ควบคุมกีฬาควรให้ความสาคัญกับการฝึกฝนด้านจิต ใจซึ่งช่วยให้
นักกีฬานั้นสามารถควบคุมความวิตกกังวลได้ดี ช่วยให้นักกีฬานั้นสามารถแสดงประสิทธิภาพออกมา
ได้อย่างเต็มที่
ในการพัฒนาสมรรถภาพทางจิต หรือการฝึกปฏิบัติทางจิตวิทยา (PST: Psychological
Skill Training) นั้นเกี่ยวกับบุคคล 3 กลุ่ม คือ นักกีฬา โค้ช และผู้ช มกีฬา ซึ่งหลายคนส่วนใหญ่ที่ไม่
เข้าใจ เข้าใจผิดว่าจิตวิทยาการกีฬาเกี่ยวข้องเฉพาะนักกีฬา จิตวิทยาการกีฬาเกี่ยวข้องกับการพัฒนา
ความสามารถสู่ความเป็นเลิศเท่านั้น นักกีฬาสมัครเล่น หรือนักกีฬาระดับพื้นฐานไม่จาเป็นต้องทราบ
หรือฝึกปฏิบัติ ทางจิตวิทยา แต่อย่างใด จิตวิทยาการกีฬาเป็นเรื่องลึกลับ ซับซ้อนมหัศจรรย์และสิ่ง
สาคัญของการเข้าใจผิดคือจิตวิทยาการกีฬาเป็นเรื่องนามาใช้ได้เฉพาะขนาดแข่งขันเท่านั้นและไม่ต้อง
มีการฝึกซ้อมเพราะฝึกไม่ได้หรือเกิดขึ้นได้เองจากประสบการณ์ หรือความเจอสนาม
นักกีฬาต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เต็ มไปด้วยความกดดันทาให้เกิดความวิตกกังวล
จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการแสดงความสามารถทางการกีฬา และการตัดสินใจของนักกีฬา
ในสถานการณ์ก่อน และระหว่างการแข่งขันดังที่ Martens (1977, p. 128) กล่าวว่านักกีฬาที่จะเป็น
แชมป์ต้องมีจิตใจที่แข็งแกร่งกว่าคนทั่วไป Slavit (2002) กล่าวว่าความวิตกกังวลคือการกระทา หรือ
ปฏิกิริ ย าที่มีส าเหตุจ ากการเกิ ดความไม่ส มดุล ไม่ส อดคล้ องกันความวิตกกังวลจึ งเป็นสิ่ ง ที่ บุ ค คล
แสดงออกถึ ง ความรู้ สึ ก ที่ กั ง วลเพื่ อ ให้ นั ก กี ฬ ามี ร ะดั บของความวิ ตกกั ง วลที่ เ หมาะสมสอดคล้ อง
กั บ การศึ ก ษาของ Jones (2003) พบว่ า คนที่ มี ก ารควบคุ ม อารมณ์ ไ ด้ ดี จ ะมี โ อกาสชนะมากกว่ า
คนที่ควบคุมอารมณ์ตัว เองได้น้ อยกว่า ดังนั้น การฝึ กฝนทางจิตใจเป็นสิ่งส าคัญต่อการเกิดความ
2

วิตกกังวลของนักกีฬาหากนักกีฬาต้องการแสดงความสามารถในการเล่นกีฬาได้อย่างเต็มศักยภาพ
ของตนเองนักกีฬาผู้ฝึกสอน และผู้ควบคุมกีฬาจึงควรรู้วิธีการฝึกการควบคุมความวิตกกังวล โดยผ่าน
การฝึกการผ่อนคลายซึ่งสามารถทาได้หลายวิธี โดย Williams and Carey (2003, p. 2) ได้แนะนาให้
ใช้ ก ารฝึ ก ผ่ อ นคลายกล้ า มเนื้ อ แบบก้ า วหน้ า (Progressive Muscle Relaxation) การฝึ ก การ
จิ น ตภาพเพื่อการผ่ อนคลาย (Visual Imagery) การฝึ กโยคะ (Yoga) การฝึ กสมาธิ (Meditation)
เป็นต้น ซึ่งผู้วิจัยสนใจที่จะนาเทคนิคการฝึกจินตภาพเพื่อการผ่อนคลายมาใช้กับนักกีฬาการจินตภาพ
เพื่อการผ่อนคลายเป็นอีกวิธีการหนึ่งช่วยให้นักกีฬาเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย และลดความวิตกกังวล
ดังที่ Timothy (2002, p. 3) กล่าวถึงการจินตภาพเพื่อการผ่อนคลายว่ามีประโยชน์และมีความสาคัญ
ช่ ว ยให้ เ กิ ด ผ่ อ นคลาย และจั ด การกั บ ความวิ ต กกั ง วลได้ เ ป็ น อย่ า งดี จ ะช่ ว ยให้ มี ส มาธิ ใ นทุ ก ๆ
สถานการณ์ช่วยให้เราทางานได้ดียิ่งขึ้นสามารถฝึกได้ทั้งที่ทางานที่บ้าน หรือระหว่างการเดินทางซึ่ง
การฝึกสามารถทาได้โดยง่ายมีรูปแบบคล้าย ๆ กับการฝึกสมาธิสามารถฝึกได้ทุกที่แต่ต้องเป็นสถานที่
สงบเงียบเมื่อนักกีฬาได้ฝึกการจินตภาพเพื่อการผ่อนคลายจะทาให้นักกีฬาเกิดภาพในใจที่ชัดเจนจะ
ทาให้นักกีฬารู้สึกถึงความมั่นใจทาให้ไม่รู้สึกกังวลจากการศึกษาของ Handegard, Joyner, Burke &
Reimann (2006) พบว่าเมื่อนักกีฬาได้รับอาการบาดเจ็บได้ฝึกการจินตภาพช่วยลดความวิตกกังวลใน
นักกีฬาและเพิ่มความรู้สึกมั่นใจในตนเองมากขึ้น และส่งผลให้นักกีฬาที่ได้รับอาการบาดเจ็บเกิดความ
มั่นใจในการที่จะกลับมาแข่งขันอีกครั้ง ดังนั้น การจินตภาพเพื่อการผ่อนคลายสามารถสร้างภาพในใจ
ที่ชัดเจนทาให้นักกีฬาเกิดการผ่อนคลาย และช่วยควบคุมความวิตกกังวลของนักกีฬาได้ดีขึ้น ดังนั้น
ผู้ วิ จั ย สนใจที่ จ ะศึ ก ษาผลของการฝึ ก จิ น ตภาพร่ ว มดนตรี บ รรเลงที่ มี ผ ลต่ อ ความวิ ต กกั ง วลตาม
สถานการณ์ และความแม่นยาในการปาลูกดอกของนักกีฬา

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบ และศึกษาความวิตกกังวลทางความคิด กลุ่มที่ได้รับการฝึกจินตภาพ
ร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย
2. เพื่อเปรียบเทียบ และศึกษาความแม่นยาในการปาลูกดอกกลุ่มที่ได้รับการฝึ กจินตภาพ
ร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย

สมมติฐานของการวิจัย
1. กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฝึกการจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายหลังการ
ทดลอง มีความวิตกกังวลทางความคิดดีกว่าก่อนการทดลอง
2. กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายหลังการ
ทดลอง มีความแม่นยาในการปาลูกดอกสูงกว่าก่อนการทดลอง
3

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
ผลจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะเป็นผลของการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงที่มีผลต่อ
ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ และความแม่นยาในการปาลูกดอกของนักกีฬาประโยชน์ต่อผู้ฝึกสอน
นั ก กี ฬ า และผู้ ที่ ส นใจทั่ ว ไปซึ่ ง ท าให้ ท ราบผลของการฝึ ก จิ น ตภาพร่ ว มดนตรี บ รรเลงที่ มี ผ ลต่ อ
ความวิตกกังวลตามสถานการณ์และความแม่นยาในการปาลูกดอกของนักกีฬาเพื่อนาไปช่วยพัฒนา
เรื่องของความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของนักกีฬาขณะฝึกซ้อม และการแข่งขันได้ดีขึ้น

ความสาคัญของการวิจัย
การจินตภาพเพื่อการผ่อนคลายว่ามีประโยชน์และมีความสาคัญช่วยให้เกิดผ่อนคลายและ
จัดการกับความวิตกกังวลได้เป็นอย่างดีจะช่วยให้มีสมาธิในทุก ๆ สถานการณ์ช่วยให้เราทางานได้ดี
ยิ่ ง ขึ้ น สามารถฝึ ก ได้ ทั้ง ที่ ท างานที่ บ้ านหรื อ ระหว่า งการเดิ นทางซึ่ ง การฝึ ก สามารถท าได้โ ดยง่าย
มีรูปแบบคล้าย ๆ กับการฝึกสมาธิสามารถฝึกได้ทุกที่แต่ต้องเป็นสถานที่สงบเงียบเมื่อนักกีฬาได้ฝึก
การจินตภาพเพื่อการผ่อนคลายจะทาให้นักกีฬาเกิดภาพในใจที่ชัดเจนจะทาให้นักกีฬารู้สึกถึงความ
มั่นใจทาให้ไม่รู้สึกกังวล

ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ครั้งนี้ คือ นักกีฬาที่มีอายุระหว่าง 18-22 ปี (จานวน 20 คน) กาลังศึกษาอยู่
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี
จานวน 1 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง ที่เป็นกลุ่มที่ได้รับการฝึกโปรแกรมจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อ
การผ่อนคลาย

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การฝึกโปรแกรมจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย
แบ่งเป็น 1 กลุ่ม
- กลุ่มทดลอง ฝึกโปรแกรมจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย
2. ตัวแปรตาม มี 2 ตัวแปร ได้แก่
2.1 ความวิตกกังวลทางความคิด
2.2 ความแม่นยาในการปาลูกดอก
4

นิยามศัพท์เฉพาะ
การจิ น ตภาพ (Imagery) หรื อ การนึ ก ภาพ (Visualization) หมายถึ ง เป็ น ทั ก ษะทาง
จิตวิทยาการออกกาลังกายและการกีฬาที่ใช้ในการฝึกเพื่อเพิ่มความสามารถและใช้ในการผ่อนคลาย
กระตุ้นแรงจูงใจและสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในใจการจินตภาพผู้ออกกาลังกายหรือเล่นกีฬา
นึ กภาพตัว เองในสถานการณ์ห นึ่ ง การนึกภาพควรพยายามให้ ผู้ ฝึ กนึกถึงความสามารถที่ทาได้ ดี
และประสบความสาเร็จควรเป็นภาพที่เห็นตนเองกาลั งเพลิดเพลินกับการทากิจกรรมนั้นพึงพอใจ
กับการรับรู้ความสามารถของตนเองโดยการผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน
การได้กลิ่น การรับรู้การเคลื่อนไหว การรับรู้รส และการปฏิบัติที่เหมือนกับเหตุการณ์จริง
ความวิ ต กกั ง วลทางความคิ ด (Cognitive Anxiety) หมายถึ ง ความรู้ สึ ก ทางจิ ต ใจของ
นักกีฬาในการเผชิญหน้ากับความท้าทายความเครียดประเภทนี้มักมีสาเหตุมาจากความคิ ดในแง่ลบ
ของนักกีฬาเป็นความเครียดไม่แสดงออกมาทางร่างกาย (พิชิต เมืองนาโพธิ์, 2543, หน้า 2-3)
ความแม่นยาในการปาลูกดอก (Accuracy of Darts Throwing) หมายถึง ความสามารถใน
การปาลูกดอกให้เข้าในจุด หรือใกล้เคียงจุดที่ต้องการมากที่สุดและทาให้ได้คะแนนในการปาลูกดอก
มากที่สุด จานวน 40 คะแนน
5

กรอบแนวคิดในการวิจัย
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเรื่องผลของการฝึกจินตภาพร่ว มกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่ อน
คลายที่มีตอ่ ความวิตกกังวลทางความคิดและความแม่นยาในการปาลูกดอกเพื่อพัฒนาระดับความวิตก
กังวลตามสถานการณ์และความแม่นยาในการปาลูกดอกของนักกีฬาซึ่งการวิจัยนี้ศึกษาตามกรอบ
แนวคิดของ Weinberg & Gould (2003) การจินตภาพช่วยให้นักกีฬาเกิดความรู้สึกการผ่อนคลาย
และศึกษาตามกรอบแนวคิดของ พิชัย ปรัชญานุสรณ์ (2534) ดนตรีช่วยให้ผู้ฟังเกิดการผ่อนคลายขึ้น
ดังนั้นผู้วิจัย
ได้กาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการของการฝึกการจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อน
คลายที่มีผ ลต่อความวิต กกั งวลทางความคิด และความแม่นย าในการปาลู กดอกของนั กกี ฬ าเป็ น
แนวทางในการพัฒนาความสามารถของนักกีฬาต่อไป
ดังภาพที่ 1

ความวิตกกังวลทางความคิด
โปรแกรมจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลง
เพื่อการผ่อนคลาย
ความแม่นยาในการปาลูกดอก

ภาพที่ 1
กรอบแนวคิด ผลของการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงที่มีผลต่อความวิตกกังวลตามสถานการณ์
และความแม่นยาในการปาลูกดอกของนักกีฬา
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการวิจยั นีผ้ วู้ ิจยั ได้ศกึ ษาเอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้องและได้นาเสนอตามหัวข้อต่อไปนี ้


1.การจินตภาพ
1.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1.2 การจินตภาพเพื่อการผ่อนคลาย
1.3 หลักในการฝึกปฏิบัติการจินตภาพเพื่อการผ่อนคลาย
2.การสร้างจินตภาพ
2.1 การแบ่งลักษณะของจินตภาพ
2.2 ปัจจัยที่มีต่อการจินตภาพเพื่อการผ่อนคลาย
2.3 ประโยชน์ที่มีต่อการจินตภาพเพื่อการผ่อนคลาย
2.4 ปัญหาในการใช้จินตภาพ
3. ดนตรี
3.1 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับดนตรีเพื่อการผ่อนคลาย
3.2 ลักษณะและลีลาของดนตรีเพื่อการผ่อนคลาย
3.3 องค์ประกอบของดนตรีเพื่อการผ่อนคลาย
3.4 ผลของดนตรีต่อการเปลี่ยนแปลงต่อร่างกายและจิตใจ
4. ความวิตกกังวลตามสถานการณ์
4.1 ความหมายความวิตกกังวลกับการกีฬา
4.2 การวัดความวิตกกังวลตามสถานการณ์
5. การจาลองสถานการณ์กีฬา
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6.1 งานวิจัยในประเทศ
6.2 งานวิจัยต่างประเทศ
7

1. การจินตภาพ
การจินตภาพ (Imagery) หรือการนึกภาพ (Visual, Visualization) หมายถึง เป็นทักษะ
ทางจิ ตวิทยาการกี ฬาที่ส ามารถใช้ ในการฝึ กเพื่ อ เพิ่ม ความสามารถและใช้ใ นการผ่ อ นคลายการ
จินตภาพจะช่วยให้นักกีฬานึกภาพตัวเองในสถานการณ์หนึ่งหรือการปฏิบัติกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
การนึกภาพ ควรพยายามให้นักกีฬานึกถึงภาพความสามารถที่ทาได้ดีและประสบความสาเร็จควรเป็น
ภาพที่เห็นตนเองกาลังเพลิดเพลินกับการทากิจกรรมนั้นและพึงพอใจกับความสามารถของตนเองการ
จินตภาพควรพยายามที่จะเพิ่มความรู้สึกต่าง ๆ ลงไปในภาพ เช่น การรับรู้ประสาทสัมผัส การ
มองเห็น การได้ยินรับรู้ความรู้สึก การเคลื่อนไหว การได้กลิ่น การรู้รส และการปฏิบัติที่เหมือนจริง

1.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎี ก ารตอบสนอง (Response Theory) ของ Lazarus (1993) กล่ า วถึ ง การ
จินตภาพว่าเป็นการตอบสนองของจิตใจ สามารถนาไปสู่การจินตนาการถึงภาพที่เห็น และการแสดง
พฤติกรรมต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยการตอบสนองต่อสิ่งเร้าจะขึ้นอยู่กับการสร้างจินตภาพต่อสิ่งเร้านั้น ๆ
ซึ่งบุคคลแต่ละบุคคลจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดเดียวกันแตกต่างกันออกไปสิ่งเร้าที่กล่าวถึง
ได้แก่ ภาวะของโรคอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ สภาพแวดล้อม เป็นต้น สถานการณ์ทางการกีฬาจินตภาพ
จึงส่งผลที่เกิดเมื่อใดก็ตามที่บุคคลถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าจะมีจินตภาพต่อสิ่งเร้านั้น ๆ แตกต่างกันทาให้
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของแต่ล ะบุคคลแตกต่างกันออกไปด้วยโดยที่เหตุการณ์ในอดีตจะเป็นตัว
ก าหนดให้ มี ก ารตอบสนองต่ อ สิ่ ง เร้ า ในปั จ จุ บั น ว่ า ควรจะเป็ น แบบใดเพราะฉะนั้ น หากนั ก กี ฬ า
มีประสบการณ์ในการแข่งขันที่ล้มเหลวหรือไม่ประสบความสาเร็จการจินตภาพที่เกิดขึ้นอาจทาให้
นักกีฬานึกถึงประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาจึงทาให้เกิดความวิตกกังวลและความเครียด เป็นต้น
2. ทฤษฎีการเรี ย นรู้สั ญลั กษณ์ (Symbolic Learning Theory) กล่ าวว่า การจดจา
จึงช่วยให้เกิดการเรียนรู้ประสบการณ์ ความสาเร็จได้อย่างรวดเร็วกลไกของสมองทางานโดยใช้การจา
ในรูปแบบสัญลักษณ์ ซึ่งจะทาให้ผู้ที่เรียนรู้สามารถจดจาได้นาน การเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้สัญลักษณ์
นั้น Weinberg and Richardson (1990) ได้อธิบายไว้ดังนี้การเรียนรู้ทางด้านทักษะต่าง ๆ นั้นใน
บางครั้งอาจมีบางทักษะที่ยากทาให้เกิดการเรียนรู้ทักษะช้าการใช้การสร้างภาพในใจก่อน การ
ปฏิ บั ติ ส ามารถเรี ย นรู้ ห ลั ก การทั ก ษะกลไกลระยะเวลาในการเรี ย นรู้ ใ ห้ สั้ น ลงได้ โดยใช้ ก ารจ า
สัญลักษณ์ในการเรียนรู้เพื่อนามาสร้างภาพในใจซึ่งเป็นการทบทวนทักษะไว้ในใจก่อนลงมือปฏิบัติจริง
โดยผ่านการจดจาของสมองที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลโดยผ่านจากการได้รับรู้การได้ยินและได้สัมผัสโดย
จดจาไว้ในรูปสัญลักษณ์
3. ทฤษฎี ก ารสร้ า งจิ น ตภาพ (Image Theory) ของโฮโรวิ ท ซ์ (Horowitz) (บุ ษ บา
สมใจวงษ์, 2544, หน้า 25-26) กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างจินตภาพและรูปแบบความคิด
3 ลักษณะ ได้แก่
8

3.1 ความคิดมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรม (Enactive Thought) เป็นความคิด


ที่ จ ะท าให้ มี ก ารตอบสนองออกทางพฤติ ก รรมเพราะการสร้ า งจิ น ตภาพจะท าให้ มี ก า รเชื่ อ มต่ อ
ของภาวะอารมณ์ ท าให้ ก ระตุ้ น ความคิ ด ที่ จ ะแสดงออกและน าไปสู่ พ ฤติ ก รรมที่ สั ง เกตได้
(Observational Behavior) ตัวอย่างเช่น การกระตุ้นความคิดเช่นการคิดถึงการยกสิ่งของหนัก ๆ
จะเกิดการเกร็งส่วนไหล่และแขนหรือคิดถึงการฝานมะนาวกล้ามเนื้อบริเวณด้านหน้าของหูจะเกร็ง
การสร้ า งจิ น ตภาพจึ ง สามารถน าไปใช้ ค วบคุ ม ความคิ ด ที่ จ ะแสดงพฤติ ก รรมได้ ซึ่ ง การควบคุ ม
การแสดงของพฤติกรรมอยู่ในสมองส่วนนอก (Cortical Brian) และส่วนลิมบิค (Limbic System)
สมองส่วนนี้จะทาหน้าที่ในการควบคุมภาวะของอารมณ์ให้มีการตอบสนองต่อพฤติกรรม ดังนั้นการ
สร้างจินตภาพจึงสามารถนามาใช้ในการควบคุมความคิดที่จะแสดงพฤติกรรมได้ และเป็นจุดเชื่อม
เชื่ อ มต่ อ ของอารมณ์ ท าให้ ก ระตุ้ น ความคิ ด ที่ จ ะแสดงออกและน าไปสู่ พ ฤติ ก รรมที่ สั ง เกตได้
(Observational Behavior)
3.2 ความคิดในเชิงเปรียบเทียบวิเคราะห์วิจารณ์ (Lexical Thought) เป็นความคิด
ที่ทาให้มีความชัดเจนในการสื่อสารการวิเคราะห์ความคิดในเชิงเหตุผลการนับการคานวณการจดจา
เวลาการวางแผนและการวิเคราะห์ วิจารณ์ความคิดส่ วนนี้จะถูกควบคุมโดยเปลื อกสมองซีกซ้าย
(Cerebral Cortex of Left Hemisphere) เกิ ด การเรี ย นรู้ ตั้ งแต่ เด็ ก แล้ ว เก็ บ ไว้เ ป็ นประสบการณ์
เมื่อบุคคลได้รับข่าวสารหรือสิ่งกระตุ้นใหม่ ๆ จะเก็บไว้ในความจาและเมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารเข้ามา
ใหม่บุคคลก็จะนาไปเปรียบเทียบวิเคราะห์กับความจาที่มีอยู่เดิมพิจารณาความเป็นเหตุเป็นผลตาม
ความจริงและประสบการณ์การเรียนรู้ของบุคคลนั้นในขณะนั้นความคิดส่วนนี้จึงทาให้เกิดเป็นอารมณ์
และพฤติกรรมแสดงออกมาซึ่งรูปแบบความคิดจะมีการทางานสัมพันธ์กันขณะสร้างจินภาพ โดยการ
สร้างจินตภาพจะกระตุ้นสมองซีกขวาให้เกิดความคิดเห็นภาพ ซึ่งจะเป็นภาพหรือสถานที่พึงพอใจ
เกิดการกระตุ้นสมองจะเป็นสมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์ ก่อให้เกิดอารมณ์ด้านบวก รู้สึกผ่อนคลาย
และเพลิดเพลิน สมองซีกซ้ายก็จะได้รับการกระตุ้นเมื่อได้รับข้อมูลตามเนื้อหาการสร้างจินตภาพ
จึงมีส่วนในการทาให้เกิดความคิดในการสร้างแรงจูงใจต่อสิ่งที่ต้องการจะทามากขึ้น
3.3 ความคิดให้เห็นภาพ (Image Thought) เป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง
จินตนาการและการสร้างสรรค์อยู่ในรูปของความฝันเพ้อฝันการเห็นภาพในใจความคิดตรงส่วนนี้ถูก
ควบคุ ม โดยเปลื อ กสมองซี ก ขวา (Cerebral Cortex of Right Hemisphere) ซึ่ ง เกี่ ย วกั บ อารมณ์
โดยเฉพาะอารมณ์ด้านบวกสามารถที่จะนาความรู้สึกในอดีตมาคิดเปลี่ยนแปลงอีกครั้งซึ่งความคิด
ในด้านนี้โดยส่วนมากจะติดตัวมาตั้งแต่เกิดคล้ายพรสวรรค์ซึ่งจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในวัยเด็ก
ก่อนหัดพูดตราบจนกระทั่งเมื่อเด็กเริ่มหัดพูดความคิดในส่วนนี้จะเริ่มลดลง อันเป็นผลเนื่องมาจาก
การเรียนในโรงเรียนซึ่งจะส่งเสริมให้ เกิดการพัฒนาของสมองซีกซ้ายในเรื่องคิดคานวณและความเป็น
เหตุ เ ป็ น ผลในขณะเดี ย วกั น สมองซี ก ขวาจะพั ฒ นาช้ า ลงซึ่ ง ในบุ ค คลทั่ ว ไปส่ ว นของความคิ ด ใน
เชิ ง เปรี ย บเที ย บวิ เ คราะห์ วิ จ ารณ์ จ ะเด่ น กว่ า ส่ ว นของความคิ ด ให้ เ ห็ น ภาพบุ ค คลแต่ ล ะคนจะ
มีความสามารถในการสร้างจินตนาการไม่เท่ากันบุคคลที่เปลือกสมองซีกขวาเด่นจะสร้างจินตภาพ
9

ได้ง่ายกว่าในขณะที่บุคคลที่มีเปลือกสมองซีกซ้ายเด่นจะมีความขัดแย้งต่อการสร้างจินตภาพเนื่องจาก
ความคิดมักจะขึ้นอยู่กับความเป็นจริงและเหตุผลทาให้เกิดความคิดขัดแย้งต่อการฝึกแต่ก็สามารถ
สร้างจินตภาพได้หากทราบเหตุผลในการฝึกดังนั้นก่อนการฝึกจินตภาพจึงต้องเริ่มฝึกในระดับง่าย ๆ
ค่อยเป็นค่อยไปอาจจะต้องทาหลาย ๆ ครั้ง หรือใช้ประสาทสัมผัสหลาย ๆ ด้าน เป็นตัวกระตุ้น
4. ทฤษฎีรหัส (Dual Coding Theory) เป็นทฤษฎีของ Paivio (1986) เป็นทฤษฎีการ
ประมวลผลทางภาษาหรือที่เรียกว่าเป็นการจาลองการกระทาที่เกิดขึ้นในอนาคตหรือในอดีต ทฤษฎีนี้
มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ใช้ภาพ แบบที่ 2 ใช้เสียง ซึ่ง Kim, Singer & Tennant (1998) ได้
ทาการศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬากอล์ฟ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 นั่งดู VDO
คนตีกอล์ฟ กลุ่มที่ 2 ฟังคาอธิบายโดยการใช้ภาพ กลุ่มที่ 3 มีคนคอยให้คาแนะนาว่ามีการเคลื่อนไหว
อย่างไร กลุ่มที่ 4 ไม่เกี่ยวข้องจินตภาพถึงสิ่งต่าง ๆ เช่น จิน ตภาพถึงธรรมชาติเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น
และกลุ่มที่ 5 ให้นั่งนับ 1-600 หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มทาการฝึกซ้อมตามปกติหลังการทดลองพบว่า
กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 แสดงให้เห็นว่าการได้ยิน และการเคลื่อนไหวนาไปสู่การจินตภาพที่ถูกต้อง
5. ทฤษฎีจิ ตประสาทกล้ า มเนื้ อ (Psycho Neuromuscular Theory) กล่ าวว่า ขณะ
ที่นักกีฬาพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวสมองจะถ่า ยทอดแรงกระตุ้นสู่กล้ามเนื้อเพื่อตอบสนองการ
เคลื่อนไหวเฉพาะนั้น ๆ ทฤษฎีน้าได้เสนอการเกิดขึ้นของการกระตุ้นจากสมองสู่กล้ามเนื้อในขณะ
ที่นักกีฬาจินตภาพการเคลื่อนไหวโดยปราศจากการปฏิบัติจริงผลการวิจัยได้สนับสนุนความคิ ดนี้
ว่าจินตภาพมีผลต่อระบบประสาท และการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ Hale (1982) ได้สรุปว่าระบบ
สมองจะสร้างรูปแบบของการเคลื่ อนไหวสู่ความทรงจาซึ่งจะช่วยให้ เคลื่ อนไหวเร็วขึ้นในภายหลั ง
Suinn (1972) ทาการทดสอบสภาวะจิตของนักสกีโดยการใช้การจินตภาพโดยซูอินน์ได้ทดสอบระบบ
ไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อขาในขณะที่นักกีฬาทาการจินตภาพพบว่ากล้ามเนื้อขาเกิดมีปฏิกิริยาในขณะที่
นั ก สกี จิ น ตภาพเกี่ ย วกั บ สภาพแวดล้ อ มในการแข่ ง ขั น ดั ง นั้ น ถ้ า นั ก กี ฬ าจิ น ตภาพถึ ง ทั ก ษะนั้ น ๆ
เปรียบเหมือนการสร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อถึงแม้ว่าในการปฏิบัติจริงการจินตภาพ
ใช้ระยะเวลาสั้นมากซึ่งรูป แบบการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเหมือนเครื่องจักรเมื่อนักกีฬาฝึกทักษะ
นี้ซ้า ๆ เปรียบเหมือนกับการสร้างเครื่องจักรให้สมบูรณ์จุดประสงค์สาคัญของการสร้างทักษะในการ
เคลื่อนไหวคือก่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยและเป็นอัตโนมัติ เราะฉะนั้นนักกีฬาควรใช้เวลาอย่างมาก
ในการฝึ ก และกระทาซ้า ๆ เพื่อก่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง และให้เป็นการเคลื่อนไหวที่เป็น
อัตโนมัติดังนั้นการจินตภาพจึงเป็นการช่วยในการจัดรูปแบบการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และเมื่อ
ได้รับการปฏิบัติทักษะซ้า ๆ ก็จะทาให้การแสดงความสามารถนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
6. ทฤษฎี ข้ อ มู ล ทางชี ว ภาพ (Bio Informational Theory) เป็ น ทฤษฎี ข อง Lang
(1979) ซึ่งได้กล่ า วไว้ว่าการจิตภาพเป็นการรวบรวมสิ่งที่บรรจุไว้ในสมอง และได้กล่ าวถึงการฝึก
จินตภาพว่ามีส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วนคือ
10

6.1 สิ่ ง เร้ า เป็ น พื้ น ฐานของการจิน ตภาพซึ่ ง สิ่ ง เร้า นั้ น จะเป็น เหตุ ที่เ กิ ด ขึ้น ในการ
จินตภาพ เช่น การแข่งขันยกน้าหนักในรายการที่ยิ่งใหญ่นักกีฬาอาจจินตภาพถึง กลุ่มผู้คน คานเหล็ก
ห้องพัก หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน
6.2 การตอบสนองเป็ น สิ่ ง ที่ อ ธิ บ ายถึ ง การแสดงออกมาจากการฝึ ก จิ น ตภาพ
ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่สมมติขึ้นซึ่งจะแสดงออกมาทางกายภาพเช่น ให้นักยกน้าหนักรู้สึกถึงน้าหนัก
ในมือขณะที่เขาเตรียมพร้อมที่จะยกหรือรู้สึกว่าหัวใจเต้นแรงมีการตึงของกล้ามเนื้อสิ่งสาคัญของการ
จินตภาพไม่ได้ฝึกอยู่ภายในความคิดเท่านั้น บางครั้งอาจมีการตอบสนองออกมาด้ว ยและรูปแบบ
ในการฝึกจินตภาพนั้นควรฝึกการจินตภาพที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนองด้วยซึ่งจะส่งผลทาให้เกิดผล
ในการจิ น ตภาพที่ชัดเจนและการฝึ กการจินตภาพในรูปแบบนี้จะมีความสัมพันธ์โ ดยตรงต่อเวลา
ปฏิกิริยาตอบสนอง เช่น ในการปล่อยตัวนักวิ่ง สิ่งเร้า คือ เสียงปืนและการตอบสนองคือ การออกตัว
ของนักวิ่งซึ่งถ้าฝึกปฏิบัติเป็นประจาจะทาให้เกิดความคุ้นเคยความเคยชินและส่งผลต่อเวลาปฏิกิริยา
ตอบที่ใช้ในการออกตัวลดลงขั้นตอนของการเตรียมการผ่อนคลายด้วยวิธีจินตภาพ
6.2.1 เลือกสถานที่ที่จะฝึกโดยจะต้องเป็นสถานที่ที่เงียบและรู้สึกสบาย
6.2.2 นักกีฬาจะต้องเตรียมพร้อมมีความกระตือรือร้นแต่ไม่ใช่ตื่นเต้นจนเกินไป
กับเหตุการณ์สภาพการณ์ที่นักกีฬาอ่อนล้าหรือมีพลังมากเกินไปไม่เหมาะที่จะฝึกการผ่อนคลาย
6.2.3 นักกีฬาจะต้องมีเจตคติที่ดีต่อการฝึกจะต้องมีความเชื่อว่าเมื่อฝึ กการผ่อน
คลายด้วยวิธีจินตภาพไปแล้วจะช่วยลดความเครียดได้ถึงแม้จะเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้นก็ตาม
6.2.4 การฝึกจะต้องฝึกอย่างจริงจังและจะต้องสร้างสถานการณ์ให้เกิดการผ่อน
คลายให้ได้
6.2.5 นักกีฬาทุกคนจะต้องอยู่ในท่าที่สบาย อาจจะนอนในท่าที่ส บายแขนวาง
แนบกับทางด้านข้างของลาตัวและหลับตาแต่อย่าไขว้เท้า
6.2.6 ในขณะที่ฝึกให้คิดถึงสถานการณ์ที่ทาให้ตนเองมีความสุขและรู้สึกปลอดภัย
6.2.7 ให้เวลาในการคิดนาน 1 นาที แล้วค่อย ๆ ผ่อนคลาย
6.2.8 หายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกช้า ๆ
6.2.9 กระตุ้นให้นักกีฬามองเห็นตนเอง อยู่ในสถานการณ์ที่มีความสุขอย่างชัดเจน
6.2.10 ให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่นั้น มากกว่าที่จะเห็น
เฉพาะภาพ
6.2.11 ให้รู้สึกว่าได้เห็น ได้ยินเสียง ได้รับรู้กลิ่น สามารถสัมผัสได้อย่างต่อเนื่อง
1.2 การจินตภาพเพื่อการผ่อนคลาย
การจินตภาพ (Imagery) เป็นทักษะทางจิตวิทยาการออกกาลังกายและการกีฬาที่ใช้ใน
การฝึกเพื่อเพิ่มความสามารถและใช้ในการผ่อนคลาย กระตุ้นแรงจูงใจและสามารถบรรลุเป้าหมาย
ที่ตั้งไว้ในใจการจินตภาพ ผู้ออกกาลังกายหรือเล่นกีฬานึกภาพตัวเองในสถานการณ์หนึ่งการนึกภาพ
ควรพยายามให้ผู้ฝึกนึกถึงความสามารถที่ทาได้ดีและประสบความสาเร็จควรเป็นภาพที่เห็นตนเอง
11

กาลั งเพลิ ดเพลิ น กับ การทากิจ กรรนั้นพึงพอใจกับการรับรู้ความสามารถของตนเองโดยการผ่ า น


ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้ก ลิ่น การรับรู้การเคลื่อนไหว การรับรู้รส
และการปฏิ บั ติ ที่ เ หมื อ นกั บ เหตุ ก ารณ์ จ ริ ง (Callow & Hardy, 2005; Gould, Damarjian, &
Greenleaf, 2002; Murphy, 1994; Vealey & Greenleaf, 2006; White & Hardy, 1998)
จากการศึกษาพบว่า มีผู้ให้ความหมายและกล่าวถึงการจินตภาพไว้มากมายหลายรูปแบบ
ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมเฉพาะความหมายที่เกี่ยวข้องกับการจินตภาพเพื่อการผ่อนคลายไว้ดังต่อไปนี้
อินทิรา ปัทมินทร (2542, หน้า 191) กล่าวว่า การจินตภาพเป็นหนทางหนึ่งที่จะจัดการกับ
ความเครียดอย่างได้ผลคือการจัดการกับความคิดหรือจิตใจของบุคคลโดยใช้จิ นตนาการเข้าช่วยการ
จินตนาการได้รั บ การศึกษา และพิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีการที่ได้ผ ลดีในการจัดการกับปัญหาทั้ง ทาง
ร่างกายและจิตใจจินตนาการช่วยลดอาการผิดปกติทางกายช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเครียด
ทางจิตใจ และยังช่วยส่งเสริมภาวะความเป็นปกติสุขของบุคคลได้
ปริญญา สนิกะวาที (2542, หน้า 5) กล่าวว่า การสร้างจินตภาพเป็นการสร้างภาพจาก
ความคิ ด ให้ บุ ค คลมองเห็ น ภาพของบรรยากาศหรื อ สถานที่ ที่ มี ค วามพึ ง พอใจให้ ค วามสุ ข สบาย
และมีความสุขซึ่งเกิดจากความคิดของตนเอง
บุ ษบา สมใจวงษ์ (2544, หน้า 25) กล่ าวว่า การสร้างจินตภาพเป็นการสร้ างภาพจาก
ความคิดของตนเองไปสู่ ส ถานการณ์ ที่ท าให้ เ กิด ความพึง พอใจโดยใช้ประสาทสั มผั ส ทั้ง 5 ได้ แ ก่
การมองเห็นการได้ยินการได้กลิ่นการสัมผัสและการรับรสในขบวนการสร้างจินตภาพบุคคลจะมีการ
ตอบสนองทางด้านร่ างกายในลั กษณะที่ผ่ อนคลายตามการรับรู้ของอารมณ์ที่มีความสุ ข ขณะที่ มี
การสร้างจินตภาพ
อุ บ ลรั ต น์ ดี พ ร้ อ ม (2546, หน้ า 87) กล่ า วว่ า การจิ น ตภาพเป็ น เทคนิ ค การรั ก ษาเพื่ อ
การผ่ อ นคลายลดความวิ ต กกั ง วลเป็ น ความฝั น ที่ เ กิ ด ขึ้ น ทั้ ง กลางวั น และกลางคื น มี ค วามจ า
และการระลึกถึงในอดีตเป็นการใช้ประสบการณ์ภ ายในที่เกี่ยวกับความจาความฝันการมองเห็นหรือ
การสร้ า งมโนภาพโดยเป็ น สิ่ ง เชื่ อ มระหว่ า งจิ ต ใจร่ า งกายและจิ ต วิ ญ ญาณมี จุ ด มุ่ ง หมายเพื่ อ ให้
ผลการรั กษาเป็น การเบี่ ยงเบนความคิดไปสู่ส ภาพสถานที่ที่สร้างความพึงพอใจให้ความสุขสบาย
ทาให้ละทิ้งสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเครียดในขณะนั้นไปอาจทาโดยการสร้างภาพด้วยความคิดให้เกิด
ภาพเสมือนการรับรู้สัมผัสทางกาย
พรทิพย์ จุลเหลา (2548, หน้า 60) กล่าวว่า การสร้างจินตภาพหมายถึงการแนะแนวทาง
ให้บุคคลมีการเบี่ยงเบนความสนใจของตนเองจากสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเครียดไปยังประสบการณ์ที่มี
ความสุขซึ่งอาจเป็นสถานที่หรือเหตุการณ์ผ่านกระบวนการในการสร้างจินตนาการโดยใช้ประสาท
สัมผัสทั้ง 5
พงศ์ปกรณ์ พิชิตฉัตรธนา (2549, หน้า 2) กล่าวว่า การจินตภาพเป็นการสร้างภาพขึ้นใน
ความคิดจะเป็นภาพอะไรก็ได้ซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตของคนเราอย่างมากมายซึ่งจินตภาพที่คนสร้างขึ้ น
จะเป็ น ข้ อ มู ล ที่ ส ามารถลงสู่ จิ ต ใต้ ส านึ ก ได้ แ ละจะมี ผ ลต่ อ คน ๆ นั้ น ในอนาคตคนที่ มี จิ น ตภาพ
12

ในเชิงบวกเชิงสร้างสรรค์ชีวิตของเขาก็จะถูกผลักดันไปในทางที่ดีก้าวหน้าขึ้นและประสบความสาเร็จ
ส่ ว นคนที่ มี จิ น ตนาการในเชิ ง ลบเชิ ง ถดถอยชี วิ ต ของเขาก็ จ ะถู ก ผลั ก ดั น ไปในทางที่ แ ย่ ถ อยหลั ง
และล้มเหลวจินตภาพจึงเหมือนตัวจุดประกายหรือปัจจัยที่จะกระตุ้นให้ตัวเราไปสู่เป้าหมายตามภาพที่
เราสร้างขึ้นในจิตใจมีการค้นพบว่าจินตภาพเชิงบวกสามารถแก้ไขปัญหาชีวิต และสุขภาพได้
Timothy (2002, p. 3) กล่ า วถึ ง การจิ น ตภาพเพื่ อ การผ่ อ นคลาย (Visual Imagery
Relaxation) ว่ามีประโยชน์ และมีความสาคัญในการจัดการกับความเครียดความวิตกกังวลได้เป็น
อย่างดีการผ่อนคลายจะช่วยให้มีสมาธิในทุกๆ สถานการณ์ช่วยให้เราทางานได้ดียิ่งขึ้นสามารถฝึกได้
ทั้งที่ทางานที่บ้านหรือระหว่างการเดินทางซึ่ งการฝึกสามารถทาได้โดยง่ายมีรูปแบบคล้าย ๆ กับการ
ฝึกสมาธิสามารถฝึกได้ทุกที่แต่ต้องเป็นสถานที่สงบเงียบ
Williams & Carey (2003, p. 1-7) กล่ า วถึ ง การจิ น ตภาพเพื่ อ การผ่ อ นคลาย (Visual
Imagery) ว่าเป็นเทคนิคในการเบี่ยงเบนความสนใจของคนเราจากความตึงเครียดอาการเจ็บปวด
หรือปัญหาต่าง ๆ ด้วยการจินตนาการถึงสถานที่ที่สวยงามภาพที่เราสร้างขึ้นในใจจะทาให้เกิดการ
ผ่อนคลายซึ่งเทคนิ คการผ่ อนคลายนี้ถือว่าเป็นทักษะหนึ่งที่มีความส าคัญมากสาหรับการควบคุม
ร่างกายของคนเราจากการศึกษาวิจัยพบว่าการผ่อนคลายจะช่วยในการเพิ่มพลัง ลดความเมื่อยล้า
เพิ่มการตื่นตัวจากภาวะง่ว งซึมเพิ่มแรงจูงใจเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจจะช่วยลดฮอร์โ มน
ที่เกี่ยวกับความเครียดช่วยลดความดันโลหิตลดการทางานของกล้ามเนื้อ และอวัยวะเพิ่มปริมาณเลือด
ที่ไปสู่สมองมากขึ้นซึ่งการใช้ยาก็จะให้ผลในลักษณะเดียวกันได้แต่จะมีผลข้างเคียงตามมา
ดังนั้น การใช้เทคนิคการผ่อนคลายจึงมีความสาคัญจากความหมายของการจินตภาพตาม
ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นจึงอาจสรุปเพื่อรวมความหมายของการจินตภาพเพื่อการผ่อนคลายได้ว่า
เป็นการสร้างภาพให้เกิดขึ้นในจิตใจเพื่อเหนี่ยวนาแนะแนวทางให้บุคคลมีการเบี่ยงเบนความสนใจ
ของตนเองไปจากสิ่งเร้ าที่ก่อให้เกิดความเครียดไปยังสิ่งที่ตนเองชื่นชอบหรือเคยมีประสบการณ์ที่มี
ความสุ ข ที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง อาจเป็ น สถานที่ หรื อ เหตุ ก ารณ์ ที่ บุ ค คลนั้ น คิ ด ขึ้ น มาแล้ ว มี ค วามสุ ข
ซึ่งกระบวนการในการสร้างจินตภาพสามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็นการได้ยิ น
การสัมผัส การเคลื่อน การได้กลิ่น และการรับรส บุคคลจะรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกเสมือนว่าได้อยู่ใน
สถานที่หรือเหตุการณ์จริงโดยการเชื่อมโยงระหว่างร่างกาย และจิตใจมีผลต่อการรับรู้ ทางความคิด
อารมณ์และความรู้สึก ทาให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลายมีสมาธิลดความตึงเครียดและความวิตกกังวล
ถือเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนได้ทาให้สามารถจัดการกับความเครียด และความวิตกกังวลอย่างได้ผล
และจะใช้เวลาน้อยลงเมื่อผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี
1.3 หลักในการฝึกปฏิบัติการจินตภาพเพื่อการผ่อนคลาย
การฝึกจินตภาพอาจเกิดผลแตกต่างกันแต่ละบุคคลแม้ว่าจะใช้โปรแกรมในการฝึกจินตภาพ
เดียวกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความคิดจินตนาการการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่แวดล้อมขณะทา
การฝึกรวมไปถึงพัฒนาการของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา ดังนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการ
ฝึกจินตภาพเพื่อการผ่อนคลายควรปฏิบัติตามหลักดังต่อไปนี้
13

1. การฝึกจินตภาพควรใช้ภาพหรือวัตถุที่เหมาะสมก่อนทาการฝึกปฏิบัติควรสอบถาม
ผู้เข้ารับการฝึกถึงสถานที่ชอบหรือสิ่งที่ประทับใจอาจให้ผู้ฝึกปฏิบัติอธิบายให้ฟังแล้วใช้สถานที่แบบนั้น
หรือสิ่งที่ประทับใจนั้น ๆ ในการสร้างจินตภาพ
2. การนึกถึงสถานที่ที่ประทับ ใจให้ผู้ฝึกปฏิบัติพยายามใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่นการ
มองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัส ซึ่งจะทาให้ภาพที่เกิดขึ้นมีความชัดเจน
และเกิดประสิทธิภาพมากในการสร้างจินตภาพ
3. หากผู้เข้ารับการฝึกมีความมั่นใจและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้แนะนาจะทาให้มีความ
มั่นใจ และมีความร่วมมือในการฝึกปฏิบัติที่ดียิ่งขึ้นส่งผลให้การฝึกปฏิบัติได้ผลดี ดังนั้น ผู้แนะนาควร
จะมีความคุ้นเคยกับผู้เข้ารับการฝึกเป็นอย่างดี
4. แจ้งให้ผู้รับการฝึกทราบว่าการสร้างจินตภาพทุกครั้ง จะอยู่ภายใต้การควบคุมของ
ตนเองตลอดระยะเวลาการฝึ ก เพราะผู้ รับการฝึ กมักจะคิดว่าตนเองจะถูกควบคุมและก่อให้ เกิด
ความวิตกกังวลได้
5. ควรอธิบายให้ ผู้เข้ารับการฝึ กเข้าใจอย่างชัดเจนในเรื่องของวิธีการ ลาดับขั้นตอน
ของกระบวนการตลอดจนจุ ดประสงค์ และประโยชน์ ข องการฝึ ก เพื่ อ ให้ ผู้ รับ การฝึ กตั้ ง ใจฝึ ก เต็ ม
ความสามารถ
6. ขณะฝึกปฏิบัติจะต้องไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดหรือมีสิ่งใดที่ขัดขวางสมาธิ ดังนั้น จึงต้อง
มีการสอบถามผู้เข้ารับการฝึกเสียก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอาการบาดเจ็บหรือสิ่งใด ๆ รบกวนสมาธิ
ควรแนะนาให้สวมเสื้อผ้าหลวมๆ รับประทานอาหารให้พอดีไม่หิวหรืออิ่มจนเกินไป
7. ควรเลือกสถานที่ฝึกที่สงบเงียบอากาศไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไปมีแสงไฟพอสลัว ๆ
เพื่อให้ความรู้สึกสบายขณะฝึกปฏิบัติ และควรติดป้ายห้ามรบกวนเพื่อความเป็นส่วนตัวในการฝึกโดย
แนะนาผู้เข้ารับการฝึกปฏิบัติกิจวัตรส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนการฝึก
8. ขณะฝึกปฏิบัติควรให้ผู้เข้ารับการฝึกนั่งในท่าที่สบาย ๆ และควรหลับตาเพื่อป้องกัน
การรบกวนสมาธิจากการเห็นสิ่งแวดล้อมรอบข้างในขณะที่ผู้แนะนาควรใช้น้าเสียงนุ่มนวล เยือกเย็น
ไม่ใช้คาพูดรัว และเร็วเกินไปเพื่อให้ผู้ฝึกปฏิบัติรู้สึกสงบ และผ่อนคลายได้ง่ายขึ้น
9. เริ่มต้นการฝึกจินตภาพด้วยการผ่อนคลายโดยการหายใจเข้า-ออกช้า ๆ และลึกเพื่อให้
เกิดความผ่อนคลายของร่างกายแต่ละส่วน โดยปล่อยวางความคาดหวัง ความกังวลใจ และภาระการ
งานต่าง ๆ ไว้ชั่วคราว
10. ควรใช้ระยะเวลาที่เหมาะสมในการฝึกจินตภาพระดับเริ่มต้นควรใช้เวลาประมาณ
5 นาที และเมื่อเริ่มชานาญกับการฝึกแล้วจึงเพิ่มเวลาเป็น 15-20 นาทีต่อวัน
14

2. การสร้างจินตภาพ
การสร้ า งจิ น ตภาพ และการซ้ อ มในใจ (Mental Rehearsal/ Mental Preparation)
เป็นการใช้ประสาท สัมผัสทั้งหมดในการที่จะสร้างภาพหรือย้อนภาพเพื่อการสร้า งประสบการณ์
ให้เกิดขึ้นในใจการสร้างจินตภาพ หรือลองซ้อมภาพในใจให้ชัดเจนมีผลกับการฝึกทางกายได้ดียิ่งขึ้น
ด้วย ทาให้เกิดการเรียนรู้ ที่ดีมีการพัฒนาความสามารถยิ่งขึ้น สามารถสร้างความเข้าใจในเหตุการณ์
ต่าง ๆ ลดความวิตกกังวล ความโกรธ สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง (สืบสาย บุญวีรบุตร, 2541, หน้า
91-92)
สมบัติ กาญจนกิจ และสมหญิง จันทรุไทย (2542, หน้า 237-238) ได้กล่าวถึง การสร้าง
จินตภาพไว้ว่า เป็นการเพิ่มความสามารถในการออกกาลังกาย หรือเล่นกีฬาจินตภาพเป็นการใช้
ประสาทสัมผัสทั้งหมดในการที่จะสร้างหรือรวบรวมเพื่อการสร้างประสบการณ์ให้เกิดในใจ ซึง่
จินตภาพ หมายถึง การมองเห็นได้ด้วยตาของใจการมองเห็นนี้ประกอบไปด้วย การได้ยิน การ
ได้กลิ่น การสัมผัส การรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว และการรู้รสในการออกกาลังกาย คือ การสร้างภาพการ
เคลื่อนไหวในใจก่อนการแสดงทักษะจริง ถ้าภาพในใจที่สร้างขึ้นชัดเจน ก็จะช่วยให้การแสดงทักษะ
จริงได้ผลดีขึ้นไปด้วย ดังนั้น การรับรู้ต่าง ๆ จะช่วยให้การสร้างจินตภาพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้
การสร้างจินตภาพยังช่วยในการควบคุมความวิตกกังวล และความเจ็บปวด
สืบสาย บุญวีรบุตร (2541, หน้า 92) กล่าวไว้ว่า การสร้างหรือการนึกภาพในอนาคตยัง
ช่วยควบคุมความวิตกกังวล ความโกรธ หรือความเจ็บปวด การสร้างภาพ หรือนึกภาพเหตุการณ์ที่
ผ่านมา หรือสร้างภาพใหม่ขึ้นในใจเพื่อให้เข้าใจสาเหตุลาดับวิธีการ และเตรียมคิดหาวิธีป้องกันและ
แก้ไข โดยเริ่มจากการสร้างภาพในใจก่อนแล้วจึงปฏิบัติจริง
2.1 การแบ่งลักษณะของจินตภาพ
2.1.1 การจิ น ตภาพแบบภายใน (Internal Imagery) การจิ น ตภาพจากภายใน
เป็นทักษะที่เป็นมุมมองของตัวเราเอง Weinberg & Gould (2003, p. 286) จากมุมมองของตัวเรา
เองคือตัวเราจะทาสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยมองผ่านกล้องที่เหมือนอยู่บนหน้าผากของเรา เหมือนว่าเรา
กาลังนึกถึงเหตุการณ์นั้นอยู่ด้วยตนเองยกตัวอย่างเช่น กาลังจินตภาพว่ากาลังทากิจกรรมต่าง ๆ เช่น
การทางานการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแต่ผู้จินตภาพจะไม่สามารถมองเห็นนอกจากสิ่ง
ที่เรากาลังคิดอยู่การจินตภาพแบบภายใน รวบถึงการขยับการเคลื่อนไหวเพราะนั่นคือสิ่งที่ผู้จินตภาพ
กาลังทาด้วยตนเองอยู่ (Weinberg & Gould, 2003)
2.1.2 การจิ น ตภาพจากภายนอก (External Imagery) เป็ น การจิ น ตภาพโดยมอง
จากภายนอกเหมื อ นกั บ ว่ า เราก าลั ง ถู ก มองอยู่ เ หมื อ นกั บ การภาพยนตร์ อ อกมายกตั ว อย่ า ง
เช่น นักบาสเกตบอลฝึกการจินตภาพว่ากาลังชู๊ตลูกบาสเกตบอล โดยใช้การจินตภาพแบบภายนอก
ผู้จินตภาพจะไม่เห็นแค่ตัวเองในการชู๊ตลูกบาสเกตบอลซึ่งผู้ฝึกจินตภาพในแบบภายนอกในขณะ
ที่กาลั งจิ น ตภาพอยู่ เ ขาจะเห็ น เพื่ อ นร่ว มที มก าลั งวิ่ ง กาลั งกระโดด และกาลั งบล็ อ ก หรือเห็ น ทั้ ง
กองเชีย ร์ ผู้ ที่มีความเกี่ย วข้องภายในสนาม อย่างไรก็ตาม การจินตภาพแบบภายนอกผู้จินตภาพ
15

ต้องการที่จะตัดสิ่งรบกวนต่าง ๆ ให้เหลือแต่หน้าที่ความต้องการเพียงอย่างเดียว การจินตภาพที่ดีเรา


ควรที่จะจินตภาพทั้งแบบภายในและแบบภายนอก (Weinberg & Gould, 2003) สิ่งที่สาคัญที่สุด
คือ จิ น ตภาพให้ ชัดเจนสามารถควบคุมได้มากกว่าที่จะสนใจว่าจะเป็นจินตภายแบบภายในหรือ
จินตภาพแบบภายนอก
2.2 ปัจจัยที่มีต่อการจินตภาพเพื่อการผ่อนคลาย
2.2.1 สภาพแวดล้ อ มมี อิ ท ธิ พ ลอย่ า งมากต่ อ ผลของการฝึ ก จิ น ตภาพว่ า จะประสบ
ความสาเร็จมากน้อยเพียงใด หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น มีผู้คนพลุกพล่านมีเสียงดัง
อึกทึกครึกโครม มีสภาพอากาศร้อนหรือเย็นจนเกินไป จะมีผลรบกวนสมาธิของผู้ฝึกปฏิบัติดังนั้น
ควรเลือกสถานที่ฝึกที่มีความเหมาะสมต่อการฝึก
2.2.2 ลักษณะของบุคคลโดยบุคคลที่มีเปลือกสมองซีกซ้ายเด่นจะสร้างจินตภาพได้ยาก
กว่าบุคคลที่มีเปลือกสมองซีกขวาเด่น เนื่องจากสมองซีกซ้ายจะเด่นเรื่องการวิเคราะห์ความคิดในเชิง
เหตุผลจึงเกิดการขัดแย้งต่อการสร้างจินตภาพ ซึ่งความคิดต้องใช้จินตนาการการเห็นภาพในใจทาให้
มักเกิดความคิดขัดแย้ งต่อการฝึ กแต่ก็ส ามารถฝึ กจินตภาพได้ห ากทราบเหตุผ ลในการฝึ ก ดังนั้น
การฝึกจินตภาพจึงต้องเริ่มฝึ กในระดับง่าย ๆ ค่อยเป็นค่อยไปอาจจะต้องทาหลาย ๆ ครั้งหรือใช้
ประสาทสัมผัสหลาย ๆ ด้านเป็นตัวกระตุ้น
2.2.3 ภาวะทางอารมณ์ของบุคคลถ้าหากว่าอยู่ในภาวะของอารมณ์ที่มีความทุ กข์ทรมาน
หรือ มีความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจ จะส่งผลรบกวนสมาธิในการฝึกจินตภาพทาให้ไม่เกิด
ประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น ก่อนการฝึกต้องควบคุมภาวะเหล่านี้ให้ได้เสียก่อน (พรทิพย์ จุลเหลา,
2548)
2.2.4 ความเชื่ อ ในการสร้ า งจิ น ตภาพจากการศึ ก ษาของ Kwekkeboom, Kneip &
Pearson (2003) ที่ศึกษาประวัติการสร้างจินตภาพและความเชื่อในผู้แนะนาการสร้างจินตภาพต่อผล
การฝึกพบว่า ความเชื่อต่อผู้แนะนาการฝึกจินตภาพมีความสัมพันธ์กับผลของการฝึก (พรทิพย์ จุล
เหลา, 2548) ดังนั้น ก่อนเข้ารับการฝึกจินตภาพควรอธิบายให้ผู้รับการฝึกเข้ าใจถึงเหตุผลของการ
ฝึกและประโยชน์ที่จะได้รับ
2.3 ประโยชน์ที่มีต่อการจินตภาพเพื่อการผ่อนคลาย
Harris & Harris (1984, p. 281) กล่าวว่าประโยชน์ของการจินตภาพที่มีต่อการแสดง
ทักษะว่าช่วยเพิ่มการประสานงานในการเคลื่อนไหวของร่างกายได้อย่างมีประสิท ธิภาพ โดยการรับรู้
ตาแหน่งต่าง ๆ จากขั้นตอนการแสดงทักษะที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถสรุปการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อใน
การปฏิบัติทักษะได้อย่างแม่นยา ช่วยปรับปรุงและแก้ไขความผิดพลาดให้ถูกต้อง
นอกจากนี้ การจินตภาพสามารถพัฒนาจิตใจ โดยการสร้างความหนาแน่นทางจิตต่อ
การต่อสู้ อุป สรรคต่าง ๆ เพื่อการพัฒ นาทักษะให้ ประสบผลส าเร็จสู งสุ ด ช่ว ยลดความวิตกกังวล
ความกลัวเพิ่มระดับ การกระตุ้นที่เหมาะสม สามารถควบคุมตนเอง และการมีทัศนคติที่ดีโดยการ
จินตภาพในทางบวกเป็นสิ่งที่จาเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทักษะให้มีประสิทธิภาพ แต่การจินตภาพ
16

จะไม่สามารถเพิ่มความสามารถในการแสดงทักษะให้ประสบผลสาเร็จได้ นอกจากได้รับการฝึกหัด
อย่ า งสม่ าเสมอควบคู่ กั บ ทั ก ษะที่ ต้ อ งการพั ฒ นาจนกระทั่ ง มี ก ารรั บ รู้ ทุ ก มิ ติ (Aware of All
Dimension) และฝึกหัดจนเป็นอัตโนมัติ
ดังนั้น การจินตภาพจึงต้องมีการฝึกหัดจนสามารถสร้างภาพการเคลื่อนไหวในใจได้ชัดเจน
จะนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับทักษะทางกายได้เป็นอย่างดี และมีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาการ
เรี ย นรู้ ทักษะใหม่ หรื อฝึ กฝนทักษะที่เรียนไปแล้ ว เมื่อ การฝึ กฝนทางกายไม่ส ามารถกระท าได้ ใ น
ขณะนั้น รวมไปถึงช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้ นด้วยการจินตภาพสามารถนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ (Morris et al., 2005)
2.3.1 เพื่อให้เห็นความสาเร็จ (To See Success) การเห็นภาพตนเองประสบความสาเร็จ
ตามเป้าหมายเป็นทักษะพื้นฐานที่มีความจาเป็นอย่างยิ่งทั้งความสามารถที่จะปฏิบัติในระดับที่สูงขึ้น
และเห็นผลของความสามารถตามความต้องการ ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่น
2.3.2 เพื่อเป็นแรงจูงใจ (To Motivate) ก่อนหรือระหว่างฤดูการฝึก ให้สร้างภาพของ
เป้าหมายสาหรับฤดูการฝึกนั้นการแข่งขันครั้งที่ผ่านมา หรือการแข่งขันในอนาคตการสร้างภาพตาม
วัตถุประสงค์จะเป็นสิ่งกระตุ้นแรงจูงใจซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มความหนักของการฝึก
2.3.3 เพื่อสร้างทักษะที่สมบูรณ์ (To Perfect Skill) การจินตภาพเป็นทักษะที่บ่อยครั้ง
เราใช้ ใ นการเรี ย นรู้ แ ละแก้ ไ ขทั ก ษะต่ า ง ๆ หรื อ ส่ ว นหนึ่ ง ของทั ก ษะนั ก กี ฬ าชั้ น ยอดจะมองเห็ น
และรู้ สึ กด้ว ยตนเองถึงการปฏิบั ติทักษะโปรแกรมต่าง ๆ กิจวัตรประจาวัน หรือการเล่ นได้อย่าง
สมบูรณ์ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่สาคัญมาก
2.3.4 เพื่ อ สร้ า งความคุ้ นเคย (To Familiarise) การจิ น ตภาพสามารถฝึ ก เพื่ อ ให้ เกิด
ความคุ้นเคยกับทุกสิ่งทุกอย่างได้ เช่น สถานการณ์การแข่งขัน วิธีการแข่งขัน รูปแบบการเล่นทักษะที่
ต้ อ งท าบ่ อ ย ๆ แผนการเล่ น แผนการให้ สั ม ภาษณ์ การฝึ ก จิ น ตภาพเพื่ อ สร้ า งความคุ้ น เคย
ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ทาให้มีความมั่นใจเพราะเสมือนได้ผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ มาแล้ว
2.3.5 เพื่ อ ก าหนดระดั บ ความสามารถ (To Set The Stage for Performance)
การจิ น ตภาพเป็ น ทักษะที่ส ามารถนาไปบูรณาการเป็นส่ ว นหนึ่งของแผนการฝึ ก ก่อนการแข่ ง ขั น
อยู่เสมอการจินตภาพจะช่วยกาหนดระดับของจิตใจเพื่อพัฒนาความสามารถนักกีฬาสามารถทาจิตใจ
ได้สมบูรณ์โดยใช้ความสามารถของตนเองเป็นพื้นฐานวิธีการนี้จะช่วยให้การจินตภาพความรู้สึกก่อน
การแข่งขันและสิ่งที่ให้ ความสนใจ อีกทั้งยังช่วยเปลี่ยนความคิดทางลบโดยการมุ่งความสนใจกับ
ความรู้สึกที่ดีก่อนการแข่งขัน
2.3.6 เพื่อใช้ในการทบทวนภาพหรือทักษะ (To Refocus) เมื่อมีการจินตภาพเกิดขึ้น
แล้วสามารถใช้เพื่อนึกทบทวนภาพการฝึ ก หรือทักษะที่ต้องการเช่นเมื่อรู้สึกเฉื่อยชา เวลาอบอุ่น
ร่างกาย การทบทวนภาพความสามารถที่ดีที่สุดหรือภาพการแข่งขันที่ดีที่สุดด้วยการจินตภาพทาให้
เพิ่มความสนใจ และความกระตือรือร้น
17

2.3.7 เพื่อการฟื้น ฟู (To Rehabilitate) ช่วงเวลาที่มีการบาดเจ็บ และต้องพั ก ฟื้น ฟู


สภาพร่างกายสามารถฝึกจินตภาพเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจการผ่อนคลายการลดความวิตกกังวล และเป็น
การซ้อมทักษะโดยการทบทวนเพื่อเตรียมพร้อมสาหรับการกลับมาฝึกซ้อม และแข่งขัน
จากการรวบรวมข้อมูลเรื่องประโยชน์ของการฝึกจินตภาพตามที่ได้มีผู้กล่าวไว้ข้างต้นจึงอาจ
สรุปได้ว่าการฝึกจินตภาพหากนามาใช้ในสถานการณ์ฝึกซ้อม และการแข่งขันกีฬาก็มีแนวโน้มว่า
จะช่ ว ยให้ ร่ า งกาย และจิ ต ใจเกิ ด ความผ่ อ นคลายมากขึ้ น เป็ น การเพิ่ ม แรงจูง ใจเสริม สร้ างสมาธิ
และความมั่นใจช่วยให้แสดงทักษะกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความผิดพลาดน้อย
2.4 ปัญหาในการใช้จินตภาพ
การจินตภาพมีประโยชน์ในอีกด้านหนึ่งอาจจะสร้างความรู้สึกทางลบ และล้มเหลว เช่น
เดีย วกัน การศึกษาของ Feltz & Landers (1983) ที่ทาการวิเคราะห์ ว รรณกรรม พบว่า อิทธิพล
ทางลบที่เกิดจากการจินตภาพในการพัฒนาทักษะทางกลไก และความแข็งแรง การศึกษาเสนอว่า
ความสามารถของนักกีฬาบางด้านอาจเสียไปจากการฝึกทักษะทางจิตใจที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนั้น
Feltz & Landers (1983) กล่าวถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลต่อการใช้จินตภาพ ดังนี้
การจินตภาพเป็นการเพิ่ มความวิตกกังวลขึ้น การจินตภาพว่าการแข่งขันกาลังจะเริ่มต้น
ก็อาจจะทาให้นักกีฬาเกิดความวิตกกังวล สอดคล้องกับการศึกษาของ Jowdy, Murphy & Durtschi
(1989) ที่พบว่าก่อนการแข่งขัน นั้ นนักกีฬาถูกสถานการณ์รวมทั้งสิ่ งแวดล้ อมภายในสถานการณ์
กระตุ้นให้จิตใจเกิดความวิตกกังวล ตัวอย่างเช่น “การจินตภาพทาให้ฉันรู้สึกหัวใจของฉันถูกกระตุ้น
ทาให้หัวใจเต้นแรง และตื่นเต้นว่าฉันอาจจะไม่สามารถควบคุมและทามันได้” ดังนั้นการจินตภาพ เป็น
ตัวรบกวนนักกีฬาอาจจะมีความยุ่งยากในการควบคุมความตั้งใจในการแข่งขันเนื้อหาของการ จินต
ภาพที่มีความสาคัญในการช่วยเหลือหรือทาลายความพยายามในการควบคุมความตั้งใจนั้นการศึกษา
ของ Jowdy, Murphy & Durtschi (1989) พบว่า นักว่ายน้าที่พยายามรวบรวมความตั้งใจแต่ถูก การ
จินตภาพนั้นรบกวนทาให้ไม่สามารถรวบรวมความตั้งใจได้
การจินตภาพเป็นสาเหตุทาให้ขาดการควบคุมบ่อยครั้งที่ นักกีฬาจะกล่าวถึงปัญหาของการ
ควบคุมการจินตภาพทั้งเป็นสิ่งที่ต้องการ และไม่ต้องการอันเนื่องมาจากความสามารถในการควบคุม
การจินตภาพนักกีฬา และผู้ฝึกสอนอาจจะช่วยเหลือในการฝึกซ้อมทางจิตใจถ้านักกีฬาขาดความ
เชื่อมั่นในการฝึก
การจินตภาพเป็นสิ่งที่ทาให้เกิดความมั่นใจมากเกินไป บ่อยครั้งที่นักกีฬาอาจจะจินตภาพ
การเล่ น การประสบความส าเร็ จ ก่อนการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจจะทาให้ นักกีฬา
มองข้ามในรายละเอียดที่สาคัญของการเตรียมตัวก่อนการแข่งขันได้
18

3. ดนตรี
ดนตรีเป็นภาษาสากลที่มนุษย์ทุกชาติ ทุกชนชั้นทั่วโลก ทุกเพศ ทุกวัย ต่างรู้จักและคุ้นเคย
กันดีนอกจากจะให้ ความบัน เทิงในทุกวาระโอกาสของชีวิตแล้ว ปัจจุบันยังมีการใช้ดนตรีกัน อย่ าง
แพร่หลายในการช่วยทาให้ลดความเครียดความวิตกกังวลทาให้อารมณ์ดีขึ้น
3.1 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับดนตรีเพื่อการผ่อนคลาย
ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มีพระราชดารัสของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตรัสไว้ว่า
“ดนตรีล้วนอยู่ในตัวคนทุกคนเป็นส่วนยิ่งใหญ่ในชีวิตคนเรา” ดนตรีเกิดจากการที่มนุษย์ร้องเลียนแบบ
เสียงร้องของสัตว์ต่าง ๆ มีจุดประสงค์ คือ การล่า โดยนักล่าเหล่านั้นมีการเรียนรู้ที่จะทาเสียงจากการ
เป่าหรือผิวเขาสัตว์ หรือปล้องไม้ไผ่ เกิดเป็นนกหวีดเพื่อเลียนเสียงนกร้อง ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องดนตรี
ชนิดแรก ๆ ของมนุษย์เรา
เมื่อวิถีของมนุษย์นั้นมีการพัฒนาที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ดนตรีก็ถูกนามาประกอบในกิจกรรมใน
ชีวิตประจาวันของมนุษย์เรานามาใช้ในพิธีการ เช่น งานแต่งงาน งานเฉลิมฉลอง งานบวช เป็นต้น
จะเห็นได้ว่ามีการนาดนตรีมาใช้นั้นมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
3.2 ลักษณะและลีลาของดนตรีเพื่อการผ่อนคลาย
สุกรี เจริญสุข (2532, หน้า 62-68) ได้กล่าวถึง ลีลาดนตรีโดยคานึงถึงเนื้อหาหลัก ๆ ดังนี้
2.1 ดนตรียอดนิยม (Popular Music) เพลงยอดนิยมบางครั้งก็เรียกว่าเพลงสมัย
นิยมซึ่งมีความหมายกว้างมากเป็นดนตรีสาหรับคนส่วนใหญ่ ตั้งแต่รสนิยมทางดนตรีของคนในสังคม
แต่ละสมัยแต่ละวัย เช่น เพลงไทยคลาสสิกเป็นที่นิยมสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 6 หรือเพลงร็อคเป็นที่
นิยมในกลุ่มวัยรุ่นปัจจุบัน เป็นต้น
ประเภทของดนตรี ย อดนิ ย ม ได้ แ ก่ ดนตรี พื้ น บ้ า น (Folk Music), ดนตรี ลู ก ทุ่ ง
(Country Music), ดนตรี ลู กกรุ ง (Light Music), ดนตรีร็อค (Rock Music), และดนตรีแจ๊ส (Jazz
Music)
2.2 ดนตรี ค ลาสสิ ก (Classic Music) ค าว่ า คลาสสิ ก มี ห ลายความหมายด้ ว ยกั น
ประกอบกับกาลเวลาเปลี่ยนไปนาไปใช้ในลักษณะที่แตกต่างกันซึ่งพอสรุปได้ ดังนี้
ประการแรก มีความหมายว่า ได้รับความสาเร็จสูงสุดแล้วในแต่ละสาขาวิชา โดยไม่มี
เวลาเข้ามาเกี่ยวข้องตัวอย่าง เช่น บัลเลย์ของรัสเซีย กายกรรมของจีน ที่ได้รับการยอมรับว่า ไม่มีใคร
เสมอเหมือนก็ถือว่าเป็นคลาสสิก
ประการที่สอง มีความหมายว่า สิ่งที่เป็นคลาสสิกต้องไม่อยู่ในขอบข่ายที่เป็นสมัย
นิ ย มกั น มากด้ว ยจ านวนเป็ น สมัยนิยม แต่ถ้าหนึ่งในจานวนนั้นได้รับการคัดเลือกให้ เป็นที่สุดแล้ว
ก็น่าจะเป็นคลาสสิกได้ เช่น ความงดงามอย่างโมน่าลิซา ได้รับการยอมรับว่างดงามที่สุด
ประการที่สาม มีความหมายว่า ดนตรีคลาสสิกเป็นดนตรีที่อาศัยเค้าโครงของดนตรีที่
วิจิตรพิสดาร ถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบของดนตรีที่สูงสุด ของแนวทานองการประสานเสียง สีสันของ
19

เครื่องดนตรี รูปแบบของโครงสร้าง การถ่ายทอดทางอารมณ์ เป็นต้น ได้ถูกประพันธ์ขึ้นด้วยความ


ประณีตบรรจงดนตรีเพื่อความงดงามของเสียงดนตรีเป็นคลาสสิกในแง่คุณภาพของงาน
ประการสุ ด ท้ า ย คลาสสิ ก มี ค วามหมายของระยะเวลาที่ เ รี ย กว่ า สมั ย คลาสสิ ก
คือ ระหว่าง พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) โดยประมาณเป็นช่วงเวลา
ที่มีนั กดนตรี ที่มีชื่อเสี ย งน าสมัยอยู่ส องท่านด้วยกันคือ โมสาร์ต (Amedeus Mozart) และไฮเดิน
(Haydn) ทั้งสองท่านถือเป็นแบบฉบับของสมัยคลาสสิก ความเด่นของดนตรีในยุคนี้ประดับประดา
เสียงดนตรี โดยอาศัยลูกเล่นหลีกหนีดนตรีลีลาที่เรีย กว่า โฟโลนี (Polyphony) ซึ่งโพโลโฟนีอาศัย
เทคนิคที่เรียกว่า เคาน์เตอร์พอยต์ (Counter Point) หมายถึง โน้ตต่อโน้ต หรือทานองต่อทานอง
นอกจากนั้ น ยั ง หมายถึ ง แนวท านองที่ ใ ช้ ส อดแทรกเข้ า ไปในท านองหลั ก ที่ มี อ ยู่ แ ล้ ว (อนรรฆ
จรัณยานนท์, 2537) โดยใช้ทุกแนวในการดาเนินเพลง ในขณะเดียวกันทุก ๆ แนวจะประสานซึ่งกัน
และกัน ซึ่งเป็นลักษณะดนตรีที่นิยมใช้กันในสมัยบาโรค (Baroque) สมัยคลาสสิก เริ่มนิยมความเป็น
โฮโมโฟนี (Homophony) คือ มีทานองหลักเด่นแล้ว เสียงอื่น ๆ มีหน้าที่สนับสนุนความเด่นของเสียง
นั้น ซึ่งเรียกว่าการประสานเสียง (Harmony) ในสมัยคลาสสิกทุก ๆ อย่างเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงคน
เริ่มสนใจความแตกต่างระหว่างบุคคลสนใจสิทธิ และเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกันในสังคมเปลี่ยนแปลง
แนวคิดทางระบอบการปกครอง ส่วนเรื่องของดนตรี มีแนวนิยมประพันธ์เพลงสาหรับชาวบ้านมากขึ้น
แทนที่จะมีดนตรีสาหรับศาสนาเพียงอย่างเดียว
ดนตรีคลาสสิกในมุมองของคนไทยนั้นถือเป็นของสูงเข้าถึงได้ยากอาจกล่าวได้ว่า ดนตรี
คลาสสิกในเมืองไทยมี 2 ประเภทคือ ดนตรีไทยคลาสสิก (Thai Classical) และดนตรีสากลคลาสสิก
(Classic)
2.2.1 ดนตรี ไ ทยคลาสสิ ก (Thai Classical) โดยโครงสร้ า งแล้ ว มี ค วามเป็ น พื้ น บ้ า น
มากกว่ า ดนตรี ค ลาสสิ ก อย่ า งไรก็ ต าม เพลงไทยที่ มี คุ ณ สมบั ติ สู ง ละเอี ย ดอ่ อ น มี ค วามไพเราะ
ต้องอาศัยความสามารถสูงซึ่งถือเป็นเพลงชั้นสูงน้อยคนนักที่จะสามารถถ่ายทอดออกมาได้ดีนาน ๆ
จะมีการแสดงสักครั้งต้องเกี่ยวกับงานพิธีเมื่อนาน ๆ เล่นดนตรี สักครั้งหนึ่ง นับวันคนเล่นได้ก็น้อยลง
ผู้ฟังเองก็ไม่เกิดความซาบซึ้งเนื่องจากไม่เคยได้ยินดนตรีไทยคลาสสิกอยู่ในชนกลุ่มเล็กคนส่วนมาก
ไม่มีโอกาสเข้าถึง
2.2.2 ดนตรีคลาสสิก (Classic) ยุคสมัยของดนตรีคลาสสิคนั้นเริ่มตั้งแต่ยุคบาโร้คเป็นต้น
ไปจนถึ ง ยุ ค โมเดิ ร น์ ร วมทั้ ง หมด 5 ยุ ค คื อ ยุ ค บาโร้ ค (The Baroque Period,ค.ศ. 1600-1750),
ยุ ค คลาสสิ ค (The Classical Period, ค.ศ. 1750-1820), ยุ ค โรแมนติ ก (The Romantic Period,
ค . ศ . 1820-1900), ยุ ค อิ ม เ พ ร ส ชั น นิ ส ติ ค ( The Impressionistic Period, ค . ศ . 1900-1910)
และยุคโมเดิร์น (Modern Period, ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน) การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดนตรีเริ่มมีการ
แลกเปลี่ ย นตั้ งแต่ส มัย กรุ ง ศรี อยุ ธ ยาการฟั ง และชื่ นชมดนตรี คลาสสิ ก ตะวัน ตกขึ้น อยู่ กับ ค่ า นิ ย ม
และความนิ ย มชมชอบในการฟังด้ว ยเหตุที่ว่าดนตรีส่ ว นใหญ่ต้องอาศัยผู้ อุปถัมภ์ค้าชูถึงจะอยู่ ได้
และถ้าขาดผู้ ฟังวงดนตรี ก็อยู่ ไม่ได้ในสมัยบาโร้ค (Baroque) นั้น นักดนตรีได้รับอุปการะจากวั ด
20

และวังสมัยคลาสสิกนักดนตรีนั้นอาศัยอยู่ตามบ้านผู้ดีมีเงินหรือราชสานักต่าง ๆ มีวงดนตรีประจาราช
สานักต่าง ๆ นักดนตรีมีหน้าที่สร้างสรรค์งานไปตามชีวิตของตนการฟั งดนตรี จึงเป็นเวลาว่าง หรือ
เวลาพั ก ผ่ อ น รั บ แขกบ้ า นแขกเมื อ งการแต่ ง ตั ว ก็ อ าศั ย ความประณี ต สวยสดงดงามเมื่ อ สั ง คม
เปลี่ยนแปลงไปแนวนิยมการฟังดนตรียังยึดแนวเดิม กล่าวคือยึดความหรูหราตัวดนตรีจริง ๆ จึงมี
ความสาคัญรองลงมาความสวยสดงดงามของคนชั้นสูงขัดแย้งกับความเป็นจริงของสังคมไทย ดังนั้น
คนส่วนใหญ่จึงมีโอกาสน้อยในการชื่นชมดนตรี
แท้จ ริ งแล้ ว ความไพเราะของดนตรีนั้นไม่เกี่ยวข้องกับชนชั้น ดนตรีคือดนตรีซึ่งมีความ
ไพเราะสาหรับทุกชนชั้นเพราะทุกคนมีดนตรีอยู่ในหัวใจสรุปได้ว่าดนตรีเพื่อการผ่อนคลายนั้นต้องเป็น
ดนตรีที่มีจังหวะของดนตรีอ ยู่ที่ 60-80 ครั้งต่อนาที ทาให้รู้สึกผ่อนคลายลดความเครียด (Cassidy,
2009; Lemmer, 2008; Lubetzky et al., 2009) สอดคล้องกับการศึกษาของ สิริมา วงศ์ฟู (2556)
เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีไทยบรรเลง เช่น พิณ ขลุ่ย ขิม เล่น โดยตัดเนื้อร้องออกซึ่งมีจังหวะของดนตรี อยู่
ที่ 60-80 ครั้งต่อนาที มีผลต่อการลดความวิตกกังวลและสร้างความรู้สึกที่ผ่ อนคลายให้ กับผู้ ป่ว ย
ที่รอการผ่าตัด
3.3 องค์ประกอบของดนตรีเพื่อการผ่อนคลาย
การที่จะเข้าในในดนตรีได้ดีขึ้นนั้นมีความจาเป็นต้องรู้จักโครงสร้างของดนตรีซึ่งถูกนามา
รวมเข้าด้วยกันแล้วก่อให้เกิดเป็นเสียงดนตรีซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้ฟัง ดนตรีมีองค์ประกอบ ดังนี้
3.3.1 จังหวะ (Rhythm) หมายถึง เสียงที่ออกมาเป็นจังหวะและมีความสัมพันธ์กับเวลา
ซึ่งทาให้เกิดการตอบสนองของร่างกายง่ายมาก (ดนัย ลิมปดนัย , 2522, หน้า 1) ในการเคลื่อนไหว
ของเสียงช่วงเวลาหนึ่งลีลาจังหวะของดนตรีของดนตรีมีอิทธิพลต่อมนุษย์มากเนื่องจากไปสัมพันธ์
กับจังหวะการทางานของร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต การย่อยอาหารและการ
ทางานของสมอง
3.3.2 ระดับของเสีย ง (Pitch) หมายถึง ระดับเสียงสูงต่าที่มีความถี่เป็ นรอบต่อวิ นาที
และมีหน่วยเป็นเฮิร์ทซ์ (Hertz) มนุษย์เราสามารถได้ยินเสียงจากความถี่ประมาณ 20 ถึง 20,000
เฮิร์ทซ์ ระดับเสียง ที่แตกต่างกันจะกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ที่แตกต่างกันไป เช่น เศร้า สงบหรือผ่อนค
ลายได้ มนุษย์จะมีการปรับปฏิกิริยาการแสดงออกให้เข้ากับระดับ ของดนตรี ระดับเสียงที่มีอัตราเร่ง
มาก หรือเสียงสูงจะกระตุ้นหรือเร่งการทางานของระบบประสาทอัตโนมัติ ทาให้เกิดความรู้สึกเครียด
ว้าวุ่นใจได้ง่ายในขณะที่เสียงต่าหรือเสียงทุ้มนุ่มนวล จะทาให้รู้สึกผ่อนคลายสงบ (พิมพา ม่วงศิริธรรม,
2538)
3.3.3 ความดั ง ค่ อ ยหรื อ ความเข้ ม ข้ น ของเสี ย ง (Loudness/ Volume Intensity)
หมายถึง ปริมาณความเข้มข้นของเสียงที่มีหน่วยเป็นเดซิเบล (Decibel) เช่น เสียงใบไม้ไหวมีความดัง
ของเสียงประมาณ 20 เดซิเบล เสียงพูดคุยดังประมาณ 50-60 เดซิเบล สาหรับเสียงที่อาจก่อให้เกิด
อันตรายต่อประสาทการรับฟัง จะมีความดังของเสียงประมาณ 100 เดซิเบล ขึ้นไป ระดับของเสียง
ที่ดังหรือค่อยของระดับเสียงที่นามาใช้ในการบรรเลงเสียงที่ดังจะเร่งเร้าหรือกระตุ้นอารมณ์
21

และการทางานของต่อมไร้ท่อและสัมพันธ์กับระบบประสาทซิมพาเทติก ส่วนระดับเสียงที่เบาทาให้
เกิดความรู้สึกสงบทาให้ เกิดความรู้สึ กสบายดนตรีที่มีระดับเสียงที่เป็นโทนเดียวกันหมดนั้นจะไป
รบกวนและทาให้ผู้ฟังไม่สนุกและรู้สึกเบื่อหน่ายได้ในขณะที่เสียงนุ่มนวล (Soft Sound) จะก่อให้เกิด
ความสงบสุขความสบายใจแต่อาจเกิดความขัดแย้งกันระหว่างเสียงเบาและเสียงดัง (Soft & Loud)
ได้ ดั ง นั้ น ในการน าชนิ ด ของเสี ย ง ดนตรี ม าใช้ เ พื่ อ ท าให้ บุ ค คลเกิ ด ความสนใจจึ ง ต้ อ งพิ จ ารณา
เสียงดนตรีแต่ละชนิดให้เกิดความลงตัว และสมดุลกัน โดยแยกว่าชนิดใด เป็นกลุ่มเสียงหลัก (Major
Group) หรือกลุ่มเสียงรอง (Minor Group) โดยทั่วไปกลุ่มเสียงหลักเป็นลักษณะที่ฟังแล้วเกิด ความ
สงบสุ ข รู้ สึ ก สบายใจในขณะที่ เ สี ย งรองซึ่ ง เป็ น เสี ย งแห่ ง ความเศร้ า สลด จากการศึ ก ษาของ
พิมพา ม่วงศิริธรรม (2538) กล่าวว่า ผลของความเข้มข้นของเสียงก่อให้เกิดประโยชน์ คือ
1.) ใช้เป็นสื่อทาให้เกิดสมาธิ
2.) กระตุ้น และลดความรู้สึกส่วนลึกทางจิตใจให้สงบหรือตื่นตัว
3.) สร้างระเบียบ และการควบคุมตนเองให้เหมาะสม
3.3.4 ทานองเพลง (Melody) ทานองถือเป็นองค์ประกอบสาคัญยิ่งของดนตรีทุกยุคตั้งแต่
มนุษย์เริ่มมีดนตรีเกิดขึ้นมาไม่เฉพาะในดนตรีตะวันตกเท่านั้น แต่รวมไปถึงดนตรีของทุกชนเผ่าในโลก
นี้ มีดนตรี เป็ น วัฒ นธรรมของตน (อนรรฆ จรัณยานนท์ , 2537, หน้า 17) เป็นโครงสร้างที่บอกถึ ง
ขอบเขตความสูงต่าของเสียง การฮัมเพลง การผิวปาก การร้องเพลง เป็นการนาแนวทานองมาใช้
ทานองจะให้ อารมณ์ชัดเจนกว่าจั งหวะให้ ความรู้สึ กลึ กลงถึ งจิตใจมากกว่า ส่ ว นของจังหวะแต่ ใ น
ขณะเดียวกันทานองจะมีจังหวะรวมอยู่ด้วย (สุกรี เจริญสุข, 2532, หน้า 52-53) เป็นการนาเอาระดับ
เสี ย งสู ง ต่ า งกั น มาจั ด เรี ย งศิ ล ปะ (พิ ชั ย ปรั ช ญานุ ส รณ์ , 2534) และมี ค วามสั ม พั น ธ์ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ
ความรู้สึกของมนุษย์ ผลของทานองก่อให้เกิดผล (พิมพา ม่วงศิริธรรม, 2538) ดังนี้
1.) ทาให้เกิดการสร้างสัมพันธภาพและลดความวิตกกังวล
2.) ทาให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลายความรู้สึกในส่วนลึกของจิตใจ
3.) ทาให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3.3.5 ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี (Tempo) หมายถึง ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี
โดยทั่วไปใน 1 จังหวะ จะมีความเร็วอยู่ระหว่าง 50-120 เมโตรนอม (Metronome) ครั้งต่อนาที ซึ่งมี
ความสัมพันธ์กันกับอัตราการเต้นของหัวใจของมนุษย์ (พิมพา ม่วงศิริธรรม, 2538) พบว่าความถี่ของ
จังหวะเมื่อนับเทียบเครื่องจังหวะที่ เร็วกว่าอัตราการเต้นของหัวใจเรียกว่าจังหวะเร็วและจังหวะที่ช้า
กว่าอัตราการเต้นของหัวใจ เรียกว่า จังหวะช้าเบโธเฟน (Beethoven) ได้ประพันธ์เพลงจาพวกโซ
นาต้า ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีช่วงทานองและจังหวะเปลี่ยนแปลงไปได้หลายรูปแบบเช่น มีจังหวะเร็วช้า
หรือตื่นเต้น ประมวลไว้ในบทเพลงเดียวกัน ซึ่งได้นามาประยุกต์ใช้เพื่อการบาบัดรักษา โดยมีผู้ศึกษา
และกล่าวไว้ว่าจังหวะที่จะทาให้ผู้ฟังตื่นเต้นหรือเกิดความตึงเครียดได้ในขณะที่จังหวะช้ามีผลทาให้
เกิดความสงบความตึงเครียดที่มีมาก ๆ สามารถทาให้ลดลงได้ด้วยการเริ่มให้จะดนตรีที่มีจังหวะช้ า
หรืออยู่ในระดับปานกลางแล้วเพิ่มความเร็วขึ้นอย่างทันทีทันใดจนถึงเร็วสูงสุด
22

3.3.6 การเรียบเรียงประสานเสียง (Harmony) การเรียบเรียงเสียง หมายถึงการนาเอา


เสียงมาจัดระบบเอาเสียงมาซ้อนกันประสานกันตามกฎเกณฑ์ของแต่ละยุคแต่ละสมัยที่นิยมเสียง
ประสาน จะช่วยอุ้มให้เสียงดนตรีมีพลัง และสื่ออารมณ์ให้กับผู้ฟังได้ลึกซึ้งขึ้น เสียงประสานของดนตรี
เป็นองค์ประกอบภายในที่มีความละเอียดละอ่อนช่วยเกื้อหนุนความงามของบทเพลงการประสานกัน
นั้นมีความหมาย 2 ประการ คือ ความหมายโดยทั่วไปหมายถึงความผสมกลมกลืนความสอดคล้องกัน
คู่ควรแก่กันส่วนในความหมายของดนตรีตะวันตกตั้งแต่ เรเนซองส์ (Renaissance) เป็นต้นมา ดนตรี
ตะวันตกเริ่มมีความสาคัญของแนวเพลงหลักโดยมีแนวอื่น ๆ เป็นแนวประสาน ความประสานคล้อง
จองกันดาเนินไปทั้งแนวราบ และแนวตั้ง ถ้าขาดทานองหลักไปแล้วก็ไม่เป็นเพลงเป็นความคล้องจ้อง
ของเสี ย งที่ น ามาเรี ย บเรี ย งจึ ง มั ก เรีย กกั นว่ า “เรี ย บเรี ย งประสานเสี ย ง” (สุ ก รี เจริ ญ สุ ข , 2532,
หน้า 56-57) ดังนั้น การประสานเสียงจึงเป็นการประสานกันของเสียงหลายชนิดที่มีลักษณะที่แตกต่าง
กัน โดยมีจังหวะ และท่วงทานองที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน เช่น การขับร้องประสานเสียง หรื อการ
ประสานน้ าเสี ย งของเครื่ องดนตรี ที่ต่างชนิดกัน “เสี ยงที่ไม่ส อดคล้ องกลมกลื นกันก็จะทาให้ เ กิ ด
อารมณ์ค้าง (Dissonance) ให้กับผู้ฟังส่วนเสียงที่มีความกลมกลืนกันจะทาให้รู้สึกอบอุ่น และอิสระ”
(ดนัย ลิมปดนัย, 2522, หน้า 24)
3.3.7 ความกังวานของเสียง (Sonority) เป็นส่วนประกอบที่บอกว่า เสียงมีความสมบูรณ์
กังวานภายในของเสียงแต่ละเสียงมากน้อยน้อยเพียงใดเป็นประเด็นที่สาคัญที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ประพันธ์
เพลงได้ฝากความไพเราะไว้ในเพลง
3.3.8 ฟังเนื้อร้อง (Text) หลังจากการฟังเสียงเพลง จังหวะ ทานองแล้ว เราฟังที่เนื้อ ร้อง
เนื้ อเรื่ อง หรื อเรื่ องราวที่ได้ถ่ายทอดให้ กับผู้ฟัง เพื่อให้ เข้าใจในเรื่องราวนั้น ตั ว ดนตรีเองนั้นไม่มี
เรื่องราวแต่เนื้อร้องของเพลงสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังได้ และเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่ง
ที่มีความสาคัญอีกด้วย (สุกรี เจริญสุข, 2532, หน้า 55)
3.3.9 ความรู้สึกด้านดนตรี (Expression of Music) เป็นความรู้สึกของดนตรีที่แสดงออก
ทาให้ทราบถึงอารมณ์นั้น ทั้งอารมณ์รัก โกรธ เศร้า เสียใจ ดีใจหรือสนุกสนาน เป็นต้น (เรณู
โกศินานนท์, 2522) ดนตรีเป็นภาษาของอารมณ์ที่อยู่เหนือความหมายของภาษาอยู่เ หนือตัวโน้ตเป็น
การแสดงออกทางจิตวิญญาณ ที่ทาให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้งในบทเพลงหรือดนตรีนั้น ๆ (สุกรี เจริญสุข
, 2532)
3.4 ผลของดนตรีต่อการเปลี่ยนแปลงต่อร่างกายและจิตใจ
จากองค์ประกอบ และคุณสมบัติของดนตรีที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าดนตรีมีอิทธิพล
ต่อมนุษย์ ทั้งด้านร่างกายอารมณ์ และความรู้สึกนึกคิดซึ่งนักจิตสังคมได้ให้คุณค่าของดนตรีที่มีผลต่อ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และจิตใจไว้ ดังนี้ (Parriott, 1969)
3.4.1 การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
3.4.1.1 ดนตรีก่อให้เกิดพลัง (Power)
3.4.1.2 ดนตรีก่อให้เกิดความสว่างแก่จิตใจ (Enlightenment)
23

3.4.1.3 ดนตรีก่อให้เกิดความสุข (Wellbeing)


3.4.1.4 ดนตรีก่อให้เกิดทักษะ (Skill)
3.4.1.5 ดนตรีก่อให้เกิดความสมบูรณ์ (Wealth)
3.4.1.6 ดนตรีก่อให้เกิดความผูกพันรักใคร่ (Affection)
3.4.1.7 ดนตรีก่อให้เกิดความเคารพนับถือ (Respect)
3.4.1.8 ดนตรีก่อให้เกิดคุณธรรม (Rectitude)
จากแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับดนตรีดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นเหตุจูงใจให้มี
ผู้สนใจศึกษาค้นคว้าผลของดนตรีที่เกิดขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงของบุคคลมากขึ้นโดยอาศัยหลักการ
หรือความเชื่อว่าเสียงดนตรี เกิดขึ้นเมื่อผ่านเข้าไปยังอวัยวะเกี่ยวกับการได้ยิน (Auditory Apparatus)
แล้วจะมีเส้นประสาทส่งต่อไปยัง สมองทาลามัส (Thalamus) และคอร์ติคอล (Cortical) ในภาวะที่
รู้สึกตัวหรือมีสติสัมปชัญญะดนตรีจะไปปรับเปลี่ยนอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดที่สมองส่วนคอร์ติซอล
ซึ่งเป็นสมองส่วนบนจึงส่งผลต่อบุคคลในด้านความสนใจความคิดแรงจูงใจความจา และจินตนาการ
ส่วนในภาวะที่ไม่รู้สึกตัวดนตรีจะปรับเปลี่ยนอารมณ์ที่ระดับสมองส่วนทาลามัสซึ่งเป็นสมองส่วนล่าง
และเป็นสถานีใหญ่ในการถ่ายทอดอารมณ์ และความรู้สึกไปสู่สมองส่วนซีรีบรัลเฮมิสเพียร์ (Cerebral
Hemisphere) ผ่านไปตามวิถีประสาทคลื่นเสียงที่เข้าไปจึงสามารถกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติได้
(Alvin, 1966) ดังนั้ น เมื่อบุ คคลได้รับ การกระตุ้ นด้ว ยเสี ย งดนตรีจ ะก่ อ ให้ เ กิ ด การเปลี่ ยนแปลง
ทางด้านต่าง ๆ ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาดนตรีมีผลต่อการทางานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น
ระบบหัวใจ และหลอดโลหิต ระบบหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท และระบบการเผาผลาญ
ในร่างกาย ซึ่งจากการศึกษาทดลองเกี่ยวกับดนตรีประเภทต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
ดนตรี ท าให้ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงของประจุ ไ ฟฟ้ า ในร่ า งกายมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ปริ ม าณการ
ไหลเวียนของโลหิตชีพจรความดันโลหิต การขับหลั่งสารภายในร่างกายตลอดจนมีผลต่อการเพิ่ม
หรือลดการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อ โดยดนตรีประเภทที่ทาให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย (Soothing Music)
ท าให้ อั ต ราการไหลเวีย นของโลหิ ต ในสมองช้า และมี ป ริ ม าณลดลงรวมทั้ ง ยั งท าให้ อั ต ราการใช้
ออกซิเจนเป็นนาที (Minute Oxygen Consumption) และอัตราการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย
ลดลงด้วย แต่ดนตรีประเภทที่ทาให้ตื่นเต้นเร้ าใจ (Lively Music) จะทาให้ปริมาณ และอัตราการ
ไหลเวียนของโลหิตในสมองเพิ่มขึ้น (Cook, 1981; McClelland, 1979) นอกจากนี้เสียงดนตรียังมี
อานาจช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเคลื่อนไหวเป็นจังหวะเป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดขึ้นเองการขยับเท้า
หรือหายใจที่เร็วขึ้นซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาการตอบสนองที่อยู่นอกเหนืออานาจจิตใจ (Alvin, 1966)
ทางด้ า น Buckwalter, Hartsock & Gaffney (1985) ได้ ส รุ ป ผลของดนตรี ต่ อ การเปลี่ ย นแปลง
ทางด้านร่างกาย ดังนี้
24

- เพิ่มความตึงตัว และช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
- ทาให้กล้ามเนื้อหดตัว และแข็งแรงขึ้น
- ทาให้เกิดความล้า
- เพิ่มหรือลดผลผลิตในการทางาน
- ทาให้ร่างกายเคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรี
- เพิ่มหรือลดสารขับหลั่งในร่างกาย
- เพิ่มหรือลดอัตราการหายใจการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต
4.4.2 การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
ดนตรี เป็ น ศิล ปะบริสุ ทธิ์ (Pure Art) เกี่ยวข้องกับจิต ใจโดยตรง ฝน แสงสิ งแก้ ว
(2518) ดนตรีเป็นเรื่องของความสวยสดงดงามและความชุ่มชื่นใจทั้ง ๆ ที่บางครั้งไม่ทราบว่ าเขา
บรรเลงเรื่องอะไร ความดังค่อยช้าเร็ว การเร่งการผ่อนจังหวะในบทเพลง ทาให้อารมณ์เพลงมีความ
เร้าใจและจูงใจให้ผู้ฟังสนใจ ประทับใจไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย สอดคล้องกับที่ วราวุธ สุมาวงศ์
(2525) กล่าวว่าดนตรีเป็นอาหารทางใจ เช่น เดียวกับธรรมะถ้าฟังดนตรีอย่างตั้งใจจะก่อให้เกิดสมาธิ
หรือก่อให้เกิดความสงบของอารมณ์ผู้ฟังได้
เนื่องจากเสียงของดนตรีสามารถเข้าไปสู่จิตใจ และมีอานาจในการควบคุมจิตใจของ
บุ คคลได้น อกจากนี้ บางบทเพลงอาจให้ ความรู้สึ ก เพลิ ด เพลิ นสนุ กสนานสงบ และสบายใจซึ่ ง มี
ประโยชน์ในการกระตุ้นความรู้สึกให้คึกคักกล้าหาญในเวลาที่หวาดกลัวภั ยเป็นเพื่อนในเวลาเหงา
และโน้มน้าวให้ผู้ฟังเกิดความคิดฝัน ในขณะที่บางบทเพลงอาจทาให้ผู้ ฟังรู้สึ กตึงเครียดวุ่นวายใจ
และเป็นทุกข์ได้ ฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าดนตรีมีพลังอานาจในการบันดาลอารมณ์ของบุคคลได้
จากแนวคิดนี้จึ งมีผู้ส นใจนาดนตรีมาทดลองใช้บาบัดผู้ ป่วยโรคจิตโรคประสาท
รวมทั้งผู้ ที่มีสุ ขภาพปกติด้ว ย ผลการใช้งานพบว่าการใช้จังหวะดนตรีที่ช้า ๆ ทาให้ ผู้ ป่ว ยโรคจิต
เพศหญิงที่มีอาการรุนแรงสงบลง การใช้ดนตรีสนุกสนานร่าเริงทาให้ผู้ป่วยที่เฉื่อยชามีการเคลื่อนไหว
มากขึ้นสาหรับการนาประเภทของดนตรีมาทดลองใช้กับนักศึกษามหาวิทยาลัย พบว่าดนตรีประเภทที่
ทาให้สงบสบายใจ และดนตรีคลาสสิกสามารถลดความวิตกกังวลได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะทาให้ความ
วิตกกังวลในเพศหญิงลดลงมากกว่าเพศชาย ส่วนดนตรีประเภทที่ทาให้ตื่นเต้นกลับส่งเสริมให้ เกิด
ความรู้สึกก้าวร้าวรบกวนจิตใจ และเกิดความวิตกกังวลมากกว่าดนตรีประเภทที่ทาให้สงบ และดนตรี
ประเภทที่ ท าให้ ส งบจะช่ ว ยลดความวิ ต กกั ง วลได้ ม ากกว่ า ไม่ ใ ช้ ด นตรี เ ลย Cook (1981) ดั ง นั้ น
การฮัมเพลงการร้องเพลงหรือแม้แต่การฟังเพลงล้วนแต่ช่วยให้คนเรามีความสุขมีความคิดแจ่มใส
และสบายใจ เนื่องจากต่างก็เป็น การระบายอารมณ์ภายในจิตใจซึ่งสามารถทาให้ ความวิตกกังวล
ลดลงได้
อย่ างไรก็ต าม การนาดนตรีมาใช้ล ดความวิต กกั งวลนั้ น อาจใช้ ไ ด้เ ฉพาะความ
วิตกกังวลบางประเภทเท่านั้น ซึ่งการทดลองของ Stoudenmire (1975) เกี่ยวกับดนตรีประเภทที่
ผ่ อ นคลาย และนุ่ ม นวลต่ อ ระดั บ ความวิ ต กกั ง วลซึ่ ง เป็ น ลั ก ษณะประจ าตั ว ของบุ ค คล และตาม
25

สถานการณ์ในนักศึกษาหญิงจานวน 108 ราย พบว่า ดนตรีประเภทนี้สามารถลดความวิตกกังวลตาม


สถานการณ์ได้อย่างมีนั ยสาคัญ McClelland (1979) ได้สรุป ประโยชน์ของดนตรีที่มีต่ออารมณ์
และจิตใจมนุษย์ ดังนี้
- ก่อให้เกิดความสนใจ และความกระตือรือร้น
- กระตุ้นความทรงจา และความคิดเห็น
- ช่วยควบคุมอารมณ์ และกระตุ้นความรู้สึกนึกคิด
- ลดความซึมเศร้า และผ่อนคลายความเครียด
- ลดความวิตกกังวลตามสถานการณ์
- ทาให้จิตใจสงบ และมีสมาธิ
- ลดความรู้สึกโดดเดี่ยว และอ้างว้าง
- ส่งเสริมในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น และทาให้ผู้ป่วยกลับเข้าสู่สภาพ
ความเป็นจริง

4. ความวิตกกังวลตามสถานการณ์
4.1 ความหมายความวิตกกังวลกับการกีฬา
หมายถึง ความวิตกกังวลเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในชีวิตประจาวันเนื่องจาก
ต้ อ งมี ก ารปฏิ สั ม พั น ธ์ กั บ บุ ค คล และสิ่ ง แวดล้ อ มอยู่ ต ลอดเวลา จากการศึ ก ษารวบรวมมี ผู้ ที่ ใ ห้
ความหมายของความวิตกกังวลไว้ดังต่อไปนี้
สมบัติ กาญจนกิจ และสมหญิง จันทรุไทย (2542, หน้า 72) กล่าวว่า ความวิตกกัง วล
เป็นสภาพทางอารมณ์อันไม่พึงปรารถนาของบุคคลที่รู้สึกหวั่นกลัว ไม่สบายใจ ล้มเหลว หรือเป็นผล
จากการคาดเหตุการณ์ล่วงหน้าถ้าบุคคลใดที่มีระดับความวิตกกังวลสูงหรือต่าจนเกินไป จะมีผลทาให้
ประสิทธิภาพการทางานของร่างกายลดลงแต่ถ้าความวิตกกังวลอยู่ในระดับที่เหมาะสมก็จะทาให้เกิด
ประโยชน์ได้ ปริญญา สนิกะวาที (2542, หน้า 16) กล่าวว่าความวิตกกังวลเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นใน
มนุษย์ที่มีความไม่สบายใจรู้สึกเหมือนตัวเองถูกคุกคามตกอยู่ในอันตรายที่ไม่ปลอดภัยเกิดจากการ
ประเมินสภาพการณ์ต่าง ๆ ว่าอาจทาให้เกิดอันตรายกับตนเองโดยสภาพการณ์นั้นอาจเป็นการเกิดขึ้น
จริงหรือการคาดคะเนก็ได้
ลักขณา สริวัฒน์ (2544, หน้า 152) กล่าวว่า ผลของความวิตกกังวลสามารถก่อให้เกิด
อาการผิดปกติต่าง ๆ ทั้งภายนอก และภายในของร่างกายได้ทุกระบบ ความไม่สบอารมณ์ การทางาน
ไม่บรรลุเป้าหมาย บุคคลรอบข้างไม่ให้ความรักหรือ เอาใจใส่ หรือถูกดุหรือทางานพลาดจนทาให้เกิด
ความเสียหาย การถูกบังคับ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อจิตใจทาให้เกิด
อาการไม่สบายใจ
26

วลุ ลี โพธิ รั ง สิ ย ากร (2550, หน้ า 308) กล่ า วว่ า ความเครี ย ด หมายถึ ง ภาวะหรื อ
ความรู้สึกที่ถูกกดดัน วิตกกังวล ไม่สบายใจ อันเกิดจากสาเหตุหรือปัจจัยต่าง ๆ มีผลทาให้ร่างกาย
และจิตใจขาดความสมดุล ส่งผลแสดงออกทางพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ปวดศีรษะ หงุดหงิด
ใจสั่นมือสั่น นอนไม่หลับ
ชานันท์ อนุบัน (2551, หน้า 8) กล่าวว่า ความวิตกกังวล หมายถึง อาการที่เกิดขึ้นทาง
อารมณ์ของบุคคลที่รู้สึกหวั่นกลัว ไม่สบายใจ เกิดความตึงเครียด ควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือเป็นผลมา
จากการคาดเหตุการณ์ล่วงหน้าต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นตัวสาเหตุที่ทาให้
ความเชื่อมั่นลดลง ยิ่งความวิตกกังวลมากความมั่นใจก็ลดลง ทาให้ความสามารถในการแสดงออกทาง
ลักษณะของนักกีฬาลดลงด้วย
Mowrer (1963, p. 264) กล่าวว่า ความวิต กกังวล คือ อารมณ์แต่เป็นอารมณ์ซึ่งคล้าย
กับเมื่อเรามีความหิวหรือกระหาย เป็นสภาพที่มีความตึงเครียด หรือสภาพที่คนเรารู้สึกว่าไม่สบาย
จ าเป็ น ต้องกาจั ดไปให้ห มด นอกจากนี้ ยังเป็นตัว การที่ผ ลักดันให้ เรากระทาพฤติกรรมบางอย่าง
ออกไป
พีระพงศ์ บุญศิริ (2536, หน้า 68) กล่าวถึง สาเหตุของความวิตกกังวลทางกีฬาว่าเป็น
ความรู้ สึ ก ที่ ตั ว เราเป็ น ผู้ ท าให้ เ กิ ด ขึ้ น เอง ด้ ว ยการรั บ รู้ ถึ ง สถานการณ์ ต่ า ง ๆ และการรั บ รู้ ข อง
สถานการณ์นี้จะเป็นตัวการที่ สร้างปัญหาให้กับตนเองเสมอ ๆ นั่นคือ ความรู้สึกวิตกกังวลซึ่งอาจจะ
เกิดมาจากสาเหตุต่าง ๆ หลายอย่างดังต่อไปนี้
1. การขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง โดยปกติการแข่งขันกีฬาไม่ใช่เป็น
ตัวการทาให้เกิดความวิตกกังวล แต่การคิดว่าตนเองจะแสดงความสามารถที่ได้รับความพ่ ายแพ้หรือ
ประสบความล้มเหลว ทาให้เกิดเป็นความวิตกกังวล การคิดในทางที่ไม่ดีเกี่ยวกับความสามารถของ
ตนเองก็จะบิดเบือนสถานการณ์ที่กาลังเผชิญอยู่
2. การเชื่อในความวิตกกังวล และคิดว่าตนเองจะต้องมีความวิตกกังวล นักกีฬาบางคน
จะรู้สึกว่าตนเองไม่กระตือรือร้นหรือพร้ อมที่จะแข่งขันจนกว่าจะรับรู้ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นทั้งทาง
ร่างกาย และจิตใจ
3. ความสามารถที่ แ สดงออกในการแข่ ง ขั นที่ ผ่ า นมาต่ ากว่า มาตรฐานของตน จาก
ความรู้สึกกังวล ว่าเหตุการณ์ลักษณะทานองนี้จะเกิดขึ้นอีกในการแข่งขันครั้งต่อไป ถ้าหากนักกีฬา
ย้อนกลับไปคิดถึงความพ่ายแพ้ที่ผ่านมาแล้วเกิดความวิตกกังวลกับเหตุการณ์นั้นอยู่ ก็จะทาให้เกิด
ความวิตกกังวลมากขึ้น
ชาญชัย อาจิณสมาจาร (2550, หน้า 65) ได้กล่าวถึง สถานการณ์ของกีฬาในปัจจุบันว่า
เป็นกิจกรรมกีฬาที่เต็มไปด้วยอารมณ์รุนแรงมากขึ้น นักกีฬาต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ ที่เต็มไป
ด้วยความเครียด ความกดดัน ความวิตกกังวล ความกลัว และความคับข้องใจ เนื่องจากภาระทางกาย
ในระหว่างการฝึกฝน ของนักกีฬาสาหรับการแข่งขัน ความเครียดทางจิตใจในระหว่างการแข่งขันก็มี
ความรุนแรงเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
27

ระหว่างการแข่งขันนักกีฬามีความกลัวในระดับหนึ่ งซึ่งในที่สุดก็มีผลต่อการเล่นของเขา
นี่เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติในสถานการณ์ของความเครียดที่เกิดจากการแข่งขันกีฬา จะสังเกตว่าผู้
เล่นที่เล่นไม่ออกเพราะความกลัวนั้น ในที่สุ ดความกลัวก็จะรบกวนการเล่นอันมีประสิทธิผลของเขา
ความวิตกกังวลหรือความเครียดที่เกิดขึ้นกับนักกีฬาจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียด
ที่เรียกว่าคอร์ติซอล (Cortisol) และ อะดรีนาลิน (Adrenaline) ฮอร์โมนดังกล่าวจะทาให้ความดัน
โลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้นเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมท และมีพลังงานมากพอที่จะกระทาการใด ๆ
เช่น การวิ่งหนีอันตรายการยกของหนีไฟถ้าหากได้กระทาฮอร์โมนนั้นจะถูกใช้ไป ความกดดันหรือ
ความเครียดจะหายไปแต่ความเครียดหรือความกดดันมักจะเกิดขณะที่ไม่สามารถจะกระทาการใด ๆ
ได้ เช่น ความเครียดในขณะเดินทางความวิตกกังวลว่าจะไม่สามารถเล่นกีฬาได้ดีเท่าที่เคย เป็นต้น
ความเครียดหรื อความกดดั น ที่ยั งไม่ได้ระบายออกไป เนื่องจากบางครั้งเกิดขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัว ทาให้
ฮอร์โมนเหล่านั้นสะสมในร่างกายจนกระทั่งเกิดผลเสียทางด้านกายและจิตใจตามมา ความเครียดเป็น
สิ่งปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวันโดยที่นักกีฬาอาจจะไม่ทราบว่าเราได้รับความเครียดนั้นแล้ว เป็น
การรับแบบไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังจึงเป็นต้นเหตุทาให้เกิด
อาการทางร่างกาย และทางภาวะอารมณ์ซึ่งจะมีผลเสียต่อการฝึกซ้อมและแข่งขันเป็นอย่างมาก
จึงอาจสรุปได้ว่า ความวิตกกังวลเป็นภาวะกดดันที่เกิดขึ้นกับบุคคลอันอาจเกิดมาจาก
สิ่งแวดล้อมภายนอก หรือสภาวะภายในร่างกาย อาจจะทาให้ร่างกาย และจิตใจมีความผิดปกติได้
ส่วนความวิตกกังวลเป็นอารมณ์ อันไม่พึงปรารถนาของบุคคลที่รู้สึกหวั่นกลัว ไม่สบายใจ ล้มเหลว
หรือเป็นผลจากการคาดเหตุการณ์ล่วงหน้า เป็นความกลัวความกังวลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเครียด
และความวิ ต กกั ง วลจึ ง มี ลั ก ษณะคล้ า ยกั น ความเครี ย ด และความวิ ต กกั ง วลสามารถเกิ ด ขึ้นได้
ทุกแห่งทุกเวลาอาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น การเดินทาง สภาพแวดล้อม มลภาวะการเจ็บป่วย
ความสัมพันธ์กับเพื่อนครอบครัว หรืออาจจะเกิดจากภายในผู้ป่วยเอง เช่นต้องการเป็นนักกีฬ าที่มี
ความสามารถสูง ต้องการแข่งขันกับเพื่อน เป็นต้น
ดังนั้น ความวิตกกังวลจึงเป็นตัวแปรที่มีความสาคัญกับนักกีฬาทุกระดับ และมีความ
ผกผันกับความผ่อนคลายของนักกีฬา กล่าวคือ นักกีฬาคนใดที่มีความวิตกกังวลในระดับสูงย่อมจะมี
ความผ่อนคลายของร่างกาย และจิตใจในระดับต่า ซึ่งบ่งบอกว่าขณะนี้นักกีฬากาลังมีปัญหา และ
ส่งผลเสียต่อความสามารถในการเล่นกีฬาในสถานการณ์แข่งขัน หากว่านักกีฬาคนใดสามารถควบคุม
และจัดการกับความเครียด ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้ดี จะส่งผลให้ร่างกายมีความผ่อนคลายมากขึ้น
จึงมีความพร้อมสามารถแสดงทักษะกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด
28

4.2 การวัดความวิตกกังวลตามสถานการณ์
สุปราณี ขวัญบุญจันทร์ (2541, หน้า 54) กล่าวถึงการวัดความวิตกกังวลว่ามีวิธีการวัดได้
หลายรูปแบบ อาจใช้การวัดทางกายภาพ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่ น การวัดอัตราการเต้นของ
หัวใจ (Heart Rate) การวัดความดันโลหิต (Blood Pressure) การวัดทางเคมีชีวภาพ (Biochemical)
เช่ น การวั ด ระดั บ น้ าตาลในเลื อ ด หรื อ การวั ด กระแสไฟฟ้ า ทางผิ ว หนั ง และกล้ า มเนื้ อ
(Electromyography) หรือ EMG
สุ ช าติ ไข่มุสิ ก (2543, หน้า 2) กล่ า วถึงการวัดความเครี ยดและความวิ ต กกั งวลของ
นักกีฬาโดยการใช้เครื่องมือวัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate Monitor) ซึ่งใช้หลักการเดียวกับ
การวัดคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ (Electrocardiogram) โดยการวัดค่าความแปรปรวนของอัตราการเต้น
ของหัวใจเป็นการนาค่าช่วงห่างระหว่างคลื่นช่ วงอาร์ถึงอาร์ที่ต่อเนื่องกันในกราฟ QRS Complex
ของการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจมาวิเคราะห์การทางานของระบบประสาทอัตโนมัติประกอบด้วยระบบซิม
พาเธติ ก และระบบพาราซิ ม พาเธติ ก โดยสองระบบนี้ จ ะส่ ง กระแสประสาทมายั ง SA Node ซึ่ ง
ทาหน้ าที่ในการกาหนดอัตราการเต้นของหั ว ใจ และบ่งชี้ได้ถึงระดับเครียด และภาวะด้านจิตใจ
ของนักกีฬา
นอกจากนี้ สุปราณี ขวัญบุญจันทร์ (2541, หน้า 55) ได้กล่าวถึงการวัดความวิตกกังวล
โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ คือการสังเกตลักษณะอาการของนักกีฬา การสังเกตลักษณะอาการต่าง ๆ
นี้ ส ามารถวัดความวิตกกังวลได้อย่างคร่าว ๆ เท่านั้น ไม่ส ามารถเจาะลึ กลงไปในรายละเอียดได้
การสังเกตลักษณะอาการต่าง ๆ สามารถสังเกตได้จากอาการทางกาย อาการทางจิตใจ และลักษณะ
ทางพฤติกรรมที่แสดงออกโดยประกอบด้วย
อาการทางกายที่เกิดขึ้นจากความวิตกกังวล เช่น อัตราการเต้นของหัว ใจสูงขึ้น ความดัน
โลหิตสูงขึ้น เหงื่อออกมากกว่าปกติ ความถี่ของคลื่นสมองเพิ่มขึ้น อัตราการไหลเวียนโลหิตเพิ่มขึ้น
จานวนเลือดที่มาเลี้ยงผิวหนังลดลง เกิดการตึงตัวของกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ อัตราการใช้ออกซิเจน
เพิ่มขึ้น ระดับน้าตาลในเลือดเพิ่มขึ้นปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย และมีการหลั่งฮอร์โมน เช่น อะดรีนาลิน
อาการทางจิตใจที่เกิดขึ้นจากความวิตกกังวล เช่น คิดมาก รู้สึกไม่สบายใจ ไม่สามารถ
ตัดสินใจได้ดังปกติ สับสนวุ่นวาย ขาดสมาธิ ไม่สามารถตั้งใจจดจ่อกับเป้าหมาย หรือขาดความสนใจ
ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ตามปกติ และมีความสนใจลดลง
อาการทางพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความวิตกกังวล เช่น พูดเร็วกว่าเดิม กัดเล็บ เคาะ
เท้าบิดกล้ามเนื้อ หาวบ่อย กระพริบตาบ่อย มีอาการสั่น และเสียงพูดไม่เหมือนเดิม ลักษณะอาการ
ทางพฤติกรรมเหล่านี้ ง่ายต่อการสังเกต ดังนั้น ผู้ฝึกสอนสามารถสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ของนักกีฬา
ได้ว่ามีความวิตกกังวลมากน้อยเพียงใด ซึ่งเมื่อผู้ฝึกสอนรู้จักการสังเกตลักษณะอาการทางพฤติกรรม
เหล่านี้แล้ว จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับการจัดระดับความวิตกกังวลของนักกีฬา
นอกจากการวัดโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และการสังเกตอาการต่าง ๆ แล้วยังมี
การวัดความวิตกกังวลโดยใช้แบบทดสอบความวิตกกังวล เช่น การวัดโดยใช้แบบทดสอบ
29

ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ (Revised Competition Sport Anxiety Inventory-2: (CSAI-2R)


โดยอ้างอิงข้อคาถามในแต่ละข้อจากแบบทดสอบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ฉบับเดิมซึ่ง พิชิต
เมืองนาโพธิ์ ได้แปลเป็นฉบับภาษาไทยไว้ซึ่ง พิชิ ต เมืองนาโพธิ์ (2543, หน้า 3) กล่าวว่าเป็นการวัด
แบบเฉพาะเจาะจง และยังสามารถวัดระดับความวิตกกังวลแต่ละประเภท รวมทั้งความเชื่อมั่นใน
ตนเองตามสถานการณ์ได้ โดยวัดทั้งความวิตกกังวลทางความคิด (Cognitive Anxiety) ความวิตก
กังวลทางทางกาย (Somatic Anxiety) และความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence) จากการนา
คะแนนที่ได้จากการตอบมาวิเคราะห์ทีละส่วนแบบทดสอบมีคาถามทั้งหมด 17 ข้อ แบ่งเป็นการวัด
ความวิตกกังวลทางความคิดประกอบด้วยข้อ 2, 5, 8, 11 และ 14 การวัดความวิตกกังวลทางกาย
ประกอบด้วยข้อ 1, 4, 6, 9, 12, 15 และ 17 และการวัดความเชื่อมั่นในตนเอง ประกอบด้วยข้อ 3, 7,
10, 13 และ 16 คาตอบของแบบทดสอบนี้จะเป็นการตอบตามความรู้สึกว่าเห็นด้วยกับคาถามหรือไม่
คะแนนจะออกมาเป็นระดับตั้งแต่ 1 ถึง 4 ตามหมายเลขที่เลือก การคิดคะแนนให้เอาคะแนนของ
แต่ละข้อในแต่ละด้ านบวกกัน แล้วนาผลที่ได้มาหารด้วยจานวนข้อทั้งหมดในแต่ล ะด้าน และคูณ
ด้วย 10 จะได้ผลออกมาเป็นคะแนนของความวิตกกังวลในแต่ละด้าน ช่วงของคะแนนจะอยู่ที่ 10-40
ซึ่งความหมายของระดับคะแนนคือคะแนน 10-19 ระดับความวิตกกังวลและความเชื่อมั่นในตนเองอยู่
ในระดับต่า, คะแนน 20-30 ระดับความวิตกกังวล และความเชื่อมั่นในตนเองปานกลาง และคะแนน
31-40 ระดับความวิตกกังวล และความเชื่อมั่นในตนเองสูง
นอกจากการวัดโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และการสังเกตอาการต่าง ๆ แล้วยังมีการ
วัดความเครียด เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการประเมินความเครีย ดของนักกีฬาในต่างประเทศมีการใช้
Stress Card ในการประเมินความเครียดกับผู้ป่วย ซึ่งมีวิธีการประเมินอย่างง่าย ดังนี้ แบบทดสอบ
ความเครียด (Stress Card) เป็นเครื่องมือที่ให้ข้อมูลสะท้อนถึงระดับความเครียดของแต่ละบุคคล
ด้วยมีสเกล 4 ระดับ ได้แก่
สเกลสีดา (Stress) หมายถึง อุณหภูมิในร่างกายอยู่ที่ 75-80 องศาฟาเรนไฮ อยู่ในเกณฑ์
ที่มีความเครียดสูง
สเกลสีแดง (Tense) หมายถึง อุณหภูมิในร่างกายอยู่ที่ 80-85 องศาฟาเรนไฮ อยู่ในเกณฑ์
ที่มีความตึงเครียดเล็กน้อย
สเกลสีเขียว (Calm) หมายถึง อุณหภูมิในร่างกายอยู่ที่ 85-90 องศาฟาเรนไฮ อยู่ในเกณฑ์
ปกติ
สเกลสีฟ้า (Relaxed) หมายถึง อุณหภูมิในร่างกายอยู่ที่ 90-95 องศาฟาเรนไฮ อยู่ในเกณฑ์
ที่ผ่าน
30

5. การจาลองสถานการณ์กีฬา
ดังที่กล่ าวข้างต้นไปแล้วว่าความสามารถทางการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศนั้นตามที่ Cox
(1985) กล่าวว่า ในการแข่งขันกี ฬาเพื่อความเป็นเลิศนั้นมีองค์ประกอบที่สาคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้าน
ร่างกาย จิตใจ และทักษะนักกีฬาจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่า งกาย
ทางด้านจิตใจ หรือทางทักษะทางกีฬา ในการปาลูกดอกก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถใช้วัดทักษะของ
นักกีฬาได้โดยเฉพาะทักษะของความแม่นยา (Accuracy) ทิศทาง (Direction) ซึ่งถือเป็นหัวใจหลัก
ของกี ฬ าชนิ ด นี้ จากการศึ ก ษาที่ ผ่ า นมาของ Garry Kuan (2014) ได้ ท าการจ าลองสถานการณ์
การปาลูกดอกในนักกีฬาโดยการจาลองสถานการณ์ด้วยการปาลูกดอกโดยเป้าปาลูกดอกมี 10 วงกลม
โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร, 18 เซนติเมตร, 16 เซนติเมตร, 14 เซนติเมตร, 12 เซนติเมตร,
10 เซนติเมตร, 8 เซนติเมตร, 6 เซนติเมตร, 4 เซนติเมตร และ 2 เซนติเมตรตามลาดับ และเกณฑ์
การให้คะแนน 0-10 คะแนน ตามลาดับ
จากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมาผู้วิจัยจึงสนใจสร้างสถานการณ์จาลองการแข่งขันโดย
การปาลูกดอกในนักกีฬา เพื่อศึกษาผลของการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายที่
มีผลต่อความวิตกกังวลตามสถานการณ์ และความแม่นยาในการปาลูกดอกของนักกีฬา

6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6.1 งานวิจัยในประเทศ
พิมฐานิษา รักษาวงศ์ และคณะ (2563) ได้ทาการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลการ
ใช้โปรแกรมการเสริมสร้างการจินตภาพด้วยภาพโดยเกสตัลท์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา จานวน 56
คน ซึ่งได้มาจากการสุ่ มตัว อย่ างอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่ มควบคุม กลุ่ มละ 28 คน
โดยเครื่ องมื อ ที่ใ ช้ใ นการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการเสริ มสร้า งการจิน ตภาพด้ว ยภาพ ที่ผู้ วิจั ย
พัฒนาขึ้น แบบทดสอบ The Neglieri Nonverbal Ability Test และแบบทดสอบ The Corsi Block
Tapping Task การทดลองจานวน 10 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ โดยแบ่งการ
ทดลองออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผลวิเคราะห์ข้อมูล
ด้ว ยการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัด ซ้าประเภทหนึ่ง ตัว แปรระหว่ างกลุ่ ม และหนึ่งตัว แปร
ภายในกลุ่ม เมื่อพบความแตกต่างรายคู่ทดสอบด้วยวิธีแบบบอนเฟอรอนนี
ผลการวิจั ย พบว่า 1. ปฏิสั มพันธ์ระหว่างวิธีการทดลอง และระยะเวลาการทดลองมี
อิทธิพลต่อการจินตภาพด้วยภาพ และความจาใช้งานของนักเรียนชั้นประถมศึกษา อย่างมีนัย สาคัญ
ทางสถิติที่ร ะดับ .05 2. กลุ่ มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้ างการจินตภาพด้ว ยภาพโดย
เกสตัลท์ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษามีการจินตภาพด้วยภาพ และความจาใช้งานหลังการทดลองสูง
กว่าก่อนการทดลองระยะติดตามผลสูงกว่าหลังการทดลอง และก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่ม
ควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
31

เกศิณี รัตนเปสละ และคณะ (2563) ได้ทาการศึกษาวิจัยเชิงทดลองเพื่อเปรียบเทียบผล


การคลายตัวของกล้ามเนื้ อต้นขา และอัตราการเต้นของหัวใจจากการประยุกต์ใช้การจินตภาพที่มี
ดนตรี บ รรเลงร่ ว มกั บ สุ ค นธบ าบั ด และการใช้ ก ารจิ น ตภาพที่ มี ด นตรี บ รรเลงในนั ก กี ฬ าระดั บ
มหาวิทยาลัยกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตที่เป็นนักกีฬาตัวแทนมหาวิทยาลัยที่อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัย
จานวน 30 คน (เพศชาย 15 คน และเพศหญิง 15 คน) การสุ่มเพื่ อเข้ากลุ่มจานวน 3 กลุ่ม (กลุ่ม ๆ
ละ 10 คน) ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายประกอบด้วย 1. กลุ่มนั่งพัก 2. กลุ่มโปรแกรมการจินตภาพที่มีดนตรี
บรรเลง และ 3. กลุ่มโปรแกรมการจินตภาพที่มีดนตรีบรรเลงร่วมกับสุคนธบาบัด เครื่องมือที่ใช้ในการ
ทดลองประกอบด้วย เครื่องวัดสัญญาณป้อ นกลับทางชีวภาพ โปรแกรมการจินตภาพร่วมกับดนตรี
บรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย จักรยานวัดงาน อุปกรณ์พ่นละอองไอน้า น้ามันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์
และเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ การทดลองได้ออกแบบให้ผู้เข้าร่วมการทดลองออกกาลังกาย
ด้วยการปั่นจักรยานวัดงาน กระทั่งมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ร้อยละ 75 ของชีพจรสูงสุด จึงเข้ารับ
โปรแกรมการผ่อนคลาย ทั้ง 3 กลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวัดผลก่อน-หลังการทดลอง และบันทึกผล
ทุ ก ๆ 4 นาที สถิ ติ ที่ ใ ช้ ใ นการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ได้ แ ก่ ค่ า เฉลี่ ย (Mean) ค่ า เบี่ ย งเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหลายตัวแปร (Multivariate Analysis of
Variance: MANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า เมื่อทดสอบความแปรปรวนแบบหลายตัวแปรของทั้ง 3 กลุ่มพบว่าไม่มี
ความ แตกต่างกัน และการทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มทดลองทั้ ง 3 กลุ่มพบว่ามีความแตกต่าง
กันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ p <0.05
นฤมล จันทร์สุข และ พีระพงศ์ บุญศิร (2561) ได้ทาการศึกษาวิจัยเชิงทดลองการวิจัย
ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบผลของการฝึกจินตภาพที่มีต่อความแม่น ยาในการ
ยิงธนูของนักกีฬายิงธนูจังหวัดลาปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักกีฬายิงธนูในจังหวัด
ลาปางที่ผ่านการแข่งขันกีฬายิงธนูชิงแชมป์แห่งประเทศไทย จานวน 30 คน โดยใช้วิธีแบบสุ่มจับ
ฉลากแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม คือกลุ่มที่ฝึกโปรแกรมยิงธนูปกติเพียง
อย่างเดียว กลุ่มที่ 2 กลุ่มทดลอง คือกลุ่มที่ได้รับการฝึกจินตภาพควบคู่กับโปรแกรมการฝึกยิงธนูปกติ
เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการฝึกจินตภาพที่จัดทาขึ้นโดย
ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญให้เหมาะสมกับกีฬายิงธนูซึ่งใช้กับกลุ่มทดลอง โปรแกรมฝึกยิงธนู
ปกติของทั้ง 2 กลุ่ม แบบทดสอบความแม่นยาด้วยการบันทึกคะแนน และนาคะแนนที่ทดสอบการยิง
เก็ บ คะแนนก่ อ นฝึ ก สั ป ดาห์ ที่ 4 และสั ป ดาห์ ที่ 8 มาวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล โดยใช้ ส ถิ ติ ค่ า T-test
Independent ซึ่งเป็นการทดสอบหาค่าเฉลี่ยของความแตกต่าง และเปรียบเทียบระหว่าง ของกลุ่ม
ทดลองและกลุ่ ม ควบคุ ม และทดสอบความแปรปรวนวั ด ซ้ า โดยใช้ ส ถิ ติ Repeated Measures
ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า ผลของการฝึกจินตภาพควบคู่ไปกับโปรแกรมการฝึกยิงธนูปกติของ
กลุ่มทดลองมีความแม่น ยามากกว่ากลุ่มควบคุมที่ฝึกโปรแกรมยิงธนูปกติอย่างมีนัย สาคัญทางสถิติ
ที่ร ะดับ 0.05 และผลของการเปรี ยบเทียบคะแนนความแม่น ยาในการยิงธนูระหว่างกลุ่มทดลอง
และกลุ่มควบคุม (ก่อนฝึก สัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนวัด ซ้า
32

มีความแตกต่างกันอย่างมีนัย สาคัญที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่าการฝึกจินตภาพควบคู่ไปกับการฝึกยิงธนู


ปกติมีผลทาให้นักกีฬามีการพัฒนาทักษะการยิงธนูได้ดีขึ้นกว่าการฝึกยิงธนูทั่วไปเพียงอย่างเดียว
ธิรตา ภาสะวณิช (2561) ได้ทาการศึกษาวิจัยกึ่งทดลองการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาและเปรียบเทียบสภาวะกาย และจิตใจสาหรับการบาดเจ็บทางการกีฬาในนักกีฬาไทย จาแนก
ตามเพศ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาไทยที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาจานวน 248 คน เพศชาย
จานวน 162 คน เพศหญิง จานวน 8 คน มีอายุระหว่าง 18-21 ปี จาก 23 ชนิดกีฬาใช้วิธีการเลือก
ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ให้ได้มาซึ่งนักกีฬาที่ได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบประเมินสภาวะกาย และจิตใจสาหรับการบาดเจ็บทางการกีฬาที่
พัฒ นามาจากแบบประเมิน สภาวะกายและจิ ตใจทางการกี ฬา (The Physical & Psychological
State Measure in Sports: Bhasavanija, Cherathammawat, Chobthamasakul, & Poompin,
2014) มีความเชื่อมั่นภายในทั้งฉบับ (Intraclass Correlation Cronbach’s Alpha) ที่ 0.81 และทา
การทดสอบซ้า (Test–Retest Reliability) ระยะห่างกัน 7 วันเพื่อทดสอบค่าความเชื่อมั่นด้วยการ
วิ เ คราะห์ ค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ สหสั ม พั น ธ์ ข องเพี ย ร์ สั น (Pearson’s Product Moment Correlation
Coefficient) ได้ r = 0.69 ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ 18 ตัววัด คือ คุณภาพชีวิต ความเชื่อมั่น
ความวิตกกังวล การรับรู้ความรู้สึกปวด และการรับรู้การเกร็งของกล้ามเนื้อ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศด้วยการทดสอบค่าที (T-test for
Independent)
ผลการศึกษา พบว่า 1. การศึกษาสภาวะกาย และจิตใจสาหรับการบาดเจ็บทางการกีฬา
ในนักกีฬาไทยที่ได้รับบาดเจ็บ พบว่า คะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ที่ระดับ ปานกลาง (x̅= 2.49, SD
= 1.18) ซึ่งองค์ประกอบที่เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บทางการกีฬา อันดับแรก คือ ด้านคุณภาพชีวิต
(ด้านบวก) โดยภาพรวมอยู่ที่ระดับ มาก (x̅= 2.72, SD = .90) และองค์ประกอบที่อยู่อันดับสุดท้าย
คื อ ด้ า นการรั บ รู้ ค วามรู้ สึ ก ปวด (ด้ า นลบ) โดยภาพรวมอยู่ ที่ ร ะดั บ น้ อ ย (x̅= 2.72, SD = 1.05)
2. การเปรียบเทียบความแตกต่างของสภาวะกาย และจิตใจสาหรับการบาดเจ็บทางการกีฬาระหว่าง
เพศชาย และเพศหญิง โดยภาพรวมไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัย สาคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
(t = 1.07, p = .28) ทั้ง 18 ตัว วัด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ ยของแต่ล ะตัว วัด พบว่า ค่าเฉลี่ ยโดยรวม
เพศชาย (x̅= 2.44, SD = .51) มีสภาวะกาย และจิตใจสูงกว่าเพศหญิง (x̅= 2.36, SD = .46) ในทุก
ด้าน ยกเว้น ด้านความเชื่อมั่น ที่เพศหญิง (x̅= 2.48, SD = .59) มีสู งกว่า เพศชาย (x̅= 2.39, SD
= .76)
ทนงศักดิ์ ลิ่มเนี่ยว และประภาส มันตะสูตร (2561) ได้ทาการศึกษาวิจัย การศึกษาเรื่อง
แรงจูงใจในการเป็นนักกีฬากรีฑาตัวแทนจังหวัดสตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเป็น
นักกีฬากรีฑาตัวแทนจังหวัดสตูล และศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเป็นนักกีฬากรีฑาตัวแทน
จังหวัดสตูล จาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยการบริหารภายในองค์การประชากรที่ศึกษา คือ
นั กกีฬากรี ฑาตัว แทนจังหวัดสตูล จ านวน 113 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ
33

รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์สาเร็จรูปด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive
Statistic) ในการแจกแจงความถี่ในรูปของตารางสถิติค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
(Means) ค่ า ส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิ ติ เ ชิ ง อนุ ม าน (Inferential
Statistics) ได้แก่ สถิติ T-Test, F-Test (One-Way ANOVA) เพื่อใช้ทดสอบความแตกต่างของตัว
แปรที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการเป็นนักกีฬากรีฑาตัวแทนจังหวั ดสตูล ในภาพรวม ทุก
ด้านมีแรงจูงใจอยู่ ในระดับ มากนั กกีฬากรีฑาตัว แทนจังหวัดสตูล ที่ศึกษาส่วนใหญ่ มีความคิดเห็ น
เกี่ยวกับปัจจัยการบริหารจัดการภายในองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเป็นนักกีฬากรีฑาตัวแทน
จังหวัดสตูล ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางการทดสอบสมมติฐานนั กกีฬากรีฑาตัวแทน
จังหวัดสตูลทั้งหมดมีปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยในการบริหารงานแตกต่างกัน ระดับแรงจูงใจในการ
เป็นนักกีฬากรีฑาตัวแทนจังหวัดสตูลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

6.2 งานวิจัยต่างประเทศ
Moh Hadi, Muchsin Doewes, & Sapta Kunta (2019) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
เปรียบเทียบภาพ และแบบฝึกหัดพูดคุยเกี่ยวกับความแม่นยาของผลการลงจอดในร่มร่อน การวิจัย
ประเภทนี้ เป็ น การทดลองโดยแบ่ งออกเป็น 2 กลุ่ ม ประชากรในการศึกษานี้เป็นนักกีฬา 18 คน
เทคนิคการสุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างทั้งหมด เทคนิคการรวบรวมข้อมูลคือการทดสอบความ
แม่นยาในการลงจอด (Sky Tronic) เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ANNAVA ผลการศึกษานี้บ่งชี้
ความแตกต่างของผลลัพธ์ระหว่างการทดสอบขั้นต้น และการทดสอบขั้นสุดท้ายดังแสดงในตาราง
ผลลัพธ์ของการปรับปรุงในกลุ่มวิธีการพูดคุยด้วยตนเองโดย 87% ไม่ ดีไปกว่าการเพิ่มขึ้นของกลุ่มวิธี
จินตภาพซึ่งมีการเพิ่มขึ้น ของ 96%
สรุปได้ว่า การฝึกทักษะทางจิตใจมีผลอย่างมากต่อผลลัพธ์ความแม่นยาในการลงจอดของ
โดรนวิธีการฝึกจินตภาพให้ผลดีกว่าวิธีการพูดคุยด้วยตนเอง
Colton Haight, Sandra Moritz & Tanis Walch (2020) ได้ ท าการศึ ก ษาวิ จั ย เชิ ง
ทดลองความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาของการใช้จินตภาพต่อประสิทธิภาพ และความสามารถใน
ตนเองของผู้เล่นเบสบอลในมหาวิทยาลัยในระหว่างการตี ผู้เข้าร่วม (n = 24) ได้รับการสุ่มให้เป็นหนึ่ง
ในสามเงื่อนไขของภาพ : (1) ก่อนฝึกซ้อม (2) ระหว่างการฝึกซ้อม (3) หลังการฝึกซ้อม มีการใช้การ
แทรกแซงภาพ MG-M เพียงครั้งเดียว ผลลัพธ์จากการวัดซ้าแบบ 3 (กลุ่มภาพ) × 2 (การทดสอบ
ก่อนหลัง และหลังการทดสอบ) ANOVA แสดงให้เห็นเพียงช่วงเวลาที่สาคัญโดยปฏิสัมพันธ์ของกลุ่ม
ภาพเพื่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง (F (2, 21) = 4.67, p <0.05) ผลการวิจัยพบว่าว่าการฝึก
จินตภาพมีผลทางจิตวิทยาที่ดีกว่าผลทางฟิสิกส์
34

Maulana Arif Ardiyanto, Muhammad Furqon Hidayatullah & Sri Santoso


Sabarini (2021) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเผย 1. ความแตกต่างของผลกระทบภายในภาพ
และภาพภายนอกที่อยู่ ข้ างหน้ า แสดงถึง ความถูกต้ อ งของไฟล์ ผู้ เล่ น PTM Dwi Bengawan Solo
2. ความแตกต่างของเอฟเฟกต์สูงความเข้มข้น และความเข้มข้นต่าในเบื้องหน้าให้ความแม่นยาของ
นักกีฬาเทเบิลเทนนิสระดับจูเนียร์ในซูโกอาร์โจ และ 3.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการฝึกและสมาธิในการ
เสิร์ฟข้างหน้าความแม่นยาของนักกีฬาเทเบิลเทนนิสรุ่นจูเนียร์ใน ซูโกฮาร์โจ นี่คือการวิจัยเชิงทดลอง
กลุ่มตัวอย่างวิจัยกาหนดโดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างทั้งหมดในขณะที่กลุ่มตัวอย่างและประชากร
ทั้งหมดเป็นนั กกีฬาระดับจู เนี ยร์ 24 คนใน PTM Dwi Bengawan Solo ข้อมูลคือรวบรวมโดยใช้
1. การทดสอบความเข้ ม ข้ น ของ PTM Dwi Bengawan Solo ผู้ เ ล่ น และ 2. การเสิ ร์ ฟ ล่ ว งหน้ า
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยรวมการทดสอบ 2 แบบคือการทดสอบความแม่นยาในการใช้งานล่วงหน้า
พร้อมความถูกต้อง (0.809) และความน่าเชื่อถือ (0.988) การทดสอบความเข้มข้นที่มีความถูกต้อง
(0.89) และความน่าเชื่อถือ (0.803) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Twoway ANOVA ที่มีระดับนัยสาคัญ
α = 0.05 ผลการวิจัยพบว่าที่ 1. มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญระหว่างภาพภายใน และการฝึก
ภาพภายนอก (p = 0.000 <0.05) ดังนั้นภายในวิธีฝึกจินตภาพดีกว่าภาพภายนอก 2. ที่นั่นเป็นความ
แตกต่างระหว่างผู้เล่นที่มีสมาธิสูงและต่าความเข้มข้น (p = 0.000 <0.05) ดังนั้น ผู้เล่นที่มีสูงสมาธิ
ดีกว่าคนที่มีสมาธิต่า 3) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาพภายใน และภายนอกภาพรวมทั้งความเข้มข้นสูง
และต่า (p = 0.047 <0.05) ผู้เล่นที่มีสมาธิสูงจะทางานได้ดีขึ้นหากได้รับการฝึกฝนด้วยภาพภายในใน
ขณะที่ผู้เล่นที่มีสมาธิต่าจะจะดีกว่า ถ้าได้รับการฝึกฝนกับภาพภายนอก
Leonardo de Sousa Fortes, Sebastiao Sousa Almeida, José Roberto Andrade
Nascimento-Júnior, Lenamar Fiorese, Dalton Lima-Júnior & Maria Elisa Caputo Ferreira
(2019) วัตถุป ระสงค์ของการศึ กษานี้ คือ เพื่อวิ เคราะห์ ความสมบูร ณ์ข องการฝึ กภาพเคลื่ อ นไหว
เกี่ยวกับประสิทธิภาพการให้บริการเทนนิสในกีฬาเทนนิสนักกีฬา ผู้เข้าร่วมเป็นนักเทนนิสเยาวชนชาย
ยี่สิบแปดคนโดยสุ่มแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ การฝึกจินภาพ (ITG, n = 14) และกลุ่มควบคุม (CG,
n = 14) เป็นการตรวจสอบเชิงทดลองแบบควบคุม และสุ่มเป็นเวลานานแปดสัปดาห์ Te CG ดูวิดีโอ
เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในขณะที่ ITG ทาการฝึกอบรมเกี่ยวกับภาพยานยนต์
โต้เทนนิส ประสิทธิภาพการบริการได้มาจากผลิตภัณฑ์ระหว่างความแม่นยาและความเร็วจังหวะ
[ความแม่นยา x ความเร็วเฉลี่ยของทั้งหมด จังหวะ (กม./ชม.)] ความสมบูรณ์ของการโต้ตอบระหว่าง
กลุ่มเทียบกับเวลา (p <.01) ถูกระบุสาหรับตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพทั้งหมด [ความถูกต้อง,ความเร็ว และ
ประสิ ท ธิ ภ าพในการวิ่ง (ความเร็ ว x ความแม่ น ย า)] โดยมี ก ารปรับ ปรุ งเฉพาะใน ITG (p = 01)
สรุปได้ว่า มอเตอร์การฝึกจินตภาพถือเป็นกลยุทธ์ที่สมบูรณ์แบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
เทนนิสในหมู่นักเทนนิสชาย
35

Nafih Cherappurath, Masilamani Elayaraja, Dilshith Kabeer, Amila Anjum, Paris


Vogazianos & Athos Antoniades (2020) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพ
การให้บริการเทนนิสของนักเทนนิสรุ่นเยาว์โดยอาศัยการฝึกด้วยจินตภาพของ PETTLEP นักเทนนิส
เยาวชนชาย สี่สิบสี่คน (Mage = 13.22 ปี, SD = 0.42) ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการศึกษา ผู้วิจัยได้
ส่งแบบสอบถาม MIQ-R ให้กับผู้เข้าร่วมทั้งหมดที่พวกเขาได้คะแนน 16 ขึ้นไปตามการวิจัยก่อนหน้านี้
ผู้เข้าร่วมได้รับการแบ่งเท่า ๆ กัน (n = 11) ออกเป็นกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม E1, E2 และกลุ่มควบคุมโดย
เปรี ย บเทีย บผลการบริ การของผู้ เล่ น ทั้งหมดก่ อน และหลั งการฝึ กซ้อมกลุ่ มทดลองทั้งสามได้ รั บ
มอบหมายพร้ อ มบริ ก าร - การฝึ ก อบรมเฉพาะการฝึ ก อบรมเฉพาะบริ ก ารรวมกั บ การฝึ ก ภาพ
PETTLEP และการฝึกภาพ PETTLEP เพียงอย่างเดียวตามลาดับเป็นเวลาสามวันต่อสัปดาห์เป็นเวลา
12 สัปดาห์พวกเขาได้รับการทดสอบความแม่นยาในการให้บริการตามคู่มือ International Tennis
Number (ITN) ใน – การทดสอบการประเมิ น ศาลข้ อ มู ล ได้ รั บ การประเมิ น ความเป็ น ปกติ แ ละ
วิเคราะห์โดยใช้วิธีการที่ไม่ใช่พารามิเตอร์เพื่อเปิดเผยผลกระทบหลัก (แต่ละวิธีการฝึกอบรมเพียง
อย่างเดียว) รวมทั้งคานวณผลรวมของ PETTLEP และการฝึกอบรมเฉพาะบริการการปรับปรุงที่สาคัญ
บางประการในบริการเทนนิส ได้แก่ สังเกตได้จากการฝึกอบรมเฉพาะบริการเพียงอย่างเดียวแม้ว่าจะ
มีประสิทธิภาพดีกว่าวิธีการสร้างภาพ PETTLEP เพียงเล็กน้อย แต่บริการที่ได้รับการปรับปรุงมาก
ที่สุดพบได้จากทั้ง PETTLEP และการฝึกอบรมเฉพาะบริการที่ใช้ซึ่งหมายความถึงผลกระทบเพิ่มเติม
เมื่อใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน
Garry Kuan (2017) วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความตื่นตัวของนักยิงปืนอัดลมชั้นเลิศ
ระหว่างการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีประเภทผ่อนคลายกับการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีประเภท
กระตุ้น กลุ่ มตัว อย่ างจ านวน 12 คน ชาย 8 คน หญิง 4 คน อายุ 22-41 ปี อายุเฉลี่ ย 29.30 ปี
ส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน 2.10 ได้ รั บ คั ด เลื อ กจากสมาคม Melbourne International Shooting
Club & Victorian Amateur Pistol Association ต้องมีประสบการณ์การแข่งขันอย่างน้อย 2 ปี ใน
การยิงปืนอัดลม ใช้แบบทดสอบจินตภาพทางการกีฬา (Sport Imagery Ability Measure: SIAM)
ประเภทนักยิงปืนอัดลมชั้นเลิศ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1) URM คือ การฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลง
เพื่อการผ่อนคลายซึ่งไม่คุ้นเคย 2) UAM คือ การฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการกระตุ้น ซึง่
ไม่คุ้นเคย 3) FAM คือ การฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการกระตุ้นที่ คุ้นเคย ผลวิจัยพบว่า
การฝึกจินตภาพร่วมกับ ดนตรีบรรเลงเพื่อการกระตุ้น ซึ่ง ไม่คุ้นเคย (Unfamiliar Arousing Music:
UAM) และการฝึ ก จิ น ตภาพร่ ว มกั บ ดนตรี บ รรเลงเพื่ อ การกระตุ้ น ที่ คุ้ น เคย (Familiar Arousing
Music: FAM) ช่วยเพิ่มความตื่นตัวของร่างกายให้นักกีฬายิงปืนชั้นเลิศได้เป็นอย่างดี
36

Garry Kuan (2018) วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการปาลูกดอก ความ


ตื่นตัวทางด้านร่างกาย และความวิตกกังวลตามสถานการณ์ระหว่างการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรี
ประเภทผ่อนคลายกับการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีประเภทกระตุ้น กลุ่มตัวอย่างจานวน 63 คน
ชาย 45 คน หญิง 18 คน อายุ 18-25 ปี อายุเฉลี่ย 20.21 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.20 ได้รับ
คั ด เลื อ กจากนั ก ศึ ก ษาคณะวิ ท ยาศาสตร์ ก ารกี ฬ าและการออกก าลั ง กาย หรื อ คณะพลศึ ก ษา
จากมหาวิ ท ยาลั ย เมลเบิ ร์ น ประเทศออสเตรเลี ย ต้ อ งมี ป ระสบการณ์ ก ารเล่ น อย่ า งน้ อ ย 1 ปี
ประกอบด้วยประเภท กีฬารักบี้ บาสเกตบอล คริกเก็ต แฮนด์บอล เนตบอล ฟุตบอล ซอฟท์บอล ว่าย
น้า เทควันโด เทนนิส กีฬาประเภทลู่ และวอลเลย์บอล ฝึกระยะเวลา 12 สัปดาห์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1) URM คือ จิ น ตภาพร่ ว มกับ ดนตรีผ่ อนคลายซึ่งไม่คุ้นเคย 2) UAM คือ จินตภาพร่ว มกับดนตรี
กระตุ้นซึ่งไม่คุ้นเคย 3) NM คือ จินตภาพ อย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า การฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรี
บรรเลงเพื่อการผ่อนคลายซึ่งไม่คุ้นเคย (Unfamiliar Relaxing Music: URM) ช่วยเพิ่มความสามารถ
ในการปาลูกดอกของนักกีฬาได้ดีที่สุด การฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการกระตุ้ นซึ่งไม่
คุ้นเคย (Unfamiliar Arousing Music: UAM) ช่วยเพิ่มความตื่นตัวของร่างกายได้ดีที่สุด และการฝึก
จินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายซึ่งไม่คุ้นเคย (Unfamiliar Relaxing Music: URM)
และการฝึกจิ นตภาพอย่ างเดียว (No Music: NM) ช่วยลดความวิตกกังวลตามสถานการณ์ในการ
แข่งขัน และช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเองให้มากยิ่งขึ้น
บทที่ 3
วิธีดาเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลง
เพื่อการผ่ อนคลายที่มีผ ลต่อความวิตกกังวลทางความคิด และความแม่น ยาในการปาลูกดอกของ
นักกีฬา โดยผู้วิจัยเสนอหัวข้อวิธีการดาเนินการวิจัย ดังนี้
1. กลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. วิธีดาเนินการทดลอง
4. การวิเคราะห์ข้อมูล

กลุ่มตัวอย่าง
การเลือกกลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ครั้งนี้ คือ นักกีฬาที่มี อายุระหว่าง 18-22 ปี (จานวน 20 คน) ที่กาลัง
ศึกษาอยู่คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขต
อุดรธานี จานวน 1 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่ได้รับการฝึกโปรแกรมจินตภาพร่วมกับดนตรี
บรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย จานวน 20 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. แบบทดสอบความวิ ต กกั ง วลตามสถานการณ์ (Revised Competition Sport
Anxiety Inventory-2: (CSAI-2R) ซึ่งได้แปลเป็นฉบับภาษาไทย โดยพิชิต เมืองนาโพธิ์ (2543, หน้า
3) กล่าวว่าเป็นการวัดแบบเฉพาะเจาะจง และยังสามารถวัดระดับความวิตกกังวลแต่ล ะประเภท
รวมทั้งความเชื่อมั่นในตนเองตามสถานการณ์ได้ โดยวัดทั้งความวิตกกังวลทางความคิด (Cognitive
Anxiety) แ บ บ ท ด ส อ บ ค ว า ม วิ ต ก กั ง ว ล ต า ม ส ถ า น ก า ร ณ์ มี ค า ถ า ม ทั้ ง ห ม ด 17 ข้ อ
ผู้วิจัยเลือกใช้เฉพาะด้านความวิตกกังวลทางความคิด ได้แก่ 2, 5, 8, 11, 14 รวม จานวน 5 ข้อ
การคิดคะแนน ให้เอาคะแนนของแต่ล ะข้อแต่ล ะด้านบวกกัน และนาผลที่ได้มาหารด้ว ย
จานวนข้อทั้งหมดในแต่ละด้าน และคูณด้วย 10 จะได้ผลออกมาเป็นคะแนนของความเชื่อมั่นจะอยู่ที่
10 – 40 ซึ่งเกณฑ์ของคะแนน ดังนี้
(คะแนนที่ได้แต่ละข้อบวกกัน) x 10
จานวนข้อทั้งหมด
38

ระดับความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของซีเอสเอไอทูอาร์ (CSAI-2R) แบ่งรายละเอียดดังนี้


คะแนน 10.00 - 19.99 ระดับความวิตกกังวลต่า
คะแนน 20.00 - 30.99 ระดับความวิตกกังวลปานกลาง
คะแนน 31.00 - 40.00 ระดับความวิตกกังวลสูง
2. ซีดีโปรแกรมการจินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย ซึ่งการศึกษานี้
ผู้วิจัยได้คัดเลือกบทเพลงในอัตราที่ใกล้กับอัตราการเต้นของหัวใจมนุษย์ประมาณ 60-80 ครั้งต่อนาที
(Cassidy, 2009; Lemmer, 2008; Lubetzky et al., 2009) ซึ่งเป็นดนตรีที่ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป
โดยมีความยาว 12 นาที โดยผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการกีฬาและผู้เชี่ยวชาญ
ด้านดนตรี
3. ลูกดอก (Assassin)
3.1 หัวลูกดอก (Point) มี 2 ประเภท คือ เข็มเหล็ก หัวเข็ม (Steel Tip) นี้จะเป็นที่นิยม
ทางแถบยุโรป และเข็มพลาสติก (Soft Tip) ซึ่งลูกดอก (Soft Tip) ก็จะเอาไว้เล่นกับพวกกระดาน
อิเลคโทรนิคส์ ซึ่งในเมืองไทยนิยมเล่นน้อยมาก แต่จะเป็นที่นิยมทางเอเชีย เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น
3.2 ตัวถังลูกดอก (Barrel) เป็นส่วนสาคัญของลูกดอกเลยว่าก็ได้ เพราะเป็นตัวแปรที่จะ
ทาให้เราปาได้ดี ซึ่งจะต้องขึ้น อยู่ กับรูปทรง น้าหนัก ตาแหน่งสมดุล และพื้นผิวที่จะต้องเลื อ กให้
เหมาะสมกับความถนัดของตัวผู้เล่นด้วย ส่วนใหญ่ลูกดอกที่นามาใช้จะมีน้าหนักประมาณ 22-24 กรัม
วั ส ดุ ที่ น ามาท า ตั ว ถั ง ลู ก ดอก (Barrel) ปกติ จ ะมี 3 ชนิ ด ได้ แ ก่ ทองเหลื อ ง (Brass) เงิ น โลหะ
(Nikle/Silver) และโลหะทังสเตน (Tungsten/Nicel Alloys)
3.3 ก้านลูกดอก (Shaft/Stem) มีอยู่ 2 ประเภทหลัก คือก้านไนล่อน จะเป็นพลาสติก
ประเภทหนึ่ ง แต่ มี ค วามเหนี ย วนิ ด หน่ อ ย จะหั ก ง่ า ยถ้ า มี ก ารกระทบแรง ๆ และก้ า นอลู มิ เ นี ย ม
มีลักษณะก้านที่แข็งแรงขนาดสั้นและยาวแตกต่างกันออกไป ทาให้ความยาวและน้าหนักของก้าน
มีความแตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อลูกดอกและการเลือกชนิดของใบ เพื่อให้ลุกดอกพุ่งไปได้อย่างสมดุล
3.4 ใบลูกดอก (Flight) ส่วนใหญ่ผลิตมาจากโพลีเอสเตอร์ บางชนิดก็ทาจาก โพลิเมอร์
หรือขนนกจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไร ขนาด และความกว้างของใบจะมีส่วนช่วยในการทรงตัวของ
ลูกดอกเวลาพุ่งแหวกในอากาศขณะที่ลูกดอกจะพุ่งไปยังเป้าของกระดานที่เราเล็งเอาไว้ แต่ถ้าถอดใบ
ออกจากก้านจะเห็นความแตกต่างของการพุงไปยังกระดานปาเป้าอย่างเห็นได้ชัดคือไม่มีแรงต้าน
ลูกดอกจะพุ่งได้ไม่ไกล
4. แบบจาลองสถานการณ์โดยการแข่งขันปาลูกดอก ชาญวิทย์ อินทรักษ์ (2559, หน้า 41 )
แบบจาลองสถานการณ์การแข่งขันโดยการแข่งขันปาลูกดอกเป็นการสร้างสถานการณ์การแข่งขันกีฬา
โดยเป็นการจาลองการแข่งขันการปาลูกดอกโดยสร้างสถานการณ์การแข่งขันกีฬาด้วยการการจาลอง
สถานการณ์ การแข่งขันโดยการปาลูกดอกกลุ่มตัวอย่างมี ทั้งหมด 3 คน ทาการจับฉลากแบ่งเป็น
รายบุคคลโดยเลขที่ใช้ในการจับฉลาก มีตั้งแต่หมายเลข 1-3 เมื่อแต่ละบุคคลได้หมายเลขประจาตัว
ของตนเองแล้วผู้วิจัยทาการอธิบายรายละเอียดของสถานการณ์การแข่งขันกีฬาโดยเป็นการจาลอง
การแข่งขันการปาลูกดอกให้ทาการปาลูกดอกทั้งหมดคนละ 4 ครั้ง โดยความสูงของเป้า (Dartboard)
39

ให้วัดจากจุดศูนย์กลางของเป้า (Bull's Eye) มายังพื้น 5 ฟุต 8 นิ้ว หรือ 173 ซม. ส่วนระยะห่างจาก
เส้นที่ใช้ปาลูกดอก (Oche, Throw Line) เพื่อสร้างความง่ายและความยากให้กับนักกีฬา
ผู้วิจัยจึงแบ่งเป็นสองระยะทาการ ระยะแรกจุดปาห่างจากเป้าหมาย 2 เมตร และระยะที่สอง
ปาห่ า งจากเป้ า หมาย 4 เมตร แต่ ล ะระยะท าการปาลู ก ดอกอย่ า งละ 2 ครั้ ง โดยมี ค ะแนนเต็ ม
40 คะแนน โดยลาดับในการปาลูกดอกนั้น ให้ปาทีละหมายเลข ไล่ตั้งแต่หมายเลข 1 ถึงหมายเลข 3
จนครบทั้งหมด 3 คน แล้วนาคะแนนไปบันทึก โดยในการจาลองสถานการณ์การแข่งขันนี้ กาชับให้
กลุ่มตัวอย่างทาสุดความสามารถของตนเอง โดยมีการให้รางวัลในการแข่งขันด้วย แบ่งรางวัลเป็น 3
ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกรางวัลใหญ่ (ลาดับที่ 1) รางวัลทั่วไป (ลาดับที่ 2) รางวัลชมเชย (ลาดับที่ 3)
5. ปากกา จานวน 1 โหล
6. แลคซีน 2 ม้วน
7. เป้าปาลูกดอก
8. ลาโพงบลูทูธ (JBL)
9. ใบบันทึกข้อมูลส่วนตัวของนักกีฬา
10. ใบบันทึกคะแนนการปาลูกดอก
11. โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสาเร็จรูป
12. ชุดปฐมพยาบาล
13. ตลับเมตร

วิธีดาเนินการทดลอง
1. จัดหาผู้ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลพร้อมทั้งอธิบายและวิธีการต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลให้เข้าใจในรายละเอียดของการทาการวิจัย ตลอดจนวิธีการปฏิบัติ และการบันทึกผลของการ
วิจัยให้เข้าใจ และถูกต้องตรงกัน
2. ทาการนัดหมายกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับวันเวลาสถานที่ใช้ในการทาการวิจัย
3. เตรียมอุปกรณ์และสถานที่ที่ใช้ในการวิจัย
4. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัย และขอความร่วมมือจากกลุ่มตัวอย่างในการทาการวิจัย
5. ทาการทดสอบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ และความแม่นยาในการปาลูกดอก ก่อน
การฝึก (Pre-Test) กลุ่มตัวอย่าง 20 คน
6. หลังจากฝึก ครบ 8 สัปดาห์ ทาการทดสอบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ และความ
แม่นยาในการปาลูกดอกหลังการฝึก (Post-Test) ของกลุ่มทดลอง
7. นาข้อมูลที่ได้จากการทดสอบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ และความแม่นยาในการปา
ลูกดอกทั้งก่อน และหลังการทดลองไปวิเคราะห์สถิติ
40

การวิเคราะห์ข้อมูล
ผลของการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงที่มีผลต่อความวิตกกังวลทางความคิดและความ
แม่นยาในการปาลูกดอกของนักกีฬา แยกเป็น 2 ส่วน
1. วั ด ความวิ ต กกั ง วลตามสถานการณ์ ได้ แ ก่ แบบสอบถามความวิ ต กกั ง วลตาม
สถานการณ์ ฉ บั บ ปรั บ ปรุ ง (Revised Competition Sport Anxiety Inteventory-2: (CSAI-2R)
ซึ่ ง ได้ แ ปลเป็ น ฉบั บ ภาษาไทยโดย พิ ชิ ต เมื อ งนาโพธิ์ (2543, หน้ า 3) สถิ ติ ที่ ใ ช้ ส ถิ ติ พ าราเมตริก
(Parametric Statistics)
1.1 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลทางความคิดในนักกีฬาก่อนการ
ฝึก (Pre-Test) และหลังการฝึก (Post-Test) ภายในกลุ่ม ทดลอง โดยใช้สถิติทดสอบที แบบที่เป็น
อิสระต่อกัน (Paired Sample T-Test)
2. วัดความแมนยาในการปาลูกดอก ได้แก่ แบบทดสอบความแม่นยาในการปาลูกดอก
สถิติที่ใช้สถิติพาราเมตริก (Parametric Statistics)
2.1 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความแม่นยาในการปาลูกดอกของนักกีฬาก่อน
การฝึก (Pre-Test) และหลังการฝึก (Post-Test) ภายในกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติทดสอบที แบบที่เป็น
อิสระต่อกัน (Paired Sample T-Test)
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

สัญลักษณ์ในการวิเคราะห์และแปลผล
การวิเคราะห์ข้อมูล และแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ ข้อมูลผู้วิจัยกาหนด
สัญลักษณ์ และอักษรย่อที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
n แทน กลุ่มตัวอย่าง
x̅ แทน ค่าเฉลี่ย
SD แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
t แทน ค่าสถิติทดสอบที (T-Distribution)
p แทน ค่าความน่าจะเป็นในการทดสอบสมมติฐาน (Probability)
* แทน การมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การนาเสนอการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) เพื่อเปรียบเทียบ
ผลของการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่ อนคลาย ความวิตกกังวลตามสถานการณ์
และความแม่นยาในการปาลูกดอกภายในกลุ่มที่ได้รับการฝึกการจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อ
การผ่ อนคลายกลุ่ มทดลอง กลุ่ มที่ได้รับการฝึ กจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่ อนคลาย
2 ตาราง ดังนี้
ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลทางความคิดภายในกลุ่ม
ทดลอง ก่อนการฝึก และหลังฝึกสัปดาห์ที่ 6
ตารางที่ 2 การเปรี ย บเทียบค่าเฉลี่ ยของคะแนนความแม่นยาในการปาลู กดอกภายใน
กลุ่มทดลอง ก่อนการฝึก และหลังฝึกสัปดาห์ที่ 6
42

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลทางภายในกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึก


และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6

กลุ่มทดลอง
ตัวแปร x̅ SD t p
ความวิตกกังวลทางความคิด
ก่อนฝึก 14.67 2.516
หลังฝึก 13.00 1.732 2.500 .130

ผลการเปรี ย บเทีย บค่าเฉลี่ ยของคะแนนความวิต กกังวลตามสถานการณ์ 3 ตัว แปร คือ


ความวิตกกังวลทางความคิด ความวิตกกังวลทางกาย และความเชื่อมั่นในตนเองภายในกลุ่มทดลอง
พบว่า ภายในกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึก และหลังการฝึกมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลทาง
ความคิด ก่อนการฝึก 14.67 หลังการฝึก 13.00 ไม่แตกต่างกัน (t = 2.500, p = .130)
จึงสรุปได้ว่า ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลทางความคิดภายในกลุ่ม
ทดลองไม่แตกต่างกัน
43

ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความแม่นยาในการปาลูกดอกภายในกลุ่มทดลอง
ก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6

กลุ่มทดลอง
เปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง
ตัวแปร x̅ SD t P
ความแม่นยา
ก่อนฝึก 16.67 3.215
หลังฝึก 23.00 7.211 -1.872 .202

ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความแม่นยาในการปาลูกดอกภายในกลุ่มทดลอง
ก่อนการฝึกและหลังการฝึก พบว่า ความแม่นยาในการปาลูกดอกภายในกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึก
เท่ากับ 16.67 หลังการฝึก เท่ากับ 23.00 ไม่แตกต่างกัน (t = -1.872, p = .202)
จึงสรุปได้ว่า ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความแม่นยาในการปาลูกดอกภายใน
กลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน
44
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

สรุปผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ สรุปสาระสาคัญของผลการวิจัยตามสมมติฐานการ
วิจัยครั้งต่อไปนี้
1. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลทางความคิด กลุ่มที่ได้รับการฝึก
โปรแกรมจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลทาง
ความคิดก่อนการฝึกเท่ากับ 14.67 และ 13.00 ตามลาดับและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.516
และ 1.732 ตามลาดับ ผลการเปรียบเทียบ ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ จึงสรุปได้ว่าหลังการฝึก
6 สัปดาห์ มีความวิตกกังวลทางความคิดไม่แตกต่างกัน
2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลทางความคิดค่าเฉลี่ยก่อนการฝึก
เท่ากับ 14.67 และ 13.00 ตามล าดับ และส่ ว นเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่า กั บ 2.516 และ 1.732
ตามล าดั บ หลั ง ฝึ ก สั ป ดาห์ ที่ 6 พบว่ า ค่ า t= 2.500 p= .130 ความวิ ต กกั ง วลทางความคิ ด
ไม่แตกต่างกัน
3. ผลการเปรี ย บเที ย บค่ า เฉลี่ ย ของคะแนนความแม่ น ย าในการปาลู ก ดอกก่ อ นการฝึ ก
และหลังการฝึกภายในกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย
มีค่าเฉลี่ย (Mean) ของคะแนนความแม่นยาในการปาลูกดอกก่อนการฝึก และหลังการฝึกเท่ากับ
16.67 และ 23.00 ตามลาดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 3.215 และ 7.211 ตามลาดับ
เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความแม่นยาในการปาลูกดอกหลังการฝึกกิจกรรมของ
กลุ่มทดลอง พบว่าค่า t = -1.872 p = .202
สรุปได้ว่า กลุ่มที่ได้รับการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายมีคะแนนความ
แม่นยาไม่แตกต่างกัน

อภิปรายผล
จากการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถอภิปรายผล ได้ดังนี้
1. กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฝึกการจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายหลังการท
ดลองมีความวิตกกังวลทางความคิด ความวิตกกังวลทางกายลดลง และความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น
ซึ่งมีทั้งเป็นไปตามสมมติฐานและไม่เป็นไปตามสมมติฐานโดยแยกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
1.1 กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฝึกการจินตภาพร่วมกับดนตรีเพื่อการผ่อนคลายหลั งการ
ทดลองมีความวิตกกังวลทางความคิด ซึ่งเป็นไปตามสมติฐาน เนื่องจากการจินตภาพและดนตรีนั้น
นอกจากจะช่ว ยให้ นั กกีฬารู้ สึ กผ่ อนคลายทางร่างกาย และจิตใจแล้ ว ยังส่ งผลต่อความวิตกกังวล
ความคิดด้วย ดังที่ Timothy (2002, p. 3) กล่าวถึงการจินตภาพเพื่อการผ่อนคลาย (Visual Imagery
50

Relaxation) ว่ า มี ป ระโยชน์ และมี ค วามส าคั ญ ในการจั ด การกั บ ความวิ ต กกั ง วลได้ เ ป็ น อย่ า งดี
การผ่อนคลายจะช่วยให้มีสมาธิในทุก ๆ สถานการณ์ช่วยให้เราทางานได้ดียิ่ งขึ้นสามารถฝึกได้ทั้ง
ที่ทางาน ที่บ้าน หรือระหว่างการเดินทางซึ่งการฝึกสามารถทาได้โดยง่ายมีรูปแบบคล้าย ๆ กับการฝึก
สมาธิ สามารถฝึกได้ทุกที่แต่ต้องเป็นสถานที่สงบเงียบขณะที่ Garry Kuan (2014) กล่าวถึงดนตรีว่า
ดนตรีสามารถช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย จากเหตุผลดังกล่าวจึงส่งผลมีความวิตกกังวลความคิดที่
ลดลง ซึ่งส่งผลต่อความสามารถทางกีฬาที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และจากการศึกษาที่ผ่านมาของ
Russel (1992) พบว่า กลุ่มที่ได้รั บการฝึ กจินตภาพประกอบเสี ยงดนตรีมีความวิตกกังวล (State
Anxiety) ลดลงต่ากว่ากลุ่มที่ได้รับการจิ นตภาพเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ เนื่องมาจากความวิตกกังวลนั้น
มีความซับซ้อนพอสมควร ซึ่งอยู่ในส่วนของจิตใจ ดังนั้น สรุปได้ว่าการจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลง
เพื่ อ การผ่ อ นคลายนั้ น มี ส่ ว นช่ ว ยให้ นัก กี ฬ าลดความวิต กกั ง วลทางความคิ ด ได้ ดี ก ว่า การฝึ กการ
จินตภาพเพียงอย่างเดียว และยังสามารถฝึกได้เกือบทุกที่แต่ต้องเป็นที่สงบไม่มีอะไรมารบกวน
2. กลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกการจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย หลัง
การทดลองมีความแม่นยาไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน เนื่องจากกกลุ่มทดลองที่ได้รับ
การ ฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย ก่อนฝึกคะแนนความแม่นยา 16.67 ในขณะ
ที่หลังฝึก 23.00 หลังการฝึกจะเกิดความรู้สึกที่ผ่อนคลายขึ้นแล้วนั้น ยังส่งผลต่อความวิตกกังวลที่
ลดลงและในทางตรงกัน ข้ามยั งช่ว ยเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเองที่สู งขึ้นด้วย จึงทาให้มีผลต่อ ความ
แม่นยาในการปาลูกดอก ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ รัชเดช เครือทิวา (2553) พบว่า การจินต
ภาพร่ ว มกั บ ดนตรี บ รรเลงเพื่ อ การผ่ อ นคลายสามารถช่ ว ยเพิ่ ม ความสามารถทางการกี ฬ าโดย
ทาการศึกษาการจินตภาพประกอบเสียงดนตรีมีผลต่อความแม่นยาในการยิงลูกโทษบาสเกตบอล โดย
กลุ่มตัวอย่าง นักบาสเกตบอล 40 คน อายุระหว่าง 15-17 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน กลุ่มที่ 1
ฝึ ก การจิ น ตภาพและการฝึ ก ยิ ง ประตู โ ทษบาสเกตบอล โดยกลุ่ ม ที่ 2 ฝึ ก การจิ น ตภาพประกอบ
เสียงดนตรี และการฝึกยิงประตูโทษบาสเกตบอลเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับฝึกการ
จินตภาพร่วมกับการฟังดนตรี และการฝึกยิงประตูโทษบาสเกตบอลมีค่าเฉลี่ยความแม่นยาในการยิง
ประตูโทษบาสเกตบอลดีกว่ากลุ่มที่ฝึกการจินตภาพ และการฝึกยิงประตูโทษบาสเกตบอลหลังฝึก
6 สัปดาห์ โดยมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการศึกษาของ Robazza & Bortoli (2007) พบว่า
ดนตรีนั้นที่ส่งผลต่อระดับความสามารถของนักกีฬา ดังนั้น เมื่อนักกีฬาเกิดความรู้สึกที่ผ่อนคลายขึ้น
ความวิตกกังวลที่ลดลงส่งผลให้มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้น
การจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย ระยะเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า ช่วยลด
ความวิตกกังวลทางความคิด ความวิตกกังวลทางกาย และช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเอง และเพิ่ม
ความแม่นยาในการปาลูกดอกของนักกีฬา ความวิตกกังวลทางความคิด ความวิตกกังวลทางกายต้องมี
แนวโน้มที่ลดลง และความเชื่อมั่นในตนเองเพิม่ ขึ้นรวมไปถึงความแม่นยาในการปาลูกดอกของนักกีฬา
ต้องเพิ่มขึ้นด้วย
51

ข้อเสนอแนะในนาผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้
โปรแกรมการจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายช่วยลดความวิตกกังวลทาง
ความคิด ความวิตกกังวลทางกาย และช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเอง และเพิ่มความแม่ นยาในการ
ปาลูกดอกของนักกีฬา ความวิตกกังวลทางความคิด ความวิตกกังวลทางกายต้องมีแนวโน้มที่ลดลง
และความเชื่อมั่นในตนเองความแม่นยาต้องเพิ่มขึ้น จึงเป็นอีกแนวทางที่ผู้ฝึกสอนนักกีฬาหรือนักกีฬา
และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนาโปรแกรมการจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายไปใช้ควบคู่
กับการฝึกทักษะที่เกี่ยวกับความแม่นยาได้ซึ่งเป็นการพัฒนาความสามารถเพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี

ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
1. การศึกษาครั้งต่อไปควรเพิ่มกลุ่มตัวอย่างให้มีจานวนมากกว่านี้ เพราะว่าการมีจานวนกลุ่ม
ตัวอย่างน้อยไม่มีความน่าเชื่อถือ
2. ควรมีการฝึกโปรแกรมจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายให้ระยะยาวกว่านี้
อย่างน้อย 12 สัปดาห์ขึ้นไป
3. ในระหว่างฝึกโปรแกรมจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย ควรจะตั้งใจฟัง
ตามระยะที่เวลาที่กาหนด เพราะว่าบางครั้งอาจจะมีการลืมฟังดนตรีบรรเลง
52

บรรณานุกรม

เกศิณี รัตนเปสละ, เกษม ใช้คล่องกิจ , เสกสรรค์ ทองคาบรรจง และฉัตรกมล สิงห์น้อย. (2563).


การประยุกต์ใช้จินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงร่วมกับสุคนธบาบัดที่มีผลต่อการคลายตัว
ของกล้ า มเนื้ อ ต้ น ขา และอั ต ราการเต้ น ของหั ว ใจในนั ก กี ฬ ามหาวิ ท ยาลั ย . วารสาร
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัด
ชลบุรี ประเทศไทย.
ชาญชัย อาจิณสมาจาร. (2550). จิตวิทยาการโค้ชกีฬา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ชาญวิทย์ อินทรักษ์. (2559). ผลของการฝึกการจินตภาพประกอบเสียงดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่ อน
คลายที่มีผลต่อการผ่อนคลายทางด้านร่างกาย ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ และความ
แม่นยาในการปาลูกดอกในนักกีฬาเยาวชน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชานั น ท์ อนุ บั น . (2551). ระดั บ ความวิ ต กกั ง วลของนั ก กี ฬ าเรื อ พายที เ ข้ า ร่ ว มการแข่ ง ขั น กี ฬ า
มหาวิทยาลัยแห่ งประเทศไทยครั้งที่ 35. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ,สาขาวิช า
วิทยาศาสตร์การกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดนัย ลิมปดนัย. (2522). ดนตรีแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: กราฟิคอาร์ด.
ทนงศักดิ์ ลิ่ มเนี่ยว และประภาส มันตะสูตร. (2561). แรงจุงใจในการเป็นนักกีฬากรีฑาตัว แทน
จังหวัดสตูล.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. หลักสูตรรัฐประศาสน์ศาสตรมหา
บัณฑิต สาขารัฐทับประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต.
ธิรตา ภาสะวณิช. (2561). การประเมินสภาวะกายและจิตใจสาหรับการบาดเจ็บทางการกีฬาใน
นั ก กี ฬ าไทย. วารสารวิ ช าการสถาบั น การพละศึ ก ษา. คณะศึ ก ษาศาสตร์ ม หาวิ ท ยาลั ย
รามคาแหง.
นฤมล จันทร์สุข และ พีระพงศ์ บุญศิร. (2561). ผลการฝึกจินตภาพที่มีต่อความแม่นยาของนักกีฬายิง
ธนูจังหวัดลาปาง. วารสารวิชาการสถาบันการพละศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพละ
ศึกษาวิทยาเขตเชียงใหม่.
บุษบา สมใจวงษ์. (2544). ผลการสร้างจินตภาพต่ออาการคลื่นไส้ขย้อนและอาเจียนในผู้ป่วยมะเร็ง
เต้านมที่ได้รับเคมีบาบัด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ,สาขาวิชาการพยาบาล
อายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปริญญา สนิกะวาที. (2542). ผลของการสร้างจินตภาพต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
ที่ ไ ด้ รั บ เคมี บ าบั ด . วิ ท ยานิ พ นธ์ พ ยาบาลศาสตร์ ม หาบั ณ ฑิ ต , สาขาวิ ช าการพยาบาล
อายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฝน แสงสิงแก้ว. (2518). ศิลปะ ดนตรี และวัฒนธรรมอิสาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.
53

พงศ์ ป กรณ์ พิ ชิ ต ฉั ต รธนา. (2549). การดู แ ลสุ ข ภาพและบ าบั ด โรคด้ ว ยสมาธิ แ ละจิ ต ใต้ ส านึ ก .
(เอกสารประกอบค าสอน). กรุ ง เทพฯ: กรมพั ฒ นาการแพทย์ แ ผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก.
พรทิพย์ จุลเหลา. (2548). ผลของการใช้เทคนิค นึกภาพจากจินตนาการและเทคนิคการกาหนดรับรู้
จากใจสู่กายต่อความเครียดของผู้ ป่วยโรควิตกกังวล. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณ ฑิ ต ,
สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิชัย ปรัชญานุสรณ์. (2534). ทฤษฎีดนตรีระดับเกรดหนึ่ง. กรุงเทพฯ: อัลฟ่า มีเดีย.
พิ ชิ ต เมื อ งนาโพธิ์ . (2543). เอกสารประกอบการสอน พล 437 จิ ต วิ ท ยาการกี ฬ า. กรุ ง เทพฯ:
คณะพลศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
พิมฐานิษา รักษาวงศ์จุฑามาศ แหนจอน และศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์. (2563). การพัฒนาโปรแกรม
การเสริมสร้างจินตภาพด้วยภาพโดยเกสตัลท์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารพยาบาล
ทหารบก. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ประเทศไทย.
พิมพา ม่วงศิริธรรม. (2538). ผลของการฟังดนตรีที่มีต่อความเร็วในการออกวิ่งระยะสั้นวิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพลศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พีระพงศ์ บุญศิริ. (2536). จิตวิทยาการกีฬา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
รัชเดช เครือทิวา. (2553). ผลการฟังดนตรีควบคู่กับการฝึกจินตภาพที่มีต่อความแม่นยาในการยิง.
ประตูโทษบาสเกตบอล. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต , สาขาวิซาพลศึกษา,บัณฑิต
วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เรณู โกศินานนท์. (2522). ดนตรี. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
ลักขณา สริวัฒน์. (2544). จิตวิทยาในชีวิตประจาวัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วรพันธ์ เค้าเหลือง. (2557). ผลของการจินตภาพที่มีต่อการฝึกทักษะอย่างง่ายและทักษะอย่างยาก
ในกีฬาวินด์เซิร์ฟ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬ , 14(1), 259-268.
วราวุธ สุมาวงศ์. (2525). ดนตรีกับผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาล, 14(6) 90-100.
วลุ ลี โพธิรั งสิ ย ากร. (2550). ความเครียดวิธีผ่อนคลายและความคิดเห็นของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 3
มหาวิทยาลัยนเรศวรต่อการจัดมุมสบายคลายเครียดของห้ องสมุด. พุทธชินราชเวชสาร,
24(3), 306-316.
สมบัติ กาญจนกิจ และสมหญิง จันทรุไทย. (2542). จิตวิทยาการกีฬาแนวคิดทฤษฎีสู่ การปฏิบัติ.
กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริมา วงศ์ฟู. (2556). ผลของดนตรีบาบัดต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มานอนรอรับการผ่าตัดใน
ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. ม.ป.ท.
สืบสาย บุญวีรบุตร. (2541). จิตวิทยาการกีฬา. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์.
สุกรี เจริญสุข. (2532). จะฟังดนตรีอย่างไรให้ไพเราะ. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
54

สุชาติ ไข่มุสิก. (2543). ความแตกต่างของระบบประสาทออโตโนมิกทีควบคุมการทางานของหัวใจใน


นักกีฬาชายที่ฝึกแบบทนทานและฝึกแบบใช้แรงต้าน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์.มหาบัณฑิต ,
สาขาวิชาเวชศาสตร์การกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุปราณี ขวัญบุญจันทร์. (2541). จิตวิทยาการกีฬา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
อนรรฆ จรัณยานนท์. (2537). เคาเตอร์พอยท์. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
อาพรรณชนิต ศิริแพทย์. (2550). การพัฒนาแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย.ดุษฎีนิพนธ์
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกาลังกายและการกีฬา,บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยบูรพา.
อานนท์ พุ่มขุน. (2548). ผลของการฝึกจินตภาพก่อนและหลังการฝึกเตะโทษ ณ จุดลูกโทษที่มีต่อ
ความแม่ น ยาในการเตะโทษ ณ จุ ด โทษของกี ฬ าฟุ ต บอล. วิ ท ยานิ พ นธ์ วิ ท ยาศาสตร
มหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา , บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อินทิรา ปัทมินทร. (2542). บทความฟื้นฟูวิชาการการใช้จินตนาการในการคลายเครียด. วารสาร
สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 7(2), 191.
อุบลรัตน์ ดีพร้อม. (2546). การสร้างจินตภาพ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 11(2), 87-95.
Alvin, J. (1966). Music therapy. London: John Baker.
Ardiyanto, M., A., Hidayatullah, M., F., & Sabarini, S., S. ( 2 0 2 1 ) . The Effect of Imagery
Training and Concentration on Forehand Serve Accuracy of the Junior Table
Tennis Athletes. Page: 500-509.
Buckwalter, J. A., Kuettner, K. E., & Thonar, E. J. M. (1985). Agerelated changes in
articular cartilage proteoglycans: Electron micrographic studies.J. Orthop. Res.,
3, 251-257.
Buckwalter, K., Hartsock, J., & Gaffney, J. (1985). Music therapy. In G. Bulechek andJ.
McCloskey (Eds.), Nursing interventions Treatments for nursingdiagnoses.
Philadelphia: Saunders.
Callow, N., & Hardy, L. (2005). A critical analysis of applied imagery research. In D.
Hackfort, J. L.Duda and R. Lidor (Eds.), Handbook of research in applied sport
and exercise psychology: International perspectives (p. 21-42). WV, USA: Fitness
Information Technology.
Cassidy, J. W. (2009). The effect of decibel level of music stimuli and gender on head
circumference and physiological responses of premature infants in the NICU.
Journal of Music Therapy, 46(3), 180-190.
55

Cherappurath, N., Elayaraja, M., Kabeer, D., A., Anjum, A., Vogazianos, P., & Antoniades,
A. ( 2 0 2 0 ) . PETTLEP imagery and tennis service performance: an applied
investigation. Journal of Imagery Research in Sport and Physical Activity, 15(1),
3-7.
Cook, J. D. (1981). The therapeutic use of music: A literature reviews. Nursing Forum, 3,
252-266.
Cox, R. H. (1985). Sport psychology: Concepts and application. Iowa: Wm. C. Brown.
Cox, R. H., Martens, M. P., & Russell, W. D. (2003). Measuring anxiety in athletics: The
revised competitive state anxiety inventory-2. Journal of Sport and Exercise
Psychology, 25, 519-533.
Craft, L. L., Magyar, T. M., Becker, B. J., & Feltz, D. L. (2003). The relationship between
the competitive state anxiety inventory-2 and sport performance: A meta-
analysis. Journal of Sport and Exercise Psychology, 25(1), 44-65.
Feltz, D. L., & Landers, D. M. (1983). The effects of mental practice on motor skills,
learning and performance: a meta-analysis. Journal of Sport Psychology, 5, 25-
57.
Fortes, L. D., S., Almeida, S., S., Nascimento-Júnior, J., R., A., Fiorese, L., Lima-Júnior,
D., & Ferreira, M., E., C. (2019). Effect of motor imagery training on tennis
service performance in young tennis athletes. Revista de Psicología del
Deporte/Journal of Sport Psychology, 28(1). p. 157–168.
Garry, K. (2014). Music, imagery training, & sports performance. Doctoral dissertation,
College of Sport and Exercise Science, Victoria University.
Garry, K., Tony, M., & Peter, T. (2017). Effects of music on arousal during
imagery in elite shooters: A pilot study, 12(4): e0175022.
https://doi.org/10.1371/journal.pone.0175022
Garry, K., Tony, M., Yee, C., K, & Peter, C., Terry. (2018). Effects of Relaxing and
Arousing Music during Imagery Training on Dart-Throwing Performance,
Physiological Arousal Indices, and Competitive State Anxiety. Retrieved from.
https://doi.org/10.3389/fpsyg.2018.00014
Gould, D., Damarjian, N., & Greenleaf, C. (2002). Imagery training for peak performance.
In J. Van Raalte and B. Brewer (Eds.), Exploring sport and exercise psychology
(2" ed., p. 49-74). Washington, DC: American Psychological Association.
56

Hadi, M., S., Doewes, A., & Kunta, S. (2019). Comparison of Imagery Training With Self
Talk on the Results of the Accuracy Landing in Paragliding Sports. International
Journal of Multicultural and Multireligious Understanding. Pages: 991-995.
Haight, C., Moritz, S., & Walch, T. (2020). Time of imagery’s effect on performance and
self-efficacy in college baseball players. Journal of Imagery Research in Sport
and Physical Activity, 15(1), 3-7
Hale, B. D. (1982). The effects of internal and external imagery on muscular and ocular
concomitants. Journal of Sport Psychology, 4, 379-387.
Handegard, L. A., Joyner, A. B., Burke, K. L., & Reimann, B. (2006). Relaxation and guided
imagery in the sport rehabilitation context. Journal of Excellence, 11, 46-164.
Harris, D. V., & Harris, B. L. (1984). The athlete's guide to sports psychology: Mental skills
for physical people. Champaign, IL: Leisure.
Jones, M. V. (2003). Controlling emotions in sport. The Sport Psychologist, 17, 471-486.
Jowdy, D. P., Murphy, S. M., & Durtschi, S. (1989). An assessment of the use of imagery
by elite athletes: Athlete, coach, and psychologist perspectives. In Unpublished
report to the United States Olympic Committee. Colorado Springs. n.p.
Kim, J., Singer, R. N., & Tennant, L. K. (1998). Visual, auditory, and kinesthetic imagery
on motor learning. Journal of Human Movement Studies, 5, 187-210.
Kwekkeboom, K. L., Kneip, J., & Pearson, L. (2003). A pilot study to predict success with
guided imagery for cancer pain. Pain Management Nursing, 4, 112-123.
Lang, P. J. (1979). A bio-informational theory of emotional imagery. Psychophysiology,
16, 495-512.
Lazarus, R. S. (1993). Coping theory and research: Past, present, and future.
Psychosomatic Medicine, 55, 234-247.
Lemmer, B. (2008). Effect of music composed by Mozart and Ligeti on blood pressure
and heart rate circadian rhythms in normotensive and hypertensive rats.
Chronobiology International, 25(6), 971-986.
Lubetzky, R., Mimouni, F. B., Dollberg, S., Reifen, R., Ashbel, G., & Mandel, D. (2009).
Effect of music by Mozart on energy expenditure in growing preterm infants.
American Academy of Pediatrics, 125(1), 24-28.
Martens, R. (1977). Sport competition anxiety test. Champaign, IL: Human Kinetics.
McClelland, D. C. (1979). Inhibited power motivation and high blood pressure in men.
Journal of Abnormal Psychology, 88, 182-190.
57

Morris, T., Spittle, M., & Watt, A. P. (2005). Technical aids to imagery. In Imagery in sport
(p. 237-266). Champaign, IL: Human Kinetics.
Mowrer, O. H. (1963). Anxiety and learning in contribution to modern psychology.
New York: University Press.
Paivio, A. (1986). Mental representations: A dual coding approach. New York: Oxford
University Press.
Parriott, S. (1969). Music as therapy, American. Journal of Nursing, 69, 1723.
Robazza, C., & Bortoli, L. (2007). Perceived impact of anger and anxiety on Sporting
Performance in rugby players. Psychology of Sport and Exercise, 8, 875-896.
Slavit, D. (2002). Expanding classroom discussion with an online medium. Journal of
Technology and Teacher Education, 10(3), 407-503.
Stoudenmire, J. (1975). A comparison of muscle relaxation training and music in the
reduction of tate and trait anxiety. Journal of Clinical Psychology, 31(3), 490-2.
Suinn, R. (1972). Behavioral rehearsal training for ski racers. Behavior Therapy, 3, 519.
Timothy, J. S. (2002). Relaxation visual imagery. Retrieved from.
www.makingchanges.com.au.
Vealey, R. S., & Greenleaf, C. A. (2 0 0 6 ) . Seeing is believing: Understanding and using
imagery in sport. In J. M. Williams (Ed.), Applied sport psychology: Personal
growth to peak performance (5*ed., p. 306-348), Boston: McGraw Hill.
Weinberg, R. S., & Gould, D. (1999). Foundations of sport and exercise psychology (2nd
ed.). Champaign, IL: Human Kinetics.
Weinberg, R. S., & Gould, D. (2003). Foundations of sport and exercise psychology (3rd
ed.). Champaign, IL: Human Kinetics.
Weinberg, R. S., & Richardson, P. A. (1990). Psychology of officiating. Champaign,
IL:Leisure.
Williams, D. A., & Carey, M. (2003). You really need to relax. Retrieved from
www.med.umich.edu/painresearch/patients/Relaxation.pdf.
Woodmen, T., Akehurst, S., Hardy, L., & Beattie, S. (2010). Self-confidence and
performance: A little self-doubt helps. Psychology of Sport and Exercise,11(6),
467-470.
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
แบบทดสอบความวิตกกังวลตามสถานการณ์
57

แบบทดสอบความวิตกกังวลตามสถานการณ์
(Revised Competitive Sport Anxiety Inventory-2 (CSAI-2R)

1. รหัสประจาตัว………………………...................
2. วัน/เดือน/ปีเกิด…………/……………../..............
3. ชนิดกีฬา……………………………………..……
4. เพศ ( ) ชาย ( ) หญิงอายุ..........ปี
5. ส่วนสูง................... เซนติเมตร น้าหนัก................... กิโลกรัม
6. ระดับที่แข่งขันสูงสุด (เลือกคาตอบที่เป็นการแข่งขันในระดับสูงสุดของท่านเพียงคาตอบ
เดียวเท่านั้น)
( ) กีฬาโอลิมปิก ( ) กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ( ) กีฬาซีเกมส์
( ) กีฬาแห่งชาติ ( ) การแข่งขันชิงแชมป์โลก ( ) ชิงแชมป์ประเทศไทย
( ) กีฬานักเรียน ( ) กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ( ) กีฬามหาวิทยาลัย
( ) กีฬาจังหวัด ( ) อื่น ๆ………………………………………………….
ความสาเร็จสูงสุดในการเล่นกีฬา…………………………………………………………...
58

แบบทดสอบความวิตกกังวลตามสถานการณ์

ข้อ ความรู้สึกในขณะนี้ ระดับของความรู้สึก


ไม่เลย เป็นบ้าง ปานกลาง มาก
1 ข้าพเจ้ารู้สึกหวาดผวาว้าวุ่น
2 ข้าพเจ้าพะวงว่าจะทาได้ไม่ดีเท่าที่ควรใน
การแข่งขัน
3 ข้าพเจ้ามีความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเอง
4 ข้าพเจ้ารู้สึกว่าร่างกายของข้าพเจ้าตึง
เครียด
5 ข้าพเจ้าพะวงว่าจะแพ้
6 ข้าพเจ้ารู้สึกปั่นป่วนในท้อง
7 ข้าพเจ้ารู้สึกมั่นใจว่าข้าพเจ้าสามารถ
เผชิญหน้ากับความท้าทาย
8 ข้าพเจ้าพะวงว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้
ภายใต้ความตึงเครียด
9 หัวใจของข้าพเจ้ากาลังเต้นเร็วขึ้น
10 ข้าพเจ้ามั่นใจว่าจะเล่นได้ดี
11 ข้าพเจ้าพะวงว่าจะเล่นได้ไม่ดี
12 ข้าพจ้ารู้สึกวูบในท้อง
13 ข้าพเจ้ามั่นใจเพราะได้มองเห็นภาพในใจ
ว่าตนเองประสบผลสาเร็จตามเป้าหมาย
14 ข้าพเจ้าพะวงว่าจะทาให้ผู้อื่นผิดหวัง
เกี่ยวกับการเล่นของข้าพเจ้า
59

15 มือของข้าพเจ้าเปียกชื้น
16 ข้าพเจ้ามั่นใจว่าจะผ่านพ้นความกดดันไป
ได้ด้วยดี
17 ข้าพเจ้ารู้สึกร่างกายอัดตึงเครียด
(Revised Competitive Sport Anxiety Inventory-2 (CSAI-2R)

คาแนะนา : ข้อความต่าง ๆ ข้างล่างนี้เป็นคากล่าวที่นักกีฬาใช้อธิบายความรู้สึกของเขาก่อนการ


แข่งขันโปรดอ่านข้อความแต่ละข้อความและตัดสินใจทาเครื่องหมาย/ ลงในหมายเลขทางขวาที่ตรง
กับความรู้สึกของท่านมากที่สุดเพื่อบ่งชี้ว่าขณะนี้ท่านมีความรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการแข่งขันที่กาลังจะ
มาถึงคาตอบจะไม่มีข้อถูกผิดอย่าใช้เวลานานมากเกินไปในแต่ละข้อความให้เลือกคาตอบซึ่งสามารถ
อธิบายความรู้สึกของท่านในขณะนี้
ความวิตกกังวลแต่ละประเภท รวมทั้งความเชื่อมั่นในตนเองตามสถานการณ์ได้โดยวัดทั้ง
ความวิตกกังวลทางความคิด (Cognitive Anxiety) ความวิตกกังวลทางกาย (Somatic Anxiety) และ
ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence) จากการนาคะแนนที่ได้จากการตอบมาวิเคราะห์ทีละส่วน
แบบทดสอบมีคาถามทั้งหมด 17 ข้อ แบ่งเป็นการวัดความวิตกกังวลทางความคิดประกอบด้วยข้อ 2,
5, 8,11 และ 14 การวั ด ความวิ ต กกั ง วลทางกายประกอบด้ ว ยข้ อ 1, 4, 6, 9, 12, 15 และ 17
และการวัดความเชื่อมั่นในตนเอง ประกอบด้วยข้อ 3, 7, 10, 13 และ 16 คาตอบของแบบทดสอบนี้
จะเป็นการตอบตามความรู้สึกว่า เห็นด้วยกับคาถามหรือไม่คะแนนจะออกมาเป็นระดับตั้งแต่ 1 ถึง 4
ตามหมายเลขที่เลือก การคิดคะแนนให้เอาคะแนนของแต่ละข้อในแต่ละด้านบวกกัน แล้วนาผลที่
ได้มาหารด้วยจานวนข้อทั้งหมดในแต่ละด้าน และคูณด้วย 10 จะได้ผลออกมาเป็นคะแนนของความ
วิตกกังวลในแต่ละด้าน ช่วงของคะแนนจะอยู่ 10 - 40 ซึ่งความหมายของระดับคะแนน คือ คะแนน
10 - 19 ระดับความวิตกกังวลและความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับต่า คะแนน 20-30 ระดับความ
วิตกกังวลและความเชื่อมั่นในตนเองปานกลาง และคะแนน 31 - 40 ระดับความวิตกกังวล และความ
เชื่อมั่นในตนเองสูง
การคิดคะแนน ให้ เอาคะแนนของแต่ล ะข้อแต่ล ะด้านบวกกันและนาผลที่ได้มาหารด้ว ย
จานวนข้อทั้งหมดในแต่ละด้าน และคูณด้วย 10 จะได้ผลออกมาเป็นคะแนนของความเชื่อมั่นจะอยู่ที่
10 – 40 ซึ่งเกณฑ์ของคะแนน ดังนี้

(คะแนนที่ได้แต่ละข้อบวกกัน) x 10
60

จานวนข้อทั้งหมด

ระดับความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของซีเอสเอไอทูอาร์ (CSAI-2R) แบ่งรายละเอียดดังนี้


คะแนน 10.00 - 19.99 ระดับความวิตกกังวลต่า
คะแนน 20.00 - 30.99 ระดับความวิตกกังวลปานกลาง
คะแนน 31.00 - 40.00 ระดับความวิตกกังวลสูง
ภาคผนวก ข
แบบทดสอบความแม่นยาในการปาลูกดอก
61

แบบจาลองสถานการณ์การแข่งขันกีฬา

ทาการจาลองสถานการณ์การปาลูกดอกในนักกีฬาโดยการจาลองสถานการณ์ด้วยการปา
ลูกดอก โดยเป้าปาลูกดอกมี 10 วงกลม โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม., 4 ซม., 6 ซม., 8 ซม., 10
ซม., 12 ซม., 14 ซม., 16 ซม., 18 ซม. และ 20 ซม. ตามลาดับ เกณฑ์การให้คะแนน 0-10 คะแนน
ตามลาดับ ดังรูป

ภาพประกอบจาก Garry Kuan (2014)


62

แบบจาลองสถานการณ์การแข่งขันกีฬา

แบบจาลองสถานการณ์การแข่งขันโดยการแข่งขันปาลูกดอกเป็นการสร้างสถานการณ์การ
แข่งขันกีฬาโดยเป็นการจาลองการแข่งขันการปาลูกดอกโดยสร้างสถานการณ์การแข่งขันกีฬาด้วยการ
การจาลองสถานการณ์การแข่งขันโดยการปาลูกดอกกลุ่ มตัวอย่างมีทั้งหมด 3 คน ทาการจับฉลาก
แบ่งเป็นรายบุคคล โดยเลขที่ใช้ในการจับฉลากมีตั้งแต่หมายเลข 1-3 เมื่อแต่ละบุคคลได้หมายเลข
ประจาตัวของตนเองแล้ว ผู้วิจัยทาการอธิบายรายละเอียดของสถานการณ์การแข่งขัน กีฬาโดยเป็น
การจาลองการแข่งขันการปาลูกดอกให้ทาการปาลูกดอกทั้งหมดคนละ 4 ครั้ง โดยความสูงของเป้า
(Dartboard) ให้วัดจากจุดศูนย์กลางของเป้า (Bull's Eye) มายังพื้น 5 ฟุต 8 นิ้ว หรือ 173 ซม. ส่วน
ระยะห่ างจากเส้ น ที่ ใช้ป าลู ก ดอก (Oche, Throw Line) เพื่อสร้างความง่า ยและความยากให้ กั บ
นักกีฬาผู้วิจัยจึงแบ่งเป็นสองระยะทาการ ระยะแรกจุดปาห่างจากเป้าหมาย 2 เมตร และระยะที่สอง
ปาห่างจากเป้าหมาย 4 เมตร แต่ละระยะทาการปาลูกดอกอย่างละ 2 ครั้ง โดยมีคะแนนเต็ม 40
คะแนน โดยลาดับในการปาลูกดอกนั้น ให้ปาทีละหมายเลข ไล่ตั้งแต่หมายเลข 1 ถึงหมายเลข 3 จน
ครบทั้งหมด 3 คน แล้วนาคะแนนไปบันทึก โดยในการจาลองสถานการณ์การแข่งขันนี้ กาชับให้กลุ่ม
ตัวอย่างทาสุดความสามารถของตนเอง โดยมีการให้รางวัลในการแข่งขันด้วย แบ่งรางวัลเป็น 3 ส่วน
ได้แก่ ส่วนแรกรางวัลใหญ่ (ลาดับที่ 1) รางวัลทั่วไป (ลาดับที่ 2) รางวัลชมเชย (ลาดับที่ 3)
ภาคผนวก ค
โปรแกรมจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย
64

เนื้อหาการจินตภาพเพื่อการผ่อนคลาย

สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ การจินตภาพเพื่อการผ่ อนคลาย การจินตภาพเพื่ อการ


ผ่อนคลายนั้น อยากให้ทุกท่านมุ่งความสนใจอยู่กับลมหายใจเข้าและออก อย่างช้า ๆ เป็นระบบ
จากนั้นค่อย ๆ หลับตาและปฏิบัติตามเสียงที่ได้ยินอยู่นี้ หายใจเข้าและออกช้า ๆ หายใจเข้า และออก
ช้า ๆ รับรู้ถึงอากาศที่เย็นสบายร่างกายเรารู้สึกผ่อนคลายกับทุกสิ่งที่ได้สัมผัส รับรู้ถึงเสียงต่างๆ ได้ยิน
อยู่ในขณะนี้ รู้สึกถึงการเกร็งและยกหัวไหล่ขึ้น จากนั้นค่อย ๆ ผ่อนคลายหัวไหล่ในขณะที่ยังคงหายใจ
เข้าและออกช้า ๆ เรานั่งอยู่ในที่ที่ปลอดภัยผ่อนคลายความกังวล หายใจเข้าและออกช้า ๆ ความเบา
สบายผ่อนคลายเบาสบายจาก หัว หน้าผาก แก้ม คาง และคอหายใจเข้าช้า ๆ และค่อยปล่อยออก
รู้สึกถึงความเบาสบายจากไหล่ แขนทั้งสองข้างของเราผ่อนคลายและยั งคงหายใจเข้าและออกช้า ๆ
รู้สึกถึงความเบาสบายผ่อนคลายจากหลัง ก้น ขาทั้งสองข้าง ความหนัก ความเหน็ด ความเหนื่อยของ
เราถูกส่งผ่านออกไปจากร่างกายของเราทาให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ปล่อยความรู้สึกนั้นไปกับลมหายใจ
หายใจเข้าช้า ๆ และมันทาให้เรารู้สึกสบายผ่อนคลาย เบาสบายเหมือนอยู่บนผิวน้า น้าที่ทาให้รู้สึก
เย็น เย็นกาย เย็นใจ ให้เรานึกถึงน้าที่มาสัมผัสกับร่างกายของเราค่อย ๆ ไหลไป ไหลเรื่อย ๆ น้าที่
ใสเย็นซึ่งมันทาให้เรารู้สึกถึงการผ่อนคลาย มันค่อย ๆ ผ่อนคลาย ค่อย ๆ ผ่อนคลาย ในช่วงนี้ขอให้
ทุกคน หายใจเข้าและออกช้า ๆ นึกถึ งธรรมชาติ ความงดงามของธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทาให้เรา
สดชื่น เหมือนกับ น้ าตกที่เย็ น ชุ่มช่าทาให้ เรารู้สึ กสดชื่นเย็นเบาสบายผ่อนคลายเบาสบายจากหัว
หน้าผาก แก้ม คางและคอหายใจเข้าช้า ๆ และค่อยปล่ อยออก ในช่วงท้ายนี้ขอให้ เรานึกถึ งภาพ
ที่ป ระทับ ใจ ความดีและความสุ ข นึกถึงความส าเร็จ ความภาคภูมิ ใจและความสุ ข ขอให้ ค่อย ๆ
ยิ้มเล็ก ๆ ที่มุมปาก รอยยิ้มที่เกิดจากความภาคภูมิใจรอยยิ้มที่เราอิ่มเอิบ จนอยากจะแบ่งปันความสุข
นั้นให้เพื่อน ๆ ได้รับรู้ ใครอยากแบ่งปันความภาคภูมิใจ ความรู้สึกที่ดี ๆ ของตนเองแล้วนั้น ขอให้
ค่อย ๆ ลืมตาขึ้นได้
ภาคผนวก ง
ภาพประกอบการฝึกโปรแกรมจินตภาพร่วมกกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย
Pre – Test และ Post – Test
66

ภาพประกอบการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายที่มีผลต่อ
ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ และความแม่นยาของในการปาลูกดอกของนักกีฬา
Pre – Test
67

ภาพประกอบระหว่างฝึกโปรแกรมจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย
68

ภาพประกอบระหว่างฝึกโปรแกรมจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลาย
69

ภาพประกอบผลของการฝึกจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายที่มีผลต่อ
ความวิตกกังวลตามสถานการณ์และความแม่นยาของในการปาลูกดอกของนักกีฬา
Post – Test

You might also like