You are on page 1of 29

การจัดการความรู : กระบวนการปลดปลอยมนุษย

สูศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข

โดย
ศาสตราจารยนายแพทยประเวศ วะสี
มนุษยมีสมองซึ่งเปนโครงสรางที่วิจิตรทีส่ ดุ ในจักรวาล
สามารถเรียนรูใหบรรลุอะไรก็ได
ควรจะมีความสุข และสามารถอยูรวมกันดวยสันติ

แตสังคมปจจุบันไดถักทอกันเปนโครงสรางอันแข็งแกรง
ที่กักขังมนุษยไว ประดุจถูกจับกุมคุมขังในคุกทางสังคม
จนไรศักยภาพที่จะออกจากปญหาอันซับซอนของสังคมสมัยใหม

แมมีการคนพบความรูใหมอันอัศจรรย
แตก็ดูเหมือนวายิ่งเสริมสรางพันธนาการทางสังคม
ที่กักขังมนุษยไวอยางแนนหนามากขึ้น

ควรที่จะทําความเขาใจ ความทุกขของคนสมัยใหม
และคุกทางสังคมที่มองไมเห็น ที่กักขังมนุษยไว
และรูวาการจัดการความรูปลดปลอยมนุษย
สูศักยภาพ เสรีภาพ และความสุขไดอยางไร
สารบาญ

หนา
๑. ความทุกขเชิงโครงสรางของคนสมัยใหม ๑
๒. คุกทางสังคม ๓
๓. วิธีที่ไมไดผล ๕
๔. การเคารพศักดิ์ศรีและคุณคาความเปนคน ๖
ของคนทุกคนอยางเทาเทียมกัน
๕. กุญแจอยูที่การเคารพความรูในตัวตน ๘
๖. การทําแผนที่ความรูในตัวคนทุกคน ๑๑
๗. คุณธรรม ๘ ประการของการจัดการความรู ๑๓
๘. เสรีภาพของระบบ ๑๘
และศักยภาพบูรณาการของมนุษยทั้ง ๔ มิติ
๙. ปริมณฑลแหงการใชประโยชนของการจัดการความรู ๒๒
๑๐. จิตสํานึกใหม (New Consciousness) ๒๕
การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformation)
และการพนทุกขรวมกัน
ความทุกขเชิงโครงสรางของคนสมัยใหม

คนเรามีทั้งทุกขและสุข แตความทุกขหรือความบีบคั้นก็เปนธรรมดาของชีวิต จนมีคํากลาว


เพื่อเตือนใหระลึกรูวา “คนเราเกิดมามีความทุกขเปนธรรมดา จะลวงความทุกขไปไมได” ความทุกข
ของคนในสมัยตางๆ แตกตางกันไป เชนสมัยเปนคนปาลาสัตว ความทุกขก็อาจจะเกิดจากเจอสัตว
ราย เช น เสือ ในสังคมสมัยตั้งบานเรือนเปนหมูบานเกษตรกรรม ความทุกขก็อาจจะเกิดจากทํ า
เกษตรไมไดผลเพราะฝนแลงหรือน้ําทวม เกิดขาวยากหมากแพง หรือถูกเกณฑไปทําสงคราม หรือ
การกอสรางขนาดใหญแลวตองพลัดพรากและลมตายจากกัน
สังคมสมัยใหมมีขนาดใหญและเชื่อมโยง สังคมสมัยโบราณอยูแยกกันเปนกลุมเล็กๆ และ
สังคมที่อยูไ กลกันไมมีผ ลกระทบถึงกั น เชน อะไรเกิดขึ้นที่ จีน อินเดีย แอฟริกา หรื อยุโรป ไม มี
ผลกระทบตอไทย แตสังคมปจจุบันเขามาเชื่อมโยงกันหมดทั้งโลกดวยระบบเศรษฐกิจ ขอมูลขาวสาร
และการเดินทาง อะไรเกิดขึ้นที่หนึ่ งก็มีผลกระทบไปไดทั่ ว โลก เชน โรคระบาด เศรษฐกิจตกต่ํา
คานิยม
ในสังคมโบราณแบบพึ่งตนเอง ใครทําอะไรก็ไดผลจากที่ตนทําเอง เชน ใครขยันและไมมี
อบายมุขจะไมยากจน เพาะปลูกขาวกินเอง ปลูกผักผลไม เลี้ยงปลา เลี้ยงไก เปนเศรษฐกิจพึ่งตนเอง
แตละคนจึงไดรับผลจากกรรม (การกระทํา) ที่ตนทําเอง แตในระบบเศรษฐกิจสมัยใหมที่เชื่อมโยงกัน
หมดทั้ง โลก คนจํา นวนมากได รั บ ผลจากที่ค นอื่ น ทํา จากที่ไ กลๆ โดยเราอาจจะไมรูเ ลย
เชน นั ก คาเงินอยูที่นิวยอรคคนเดียวอาจทําใหการเงินของเราพังทั้งประเทศ หรือประธานาธิบดีบุช
ตัดสินใจไปทําสงครามกับอิรัก ทําใหราคาน้ํามันแพงขึ้นทั้งโลก ทําใหคนไทยทั้งประเทศเดือดรอน
เพราะระบบเศรษฐกิจปจจุบันพึ่งพาน้ํามัน
สังคมปจจุบันจึงเชื่อมโยงมีขนาดใหญและซับซอนเปนระบบซับซอน (Complex System)
ในระบบที่ซับซอนเกิดการเปลี่ยนแปลงไดรวดเร็ว รุนแรง โดยไมคาดหมาย ซึ่งครั้งโบราณเปนไมได
เชน หุนแตก เศรษฐกิจตกต่ําทันทีทันใด หรือโรคระบาด เชน ในวันหนึ่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๔๐ วันนั้นวันเดียวเงินไหลออกจากประเทศไทย ๕๐๐,๐๐๐ ลานบาท และในเดือนนั้นเงินไหลออก
เกือบหมดประเทศ สมัยยังคาสําเภาหรือตองขนเงินขึ้นหลังชางไปจายเงินเดือนหลังภูเขา เรื่องอยางนี้
เปนไปไมได แตสมัยนี้เงินสามารถเดินทางดวยความเร็วของแสง คือไปตามระบบสารสนเทศทาง
อิเล็กทรอนิค เมื่อเงินจํานวนมหึมาเคลื่อนไหวทั่วโลกดวยความเร็วของแสงเพื่อจองหาผลประโยชน
โลกทั้งโลกก็ไดรับผลกระทบรุนแรง รวดเร็ว โดยไมไดคาดหมายได
โรคระบาด เชน โรคซารส โรคไขหวัดนก อาจระบาดขนานใหญ ผูคนลมตาย และเศรษฐกิจ
พัง ในสมัย โบราณโรครา ยจากไวรัส บางชนิด อาจเกิด ขึ้น ในคนๆ หนึ่ง หรือในสัต วตัว หนึ่ง แลว ก็
ตายสูญพันธุไปกับคนๆ นั้นหรือสัตวตัวนั้น ไมระบาดไปยังคนอื่น หรือสัตวตัวอื่น แตสมัยนี้คนมีมาก
ขึ้น อยูใกลชิดกันมากขึ้น และเดินทางติดตอกันรวดเร็ว เชื้อไวรัสจากเอเชียอาจเดินทางไปอเมริกา
ภายใน ๒๔ ชั่วโมง โดยไปกับคนที่เดินทางโดยเครื่องบิน การเลี้ยงสัตวจากที่เลี้ยงบานละตัวสองตัว
กลายเปนฟารมขนาดใหญมีสัตวเปนลานๆ ตัว เมื่อเปนเชนนี้ เมื่อมีเชื้อโรคที่รายแรงเกิดขั้นก็สามารถ
ระบาดไดรวดเร็วและรุนแรง ไวรัสสามารถกลายพันธุไดตลอดเวลา กลายไปกลายมาก็จะเกิดเปนตัวที่
เขาคนไดและทําใหเกิดโรครุนแรง เพราะฉะนั้นการระบาดของโรคที่เรียกวาโรคติดเชื้ออุบัติใหม เปน
เรื่องที่หนีไมพนในสังคมปจจุบัน
ทุกขของคนปจจุบันทั่วโลกคือความเครียด
คนเราอาจยากดีมีจนไมเหมือนกัน แตความเครียดนั้นมีทั่วตลอดไมวาจะจนหรือรวย มีอํานาจ
หรือไมมีอํานาจ เผลอๆ พระสงฆองคเจาก็พลอยเครียดไปดวย ยาที่ขายดีที่สุดในโลก ๓ อยางลวน
เกี่ยวกับความเครียดทั้งสิ้น คือ (๑) ยากลอมประสาท (๒) ยาลดความดันโลหิต และ (๓) ยารักษาแผล
ในกระเพาะอาหาร
ความเครียดเกิดจากความบีบคั้น
ความบีบคั้นเกิดจากความไมลงตัวของความสัมพันธหรือความขบกัน
เชน แผนเทคโทนิคใตตินขบกัน เกิดความบีบคั้นขึ้น แลวระเบิดออกมาเปนภูเขาไฟระเบิด
หรือแผนดินไหว เกิดคลื่นยักษสึนามิ หรือความกดอากาศขบกันเกิดเปนพายุเฮอริเคน
ความเครียดของคนในสมัยปจจุบัน เกิดจากระบบในตัวมนุษยไมเหมาะหรือไมสามารถเผชิญ
กับสภาพสังคมปจจุบัน ซึ่งเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและบีบคั้น ความใหญและซับซอนของสังคมปจจุบัน
กดทับมนุษยทําใหรูสึกวาตัวเองไรศักยภาพที่จะทําอะไร (helplessness)
ปรกติมนุษยเมื่อมีปญหาก็อยากที่จะชวยแกไขใหมันดีขึ้น แตปญหาปจจุบัน เชนความยากจน
ความไมเปนธรรมทางสังคม ยาเสพติด ความรุนแรง การทําลายสิ่งแวดลอม ความตกต่ําทางศีลธรรม
ประชาชนแตละคนไมรูจะชวยแกไขอยางไร มีความรูสึกหมดหวัง (hopelessness) หาทางออกไมได
ความรูสึกไรศักยภาพ ความรูสึกวาหมดหวัง ความรูสึกวาหาทางออกไมได ยิ่งเพิ่มความเครียดให
ผูคนในสังคม อันนําไปสูพฤติกรรมเบี่ยงเบนตางๆ เชน ยาเสพติด การฆาตัวตาย ความรุนแรง
เราควรทําความเขาใจสาเหตุของทุกขเชิงโครงสรางของคนสมัยใหม และหาทางออกจากทุกข
ใหได
คุกทางสังคม

การถูกจับกุม การถูกคุมขัง การถูกบังคับ การถูกจับเปนเชลย ยอมกอใหเกิดความทุกขอยางยิ่ง


เพราะการถูกจํากัดพื้นที่ทั้งทางกาย ทางสังคม และทางปญญา หรือการไรเสรีภาพ การไรเสรีภาพทํา
ใหจํากัดศักยภาพ เปนไปไดหรือไมวาสังคมปจจุบันไดเกิดมี “โครงสรางที่มองไมเห็น” ที่ทําใหคน
ไรเสรีภาพและศักยภาพ ทําใหไมมีความสุข เปรียบเสมือน “คุกทางสังคม” ที่กักขังผูคนไว เราลอง
คอยๆ มองใหเห็นคุกทางสังคมที่จองจําคนสมัยใหมไว
สัตว เชน แพะ แกะ หรือวัว ตองกินหญาเหมือนๆ กันทุกวัน คนสมัยแรกๆ ก็ตองหากิน
เหมือนๆ กันทุกคน แตตอมาคนมีความสามารถเฉพาะทางมากขึ้น จึงเกิดประกอบการงานจําเพาะ
อยางตางกัน ทําใหตองเอาของมาแลกกัน ซึ่งวิวัฒนาการมาเปนอาชีพคาขาย คนบางจําพวกถูก
อุปโลกนขึ้นเปนผูปกครอง ระบบการปกครองวิวัฒนาการจากระบบหัวหนากลุมหรือเผามาเปนระบบ
กษัตริย ระบบการปกครองเกิดขึ้นเพราะความจําเปนในการบริหารการอยูรวมกัน และการรวมตัวตอสู
ศัตรู
เมื่ อ มี ก ารปกครองก็ มี ผู ป กครองหรื อ ผู มี อํ า นาจกั บ ผู ถู ก ปกครองหรื อ ผู ไ ม มี อํ า นาจ เกิ ด
ความสัมพันธเชิงอํานาจขึ้น ความสัมพันธเชิงอํานาจวิวัฒนาการจากงายๆ เชน ระหวางหัวหนาเผา
กับสมาชิกเผา ไปเปนความสัมพันธเชิงอํานาจที่ซับซอนกวางขวางขึ้น อาจแบงอํานาจเปน ๓ อยาง
คือ (๑) อํานาจรัฐ (๒) อํานาจเงิน (๓) อํานาจความรู อํานาจรัฐคืออํานาจของการใชพลกําลังบังคับใหคน
อื่นทําตาม คือมีกําลังตํารวจและทหารอยูในมือ สังคมกอนรูจักระบบเงินกับหลังมีระบบเงินแตกตาง
กันมาก กอนมีระบบเงินมนุษยแตกตางกันไดไมมาก แตเมื่อระบบเงินพัฒนาวิจิตรขึ้น ความแตกตาง
ระหวางคนก็แตกตางกันอยางสุดๆ เพราะเงินเปนสมมติที่แปลก เพราะสามารถเพิ่มขึ้นไดอยางไมมีที่
สิ้นสุด เชนจะเติมเลขศูนยหลังตัวเลขไปไดเรื่อยๆ เชน ๑๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐... เงินจึงนํามา
ซึ่งความโลภอยางไมมีที่สิ้นสุด ความโลภนี้จึงดึงเอาอํานาจรัฐและอํานาจความรูไปรับใช
ความรูแตแรกเกิดที่ทําใหมนุษยตางจากสัตวนั้น เปนความรูเพื่อชีวิตและการอยูรวมกัน เชน
อะไรกิ น ได อะไรกิ น ไม ไ ด จะทํ า มาหากิ น อย า งไร จะอยู อ ย า งไร จะอยู ร ว มกั น อย า งไร เกิ ด เป น
ขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนาขึ้น ความรูเหลานี้กับชีวิตและวิถีชีวิตบูรณาการอยูดวยกัน บางที
เรียกวา ภูมิปญญาทางวัฒนธรรม
แตอํานาจและเงินตองการความรูอีกอยางหนึ่ง
คือตองการความรูไปเปนอํานาจและเงิน ตัวอยางที่เดนชัดก็เชนเมื่อวิทยาศาสตรแรกเกิดใน
ยุโรปไดถูกนําไปใชสรางอาวุธที่มีอํานาจอยางที่มนุษยไมเคยมีมากอน เชน เรือรบ ปนใหญ ปนกล
แลวใชอํานาจการยิงอันมหึมาแยงชิงจากคนพื้นเมืองจากทุกทวีป การแยงชิงดวยอํานาจไปกําหนดทิศ
ทางการสรางความรู คือหันมาสรางความรูเพื่ออํานาจ ทอดทิ้งความรูเพื่อการอยูรวมกัน
อํานาจ – เงิน – การวิจัยสรางความรูใหม กลายเปนจักรกลขนาดใหญที่มีอํานาจบังคับ
มนุษยใหตองหมุนเร็วขึ้นๆ หยุดไมได มีผูเปรียบเทียบวาเหมือนสุนัขที่หลุดไปวิ่งบนทางดวน แลว
หาทางลงไมได มันจะตองถูกรถที่วิ่งเร็วทับตาย หรือมันตองวิ่งเหนื่อยจนตัวตาย บริษัทคอมพิวเตอร
จะคิดเครื่องที่คิดไดเร็วขึ้นๆ คนทั้งโลกก็ตองไปซื้อ ถาไมซื้อก็กลัวแขงขันสูคนอื่นไมได จึงตองทั้งเสีย
เงิน และเงินที่เสียก็มาบีบบังคับใหตองทํางานเร็วขึ้นๆ โลกที่หมุนเร็วขึ้นๆ อยางนี้ ประสาทของมนุษย
ทนไมไหว แมแตประธานธนาคารแหงหนึ่งที่มีชื่อเสียงก็ยอมรับวาพวกเขาทุกคนเครียดมาก ไมมีเวลา
จะคิ ด ไปช ว ยใครเพราะถ า พลาดจะล ม และตาย จะเห็ น ได ว า การพั ฒ นาที่ เ อาเงิ น เป น ตั ว ตั้ ง เป น
โครงสรางใหญและหนักที่กดทับและบีบคั้นคนทั้งโลกอยางไมมีใครหยุดยั้งได
นอกจากนั้นองคกรตางๆ ในสังคมลวนมีความบีบคั้นในตัวเองเพราะมีความสัมพันธทางดิ่งใน
ทุกองคกรทางสังคม คือ องคกรทางการเมือง องคกรทางราชการ องคกรทางการศึกษา องคกรทาง
ธุรกิ จ และองคกรทางศาสนา องค กรทางดิ่งหมายถึ งองคกรที่สัมพันธ กันดว ยอํานาจระหว างคน
ขางบนกับคนขางลาง เนนการใชกฎหมาย กฎระเบียบ และการสั่งการจากบนลงลางในองคกรชนิดนี้
การเรียนรูจะมีนอยเพราะคนมีอํานาจก็ใชการ “สั่งการ” มากกวาการใชความรูและการเรียนรู และ
ตองการใหคนไมมีอํานาจ “ทําตาม” มากกวาการเรียนรู คิดเอง ตัดสินใจเอง โครงสรางทางดิ่งจึงเปน
โครงสรางที่บีบคั้น ไมไดใหคุณคากับศักดิ์ศรีความเปนคนของคนทุกคน คนที่อยูในองคกรเชนนี้จึงไมมี
ความสุข ไมรักกัน ขัดแยง และมีพฤติกรรมไมสรางสรรคตางๆ เชน เกงาน นินทาวาราย ออกใบปลิวโจมตี
กัน วิ่งเตนเสนสายเขาหาเจานายเพื่อแสวงหาอํานาจอิทธิพลเพื่อผลประโยชนสวนตัว มีคอรรัปชั่นสูง
ไดทุกรูปแบบ
เพราะพฤติกรรมองคกรในทางลบดังกลาว ซึ่งรวมถึงมีการเรียนรูนอยดวย
องคกรชนิดนี้จะทํางานใหสําเร็จไดยาก ขาดความสําเร็จที่แทจริงในการทํางาน อันนําไปสู
พฤติ ก รรมไม ดี อื่ น ๆ ต อ ไปอี ก เชน ไมก ลา เปด เผยความจริง ทํา อะไรเปน ความลับ อยูใ นที่มืด
ไม โปรงใส ทําการโฆษณาประชาสัมพันธสรางภาพพจน
ในวัฒนธรรมอํานาจ สถาบันตางๆ จะดูถูกชาวบาน ชาวบานเปนคนต่ําตอยไมมีเกียรติ ไมมี
อํานาจ ไมมีเงิน ไมมี “ความรู” จะทําอะไรก็ไมตองคํานึงถึงความรูสึกนึกคิดหรือผลประโยชนของ
ชาวบาน เพราะเหตุนี้จึงสรางความไมเปนธรรมตางๆ นานาขึ้น แกความยากจนไมได ความยากจน
เกิดจากความไมเปนธรรมทางสังคม แตคนมีอํานาจจะคิดวาเปนเพราะความผิดของคนจน
ทั้งหมดเปน “โครงสราง” ทางความคิดและโครงสรางทางสังคมที่บีบคั้นซึ่งกันและกันทั้งสังคม
ทุก คนเหมือ นติด คุก ทางสัง คม ไมม ีเ สรีภ าพและศัก ยภาพที ่จ ะสรา งสรรค แทนที ่ท ุก คนจะมี
เสรีภาพ มีศักดิ์ศรี มีเกียรติ มีศักยภาพ รักและเมตตากัน เรียนรูรวมกันในการปฏิบัติ ซึ่งจะยังใหเกิด
ความสุขความสรางสรรค ในสังคมปจจุบันที่มีเปน “โครงสราง” อํานาจ จึงแกปญหายากๆ ไมได เชน
ความยากจน ความอยุติธรรมในสังคม การทําลายสิ่งแวดลอม การละเมิดสิทธิมนุษยชน ความขัดแยง
และความรุนแรง สังคมจึงไรศีลธรรม ระส่ําระสาย และรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อยางหยุดยั้งไมได คนที่
อยากทําใหดีขึ้นก็รูสึกไมมีอํานาจ ไมมีความหวัง เพราะ “โครงสราง” ที่บีบคั้นทุกคนมันใหญโตและ
หนักเหลือกําลังยก จนรูสึกวาไมสามารถจะทําอะไรได
เราควรจะทําความเขาใจความทุกขเชิงโครงสราง เขาใจสาเหตุและเขาใจทางออก

รูปที่ ๑ โครงสรางอันมหึมาที่กดทับมนุษย ทั้งโครงสรางของทุนอันมหึมา


และโครงสรางทางดิ่ง ที่ใชอํานาจจากบนลงลางในทุกองคกรทางสังคม

วิธีที่ไมไดผล

การที่จะหาวิธแี กปญหาเชิง “โครงสราง” ที่ยากมากดังกลาวใหไดผล ควรเรียนรูวิธีทไี่ มได


ผลเสียกอน วิธีที่ไม ได ผลคือการอยูใ นวั งวนของวิธี ใ ชอํา นาจ เชนการแยงอํานาจกันระหวางพรรค
การเมือง หรือการปฏิวัติรฐั ประหาร แมตั้งใจดีแต “โครงสราง” อํานาจในวิธีคิดและในสังคมยังอยู
เหนียวแนน ทั้งอยูในตัวผูแ ยงอํานาจดวย ถึงแยงอํานาจสําเร็จก็แกไขปญหาไมได ในประเทศรัสเซีย
ซึ่งมีการกดขี่ทางชนชั้นอยางรุนแรง พวกบอลเชวิกโคนลมอํานาจพระเจาซาร และสถาปนาตนขึ้นสู
อํานาจ รั ส เซี ย ผ า นความทารุ ณ โหดร า ยต า งๆ และแก ป ญ หาไม ไ ด ที่ประเทศฟลิปปนสประชาชน
รวมตัวกันขับไลมารกอสออกไป ยกคอราซอนอาคีโนขึ้นมาเปนประธานาธิบดี ประชาชนตองการ
ปฏิวั ติ และอาคี โนก็เ ปน คนดี แตฟลิป ปนสก็ยั งแก ปญหาพื้น ฐานทางสั งคม เชน ความยากจน
ความอยุติธรรมทางสังคมคอรรัปชั่นและการขาดประสิทธิภาพขององคกรทางสังคมตางๆ ไมได
ไมได แ ปลว า ความพยายามของประชาชนและของอาคีโนเป นสิ่ ง ไม ดี แตปญหาเชิง “โครงสราง”
ในทางความคิดและทางสังคมนั้นยากและใหญมาก การสถาปนาอํานาจทางการเมืองใหม แมตั้งใจดีก็
ไมเปนพลังเพียงพอที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformation)
ในเมื่อสาเหตุของปญหาอยูที่ “โครงสราง” ทั้งโครงสรางทางความคิด โครงสรางทางองคกร
และโครงสรางทางสังคม ตองมีวิธีเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformation) ทางความคิด ทางองคกร
และทางสังคม โดยไมใชวิธีใชอํานาจหรือความรุนแรง
วิธีทวี่ าหรือกระบวนการปลดปลอยมนุษยออกจาก “คุกทางความคิดและคุกทางสังคม” ไปสู
ศักยภาพ เสรีภาพ ความสุข และความสรางสรรค นั้นคืออยางไร

การเคารพศักดิ์ศรีและคุณคาความเปนคน
ของคนทุกคนอยางเทาเทียมกัน

คนทุกคนมีศักดิ์ศรีและคุณคาแหงความเปนคน การเคารพศักดิ์ศรีและคุณคาความเปนคน
ของคนทุกคนอยางเทาเทียมกัน เปนรากฐานของความดีงามที่มนุษยใฝฝนถึง เชน ประชาธิปไตย
ความเสมอภาค ภราดรภาพ สิทธิมนุษยชน ความเปนธรรมทางสังคม
ในสังคมใดที่มีประชาธิปไตย ความเสมอภาค ภราดรภาพ มีการเคารพสิทธิมนุษยชน มีความ
เปนธรรมทางสังคม สมาชิกจะมีความสุข และมีการอยูรวมกันอยางดี การอยูรวมกันดวยดีหรือการอยู
รวมกันอยางสันติเปนความปรารถนาและความใฝฝนของมนุษยมาทุกยุคทุกสมัย
การอยูรวมกันดวยดีก็คือศีลธรรม
การที่จะมีประชาธิปไตยอยางแทจริง ความเสมอภาค ภราดรภาพ การเคารพสิทธิมนุษยชน
และความเปนธรรมทางสังคม ตองมีการเคารพศักดิ์ศรีและคุณคาความเปนคนของคนทุกคน
ฉะนั้น การเคารพศักดิ์ศรีและคุณคาความเปนคนของคนทุกคนอยางเทาเทียมกัน จึงเปน
ศีลธรรมพื้นฐานของสังคม
สังคมใดที่ขาดศีลธรรมพื้นฐานนี้จะประสบความเจริญที่แทจริงไมได แมแตสหรัฐอเมริกาที่วา
เจริญ การที่คนดํากับคนขาวมีศักดิ์ศรีและคุณคาไมเทากัน ก็กอใหเกิดความขัดแยงเรื้อรัง ปริ่มๆ จะ
เกิดจลาจลอยูไดร่ําไป เชนเมื่อ ๑๐ กวาปที่แลว เกิดจลาจลเผาเมืองลอสแองเจอลิสจากกรณีตํารวจคน
ขาวตีคนดํา หรือเมื่อเกิดภัยพิบัติจากพายุเฮอริเคนแคทรีนาที่นิวออรลีนสเมื่อเร็วๆ นี้ ก็เกิดจลาจล
เพราะฐานะของคนแตกตางกันมากเกินทําใหขาดภราดรภาพ
ประเทศไทยขาดศีลธรรมพื้นฐานนี้
ชาวบาน คนเล็กคนนอยคนยากคนจนไมมีเกียรติ ไปติดตอกับทางราชการที่ไหนก็ไดรับความ
รังเกียจ ไมแยแส ถูกดุ คนจนจะตองทํางานต่ํา เงินเดือนนอย เสี่ยงภัย เมื่อมีภยันตรายใดๆ เกิดขึ้น
คนจนจะตองตายกอนและตายมากกวา เชน โรคระบาด อุบัติเหตุ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
สถาบันการศึกษาทุกระดับจะสรางความเสื่อมเสียศีลธรรมพื้นฐานนี้โดยไมตั้งใจ และโดยไม
รูตัว เมื่อนักเรียนเขาไปเรียนในสถาบันจะรูสึกวาสถาบันมีเกียรติ ชาวบานไมมีเกียรติ นั่นคือไมเคารพ
ศักดิ์ศรีและคุณคาความเปนคนของชาวบาน แมแตเด็กที่เคยชวยพอแมหาบกระบุงตะกรา เมื่อเขา
โรงเรียนก็ไมกลาเดินกับพอแมที่หาบกระบุงตะกราอีกตอไป เพราะดูเปนของนารังเกียจ ทําไมการ
ทํางานจึงเปนของนารังเกียจไป
เด็กหนุมที่รับจางขัดรองเทา ดูหนาตาเศราหมองไมกลาสบตาผูคน ทําไมการทํางานเชนการ
ขัดรองเทาจึงไมมีศักดิ์ศรีไมมีคุณคา ทั้งๆ ที่มีประโยชน
เราดูถูกงานบางชนิด หรืออาชีพบางอยางใชหรือไม
คานิยมเหลานี้อาจสะทอนใหเห็นในสุภาษิตหรือคําอวยพรบางอยาง เชน
“รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา”
“ขอใหไดนั่งกินนอนกิน”
“ขอใหไดเปนเจาคนนายคน”
คานิยมเหลานี้สะทอนสภาพสังคมที่ขาดการเคารพศักดิ์ศรีและคุณคาความเปนคนของคนทุก
คนอยางเทาเทียมกัน และเปนที่มาของปญหาทางสังคมนานาชนิด เชน ความไมเปนธรรมทางสังคม
การแกความยากจนไมได การทําลายสิ่งแวดลอม และอื่นๆ
ความไมเสมอภาคของศักดิ์ศรีในอาชีพตางๆ กอใหเกิดความบิดเบี้ยวในการศึกษาและระบบ
เศรษฐกิจ เชน อาชีวศึกษาซึ่งควรจะเปนของดี เพราะสัมมาอาชีวะเปนหนึ่งในอริยมรรค แตสังคมดู
ถูกวาเปนของต่ํา นักเรียนอาชีวะก็เปนคนแตถาไมมีเกียรติไมมีศักดิ์ศรีแลวเขาจะอยูอยางมีความสุข
และความสรางสรรคไดอยางไร การไรเกียรติไรศักดิ์ศรีเปนความบีบคั้น เมื่อมีความบีบคั้นก็มีการ
ทะลัก หรือการแตก เมื่อนักเรียนอาชีวะตีกันก็เพียงแตเอาตํารวจไปจับจะแกปญหาไดหรือ ถาไม
เขาใจสาเหตุลึกๆ
คนขับรถเมล คนขับรถ ๑๐ ลอ ทั้งรอน ทั้งเหนื่อย ทั้งรายไดต่ํา ทั้งไมมีเ กียรติไมมีศักดิ์ศ รี
จะเปนสาเหตุของการขับกระชาก ขับเร็ว หรือการเกิดอุบัติเหตุไดหรือไม
ควรจะมีการวิเคราะหปญหาทางสังคมตางๆ วามีสาเหตุมาจากการขาดศีลธรรมพื้นฐานคือ
การเคารพศักดิ์ศรีและคุณคาความเปนคนของคนทุกคนอยางเทาเทียมกัน มากนอยเพียงใด
เพื่อไมใหเสียกําลังใจมากเกิน วาการขาดศีลธรรมพื้นฐานนี้จะเปนเรื่องที่ยากสุดที่จะมีทางแกไข
จะขอเลา เรื่อ งซึ่ง ดูเ หมือ นเปน เรื่อ งเล็ก ๆ สัก เรื่อ งหนึ่ง ที่โ รงเรีย นจอมสุร างคอุป ถัม ปแ ละโรงเรีย น
วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขาใหนักเรียนไปเรียนกับชาวบาน เชน คนขายกวยเตี๋ยว คนขาย
ของชํา ชางผสมปูน คนเหลานี้ไมเคยมีเกียรติเลย ในสังคมไทยคนขายกวยเตี๋ยว คนขายของชํา ชางผสม
ปูน จะมีเกียรติไดอยางไร แตเมื่อมีนักเรียนมาเรียนกับเขา เขารูสึกมีเกียรติขึ้นมาทันที มีความภูมิใจใน
ตัวเองวาเขาก็เปนครูไดเหมือนกัน แลวเขาก็สอนใหนักเรียนทําไดจริงๆ ในการขายกวยเตี๋ยว ในการขาย
ของชํา ในการผสมปูน เพราะเขาทําสิ่งเหลานั้นจนชํานาญอยูแลว ครูที่โรงเรียนเสียอีกที่เปน “ครูสอน
หนังสือ” อาจจะขายกวยเตี๋ยวไมเปน ขายของชําไมเปน ผสมปูนไมเปน การขายกวยเตี๋ยว การขายของ
ชํา การผสมปูน เปนความรูที่มีคาเพราะเปนสัมมาชีพ
และนักเรียนเมื่อเรียนจากใครเขาก็เคารพวาคนนั้นเปนครู
ตกลงวาชาวบานก็รูสึกมีเกียรติมีความภูมิใจในตัวเอง นักเรียนก็ไดเรียนสิ่งที่เปนประโยชน และ
มีความเคารพชาวบานเหลานั้นวาเปนครูของเขา
นี่แหละที่เราเรียกวาศีลธรรมพื้นฐานทางสังคม
จากตัวอยางเล็กๆ นี้ จะเห็นไดวา การเรียนรูวาเราเรียนอะไรจากใครเปนจุดเปลี่ยนของระบบ
คุณคาทางสังคมได นี้อาจจะเปนเสนผมบังภูเขา ขอใหเราติดตามทําความเขาใจเรื่องนี้กันตอไป

กุญแจอยูที่การเคารพความรูในตัวคน

อาจจะฟงดูแปลก แตการเคารพความรูที่มีอยูในตัวคนทุกคนจะนําไปสูการการเปลี่ยนแปลงขั้น
พื้นฐาน
“ความรูในตัวคน” กับ “ความรูในตํารา” มีความแตกตางกันโดยพื้นฐาน
“ความรูในตํารา” หมายถึง ความรูที่มีผูบันทึกความรูที่ไดจากการวิจัยสรางความรูใหมขึ้นมา
ความรูใหมบางอยางก็นามหัศจรรยมาก “ความรูในตํารา” ก็มีประโยชนและมีฐานะอยางหนึ่ง ถา
นํามาใชใหถูกที่ก็จะมีประโยชนมาก แตควรจะรูขอจํากัดและผลรายจากการใชไมถูกที่ดวย
“ความรูใ นตั วคน” หมายถึงความรู ความชํานาญที่ มีอยูในตัว คนแตละคนที่ไดมาจาก
ประสบการณชีวิตและการทํางาน คนทุกคนมีความรูอยูในตัว บางอยางก็แจงชัด บางอยางก็ซอนเรนจน
แมเจาตัวเองก็ไมรูวาตัวมีความรูนี้ อาจจะเปนเรื่องอะไรก็ได เชน ทําไร ทํานา ทําสวน ศิลปะ ธรรมะ
ทํากับขาว ทําขนม ทํากวยเตี๋ยว ชางผสมปูน ชางปลูกบาน ไกลเกลี่ยความขัดแยง แกปญหาทางจิตใจ
หมอทําขวัญ ฯลฯ ความรูในตัวคนไดมาจากวิถีชีวิต จึงสอดคลองและมีประโยชนตอชีวิตและวิถีชีวิต
รวมกัน เปน “ความรูเชิงวัฒนธรรม” ถาเคารพความรูในตัวคน
คนทุกคนกลายเปนคนมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีศักยภาพ และมีความสุข
ตรงนี้คือจุดเปลี่ยน
คือถาทุกคนมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีศักยภาพ ก็จะมีความสุขและความสรางสรรคอยางยิ่ง ทุกวันนี้
คนสวนใหญที่เรียกกันวาชาวบานเปนคนไมมีเกียรติ ไมมีศักดิ์ศรี ไมมีศักยภาพ เพราะการเคารพ
ความรูใ นตํา ราแต ไ มเ คารพความรูใ นตั ว คน ความรูใ นตํา ราเปน ความรูที่ไ ดม าจากกระบวนการ
ทางวิ ท ยาศาสตร มีคนสวนนอยเทานั้นที่รูและเชี่ยวชาญความรูในตํารา เหมือนพราหมณจํานวนนอย
เทานั้นที่ทองคัมภีรพระเวทยได ความรูในตํารามีประโยชนในการไปตอยอดความรูเชิงวัฒนธรรม แต
ไมใชตัวตั้ง ถาไมระวังความรูในตําราจะถูกใชใหเปนประโยชนตอผูมีอํานาจในสังคมที่อยูเหนือชาวบาน
ผูมีความรูในตําราคิดวาชาวบานไมมีความรู จึงดูถูกชาวบานและจัดการศึกษาชนิดที่ทิ้งชาวบาน เปน
การศึกษาที่ไมไดเอาชีวิตและวิถีชีวิตเปนตัวตั้ง แตเปนการศึกษาแบบแยกสวนไปเอา “วิชา” เปนตัวตั้ง
แปลกแยกจากชีวิตความเปนจริงและธรรมชาติแวดลอม ไมเขาใจชีวิตและวิถีชีวิตรวมกันขาดปญญาใน
การอยูรวมกัน นําไปสูวิกฤตการณทางสังคม
จากตัวอยางในทายของตอนที่แลว แสดงวาในตัวคนขายกวยเตี๋ยว คนขายของชํา ชางผสมปูน
มีความรู เปนความรูในตัวคน ไมใชความรูในตํารา และเอามาสอนถายทอดกันได เมื่อถายทอดแลวก็ทาํ
ไดจริง ไปทํางานได ในขณะที่ความรูในตําราถายทอดกันแลวก็ไมแนวาจะเขาใจหรือไปทําอะไรได
หรือไม
ความรูในตัวคนไดมาจากประสบการณและการทํางาน
คนทุกคนที่มีประสบการณและมีการทํางาน คนทุกคนจึงมีความรูอยูในตัว โดยไมคํานึงถึงระดับ
การศึกษา (ที่เปนทางการ)
ตรงนี้จะชวยบอกเราไดวาทําไม แมจึงเปนครูที่ดีที่สุดของลูก โดยไมคํานึงถึงวาแมจะเคยเขา
โรงเรียน หรือไดรับปริญญาระดับใดๆหรือไม เราไปดูประวัติของบุคคลตางๆ ที่มีความสําเร็จ เชน แม
ของอาจารยปวย อึ้งภากรณ ไมเคยเขาโรงเรียนเลย แมของอาจารยเสม พริ้งพวงแกว ก็เชนเดียวกัน
ดร.เจิมศักดิ์ ปนทอง พิมพหนังสืองานศพมารดา ชื่อ “สิ่งที่แมสอนไว” วาแมของทานเปนชาวบานที่
อางทอง ไมเคยเขาโรงเรียนเลย แตสอนสิ่งดีๆ เปนอันมาก
แมไมเคยเขาโรงเรียน แตแมมีความรูในตัวที่ไดมาจากประสบการณชีวิตและการทํางาน แมจึง
สอนลูกได และเปนครูที่ดีที่สุดของลูก
ตรงนี้อยากใหหยุด แลวลองคิดถึงแมของตัวทานเองนิ่งๆ สักพัก
จะปรากฏวาจิตขึ้นมาก
เพราะแมเปนจิตวิญญาณของลูก เปนความดีสูงสุดของลูก เปนกัลยาณมิตรที่สอนใหกินเปน
เดินเปน และทําอะไรดีๆ อยางที่มนุษยควรทํา แมมีความรูในตัวทานที่ไดมาจากประสบการณชีวิตและ
การทํางาน แมทานจะไมมีปริญญาอะไรก็ตาม
ถาเราดูตัวอยางจากแม ทําความเขาใจและเห็นคุณคาความรูในตัวคน เราอาจจะพบ
กุญแจประตูกล ไขออกไปจากสิ่งที่คุมขังเราอยู
ถาวาแมคือครูที่ดีที่สุด และทุกคนก็มีแม
ไฉนปญหาที่กอความทุกขยากแกคนทั้งแผนดิน คือการหาโรงเรียนดีๆ ใหลูกเขาไมได การ
สอบเขามหาวิทยาลัยเปรียบประดุจประตูที่กั้นระหวางนรกกับสวรรค นักเรียนและพอแมทั้งประเทศ
เครียดและวิตกกังวลกันไปหมดวาลูกจะสอบเอ็นทไดหรือไม สวนนอยเขาไดก็ประดุจขึ้นสวรรค สวน
ใหญเขาไมไดก็เหมือนลงนรก บางคนไปฆาตัวตาย
ที่ใกลบานผมมีเด็กผูชายคนหนึ่งเปนคนดี มากขยันชวยพอแมทํางาน แตวันหนึ่งแกฆาตัวตาย
เสียแลวเพราะสอบเอ็นทไมได การที่แกเปนคนดีขยันและชวยพอแมทํางาน เปนความดีอยางยิ่งและ
การชวยพอแมทํางานเปนการเรียนรูอยางดี แตสังคมไปใหคุณคาแกการสอบเอ็นทมากกวาการเปนคน
ดีและเรียนรูจากการทํางานกับพอแม แปลวาทางแหงเกียรติยศของเราคับแคบ กอความทุกขยากให
คนสวนใหญ นอกจากคับแคบแลว ประเดี๋ยวจะไดดูกันวาทางแหงเกียรติที่วานี้จริงหรือปลอมมากนอย
เพียงใด
การเรียนอยางเปนทางการของเราเนนการเรียนจากตําราหรือการทอง “วิชา”
เนื้อหาความรูในโลกเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็ว ประมาณวาเพิ่มขึ้นเทาตัวในชั่วเวลาเพียง ๓ - ๔ ป
เทานั้น แตเวลามีเทาเดิมวันละ ๒๔ ชั่วโมง สัปดาหละ ๗ วัน การพยายามยัดเนื้อหาความรูอันมหึมา
เขาไปในเวลาเทาเดิม จึงเปรียบเหมือนยัดชางเขารูเข็ม จะลําบากและบอบช้ําอยางยิ่ง ครูก็ลําบาก
เพราะไมสามารถจดจําเนื้อหาวิชาตางๆ ได ครูจึงขาดความมั่นใจ แตครูก็มีทางออกโดยแบงกันสอน
เปนวิชาๆ แตนักเรียนไมมีทางออกตองเรียนทุกวิชาแบบแยกสวน
การเรียนโดยเอาวิชาเปนตัวตั้ง โดยไมเอาชีวิตและวิถีชีวิตเปนตัวตั้ง ทําใหเกิดปญหาตางๆ
ตามมา เชน
(๑) เรียนยาก เพราะทองจําไมไหว นักเรียนเกือบทั้งหมดกลายเปนคนไมเกง อันที่จริงแตละ
คนมีความชอบความถนัดตางกัน ถาไดเรียนในสิ่งที่ตนชอบก็จะเรียนงายและเรียนเกง แตการถูก
บั ง คั บ ให ท อ งจํ า มากมายเหมื อ นๆ กั น ทํ า ให ข าดความสุ ข ความสร า งสรรค และเป น การทํ า ลาย
ศักยภาพของคนอยางรุนแรง ทําใหคนสวนใหญขาดความมั่นใจและความภูมิใจในตนเอง
(๒) มีปริญญาแตทําอะไรไมเปน พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย เปนผูหนึ่งที่เปนหวงการศึกษา
ไทยมาก เคยเลาใหผมฟงวาทานเคยพูดกับคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี วา “คุณเจริญ คุณก็มีโรงแรมมาก
ทําไมคุณไมจางคนไทยทํางาน” คุณเจริญตอบวา “ผมจางแลว แตเขามีแตปริญญาแตทํางานไมเปน”
คุณยิ้ม ชางรับเหมากอสรางบนวาคนสมัยนี้ทํางานไมเปน ไมสูงานหนักและไมรับผิดชอบ
ปญหาคนไทยทํางานไมเปน เปนเรื่องใหญมาก เปนผลจากการเรียนแบบเนนทอง “วิชา”
(๓) เกิดความแปลกแยกจากเพื่อนมนุษยและความเปนจริง เด็กนักเรียนที่เรียนแบบทอง
“วิชา” มากมายจะเครียดมาก ไมอยากคุยแมแตพอแม ปูยา ตายาย เพราะคุยแลวไมไดคะแนน คะแนน
ไปอยูที่วิช า การเรีย นแบบนี้จึง ไม ใ หค วามสํา คัญ กับ สัม พัน ธภาพในครอบครัว พอ แม ปูยา ตา
ยาย มี ความรูในตัวเยอะทีเดียว และก็มีความรักลูกหรือหลาน แตการศึกษาของเราไมใหคุณคากับ
ความรูในตัวคนและสัมพันธภาพในครอบครัว เหมือนเด็กถูกตัดขาดหรือไปถูกกักขังอยูกับ “วิชา” ไม
สอดคลองกับความเปนจริงของชีวิตและวิถีชีวิต
(๔) ขาดศีลธรรม ศีลธรรมเกิดจากวิถีชีวิตรวมกัน การเรียนวิชาศีลธรรมสรางไมได เรามอง
การเรียนเปนเรียน “วิชา” ไปหมด ไมมองวาการเรียนรูเกิดในวิถีชีวิตและการทํางาน เมื่อระบบการศึกษามา
แยกผูคนออกไปจากวิถีชีวิตจริง ความเสื่อมเสียทางศีลธรรมก็เปนเรื่องหนีไมพน
(๕) ตั ด รากทางวั ฒ นธรรม วั ฒ นธรรมคื อ วิ ถี ชี วิ ต ร ว มกั น ของกลุ ม ชนที่ ส อดคล อ งกั บ
สิ่งแวดลอมหนึ่งๆ บุคคลเรียนรูในวัฒนธรรมไดงายเพราะผูคนเขาปฏิบัติกันอยูรอบตัว ตนไมตองมีราก
ฉันใด สังคมก็เชนเดียวกัน รากของสังคมคือวัฒนธรรม ถาตัดรากตนไม แลวเกิดอะไรขึ้นฉันใด การ
พัฒนาโดยตัดรากวัฒนธรรมก็เกิดผลในทํานองเดียวกันฉันนั้น การศึกษาแบบการเนนการทองวิชา เปน
การศึกษาแบบตัดรากทางวัฒนธรรม ดวยการเรียนรูแบบนี้ ภูมิปญญาตางๆ ที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมของ
ตนจะสูญพันธุ เหมือนพืชหรือสัตวที่สูญพันธุไปแลว จะไมกลับคืนมา
ที่กลาวนี้เพียงยนยอ พอใหเห็นวาทางแหงเกียรติยศอันคับแคบของระบบการศึกษาปจจุบันนั้น
กอใหเกิดความบีบคั้นอยางหนักในสังคม
เราควรจะทบทวนระบบการศึกษาของเราอยางถึงรากถึงโคน
จุดเปลี่ยนอยูที่การเคารพความรูในตัวคน
แตเราไมไดปฏิเสธความรูในทางทฤษฎีหรือความรูในตํารา เพียงแตวาเราตองจัดความสัมพันธ
ของความรูในตัวคนกับความรูทางทฤษฎีอยางถูกตอง อะไรเปนฐาน อะไรเปนการตอยอด อะไรเปน
สวนตกแตง
ถาเคารพความรูในตัวคน การศึกษาก็จะเปลี่ยน สังคมจะเปลี่ยน
“การจัดความรู” คือรูปธรรมของการเคารพความรูในตัวคน

การทําแผนที่ความรูในตัวคนทุกคน
Every Human Mapping ( EHM )

ลองจินตนาการดูวาถาทําดังตอไปนี้จะเกิดอะไรขึ้น
ในแตละตําบลมีคนประมาณ ๕,๐๐๐ คน มีโรงเรียนอยูประมาณ ๕ โรงเรียน มีวัดอยูประมาณ
๕ วัด มีสถานีอนามัย มีเกษตรตําบล มีพัฒนากรตําบล มีอบต. มีกํานัน มีผูใหญบาน มีที่ดิน มีปาไม มี
แหลงน้ํา มีประวัติศาสตร มีวัฒนธรรม รวมแลวเปนทรัพยากรชุมชน (Community Resources)
อันอุดม
ถัดขึ้ น มาเรามี องค ก รและสถาบันตางๆ อีกจํา นวนมาก เชน มหาวิทยาลั ย และหนว ยงาน
ราชการตางๆ ที่สามารถสนับสนุนการพัฒนาชุมชน ทรัพยากรทั้งหมดรวมกันมากเกินพอที่จะสราง
ความอยูเย็นเปนสุขได ถามีทัศนะที่ถูกตอง และมีการจัดสัมพันธภาพที่เหมาะสมทั้งภายในชุมชน และ
ระหวางชุมชนกับองคกรและสถาบันตางๆ นอกชุมชน
ในแตละตําบลควรมีการทําแผนที่ความรูในตัวคนทุกคน กลาวคือ มีการศึกษาสํารวจวา
ในแตละคนมีความรูอะไรบาง จะเปนทางใดก็ไดแตกตางกันไป จะสํารวจรวดๆ เร็วๆ ไมดี เพราะความรู
หลายอยางฝงลึก ซึ่งเจาตัวก็อาจจะไมรู ตองมีการพูดคุยกันอยางลึกๆ ผูศึกษาสํารวจตองตั้งใจฟงตองมี
ความนอบนอมถอมตัวและเคารพในศักดิ์ศรีของชาวบาน ซึ่งตรงนี้ตองการการฝกอบรมบมเพาะตัวเอง
เพราะเราคุนเคยกับการไมเห็นคุณคาของชาวบานมานาน ถาสนับสนุนใหครูและนักเรียนทําตรงนี้ไดจะ
ดีมาก เพราะจะเปนการเรียนรูเปนอยางดี และทําใหทราบแหลงเรียนรูอันมโหฬารในชุมชน และสราง
ความสัมพันธระหวางโรงเรียนกับชุมชน
คนในชุมชนจะรูสึกมีศักดิ์ศรี ภาคภูมิใจในตนเอง และมีความสุขมากที่มีคนมาสนใจใหคุณคา
และฟงเขาเลา เพราะในสภาพที่ผานมาไมมีใครมาฟงเขาดวยความเคารพ มีแต “ทางการเขาสั่งมาวา”
การฟงเปนการใหความมั่นใจแกชาวบานวาเขามีคุณคามีความดี ที่ผานมาคนไทยถูกทําลายความมั่นใจ
หมดทั้งประเทศ เสมือนวาคนไทยไมมีความเกงและความดีอะไรเลย ตนธารของความเกงและความดี
ตองมาจากตางประเทศ มาสูคนไทยเฉพาะสวนที่ศึกษามาจากตางประเทศ ความมั่นใจแหงชาติเปน
เรื่องสําคัญยิ่ง เพราะเปนพลังที่จะรักษาบูรณภาพของประเทศและทําใหชาติแข็งแรง
ขอมูลความรูความชํานาญในตัวคนทุกคนควรจะถูกนําไปบรรจุไวในระบบขอมูลอิเล็คทรอนิค
ของประเทศ เปนแผนที่ความรูความชํานาญในเรื่องตางๆ ของคนไทยทั้งประเทศ เหมือน GIS ทางภูมิศาสตร
แต GIS เรื่องคนนี้จะมีประโยชนมากกวา ตอไปใครอยากเรียนรูอะไรก็ไปกดคอมพิวเตอรดูวา
ผูเ ชี่ ย วชาญเรื่อ งนี้ อยูที่ไ หน อาจเจอวา อยูที่จังหวั ดสุ ริน ทร หรือสตู ล หรือ เลย ฯลฯ ทํา ให เ กิด การ
แลกเปลี่ยนเรียนรูกันอยางมโหฬารไดทั้งประเทศ และเปนการเรียนรูจากคนที่เขาทําเปนจริงๆ การรู
ขอมูลวาใครทําอะไรเกง อยูที่ไหน เชน ที่ไหนทําอาหารอรอย ที่ไหนมีขนมอรอยเปนพิเศษ ที่ไหนทํา
ศิลปหัตถกรรมอะไรสวย จะกอใหเกิด “เศรษฐกิจวัฒนธรรม” ขนาดใหญ คือผูบริโภคที่อยากบริโภค
ของอร อ ย ดี แปลก ก็ ไ ด บ ริ โ ภค ได ท อ งเที่ ย วไปชม เศรษฐกิ จ ชุ ม ชนก็ จ ะเติ บ โตแข็ ง แรง เป น
องคประกอบพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อฐานของสังคมแข็งแรงก็จะรองรับใหสังคมขางบนเติบโต
ไปจนกลายสมดุลและยั่งยืน
ประชาชนทั่ว ประเทศที่มีข อมู ล ความถนั ด ความชอบของเขาไม ป รากฏในระบบฐานข อมู ล
แหงชาติที่คนรูกันไดทั่ว ก็จะมีความภูมิใจและอยากทําความดีมากขึ้น สังคมก็จะสงบสุขมากขึ้น
ขณะนี้สถาบันอาศรมศิลปไดเริ่มทดลองทําการศึกษาวิจัยทําแผนที่ความรูในตัวคนทุกคนที่เกาะ
ลันตาใหญ จังหวัดกระบี่ ไดพบประสบการณที่ตื่นเตนกอใหเกิดความปลื้มปติทั้งในตัวผูสํารวจและในตัว
ชาวบาน สอเคาวาจะทําใหเกิดพลังสรางสรรคอันมโหฬารในชุมชน หวังวาจะมีองคกรที่จะทดลอง
สนับสนุนการทําแผนที่ความรูในตัวคนในชุมชน หรือในองคกรตางๆ มากขึ้น อันจะทําใหเกิดพลัง
สรางสรรคเต็มประเทศ
“การจัดการความรู” เปนรูปธรรมในทางปฏิบัติของการเคารพความรูในตัวคน
คุณธรรม ๘ ประการของการจัดการความรู

คําวา “การจัดการ” อาจทําใหเกิดความรูสึกที่ไมคอยดีนักในสังคมไทย เพราะเหมือนจะไปใช


อํานาจจัดการอะไรๆ แตคําวา จัดการความรู (Knowledge Management) มีความหมายจําเพาะ วา
หมายถึ ง การจั ด การให มี ก ารค น พบความรู ความชํ า นาญที่ แ ฝงเร น ในตั ว คน หาทางนํ า ออกมา
แลกเปลี่ยนเรียนรู ตกแตงใหงายตอการใชสอยและมีประโยชนเพิ่มขึ้น มีการตอยอดใหงดงาม และใชได
เหมาะสมกับสภาพความเปนจริงและกาละเทศะยิ่งขึ้น มีความรูใหมหรือนวัตกรรมเกิดขึ้นจากการเอา
ความรู ที่ ไ ม เ หมื อ นกั น มาเจอกั น ข อ สํ า คั ญ ก อ ให เ กิ ด การเรี ย นรู ร ว มกั น ของคนทั้ ง หมดที่ ร ว มใน
กระบวนการกอใหเกิดปญญารวม (Collective Wisdom) ทําใหแกปญหาหรือพัฒนาในเรื่องยากๆ ได
สําเร็จ
แนวคิ ด และวิ ธี ก ารในเรื่ อ งการจั ด การความรู มี ก ารตี พิ ม พ ค อ นข า งแพร ห ลายทั้ ง ใน
ภาษาตางประเทศและภาษาไทย สคส. (สถาบันสงเสริมการจัดการความรูเพื่อสังคม) กําลังทํางาน
อยางเขมแข็งตามชื่อของสถาบัน ไดผลิตขอมูลขาวสารเกี่ยวกับแนวคิด วิธีการ และประสบการณไว
มากพอสมควรและมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเครือขายและกิจกรรมในตัวของตัวเอง เปนขาวสารและ
การสื่อสารที่ยิ่งกวาสื่อในกระดาษ
เทคนิคและวิธีการในเรื่องการจัดการความรูเปนเรื่องสําคัญที่ตองเรียนรูเพื่อใชในการปฏิบัติ แต
อยาไปติดอยูเฉพาะทางเทคนิคและคิดแบบกลไกเทานั้น ในเรื่องการจัดการความรูมีมิติทางนามธรรม ที่
ไมใชเทคนิค (nontechnical dimension) อยูดวย เรื่องทางนามธรรมนี้เปนเรื่องของความหมายในทาง
ลึก ที่ถาเขาใจ ระลึกถึง และบมเพาะใหงอกงามยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จะพูนพลังใหกับการจัดการความรูอยาง
วิจิตรและมโหฬารขึ้น
ตอไปนี้เปนคุณธรรม ๘ ประการของการจัดการความรู
(๑) เปนศีลธรรมพื้นฐาน ศีลธรรมพื้นฐานของสังคมคือการเคารพศักดิ์ศรีและคุณคาความเปน
คนของทุกคนอยางเทาเทียมกัน ศีลธรรมพื้นฐานนี้จะนําไปสูการอยูรวมกันดวยสันติ สังคมสวนใหญ
ขาดศีลธรรมพื้นฐานนี้ จึงนําไปสูการพัฒนาที่บิดเบี้ยวและไมสามารถสรางสังคมสันติสุขได การจัดการ
ความรูมีพื้นฐานอยูที่การใหคุณคาแกความรูที่อยูในตัวคนทุกคน จึงเปนรูปธรรมแหงการปฏิบัติที่เคารพ
ศักดิ์ศรีและคุณคาความเปนคนของคนทุกคน ถาสํานึกถึงคุณคาที่ลึกซึ้งสุดนี้อยูเสมอๆ จะเกิดการ
เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตัวเราเองในการมองเพื่อนมนุษย
(๒) การไมใชอํานาจ มนุษยตามปกติจะใชอํานาจกระทําตอกัน แมในสังคมที่เรียกตัวเองวา
ประชาธิปไตย เพราะอํานาจเปนกิเลสที่ลึกที่สุดอยางหนึ่งของมนุษย การใชอํานาจอาจใชโดยไมรูตัว
หรือทั้งๆ ที่มีค วามรั กก็ได เชนพ อแม ใ ชกับ ลูก แพทยใ ชกับ คนไข พระใช กับ ชาวบา น นายจา งใช
กับ ลู กจาง มิ ใยตองเอยถึงในองคกรตางๆ ตามที่กลาวในตอน ๒ การใชอํานาจจะไปปดกั้นกระบวนการ
ตามธรรมชาติ กระบวนการตามธรรมชาติคือการรับรู เรียนรู งอกงาม ถักทอเครือขาย เมื่อใชอํานาจจะ
ทําใหกระบวนการตามธรรมชาติบิดเบี้ยวเบี่ยงเบนไปจากที่ควรจะเปน การใชอํานาจจะไมทําใหเกิดการ
เรียนรูรวมกัน ตามที่จะกลาวถึงในขอ (๖) ขางลางนี้ การจัดการความรูสรางความสัมพันธใหม ทุกคนมี
ความสําคัญ ประสบการณของทุกคนมีความสําคัญ ความเสมอภาคทําใหเกิดความสัมพันธที่ดี ทําใหทุก
คนมีเสรีภาพที่จะนําเอาศักยภาพในตนออกมาแบงปนรวมแลกเปลี่ยนเรียนรู ถาเราตระหนักถึงการไม
ใชอํานาจอยูเนืองๆ ความเสมอภาคที่แทจริงจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ สงใหเกิดความสุข และพลังของความ
สรางสรรค
(๓) การฟงอยางลึก (deep listening) การนําความรูที่แฝงเรนในตัวออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู
กัน ตองมีการคุยที่เนนการฟงอยางลึก ไมใชโตเถียงกันโดยหวังเอาชนะคะคาน หรือพนใหผูอื่นฟงขาง
เดียว คนบางคนไมฟงคนอื่น เอาแตพูด หรือฟงก็ไมไดยิน อยางนี้ปญญาไมเกิดแตเปนอาการของคนที่
มีตัวตนจัด (ego) ถาเราไมเคารพคูสนทนาก็จะไมฟงเขา เชน ถาหมอถือตัววาสูงกวาคนไขก็จะไมฟง
คนไข ถามีความเปนคนเสมอกันก็ตองมีการฟง การจะมีความตั้งใจฟงอยางลึกก็ตองมีศีลธรรมพื้นฐาน
คือเคารพความเปนคนของคูสนทนาอยางแทจริง
การฟงอยางลึกทําใหเกิดปญญา โบราณใชคําวา พหูสูต สําหรับผูมีปญญา (สุตะ = ฟง)
เมื่ออีกฝายตั้งใจฟงผูเลาจะมีความรูสึกที่ดี มีความเชื่อใจ ยอมอยากจะบอกอะไรที่เกี่ยวกับเขา ซึ่งตาม
ปรกติจะไมบอกใคร การฟงอยางลึกและเงียบ จิตใจสงบ มีสติจดจออยูกับสิ่งที่ไดยิน จะใหเกิดปญญา
Otto Scharmer ไดเสนอทฤษฎีรูปตัวยู (U) โดยยอดังรูปที่ ๒
(ก) กิเลส
รับรู

(ข) รับรู

แขวนไวกอน พูดและทําดวยปญญา

พิจารณา
อยางสงบ
มีสติ

“Presencing”

อดีต - ปจจุบัน - อนาคต


รูปที่ ๒ ทฤษฎีรูปตัวยู ของ Otto Scharmer ดัดแปลงใหงาย
(ก) ถ า รั บ รูอ ะไรมา แล ว มี ป ฏิ กิ ริย าออกไปทัน ที แบบพูด เปรี้ย งทํา เปรี้ย งจะตื้ น แยกส ว นไม
ประกอบดวยปญญา ตกเปนเหยื่อของกิเลส
(ข) ถารับรูอะไรมา แขวนไวกอน ดึงลงลึก พิจารณาอยางเงียบๆ มีสติ จิตจะสงบมาก ไปสัมผัส
ความจริงทั้งหมดที่เขาใชคําวา Presencing ณ ที่นั้น อดีต – ปจจุบัน – อนาคต จะเชื่อมกัน
เกิดปญญาสวางไสว เมื่อพูดหรือทําอะไรออกไปก็เปนผลจากการเกิดปญญา
ทฤษฎีของ Otto Scharmer ตรงกับที่พระพุทธเจาสอนไววา เมื่อใครพูดอะไรเธออยาเพิ่งรับ
หรือปฏิเสธ (ฟงอยางลึก) นํามาพิจารณาอยางแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) มีสติ แลวจะเกิดปญญา
ฉะนั้น นักจัดการความรูพึงสําเหนียกวา การฟงอยางลึกเปนศีลธรรมพื้นฐานแหงการเคารพ
ผูอื่น พึงเจริญสติใหมากในการฟง สิ่งดีงามจะผุดบังเกิดขึ้นอยางอัศจรรย
(๔) เปนวิธีการทางบวก กลาวคือเอาความสําเร็จ ความภาคภูมิใจของสิ่งที่เคยทําดวยดีเปน
ตัวตั้ง นํามาเห็นคุณคาและชื่นชม แลกเปลี่ยนเรียนรู ตอยอดใหงดงาม และมีประโยชนยิ่งขึ้น วิธีการ
ทางลบคือเอาความลมเหลวหรือปญหาขึ้นมาเปนตัวตั้ง วิพากษวิจารณ แลวทะเลาะกัน เปนการทอน
กํา ลั ง วิธี ก ารทางบวกทํา ใหมีค วามปติ มีกํา ลั ง ใจ มีค วามสามั ค คี และมีพ ลัง สรา งสรรคที่จ ะ
เคลื่อนตัวตอไปในอนาคต
(๕) การเจริญธรรมมะ ๔ ประการ ที่เกื้อหนุนการเรียนรูรวมกัน การจัดการความรูเนนที่
การสงเสริมการเรียนรูรวมกัน ปรกติมนุษยเรียนรูรวมกันยากเพราะกิเลส เชน ความโกรธ ความ
เกลียด อหังการ มหังการ มฆังการ การจะเรียนรูรวมกันควรเจริญธรรมะ ๔ ประการ คือ
• ความเอื้ออาทร (Compassion)
• ความเปดเผย (Openess)
• ความจริงใจ (Sincerity)
• ความเชื่อถือไววางใจกัน (Trust)
เมื่อเกิดความเชื่อถือไววางใจกันจะมีคามาก ทําอะไรก็งาย และมีความสุขอยางยิ่ง ถา
ขาดความเชื่อถือไววางใจกัน จะไมอยากคุยกันอยางลึกๆ
เมื่อไมคุยกันอยางลึกๆ ความรูแฝงเรนก็สําแดงออกมาไมได ฉะนั้นประชาคมจัดกา
ความรูพึงเจริญใหมากซึ่งธรรมมะ ๔ ที่เกื้อหนุนการเรียนรูรวมกัน
(๖) การเรียนรูรวมกันในการปฏิบัติ (Interactive learning through action) เปนอิทธิ
ปญญาการเรียนรูรวมกันในการปฏิบัติมีความสําคัญที่สุดในการทําใหทําอะไรยากๆ ใหสําเร็จ การไม
เรียนรู การเรียนรู โดยทองตําราอยางเดียว การเรี ยนรูเฉพาะบางคนโดยไมใ ชการเรียนรูของคน
ทั้งหมดรวมกัน ไมเกิดปญญารวมที่สอดคลองกับความเปนจริง ไมเปนไปเพื่อความสําเร็จ ในขณะที่
ความรูในตําราอาจไมไดมาดวยการปฏิบัติหรืออยูหางไกลจากการปฏิบัติ ความรูในตัวคนเปนความรู
ที่เนื่องดวยการปฏิบัติ และการจัดการความรูที่สงเสริมการเรียนรูรวมกันเพื่อใหการปฏิบัติบางสิ่ง
บางอยางเปนผลสําเร็จ การจัดการความรูจึงเปนการสงเสริมการเรียนรูรวมกันในการปฏิบัติ อันจะทํา
ใหเกิด อิทธิปญญาหรือเพื่อความสําเร็จ (อิทธิ = ความสําเร็จ)
(๗) การถักทอไปสูโครงสรางใหมขององคกรและของสังคม โครงสรางที่สุดโตง ๒ อยาง
คือโครงสรางทางดิ่ง และ (๒) โครงสรางปจเจกชนนิยมแบบตัวใครตัวมัน ไมมีพลังเพียงพอในการ
แก ป ญ หาที่ ย ากและซั บ ซ อ นของสั ง คมป จ จุ บั น การจั ด การความรู ก อ ให เ กิ ด โครงสร า งใหม แ บบ
เครือขาย

(ก) (ข) (ค)


โครงสรางทางดิ่ง ตัวใครตัวมัน เครือขาย
แบบใชอํานาจ

รูปที่ ๓ การจัดการความรูคอื กระบวนการปรับเปลี่ยนโครงสรางความสัมพันธจากโครงสรางทางดิ่ง


(ก) และโครงสรางปจเจกชนนิยมสุดโตงแบบตัวใครตัวมันไปเปนโครงสรางแบบเครือขาย (ค)
ตามรูปที่ ๓ การสงเสริมใหเกิดการเรียนรูรวมกัน ทําใหบุคคลทั้งโดยตัวบุคคลหรือภายใน
องค ก รเดี ย วกั น หรือ ขา มองค ก ร เข า มาเชื่อ มโยงกั น โดยความสมั ค รใจไม ใ ช โ ดยการบัง คั บ แต
เชื่อมโยงดวยการเรียนรูและทํากิจกรรมรวมกัน เกิดเปนเครือขายทั้งภายในองคกรและขามองคกร
โครงสรางเครือขายนี้จะคลายโครงสรางของสมอง สมองมีเซลลสมองอยูประมาณหนึ่งแสน
ลาน (๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐) ตัว แตละตัวเชื่อมโยงกับตัวอื่นๆ อีกประมาณ ๗๐,๐๐๐ ตัว เปนเครือขาย
เซลลสมอง (neuronal networks) ซึ่งเปนโครงสรางที่วิจิตรที่สุดในจักรวาล มีสมรรถนะในการเรียนรู
สูงสุด มนุษยก็มีจํานวนมาก เมื่อเชื่อมโยงกันเปนเครือขายมนุษย (human networks) จึงเปน
โครงสรางที่วิจิตร และมีสมรรถนะในการเรียนรูสูงสุดในขณะที่โครงสรางทางดิ่งมีการเรียนรูนอยมาก
ดังกลาวแลวในตอน ๒ และโครงสรางปจเจกนิยมสุดโตงแบบตัวใครตัวมันขาดพลังรวมและปญญา
รวม ไมสามารถนําไปสูความสําเร็จทางสังคม
การที่การจัดการความรูนําไปสูการถักทอโครงสรางใหม จากโครงสรางทางดิ่งและโครงสราง
แบบตัวใครตัวมันไปสูการเปนเครือขายมนุษย มีความสําคัญยิ่งนักเพราะเปนการเปลี่ยนแปลงขั้น
พื้นฐาน (Transformation) ที่ไมเคยทําไดสําเร็จดวยวิธีใชความรุนแรง แตสําเร็จไดดวยการจัดการ
ความรูอัน ประณี ต ที่ สง เสริม ใหมีก ารเรีย นรู ร ว มกั น ในการปฏิบั ติ โครงสรา งใหมจ ะปลดปล อ ย
มนุ ษ ยไ ปสูศั กยภาพ เสรีภาพ และความสุข
(๘) การเจริญสติในการกระทํา การจัดการความรูที่ดีเปนการเจริญสติไปในตัว การเจริญสติ
คือการรูตัว การรูตัวทําใหมีปญญาและทําไดถูกตอง ในกระบวนการจัดการความรูที่ดี ทุกคนตอง
พยายามมีสติระลึกรู เมื่อทุกคนมีสติในกิจกรรมรวมเถิด จะเกิดเปนสติของกลุม หรือสติขององคกร
หรือสติของสังคมอันเปนเรื่องใหมซึ่งดียิ่งนัก เพราะสังคมที่ไมมีสติเปนอยางไรเราพอนึกออกและเห็น
อยูทั่วไป การเจริญสติทําใหจิตใจสงบ มีอิสรภาพเพราะหลุดจากความบีบคั้น สัมผัสความจริงได
ควบคุมความคิด การพูด และการกระทําได การมีสติจึงเปนความงาม ความดี และความสุข ทุกคน
ควรทําความเขาใจเรื่องสติและพยายามเจริญใหมาก จะประสบความสุขและความเจริญทั้งปวง
การจัดการความรูคงจะมีคุณลักษณะอื่นๆ อีก ที่นํามากลาวไว ๘ ประการก็คงเพียงพอที่จะ
เปนกําลังใจใหฮึกเหิมในธรรม เห็นภาพรวมของการจัดการความรูในเชิงลึก ซึ่งถาตระหนักรู และ
พยายามเจริญคุณธรรม ๘ ประการใหประณีตยิ่งๆ ขึ้น การทั้งปวงจะงดงามและทรงพลังมากขึ้น
เรื่อยๆ
เสรีภาพของระบบ
และ
ศักยภาพบูรณาการของมนุษยทั้ง ๔ มิติ

การจัดการความรูที่ดีนําไปสูเสรีภาพของระบบ และนําไปสูการพัฒนาและใชศักยภาพอยาง
บูรณาการของมนุษยทั้ง ๔ มิติ
ทั้ง ๒ เรื่องมีความสําคัญยิ่ง สังคมปจจุบันทั่วโลกประสบความลมเหลวเพราะขาดความเขาใจ
และพัฒนาเสรีภาพของระบบ และศักยภาพอยางบูรณาการของมนุษยทั้ง ๔ มิติ ประชาคมจัดการ
ความรูควรทําความเขาใจใน ๒ ประเด็นนี้
คําวา เสรีภาพ ที่ใชกันมักหมายถึงเสรีภาพของบุคคลเทานั้น ซึ่งเปนการแยกสวน เพราะ
มนุษยไมไดดํารงอยูโดยเอกเทศ แตเกิดจากและสัมพันธกับสรรพสิ่งหรือระบบทั้งหมด เสรีภาพสวน
บุคคลเทานั้นนําไปสูสิทธิปจเจกชนนิยมสุดโตงดังที่กลาวถึงแลว และการรบกวนดุลยภาพของระบบ
ได
รถยนตหรือรางกายมนุษยเปนตัวอยางของระบบ รถยนตประกอบดวยสวนประกอบตางๆ
เปนรอยๆ ชิ้น องคประกอบตางๆ ตองเชื่อมโยงสัมพันธกันอยางลงตัว รถยนตจึงจะวิ่งไปได แตถา
องค ป ระกอบสว นใดส ว นหนึ่ง ขั ด หรือ ขบกัน รถก็ จ ะตกอยูใ ตค วามบี บ คั้น วิ่ง ไมไ ดห รื อ ไมไ ด ดี
ความบีบ คั้นในระบบก็คือการขาดเสรีภาพหรือความคลองตัว การที่องคประกอบตางๆ เชื่องโยง
สัมพันธกันอยางลงตัวทําใหระบบไมมีความบีบคั้น นั่นคือมีเสรีภาพ มีความคลองตัว หรือมีความเปน
ปรกติ
รางกายของเรามีองคประกอบที่ซับซอนยิ่งกวารถยนต องคประกอบทั้งหมดตองเชื่องโยง
สัมพันธกันอยางลงตัว เราจึงมีความเปนปรกติ มีความคลองตัว หรือมีเสรีภาพ ที่มีความไมลงตัวหรือ
ขั ดกั น ในส ว นใดส ว นหนึ่ ง ยอ มเกิ ดความบี บ คั้ น ความไม ส บาย ความไม ค ลอ งตัว หรื อความไม มี
เสรีภาพ เซลลมะเร็งมีเสรีภาพเฉพาะตัวที่จะเจริญงอกงามเปนเอกเทศ แตทําลายดุลยภาพของระบบ
ทั้งหมด
ในสังคมเพราะขาดความสัมพันธกันอยางลงตัวขององคประกอบทั้งหมด สังคมจึงเจ็บปวย
หรือเปนมะเร็ง การจัดการความรูที่ดีพยายามทําใหเกิดความสัมพันธที่ลงตัว จึงอาจเปนยาที่ชวย
รักษามะเร็งทางสังคมได! นั่นคือสวนที่วา การจัดการความรูที่ดีนําไปสูเสรีภาพของระบบ
ศักยภาพบูรณาการ ๔ มิติของมนุษย คืออยางไร
ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกพูดตรงกันในเรื่องการพัฒนามนุษยวามี ๔ มิติ คือ
พัฒนาทาง กาย
พัฒนาทาง จิต
พัฒนาทาง สังคม
พัฒนาทาง ปญญา
แตที่ผานมามักมีการพัฒนาแบบแยกสวนเปนเรื่องๆ เชน มีการพัฒนาทางกายหรือทางวัตถุ
มาก แตละเลยการพัฒนาอีก ๓ องคประกอบ หรือปลอยใหการพัฒนาวัตถุไปทําลายการพัฒนาจิตใจ
พัฒนาสังคม และพัฒนาปญญา ทําใหเกิดวิกฤตการณทั่วไปหมด เปนวิกฤตการณวัตถุนิยม บริโภค
นิยม อันเปนวิกฤตการณปจ จุบัน
การพัฒนาทางจิตถูกละเลยไปมาก เพราะเนนการพัฒนาวัตถุมาก ดังกลาวขางตน ที่มีการ
พัฒนาจิตอยูบาง ก็ทําแบบแยกสวนจากการพัฒนากาย พัฒนาสังคม และพัฒนาปญญา
การพัฒนาสังคมถูกละเลยไปหรือไดรับผลกระบททางลบจากการพัฒนาที่เนนทางวัตถุมาก
เกิน จนลืมไปวาความเขมแข็งทางสังคมมีความสําคัญยิ่งและเปนปจจัยของความสําเร็จทั้งปวง
สังคมหมายถึงการอยูรวมกัน การรวมตัวรวมคิดรวมทํา การอยูรวมกัน (Living Together)
ควรเปนตัวตั้งของการพัฒนาทั้งปวง
แตขณะนี้เราถือเอากําไรสูงสุดเปนตัวตั้ง ทําใหกระทบกระเทือนดุลยภาพของสรรพสิ่งทั้งโลก
อํานาจไมวาอํานาจรัฐหรืออํานาจเงินจะไมชอบการรวมตัวทางสังคม เพราะทําใหใชอํานาจไดยาก
พลังแหงการรวมตัวรวมคิดรวมทํา ทําใหสังคมแข็งแรง ปองกันความไมดีตางๆ การพัฒนาพลังทาง
สังคมจึงมีความจําเปนอยางยิ่งตอการอยูรวมกันดวยสันติ การอยูรวมกันดวยสันติควรเปนตัวตั้งของ
การพัฒนาทั้งปวง ไมใชเอาเงินหรือกําไรสูงสุดเปนตัวตั้ง การเอาเงินหรือกําไรสูงสุดเปนตัวตั้งถือเปน
ความเสื่อมทางปญญาของสังคม สังคมตองมีปญญาพอที่จะเอาการอยูรวมกันดวยสันติเปนตัวตั้ง
โลกมีความเสื่อมทางปญญา ปญญาหมายถึงการรูทั้งหมด ทั้งหมดหมายถึงการรูตัวเองดวย
เมื่อรูทั้งหมดและรูตัวเองก็สามารถจัดความสัมพันธระหวางตัวเราเองกับคนอื่นและสิ่งอื่นไดอยาง
ถูกตอง ความสัมพันธที่ถูกตองคือจริยธรรม ในปญญาจะมีจริยธรรมดวยเสมอ แตในความรูไมแนวา
จะมีจริยธรรม ตัวอยางเชน การคนพบความรูทางวิทยาศาสตรของคนยุโรปเมื่อประมาณ ๕๐๐ ป
มาแลว ความรูทางวิทยาศาสตรที่พบ คม ชัด ลึก และนาอัศจรรยมาก แตความรูที่ปราศจากปญญา
กํากับ จะตกเปนเหยื่อถูกกิเลศจับกินไดงาย
ชาวยุโรปไดนําเอาความรูทางวิทยาศาสตรไปสรางเทคโนโลยีทางสงคราม เชน เรือรบ ปน
ใหญ ปนกล อันทรงอานุภาพอยางที่มนุษยไมเคยมีมากอนเลย ไมมีอารยธรรมเกาแกอันใดที่สามารถ
ตานทางอํานาจการยิงของชาวยุโรปได ชาวยุโรปจึงใชอาวุธอันทรงอานุภ าพเข า บัง คับ เขน ฆา แยง
ชิง ดิน แดนและทรั พ ยากรของคนพื้ น เมือ งจากทุ ก ทวีป สร า งอารยธรรมสมัยใหมขึ้นมาบนพื้นฐาน
ของการแยงชิงดินแดนและทรัพยากรของคนพื้นเมืองจากทุกทวีป สรางอารยธรรมสมัยใหมขึ้นมาบน
พื้นฐานของการแยงชิง พื้นฐานการแยงชิงไมสามารถนําไปสูสังคมที่สมดุล เปนธรรม และยั่งยืนได
สังคมปจจุบันจึงวิกฤตมากขึ้นทุกที
การศึกษาปจจุบันเกิดขึ้นบนพื้นฐานของการแยงชิงดังกลาว จึงศึกษาเพื่อความรูสูการแขงขัน
แยงชิง มากกวาศึกษาเพื่อสรางปญญาสูการอยูรวมกันดวยสันติ การศึกษาไมไดเอาการอยูรวมกัน
เปนตัวตั้ง จึงไมเปนไปเพื่อการอยูรวมกัน แตกลับเปนตัวทําใหโลกเสียสมดุลมากขึ้นและไมชวยให
เกิดปญญา พบทางออกจากวิกฤตการณปจจุบัน
การพัฒนาทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปญญา แบบแยกสวน นําไปสูปญหาและความ
อับจนที่จะหาทางออกจากวิกฤต เห็นปานนี้
การจัดการความรู เปนกระบวนการบูรณาการศักยภาพของมนุษยทั้ง ๔ ดานเขามาใช
อยางพรอมกัน
นี่เปนประเด็นใหญมากที่ควรพิจารณาโดยแยบคาย
รูปที่ ๔ แสดงบูรณาการระหวางการพัฒนา ๔ มิติ คือ กาย – จิต – สังคม – ปญญา อยาง
เชื่ อ มโยงกั น จะพั ฒ นาวั ต ถุ ก็ ต อ งเชื่ อ มโยงถึ ง จิ ต – สั ง คม – ป ญ ญา จะพั ฒ นา ณ จุ ด ใดก็ ต อ ง
เชื่อมโยงกับจุดอื่นๆ หมดทุกดาน เปนการพัฒนาศักยภาพของมนุษยอยางบูรณาการ
ควรพิจารณาตรงนี้ใหลึกๆ เพราะเปนจุดเปลี่ยน
การเคารพผูอื่น การมีความเมตตากรุณา การมีความมั่นใจ การมีสติ นี้เปนเรื่องของการ
พัฒนาจิตที่มีในการจัดการความรู

รูปที่ ๔ การจัดการความรูสกู ารพัฒนาศักยภาพมนุษยอยางบูรณาการทั้ง ๔ มิติ คือ


กาย – จิต – สังคม – ปญญา (องคประกอบของมิติเปนเพียงตัวอยาง)

การจัดการความรูเ ป นเรื่ องของการพั ฒนาความเขมแข็ งของสังคมโดยแท ประกอบดว ย


ศีลธรรมพื้นฐานคือการเคารพศักดิ์ศรีและคุณคาความเปนคนของคนทุกคนอยางเทาเทียมกัน เกิด
ภารดรภาพ สงเสริมการรวมตัวรวมคิดรวมทําเกิดความเปนชุมชน เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน
ของโครงสรางทางสังคมจากโครงสรางแนวดิ่งสูโครงสรางเครือขาย สูการอยูรวมกันดวยสันติ การอยู
รว มกั นดว ยสันติทุกๆ ระดับ ควรจะเปนเปาหมายและอุดมการณของมนุ ษ ยชาติรว มกัน การอยู
รวมกันดวยสันติคือศีลธรรม เปาหมายของการจัดการความรูคือศีลธรรม การบรรลุเปาหมายศีลธรรม
ไมใชเรื่องงาย เพราะการคิดและทําแบบแยกสวนดังกลาวแลว การบูรณาการทั้ง กาย – จิต – สังคม –
ปญญา จึงจะมีพลังพอที่จะบรรลุเปาหมายศีลธรรมได
เรื่องปญญานั้นตองมองวาไปไกลกวาความรู คนที่เห็นแกตัวถือวาไมมีปญญาหรือมีอวิชชา
ปญญาหมายถึงการเขาถึงความจริง ความจริงมีคนอื่นและสิ่งอื่นดวย ไมใชมีแตเราคนเดียวหรือยึดถือ
อั ต ตาตั ว ตน เอาตนเองเป น ศู น ย ก ลาง ฉะนั้ น การคิ ด ถึ ง คนอื่ น การเคารพคนอื่ น และการเข า ถึ ง
ความสัมพันธโดยไมใชอํานาจ จึงถือเปนปญญา ที่สําคัญมากก็คือโลกทัศนและวิธีคิด ถาเราเห็นแบบ
แยกสวนและคิดแบบแยกสวนก็จะนําไปสูความติดขัด ขัดแยง รุนแรงและวิกฤติอยางที่โลกเปนอยู ถา
เราเห็นทั้งหมดแบบเห็นชางทั้งตัว เห็นความเปนหนึ่งเดียวของทั้งหมด (The Same Oneness) จะ
เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเองโดยสิ้นเชิง (Transformation) เกิดความรักตอเพื่อนมนุษยทั้งหมดและ
ธรรมชาติทั้งหมด เพราะมนุษยทั้งหมดและธรรมชาติทั้งหมดเปนหนึ่งเดียวกับเรา จิตสํานึกใหมเชนนี้
จะทําใหเกิดอิสรภาพ ความรัก และความสุข อันเปนไปเพื่อการอยูรวมกัน นี้จะเห็นวาปญญา จิต และ
สังคม เปนเรื่องเชื่อมโยงถึงกัน จิตสํานึกใหมจะทําใหคิดอยางบูรณาการได มนุษยโดยทั่วไปมักจิตเล็ก
ติดอยูในกิเลสตัณหาของตัวเอง ทําใหเห็นและคิดแบบแยกสวน ประชาคมจัดการความรูพึงเขาใจ
ความสําคัญของปญญาและเจริญใหมาก
ทุกอยางที่กลาวมาและสงเสริมการเรียนรูรวมกันในการปฏิบัติ อันเปนหัวใจของการจัดการ
ความรู การเรียนรูรวมกันเปนกระบวนการทางปญญาที่นําไปสูปญญารวม (Collective Wisdom) ของ
ผูเกี่ยวของทั้งหมด ปญญารวมนําไปสูจิตใจที่ดี นําไปสูความเขมแข็งทางสังคม และเปนพลังใหทําสิ่ง
ยากไดสําเร็จ
การเรียนรูรวมกันในการปฏิบัติจะใชความรูทุกชนิดที่มีประโยชนตอการปฏิบัติเขามาสูการ
เรียนรูรวมกัน แมการจัดการความรูจะเนนที่การเอาความรูในตัวคนเปนฐาน แตไมไดรังเกียจความรู
ในตํ า ราหรื อ ความรู ท างวิ ท ยาศาสตร แ ละเทคโนโลยี การจั ด การความรู จั ด วางตํ า แหน ง แห ง หน
(position) ของความรูประเภทตางๆ โดยวางความรูในตัวคนเปนฐานเพื่อความแข็งแรงและสมดุล
แลวเอาความรูในตําราหรือความรูทางวิท ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีมาตอยอดอยางสมประโยชน
ใหงดงามและมีประโยชนยิ่งขึ้น นี้คือความแตกตางกับการที่เปนไปในปจจุบันที่เอาความรูในตําราเปน
ตัวตั้ง ซึ่งในความเปนจริงเปนไมได ทําใหฐานของสังคมออนแอเสียสมดุลและสังคมทั้งหมดลมสลาย
ระส่ําระสายดังกลาวในตอน ๑ และ ๒
ที่ ก ล า วมาทั้ ง หมดในตอนนี้ เพื่ อ ให เ ห็ น ความสํ า คั ญ ของการจั ด การความรู ใ นฐานะเป น
กระบวนการที่สงเสริมศักยภาพบูรณาการของมนุษย การพัฒนาศักยภาพเพียงดานใดดานหนึ่งของ
มนุษยไมมีพลังเพียงพอที่จะทําใหมนุษยฟนฝาปญหาอันซับซอนของปรัตยุบันสมัยไปได หรือกลับ
กอใหเกิดผลเสียของการคิดและทําแบบแยกสวน ประชาคมจัดกาความรูพึงพิจารณาความหมายและ
ความสําคัญของการพัฒนาศักยภาพของมนุษยครบทั้ง ๔ มิติ คือ กาย – จิต – สังคม – ปญญา
อยางบูรณาการ หมั่นพิจารณาเนืองๆ จนเขามาสูความรูสึกนึกคิดและการกระทําของเรา ศักยภาพ
บูรณาการจะเปลี่ยนแปลงชีวิตจิตใจของเราโดยสิ้นเชิง จะกลายเปนคนที่มีอิสระ มีความรัก มีความสุข
และมีศักยภาพสูงยิ่ง เพื่อไปสูความสําเร็จรวมกัน

ปริมณฑลแหงการใชประโยชนของการจัดการความรู

เนื่อ งจากการจั ด การความรู เ ป น กระบวนการปลดปล อ ยมนุ ษ ย สู ศั ก ยภาพ เสรี ภ าพ และ


ความสุข จึงสามารถนําไปใชในทุกปริมณฑลของสังคม ตอไปนี้จะยกตัวอยางอาณาบริเวณที่อาจนํา
การจัดการความรูไปใช
(๑) สรางความตระหนักรูในคุณคาของตัวเอง (self esteem) ของคนทุกคน
โดยเผยแพรความสําคัญของความรูในตัวที่ไดมาจากประสบการณและการทํางานของคน
ทุกคน คนทุกคนมี “ขุมทรัพยในตัว” อยูโดยไมรูตัว ผูคนทั่วไป “ถูกวางยา” ไวโดยระบบและคุณคา
ในสังคม วาตัวเองไมเกง ดอยคุณคา ดูถูกตัวเอง ที่จริงทุกคนเปนคนเกงในทางที่ตางกัน ถาคนทั้ง
สังคมเขาใจวาความรูที่เขามีอยูในตัวมีความสําคัญและมีประโยชน จะปลดปลอยผูคนทั้งนั้นไปสูความ
ตระหนักรูวาตัวเองมีคุณคา มีความภูมิใจในตัวเอง มีความมั่นใจ มีความสุข มีกําลังใจที่จะทําเรื่องดีๆ
เกิดเปนความมั่นใจและพลังแหงชาติ
(๒) สงเสริมใหมีการทําแผนที่ความรูในตัวคนในทุกพื้นที่และทุกองคกร
ควรสงเสริมใหมีการศึกษาสํารวจความรูในตัวคนของคนทุกคน ดังกลาวในตอน ๖ โดย
ทําทุ กพื้นที่ และในทุกองคกร แลว ทําระบบขอมูล ความสามารถของคนไทยทุกคน กระบวนการ
ดังกลาวจะกอใหเกิดความปติยินดี เกิดการเปลี่ยนแปลงในความรูสึกนึกคิด และพฤติกรรมไปใน
ทางบวกทั้งสังคม
ขอ (๑) กับขอ (๒) เปนการทําโดยเอาสังคมทั้งสังคมเปนปริมณฑล ตอไปเปนการทําใน
ปริมณฑลขององคกร และของเรื่องที่ตองการพัฒนา
(๓) ครอบครัวเขมแข็ง
ครอบครัวเปนสถาบันสังคมที่เปนรากฐานที่สุดที่ทุกคนเปนสมาชิก ครอบครัวเปนสังคมที่
มนุษยมีแกใจใหกันมากที่สุด เปนที่บมเพาะและประคับประคองซึ่งกันและกัน ทั้งทางเศรษฐกิจ จิตใจ
และสังคม ครอบครัวเปนสถาบันการศึกษาที่สําคัญที่สุด ทุกวันนี้ครอบครัวออนแอลงไป เพราะระบบ
เศรษฐกิจที่เอาเงินเปนตัวตั้ง ระบบการศึกษาที่เอา “วิชา” เปนตัวตั้ง และดวยความเขาใจผิดใน
ความสัมพันธระหวางครอบครัวกับโรงเรียน ที่พอแมเขาใจวาหนาที่ของตนคือการหาเงินใหลูกไป
โรงเรียน เรื่องการศึกษาเปนเรื่องของครูที่โรงเรียน แตการศึกษาที่โรงเรียนก็เอา “วิชา” เปนตัวตั้ง
เด็กจึงขาดการเรียนรูจากความรูในตัวของพอแม ปูยา ตายาย ไปอยางนาเสียดาย ควรนําการจัดการ
ความรูไปใชในการสงเสริมใหครอบครัวเขมแข็ง เพียงแตมีการฟงกันอยางลึก สามีฟงภรรยา ภรรยา
ฟงสามี พอแมฟงลูก ก็ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงความรูสึกนึกคิด และพฤติกรรมไปทางบวกอยาง
เหลื อ หลาย แล ว การศึ ก ษาควรจะลดเวลาและเนื้ อ หาการเรี ย นที่ โ รงเรี ย นลง เพิ่ ม การศึ ก ษาใน
ครอบครัวใหมากขึ้น การพัฒนาตางๆ เชน เศรษฐกิจ และการสื่อสารตองคํานึงถึงการสงเสริมให
ครอบครัวเขมแข็งขึ้น
(๔) ชุมชนและประชาคม
คําวา ชุมชนและประชาคม ในภาษาอังกฤษใชคําวา community เหมือนกัน ซึ่งมีตั้งแต
ขนาดเล็กถึงขนาดใหญมาก เชน European Community ที่เราเรียกวาประชาคมยุโรป คําวา ชุมชน
กับประชาคมในภาษาไทยอาจจะใชในความหมายที่ซอนทับกันอยูบาง แตโดยทั่วๆ ไป ชุมชนใช
หมายถึงการรวมกลุมขนาดเล็ก แตประชาคมใชสําหรับการรวมกลุมขนาดใหญขึ้นมา เชน ประชาคม
ตําบล ประชาคมจังหวัด
เมื่อมีการรวมตัวรวมคิดรวมทําก็เกิดความเปนชุมชนขึ้น จะเปนชุมชนติดพื้นที่หรือไมก็
ได ถาชุมชนเขมแข็งโดยทั่วตลอดและเชื่อมโยงกันเปนเครือขายจะแกปญหาทุกอยางพรอมกันไป
ชุมชนทองถิ่นเปนฐานลางของสังคม ถาฐานลางของสังคมแข็งแรง สังคมทั้งหมดจะมั่นคงและยั่งยืน
การจัดการความรูจะเปนเครื่องมือสงเสริมความเขมแข็งของชุมชนทุกชนิดและทุกขนาด
(๕) องคกรตางๆ
คนปจจุบันมั กมีชี วิต หรือ ทํางานอยูใ นองคก รชนิ ดใดชนิดหนึ่ ง แตองคก รต างๆ มัก มี
โครงสรางทางดิ่ง ตามที่กลาวถึงในตอน ๒ ทําใหองคกรออนแอและไมสรางสรรคเทาที่ควร การ
จัดการความรูที่สงเสริมการเรียนรูรวมกันในการปฏิบัติจะชวยปรับเปลี่ยนองคกรอํานาจใหเปนองคกร
เรียนรู ฉะนั้นองคกรตางๆ นาจะนําเรื่องการจัดการความรูไปใช ไมวาจะเปนโรงเรียน โรงพยาบาล วัด
มหาวิทยาลัย กรม กอง บริษัท หรือพรรคการเมือง การปรับเปลี่ยนโครงสรางในองคกรจะยังใหเกิด
ปญญา ความสุ ข และความสําเร็ จ เนื่องจากมีองคกรต างๆ เต็มสังคม ถาองคกรเปลี่ยนสั งคมจะ
เปลี่ยน
(๖) หัวขอเรื่องการพัฒนา
ในสังคมมีการพัฒนาในเรื่องตางๆ มากมาย เชน เรื่องการศึกษา เรื่องการสื่อสาร เรื่อง
การควบคุมโรค เรื่องการแกความยากจน เรื่องการอนุรักษสิ่งแวดลอม เรื่องความยุติธรรม เรื่อง
เศรษฐกิจพอเพีย ง ฯลฯ ในแตละเรื่องมี บุคคลและองคกรต างๆ เกี่ ยวของมากมาย ตางคนตางมี
พื้นฐานและความเขาใจแตกตางกัน ถาปราศจากการเรียนรูรวมกันในการปฏิบัติ ยากที่การแกปญญา
และพัฒนาเรื่องยากๆ เหลานั้นจะเปนผลสําเร็จ หากนําการจัดการความรูไปใชในเรื่องตางๆ จะทําให
เรื่องยากๆ เหลานั้นเกิดผลสําเร็จมากขึ้น
(๗) การพัฒนาจังหวัดทั้งจังหวัดอยางบูรณาการ
การพัฒนาจังหวัดทั้งจังหวัดอยางบูรณาการเปนจุดแตกหักของการสรางความอยูเย็นเปนสุข
ในจังหวัดมีบุคคล มีองค กร และมีหัว ขอเรื่องการพัฒนาอยูมากหลาย ถาสามารถจัดการ
เรียนรูรวมกันในการปฏิบัติของทุกคนทุกฝายและทุกเรื่อง จังหวัดทั้งจังหวัดจะกลายเปนมหาวิทยาลัย
ในรู ปใหม คื อเป นมหาวิ ทยาลั ยชี วิ ตที่ มี การเรี ยนรู จากชี วิ ตจริ งและปฏิ บั ติ จริ ง เพื่ อการพั ฒนาทั้ ง
เศรษฐกิจ – จิตใจ – ครอบครัว – ชุมชน – สังคม – สิ่งแวดลอม – วัฒนธรรม – สุขภาพ พรอม
กันไปอยางบูรณาการ ถาจังหวัดทุกจังหวัดสามารถทําดังนี้ไดก็จะเกิดความอยูเย็นเปนสุขทั้งประเทศ
เพราะฉะนั้นองค กรตางๆ ที่ทําหนาที่สงเสริมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เรื่ องการพั ฒนาจิตใจ เรื่อง
ครอบครัว เรื่องชุมชน เรื่องสังคม เรื่องสิ่งแวดลอม เรื่องวัฒนธรรม เรื่องสุขภาพ เรื่องการวิจัย เปนตน
ควรจะรวมมือกันสงเสริมการพัฒนาจังหวัดทั้งจังหวัดอยางบูรณาการเปนจังหวัดๆ ซึ่งจะตองการ
ความสามารถในการจัดการความรูหลายระดับ ตั้งแตระดับเล็กไมยุงยากไปจนถึงระดับใหญที่ซับซอน
จึงควรมีการพัฒนาความสามารถในการจัดการความรูอยางเขมขนจากการปฏิบัติจริง
(๘) การพัฒนานโยบายสาธารณะ
นโยบายสาธารณะมีผลกระทบรุนแรงตอทุกอณูของสังคม ทั้งทางบวกและทางลบ
นโยบายสาธารณะยังขาดพัฒนาการที่ดี เพราะขาดการใชความรูบาง เพราะอิทธิพลของ
กลุมผลประโยชนบาง หรือเพราะขาดความเขาใจในการพัฒนานโยบายบาง ผูมีอํานาจในการตัดสินใจ
ทางนโยบายก็อยูในวัฒนธรรมและโครงสรางอํานาจมานานจนคุนเคยกับการตัดสินใจเชิงอํานาจ ยิ่งใน
สมัยปจจุบันกลุมผลประโยชนทางธุรกิจเขามามีอิทธิพลตอระบบอํานาจรัฐมากขึ้น การพัฒนานโยบาย
สาธารณะที่ดีจึงยังเปนเรื่องยากอยางยิ่ง แตก็เปนเรื่องหนีไมพนที่จะตองใชการจัดการความรูเขาไปใน
การพัฒนานโยบายสาธารณะ เพราะการจัดการความรูคืออานุภาพแหงความดี – อานุภาพแหงสังคม –
อานุภาพแหงปญญาได การพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดีเปนเรื่องที่ทุกฝายจะตองรวมมือกัน ทําใหได
และทําใหดี
ทั้งหมดที่กลาวมาเปนเพียงตัวอยางเทานั้น ที่จริงการจัดการความรูมีใชทั้งปริมณฑลของ
สังคม ทุกพื้นที่ ทุกองคกร และทุกเรื่อง บุคคลและองคกรที่สนใจประยุกตใชการจัดการความรูไมควร
จํากัดตัวเองเฉพาะเรื่องที่ยกตัวอยาง การลองทําในเรื่องตางๆ รวมทั้งเรื่องใหมๆ แปลกๆ แลวนํามา
แลกเปลี่ยนเรียนรูกันจะเกิดนวัตกรรมอยางตอเนื่อง นวัตกรรมมีความจําเปน เพราะสรรพสิ่งลวน
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถาไมมีนวัตกรรมจะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงไมได
จิตสํานึกใหม (New Consciousness)
การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformation)
และ

การพนทุกขรวมกัน

ในสังคมปจจุบันซึ่งถักทอเปนโครงสรางที่ซับซอนแตไมลงตัว มีความขบกันและบีบคั้นอยู
ทั่วไป ดังไดกลาวมา ยอมเปนการยากที่จะมีการพนทุกขเ ปนปจเจกบุคคล อาจมีไดบาง แตเปน
จํ า นวนน อ ย เพราะความกระทบกระเทื อ นถึ ง กั น มี อ ยู อ ย า งกว า งขวางโดยทั่ ว ตลอด ก อ ให เ กิ ด
ความเครียด ความบีบคั้นไปทั้งโลก จึงจําเปนตองคิดถึงความถูกตองของทั้งหมดเปนสวนรวม ถา
ทั้งหมดมีความถูกตอง การพนทุกขรวมกันยอมเปนไปได
การที่ทั้งหมดจะมีความถูกตองได ตองการจิตสํานึกใหมของมนุษย ขณะนี้มนุษยมีจิตเล็ก รู
เห็ น เล็ ก ๆ แบบแยกส ว น คิ ด และทํ า แบบแยกส ว น ซึ่ ง นํ า ไปสู ก ารเสี ย ดุ ล ยภาพของทั้ ง หมด
วิกฤตการณปจจุบันเกิดจากการมีจิตเล็ก ขณะนี้จึงมีความพยายามกันหลายวิธีที่จะทําใหมนุษยมี
จิตสํานึกใหม ที่สามารถเขาถึงความเปนทั้งหมดของสรรพสิ่ง เกิดความรักตอเพื่อนมนุษยทั้งหมด
และธรรมชาติทั้งหมดมีพฤติกรรมใหม ที่เปนไปเพื่อการอยูรวมกันดวยสันติ ทั้งระหวางมนุษยกับ
มนุ ษ ย แ ละระหว า งมนุ ษ ย กั บ ธรรมชาติ แ วดล อ ม และเชื่ อ กั น ว า ด ว ยการมี จิ ต สํ า นึ ก ใหม เ ท า นั้ น
มนุษยชาติจึงจะสามารถออกจากวิกฤตการณปจจุบันและอยูรอดได
การมีจิตสํานึกใหมจะนําไปสูการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformation) ในตัวตน นั่น
คือมีความรูสึกนึกคิดใหม มองเห็นโลกและเพื่อนมนุษยในแงใหม มีความดําริใหม และการกระทําใหม
อันเปนไปเพื่อการอยูรวมกันไมใชเพื่อกําไรสูงสุดเชนปจจุบัน ตอเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานใน
ตัวตนเทานั้นโลกจึงจะเปลี่ยน การพยายามเปลี่ยนแปลงสังคมโดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงขั้น
พื้นฐานในตัวตน ยอมนําไปสูของปลอมหรือความลมเหลว ความเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตัวตนจะ
นําไปสูการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานขององคกร ของสถาบัน และของสังคม นั่นคือเปลี่ยนจากองคกร
สถาบัน และสังคม เชิงอํานาจ ไปเปนองคกร สถาบัน และสังคม เชิงความรักและการเรียนรู
คําถามก็คือการมีจิตสํานึกใหม และการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานจะเกิดขึ้นในบริบทใด?
คําตอบ คงมีหลายอยาง
การจัดการความรูกอใหเกิดจิตสํานึกใหมและการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในบริบท “งาน”
หรือการทํางานรวมกัน หรืออีกนัยหนึ่งถือวา “การทํางานคือการปฏิบัติธรรม” ตามคําสอนของ
ทานอาจารยพุทธทาส
ในสังคมสมัยใหมที่ซับซอน ที่มีผูคนติดอยูในโครงสรางทางสังคมที่แนนหนา เปนการยาก
มากที่บุคคลจะเกิดจิตสํานึกใหมโดยการสั่งสอนหรือการดุดาวากลาว แตการรวมมือกันทํางานให
สําเร็จนําไปสูการเปลี่ยนแปลงรวมกัน
การจัดการความรู คื อกระบวนการสงเสริมการรว มมือกันทํางานให สํา เร็จผานการเรียนรู
รวมกันในการปฏิบัติ ตรงนี้ถาเขาใจและทําใหดี การจัดการความรูจะนําไปสูการมีจิตสํานึกใหมและ
การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน การจัดการความรูโดยทั่วไปก็นําไปสูจิตสํานึกใหมและการเปลี่ยนแปลง
ในตัวเองอยางนอยในระดับหนึ่ง ถาประชาคมจัดการความรูพยายามทําความเขาใจเรื่องจิตสํานึกใหม
และเรื่องการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตัวตน และมีการตระหนักรูในเรื่องนี้ในกระบวนการจัดการ
ความรู การจัดการความรูก็จะเปนเครื่องสงเสริมการเกิดจิตสํานึกใหม และการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน
ในตัวตนและในองคกร อันจักเปนไปเพื่อการพนทุกขรวมกัน

มนุษยมีสมองที่มีศักยภาพในการเรียนรูมาก
สามารถเรียนรูใหบรรลุอะไรก็ได
การเรียนรูที่ดีเปนสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย
คําถามก็คือในสังคมสมัยใหมที่มีโครงสรางทางสังคมอันกักขังมนุษยไว
กระบวนการเรียนรูอะไรที่สามารถปลดปลอยมนุษยออกมาจากการถูกจับกุมคุมขังทางสังคม
คงจะไมใชโดยการทองหนังสืออยางที่เรียนๆ กันอยู
คงจะใชการเรียนรูโดยไมปฏิบัติ
คงจะไมใชการเรียนรู แบบตัวใครตัวมัน
การจัดการความรูพยายามตอบคําถามเหลานั้น
การจัดการความรูเปนกระบวนการเรียนรูรวมกันของทุกฝายในการปฏิบัติ โดยใชในคุณธรรม
๘ ประการ โดยบูรณาการศักยภาพของมนุษยทั้ง ๔ มิติ และพยายามโนมนําไปสูการเกิดจิตสํานึก
ใหมและการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตัวตน

เปนหนาที่ของเราทุกคนที่จะแสวงหาและชวยใหเพื่อนมนุษยไดพบการเรียนรูที่ดี เพื่อนําไปสู
การพนทุกขรวมกัน
ขอใหประชาคมจัดการความรูไดคนพบวิธีเรียนรูอันประเสริฐ
มีความเมตตาตอกันและกัน รวมเดินทางบนสันติวรบท ไปสูความเจริญชั่วกาลนาน

You might also like