You are on page 1of 8

จากสถานศึกษา สู่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

From classroom to
the Philosophy Sufficiency Economic
พ.อ.ชาญวิทย์ อรรถธีระพงษ์
รองผู้บัญชาการโรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหาบก
Colonel Charvit Attateerapong
Deputy Commandant Civil Affairs School,
Directorate of Civil Affairs)
นักศึกษา วปอ. หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐

บทคัดย่อ

เศรษฐกิ จ พอเพี ย งเป็ น แนวพระราชด าริ ใ นพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว (รั ช กาลที่ ๙) ที่
พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนา
ที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คานึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การ
สร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้ และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดารงชีวิต ที่สาคัญจะต้องมี
“สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนาไปสู่ “ความสุข” ในการดาเนินชีวิตอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ในเรื่องของความพอประมาณ จะต้องมีความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่
เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ความมีเหตุผล จะต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น และเป็นไป
อย่ างมีเหตุผ ล โดยพิจ ารณาจากเหตุปั จ จัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคานึ งถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการ
กระทานั้นๆ อย่างรอบคอบ ภูมิคุ้มกัน จะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง
ด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคานึ งถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้ นในอนาคต
นอกจากนี้ในส่วนของเงื่อนไขอันประกอบไปด้วย เงื่อนไขความรู้ คือ จะต้องรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ
รอบด้าน อีก ทั้ งมี ความรอบคอบที่ จ ะน าความรู้เหล่ านั้ น มาพิ จารณาให้ เชื่อ มโยงกั น เพื่ อประกอบการ
วางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ และเงื่อนไขคุณธรรม คือ จะต้องมีความตระหนักใน คุณธรรม มี
ความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดาเนินชีวิต
โรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก (รร.กร.กร.ทบ.) ในฐานะหน่วยงานด้าน
การศึกษาของกองทัพบก (ทบ.) มีภารกิจในการจัดการศึกษา อบรมให้กาลังพล ให้สามารถปฏิบัติภารกิจ
ด้านกิจการพลเรือนของ ทบ. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหาร ผู้บังคับบัญชา ได้ตระหนักถึงประโยชน์
-๒-

ของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ใน
สถานศึกษา ให้กาลังพลและผู้สาเร็จการศึกษาสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการดารงชีวิต การปฏิบัติภารกิจ
ต่างๆ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้มีการดาเนินการดังนี้ ๑. เตรียมการขับเคลื่อนหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง (ต.ค.๕๗–มี.ค.๕๘) ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะทางานเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนสร้าง
การเรียนรู้ และนาไปใช้ในการปฏิบัติงาน ๒.ขั้นดาเนินการ (มี.ค.๕๘–ปัจจุบัน) โดยแบ่งออกเป็นด้านการ
บริหารจัดการสถานศึกษา มีการกาหนดนโยบายและแผนปฏิบัติงานประจาปี มาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
และประสานงานร่วมกับชุมชนในการฝึกปฏิบัติ ณ พื้นที่จริงของผู้เข้ารั บการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ของ
รร.กร.กร.ทบ.เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตาม
ภูมิสังคมในแต่ละพื้นที่ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดให้มีการเรียนรู้ การศึกษาดูงานของ
นักเรียนทหาร ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดให้มีการศึกษาดูงาน ตลอดจนลงไปปฏิบัติงานกับชุมชน
และด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา โดยจัดให้มีการศึกษาดูงาน และเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ
ปราชญ์ชาวบ้านมาให้ให้ความรู้ ให้คาแนะนา ๓. ขั้นการประเมิน เพื่อทราบถึงข้อดี ข้อเสีย ของผลการ
ปฏิบัติตามแผนงานประจาปีที่ผ่านนามาปรับปรุงแก้ไขแผนการปฏิบัติในปีต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสร้าง
ภูมิคุ้มกันต่อการดาเนินงานอย่างยั่งยืน
คาสาคัญ : โรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง,

Abstract
The Economic Sufficiency was the Royal Philosophy of the King Rama IX that had
been presented over 30 years ago. It was based on Thai Culture in order to develop the
country on the middle path of life without imprudence, with adequately, reasonably, and
self-reliance including the knowledge and merit. This is the way of life that must have,
“conscious, knowledge and patient” to bring “happiness” to the living.
According to the moderately, this must not be too little or too much and must
not exploit oneself and others and should base on the reasonable on the decision making
at the level of sufficiency and within the reasons. This should consider all factors
involved and also including the outcome that might occur out of that process. The
immunity must be prepare to accept the effects and various changes that might occurred
and also taking into consideration of various situations that might occurred in the future.
-๓-

Beside this, there should be conditions such as knowledge condition that must be
educated in all angles of the subjects. This should be also able to apply all knowledge
together in order to include in the planning and use them carefully and for the moral
condition, this should be realized it as a merit, honesty and patient, perseverance and
wisdom in maintaining life.
The Civil Affairs School, Directorate of Civil Affairs, as one of the educational
school of the Royal Thai Army has a duty to educate its human resources to be able to
work in the Civil Affairs of the Royal Thai Army in order to support the military works. The
commander has realized the benefits of the Economic Sufficiency Philosophy so we had
bring this method to apply in school so the human resources and those who graduated
are able to practice in their way of life. The practices on various duties according to the
Economic Sufficiency Philosophy are as follows: 1) prepare to operate the Economic
Sufficiency Philosophy (October 2014 – March 2015) in which had been appointed a
working team including the educational course and the procedures 2) working process
(March 2015 – present) had divided to be an administrative of school with policy and
work plan of the year to operate school and coordinate with the community for practices
at the real location of those various studying courses of the Civil Affairs School. This is
involving community to help set up activities of education for self-sufficient characteristic
according to each location regional. The study course and activities would provide the
field trip study for the military trainees. In the field of development activities, there
would be work study together with community. In the field of staff development, there
would have field study and guest speakers, educators, local scholars to educate them
and 3) the evaluation for the course as good or bad for the work plan of the year would
be review and revise for the use of the following year in order to maintain this project to
be as sustainable.
Keyword : Civil Affairs School, Directorate of Civil Affairs , The Sufficiency Economic

-๔-

บทนา

เป็ น ที่ป ระจักษ์กัน ดีทั่วโลกว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่โชคดีที่สุดในโลก ที่มี พระบาทสมเด็จ


พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) ทรงเป็นพระประมุข และเป็นพ่อของแผ่นดิน ด้วยทรงเป็น
ผู้ที่มีพระอัจฉริยภาพที่ล้าเลิศ ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน มีสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงเป็นผู้ที่เปี่ยมไป
ด้วย ทศพิธราชธรรม ทรงทุ่มเท พระวรกาย พระสติปัญญา ด้วยพระวิริยะ อุตสาหะ ทรงได้ชี้แนะแนว
ทางการดาเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย มายาวนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
และภายหลังได้ทรงเน้นย้าแนวทางแก้ไข เพื่อให้รอดพ้น และสามารถดารงความเป็นชาติไทยมาได้จนถึงทุก
วันนี้ ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วย “ปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง”
“เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดาเนินไปในทาง
สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวั ฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความ
พอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจาเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวพอสมควร ต่อการมี
ผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความ
รอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนาวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดาเนินการทุก
ขั้นตอน (ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา.(๒๕๕๗).ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.พิมพ์ค รั้งที่ ๓.กรุงเทพฯ: บริษัท
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจากัด (มหาชน).)
จากหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นที่มาให้โรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพล
เรือนทหารบก (รร.กร.กร.ทบ.) ได้น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาขับเคลื่อนภายในหน่วยงาน
การจัดการศึกษานั้น เป็ นการพัฒ นาคนให้ มีความสมบูรณ์ ดังนั้นบุคลากรทางการศึกษาจาเป็นต้องเป็น
แบบอย่ างที่ดีเสีย ก่อน คากล่าวของ อาจารย์ ดร.ปรียานุช ธรรมปรียา ผู้อานวยการศูนย์สถานศึกษา
พอเพีย ง มูล นิ ธิยุ ว สถิร คุณ “ประเทศไทยมีคนดีอยู่ทั่ วแผ่ น ดิน แต่เขาจะได้รับโอกาสที่จะเป็ นครูดีเต็ ม
ศักยภาพหรือไม่ อยู่ที่ผู้บริหารศึกษา” ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของการขับเคลื่อนของ รร.กร.กร.ทบ. กล่าวคือ การ
นาครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้เข้ารับการอบรมเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น เป็นการ
ระเบิดจากข้างใน

-๕-

เนื้อหา

“หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือที่เรามักเรียนกันว่าสามห่วง สองเงื่อนไข ประกอบด้วย


พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เงื่อนไข ความรู้ และ คุณธรรม ในการที่จะปฏิบัติตามปรัชญา
นี้ให้ได้ผลดี มั่นคงและยั่งยืนนั้ น จะต้องปลูกฝังหรือเสริมสร้างค่านิยม “ความพอเพียง”ให้เกิดขึ้นตั้งแต่
เยาว์วัย ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดาเนินการปลูกฝังค่านิยมนี้ให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐาน
เพื่ อ ให้ เข้ าใจหลั ก การและเกิ ด ค่ านิ ย มให้ ส ามารถน าไปปฏิ บั ติ ได้ ตั้ งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้ มี น โยบาย
นาแนวคิดความพอเพียงบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมไว้ในสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม,ต่อมามีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ให้แก่ บุคลากรระดับผู้บริหารการศึกษา
ศึกษานิเทศก์ ผู้อานวยการโรงเรียนและครูทั้งหลาย และในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้กาหนดให้นาหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเป้าหมายการจัดการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และการศึกษานอก
ระบบ (https://www.campusfarm.net)
จากกระแสพระราชด ารั ส ของพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ความว่ า
“เศรษฐกิจพอเพียง...จะทาความเจริญให้แก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร และต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน
ต้องพูดมาก ต้องไม่ทะเละกัน ถ้าทาโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้...” พระราชทานเมื่อวันที่
๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวการดารงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่
ระดับ ครอบครัว ระดั บ ชุมชน จนถึงระดับ รัฐ ทั้ งในการพั ฒ นาและบริห ารประเทศให้ ดาเนิน ไปในทาง
สายกลาง จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนาวิชาการต่าง ๆ
มาใช้ในการวางแผนและการดาเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคน
ในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจ ในทุกระดับให้มีสานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์
สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดาเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีส ติ ปัญญา และความ
รอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ
สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ และในการที่
จะปฏิ บั ติ ต ามปรั ช ญานี้ ให้ ได้ ผ ลดี มั่ น คงและยั่ งยื น นั้ น จะต้ อ งปลู ก ฝั งหรื อ เสริ ม สร้ างค่ านิ ย ม “ความ
พอเพียง”ให้เกิดขึ้นตั้งแต่เยาว์วัย ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดาเนินการปลูกฝังค่านิยมนี้ให้กับนักเรียน
ตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เข้าใจหลักการและเกิดค่านิยมให้สามารถนาไปปฏิบัติได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๔
ได้มีนโยบายนาแนวคิดความพอเพียงบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมไว้ในสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒ นธรรม,ต่อมามีการฝึ กอบรมเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ให้ แก่ บุคลากรระดั บ
ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อานวยการโรงเรียนและครูทั้งหลาย และในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้กาหนดให้

-๖-

นาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเป้าหมายการจัดการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา


และการศึกษานอกระบบ
โรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก มีภารกิจในการจัดการศึกษา อบรมให้กาลัง
พลใน สั งกัด กองทั พ บก (ทบ.) สามารถปฏิบั ติ ภ ารกิ จด้านกิ จการพลเรือนของ ทบ. เพื่ อสนับ สนุ น การ
ปฏิบัติการทางทหาร ถึงแม้ระยะเวลาในการจัดการศึกษา อบรมจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพียง ๒-๘ สัปดาห์
แต่กาลั งพลใน รร.กร.กร.ทบ. โดยเฉพาะผู้ บังคับบัญ ชา ได้ตระหนักถึงประโยชน์ของหลั กปรัช ญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง และด้วยสานึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุล ยเดช (รัช กาลที่ ๙) จึงได้น้อมนา หลั กปรัช ญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ใน
สถานศึกษา ให้กาลังพลและผู้สาเร็จการศึกษาสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการดารงชีวิต การปฏิบัติภารกิจ
ต่างๆ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสรุปการดาเนินการได้ดังนี้
๑) เตรียมการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ต.ค.๕๗–มี.ค.๕๘)
๑.๑ แต่งตั้งคณะทางานเศรษฐกิจพอเพียง รร.กร.กร.ทบ. เพื่อศึกษาแนวคิด แสวงหาข้อแนะนา
คาปรึกษาถึงแนวทางการดาเนินงานในสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากผู้ทรงคุณวุฒิ
จากหน่วยงานต่างๆ (ต.ค.–ธ.ค.๕๗)
๑.๒ สร้างการเรียนรู้ และน าไปใช้ในการปฏิบัติงาน โดยประชุม อบรมให้ ความรู้ อบรมเชิง
ปฏิบัติการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ โดยเริ่มจากกลุ่มแกนนา
และขยายผลกับกาลังพล รร.กร.กร.ทบ. ( ธ.ค.๕๗ – มี.ค.๕๘ )
๒) ขั้นดาเนินการ (มี.ค.๕๘–ปัจจุบัน)
๒.๑ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
๒.๑.๑ กาหนดนโยบายและแผนปฏิบัติงานประจาปี๒๕๕๘ ของ รร.กร.กร.ทบ. ที่น้อมนา
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
๒.๑.๒ ประสานงานร่ว มกับ ชุม ชนในการฝึ ก ปฏิ บั ติ ณ พื้ น ที่ จริงของผู้ เข้ ารับ
การศึกษาในหลักสูตรต่างๆของ รร.กร.กร.ทบ.เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
๒.๒ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๒.๒.๑ ก าหนดจุ ดประสงค์ก ารเรียนรู้ แ ละจั ดกิ จกรรมการเรียนรู้ ให้ ผู้ เรีย นทราบและ
ตระหนักถึงคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงในวิชาหลักของหลักสูตรต่างๆของ รร.กร.กร.ทบ.
๒.๒.๒ จัดการสอนวิชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหลั กสูตรต่างๆ ของ รร.กร.
กร.ทบ. (เน้นการคิดวิเคราะห์และประยุกต์ใช้)
๒.๒.๓ จั ดการสอนโดยประยุกต์ใช้ห ลั กปรัช ญาของเศรษฐกิจพอเพี ยงในกิจกรรมการ
เรียนรู้ ในวิชาการประชาสัมพันธ์ (๒ หลักสูตร)

-๗-

๒.๒.๔ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง จากชุมชน ในการฝึกปฏิบัติ


ณ พื้นที่จริงของผู้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรต่างๆของ รร.กร.กร.ทบ.
๒.๒.๕ ส่งเสริมให้ผู้เรียนในหลักสูตรต่างๆของ รร.กร.กร.ทบ.ใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง (เขียนประกวดถึงการใช้ชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง)
๒.๒.๖ จั ด ท าห้ อ ง “พอเพี ย ง”เป็ น สื่ อ เป็ น แหล่ งเรีย นรู้ให้ กั บ กาลั งพล และผู้ เข้ ารั บ
การศึกษา อบรมหลักสูตรต่างๆ ของ รร.กร.กร.ทบ.
๒.๒.๗ การสอนวิชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการนาไปประยุกต์ใช้
๒.๓ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๒.๓.๑ จัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม ได้แก่ กิจกรรมสัมมาจิตต์ , รวมใจภักดิ์, ไหว้ครู, อาลา
ครูอาจารย์ และกิจกรรมเนื่องในโอกาสสาคัญ
๒.๓.๒ จัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงในการฝึกปฏิบัติ ณ พื้นที่จริง
ของผู้ เ ข้ า รั บ การศึ ก ษาหลั ก สู ต รต่ า งๆ ของ รร.กร.กร.ทบ. ได้ แ ก่ กิ จ กรรมจิ ต อาสา กิ จ กรรม
สาธารณประโยชน์ กิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม/แก้ไขปัญหาในชุมชนด้านเศรษฐกิจ
สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม
๒.๔ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
๒.๔.๑ จั ด อบรมเชิ งปฏิ บั ติ การน้ อ มน าหลั ก ปรัช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ใช้ในการ
ดาเนินงานภายใน รร.กร.กร.ทบ. ๒ ครั้ง โดยวิทยากรภายนอก
๒.๔.๒ จัดการอบรมการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้
แก่ ครู อาจารย์ รร.กร.กร.ทบ. โดยวิทยากรภายใน รร.กร.กร.ทบ.
๒.๔.๓ ส่ ง ตั ว แทนร่ ว มกิ จ กรรม “รวมพลั ง เรี ย นรู้ อยู่ อ ย่ า งพอเพี ย ง” จั ด โดย ศู น ย์
สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ กทม.
๒.๔.๔ ส่งเสริมการใช้ชีวิต อยู่อย่างพอเพียงของกาลังพล รร.กร.กร.ทบ.(กองทุนพอเพียง
รร.กร.กร.ทบ.)
๒.๔.๕ ดาเนิ น การตามแผนการปลูกฝั งอุดมการณ์ ความเป็นทหารของ รร.กร.กร.ทบ.
(ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณตามความสมัครใจ)
๓) ขั้นการประเมิน
๓.๑ ประเมิน การดาเนิน งาน : คณะทางานเศรษฐกิจพอเพียง รร.กร.กร.ทบ. ประเมินตาม
เกณฑ์ประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ปี พ.ศ. ๒๕๕๔- ๒๕๕๖ ส่งให้ ผอ.ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ พิจารณา
และให้ขอ้ เสนอแนะแนวทางการดาเนินงาน (ส.ค. ๕๘)
-๘-

๓.๒ ปรับเกณฑ์การประเมินเพื่อให้สอดคล้องกับการดาเนินงานด้านการศึกษาของ รร.กร.กร.


ทบ. โดยขอรับข้อเสนอแนะจาก ผอ.ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ ก่อนการขออนุมัติปรับแก้
เกณฑ์การประเมินและรับการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียงจากกระทรวงศึกษาธิการต่อไป (ก.ย.๖๐)
(พ.อ.หญิง พิชญาวี เกื้อสกุล . “การพัฒนา รร.กร.กร.ทบ. สู่สถานศึกษาพอเพียง”, ๓๔ ปี กรมกิจการพล
เรือนทหารบก, ๑๓ มกราคม ๒๕๕๙. หน้า ๗๗ )
ซึ่งจากผลการดาเนินงานที่ผ่านมา จะเห็นว่ากาลังพลทุกลาดับชั้น และผู้เข้ารับการศึกษา อบรมใน
หลักสูตรต่างๆ ของ รร.กร.กร.ทบ. มีความรู้ ความเข้าใจในการนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไป
ประยุกต์ใช้ในการดาเนินชีวิต และการปฏิบัติภารกิจเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะมีขีดจากัดเรื่องระยะเวลาในการ
ดาเนิ น การแต่ล ะหลั กสู ตร กาลั งพลทุ กนายก็ยังคงมุ่งมั่ นที่ จะน าหลั กปรัช ญาของเศรษฐกิจพอเพี ยงไป
ดาเนินการใน รร.กร.กร.ทบ.ต่อไป

สรุป

โรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก (รร.กร.กร.ทบ.) มีความคาดหวังว่าจะเป็น


หน่วยต้นแบบของกองทัพบก ในการนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในระบบการศึกษาอย่างเต็ม
รูปแบบ โดยการเน้นให้ผู้เรียนฝึกคิดอย่างเป็นระบบ มีความรอบคอบเพราะจุดเริ่มต้นใดๆ อยู่ที่ความคิด
นั่นเอง และให้นักเรียนที่เข้ารับการศึกษา ใน รร.กร.กร.ทบ. นาความรู้ที่ได้รับ ไปขยายผลต่อ ในหน่วยงาน
ครัวเรือน และชุมชน ของตนเอง นาไปสู่ความสาเร็จในชีวิตการทางาน และชีวิตส่วนตัว อย่างดงาม ผ่าน
การวางแผนชีวิต ด้วยแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
จึงนับได้ว่าการศึกษาเป็นปัจจัยสาคัญในการสร้าง และพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และ
คุ ณ ธรรมของบุ ค คล สั งคม สั งคม และบ้ านเมื อ งใดให้ ก ารศึ ก ษาที่ ดี แ ก่ เยาวชนได้ อ ย่ างครบถ้ ว นล้ ว น
พอเหมาะกันทุกๆ ด้าน สังคม และบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งสามารถธารงรักษาความ
เจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้และพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปโดยตลอด เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและ
ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาล มั่นคง มั่นคั่ง และยังยืน ตลอดไป

บรรณานุกรม
ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา.(๒๕๕๗).ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.พิมพ์ครั้งที่ ๓.กรุงเทพฯ: บริษัท
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จากัด (มหาชน).
พ.อ.หญิง พิชญาวี เกื้อสกุล. “การพัฒนา รร.กร.กร.ทบ. สู่สถานศึกษาพอเพียง”, ๓๔ ปี กรม
กิจการพลเรือนทหารบก, ๑๓ มกราคม ๒๕๕๙. หน้า ๗๗
(https://www.campusfarm.net)

You might also like