You are on page 1of 12

1

บทที่ 9 อัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ าเคมี
1. การเปลี่ยนแปลงของสารในขณะเกิดปฏิกิรย
ิ า
ในขณะที่เกิดปฏิกิรย
ิ า ส า ร ตั้ ง ต้ น
ผลิตภัณฑ์
สารตั้งต้นจะลดลงส่วนสารผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น สมมติ
ปฏิกิรย
ิ า
2A + B c + 2D ปริมาณสารมี
การเปลี่ยนแปลงดังกราฟ

ปริมาณสาร

สารผลิตภัณฑ์

สารตั้งต้น
เวลา

ข้อสังเกต การเปลี่ยนแปลงของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ตอนแรก
จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แล้วจะค่อยช้าลงเมื่อเวลาผ่านไปนาน
ขึ้น
การวัดอัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ า
เนื่ องจากในขณะเกิดปฏิกิรย
ิ าปริมาณสารตั้งต้นจะลดลง ส่วน
ปริมาณของสารผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น ดังนั้ น การวัดอัตราการเกิ ด
ปฏิกิรย
ิ าอาจทำาได้โดย
1. วัดจากอัตราการลดลงของสารตั้งต้น
2

R =
ปริมาณสารต ัง
้ ต้นที่ล ดลง
เวลาที่ใช้ ในการเกิดป ฏิกิรย
ิ า

2. วัดจากอัตราการเพิ่มขึ้นของสารผลิตภัณฑ์
R =
ปริมาณสารผ ลิตภัณฑ์ที ่เพิ่มขึ้น
เวลาที่ใช้ ในการเกิดป ฏิกิรย
ิ า

โดยปริมาณสารที่เปลี่ยนไปอาจหมายถึง มวลสาร ปริมาณ


ของสาร ความเข้ ม ข้ น ของสาร นอกจากนี้ สมบั ติท่ี เ ปลี่ ย นไปบาง
ประการของสารก็สามารถนำา มาใช้ในการวัดอัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ าได้
เช่น ความเข้มของสี ค่า pH การนำาไฟฟ้ าก็ได้
ถ้ า สมการทั ่ว ไปเป็ นดั ง นี้ aA + bB
cC + dD
อัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ ามีค่าดังนี้

1 ∆[ A ] 1 ∆[B ] 1 ∆[C ] 1 ∆[D ]


R= −
a ∆t
=−
b ∆t
=
c ∆t
=
d ∆t

1 d [ A] 1 d [B ] 1 d [C ] 1 d [D ]
หรือ R = −
a dt
=−
b dt
=
c dt
=
d dt

R=
1 1 1 1
− R A = − R B = RC = R D
a b c d

อัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ าเฉลี่ย
อัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ าช่วงเวลาหนึ่ งเราสามารถหาอัตราเร็วเฉลี่ย
ได้จากความสัมพันธ์ดังนี้
อัตราเร็วเฉลี่ย =
ปริมาณสารท ี่เปลี่ยนแ ปลงทัง
้ หมด
เวลาที่ใช้ ทัง
้ หมด

อัตราปฏิกิรย
ิ าเคมี ณ เวลาใดเวลาหนึ่ ง
3

การหาอัตรา ณ เวลาหนึ่ งๆ จะต้องคิดจากกราฟโดยสร้างกราฟ


ตามข้อมูลระหว่างปริมาณสารกับเวลา แล้วหาค่าความชัน ( slop )
ณ เวลาหนึ่ งๆ ซึ่งค่าความชันนี้ คือค่าของอัตรา ณ เวลานั้ นๆ
จากการศึกษาของนั กเคมีพบว่า อัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ าเคมีจะ
ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารตั้งต้น ซึ่งแสดงได้ดังสมการต่อไปนี้
AA+bB
cC+ dD
จะได้ว่า R α [A] [B]
m n

R = K [A] [B] เรีย กสมการนี้ ว่ า กฎอั ต รา (Rate


m n

Law)

เมื่อ K คือ ค่าคงที่ของอัตรา


[] คือ ความเข้มข้นในหน่วย mol/dm
3

m ,n เป็ นตัวเลขใด ๆ ก็ได้ซ่ึงหาได้จากผลการทดลองเท่านั้ น


ซึ่งอาจเท่ากับ a ,b หรือไม่เท่าก็ได้
m +n เรียกว่า อันดับของปฏิกิรย
ิ า (Order of Reaction)
ถ้ า เลขยกกำา ลั ง ของสารใดเป็ น 0 แสดงว่ า อั ต ราการเกิ ด
ปฏิกิรย
ิ าไม่ข้ ึนกับความเข้มข้นของสารนั้ น
ข้อสังเกตการนำากฎอัตราไปใช้
1. ต้องมีข้อมูลเป็ นผลการทดลองมาให้โดยการกำา หนดความเข้ม
ข้ น / ปริ ม าณสารตั้ งต้ น มาให้ และกำา หนดอั ต ราการเกิ ด
ปฏิกิรย
ิ าจากการทดลองแต่ละครั้งมาให้ ( ถ้าไม่กำา หนดอัตรา
4

มาใ ห้ อ าจต้ อ งคำา น วณ หาเอ ง โดยคิ ดจากปริ ม าณ ส าร ที่


เปลี่ยนแปลงในหนึ่ งหน่วยเวลา )
2. เขียนสมการแสดงอัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ าในรูปของกฎอัตราโดย
คิดค่าเลขยกกำาลังคือค่าของ m , n ไว้
3. หาค่ า m , n โดยนำา ข้อ มูล แสดงการทดลองจากข้ อ 1 มา
คำานวณหา
4. ถ้ าโจทย์ ต้ อ งการให้ ห าอั ตราการเกิ ด ปฏิ กิ ร ย
ิ าจากข้ อ มู ล ใหม่ ที่
กำา หนดซึ่งไม่ใช่ผลการทดลองที่มีอยู่เดิม ให้หาค่า K แล้วนำา
ไปแทนค่ า ในสมการกฎอั ต ราในข้ อ 2 ( เพื่ อหาอั ต ราตาม
เงื่อนไขใหม่ตามที่โจทย์กำาหนด

ตั ว อย่ า ง ปฏิ กิ ร ิย าระหว่ า งสารละลาย A กั บ สารละลาย B


เป็ นดังนี้ A+B C

ความเข้มข้นของสารละลาย อัตราการเกิด
การทดลอง
( mol/dm ) ปฏิกิรย
ิ า
3

ครั้งที่
mol/dm .s
3
สาร A สาร B
1 0.1 0.1 0.5
2 0.1 0.2 1.0
3 0.2 0.2 2.0

1. จงเขียนสมการแสดงอัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ านี้
5

2. ถ้าสาร A และสาร B เข้มข้น 0.3 และ 0.4 mol/dm ตาม


3

ลำาดับอัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ านี้ จะเป็ นเท่าไร

วิธีคิด
จากการทดลองที่ 1 และ 2 ความเข้มข้นของสาร A คงที่ แต่
ความเข้มข้นของสาร B เพิ่มขึ้นเป็ น 2 เท่า อัตราก็เพิ่มขึ้นจาก
เดิ ม 2 เท่ า แสดงว่ า อั ต ราขึ้ นกั บ ความเข้ มข้ น ของสาร B ยก
กำาลัง 1
จากการทดลองที่ 2 และ 3 ความเข้มข้นของสาร B คงที่ แต่
ความเข้มข้นของสาร A เพิ่มขึ้นเป็ น 2 เท่า อัตราก็เพิ่มขึ้นจาก
เดิ ม 4 เท่ า แสดงว่ าอั ต ราขึ้ นกั บ ความเข้ มข้ น ของสาร A ยก
กำาลัง 2
ดังนั้ นจะได้ว่า R = K[A] [B]
2

จากการทดลองที่ 1 เมื่ อนำา ความเข้ ม ข้ น ของสาร A สาร B


และอัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ ามาแทนในสมการที่
ดังนั้ น K = 500
เมื่อนำา ความเข้มข้นของสาร A และสาร B แทนลงในสมการ
แสดงอัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ าจะได้อัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ าใหม่ดังนี้ R
= 500[0.3] [0.4]
2

= 18.0 mol/dm .s
3
6

รูปกราฟที่น่าสนใจ
1.กราฟแสดงอัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ าคงที่

อัตรา

เวลา
2.กราฟแสดงอัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ าไม่ข้ ึนกับความเข้มข้น
ของสารตั้งตั้น
ความเข้มข้นของสารตั้งต้น

เวลา

3.กราฟแสดงอั ตราการเกิ ด ปฏิ กิร ย


ิ าขึ้ นกั บ ความเข้ ม ข้ น
ของสารตั้ ง ต้ น (มี ก ารเปลี่ ย นแปลงเมื่ อความเข้ ม ข้ น ของสารตั้ ง ต้ น
เปลี่ยนไป)
ปริมาณสารตั้งต้น
7

เวลา

4.กราฟระหว่างผลิตภัณฑ์กับเวลา
ปริมาณสารผลิตภัณฑ์

เวลา
5.กราฟระหว่างอัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ ากับความเข้มข้นของ
ผลิตภัณฑ์
อัตรา

ผลิตภัณฑ์

การอธิบายการเกิดปฏิกิรย
ิ าเคมี
ทฤษฎีการชน ( Collission Theory ) เป็ นทฤษฎี
ที่ใช้อธิบายการเกิดปฏิกิรย
ิ าของสารเคมี โดยกล่าวว่า “ ปฏิกิรย
ิ าเคมี
8

จะเกิ ด ขึ้ นก็ ต่ อ เมื่ ออนุ ภ าคของสารมี ก ารชนกั น และการชนกั น ต้ อ ง


เป็ นการชนแบบมีผล ” ซึ่งมีเงื่อนไข ดังนี้
1. ทิศทางการชนต้องเหมาะสม
2. มี การสะสมพลัง งานอย่างน้ อยเท่ ากั บ พลั งงานก่ อ กั มมั น ต์
( Activation Energy )
พลังงานก่อกัมมันต์ ( Activation Energy : Ea ) หมายถึง
พลังงานจำานวนน้อยที่สุดที่สารเคมีแต่ละคู่จะต้องสะสมไว้เพื่อเปลี่ยน
สารตั้งต้นไปเป็ นสารใหม่ ดังนั้ นพลังงานก่อกัมมันต์ของสารแต่ละคู่
เวลาทำาปฏิกิรย
ิ ากัน จึงไม่เท่ากัน

แผนภาพแสดงการเปลี่ยนของ
สารในขณะเกิดปฏิกิรย
ิ า

A B A
A 2 A B
A + B
พลังงานตำ่ากว่า Ea B B
พลังงานสูงกว่า Ea
สารเชิงซ้อนถูกกระตุ้น
[ Activated complex ]
9

การเปลี่ยนแปลงพลังงานของสารในระหว่างการดำา เนิ นไปของ


ปฏิกิรย
ิ า
ในขณะที่สารเกิดปฏิกิรย
ิ าจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานเกิดขึ้น
เสมอ ซึ่ ง ลั ก ษณะการเปลี่ ย นแปลงพลั ง งานแบ่ ง เป็ น 2 แบบ คื อ
ปฏิกิรย
ิ าดูดความร้อน และปฏิกิรย
ิ าคายความร้อน
1.ปฏิกิรย
ิ าดูดความร้อน มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ดังนี้
พลังงาน E2

Ea
E3

E1
ก า ร ดำา เ นิ น ไ ป ข อ ง
ปฏิกิรย
ิ า
2.ปฏิกิรย
ิ าคายความร้อน มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ดังนี้

พลังงาน E2
10

Ea
E3

E1
ก า ร ดำา เ นิ น ไ ป ข อ ง
ปฏิกิรย
ิ า

ข้อสังเกต ปฏิกิรย
ิ าที่มีค่า Ea ตำ่าเกิดง่ายเร็วขึ้น : ถ้าค่า Ea สูง
เกิดยาก เกิดช้า
ในบางปฏิกิรย
ิ ามีกลไกในการเกิดปฏิกิรย
ิ าหลายขั้น เช่น A2 +3B2
2AB3 เกิดปฏิกิรย
ิ า 3 ขั้น คือ
(1) B2 2B …. เร็ว
(2) A2 2A …. ช้า (อัตรา
ขึ้นกับขั้นนี้ )
(3) A + 3B AB3 …. เร็ว
อัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ าของปฏิกิรย
ิ าที่มีหลายขั้นจะขึ้นกับขั้นที่ช้า
ที่สุดเสมอ เนื่ องจากขั้นที่มี Ea สูงที่สุด

ถ้านำา มาเขียนกราฟจะได้ดังนี้ ( สมมติว่าปฏิกิรย


ิ านี้
คายความพลังงาน )
พลังงาน ขั้นที่ 2
ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 3
11

เวลา
ปั จจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ า
1. ความเข้มข้นของสารตั้งต้น ในกรณี ท่ีสารตั้งต้นเป็ นสารละลาย
ยิ่งสารละลายนั้ นมีความเข้มข้นมากขึ้นอัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ าจะเร็ว
ขึ้นเนื่ องจากมีจำา นวนอนุ ภาคของตัวถูกละลายมากขึ้นจะชนกันบ่อย
มากขึ้น
แต่การเพิ่มปริมาตรของสารละลายโดยความเข้มข้นเท่าเดิมอัตราการ
เกิดปฏิกิรย
ิ าจะเท่าเดิม
2. อุณหภูมิ การที่อุณหภูมิของสารตั้งต้นเพิ่มขึ้นอัตราการ
เกิดปฏิกิรย
ิ าจะเพิ่มขึ้น เนื่ องจากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โมเลกุลของ
สารจะมีพลั งงานจลน์ สู ง ขึ้ น เคลื่ อนที่ เ ร็ วขึ้ นจึ ง ชนกั น บ่ อ ยมากขึ้ น
สุ ด ท้ า ยก็ จ ะมี จำา นวนโมเลกุ ล ที่ มี พ ลั ง งานอย่ า งน้ อ ยเท่ า กั บ หรื อ
มากกว่ า Ea มากขึ้น เมื่ออุณหภูมิเพิ่ มขึ้ น จึ งทำา ให้ อัตราการเกิ ด
ปฏิกิรย
ิ าเร็วขึ้นนั้ นเอง
3. พื้ นที่ผิวสัมผัส สารที่มีพื้นที่ผวิ สัมผัสมากกว่าจะทำาปฏิกิรย
ิ า
ได้เร็วขึ้น เนื่ องจากสัมผัสกัน (ชนกัน) มากขึ้น ใช้ในการพิจารณา
สารตั้ ง ต้ น ที่ เ ป็ นของแข็ ง ดั ง นั้ นสารที่ เ ป็ นของแข็ ง จึ ง ต้ อ งบดให้
ละเอียดก่อนทำาปฏิกิรย
ิ า
4. ตัวเร่งปฏิกิรย
ิ า ( Catalyst) ตัวเร่งปฏิกิรย
ิ าเป็ นสาร
เคมีท่ีช่วยทำาให้อัตราการเกิดปฏิกิรย
ิ าได้เร็วขึ้น เนื่ องจากตัวเร่งจะ
ช่วยในการลดพลังงานกระตุ้นในการเกิดปฏิกิรย
ิ า โดยช่วยปรับกลไก
12

ในการเกิดปฏิกิรย
ิ าให้เหมาะสมกว่าเดิม โดยจะเข้าไปช่วยตั้งแต่เริม

ปฏิกิรย
ิ าแต่เมื่อปฏิกิรย
ิ าสิ้นสุดมันจะกลับมาเป็ นสารเดิม
5. ตัวหน่วงปฏิกิรย
ิ า (Inhibitor) หมายถึง สารที่ทำาให้อัตรา
การเกิดปฏิกิรย
ิ าช้าลงโดยขัดขวางกลไกในการเกิดปฏิกิรย
ิ าทำา ให้ค่า
พลังงานก่อกัมมันต์สูงขึ้น
6. ธรรมชาติของสารตั้งต้น เนื่ องจากสารเคมีจะมีการยึด
เหนี่ ยวด้วยพันธะที่ต่างกัน โดยปกติสารละลาย ของสารประกอบอิ
ออนิ กเวลาเข้าทำาปฏิกิรย
ิ าจะแตกตัวเป็ นอิออนบวกและอิออนลบก่อน
และเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าโมเลกุลของสารประกอบโควาเลนต์ ดังนั้ นสา
รอิออนิ กจึงทำาปฏิกิรย
ิ าได้เร็วกว่าสารโควาเลนต์ แม้กระทัง่ สารโควา
เลนต์ด้วยกันก็ยังแตกต่างกัน เนื่ องจากอาจยึดด้วยพันธะเดี่ยว
พันธะคู่ หรือพันธะสามก็ได้

You might also like