You are on page 1of 86

รายงานวิจยั

เรื่อง

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ


โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 3
โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ปีการศึกษา 2561

(The Learning Achievement Development


of
Video Editing by E-Learning)

นายเดชา ศิริกุลวิริยะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
รายงานวิจัย
เรื่อง

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ


โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 3
โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ปีการศึกษา 2561

(The Learning Achievement Development


of
Video Editing by E-Learning)

นายเดชา ศิริกุลวิริยะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
โดยได้รับความเห็นชอบจาก

……………………………………..………………………
( นางสุกัญญา มหาสิงห์ )
หัวหน้าฝ่ายงานบริหารวิชาการ

……………………………………..………………………
( นางอิสรีย์ ชัยยันต์คูณ )
ผู้อำนวยการโรงเรียนวังทรายขาววิทยา
รายงานวิจัย
เรื่อง

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ


โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 3
โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ปีการศึกษา 2561

(The Learning Achievement Development


of
Video Editing by E-Learning)

นายเดชา ศิริกุลวิริยะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
บทคัดย่อ

คอมพิวเตอร์มีบทบาทในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น การสร้างสื่อที่สามารถดึงดูดความสนใจทั้งต่อ
การเรียนรู้ การตลาด โดยการตัดต่อวีดีโอถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างชิ้นงานและ
นำเสนอความคิดของนักเรียน จึงถือเป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนควรมี จากการศึกษาสภาพปัญหาการเรียน
การสอนวิชาการตัดต่อวีดีโอ รหัสวิชา ง20247 พบว่านักเรียนประสบปัญหากับความซับซ้อนในการใช้งาน
และส่วนประกอบต่างๆของโปรแกรม Ulead VideoStudio เพราะโปรแกรมมีความหลากหลายในการ
ทำงานเพื่อนำไปสู่การใช้งานโปรแกรมในระดับสูง ทำให้นักเรียนหลายคนไม่เข้าใจและจดจำการใช้งานและ
ประยุกต์การใช้งานได้เป็นส่วนน้อยของนักเรียนทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ปีการศึกษา 2561 และศึกษาความพึงพอใจหรือเจต
คติที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19
ปีการศึกษา 2561 จำนวน 13 คน จากประชากร 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการ
เรียนรู้ บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลัง
เรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจหรือเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อ
การเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ (Percentage ) ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D ) และ t - test (Dependent Sample)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 13 คน โดยใช้แบบฝึกทักษะ แบบข้อสอบปรนัย
จำนวน 30 ข้อ พบว่า การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 11.77
คะแนน และ 22.15 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า
คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังจากได้ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้
บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังจากได้
ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 3 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 11 คน จาก 13 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62
3. ความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียน
เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ ด้วยบทเรียนออนไลน์ ได้ว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X =
4.11 , S.D. = 0.22) และมีความพึงพอใจเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากทั้งหมด ( X = 3.85 ถึง 4.38)
กิตติกรรมประกาศ

รายงานการวิจัยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้ บทเรียนออนไลน์


ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ปีการศึกษา 2561 เล่ม
นี้ เสร็จสมบูรณ์เป็นอย่างดีเนื่องจากได้รับความอนุเคราะห์ จาก นางอิสรีย์ ชัยยันต์คูณ โรงเรียนวังทรายขาว
วิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัด เลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 ที่กรุณาสละเวลาและให้
โอกาสในการให้คำปรึกษา จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ผู้วิจัยขอขอบคุณ นางสาวชุตินันท์ ศิริชัยวิริยะ พี่สาว
และครูโรงเรียนอนุบาลเชียงคาน "ปทุมมาสงเคราะห์" อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ที่ให้ความช่วยเหลือในการ
วิจัยครั้งนี้ด้วยดีตลอดมา ตลอดจนเป็นที่ปรึกษา ช่วยชี้แนะแนวทาง ในการทำวิจัย ผู้วิจัยจึงขอขอบพระคุณ
ไว้ ณ โอกาสนี้
ขอบพระคุณคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้ให้การสนับสนุนการวิจัย
ครั้งนี้ ทุกท่าน ที่ได้ให้กำลังใจแก่ผู้วิจัยด้วยดีเสมอมา และขอบคุณนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาที่ 3 โรงเรียน
โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ที่ให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี
ท้ายที่สุดขอขอบคุณทุกท่านที่ไม่ได้กล่าวนามไว้ในที่นี้ ที่มีส่วนช่วยเหลือจนทำให้งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จ
ได้ด้วยดี ผู้วิจัยขอขอบพระคุณอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้

นายเดชา ศิริกุลวิริยะ
สารบัญ

หน้า
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญตาราง
บทที่ 1 บทนำ 1
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2
3. สมมติฐานของการวิจัย 2
4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 2
5. ขอบเขตของการวิจัย 2
6. นิยามศัพท์เฉพาะ 3
7. ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 4

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5
1. เอกสารเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 5
2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอ่านและการเขียน 15
3. เอกสารเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะ 19
4. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสอนทักษะการอ่าน
วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะ 23
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 25
6. แนวคิดและทฤษฎีความพึงพอใจ 25
7. งานวิจัยที่เกีย่ วข้อง 26

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 28
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 28
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 28
3. การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ 29
4. ขั้นตอนดำเนินการวิจัย 31
5. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 31
6. การวิเคราะห์ข้อมูล 32
7. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 32
สารบัญ (ต่อ)

หน้า

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายผล 34
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 34
2. การอภิปรายผลการวิจัย 39

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 42
1. สรุปผลการวิจัย 42
2. อภิปรายผลการวิจัย 43
3. ข้อเสนอแนะในการวิจัย 44

บรรณานุกรม 45
ภาคผนวก 46
ภาคผนวก ก รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือการวิจัย 47
ภาคผนวก ข แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง About Me 49
ภาคผนวก ค การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
เรื่อง About Me โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 89
ภาคผนวก ง ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์
ร้อยละ 70 หลังจากได้ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง About Me
โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 94
ภาคผนวก จ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียน
ที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง About Me โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 96
ภาคผนวก ฉ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 98
- แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่อง About Me
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 99
- แบบสอบถามความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียน
ภาษาอังกฤษเรื่อง About Me โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 107
ประวัติผู้วิจัย 109
สารบัญตาราง

หน้า

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง About Me


ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป 34

ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที และระดับนัยสำคัญ


ทางสถิติของการทดสอบเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
แสดงการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง About Me
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป 37

ตารางที่ 3 ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
หลังจากได้ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง About Me
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป 37

ตารางที่ 3 การวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจหรือเจตคติ
ทีม่ ตี อ่ การเรียนของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 4 ทีม่ ตี อ่ การเรียน
เรื่อง About Me โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เป็นรายข้อ 38
บทที่ 1
บทนำ

1. ความเป็นมาและความสำคัญ
คอมพิวเตอร์มีบทบาทในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น การสร้างสื่อที่สามารถดึงดูดความสนใจทั้งต่อ
การเรียนรู้ การตลาด ซึ่งความรู้ด้านกราฟฟิกจึงมีความจำเป็นต่อนักเรียน โดยการตัดต่อวิดีโอถือเป็นหนึ่งใน
องค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างชิ้นงานและนำเสนอความคิดของนักเรียน จึงถือเป็นทักษะสำคัญที่นักเรียน
ควรมี ถึงปัจจุบันจะมีแอพพลิเคชั่นมากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการตั ดต่อวิดีโอก็ตาม แต่ไม่
สามารถผลิตชิ้นงานที่มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ที่หลากหลาย เมื่อ
เป็นงานในระดับอาชีพแล้ว โปรแกรม Ulead VideoStudio สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างหลากหลาย
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 ได้กําหนดแนวทางในการจัดการ ศึกษา
ไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมี ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่า
ผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด ดังนั้น ครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจาก การเป็นผู้ชี้นํา
ผู้ถ่ายทอดความรู้ ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหา ความรู้จากสื่อและแหล่ง
การเรียนรู้ต่างๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียนเพื่อนําข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ เพิ่มความรู้ด้วยตนเอง และ
มาตรา 7 ที่ก ําหนดให้ผู้ เรีย นมี ความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จัก พึ่งตนเอง มีความคิดริ เ ริ่ ม
สร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้เป็น
กรอบในการประเมินคุณภาพสถานศึกษาภายนอก มีมาตรฐานที่ 4 ด้าน ผู้เรียน ที่กําหนดไว้ชัดเจนว่าให้
ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมี วิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิด
ไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา แห่งชาติ , 2545, น. 69) ดังนั้นความคิด
สร้างสรรค์จึงเป็นคุณลักษณะที่ควรได้รับการเสริมสร้างและ พัฒนาให้สูงขึ้นเพื่อให้เด็กได้เจริญเติบโตเป็นผู้
ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงและพร้อมที่จะสร้างสรรค์ ประโยชน์แก่ประเทศชาติต่อไป
Ulead VideoStudio เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างและตกแต่ง วิดีทัศน์ที่มีชื่อเสียงและได้รับความ
นิยมมากที่สุด อันเนื่องมาจากคุณสมบัติเด่นซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถจัดการกับไฟล์
สารพัดชนิดที่ใช้ในงานประเภทต่าง ๆ ทั้งรูปที่จะนำไปผ่านกระบวนการเผยแพร่ และนำไปใช้หรือส่งผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถเป็นเยี่ยมในการแก้ไขตกแต่ง วิดีทัศน์ และการสร้างเอฟเฟคเศษต่าง ๆ มี
เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นสูง สามารถบันทึกขั้นตอนที่ต้องทำซ้ำ ๆ ไว้เรียกใช้ภายหลัง
ตลอดจนมีผู้ผลิตปลั๊กอินซึ่งก็คือโปรแกรมเสริมสำหรับช่วยให้การทำงานที่ซับซ้อนสำเร็จลงได้อย่างรวดเร็ว
จากการศึ ก ษาสภาพปั ญ หาการเรี ย นการสอนวิ ช าการตั ด ต่ อวี ดี โ อ รหั ส วิ ช า ง20247 ในชั้ น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาเขต 19 พบว่านักเรียนประสบปัญหากับความซับซ้อนในการใช้งาน และส่วนประกอบต่างๆของ
โปรแกรม Ulead VideoStudio เพราะโปรแกรมมีความหลากหลายในการทำงานเพื่อ นำไปสู่การใช้งาน
โปรแกรมในระดับสูง ทำให้นักเรียนหลายคนไม่เข้าใจและจดจำการใช้งานและประยุกต์การใช้งานได้เป็น
ส่วนน้อยของนักเรียนทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังทรายขาววิทยา
อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ปีการศึกษา 2561 ซึ่งจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น สร้างเสริมทักษะใน
การใช้ ง านโปรแกรมและเพื ่ อ เป็ น แนวทางการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ร ายวิ ช าการตั ด ต่ อ วี ด ี โ อ ให้ มี
ประสิทธิภาพต่อไป
2

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. เพื่อหาร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 หลังจากได้
ผ่านการจัดกิจ กรรมการเรียนรู้ โ ดย เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้ น
มัธยมศึกษาปีที่ 3
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนเรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียน
ออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. สมมติฐานของการวิจัย
ผู้วิจัยกำหนดสมมติฐานของการวิจัยไว้ ดังนี้
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากแบบทดสอบหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน
2. นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
หลังจากได้ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้
บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียน ในระดับ
ปานกลางขึ้นไป
4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1. ผลการวิจัยครั้งนี้ได้พิจารณาจากแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี โดย เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สามารถ
นำไปใช้ในการสอนเพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ช่วยเสริมสร้างให้นักเรียนมีทักษะในการใช้งานเครื่องมือในโปรแกรม Ulead VideoStudio
3. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอน ผู้เกี่ยวข้อง และผู้สนใจพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆได้ต่อไป
5. ขอบเขตของการวิจัย
ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตของการวิจัยในครั้งนี้ ดังนี้
5.1 ประชากร
ประชากรที่วิจัยที่ใช้ในครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังทรายขาววิทยา
อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 13
คน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง
จังหวัดเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 13 คน ด้วยสูตร
ของทาโร ยามาเน (Taro Yamane', 1973 : 727-728) โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
3

5.2 เนื้อหาที่ใช้วิจัย
เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาการตัดต่อวีดีโอ รหัสวิชา ง20247
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3-8 เรื่อง การตัดต่อวีดีโอโดยมีทั้งหมด 6 แผนการเรียนรู้
คือ
1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Ulead Video Studio
2. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 การสร้างวิดีโออย่างง่ายจาก Movie Wizard
3. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 Media Library และการดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอ
จากอินเทอร์เน็ต
4. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 การใช้งานเครื่องมือต่างๆ ในการจัดการไฟล์วิดีโอ
5. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 การเพิ่มเทคนิคพิเศษให้งานวิดีโอ
6. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 Workshop With Ulead
5.3 ตัวแปรที่ศึกษา
5.4.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิชาการตัดต่อวีดีโอ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ
โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
5.4.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการ
เรี ย น รายวิ ช าวิ ช าการตั ด ต่ อ วี ด ี โ อ เรื ่ อง การตั ดต่ อวี ด ี โ อ โดยใช้ บ ทเรี ย นออนไลน์ ของนั ก เรี ย นชั้ น
มัธยมศึกษาปีที่ 3
5.5 ระยะเวลาการดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ระหว่ า งวั น ที่ 6 มกราคม 2562
– 15 มีนาคม 2562 และใช้เวลาทดลองจำนวน 28 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่รวมเวลาที่ใช้ในการทดสอบก่อนเรียน
และหลังเรียนและกิจกรรมนอกเวลาเรียน
6. นิยามศัพท์เฉพาะ
6.1 บทเรียนออนไลน์ หมายถึง บทเรียนออนไลน์ที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นผ่าน Google Website
ประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) เนื้อหา เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ และแบบทดสอบหลังเรียน
(Post-test) ตามลำดับ
6.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถของผู้เรียน รายวิชาวิชาการตัดต่อวีดีโอ เรื่อง
การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งวัดได้จากคะแนนแบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
6.3 ความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ หมายถึง ความพึงพอใจ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรายวิชาวิชาการตัดต่อวีดีโอ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียน
ออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4

7. ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
7.1 นั ก เรี ย นมี ค วามรู ้ ค วามสามารถด้ า นทั ก ษะในการใช้ ง านเครื ่ อ งมื อ ในโปรแกรม Ulead
VideoStudio ได้ถูกต้องและเหมาะสม
7.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและเป็นแนวทางในการปรับปรุงตนเองด้านการเรียน
ให้ดียิ่งขึ้น
7.3 สามารถนำบทเรียนออนไลน์มาใช้ในการสอนซ่อมเสริม และนักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
7.4 ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อการสอน และเทคนิคการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ ให้เหมาะสมกับนักเรียน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยลำดับเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. การเรียนรู้เน้นการปฏิบัติ
2. สื่อการสอน (Instructional Media)
3. หลักการสอน (Teaching)
4. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อวิดีโอ
5. เอกสารเกี่ยวกับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ
6. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสอนทักษะการอ่านวิชาโดยใช้แบบฝึกทักษะ
7. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
8. แนวคิดและทฤษฎีความพึงพอใจ
9. งานวิจัยที่เกีย่ วข้อง

1. การจัดการเรียนรู้แบบเน้นการปฏิบัติ (Task-Based Learning)


การจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการ เน้นการ
เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริงและการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
จากการกระทําได้ฝึกคิด ฝึกลงมือทํา ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง และฝึก
ทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งทั้งทาง ทฤษฎีและการปฏิบัติตาม
แนวทางประชาธิปไตย
1.1 ลักษณะเด่นการการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
1.1.1 ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน โดยผ่านกิจกรรมที่หลาก-
หลาย และสื่อที่เร้าความสนใจ
1.1.2 ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ตามความถนัด ตามศักยภาพของตน ด้วยการศึก-
ษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะ สรุปองค์ความรู้ได้ ทําให้เกิดความเชื่อมั่น เป็นแรงจูงใจให้เกิดความใฝ่รู้ใฝ่
เรียน
1.1.3 กิจกรรมกลุ่มช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ เกิดกระบวนการทํางานกลุ่ม
เช่น มีการวางแผนทํางานร่วมกัน มีความรับผิดชอบและเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีวินัยในตนเอง มี
พฤติกรรม ที่เป็นประชาธิปไตย เป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี รู้จักรับฟังความคิดของผู้อื่น ผู้เรียนที่เรียนรู้ช้าจะ
เรียนอย่างมี ความสุข ได้รับกําลังใจและได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อน ทําให้เกิดความมั่นใจ ผู้เรียนที่เรียน
ดีและ เรียนได้เร็วจะได้แสดงความสามารถของตนเอง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปันสิ่งที่ดีให้กัน
1.1.4 ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดจากการร่วมกิจกรรม และการค้นหาคําตอบจากประเด็น
คําถามของผู้สอนและเพื่อนๆ สามารถค้นหาวิธีการและคําตอบได้ด้วยตนเอง สามารถแสดงออกได้ ชัดเจนมี
เหตุผล
6

1.1.5 ทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรม จะสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียน


ได้ซึม ซับสิ่งดีงามไว้ตลอดเวลา
1.1.6 กระบวนการเรียนรู้คํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยให้แต่ละคนเรียนตาม
ศักยภาพของตน ไม่นําผลงานของผู้เรียนมาเปรียบเทียบกัน มุ่งให้ผู้เรียนแข่งขันกับตัวเองและไม่เล็งผล เลิศ
จนเกินไป
1.1.7 ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดการพัฒนารอบด้าน มีอิสระที่จะเลือกสาระการ
เรียนรู้ที่ เหมาะสมกับตนเอง และนําความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันได้อย่างเหมาะสม
1.2 แนวคิดสําคัญของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
1.2.1 เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจาก
การเผชิญ สถานการณ์จริงและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทํา
1.2.2 ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ฝึกค้นคว้าฝึกลงมือทํา ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ ฝึกกา
แก้ปัญหา ด้วยตนเอง และฝึกทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม
1.2.3 ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติตามแนวทางประชาธิปไตย
1.2.4 การแบ่งกลุ่มทํางาน ผู้สอนจะดําเนินการร่วมกับผู้เรียนแบ่งกลุ่มย่อยมอบให้ปฏิบัติ
กิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศึกษาค้นคว้า แก้ปัญหา หรือปฏิบัติกิจกรรม ฯลฯ
1.2.5 เน้นให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการทํางานร่วมกันเป็นหมู่คณะตามแบบประชาธิปไตย การ
สอน แบบนี้ ต้องดําเนินการอย่างมีหลักเกณฑ์ คือมีจุดประสงค์ของการทํางาน มีการกําหนดหน้าที่ของแต่
ละคนอย่าง แน่นอนและเสนอแนะให้รู้ว่าจะหาความรู้ได้อย่างไร เมื่อไร และที่ใด
3. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
1.3.1 ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นตอนแรกที่ผู้สอนจะกระตุ้นชักจูง และโน้มน้าวให้ผู้เรียน
เกิด ความกระตือรือร้นและสนใจอยากค้นคว้าหาความรู้ ผู้สอนอาจใช้วิธีการสนทนาซักถามและทบทวน
ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน เพื่อเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่ที่จะต้องเรียนรู้ อาจใช้คําถามยั่วยุและที่
สําคัญจะต้องสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนตอบสนอง เช่นการกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนองคําถามหรือแสดง
ความคิดเห็นเพื่อโยงเข้าหาประสบการณ์ใหม่ ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และร่วมกันกําหนด ขอบข่าย
หรือประเด็นความรู้ใหม่
1.3.2 ขั้นศึกษาวิเคราะห์ เป็นขั้นตอนการแบ่งกลุ่มผู้เรียนเพื่อทํากิจกรรมกลุ่มร่วมกัน โดย
การ แสวงหาความรู้ แสดงความคิดเห็น ร่มกันวิเคราะห์และหาข้อสรุปในประเด็นที่ได้ตั้งไว้ในการทํา
กิจกรรมในขั้นตอนนี้ ผู้สอนจะต้องออกแบบกลุ่มให้เหมาะสม เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากที่สุด เปิด โอกาส
ให้ผู้เรียนให้ผู้เรียนได้กําหนดบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม ผู้สอนจะต้องจัดหาสื่อการ สอนและ
แหล่งเรียนรู้ เช่น แผนภูมิ แผ่นใส วีดีทัศน์ หนังสือ หรือ อื่นๆ เพื่อให้กลุ่มผู้เรียนได้ช่วยกันศึกษาวิเคราะห์
ตามแนวทางของจุดประสงค์การเรียนรู้และความต้องการของผู้เรียนการออกแบบงาน โดยจัดทําเป็น ใบ
งานให้ผู้เรียนได้ทํากิจกรรมกลุ่มเป็นหัวใจสําคัญที่ผู้สอนจะต้องคิดค้นและสร้างขึ้น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม
มากที่สุดของผู้เรียนและเกิดการบรรลุงานกลุ่มด้วย ตัวแทนกลุ่มนําเสนอ ผลงานกลุ่ม ผู้สอนทําหน้าที่
7

อภิปราย ให้กลุ่มใหญ่ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นที่ยั งไม่ชัดเจนหาก เห็นว่ายังไม่ชัดเจน ผู้สอนช่วย


เพิม่ เติมแล้วร่วมกันสรุปสิง่ ทีเ่ รียนรูท้ ง้ั หมด 1
1.3.3 ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ทดลอง เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน ฝึกคิด
วิเคราะห์ จินตนาการ สร้างสรรค์ โดยผู้สอนเป็นที่ปรึกษา ดูแล ช่วยเหลือและประเมินการปฏิบัติเพื่อแก้ไข
หากมี ข้อบกพร่องเกี่ยวกับสถานที่ สําหรับการปฏิบัติผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันวางแผนจะใช้แหล่งเรียนรู้ใน
ห้องเรียนห้องปฏิบัติการในห้องเรียน ห้องเรียนธรรมชาติหรือ สถานประกอบการ ซึ่งจะทําให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้ได้ดีตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กําหนดไว้
1.3.4 ขั้นสรุป/เสนอผลการเรียนรู้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนแต่ละกลุ่มได้ประมวลข้อมูลความรู้จาก
ประสบการณ์ทั้งหมดมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ วิธีการใหม่ สรุปและนําเสนอสิ่งที่ค้นพบ ต่อ
กลุ่มใหญ่ในรูปแบบที่หลากหลาย เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เกิดการขยายเครือข่าย ความรู้
อย่างกว้างขวาง ทําให้การเรียนรู้มีความหมายมากยิ่งขึ้น
1.3.5 ชั้นปรับปรุงการเรียนรู้ นําไปใช้ เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มปรับปรุงผลงานของ
ตัวเองที่ ได้แนวคิดจากการนําเสนอของแต่ละกลุ่ม ในการปรับปรุงผลงานนั้นอาจนําความรู้ที่ได้รับจากกลุ่ม
อื่น มาพัฒนาให้ดีขึ้นหรือเกิดความคิดใหม่ สร้างสรรค์ผลงานที่ต่างไปจากเดิมหรืออาจได้รับแนวคิดจาก
ข้อเสนอของผู้สอนมาประยุกต์สร้างผลงานใหม่ๆ ที่สามารถนําไปใช้ในสภาพการณ์จริงได้
1.3.6 ขั้นการประเมินผล วัดผลการประเมินตามสภาพจริง โดยเน้นให้วัดผลจากการ
ปฏิบัติ จริง จากแฟ้มสะสมงาน ชิ้นงาน/ผลงาน ผู้เรียนประเมินตนเอง สมาชิกของแต่ละกลุ่ม ผู้ปกครอง
และผู้สอนมี บทบาทร่วมประเมินด้วย
บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ตรงและแบบที่เน้นการปฏิบัติ
1) เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง มีการติดตามข่าวสาร ทันเหตุการณ์
2) จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงอย่างมีประสิทธิภาพ
3) สร้างความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ แสวงหาความรู้ด้วย
ตนเองให้กับผู้เรียนจนเกิดความเชื่อมั่น
4) จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
5) จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้ที่สําคัญให้แก่ผู้เรียน
6) เป็นแหล่งความรู้ที่สําคัญให้กับผู้เรียนในการอธิบายเพิ่มเติมและสรุปการเรียน
7) วางแผนการเรียนรู้ เรื่องหัวข้อหรือประเด็นการอภิปราย กําหนดรูปแบบการอภิปราย
8) มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ ตีความ สรุปความคิดเห็นของผู้เรียนหรือ อภิปรายสิ่งที่เรียนรู้
ร่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสรุปองค์ความรู้ได้อย่างชัดเจน
9) ช่วยให้การอภิปรายแต่ละกลุ่มดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมใน การ
เสนอความคิด ให้คําปรึกษาหรือแก้ปัญหาเมื่อกลุ่มต้องการ
10) ให้กําลังใจและช่วยเหลือผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตลอดจนเป็นผู้อํานวยความสะดวกเพื่อให้
กระบวนการเรียนรู้ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย
8

11) กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจ วิเคราะห์ปัญหาวางแผนแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน มี เหตุผลที่


ถูกต้อง
12) ประมวลผลโดยมีข้อดีที่ควรส่งเสริมและข้อจํากัดที่ควรแก้ไข
บทบาทของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และแบบที่เน้นการปฏิบัติ
1) ฝึกฝนการทํางานเป็นกลุ่ม การเป็นผู้นํา ผู้ตาม และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและการ
เป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
2) ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ ข้อมูล ข้อเท็จจริงเพื่อการอภิปราย
3) กล้าแสดงความคิดเห็นหรือระดมความคิดเห็นร่วมกัน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
4) แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เมื่อมีการปฏิบัติงาน
5) เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงโดยเน้นการสังเกตและทดลองด้วยตนเอง
6) เรียนรู้ด้วยตนเองจากการฝึกปฏิบัติ
7) เรียนรู้ที่จะปฏิบัติตามกฏิตาและข้อตกลงร่วมกัน
8) ให้ความช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม
9) ฝึกทักษะการประเมินด้วยตนเอง
10) ติดตามผลการปฏิบัติและปรับปรุงแก้ไขงาน
2. สื่อการสอน (Instructional Media)
สื่อการสอน (InstructionalMedia) (กิดานันท์ มลิทอง, 2543) หมายถึง สื่อชนิดใด ๆ ก็ตามไม่ ว่า
จะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ แผนภูมิ ภาพนึ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับ การ
เรียนการสอน สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นํามาใช้ในเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อ เป็นสิ่งที่ใช้
เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสําหรับทําให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึง ผู้เรียน ทําให้ผู้เรียน สามารถเกิดการ
เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้เป็นอย่างดี
2.1 ชนิดของสื่อการสอน
เอดการ์ เดล (Edgar Dale อ้างถึงใน กิดานันท์ มลิทอง, 2543) ได้สร้าง และใช้กรวย ประสบการณ์ (Cone
of Experiences) จําแนกสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ
2.1.1 สื่อประเภทวัสดุ (Software) หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเองซึ่งจําแนกย่อย ได้เป็น
สองลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นวัสดุที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตัวเองโดยไม่จําเป็นต้อง อาศัย
อุปกรณ์อื่นช่วย เช่น หุ่นจําลอง ลูกโลก ส่วนลักษณะที่สองเป็นวัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอด ความรู้ได้
ด้วยตัวเองจําเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย เช่น แผ่นซีดี สไลด์ เป็นต้น
2.1.2 สื่อประเภทอุปกรณ์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลาง หรือตัวผ่าน ทําให้ ข้อมูล
ความรู้ที่บันทึกในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็น หรือได้ยิน เช่น เครื่องฉายภาพโปร่งใส เครื่องฉาย
สไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นซีดี คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
9

2.1.3 สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ (Techniques and Methods) หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเป็น


แนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน โดยสามารถนําสื่อวัสดุ และอุปกรณ์มาช่วยในการ
สอนได้ เช่น เกม และการจําลอง การสอนแบบจุลภาค การสาธิต เป็นต้น
3. หลักการสอน (Teaching)
3.1 ความหมายและลักษณะการสอน
การสอน (Teaching) คือการสร้างสถานการณ์ที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในฝ่ายผู้เรียน (เกษม สุด
หอม, 2520 : 143) โดยมีลักษณะดังนี้คือ มีการจัดดําเนินการของผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดย
ผู้เรียนจะทํากิจกรรมที่อาศัยกระบวนการ (Process) ของสมอง เช่น ฟัง อ่าน พูด เขียน โยง ความสัมพันธ์
เปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ดังกล่าวผลการเรียนรู้อาจจะอยู่ในรูปของความเข้าใจ การนําไปใช้ การ
คิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ และการประเมินผล การจัดดําเนินการสอนอาจอยู่ในรูป บรรยาย อธิบาย
สาธิต หรือปฏิบัติให้ดู ให้อ่านเนื้อหาสาระ ให้อภิปราย ให้ทําแบบฝึกหัด ให้ศึกษาจาก สื่อต่างๆ (บุญชม ศรี
สะอาด, 2537 : 2)
3.2 ประเภทของการสอน
บุญชม ศรีสะอาด (2537 : 2-3) ได้กล่าวถึงประเภทของการสอนว่าการสอนสามารถจําแนกได้
หลายประเภทหรือหลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เกณฑ์ใดในการจําแนก ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะที่สําคัญ 2
แบบ คือ
แบบที่ 1 จําแนกโดยใช้จํานวนผู้เรียน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเป็นเกณฑ์
ได้แก่ การสอนเป็นกลุ่มใหญ่ การสอนเป็นกลุ่มย่อย และการสอนเป็นรายบุคคล
แบบที่ 2 จําแนกโดยใช้ปริมาณของบทบาทผู้สอนกับบทบาทผู้เรียนเป็นเกณฑ์ ซึ่งจําแนก
ได้ เป็น 4 ประเภทคือ ประเภทการสอนที่ผู้สอนเป็นแกน การสอนที่ผู้เรียนเป็นแกน หรือเป็นศูนย์กลางการ
สอนที่ผู้เรียนและผู้สอนมีกิจกรรมร่วมกัน และ การสอนโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ
3.3 ระบบการเรียนการสอน คําว่าระบบ มีผู้ให้คําจํากัดความไว้ต่าง ๆ กัน ดังนี้
กานเยและบริกส์ (Gagne and Briggs, 1974 อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี, 2545 : 195) กล่าวว่า
ระบบหมายถึงวิธีใด ๆ ก็ได้ที่ได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบเพื่อเป็นหลักให้สามารถทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้
บรรลุผลตามเป้าหมายซึ่งอาจเป็นเป้าหมายในวงแคบ
เซียเลส (Searles, 1967 อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี, 2545 : 195) กล่าวว่า ระบบเป็นการจัดการ
สิ่งต่าง ๆ ให้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างเป็นระเบียบเป็นลําดับขั้นตอนเพื่อให้เกิดความเป็น อันหนึ่ง
อันเดียวกัน
บานาธี (Banathy, 1968 อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี, 2545 : 195) ได้ให้ความหมาย ของระบบ ไว้
ว่าเป็นการรวบรวมของส่วนประกอบที่มีความสัมพันธ์และส่งเสริมต่อกันเพื่อทํางานให้บรรลุ เป้าหมายที่วาง
ไว้ และ (Banathy, 1968 อ้างถึงใน ลําพอง บุญช่วย, 2530 : 3) ในระบบหนึ่ง ๆ ต้องมี จุดมุ่งหมาย สิ่งที่
ป้อนเข้าไป (Input) ทรัพยากร (Resource) และผลิตผล (Output) ที่สอดคล้องกัน
10

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2528 อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี, 2545 : 195) ได้ สรุปว่า
ระบบเป็นผลรวมของหน่วยย่อยซึ่งทํางานเป็นอิสระจากกัน แต่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์กัน เพื่อบรรลุ
วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
ทิศนา แขมมณี (2545 : 196) กล่าวถึงวิธีการเชิงระบบ เป็นแนวคิดที่ใช้ใน การจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้
เป็นระเบียบเพื่อนําไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งต้องอาศัยความสามารถในการจําแนกแยกแยะ องค์ประกอบ
สําคัญของสิ่งนั้น และ การจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ เหล่านั้น ให้ส่งเสริมกันอย่าง มีระบบ โดยที่
มองว่า ระบบควรประกอบด้วยส่วนสําคัญอย่างน้อย 3 ส่วน คือ เป็นตัวป้อน (Input) กระบวนการ
(Process) และ ผลผลิต (Output) และควรต้องมีส่วนประกอบ เพิ่มเติมอีก 2 ส่วน คือ การ ควบคุม
(Control) และ ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
บุญชม ศรีสะอาด (2537 : 5) ในการพัฒนาการสอน จําเป็นต้องจัดการเรียน การสอน อย่างเป็น
ระบบ ซึ่งระบบการเรียนการสอนมีองค์ประกอบสําคัญที่เป็นตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process)
ผลผลิต (Output) และการติดตามประเมินผลและปรับปรุง (Feedback) ดังแสดงใน ภาพประกอบที่ 1
ภาพที่ 1 แสดงระบบการเรียนการสอน
ปัจจัยนําเข้า (Input) กระบวนการผลิต (Process) ผลผลิต (Output)
• ผู้สอน • การดําเนินการสอน • ผลการเรียนรู้
• ผู้เรียน - การตรวจสอบความรู้ - ด้านพุทธิพิสัย
• หลักสูตร พื้นฐาน - ด้านจิตพิสัย
• สิ่งอํานวยความ สะดวก - การสร้างความพร้อม - ด้านทักษะพิสัย
ในการเรียน
- การใช้เทคนิคการสอน
ต่างๆ
- การวัดและประเมินผล

การติดตามประเมินผลและปรับปรุง(Feedback)

3.3.1 ตัวป้อน (Input) หรือปัจจัยนําเข้าสู่ระบบ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่นําเข้าสู่ระบบ


ได้แก่ ผู้สอนหรือครู เป็นองค์ประกอบสําคัญที่ทําให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ ซึ่ง ขึ้นอยู่
กั บ คุ ณ ลั ก ษณะหลายประการ เช่ น คุ ณ ลั ก ษณะทางพุ ท ธิ พ ิ ส ั ย (Cognitive) คุ ณ ลั ก ษณะทางจิ ต พิ สั ย
(Affective) เป็นต้น
- ผู้เรียน เป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอน ซึ่งจะบรรลุผลสําเร็จ
ได้ ย่อมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้เรียนหลายประการ เช่น ความพร้อม ความถนัด และความสนใจ เป็นต้น
- หลักสูตร เป็นองค์ประกอบหลักที่จะทําให้เกิดการเรียนรู้ โดยที่หลักสูตร มี องค์
11

ประกอบ พื้นฐาน 4 ประการ อันได้แก่ วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ เนื้อหาสาระที่ เรียน กิจกรรม การเรียน


การ สอน (รวมวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน) และการประเมินผล
- สิ่งอํานวยความสะดวก หรือสิ่งแวดล้อมการเรียน เช่น สถานที่สําหรับเรียน ห้องเรียน
โต๊ะ เก้าอี้ แสงสว่าง อุณหภูมิ กระดานดํา เป็นต้น
3.3.2 กระบวนการผลิต (Process) ในระบบการเรียนการสอน ก็คือ วิธีการดําเนิน การ
สอน ซึ่งหมายถึงการนําเอาตัวป้อนในระบบมาดําเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามความต้องการในการ
ดําเนินการสอน ซึ่งอาจมีกิจกรรมต่างๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน การสร้าง
ความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่างๆ และการใช้กิจกรรมเสริมเป็นต้น
3.3.3 ผลผลิต (Output) คือผลที่เกิดขึ้นในระบบ ซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของระบบ
สําหรับ การเรียนการสอน ผลผลิตที่ต้องการ ก็คือการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนเป็นไปในทางที่พึงประสงค์
เป็น การพัฒนาที่ดีในด้านพุทธิพิสัย (Cognitive domain) เพื่อทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้ และความเข้าใจใน
เนื้อหาสาระที่เรียน สามารถคิดเปรียบเทียบโดยโยงความสัมพันธ์ หรือเรียกว่า คิดวิเคราะห์ สามารถนํา
ความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ สามารถใช้วิจารณญาณตัดสินลงสรุปชี้ขาด ประเมินค่าได้ สามารถคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ให้มีสิ่งใหม่เกิดขึ้นได้เป็นต้น ด้านจิตพิสัย (Affective domain) เพื่อผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีที่
เหมาะสม มีความสนใจในสิ่งที่เรียน มีค่านิยมที่เหมาะสม เป็นต้น และด้านทักษะพิสัย (Psychomotor
domain) ให้ผู้เรียนมีความคล่องแคล่ว ชํานิชํานาญ ในทางการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ใน ทักษะ
ต่างๆ เช่น การใช้มือในทักษะด้านพิมพ์ดีด เป็นต้น
3.3.4 การติดตามประเมินผลและปรับปรุง (Feedback) เพื่อให้การเรียนการสอน
บรรลุผลอย่าง มีประสิทธิภาพ ผู้สอนต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งระบบ โดยพิจารณาผลผลิตว่า
ได้ผลเป็นไป ดังที่มุ่งหวังไว้หรือ ไม่ มีจุดบกพร่องในส่วนใดที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุง ทั้งในด้าน ผลผลิต
กระบวนการ และ ตัวป้อน
3.4 วิวัฒนาการด้านการสอน
วิวัฒนาการด้านการสอน (กิดานันท์ มลิทอง : 2543) นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เทคโนโลยี ทางการศึกษาได้มีการพัฒนาการสอนขึ้นโดยสามารถแบ่งเป็นช่วงทศวรรษ ได้ดังนี้
พ.ศ. 2463-2472 การตั้งวัตถุประสงค์การสอน จากความเชื่อของนักการศึกษาในสมัยนั้นคือ
แฟรงคลิน บ็อบบิตต์ (Franklin Bobbit) ที่ว่า โรงเรียนควรเป็นสถานที่ ที่สามารถให้ประสบการณ์ที่
เกี่ยวข้องกับพลเมืองที่อยู่ในสังคม และเขายังกล่าวว่า จุดประสงค์ของการเรียน การสอนควรได้รับ การ
วิเคราะห์วัตถุประสงค์ของทักษะต่างๆ ที่จําเป็นสําหรับการดํารงชีวิต จากแนวความคิดนี้ทําให้ ทอร์นไดค์
(Thorndike) และ นักการศึกษาคนอื่นๆ พยายามค้นหาหลักสูตรและการสอนที่ใช้หลักของ การเรียนรู้แบบ
มีการตั้งวัตถุประสงค์ จึงทําให้มีแผนการสอนรายบุคคลมากมายเป็นที่นิยมใช้กันมากใน ทศวรรษนี้
พ.ศ. 2473-2482 วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและการประเมินขณะเรียน จากการที่ ราล์ฟ ไท เลอร์
(Ralph Tyler) ได้รับเลือกให้ทํางานในแผนแปดปี เพื่อศึกษา ผู้เรีย นที่จบการศึกษาตามหลักสูตร ของ
โรงเรี ย นมั ธ ยม ที ่ ม ี ก ารเรี ย นแบบทางเลื อ กใหม่ จ ะสามารถสํ า เร็ จ การศึ ก ษาในระดั บ วิ ท ยาลั ย หรื อ
12

มหาวิทยาลัยได้อย่างไร ในแผนแปดมีเหตุผล 2 ประการ ที่ทําให้มีชื่อเสียงมาก คือ ประการแรก แผน ได้


กําหนดวิธีการเขียนวัตถุประสงค์ ที่สามารถทําให้เ กิด ความชัดเจนได้ ถ้าเขียนด้วยถ้อยคําเชิงพฤติกรรม
ด้วยเหตุนี้จึงทําให้มีคํา วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral objectives) ปรากฏถึงปัจจุบัน และใน
ประการที่สอง คือการรับประกันว่าหลักสูตรที่เป็นทางเลือกใหม่นี้สามารถทําได้เกิดเป็นผลสําเร็จตามที่ ได้
วางแผนไว้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ และการประเมินจะถูกนํามาใช้เพื่อปรับปรุงหลักสูตรใหม่ จน สามารถถึง
ระดับที่เหมาะสมของความสําเร็จ ซึ่งกระบวนการนี้คือ การประเมินขณะเรียน (Formative evaluation)
พ.ศ. 2483-2492 สื่อการสอนและการวิจัยพัฒนา ผลสงครามโลกครั้งที่สอง ทําให้การผลิตสื่อ
โสตทัศนูปกรณ์แบบต่างๆ ขึ้นมาใช้มากมายหลายอย่าง และวงการศึกษาได้นําสื่อเหล่านี้มาใช้ในการ เรียน
การสอน นอกจากนี้ทําให้มีการว่าจ้างบุคคลเพื่อทําวิจัยด้านการทหาร ทําให้เกิดสาขาวิจัยและ พัฒนา
(Research and development) ขึ้นในช่วงนี้
พ.ศ. 2493-2502 การสอนแบบโปรแกรมและการวิเคราะห์งาน ได้มีการนําแนวคิดมากมายที่ เคย
เกิดขึ้นมาปรับปรุงให้เกิดเป็นการสอนแบบโปรแกรม โดยแนวคิดที่สําคัญ คือ เริ่มจากที่ บี เอฟ สกิน เนอร์
ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเสริมแรงว่า เมื่อ ใดที่ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าจะทําให้เกิดการเรียนรู้ ขึ้นได้
ดังนั้น การสอนแบบโปรแกรมจึงต้องมีการระบุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมไว้ชัดเจน มีการสอน โดยแบ่ง
เนื้อหาออกเป็นกรอบเล็กๆ ผู้เรียนจะสามารถเรียนได้อย่าง กระฉับกระเฉง ด้วยการตอบสนอง ต่อคําถาม
และได้ผลป้อนกลับมาทันที ขณะเดียวกัน การสอนที่มีการออกแบบอย่างดี เริ่มเป็นที่นิยม มากขึ้น และ ใน
กองทัพอากาศได้มีการใช้คําว่า การวิเคราะห์งาน (Task analysis) เป็นกลุ่มแรก
พ.ศ. 2503-2512 การพัฒนาระบบการสอน มีการพัฒนาการสอนอย่างจริงจัง เริ่มจาก พ.ศ. 2505
โรเบิร์ต เกลเซอร์ (Robert Glaser) ใช้คําว่า ระบบการสอน (Instructional system) พ.ศ. 2508 โร เบิร์ต
กาเย (Robert Gagne) ได้ จ ั ด พิ ม พ์ The Conditions of Learning เป็ น รายละเอี ย ดการวิ เ คราะห์
วัตถุประสงค์การเรียน เพื่อออกแบบการสอนที่ถูกต้องเหมาะสม และทางผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ เช่น เจมส์
ฟินน์ (James Finn) อาเทอร์ ลัมสสเดน (Arthur Lumsdaine) และ คนอื่นๆ ได้ขยายขอบเขตการสอน
ด้าน โสตทัศนูปกรณ์ออกไปอีก เพื่อรวบรวมแนวคิด อัน กว้างขวางด้านเทคโนโลยีและพัฒนาการสอน เข้า
ด้วยกัน
พ.ศ. 2513-2522 การพัฒนาการสอน จากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2503-2512 ได้ปรากฏ เป็น
รูปร่างที่สมบูรณ์ขึ้นในทศวรรษนี้ โดยมีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นในช่วงระยะนี้ ได้แก่ แบบจําลอง การ พัฒนาการ
สอน (Instruction Development Models) ทีม่ อี ย่างมากมาย
พ.ศ. 2523-2532 ไมโครคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสมรรถนะ การใช้ไ มโครคอมพิวเตอร์ ใน การ
สอนได้เข้ามาครอบงําการออกแบบการสอนในช่วงนี้ การใช้เทคโนโลยี ในการพัฒนาการ ด้านการ สอนได้
แบ่งเป็น 2 ขั้ว ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าเทคโนโลยีระดับสูงเป็นสิ่งที่ช่วยออกแบบการสอน และนับเป็น สิ่งที่ช่วยใน
การวิจัยการเรียนรู้ของมนุษย์ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง ตกลงจะทําลายล้างสาขาด้านการพัฒนาการ สอนทั้งหมด
ไปสู่ความต้องการใช้การสอนด้วยคอมพิวเตอร์ ในช่วงนี้การนํา การพัฒนาการสอนไปใช้ อย่างกว้างขวางใน
วงการธุรกิจและหน่วยงานอื่น ๆ นอก วงการศึกษา สภาพแวดล้อมเหล่านี้ได้ เกื้อหนุนการขยายตัวอีกด้าน
13

หนึ่งของแนวคิดด้านระบบ นั่นคือ เทคโนโลยีสมรรถนะ ซึ่งเมื่อรวมกัน เข้ากับเทคโนโลยีทางการสอนแล้ว


นําไปสู่การออกแบบ การแก้ปัญหาพฤติกรรมมนุษย์ในลักษณะที่ไม่ ใช้การสอน
พ.ศ. 2533-2542 ไมโครคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีระดับสูง ไมโครคอมพิวเตอร์ยังเป็นสื่อที่มี
บทบาทสําคัญต่อเนื่องมาในการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา โดยได้นํามาใช้เป็นสื่อการสอนในลักษณะ ของ
สื่อประสม รวมถึงการใช้ในการผลิตบทเรียนสื่อประสมในการสอน ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เพื่อให้ ผู้เรียนได้รับ
เนื้อหาหลายรูปแบบในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยสามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้โดยตรง และได้ผล
ป้อนกลับในทันที และต่อมาได้นําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เนื่องจาก เทคโนโลยี
สารสนเทศเป็นการรวมตัวของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นจุดเริ่มต้นของการ
เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนและ มีส่วนช่วยเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่บุคคลทั่ว ๆ ไป รวมถึงด้านการจัด
การศึกษา และ การบริหารงานโรงเรียนด้วยการใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) ที่ทําให้ สามารถค้นคว้า
ติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ทั่วโลก ไม่จํากัดเวลาและสถานที่ ทําให้เกิดประสิทธิภาพ การจัดการศึกษา
ทางไกล ทั้งในระบบและนอกระบบ โรงเรียนมีมากขึ้น
4. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อวิดโี อ
ในปัจจุบันงานวิดีโอได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น ด้วยความสามารถของงานทางด้าน
มัลติมีเดียที่ทำให้การนำเสนองานของเราน่าสนใจแล้วราคากล้องวิดีโอก็ราคาถูกลงมามากและหาซื้อได้ไม่
ยาก พร้อมกับโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อวิดีโอก็มีให้เลือกใช้มากมายและก็ไม่ยากจนเกินไปที่จะเรียนรู้
สำหรับสื่อนี้จะขอนำเสนอการตัดต่อด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio เพื่อเป็นพื้นฐานในการตัดต่อ
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้
4.1 ประโยชน์ของงานวิดีโอ
4.1.1 แนะนำองค์กรและหน่วยงาน การสร้างงานวิดีโอเพื่อแนะนำสถานที่ต่างๆ หรือใน
การนำเสนอข้อมูลภายในหน่วยงานและองค์กร เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมผู้ฟังและยังก่อให้เกิด
ความเข้าใจในตัวงานได้ง่ายขึ้น
4.1.2 บันทึกภาพความทรงจำ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ย ว
ในสถานที่ต่างๆ งานวันเกิดงานแต่งงาน งานรับปริญญางานเลี้ยงของหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งเดิมเราจะ
เก็บไว้ในรูปแบบภาพนิ่ง
4.1.3 การทำสื่อการเรียนการสอน คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอไว้
นำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นวิดีโอโดยตรง เป็นภาพวิดี โอประกอบในโปรแกรม POWER POINT
เป็นภาพวิดีโอประกอบใน Homepage และอื่นๆ
4.1.4 การนำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ ซึ่งปรับเปลี่ยนการนำเสนอ
งานจากรูปแบบเดิม ที่เป็นเอกสารภาพประกอบ แผ่นชาร์จแผ่นใส ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์
ปัจจุบัน
4.1.5 วิดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ บุคคลสำคัญในโอกาสพิเศษ อาจหมายถึง วิทยากรที่เชิญ
มาบรรยาย ผู้จะเกษียณอายุจากการทำงาน เจ้าของวันเกิดคู่บ่าวสาว โอกาสของบุคคลที่ได้รับรางวัลต่างๆ
14

ที่กล่าวมานี้คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เรามองเห็นความสำคัญของงานวิดีโอมากขึ้น และได้รู้ว่าการทำ
วิดีโอไม่ได้ลงทุนมากและยุ่งยากอย่างที่คิดจากประสบการณ์ ในการทำงานวิดีโอ สรุปได้ว่าวิดีโอที่ดี ไม่ได้
ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนที่ใช้ แต่ขึ้นอยู่กับความประณีต และความคิดสร้างสรรค์
4.2 แนวคิดในการสร้างวิดีโอ
ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวิดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิด วางแผนมาอย่างรอบครอบ
ไม่ใช่ไปถ่ายวิดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลย โดยไม่มีการคิดให้ดีก่อนที่จะถ่ายทำ เพราะปัญหาที่ มักเกิดขึ้นเสมอ
ก็คือการที่ไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ เนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ในที่นี้ขอแนะนำ
แนวคิดในการทำงานวิดีโออย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการ จะไม่ต้องมาเสียเวลาแก้ไขภายหลัง
โดยมีลำดับแนวคิดของงานสร้างวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้
4.2.1 เขียน Storyboard สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวิดีโอ ก็คือ การเขียน
Storyboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริงในการเขียน Storyboard อาจวิธีง่ายๆ ไม่
ถึงขนาดวาดภาพปรกอบก็ได้ เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้องการสื่ออะไรหรืองานประเภท
ไหน จากนั้นดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ
4.2.2 เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียม
องค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือไฟล์ดนตรี
4.2.3 ตัดต่องานวิดีโอ การตัดต่อคือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็น
งานวิดีโอ งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับการตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัด
ต่อในบทต่อไปก่อน
4.2.4 ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแต่งงานวิดีโอด้วย
เทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน
และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
4.2.5 แปลงวิดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริง ขั้นตอนการแปลงวิดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการ
ทำงานวิดีโอที่เราได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน โปรแกรม Ulead Video Studio สามารถทำได้หลาย
รูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD หรือเป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต
5. หลักการออกแบบกราฟิกเบื้องต้น
งานกราฟิกเป็นส่วนสําคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะสื่อที่
ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา (Visual Communication Design) ได้แก่ หนังสือ นิตยสารวารสาร แผ่น
ป้าย โฆษณา บรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เว็บไซต์ ฯลฯ นักออกแบบจะใช้วิธีการ
ทาง ศิลปะและ หลักการทางการออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบสื่อเพื่อให้เกิดศักยภาพ สูงสุดในการที่
จะ เป็นตัวกลางของกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร นักออกแบบกราฟิกจะต้อง
ค้นหา รวบรวมข้อมูลต่างๆ ขบคิดแนวทางและวาง รูปแบบที่ดีที่สุดในอันที่จะทําให้สื่อนั้นสามารถดึงดูด
กลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ให้เกิดการรับรู้ยอมรับ และมีทัศนคติที่ดีต่อการตอบสนองสื่อที่มองเห็น
(Visual Message)
15

วิธีการออกแบบ และวิธีแก้ปัญหาการออกแบบโดยการนําเอารูปภาพประกอบ (Illustration)


ภาพถ่าย (Photography) สัญลักษณ์ (Symbol) รูปแบบและขนาดของตัวอักษร (Typography) มาจัดวาง
เพื่อให้เกิดการ นําเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการ สื่อความหมาย และแสดงคุณค่า
ทางการออกแบบอย่าง ตรงไปตรงมา งานออกแบบกราฟิก จึงมีลักษณะเฉพาะซึ่งมีวิธีการและวัตถุ ประสงค์
ที่แตกต่างไปจากงาน วิจิตรศิลป์ (Fine Arts) แต่ในบางกรณีผู้ออกแบบก็อาจจะสอดแทรกงานศิลปะแท้ๆ
(Pure Arts) เข้าไปเป็น ส่วนหนึ่งของการออกแบบกราฟิกเพื่อใช้สําหรับกระบวนการสื่อสาร การเรียนรู้
การตลาด การโฆษณา การ ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งอาจรวมกันเรียกว่า เป็ นงานประยุกต์ศิลป์ (Apply
Arts) ถ้าเป็นงานที่มีลักษณะ เน้นหนักไปทางด้านธุรกิจ การพาณิชย์ ก็จะเรียกว่าเป็นงานออกแบบพาณิชย์
ศิลป์ (Commercial Arts) และ ถ้าเป็น การเน้นวัตถุประสงค์ในแง่ของการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการสื่อ
ความหมายก็จะ รวมเรียกว่าเป็นงาน ออกแบบทัศนสื่อสาร (Visual Communication Design)
5. เอกสารเกี่ยวกับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ
5.1 ความหมายและความสำคัญของแบบฝึกทักษะ
แบบฝึกหรือแบบฝึกหัดเป็นสื่อการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่ให้นักเรียนได้ฝึก
ปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะเพิ่มเติมขึ้น ส่วนใหญ่หนังสือเรียนจะมีแบบฝึกหัดท้าย
บทเรียน ในบางวิชาแบบฝึกหัดจะมีลักษณะเป็นแบบฝึกปฏิบัติ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
แห่งชาติ, 2537 : 147)
สนอง คำศรี (2537 : 147) กล่าวว่า แบบฝึกหัดเป็นสิ่งที่ช่วยให้นักเรียนประสบผล
สำเร็จในการเรียนการสอน ดังนั้นแบบฝึกหัดจะมีลักษณะที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน ความพอใจในการ
เรียนให้กับนักเรียน
ขจีรัตน์ หงส์ประสงค์ (2534) กล่าวว่า แบบฝึกเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน อย่าง
หนึ่งที่ครูใช้ฝึกทักษะ หลังจากที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหาจากบทเรียนแล้ว โดยสร้างขึ้นเพื่อเสริมทักษะ
ให้แก่นักเรียน มีลักษณะเป็นแบบฝึกหัดที่มีกิจกรรมให้นักเรียนกระทำ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา
ความสามารถของนักเรียน
วรสุดา บุญยไวโรจน์ (2536) กล่าว่า แบบฝึกหัดเป็นสื่อการสอนที่จัดทำขึ้นเพื่อให้
ผู้เรียนได้ศึกษา ทำความเข้าใจ ฝึกฝนจนเกิดแนวคิดที่ถูกต้อง และเกิดทักษะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
นอกจากนั้นแบบฝึกหัดยังเป็นเครื่องบ่งชี้ให้ครูทราบว่าผู้เรียนหรือผู้ ใช้แบบฝึกหัดมีความรู้ ความเข้าใจใน
บทเรียนและสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ได้มากน้อยเพียงใด ผู้เรียนมีจุดเด่นที่ควรส่งเสริมหรือจุดด้อยที่ควร
ปรับปรุง แก้ไขตรงไหน อย่างไร แบบฝึกหัดจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ครูทุกคนใช้ในการตรวจสอบความรู้
ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะของนักเรียนในวิชาต่างๆ
จากความเห็นของนักวิชาการดังกล่าว เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของ แบบฝึก
หรือแบบฝึกหัดจึงพอสรุปได้ว่า แบบฝึกหรือแบบฝึกหัด คือ สื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่งที่ใช้ฝึกทักษะ
ให้กับผู้เรียนหลังจากเรียนจบเนื้อหาในช่วงหนึ่งๆ เพื่อฝึ กฝนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งเกิดความ
ชำนาญในเรื่องนั้นๆ อย่างกว้างขวางมากขึ้น ดังนั้นแบบฝึกจึงมีความสำคัญต่อผู้เรียนไม่น้อยในการที่จะ
16

ช่วยเสริมสร้างทักษะให้กับผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจได้เร็วขึ้น ชัดเจนขึ้น กว้างขวางขึ้น ทำให้


การสอนของครูและการเรียนของนักเรียนประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 หลักการสร้างแบบฝึกทักษะ
สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงการสร้างแบบฝึกคือขั้นตอนและหลักในการสร้างซึ่ง Seel &
Glasgow (1990) ได้เสนอแนะไว้ว่า ในการจัดสถานการณ์ทางการเรียนการสอนนั้นสามารถกำหนด
ขอบเขตเนื้อหาจากหลักสูตร โดยกำหนดจากหน่วยการเรียนย่อย ๆ ไปสู่หน่วยการเรียนใหญ่ แต่อย่างไรก็
ตามในการออกแบบการสอนหรือการสร้างแบบฝึกควรคำนึงถึงองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. เนื้อหาที่คัดเลือกมาสร้างแบบฝึกต้องอิงจุดประสงค์รายงวิชา
2. กลวิธีที่ใช้ในการสอนต้องอิงทฤษฎีและผลการวิจัยที่มีผู้ทำไว้แล้ว
3. การวัดต้องอิงพฤติกรรมการเรียนรู้
4. รู้จักนำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบเพื่อให้แบบฝึกมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
นอกจากนี้ Bock (1993) ได้เสนอหลักในการสร้างแบบฝึกดังนี้
1. ก่อนที่จะสร้างแบบฝึกจะต้องกำหนดโครงร่างคร่าว ๆ ก่อนว่าจะเขียน
แบบฝึกเกี่ยวกับเรื่องอะไร มีจุดประสงค์อย่างไร
2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะใช้สร้างแบบฝึก
3. เขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและเนื้อหาให้สอดคล้องกัน
4. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมออกเป็นกิกรรมย่อย โดยคำนึงถึงความเหมาะสม
ของผู้เรียน และเรียงกิจกรรมหรืองานที่นักเรียนต้องปฏิบัติจากง่ายไปหายาก
5. กำหนดอุปกรณ์ที่จะใช้ในแต่ละตอนให้เหมาะสมกับแบบฝึก
6. กำหนดเวลาที่จะใช้ในแบบฝึกแต่ละตอนให้เหมาะสม
7. ควรประเมินผลก่อนและหลัง
นิภา เล็กบำรุง (2518 อ้างถึงใน กุศยา แสงเดช, 2545) ได้กล่าวถึงหลักในการสร้าง
แบบฝึกดังนี้
1. แบบฝึกต้องแจ่มแจ้งและแน่น ครูจะต้องอธิบายวิธีทำให้ชัดเจน นักเรียน
เข้าใจได้อย่างถูกต้อง และกำหนดขอบเขตให้แน่นอนไม่กว้างเกินไป
2. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับวัยและพื้นฐานความรู้ของนักเรียน
3. แบบฝึกควรเป็นเรื่องที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้ว เพราะความรู้หรือ
ประสบการณ์เดิม ย่อมเป็นรากฐานของประสบการณ์ใหม่ ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปได้ง่ายและสะดวกขึ้น
4. ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจความสำคัญของแบบฝึก เพื่อให้นักเรียนมองเห็น
คุณค่าอันเป็นเครื่องเร้าใจให้นักเรียนทำสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
5. ครูต้องเร้าความสนใจของนักเรียนให้มีต่อแบบฝึกนั้น
6. ครูเป็นผู้ตั้งปัญหาขึ้นและเป็นปัญหาที่ไม่ยากเกินความสนใจของนักเรียนแต่เร้าความ
อยากรู้อยากเห็น และยั่วยุให้นักเรียนอยากแก้ปัญหานั้น
7. การให้นักเรียนรู้เค้าโครงก่อน จะเป็นเครื่องเร้าใจให้นักเรียนทำต่อจนสำเร็จ
8. เนื่องจากนักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน แบบฝึกที่กำหนดให้นักเรียน
17

เก่ง นักเรียนปานกลาง และนักเรียนอ่อนนั้น ควรยากง่ายต่างกัน แต่ถ้าหากให้แบบฝึกอย่างเดียวกันก็


ควรพิจารณาด้านคุณภาพของแบบฝึกให้แตกต่างกัน หรือให้นักเรียนที่เรียนอ่อนมีเวลาทำมากกว่า
จากที่กล่าวมาทั้งหมดหลักการสร้างแบบฝึกนั้นต้องคำนึงถึง หลักสูตร จุดประสงค์การเรียนรู้ จึง
คัดเลือกเนื้อหาให้สอดคล้องกับหลักสูตรและจุดประสงค์ เพื่อนำไปสร้างแบบฝึก ซึ่งจะต้องมีรูปแบบที่
หลากหลาย และสามารถสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนและที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือภาระงานและกิจกรรม
ทีเ่ ลือกใช้ในแบบฝึกต้องสอดคล้องกับรูปแบบการสอน
5.3 รูปแบบของแบบฝึกทักษะ
สมเดช สีแสง, สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2543 อ้างถึงใน กุศยา แสงเดช, 2545)
กล่าวว่า รูปแบบของแบบฝึกควรมีความหลากหลายเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยาก
ทำ และได้เสนอรูปแบบของแบบฝึกไว้ดังนี้
1. แบบถูกผิด เป็นแบบฝึกที่เป็นประโยคบอกเล่าให้ผู้เรียนอ่านแล้วเลือกใส่
เครื่องหมายถูกหรือผิดตามดุลยพินิจของผู้เรียน
2. แบบจับคู่ เป็นแบบฝึกที่ประกอบด้วยคำถามหรือตัวปัญหาซึ่งเป็นตัวยืนไว้ในสดมภ์
ซ้ายมือโดยมีที่ว่างไว้หน้าข้อ เพื่อให้ผู้เรียนเลือกหาคำตอบที่กำหนดไว้ในสดมภ์ขวามือมาจับคู่กับคำถามให้
สอคล้องกัน โดยใช้หมายเลขคำตอบไปวางไว้ที่ว่างหน้าข้อคำถาม หรือจะใช้โยงเส้น
3. แบบเติมคำหรือแบบเติมข้อความ เป็นแบบฝึกที่มีข้อความไว้ให้ แต่จะเว้นช่องว่าง
ไว้ให้ผู้เรียนเติมคำหรือข้อความที่ขาดหายไป ซึ่งคำที่นำมาเติมอาจให้เติมอย่างอิสระหรือกำหนดตัวเลือกให้
เติมก็ได้
4. แบบหลายตัวเลือก เป็นแบบฝึกเชิงแบบทดสอบ โดยมี 2 ส่วน คือส่วนที่เป็น
คำถาม ซึ่งจะต้องเป็นประโยคคำถามที่สมบูรณ์ชัดเจน ส่วนที่ 2 เป็นตัวเลือก คือคำตอบซึ่งอาจมี 3-4
ตัวเลือกก็ได้ ตัวเลือกทั้งหมดจะมีตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุดเพียงตัวเดียวส่วนที่เหลือเป็นตัวลวง
5. แบบอัตนัย คือความเรียงเป็นแบบฝึกที่มีตัวคำถาม ผู้เรียนเขียนบรรยายตอบ
อย่างเสรี ไม่จำกัดคำตอบ แต่จำกัดในเรื่องเวลา อาจใช้ในรูปคำถามทั่วไปหรือเป็นคำสั่งให้เขียนเรื่องราว
ต่างๆ กำหนดเวลาที่จะใช้ในแบบฝึกแต่ละตอนให้เหมาะสมก็ได้
5.4 ลักษณะของแบบฝึกทักษะที่ดี
กุศยา แสงเดช (2545) กล่าวว่า แบบฝึกที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียนมาแล้ว
2. เหมาะสมกับวัยระดับชั้นของผู้เรียน
3. มีคำชี้แจงสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย
4. ใช้เวลาที่เหมาะสม
5. มีสิ่งที่น่าสนใจและท้าทายให้แสดงความสามารถ
6. ควรมีข้อเสนอแนะในการใช้
7. มีให้เลือกตอบอย่างจำกัดและตอบอย่างเสรี
8. แบบฝึกที่ต้องการให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองแบบฝึกควรมีหลายรูปแบบ
9. ควรใช้ภาษาง่ายๆ ฝึกให้คิดและสนุกสนาน
18

นอกจากนี้ อารีย์ วาศน์อำนวย (2545) ได้กล่าวว่า แบบฝึกที่ดีควรมีลักษณะดังนี้


คือ การสร้างต้องคำนึงถึงหลักจิตวิ ทยา ควรสร้างให้สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียนและควรจัด
เนื้อหาให้สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียนและควรจัดเนื้อหาให้สอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียนที่เรียน
มาแล้ว ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน โดยใช้เวลาอย่างเหมาะสมกับ
แบบฝึกนั้นๆ ทั้งนี้หากจะมีคำชี้แจงก็ควรสั้นๆ และใช้ภาษาที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ แบบฝึกควรมี
ลักษณะที่ท้าทายความสามารถ ดึงดูดความสนใจที่จะทำ การสร้างแบบฝึกควรมีหลากหลายรูปแบบเพื่อ
ไม่ให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย ควรมีราคาถูกหาง่าย สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
วรสุดา บุญยไวโรจน์ (2536) กล่าวแนะนำให้ผู้สร้างแบบฝึกได้ยึดลักษณะของ
แบบฝึกที่ดี ไว้ดังนี้
1. แบบฝึกที่ดีควรมีความชัดเจนทั้งคำสั่งและวิธีทำ สั่งหรือตัวอย่างแสดงวิธี
ทำที่ใช้ไม่ควรยาวเกินไป เพราะจะทำให้เข้าใจยาก ควรปรับปรุงได้ง่าย เหมาะสมกับผู้ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้
นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองได้ถ้าต้องการ

2. แบบฝึกที่ดีควรมีความหมายต่อผู้เรียนและตรงตามจุดมุ่งหมายของการฝึก
ลงทุนน้อย ใช้ได้นานและทันสมัยอยู่เสมอ
3. ภาษาและภาพที่ใช้ในแบบฝึกหัดควรเหมาะสมกับวัยและพื้นฐานความรู้
ของผู้เรียน
4. แบบฝึกหัดที่ดีควรแยกฝึกเป็นเรื่องๆ แต่ละเรื่องไม่ควรยาวเกินไปแต่ควร
มีกิจกรรมหลายรูปแบบ เพื่อเร้าให้นักเรียนเกิดความสนใจและไม่น่าเบื่อหน่ายในการทำ และเพื่อฝึก
ทักษะใดทักษะหนึ่งจนเกิดความชำนาญ
5. แบบฝึกที่ดีควรมีทั้งแบบกำหนดคำตอบให้ แบบให้ตอบโดยเสรี
การเลือกใช้คำ ข้อความ หรือรูปภาพในแบบฝึกหัด ควรเป็นสิ่งที่นักเรียนคุ้นเคย และตรงกับความในใจ
ของนักเรียน เพื่อว่าแบบฝึกหัดที่สร้างขึ้นจะได้ก่อให้เกิดความเพลิดเพลินและพอใจแก่ผู้ใช้ ซึ่งตรงกับ
หลักการเรียนรู้ที่ว่า เด็กมักจะเรียนรู้ได้เร็วในการกระทำที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ
6. แบบฝึกหัดที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ให้รู้จักค้นคว้า
รวบรวมสิ่งที่พบเห็นบ่อยๆหรือที่ตัวเองเคยใช้ จะทำให้นักเรี ยนเข้าใจเรื่องนั้นๆมากยิ่งขึ้น และรู้จักนำ
ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง มีหลักเกณฑ์และมองเห็นว่าสิ่งที่เขาได้ฝึกฝนนั้นมีความหมาย
ต่อเขาตลอดไป
7. แบบฝึกหัดที่ดี ควรตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนแต่ละ
คนมีความแตกต่างในหลายๆ ด้าน เช่น ความต้องการ ความสนใจ ความพร้อม ระดับสติปัญญาและ
ประสบการณ์ ฯลฯ ฉะนั้นการทำแบบฝึกหัดแต่ละเรื่องควรจัดทำให้มากพอและมีทุกระดับ ตั้งแต่ง่าย
ปานกลางจนถึงระดับค่อนข้างยาก เพื่อว่าทั้งเด็กเก่ง กลางและอ่อน จะได้เลือกทำได้ตามความสามารถ
ทั้งนี้เพื่อให้เด็กทุกคนประสบผลสำเร็จในการทำแบบฝึกหัด
8. แบบฝึกหัดที่ดี ควรสามารถเร้าความสนใจของนักเรียนได้ตั้งแต่หน้าปกไป
19

จนถึงหน้าสุดท้าย
9. แบบฝึกหัดที่ดีควรได้รับการปรับปรุงควบคู่ไปกับหนังสือเรียนอยู่เสมอและ
ควรใช้ได้ดีทั้งในและนอกห้องเรียน
10. แบบฝึกหัดที่ดีควรเป็นแบบฝึกหัดที่สามารถประเมิน และจำแนกความ
เจริญงอกงามของเด็กได้ด้วย
ขันธชัย มหาโพธิ์ (2535 : 20) กล่าวว่า ลักษณะของแบบฝึกที่ดีควรประกอบด้วย
1. มีเนื้อหาที่ตรงกับจุดประสงค์
2. กิจกรรมเหมาะสมกับระดับหรือความสามารถของนักเรียน
3. มีภาพประกอบ มีการวางฟอร์มที่ดี
4. มีที่ว่างเหมาะสมสำหรับฝึกเขียน
5. ใช้เวลาที่เหมาะสม
6. ท้าทายความสามารถของผู้เรียนและสามารถนำไปฝึกด้วยตนเองได้
บรู๊ค (Brook. 1964 : 212-215) ได้เสนอรูปแบบฝึกไว้หลายชนิดที่เป็นประโยชน์
ในการฝึกทักษะทางภาษา มีดังต่อไปนี้
1. การเลียนคำ (Repetition) ฝึกโดยให้นักเรียนเลียนแบบครู
2. การเปลี่ยนโครงสร้างของประโยค (Transformation)
3. การแทนที่ของคำโดยเปลี่ยนคำนามเป็นสรรพนาม (Replacement)
4. แต่งบทโต้ตอบ (Rejoinder) ให้นักเรียนแต่งประโยคโต้ตอบประโยคที่
กำหนดให้
5. การเรียบเรียงข้อความใหม่ (Restatement) หรือหาข้อความมาเติม
จากรูปแบบลักษณะของแบบฝึกที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่ามีหลากหลายลักษณะ ผู้สร้างแบบฝึก
เองจะต้องเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับจุดประสงค์ในการสร้างแบบฝึกนั้นๆว่าเราต้องการที่จะฝึกทักษะใด
กับนักเรียน เนื้อหาสาระสำคัญของหลักสูตร วัยของผู้เรียน ทั้งนี้จะยึ ดหลักการพัฒนาการของผู้เรียน
เพื่อให้ได้แบบฝึกทักษะที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

6. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสอนทักษะการอ่านวิชาโดยใช้แบบฝึกทักษะ
การสอนอ่านโดยใช้แบบฝึกทักษะ ผู้วิจัยได้ยึดทฤษฎีการเรียนรู้และหลักการเรียนรู้ ดังนี้
6.1 ทฤษฎีการเรียนรูข้ อง Thorndike
Thorndike ได้เป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่ง
เร้า (S) กับการตอบสนอง (R) เขาเชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นไดต้องสร้างสิ่งเชื่อมโยงหรือพันธะระหว่าง
สิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ของ Thorndike มีอยู่ 3 ข้อคือ
1) กฎแห่ ง ความพร้ อ ม (Law of readiness) กล่ า วถึ ง ความพร้ อ มของผู ้ เ รี ย นทั้ ง
ร่างกาย จิตใจ ทางร่างกาย หมายถึงความพร้อมทางวุฒิภาวะและอวัยวะของร่างกาย เช่น หูและตา
ทางจิตใจหมายถึงความพร้อมที่เกิดจากความพึงพอใจเป็นสำคัญ คือถ้าเกิดความพอใจจะนำไปสู่การเรียนรู้
ถ้าไม่เกิดความพอใจจะทำให้การเรียนรู้หยุดชะงักไปได้
20

2) กฎแห่ง การฝึก หัด (Law of exercise) กล่าวถึงความมั่นคงของการเชื่อมโยง


ระหว่างสิ่งเร้ากับตอบสนองที่ถูกต้อง โดยการฝึกหัดทำซ้ำบ่อยๆ ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้ได้นานและคง
ทาถาวร
3) กฎแห่งผล (Law of effect) กล่าวถึงผลที่ได้รับ เมื่อแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้
แล้วว่า ถ้าได้รับผลที่พอใจ อินทรีย์ก็อยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พอใจ อินทรีย์ก็ไม่อยาก
เรียนรู้ หรือเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนรู้
จากทฤษฎีการเรียนรู้ของ Thorndike ทั้ง 3 ข้อ ดังที่กล่าวมานี้ ผู้วิจัยได้นำมา
ประยุกต์ใช้ทั้ง 3 ข้อ กล่าวคือ จากกฎข้อที่ 3.1 ของ Thorndike กล่าวถึง กฎแห่งความพร้อม
ผู้วิจัยได้นำไปใช้ทุกขั้นตอนของการสอนเพราะผู้วิจัยเองเชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ดีจะต้องมีความพร้อมก่อน
ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้สอนทุกคนก็ต้องตระหนัก กล่าวคือไม่ว่าจะเป็นขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป และขั้น
วัดผลและประเมินผล ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมทั้งสิ้น ส่วนกฎข้อที่ 3.2 กฎแห่งการปฏิบัติ ผู้วิจัยก็ได้
นำมาประยุกต์ใช้กับขั้นสอนในขั้นตอนการฝึกปฏิบัติ จากกฎข้อที่ 3.3 กฎแห่งผล ผู้วิจัยได้นำไปใช้
เช่นกัน คือ ได้นำไปประยุกต์ใช้ในขั้นสรุปการสอน
ไพบูลย์ เทวรักษ์ (2540) ได้กล่าวถึงกฎการฝึกหัดไว้ว่า การฝึกหัดให้บุคคลทำกิจกรรม
ต่างๆ นั้น ผู้ฝึกจะต้องควบคุมและจัดสภาพการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของตนเอง บุคคลจะถูก
กำหนดลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก
ดังนั้น ผู้สร้างแบบฝึกจึงจะต้องกำหนดกิจกรรมตลอดจนคำสั่งต่างๆ ในแบบฝึกให้ผู้ฝึกได้
แสดงพฤติกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ผู้สร้างต้องการ
6.2 ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์
ซึ่งมีความเชื่อว่าสามารถควบคุมบุคคลให้ทำตามความประสงค์ หรือแนวทางที่
กำหนดได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความรู้สึกทางจิตใจของบุคคลผู้นั้นว่าจะรู้สึกนึกคิดอย่างไร โดยมีการเสริมแรง
เป็นตัวการเมื่อบุคคลตอบสนองการเร้าของสิ่งเร้าควบคู่กันในช่วงเวลาที่เหมาะสม สิ่งเร้านั้นจะรักษาระดับ
หรือเพิ่มการตอบสนองให้เข้มขึ้น
6.3 วิธีการสอนของกาเย่
ซึ่งมีความเห็นว่า การเรียนรู้มีลำดับขั้นและผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เนื้อหาที่ง่ายไปหายาก
พรรณี ช.เจนจิต (2538) ได้กล่าวถึงแนวคิดของกาเย่ ไว้ดังนี้
การเรียนรู้มีลำดับขั้น ดังนั้นก่อนที่จะสอนเด็กแก้ปัญหาได้นั้น เด็กจะต้องเรียนรู้ความคิด
รวบยอด หรือกฎเกณฑ์มาก่อน ซึ่งในการสอนให้เด็กได้ความคิดรวบยอดหรือกฎเกณฑ์นั้น จะทำให้เด็ก
เป็นผู้สรุปความคิดรวบยอดด้วยตนเองแทนที่ครูจะเป็นผู้บอก การสร้างแบบฝึกจึงควรคำนึงถึงการฝึก
ตามลำดับขั้นจากง่ายไปหายาก
โดยสรุปแล้วผู้วิจัยก็ได้นำแนวคิดของทฤษฎีต่างๆ ที่ได้กล่าวมาไปใช้ในทุกขั้นตอนทั้งขั้น
นำ ขั้นสอน ขั้นสรุปและขั้นวัดผลและประเมินผล ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมี
แรงกระตุ้นในการที่จะรักการอ่านให้มากที่สุด
21

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการศึกษา ครูผู้สอนต้องมีการประเมินผลดูว่าการ
เรียนการสอนของครูและนักเรียนนั้นได้ผลแค่ไหน มีขาดตกบกพร่องอะไรเพื่อที่จะหาทางแก้ไขต่อไป (สุชา
จันทร์เอม และสุรางค์ จันทร์เอม, 2521)
ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
สุรชัย ขวัญเมือง ได้กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการสอนหรือ
ทักษะที่ได้พัฒนาขึ้นตามลำดับขั้นในวิชาต่าง ๆ ที่ได้เรียนมาแล้วในสถานศึกษาและการที่ครูจะทราบว่าเด็ก
มีความรู้หรือทักษะในวิชาต่างๆ เพิ่มขึ้นเพียงใดจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือในการวัดการศึกษาเข้ามาช่วย
(ไพศาล หวังพานิช , 2533) ได้กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คุณลักษณะและ
ความสามารถของบุคคลอันเกิดจาการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์การ
เรียนที่เกิดขึ้นจาการฝึกอบรมจึงเป็นการตรวจสอบความสามารถหรือความสัมฤทธิ์ผล
(วาสนา จาดพุ่ม, 2545) ได้กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง การวัดการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แบบทดสอบในด้านเนื้อหาวิชาและในด้านการปฏิ บัติตาม
จุดประสงค์ของวิชาหรือเนื้อหาที่สอบ

8. ทฤษฎีความพึงพอใจ
ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ (Maslow’s theory motivation) ทฤษฎีของมาสโลว์ได้จัดลำดับความ
ต้องการตามความสำคัญ (Maslow’s Hierarchy of Needs, 1970 อ้างถึงใน ชัญญา อภิปาลกุล, 2548)
1.1 ความต้องการทางกาย (physiological needs) เป็นความต้องการพื้นฐาน คือ อาหาร ที่พัก
อากาศ ยารักษาโรค
1.2 ความต้องการความปลอดภัย (safety needs) เป็นความต้องการที่เหนือกว่า ความต้องการ
เพื่อความอยู่รอด เป็นความต้องการในด้านความปลอดภัยจากอันตราย
1.3 ความต้องการทางสังคม (social needs) เป็นการต้องการการยอมรับจากเพื่อน
1.4 ความต้องการการยกย่อง (esteem needs) เป็นความต้องการการยกย่องส่วนตัวความนับถือ
และสถานะทางสังคม
1.5 ความต้องการให้ตนประสบความสำเร็จ (self – actualization needs) เป็นความต้องการ
สูงสุดของแต่ละบุคคล ความต้องการทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ
บุคคลพยายามที่สร้างความพึงพอใจให้กับความต้องการที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกก่อนเมื่อ
ความต้องการนั้นได้รับความพึงพอใจ ความต้องการนั้นก็จะหมดลงและเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลพยายาม
สร้างความพึงพอใจให้กับความต้องการที่สำคัญที่สุดลำดับต่อไป ตัวอย่าง เช่น คนที่อดอยาก (ความต้องการ
ทางกาย) จะไม่สนใจต่องานศิลปะชิ้นล่าสุด (ความต้องการสูงสุด) หรือไม่ต้องการยกย่องจากผู้อื่น หรือไม่
ต้องการแม้แต่อากาศที่บริสุทธิ์ (ความปลอดภัย) แต่เมื่อความต้องการแต่ละขั้นได้รับความพึงพอใจแล้วก็จะ
มีความต้องการในขั้นลำดับต่อไป
จากความหมายที่กล่าวมา สรุปความหมายของความพึงพอใจได้ว่า เป็นความรู้สึกของบุคคลใน
ทางบวก ความชอบ ความสบายใจ ความสุขใจต่อสภาพแวดล้อมในด้านต่างๆหรือความรู้สึกที่ทำให้เ กิด
ความชอบและเป็นความรู้สึกที่บรรลุถึงความต้องการ
22

10. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
อารี ปิยะวัชร์ (2550) ได้ทําการวิจัยการใช้บทเรียนสําเร็จรูป โดยวิธีการสอนแบบ ร่วมมือเพื่อ
พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โดยใช้
แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย มี 4 ประเภท
ได้แก่ 1) บทเรียนสําเร็จรูป 7 เรื่อง (ทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม การบวก และการลบทศนิยม
การคูณและการหารทศนิยม เศษส่วนและการเปรียบเทียบเศษส่วน การบวกและ การลบเศษส่วน การคูณ
และการหารเศษส่วน และ ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน) 2) แบบประเมินคุณภาพบทเรียน
สําเร็จรูปสําหรับผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมและ
เศษส่ ว น 4) แบบทดสอบความพึ ง พอใจของผู ้ เ รี ย นที ่ เ รี ย นด้ ว ยบทเรี ย น สํ า เร็ จ รู ป แบบร่ ว มมื อ วิ ช า
คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องทศนิยมและเศษส่วน เมื่อดําเนินการ วิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 94 คน ที่
เลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย จากประชากร 272 คน แล้วได้ผลการทดลอง ดังนี้ 1) บทเรียนสําเร็จรูปวิชา
คณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมและเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ
81.563 / 84.5745 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ (80 / 80) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง
ทศนิยมและเศษส่วน ของผู้เรียนหลังการเรียนด้วยบทเรียน สําเร็จรูปแบบร่วมมือสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี
นัยสําคัญ ที่ระดับ .01 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการ เรียนด้วยบทเรียนสําเร็จรูป วิชาคณิตศาสตร์ ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 เรือ่ ง ทศนิยมและเศษส่วน อยู่ใน ระดับ พึ่งพอใจมาก
อรุณี เพ็งประสพ (2552) ได้ทําการวิจัยเรื่องการใช้บทเรียนสําเร็จรูปโดยการเรียน แบบร่วมมือ
เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สําหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จํานวน 42 คน โดย
ออกแบบแผนการทดลองที่มีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)
บทเรียนสําเร็จรูปโดยการเรียนแบบร่วมมือที่ใช้ประกอบการสอนซ่อมเสริม มีเนื้อหา 3 หน่วย ใช้เวลาเรียน
19 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ จํานวน 20 ข้อ และ 3)
แบบสอบถามความพึง พอใจของนัก เรียนที่ มี ต่ อการสอนโดยใช้บ ทเรียน สําเร็จรูป ผลวิจัยพบว่า 1)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สอนโดยใช้บทเรียนสําเร็จรูป เรื่อง การประยุกต์ สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สูง
กว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสําคั ญที่ระดับ .05 2) บทเรียนสําเร็จรูป เรื่อง การประยุกต์
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีประสิทธิภาพ 82.14 / 83.81 ซึ่งสูง กว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนสามารถนําไปใช้
เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และผู้เรียนสามารถ เรียนรู้ด้วยตนเอง 3) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียน
สําเร็จรูป มีความพึงพอใจต่อการสอนโดยใช้บทเรียน สําเร็จรูปอยู่ในระดับมาก
นวลจันทร์ วิเศษ ( 2546 ) การพัฒนาบทเรียนสําเร็จรูปการ์ตูนประกอบกิจกรรมการเรียนการ
สอนเรื่องการประหยัด กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4
ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนสําเร็จรูปการ์ตูนประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การประหยัด กลุ่ม
สาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.20 / 88.12 มีค่า
ดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 71 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย

การดำเนินการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการ ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ
4. ขั้นตอนดำเนินการวิจัย
5. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
6. การวิเคราะห์ข้อมูล
7. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร
ประชากรที่วิจัยที่ใช้ในครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังทรายขาววิทยา
อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 ปีการศึกษา 2561 จำนวน
13 คน ซึ่งมีบริบทดังนี้
1.1.1 ใช้หลักสูตรเดียวกัน
1.1.2 มีการจัดนักเรียนโดยคละความสามารถ
1.2 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง
จังหวัดเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 13 คน ด้วยสูตร
ของทาโร ยามาเน (Taro Yamane', 1973 : 727-728) โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้
2.1 แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาการตัดต่อวิดีโอ
รหัสวิชา ง20247 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.2 บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย
แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) เนื้อหา เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ และแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test)
ตามลำดับ
2.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ ของ
นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
จำนวน 30 ข้อ เพื่อใช้ตรวจสอบความรู้เดิมของผู้เรียนก่อนเรียนและใช้วัดความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน
หลังจากเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ในแบบทดสอบจะมีการเฉลยคำตอบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถตรวจคำตอบ
ได้ด้วยตนเอง
2.4 แบบสอบถามความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้บทเรียนออนไลน์ แบบสอบถามนี้สร้างขึ้นเพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นของ
29

นักเรียนหลังจากที่ได้เรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ และเพื่อนำผลที่ได้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียน
การสอนให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แบบสอบถามความคิดเห็นเป็นคำถามแบบกำหนดมาตราส่วน
ประเมินค่า (Rating scale) แบ่งระดับความคิดเห็นเป็น 5 ระดับ มีจำนวน 12 ข้อ
3. การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ
ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการสร้างเครื่องมือในการวิจัย ตามลำดับดังนี้
3.1 แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการตัดต่อวีดีโอผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
3.1.1 ศึกษาจุดมุ่งหมายและขอบข่าย สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่าง
ประเทศ ช่วงชั้นที่ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมไปถึงหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวังทรายขาว
วิทยา
3.1.2 ศึกษาเอกสารและหนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิธีการ หลักการ หลักทฤษฎีและเทคนิคการ
เขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน
3.1.3 ศึกษาและวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ วิชาการตัดต่อวิดีโอ รหัสวิชา ง20247 นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3-8 เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยมีทั้งหมด 6 แผน การเรียนรู้คือ
1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Ulead Video Studio
2. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 การสร้างวิดีโออย่างง่ายจาก Movie Wizard
3. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 Media Library และการดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอ
จากอินเทอร์เน็ต
4. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 การใช้งานเครื่องมือต่างๆ ในการจัดการไฟล์วิดีโอ
5. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 การเพิ่มเทคนิคพิเศษให้งานวิดีโอ
6. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 Workshop With Ulead
3.1.4 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ สาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด /จุดประสงค์การเรียนรู้ และรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ของหน่วยการเรียนรู้
3.1.5 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน
ประกอบด้วย หัวข้อสำคัญ ดังนี้
1. สาระสำคัญ
2. ตัวชี้วัด
3. สาระการเรียนรู้
4. กิจกรรมการเรียนรู้
5. สื่อและและแหล่งเรียนรู้
6. การวัดผลและประเมินผล
7. กิจกรรมเสนอแนะ
ดำเนินการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิจัยเป็นฐานมีขั้นตอนดังนี้คือ (สมหวัง พิธิยา
นุวัฒน์และทัศนีย์ บุญเติม, 2540)
1. ขัน้ เลือกปัญหา หมายถึง การตั้งคำถามที่กระตุ้นเพื่อให้เกิดความสนใจอยากรู้ ตั้ง
คำถามหรือข้อสงสัยเพื่อนำไปสู่การศึกษาวิธีการแก้ปัญหา ตั้งสมมติฐาน รวบรวมข้อมูล หรือทำการทดลอง
สรุปผลการศึกษาโดยวัดได้จากแบบสังเกต ฯลฯ
30

2. ขั้นวิเคราะห์ปัญหา หมายถึง ขั้นที่เลือกจับกลุ่มหัวข้อตามที่ผู้เรียนสนใจ ตั้งคำถาม


และสมมติฐานที่ต้องการศึกษา ออกแบบ วางแผนการปฏิบัติหรือการทดลอง และผู้เรียนฝึกทักษะที่จำเป็น
ต่อการดำเนินการตามกระบวนการ
3. ขั้นเลือกระเบียบวิจัย หมายถึง ขั้นที่จำเป็นต่อการดำเนินการตามกระบวนการวิจัย
ให้ผู้เรียน เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิธีสร้างเครื่องมือที่เหมาะสมกับเรื่องที่ผู้เรียนต้องการสืบค้น
วิเคราะห์ข้อมูล การใช้สถิติต่าง ๆ การกำหนดเกณฑ์การประเมินและการนำเสนอ
4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล หมายถึง ขั้นที่ผู้เรียนเก็บรวบรวมข้อมูล
ตามหัวข้อของแต่ละกลุ่ม และไปปฏิบัติดำเนินการตามกระบวนการวิจัย หรือปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง
ตามทีเ่ ลือกปัญหาไว้
5. ขั้นสรุปและรายงานผล หมายถึง ขั้นที่ผู้เรียนนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์
โดยใช้สถิติต่าง ๆ นำมาสรุป และรายงานผลการทดลองตามรูปแบบต่างๆ
3.2 สร้างบทเรียนออนไลน์
ผู้วิจัยค้นคว้าได้ดำเนินการสร้างบทเรียนออนไลน์ตามขั้นตอน ดังนี้
3.2.1 กำหนดหัวข้อและเนื้อหา เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ ที่จะสร้างบทเรียนออนไลน์
3.2.2 กำหนดรูปแบบบทเรียนออนไลน์ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
3.2.3 วางโครงร่างในการเขียนบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยเริ่มจากง่าย
ไปหายาก
3.2.4 นำบทเรียนออนไลน์มาตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและการใช้ โครงสร้าง
ไวยากรณ์ พร้อมทั้งนำบทเรียนที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญไปแก้ไขและตรวจสอบความถูกต้อง
3.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผู้วิจัยค้นคว้าได้ดำเนินการสร้างและหาคุณภาพตามขั้นตอน ดังนี้
3.3.1 ศึก ษาหลัก สูตรแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชี พและเทคโนโลยี
สารสนเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้
แกนกลางรายชั้น
3.3.2 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจาก
หนังสือพื้นฐานการวิจัย (บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. 2551 : 69 - 91) และการวัดผลการศึกษา (สมนึก
ภัททิยธนี. 2551 : 73-192) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบ
3.3.3 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้ และสร้างข้อสอบ
แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ เพื่อเลือกไว้ใช้จริง 30 ข้อ ดังตารางวิเคราะห์ข้อสอบ
3.3.4 ศึกษาวิธีเขียนข้อสอบแบบวัดผลสัมฤทธิ์จากหนังสือเทคนิคการเขียนข้อสอบ
วิธีการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์จากหนังสือวัดผลการศึกษา (สมนึก ภัททิยธนี. 2551 : 73 - 232)
และการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แบบอิงเกณฑ์ (บุญชม ศรีสะอาด. 2551 : 62 - 66) จัดพิมพ์
แบบทดสอบเป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปเก็บข้อมูลกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อไป
3.3.5 สร้างแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test) และหลังเรียน (Post-Test) เรื่อง การตัด
ต่อวีดีโอ ซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกัน โดยศึกษาเนื้อหาจากหนังสือหรือตำราต่างๆ
3.3.6 นำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test) ไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
31

3.3.7 นำบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ ไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็น


นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 13 คน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง
การตัดต่อวีดีโอ จากนั้นให้กลุ่มตัวอย่าง ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test)
3.3.8 นำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากการทดสอบก่อนเรียนและ
หลังเรียน มาวิเคราะห์โดยใช้วิธีทางสถิติ t-test แบบ dependent sample เพือ่ ทดสอบสมมติฐาน
3.3.9 สร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียน
ด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3.3.10 นำแบบสอบถามไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ เพื่อ
ทราบความคิดเห็นหรือเจตคติของนักเรียนที่มีต่อ การเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยการคำนวณเป็น
ค่าเฉลี่ย ( X )
3.4 การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ
การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน
ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นโดยใช้แนวทางจากแบบประเมินของ (พรทิพย์ สมเฉียงใต้, 2547) และ (ชมพูนุช แพง
วงษ์ ,2550) แบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ
4. ขั้นตอนดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยได้นำเครื่องมือที่สร้างขึ้น ซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพแล้วไปดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
กับกลุ่มตัวอย่าง
4.1 ประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียนกลุ่มประชากร ก่อนทดลอง โดยการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
4.2 ดำเนินการสอน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานกับกลุ่มทดลอง ตามแบบ
แผนการทดลองในระยะเวลาที่กำหนดไว้
4.3 ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ด้วย
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4.4. ความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ด้วยแบบประเมินความพึง
พอใจ
5. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ระหว่าง วั น ที่ 6
มกราคม 2557 – 15 มีนาคม 2562 และใช้เวลาทดลองจำนวน 28 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่รวมเวลาที่ใช้ในการ
ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและกิจกรรมนอกเวลาเรียน

6. การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยดำเนินการจัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูล
ตามลำดับ ดังนี้
6.1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติ ด้วยสถิติทีแบบไม่อิสระ t-test dependent
32

samples โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งเป็นการ


วิเคราะห์ตัวแปรเดียว สถิติที่ใช้ตัวแปรเดียว (Univariate) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ
ทดสอบที และระดับนัยสำคัญทางสถิติ
6.2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติ ด้วยสถิติทีแบบไม่อิสระ t-test dependent
samples โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งเป็นการ
วิเคราะห์ตัวแปรเดียว สถิติที่ใช้ตัวแปรเดียว (Univariate) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ
ทดสอบที และระดับนัยสำคัญทางสถิติ
7. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
7.1 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ
7.1.1 ความเที่ยงตรง (Validity) ตามเนื้อหาของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ โดยใช้
วิธีการหาดัชนีความสอดคล้อง IOC (Index of Item Objective Congruence)
7.1.2 การหาค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
7.1.3 หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
7.1.4 การหาค่าความเชื่อมั่น ของแบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ โดยใช้สูตร KR - 20 (Kuder
- Richardson)
7.2 สถิติพื้นฐาน
การวิเคราะห์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่
7.2.1 ร้อยละ (Percentage ) ใช้สูตร P ของบุญชม ศรีสะอาด ( 2545 : 104 )
สูตร P = f  100
N
เมือ่ P แทน ร้อยละ
f แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ
N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด
7.2.2 ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ของคะแนน โดยใช้สูตรของ บุญชม ศรีสะอาด
( 2545 : 105 )
สูตร X =
X
N

เมื่อ X แทน ค่าเฉลี่ย


X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม
N แทน จำนวนนักเรียน

7.2.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation) โดยใช้สูตร S.D. ของ


บุญชม ศรีสะอาด ( 2545 : 106 )

สูตร S .D. =
N X − 
2
( X)
2

N ( N − 1)
33

เมือ่ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


∑ 𝑥 2 แทน ผลรวมของคะแนนแตละตัว ยกกําลังสอง
(∑ 𝑥)2 แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด ยกกําลังสอง
N แทน จำนวนคะแนนในกลุ่ม
บทที่ 4
ผลการวิจัย

ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอรายวิชาโดย


ใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้
1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
2.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.2 ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 หลังจากได้ผ่าน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.3 ความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการ
เรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์
3. การอภิปรายผลการวิจัย
1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
X หมายถึง ค่าเฉลี่ย (Mean)
N หมายถึง ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง/จำนวนนักเรียนทั้งหมดในกลุ่มตัวอย่าง
S.D. หมายถึง ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง (Standard Deviation)
t หมายถึง ค่าทดสอบของนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม (ค่าสถิติ t)
D หมายถึง ผลต่างคะแนนระหว่างหลังกับก่อนทดลอง
Sig. หมายถึง ค่าความน่าจะเป็นที่คำนวณได้จากตัวสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน
* หมายถึง ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
2.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
จากการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 11.77 คะแนน และ 22.15 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง
คะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 (ตารางที่ 1-2)
35

ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้


บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
นักเรียน ชือ่ -นามสกุล คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน คะแนนผลต่าง
คนที่ นักเรียน Pre-test Post-test D
1 เด็กชายบุญยวัฒน์ เหมือนอินทร์ 16 26 10
2 เด็กชายพีระพงษ์ ผิวกลม 12 24 12
3 เด็กชายภานุ งอกงาม 10 22 12
4 เด็กชายยงยุทธ สุมทุมทิพย์ 8 19 11
5 เด็กชายสิทธิพร แก้วไชยะ 17 25 8
6 เด็กชายชีวพงษ์ บุษพงษ์ 8 16 8
7 เด็กหญิงทิชชานันท์ บริพันธ์ 13 22 9
8 เด็กหญิงเบญจวรรณ พงษ์ขันตี 11 22 11
9 เด็กหญิงพิยดา นนท์จำปา 12 21 9
10 เด็กหญิงมธุริน ทองจำปา 13 25 12
11 เด็กหญิงวรินธร บัวบาลบุตร 10 22 12
12 เด็กหญิงสุณัฐดา วรรณภา 12 21 9
13 เด็กหญิงสุภามาศ เทวสัตย์ 11 23 12

ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที และระดับนัยสำคัญทางสถิติของ


การทดสอบเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน แสดงการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลัง
เรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การทดสอบ X S.D. D S.D.D t Sig. (1-tailed)
ก่อนเรียน 11.77 2.65
10.38 1.61 23.27* 0.0000
หลังเรียน 22.15 2.67

1.2 ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 หลังจากได้ผ่านการ


จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
จากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังจากได้ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การ
ตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ค่าทางสถิติพื้นฐานของ
คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 11 คน
จาก 13 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62 (ตารางที่ 3)
36

ตารางที่ 3 แสดงร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 หลังจากได้


ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 3
นักเรียนที่ได้คะแนน
คะแนนทดสอบก่อนเรียน คะแนนทดสอบหลังเรียน จำนวน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
คะแนนเต็ม (คน) ( 21 คะแนน)
จำนวน
 ร้อยละ S.D  ร้อยละ S.D ร้อยละ
(คน)
30 11.77 39.23 2.65 22.15 73.85 2.67 13 11 84.62

1.3 ความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียน


เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์
การวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี
ที่ 3 ที่มีต่อการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ จากแบบสอบถามทั้งหมด 12 ข้อ เป็น
คำถามแบบกำหนดมาตราส่วนประเมินค่า
จากผลการวิเคราะห์ แบบสอบถามความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ หากพิจารณาเป็นรายข้อ
พบว่า หัวข้อสองลำดับแรกที่มีระดับความพึงพอใจมากสุดคือ ผู้เรียนมีความสนใจและต้องการเรียนด้วย
บทเรียนออนไลน์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 7, X = 4.38 , S.D. = 0.51) รองลงมา คือ ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 9, X = 4.31, S.D. = 0.48) และ
หัวข้อสองลำดับแรกที่มีระดับความพึงพอใจน้อยสุดคือ ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียนเป็นอย่างดี มีความพึง
พอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 8, X = 3.85 , S.D. = 0.38) รองลงมา คือ โครงสร้างของเนื้อหาชัดเจน มี
ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 2, X = 3.92, S.D. = 0.49)
ดังนั้น สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ แบบสอบถามความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ได้ว่า ผู้เรียน
มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.11 , S.D. = 0.22) และมีความพึงพอใจเป็นรายข้ออยู่ใน
ระดับมากทั้งหมด ( X = 3.85 ถึง 4.38) (ตารางที่ 4)
37

ตารางที่ 4 แสดงการวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ทีม่ ตี อ่ การเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ เป็นรายข้อ
ความพึง ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน
ข้อที่ ข้อความ พอใจ X มาตรฐาน
S.D.
1 รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนน่าสนใจ มาก 4.08 0.28
2 ระยะเวลาในการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์มีความเหมาะสม มาก 3.92 0.49
3 รายละเอียดและเนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียน มาก 4.15 0.38
4 ผู้เรียนมีความสุข เพลิดเพลินกับการเรียน บทเรียนออนไลน์ มาก 4.23 0.44
5 ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียนเป็นอย่างดี มาก 4.00 0.41
6 ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ มาก 4.15 0.69
7 ผู้เรียนมีความสนใจและต้องการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ มาก 4.38 0.51
8 โครงสร้างของเนื้อหาชัดเจน มาก 3.85 0.38
9 ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น มาก 4.31 0.48
10 การเรียงลำดับเนื้อหาเข้าใจง่าย มาก 4.00 0.71
11 มีภาพประกอบ ช่วยให้สื่อความหมายได้ชัดเจน มาก 4.23 0.44
12 ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในทักษะอื่นๆได้ มาก 4.00 0.41
รวม มาก 4.11 0.22
2. การอภิปรายผลการวิจัย
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้อภิปรายผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์
และสมมติฐานการวิจัย มีรายละเอียด ดังนี้
2.1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนการทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมของคะแนนหลังเรียนเพิ่มจาก 11.77 คะแนน และ
22.15 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญ พรสวรรค์ ชื่นมณี
(2540 : บทคัดย่อ) สุพรรณี นารี (2542 : บทคัดย่อ) เฉลิมชัย หรสิทธิ์ (2542 : บทคัดย่อ) สมนึก
สุวรรณมูล (2542 : บทคัดย่อ) Crawford (1990 : 1567-A) Matthews (1992 : 1781-A) Yalm (1993
: 802-A) ที่พบว่า ผู้เรียนที่ได้เรียนจากบทเรียนออนไลน์ มีผลสัมฤทธิท์ างการเรียนในวิชาต่างๆสูงกว่าก่อน
38

เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้เป็นเพราะการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ อาจมีปัจจัยที่ส่งผลให้


ผู้เรียนมีความสามารถด้านกราฟิก สูงขึ้น เนื่องมาจาก
1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม หรือมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม
2. ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง และรู้คำตอบได้ทันที
3. มีการเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจเมื่อสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง และมีความ
พยายามที่จะแก้ไขส่วนที่บกพร่อง
4. ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปที่ละลำดับ จากง่ายไปยากตามศักยภาพและความสามารถของแต่
ละคนและจะเริ่มจากสิ่งที่รู้ไปสู่ความรู้ใหม่
2.2 ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 หลังจากได้ผ่านการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้บทเรียนออนไลน์
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังจากได้ผ่านการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ
70 จำนวน 11 คน จาก 13 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62 ทั้งนี้เป็นเพราะการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ มี
ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านกราฟิก สูงขึ้นเนื่องมาจาก
1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม การเรียนรู้ที่ผ่านการวางรูปแบบแผนการเรียนที่มีหลักการ
รองรับ เพื่อคาดหวังผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
2. ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยมีครูคอบดูและแนะนำในการใช้งานบทเรียนออนไลน์
3. ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปที่ละลำดับ จากง่ายไปยากตามศักยภาพและความสามารถของแต่
ละคนและจะเริ่มจากสิ่งที่รู้ไปสู่ความรู้ใหม่
2.3 ความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียน
เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์
ผลการวิจัยพบว่า หากพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า หัวข้อสองลำดับแรกที่มีระดับความพึง
พอใจมากสุดคือ ผู้เรียนมีความสนใจและต้องการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ
มาก (ข้อ 7, X = 4.38 , S.D. = 0.51) รองลงมา คือ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น มีความพึง
พอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 9, X = 4.31, S.D. = 0.48) และหัวข้อสองลำดับแรกที่มีระดับความพึงพอใจ
น้อยสุดคือ ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียนเป็นอย่างดี มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 8, X = 3.85 ,
S.D. = 0.38) รองลงมา คือ โครงสร้างของเนื้อหาชัดเจน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 2, X =
3.92, S.D. = 0.49) โดยจะมีการพัฒนาหัวข้อที่มีระดับความพึงพอใจน้อย นั่นคือจะปรับปรุงเนื้อหาให้
เข้าใจง่ายกว่าเดิม และปรับระยะเวลาในการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์มีความเหมาะสมคือปรับลด
เนื้อหาให้กระชับขึ้น และปรับปรุงโครงสร้างรายวิชาให้มีความชัดเจนขึ้นพร้อมเกริ่นนำก่อนเปิดทำการสอน
ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.11 , S.D. = 0.22) และมีความ
พึงพอใจเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากทั้งหมด ( X = 3.85 ถึง 4.38) ซึ่งผ่านเกณฑ์ในขั้นสมมติฐานของการ
วิจัย เพราะมีความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ ในระดับปานกลางขึ้นไป
บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผล

การวิจัยเรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์


ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 โดยใช้บทเรียนออนไลน์ จากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. เพื่อหาร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 หลังจากได้
ผ่านการจัดกิจ กรรมการเรียนรู้โดย เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3
3. เพือ่ ศึกษาความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการ
เรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์
โดยทำการศึกษากับกลุ่ม ตัวอย่างที่วิจัยที่ใช้ในครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี
การศึกษา 2561 โรงเรียนวังทรายขาววิทยาอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาเขต 19 จำนวน 13 คน รูปแบบวิจัยเชิงทดลองชนิดทดสอบก่อนหลังแบบมีกลุ่มตัวอย่างกลุ่ม
เดียว ผลการศึกษาสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. สรุปผลการวิจัย
1.1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ โรงเรียนวังทรายขาววิทยาอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาเขต 19 จำนวน 13 คน โดยใช้แบบฝึกทักษะ แบบข้อสอบปรนัยจำนวน 30 ข้อ พบว่า การ
ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 11.77 คะแนน
และ 22.15 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนน
สอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
1.2 จากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังจากได้ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การตัดต่อ
วีดีโอ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้บทเรียนออนไลน์ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังจากได้ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้
บทเรียนออนไลน์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 11 คน จาก 13 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62
1.3 จากผลการวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ พบว่า หากพิจารณาเป็น
รายข้อพบว่า หัวข้อสองลำดับแรกที่มีระดับความพึงพอใจมากสุดคือ ผู้เรียนมีความสนใจและต้องการเรียน
ด้วยบทเรียนออนไลน์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 7, X = 4.38 , S.D. = 0.51) รองลงมา คือ
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 9, X = 4.31, S.D. = 0.48)
และหัวข้อสองลำดับแรกที่มีระดับความพึงพอใจน้อยสุดคือ ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียนเป็นอย่างดี มีความ
พึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 8, X = 3.85 , S.D. = 0.38) รองลงมา คือ โครงสร้างของเนื้อหาชัดเจน มี
ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 2, X = 3.92, S.D. = 0.49)
43

ดังนั้น สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ แบบสอบถามความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนของ


นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ได้ว่า ผู้เรียน
มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.11 , S.D. = 0.22) และมีความพึงพอใจเป็นรายข้ออยู่ใน
ระดับมากทั้งหมด ( X = 3.85 ถึง 4.38)
2. อภิปรายผลการวิจัย
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์
ของนั ก เรี ย นชั ้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ท ี ่ 3 จากผลการวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ผู ้ ว ิ จ ั ย ได้ อ ภิ ป รายผลการวิ จ ั ย ตาม
วัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย มีรายละเอียด ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนการทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ยสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมของคะแนนหลังเรียนเพิ่มจาก 11.77
คะแนน และ 22.15 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน ทั้งนี้เป็นเพราะการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป
โดยมีปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษ สูงขึ้น
เนื่องมาจาก
1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม หรือมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม
2. ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง และรู้คำตอบได้ทันที
3. มีการเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจเมื่อสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง และมีความ
พยายามที่จะแก้ไขส่วนที่บกพร่อง
4. ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปที่ละลำดับ จากง่ายไปยากตามศักยภาพและความสามารถของแต่
ละคนและจะเริ่มจากสิ่งที่รู้ไปสู่ความรู้ใหม่
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังจากได้ผ่านการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ
70 จำนวน 11 คน จาก 13 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62 พบว่า ผู้เรียนที่ได้เรียนจากบทเรียนสำเร็จรูป มี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาต่างๆสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้เป็นเพราะการเรียน
ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป อาจมีปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำ
ภาษาอังกฤษ สูงขึ้นเนื่องมาจาก
1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม การเรียนรู้ที่ผ่านการวางรูปแบบแผนการเรียนที่มีหลักการ
รองรับ เพือ่ คาดหวังผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
2. ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยมีครูคอบดูและแนะนำในการใช้งานบทเรียนสำเร็จรูป
3. ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปที่ละลำดับ จากง่ายไปยากตามศักยภาพและความสามารถของแต่
ละคนและจะเริ่มจากสิ่งที่รู้ไปสู่ความรู้ใหม่
ผลการวิจัยพบว่า หากพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า หัวข้อสองลำดับแรกที่มีระดับความพึง
พอใจมากสุดคือ ผู้เรียนมีความสนใจและต้องการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ
มาก (ข้อ 7, X = 4.38 , S.D. = 0.51) รองลงมา คือ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น มีความพึง
พอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 9, X = 4.31, S.D. = 0.48) และหัวข้อสองลำดับแรกที่มีระดับความพึงพอใจ
44

น้อยสุดคือ ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียนเป็นอย่างดี มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 8, X = 3.85 ,


S.D. = 0.38) รองลงมา คือ โครงสร้างของเนื้อหาชัดเจน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ข้อ 2, X =
3.92, S.D. = 0.49) โดยจะมีการพัฒนาหัวข้อที่มีระดับความพึงพอใจน้อย นั่นคือจะปรับปรุงเนื้อหาให้
เข้าใจง่ายกว่าเดิม และปรับระยะเวลาในการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ มีความเหมาะสมคือปรับลด
เนื้อหาให้กระชับขึ้น และปรับปรุงโครงสร้างรายวิชาให้มีความชัดเจนขึ้นพร้อมเกริ่นนำก่อนเปิดทำการสอน
ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.11 , S.D. = 0.22) และมีความ
พึงพอใจเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากทั้งหมด ( X = 3.85 ถึง 4.38) ซึ่งผ่านเกณฑ์ในขั้นสมมติฐานของการ
วิจัย เพราะมีความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ ในระดับปานกลางขึ้นไป
3. ข้อเสนอแนะในการวิจัย
3.1 ข้อเสนอแนะทั่วไป
1. ควรนำบทเรียนสำเร็จรูปที่พัฒนาแล้วไปใช้ในการเรียนวิชาการตัดต่อวิดีโอ รหัสวิชา
ง20247 เพื่อใช้ในการพัฒนาทักษะและความเข้าใจในการตัดต่อวีดีโอ
2. การวิจัยนี้มุ่งไปที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการตัดต่อวิดีโอ รหัสวิชา ง20247 จึง
นำเสนอเฉพาะเรื่องดังกล่าว ถ้าต้องการมุ่งผลสัมฤทธิ์กลุ่มประสบการณ์อื่นด้วยก็สามารถกระทำได้พร้อม
กัน
3.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย
1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ
โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. นำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น การ
ฟัง การพูดสื่อสาร เทคนิคการอ่านออกเสียง และการเขียนที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. ควรมีการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปในเนื้อหาหรือวิชาอื่นๆ ที่ผู้สอนประสบปัญหา
เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับต่ำ
4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งต่อไป อาจใช้แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ด้วยก็ได้
อาจจะได้มุมมองตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่แตกต่างกันออกไป
บรรณานุกรม
กิตานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโสตทัศน
ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). คู่มือการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานการศึกษาการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
ครุรักษ์ ภิรมรักษ์. (2544). เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 4. ชลบุรี : โรงพิมพ์
งามช่าง.
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2556). E-Learning Courseware : อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์แนวคิดสู่การปฏิบัติ
สําหรับการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงในทุกระดับ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทัศยาภรณ์
นภดล เจนอักษร. (2544). แก่นวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
นภดล เสนาอาจ. (2543). การสร้างบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่อง จังหวัดของเรา (จังหวัด
หนองคาย) กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ
กศ. ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประวิต เอราวรรณ์. (2542). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : บริษัทยูแพด จำกัด.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์ สําหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน,
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตําราเรียน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล. (2543). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เพ็ญศรี สร้อยเพชร. (2542). บทเรียนสำเร็จรูป. คณะครุศาสตร์. นครปฐม : สถาบันราชภัฏนครปฐม,
ลำดวน ชาวไธสง. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2543). การวิจัยเชิงปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : ม.ป.ท.
สำนักพัฒนาการฝึกหัดครู สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ. (2544). คู่มือการฝึกอบรมการวิจัยในชั้นเรียน.
เสมาธรรม.
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือการวิจัย
รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือการวิจัย

1. นางเกรียงจันทร์ เกษทองมา ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้


สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
โรงเรียนวังทรายขาววิทยา
2. นายทวี หอมดี ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย โรงเรียนวังทรายขาววิทยา
3. นางสุกัญญา มหาสิงห์ ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรงเรียนวังทรายขาววิทยา
4. นางสาวชุติมา พิมพ์ใจ ครูชำนาญการ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย โรงเรียนวังทรายขาววิทยา
5. นางสาวกมลทิพย์ ทาคีรี ครูชำนาญการ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนวังทรายขาววิทยา
ภาคผนวก ข
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3-16
วิชา การตัดต่อวิดีโอ
แผนการจัดการเรียนรู้ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1
รายวิชา การตัดต่อวิดีโอ รหัสวิชา ง20247 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เรื่อง แนะนำรายวิชา จำนวน 2 คาบ (100 นาที)
ผู้สอน นายเดชา ศิริกุลวิริยะ

1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน ง 3.1 เข้ า ใจเห็ น คุ ณ ค่ า และใช้ ก ระบวนการเทคโนโลยี ส ารสนเทศในการสื บ ค้ น ข้ อ มู ล เรี ย นรู้
การสื่อสารการแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม

2. สาระสำคัญ
เทคโนโลยีสื่อประสม (Multimedia Technology) ได้เข้ามามีบทบาทในสังคมอย่างมาก ทั้งในด้านการศึกษา
ธุรกิจอุตสาหกรรม เนื่องด้วยเป็นสื่อที่สามารถนำเสนอข้อมูลต่างๆ ได้ในหลากหลายรูปแบบทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
เสียง และตัวอักษร

3. ผลการเรียนรู้

ด้านความรู้ (K)
1. นักเรียนสามารถบอกความหมายของเทคโนโลยีสื่อประสมได้
2. นักเรียนสามารถบอกองค์ประกอบของสื่อประสมได้
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
1. นักเรียนมีทักษะในการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
1. นักเรียนมีความรับผิดชอบในการเข้าชั้นเรียน
2. นักเรียนส่งงานตามเวลาที่กำหนด
3. นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
4.สมรรถนะผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถทักษะในการใช้เทคโนโลยี

5. สาระการเรียนรู้
- เนื้อหา และรายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชา ง20247 การตัดต่อวิดีโอ โดยจะกล่าวเทคโนโลยีสื่อผสมและการตัด
ต่อวิดีโอด้วยโปรแกรมต่างๆที่นาสสนใจตามจุดประสงคฺการใช้งาน

6. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ (15 นาที)
1. ครูแนะนำตัว พร้อมกับกล่าวทักทายนักเรียน หลังจากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนแนะนำตัว เนื่องด้วยเป็นคาบ
เรียนแรกที่การจัดการเรียนการสอน
ขัน้ สอน (70 นาที)
1. ครูกล่าวแนะนำรายวิชา คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ เกณฑ์การวัดและประเมินผล และข้อตกลงในชั้น
เรียน เพื่อให้นักเรียนได้ทราบว่าในภาคการศึกษานี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง
2. ครูแจกกระดาษคำตอบให้นักเรียนแต่ละคน พร้อมกับเปิดโจทย์คำถามของแบบทดสอบก่อนเรียนให้นักเรียน
ทำจำนวน 10 ข้อ ใน Google Form ออนไลน์
ขั้นสรุป (15 นาที)
1. นักเรียนส่งกระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียนคืนครู

7. สื่อการเรียนรู้
1. คอมพิวเตอร์
2. เครื่องฉายสไลด์
3. โปรแกรม PowerPoint เรื่อง แนะนำรายวิชา

8. ภาระงาน
1. แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง เทคโนโลยีสื่อประสม
9. การวัดผลประเมินผล
เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้
1. ด้านความรู้ (K)
ระดับคะแนน
เนื้อหา
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง)
1. อธิบายความหมาย สามารถอธิบายความหมาย สามารถอธิบายความหมาย สามารถอธิบาย
ของเทคโนโลยี ของเทคโนโลยีสื่อประสมได้ ของเทคโนโลยีสื่อประสมได้ ความหมายของเทคโนโลยี
สื่อประสม ถูกต้องทั้งหมด มากกว่า 50% สื่อประสมได้เล็กน้อย

2. บอกองค์ประกอบ สามารถบอกองค์ประกอบ สามารถบอกองค์ประกอบ สามารถบอกองค์ประกอบ


ของสื่อประสม ของสื่อประสมได้ถูกต้อง ของสื่อประสมได้มากกว่า ของสื่อประสมได้เล็กน้อย
ทั้งหมด 50%
2. ด้านทักษะกระบวนการ (P)
ระดับคะแนน
เนื้อหา
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง)
1. ทักษะในการสืบค้น สามารถสืบค้นข้อมูลจาก สามารถสืบค้นข้อมูลจาก สืบค้นข้อมูลจาก
ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว อินเทอร์เน็ตได้ดี และ อินเทอร์เน็ตได้ค่อนข้างช้า
และสามารถเลือกใช้เว็บไซต์ สามารถเลือกใช้เว็บไซต์ และเลือกใช้เว็บไซต์
สำหรับอ้างอิงข้อมูลที่มี สำหรับอ้างอิงข้อมูลที่มี สำหรับอ้างอิงข้อมูลไม่
ความน่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือ ค่อยมีความน่าเชื่อถือ
3. ด้านคุณลักษณะ
ระดับคะแนน
เนื้อหา
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง)
1. มีความรับผิดชอบใน เข้าเรียนตรงต่อเวลา เข้าเรียนค่อนข้างล่าช้า ขาดมีความรับผิดชอบ
การเข้าชั้นเรียน เข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลา
2. ส่งงานตามเวลาที่ ส่งงานตามเวลาที่กำหนด ส่งงานล่าช้ากว่าที่กำหนด ส่งงานล่าช้ากว่าที่กำหนด
กำหนด 3 วัน 7 วัน
3. ให้ความร่วมมือในการ ให้ความร่วมมือในการทำ ให้ความร่วมมือในการทำ ไม่ค่อยให้ความร่วมมือใน
ทำกิจกรรม กิจกรรมดีมาก กิจกรรมค่อนข้างดี การทำกิจกรรม ส่งเสียงดัง
ส่งเสียงดังในบางครั้ง รบกวนชั้นเรียน

10. แหล่งการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เทคโนโลยีสื่อประสม (Multimedia Technology) คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ของผู้ช่วยศาสตร์จารย์บังคม นิลรักษ์
11. ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/การนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ข้อเสนอแนะ

ลงชื่อ
( นางสุกัญญา มหาสิงห์ )
ตำแหน่ง หัวหน้างานบริหารวิชาการ

ข้อเสนอแนะ

ลงชื่อ
( นางอิสรีย์ ชัยยันต์คูณ )
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวังทรายขาววิทยา
12. บันทึกผลหลังการสอน

 ผลการเรียนรู้

 ปัญหา/อุปสรรค

 แนวทางการแก้ไข

ลงชื่อ..............................................................
( นายเดชา ศิริกุลวิริยะ )
ตำแหน่ง ครูผู้สอน
บันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แผนการเรียนรู้ที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 วันพุธ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2561

1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นไปตามแผนการเรียนรู้ นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม เรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่
กำหนดให้ นักเรียนตั้งใจทำแบบทดสอบก่อนเรียนเป็นอย่างดี

2. ปัญหา/อุปสรรค
บรรยากาศในห้องเรียนค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ทำให้นักเรียนไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นเท่าที่ควร

3. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
ครูควรหากิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น มีการให้รางวัลหรือชมเชยนักเรียนเมื่อนักเรียนทำงานที่ได้รับ
มอบหมายออกมาได้ดี

ลงชื่อ............................................................ผูส้ อน
(นายเดชา ศิริกุลวิริยะ)

ลงชื่อ............................................................ผู้นิเทศ
( นางอิสรีย์ ชัยยันต์คูณ )
วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2561
แผนการจัดการเรียนรู้ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1
รายวิชา การตัดต่อวิดีโอ รหัสวิชา ง20247 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เรื่อง เทคโนโลยีสื่อประสม จำนวน 2 คาบ (100 นาที)
ผู้สอน นายเดชา ศิริกุลวิริยะ

1. มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน ง 3.1 เข้ า ใจเห็ น คุ ณ ค่ า และใช้ ก ระบวนการเทคโนโลยี ส ารสนเทศในการสื บ ค้ น ข้ อ มู ล เรี ย นรู้
การสื่อสารการแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม

2. สาระสำคัญ
เทคโนโลยีสื่อประสม (Multimedia Technology) ได้เข้ามามีบทบาทในสังคมอย่างมาก ทั้ง ในด้านการศึกษา
ธุรกิจอุตสาหกรรม เนื่องด้วยเป็นสื่อที่สามารถนำเสนอข้อมูลต่างๆ ได้ในหลากหลายรูปแบบทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
เสียง และตัวอักษร

3. ผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
1. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของเทคโนโลยีสื่อประสมได้
2. นักเรียนสามารถบอกองค์ประกอบของสื่อประสมได้
3. นักเรียนสามารถบอกประโยชน์ของเทคโนโลยีสื่อประสมได้
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
1. นักเรียนมีทักษะในการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
2. นักเรียนสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Word 2010 ในการทำงานเอกสารได้
ด้านคุณลักษณะ (A)
1. นักเรียนมีความรับผิดชอบในการเข้าชั้นเรียน
2. นักเรียนส่งงานตามเวลาที่กำหนด
3. นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
4. สมรรถนะผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถทักษะในการใช้เทคโนโลยี

5. สาระการเรียนรู้
- ความหมายของเทคโนโลยีสื่อประสม
- องค์ประกอบของเทคโนโลยีสื่อประสม
- เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อประสม
- ประโยชน์ของสื่อประสม
- แนวโน้มของสื่อประสมในอนาคต

6. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ (15 นาที)
1. ครูกล่าวทักทายนักเรียน พร้อมกับถามนักเรียนเกี่ยวสิ่งที่ได้ทำไปในคาบเรียนที่ผ่านมา
2. ครูเปิดคลิปวีดโี อ “Amazing Video วีดีโอตัดต่อสุดยอด” ให้นักเรียนชม

หลังจากนั้นครูนำเข้าสู่บทเรียนว่า “ในเทอมนี้นักเรียนจะได้ลงมือตัดต่อวีดีโอด้วยตนเอง ซึ่งวีดีโอที่ตัด ต่อ


ออกมาจะถูกเรียกว่า สื่อประสม”
ขัน้ สอน (70 นาที)
1. ครูเปิด PowerPoint เรื่อง สื่อประสมกลมเกลียว พร้อมกับบรรยายความหมายของเทคโนโลยีสื่อประสม
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสื่อประสม แล้วทำการจดบันทึก
2. ครูให้นักเรียนเปิดคอมพิวเตอร์ พร้อมกับให้นักเรียนจับคู่กัน แล้วเลือกหัวข้อเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อ
ประสมมา 1 หัวข้อ จากหัวข้อต่อไปนี้
1. เทคโนโลยีจอภาพ 2. เทคโนโลยีอุปกรณ์ป้อนข้อมูล
3. เทคโนโลยีเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ 4. เทคโนโลยีในการบันทึกข้อมูล
5. เทคโนโลยีในการบีบอัดข้อมูล 6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เครือข่าย
7. เทคโนโลยีการนำเสนอ
หลังจากนั้นให้นักเรียนค้นหาความหมายของเทคโนโลยีดังกล่าวใน Search Engine คือ Google โดยการเขียน
บันทึกลงในสมุด
2. หลังจากนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูเปิดคำถามของใบงานที่ 1 เรื่อง สื่อประสมกลมเกลียว
ให้นักเรียนดู พร้อมกับให้นักเรียนเปิดโปรแกรม Microsoft Word เพื่อตอบคำถามดังกล่าว ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 5 ข้อ
ดังต่อไปนี้
1. ให้นักเรียนค้นหาสื่อประสม 1 ชนิด พร้อมรูปภาพประกอบ
2. บอกองค์ประกอบของสื่อประสมดังกล่าวว่ามีอะไรบ้าง
3. ให้นักเรียนบอกประโยชน์ของสื่อประสมว่ามีอะไรบ้าง
4. หัวข้อ/ประเด็นที่นักเรียนมีความสนใจสำหรับการสร้างสื่อประสม
5. นักเรียนคิดว่าในอนาคต สื่อประสมจะเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง
3. เมื่อนักเรียนทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียน Save ไฟล์ โดยตั้งชื่อว่า act1_room10_name
(act1 คือ กิจกรรมที่1, room1 คือห้อง ม.6/1, name คือ ชื่อนักเรียนเป็นภาษาอังกฤษ) หลังจากนั้นอัพโหลด ลง
Facebook กลุ่มที่ได้สร้างขึ้น
ขั้นสรุป (15 นาที)
1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียนผ่านการชมคลิปวีดีโอ เรื่อง “เทคโนโลยีสื่อประสม” แล้วสุ่มเรียก ให้
นักเรียนตอบคำถาม
2. นักเรียนส่งงานครู

7. สื่อการเรียนรู้
1. คอมพิวเตอร์
2. เครื่องฉายสไลด์
3. โปรแกรม Microsoft Word 2010
4. โปรแกรม PowerPoint เรื่อง สื่อประสมกลมเกลียว
5. ใบงานที่ 1 เรื่อง สื่อประสมกลมเกลียว
6. คลิปวีดีโอ
- เทคโนโลยีสื่อประสม
[จากเว็บไซต์: http://www.youtube.com/watch?v=wrkvW9TBJGY]

- Amazing Video วีดีโอตัดต่อสุดยอด


[จากเว็บไซต์: http://www.youtube.com/watch?v=qxMslMVZudQ]

8. ภาระงาน
1. ใบงานที่ 1 เรื่อง สื่อประสมกลมเกลียว
2. สรุปความรู้ เรื่อง สื่อประสมกลมเกลียว ลงในสมุด
9. การวัดผลประเมินผล
เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้
1. ด้านความรู้ (K)
ระดับคะแนน
เนื้อหา
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง)
1. อธิบายความหมาย สามารถอธิบายความหมาย สามารถอธิบายความหมาย สามารถอธิบายความหมาย
ของเทคโนโลยี ของเทคโนโลยีสื่อประสมได้ ของเทคโนโลยีสื่อประสมได้ ของเทคโนโลยีสื่อประสม
สื่อประสม ถูกต้องทั้งหมด มากกว่า 50% ได้เล็กน้อย
2. บอกองค์ประกอบ สามารถบอกองค์ประกอบ สามารถบอกองค์ประกอบ สามารถบอกองค์ประกอบ
ของสื่อประสม ของสื่อประสมได้ถูกต้อง ของสื่อประสมได้มากกว่า ของสื่อประสมได้เล็กน้อย
ทั้งหมด 50%
3. บอกประโยชน์ของ สามารถบอกประโยชน์ของ สามารถบอกประโยชน์ของ สามารถบอกประโยชน์ของ
เทคโนโลยีสื่อประสม เทคโนโลยีสื่อประสมได้ เทคโนโลยีสื่อประสมได้ดี เทคโนโลยีสื่อประสมได้
อย่างครอบคลุม แต่ไม่ครอบคลุม เล็กน้อย
2. ด้านทักษะกระบวนการ (P)
ระดับคะแนน
เนื้อหา
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง)
1. ทักษะในการสืบค้น สามารถสืบค้นข้อมูล สามารถสืบค้นข้อมูล สามารถสืบค้นข้อมูล
ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต จากอินเทอร์เน็ตได้อย่าง จากอินเทอร์เน็ตได้ดี จากอินเทอร์เน็ตได้ค่อนข้าง
รวดเร็ว และสามารถ และสามารถเลือกใช้ ช้า และเลือกใช้เว็บไซต์
เลือกใช้เว็บไซต์สำหรับ เว็บไซต์สำหรับอ้างอิง สำหรับอ้างอิงข้อมูลไม่ค่อยมี
อ้างอิงข้อมูลที่มีความ ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือ
น่าเชื่อถือ
2. ใช้โปรแกรม สามารถใช้โปรแกรม สามารถใช้โปรแกรม สามารถใช้โปรแกรม
Microsoft Word Microsoft Word 2010 Microsoft Word 2010 Microsoft Word 2010 ได้
2010 ในการทำงาน ในการทำงานเอกสารได้ ในการทำงานเอกสารได้ดี แต่ค่อนข้างช้า
เอกสารได้ อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว แต่มีปัญหาในบางคำสั่ง
3. ด้านคุณลักษณะ
ระดับคะแนน
เนื้อหา
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง)
1. มีความรับผิดชอบใน เข้าเรียนตรงต่อเวลา เข้าเรียนค่อนข้างล่าช้า ขาดความรับผิดชอบ
การเข้าชั้นเรียน เข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลา
2. ส่งงานตามเวลาที่ ส่งงานตามเวลาที่กำหนด ส่งงานล่าช้ากว่าที่กำหนด ส่งงานล่าช้ากว่าที่กำหนด
กำหนด 3 วัน 7 วัน
3. ให้ความร่วมมือในการ ให้ความร่วมมือในการทำ ให้ความร่วมมือในการทำ ไม่ค่อยให้ความร่วมมือใน
ทำกิจกรรม กิจกรรมดีมาก กิจกรรมค่อนข้างดี การทำกิจกรรม ส่งเสียงดัง
ส่งเสียงดังในบางครั้ง รบกวนชั้นเรียน

10. แหล่งการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการเรี ย น เรื ่ อ ง เทคโนโลยี ส ื ่ อ ประสม (Multimedia Technology) คณะวิ ท ยาการ
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ของผู้ช่วยศาสตร์จารย์บังคม นิลรักษ์
11. ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/การนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ข้อเสนอแนะ

ลงชื่อ
( นางสุกัญญา มหาสิงห์ )
ตำแหน่ง หัวหน้างานบริหารวิชาการ

ข้อเสนอแนะ

ลงชื่อ
( นางอิสรีย์ ชัยยันต์คูณ )
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวังทรายขาววิทยา
12. บันทึกผลหลังการสอน

 ผลการเรียนรู้

 ปัญหา/อุปสรรค

 แนวทางการแก้ไข

ลงชื่อ..............................................................
( นายเดชา ศิริกุลวิริยะ )
ตำแหน่ง ครูผู้สอน
บันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แผนการเรียนรู้ที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 วันพุธ ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นไปตามแผนการเรียนรู้ นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม เรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่
กำหนดให้ แม้ว่านักเรียนจะเข้าห้องล่าช้า แต่เนื่องจากมีนักเรียนในห้องเรียนค่อนข้างน้อย ทำให้นักเรียนมีสมาธิในการ
เรียน และทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ทำให้เรียนเสร็จตรงตามเวลา

2. ปัญหา/อุปสรรค
บรรยากาศในห้องเรียนค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ทำให้นักเรียนไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นเท่าที่ควร และนักเรียน
เข้าห้องเรียนช้ามากทำให้กว่าจะได้เริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ก็ผ่านไปเกือบครึ่งชั่วโมง

3. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
ครูควรหากิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น มีการเรียกตอบคำถามเพื่อช่วยกระตุ้นให้นักเรียนตื่นตัว และ
สนใจบทเรียนมากขึ้น มีการให้รางวั ลหรือชมเชยนักเรียนเมื่อนักเรียนเข้าห้องเรียนเร็ว หรือ ทำงานที่ได้รับมอบหมาย
ออกมาได้ดี

ลงชื่อ............................................................ผูส้ อน
(นายเดชา ศิริกุลวิริยะ)

ลงชื่อ............................................................ผู้นิเทศ
( นางอิสรีย์ ชัยยันต์คูณ )
วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2561
แผนการจัดการเรียนรู้ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1
รายวิชา การตัดต่อวิดีโอ รหัสวิชา ง20247 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เรื่อง พื้นฐานการตัดต่อวีดีโอ จำนวน 2 คาบ (100 นาที)
ผู้สอน นายเดชา ศิริกุลวิริยะ

มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน ง 3.1 เข้ า ใจเห็ น คุ ณ ค่ า และใช้ ก ระบวนการเทคโนโลยี ส ารสนเทศในการสื บ ค้ น ข้ อ มู ล เรี ย นรู้
การสื่อสารการแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม

สาระสำคัญ
ในปัจจุบันการตัดต่อวิดีโอนั้นสามารถทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ ต่างๆ เป็นเครื่องมือที่
ช่วยสนับสนุนการตัดต่อวิดีโอ ที่มีทั้งระดับมือสมัครเล่น จนกระทั่งระดับมืออาชีพ ซึ่งวิดีโอที่ได้ถูกตัดต่อออกมานั้นจะมี
ความน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้จัดทำมีพื้นฐานในการตัดต่อวิดีโอมากน้อยเพียงใด

ผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
1. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายชนิดของวิดีโอแบบอนาล็อก และแบบดิจิตอลได้
2. นักเรียนสามารถบอกชื่อของอุปกรณ์ที่ช่วยในการตัดต่อวิดีโอได้
3. นักเรียนสามารถอธิบายถึงแนวคิดต่างๆ ในการตัดต่อวิดีโอได้
4. นักเรียนสามารถบอกถึงประเภทของไฟล์วิดีโอได้
5. นักเรียนสามารถบอกประโยชน์ของงานวิดีโอได้
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
1. นักเรียนมีทักษะในการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
2. นักเรียนสามารถใช้ Google Doc รูปแบบ Presentation ในการทำงานได้
ด้านคุณลักษณะ (A)
1. นักเรียนมีความรับผิดชอบในการเข้าชั้นเรียน
2. นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
สมรรถนะผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
4. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

สาระการเรียนรู้
- ชนิดของวิดีโอแบบอนาล็อก และแบบดิจิตอล
- อุปกรณ์ที่ช่วยในการตัดต่อวิดีโอ
- แนวคิดต่างๆ ในการตัดต่อวิดีโอ
- นักเรียนสามารถบอกถึงรูปแบบของไฟล์วิดีโอ
- ประโยชน์ของงานวิดีโอ

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ (15 นาที)
1. ครูกล่าวทักทายนักเรียน พร้อมกับตั้งคำถามว่า “ในคาบเรีย นที่ผ่านมา นักเรียนได้รู้จักกับ เทคโนโลยี
สื่อประสมไปแล้ว และได้ตอบคำถามลงในใบงาน ดังนั้นครูอยากให้นักเรียนแต่ละคนบอกถึงประโยชน์ของสื่อประสม
คนละ 1 ข้อหรือมากกว่า 1 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน”
2. เมื่อนักเรียนแต่ละคนตอบคำถามจนครบทุกคน หรือจนกระทั่งไม่มีนักเรียนคนใดสามารถบอกประโยชน์ของ
สื่อประสมได้แล้ว ให้ครูพูดนำเข้าสู่บทเรียนว่า “จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของเทคโนโลยีสื่อประสมนั้นมีมากมาย ซึ่งสื่อ
ประสมที่ครบองค์ประกอบนั้นก็จะเป็นสื่อประสมประเภทที่ให้มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ รองลงมาก็จะเป็นโฆษณา
ภาพยนตร์ หนังสั้นที่ถูกตัดต่อออกมาโดยผู้ที่มีความรู้ในเรื่องของการตัดต่อ ฉะนั้นจุดเริ่มต้นในการสร้างสื่อประสมที่เป็น
วิดีโอนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องของการตัดต่อวิดีโอเป็นสำคัญ”
ขัน้ สอน (70 นาที)
1. ครูแจกกระดาษให้นักเรียนคนละแผ่น เพื่อทำการจดบันทึกความรู้ หลังจากนั้น ครูเปิดโปรแกรม Microsoft
PowerPoint เรื่อง พื้นฐานการตัดต่อวิดีโอ
2. ครูเริ่มบรรยายเกี่ยวกับ ชนิดของวิดีโอแบบอนาล็อก และแบบดิจิตอล เมื่อบรรยายเสร็จให้นักเรียนช่วยกัน
บอกอุปกรณ์ที่ช่วยในการตัดต่อวิดีโอ (ตัวอย่างคำตอบให้ครูพิจารณาถึงความเป็นไปได้ และใช้จริงในการตัดต่อ เช่น
คอมพิวเตอร์, โปรแกรม เป็นต้น) หลังจากนั้นครูเริ่มบรรยายแนวคิดต่างๆ ในการตัดต่อวิดีโอ และประโยชน์ของงาน
วิดีโอ ในระหว่างที่ครูบรรยายให้นักเรียนทำการจดบันทึก
3. ครูสร้าง Google Doc ในรูปแบบของ Presentation โดยพิมพ์หัวข้อว่า “ประเภทของไฟล์วิดีโอ” ดัง
ตัวอย่างต่อไปนี้ หลังจากนั้นให้ครู Copy link ไปวางไว้ในกลุ่ม Facebook เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าไปทำกิจกรรมได้

4. ครูให้นักเรียนจับคู่กันเปิดคอมพิวเตอร์ แล้วเปิด Facebook กลุม่ หลังจากนั้นทำการเปิด link ที่ครูแนบไว้


เพื่อทำกิจกรรม
5. ครูอธิบายวิธีการใช้ Google Doc รูปแบบ Presentation ในเครื่องมือของการแทรกข้อความ ดังรูปภาพ
ตัวอย่าง คลิก แทรก -> เลือกกรอบข้อความ หลังจากนั้นวาดกรอบลงบนกระดาษเปล่า ก็จะสามารถพิมพ์ข้อความได้

พิมพ์ข้อความ

6. ครูอธิบายการทำกิจกรรมให้นักเรียนฟังดังต่อไปนี้
1. ให้นัก เรียนค้นหาประเภทของไฟล์วิ ดีโอ พร้อมกับอธิบายลักษณะของไฟล์วิดี โอประเภทนั้ น
หลังจากนั้นให้นักเรียนแต่ละคู่นำมาพิมพ์ลงใน Google Doc พร้อมกับพิมพ์ชื่อและห้อง ลงในท้ายคำตอบ
2. แต่ละคู่ที่เลือกประเภทของไฟล์จะต้องไม่ซ้ำกับคู่อื่น ถ้านักเรียนคู่ใดที่สามารถหาประเภทไฟล์ไม่ซ้ำ
กับคู่อื่นได้ก็จะได้รับคะแนนพิเศษ
ขั้นสรุป (15 นาที)
1. ครูให้นักเรียนตอบคำถามว่า “ประเภทของไฟล์ที่ครูเปิดให้ดูเป็นไฟล์ประเภทวิดีโอใช่หรือไม่?”
2. นักเรียนส่งกระดาษที่จดบันทึกให้ครู

สื่อการเรียนรู้
1. คอมพิวเตอร์
2. เครื่องฉายสไลด์
3. โปรแกรม PowerPoint เรื่อง พื้นฐานการตัดต่อวิดีโอ
4. Google Doc รูปแบบ Presentation

ภาระงาน
1. การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับประเภทของไฟล์วิดีโอลงใน Google Doc รูปแบบ Presentation
2. สมุด/กระดาษที่จดบันทึก

การวัดผลประเมินผล
เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้

1. ด้านความรู้ (K)
ระดับคะแนน
เนื้อหา
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง)
1. อธิบาย สามารถอธิบายความหมาย สามารถอธิบายความหมาย สามารถอธิบายความหมาย
ความหมายชนิดของ ชนิดของวิดีโอแบบอนาล็อก ชนิดของวิดีโอแบบอนาล็อก ชนิดของวิดีโอแบบอนาล็อก
วิดีโอแบบอนาล็อก และแบบดิจิตอลได้ถูกต้อง และแบบดิจิตอลได้มากกว่า และแบบดิจิตอลได้เล็กน้อย
และแบบดิจิตอล ทั้งหมด 50%
2. บอกชื่อของ สามารถบอกชื่ออุปกรณ์ สามารถบอกชื่ออุปกรณ์ สามารถบอกชื่ออุปกรณ์
อุปกรณ์ที่ช่วยในการ ที่ช่วยในการตัดต่อวิดีโอได้ ที่ช่วยในการตัดต่อวิดีโอได้ ที่ช่วยในการตัดต่อวิดีโอได้
ตัดต่อวิดีโอ อย่างครบถ้วน มากกว่า 50% เล็กน้อย

3. อธิบายถึงแนวคิด สามารถอธิบายถึงแนวคิด สามารถอธิบายถึงแนวคิด สามารถอธิบายถึงแนวคิด


ต่างๆ ในการตัดต่อ ต่างๆ ในการตัดต่อวิดีโอได้ ต่างๆ ในการตัดต่อวิดีโอได้ ต่างๆ ในการตัดต่อวิดีโอได้
วิดีโอ ได้อย่างครอบคลุม มากกว่า 50% เล็กน้อย
ระดับคะแนน
เนื้อหา
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง)
4. บอกถึงประเภท สามารถบอกถึงประเภทของ สามารถบอกถึงประเภทของ สามารถบอกถึงประเภทของ
ของไฟล์วิดีโอ ไฟล์วิดีโอได้ครบทุกประเภท ไฟล์วิดีโอได้ครบทุกประเภท ไฟล์วิดีโอได้ครบทุกประเภท
ตามที่ได้เรียนรู้หรือนอกจาก ตามที่ได้เรียนรู้ ตามที่ได้เรียนรู้ 50 %
เหนือจากที่เรียน
5. บอกประโยชน์ของ สามารถบอกประโยชน์ สามารถบอกประโยชน์ สามารถบอกประโยชน์
งานวิดีโอ ของงานวิดีโอได้อย่าง ของงานวิดีโอได้ 50 % ของงานวิดีโอได้เล็กน้อย
ครอบคลุม

2. ด้านทักษะกระบวนการ (P)
ระดับคะแนน
เนื้อหา
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง)
1. ทักษะในการ สามารถสืบค้นข้อมูลจาก สามารถสืบค้นข้อมูลจาก สามารถสืบค้นข้อมูลจาก
สืบค้นข้อมูลจาก อินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว อินเทอร์เน็ตได้ดี และ อินเทอร์เน็ตได้ค่อนข้างช้า
อินเทอร์เน็ต และสามารถเลือกใช้เว็บไซต์ สามารถเลือกใช้เว็บไซต์ และเลือกใช้เว็บไซต์
สำหรับอ้างอิงข้อมูลที่มี สำหรับอ้างอิงข้อมูลที่มี สำหรับอ้างอิงข้อมูลไม่
ความน่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือ ค่อยมีความน่าเชื่อถือ
2. ใช้ Google Doc สามารถใช้ Google Doc สามารถใช้ Google Doc ไม่สามารถใช้ Google
รูปแบบ รูปแบบ Presentation ใน รูปแบบ Presentation ใน Doc รูปแบบ
Presentation ใน การทำงานได้อย่าง การทำงานได้ แต่มีการถาม Presentation ในการ
การทำงานได้ คล่องแคล่ว รวดเร็ว ซ้ำ ทำงานได้

3. ด้านคุณลักษณะ
ระดับคะแนน
เนื้อหา
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง)
1. มีความรับผิดชอบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา เข้าเรียนล่าช้า แต่ไม่เกิน ขาดความรับผิดชอบ
ในการเข้าชั้นเรียน 10 นาที เข้าเรียนล่าช้าเกิน 10 นาที
ระดับคะแนน
เนื้อหา
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง)
2. ให้ความร่วมมือใน ให้ความร่วมมือในการทำ ให้ความร่วมมือในการทำ ไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการ
การทำกิจกรรม กิจกรรมดีมาก กิจกรรมค่อนข้างดี ทำกิจกรรม ส่งเสียงดังรบกวน
ส่งเสียงดังในบางครั้ง ชั้นเรียน

แหล่งการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการเรี ย น เรื ่ อ ง เทคโนโลยี ส ื ่ อ ประสม (Multimedia Technology) คณะวิ ท ยาการ
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ของผู้ช่วยศาสตร์จารย์บังคม นิลรักษ์
2. เว็บไซต์ www.ns.ac.th/course/ulead/1.doc
11. ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/การนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ข้อเสนอแนะ

ลงชื่อ
( นางสุกัญญา มหาสิงห์ )
ตำแหน่ง หัวหน้างานบริหารวิชาการ

ข้อเสนอแนะ

ลงชื่อ
( นางอิสรีย์ ชัยยันต์คูณ )
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวังทรายขาววิทยา
12. บันทึกผลหลังการสอน

 ผลการเรียนรู้

 ปัญหา/อุปสรรค

 แนวทางการแก้ไข

ลงชื่อ..............................................................
( นายเดชา ศิริกุลวิริยะ )
ตำแหน่ง ครูผู้สอน
บันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แผนการเรียนรู้ที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 วันพุธ ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นไปตามแผนการเรียนรู้ นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม เรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่
กำหนดให้ บรรยากาศในชั้นเรียนสนุกสนาน เพราะมีกิจกรรมที่น่าสนใจและนักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม

2. ปัญหา/อุปสรรค
ในตอนต้นคาบนักเรียนบางคนแอบเปิดคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่ได้รับอนุญาต

3. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
ครูควรชี้แจงให้นักเรียนทราบก่อนเริ่มชั้นเรียนว่า ห้ามเปิดคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะได้รับอนุญาต และหากมีการ
ฝ่าฝืนก็จะมีการหักคะแนน

ลงชื่อ............................................................ผูส้ อน
(นายเดชา ศิริกุลวิริยะ)

ลงชื่อ............................................................ผู้นิเทศ
( นางอิสรีย์ ชัยยันต์คูณ )
วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2561
ภาคผนวก ค
การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่อง การตัดต่อวิดีโอ
โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
89

ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้


บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
นักเรียน ชือ่ -นามสกุล คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน คะแนนผลต่าง
คนที่ นักเรียน Pre-test Post-test D
1 เด็กชายบุญยวัฒน์ เหมือนอินทร์ 16 26 10
2 เด็กชายพีระพงษ์ ผิวกลม 12 24 12
3 เด็กชายภานุ งอกงาม 10 22 12
4 เด็กชายยงยุทธ สุมทุมทิพย์ 8 19 11
5 เด็กชายสิทธิพร แก้วไชยะ 17 25 8
6 เด็กชายชีวพงษ์ บุษพงษ์ 8 16 8
7 เด็กหญิงทิชชานันท์ บริพันธ์ 13 22 9
8 เด็กหญิงเบญจวรรณ พงษ์ขันตี 11 22 11
9 เด็กหญิงพิยดา นนท์จำปา 12 21 9
10 เด็กหญิงมธุริน ทองจำปา 13 25 12
11 เด็กหญิงวรินธร บัวบาลบุตร 10 22 12
12 เด็กหญิงสุณัฐดา วรรณภา 12 21 9
13 เด็กหญิงสุภามาศ เทวสัตย์ 11 23 12

ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที และระดับนัยสำคัญทางสถิติของ


การทดสอบเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน แสดงการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลัง
เรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การทดสอบ X S.D. D S.D.D t Sig. (1-tailed)
ก่อนเรียน 11.77 2.65
10.38 1.61 23.27* 0.0000
หลังเรียน 22.15 2.67
ภาคผนวก ง
ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
หลังจากได้ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ
โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
91

ตารางที่ 3 แสดงร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 หลังจากได้


ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 3
นักเรียนที่ได้คะแนน
คะแนนทดสอบก่อนเรียน คะแนนทดสอบหลังเรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
คะแนนเต็ม จำนวน ( 21 คะแนน)
(คน) จำนวน
 ร้อยละ S.D  ร้อยละ S.D ร้อยละ
(คน)
30 11.77 39.23 2.65 22.15 73.85 2.67 13 11 84.62
ภาคผนวก จ
ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียน
เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
93

ตารางที่ 4 แสดงการวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ทีม่ ตี อ่ การเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ เป็นรายข้อ
ความพึง ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน
ข้อที่ ข้อความ พอใจ X มาตรฐาน
S.D.
1 รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนน่าสนใจ มาก 4.08 0.28
2 ระยะเวลาในการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์มีความเหมาะสม มาก 3.92 0.49
3 รายละเอียดและเนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียน มาก 4.15 0.38
4 ผู้เรียนมีความสุข เพลิดเพลินกับการเรียน บทเรียนออนไลน์ มาก 4.23 0.44
5 ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียนเป็นอย่างดี มาก 4.00 0.41
6 ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ มาก 4.15 0.69
7 ผู้เรียนมีความสนใจและต้องการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ มาก 4.38 0.51
8 โครงสร้างของเนื้อหาชัดเจน มาก 3.85 0.38
9 ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น มาก 4.31 0.48
10 การเรียงลำดับเนื้อหาเข้าใจง่าย มาก 4.00 0.71
11 มีภาพประกอบ ช่วยให้สื่อความหมายได้ชัดเจน มาก 4.23 0.44
12 ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในทักษะอื่นๆได้ มาก 4.00 0.41
รวม มาก 4.11 0.22
ภาคผนวก จ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

- แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์


ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
- แบบสอบถามความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียน เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียน
ออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
95

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
Pre – Test เรื่อง About Me
เลือกคําตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว ทําเครื่องหมาย กากบาท X ลงใน กระดาษคําตอบ (30 คะแนน)
จากรูปจงตอบคำถามข้อที่ 1-6

1. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Step Panel 7. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Media library


ก. หมายเลข 7 ข.หมายเลข 3 ก. หมายเลข 1 ข.หมายเลข 3
ค. หมายเลข 6 ง. หมายเลข 1 ค. หมายเลข 7 ง. หมายเลข 4
2. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Preview Windows 8. ข้อใดคือความหมายของ Library Panel
ก. หมายเลข 5 ข.หมายเลข 3 ก. หน้าต่างรวบรวมคำสั่งต่างๆ
ค. หมายเลข 1 ง. หมายเลข 4 ข. แถบเลือกการทำงานวิดีโอตามลำดับขั้นตอน
3. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Menu bar ค. หน้าต่างแสดงผล
ก. หมายเลข 1 ข.หมายเลข 2 ง. แถบเครื่องมือสำหรับการตัดต่อ
ค. หมายเลข 3 ง. หมายเลข 4 9. ข้อใดคือความหมายของ Preview Windows
4. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Library Panel ก. แถบเลือกการทำงานวิดีโอตามลำดับขั้นตอน
ก. หมายเลข 7 ข.หมายเลข 6 ข. หน้าต่างแสดงผล
ค. หมายเลข 5 ง. หมายเลข 4 ค. หน้าต่างรวบรวมคำสั่งต่างๆ
5. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Storyboard and ง. แถบเครื่องมือสำหรับการตัดต่อ
timeline 10. ข้อใดคือความหมายของ Option Panel
ก. หมายเลข 5 ข.หมายเลข 4 ก. แถบเครื่องมือสำหรับการตัดต่อ
ค. หมายเลข 3 ง. หมายเลข 2 ข. หน้าต่างรวบรวมคำสั่งต่างๆ
6. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Tool bar ค. แถบเลือกการทำงานวิดีโอตามลำดับขั้นตอน
ก. หมายเลข 1 ข. หมายเลข 3 ง. หน้าต่างแสดงผล
ค. หมายเลข 7 ง. หมายเลข 4
96

จากรูปจงตอบคำถามข้อที่ 11-20

11. จากรูปข้อใดหมายถึง Home ก. Storyboard ข. Timeline


ก. หมายเลข 3 ข. หมายเลข 4 ค. Home ง. Timecode
ค. หมายเลข 5 ง. หมายเลข 6 15. จากรูปข้อใดหมายถึง Play
12. คำสั่งใดใช้สำหรับแสดงคลิปทุกคลิปที่อยู่ใน ก. หมายเลข 1 ข. หมายเลข 2
Storyboard หรือ Timeline ค. หมายเลข 3 ง. หมายเลข 4
ก. Project ข. Clip 16. จากรูปข้อใดหมายถึง Timecode
ค. Home ง. Next ก. หมายเลข 9 ข. หมายเลข 8
13. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ Storyboard และ ค. หมายเลข 7 ง. หมายเลข 6
Timeline 17. คำสั่งใดใช้สำหรับการนำไฟล์ต่างๆ เข้ามาใน
ก. Storyboard และ Timeline ใช้ในการตัดต่อและ Media Library
เรียบเรียงวิดิโอโดยการนำคลิปต่างๆ มาวางเรียงต่อกัน ก. Import Media File
ข. ในการทำงานตัดต่อวิดิโอจะต้องเลือกรูปแบบการ ข. Plubblish Media File
ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นระหว่าง Storyboard ค. Open Media File
และ Timeline ไม่สามารถสลับหมวดการทำงานได้ ง. Export Media File
ค. Storyboard เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน เพราะใช้ 18. จากรูปข้อใดหมายถึง Repeat
งานง่าย ไม่ซับซ้อน แต่มีความสามารถจำกัด ก. หมายเลข 1 ข. หมายเลข 5
ง. Timeline เหมาะกับงานตัดต่อที่มีความซับซ้อนมาก ค. หมายเลข 7 ง. หมายเลข 9
ขึ้น เพราะจะสามารถใส่ลูกเล่นต่างๆ ได้มาก 19. จากรูปข้อใดหมายถึง Volume
14. จากรูปเป็นหน้าต่างตัดต่อวิดีโอรูปแบบใด ก. หมายเลข 2 ข. หมายเลข 4
ค. หมายเลข 6 ง. หมายเลข 8
20. จากรูปข้อใดหมายถึง End
ก. หมายเลข 2 ข. หมายเลข 5
ค. หมายเลข 6 ง. หมายเลข 9
97

21. Color Correction หมายถึงอะไร 26. Contrast หมายถึงอะไร


ก. การปรับโทนสีขาว ก. การปรับระดับของสีที่สะท้อนมาจากวัตถุ
ข. การปรับความสว่างของภาพแบบอัตโนมัติ ข. การปรับความเข้มของแสง
ค. การปรับระดับสีและความสว่าง ค. การปรับความสว่างและมืดของแสงภายในภาพวิดีโอ
ง. การปรับสีพื้นหลังแบบลูสกรีน ง. การปรับความเข้มข้นและความจางของสี
22. Auto Tone Adjustment หมายถึงอะไร 27. Hue หมายถึงอะไร
ก. การปรับโทนสีขาว ก. การปรับระดับของสีที่สะท้อนมาจากวัตถุ
ข. การปรับความสว่างของภาพแบบอัตโนมัติ ข. การปรับความเข้มของแสง
ค. การปรับระดับสีและความสว่าง ค. การปรับความสว่างและมืดของแสงภายในภาพวิดีโอ
ง. การปรับสีพื้นหลังแบบลูสกรีน ง. การปรับความเข้มข้นและความจางของสี
23. White Balance หมายถึงอะไร 28. Daylight หมายถึงอะไร
ก. การปรับโทนสีขาว ก. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายในที่ร่ม
ข. การปรับความสว่างของภาพแบบอัตโนมัติ ข. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายใต้หลอดไฟฟลูออ
ค. การปรับระดับสีและความสว่าง เรสเซนต์
ง. การปรับสีพื้นหลังแบบลูสกรีน ค. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายกลางแจ้ง
24. Saturation หมายถึงอะไร ง. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายครึ้มฟ้าครึ้มฝน
ก. การปรับระดับของสีที่สะท้อนมาจากวัตถุ 29. Overcast หมายถึงอะไร
ข. การปรับความเข้มของแสง ก. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายในที่ร่ม
ค. การปรับความสว่างและมืดของแสงภายในภาพวิดีโอ ข. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายใต้หลอดไฟฟลูออ
ง. การปรับความเข้มข้นและความจางของสี เรสเซนต์
25. Brightness หมายถึงอะไร ค. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายกลางแจ้ง
ก. การปรับระดับของสีที่สะท้อนมาจากวัตถุ ง. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายครึ้มฟ้าครึ้มฝน
ข. การปรับความเข้มของแสง 30. Shade หมายถึงอะไร
ค. การปรับความสว่างและมืดของแสงภายในภาพวิดีโอ ก. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายในที่ร่ม
ง. การปรับความเข้มข้นและความจางของสี ข. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายใต้หลอดไฟฟลูออ
เรสเซนต์
ค. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายกลางแจ้ง
ง. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายครึ้มฟ้าครึ้มฝน
98

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
Post – Test เรื่อง About Me
เลือกคําตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว ทําเครื่องหมาย กากบาท X ลงใน กระดาษคําตอบ (30 คะแนน)
จากรูปจงตอบคำถามข้อที่ 1-6

1. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Step Panel 7. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Media library


ก. หมายเลข 7 ข.หมายเลข 3 ก. หมายเลข 1 ข.หมายเลข 3
ค. หมายเลข 6 ง. หมายเลข 1 ค. หมายเลข 7 ง. หมายเลข 4
2. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Preview Windows 8. ข้อใดคือความหมายของ Library Panel
ก. หมายเลข 5 ข.หมายเลข 3 ก. หน้าต่างรวบรวมคำสั่งต่างๆ
ค. หมายเลข 1 ง. หมายเลข 4 ข. แถบเลือกการทำงานวิดีโอตามลำดับขั้นตอน
3. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Menu bar ค. หน้าต่างแสดงผล
ก. หมายเลข 1 ข.หมายเลข 2 ง. แถบเครื่องมือสำหรับการตัดต่อ
ค. หมายเลข 3 ง. หมายเลข 4 9. ข้อใดคือความหมายของ Preview Windows
4. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Library Panel ก. แถบเลือกการทำงานวิดีโอตามลำดับขั้นตอน
ก. หมายเลข 7 ข.หมายเลข 6 ข. หน้าต่างแสดงผล
ค. หมายเลข 5 ง. หมายเลข 4 ค. หน้าต่างรวบรวมคำสั่งต่างๆ
5. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Storyboard and ง. แถบเครื่องมือสำหรับการตัดต่อ
timeline 10. ข้อใดคือความหมายของ Option Panel
ก. หมายเลข 5 ข.หมายเลข 4 ก. แถบเครื่องมือสำหรับการตัดต่อ
ค. หมายเลข 3 ง. หมายเลข 2 ข. หน้าต่างรวบรวมคำสั่งต่างๆ
6. จากรูปภาพข้อใดหมายถึง Tool bar ค. แถบเลือกการทำงานวิดีโอตามลำดับขั้นตอน
ก. หมายเลข 1 ข. หมายเลข 3 ง. หน้าต่างแสดงผล
ค. หมายเลข 7 ง. หมายเลข 4
99

จากรูปจงตอบคำถามข้อที่ 11-20

11. จากรูปข้อใดหมายถึง Home ก. Storyboard ข. Timeline


ก. หมายเลข 3 ข. หมายเลข 4 ค. Home ง. Timecode
ค. หมายเลข 5 ง. หมายเลข 6 15. จากรูปข้อใดหมายถึง Play
12. คำสั่งใดใช้สำหรับแสดงคลิปทุกคลิปที่อยู่ใน ก. หมายเลข 1 ข. หมายเลข 2
Storyboard หรือ Timeline ค. หมายเลข 3 ง. หมายเลข 4
ก. Project ข. Clip 16. จากรูปข้อใดหมายถึง Timecode
ค. Home ง. Next ก. หมายเลข 9 ข. หมายเลข 8
13. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ Storyboard และ ค. หมายเลข 7 ง. หมายเลข 6
Timeline 17. คำสั่งใดใช้สำหรับการนำไฟล์ต่างๆ เข้ามาใน
ก. Storyboard และ Timeline ใช้ในการตัดต่อและ Media Library
เรียบเรียงวิดิโอโดยการนำคลิปต่างๆ มาวางเรียงต่อกัน ก. Import Media File
ข. ในการทำงานตัดต่อวิดิโอจะต้องเลือกรูปแบบการ ข. Plubblish Media File
ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นระหว่าง Storyboard ค. Open Media File
และ Timeline ไม่สามารถสลับหมวดการทำงานได้ ง. Export Media File
ค. Storyboard เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน เพราะใช้ 18. จากรูปข้อใดหมายถึง Repeat
งานง่าย ไม่ซับซ้อน แต่มีความสามารถจำกัด ก. หมายเลข 1 ข. หมายเลข 5
ง. Timeline เหมาะกับงานตัดต่อที่มีความซับซ้อนมาก ค. หมายเลข 7 ง. หมายเลข 9
ขึ้น เพราะจะสามารถใส่ลูกเล่นต่างๆ ได้มาก 19. จากรูปข้อใดหมายถึง Volume
14. จากรูปเป็นหน้าต่างตัดต่อวิดีโอรูปแบบใด ก. หมายเลข 2 ข. หมายเลข 4
ค. หมายเลข 6 ง. หมายเลข 8
20. จากรูปข้อใดหมายถึง End
ก. หมายเลข 2 ข. หมายเลข 5
ค. หมายเลข 6 ง. หมายเลข 9
100

21. Color Correction หมายถึงอะไร 26. Contrast หมายถึงอะไร


ก. การปรับโทนสีขาว ก. การปรับระดับของสีที่สะท้อนมาจากวัตถุ
ข. การปรับความสว่างของภาพแบบอัตโนมัติ ข. การปรับความเข้มของแสง
ค. การปรับระดับสีและความสว่าง ค. การปรับความสว่างและมืดของแสงภายในภาพวิดีโอ
ง. การปรับสีพื้นหลังแบบลูสกรีน ง. การปรับความเข้มข้นและความจางของสี
22. Auto Tone Adjustment หมายถึงอะไร 27. Hue หมายถึงอะไร
ก. การปรับโทนสีขาว ก. การปรับระดับของสีที่สะท้อนมาจากวัตถุ
ข. การปรับความสว่างของภาพแบบอัตโนมัติ ข. การปรับความเข้มของแสง
ค. การปรับระดับสีและความสว่าง ค. การปรับความสว่างและมืดของแสงภายในภาพวิดีโอ
ง. การปรับสีพื้นหลังแบบลูสกรีน ง. การปรับความเข้มข้นและความจางของสี
23. White Balance หมายถึงอะไร 28. Daylight หมายถึงอะไร
ก. การปรับโทนสีขาว ก. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายในที่ร่ม
ข. การปรับความสว่างของภาพแบบอัตโนมัติ ข. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายใต้หลอดไฟฟลูออ
ค. การปรับระดับสีและความสว่าง เรสเซนต์
ง. การปรับสีพื้นหลังแบบลูสกรีน ค. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายกลางแจ้ง
24. Saturation หมายถึงอะไร ง. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายครึ้มฟ้าครึ้มฝน
ก. การปรับระดับของสีที่สะท้อนมาจากวัตถุ 29. Overcast หมายถึงอะไร
ข. การปรับความเข้มของแสง ก. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายในที่ร่ม
ค. การปรับความสว่างและมืดของแสงภายในภาพวิดีโอ ข. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายใต้หลอดไฟฟลูออ
ง. การปรับความเข้มข้นและความจางของสี เรสเซนต์
25. Brightness หมายถึงอะไร ค. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายกลางแจ้ง
ก. การปรับระดับของสีที่สะท้อนมาจากวัตถุ ง. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายครึ้มฟ้าครึ้มฝน
ข. การปรับความเข้มของแสง 30. Shade หมายถึงอะไร
ค. การปรับความสว่างและมืดของแสงภายในภาพวิดีโอ ก. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายในที่ร่ม
ง. การปรับความเข้มข้นและความจางของสี ข. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายใต้หลอดไฟฟลูออ
เรสเซนต์
ค. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายกลางแจ้ง
ง. การปรับโทนสีเหมือนภาพที่ถ่ายครึ้มฟ้าครึ้มฝน
แบบสอบถามความพึงพอใจหรือเจตคติที่มีต่อการเรียน
ทีม่ ตี อ่ การเรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำชี้แจง

1. แบบสอบถามนี้เป็นการถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง การ


ตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไป
ปรับปรุงการเรียนการสอน ให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. แบบสอบถามมี 1 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 เป็นข้อคำถามแบบกำหนดมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีจำนวน 10 ข้อ


โดยให้ทำเครื่องหมาย √ ในช่องระดับการประเมินที่ตรงกับความคิดเห็นของนักเรียน
เกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์
โดยข้อความแสดงความคิดเห็น ให้ค่าคะแนน ดังนี้

เห็นด้วยมากที่สุด ให้ค่าคะแนนเท่ากับ 5
เห็นด้วยมาก ให้ค่าคะแนนเท่ากับ 4
เห็นด้วยปานกลาง ให้ค่าคะแนนเท่ากับ 3
เห็นด้วยน้อย ให้ค่าคะแนนเท่ากับ 2
เห็นด้วยน้อยที่สุด ให้ค่าคะแนนเท่ากับ 1
ตอนที่ 1 ทำเครื่องหมาย √ ในช่องระดับความเห็นตามที่นักเรียนเห็นว่าเป็นจริง ในการเรียน
ภาษาอังกฤษ เรื่อง การตัดต่อวีดีโอ โดยใช้บทเรียนออนไลน์

ระดับความเห็น
ข้อที่ ข้อความ เห็นด้วย เห็นด้วย เห็นด้วย เห็นด้วย เห็นด้วย
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

1 รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนน่าสนใจ

ระยะเวลาในการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์มี
2
ความเหมาะสม

3 รายละเอียดและเนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียน

ผู้เรียนมีความสุข เพลิดเพลินกับการเรียน
4
บทเรียนออนไลน์

5 ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียนเป็นอย่างดี

ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการเรียนโดยใช้
6
บทเรียนออนไลน์
ผู้เรียนมีความสนใจและต้องการเรียนด้วย
7
บทเรียนออนไลน์

8 โครงสร้างของเนื้อหาชัดเจน

9 ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

10 การเรียงลำดับเนื้อหาเข้าใจง่าย

11 มีภาพประกอบ ช่วยให้สื่อความหมายได้ชัดเจน

ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในทักษะ
12
อื่นๆได้

***************************
ขอขอบคุณในความร่วมมือ
ประวัติผู้วิจัย

ชือ่ -สุกล นายเดชา ศิริกุลวิริยะ


วัน เดือน ปี เกิด 30 ธันวาคม 2524
ภูมิลำเนา 268/2 หมู่ 1 ถนนศรีเชียงคาน ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน
จังหวัดเลย 42110
ที่อยู่ปัจจุบัน 268/2 หมู่ 1 ถนนศรีเชียงคาน ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน
จังหวัดเลย 42110
ที่ทำงานปัจจุบัน โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน ครู อันดับ คศ. 1
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2550 ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิชาเอก วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2553 ประกาศนียบัตร วิชาเอก ป.บัณฑิตวิชาชีพครู
จาก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2557 ปริญญาโทศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอก หลักสูตรและการสอน
จาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ประสบการณ์การทำงาน
พ.ศ. 2556 ครูผู้ช่วย โรงเรียนทรัพย์อุดมวิทยา อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี สพม. เขต 20
พ.ศ. 2557 ครูผู้ช่วย โรงเรียนโนนสังวิทยาคาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
สพม. เขต 19
พ.ศ. 2558 ครู โรงเรียนโนนสังวิทยาคาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู สพม. เขต 19
พ.ศ. 2560 ครู โรงเรียนวังทรายขาววิทยา อ.วังสะพุง จ.เลย สพม. เขต 19

You might also like