You are on page 1of 59

โดย ผศ.ดร.

อภิชาติ อาจนาเสียว
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ความต้องการในการปรับสภาวะอากาศ

 โดยทั่วไปคนไทยที่สวมเครื่องแต่งกายปกติ จะรู้สึกสบายเมื่ออยู่ในอากาศที่มี
 อุณหภูมิ 22-27 ๐C
 ความชื้นสัมพัทธ์ 35-75 %

 จุดควบคุมให้อยู่ในสภาวะสบายของระบบปรับอากาศ
 อุณหภูมิ 25 ๐C
 ความชื้นสัมพัทธ์ 55%
 ความเร็วลม 0.2 เมตร/วินาที
1. ลักษณะการทำงานของเครื่องปรับอากาศ แต่ละชนิด

1.1 ประเภทของระบบปรับอากาศ
แบ่งเป็ นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท ตามลักษณะการทำความเย็น
ดังนี้
1.1.1 แบบใช้สารทำความเย็นทำความเย็นโดยตรง
1.1.2 แบบรวมศูนย์โดยใช้สารตัวกลาง
1.1.1 แบบใช้สารทำความเย็นแลกเปลี่ยนกับอากาศโดยตรง

(drain)
slope = 1 : 100 (liquid line) (suction line)
Low side = 60 -70 psi
High side = 260 -280 psi

1) ส่วนที่อยู่ภายในห้องเรียกว่า แฟนคอยล์ยูนิต มีหน้าที่


ทำความเย็นพัดลมส่งลมเย็น แผ่นกรองอากาศ หน้ากาก
พร้อมเกล็ดกระจายลมเย็น และอุปกรณ์ควบคุม

2) ส่วนที่ติดตั้งภายนอกห้อง เรียกว่า คอนเดนซิ่งยูนิต ประกอบ ด้วยคอมเพรสเซอร์แผงท่อระบายความร้อน


และพัดลมระบายความร้อน เครื่องทั้งสองส่วนเชื่อมต่อกันด้วยท่อสารทำความเย็น
ข้อดี
1. ราคาถูก
2. ติดตั้งง่าย

ข้อเสีย
3. ไม่สวยงาม
4. เสียงดัง
5. ระยะห่างระหว่าง CDU กับ FCU น้อย (ไม่เกิน 15 เมตร)
6. ขนาดทำความเย็นน้อย (< 30 ตัน)
1.1.2 แบบรวมศูนย์โดยใช้สารตัวกลาง
ใช้น้ำในการแลกเปลี่ยนความเย็นกับอากาศในห้องปรับอากาศ ซึ่งมี
ข้อดีดังนี้
- น้ำสามารถสูบจ่ายไปได้ไกลๆโดยไม่มีปัญหา
- รั่วบ้างก็ไม่เป็ นไร
- การควบคุมปริมาณน้ำก็ทำได้ง่าย (ควบคุมอุณหภูมิแม่นยำขึ้น)
- การที่ไม่มีคอมเพรสเซอร์อยู่กับ FCU หรือ AHU เหมือนกับเครื่อง
Packaged Unit ก็ทำให้ไม่มีปัญหาเสียงดังรบกวนจากคอมเพรสเซอร์

อุปกรณ์ลดอุณหภูมิของน้ำเรียกว่า เครื่องทำน้ำเย็น ซึ่งแบ่ง เป็ น 2 ชนิด


ใช้อากาศระบายความร้อน ( < 500 ตัน )
ใช้น้ำระบายความร้อน ( >500 ตัน )
พัดลม
คอนเดนเซอร์
เครื่องทำน้ำเย็น
คอมเพรสเซอร์ Water Chiller
อุปกรณ์ลดความดัน

เครื่องระเหย

ปั๊มน้ำ
วงจรน้ำเย็น
วาล์วควบคุม
อัตราการไหล เครื่องทำน้ำเย็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
AHU
พัดลม
อากาศเย็น 15oC)
ห้องปรับอากาศ 25oC ความชื้นสัมพัทธ์ 50%
หอระบายความร้อน
ปั๊มน้ำ
วงจรน้ำหล่อเย็น
เครื่องทำน้ำเย็น
Water Chiller
คอนเดนเซอร์ คอมเพรสเซอร์
อุปกรณ์ลดความดัน
เครื่องระเหย

ปั๊มน้ำ
วงจรน้ำเย็น
วาล์วควบคุม
อัตราการไหล เครื่องทำน้ำเย็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ
AHU
พัดลม
อากาศเย็น 15oC)
ห้องปรับอากาศ 25oC ความชื้นสัมพัทธ์ 50%
เครื่องทำน้ำเย็น พัดลม มาตรฐานการออกแบบโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. สารทำความเย็นที่เลือกใช้คือ R22
Water Chiller คอนเดนเซอร์ 2. อุณหภูมิของน้ำเย็นที่เข้าและออกเครื่องทำน้ำเย็น 12oC
45 oC และ 7oC ตามลำดับ
45 oC , 236 psig คอมเพรสเซอร์ 3. อุณหภูมิหรือความดันในการระเหย ของสารทำความเย็น
อุปกรณ์ลดความดัน ที่คูลเล่อร์ 2oC หรือประมาณ 63 Psig
4. อุณหภูมิหรือความดันในการควบแน่นของสารทำความ
2 oC , 63 psig เย็น ที่คอนเด็นเซอร์ 45oC หรือประมาณ 236 Psig
เครื่องระเหย 5. อุณหภูมิสารทำความเย็นเหลว 45oC
9 oC 6. อุณหภูมิของไอสารทำความเย็น 9oC

ปั๊มน้ำ
วงจรน้ำเย็น
วาล์วควบคุม
อัตราการไหล เครื่องทำน้ำเย็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
ที่ใช้ในระบบห้องเย็นทั่วไป
ห้องเย็น
37.5oC หอระบายความร้อน
32oC
ปั๊มน้ำ
วงจรน้ำหล่อเย็น
37.5oC 32oC เครื่องทำน้ำเย็น
Water Chiller
คอนเดนเซอร์ คอมเพรสเซอร์
อุปกรณ์ลดความดัน
เครื่องระเหย
7.2oC 12.7oC
ปั๊มน้ำ
วงจรน้ำเย็น
วาล์วควบคุม
อัตราการไหล 7.2oC เครื่องทำน้ำเย็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ
12.7oC
AHU
พัดลม
อากาศเย็น 15oC
ห้องปรับอากาศ 25oC ความชื้นสัมพัทธ์ 50%
12 C

AHU
26 C 24 C Supply air, SA
Return air, RA
35 C ห้องปรับอากาศ
12 C 7C
Air side
Chilled water return, CWR Fresh air, FA

Chilled water supply, CWS


Cooling tower Chilled water pump
EVAP
EVAP
Condenser water pump Chiller
COND
Condenser water supply, CDS Condenser water return, CDR
32 C

37 C

ไดอะแกรมของระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์
หลักการระบบการกดดันไอ

ความดัน

P2,3 3 การควบแน่น 2
การอัด
การขยายตัว
การระเหย
P1,4 1 งานของคอมเพรสเซอร์
4 อัตราการทำความเย็น
สัมประสิทธิ์ของสมรรถนะ, COP h1 - h4 h2 - h 1

COP = (h1-h4)/(h2-h1) h3,4 h1 h2 เอนทัลปี


แผนภาพความดัน-เอนทัลปี
เกณฑ์การอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศ
1. ตรวจสมรรถนะ (COP) ของเครื่องทำน้ำเย็นทุกตัว
ถ้า COP ต่ำ ให้เปลี่ยนเครื่องใหม่หรือใช้เครื่องอื่นที่มี COP สูงกว่า (มีหลายเครื่อง)

1. ทำการติดตั้ง pressure gage


และ thermocouple ที่ท่อน้ำยา
ทั้ง 4 จุด เพื่อหาค่า enthalpy
2. คำนวณหาสัมประสิทธิ์ของ
สมรรถนะ, COP
COP = (h1-h4)/(h2-h1)
ตัวอย่างการ
คำนวณCOP (ด้าน
น้ำยา)
https://
direns.mines-
paristech.fr/
Sites/Thopt/
en/co/applet-
calculateur.html
ตัวอย่างการคำนวณ COP
(ด้านอากาศ)
2. วัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น(ออกจาก Cooling tower) และอุณหภูมิกระเปาะเปี ยกของอากาศ
ถ้าอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น > อุณหภูมิกระเปาะเปี ยกของอากาศเกิน 3 0C
ให้ตรวจความผิดปกติของ Cooling tower

ผิดปกติ ไม่ผิดปกติ

แก้ไข Cooling tower ซื้อ Cooling tower เพิ่ม


T
T

ฤดูฝน W ฤดูหนาว W

ลักษณะอุณหภูมิกระเปาะเปี ยกและอุณหภูมิกระเปาะแห้งในแต่ละฤดู
3. วัดอุณหภูมิของสารทำความเย็นที่ออกจากคอนเดนเซอร์และอุณหภูมิน้ำระบายความร้อน
ด้านออกจากคอนเดนเซอร์
ถ้าอุณหภูมิน้ำด้านออก > Tsat ของสารทำความเย็น 1.5-2 0C
ให้ตรวจทำความสะอาดคอนเดนเซอร์ หรือตรวจสอบ Cooling tower
(เมื่อทำความสะอาดแล้วจะลดอุณหภูมิหรือความดันด้านคอนเดนเซอร์ ให้ต่ำลงได้)
เส้นความดันที่ลดลง

P2,3 3 การควบแน่น 2
6 5
ความดัน

การอัด
การขยายตัว
การระเหย งานของ
P1,4
7 4 อัตราการทำความเย็น 1 คอมเพรสเซอร์
h1 - h4 h2 - h1

h3,4 h1 h2 เอนทัลปี
แผนภาพความดัน-เอนทัลปี
COPเดิม = (h1-h4)/(h2-h1) < COPใหม่ = (h1-h7)/(h5-h1)
การลดความดันด้านคอนเดนเซอร์ ในทางปฏิบัติทำได้ดังนี้
ระบายความร้อนด้วยอากาศ
1. เพิ่มพื้นที่ผิวถ่ายเทความร้อนของคอนเดนเซอร์ให้มากขึ้น
2. เพิ่มปริมาณอากาศระบายความร้อนให้มากขึ้น
3. ตำแหน่งการติดตั้งคอนเดนเซอร์เหมาะสม
4. ทำความสะอาดคอนเดนเซอร์สม่ำเสมอด้วยน้ำ

ระบายความร้อนด้วยน้ำ
5. ทำความสะอาดผิวแลกเปลี่ยนความร้อนของคอนเดนเซอร์
ความหนาของตะกรัน < 0.15 cm
2. ทำความสะอาด Cooling tower สม่ำเสมอ
3. ตำแหน่งการติดตั้ง Cooling tower เหมาะสม มีอากาศถ่ายเทสะดวกและไกล
แหล่งความชื้น
4. ทำความสะอาดหัวฉีดบนสปริงเกอร์ให้สม่ำเสมอ
การลดความดันด้านคอนเดนเซอร์ ในทางปฏิบัติทำได้ดังนี้
ระบายความร้อนด้วยน้ำ (ต่อ)

5. อัตราการไหลของน้ำที่ผ่านคอนเดนเซอร์เหมาะสม ประมาณ 1.5-2.5 m/s

อัตราการระบายความร้อน = Q + WC
mcT = Q + Q/COP

โดยทั่วไปอัตราการไหลของน้ำระบายความร้อน ประมาณ 2.8 – 3.2 GPM/TR


หมายเหตุ : ในการออกแบบให้ T = 5 0C
4. วัดความดันด้านอีวาปอเรเตอร์ของเครื่องทำความเย็น(แล้วเปลี่ยนค่าเป็ นอุณหภูมิ)
และอุณหภูมิต่ำสุดที่ต้องการใช้งาน (เพิ่มความดันด้านอีวาปอเรเตอร์ให้สูงสุด)
ถ้าอุณหภูมิด้านอีวาปอเรเตอร์ < อุณหภูมิต่ำสุดที่ต้องการใช้งาน เกิน 2 0C
ให้เพิ่มความดันด้านอีวาปอเรเตอร์เพื่อให้อุณหภูมิด้านอีวาปอเรเตอร์ < อุณหภูมิ
ต่ำสุดที่ต้องการใช้งานประมาณ 2 0C
เส้นความดันที่ลดลง

P2,3 3 การควบแน่น 6 2
ความดัน

การอัด
การขยายตัว การระเหย 5
7 งานของ
P1,4 คอมเพรสเซอร์
4 อัตราการทำความเย็น 1
h1 - h4 h2 - h1

h3,4 h1 h2 เอนทัลปี
แผนภาพความดัน-เอนทัลปี

COPเดิม = (h1-h4)/(h2-h1) < COPใหม่ = (h5-h7)/(h6-h5)


การเพิ่มความดันด้านอีวาปอเรเตอร์ในสูงขึ้น ในทางปฏิบัติทำได้ดังนี้
1. ทำความสะอาดอีวาปอเรเตอร์
2. เพิ่มความเร็วลมให้กับอีวาปอเรเตอร์
3. ลดการเกาะของน้ำแข็งที่ผิวอีวาปอเรเตอร์
4. เพิ่มขนาดอีวาปอเรเตอร์
5. ปรับตั้งอุณหภูมิใช้งานให้สูงขึ้น

ระบายความร้อนด้วยอากาศ
1. ทำความสะอาดอีวาปอเรเตอร์สม่ำเสมอ
2. ตั้งเทอร์โมสตาดของอากาศในห้องให้สูงขึ้น
3. ระวังไม่ให้น้ำมันคอมเพสเซอร์ตกค้างในอีวาปอเรเตอร์
4. ระวังไม่ให้เกิดน้ำแข็งที่คอยล์เย็นในอีวาปอเรเตอร์
5. ป้ องกันการรั่วไหลของอากาศสู่ภายนอก
ระบายความร้อนด้วยน้ำ
1. ทำความสะอาดอีวาปอเรเตอร์สม่ำเสมอ
2. ปรับตั้งอุณหภูมิน้ำเย็นที่ออกจากเครื่องทำน้ำเย็นให้สูงขึ้น (ปกติตั้ง
ครั้งเดียวตอนติดตั้งที่ 6.6-7.2 0C แล้วใช้ตลอดปี )
- ทุก 1 F จะประหยัดพลังงาน 1.5 – 2%
- โดยทั่วไปสามารถปรับอุณหภูมิน้ำเย็นได้ในช่วง 1.7-2.8 0C
5. เลือกใช้ระบบละลายน้ำแข็งให้เหมาะสม
- การนำความร้อนที่ได้จากความร้อนของระบบทำความเย็นมาใช้ประโยชน์ เช่น
ใช้ละลายน้ำแข็งแทนการใช้ไฟฟ้ า
- ใช้เวลาในการละลายน้ำแข็งให้น้อยที่สุด

6. ลดภาระการทำความเย็นที่ไม่จำเป็ นหรือที่ปรับปรุงได้
- ลดจำนวนหลอดแสงสว่างที่ติดตั้งเกินจำเป็ น
- แยกสวิทซ์แสงสว่างเพื่อให้เปิ ดใช้งานเฉพาะบริเวณพื้นที่ที่ใช้งานเท่านั้น
- ใช้หลอดและอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงเพื่อลดความร้อนภายในห้องเย็น
- ซ่อมแซมม่านพลาสติกหรือประตูที่ชำรุดป้ องกันอากาศร้อนเข้าสู่ห้องเย็น
- ตั้งเวลาการละลายน้ำแข็งให้เหมาะสม
- ตรวจสอบฉนวนห้องเย็นและฉนวนหุ้มต่างๆ ให้อยู่ในสภาพดีเสมอ
ตัวอย่างการออกแบบระบบทำความเย็นด้วยแอมโมเนีย

เงื่อนไขการใช้งานหรือการออกแบบระบบทำความเย็นด้วยแอมโมเนีย
การออกแบบห้องเย็นให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน ต้องทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
1. ชนิดของสินค้าที่จัดเก็บ
• ผัก/ผลไม้ จะต้องระบุด้วยว่าสด แห้งหรือ แปรรูป
• น้ำผลไม้ แบบน้ำผลไม้สดหรือเข้มข้น
• อาหารทะเลสด แห้ง หรือแปรรูป
2. ปริมาณสินค้าที่จัดเก็บต่อวัน
3. อุณหภูมิสินค้าที่นำเข้าห้องเย็นและ
อุณหภูมิสินค้าภายหลังแช่แข็ง
4. อุณหภูมิห้องที่ต้องการใช้งานซึ่งต้อง
เหมาะสมกับอุณหภูมิสินค้าที่จัดเก็บและระยะ
เวลาในการจัดเก็บ
5. ระยะเวลาในการปรับลดอุณหภูมิสินค้า
6. ลักษณะภาชนะที่ใช้บรรจุสินค้า
• เปลือย
• บรรจุภาชนะพลาสติก
• บรรจุกล่องกระดาษ เป็นต้น
7. ลักษณะการใช้งานห้องเย็น
• ใช้เป็นห้องเก็บสินค้าอย่างเดียว
• ใช้เป็นห้องปรับลดอุณหภูมิอย่างเดียว
• ใช้เป็นห้องปรับลดอุณหภูมิและจัดเก็บสินค้าร่วมกัน
• ความถี่ในการเปิ ด-ปิ ดประตูห้องเย็น
8. ลักษณะการจัดเก็บสินค้าในห้องเย็น
9. ขนาดของห้องเย็นและฉนวนที่ใช้
10. อุณหภูมิบรรยากาศ กระเปาะแห้งและกระเปาะเปี ยก
การออกแบบหรือใช้งานห้องเย็นแบบคอยล์เป่ าลมเย็น
ชนิดสินค้า : ชนิดสินค้าที่เก็บในห้องเย็นเดียวกัน ควรเลือกที่มีคุณสมบัติใน
การจัด
เก็บที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน ไม่ควรนำ
สินค้าต่างชนิดมาจัดเก็บรวมกัน
ชนิดของบรรจุภัณฑ์และการจัดวาง
สินค้า : ชนิด ขนาดบรรจุภัณฑ์และวิธีการจัดวาง
สินค้ามีผลต่อขนาดห้อง การเลือกปริมาณลม
และระยะลมเป่ า
ระยะเวลาการปรับลดอุณหภูมิ : ระยะ
เวลาสำหรับการปรับลดอุณหภูมิห้องและ
อุณหภูมิสินค้ามีผลต่อขนาดกำลังทำความเย็น
และปริมาณลมที่ต้องการ
การควบคุมและการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
ความปลอดภัยของระบบทำความเย็นในเบื้องต้นอยู่ที่การออกแบบและการ
ติดตั้งที่ดีซึ่งมีผลให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัยความปลอดภัยในระบบ
ทำความเย็นมีผลโดยตรงต่อคอมเพรสเซอร์ (COMPRESSOR) สามารถป้ องกันไม่ให้
คอมเพรสเซอร์เสียหาย โดยทั่วไปคอมเพรสเซอร์เสียหายมีสาเหตุมาจาก
• น้ำยาลงเครื่อง (LIQUID FLOODED)
• COMPRESSOR OVER HEAT
• COMPRESSOR MOTOR OVER CURRNT
• LOW OIL PRESSURE
• ระบบทำความเย็นไม่ได้
• น้ำมันในคอมเพรสเซอร์หาย
น้ำยาลงเครื่อง
เกิดจากการที่สารทำความเย็นด้านทางดูด (SUCTION) ถูกดูดเข้าคอมเพรสเซอร์โดย
มีสภาพท่กี ลายเป็นไอไม่หมดทำให้เกิดการอัดของเหลวภายในกระบอกสูบ ผลที่จะ
ติดตามมาก็คือชิ้นส่วนของคอมเพรสเซอร์เสียหาย สาเหตุได้แก่
• จ่ายสารทำความเย็นเข้าคอยล์เย็นมากเกินไป
• คอยล์เย็นมีขนาดใหญ่เกินไป (SUPER HEAT ไม่ควรน้อยกว่า 3 DEG. C.)
COMPRESSOR OVER HEAT
ปกติ อุณหภูมิปล่อยสาร (DISCHARGEGAS TEMP.) ไม่ควรเกิน 120 องศา
เซลเซียสโดยการประมาณค่า DISCHARGE GAS TEMP.ขณะใช้งาน คำนวณได้
จากสูตร
DISCHARGE GAS TEMP. = 3 x (CONDENSING
TEMP. - SUCTIONTEMP.)
เช่น ที่ -10 DEG. C ET. AND +40 DEG.C CT.
DISCHARGE GAS TEMP. = 3 x ((+40)
- (-10)) = 3 x 50 = 150 DEG. C.
การป้ องกัน OVER HEAT ของคอมเพรสเซอร์สามารถทำได้โดยติดตั้งระบบ
LIQUID INJECTION
COMPRESSOR OVER CURRENT
เกิดจากการเลือกใช้ขนาดมอเตอร์ที่พอดีกับสภาวะการทำงานของ
คอมเพรสเซอร์ เมื่ออุณหภูมิทำงานสูงขึ้น ทำให้ขนาดมอเตอร์ไม่
เพียงพอ โดยปกติจะเผื่อขนาดมอเตอร์ประมาณ 30% จากขนาดมอเตอร์ใช้
งาน หากเป็น SEMIHERMATIC COMPRESSOR หรือ HERMATIC
COMPRESSOR ให้ใช้คอมเพรสเซอร์รุ่นที่มีขนาด มอเตอร์ใหญ่กว่า (ใน
รุ่นเดียวกัน)
LOW OIL PRESSURE
• อุณหภูมิน้ำมันสูงเกินไป (ปกติไม่ควรเกิน 80 องศาเซลเซียส)
• น้ำมันสกปรก ไส้กรองอุดตัน
• BEARING CONNECTING ROD AND MAIN BUSHING หลวม

น้ำมันหล่อลื่นหาย
ในกรณีนี้หมายถึงน้ำมันหล่อลื่นภายในคอมเพรสเซอร์ไม่พอต่อการใช้งานและ
ต้องเติมเพิ่มบ่อยๆ ซึ่งมีสาเหตุเกิดจาก
• อุณหภูมิน้ำมันสูงเกินไป (เกิน 80 องศาเซลเซียส)
• แหวนลูกสูบ และ/หรือ แหวนกวาดน้ำมันชำรุด
• OIL SEPARATOR สกปรก (เกิดการอุดตันท่อน้ำมันกลับ)
• OIL SEPARATOR มีขนาดเล็ก
• ไม่มีระบบ OIL RECTIFIER โดยเฉพาะ
ในระบบทำความเย็นอุณหภูมิต่ำที่ใช้สารทำความเย็น R-22ได้น้อย ไม่เพียงพอ
ต่อการทำความเย็น อาการนี้มักเกิดขึ้นเมื่อหยุดใช้ห้องเย็นนานๆ แล้วมาใช้งาน
ใหม่
หลักการควบคุมและการปฏิบัติงาน
อย่างปลอดภัยต่อระบบทำความเย็น
• ต้องเริ่มต้นที่มีการออกแบบระบบที่ดี
• ต้องมีการติดตั้งระบบที่ดี
• ต้องมีการใช้งานที่เหมาะสมกับการทำงานของระบบ
• ผู้ควบคุมระบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบทำความเย็นนั้นๆ ว่าออกแบบไว้
อย่างไร
• หากระบบมีปัญหาการใช้งาน ควรแก้ไขการใช้งานให้เหมาะสมและถูกต้องกับ
การทำงานของระบบ
• หากระบบมีปัญหาการทำงาน ควรแก้ไขการทำงานของระบบให้ถูกต้อง อย่า
ฝืนใช้งาน ระบบทำความเย็น ทั้งๆ ที่รู้ว่าใช้งานไม่ถูกต้องหรือระบบทำงานไม่
ถูกต้อง ควรทำการแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน
เกณฑ์การอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศ

คือ การประยุกต์งานระบบทำความเย็นมา โดยมีมาตรการเพิ่ม ดังนี้


1. การเพิ่มอุณหภูมิในบริเวณปรับอากาศให้สูงขึ้น
2. การลดพื้นที่ปรับอากาศส่วนผลิตโดยการกั้นผนัง
3. การลดพื้นที่ผนังโปร่งแสงโดยการติดตั้งฉนวน PE ที่กระจกบางส่วน
4. การใช้เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแทนเครื่องปรับอากาศแบบทำน้ำเย็นระบาย
ความร้อนด้วยอากาศ
กรณีเป็ นการปรับอากาศให้คนอยู่สบายทั่วไป เช่น ห้างสรรพสินค้า
โรงแรม เป็ นต้น มีมาตรการทั่วไป ดังนี้
1. การตั้งอุณหภูมิน้ำเย็นให้สูงขึ้น ในวันที่ฝนตก ฤดูหนาว ลูกค้าน้อย
ปกติตั้งไว้ 45 F แต่ต้องไม่เกิน 48 F เพราะห้องจะชื้น
2. ใช้ระบบควบคุมระบบทำน้ำเย็นโดยอัตโนมัติ
3. ปรับสมดุลระบบน้ำ
4. เจียรใบพัดเครื่องสูบน้ำแทนการหรี่วาล์ว
5. ใช้ระบบทำความสะอาดคอนเดนเซอร์อัตโนมัติ
6. ใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง
7. ใช้เครื่องทำน้ำเย็นประสิทธิภาพสูง
8. ใช้อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนอากาศ
9. ใช้อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์
10. ปรับอัตราการเติมอากาศจากภายนอกด้วย CO2 Sensor
10. ปรับอัตราการเติมอากาศจากภายนอกด้วย CO2 Sensor (ต่อ)
ทิศทางไหลอากาศ
ก่อน ปรับปรุงแล้ว
ทิศทางไหลน้ำ

แก้ไขทิศทางการไหลอากาศของหอผึ่งเย็น 1 ของเครื่องทำน้ำเย็นให้ถูกต้อง คือ จากที่


ไหลตามกันเป็ นไหลสวนทาง (counter flow)
ทำความสะอาดท่อแลกเปลี่ยนความร้อนในคอนเดนเซอร์

จุดที่เปิ ดฝามาล้างท่อข้างใน
ปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน เพราะปัจจุบันน้ำมีความกระด้างสูง(TDS =
400) ทำให้เกิดตะกรันสะสมในเครื่องทำน้ำเย็นและหม้อไอน้ำ มีผลให้การแลกเปลี่ยนความ
ร้อนลดลง (TDSมาตรฐาน = 115)
กำจัดน้ำในห้องเย็นเก็บนมพาสเจอร์ไรส์ให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะพลังงานไฟฟ้ า 2
ใน 3 ส่วน ใช้ในการลดความชื้น

น้ำบนพื้น
ทำอย่างไรเมื่อแอร์ไม่เย็น

การแก้ปัญหาแอร์ไม่เย็น
1. ตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่าย
2. ตรวจสอบปริมาณลมจ่าย
1. ตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่าย
การตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่ายทำโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์
(1.1) ถ้าวัดได้ 10 – 15 OC ถือว่าปกติ
(1.2) ถ้าวัดได้สูงกว่า 15 OC ถือว่าสูงผิดปกติให้ตรวจสอบดังนี้

ระบบปรับอากาศทั่วไป
ตรวจสอบว่ามี Fresh Air เข้ามามากเกินไปหรือไม่
ตรวจสอบว่าท่อลมกลับรั่วและดูดลมร้อนเข้ามาหรือไม่
ตรวจสอบว่าในช่องฝ้ า หรือในจั่วมีรอยรั่วให้ลมร้อนเข้ามาได้
หรือไม่ ในกรณีดูดลมกลับเหนือฝ้ า
ระบบปรับอากาศแบบ Split Type
ตรวจสอบว่าน้ำยาหมดหรือไม่
ตรวจสอบว่าคอยล์เย็นและคอยล์ร้อนสกปรกหรือไม่
ตรวจสอบว่ามีสิ่งกีดขวางทางระบายลมร้อนหรือไม่
ตรวจสอบว่าลมร้อนถูกดูดย้อนกลับหรือไม่

ระบบปรับอากาศแบบน้ำเย็น
ตรวจสอบอัตราไหลน้ำเย็นให้ตรงตามกำหนด (ปกติจะต้องการ 2.4 GPM / ตัน)
ตรวจสอบอุณหภูมิน้ำเข้าเครื่องว่าสูงกว่ากำหนดหรือไม่ (ปกติจะมีค่า 45 oF)
ตรวจสอบว่าคอยล์สกปรกหรือไม่

หากตรวจสอบตามรายการด้านบนแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ ก็อาจเป็ นไปได้ว่าเครื่อง


แอร์มีขนาดทำความเย็นไม่เพียงพอ(ขนาดเล็กเกินไป) แต่ถ้าเครื่องแอร์มีขนาดเล็กเกินไปไม่
มากนัก แก้ไขโดยให้มีลมจ่ายมากขึ้น ก็อาจจะทำให้ห้องเย็นขึ้นได้
2. ตรวจสอบปริมาณลมจ่าย
การวัดปริมาณลมจ่ายทำโดยวัดความเร็วลมแล้วนำไปคูณกับพื้นที่ของ
หน้ากากจ่ายลม
ปริมาณลม (CFM) = ความเร็วลม (FPM) x พื้นที่ (FT2)

ตรวจสอบว่าปริมาณลมว่าน้อยกว่าที่กำหนดในแบบหรือข้อกำหนด
หรือไม่ ถ้าไม่มีแบบหรือข้อกำหนดให้พิจารณาดังนี้
1. ห้องทั่วไป
ควรมีปริมาณลมจ่าย 15 ถึง 30 CFM/m2
2. ห้องติดริมกระจก
ควรมีปริมาณลมจ่าย 30 ถึง 40 CFM/m2
เมื่อพบว่าปริมาณลมจ่ายน้อยเกินไปให้ตรวจสอบดังนี้
1. ตรวจสอบความสกปรกของแผงกรองอากาศ
ตรวจสอบโดยใช้มาโนมิเตอร์วัดคร่อมแผงกรองอากาศ โดยปกติจะต้องมีความ
ดันตกคร่อมไม่เกิน 1.2 นิ้วน้ำ
2. ตรวจความสกปรกของคอยล์ทำความเย็น
ตรวจสอบโดยใช้มาโนมิเตอร์เช่นเดียวกับแผงกรองอากาศ โดยปกติสำหรับคอยล์
หนา 4 แถว จะมีความดันตกคร่อมคอยล์ประมาณ 0.6 ถึง 0.8 นิ้วน้ำ
3. ตรวจความเร็วรอบของพัดลม
ความเร็วรอบของพัดลมถูกกำหนดเพื่อให้พัดลมสามารถส่งลมได้ตามปริมาณ
และความดันที่กำหนด ถ้าหากมีความเร็วรอบต่ำกว่าที่กำหนด พัดลมจะส่งลมได้น้อยลง
การตรวจความเร็วรอบทำโดยวัดความเร็วที่เพลาของพัดลม แล้วตรวจสอบกับแบบ
พิมพ์เขียว ถ้าพบว่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็ นให้ตรวจสอบดังนี้
ตรวจสอบว่าสายพานสลิปหรือไม่
ตรวจสอบว่าขนาดพู่เลย์ทดรอบผิดหรือไม่
4. ตรวจสอบรอยรั่วที่ท่อลม
ลมรั่วที่ท่อลมไม่ควรเกิน 5% ของปริมาณลมจ่าย ถ้าหากมีลมรั่วระหว่างทาง
มาก ลมก็จะถึงปลายทางน้อย การตรวจสอบรอยรั่วที่ท่อลม ในขั้นต้นทำโดยวิธีฟังเสียง
ลมรั่ว หากได้ยินเสียงลมรั่วที่บริเวณใด ให้เข้าค้นหาจุดรั่วให้พบแล้วอุดด้วยซิลิโคน
5. ตรวจสอบการปรับสมดุลลม
ระบบกระจายลมได้รับการออกแบบให้กระจายลมไปยังหัวจ่ายหลายๆหัว
พร้อมๆกัน หากระบบลมไม่ได้รับการปรับสมดุลอย่างถูกต้อง ลมจะออกที่หัวต้นทาง
มากกว่าที่หัวปลายทาง ซึ่งมักเป็ นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ห้องริมกระจกแอร์ไม่เย็น การปรับ
สมดุลจะต้องทำพร้อมๆ กันทุกหัวจ่าย มิฉะนั้นจะไม่ได้ผล

โดยทั่วไปแล้วปัญหาแอร์ไม่เย็นมากกว่า 90% จะเกิดจากปัญหา


อุณหภูมิลมจ่ายสูงเกิน หรือปริมาณลมจ่ายน้อยเกินไป หรือเกิดจากทั้งสองอย่าง
พร้อมกัน
ทำอย่างไรเมื่ออัตราไหลน้ำเย็นน้อยเกินไป
สำหรับระบบน้ำเย็น สาเหตุที่พบเป็ นประจำที่ทำให้อุณหภูมิลมจ่ายสูงกว่าที่
ออกแบบ คือ อัตราไหลน้ำเย็นเข้าเครื่องส่งลมเย็นมีน้อยกว่าที่ออกแบบ

การตรวจสอบอัตราไหลของน้ำเย็นผ่านคอยล์เย็น วัดได้ 2 วิธี


1. วัดด้วยเครื่องวัดอัตราไหลของผู้ผลิตวาล์วปรับสมดุล
2. วัดความดันคร่อมวาล์วปรับสมดุลด้วยมาโนมิเตอร์ แล้วนำค่าความดันที่วัดได้
ไปเปิ ดหาอัตราไหลจากกราฟของวาล์วรุ่นนั้นๆ

เมื่อวัดอัตราไหลได้แล้ว ให้นำไปเทียบกับแบบพิมพ์เขียวหรือเทียบกับการ
ประมาณจากอัตราไหลน้ำเย็นที่ต้องการเท่ากับ 2.4 GPM ต่อตัน (สำหรับน้ำเย็น 45/55 F)

ถ้าพบว่ามีอัตราไหลน้อยกว่าที่ควรจะเป็ นขอให้เริ่มตรวจสอบดังนี้
1. ตรวจสอบความดันคร่อมท่อน้ำจ่ายและท่อน้ำกลับก่อนเข้าเครื่อง
ส่งลมเย็น
สามารถตรวจสอบได้โดย บิดวาล์วปรับสมดุลให้สุด (ก่อนปรับวาล์ว
ให้จดจำนวนรอบเดิมไว้ก่อนเพื่อปรับคืนตำแหน่งเดิมได้) แล้ววัดความดัน
คร่อมวาล์วโดยใช้เครื่องวัดความดัน หรืออ่านความดันจากเครื่องวัดอัตราไหล
ก็ได้ (สามารถเลือกอ่านได้ทั้งความดันและอัตราไหล)

โดยทั่วไปควรมีความดันคร่อมท่อน้ำจ่ายและท่อน้ำกลับนี้ไม่น้อยกว่า
20 ฟุตน้ำ
1.1 ถ้ามีความดันคร่อมท่อน้ำจ่ายและท่อน้ำกลับต่ำกว่า 20 ฟุตน้ำ
แสดงว่าปัญหาน้ำเข้าเครื่องส่งลมเย็นน้อยเป็ นปัญหาที่เกิดภายนอก
เครื่องส่งลมเย็น ให้ตรวจสอบดังนี้
- ตรวจสอบว่าเปิ ดเครื่องสูบน้ำน้อยกว่าที่กำหนดหรือไม่
- ตรวจสอบว่าเครื่องสูบน้ำจ่ายน้ำออกมากน้อยกว่าที่กำหนด
หรือไม่
- ตรวจสอบว่าน้ำเย็นไหลไปที่เครื่องส่งลมเย็นอื่นๆมากเกินไป
หรือไม่
- ตรวจสอบว่าวาล์วบายพาสที่ท่อประธานเปิ ดค้างหรือไม่

1.2 ถ้ามีความดันคร่อมสูง แต่น้ำเย็นก็ยังเข้าเครื่องส่งลมเย็นน้อย


2. ตรวจความสกปรกของ Strainer
ให้ลองถอดตะแกรงกรองความสกปรกภายใน Strainer ออกมาทำความสะอาด
แล้วใส่กลับเข้าไปเหมือนเดิม
3. ตรวจการทำงานของวาล์วควบคุม (Control Valve)
บางครั้งวาล์วควบคุมอาจปิ ดค้างไว้ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งได้ ขอให้ลอง
ปรับเทอร์โมสตัทให้สูงขึ้นเพื่อดูว่าวาล์วปิ ดได้สุดหรือไม่ และลองปรับเทอร์โมสตัทให้ต่ำ
ลงเพื่อดูว่าวาล์วเปิ ดลงได้สุดหรือไม่
ถ้าหากวาล์วควบคุมเสีย ให้ถอดมอเตอร์ขับวาล์วออกแล้วกดก้านวาล์วลงเพื่อ
เปิ ดวาล์วให้สุด (วาล์วบางรุ่นอาจต้องดึงขึ้นเพื่อเปิ ดวาล์วให้สุด) แล้วลองตรวจสอบ
อัตราไหลของน้ำเย็นดูว่าเพิ่มมากขึ้นหรือไม่
4. ตรวจสอบความดันคร่อมคอยล์
โดยทั่วไปความดันคร่อมคอยล์ไม่ควรเกิน 15 ฟุตน้ำ ถ้าพบว่ามีความดันคร่อม
คอยล์เกิน 15 ฟุตน้ำ ให้ทำการล้างภายในคอยล์
การเลือกชนิดและขนาดของเครื่องปรับอากาศแบบ Split Type
ให้เหมาะสมกับห้อง

เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านทั่วไป มักมีขนาดการทำความเย็นระหว่าง 9,000-


30,000 บีทียู/ชม. (Btu/h) หรือ 0.75-2.5 ตันความเย็น
(1 ตันความเย็น = 12,000 บีทียู /ชม.)

โดยทั่วไป ใช้อัตราส่วนพื้นที่ 16 m2 / 1 ตันความเย็น


เช่น กรณีที่ 1 ห้อง 4X4 m2 ควรติดแอร์ขนาด 1 ตัน (12,000 Btu/h)
กรณีที่ 2 ห้องที่โดนแดดมากกว่าปกติ เช่น ห้องนอนที่อยู่ทางทิศตะวันตกให้เพิ่ม
ขนาดแอร์ขึ้นอีก เช่น ห้อง 4X4 m2 ควรติดแอร์ขนาด 1.5 ตัน
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบ Split Type
1. การปรับปรุงอาคารก่อนการติดตั้งระบบปรับอากาศ
1.1 ควรปลูกต้นไม้ใหญ่บังแดดให้แผ่นกระจก
1.2 หากไม่สามารถปลุกต้นไม้ได้ ควรติดตั้งกันสาด
1.3 ปูแผ่นใยแก้วหนา 1 นิ้ว ชนิดมีแผ่นฟอยล์ เหนือฝ้ าเพดานที่เป็ นหลังคา
1.4 พัดลมระบายอากาศของห้องที่มีการปรับอากาศ
1.5 ภายในห้องนอนไม่ควรติดตั้งพัดลมระบายอากาศ
1.6 ควรอุดรูรั่วรอบห้องให้สนิท
1.7 ควรทาสีผยังภายนอกอาคารด้วยสีขาวหรืออ่อน
2. ติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิตและคอนเดนซิ่งยูนิตของเครื่องแบบแยกส่วนให้ใกล้
กันมากที่สุด
3. หุ้มท่อสารทำความเย็นจากคอนเดนเซอรืไปยังแผงท่อทำความเย็น (Cooling
coil) ของเครื่องแบบแยกส่วนด้วยฉนวนที่มีความหนาประมาณ 0.5 นิ้ว
4. ตำแหน่งติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต
5. ในสถานที่ซึ่งมีการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิตหลายๆ ชุด
6. ในบางสถานที่ซึ่งมีลมพัดแรงตลอดเวลาในทิศทางเดียว
7. ตำแหน่งติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต
การใช้งานเครื่องปรับอากาศแบบ Split Type
1. ปรับตั้งอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม
หากปรับอุณหภูมิ เป็ น 26-28 ํ C ก็ไม่ทำให้รู้สึกร้อนเกินไป แต่จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้ าได้
ประมาณร้อยละ 15-20
2. ปิ ดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่เลิกใช้งาน
3. อย่านำสิ่งของไปกีดขวางทางลมเข้าและลมออกของคอนเดนซิ่งยูนิต
4. อย่านำรูปภาพหรือสิ่งของไปขวางทางลมเข้าและลมออกของแฟนคอยล์ยูนิต
5. ควรเปิ ดหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้ าต่างๆ ภายในห้องเฉพาะเท่าที่จำเป็ นต่อการ ใช้
งานเท่านั้น และปิ ดทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ
6. หลีกเลี่ยงการนำเครื่องครัว หรือภาชนะ ที่มีผิวหน้าร้อนจัด เช่น เตาไฟฟ้ า กะทะ
ร้อน หม้อต้มน้ำ หม้อต้มสุกี้ เข้าไปในห้องที่มีการปรับอากาศ
7. ในช่วงเวลาที่ไม่ใช้ห้องหรือก่อนเปิ ดเครื่องปรับอากาศสัก 2 ชั่วโมง ควรเปิ ด ประตู
หน้าต่างทิ้งไว้เพื่อให้อากาศบริสุทธิ์ภายนอกเข้าไปแทนที่อากาศเก่าในห้อง 8.
ควรปิ ดประตู หน้าต่างให้สนิทขณะใช้งานเครื่องปรับอากาศ
9. ไม่ควรปลูกต้นไม้ หรือตากผ้าภายในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศแบบ Split Type
1. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศทุก ๆ 2 สัปดาห์
2. หมั่นทำความสะอาดแผงท่อทำความเย็น
. ทำความสะอาดพัดลมส่งลมเย็น ด้วยแปรงขนาดเล็ก ทุก 6 เดือน
4. ทำความสะอาดแผงท่อระบายความร้อน ทุก ๆ 6 เดือน
5. หากปรากฏว่าเครื่องไม่เย็นเพราะสารทำความเย็นรั่วต้องรีบตรวจหารอยรั่วแล้ว ทำการ
แก้ไขพร้อมเติมให้เต็มโดยเร็ว
6. ตรวจสอบฉนวนหุ้มท่อสารทำความเย็นอย่างสม่ำเสมอ

You might also like