You are on page 1of 1

(Topic ที่ 1)

-------------------------------------------------------
กระบวนการเกิดดาวฤกษ์
กลุ่มก้อนของแก๊สจะรวมตัวกันจากผลของแรงโน้มถ่วงพอมีความหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น
จะทำให้เกิดเป็นเนบิวลา แล้วเมื่อความหนาแน่นแต่ละบริเวณในเนบิวลาเพิ่มขึ้นจะทำให้อุณหภูมิและความดันเพิ่มขึ้น
ตาม
จนเกิดการยุบตัวลงกลายเป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิด แล้วเมื่อภายในบริเวณใจกลางของดาวฤกษ์ก่อนเกิด มีความดันและ
อุณหภูมิสูงเพียงพอ
จนสามารถเกิดปฏิกิริยาฟิวชันได้ ดาวฤกษ์ก่อนเกิดก็จะกลายเป็น ดาวฤกษ์ในลำดับหลัก และจะมีสมดุลอุทกสถิตคอย
ทำให้ดาวฤกษ์สว่างคงที่ตลอดอายุขัย
-------------------------------------------------------
(Topic ที่ 2)
แหล่งกำเนิดพลังงานของดาวฤกษ์
ใจกลางดาวฤกษ์ทุกดวงจะมี 2 แรง คือ แรงโน้มถ่วง และ แรงระเบิดนิวเคลียร์ฟิวชัน ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะมี
แรงโน้มถ่วงมาก แล้วเมื่อแรงโน้มถ่วงมีมากจนเอาชนะแรงผลักทางไฟฟ้า
ระหว่างนิวเคลียสได้ นิวเคลียสของไฮโดรเจนก็จะถูกบีบอัดจนกลายเป็นฮีเลียมแต่ฮีเลียมที่ได้มีมวลน้อยกว่ามวล
ไฮโดรเจนแรกเริ่ม
โดยมวลที่หายไปจะเปลี่ยนเป็นพลังงาน ตามสมการ E=mc^2 ซึ่งพลังงานนี้คือแหล่งพลังงานหลักของดาวฤกษ์ทุกดวง
เราสามารถเปรียบเทียบดาวฤกษ์เป็นเหมือนกับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ที่หลอมรวมธาตุเบาให้กลายเป็นธาตุที่หนักขึ้น
ดังนั้น ในแกนกลางของดาวฤกษ์ทุกดวง จะมีการปะทะกันระหว่างแรงโน้มถ่วงที่คอยบีบอัดทุกอย่าง และ แรงระเบิด
นิวเคลียร์ฟิวชันที่ดันทุกอย่างออกไป เสถียรภาพระหว่างแรงทั้ง 2 นี้เอง
ที่คอยเป็นเชื้อเพลิงให้ดาวฤกษ์มีอายุขัยที่ยืนยาว
-------------------------------------------------------
(Topic ที่ 3)
การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน จะเกิดผ่านตัวกลางในรูปแบบของปฏิกิริยาลูกโซ่ ซึ่งสามารถเกิดได้ 2 วิธี ได้แก่
1. Proton - Proton Chain Reaction เป็นการรวมกันระหว่าง ไฮโดรเจน 6 นิวเคลียส กลายเป็นอนุภาค
แอลฟาหรือนิวเคลียสของฮีเลียมและปลดปล่อยไฮโดรเจน 2 นิวเคลียส มีขั้นตอนดังนี้
H-1 2 อนุภาค รวมกันได้ ดิวเทอเรียม กับ นิวทริโน และ โพซิตรอน ---> ดิวเทอเรียมรวมกับโปรตอนได้ He-
3 และ รังสีแกมมา ---> He-3 2 นิวเคลียส รวมได้ He-4 และโปรตอน 2 อนุภาค
2. CNO cycle มี คาร์บอน ไนโตรเจน และออกซิเจน เป็นตัวกลางที่ให้โปรตอนวิ่งชนจนได้นิวเคลียสของ He มี
ขั้นตอนดังนี้
C-12 รวมกับโปรตอน ได้ N-13 และรังสีแกมมา ---> N-13 สลายได้ C-13 นิวทริโน และโพซิตรอน --->
C-13 รวมกับโปรตอน ได้ N-14 และรังสีแกมมา ---> N-14 รวมกับโปรตอนได้ O-15 และรังสีแกมมา
---> O-15 สลายตัวได้ N-15 นิวทริโน และโพซิตรอน ---> N-15 รวมกับโปรตอน ได้ He-4 และ C-12
และกลับไปเริ่มกระบวนการใหม่อีกครั้งใหม่อีกครั้ง
-------------------------------------------------------

You might also like